209
หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห หหหหหหหหหหหห ห.ห. 2553 หหหหหหหหหหหหหหหหหหห……………หหหหหหหหหหห หหหหห……………………………………………………………………………………………… หหหหหหหห/หหห/หหหหหหห…………หหหหหหหหหหหหหห / หหห หหหหหหหหหหหหหหหห…………………………………………………… หหหหหหห 1. หหหหหหหหหหหห 1. หหหหหหหหหหหหหหหหหหห รรรรรรรร รรรรรรร : รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรร : Bachelor degree of Science Program in Software Engineering 2. หหหหหหหหหหหหหหหหหหหหห รรรรรรรรรรรรรรรรร : รรรรรรรรรรรรรรรร (รรรรรรรรรรรรรรรรร) รรรรรรรรรรรรรรรรรรรร : Bachelor degree of Science (Software Engineering) รรรรรรรรรรรรรรร : รร.ร. (รรรรรรรร รรรรรรรรร) รรรรรรรรรรรรรรรรรร : B.Sc. (Software Engineering)

bls.buu.ac.thbls.buu.ac.th/~athitha/se/25530915-SE/25530915_Progra…  · Web viewสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์. หลักสูตรใหม่

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ตัวอย่างรายละเอียดของหลักสูตร

หน้า | 64

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา……………มหาวิทยาลัยบูรพา………………………………………………………………………………………………

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา…………วิทยาเขตบางแสน / คณะวิทยาการสารสนเทศ……………………………………………………

หมวดที่ 1. ข้อมูลทั่วไป1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ระบุรหัส

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

ภาษาอังกฤษ : Bachelor degree of Science Program in Software Engineering

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย :

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor degree of Science (Software Engineering)

อักษรย่อภาษาไทย :

วท.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ :

B.Sc. (Software Engineering)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านวิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการพัฒนา การใช้งาน และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ พัฒนาแล้วเสร็จทันเวลาและอยู่ในงบประมาณที่กำหนด ภายใต้มาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร5.1 รูปแบบ

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ภาษาที่ใช้

มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย สำหรับเอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นตำราภาษาต่างประเทศโดยเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก

5.3 การรับเข้าศึกษา

รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยอย่างดี

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่ดำเนินงานโดย สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

( หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา พ.ศ. 2554

คณะกรรมการสภาวิชาการอนุมัติ / เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม

ครั้งที่ .........4/2553...... วันที่ ……24 สิงหาคม 2553 …..

( สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม

ครั้งที่ .......5.......... วันที่ ……15 กันยายน 2553…………..

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

เป็นหลักสูตรใหม่ โดยจะขอรับการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรในปี พ.ศ. 2554

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

· วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)

· วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)

· นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)

· วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)

· นักทดสอบระบบ (Software Tester)

· นักบูรณาการระบบ (System Integrator)

· นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)

· ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)

9. ชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1) นายธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 3-1009-0091x-xx-x

คุณวุฒิ

M.S. ( Computer Applications) Asian Institute of Technology (AIT) พ.ศ. 2528

วท.บ. ( ภูมิศาสตร์ )

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2519

ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์

2) นางสาวนวลศรี เด่นวัฒนา หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 3-8417-0047x-xx-x

คุณวุฒิ

พบ.ม. (สถิติประยุกต์)

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2536

วท.บ. (คณิตศาสตร์)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2529

ตำแหน่งทางวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

3) นางสาวอธิตา โชคอนันต์รัตนา หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 3-2202-0000x-xx-x

คุณวุฒิ

วท.ม. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2550

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2545

ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

· คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

1) ตลาดสินค้าซอฟต์แวร์ในประเทศไทยไม่ค่อยมีการกระจุกตัว มีการกระจายดี ไม่ผูกขาดและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความต้องการบุคลากรในกระบวนการการผลิตซอฟต์แวร์อยู่มาก

2) ซอฟต์แวร์ไทยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ทำรายได้ให้ประเทศในระดับสูง โอกาสในการแข่งขันของซอฟต์แวร์ไทยในตลาดต่างประเทศยังมีอยู่ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีกระบวนการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล

3) สภาวะการแข่งขันในตลาดซอฟต์แวร์ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ความสำเร็จของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการกระบวนการผลิตและคุณภาพของซอฟต์แวร์

4) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การพัฒนาระบบงานหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้น สามารถประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หรือใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นฐานในการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถกระทำได้รวดเร็วภายใต้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

5) สังคมอินเทอร์เน็ตทำให้พฤติกรรมในการขายสินค้าของผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงไป ผู้พัฒนาและกระจายซอฟต์แวร์มีพฤติกรรมที่มีความหลากหลายโดยให้ความสำคัญกับช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

6) รูปแบบของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระหว่างการผลิตซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมกับการผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นฐานแตกต่างกัน โดยในกระบวนการผลิตที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นฐาน ผู้กระจายซอฟต์แวร์ถูกลดบทบาทลง และใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการกระจายสินค้ามากขึ้น

12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

7) พัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ ที่ยังมีความต้องการบุคลากรเพื่อการผลิตซอฟต์แวร์อีกมาก แต่ต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งในกระบวนการด้านการผลิตซอฟต์แวร์และการจัดการในกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์

8) จัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตอบสนองต่อแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยี ที่สามารถผลิตสินค้าและบริการเข้าสู่สภาวะการแข่งขันในตลาดซอฟต์แวร์ได้

9) ให้ความสำคัญต่อกระบวนการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ จัดหลักสูตรที่เน้นให้ความรู้ในการควบคุมคุณภาพและบริการ ให้ความสำคัญกับมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ

10) ใช้กระบวนการวิถีแบบโอเพนซอร์สในการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ ยืนหยัด อดทน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม สามารถทำงานรวมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีมได้ โดยคำนึงถึงกฎหมายและกฎกติกาของสังคม

11) ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ในทุกมิติของการสื่อสารรวมถึงชีวิตวิถีในสังคมอินเทอร์เน็ต มีความสามารถในการประสานงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ และมีความเข้าใจต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

13. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน (เช่น รายวิชาที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ภาควิชาอื่น หรือต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น)

13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น

· วิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่

· กลุ่มวิชาภาษา

· กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

· กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

· กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

· วิชาคอมพิวเตอร์

· กลุ่มวิชาเลือก (รวมวิชาทางด้านสุขภาพ)

· วิชาเฉพาะ ได้แก่

· กลุ่มวิชาของหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

· กลุ่มวิชาของหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ

· กลุ่มวิชาของหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์

13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

· 888134วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น

13.3 การบริหารจัดการ

· กำหนดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรของคณะวิทยาการสารสนเทศ

· ประสานงานกับอาจารย์ผู้แทนจากภาควิชาอื่นๆ ในคณะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะวิทยาศาสตร์ ที่ให้บริการการสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

· จัดทำรายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชาและรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม อธิบายเนื้อหาสาระ การจัดตารางเวลาเรียนและสอบ เพื่อเป็นมาตรฐานในการติดตาม และประเมินคุณภาพการเรียนการสอน

หมวดที่ 2. ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร14. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

- ปรัชญา -

· หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นหลักสูตรที่พัฒนาตามแนวนิยามของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในการผลิตบัณฑิตวิศวกรซอฟต์แวร์ให้มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งได้รับการฝึกฝนให้มีองค์ความรู้และทักษะในเรื่องกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้รู้จักพึ่งพาตนเอง และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อให้เกิดการต่อยอด แบ่งปัน ภายใต้กรอบสังคมวัฒนธรรมไทย

- ความสำคัญ -

· อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก

·  เป็นสายงานที่เป็นการประยุกต์ระหว่างการพัฒนาโปรแกรมและการบริหารจัดการให้เหมาะสมในเชิงธุรกิจ

- วัตถุประสงค์ -

· เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และความสามารถเกี่ยวกับการวิศวกรรมซอฟต์แวร์

· เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และความสามารถในด้านกระบวนการและเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ

· เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อให้เกิดการต่อยอด และมีการแบ่งปัน

· เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อน โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม

· เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และซื่อสัตย์สุจริต

· เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถทำงานเป็นทีม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีวินัย ตรงเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

15. แผนพัฒนาปรับปรุง

· พัฒนาและอนุมัติหลักสูตรให้แล้วเสร็จทันใช้งานในปีการศึกษา 2554

· ปรับปรุงหลักสูตรทุกๆ 5 ปี

แผนการพัฒนา / เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์ในการดำเนินงานตามแผน

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

แผนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

1. เฝ้าติดตามและศึกษาวิจัยในเรื่องที่เกี่ยว-เนื่องกับการใช้บุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง

2. ปรับปรุงเนื้อหาของหลักสูตรตลอดจนกระบวนการผลิตบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงในตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

3. สนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากรได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ในตลาดและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จริง

4. จัดให้มีกระบวนการถ่ายทอดผลงานทางวิชาการจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สู่คณาจารย์และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

5. สนับสนุนให้คณาจารย์ บุคลากรและนิสิตได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สร่วมกับแหล่งพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในระดับสากล

ระยะยาว

6. จัดกิจกรรมประกันคุณภาพสำหรับข้อกำหนดเฉพาะของหลักสูตร

7. จัดกิจกรรมประกันคุณภาพสำหรับวิชาที่คัดเลือก

8. ดำเนินการปรับปรุงทบทวนหลักสูตรทุกๆ 5 ปี

1. เอกสารผลงานวิชาการที่ได้จากการศึกษาและวิจัย

2. ผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้บัณฑิตจากองค์กรที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน

3. แผนการพัฒนาและเฝ้าติดตามเทคโนโลยี และมาตรฐานใหม่อย่างต่อเนื่อง ปริมาณและคุณภาพของผลงานที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตซอฟต์แวร์ที่คณาจารย์และบุคลากรได้มีส่วนร่วม

4. จำนวนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในระดับประเทศและในระดับสากลที่คณาจารย์ บุคลากรและนิสิตได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา

5. การพัฒนาคุณภาพซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการบูรพาลีนุกซ์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เกี่ยวเนื่อง

6. แผนความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

7. เข้าร่วม/สร้างกลุ่มงานทางวิชาการกับหน่วยงาน สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์

8. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการพัฒนาสถาบันวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9. ใช้ผลจากการเข้ามีส่วนร่วมมาพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร

10. การเกิดขึ้นและกิจกรรมของกลุ่มสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์

11. การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ใช่สถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากร

หมวดที่ 3. ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร16. ระบบการจัดการศึกษา16.1 ระบบ

ใช้ระบบทวิภาคโดยใน 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษา คือภาคการศึกษาที่ 1 หรือภาคต้น และภาคการศึกษาที่ 2 หรือภาคปลาย

16.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

· ไม่มี

16.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

· ไม่มี

17. การดำเนินการหลักสูตร17.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

จัดการเรียนการสอนในวันและเวลาราชการ ในกรณีที่ใช้วิทยากรพิเศษจากบุคคลภายนอก อาจจัดให้เรียนนอกเวลาราชการ

17.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนด

17.3 ปัญหาของนิสิตแรกเข้า

ปัญหาพื้นฐานโดยทั่วไปของนิสิตใหม่ได้แก่ ปัญหาการปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษามาเป็นการเรียนในระดับอุดมศึกษา โดยนิสิตจะต้องรับผิดชอบช่วยเหลือตนเองให้มากขึ้น รู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม นอกจากนั้นในการศึกษาในสาขาที่เน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์นี้ มีความจำเป็นจะต้องใช้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างมาก และมีความเสี่ยงต่อภัยจากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมถึงปัญหาการถูกครอบงำจากซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ในฐานะผู้บริโภคมากกว่ามุ่งสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง

17.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนิสิตในข้อ 2.3 1) จัดการให้มีการดูแลนิสิตใหม่อย่างใกล้ชิด โดยอาจารย์ที่ปรึกษา และนิสิตรุ่นพี่2) สนับสนุนให้นิสิตเป็นสมาชิกชมรมโอเพนซอร์ส เพื่อให้นิสิตรู้จักประโยชน์ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและวิถีแบบโอเพนซอร์ส นิสิตสามารถเรียนรู้วิชาการไปพร้อมๆ กับการจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม3) จัดให้มีการทำกิจกรรม/อบรม ให้นิสิตตระหนักถึงภัยที่มาจากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมถึงจัดให้มีบรรยากาศของการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันผ่านการจัดกิจกรรมร่วมกับคณาจารย์ในโครงการบูรพาลีนุกซ์ และโครงการอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน17.5 แผนการรับนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี

จำนวนนิสิต

จำนวนนิสิตแต่ละปีการศึกษา

2554

2555

2556

2557

2558

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

รวม

40

80

120

160

160

สำเร็จการศึกษา

-

-

-

40

40

17.6 งบประมาณตามแผน

· งบประมาณรายรับ (หน่วย : บาท)

รายการ

ปีงบประมาณ

2554

2555

2556

2557

2558

ค่าบำรุงการศึกษา

400,000

800,000

1,200,000

1,600,000

1,600,000

ค่าลงทะเบียน

800,000

1,600,000

2,400,000

3,200,000

3,200,000

เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

-

-

-

-

-

รวมรายรับ

1,200,000

2,400,000

3,600,000

4,800,000

4,800,000

· งบประมาณรายจ่าย (หน่วย : บาท)

2554

2555

2556

2557

2558

1. งบดำเนินการ

1.1. ค่าใช้จ่ายบุคลากร

60,000

62,400

328,896

606,052

899,680

1.2. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

64,000

64,000

64,000

64,000

64,000

1.3. ทุนการศึกษา

-

-

-

-

-

1.4. รายจ่ายระดับมหาวิทยาลัย

243,600

481,600

708,400

945,000

945,000

รวม (1)

367,600

608,000

1,101,296

1,615,052

1,908,680

2. งบลงทุน

 

 

 

 

 

2.1.ค่าครุภัณฑ์

-

100,000

100,000

100,000

100,000

รวม (2)

-

100,000

100,000

100,000

100,000

รวม (1) + (2)

367,600

708,000

1,201,296

1,715,052

2,008,680

จำนวนนิสิต*

40

80

120

160

160

ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต

9,190

8,850

10,011

10,719

12,554

หมายเหตุ งบดำเนินการ คิดจากค่าลงทะเบียนนิสิต / คนในแต่ละภาคการศึกษา รูปแบบเหมาจ่าย

17.7 ระบบการศึกษา

การศึกษาแบบเรียนในชั้นเรียน การศึกษาด้วยตัวเองและกิจกรรมกลุ่ม

· แบบชั้นเรียน

· แบบทางไกลผ่านสิ่งพิมพ์เป็นหลัก

· แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก

· แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning)

· อื่นๆ (ระบุ)...................................

17.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนเข้ามหาวิทยาลัย (ถ้ามี)

· ไม่มี

18. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน18.1 หลักสูตร ให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

18.1.1 จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต18.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

1)หมวดวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน30หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาภาษา จำนวน12หน่วยกิต

· กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์จำนวน 3หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์จำนวน 3หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 4หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์จำนวน 3หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาเลือก (รวมวิชาทางด้านสุขภาพ)จำนวน 5หน่วยกิต

2)หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน102หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาแกนจำนวน 15หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาเฉพาะด้านจำนวน 66หน่วยกิต

(รวมวิชาประสบการณ์ภาคสนาม จำนวน 6 หน่วยกิต จำนวน 600 ชั่วโมง )

· กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก จำนวน 21หน่วยกิต

3)หมวดเลือกเสรีจำนวน6หน่วยกิต

18.1.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

3.1.3.1 กลุ่มหมวดวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน30หน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาภาษาจำนวน12หน่วยกิต 1.1) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษจำนวน9หน่วยกิต

1.1.1) ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานจำนวน6หน่วยกิต

ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน กำหนดให้เรียน 2 รายวิชา จำนวน 6 หน่วยกิต โดยจัดกลุ่มเรียนตามความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษ จากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

222101

ภาษาอังกฤษ 1

3(3-0-6)

English I

222102

ภาษาอังกฤษ 2

3(3-0-6)

English II

222103

ภาษาอังกฤษ 3

3(3-0-6)

English III

1.1.2) ภาษาอังกฤษวิชาชีพจำนวน3หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

885201

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาการสารสนเทศ

3(3-0-6)

English for Informatics

1.2) กลุ่มวิชาภาษาอื่นๆจำนวน3หน่วยกิต

ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆกำหนดให้เรียน 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

228202

การเขียนบทความวิชาการและงานวิจัย

Academic Article and Research Writing

3(3-0-6)

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์จำนวน3หน่วยกิต

กำหนดให้เรียน 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

228102

ศิลปะการพูดและการนำเสนอ

Art of Speaking and Presentation

3(3-0-6)

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์จำนวน3หน่วยกิต

กำหนดให้เรียน 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

678101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

General Knowledge of Law

3(3-0-6)

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน4หน่วยกิต

กำหนดให้เรียน 2 รายวิชา จำนวน 4 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

302101

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

Mathematics in Everyday Life

2(2-0-4)

309103

วิทยาศาสตร์ทางทะเล

Marine Science

2(2-0-4)

5. วิชาคอมพิวเตอร์จำนวน3หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

885101

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

Information Technology in Daily Life

3(2-2-5)

6. กลุ่มวิชาเลือกจำนวน5 หน่วยกิต

6.1) กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพจำนวน1หน่วยกิต

6.1.1) กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพ (กลุ่มที่ 1)จำนวน1หน่วยกิต

กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพ (กลุ่มที่ 1) กำหนดให้เรียน 1 รายวิชา จำนวน 1 หน่วยกิตจาก 25 รายวิชาต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

850101

การฝึกด้วยเครื่องน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

Weight Training for Health

1 (0-2-1)

850102

การเดิน- วิ่งเพื่อสุขภาพ

Walking and Jogging for Health

1 (0-2-1)

850103

ฟุตบอลเพื่อสุขภาพ

Football for Health

1 (0-2-1)

850104

บาสเกตบอลเพื่อสุขภาพ

Basketball for Health

1 (0-2-1)

850105

วอลเลย์บอลเพื่อสุขภาพ

Volleyball for Health

1 (0-2-1)

850106

ว่ายน้ำเพื่อสุขภาพ

Swimming for Health

1 (0-2-1)

850107

ฟุตซอลเพื่อสุขภาพ

Futsal for Health

1 (0-2-1)

850108

แฮนด์บอลเพื่อสุขภาพ

Handball for Health

1 (0-2-1)

850109

แบดมินตันเพื่อสุขภาพ

Badminton for Health

1 (0-2-1)

850110

เทนนิสเพื่อสุขภาพ

Tennis for Health

1 (0-2-1)

850111

ซอฟท์เทนนิสเพื่อสุขภาพ

Soft Tennis for Health

1 (0-2-1)

850112

เทเบิลเทนนิสเพื่อสุขภาพ

Table Tennis for Health

1 (0-2-1)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

850113

มวยไทยเพื่อสุขภาพ

Muay Thai for Health

1 (0-2-1)

850114

กระบี่กระบองเพื่อสุขภาพ

Krabi Krabong for Health

1 (0-2-1)

850115

ตะกร้อเพื่อสุขภาพ

Takraw for Health

1 (0-2-1)

850116

การต่อสู้ป้องกันตัว

Self Defense

1 (0-2-1)

850117

เทควันโดเพื่อสุขภาพ

Taekwando for Health

1 (0-2-1)

850118

โบว์ลิ่งเพื่อสุขภาพ

Bowling for Health

1 (0-2-1)

850119

เปตองเพื่อสุขภาพ

Petangue for Health

1 (0-2-1)

850120

ลีลาศเพื่อสุขภาพ

Social Dance for Health

1 (0-2-1)

850121

แอโรบิกด๊านซ์เพื่อสุขภาพ

Aerobic Dance for Health

1 (0-2-1)

850122

กิจกรรมเข้าจังหวะเพื่อสุขภาพ

Rhythmic Activities for Health

1 (0-2-1)

850123

โยคะเพื่อสุขภาพ

Yoga for Health

1 (0-2-1)

850124

วู้ดบอลเพื่อสุขภาพ

Woodball for Health

1 (0-2-1)

850125

แชร์บอลเพื่อสุขภาพ

Chairball for Health

1 (0-2-1)

กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ กำหนดให้เลือกเรียน 2 รายวิชา จำนวน 4 หน่วยกิต ในหมวดวิชา 6.2) กลุ่มการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต 6.3) กลุ่มปรัชญา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

6.2) กลุ่มการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

423321

การออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

Design and Creative Presentation

2(2-0-4)

6.3) กลุ่มปรัชญา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

402403

หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสังคม

Sufficiency Economy and Social Development

2(2-0-4)

หมายเหตุ : ดูรายละเอียดรายวิชาได้จากภาคผนวก ก

3.1.3.2 กลุ่มหมวดวิชาเฉพาะ

จำนวน

102หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาแกนจำนวน 15หน่วยกิต

· กลุ่มวิชาเฉพาะด้านจำนวน 66หน่วยกิต

(รวมวิชาประสบการณ์ภาคสนาม จำนวน 6 หน่วยกิต จำนวน 600 ชั่วโมง )

· กลุ่มวิชาเฉพาะเลือกจำนวน21หน่วยกิต

กลุ่มวิชาแกน กำหนดให้เรียน 5 รายวิชา จำนวน 15 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888101

คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1

Mathematics for Software Engineering I

3(3-0-6)

888102

คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2

Mathematics for Software Engineering II

3(3-0-6)

888103

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering Economics

3(3-0-6)

888204

โครงสร้างคณิตศาสตร์เต็มหน่วยสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Discrete Mathematics for Software Engineering

3(3-0-6)

888205

สถิติและวิธีการเชิงประสบการณ์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Statistics and Empirical Methods for Software Engineering

3(3-0-6)

กลุ่มวิชาเฉพาะด้านกำหนดให้เรียน 26 รายวิชา จำนวน 66 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888111

อุปนิสัยทรงคุณค่าของวิศวกรซอฟต์แวร์

Skills and the Habits for Software Engineers

3(3-0-6)

888131

ทักษะพื้นฐานสำหรับวิทยาการสารสนเทศ

Essential Skills Preparation in Informatics

2(1-2-2)

888141

หลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Principles of Programming for Software Engineering

3(3-0-6)

888142

ปฏิบัติการหลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Principles of Programming for Software Engineering Laboratory

1(0-3-6)

888143

การสร้างแบบจำลองและการโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object-Oriented Programming and Modeling

3(3-0-6)

888144

ปฏิบัติการการสร้างแบบจำลองและการโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object-Oriented Programming and Modeling Laboratory

1(0-3-6)

888145

วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น

Introduction to Software Engineering

3(3-0-6)

888212

วิศวกรรมความต้องการและเอกสารโครงการซอฟต์แวร์

Software Requirement Engineering and Documentation

3(3-0-6)

888213

ปฏิบัติการวิศวกรรมความต้องการและเอกสารโครงการซอฟต์แวร์

Software Requirement Engineering and Documentation Laboratory

1(0-3-6)

888231

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering Approach to Human Computer Interaction

3(3-0-6)

888232

ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบระบบฐานข้อมูล

Database Systems and Design

3(3-0-6)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888246

การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ

Object-Oriented System Analysis and Design

3(3-0-6)

888247

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงบุคคล

Personal Software Development Process

3(3-0-6)

888248

ปฏิบัติการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงบุคคล

Personal Software Development Process Laboratory

1(0-3-6)

888249

ค่ายฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์

Software Development Training Camp

1(0-3-6)

888271

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Data Structure and Algorithms for Software Engineering

3(3-0-6)

888281

สถาปัตยกรรมและโครงสร้างคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Computer Architecture and Organization for Software Engineering

3(3-0-6)

888333

ระบบปฏิบัติการสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Operating System for Software Engineering

3(3-0-6)

888351

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงกลุ่มงาน

Team Software Development Process

3(3-0-6)

888352

ปฏิบัติการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงกลุ่มงาน

Team Software Development Process Laboratory

1(0-3-6)

888353

วิธีวิทยาโอเพนซอร์สและแบบจำลองธุรกิจ

Open Source Methodology and Business Model

3(3-0-6)

888414

กฎหมายและจริยธรรมสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์

Laws and Ethics for Software Engineers

3(3-0-6)

888417

สัมมนาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering Seminar

1(0-3-3)

888418

สหกิจศึกษา

Cooperative Education

6(0-18-6)

888419

โครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering Project

3(0-6-3)

888482

สถาปัตยกรรมสารสนเทศขององค์กร

IT Enterprise Architecture

3(3-0-6)

กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก กำหนดให้เลือกเรียน 7 รายวิชา จำนวน 21 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

310464

การทำเหมืองข้อมูล

Data Mining

3(3-0-6)

321370

การให้บริการและเทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ต

Internet Technology and Services

3(3-0-6)

321451

เทคโนโลยีการจัดการความรู้

Knowledge Management Technology

3(3-0-6)

888315

การจัดการธุรกิจวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Software Engineering Business Management

3(3-0-6)

888316

วิศวกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Electronic Commerce Engineering

3(3-0-6)

888321

การบริหารโครงการซอฟต์แวร์

Software Project Management

3(3-0-6)

888322

วิศวกรรมความรู้และการจัดการความรู้

Knowledge Engineering and Knowledge Management

3(3-0-6)

888334

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Data Communication and Computer Networks for Software Engineering

3(3-0-6)

888335

อี-อาร์-พี สำหรับการผลิตและโลจิสติกส์

ERP for Manufacturing and Logistics

3(3-0-6)

888354

วิศวกรรมเว็บและเทคโนโลยีร่วมสมัย

Web Engineering and Contemporary Technology

3(3-0-6)

888355

ซอฟต์แวร์เมตริกซ์

Software Metrics

3(3-0-6)

888356

ซอฟต์แวร์ดีไซน์แพตเทิร์น

Software Design Patterns

3(3-0-6)

888357

กระบวนการพัฒนาและการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

Software Processes and Process Improvements

3(3-0-6)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888361

การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอไจล์

Agile Development 

3(3-0-6)

888362

การจัดการข้อกำหนดและการเปลี่ยนแปลง

Software Configuration and Change Management

3(3-0-6)

888363

การทดสอบซอฟต์แวร์และการประกันคุณภาพ

Software Testing and Quality Assurance

3(3-0-6)

888364

การออกแบบซอฟต์แวร์และสถาปัตยกรรม

Software Design and Architecture

3(3-0-6)

888365

สถาปัตยกรรมเชิงบริการ

Service Oriented Architecture

3(3-0-6)

888366

วิธีรูปนัยและแบบจำลองในวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Formal Methods and Models in Software Engineering

3(3-0-6)

888367

อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลและการโปรแกรมไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์

Internet Protocols and Client-Server Programming

3(3-0-6)

888458

ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมไอซีที

ICT Industry Supply Chain

3(3-0-6)

888459

การบริหารความเสี่ยงของโครงงานซอฟต์แวร์

Risk Management for Software Projects

3(3-0-6)

888491

หัวข้อพิเศษในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1

Special Topics in Software Engineering I

3(3-0-6)

888492

หัวข้อพิเศษในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2

Special Topics in Software Engineering II

3(3-0-6)

หมายเหตุ : ดูรายละเอียดรายวิชาได้จากภาคผนวก ข

คำอธิบายเลขรหัสรายวิชา

เลขรหัสตัวที่ 1

8 หมายถึง คณะวิทยาการสารสนเทศ

เลขรหัสตัวที่ 2 และ 3

88 หมายถึง สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

เลขรหัสตัวที่ 4

หมายถึง ชั้นปีที่เปิดสอน หรือระดับความรู้ของรายวิชา

1 - ชั้นปีที่ 1 รายวิชาพื้นฐาน

2 - ชั้นปีที่ 2 รายวิชาพื้นฐานของสาขา

3 - ชั้นปีที่ 3 หรือรายวิชาในระดับกลาง

4 - ชั้นปีที่ 4 หรือรายวิชาในระดับสูง

เลขรหัสตัวที่ 5

หมายถึง ด้านหรือกลุ่มวิชา

0 - หมายถึง พื้นฐานคณิตศาสตร์และวิศวกรรม

1 - หมายถึง องค์การและระบบสารสนเทศ [1]

2 - หมายถึง กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์

3 - หมายถึง กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ [1]

4 - หมายถึง กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ

5 - หมายถึง กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรม

6 - หมายถึง กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ [2]

7 - หมายถึง องค์การและระบบสารสนเทศ [2]

8 - หมายถึง กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ [3]

9 - กลุ่มวิชาที่ไม่ได้กำหนด

เลขรหัสตัวที่ 6

หมายถึง ลำดับของรายวิชาในแต่ละด้าน

18.1.4 แสดงแผนการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

22210x

ภาษาอังกฤษ (1 หรือ 2)

3(3-0-6)

English (I or II)

850xxx

วิชาเลือกกลุ่มสร้างเสริมสุขภาพ

1(0-2-1)

885101

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

3(2-2-5)

Information Technology in Daily Life

888101

คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 1

3(3-0-6)

Mathematics for Software Engineering I

888141

หลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Principles of Programming for Software Engineering

888142

ปฏิบัติการหลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

1(0-3-6)

Principles of Programming for Software Engineering Laboratory

888131

ทักษะพื้นฐานสำหรับวิทยาการสารสนเทศ

2(1-2-2)

Essential Skills Preparation in Informatics

888111

อุปนิสัยทรงคุณค่าของวิศวกรซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Skills and the Habits for Software Engineers

 จำนวนหน่วยกิตรวม 19

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

22210x

ภาษาอังกฤษ ( 2 หรือ 3)

3(3-0-6)

English (II or III)

402403

หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสังคม

Sufficiency Economy and Social Development

2(2-0-4)

423321

การออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

Design and Creative Presentation

2(2-0-4)

888102

คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 2

3(3-0-6)

Mathematics for Software Engineering II

888103

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Software Engineering Economics

888143

การสร้างแบบจำลองและการโปรแกรมเชิงวัตถุ

3(3-0-6)

Object-Oriented Programming and Modeling

888144

ปฏิบัติการการสร้างแบบจำลองและการโปรแกรมเชิงวัตถุ

1(0-3-6)

Object-Oriented Programming and Modeling Laboratory

888145

วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

Introduction to Software Engineering

 

จำนวนหน่วยกิตรวม 20

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

885201

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาการสารสนเทศ

3(3-0-6)

English for Informatics

302101

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

Mathematics in Everyday Life

2(2-0-4)

888204

โครงสร้างคณิตศาสตร์เต็มหน่วยสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Discrete Mathematics for Software Engineering

888205

สถิติและวิธีการเชิงประสบการณ์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Statistics and Empirical Methods for Software Engineering

888271

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Data Structure and Algorithms for Software Engineering

888246

การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ

3(3-0-6)

Object-Oriented System Analysis and Design

888247

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงบุคคล

3(3-0-6)

Personal Software Development Process

888248

ปฏิบัติการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงบุคคล

1(0-3-6)

Personal Software Development Process Laboratory

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 21

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

228202

การเขียนบทความวิชาการและงานวิจัย

Academic Article and Research Writing

3(3-0-6)

228102

ศิลปะการพูดและการนำเสนอ

Art of Speaking and Presentation

3(3-0-6)

888212

วิศวกรรมความต้องการและเอกสารโครงการซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Software Requirement Engineering and Documentation

888213

ปฏิบัติการวิศวกรรมความต้องการและเอกสารโครงการซอฟต์แวร์

1(0-3-6)

Software Requirement Engineering and Documentation Laboratory

888231

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Software Engineering Approach to Human Computer Interaction

888232

ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบระบบฐานข้อมูล

3(3-0-6)

Database Systems and Design

888281

สถาปัตยกรรมและโครงสร้างคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Computer Architecture and Organization for Software Engineering

888249

ค่ายฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์

1(0-3-6)

Software Development Training Camp

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 20

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

678101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

General Knowledge of Law

3(3-0-6)

309103

วิทยาศาสตร์ทางทะเล

Marine Science

2(2-0-4)

888333

ระบบปฏิบัติการสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Operating System for Software Engineering

888351

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงกลุ่มงาน

3(3-0-6)

Team Software Development Process

888352

ปฏิบัติการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงกลุ่มงาน

1(0-3-6)

Team Software Development Process Laboratory

888xxx

วิชาเอก เลือก จำนวน 2 วิชา

6(3-0-6)

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 18

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาปลาย

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

888353

วิธีวิทยาโอเพนซอร์สและแบบจำลองธุรกิจ

3(3-0-6)

Open Source Methodology and Business Model

888xxx

วิชาเอก เลือก จำนวน 5 วิชา

15(3-0-6)

888xxx

เลือกเสรี

3(3-0-6)

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 21

ปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

888418

สหกิจศึกษา

6(0-18-6)

Cooperative Education

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 6

ปีที่ 4 ภาคการศึกษาปลาย

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

888414

กฎหมายและจริยธรรมสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

Laws and Ethics for Software Engineers

888417

สัมมนาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

1(0-2-1)

Software Engineering Seminar

888482

สถาปัตยกรรมสารสนเทศขององค์กร

3(3-0-6)

IT Enterprise Architecture

888419

โครงงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(0-6-3)

Software Engineering Project

888xxx

เลือกเสรี

3(3-0-6)

 

 จำนวนหน่วยกิตรวม 13

18.1.5 คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาศึกษาทั่วไปดูภาคผนวก ก.

คำอธิบายรายวิชาเฉพาะดูภาคผนวก ข.

18.2 ชื่อ ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์ 18.2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

1.) นายธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์หมายเลขบัตรประชาชน 3-1009-0091x-xx-x

M.S. (Computer Applications) Asian Institute of Technology (AIT) พ.ศ. 2528

วท.บ. (ภูมิศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2519

ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์

ผลงานทางวิชาการ (เอกสารแนบภาคผนวก ง)

ภาระการสอนที่มีอยู่แล้ว

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

253215

ระบบการจัดการฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์

3(2-2-5)

310101

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

310325

ระบบปฏิบัติการ

3(3-0-6)

310326

เครื่องมือและการโปรแกรมบนยูนิกซ์

3(3-0-6)

310361

ระบบฐานความรู้

3(3-0-6)

321370

การให้บริการและเทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ต

3(3-0-6)

321491

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 1

1 (0-3-0)

321492

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2

2 (0-6-0)

310491

โครงงานคอมพิวเตอร์

2 (0-6-0)

975354

Graphics Programming

3(2-2-5)

ภาระการสอนในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888111

อุปนิสัยทรงคุณค่าของวิศวกรซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888281

สถาปัตยกรรมและโครงสร้างคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888354

วิศวกรรมเว็บและเทคโนโลยีร่วมสมัย

3(3-0-6)

888414

กฎหมายและจริยธรรมสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

2.) นางสาวนวลศรี เด่นวัฒนา หมายเลขบัตรประชาชน 3-8417-0047x-xx-x

พบ.ม. (สถิติประยุกต์) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันบัณฑิต-พัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2536

วท.บ. (คณิตศาสตร์)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2530

ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผลงานทางวิชาการ (เอกสารแนบภาคผนวก ง)

ภาระการสอนที่มีอยู่แล้ว

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

253215

ระบบการจัดการฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์

3(2-2-5)

310101

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

310201

หลักการโปรแกรม

3(2-2-5)

310288

การโปรแกรมภาษาซี

3(2-2-5)

310409

ทฤษฎีการคณนา

3(3-0-6)

310464

การทำเหมืองข้อมูล

3(3-0-6)

321350

ระบบสารสนเทศ เบื้องต้น

3(3-0-6)

321370

การให้บริการและเทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ต

3(3-0-6)

321491

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 1

1 (0-3-0)

321492

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2

2 (0-6-0)

310491

โครงงานคอมพิวเตอร์

2 (0-6-0)

321641

เหมืองข้อมูล

3(3-0-6)

975350

Theory of Computation

3(3-0-6)

310203

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

3 (2-2-5)

ภาระการสอนในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888141

หลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888142

ปฏิบัติการหลักและวิธีการโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

1(0-3-6)

888271

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888321

การบริหารโครงการซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888459

การบริหารความเสี่ยงของโครงงานซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

3.) นางสาวอธิตา โชคอนันต์รัตนาหมายเลขบัตรประชาชน 3-2202-0000x-xx-x

วท.ม. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2550

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2545

ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์

ผลงานทางวิชาการ (เอกสารแนบภาคผนวก ง)

ภาระการสอนที่มีอยู่แล้ว

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

310101

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

310288

การโปรแกรมภาษาซี

3(2-2-5)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

321480

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

3(3-0-6)

321370

การให้บริการและเทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ต

3(3-0-6)

321491

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 1

1 (0-3-0)

321492

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2

2 (0-6-0)

310491

โครงงานคอมพิวเตอร์

2 (0-6-0)

ภาระการสอนในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888131

ทักษะพื้นฐานสำหรับวิทยาการสารสนเทศ

2(1-2-2)

888231

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888357

กระบวนการพัฒนาและการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

4.) นายธีรเชษฐ์ ประทุมณี

หมายเลขบัตรประชาชน 3-1018-0040x-xx-x

วท.ม. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2550

วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2543

ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์

ภาระการสอนที่มีอยู่แล้ว -

ภาระการสอนในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

888333

ระบบปฏิบัติการสำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888334

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888361

การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอไจล์

3(3-0-6)

888364

การออกแบบซอฟต์แวร์และสถาปัตยกรรม

3(3-0-6)

5.) นายประจักษ์ จิตเงินมะดันหมายเลขบัตรประชาชน 3-3017-0052x-xx-x

M.Sc. (Electrical Engineering and Information Technologies) Electrical Engineering and

Information Technologies University of Applied Sciences Duesseldorf, Germany พ.ศ. 2550

B.Sc. (Information Technology)Information TechnologyUniversity of Applied Sciences

Duesseldorf, Germany พ.ศ. 2548

ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์

ผลงานทางวิชาการ (เอกสารแนบภาคผนวก ง)

ภาระการสอนที่มีอยู่แล้ว

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

310101

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

885101

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

3(2-2-5)

310482

หัวข้อเลือกสรรทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2

3 (2-2-5)

303766

หัวข้อเฉพาะทางเคมี 1

2 (2-0-4)

310429

ระบบประมวลผลแบบกระจาย

3(3-0-6)

975491

Computer Science Seminar

1 (0-2-1)

975371

Internet Technology

3 (3-0-6)

321491

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 1

1 (0-3-0)

321492

โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 2

2 (0-6-0)

310491

โครงงานคอมพิวเตอร์

2 (0-6-0)

ภาระการสอนในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

885101

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

3(2-2-5)

888249

ค่ายฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์

1(0-3-6)

888212

วิศวกรรมความต้องการและเอกสารโครงการซอฟต์แวร์

3(3-0-6)

888354

วิศวกรรมเว็บและเทคโนโลยีร่วมสมัย

3(3-0-6)

18.2.2 อาจารย์พิเศษ

1.) นายครรชิต มาลัยวงศ์

D.Eng. (Engineering) Asian Institute of Technology (AIT) พ.ศ. 2520

M. (Engineering)

Asian Institute of Technology (AIT) พ.ศ. 2510

วศ.บ. (เกียรตินิยม)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507

ตำแหน่งทางวิชาการราชบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

2.) นายสมนึก คีรีโต

D.Eng. (Computer Science)

Univ. of Southwestern Louisiana พ.ศ. 2535

M.Eng (Computer Applications ) Asian Institute of Technology พ.ศ. 2528

วศ.ม. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2529

วศ.บ. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2524

ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

3.) นายสุรเดช จิตประไพกุลศาล

D.Eng.