33
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 1 คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 นศ 351 การผลิตรายการวิดีทัศน์ 1 [CA 351 Video Program Production 1] (ปีการศึกษาท1/2557) รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

Embed Size (px)

DESCRIPTION

เอกสารประกอบการสอน วิชา นศ351 การผลิตรายการวิดีทัศน์ 1 (1/2557)

Citation preview

Page 1: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 1

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6

นศ 351 การผลิตรายการวิดีทัศน์ 1 [CA 351 Video Program Production 1] (ปีการศึกษาที่1/2557)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

Page 2: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 2

โปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในงานตัดต่อคลิปหรือวิดีโอ สามารถ ปรับแต่งได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งมีวิธีการใช้งานไม่ยากและมีลูกเล่นที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังรองรับการใช้งานไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบและยังแปลงไฟล์ที่ต้องการใช้ได้มากมายให้เหมาะกับการแสดงผล ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้ การเข้าสู่โปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 - คลิก เพื่อเปิดโปรแกรม

- จากนั้น จะปรากฏหน้าต่าง Welcome to Adobe Premier Pro CS 6 ดังภาพ

โดยมีส่วนประกอบ 3 ส่วนดังนี้ - 1 คือ Recent Projects คือ การเปิดใช้โปรเจกต์งานล่าสุดที่เคยเปิดใช้ก่อนหน้านี้ - 2 คือ New Project คือ การสร้างโปรเจกต์งานใหม่ - 3 คือ Open Project คือ การเปิดโปรเจกต์งานอื่นๆ นอกเหนือจากโปรเจคล่าสุดใน Recent Projects

1

2

3

Page 3: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 3 การสร้างโปรเจกต์งานใหม่

- คลิก New Project เพื่อสร้างโปรเจกต์ใหม ่- จะปรากฏหน้าต่าง New Project ขึ้น หลังจากนั้น ทําการกําหนดค่าต่างๆ ดังภาพ

1. กําหนดรูปแบบการแสดงผลวิดีโอให้เป็นแบบ Timecode

2. กําหนดรูปแบบการแสดงผลเสียงให้เป็น Audio samples

3. กําหนดรูปแบบการนําเข้าไฟล์ ใหเ้ลือกเป็น DV สําหรับไฟล์ที่บันทึกด้วยกล้อง DV หรือ Mini DV และ/หรือ เลือกเป็น HDV สําหรับไฟล์ที่บันทึกด้วยกล้อง HDV หรือ DSLR

4. กำหนด Location สำหรับจัดเก็บโปรเจกต์งานโดยการ Browse

5. กําหนดชื่อโปรเจกต์งาน ที่ Name แลว้จึงคลิก OK

5

3

2

1

4

Page 4: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 4

จากนั้น โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง New Sequence ขึ้นมา กําหนดรูปแบบการใช้งาน ดังภาพ

1. ตัวอย่างนี้เลือกรูปแบบ DV PAL แบบ Widescreen 48 KHz มีขนาดเฟรมเท่ากับ 720x576 อัตราส่วนพิกเซล 16:9 และ Frame Rate 25 fps

2. พื้นทีแ่สดงรายละเอียดการกําหนดค่าต่างๆ

รูปแบบที่นิยมเลือกใช ้คือ

1. DV-PAL เป็นโปรเจกตส์ำหรับทำงานกับฟุตเทจของไฟล์จากกล้อง DV หรือ Mini DV ที่รองรับระบบวดิีโอ PAL มีค่า Frame Rate เท่ากับ 25 frame/second (fps)

a. Standard 48 KHz ฟุตเทจ PAL มาตรฐาน มีขนาดเฟรมเท่ากับ 720x576 อัตราส่วนพิกเซล 4:3

b. Widescreen 48 KHz ฟุตเทจ PAL แบบ Widescreen มีขนาดเฟรมเท่ากับ 720x576 อัตราส่วนพิกเซล 16:9

1

2

Page 5: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 5

2. HDV เป็นโปรเจกต์สําหรับทํางานกับฟุตเทจของไฟล์จากกล้อง HDV ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กล้องชนิดนี้ในการ บันทึกวิดีโอมากขึ้น เป็นไฟล์แบบความคมชัดสูง ฟุตเทจนี้เป็นแบบ Widescreen มีขนาดเฟรมเท่ากับ 1920x1080 อัตราส่วนพิกเซล 16:9

รูปแบบที่กําหนดเอง นอกจากรูปแบบที่โปรแกรมกําหนดให้แล้ว เรายังสามารถกําหนดรูปแบบได้เอง ดังนี้

(ณ ที่นี้กําหนดเป็นขนาดเฟรมเท่ากับ 1920x1080 อัตราส่วนพิกเซล 16:9)

1. คลิกเลือก Settings

2. คลิก Editing Mode เลือกเป็น Custom

3. คลิก Timebase เลือก 25 frames / second

4. ในส่วน Video คลิก Frame Size ใส่ค่า 1920 ที่ horizontal และ ใส่ค่า 1080 ที่ vertical

5. Pixel Aspect Ratio เลือก Square Pixels(1.0) (แล้วจะเห็นว่าอัตราส่วนพิกเซลที่ Frame Size เปลี่ยนเป็น 16:9)

1

5

3

2

4

6 7

9

8

Page 6: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 6

6. Display Format เลือก 25 fps Timecode

7. ในส่วน Audio คลิก Sampling Rate เลือก 48000 Hz

8. คลิก Preview File Format เลือก P2 DVCPro 50 PAL

9. ใส่ค่า 1920 ที่ width และ ใส่ค่า 1080 ที่ height

จากนั้น คลิก OK เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตัดต่อ ซึ่งจะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรมดังภาพ

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม

• 1 คือ Menu Bar เป็นชุดคําสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของโปรแกรม

• 2 คือ Panel Project เป็นพื้นที่สําหรับจัดเก็บคลิปวดิีโอ ภาพนิ่ง และคลิปเสียงต่างๆ ที่นําเข้ามาใช้

• 3 คือ Panel Source Monitor เป็นพื้นที่แสดงภาพไฟล์ต้นฉบบัที่เลือกมาจาก Panel Project

• 4 คือ Panel Program Monitor เป็นพื้นที่แสดงผลของงานที่ตัดต่อบน Panel Timeline

• 5 คือ Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทํางานตัดต่อ

• 6 คือ Panel Timeline เป็นพื้นที่สําหรับการตัดต่อ

• 7 คือ Panel Audio Master Meter เป็นส่วนที่แสดงระดับความดังของเสียง

1

5

3 4

6

2

7

Page 7: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 7 Tips สําหรับการปรับตั้งค่าในส่วนของ Preferences

สําหรับการทํางานในโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6 สามารถกําหนดช่วงเวลาในการ save งานอัตโนมัติได้ในกรณีที่ลืม save งาน โดยให้ไปทําการตั้งค่า Preferences ดังนี้

• สําหรับระบบ iOS ไปที่ Premiere Pro > Preferences > Auto Save

• สําหรับระบบ Windows ไปที่ Edit > Preferences > Auto Save

เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏหน้าต่าง ดังภาพ

ทำการ ที่ Automatically save projects โดยพิมพ์ตัวเลขระยะเวลาที่ต้องการให้ save ได้ ที่ Automatically Save Every ในที่นี้ใช้ 10 นาที แล้วปิดหน้าต่าง โปรแกรมจะทำการ save อัตโนมัติให้ทุก 10 นาที

Page 8: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 8 การนำไฟล์ต่างๆ(ทั้งคลิปวิดีโอ คลิปเสียง หรือภาพนิ่ง) เข้ามาทํางานในโปรแกรม มี 3 วิธี ดังนี ้

• คลิกเมนู File แล้วเลือก Import แล้วทำการ browse หาไฟล์ที่ต้องการ

• คลิกขวาที่ Panel Project แล้วเลือก Import ไฟล์ที่ต้องการ

Page 9: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 9

• ลากคลิปจากโฟลเดอร์เก็บไฟล์มาที่ Panel Project

จากนั้น ลากคลิปที่ต้องการไปยัง Panel Source Monitor หรือลากไปที่ส่วนของ Timeline ก็ได้ เพื่อจัดการคลิปต้นฉบับ ดังภาพ

Panel Source Monitor

Timeline Panel Tool

Page 10: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 10 เครื่องมือใน Panel Source Monitor

Mark In กําหนดจุดเริ่มต้นของการ Mark คลิป

Mark Out กําหนดจุดสุดท้ายของการ Mark คลิป

กลับไปจุดเริ่มต้นของการ Mark ที่ตั้งไว้

กลับไปจุดสิ้นสุดของการ Mark ที่ตั้งไว้

แทรกคลิปโดยไม่ทับคลิปอื่น

แทรกคลิปโดยทับคลิปอื่น

แสดงเฟรมคลิปย้อนหลังทีละ 1 เฟรม

แสดงเฟรมคลิปถัดไปทีละ 1 เฟรม

แสดงการเล่น และการหยุดเล่นของคลิป

Page 11: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 11 เครื่องมือใน Panel Tool

Selection tool ใช้สําหรับคลิกเลือก clip ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายตําแหน่ง clip และใช้เพิ่มหรือลดความยาว clip

Track Select tool ใช้สําหรับคลิกที่ตัว Clip ไม่ว่าใน Track จะมีกี่ Clip และติดกันหรือไม่ก็ตาม เพียงการคลิกครั้งเดียว จะทําให้สามารถเลือกได้ทุก Clip จากนั้นก็ทําเลื่อน ทุก Clip ก็จะเลื่อนตามไปด้วยกันทั้งหมด สามารถกดปุ่ม Shift เพื่อทําการเลือก Clip อื่นๆ ที่อยู่ในส่วนของ Timeline ได้ด้วย

Ripple tool ใช้เมื่อลดหรือเพิ่ม track จะทําการ ripple ที่ว่างให้เลย

Rolling edit tool ใช้สําหรับปรับความยาวของ track ที่ติดกัน ให้อันหนึ่งยาวอีกอันก็จะลดลง โดยการลากระหว่างกลางของ track ทั้งสอง หรือทําโดยการคลิกแล้วกด e ก็ได้ แต่ต้องเลือน play head ไปตําแหน่งนั้นก่อน ขณะที่อยู่ในเครืองมือนี้

Rate stretch tool ใช้สําหรับการเพิ่มหรือลด speed โดยการยืดหรือหด stack

Razor tool ใช้สําหรับตัด track

Slip tool สําหรับเลื่อนปรับเวลาใน track

Slide tool ใช้สําหรับเลื่อน track แต่ไม่ทําให้ track ที่ถูกทับหายไปหมด จะหายเฉพาะส่วนที่ถูกทับ และไม่ทําให้เกิดช่องว่างในส่วนที่ถูกเลือนด้วย

Pen tool ใช้สําหรับคลิกที่เส้น Volume เพื่อกําหนดจุดในการปรับแต่ง เมื่อได้จุดแล้วสามารถคลิกเลื่อนจุด โดยใช้ Selection Tool

Hand tool ใช้สําหรับคลิก track ในส่วนของ Timeline แล้วเลื่อนไปมา ทาง ซ้าย หรือ ขวา เป็นการเลื่อนทั้งพื้นที่ทํางาน

Zoom tool ใช้สําหรับการซูมขยาย Clip ทําโดยการลากคลุมส่วนที่ต้องการขยาย (Zoom In) ถ้าต้องการZoom Out ให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้วคลิกลงในพื้นที่ของ Timeline คลิกแต่ละครั้งก็จะทําการ Zoom Out ไปเรื่อยๆ

Selection Tool Track Selection Tool

Ripple Edit Tool Rolling Edit Tool

Rate Stretch Tool Razor Tool

Slip Tool Slide Tool

Pen Tool Hand Tool

Zoom Tool

Page 12: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 12 การจัดการคลิปบน Timeline

• การแยกคลิปภาพและเสียงออกจากกัน o เลือกคลิปภาพและเสียงที่ต้องการแยก แล้วคลิกขวา จากนั้นเลือก Unlink

• การรวมคลิปภาพและเสียงเข้าด้วยกัน o เเลือกคลิปภาพและเสียงที่ต้องการรวมทั้งหมด แล้วคลิกขวา จากนั้นเลือก Enable

• การรวมกลุ่มคลิปเข้าด้วยกัน

o เลือกคลิปที่ต้องการรวมกลุ่มทั้งหมด โดยการกด Shift จากนั้น คลิกขวา แล้วเลือก Group

• ยกเลิกการรวมกลุ่ม o เลือกคลิปที่ต้องการยกเลิกการรวมกลุ่มทั้งหมด จากนั้น คลิกขวา แล้วเลือก Ungroup

Page 13: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 13

• การปรับความเร็วคลิป o คลิกขวาคลิปที่ต้องการเพิ่มหรือลดหน่วยความเร็ว

o จากนั้น เลือก Speed/Duration ปรากฏหน้าต่างเมนู Speed/Duration เพื่อกำหนดค่า ! Speed คือ การกำหนดเปอร์เซ็นต์ Speed (เปอร์เซ็นต์มากขึ้น คลิปจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น) ! Duration คือ การกำหนดความเร็วตามค่าเวลาที่ต้องการ

o คลิก OK

Page 14: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 14 การสร้างคลิปพิเศษอื่นๆ 1. การสร้างแถบเปรียบเทียบสี (Bars and Tone)

- คลิกปุ่ม New Item ที่หน้าต่าง Project จากนั้นเลือก Bar and Tone - จะปรากฏเมนู Bars and Tone เพื่อกำหนดคุณสมบัติ จากนั้นคลิก OK - ที่หน้าต่าง Project จะปรากฏคลิปแถบสี Bars and Tone - ลากคลิปแถบสีดังกล่าวไปใช้งานได้ใน Panel Timeline ดังภาพ

Page 15: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 15 2. คลิปตัวนับถอยหลัง (Counting Leader)

- คลิกปุ่ม ที่หน้าต่าง Project จากนั้นเลือก Universal Counting Leader - ปรากฏหน้าต่าง New Universal Counting Leader เพื่อกำหนดคุณสมบัต ิ จากนั้นคลิก OK ดังภาพ

3.คลิปหน้าจอสีดํา (Black Video)

- คลิกปุ่ม New Item ที่หน้าต่าง Project จากนั้นเลือก Black Video

Page 16: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 16

- ปรากฏหน้าต่าง New Black Video เพื่อกำหนดคุณสมบัติ จากนั้นคลิก OK - ปรากฏ Black Video ที่ Panel Project

4. คลิปหน้าจอสี (Color Video) - คลิกปุ่ม New Item ที่หน้าต่าง Project จากนั้นเลือก Color Matte - ปรากฏหน้าต่าง New Color Matte เพื่อกำหนดคุณสมบัติ จากนั้นคลิก OK - ปรากฏหน้าต่าง Color Picker จากนั้น ทำการคลิกเลือกสีที่ต้องการแล้วคลิก OK

การจัดการคีย์เฟรมบน Panel Effect Controls 1. การเคลื่อนที่ด้วย Position

- คลิกเลือกคลิปที่ต้องการเคลื่อนที่บน Panel Timeline

- จากนั้นไปที่ Panel Effect Controls

- คลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Motion - เมื่อคลิก จะปรากฏรายละเอียดคำสั่ง ดังภาพ

Page 17: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 17

- คลิกปุ่ม ของ Position เพื่อกําหนดการสร้างคีย์เฟรมแรกของการเคลื่อนที่ของคลิป (สังเกตที่Panel

Effect Controls และที่ Panel Timeline จะมีความสัมพันธ์กัน และมี จุดที่ 1 แสดงการเคลื่อนที่ของคลิปอัตโนมัติ) ดังภาพที่1

ภาพที่ 1

- เลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังตำแหน่งที่ 2 จากนั้น กําหนดค่าในคําสั่ง Position ในตำแหน่งแกน X จากเดิม 346.0 เป็น 240.0 เพื่อใหค้ลิปเคลื่อนที่ไปด้านซ้ายของจอ (สังเกตการเคลื่อนที่ของคลิปที่Panel Program

Monitor ว่ามีการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย และที่ Timeline ของ Panel Effect Controls จุดที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่ของคลิปอัตโนมัติ) ดังภาพที่ 2

- เลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังตําแหน่งที่ 3 กําหนดค่าในคําสั่ง Position ในตำแหน่งแกน X จากเดิม 288.0 เป็น 388.0 เพื่อให้คลิปเคลื่อนที่ไปด้านล่างของจอ (สังเกตการณ์เคลื่อนที่ของคลิปที่ Panel Program

Monitor ว่ามีการเคลื่อนที่ไปด้านขวาและที่ Timeline ของ Panel Effect Controls มี จุดที่ 3 แสดงการเคลื่อนที่ของคลิปอัตโนมัติ) ดังภาพที่ 2

Page 18: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 18

ภาพที ่2

2. การเคลื่อนที่ด้วย Scale

- คลิกเลือกคลิปที่ต้องการเคลื่อนที่บน Panel Timeline

- จากนั้นไปที่ Panel Effect Controls แล้วคลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Motion

- เมื่อคลิก จะปรากฏรายละเอียดคำสั่ง

- คลิกปุ่ม ของ Scale เพื่อกําหนดการสร้างคีย์เฟรมแรกของการปรบัเปลี่ยนขนาดของคลิป (สังเกตที่

Panel Effect Controls จะมี จุดที่ 1 แสดงขนาดของคลิป มีค่า = 100) ดังภาพ

Page 19: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 19

- เลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังตำแหน่งที่ 2 กําหนดค่า Scale ให้มีค่า = 50 (สังเกตการขนาดของคลิปที่Panel

Effect Controls ว่ามีขนาดลดลง และที่ Timeline ของ Panel Effect Controls มี จุดที่ 2 แสดงการลดขนาดของคลิปอัตโนมัติ) ดังภาพ

- ทําการทดสอบการเล่นคลิป จะเห็นว่าขนาดคลิปมีสเกลที่เล็กลงตามคีย์เฟรมที่กําหนด

3. การหมุนด้วย Rotation - คลิกเลือกคลิปที่ต้องการเคลื่อนที่บน Panel Timeline

- จากนั้นไปที่ Panel Effect Controls แล้วคลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Motion

- เมื่อคลิก จะปรากฏรายละเอียดคำสั่ง

- คลิกปุ่ม ของ Rotation เพื่อกําหนดการสร้างคีย์เฟรมแรกของการเคลื่อนหมุนของคลิป (สังเกตที่

Panel Effect Controls จะมี จุดที่ 1= 0.0) ดังภาพ

Page 20: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 20

- เลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังตําแหน่งที่ 2 กําหนดค่า Rotation ให้มีค่า = 63 (สังเกตการหมุนของคลิปที่

Panel Program Monitor ว่ามีหมุน 63 องศา และที่ Timeline ของ Panel Effect Controls มี จุดที่ 2 แสดงการหมุนของคลิปอัตโนมัติ) ดังภาพ

Page 21: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 21 4.การเร่ง-หน่วงความเร็วของคลิปด้วย Time Remapping

- คลิกเลือกคลิปที่ต้องการทางานบน Panel Timeline

- ที่ Panel Effect Controls คลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Time Remapping

- เมื่อปรากฏ จากนั้นคลกิปุ่มสามเหลี่ยมที่ Speed

- เลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังช่วงเวลาที่ต้องการเร่ง-หน่วงความเร็วของคลิป จากนั้นคลิก ปรากฏ แสดงสถานการณ์ทํางาน ดังภาพ

- จากนั้นทําการดึงเส้นความเร็วขึ้นด้านบนเพื่อเร่งความเร็วของคลิป ดังภาพ

- หากต้องการหน่วงความเร็วของคลิปให้ดึงเส้นความเร็วลงด้านล่าง การใส่ Effects ให้คลิปวีดีโอ

Click ปรา

กฏ

ดึงขึ้นหรือดึงลง

Page 22: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 22

ไปที ่Panel Effects จะพบคำสั่ง Effects ของโปรแกรมให้เลือกใช้งานต่างๆ ดังนี้ - Presets คือ Effects สำเร็จรูปที่โปรแกรมทําการกําหนดค่าให ้- Audio Effects คือ Effects ในการปรับแต่งค่าคลิปเสียง - Audio Transitions คือ Effects ในการเชื่อมต่อเสียงระหว่างคลิป - Video Effect คือ Effects ในการปรับแต่งคลิปภาพ - Video Transitions คือ Effects ในการเชื่อมต่อภาพ

การใช้งาน Effect วิธีที่ 1

- เลือก Effect ที่ต้องการ จากนั้นแดรกเมาส์ลาก Effect มาวางทับบนคลิปที่ต้องการใช้งานบน Panel Timeline ดังภาพ

วิธีที่ 2 - คลิกเลือกคลิปที่ต้องการใส่ Effect ที ่Panel Timeline

- ดับเบิ้ลคลิก Effect ที่ Panel Effect

- จะพบว่าที่ Panel Effect Controls จะมีชุดคําสั่งเพิ่มเติมขึ้น

Page 23: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 23 การปรับค่าของ Effect - ทำการเลือกใช้งาน Effect บนคลิป

- ไปที่ Panel Effect Controls จะปรากฏคำสั่ง Effect ที่เราเลือกใช้งานปรากฏอยู่

- คลกิปุ่มสามเหลี่ยม Effect ที่เลือกใช้งาน ซึ่งจะปรากฏค่าต่างๆ ของ Effect

- ทําการปรับแต่งค่าตามต้องการ ดังภาพ

การใส่ Effect Video Transition

- ไปที่ Panel Effects จากนั้น คลิก ปรากฏรูปแบบ Video Transition ต่างๆ ดังภาพ

Page 24: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 24

- เลือก Transition ที่ต้องการ จากนั้นแดรกเมาส์ลาก Transition ไปวางระหว่างคลิป ดังภาพข้างล่าง

Page 25: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 25

การลบ Effect Video Transition - คลิก Transition ที่ต้องการลบ กดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด หรือคลิกขวาที่ Transition เลือก Clear ดังภาพ

การสร้างข้อความแสดงบนคลิป - คลิก ที่ Panel Project จากนั้น เลือก Title ดังภาพ

คลิก แล้ว clear

Page 26: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 26 - ปรากฏหน้าต่างเมนู New Title เพื่อกําหนดคุณสมบัต ิจากนั้นตั้งชื่อ และคลิก OK

- จะปรากฏหน้าต่าง Title สำหรับการสร้างข้อความ ดังภาพ

- ทำการสร้างข้อความ โดยมีเครื่องมือในหน้าต่าง Title ที่สําคัญ ดังนี้ - A คือ กลุ่มเครื่องมือสร้างข้อความในรูปแบบต่างๆ และรูปเรขาคณิต

- B คือ กลุ่มเครื่องมือจัดรูปแบบฟอนต์ เช่น รูปแบบฟอนต์ ขนาดฟอนต์

- C คือ กลุ่มคําสั่งจัดเรียงข้อความ เช่น การชิดซ้าย การชิดขวา

- D คือ กลุ่มคําสั่งกําหนดคุณสมบัติของข้อความ เช่น การสร้างเงา

- E คือ กลุ่มรูปแบบที่โปรแกรมกำหนดให้

- F เมื่อสร้างข้อความแล้วเสร็จ ให้คลิก ของหน้าต่าง Title โปรแกรมจะทำการบันทึก Title ที่สร้างโดยอัตโนมัติ

- ที่ Panel Project จะปรากฏไฟล ์Title ที่สร้างขึ้นเพื่อนําไปใช้ใน Panel Timeline ดังภาพ

A

D

F

B

C

E

Page 27: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 27

- หากต้องการแก้ไขให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์งานที่ต้องการแก้ที่ Panel Project จากนั้นทำการแก้ไข และทำการปิดหน้าต่าง Title เพื่อบันทึกการแก้ไขอัตโนมัติ การสร้างข้อความเลื่อนขึ้น - คลิก ที่ Panel Project เลือก Title

- ปรากฏหน้าต่างเมนู New Title เพื่อกําหนดคุณสมบัติ

- จากนั้นทําการตั้งชื่อ และคลิก OK

- ปรากฏหน้าต่าง Title ขึ้นมา

- คลิกเครื่องมือ สร้างข้อความ จากนั้นแดรกเมาส์สร้างกรอบข้อความบนพื้นที่ทํางาน แล้วทําการพิมพ์ข้อความ ดังภาพ

- จากนั้น เลื่อนข้อความลงมาด้านล่างในตําแหน่งแรกที่ต้องการให้แสดงข้อความ โดยใช้เครื่องมือ ดังภาพ

- จากนั้น คลิก เพื่อกําหนดให้แสดงข้อความแบบเลื่อนขึ้น จะปรากฏหน้าต่างเมนู Roll/Crawl Option แล้วเลือก Roll แล้วคลิก OK - คลกิ ของหน้าต่าง Title โปรแกรมจะทำการบันทึก Title ที่สร้างโดยอัตโนมัติ

- ที่ Panel Project จะปรากฏไฟล์ที่สร้างขึ้นเพื่อนําไปใช้ใน Panel Timeline

Page 28: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 28

การใช้ Shortcut

Premiere Pro>Keyboard shortcut สําหรับระบบปฏิบัติการ iOS จากนั้นก็ปรับแต่งตามต้องการ

โดยการเพิ่ม ลบ หรือ แก้ไข

Page 29: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 29

คีย์ลัดสําหรับปุ่มต่าง ของ Source Panel ที่ใช้บ่อย I = Mark In O = Mark Out Shift I = Go to In Shift O = Go to Out Play and Stop = Spacebar Insert = Comma Overwrite = Period . J = Play Reverse K = Shuttle Stop L = Play Forward

การทำ Render เป็นการลดภาระหนักของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเห็นได้จากแถบสีที่แสดงในส่วนของ Timeline ซึ่งมีทั้งหมด 3 สีด้วยกัน ได้แก่ สีแดง เหลือง และเขียว ก่อนอื่นให้ทําการเปิด Show Dropped Frame Indication โดยการคลิกที่ลูกศรบนแถบ Program Panel ขณะที่เปิด Play ให้สังเกตสีไฟของ Show Dropped Frame Indication บนแถบ Program Panel ถ้ามีการ Drop Frame เกิดขึ้น สีของไฟจะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีเหลืองซึ่งเป็นการเตือน ทั้งนี้ขึ้นกับการปรับ Resolution ในส่วนของ Program Panel ที่แถบซึ่งตั้งอยู่ก่อนไอคอนเครื่องมือด้วย วิธีทํา Render โดยการใช้เมนู Sequence - Render Effects In to Out (สําหรับ render effect) or Render In to Out (สําหรับทุกอย่าง) Render Audio (สําหรับ Audio) จากนั้นให้กําหนด in and out เฉพาะส่วนที่ต้องการทํา render ในเขตของ timeline หรือก็คือส่วนที่เกิดการ drop frame นั่นเอง เมื่อกําหนดแล้วก็ใช้คําสั่งแต่ละรายการ หลังจากการทํา render แล้วยังพบว่าเป็นสีเหลืองอีก ก็ไม่เป็นไรเพราะระบบได้ทําการ render เรียบร้อยแล้ว

Page 30: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 30 การบันทึก Project - คลิกเมนู File เลือก Save หรือ Ctrl + S ดังภาพข้างล่าง

การบันทึก Project เพื่อให้สามารถนําไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได ้- คลิกเมนู Project เลือก Project Manager ดังภาพ - จากนั้น โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างเมนู Project Manager ขึ้นมา ดังภาพ

Page 31: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 31 - ที่ Source Sequence ที่ต้องการบันทึก

- เลือกรูปแบบการบันทึก Project - หากเลือก Create New Trimmed Project (ไฟล์งานที่บันทึกได้ จะมีคลิปที่อยู่เฉพาะ Panel Timeline)

ดังภาพข้างล่าง

- หากเลือก Create New Trimmed Project และเลือก Exclude Unused Cilps (ไฟล์งานที่บันทึกได้ จะมีทั้งคลิปที่ Panel Timeline และคลิปที่อยู่ใน Panel Project)

- จากนั้น เลือกพื้นที่เก็บไฟล์ Project แล้วคลิก OK เพื่อทําการบันทึก - เมื่อเปิด Folder ตามพื้นที่เก็บไฟล ์Project ที่กําหนดไว้ จะพบ Folder Trimmed ชื่อโปรเจกต์ ซึ่งสามารถคัดลอก Folder ดังกล่าวไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้

Page 32: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 32 การ Export - คลิกเมนู File เลือก Export เลือก Media ดังภาพ

- จากนั้น จะปรากฏหน้าต่างเมนู Export Setting เพื่อกำหนดคุณสมบัติ ดังนี้ - A เลือกรูปแบบไฟล์วีดีโอที่ต้องการใช้งานที่ช่อง Format

- B คลิกที่ตัวอักษรสีส้มเพื่อกําหนดพื้นที่และชื่อที่จะบันทึกไฟล์วีดีโอที่ช่อง Output Name

- C เลือก Export Video เพื่อกําหนดให้มีภาพวีดีโอในไฟล์ที่ Export และ Export Audio เพื่อกําหนดให้มีเสียงในไฟล์ที่ Export

A

C B

B

Page 33: Ca351 คู่มือ adobe premiere pro cs6

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Adobe Premier Pro CS 6 | 33

- ที่ Output Name เมื่อคลิก จะปรากฏหน้าต่าง Save As ทำการ Save ไฟล์งานไปยัง Folder ที่ต้องการจะบันทึก และตั้งชื่อไฟล์งานที่ File name ให้เรียบร้อย จากนั้น คลิก Save

- คลิก Export เพื่อประมวลผลชิ้นงาน - จะได้ไฟล์วิดีโอที่ต้องการ สามารถนําไปใช้งานต่างๆ ได้ต่อไป