70
วิศรุต พึ่งสุนทร

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 (Western Historiography, chapter 1)

Embed Size (px)

Citation preview

วิศรุต พึ่งสุนทร

ผู้เขียน ดร. วิศรุต พึ่งสุนทร พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2556 จ านวน 150 เล่ม ผลงานต ารานีไ้ด้รับการสนบัสนนุการจาก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร ์โครงการทุนสนับสนนุการเขียนต ารา ประจ าปีงบประมาณ 2553 โครงการทุนสนับสนนุการตีพิมพ์เผยแพร่ต ารา ประจ าปีงบประมาณ 2555 ภาพปกจาก Girolamo Andrea Martignoni, Spiegazione Della Carta Istorica Dell'italia, E Di Una Parte Della Germania Dalla Nascita Di Gesu' Cristo Fino All'anno MDCC (Rome: Nella stamperia di Antonio de' Rossi, 1721).

สารบัญ

สารบัญตาราง vii สารบาญภาพ vii ค าน า ix บทน า 1

บรรณานุกรม .................................................................................................. 9 ค าถามท้ายบท .............................................................................................. 10

บทที่ 1 ก าเนิดประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกจากต านานถึงเฮโรโดตัส 11 ต านานในฐานะวรรณกรรมบอกเล่าอดีต ...................................................... 11 มหากาพย์ในฐานะวรรณกรรมจดจ าอดีต ..................................................... 14 บันทึกโลกอสในฐานะบันทึกอดตี .................................................................. 18 ประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส ......................................................................... 29 บริบททางความคิด การค้นคว้าและการเผยแพร่ .......................................... 34 เฮโรโดตัสกับวัฒนธรรมมุขปาฐะ................................................................... 41 เฮโรโดตัสกับโฮเมอร์: สงครามและวัฒนธรรม .............................................. 47 บรรณานุกรม ................................................................................................ 56 ค าถามท้ายบท .............................................................................................. 58

บทที่ 2 ธูซิดดิดีสกับประวัติศาสตร์เชิง “วิทยาศาสตร์” 60 ธูซิดดิดีสกับการเมืองกรีก ............................................................................. 61 สถานะของประวัติศาสตร์และหลักการค้นคว้าของธูซิดดิดีส ........................ 66 การวินิจฉัยกับการวิเคราะห:์ โรคระบาดและสงคราม .................................. 79 ค าปราศรัยและค าพูดโต้ตอบในประวัติศาสตร์ของธูซิดดิดีส ........................ 84

บรรณานุกรม ................................................................................................ 88 ค าถามท้ายบท .............................................................................................. 90

บทที่ 3 ประวัติศาสตร์นิพนธ์โรมันจากยุคสาธารณรัฐถึงลิวี 91 บริบท: อิทธิพลจากประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกและสงัคมการเมืองโรมัน ....... 95 แหล่งข้อมูลของนักประวัติศาสตร์โรมัน ........................................................ 99 ประวัติศาสตร์ยุคต้นสาธารณรัฐ ................................................................. 102 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ปลายยุคสาธารณรัฐ: ซีซาร์และซัลลสุ ....................... 106 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคจักรพรรดิตอนต้น : ลิว ี......................................... 115 การค้นคว้า ทัศนะ และการวิเคราะห์ของลิวี .............................................. 120 บรรณานุกรม .............................................................................................. 131 ค าถามท้ายบท ............................................................................................ 133

บทที่ 4 นักประวัติศาสตร์โรมันสมัยจักรวรรดิ: ทาซิทัสและอัมเมียนัส 134 ทาซิทัสกบับริบททางการเมืองจักรวรรดิโรมัน ............................................ 135 Historiae (Histories) ............................................................................. 139 Ab excessu divi Augusti (Annals) .................................................. 142 การใช้ข้อมูลและการค้นคว้าของทาซิทสั .................................................... 148 กรอบการวิเคราะห์การเมืองของทาซิทสั .................................................... 151 บุคคลและมิตทิางจติวิทยา ......................................................................... 155 ประวัติศาสตร์นิพนธ์โรมันหลงัทาซิทัส: อัมเมียนัส มาร์เซลลินสั................ 161 บรรณานุกรม .............................................................................................. 168 ค าถามท้ายบท ............................................................................................ 169

บทที่ 5 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฮิบรูและคริสเตียนตอนต้น 170 โจเซฟุส: การผสมผสานของทัศนะประวัติศาสตร์ยูดาห์กับคลาสสิก .......... 171 คัมภีร์คริสต์ศาสนากบัประวัติศาสตร์นิพนธ์ ............................................... 174

ยูเซเบียสและก าเนิดประมวลเหตุการณ์คริสเตียน ..................................... 183 นักบุญออกัสตินกับประวัติศาสตร์นิพนธ์คริสเตียน .................................... 191 บรรณานุกรม ............................................................................................. 199 ค าถามท้ายบท ........................................................................................... 200

บทที่ 6 ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยกลาง 202 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคต้นสมัยกลาง: สถานการณ์และบริบท .................. 203 ประวัติศาสตร์ชาวแฟรงค์ของเกรกอรีแห่งตูร์ ............................................ 210 นักบุญอิสซิดอเรแห่งเซวิลล์ ....................................................................... 214 นักบุญเบเดกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ......................................................... 219 บันทึกประวัติศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ ในยุคต้นสมยักลาง ........................... 228 ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยกลางยุครุ่งเรืองและสมัยกลางยุคปลาย: สถานการณ์

และบริบท ..................................................................................................... 232 วิลเลียมแห่งมาล์มส์เบอรี ........................................................................... 236 เฮนรีแห่งฮันติงดอน ................................................................................... 239 เจฟฟรีย์แห่งมอนมัธ................................................................................... 241 บรรณานุกรม ............................................................................................. 250 ค าถามท้ายบท ........................................................................................... 253

บทที่ 7 ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยเรอเนสซองส์ในอิตาลี 254 บริบทของประวัติศาสตรน์ิพนธ์ในอิตาลี .................................................... 256 ประมวลเหตุการณ์ต้นสมัยเรอเนสซองส์ .................................................... 259 ลีโอนาร์โด บรูน.ี......................................................................................... 264 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่นครรัฐอ่ืนๆ ในช่วงศตวรรษที่ 15 .......................... 276 บริบทของประวัติศาสตรน์ิพนธอ์ิตาลีในศตวรรษที่ 16 .............................. 278 นิโคโล มาเคียเวลล ี..................................................................................... 279

ฟรานเชสโก กุอิซิอาดิน ี.............................................................................. 289 บรรณานุกรม .............................................................................................. 296 ค าถามท้ายบท ............................................................................................ 299

บทที่ 8 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคแสงสว่าง 300 องค์ความรู้จากผู้ศึกษาเอกสารและวัตถุโบราณในช่วงศตวรรษที่ 17 ........ 303 ก าเนิดประวัติศาสตร์นพินธ์ยุคแสงสวา่ง: วอลแตร์ .................................... 308 การวิเคราะห์และทัศนะทางประวัติศาสตร์ของวอลแตร์ ............................ 319 เดวิด ฮูมกับประวตัิศาสตร์อังกฤษ .............................................................. 329 การตีความทางประวัติศาสตร์และรัฐธรรมนูญโบราณ ............................... 337 มิติทางวรรณกรรมของ History of England ......................................... 348 เอ็ดเวิร์ด กิบบอนกับจักรวรรดิโรมัน ........................................................... 360 บรรณานุกรม .............................................................................................. 373 ค าถามท้ายบท ............................................................................................ 379

บทที่ 9 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในศตวรรษที่ 19: เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ 380

ความสนใจต่อประวัติศาสตร์ในเยอรมันช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ................... 382 เลโอโปลด์ ฟอน รังเคกับประวตัิศาสตร์เชิงประจักษ์ ................................. 386 การเมืองของประวัติศาสตร์หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส .................................... 396 ฌูลส์ มิเชเลท์กับประวัติศาสตรฝ์รั่งเศส ...................................................... 411 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในอังกฤษชว่งศตวรรษที่ 19 ...................................... 420 ประวัติศาสตร์อังกฤษของธอมัส บาบงิตัน แมคคอลลีย์ ............................. 429 บรรณานุกรม .............................................................................................. 438 ค าถามท้ายบท ............................................................................................ 440

ดัชนี 443

สารบัญตาราง

ตาราง 1 โครงสร้างของ Histories .................................................................. 31 ตาราง 2 โครงสร้างของ Gallic War ........................................................... 108 ตาราง 3 โครงสร้างและเนื้อหาของ Ab Urbe Condita ............................. 118 ตาราง 4 กรอบการวิเคราะห์และการเปรียบเปรยของลิวี ............................ 130 ตาราง 5 โครงสร้างของ Historiae .............................................................. 140 ตาราง 6 โครงสร้างของ Annals .................................................................. 143 ตาราง 7 การตีพิมพ์ของ History of England ........................................... 330

สารบาญภาพ

รูป 1 การแบ่งยุคใน De Civitate Dei ......................................................... 197

ค าน า

หนังสือหรือต าราฉบับนี้เขียนขึ้นโดยเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของรายวิชาประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก ซึ่งผู้ เขียนเป็นผู้สอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 หนังสือฉบับนี้ยังเขียนขึ้นโดยนึกถึงนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์ ในแง่ของการค้นคว้า การประพันธ์ การวิเคราะห์และบริบท อีกทั้งยังมุ่งให้ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์วรรณกรรม เนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มีพัฒนาการต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคโบราณ หนังสือฉบับนี้ยังอภิปรายชี้ให้เห็นว่านักประวัติศาสตร์ตั้งแต่เฮโรโดตัสเป็นต้นมามีความเป็นนักสังคมศาสตร์อยู่ในตัว โดยได้น าเสนอวิธีวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่นักสังคมศาสตร์ร่วมสมัยให้ความสนใจ แม้ว่ายังไม่มีแนวคิดหรือนิยามว่าด้วยโครงสร้าง (structure) และตัวกระท า (agency) ซึ่งผู้เขียนคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ส าหรับนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์

หนังสือเล่มนี้ไม่อาจส าเร็จได้ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และขอขอบคุณพลูที่ช่วยอ่านต าราปรู๊ฟแรกภายใต้ความเร่งรัด ขอขอบคุณม่อนที่แก้ไขต้นฉบับให้อย่างละเอียดเพื่อส่งพิมพ์

บทน า

ค าว่า “ประวัติศาสตร์” (history) มีความหมายหลักๆ สองความหมาย ความหมายแรกคือ “สิ่ งที่ เกิดขึ้นในอดีต” ทั้ ง เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ผู้คน รวมถึงความคิดความรู้สึกที่เกิดในอดีต ส่วนความหมายที่สองหมายถึง “ข้อเท็จจริงจากอดีต” หรือ “ความรู้เกี่ยวกับอดีต” เราเข้าถึงความรู้ลักษณะนี้ผ่านร่องรอยที่หลงเหลือมา ทั้งร่องรอยทางวัตถุ การบันทึก ข้อเขียน หรือค าบอกเล่า เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความหมายที่สองของค าว่าประวัติศาสตร์มีส่วนส าคัญในการเข้าถึงอดีต กล่าวคือ เราไม่อาจเข้าถึงประวัติศาสตร์ในความหมายแรกได้โดยไม่ผ่านประวัติศาสตร์ในความหมายที่สอง ประวัติศาสตร์จึงเป็นชุดความรู้รูปแบบหนึ่งที่ผ่านตัวกลางทั้งทางวัตถุและทางภาษา เราไม่สามารถเข้าถึงอดีตได้นอกจากผ่านร่องรอยที่ซีดจางไปตามกาลเวลา ระบบความรู้ความคิดและการรับรู้ทั้งจากปัจเจกและสังคมก็ล้วนมีความแตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย ทั้งยังเป็นเส้นแบ่งการเข้าถึงความรู้ชุดนี้ด้วย งานเขียนประวัติศาสตร์เป็นชุดความรู้และระบบความรู้เกี่ยวกับอดีต เหล่านี้เป็นประเด็นที่หนังสือเล่มนี้ให้ความสนใจ

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประวัติศาสตร์รูปแบบข้อเขียนและการประพันธ์ที่มีขนบยาวนานมาจากโลกตะวันตก เป็นรูปแบบหรือประเภททางวรรณกรรม (literary genre) ที่มีพัฒนาการในรูปการเขียนและบันทึก ประวัติศาสตร์ในฐานะข้อเขียนหรือบทประพันธ์จึงเป็นส่วนส าคัญไม่น้อยไปกว่าตัวเนื้อหาที่ว่าด้วยอดีต พอทราบได้ว่าเฮโรโดตัสเป็นบุคคลแรกที่ใช้ค าว่า historia ซึ่งหมายถึงการไต่สวนหรือการสืบเสาะ (inquiry) นิยามข้อเขียนว่าด้วยประวัติศาสตร์ดังนี้จึงเป็นการตีกรอบขนบทางวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง ทั้งในแง่ของเนื้อหาและรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ เราอาจตีกรอบขนบทางวรรณ

2 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

กรรมดังกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์เป็น ข้อเขียนร้อยแก้วเรื่องเล่าที่เน้นมนุษย์เป็นหลัก เขียนถึงเหตุการณ์และความเป็นไปต่างๆ ซึ่งมาจากการสอบสวนอย่างเป็นระบบ ผ่านร่องรอยหลักฐานซึ่งตรวจสอบได้ซึ่งอดีตได้ทิ้งไว้จนถึงปัจจุบัน

การล้อมกรอบว่าประวัติศาสตร์คือข้อเขียนร้อยแก้วเรื่องเล่าท าให้ประวัติศาสตร์ต่างจากวรรณกรรมเล่าอดีตรูปแบบอื่นที่เก่าแก่กว่าเช่น บทร้อยกรองและวรรณกรรมมุขปาฐะ ต่ า งจากบันทึกในรูปรายการ (list) ประวัติศาสตร์ต่างจากวรรณกรรมจดจ าอดีตในรูปบทกวีหรือบทเพลงตรงที่ ประวัติศาสตร์ให้ความส าคัญกับความแม่นย าในการเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าความบันเทิง สัมผัส และท่วงท านอง กวีนิพนธ์และการขับล าน าให้ความส าคัญกับอารมณ์ร่วมซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญในการสร้างส านึกร่วมเกิดเป็นความทรงจ าสาธารณะ อารมณ์ร่วมเป็นปัจจัยที่ส าคัญต่อการเป็นความทรงจ า แต่ไม่ได้ส่งเสริมความแม่นย าในระดับสูงซึ่งต้องอาศัยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อเขียนร้อยแก้วกลับให้ความส าคัญต่ออารมณ์น้อยลงมาก ข้อมูลที่ถูกบันทึกไม่ต้องอาศัยสัมผัสคล้องจองเป็นเครื่องมือช่วยจ า รูปร้อยแก้วยังสอดคล้องกับการให้ความส าคัญกับความแม่นย ามากกว่าร้อยกรองที่ต้องถูกเรียงร้อยให้สวยงามเร้าอารมณ์ ขณะที่ร้อยแก้วสามารถอธิบายและให้เหตุผลโดยไม่ต้องค านึงถึงท่วงท านองและสัมผัสอย่างที่ร้อยกรองจ าเป็น นอกจากนั้น ประวัติศาสตร์ยังต่างจากการบันทึกแบบรายการ (list) รายการเป็นรูปแบบการบันทึกที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับภาษาเขียน อาจเริ่มมาจากบันทึกรายการบัญชีทรัพย์สิน รายรับรายจ่าย ต่อมาถูกน ามาใช้บันทึกวี รกรรม กิจทางการเมือง และเหตุการณ์ส าคัญ กลายมาเป็นพงศาวดารหรือประมวลเหตุการณ์ (chronicle) การเขียนประวัติศาสตร์ในรูปเรื่องเล่าก็เป็นการเปลี่ยนผ่านของขนบการบันทึกอดีตที่ส าคัญ แทนที่จะลงรายการเหตุการณ์ต่อๆ ไปว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อใด สิ่งส าคัญที่ประวัติศาสตร์ให้คือการอธิบายเชื่อมโยงการเป็นสาเหตุและผลลัพธ์ (causation) ที่ให้ความส าคัญต่อความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ว่าความเป็นเหตุเป็นผลนั้นจะมีความหมายในแง่ของการให้ความส าคัญกับการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 3

(empirical rationality) หรือเป็นเหตุผลด้านความสอดคล้องทางวรรณกรรมและการประพันธ์ (literary rationality)

ความเป็นเหตุเป็นผลที่กล่าวมาสอดคล้องกับนิยามของประวัติศาสตร์อีกประการหนึ่งคือ ข้อเขียนที่เน้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และเกิดท่ามกลางมนุษย์ปุถุชน มากกว่าจะสนใจที่การลิขิตหรือเจตนาของเทพเจ้า ไม่ใช่ว่าประวัติศาสตร์จะเป็นปรปักษ์กับศาสนาหรือไม่ได้กล่าวถึงเทพเจ้าหรือภพอื่นเลย แต่ประวัติศาสตร์ให้ความสนใจกับกิจและสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นส าคัญ เนื้อหาและวิธีการของการเขียนประวัติศาสตร์จึงต่างจากวรรณกรรมศาสนา

วิธีการของการค้นคว้าเพื่อการเขียนประวัติศาสตร์มีพื้นฐานมาจากการสืบความอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มาจากนิมิตหรือจินตภาพ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจิตนาการของนักประวัติศาสตร์ไม่มีบทบาทเลย ประวัติศาสตร์เป็นวรรณกรรมอดีตที่วางอยู่บนค ายืนยันและเน้นย้ าให้เห็นว่ามาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ และจินตนาการของผู้เขียนไม่มีบทบาท บ่อยครั้งนักประวัติศาสตร์ตั้งค าถามกับระบบถ่ายทอดความรู้ตามจารีตหรือจากผู้รู้อดีตที่มีสิทธิ อ านาจ นักประวัติศาสตร์กลับไปค้นหาสืบเสาะอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุเป็นผลตามทัศนะแบบวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ต้องการค้นหาร่องรอยและพิสูจน์หลักฐานจากอดีต แสดงให้เห็นได้ว่าน่าเชื่อถือ สามารถถูกย้อนตรวจสอบได้โดยผู้อื่นที่ศึกษา สามารถยืนยันร่วมกันในหมู่ผู้ค้นคว้าได้ตรงกันซ้ าแล้วซ้ าอีก ประวัติศาสตร์ไม่ใช่การบันทึกเรื่องราวจากอดีตในลักษณะของใครของมัน แต่เป็นข้อเขียนที่มีการดึงดูดเข้าหากัน เพื่อเทียบเคียงกันให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือที่สุด ไม่ได้มุ่งผสานเข้าหากันเพื่อให้เกิดความกลมกลืน การสร้างความกลมกลืนเป็นลักษณะส าคัญในส่วนที่เรียงร้อยอดีตของคัมภีร์ศาสนา ประวัติศาสตร์มุ่งโต้เถียงหรือแม้กระทั่งหักล้างกัน ร่องรอยหรือหลักฐานจากอดีตท าหน้าที่ เหมือนกับหลักฐานในศาล ไม่ใช่ มาจากจินตนาการหรือประสบการณ์ของคนใดคนหนึ่ง ความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงมาจากความสามารถที่จะถูกตรวจสอบจากผู้อื่น การที่เราสามารถตีกรอบข้อเขียนประวัติศาสตร์ไว้ว่า มาจากการสอบสวนอย่างเป็นระบบ ผ่านร่องรอยหลักฐาน

4 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ซึ่งตรวจสอบได้ เป็นส่วนส าคัญที่สร้างให้เกิดชุมชนนักประวัติศาสตร์ที่มีแนวทางวิธีการ (methods) และการใช้ข้อมูล (materials) ร่วมกัน สามารถเข้าใจ สื่อสาร และถกเถียงกันได้ข้ามกาลเวลา ต่างจากข้อเขียนประเภทอื่น

แม้การล้อมกรอบที่กล่าวมานี้ไม่อาจครอบคลุมความรู้หรือข้อเขียนที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ไว้ได้ทั้งหมด และยังเสี่ยงที่จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นทัศนะที่เอาเป้าหมายปลายทางหรืออุดมคติเป็นตัวตั้ง (teleological view) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ ได้แสดงให้ เห็นถึงความไม่ เป็นประวัติศาสตร์ ผิดจากกรอบที่กล่าวมาของประวัติศาสตร์นิพนธ์ทุกยุคทุกสมัย ไม่เว้นแม้แต่งานประวัติศาสตร์ที่ อยู่ ในมาตรฐานวิชาการสมัยใหม่ แม้ประวัติศาสตร์นิพนธ์แต่ละยุคสมัยแต่ละชิ้นมีแนวโน้มไปในทิศทางต่างๆ กัน หลุดจากกรอบของรูปแบบทางวรรณกรรมเสมอมา แต่การตีกรอบก็มีความส าคัญต่อการท าความเข้าใจรูปแบบการเขียนเรื่องราวจากอดีต การก าหนดลักษณะนี้อาจเป็นการแบ่งแยกที่นักวิชาการหลายฝ่ายมองว่าคับแคบและจ ากัดการท าความเข้าใจ หลายฝ่ายมองว่าเป็นมุมมองวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่เอาปลายทางหรืออุดมคติเป็นตัวตั้ง เอาประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เป็นมาตรวัด การล้อมกรอบลักษณะนี้เป็นเพียงเคร่ืองน าทางในการท าความเข้าใจความเป็นประเภทวรรณกรรม (genre) ของประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก

งานชิ้นนี้มุ่งท าความเข้าใจรูปแบบการเขียนประวัติศาสตร์กับขนบวรรณกรรมอื่น ไม่ว่าจะเป็น ต านาน มหากาพย์ กวีนิพนธ์ ละคร คัมภีร์ศาสนา พงศาวดาร รวมถึงวรรณกรรมรูปแบบอื่นๆ เช่น ข้ อเขียนเชิงปรัชญา วิทยาศาสตร์ และการเมือง ในฐานะที่ประวัติศาสตร์เป็นประเภทงานประพันธ์ (genre) อันหนึ่งที่ ให้ความส าคัญต่อความเป็นเหตุเป็นผล กระนั้นประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้มีสถานะลอยตัวอยู่เหนือวรรณกรรมรูปแบบอื่นที่เน้นจินตนาการ อารมณ์ และศรัทธา ประวัติศาสตร์ เป็นวรรณกรรมที่มีความสัมพันธ์ ทั้งในแง่การรับเอาอิทธิพล ผสมผสาน และเป็นปฏิกิริยาต่อวรรณกรรมชนิดอื่นๆ ส่งอิทธิพลต่อกันและกัน หยิบยืมเทคนิควิธี อุปกรณ์และ

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 5

ภาษาระหว่างกัน ประวัติศาสตร์เป็นรูปแบบที่พร้อมแหวกกฎเกณฑ์และกรอบของประเภทงานประพันธ์ของตนได้ตลอดเวลา ไม่ได้มีลักษณะหรือกฎเกณฑ์ตายตัว มีพลวัตรเปลี่ยนเปลงและไหลลื่นทางรูปแบบ สอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการด้านวรรณกรรมในรอบกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ที่มองเห็นว่ากรอบแบ่งระหว่างประเภทงานประพันธ์นั้นเป็นเส้นสมมติพร้อมลื่นไหลไปมาได้ตลอด

แม้ประวัติศาสตร์ถูกมองว่าเป็นวรรณกรรมที่มีทัศนะไปในทางวิทยาศาสตร์และเป็นงานเขียนประเภทฆราวาสนิยมมากที่สุดอันหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ก็มักอ้างตนว่าค้นคว้าและเขียนงานโดยไร้ซึ่งอคติหรือความคิดโน้มเอียงของตนเองที่มีอยู่ก่อน ปราศจากปรัชญาต่างๆ ย้ าว่างานนั้นเป็นผลมาจากการค้นคว้าอย่างเคร่งครัดและหลักฐานข้อมูลที่ถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ค ากล่าวอ้างของทั้งนักประวัติศาสตร์เองและจากขนบงานประพันธ์ได้ถูกตั้งค าถามอย่างหนักในงานศึกษาด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ โดยเฉพาะจาก The Idea of History โดยอาร์ จี คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 19461 ซึ่งท าให้การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นที่สนใจมากขึ้น ข้อเขียนที่ส ารวจประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกที่ส าคัญมีอยู่หลายชิ้น ก่อนหน้านี้งานประเภทนี้ให้ความส าคัญกับปรัชญาประวัติศาสตร์และวิจารณ์ความถูกต้องแม่นย าของการค้นคว้า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นมรดกจากศตวรรษที่ 19 ที่ประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ (scientific history) และปรัชญาประวัติศาสตร์ (philosophy of history) ทรงอิทธิพล ทั้งในแง่ของจักรวาลทัศน์ การวิเคราะห์ และทฤษฎีความเป็นไป ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มนี้เปิดประตูสู่ความสนใจประวัติศาสตร์ความคิดว่าด้วยส านึกทางประวัติศาสตร์ ผ่านการศึกษา

1 Robin George Collingwood, The Idea of History, Rev. ed. (Oxford England: Clarendon, 1993).

6 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ประวัติศาสตร์นิพนธ์หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นที่สนใจของทั้งวิชาการด้านประวัติศาสตร์และปรัชญา

คอลลิงวูดมองว่าการศึกษาความคิดในประวัติศาสตร์นิพนธ์คือการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา โดยให้ความส าคัญกับตัวความคิดของนักประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ สิ่งนี้เองอาจเป็นเหตุให้คอลลิงวูดมองข้ามความส าคัญและความหลากหลายของประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยกลาง โดยให้พื้นที่ช่วงเวลาหนึ่งพันปีที่เรียกว่าสมัยกลางเพียง 5 หน้ากระดาษเท่านั้น เนื่องจากคอลลิงวูดมองว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ถูกครอบง าโดยเทววิทยาคริสต์ศาสนา สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท าให้คอลลิงวูดถูกวิจารณ์ทั้งจากวงวิชาการปรัชญาและผู้ศึกษาวรรณกรรมประวัติศาสตร์ นักปรัชญาวิจารณ์ว่า คอลลิ งวูด เป็นนักคิดแบบจิตนิยมมากเกินไป 2 ส่ วนนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ภูมิปัญญารุ่นต่อมาวิจารณ์คอลลิงวูดว่ามองข้ามความหลากหลายของงานประวัติศาสตร์ชิ้นส าคัญหลายชิ้น ทั้งยังมองข้ามบริบททางการเมืองและทางวัฒนธรรมของงานแต่ละชิ้น รวมทั้งมองข้ามประเด็นด้านภาษาและความเป็นวรรณกรรม

ง านส า ร ว จป ระ วั ติ ศ าสต ร์ นิ พน ธ์ เ ชิ ง ลึ กที่ ส า คั ญอี ก ชิ้ น คื อ Historiography: Ancient, Medieval and Modern โดยแอร์นส์ท ไบรแซค (Ernst Breisach) 3 งานชิ้นนี้ได้ชื่อว่าเป็นการส ารวจเชิงลึกและครอบคลุมกว่างานของคอลลิงวูดมาก แต่ไบรแซคยังมองประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแง่ของประวัติศาสตร์ความคิดตามกรอบของคอลลิงวูด แม้จะเดินตามประวัติศาสตร์ความคิดแบบคอลลิงวูดแต่งานชิ้นนี้มีลักษณะที่เป็นจิตนิยมน้อยกว่า และมอง

2 ดู Jan Van Der Dussen. “Editor’s Introduction” ใน Collingwood. 3 Ernst Breisach, Historiography : Ancient, Medieval & Modern, 2nd ed. (Chicago: University of Chicago Press, 1994).

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 7

หลากหลายแง่มุมมากกว่า ไบรแซคครอบคลุมงานเขียนจ านวนมากและหลากหลายรวมถึงข้อเขียนชีวิตนักบุญ ชีวประวัติ และประมวลเหตุการณ์ด้วย ทั้งยังศึกษางานที่หลากหลายไม่ได้มองสมัยกลางอย่างตีขลุม

กระแสการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่ต่างออกไปเป็นผลมาจากความแพร่หลายของการเขียนประวัติศาสตร์สังคม โดยเฉพาะอิทธิพลของทฤษฎีสังคมและสังคมวิทยา รวมถึงอิทธิพลจากการศึกษาประวัติศาสตร์ส านักอานาลส ์(Annales school) ในฝรั่งเศสที่แพร่หลายในวงวิชาการทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ประเด็นเรื่องการอธิบายความเป็นไปทางประวัติศาสตร์ได้รับแนวคิดจากความสนใจเรื่องโครงสร้าง (structure) และตัวกระท า (agency) ในลักษณะที่สังคมวิทยาสนใจ รวมถึงสังคมศาสตร์ด้านต่างๆ ที่แยกจากการศึกษาประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 เพราะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ต่างกัน กลับมาสนใจประวัติศาสตร์นิพนธ์ นอกจากนี้ รวมไปถึงความสนใจต่อประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแง่ภาษาและการประพันธ์ โดยเฉพาะผ่านข้อเขียนของเฮย์เดน ไวท์ (Hayden White) ซึ่งนับว่าเป็นการให้ความส าคัญกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแง่ญาณวิทยา4 ความสนใจต่อประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกมาอยู่ทางวิชาการวรรณคดีมากขึ้น ประวัติศาสตร์แทรกซึมผสมเอางานเขียนหลายรูปแบบเอาไว้ดังที่ได้กล่าวมา อย่างไรก็ดี หนังสือของไบรแซคยังคงเป็นต าราหลักด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกที่ส ารวจภาพรวมได้อย่างครอบคลุม ยังไม่มีงานเชิงส ารวจชิ้นใดมาทดแทนได้ แม้ว่ายังไม่มีประเด็นวิพากษ์จากมุมมองด้านภาษา (linguistic turn) และการศึกษาความคิดโดยให้ความส าคัญด้านบริบทหรือการศึกษาด้านการอธิบายทางสังคมมากนัก ประเด็นวิพากษ์ที่กล่าวมาเริ่มปรากฏชัดในทศวรรษที่ 1980 จากบทความและ

4 Hayden White, Metahistory: The Historical Imagination in Nineteenth-Century Europe (Baltimore: Johns Hopkins University Press, 1973).

8 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

หนังสือโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะพื้นที่วิชาการของตนเป็นหลัก เราจึงยังไม่มีหนังสือส ารวจประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกที่มุ่งน าเสนอที่กล่าวมาอย่างจริงจัง

ในฐานะที่เป็นต าราทีส่ ารวจประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก ข้อเขียนชิ้นนี้จึงมุ่งส ารวจงานวิชาการที่สนใจประเด็นศึกษาใหม่ๆ ที่กล่าวมา โดยเฉพาะจากงานวิชาการที่ปรากฏขึ้นชัดในทศวรรษที่ 1980 เพราะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นการตั้งค าถามกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแง่มุมที่ต่างออกไป โดยตั้งใจเสนอประวัติศาสตร์ของการเขียนประวัติศาสตร์ตะวันตกมากกว่าเพียงความคิดและโลกทัศน์ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ความถูกต้องแม่นย าที่เอาการศึกษาประวัติศาสตร์แบบศตวรรษที่ 20 เป็นมาตรฐานความแม่นย าแบบ “วิทยาศาสตร์” หรือแบบ “มืออาชีพ” การวิจารณ์การใช้ข้อมูลและความถูกต้องแม่นย า จ าต้องศึกษาจากบริบททางประวัติศาสตร์ของข้อเขียนและผู้เขียน บริบททางการเมืองเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ควรศึกษา เช่น การใช้ข้อมูลที่มาจากค ากอสซิปหรือข่าวลือ ในงานของทาซิทัสอยู่ ห่ า งจากมาตรฐานประวัติศาสตร์สมัยใหม่มาก แต่หากมองจากบริบททางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านและวัฒนธรรมการเมืองโรมัน เราอาจต้องทบทวนค าวิจารณ์ว่าเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมแต่ประวัติศาสตร์ชั้นเลว เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์คริสเตียนสมัยกลาง นอกจากนี้ยั งสนใจศึกษาความเป็นวรรณกรรมของประวัติศาสตร์

ข้อเขียนชิ้นนี้ ให้ความส าคัญกับประเด็นจ า เป็นในการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น ความคิดและโลกทัศน์ บริบททางการเมือง การใช้ข้อมูลและเอกสารที่มี การให้ความส าคัญกับความแม่นย า วิธีการศึกษาของนักประวัติศาสตร์นั้นๆ แล้ว งานชิ้นนี้ยังเน้นศึกษาสองแง่มุม ซึ่งมาจากงานศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ในช่วง 30 ปีให้หลัง แง่มุมแรกคือ การศึกษาความเป็นวรรณกรรมและภาษา โดยเฉพาะเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับวรรณกรรมรูปแบบอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเขียนประวัติศาสตร์ เช่น ต านาน ละคร ข้อเขียนการแพทย์ ประมวลเหตุการณ์ กวีนิพนธ์ ฯลฯ ทั้งในแง่ภาษา เค้าโครงเรื่อง การน าเสนอภาพบุคคล รวมไปถึงอุปกรณ์ทางการประพันธ์ต่างๆ ที่มีและหยิบยืม

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 9

วรรณกรรมรูปแบบอื่นๆ มา และแง่มุมที่ สองคือ การมองข้อเขียนประวัติศาสตร์ในแง่ “ทฤษฎีสังคม” ซึ่งไม่ได้มีความหมายในแง่ทฤษฎีการเมืองแบบที่มองว่านักประวัติศาสตร์บางท่านได้เขียนงานที่เป็นทฤษฎีการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการอธิบาย (explanation) ความเปลี่ยนแปลงหรือความเป็นไปในประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ปัจจัยที่เป็นตัวกระท าและโครงสร้างต่างๆ ตั้งแต่การอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ระเบียบและความไร้ระเบียบทางสังคม ทฤษฎีทางวัฒนธรรม ทฤษฎีว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์และสังคม เช่น ทฤษฎีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของเฮโรโดตัส การเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองในงานของโพลีเบียส ความส าคัญของความคิดเห็นสาธารณะในประวัติศาสตร์นิพนธ์โรมัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจในประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยเรอเนสซองส์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการอธิบายสิ่งที่สังคมศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่า “ตัวกระท า” (agency) และโครงสร้าง (structure) เช่นประวัติศาสตร์สมัยเรอเนสซองส์ที่มองเห็นว่าเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในตัวกระท าที่ส าคัญแม้ว่าจะมองเศรษฐกิจในรูปของเหตุการณ์ทางการเมือง

ข้อเขียนชิ้นนี้เน้นที่งานเขียนประวัติศาสตร์เป็นส าคัญ โดยจะท าการหยิบยกและวิเคราะห์งานชิ้นส าคัญในเชิงลึกตามกรอบที่ได้กล่าวมา เริ่มต้นตั้งแต่กรีกโบราณที่ก าเนิดของประวัติศาสตร์ มาจนถึงประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ และจนถึงประวัติศาสตร์เชิงวิชาการในศตวรรษที่ 19 ซึ่งประวัติศาสตร์อย่างที่รู้จักในปัจจุบันถือก าเนิดขึ้น

บรรณานุกรม

Breisach, Ernst. Historiography : Ancient, Medieval & Modern. 2nd ed. Chicago: University of Chicago Press, 1994.

Collingwood, Robin George. The Idea of History. Rev. ed. Oxford England: Clarendon, 1993.

10 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

White, Hayden. Metahistory: The Historical Imagination in Nineteenth-Century Europe. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 1973.

ค ำถำมท้ำยบท

1. ค าว่า “ประวัติศาสตร์” กับค าว่า “อดีต” มีความหมายแตกต่างกันในแง่ใดบ้าง

2. การเขียนในรูปร้อยแก้วมีความส าคัญกับการบันทึกอดีตแตกต่างจากร้อยกรองอย่างไร

3. จงยกตัวอย่างกรณีที่ภาษาและกรอบทางการประพันธ์ส่งอิทธิพลต่อการรับรู้ทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 11

บทที่ 1 : ก าเนิดประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีก: จากต านานถึงเฮโรโดตัส

ก่อนเกิดงานเขียนประเภท “ประวัติศาสตร์” ที่รู้จักกันผ่าน Histories

โดยเฮโรโดตัส ซึ่งเขียนขึ้นราว 450-425 ปีก่อนคริสตกาล มีวรรณกรรมร าลึกและบอกเล่าอดีตหลายรูปแบบ เช่น บันทึกเหตุการณ์และต านานในหลายลักษณะ กล่าวได้ว่า รากฐานส าคัญของความทรงจ าสาธารณะกรีกคือมหากาพย์ของโฮเมอร์ งานเขียนประเภทประวัติศาสตร์ (historia) ถือก าเนิดขึ้นค่อนข้างช้าหากเทียบกับวรรณกรรมรูปแบบอื่ น เช่น บทกวีล าน า (lyric poetry), ปรัชญา (philosophy), ละครแทรจิดี (tragedy) และละครคอมมิดี (comedy) ซึ่งถือก าเนิดขึ้นมาก่อน แม้วรรณกรรมทั้งหลายที่กล่าวมามีโฮเมอร์เป็นหลักส าคัญ ในฐานะที่ประวัติศาสตร์เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในภายหลัง จึงจ าเป็นต้องท าความเข้าใจความสัมพันธ์กับวรรณกรรมรูปแบบอื่นซึ่งเกิดขึ้นและแพร่หลายมาก่อน ทั้งยังมีที่ทางฐานะส าคัญกว่าในสังคมกรีก ตั้งแต่มหากาพย์ที่มีมายาวนาน รวมถึงละครทั้งแทรจิดีและคอมมิดี ซึ่งแม้ว่าจะถือก าเนิดมาก่อนประวัติศาสตร์ไม่นานนักแต่แพร่หลายและมีที่ทางในสังคมกรีกมากกว่า รวมถึงงานของนักเขียนโลกอส (logographoi) วรรณกรรมรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมา ล้วนสัมพันธ์กับก าเนิดและพัฒนาการของงานประวัติศาสตร์นิพนธ์อย่างสูง

ต านานในฐานะวรรณกรรมบอกเล่าอดีต

นานมาแล้วก่อนมีงานเขียนประเภทที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ วิธีการหลักและเป็นแกนหลักที่มีในการกล่าวถึงอดีตคือ การใช้เรื่องเล่าซึ่งเรามักเรียกว่าต านาน (myth) คงเป็นการยากที่จะนิยามว่า “ต านาน” คืออะไรและมีที่มาจากเหตุการณ์จริงเพียงใด นักวิชาการมักมีความคิดเห็นไม่ค่อยลงรอยกันถึงนิยามและหน้าที่ของต านานในสังคมโบราณ นักประวัติศาสตร์ นัก

12 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

มานุษยวิทยา และนักวิชาการวรรณคดีก็มีนิยามในแบบของตนเอง ทั้งยังมีลักษณะที่หลากหลายในต่างยุคต่างวัฒนธรรม ต านานมักมีเรื่องราวซับซ้อน ตัวละครหลายตัว และมีหลายฉบับ อาจกล่าวได้ว่าต านานคือเรื่องราวที่สืบทอดมาเป็นที่มาและเป็นผลจากระบบความเชื่อ เป็นเรื่องเล่าที่ใช้อธิบายโลกและจักรวาล ท าความเข้าใจที่ทางของมนุษย์ในจักรวาล รวมถึงที่มาของชุมชนของตน ระบบระเบียบในสังคม รวมถึงทิศทางของอนาคต ต านานยังมีหน้ าที่ในการสร้างความชอบธรรมให้ขนบความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติหรือสถาบันทางสังคมที่ด าเนินอยู่ รวมไปถึงสั่งสอนชี้น าวิถีของการด าเนินชีวิตว่าสิ่งใดควรท าสิ่งใดไม่ควรท า มีหน้าที่ในการวางบรรทัดฐานให้สังคมทั้งทางศีลธรรม ทางกฎหมาย และจัดระเบียบสังคม ต านานโบราณมักจะเกี่ยวเนื่องกับเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติในอดีตที่ไกลออกไป สิ่งเหล่านี้ถูกยึดถือว่าเป็นความจริง หรืออย่างน้อยก็เป็นภาพความจริงแบบกว้างๆ ในนิยามต านานโบราณแบบนี้เห็นได้ว่าเหลื่อมซ้อนกับสิ่งที่เราเรียกว่าศาสนาและความเชื่อ ต านานบอกเล่าเป็นเครื่องมือส าคัญในวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

เร่ืองเกี่ยวกับต านานกรีกใช้อธิบายความหลายหลายทางวัฒนธรรมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลด าที่ชาวกรีกต้องพบเจออยู่ตลอดเวลา กลุ่มชนที่มีประขนบเพณี ภาษาและวิถีชีวิตต่างกัน ต านานจึงท าหน้าที่อธิบายความแตกต่างเหล่านั้นโดยการเชื่อมโยงแต่ละกลุ่มชนไปหาบรรพชนคนส าคัญที่เร่ิมต้นชาติพันธุ์นั้นๆ เช่นที่เฮโรโดตัสกล่าวถึงคติชนเรื่องบรรพบุรุษของชนชาติต่างๆ อยู่หลายครั้ง เช่น ความเชื่อที่ว่าชาวเปอร์เซียสืบเชื้อสายมาจากวีรบุรุษเพอร์ซิอุส (Perseus) และเอยิปตุส (Aegyptus) เป็นบรรพบุรุษของชาวอียิปต์ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเพียงการพ้องชื่อจึงทึกทักเอาว่าเป็นลูกหลาน วีรบุรุษในต านานกรีกไม่ได้เป็นแต่เพียงวีรบุรุษของชาวกรีกแต่ยังเป็นวีรบุรุษของทั้งโลก วีรบุรุษจึงเป็นบรรพชนของมนุษย์ทั่วทัง้โลก ต านานต่างๆ จึงถูกมองว่าเป็นเร่ืองจริงที่เกิดขึ้นกับวีรบุรุษนานมาแล้วในอดีต ในวัฒนธรรมโบราณจึงไม่มีเส้นแบ่งแยกประวัติศาสตร์ออกจากต านาน ในปัจจุบันเรานิยามประวัติศาสตร์ว่า

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 13

เป็นเร่ืองเล่าข้อเท็จจริง นิยามต านานว่าเป็นเรื่องสมมติ แต่สังคมโบราณไม่ได้มีการแบ่งแยกสองแนวคิดออกจากกัน

แม้จะยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้มาจากจินตภาพของผู้ถ่ายทอดรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่เสริมเติมแต่งเข้ามา เราอาจไม่เชื่อว่าวีรบุรุษกึ่งมนุษย์กึ่งเทพมีอยู่จริง และไม่เชื่อว่าชาวเปอร์เซียสืบเชื้อสายมาจากเพอร์ซิอุส หากจะตัดสินว่าเร่ืองราวชุดใดเป็นข้อเท็จจริงหรือต านาน ไม่อาจเอากรอบความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่แบบแข็งทื่อมาตัดสินได้ ทั้งนิยามของ “ต านาน” ก็แตกต่างกันในต่างสาขาวิชาและสกุลความคิด การเล่าอดีตในต านานนั้นเป็น “เรื่องจริง” หรือไม่และเป็นมากเพียงใดขึ้นกับหลายปัจจัย แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในทางสังคมศาสตร์ว่า ต านานต่างๆ ยังสามารถรักษาไว้ซึ่งความเป็นจริงบางส่วนผ่านระบบความทรงจ าสาธารณะ อาจร าลึกถึงอดีตด้วยเรื่องเล่าที่เกินจริง แม้บุคคลอาจจะไม่มีอยู่จริงและเหตุการณ์อาจห่างไกลจากความจริงมาก การแบ่งแยกเรื่องจริง (fact) ออกจากเรื่องแต่ง (fiction) ความสัมพันธ์ระหว่างความถูกต้องทางประวัติศาสตร์กับศิลปะของความทรงจ าเป็นประเด็นที่มีความซับซ้อน การแยกแยะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ออกจากต านานจึงเป็นไปได้ยากแม้ว่าส าหรับนักวิชาการสมัยใหม่ ส าหรับประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก เราจึงไม่อาจเอากรอบการอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาเป็นเกณฑ์ตัดสินได้

ในวัฒนธรรมที่คนจ านวนน้อยอ่านออกเขียนได้ ต านานเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดผ่านการขับล าน าหรือการท่องบางส่วนให้ผู้คนได้ฟัง แต่ละชั่วอายุคนต านานเหล่านี้ปรับเปลี่ยนเรื่องราวและรายละเอียดของเรื่องราวไปเรื่อยๆ การถ่ายทอดความรู้ด้วยขนบมุขปาฐะ (oral tradition) จ าเป็นต้องอาศัยเร่ืองราวแบบต านานเป็นรูปแบบหลักในการท าความเข้าใจความเป็นไปของโลกและสังคม ต่างจากสังคมสมัยใหม่ที่มีศาสตร์ต่างๆ มาอธิบาย ตั้งแต่ปรัชญา จิตวิทยา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ มาแบ่งปริมณฑลทางความรู้กันท าความเข้าใจโลกในแง่มุมต่างๆ กัน ผ่านวิธีการแสวงหาความรู้ต่างกัน แต่ต านานโบราณต้องอธิบายเร่ืองราวทุกอย่าง ต้องอธิบายโลกในทุกแง่มุม เราจึง

14 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ไม่อาจวิจารณ์แต่จุดด้อยของการจัดการความรู้แบบเป็นเหตุเป็นผล ต านานยังต้องท าหน้าที่หลากหลายมาก สังคมสมัยใหม่มีสถาบันการเมือง มีกฎหมาย มีศาสนาท าหน้าที่ทางสังคมต่างๆ ในสังคมโบราณเรื่องราวในต านานท าหน้าที่เป็นแหล่งอ้างอิงทางศีลธรรม ที่มาของกฎหมาย และรูปแบบระเบียบทางการเมือง

การขับล าน าเรื่องราวจากต านานยังต้องสร้างความบันเทิงดึงความสนใจ ท าให้คนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าตนมีอดีตมีบรรพชนร่วมกัน เน้นย้ าความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ร่วมกัน ให้คนรุ่นต่อๆ มาสืบทอดสิ่งที่วีรชนปฏิบัติ ถ่ายทอดและชี้น าเป็นหลักศีลธรรม หลักปฏิบัติและสร้างความชอบธรรมให้สถาบันทางสังคมและการเมืองที่เป็นอยู่ ในวัฒนธรรมที่ยังไม่มีการบันทึกไม่มีตัวบทกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร การเล่าเรื่องอดีตที่ได้รับการถ่ายทอดมาอาจเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสั่งสอนศีลธรรมปลูกฝังค่านิยมบอกว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรปฏิบัติ เร่ืองเล่าอดีตยังมีหน้าที่ในการถ่ายทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม นอกจากนี้เรื่องเล่ายังเป็นหลักส าคัญที่อธิบายความเป็นไปของโลกและปรากฏการณ์ธรรมชาติทั่วๆ ไป

มหากาพย์ในฐานะวรรณกรรมจดจ าอดีต

วรรณกรรมของโฮเมอร์ (Homer) และเฮเซียด (Hesiod) ซึ่งเขียนขึ้นหรือบันทึกรวบรวมในช่วงราว 700 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากจะเป็นเสาหลักของวัฒนธรรมกรีกยังถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมเล่าประวัติศาสตร์ที่ส าคัญที่สุดชิ้นแรกๆ มหากาพย์ของโฮเมอร์กล่าวถึงสงครามในช่วงเชื่อมต่อระหว่างยุควีรบุรุษและยุคเหล็ก ใน Theogony เฮเซียดเล่าถึง ก าเนิดจักรวาล เทพเจ้า และมนุษย์ (กรีก) หรือกล่าวถึงยุคที่เทพเจ้ากับมนุษย์ยังอยู่ร่วมกัน ส่วนใน Works and Days เฮเซียดแบ่งล าดับเวลาของมนุษย์เป็นสี่ยุคคือ ยุคทอง ยุคเงิน ยุควีรบุรุษ และยุคเหล็ก โดยยุคทองเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์และเทพเจ้าอยู่ร่วมกัน ต่อมาเกิดวิกฤตและความเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ถูกลงโทษและตกต่ า

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 15

ลง จนถึงยุคของวีรบุรุษที่สิ้นสุดลงที่สงครามกรุงทรอย สู่ยุคเหล็กที่เลวร้ายท าให้เทพเจ้ากับมนุษย์ต้องแยกกันอยู่ สถานะการประพันธ์ของกวีทั้งสองท่านนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามีคนที่ชื่อโฮเมอร์เหรือเฮเซียดที่เป็น “ผู้ประพันธ์” งานทั้งสองชิ้นนี้หรือไม่ในระดับใด แต่อย่างไรก็ดี มีความเห็นค่อนข้างพ้องกันว่าเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวจากมุขปาฐะให้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งไม่ใช่ว่าไม่มีงานชิ้นอื่นๆ ที่มีในลักษณะเดียวกัน แต่ทั้งสองนี้เป็นงานที่เป็นแกนหลักและมีอิทธิพลมากที่สุด

หากกล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีความส าคัญเป็นทั้งจุดอ้างอิงหลักและจุกผกผันของอดีตกรีก รวมทั้งเป็นแหล่งที่มาของค่านิยมและหลักศีลธรรมกรีก ก็ต้องเป็นสงครามระหว่างกรีกกับทรอยที่ปรากฏในมหากาพย์อีเลียด ของโฮเมอร์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี และโบราณคดีกรีกค่อนข้างเห็นพ้องกันว่าสงครามนี้มีรากฐานที่มาทางประวัติศาสตร์ซึ่งอิงกับเหตุการณ์หรือกลุ่มเหตุการณ์ในอดีตอยู่ แม้จะไม่มีความเห็นร่วมกันว่าสู้รบกับใครที่ใดเมื่อใดและรายละเอียดต่างๆ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเห็นว่าเหตุการณ์หลักที่เป็นที่มาของเรื่องราวในมหากาพย์อีเลียดน่าจะเกิดขึ้นในยุคส าริดระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 12 ก่อนคริสตกาล โดยกลุ่มชนชั้นปกครองไมซีเนียนหลายกลุ่มรวมตัวเดินเรือไปปล้นสะดมกลุ่มคนที่มีอิทธิพลทางทะเล ทางตอนเหนือของเอเชียไมเนอร์ สาเหตุของข้อพิพาทน่าจะมาจากความขัดแย้งด้านการค้าบนทะเลอีเจียน อีเลียดเล่าสาเหตุของข้อพิพาทว่ามาจากการแย่งชิงตัวสตรีสูงศักดิ์นามเฮเลน เราอาจท าความเข้าใจได้ผ่านขนบทางวรรณกรรมในสังคมการเมืองแบบโบราณ ที่ความขัดแย้งต่างๆ จะต้องถูกอธิบายว่าเป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล ยังไม่มีภาษาหรือความเข้าใจว่าสามารถอธิบายด้วยความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ สงครามกรุงทรอยอาจเป็นต านานที่มีที่มาจากการเอาสงครามต่างสมรภูมิต่างสมัยมาร้อยรวมกันเป็นเหตุการณ์ชุดเดียว โดยเรื่ องที่เล่าต่อกันมาถูกแต่งแต้มให้เป็นเรื่องราวเหนือจริงมีเทพเจ้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรื่องหลักคือการรวบรวมเป็นชิ้นเดียวในมหากาพย์ของโฮเมอร์ ซึ่งสถานะทางประวัติศาสตร์ของสงครามยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่จบสิ้น กลุ่ม

16 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ผลประโยชน์ทางการค้าทางทะเลกลายมาเป็นกษัตริย์ตระกูลเอเทรียสที่มีบรรพบุรุษเป็นเทพเจ้า สินค้าต่างๆ ที่อาจมีทาสหญิงรวมอยู่ด้วยกลายมาเป็นสตรีนามเฮเลน การปล้นสะดมที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์กลายมาเป็นมหาสงครามยาวนานถึง 10 ปี

เหตุการณ์เกินจริงเหล่านี้เป็นเหมือนรหัสตัวแทนของโลกทัศน์ ความเชื่อ เป็นที่มาของหลักการทางจริยธรรม หลักเกณฑ์ทางสังคม และหลักการปกครอง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมองโลก มองตัวเอง ผ่านเร่ืองเล่าเก่ียวกับอดีตของการก าเนิดของมนุษย์หรือของชนเผ่าตนเอง ต านานสมัยแรกๆ เป็นเพียงการเล่าเร่ืองราวผ่านบุคคลและเหตุการณ์ส าคัญที่เกิดขึ้น สืบทอดมาเรื่อยๆ จึงถูกแต่งเติมปรับเปลี่ยนเรื่อยมาจนไม่สามารถย้อนกลับไปหาผู้ประพันธ์หรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ได้ ต่างจากวรรณกรรมสมัยต่อมาที่มีตัวตนผู้แต่งชัดเจน ต านานมักกล่าวถึงอดีตไกลโพ้นที่เป็นช่วงเวลาที่ต่างจากปัจจุบันในทุกๆ ทาง เช่นเทพเจ้ากับมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันหรืออยู่ร่วมกัน ต านานมักจะมุ่งที่เหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลังจากนั้นเข้าสู่ยุคของมนุษย์หรือก าเนิดชนชาติ หรืออาจเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้ปกครอง การเล่าเรื่องอดีตจึงมีบทบาทส าคัญในทุกวัฒนธรรม

อาจกล่าวได้ว่าส านึกทางประวัติศาสตร์ของชนกรีกโบราณนั้นมีมหากาพย์ของโฮเมอร์เป็นหลักส าคัญ เป็นการรวบรวมเรียบเรียงความหลากหลายของเร่ืองราว (mythoi) จ านวนมากให้เป็นเอกภาพ เนื้อหาหลักคือวีรกรรมในสงครามระหว่างชาวกรีกกับชาวเมืองทรอย และการเดินทางกลับอิธากาของโอดิสเซียส ซึ่งในสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและเป็นเรื่องของบุคคลจริงในอดีต หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็น “ภาพรวม” ของเหตุการณ์จริงในอดีต แม้ว่าในขณะนั้นจะไม่มีนิยามของค าว่าประวัติศาสตร์ และยังขาดความเป็นประวัติศาสตร์ (historicity) อย่างนิยามสมัยใหม่ และเก่ียวเนื่องกับต านานเทพเจ้าต่างๆ แต่ก็อาจเทียบได้ว่าเร่ืองราวที่โฮเมอร์ประพันธ์นัน้เทียบได้ว่าเป็น “ประวัติศาสตร์” ของคนสมัยนั้น งานของโฮเมอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นงาน

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 17

ชิ้นส าคัญที่สุดของการเล่าอดีต ก่อนที่ข้อเขียนประวัติศาสตร์ (historia) จะถือก าเนิดขึ้น

มหากาพย์แบบโฮเมอร์อธิบายถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นท่ามกลางมนุษย์และเทพเจ้า ต านานลักษณะนี้จึงเป็นแหล่งที่มาของการเขียนประวัติศาสตร์ เจ บี บูรี (J. B. Bury) เห็นว่ามหากาพย์ของโฮเมอร์มีจุดมุ่งหมายและรากฐานหลักคือประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องและช่องโหว่ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของต านาน แต่กวีที่ประพันธ์ตามแบบโฮเมอร์ในยุคต่อๆ มาก็พยายามให้เหตุผล เติมเต็มและท าความเข้าใจความไม่สอดคล้องของมหากาพย์ต่างๆ น าไปสู่ความสนใจในการล าดับและเทียบเคียงเวลามากขึ้น ซึ่งผู้สร้างต านานในช่วงแรกๆ ไม่ได้ให้ความสนใจนัก ขนบการจัดระบบต านานเกิดขึ้นในบทกวีแบบวงศาวิทยา (genealogical poets) ซึ่งเฮเซียดเป็นกวีคนส าคัญที่ร้อยเรียงล าดับวงศาออกมา บูรีกล่าวว่ากวีลักษณะนี้มุ่งสร้างระบบความสัมพันธ์ของเทพเจ้าและวีรชนที่สอดคล้อง มีการเชื่อมโยงเทียบเวลา และมีล าดับชัดเจนขึ้น เริ่มตั้งแต่ก าเนิดโลกจนถึงเชื้อสายวงศ์ตระกูลของผู้ปกครองดินแดนกรีก บูรี่กล่าวต่อว่ากวีนิพนธ์แนววงศ์วานเชื่อมโยงกับความสนใจในการค้นหาจุดก าเนิด (origins) ดูเผินๆ เห็นถึงความสอดคล้องและระเบียบล าดับ มีการผสานเร่ืองราวที่ขัดแย้งและกระจัดกระจาย กวีเริ่มตระหนักและมีส านึกทางประวัติศาสตร์มากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีล าดับเวลาสมบูรณ์หรือเวลาเจาะจงในลักษณะบันทึกเหตุการณ์ แม้กรีกโบราณก่อนสมัยเฮโรโดตัสจะสนใจกับล าดับวงศ์วาน แต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับล าดับเหตุการณ์นัก1

1 J. B. Bury, The Ancient Greek Historians (New York: Barnes & Noble, 2006). 4-8. Moses I. Finley, The Use and Abuse of History (New York: Viking Press, 1975). 15-18.

18 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ความแตกต่างระหว่างการเล่าอดีตแบบต านานลักษณะต่างๆ กับประวัติศาสตร์ (historia) มีอยู่หลายแง่มุม นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าความแตกต่างดังกล่าวไม่ได้ขึ้นกับความเป็นเหตุเป็นผล (rationality) ของเนื้อหาเร่ืองราว แต่เป็นความแตกต่างในด้านประเภทวรรณกรรม (genre) ที่ต่างกัน มีกฎเกณฑ์ วิธีการหาข้อมูล เครื่องมือ และภาษาต่างกัน2

บันทึกโลกอสในฐานะบันทึกอดีต

ราวกลางศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เริ่มมีงานเขียนร้อยแก้วบันทึกเร่ืองราวที่มีลักษณะเฉพาะและแพร่หลายอย่างต่อเนื่อง งานซึ่งเขียนลักษณะนี้เป็นผลมาจากการเฟื่องฟูทางภูมิปัญญาในไอโอเนียในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล งานเขียนที่แสดงออกถึงทัศนคติแบบเป็นเหตุเป็นผลและมีเนื้อหาในเชิงวิทยาศาสตร์ได้รับความนิยมขึ้นในไอโอเนีย3 เนื่องจากเป็นงานเขียนบันทึกเร่ืองราวจากอดีตในรูปร้อยแก้วเป็นส าคัญ บันทึกเร่ืองราวลักษณะนี้จึงแตกต่างจากมหากาพย์และต านานที่มีมาก่อนในหลายๆ แง่มุม ในสมัยนั้นผู้ผลิตงานลักษณะนี้ถูกเรียกว่า logographos (λογογράφος) ซึ่งแปลตรงๆ ว่า

2 ส าหรับบทบาทของมหากาพย์ในฐานะวรรณกรรมเล่าอดีตเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ ดู Roberto Nocolai, “The Place of History in the Ancient World” in John Marincola, A Companion to Greek and Roman Historiography, 2 vols., Blackwell Companions to the Ancient World. Literature and Culture (Malden, MA ; Oxford: Blackwell Pub., 2007). 3 ต่อมาแพร่หลายมาถึงกรีกแผ่นดินใหญ่ และมีความส าคัญต่อยุคทองของกรุงเอเธนส์ในเวลาต่อมา งานเขียนร้อยแก้วศตวรรษที่ 6 มีเน้ือหาหลากหลายเช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ปรัชญา ฯลฯ

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 19

“ผู้เขียนโลกอส”4 มีความหมายได้ทั้งผู้เขียนค าพูดในศาล5 เฮโรโดตัสกล่าวถึงงานเขียนลักษณะนี้โดยเรียกผู้บันทึกเหตุการณ์ก่อนๆ ว่า “ผู้ท าบันทึก” หรือ logopoioi (poieo = 'to make') และประวัติศาสตร์กรีกต่อมาใช้ค าว่า logos ในความหมายว่าเป็นบันทึกเรื่องแต่ละเรื่องที่มารวมกันเป็นงานเขียนทั้งหมด เช่น โลกอสท้องถิ่น โลกอสอียิปต์ โลกอสของราชา โลกอสชาติพันธุ์ หรือโลกอสเรื่องเล่าโบราณ logographos ส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากแถบไอโอเนียในเอเชียไมเนอร์ เชื่อว่าเร่ิมจากไมเลตัส (Miletus) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของแถบไอโอเนีย

ไม่มีงานเขียนโลกอสที่สมบูรณ์หลงเหลือมา มีแต่บางส่วนที่ถูกคัดลอกและอ้างอิงตามมา กับค าวิจารณ์ที่ค่อนไปในทางลบของนักเขียนกรีกและเฮเลนิสติก นักวิชาการเชื่อว่าเนื้อหาโดยภาพรวมมีสถานะและความน่าเชื่อถือไม่ต่างจากต านานเรื่องเล่าในลักษณะมหากาพย์นัก วัฒนธรรมมุขปาฐะยังคงเป็นแหล่งที่มาของโลกอสที่ถูกบันทึก เชื่อว่าเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลโดยนักเขียนโลกอส ในแง่ของการถ่ายทอดก็ยังคล้ายกับกวีนิพนธ์และมหากาพย์คือ การอ่านดังๆ หรือร่ายให้ฟังเป็นหมู่คณะ กิจกรรมการถ่ายทอดเร่ืองราวยังขึ้นกับการฟัง ความต้องการสร้างความบันเทิงและความน่าสนใจยังจ าเป็นอยู่มาก รูปแบบงานเขียนหลักที่พัฒนาขึ้นในยุคนั้นคือร้อยแก้ว และ

4 grapho แปลว่า “เขียน” ส่วน logos เป็นค าทีมีความหมายยหลากหลาย อาจหมายถึง “เรื่องราว” (story) “ค าให้การ” (account) “ข้อเขียน” (prose) “ค าพูด” (saying) “ค า” (word) “เหตุผล” (reason) รวมถึงเป็นรากศัพท์ของค าว่า logic แต่ในที่นี้อาจหมายความคือบันทึกหรือรายงาน (account) ของวัฒนธรรมและเหตุการณ์ 5 สังคมกรีกโบราณเป็นสังคมที่ชอบฟ้องร้อง มีคดีความมากทั้งในเรื่องการเมืองและความขัดแย้งระหว่างตระกูลและภายในครอบครัว มีระบบการศาลรองรับคดีความหลากหลายซ่ึงก้าวหน้ามากหากเทียบกับสังคมอื่นๆ ในยุคนั้น

20 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ที่มาพร้อมๆ กันคือทัศนคติเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ อาจมองได้ว่ าเป็นปฏิกิริยาที่วิพากษ์วรรณกรรมร้อยกรองแบบต านาน การใช้ความเป็นเหตุเป็นผลและตรรกะอย่างเป็นระบบเพื่อแสวงหาและจัดการกับความรู้สอดคล้องกับการเขียนในรูปร้อยแก้ว ซึ่งนอกจากจะน ามาเขียนเชิงปรัชญา ธรรมชาติและการแพทย์แล้ว ยังเข้ามาสู่การเขียนประวัติศาสตร์ด้วย6

ข้อเขียนรูปร้อยแก้วมีความแตกต่างจากกวีนิพนธ์นอกจากในแง่รูปแบบแล้ว ร้อยแก้วไม่ต้องอาศัยความคล้องจองและการเร้าอารมณ์เป็นเครื่องมือในการยึดโยงทางวรรณกรรม เหมาะส าหรับน าเสนอเรื่องเชี่ยวชาญเฉพาะทางและจ าเป็นต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลและการวิเคราะห์ เช่น ปรัชญาหรือเรื่องเกี่ยวกับโลกปัจจุบัน เช่น บันทึกการเดินทาง การแพทย์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสุนทรพจน์ ทัศนคติหนึ่งที่อาจมาพร้อมกับความนิยมของร้อยแก้วคือ ความคลืบแคลงสงสัยต่อความน่าเชื่อถือของต านาน

เราอาจกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างบันทึกโลกอสกับต านานได้ว่า เป้าหมายส าคัญของบันทึกโลกอสคือการสร้างมาตรฐาน ท าให้ต านาน และเรื่องราวต่างรูปแบบจากต่างที่ต่างเวลาเกิดมีความต่อเนื่องผสานกัน สามารถสร้างเป็นล าดับวงศ์วานที่เชื่อมโยงจากยุคเทพเจ้ามาถึงกรีกร่วมสมัย การล าดับความเป็นมามีอยู่ตลอดมาตั้งแต่ขนบกวีนิพนธ์ตามแบบโฮเมอร์และเฮเซียด รวมถึงกวีนิพนธ์ล าดับวงศ์วาน ซึ่งนักเขียนโลกอสท าให้การล าดับเชื่อมโยงนั้นเข้มข้นขึ้นไปอย่างชัดเจน ที เจ ลูซ (T. J. Luce) ชี้ว่าประสงค์แรกของงานเขียนประเภทนี้คือ ความต้องการสร้างความต่อเนื่อง (continuity) ทั้งจากการผสานหลากต านานเข้าด้วยกัน และสร้างความต่อเนื่องจากมหากาพย์ของโฮเมอร์และกวีหลายคนที่สืบต่อมา ต่อมาคือความต้องการให้ต านานผสานและเทียบเคียง

6 Werner Wilhelm Jaeger and Gilbert Highet, Paideia : The Ideals of Greek Culture, 2nd ed. (New York: Oxford University Press, 1945). 154-155.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 21

เวลากันได้ (synchronization) เนื่องจากมีต านานหลายเร่ืองและหลายฉบับมาจากหลายท้องถิ่นที่อาจไม่สอดผสานหรือแม้แต่แย้งกัน โดยสิ่งที่ผู้บันทึกโลกอสท าคือการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในอีเลียดและโอดิสซีย์ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเสริมวีรบุรุษเข้าไปมีส่วนร่วมในมหาสงครามหรือการผจญภัยของตัวละครหลัก หากต านานย่อยนั้นเป็นคนละเวลา ก็อาจจะใช้วิธี เชื่อมโยงโดยวงศ์วาน ขั้นสุดท้ายคือการท าให้ต านานมีที่ทางทางประวัติศาสตร์ (historicizing) ด้วยการสร้างข้อเขียนเรื่องวงศ์วาน เกิดล าดับและเทียบเคียงกันได้ ตั้งแต่เทพเจ้าสู่วีรชนสู่ตระกูลส าคัญปัจจุบัน7

ลักษณะส าคัญของงานบันทึกโลกอสคือความพยายามผสานเนื้อหาที่หลากหลาย รวบรวมทั้งต านาน อดีตใกล้ เหตุการณ์ร่วมสมัย และข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยข้อเขียนของผู้เขียนโลกอสอาจจ าแนกได้ตามเนื้อหาคร่าวๆ ดังนี้

1. ข้อเขียนเร่ืองต านาน พยายามที่จะท าความเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rationalize) และจัดระบบ (systematize) ให้กับต านานกรีก และยังสืบวงศ์วานตระกูลที่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าหรือวีรชน

2. ข้อเขียนด้านภูมิศาสตร์ อาจเป็นลักษณะของการพรรณนาผู้คนและดินแดนที่ได้พบจากการเดินทาง ทั้งทางทะเลและผู้คนในดินแดนที่ติดต่อกัน

3. บันทึกขนบประเพณี ความเป็นอยู่ และประวัติศาสตร์ของผู้คนที่ไม่ใช่ชาวกรีก

4. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเฉพาะเร่ืองการก่อตั้งเมืองต่างๆ

7 T. James Luce, The Greek Historians (London ; New York: Routledge, 1997). 7-8.

22 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

5. ล าดับเหตุการณ์ ซึ่งอาจเป็นตารางในลักษณะของล าดับกษัตริย์ เจ้าหน้าที่ปกครอง นักบวช รวมถึงเหตุการณ์ส าคัญๆ8

เร่ืองราวในบันทึกโลกอสก็ยังต้องถกูเผยแพร่ในลักษณะเดียวกับบทกวีด้วยการอ่านดังๆ ให้ฟังเป็นกลุ่ม โดยมีจุดมุ่งหมายในทางสังคมและชุมชนคล้ายๆ กันคือ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความบันเทิง แต่ก็เนื่องจากเป็นการบันทึกต านานจึงอาจคงไว้ซึ่งลักษณะภาษาเชิงกวีอยู่ นักวิชาการเชื่อว่ายังใช้ร้อยกรองร่วมด้วยในบางส่วนที่เหมาะสมกับตัวเนื้อหาที่น าเสนอ สิ่งเหนือธรรมชาติอาจมีบทบาทลดลง เว้นแต่ค าพยากรณ์ ลางบอกเหตุหรือนิมิต ที่มีความส าคัญในการอธิบายเหตุการณ์ โดยเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอาจถูกลดบทบาทลง เรื่องเล่าที่จินตนาการขึ้นผสานกับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ท าให้เรื่องราวฟังดูเป็นไปได้มากขึ้น9 หรืออาจเป็นการสืบค้นและบันทึกเรื่องราวชุดที่เชื่อว่าเป็นฉบับถูกต้อง โดยยังคงไว้ซึ่งเรื่องราวมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติ10 ทั้งยังอธิบายข้อมูลล าดับวงศ์ของตระกูลส าคัญๆ ที่มีอ านาจในปัจจุบันให้เชื่อมโยงกับต านานวีรบุรุษ ล าดับวงศ์ของตระกูลเป็นเครื่องมือหลักที่แสดงความต่อเนื่องจากบรรพกาลมาถึงปัจจุบัน โดยอาจมีทัศนคติคลืบแคลงสงสัยต่อต านานในแบบเก่าและพยายามสืบเสาะหาความจริง ข้อเขียนเชิงวงศาวิทยาอาจไม่ได้เป็นมากไปกว่าการบันทึกขนบมุขปาฐะลงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยทั้งพยายามจะยืนยันความถูกต้อง ต้องไม่ลืมว่าการสืบและบันทึกวงศ์ตระกูล

8 Lionel Pearson and Simon Hornblower, “Logographers” ใน Simon Hornblower and Antony Spawforth, The Oxford Classical Dictionary, 3rd ed. (Oxford ; New York: Oxford University Press, 1996). 9 Bury. 9-10. 10 Lionel Pearson and Simon Hornblower, “Logographers” ใน Hornblower and Spawforth.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 23

นั้นจ ากัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นน า ซึ่งสะท้อนค่านิยมและสถานะทางสังคมบางอย่าง เมื่อเกิดงานเขียนประเภทประวัติศาสตร์แบบเฮโรโดตัสและธูซิดดิดีส ล าดับวงศ์ตระกูลจึงลดความส าคัญลงไป11

ส่วนที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเหตุการณ์ส าคัญของนครรัฐนั้นๆ อาจประกอบด้วยเรื่องราวก่อก าเนิดเมืองหรือชุมชนรวมถึงเหตุการณ์ส าคัญโดยพยายามเข้าใจเทียบเคียงเวลา เนื่องจากไม่มีระบบเวลาสากล การบอกเวลามักจะบอกปี โดยเร่ิมจากการก่อตั้งนครรัฐหรือปีในรัชสมัย การล าดับเทียบเคียงเวลาจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามสูง ส่วนของอดีตใกล้หรือเหตุการณ์ร่วมสมัยเป็นข้อเขียนที่มีลักษณะต่างๆ กันไป ตั้งแต่บทบรรยายที่มีลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับชาติพันธุ์วรรณนา (ethnography) บรรยายประเพณีและวิถีชีวิตของชนต่างเผ่า อาจกล่าวถึงขนบธรรมเนียมวิถีชีวิต อาจเป็นข้อเขียนบรรยายภูมิศาสตร์ของดินแดนที่ผู้เขียนได้เห็นหรือได้ยินมา อาจล าดับตามการเดินทางเหมือนเป็นบันทึกการเดินทาง การบันทึกอดีตใกล้ลักษณะนี้ของงานเขียนโลกอสมีส่วนส าคัญต่องานของเฮโรโดตัส12

ส่วนการบันทึกเร่ืองเล่าท้องถิ่น ผู้เขียนอาจพยายามอธิบายให้เป็นเหตุเป็นผลและเป็นระบบ เขียนเล่าเร่ืองให้ได้ความเปรียบเทียบต านานวีรบุรุษจากถิ่นต่างๆ ประเมินความถูกต้อง ปัจจุบันสังคมศาสตร์สมัยใหม่เรียกรวมข้อมูลลักษณะนี้ว่า “คติชน” (folklore) แตส่ิ่งที่นักเขียนโลกอสท าต่างจากนักคติชนวิทยาสมัยใหม่ ขณะที่นักคติชนวิทยาตีความเรื่องเล่าเหล่านี้เพื่อท าความเข้า

11 Rosalind Thomas, Oral Tradition and Written Record in Classical Athens, Cambridge Studies in Oral and Literate Culture 18 (Cambridge ; New York: Cambridge University Press, 1989). 170. 12 Lionel Pearson and Simon Hornblower, “Logographers” ใน Hornblower and Spawforth.

24 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

โลกทัศน์และค่านิยมทางสังคมของกลุ่มคน แต่สิ่งที่นักเขียนโลกอสท าอาจเป็นการท าให้เข้าใจได้และอาจท าให้ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลในบริบทของตน โดย “ความเป็นเหตุเป็นผล” ในข้อเขียนลักษณะนี้ไม่อาจเทียบได้กับทัศนคติแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่อาจเป็นการท าให้สมจริงมากข้ึนตามประสบการณ์คนสมัยนั้น โดยลดทอนเรื่องเหนือธรรมชาติของวีรบุรุษในต านานให้เหมือนบุคคลจริ งมากขึ้ น อาจ เป็น เพี ย ง ใช้ เหตุ ผลที่ เป็ น ไปตามกฎของจั กรวาล (philosophically) ห รื อ เ ป็ น เ ห ตุ เ ป็ น ผ ล ใ น ท า ง โ ค ร ง ข อ ง เ รื่ อ ง (narratologically) แต่เนื่องจากไม่มีงานหลงเหลือมาเลย มีแต่ที่นักเขียนสมัยเฮเลนิสติกอ้างถึงหรืออ้างอิงมา ซึ่งก็มักจะเป็นไปในแง่ลบที่วิจารณ์ความถูกต้องแม่นย าและโจมตีว่าจินตนาการบุคคลและเหตุการณ์ข้ึนมาเอง13

ผู้บันทึกโลกอสคนส าคัญที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดและเชื่อว่ามีอิทธิพลมากที่สุด คือเฮคาเตียส (Hecataeus of Miletus) มีชีวิตอยู่ราว 550–476 ปีก่อนคริสตกาล เฮคาเตียสมาจากตระกูลชนชั้นปกครอง และยังมีส่วนในเหตุการณ์การเมืองส าคัญด้วย เวลานั้นเป็นช่วงที่นครรัฐในแถบไอโอเนียรวมตัวกันไม่ยอมอยู่ใต้อ านาจอาณาจักรเปอร์เซีย (Ionian Revolt, 499-493 ปีก่อนคริสตกาล) ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงสุดท้ายของความรุ่งเรืองทางภูมิปัญญาแถบไอโอเนีย เฮคาเตียสมีงานเขียนที่ส าคัญคือ Periodos Gês (World Survey) และ Genealogiai (Genealogies) Periodos Gês บรรยายดินแดนและผู้คนที่ผู้เขียนได้พบเจอรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลด า เฮคาเตียสพรรณนาถึงดินแดนทั้งหมดในโลกกรีกโดยมีแผนที่ประกอบที่มองสัณฐานโลกเป็นรูปวงกลมแบน มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลด าแบ่งทวีปออกจากกันเป็นสองส่วนคือยุโรปและเอเชีย นอกจากข้อมูลทางภูมิศาสตร์ยังประกอบด้วยข้อมูลเชิง

13 นักเขียนสมัยเฮเลนิสติกเหล่านี้เอง ก็ถูกนักเขียนรุ่นหลังวิจารณ์ถึงความไม่น่าเชื่อถือเช่นกัน เพราะสร้างข้อมูลขึ้นมาเอง จึงยากจะทราบแน่ชัดว่าเป็นอย่างไร

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 25

ชาติพันธุ์ด้วย ในแง่หนึ่ง เฮคาเตียสจึงมีส่วนในการริเริ่มศาสตร์ที่เรียกว่าภูมิศาสตร์ ส่วน Genealogiai สนใจที่การสืบล าดับวงศ์วานของตระกูลส าคัญที่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า รวมทั้งต้นตระกูลของเขาเองด้วย เฮคาเตียสพบว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าย้อนไป 16 ชั่วอายุคน14 แม้ว่าจะสนใจที่ต านานเหนือจริง แต่เฮคาเตียสพยายามที่จะสร้างเหตุผลสร้างระบบให้ต านาน อาจกล่าวได้ว่าเป็นการริเริ่มครั้งส าคัญที่มุ่งอธิบายต านานอย่างเป็นเหตุเป็นผล หากเปรียบเทียบกับกวีล าดับยุคและวงศ์วาน (genealogical poet) อาจพบว่านักเขียนโลกอสอย่างเฮคาเตียส ต้องผสานข้อมูลหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายท้องที่ ทั้งต านานมหากาพย์ อดีตใกล้และข้อมูลปัจจจุบันเชิงประจักษ์

อาจกล่าวว่า Genealogiai เป็นได้ตั้งแต่การรวบรวม เรียงร้อย และผสานเอาขนบประวัติศาสตร์หลายท้องถิ่น หลายเรื่อง และหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน แม้ว่าอาจเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ขัดแย้งกันและเรื่องเล่ามาจากต่างขนบไม่ไปด้วยกัน แต่เฮคาเตียสพยายามอธิบายและเรียบเรียงต านานอดีตให้เป็นเรื่องราวที่สอดคล้องกัน การลดทอนข้อขัดแย้งของต านานให้ราบรื่นขึ้น หรืออาจแม้จะเป็นการท าให้เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น อาจมีการตัดทอนส่วนที่เกิน

14 เฮโรโดตัสอ้างถึงการค้นข้อมูลลับวงศ์วานของเฮคาเตียสใน 2.11 ดังนี้ “Some time ago the writer Hecateus was in Thebes. He had studied his own linage and had traced his family history back to a divine ancestor in the sixteenth generation. … In response to the fact that Hecateus’s studies of his linage led him back to a divine ancestor in the sixteenth generation, they established an alternative genealogy on the basis of their counting of the statues, and they refused to accept his idea that a human being could be descanted from a god.” จาก Herodotus, The Histories, trans., Robin Waterfield (Oxford: Oxford University Press, 1998). Herodotus. 2:143.

26 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ความจริงออกไป แต่เนื่องจากงานของเฮคาเตียสไม่หลงเหลือมาให้ได้ศึกษา มีแต่ส่วนย่อยที่ถูกอ้างอิงต่อมา กระนั้นก็ตาม เรายังทราบว่าเฮคาเตียสเขียนบันทึกในรูปร้อยแก้วเป็นหลัก

ทั้งนี้ รูปแบบงานเขียนร้อยแก้วเป็นจุดหักเหส าคัญที่ท าให้งานเขียนโลกอสจากไอโอเนียศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ต่างจากมหากาพย์และล าน าต่างๆ สิ่งที่มาพร้อมกับรูปแบบร้อยแก้ว คือทัศนคติเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ อาจมองได้ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อวรรณกรรมร้อยกรองและเร่ืองเกินจริงแบบต านาน เฮคาเตียสเขียนเปิด Genealogiai ว่า “ข้าพเจ้าเขียนสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเรื่องราว (logoi) กรีกหลายเรื่องดูจะมีหลายฉบับและหาสาระไม่ได้”15 ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นการวิจารณ์ความไม่น่าเชื่อถือของต านานและการยืนยันพิสูจน์ความจริง อาจเป็นขั้นแรกเริ่มของทัศนคติที่น าไปสู่ความเป็นเหตุเป็นผลของประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกในเวลาต่อมา

การวิจารณ์ความไม่เป็นสาระที่เฮคาเตียสกล่าวถึงเป็นจุดที่นักวิชาการพยายามท าความเข้าใจว่าเฮคาเตียสมองงานของตนอย่างไร ความเป็นสาระหรือเป็นเหตุเป็นผลของการบันทึกโลกอสคืออะไร เฮคาเตียสแสดงให้เห็นถึงความคลืบแคลงต่อการบันทึกอดีตแบบต านานและการพยายามใช้ตรรกะสืบ

15 "Hecataeus of Miletus says this: I write what seems to me to be true, for the stories (logoi) of the Greeks appear to me to be many and laughable.” Luce. 13. อ้างอิงจาก F. Jacoby ed. Die Fragmente der griechischen Historiker, E. J. Brill, Berlin and Leiden. 1923-1958. อาจแปลความหมายได้ทั้ง”น่าขัน” และ “ไร้สาระ” ส าหรับผู้ที่ศึกษาเฮโรโดตัสในฐานะผู้ริเร่ิมด้านประวัติศาสตร์นิพนธ์ ความเข้าใจเฮคาเตียสจึงเป็นกุญแจส าคัญในการท าความเข้าใจสิ่งที่เฮโรโตตัสท าและความส าเร็จของเฮโรโดตัส ดู Stephanie West, "Herodotus' Portrait of Hecataeus," The Journal of Hellenic Studies 111, (1991).

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 27

เสาะหาความจริง ซึ่งเป็นรากฐานส าคัญของประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกต่อๆ มา แต่ข้อเขียนนี้ก ากวมจึงเกิดเป็นที่ถกเถียงว่า ที่เฮคาเตียสบอกว่าเรื่องราว (logoi) นั้น “ไร้สาระ” เพราะว่าตัวเร่ืองเล่าเองเป็นเรื่องเกินจริงไม่น่าเป็นไปได้ในประสบการณ์มนุษย์ หรือ “ไร้สาระ” เพราะวีรบุรุษคนเดียวเรื่องเดียวกลับมีหลายฉบับต่างท้องที่ซึ่งไปกันคนละทิศละทาง อาจกล่าวว่าค าเปิดเรื่องนี้แสดงถึงทัศนะส าคัญอันหนึ่ง นั่นคือความพยายามมองเรื่องราวจากอดีตอย่าง “เป็นเหตุเป็นผล” แต่มีข้อขัดแย้งทางวิชาการว่า ทัศนคติ “เป็นเหตุเป็นผล” (rational) ของเฮคาเตียสมีความหมายอย่างไร ระหว่างการท าต านานให้เป็นเหตุเป็นผล โดยตัดเรื่องเกินความจริงไม่เป็นสาระออกไปให้เป็นเรื่องราวที่เป็นไปได้แบบประสบการณ์มนุษย์โดยลดทอนสิ่งเหนือธรรมชาติทิ้งไป ซึ่งแสดงว่าเฮคาเตียสวิจารณ์ตัวต านานเองผ่านทัศนคติแบบวิทยาศาสตร์ที่คลืบแคลงต่อต านานเหนือจริง ขณะที่อีกทัศนะหนึ่งเห็นว่า เฮคาเตียสบอกว่าต านานต่างๆ นั้น “หาสาระไม่ได้” เพราะมีหลายฉบับและแย้งกันเอง โดยสิ่งที่เฮคาเตียสอาจท าคือมุ่งคัดเลือกเฟ้นหาเรื่องเล่าอดีตฉบับที่ถูกต้องที่สุดแม้ว่าจะเต็มไปด้วยเหตุการณ์มหัศจรรย์และเทพเจ้า16

16 Thomas. 197. ทัศนะแรกมีขึ้นก่อนเป็นของนักวิชาการรุ่นเก่า เช่น J. B. Bury และ Kurt Von Fritz ส่วนทัศนะที่แย้งกันมาจากงานวิชาการสมัยหลังโดยเฉพาะ Charles W. Fornara, The Nature of History in Ancient Greece and Rome, Eidos (Berkeley: University of California Press, 1983). ดูเพิ่มเติม Catherine Darbo-Peschanski. “the Origin of Greek Historiography” ใน Marincola. ข้อถกเถียงยังมีอีก เช่น ตั้งค าถามว่าประโยคเปิดนี้ถูกตีความว่าเฮคาเตียสวิจารณ์อะไร ระหว่างเรื่องราวจากมหากาพย์และกวีล าดับวงศ์ (genealogical poets) ฟอร์นาราชี้ว่าเฮคาเตียสอาจไม่ได้จงใจวิจารณ์ต านานจากมหากาพย์แบบตรงไปตรงมา แต่มุ่งวิจารณ์ขนบกวีล าดับวงศ์วานตระกูลใหญ่ๆ ที่สืบวงศ์ไปหาเทพเจ้า อาจกล่าวได้ว่าเป็นการวิจารณ์

28 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

สิ่งที่เฮคาเตียสท าอาจเป็นการท าให้การบันทึกอดีตใน logoi ต่างๆ “เป็นเหตุเป็นผล” แต่เราก็ไม่อาจทราบได้ว่า “ความเป็นเหตุเป็นผล” มีความหมายว่าอะไร อาจไม่เหมือนกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่พัฒนาตามมาที่ให้ความส าคัญกับความเป็นเหตุเป็นผลโดยไม่เอาการอธิบายแบบเทพเจ้าในต านานให้เป็นแกนส าคัญ ในสมัยนั้นยังไม่มีการแยกกันระหว่าง mythoi และ logoi เนื่องจากเป็นมโนทัศน์สมัยใหม่ที่เห็นว่าทั้งสองค าแยกออกจากกันได้ อย่างไรก็ดีบันทึกโลกอสก็เป็นขั้นส าคัญของพัฒนาการประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก แม้ว่าจะให้ความสนใจกับต านานในลักษณะเดียวกับมหากาพย์สงครามกรุงทรอยแต่เขียนด้วยร้อยแก้วต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบกับต านานแบบโฮเมอร์ จะเห็นถึงการพยายามวิพากษ์มากข้ึน ผ่านการเรียบเรียงแบบร้อยแก้วและการเชื่อมโยงเปรียบเทียบที่เป็นเหตุเป็นผลขึ้น ความนิยมร้อยแก้วเป็นเงื่อนไขส าคัญของการเกิดงานประวัติศาสตร์ เราอาจกล่าวได้ว่าบันทึกโลกอสเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่กรุยทางให้เกิดมีงานประวัติศาสตร์แบบเฮโรโดตัสในด้านทัศนคติเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์

แต่ก็มีทัศนะที่แย้งกันเห็นว่าทัศนคติแบบเหตุผลนิยมและการค้นหาความถูกต้ อง ในบันทึกอาจ เป็นตั วถ่ วงก็ เป็น ได้ หากการหา เหตุผล (rationalization) อาจให้ความส าคัญกับความถูกต้องตามเรื่องในมหากาพย์ของโฮเมอร์และกวีส าคัญอื่นๆ ในแง่ของการเป็นแม่แบบ แทนที่ให้ความส าคัญกับข้อมูลเชิงประจักษ์และความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ หรือผู้รู้เห็นมายืนยันข้อเท็จจริงของผู้คนและเหตุการณ์ อย่างไรก็ดีความเป็นเหตุเป็นผลทั้งสองแบบอาจไม่ได้ขัดแย้งกันเสียทีเดียวหรือจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง ลูซชี้ให้เห็นว่าความเป็นเหตุเป็นผลทั้งสองแบบที่ดูจะขัดกันอาจอยู่ร่วมกันได้ใน

กระทบ ดู Michael Grant, Greek and Roman Historians : Information and Misinformation (London ; New York: Routledge, 1995). 24.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 29

การเขียนประวัติศาสตร์คลาสสิก โดยอาจแบ่งแยกกันตามช่วงเวลา แบบแรกใช้กับต านานและขนบความคิดเกี่ยวกับอดีตไกล แบบหลังใช้กับอดีตใกล้หรือเหตุการณ์ร่วมสมัย ซึ่งประวัติศาสตร์นิพนธ์ตลอดสมัยกรีกและโรมันก็มีทั้งสองส่วน ทั้งในทางที่เป็นปรปักษ์กันและท างานไปด้วยกัน17 “ความเป็นเหตุเป็นผล” (rationalization) จึงเป็นได้ทั้งในตรรกะทางวรรณกรรมของโลกอสเองที่เชื่อมโยงกับขนบความเชื่อและค่านิยมของวัฒนธรรมกรีก และตรรกะทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมกับโลกภายนอกในเชิงประจักษ์ แบบแรกน าไปสู่การมองว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นประเภทของวรรณกรรม ( literary genre) ที่มีกฎเกณฑ์หลักการที่ทั้งได้รับอิทธิพลจากและเป็นปฏิกิริยาต่อขนบวรรณกรรมที่มาก่อน แบบหลังเห็นว่าเป็นศาสตร์ (science) ในการสืบเสาะและอธิบายความเป็นจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผล

เฮโรโดตัสอ้างอิงโดยยกชื่อเฮคาเตียสมาด้วย โดยเรียกเฮคาเตียสว่า “ผู้เขียน” (writer) ขณะที่ไม่ให้เครดิตกับคนอื่นๆ18 เราไม่ทราบได้ว่า Histories ของเฮโรโดตัสนั้นแตกต่างหรือใกล้เคียงกับเฮคาเตียสมากเพียงใดในด้านของการอธิบายอดีตและในฐานะวรรณกรรม แต่ที่ส าคัญคือเฮโรโดตัสมองงานของตนเปรียบกับเฮคาเตียส พอจะทราบได้ว่าเฮโรโดตัสยกย่อง แต่ขณะเดียวกันก็ตั้งตนว่างานของเขาเป็นงานที่ต่างจากเฮคาเตียสและผู้บันทึกโลกอสคนอื่นๆ เราพอทราบว่าหลังจากสงครามกับเปอร์เซียและหลังจากยุคของของเฮโรโดตัส บันทึกลักษณะนี้ก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง

ประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส

17 Luce. 1-2. 18 Herodotus. 2.143

30 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

เฮโรโดตัส (Herodotus of Halicarnassus, ราว 484 - 425 ปีก่อนคริสตกาล) เกิดที่นครฮาลิคาร์นาสซัสซึ่งอยู่ตอนใต้ของชายฝั่งเอเชียไมเนอร์ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานชาวกรีก เฮโรโดตัสเป็นชาวกรีกเชื้ อสายคาเรีย19 แต่อยู่ใต้อ านาจการเมืองของเปอร์เซียในสมัยที่เรืองอ านาจ ดินแดนนั้นเป็นที่ที่มีการพบปะและได้เห็นความหลากหลายและการผสมผสานทางวัฒนธรรม เป็นท้องที่ที่มีการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมสูง เป็นชายขอบทางอารยธรรมกรีก เป็นรอยต่อระหว่างยุโรปกับเอเชีย มีความผกผันทางการเมืองเพราะเป็นพื้นที่กันชนทางการเมือง เป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งทั้งทางอ านาจและทางมโนทัศน์จากต านานหลายชุดที่ไม่ลงรอยกัน เราจึงสามารถเข้าใจได้ว่าท าไมเฮโรโดตัสจึงมีความเข้าใจทางวัฒนธรรมและมองความเป็นไปทางการเมืองที่ให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง นครฮาลิคาร์นาสซัสเป็นเมืองที่มีศาสนา สถาบันทางสังคม และวัฒนธรรมการเมืองแบบกรีก แต่อยู่ใต้อาณัติของกษัตริย์ลิเดียและตกอยู่ภายใต้อ านาจของกษัตริย์เปอร์เซียในเวลาต่อมา ฮาลิคาร์นาสซัสเป็นริมขอบอ านาจเปอร์เซียที่มีชาวกรีกอพยพมาอยู่ จึงเป็นขอบรอยต่อระหว่างสองวัฒนธรรมหลัก เฮโรโดตัสเกิดในพื้นที่ที่มีความหลากหลายและเป็นจุดขัดแย้ง ต่อมาเกิดเป็นกรณีนครรัฐในไอโอเนียกบฏต่ออาณาจักรเปอร์เซีย (Ionian Revolt) ที่ลุกลามมาเป็นสงครามใหญ่ สมาชิกในตระกูลของเฮโรโดตัสอยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองฮาลิคาร์นาสซัส เฮโรโดตัสลี้ภัยมาอยู่ เอเธนส์ในช่วงเวลาที่วัฒนธรรมกรีกอีกฟากหนึ่งเฟื่องฟู ได้คุ้นเคยกับวงการปัญญาชน ศิลปะ และการสื่อ ได้รู้จักกับ โซโฟคลีส (Sophocles) นักการละครชื่อดังขณะนั้น นักวิชาการไม่แน่ใจว่าเฮโรโดตัสเสียชีวิตเมื่อใด แต่น่าจะได้เห็นสงคราม

19 คาเรีย (Caria) เป็นชาวท้องถิ่น เมื่อชาวกรีกอพยพมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งเอเชียไมเนอร์ มีการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์กรีกกับชาวท้องถิ่นมา ในทางวัฒนธรรมและภาษาชาวท้องถิ่นนี้ถูกกรีกกลืน

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 31

คาบสมุทรเพโลพอนนีซัส ซึ่งตอนท้ายของ Histories กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงต้นๆ เอาไว้

เฮโรโดตัสเขียน Histories ในช่วงเวลาประมานศตวรรษที่ 450 ถึง 420 ก่อนคริสตกาล งานชิ้นนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ราว 425 ปีก่อนคริสตกาล ก็เป็นที่รู้จักกันในเอเธนส์แล้วเพราะอริสโตฟานีส (Aristophanes, ราว 448-380 ปีก่อนคริสตกาล) น าตอนเปิดเรื่องมาล้อเลียนใน The Acharnians (425 ปีก่อนคริสตกาล) Histories อาจถูกเผยแพร่เป็นตอนๆ ก่อนที่จะเขียนจบ แม้จะถือว่าเป็นข้อเขียนประวัติศาสตร์ชิ้นแรก แต่ก็ยังคงอยู่ในวัฒนธรรมมุขปาฐะโดยเฉพาะในเงื่อนไขการเผยแพร่ช่วงแรกๆ การแบ่งบรรพและบทแบบหนังสือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังมาก ซิลวานา คักแนซซี (Silvana Cagnazzi) เสนอว่าการแบ่งแบบดั้งเดิมขึ้นกับจ านวนเรื่องที่เผยแพร่เป็นจ านวน 28 เรื่อง (logoi) ซึ่งใช้อ่าน 28 ครั้งอย่างไรก็ดี มีข้อคิดเห็นแย้งว่างานของเฮโรโดตัสไม่ได้แพร่หลายทันที โดยมองว่าความยาวและความซับซ้อนของร้อยแก้วนั้นเป็นอุปสรรค รวมทั้งการถูกพาดพิงถึงในละครไม่ได้รับรองความส าเร็จแบบฉับพลัน20

ตาราง 1 โครงสร้างของ Histories

21 บรรพ โลกอส เนื้อหา ตอน

1 1 เร่ืองราวของโครเอซัส 1.1-94

20 Stewart Flory, "Who Read Herodotus' Histories?," The American Journal of Philology 101, no. 1 (1980). 21 Silvana Cagnazzi, "Tavola Dei 28 Logoi Di Erodoto," Hermes 103, no. 4 (1975). 421-423. สรุปความจากJona Lendering, "Herodotus' Histories: The 28 Logoi" http://www.livius.org/he-hg/herodotus/logoi.html (accessed June 1 2012).

32 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

2 ไซรัสขึ้นมามีอ านาจ 1.95-140 3 สถานการณ์ในบาบโิลเนียและเปอร์เซีย 1.141-216

2 4 ภูมิศาสตร์อียิปต ์ 2.1-34 5 ธรรมเนียมประเพณีและสัตว์ในอยีิปต์ 2.35-99 6 ประวัติศาสตร์อียิปต ์ 2.100-182

3 7 Cambyses ยึดครองอียิปต์ 3.1-60 8 การช่วงชิงอ านาจของกลุ่มเมไจและดาเรียส 3.61-119, 126-

141, 150-160 9 สถานการณ์ในซามอส 3.39-60, 120-

125, 142-149 4 10 ชนบทและธรรมเนียมชาวชนชาวซิเธียน 4.1-82

11 เปอร์เซียรุกรานชาวชนชาวซิเธียน 4.83-144 12 เปอร์เซียยึดครองลิเบีย 4.145-205

5 13 เปอร์เซียยึดครองเทเรซ 5.1-28 14 เร่ิมต้นการกบฏไอโอเนีย สถานการณ์ในสปาต้า 5.28-55 15 สถานการณ์ในเอเธนส ์ 5.55-96 16 กบฏไอโอเนีย 5.97-126

6 17 เปอร์เซียเข้ายึดไอโอเนียใหม ่ 6.1-42 18 สถานการณ์ในกรีซ 6.43-93 19 สมรภูมิมาราธอน 6.94-140

7 20 เปอร์เซียเตรียมทัพ 7.1-55 21 เปอร์เซียเดินทางข้ามมายุโรป 7.56-137 22 สมรภูมิเธอโมไปเล 7.138-239

8 23 ยุทธนาวีที่อาร์ทีมิเซียม 8.1-39 24 ยุทธนาวีที่ซาลามิส 8.40-96 25 ช่วงฤดูหนาว 8.97-144

9 26 สมรภูมิพลาเทีย 9.1-89 27 ไอโอเนียได้รับการปลดแอก 9.90-113 28 การก่อตั้งจักรวรรดิเอเธนส์ 9.114-122

เนื้อหาของ Histories แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ ส่วนแรกกล่าวถึง

ประวัติความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ย้อนถอยหลัง

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 33

กลับไปหาต้นตอและอดีตที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรแถบนั้น และอธิบายถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างชาวกรีกกับชาวต่างชาติในอดีต โดยอธิบายก าเนิดและภูมิศาสตร์ของอาณาจักรเปอร์เซีย พื้นเพประวัติศาสตร์ของดินแดนกรีกโดยเน้นที่เอเธนส์และสปาต้า และส่วนที่สองเป็นสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซียซึ่งเป็นส่วนที่ยาวกว่า

Histories ฉบับที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันแบ่งออกเป็น 9 บรรพ ซึ่งมาจากการคัดลอกลงไปบนม้วนปาปิรัสเก้าม้วน เป็นฉบับที่มาจากหอสมุดในอเล็คซานเดรีย (Alexandria) คัดลอกขึ้นราวกลางศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล22 มีเนื้อหาดังนี้ บรรพที่ 1 เริ่มที่อาณาจักรเปอร์เซียขึ้นมามีอ านาจโดยไซรัส (Cyrus, ราว 559-529 ปีก่อนคริสตกาล) เอาชนะกษัตริย์โครเอซัส (Croesus) แห่งลิเดีย ท าให้นครรัฐกรีกต่างๆ ในแถบไอโอเนียตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย ไซรัสโจมตีบาบิโลน จนถึงไซรัสเสียชีวิตในสมรภูมิขณะรบกับฝ่ายเมสซาเกเท (Massagetae) บรรพที่ 2 และช่วงแรกของ บรรพที่ 3 กล่าวถึงอียิปต์ในหลายๆ แง่มุม ทั้งภูมิศาสตร์ ประเพณีท้องถิ่นและพันธุ์สัตว์แปลกๆ ประวัติศาสตร์อียิปต์จนถึงถูกเปอร์เซียยึดครองโดยการน าของกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 (Cambyses II, 529-521 ปีก่อนคริสตกาล) แคมไบซีสสติฟั่นเฟือน ถูกกลุ่มเมไจ (Magi) ชิงอ านาจ ดาเรียส (Darius I, 521-468 ปีก่อนคริสตกาล) ขึ้นครองเปอร์เซีย บรรพที่ 3 ที่เหลือถึงบรรพที่ 6 กล่าวถึงสมัยของดาเรียสซึ่งมีการแพร่ขยายอ านาจและสงครามเพื่อยึดครองดินแดนต่างๆ ภูมิศาสตร์ ประเพณี และประวัติศาสตร์ของดินแดนสกิเทีย (Scythia) จนดาเรียสน าทัพไปโจมตีแต่ไม่ส าเร็จ เปอร์เซียท าสงครามกับทาเรส (Thrace) ครองแถบเหนือ

22 ต่อมาก าหนดชื่อทั้ง 9 เล่มตามเทพธิดาแห่งศิลปศาสตร์ 9 องค์ (Clio, Euterpe, Thalia, Melpomene, Terpsichore, Erato, Polymnia, Urania และ Calliope ตามล าดับ) ส่วนการแบ่งเป็นบทมาจากสมัยเรอเนสซองส์เพื่อใช้ในการศึกษาอ้างอิงให้สะดวกขึ้น

34 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ของทะเลอีเจียน จนกระทั้งเกิดการกบฏในไอโอเนีย (Ionian Revolt, 499 ปีก่อนคริสตกาล, บรรพที่ 6) โดยนครรัฐกรีกอีกฝั่งทะเลอีเจียนให้การสนับสนุน ดาเรียสยกทัพมาสั่งสอน ผ่านความยากล าบากมากมาย จนกระทั่งพ่ายแพ้ทัพเอเธนส์ที่สมรภูมิมาราธอน (490 ปีก่อนคริสตกาล, บรรพที่ 6) ดาเรียสตาย และหลังจากนั้น เซิร์กซีส (Xerxes, 485-465 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้เป็นบุตรจัดทัพมาที่กรีซ ชนะทัพสปาต้าที่เธอร์โมปิเลย์ (Battle of Thermopylae, 480 ปีก่อนคริสตกาล, บรรพที่ 7) แต่เพลี่ยงพล้ าที่สมรภูมิทางทะเลที่ซาลามิส (Battle of Salamis, 480 ปีก่อนคริสตกาล, บรรพที่ 8) แพ้อีกที่สมรภูมิพลาเทีย (Plataea) และไมเคล (Micale) (479 ปีก่อนคริสตกาล, บรรพที่ 9) จบลงที่นครรฐัต่างๆ ในไอโอเนียเป็นอิสระจากเปอร์เซียและจักรวรรดิเอเธนส์ก่อตั้ง

บริบททางความคิด การค้นคว้าและการเผยแพร่

ความสนใจต่อธรรมชาติและมนุษย์ด้วยทัศนคติเป็นเหตุเป็นผลนับว่าเป็นมรดกจากความรุ่งเรืองทางภูมิปัญญาในไอโอเนีย ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ซึ่งสืบต่อมาเป็นยุคทองของเอเธนส์หลังสงครามกับเปอร์เซีย ความเชื่อมโยงระหว่างทัศนคติเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์มาพร้อมกับงานเขียนในรูปร้อยแก้วเพื่ออธิบายธรรมชาติ เฮโรโดตัสเองก็แสดงออกถึงความสนใจและทัศนคติสงสัยลักษณะนี้ต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติของแม่น้ าไนล์ ทั้งยังกล่าวว่าศาสนาไม่ค่อยสนใจจะอธิบายเร่ืองประเภทนี้ เฮโรโดตัสตั้งค าถามว่าเพราะเหตุใดแม่น้ าไนล์ถึงได้ท่วมล้นตลิ่งในฤดูร้อน ต่างจากแม่น้ าสายอื่นๆ ในดินแดนกรีกที่ล้วนน้ าน้อยในหน้าแล้ง23 เฮโรโดตัสเริ่มจากสังเกตและอธิบายความเป็นไปในเชิงประจักษ์ โดยให้ความส าคัญกับฤดูกาล การนับวันและ

23 Herodotus. 2.19-34

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 35

สังเกตเชิงปริมาณ เปรียบเทียบกับความรู้ทางดาราศาสตร์ สัณฐาน และภูมิศาสตร์ของโลกที่จ ากัดในสมัยนั้น24 เฮโรโดตัสได้วิเคราะห์ประเมินความเป็นไปได้ของค าอธิบายสามชุดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่เอาเรื่องเหนือธรรมชาติ และเป็น “วิทยาศาสตร์” ที่สุด สอดคล้องกับการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติร่วมสมัย แม้ว่าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะพิสูจน์ว่าเฮโรโดตัสผิด แต่ข้อเขียนลักษณะนี้ก็แสดงให้เห็นทัศนคติส าคัญที่ส่ งผลต่อประวัติศาสตร์นิพนธ์ เรื่องราวแปลกๆ เกี่ยวกับอียิปต์มักเป็นที่สนใจของชาวกรีก ชาวกรีกส่วนใหญ่มองว่าอียิปต์เป็นดินแดนมหัศจรรย์ที่มีทุกอย่างกลับตาลปัตรกับดินแดนกรีก ทั้งในทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติ

เฮโรโดตัสเริ่มต้น Histories โดยอธิบายถึงสิ่งที่เขาก าลังจะท า ทั้งแรงจูงใจของการเขียนและผลที่ได้ โดยอธิบายไปถึงว่างานชิ้นนี้ต่างจากวรรณกรรมประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้อย่างไร ทุกๆ ค าในประโยคเปิดเรื่องมีนัยส าคัญต้องการการศึกษาอย่างใกล้ชิด เฮโรโดตัสเร่ิมเปิดเรื่องว่า

เฮโรโดตัสจากนครฮาลิคาร์นาสซัสเป็นเจ้าของผลงานค้นคว้าที่แสดงอยู่ ณ ที่นี้ เพื่อเหตุการณ์ที่เกิดจากมนุษย์จะไม่ถูกเวลาลบเลือนไป ให้ผลงานที่ยิ่งใหญ่และส าคัญของชาวเฮลลีนและคนต่างภาษาแสดงถึงกิตติศัพท์ที่คงอยู่ รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนสองพวกนี้ 25

24 ปราชญ์และนักเขียนจากไอโอเนียสมัยนั้นที่สนใจต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติ และถึงแสดงทัศนคติวิทยาศาสตร์ในการอธิบายธรรมชาติลักษณะนี้มาก่อนได้แก่ ธาลีส (Thales), อแน็กซิแมนเดอร์ (Anaximander), อแน็กซิมีนีส (Anaximenes), เฮราไคลตัส (Heraclitus), อแน็กซากอรัส (Anaxagoras), อาร์คีลอส (Archelaus), และไดโอจีนีส (Diogenes of Apollonia) 25 Herodotus.1.0 แปลโดยโดยผู้แต่ง โดยดูความจากภาษากรีกเป็นส าคัญ

36 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

เฮโรโดตัสเริ่มโดยกล่าวถึงตัวเองว่ามาจากฮาลิคาร์นาสซัส การเป็นเจ้าของเจาะจงและเป็นเจ้าของน้ าพักน้ าแรงในการสืบเสาะค้นคว้า โดยในภาษากรีกนั้นแสดงการเป็น เจ้ าของอย่างชัด เจน (Hêrodotou Halikarnêsseos historiês) เป็นไปในลักษณะคล้ายกับการเปิดเรื่องของเฮคาเตียส แต่เฮโรโดตัสบอกว่าเป็น “งาน” ของเขาโดยใส่ชื่อตนเองไปตั้งแต่ต้น เฮโรโดตัสใช้ค ากรีก historiês มีความหมายแตกต่างจากค าว่า ประวัติศาสตร์ (history) ในปัจจุบัน ค าว่า historiês ใช้กันอย่างกว้างขวางในความหมายของการค้นคว้าอย่างมีเป็นเหตุเป็นผล ไพทากอรัส (Pythagoras) ใช้ค านี้กับทฤษฎีคณิตศาสตร์และอภิปรัชญาของตน เดโมคริตัส (Democritus) ใช้เป็นชื่อข้อเขียนและใช้กล่าวถึงกิจกรรมทางความคิดของตน ยูริพิดิส (Euripides) ใช้ค านี้ในการค้นคว้าที่ใช้ปัญญาทุกรูปแบบ26 กรีกโบราณยังไม่มีการแบ่งแยกสาขาหรือปริมณฑลทางความคิดเช่นในสมัยใหม่ นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า

Here are presented the results of the enquiry carried out by Herodotus of Halicarnassus. The purpose is to prevent the traces of human events from being erased by time, and to preserve the fame of important and remarkable achievements produced by both Greeks and non-Greeks; among the matters covered is, in particular, the cause of the hostilities between Greeks and non-Greeks.” (Waterfield trans.)

Hêrodotou Halikarnêsseos historiês apodexis hêde, hôs mête ta genomena ex anthrôpôn tôi chronôi exitêla genêtai, mête erga megala te kai thômasta, ta men Hellêsi ta de barbaroisi apodechthenta, aklea genêtai, ta te alla kai di' hên aitiên epolemêsan allêloisi.

26 John Gould, Herodotus (London: Weidenfeld and Nicolson, 1989). 10, 11. ดู Simon Hornblower, Thucydides (London: Duckworth, 1987).

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 37

การเน้นที่ค านี้ เป็นการแสดงว่าอยู่แนวร่วมกับขนบความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลและการค้นคว้าความจริงแบบไอโอเนียทางด้านปรัชญา แสดงให้เห็นว่าเฮโรโดตัสมองตนเองในฐานะนักคิดและนักเขียนที่ต่างจากนักเขียนตามจารีตที่ผ่านมา เฮโรโดตัสเป็นผู้ที่ท าให้ค านี้มามีความหมายว่า “ประวัติศาสตร์” อย่างเช่นปัจจุบัน

ในบริบทของเฮโรโดตัส ค านี้มีความหมายว่า “การไต่สวน” หรือ “การสืบเสาะ” (enquiries)27 ซึ่งก็กล่าวได้ว่าเป็นชื่อของงานชิ้นนี้ โดยค านี้ไม่ได้มีความหมายเจาะจงในแง่เนื้อหา จนมาถึงราวศตวรรษที่ 4 ที่ค านี้กลายมามีความหมายเจาะจงกับงานเขียนว่าด้วยอดีตของมนุษย์อย่างเช่นปัจจุบัน28 เฮโรโดตัสชี้ให้เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นงานเขียนชนิดใหม่ที่ต่างจากวิธีเขียนของนักเขียนโลกอส ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ค านี้กลายมามีความหมายว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีนิยามของรูปแบบการเขียนแบบประวัติศาสตร์ หนังสือเล่มนี้อาจใช้ชื่อว่า “การค้นคว้า” หรือ “การไต่สวน” (enquiries) ก็ได้ ส าหรับเฮโรโดตัส ค าว่า historia ไม่ใช่เพียงการเขียนเหตุการณ์ในอดีตด้วยรูปแบบทางวรรณกรรมแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่มีความหมายหลายอย่างในด้านเนื้อหาและวิธีการ การไต่สวนหรือไต่ถามเป็นวิธีการที่เป็นหัวใจส าคัญของงานชิ้นนี้ การไต่ถามด้วยวาจาอาจไม่ได้แสดงถึงข้อมูลเชิงประจักษ์นักหากมองจากหลักวิธีการค้นคว้าแบบสมัยใหม่ หรือแม้เปรียบเทียบกับธูซิดดิดีสในเวลาต่อมา แต่หากพิจารณาความทรงจ าทางสังคมกรีกโบราณที่ยังขึ้นกับวัฒนธรรมมุขปาฐะเป็นหลัก และจากช่วงเวลาห่างจากเหตุการณ์ในอดีต จะเห็นได้ว่าเฮโรโดตัสค้นคว้าเหตุการณ์ที่ห่างออกไปเพียง

27 ในภาษาอังกฤษฉบับแปลต่างๆ ใช้ค าต่างๆกันไปเช่น inquiry, enquiry, study และ research 28 David Asheri. “General Introduction” in David Asheri and others, A Commentary on Herodotus Books I-Iv (Oxford: Oxford University Press, 2007). 8.

38 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

70 ถึง 80 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ใกล้ ระยะห่างนี้สามารถสอบถามผู้รู้เห็นเหตุการณ์หรือลูกหลานของผู้ที่มีส่วนในเหตุการณ์ได้ ในแง่ของข้อมูลเชิงประจักษ์ ถือว่าเป็นระยะเวลาที่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้อยู่ หากปล่อยเวลาผ่านไปอีกเพียงชั่วอายุคนเดียว ความน่าเชื่อถือก็จะลดลงไปอย่างมาก โดยอาจกลายรูปเป็นต านานประจ าตระกูลมากขึ้น เฮโรโดตัสสอบถามผู้คนหลากหลายทั้งชาวกรีกและชาวต่างถิ่นหลายท้องที่ แต่ผู้ให้ข้อมูลที่เฮโรโดตัสได้ข้อมูลมากเป็นพิเศษคือชนชั้นปกครองที่เป็นลูกหลานของผู้มีส่วนร่วมในการสงครามและการทูต โดยเฮโรโดตัสรู้จักผู้คนเหล่านี้ผ่านหลายๆ ทาง ส่วนหนึ่งคือ ในช่วงเวลาที่เฮโรโดตัสมาที่เอเธนส์ได้เข้ามาคลุกคลีกับชนชั้นน า29 อย่างไรก็ดี การสอบถามเรื่องราวอดีตจากลูกหลานผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ก็ไม่พ้นจากการเล่าเรื่องราวที่มีลักษณะเป็นวีรกรรมบรรพชนประจ าตระกูล จอห์น กูลด์ชี้ให้เห็นว่าความทรงจ าลักษณะนี้มีความเป็นต านานสูง ในความหมายของการผลิตซ้ าขนบการเล่าวีรกรรมแบบมหากาพย์ ในวัฒนธรรมที่เฮโรโดตัสค้นคว้าเร่ืองอดีตใกล้ ความทรงจ าประจ าตระกูลยังคงมีบทบาทสูง ทั้งยังใช้บทสนทนาโต้ตอบและภาษาพูดคุยในลักษณะเดียวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์30

เฮโรโดตัสสอบถามจากผู้คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมด้วย การเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อไต่ถามและรวบรวมข้อมูลอย่างจริงจัง ท าให้ข้อเขียนชิ้นนี้มีลักษณะที่เป็นบันทึกการเดินทางด้วย ทั้งยังประกอบด้วยข้อมูลด้านวัฒนธรรมและธรรมเนียมของคนต่างชาติพันธุ์ มีลักษณะเป็นบันทึกชาติพันธุ์วรรณนาด้วย รวมเอา

29 ดู Gould. 19-25. ส าหรับข้อถกเถียงเรื่องวิธีการใช้แหล่งข้อมูลของเฮโรโดตัส ดู Simon Hornblower. “Herodotus and His Sources of Information” in Egbert J. Bakker, Irene J. F. de Jong, and Hans van Wees, Brill's Companion to Herodotus (Leiden ; Boston: Brill, 2002). 30 Gould. 27-28.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 39

เนื้อหาที่หลากหลาย เช่น ภูมิศาสตร์ คติชน (folklore) ความเชื่อ และขนบประเพณี ซึ่งก็อาจเป็นเหตุที่อุทิศพื้นที่ค่อนข้างมากให้อียิปต์ ขณะที่ให้ความส าคัญค่อนข้างน้อยในความขัดแย้งระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย อาจเป็นเพราะชาวกรีกมีมโนทัศน์ว่าอียิปต์เป็นดินแดนพิศวง เต็มไปด้วยเรื่องราวทางด้านภูมิศาสตร์ พันธุ์สัตว์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และธรรมเนียมปฏิบัติแปลกๆ31 กระตุ้นเร้าความสนใจของผู้อ่านหรือผู้ฟังได้ดี แม้แต่ส่วนที่กล่าวถึงการเมืองเอเธนส์ที่เฮโรโดตัสอยู่เอง ก็เต็มไปด้วยเรื่องซุบซิบส่วนตัวและข่าวลือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ32 ที่กล่าวมานี้ยากจะจัดอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์นิพนธ์ในยุคต่อๆ มา ที่เพ่งความสนใจไปที่เหตุการณ์ แม้เฮโรโดตัสจะได้ชื่อว่าเป็นผู้สนใจเรื่องวัฒนธรรมและมีสายตาเฉียบคมทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวมา แต่เมื่อเฮโรโดตัสต้องค้นคว้าข้อมูลที่เก่ียวกับสงครามจากผู้คนต่างวัฒนธรรม ความเข้าใจผิดทางวัฒนธรรมก็ยังมีอยู่33

ความทรงจ าและการถ่ายทอดในยุคกรีกโบราณขึ้นกับวัฒนธรรมมุขปาฐะเป็นหลัก นักวิชาการค่อนข้างเห็นพ้องกันว่า งานชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อ “ฟัง” มากกกว่าเพื่อ “อ่าน” ในยุคที่การอ่านเขียนจ ากัดในวงแคบมากๆ การปราศรัย การแสดง และการขับล าน า เป็นส่วนส าคัญของวัฒนธรรมการเมืองกรีก ดังนั้น “การค้นคว้า” ชิ้นนี้ก็ยังขึ้นกับการดึงดูดผู้ฟังและความบันเทิงอยู่ เฮโรโดตัสใช้ค ากรีก “apodexis” ซึ่งหมายถึงทั้ง “การเผยแพร่” (publication) และ “การแสดง” (performance) ทั้งยังอาจใช้ในความหมายของ “การท าให้

31 Herodotus. II.1-99 32 Herodotus. I.61 เนื้อหาประเภทนี้กลายมามีบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์นิพนธ์โรมันในเวลาต่อมา 33 Gould. 26-27. เฮโรโดตัสกล่าวถึงดารอบรบสั่งสอนเยาวชนและค่านิยมของชาวเปอร์เซียโดยใช้มุมมองสังคมกรีก

40 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ประจักษ์” (proof, demonstrate, witness) ที่ใช้ในการกล่าวถึงวีรกรรมห้าวหาญ34 งานชิ้นนี้อาจถูกเผยแพร่โดยการการอ่านหรือ “แสดง” ให้ฟังเป็นตอนๆ35 เช่นเดียวกับการขับล าน าวีรกรรมบรรพชน หากท าความเข้าใจรูปแบบทางวรรณกรรมของงานชิ้นนี้แล้ว วัฒนธรรมทางวรรณกรรมกรีกก็ควรน ามาพิจารณาร่วมด้วย

เฮโรโดตัสบอกถึงจุดหมายของงานชิ้นนี้ว่า “เพื่อไม่ให้ร่องรอยหรือสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางมนุษย์ต้องเลือนหายไป” ประโยค “ta genomena ex anthrôpôn” หมายถึงทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และจากมนุษย์ โดยเฮโรโดตัสเน้นว่าเหตุการณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นกับมนุษย์และมีสาเหตุ มาจากมนุษย์เอง โดยเฮโรโดตัสเจาะจงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลงานที่ทั้งยิ่งใหญ่และอัศจรรย์ (erga megala te kai thômasta) โดย erga (พหูพจน์ของ ergon หมายถึงผลงาน) มีความหมายทั้งการกระท าและความส าเร็จทุกอย่างที่มนุษย์ท า มีความหมายได้ทั้งการสงคราม วีรกรรมหาญกล้า สิ่งก่อสร้าง ความคิดริเริ่ม และการประดิษฐ์ เฮโรโดตัสจงใจแสดงการวางตนเป็นกลางว่าสนใจสิ่งยิ่งใหญ่น่าชื่นชมจากทุกด้านและทุกฝ่าย ทั้งกรีกและชาวต่างชาติ ที่ใช้ค าเรียกว่า barbaroi36

เฮโรโดตัสยืนยันจุดมุ่งหมายของงานชิ้นนี้คือ “เพื่อปกป้องไม่ให้เกียรติยศชื่อเสียง (kleos) ลบเลือนไป”37 โดยค าว่า “kleos” นั้นสะท้อนสาระส าคัญของมหากาพย์ของโฮเมอร์โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นค าส าคัญในอีเลียด และเป็นศูนย์กลางของค่านิยมหลักของการสู้รบท าสงคราม

34 David Asheri. “General Introduction” in Asheri and others. 72-73. 35 Cagnazzi. 421-423. 36 พหูพจน์ของ barbaros ซ่ึงสมัยนั้นไม่ได้มีความหมายว่า “ป่าเถื่อน” หรือ “ไร้อารยธรรม” แต่หมายถึงเพียงผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอื่น ฟังไม่รู้เรื่อง ได้ยินแต่ “บา-บา” 37 ค าว่า aklea มาจาก “ปราศจาก” (a-) และ kleos

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 41

“kleos” เป็นเป้าหมายสูงสุดของวีรกรรมการต่อสู้ หมายถึงทั้งเกียรติยศและชื่อเสียงรวมไปถึงสิ่งที่คนกล่าวขานเมื่อสิ้นชีพไปแล้ว จุดมุ่งหมายส าคัญของอีเลียดคือการรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศชื่อเสียงของวีรบุรุษผ่านการเล่าขาน เฮโรโดตัสเห็นว่าหน้าที่หลักของ Histories คือการท าหน้าที่ร าลึกเช่นเดียวกับอีเลียด ทั้งการไม่ให้ลืมผลงานของมนุษย์และไม่ให้ kleos เลือนหายไป38 ท้ายสุดเฮโรโดตัสชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายส าคัญของงานชิ้นนี้คือค้นหา “สาเหตุ” หรือ “เหตุผล” ของของความขัดแย้ง ค ากรีก aitiê (cause) เป็นค าที่ทีความหมายซับซ้อน นอกจากมีความหมายทั้งในแง่ของ “สาเหตุ” และ “เหตุผล” แล้ว ยังอาจเป็นในแง่ “ความรับผิดชอบ” (blame, responsibility) และ “ความผิด” (offence) และอาจรวมไปถึง “ข้อกล่าวหา” และ “ข้อพิพาท” ซึ่งมีนัยในแง่ของการเอาผิดในลักษณะทางตุลาการ ประเด็นขัดแย้งจากทั้งสองฝ่ายจะคลี่คลายได้โดยการหาหลักฐานหรือประจักษ์พยานมายืนยัน39 ตรงนี้เองที่เฮโรโดตัสต่างจากผู้เขียนโลกอสก่อนหน้าอย่างชัดเจน การสืบค้นเสาะหาสาเหตุเป็นจุดมุ่งหมายส าคัญต่างจากวรรณกรรมเล่าอดีตก่อนๆ ที่มุ่งบันทึกหรือร าลึกเป็นหลัก โดยเฮโรโดตัสมุ่งสืบเสาะหาสาเหตุ เหตุผล และท าความเข้าในข้อพิพาท

เฮโรโดตัสกับวัฒนธรรมมุขปาฐะ

เฮโรโดตัสเขียน Historia ในสมัยที่ภาษาเขียนและการบันทึกร้อยแก้วยังเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่ เฮโรโดตัสบอกว่าแหล่งข้อมูลหลักคือการสอบถาม

38 Asheri and others. 9. 39 Asheri and others. 9. ประเด็นเรื่องการเป็นสาเหตุ (causality) เป็นประเด็นที่ซับซ้อนและมีข้อถกเถียงมากมาย

42 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

และมาจากวัฒนธรรมมุขปาฐะ โดยเฮโรโดตัสมักใช้ค ากรีก “akoê” (อาโคเอ) ซึ่งหมายถึงการได้ยินหรือสิ่งที่ได้ยินมา และ “opsis” (ออปซิส) ซึ่งหมายถึงการได้เห็น40 โดยกล่าวว่าเป็นสองวิธีหลักของการรวบรวมข้อมูล เฮโรโดตัสมักกล่าวว่าตนเอง “ได้ยิน” และที่มีความน่าเชื่อถือต่ าที่สุดคือไม่บอกแหล่งข้อมูลเจาะจง กล่าวแต่เพียง “ว่ากันว่า” หรือ “มีเรื่องเล่าว่า” โดยเฮโรโดตัสมักเริ่มต้นประโยคว่า “ได้ยินว่า” “ผู้คนเล่าว่า” “ชาว…เล่าว่า” ภาษาที่ใช้แสดงให้เห็นว่าเฮโรโดตัสต้องท าการค้นคว้างานประวัติศาสตร์ชิ้นนีจ้ากข้อมูลบอกเล่าเป็นหลัก ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและแตกต่างไปตามท้องถิ่น นักวิชาการทางสังคมศาสตร์สมัยใหม่นิยามข้อมูลลักษณะนี้ว่า “ความทรงจ าทางสังคม” (social memory) และศึกษาถึงมิติที่หลากหลายและซับซ้อนของความทรงจ าในกลุ่มนี้ เฮโรโดตัสไวต่อพลวัต การลื่นไหล และหลากหลายของความทรงจ าชุดนี้ ต้องสอบถามเรื่องราวหลากหลาย ทั้งอดีตใกล้และไกล ทั้งยังท างานกับหลากวัฒนธรรมต่างท้องถิ่น เฮโรโดตัสมักเทียบเคียงให้เห็นถึงความแตกต่าง41 แม้ว่าเฮโรโดตัสจะมีข้อบกพร่องผิดพลาด เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเครือญาติ สัมพันธ์ระหว่างรุ่นและความเกี่ยวเนื่องแบบต่างๆ ที่จ าเป็นต่อการท าความ

40 ดู Francois Hartog, The Mirror of Herodotus : The Representation of the Other in the Writing of History (Berkeley ; London: University of California Press, 1988). 268-72. เฮโรโดตัสกล่าวถึงทั้งสองโสตในฐานะวิธีหาข้อมูลว่า “I was unable to get my information from anyone else. However I myself traveled as far as Elephantine and saw things with my very own eyes, and subsequently made enquiries of others; as a result of these two methods, the very most I could find out was as follows. …” Herodotus. 2.29 (Waterfield trans.) 41 ดู Gould. 27-34.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 43

เข้าใจภาพรวมความรู้อดีต ไม่เพียงแต่ตระกูลส าคัญๆ แต่ยังท าให้เห็นภาพรวมของชุมชนและเผ่าพันธุ์กรีกได้เป็นอย่างดี42

แม้จะอยู่ในวัฒนธรรมมุขปาฐะ เฮโรโดตัสก็กล่าวถึงข้อมูลจากการเขียนหรือจารึกหลายครั้ง นักวิชาการเชื่อว่าเฮโรโดตัสอาศัยข้อมูลจากข้อเขียนหรือเอกสารเช่นกันแต่ไม่อาจทราบได้ว่ามากเพียงใด ส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองของเปอร์เซียอาจมาจากบันทึกทางการ ซึ่งก็อาจเป็นได้ทั้งได้รับการแปลหรือมาจากค าบอกเล่าต่อมา ในสมัยนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นของการใช้ภาษาเขียนและการบันทึก การแยกแยะประเภทของที่มาของข้อมูลในมาตรฐานค้นคว้าสมัยใหม่ไม่อาจท าได้ การค้นคว้าของเฮโรโดตัสยังต้องขึ้นกับข้อมูลที่ได้มาจากการสอบถามซึ่งพัวพันกับขนบมุขปาฐะอย่างมาก ซึ่งทั้งการได้ยิน (akoê) และได้เห็น (opsis) มีความหมายที่ต่างกัน จากเรื่องราวที่ได้ยินมาจากค าบอกเล่า (hearsay) และมาจากผู้ที่เห็นกับตาหรือใกล้ชิดกับเหตุการณ์ (eye-witness account) 43 ซึ่งมักอ้างถึงเหตุการณ์ที่ห่างออกไปไม่เกินสามชั่วอายุคนก่อนเฮโรโดตัส ช่วงเวลาที่ไกลที่สุดที่พอจะหาผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือข้อมูลจากคนที่ได้พูดคุยกับผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ความทรงจ าของเหตุการณ์ยังคงมีอยู่ ในการค้นคว้ามุขปาฐะนับเป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลยังมีความแม่นย าอยู่ ความแม่นย าความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากผู้รู้ เห็นเหตุการณ์เป็นหลักส าคัญของเฮโรโดตัส

วัฒนธรรมมุขปาฐะและเรื่องเล่าในลักษณะต านานยังคงเป็นส่วนส าคัญของงาน Histories วิธีการค้นคว้าและการน าเสนอเรื่องราวข้อเท็จจริงยังไม่อาจแยกออกได้จากการสอบถามและบันทึกเรื่องต านาน แม้เพลโตจะ

42 Gould. 41-42. 43 โดยเฉพาะใน Herodotus. 2. 99, 147, 156 และ ใน Thucydides ใช้ akoe โดยหมายถึง “oral tradition” Thomas. 3, 13-14.

44 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

แยกแยะ mythos (เรื่องแต่ง) ออกจาก logos (เรื่องข้อเท็จจริง)44 แต่ในงานเขียนในยุคของเฮโรโดตัสแล้ว ทั้งสองไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ และที่ส าคัญ เฮโรโดตัสเองก็ไม่ได้นิยามความแตกต่างของเรื่องราวสองแบบอย่างที่ปราชญ์กรีกอย่างเพลโตท าในเวลาต่อมา โดยยังคงเป็น “เรื่องราว” (logos) ในลักษณะเดียวกันที่ต้องสืบเสาะเหมือนๆ กัน จึงยังไม่มีการแยกเรื่องราวแบบต านานออกจากข้อเท็จจริงแบบประวัติศาสตร์ นักวิชาการที่ศึกษาเฮโรโดตัสยังถกเถียงกันเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลและทัศนคติแบบวิทยาศาสตร์ของประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นแรกนี้ว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่างจากแหล่งที่มาทางการประพันธ์อย่างไร ในสมัยของเฮโรโดตัสยังไม่มีค ากรีกที่หมายความว่า “หลักฐาน” (source) อยู่ในค าเดียวอย่างเช่นปัจจุบันที่จ าแนกประเภทออกได้เป็นกลุ่มย่อยลงไป และเฮโรโดตัสก็ไม่เคยแถลงถึงหลักหรือแผนการใช้หลักฐานอย่างเช่นที่ธูซิดดิดีสเขียน (1.22)45

นอกจากนั้น เฮโรโดตัสได้กล่าวถึงต านานสงครามกรุงทรอยด้วย แม้ว่ารายละเอียดของเรื่องราวจะขัดแย้งหรือไม่น่าเชื่อถือ แต่เฮโรโดตัสไม่กังขาเลยว่าบุคคลในต านานอย่าง อกาเมมนอน อคิลลีส ปารีส และเฮเลนมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ดังเช่นตอนที่เฮโรโดตัสกล่าวถึงเฮเลนว่าไม่น่าจะอยู่ที่กรุงทรอยและไม่เคยไปด้วยซ้ า แต่อยู่ที่อียิปต์ ซึ่งทั้งยูริพิดิส (Euripides) ในละคร เฮเลน

44 เพลโตเป็นปราชญ์กรีกคนแรกๆ ที่เขียนเร่ืองการแยก logos ออกจาก mythos ดู Gorgias ราว 380 ปีก่อนคริสตกาล 45 Simon Hornblower. “Herodotus and His Sources of Information” in Bakker, Jong, and Wees. 374-75.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 45

(Helen) และเฮโรโดตัสก็ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน46 แต่เฮโรโดตัสก็อธิบายถึงบุคคลเหล่านั้นอย่างเป็นจริงน้อยกว่าและเป็นที่สนใจน้อยกว่าบุคคลที่อยู่ในอดีตใกล้ แม้ว่าเฮโรโดตัสจะไม่กังขาความเกินจริงของเรื่องราวต านานหรือพยายามแยกแยะเร่ืองลักษณะดังกล่าวออกจากความเป็นประวัติศาสตร์ แต่สิ่งที่เฮโรโดตัสให้ความส าคัญคือการล าดับเหตุการณ์ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ก่อนหน้าเฮโรโดตัส กวีกรีกสนใจการล าดับเพียงเพื่อกลับไปหาจุดเริ่มต้น ทั้งบทกวีล าดับวงศ์วานและงานของเฮเซียดที่อธิบายก าเนิดของสรรพสิ่ง แต่งานของเฮโรโดตัสเองที่กลับมาให้ความสนใจต่อล าดับเหตุการณ์ของอดีตใกล้ โดยการแยกเรื่องอดีตใกล้ออกจากเรื่องอดีตไกลที่เป็นยุคแห่งต านาน ฟินลีย์กล่าวว่าความพิเศษของเฮโรโดตัสอยู่ที่เขามองเห็นรอยแยกทางเวลาอันนี้ มากกว่าอยู่ที่การเชื่อหรือไม่เชื่อต านานว่าเป็นเร่ืองจริง เฮโรโดตัสจึงไม่ได้พยายามหาค าตอบว่าต านานเกิดขึ้นเมื่อใด เฮโรโดตัสยังตั้งใจให้ล าดับเหตุการณ์เจาะจงแม่นย ากว่าที่เคยมี47 ส่วนนี้เองที่ท าให้เฮโรโดตัสน่าจะแตกต่างจากผู้บันทึกโลกอส ที่อาจท าเพียงรวบรวม ล าดับ และจัดระบบเรื่องราวลักษณะต่างๆ ให้ฟังดูเป็นเหตุเป็นผล โดยมองไม่เห็นรอยแยกทางเวลา ฝั่งหนึ่งอยู่ในห้วงต านานลื่นไหลในวัฒนธรรมมุขปาฐะ อีกฝั่งคือข้อเท็จจริงที่หาผู้ยืนยันความถูกต้องได้ ที่เฮโร

46 Herodotus. II: 112-120 ในละคร Helen ของยูริพิดิสเฮเลนกล่าวกับเมเนเลียส: “But I never went to Troy. That was a phantom." (606). และ "I never ran away to seek that foreign prince's bed of shame, hurried away by oars, carried away by lust." (711-13). เฮโรโดตัสก็ถกประเด็นนี้ เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์อียิปต์มาถึงกษัตริย์ Proteus ผู้ที่กักตัวเฮเลนไว้เพราะทราบว่าปารีสกระท าไม่ถูกต้อง โดยเฮโรโดตัสยังกล่าวถึงความน่าจะเป็นของสงคราม โดยเฮโรโดตัสถกประเด็นอย่างจริงจังโดยอ้างอิง โอดิสซีย์ ด้วย (Euripides, James Michie, and Colin Leach, Helen (New York ; Oxford: Oxford University Press, 1981). 47 Finley. 17-18.

46 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

โดตัสแบ่งแยกออกจากกันด้วยเวลานั้นไม่ได้มาจากความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผลหรือชนิดของเร่ืองราว แต่จากความสามารถในการยืนยันได้หรือมีประจักษ์พยานที่น่าเชื่อถือ เพราะเหตุการณ์ผ่านมาไม่ถึงศตวรรษ ความทรงจ ายังคงอยู่กับลูกหลานของผู้ที่มีส่วนร่วมในสงคราม เฮโรโดตัสให้ความสนใจต่ออดีตใกล้มากกว่าเรื่องสงครามกรุงทรอยเพราะมีประจักษ์พยานยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ดี เฮโรโดตัสยังให้ความส าคัญกับต านานและมหากาพย์อย่างเรื่องสงครามกรุงทรอย

แม้จะกล่าวถึงบุคคลในอดตีใกล้ แต่ขนบการเล่าเร่ืองมุขปาฐะก็ยังคงมีอิทธิพลสูง ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของโพลีเครตีส (Polycrates) ผู้ปกครองซามอส (Samos) ระหว่างปี 538-522 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเกิดขึ้นไม่ถึงร้อยปีก่อนเฮโรโดตัสเขียน โพลีเครตีสประสบความส าเร็จในทุกๆ ทางจึงรู้สึกกลัวว่าเทพเจ้าจะริษยาและพิโรธ ฟาโรห์อามาซิสที่ 2 (Amasis) ผู้เป็นสหายแนะน าให้ทิ้งของมีค่าที่สุดเพื่อความส าเร็จและโชคลาภจะไม่น าภัยมาถึงตัว โพลีเครตีสทิ้งแหวนมีค่าลงทะเล แต่ไม่กี่วันต่อมาก็พบแหวนนั้นอยู่ในท้องปลาที่ได้เป็นของก านัลจากคนหาปลา อามาซิสจึงตัดสัมพันธ์กับโพลีเครตีส ด้วยว่าเกินเยียวยาและเชื่อว่าโชคดีเกินไปจะน ามาสู่เคราะห์ร้ายในที่สุด เห็นได้ว่าเมื่อเฮโรโดตัสเขียนถึงบุคคลอดีตใกล้ก็ยังอธิบายเรื่องราวในลักษณะเดียวกับต านานหรือนิทาน เหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะความจ าเป็นในแง่ของการเล่าเรื่องเพื่อความบันเทิง และให้ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างรัฐเข้าใจได้ ในความเป็นจริง ที่ฟาโรห์ตัดสัมพันธ์น่าจะเป็นเพราะโพลีเครตีสแปรพรรคไปเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซียผู้เป็นปรปักษ์กับอียิปต์ เฮโรโดตัสเล่าเรื่องลักษณะต านาน เกร็ดปลีกย่อย และเล่าเรื่องย้อนภูมิหลังค่อนข้างมากในภาพรวมของงาน อาจเป็นเพราะความจ าเป็นในการสร้างความบันเทิง หลายเรื่องเป็นเหมือนการออกนอกเรื่องหรือเล่าย้อนหลัง (digression) หากเปรียบกับธูซิดดิดีสและประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เน้นการพุ่งตรงเข้าประเด็น เร่ืองราวเหล่านี้อาจถูกมองว่าเป็นการ “ออกนอกเรื่อง” แต่ในวัฒนธรรมมุขปาฐะที่ต้องการสร้างความบันเทิง เร่ืองราวเหล่านี้อาจเป็นเนื้อหาหลักที่ผู้คนสนใจก็เป็นได้

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 47

เฮโรโดตัสกับโฮเมอร์: สงครามและวัฒนธรรม

แม้เนื้อหาหลักในงานของเฮโรโดตัสเป็นสงครามที่ผ่านมาเพียงชั่วอายุคนเดียว แต่มหากาพย์สงครามกรุงทรอยยังคงมีบทบาทอย่างสงูต่อเฮโรโดตสัในหลายแง่มุม มหากาพย์ของโฮเมอร์มีความส าคัญอย่างสูงต่อสังคมและวัฒนธรรมกรีก เป็นจุดอ้างอิงทางวัฒนธรรม เป็นหลักที่มาทางค่านิยมทางสังคมและอุดมการณ์ทางการเมือง มหาสงครามกรุงทรอยมีส่วนอย่างมากในการเป็นกรอบอ้างอิงในการกล่าวถึงสงครามหรือวีรกรรมใดๆ ก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่สงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซียที่เฮโรโดตัสก าลังเขียน ความสัมพันธ์ระหว่างงานของเฮโรโดตัสกับมหากาพย์ของโฮเมอร์จึงเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ทั้งในแง่ที่เป็นแม่แบบในหลายแง่มุม เป็นกรอบอ้างอิง เป็นแหล่งของเครื่องมือการประพันธ์ รวมถึงเป็นแกนหลักที่ประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัสท าให้แตกต่างและเป็นต านานที่ต้องถูกวิพากษ์

นักประวัติศาสตร์กรีกโดยเฉพะเฮโรโดตัสไม่เพียงแต่ตั้งตนให้แตกต่างและวิพากษ์ต านานในแบบของโฮเมอร์ แต่ยังต้องใช้เรื่องราวและสาระส าคัญมาจากงานของโฮเมอร์มาเป็นกรอบ นักวิชาการหลายฝ่ายเห็นว่าสาระส าคัญของประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกมีมหากาพย์ของโฮเมอร์เป็นแม่แบบในหลายๆ ด้าน ทั้งในแง่ของบริบท เนื้อหา การวางเค้าโครง และการน าเสนอเรื่องราวอีกด้วย ทั้งเฮโรโดตัสและธูซิดดิดีสเปรียบสงครามที่ตนก าลังเขียนอยู่กับสงครามกับทรอยทั้งอย่างตรงไปตรงมาและโดยอ้อม ซึ่งนักประวัติศาสตร์กรีกต่อๆ มา ก็ให้ความส าคัญกับสงครามเป็นหลัก คล้ายกับว่าทั้งเฮโรโดตัสและธูซิดดิดีสก าลังเปรียบตนเองกับโฮเมอร์อยู่ ทั้งในแง่ความส าคัญของสงครามที่ตนกล่าวถึงและของการประพันธ์

มหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์เป็นผลมาจากวัฒนธรรมมุขปาฐะสืบมาหลายชั่วอายุคน จากการบันทึก รวบรวม และเรียบเรียงเรื่องเล่ามุขปาฐะโดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่เราให้เครดิตเป็นผู้แต่ง จนโฮเมอร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพันธ์ อีเลียดและโอดิสซีย์จึงมีความส าคัญอย่างยิ่งในฐานะของวรรณกรรมกรีกชิ้นแรก

48 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ซึ่งเป็นจุดรวบยอดที่เป็นผลมาจากขนบการเล่าเรื่องต านานปากต่อปากเป็นเวลาหลายร้อยปี เป็นจุดเร่ิมต้นของการมีวรรณกรรมการเขียนขึ้นมา โดยเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เนื้อหามีมูลมาจากสงครามจริงๆ อ้างอิงถึงสถานที่ที่พิสูจน์ได้ทางโบราณคดีว่ามีอยู่จริง จากรูปแบบลักษณะทางภาษาท าให้ทราบว่าเป็นผลผลิตจากวัฒนธรรมมุขปาฐะ

ในแง่ผู้เล่าเร่ืองแตกต่างกันอย่างชัดเจน โฮเมอร์ใช้ผู้เล่าเร่ืองที่รู้เห็นทุกอย่าง (omnipresent narrator) แต่เฮโรโดตัสใช้มุมมองของตนเองที่ยอมรับว่าไม่สามารถทราบได้ทุกสิ่ง ข้อมูลที่ขัดแย้งและไม่ลงรอยจึงสามารถมีอยู่ได้ หลายครั้งที่เฮโรโดตัสน าเสนอเรื่องราวที่เกินจริงโดยบอกว่าเป็นเรื่องที่ได้ยินมาก็บอกไปเช่นนั้น บ้างก็วิจารณ์ว่าไม่น่าเป็นไปได้ แม้การทึกทักเอาค าพูดหรือบทสนทนาของบุคคลในอดีตของเฮโรโดตัสจะท าให้ประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นเหมือนงานประพันธ์เหมือนโฮเมอร์ แม้ว่าส่วนของเร่ืองเหนือจริงและเทพเจ้ายังมีอยู่ แต่ที่ส าคัญก็คือ เขาไม่ได้รายงานบทสนทนาระหว่างเทพเจ้าหรือระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า เฮโรโดตัสใช้ค าพูดจากผู้พยากรณ์ (oracle) บอกค าสั่งหรือค าพยากรณ์จากเทพเจ้า ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ท าให้ Histories ยังเป็นงานเขียนโบราณ แต่หากเทียบกับโฮเมอร์ซึ่งใช้ค าพูดของเทพเจ้าโดยตรงแล้ว นับว่าเฮโรโดตัสยังเห็นว่าเทพเจ้าพูดผ่านมนุษย์ อีกประการหนึ่ง ค าพยากรณ์เป็นส่วนส าคัญของศาสนาของประชาชน จึงถือได้ว่าเป็นส่วนส าคัญต่อวัฒนธรรมการเมืองกรีก ค าพยากรณ์เหล่านี้มีส่วนเก่ียวพันกับสิ่งที่เราเรียกว่าความคิดเห็นสาธารณะในปัจจุบัน แม้เฮโรโดตัสจะอ้างอิงและอ้างถึงเทพเจ้าในฐานะของสาเหตุและเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ แต่ก็เน้นว่ามนุษย์เป็นผู้กระท าและเป็นความรับผิดชอบของมนุษย์เช่นกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและด าเนินไปนั้นเฮโรโดตัสให้ความส าคัญกับการตัดสินใจและความรับผิดชอบของมนุษย์มากกว่าเทพเจ้าและสารบบของจักรวาล

มหากาพย์ทั้งสองโดยเฉพาะอีเลียดเป็นกรอบและเป็นจุดอ้างอิงของวรรณกรรมกรีกต่อมา ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือล าน าแบบต่างๆ ปรัชญา ละครแทรจิดี คอมมิดี และประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส เป็นที่มาของโครงเรื่อง ตัว

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 49

ละคร ฉากหลัง เบื้องหลัง และยังเป็นทั้งที่มาของข้อความอ้างอิง จุดอ้างอิงหรือประเด็นที่กล่าวถึง เพลโตก็ใช้โฮเมอร์เป็นที่อ้างอิงข้อถกเถียงในข้อเขียนหลายชิ้น แทรจดิีหลายเรื่องก็ใช้มหาสงครามเป็นจุดอ้างอิงและฉากหลัง เฮโรโดตัสก็ยกสงครามกรุงทรอยอ้างอิงเช่นกัน ทั้งในฐานะที่ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกคร้ังแรก และในฐานะที่เป็นวรรณกรรม48 อาจสรุปได้ว่าโฮเมอร์ก็ส่งผลต่อประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกโดยรวมในสองแง่มุมคือเนื้อหาสาระและรูปแบบทางวรรณกรรม ในแง่เนื้อหาอาจแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักๆ ซึ่งเนื้อหาสาระทั้งสองทิศทางหลักสอดคล้องกับเนื้อหาของมหากาพย์โฮเมอร์ทั้งสองชิ้น ส่วนแรกคือสงครามในทิศทางของอีเลียด ส่วนที่สองคือเรื่องของแดนไกลและผู้คนต่างถิ่นในทิศทางของโอดิสซีย์49

ส าหรับเฮโรโดตัสแล้วมหากาพย์ของโฮเมอร์เป็นทั้งกรอบเนื้อหาและกรอบโครงสร้าง อีเลียดและโอดิสซีย์เกิดขึ้นในยุควีรบุรุษ (Heroic Age) เป็นเหตุการณ์ที่ เกิดระหว่างสงครามกรุงทรอยและหลังจากสิ้นสุดลงไม่นาน สงครามกรุงทรอยเป็นฉากส าคัญที่สุดของต านานอดีตของกรีก อยู่ในช่วงเวลาที่ยุควีรบุรุษสิ้นสุดลงและยุคของมนุษย์เร่ิมต้นขึ้น เป็นฉากสุดท้ายของยุควีรกรรมที่มนุษย์และเทพเจ้ามีปฏิสัมพันธ์กันได้โดยอิสระ เป็นเหตุการณ์ที่แบ่งสองยุคออกจากกัน หลังจากนั้นโลกมนุษย์ก็เปลี่ยนไป เหล่าวีรบุรุษอาจมีเชื้อสายเทพเจ้าและถือว่าเป็นบรรพชนของตระกูลส าคัญที่ปกครองดินแดนนั้น อีเลียด

48 หากเปรียบกับประเภทวรรณกรรมอื่นมีความส าคัญต่อวัฒนธรรมกรีก ถือว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์เกิดขึ้นทีหลัง หลังกวีสั้น (lyric poetry) ปรัชญา (philosophy) การละครทั้งแทรจิดี (tragedy) และคอมมิดี (comedy) ประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับงานประพันธ์และงานเขียนรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมาอย่างมากไม่เพียงแต่มหากาพย์ นักวิชาการจ านวนมากสนใจศึกษาความสัมพันธ์อันนี้ 49 Luce. 3.

50 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

กล่าวถึงช่วงท้ายของสงคราม สิ้นสุดที่การตายของเฮคเตอร์เจ้าชายแห่งทรอย ส่วนโอดิสซีย์กล่าวถึงการเดินทางกลับถิ่นของโอดิสเซียสหลังสงคราม อย่างไรก็ดี นอกจากโฮเมอร์แล้วยังมีมหาหาพย์เร่ืองอ่ืนๆ ที่กล่าวถึงสงครามกรุงทรอยแต่ไม่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่ทราบกันว่าไม่มีมหากาพย์เรี่องใดที่แพร่หลายและมีบทบาทต่อวัฒนธรรมกรีกมากเท่าของโฮเมอร์ เราพอทราบได้ว่าเฮโรโดตัสรู้จักมหากาพย์เรื่องอื่นๆ และทราบถึงเรื่องราวทั้งหมดที่มีเกี่ยวกับสงครามกรุงทรอยอย่างดี

อีเลียดเป็นแม่แบบให้เฮโรโดตัสในหลายๆ แง่มุม50 ในด้านเนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกันคือ เป็นการต่อสู้กันระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก และเหมือนกันตรงที่ทัพกรีกมาจากหลายนครรัฐที่ไม่ขึ้นต่อกันมาขึ้นต่อผู้น าทัพคนเดียว ความขัดแย้งและการเมืองภายในพันธมิตรกรีกเองจึงเป็นเรื่องส าคัญ ใน

50 เนื้อหาโดยรวมของเรื่องราวเป็นดังนี้ อีเลียด กล่าวถึงสงครามที่มีที่มาจากการที่ปารีสเจ้าชายแหง่ทรอย (เฮโรโดตัสเรียกว่าอเล็คซานเดอร์) พาตัวเฮเลนราชินีกรีกไปทรอย เฮเลนเป็นธิดาของซุสและเป็นมเหสีของเมเนเลียสราชาแห่งสปาต้า ซ่ึงอาจเป็นได้ทั้งการบังคับลักตัวและการไปด้วยความเต็มใจ จึงเป็นบ่อเกิดของสงครามที่จะชิงตัวเฮเลนกลับมา ปารีสท าโดยความเห็นชอบของอโฟรไดตี (Aphrodite) เป็นรางวัลจากการประชันโฉมของเทพธิดา (the Judgment of Paris) ทั้งสามติดสินบนปารีส อโฟรไดตีจะให้หญิงสาวที่รูปงามที่สุดเป็นสินบน ซ่ึงก็คือเฮเลนซ่ึงสมรสแล้ว ปารีสจึงพาตัวเฮเลนมา กองทัพจากหลายนครกรีกจึงรวมตัวกันมาประชิดทรอย เป็นสงครามระยะเวลาสิบปีที่สูสีกันแต่มีการสูญเสียมาก ทั้งสองฝ่ายต่างมียอดนักรบ ฝ่ายกรีกมีอคิลลีสส่วนฝ่ายทรอยมีเฮคเตอร์พี่ชายของปารีส อคิลลีสสังหารเฮคเตอร์ อีเลียดจบลงที่พิธีศพของเฮคเตอร์ เรื่องราวต่อมาปารีสฆ่าอคิลลีสและท้ายที่สุดกรีกชนะด้วยเล่ห์ของโอดิสเซียส พวกกรีกปล้นสะดมและท าสิ่งเลวร้ายต่อกรุงทรอยหลายอย่าง จนถูกลงโทษต้องผ่านความยากล าบากในการยกทัพกลับ อกาเมมนอนกลับมาบ้านถูกไคลเทมเนสตราสังหาร โอดิสเซียสต้องระหกระเหินอยู่สิบปีก่อนจะพบอริอยู่เต็มบ้าน มิเนเลียสและเฮเลนถูกพายุพัดต้องมาอยู่อียิปต์หลายปี สงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์หลักของต านานกรีก ส่วนอีเลียดเป็นมหากาพย์ชิ้นหลักที่กล่าวถึงสงครามนี้

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 51

อีเลียดความขัดแย้งหลักที่ส าคัญต่อการเดินเรื่องคือระหว่างอคิลลีสกับอกาเมมนอนที่เป็นผลให้สงครามต้องยืดเยื้อ ความขัดแย้งระหว่างนครรัฐกรีกและกลุ่มต่างๆ ก็เป็นเร่ืองส าคัญใน Historia ความแตกต่างระหว่างสองฝ่ายทั้งทางสังคมและการเมืองก็ชัดเจนมากในสงครามสองครั้ง ทางฝั่งตะวันออกเป็นจักรวรรดิที่ร่ ารวยและมีอ านาจเบ็ดเสร็จ ทั้งกษัตริย์เพรียม (Priam) และกษัตริย์เปอร์เซีย ทั้งดาเรียส (Darius I, 550–486 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้เป็นบิดา และต่อมาเซริ์กซีส (Xerxes I, 519 -465 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้เป็นบุตร เป็นผู้น าผู้มีอ านาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ต่างจากฝ่ายกรีกที่เป็นการรวมตัวของนครรัฐปราศจากผู้บัญชาการในลักษณะดังกล่าว เฮโรโดตัสเปรียบเปรยอยู่ตลอดเวลาทั้งทางตรงและอ้อมในการสงครามและความขัดแย้ง แสดงออกถึงความคล้ายคลึงของสถานการณ์และเรื่องราว พยายามแสดงให้เห็นว่าสงครามที่ตนเขียนถึงนั้นมีความส าคัญไม่น้อยไปกว่าสงครามในมหากาพย์ของโฮเมอร์ ทั้งยังเข้มข้นกว่าและโหดร้ายกว่า ที่ส าคัญคือความส าคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่าในแง่ที่อยู่ใกล้ สาระส าคัญอื่นๆ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ความกล้าหาญของวีรชน ความยิ่งใหญ่ของสงคราม ความเสียหายและความสูญเสียที่ตามมา ทิศทางของสงคราม ความส าคัญของสงครามในฐานะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของอารยธรรมกรีก ความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ การตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่าเฮโรโดตัสใช้สาระส าคัญจากโฮเมอร์มาเป็นกรอบในการเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ สงครามยังเป็นเนื้อหาหลักของประวัติศาสตร์ตลอดสมัยกรีกและโรมัน

ตั้งแต่ต้นเรื่อง เฮโรโดตัสเริ่มโดยกล่าวถึงสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างตะวันออกและตะวันตกในต านาน โดยกล่าวถึงการลักพาตัวสตรีสูงศักดิ์ในเรื่องเล่าต่างๆ ก่อนจะกล่าวว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเกินกว่าจะเป็นสาเหตุของสงคราม นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสมัยใหม่ทราบว่าที่มาความขัดแย้งของสงครามที่ต่อมากลายเป็นมหากาพย์เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ หรืออย่างน้อยเป็นความขัดแย้งทางธุรกิจเดินเรือค้าขาย และสาเหตุหลักของสงครามกรีกกับเปอร์เซียคือผลประโยชน์ด้านการค้าและเดินเรือ แต่เมื่อ

52 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

กล่าวถึงการอธิบายสาเหตุของสงคราม กลับอธิบายด้วยเรื่องส่วนตัว เช่น การชิงตัวมเหสีในมหากาพย์ สงครามจึงเป็นผลมาจากความปรารถนาและความต้องการล้างแค้นส่วนตัว สาเหตุหลักของสงครามกับเปอร์เซียคือความขัดแย้งระหว่างปัจเจกและเจตนาของผู้ปกครอง แต่การอธิบายสาเหตุในยุคสมัยที่การปกครองอยู่ในกลุ่มคนจ านวนน้อย และก็อาจเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากเทพปกรณัมกรีกซึ่งเป็นเรื่องท านองนี้อยู่แล้ว อีกทั้งการอธิบายด้วยเศรษฐกิจยังไม่พอที่จะเชื่อมโยงการเมืองได้ เฮโรโดตัสเองก็ยังอธิบายความเป็นไปด้วยการมองที่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนเป็นหลัก ชัยชนะก็มาจากวีรกรรมของปัจเจกแทนที่จะเป็นแสนยานุภาพของกองทัพ เทคโนโลยีในการรบหรือระบบเศรษฐกิจที่สนับสนุน อย่างไรก็ดี เฮโรโดตัสก็วิจารณ์การอธิบายด้วยเรื่องในครอบครัวของต านานต่างๆ ว่าไม่เพียงพอที่จะเป็นสาเหตุของสงคราม เราอาจมองว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่วิจารณ์ต านาน ทั้งในมหากาพย์ บทกวี และบันทึกโลกอส51

เฮโรโดตัสกล่าวถึงเป้าหมายในบทเปิดว่า เพื่อไม่ให้เกียรติยศและชื่อเสียงของบรรพชนลบเลือนไปจากความทรงจ า เกียรติยศและชื่อเสียง (kleos) ก็เป็นเป้าหมายหลักของมหากาพย์เช่นกัน หมายถึงวีรกรรมที่ปัจเจกบุคคลได้กระท า ทราบได้ว่าบุคคลผู้ใด ท าอย่างไร มีแรงจูงใจอะไร คิดอะไรอยู่ จุดหมายหลักจึงไม่ใช่ภาพกว้างๆ ทางเศรษฐกิจหรือระบบการเมือง แต่ความเป็นสาเหตุทางประวัติศาสตร์มาจากการกระท า การตัดสินใจ ความต้องการหรือแม้แต่ความต้องการของปัจเจกบุคคล เฮโรโดตัสอาจกล่าวถึงรายละเอียดทางเศรษฐกิจหรือระบบการเมืองอยู่ แต่ก็เพียงเพราะน าไปสู่ความเข้าใจบริบทและภูมิหลังที่ปัจเจกบุคคลมีบทบาทความส าคัญอยู่

51 Herodotus. 1.1

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 53

ส่วนเนื้อหาสาระหลักในโอดิสซีย์ซึ่งเป็นเร่ืองราวการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ผจญแดนต่างๆ และพบเจอผู้คนต่างถิ่น ประเด็นดังกล่าวก็สะท้อนออกมาในเรื่องราวของดินแดนต่างถิ่นซึ่งเป็นส่วนส าคัญของ Histories เช่นเดียวกัน ในบทเปิด เฮโรโดตัสกล่าวถึงขอบเขตของเนื้อหา โดยกล่าวว่าจะครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียม สภาพความเป็นอยู่ และผลงานของชนต่างเผ่าในต่างแดน จะเห็นว่าเป็นการสะท้อนโอดิสซีย์ในส่วนน า เฮโรโดตัสกล่าวว่าเขาจะ

กล่าวถึงนครแห่งมนุษย์น้อยใหญ่

speak of small and great cities of men alike

homoiôs smikra kai megala astea anthrôpôn epexiôn52

52 Herodotus. 1.5 ส่วนเต็มเป็นดังนี้

These are the stories of the Persians and the Phoenicians. For my part, I shall not say that this or that story is true, but I shall identify the one who I myself know did the Greeks unjust deeds, and thus proceed with my history, and speak of small and great cities of men alike. [4] For many states that were once great have now become small; and those that were great in my time were small before. Knowing therefore that human prosperity never continues in the same place, I shall mention both alike.

So this is what the Persians and Phoenicians say. I am not going to come down in favour of this or that account of events, but I will talk about the man who, to my certain knowledge, first undertook criminal acts of

54 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

สะท้อนส่วนน าในโอดิสซีย์ที่กล่าวว่า

เพื่อได้เห็นนครแห่งมนุษย์มากมาย ได้เรียนรู้ประเพณีต่างๆ

to see many people's cities, where he learned their customs,

pollôn d' anthrôpôn iden astea kai noon egnô53

ในมหากาพย์ โอดิสซีย์ การเดินทางผ่านดินแดนไกลโพ้นได้พบสิ่ง

แปลกประหลาดและวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปถึงยักษ์ตาเดียวและใต้พิภพเป็นเนื้อหาส าคัญ ซึ่งต่อมาในประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกก็มีการบรรยายถึงภูมิประเทศ พืชพันธุ์ สัตว์ รวมทั้งขนบประเพณี วิถีชีวิต และสังคมที่แปลกออกไป เฮโรโดตัสยังคงให้ความส าคัญกับเรื่องราวประเภทนี้ กล่าวได้ว่า ส่วนนี้สร้างความบันเทิงและกระตุ้นความสนใจ อีกทั้งความแปลกพิสดารของต่างแดนยัง

aggression against the Greeks. I will show who it was who did this, and then proceed with the rest of the account. I will cover minor and major human settlements, equally because most of those which were important in the past have diminished in significance by now, and those which were great in my own time were small in times past. I will mention both equally because I know that human happiness never remains long in the same place. (Wakefield trans.)

53 Odyssey. I.3 (มาร์โค โปโลใช้ส านวนนี้ เปิดบันทึกเดินทางของตนด้วย)

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 55

สามารถเร้าให้ชาวกรีกรู้สึกถึงอัตลักษณ์และดินแดนตัวเอง นักประวัติศาสตร์กรีกหลายคนให้พื้นที่กับส่วนนี้มาก แม้แต่ธูซิดดิดีสที่เน้นที่การสงครามและการเมืองก็ยังมีเนื้อหาส่วนนี้อยู่54

การน าเสนอเรื่องราวก็มีรากฐานทางวรรณกรรมมาจากโฮเมอร์เช่นกัน ในขนบการเล่าเร่ืองแบบมุขปาฐะ นอกจากร้อยกรองแล้ว การน าเสนอเรื่องราวในรูปร้อยแก้วที่เป็นหลักส าคัญคือการกล่าวต่อหมู่ผู้ฟังในลักษะการกล่าวปราศรัย (direct speech) โฮเมอร์ใช้ค าพูดของตัวละครลักษณะนี้เป็นหลักในการด าเนินเรื่อง ตัวละครกล่าวค าพูดยาวและหันมาพูดกับผู้ฟังโดยตรง เช่น บทสนทนาระหว่างอคิลลีสกับอกาเมมนอน เฮโรโดตัสก็ใช้ค าพูดลักษณะนี้เช่นกัน แม้จะเป็นวิธีการกล่าวที่ขาดความเป็นธรรมชาติ เทียบกับพัฒนการทางการประพันธ์ที่มีต่อมาหรือแม้แต่เทียบกับบทละครกรีกเอง เมื่อมีผู้พูดไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ข้อมูลหรืออ้างค าพูดคนในประวัติศาสตร์ เฮโรโดตัสมักจับค าพูดใส่ให้บุคคลในประวัติศาสตร์พูดหลายครั้ง ทั้งยังยกบทสนทนาส่วนตัวหรือในที่รโหฐานซึ่งเป็นการจินตนาการขึ้นโดยผู้เขียน แต่เป้าหมายส าคัญอันหนึ่งคือให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังรู้สึกว่าเกิดขึ้นตรงหน้าและตรงไปตรงมาเร้าความรู้สึกร่วมได้ดีกว่า ซึ่งส าคัญมากในการเผยแพร่ด้วยการอ่านให้ฟัง วิธีทางวรรณกรรมนี้เฮโรโดตัส ธูซิดดิดีสและคนอื่นๆ รับมาใช้ในบริบททางวรรณกรรมต่างๆ กัน เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ กันไป เฮโรโดตัสใช้อ้างอิงบทสนทนาส่วนตัวระหว่างกษัตริย์แคนดอเลส (Candaules) แห่งลิเดีย กับไกจีส (Gyges) เร่ืองความงามของพระมเหสีและแอบดูมเหสีเปลี่ยนเสื้อผ้า รวมถึงบทสนทนาที่เป็นไปไม่ได้ระหว่างโซลอน (Solon, ราว 638 - 558 ปีก่อนคริสตกาล) รัฐบุรุษแห่งเอเธนส์กับโครเอซัส (Croesus, 595-ราว 547 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์แห่งลิเดีย

54 Luce. 3-4.

56 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

ลักษณะทางวรรณกรรมแบบละครและมหากาพย์สะท้อนออกมาในประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัสอย่างมาก จินตภาพทางวรรณกรรมจึงเป็นส่วนส าคัญ ประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกเป็นกิจทางการสร้างสรรค์วรรณกรรมไม่น้อยไปกว่าการน าเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์เป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งไม่น้อยไปกว่าการเป็นศาสตร์หรือเป็นวิทยาศาสตร์เลย การอ้างหลักฐานและความแม่นย าของข้อมูลไม่ได้มีความส าคัญมากนักในประวัติศาสตร์นิพนธ์กรีกยุคแรก บริบททางสังคมและวัฒนธรรมกรีกชี้ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ถือก าเนิดขึ้นมาเป็นกิจทางวรรณกรรม ผู้เขียนต้องแข่งขันกับขนบมุขปาฐะและวรรณกรรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว แข่งขันทั้งในแง่ของชั้นเชิงทางวรรณกรรม และในแง่การดึงดูดผู้ฟังในยุคนั้น

บรรณานุกรม

Asheri, David, Alan B. Lloyd, Aldo Corcella, Oswyn Murray, and Alfonso Moreno. A Commentary on Herodotus Books I-Iv. Oxford: Oxford University Press, 2007.

Bakker, Egbert J., Irene J. F. de Jong, and Hans van Wees. Brill's Companion to Herodotus. Leiden ; Boston: Brill, 2002.

Bury, J. B. The Ancient Greek Historians. New York: Barnes & Noble, 2006.

Cagnazzi, Silvana. "Tavola Dei 28 Logoi Di Erodoto." Hermes 103, no. 4 (1975): 385-423.

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 57

Euripides, James Michie, and Colin Leach. Helen. New York ; Oxford: Oxford University Press, 1981.

Finley, Moses I. The Use and Abuse of History. New York: Viking Press, 1975.

Flory, Stewart. "Who Read Herodotus' Histories?" The American Journal of Philology 101, no. 1 (1980): 12-28.

Fornara, Charles W. The Nature of History in Ancient Greece and Rome Eidos. Berkeley: University of California Press, 1983.

Gould, John. Herodotus. London: Weidenfeld and Nicolson, 1989.

Grant, Michael. Greek and Roman Historians : Information and Misinformation. London ; New York: Routledge, 1995.

Hartog, Francois. The Mirror of Herodotus : The Representation of the Other in the Writing of History. Berkeley ; London: University of California Press, 1988.

Herodotus. The Histories. Translated by Robin Waterfield. Oxford: Oxford University Press, 1998.

Hornblower, Simon. Thucydides. London: Duckworth, 1987. Hornblower, Simon, and Antony Spawforth. The Oxford

Classical Dictionary. 3rd ed. Oxford ; New York: Oxford University Press, 1996.

58 | วิศ รุต พึ่ งสุนทร

Jaeger, Werner Wilhelm, and Gilbert Highet. Paideia : The Ideals of Greek Culture. 2nd ed. New York: Oxford University Press, 1945.

Lendering, Jona, "Herodotus' Histories: The 28 Logoi" http://www.livius.org/he-hg/herodotus/logoi.html (accessed June 1 2012).

Luce, T. James. The Greek Historians. London ; New York: Routledge, 1997.

Marincola, John. A Companion to Greek and Roman Historiography. 2 vols. Blackwell Companions to the Ancient World. Literature and Culture. Malden, MA ; Oxford: Blackwell Pub., 2007.

Thomas, Rosalind. Oral Tradition and Written Record in Classical Athens Cambridge Studies in Oral and Literate Culture 18. Cambridge ; New York: Cambridge University Press, 1989.

West, Stephanie. "Herodotus' Portrait of Hecataeus." The Journal of Hellenic Studies 111, (1991): 144-160.

ค าถามท้ายบท

ประวัติศาสต ร์ นิพนธ์ตะวันตกก่อนค ริส ต์ศตวรรษที่ ยี่ สิบ | 59

1. ต านานมีสว่นในการสร้างส านึกทางประวัติศาสตร์ในโลกกรีกยคุโบราณในแง่ใดบ้าง

2. บันทึกโลกอสมีส่วนที่บนัทึกรวบรวมและท าความเข้าใจต านานและคติชนต่างๆ ความรู้ในยุคปัจจบุันแขนงใดท าหน้าที่ใกล้เคียงกัน จงอภิปราย

3. ประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัสเก่ียวข้องกับมหากาพย์ของโฮเมอร์ในแง่ใดบ้าง