3
ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย 295 สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ การใช้ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย (Simplified Linear Transfer Functions) เพื่อเข้าใจผลกระทบของแต่ละส่วนประกอบ (Component) ที่มีต่อความแปรผันรวมของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือกระบวนการหนึ่งๆ ด้วยการใช้วิธีนี้ คุณจะเข้าใจว่าส่วนประกอบแต่ละส่วนมีผลต่อความแปรผันรวมอย่างไร บ้าง และรู้ว่าควรจะให้ความสำคัญที่ใด ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่ายถูกนำไป ใช้งานได้ในขั้นตอนวิเคราะห์ (Analyze) และขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของกระบวน- การ DMAIC บทนี้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และงานทีมีลักษณะเป็นกระบวนการ เช่นเดียวกับเรื่องการออกแบบการทดลอง (DOE) บางคนอาจคิดว่าเรื่องนีซับซ้อนมากเกินไปสำหรับหนังสือเล่มนีแต่มี Green Belt ที่ได้นำเครื่องมือนี้ไปใช้งาน และพบกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาแล้ว วิธีที่ถูกใช้ในฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่ายมีลักษณะคล้ายกันมากกับวิธี พิกัดความเผื่อแบบ RSS ที่ได้กล่าวไป ในความเป็นจริง ฟังก์ชันการส่งผ่านแบบนี้ถูก เรียกว่า Root Sum-of-squares (RSS) เพราะว่าจะเกี่ยวข้องกับการยกกำลังสองและ ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย บ ท ที18 Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 19

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 19

ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย  295

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ การใช้ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย

(Simplified Linear Transfer Functions) เพื่อเข้าใจผลกระทบของแต่ละส่วนประกอบ

(Component) ที่มีต่อความแปรผันรวมของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือกระบวนการหนึ่งๆ

ด้วยการใช้วิธีนี้ คุณจะเข้าใจว่าส่วนประกอบแต่ละส่วนมีผลต่อความแปรผันรวมอย่างไร

บ้าง และรู้ว่าควรจะให้ความสำคัญที่ใด ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่ายถูกนำไป

ใช้งานได้ในขั้นตอนวิเคราะห ์ (Analyze) และขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของกระบวน-

การ DMAIC บทนี้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และงานที่

มีลักษณะเป็นกระบวนการ

เช่นเดียวกับเรื่องการออกแบบการทดลอง (DOE) บางคนอาจคิดว่าเรื่องนี้

ซับซ้อนมากเกินไปสำหรับหนังสือเล่มนี้ แต่มี Green Belt ที่ได้นำเครื่องมือนี้ไปใช้งาน

และพบกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาแล้ว

วิธีที่ถูกใช้ในฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่ายมีลักษณะคล้ายกันมากกับวิธี

พิกัดความเผื่อแบบ RSS ที่ได้กล่าวไป ในความเป็นจริง ฟังก์ชันการส่งผ่านแบบนี้ถูก

เรียกว่า Root Sum-of-squares (RSS) เพราะว่าจะเกี่ยวข้องกับการยกกำลังสองและ

ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย 

บ ท ที่ 18 Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 19

ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย  301

TIP 

ฟังก์ชันการส่งผ่านที่ไม่เป็นเชิงเส้น

มีบางกระบวนการที่ไม่ได้เป็นแบบเชิงเส้นและมีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างตัวแปร

ต่างๆ ที่ซับซ้อนจนกระทั่งไม่สามารถแสดงออกมาในรูปแบบการส่งผ่านเชิงเส้นแบบ

ง่ายได้ มักพบบ่อยกับกระบวนการทางเคมี ฟังก์ชันการส่งผ่านที่ได้จะเป็นแบบไม่ใช่

เชิงเส้นและต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า อนุพันธ์ย่อย (Partial Derivatives) มาแก้ปัญหา

การทดสอบเพื่อระบุส่วนประกอบของฟังก์ชันการส่งผ่านที่ไม่เป็นเชิงเส้นจึง

ครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวข้องมากมาย และต้องมีการทดสอบแบบซ้ำๆ ที่จำเป็นจำนวน

มาก สิ่งนี้ถือว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตของหนังสือเล่มนี้ อีกทั้งกระบวนการที่

ต้องการการส่งผ่านที่ไม่ใช่เชิงเส้นนี้ก็ไม่ค่อยได้ถูกกำหนดไว้อย่างสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 18 

1. ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย (Simplified Linear Transfer Function)

ถูกใช้งานในขั้นตอนวิเคราะห์ (Analyze) และขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของ

กระบวนการ DMAIC

2. การใช้งานฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่ายทำเพื่อให้เข้าใจผลกระทบของ

แตล่ะสว่นประกอบทีส่ง่ผลตอ่คา่ความแปรผนัรวมของการประกอบหนึง่ หรอืกระบวนการ

หนึ่ง

3. ผลรวมของกำลังสอง (Sum-of-the-squares) ของค่า Sigma ของตัวแปร

ที่มีผลต้องมีค่าเท่ากับกำลังสองของค่า Sigma รวมของการประกอบหนึ่ง หรือของ

กระบวนการหนึ่ง ถ้าผลรวมนี้มีค่าน้อยมาก แสดงว่ามีตัวแปรหนึ่งตัวหรือหลายตัวหาย

ไป

4. ผลกระทบของค่า Sigma แต่ละตัวต้องมีหน่วยเดียวกันกับผลที่เกิดกับ

ผลิตภัณฑ์ที่ถูกวัดค่า ด้วยวิธีนี้เราสามารถเปรียบเทียบค่า Sigma ของตัวแปรต่างๆ เพื่อ

หาว่าตัวแปรตัวใดมีความสำคัญมากกว่ากันได้อย่างถูกต้อง

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 3: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 19

302 

5. ฟังก์ชันการส่งผ่านที่ไม่ใช่เชิงเส้นซึ่งต้องการวิธีการที่เรียกว่า “อนุพันธ์ย่อย”

(Partial Derivatives) ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของหนังสือเล่มนี ้ (และงาน Sigma

สว่นใหญ)่

ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง  

Crystal Ball 2000, Decisioneering Inc., Denver, CO, www.decisioneering.com.

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING