48
ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา

Citation preview

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร

และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา

กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร

และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา

ภูมิหลังเกี่ยวกับเขตแดนไทย - กัมพูชา และ

ปราสาทพระวิหารโดยสังเขป

๑. ประเทศไทยมีเขตแดนทางบกร่วมกับประเทศ

เพื่อนบ้าน ๔ ประเทศ รวมเป็นระยะทาง ๕,๖๕๖

กิโลเมตร ได้แก่ กับพม่า ๒,๔๐๑ กิโลเมตร กับลาว

๑,๘๑๐ กิโลเมตร กับมาเลเซีย ๖๔๗ กิโลเมตร และ

กับกัมพูชา ๗๙๘ กิโลเมตร

๒. เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา เป็นไปตามความ

ตกลง ๒ ฉบับ คือ อนุสัญญาระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส

๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) และสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส

๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) โดยเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปักหลัก

เขตแดน ๑๙๕ กิโลเมตร (ตามอนุสัญญาระหว่างสยาม

- ฝรั่งเศส ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) และพื้นที่ที่ปักหลัก

เขตแดนแล้ว (จำนวน ๗๓ หลัก) ๖๐๓ กิโลเมตร (หลัก

เขตที่ ๑ ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ - หลักเขตที่

๗๓ บ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด)

๓. พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดน

ช่วงที่ยังไม่มีการปักหลักเขตแดน ซึ่งอนุสัญญาปี

๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) กำหนดให้เส้นเขตแดนบริเวณนี้

เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก และ

กำหนดให้รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสจัดตั้งข้าหลวงปักปัน

ขึ้นเพื่อไปทำการปักปันเขตแดน

แผนผังและภาพถ่ายปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลสังเขปปราสาทพระวิหาร

ปราสาทพระวิหารเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปะ

ขอม ตั้งอยู่บนภูเขาในเทือกเขาพนมดงรักบริเวณ

ชายแดนไทย - กัมพูชา ตรงข้ามบ้านภูมิซรอล

ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ตัวปราสาทไล่เรียงเป็นชั้นๆ เป็นทางยาวตามแกน

ทิศเหนือ - ใต้ เริ่มจากเชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือ

ไปจนสุดยอดเขาซึ่ งอยู่ สู งจากระดับน้ำทะเล

ปานกลาง ๖๕๗ เมตร

แผนผังอาคารสำคัญต่างๆ ของปราสาทพระวิหาร

โคปุระชั้นที่ 4

โคปุระชั้นที่ 3

โคปุระชั้นที่ 2

โคปุระชั้นที่ 1

บันไดนาค

ปราสาทพระวิหาร

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปราสาท

พระวิหารสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เพื่อ

เป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู

ลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ถือ

เป็นร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองและวิถีชีวิตของ

ผู้คนในอดีต และยังสะท้อนถึงความสำคัญของ

ปราสาทที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความ

สัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้คนในชุมชนโบราณใน

ดินแดนแถบนี้มาแต่บรรพกาล

ปราสาทพระวิหาร

๔. ข้าหลวงปักปันตามอนุสัญญาปี ๒๔๔๗ (ค.ศ.

๑๙๐๔) ฝ่ายฝรั่งเศสนำโดยพันตรี แบร์นารด์ และ

ฝ่ายไทยนำโดยพลตรี หม่อมชาติเดชอุดม ได้สำรวจ

ภูมิประเทศ และฝ่ายฝรั่งเศสได้นำผลสำรวจกลับไป

จัดทำแผนที่ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วส่งแผนที่ที่จัดทำ

แลว้ (แผนทีม่าตราสว่น ๑ : ๒๐๐,๐๐๐) ใหป้ระเทศไทย

เมื่อ ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘)

๕. เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙)

กัมพูชายื่นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)

ขอให้พิพากษาว่า อธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาท

พระวิหารเป็นของกัมพูชา และให้ไทยถอนกำลังออก

จากปราสาท โดยไม่ได้ขอให้พิพากษาเรื่องเส้นเขตแดน

ระหว่างประเทศทั้งสองในพื้นที่ดังกล่าว

๖. หลังจากที่ได้พิจารณาข้อต่อสู้ของทั้งฝ่ายไทย

และฝ่ายกัมพูชาแล้ว ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ (ค.ศ.

๑๙๖๒) สรุปว่า

๖.๑ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขต

ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา (the Temple of Preah

Vihear is situated in territory under the

sovereignty of Cambodia)

๖.๒ ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องถอนกำลัง

ทหารหรือตำรวจ หรือผู้ เฝ้ารักษาการซึ่งไทยส่งไป

ประจำที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียง

ปราสาท

๖.๓ ไทยมีพันธกรณีต้องคืนบรรดาโบราณ

วัตถุที่ไทยได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทพระวิหาร

หรือจากบริเวณปราสาท

๗. ทัง้นี ้ศาลยตุธิรรมระหวา่งประเทศไมไ่ดพ้พิากษา

ชี้ขาดเรื่องเส้นเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง โดย

เฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ได้พิพากษาว่าเขตแดนจะต้องเป็น

ไปตามแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ดังที่กัมพูชา

กล่าวอ้างอยู่เสมอ ข้อเท็จจริงคือ ศาลเพียงแต่อ้าง

แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ เป็นเหตุผลในการ

พิพากษาสามประการข้างต้น โดยชี้ว่าคำขอ (sub-

missions ในภาษาอังกฤษ หรือ conclusions ใน

ภาษาฝรั่งเศส) ของกัมพูชาต่อศาลในตอนท้ายของ

กระบวนการให้ปากคำ (เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๐๕ /

ค.ศ. ๑๙๖๒) ซึ่งขอให้ศาลชี้นิติฐานะของแผนที่

ดั งกล่าวและของเส้นเขตแดนในพื้นที่พิพาทนั้น

ศาลสามารถพิจารณาให้ได้เฉพาะเท่าที่เป็นสิ่งแสดง

เหตุผล (grounds ในภาษาอังกฤษ หรือ motifs ใน

10

ภาษาฝรั่งเศส) เท่านั้น และไม่ใช่ในฐานะเป็นข้อ

เรียกร้อง (claims ในภาษาอังกฤษ หรือ demandes

ในภาษาฝรั่งเศส) ที่จะตัดสินให้ได้ในข้อบทพิพากษา

๘. หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมี

คำพิพากษา รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์เมื่อ

วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ไม่เห็นด้วย

กับคำพิพากษา แต่ในฐานะประเทศสมาชิกของ

องค์การสหประชาชาติ ไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณี

ต่างๆ อันเป็นผลมาจากคำพิพากษาตามข้อ ๙๔

ของกฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United

Nations) เป็นธรรมนูญขององค์การสหประชาชาติ

ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๕๕ เมื่อวันที่

๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖)

ข้อ ๙๔

“๑. สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชา-

ชาติ รับที่จะอนุวัตตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรม

ระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นฝ่ายหนึ่ง

11

๒. ถ้าผู้เป็นฝ่ายในคดีฝ่ายใดไม่สามารถ

ปฏบิตัติามขอ้ผกูพนัซึง่ตกอยูแ่กต่น ตามคำพพิากษา

ของศาล ผู้เป็นฝ่ายอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยัง

คณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าเห็นจำเป็นก็อาจทำ

คำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินเพื่อให้

เกิดผลตามคำพิพากษานั้น”

๙. รัฐบาลไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๐

กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ได้ปฏิบัติตาม

คำพิพากษาโดยกำหนดขอบเขตปราสาท กล่าวคือ

ทางทิศเหนือที่ระยะ ๒๐ เมตรจากบันไดนาคไปทางทิศ

ตะวันออกจนถึงช่องบันไดหัก และทางทิศตะวันตกที่

ระยะ ๑๐๐ เมตร จากแกนของตัวปราสาทไปทางทิศใต้

จนจรดขอบหน้าผา โดยเจ้าหน้าที่ไทยได้นำเสาธงไทย

ออกจากพืน้ทีน่ัน้ และถอนกำลงัตำรวจตระเวนชายแดน

ออกจากปราสาท เมื่อเวลาเที่ยงวันของวันที่ ๑๕

กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒)

๑๐. นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

การต่างประเทศในขณะนั้น ได้มีหนังสือแจ้งการปฏิบัติ

ตามคำพิพากษาดังกล่าวแก่ผู้รักษาการเลขาธิการ

สหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ.

๑๙๖๒) โดยในหนังสือดังกล่าวได้แจ้งด้วยว่า ไทย

12

ขอสงวนสิทธิ์ที่ไทยมีหรืออาจมีในอนาคตที่จะเรียกเอา

ปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการ

ทางกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

หนังสือจากนายถนัด คอมันตร์

รฐัมนตรวีา่การกระทรวงการตา่งประเทศในขณะนัน้

ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ

1�

ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

(ศาลโลก)

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

“ข้อ ๖๐ คำพิพากษาเป็นที่สุดไม่สามารถ

อุทธรณ์ได้ ในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมาย

หรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลจะเป็นผู้ตีความ

โดยคำร้องขอของคู่กรณีฝ่ายใดก็ได้

ข้อ ๖๑

๑. คำขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษานั้น

สามารถกระทำได้เฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอันมี

ลักษณะเป็นปัจจัยชี้ขาด ซึ่งในขณะที่ตัดสินคดีนั้น

มิได้ปรากฏต่อศาลและคู่กรณีที่ร้องขอให้มีการแก้ไข

และความไม่รู้นั้นมิได้เป็นเพราะความประมาท

เลินเล่อ

๒. กระบวนการขอให้แก้ไขนั้น ให้เริ่ม

โดยคำสั่งของศาล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของ

ข้อเท็จจริงใหม่ โดยรับว่าข้อเท็จจริงนั้นมีลักษณะที่

สมควรใหเ้ปดิคดเีพือ่แกไ้ข และประกาศวา่ คำรอ้งขอ

นั้นรับฟังได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว

1�

๓. ศาลอาจกำหนดให้มีการปฏิบัติตาม

คำพิพากษาก่อนจะรับให้มีกระบวนการแก้ไข

๔. คำขอให้แก้ ไขต้องกระทำภายใน

หกเดือนเป็นอย่างช้าที่สุดนับแต่ปรากฏข้อเท็จจริง

ใหม่นั้น

๕. ภายหลังจากสิบปีนับแต่วันที่ศาล

มีคำพิพากษา ไม่อาจจะขอให้มีการแก้ไข”

๑๑. ปัจจุบัน กัมพูชายังคงอ้างเส้นเขตแดนตาม

แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ในบริเวณปราสาท

พระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทยเข้ามาไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐

ไร่ หรือ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ โดยอ้างคำพิพากษา

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศข้างต้น ซึ่งเป็นการอ้างที่

ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายสนับสนุน (ดูข้อ ๕ ถึง ๗

ข้างต้น)

๑๒. ปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร

เป็นหนึ่งในปัญหาเขตแดนไทย - กัมพูชา ที่มีอยู่

ตลอดแนว ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ใช้การอดกลั้น

อย่างสูงสุดต่อการละเมิดดินแดนไทยที่มีขึ้น เนื่องจาก

คำนึงถึงมิตรภาพ ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม และ

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียน แต่กระทรวง

1�

การต่างประเทศและหน่วยงานในท้องถิ่น ได้ประท้วง

หรือทักท้วงการละเมิดดังกล่าวเป็นระยะเพื่อรักษา

สิทธิของไทยไว้ ระหว่างที่รอการแก้ไขปัญหาเขตแดน

เสร็จสิ้นโดยการตกลงกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ

และย้ำเสมอว่าการอดกลั้นของไทย ไม่ใช่การนิ่งเฉย

หรือการยอมรับการละเมิดดังกล่าว

๑๓. โดยทีป่ระเทศไทยมนีโยบายมาอยา่งตอ่เนือ่ง

ที่ จะสำรวจและจัดทำหลัก เขตแดนกับประเทศ

เพื่อนบ้านให้ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนอย่าง

ถาวร อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชน

บรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และความ

ร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับกัมพูชา ไทย

ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำ

หลักเขตแดนทางบก พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐) และ

จัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา

(Thai – Cambodian Joint Commission for the

Demarcation of Land Boundary หรือ JBC) ขึ้น

เป็นกลไกในการเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานโดยตำแหน่ง

ฝ่ายกัมพูชามีที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบ

กิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธาน

1�

๑๔. ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย -

กัมพูชา ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑ มิถุนายน

๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓) ที่ เมืองเสียมราฐ ประเทศ

กัมพูชา และที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายได้ตกลง

กันที่จะให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร

และบูรณปฏิสั งขรณ์ปราสาทพระวิหารเพื่อ เป็น

สัญลั กษณ์ แห่ ง มิ ต รภาพและความสั มพั น ธ์ ที่

แน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างสองประเทศ และเพื่อ

ผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนไทยกับกัมพูชา

เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม

ดงักลา่ว โดยไทยไดจ้ดัตัง้คณะกรรมการรว่มเพือ่พฒันา

เขาพระวิหาร และกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการ

ระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่า

และเขาพระวิหาร เพื่อเป็นกลไกหลักในการทำงาน

ร่วมกัน โดยมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเมื่อวันที่ ๒๕

มีนาคม ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔) ที่กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุม

ได้ตกลงในหลักการขั้นพื้นฐานเพื่อร่วมพัฒนาเขา

พระวิหารและบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร

โดยกัมพูชาได้ร้องขอว่า ความร่วมมือระหว่างไทย -

กัมพูชาในเรื่องนี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่องค์การการ

ศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนปราสาท

1�

พระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในครั้งนั้นฝ่ายไทยได้รับ

ทราบโดยขอให้มีการร่วมมือและปรึกษาหารืออย่าง

ใกล้ชิดในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียน

มรดกโลก การพัฒนาพื้นที่ และการบูรณปฏิสังขรณ์

ปราสาทพระวิหาร

1�

ปัญหาจากการที่กัมพูชานำปราสาทพระวิหาร

ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

๑๕. ในระหว่างปี ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๕

- ๒๐๐๖) กัมพูชาได้ดำเนินกระบวนการยื่นขอ

จดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อ

ยูเนสโกฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทย

ตามที่เคยหารือกันไว้ในกรอบคณะกรรมการร่วมเพื่อ

พัฒนาเขาพระวิหารและมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม

ไทย - กัมพูชา

มรดกโลก

มรดกโลกคืออะไร

มรดกโลกคือสถานที่ที่มีคุณค่าอันเป็นสากล

ควรแก่การอนุรักษ์และทะนุบำรุงเพื่ออนุชนรุ่นหลัง

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทาง

วัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention con-

cerning the Protection of the World Cultural

and Natural Heritage) ปี ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)

ขององค์การยูเนสโก (หรืออนุสัญญาว่าด้วยมรดก

โลก) กำหนดให้ประเทศภาคีเสนอสถานที่ที่มีคุณค่า

ในประเทศของตนเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

1�

พร้อมกับนำเสนอแผนการบริหารจัดการในการ

อนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ดังกล่าว

ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา

ว่าด้วยมรดกโลก ๑๘๕ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย

ซึ่งเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐

(ค.ศ. ๑๙๘๗) โดยไทยมีสถานที่ที่ได้รับการประกาศ

จากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกจำนวน ๕ แห่ง เป็น

มรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง ได้แก่ นคร

ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร

(๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย

และเมืองบริวาร (๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) และแหล่ง

โบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (๒๕๓๕ / ค.ศ.

๑๙๙๒) และมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง ได้แก่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง

(๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) และพื้นที่ผืนป่าเขาใหญ ่ -

ดงพญาเยน็ (๒๕๔๘ / ค.ศ. ๒๐๐๕)

การคัดเลือกสถานที่เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น

มรดกโลก

การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกจะทำโดย

คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage

Committee) ประกอบด้วยสมาชิกที่ เป็นภาคี

20

อนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน

๒๑ ประเทศ มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี

โดยไทยเคยดำรงตำแหน่งในช่วงปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๘

(ค.ศ. ๑๙๘๙ - ๑๙๙๕) และปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๖

(ค.ศ. ๑๙๙๗ - ๒๐๐๓) ปัจจุบันสมาชิกประกอบ

ด้วย ออสเตรเลีย บาห์เรน บาร์เบโดส บราซิล

แคนาดา จีน คิวบา อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดน

เคนยา มาดากัสการ์ มอริเชียส โมร็อกโก ไนจีเรีย

เปรู เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ตูนีเซีย และสหรัฐฯ

คณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมกันปีละครั้ง

โดยจะพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ

รัฐภาคีในระหว่างการประชุมประจำปีด้วย

กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ประเทศที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนจะต้อง

ส่งคำขอไปยังศูนย์มรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศ

ฝรั่งเศส โดยคำขอจะต้องประกอบด้วยข้อมูล

แผนบริหารจัดการพื้นที่เขตแกน (core zone) การ

กำหนดพื้นที่กันชน (buffer zone) เพื่อกำหนด

มาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียน

และต้องแนบแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจน

ของสถานที่และพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว จากนั้น ศูนย์

21

มรดกโลกจะส่งองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการ

มรดกโลก คือ International Council on

Monuments and Sites หรือ อิโคมอส (ICOMOS)

ซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองคำขอขึ้นทะเบียน ไปสำรวจ

สถานที่และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ

ข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทคนิค และร่างคำตัดสิน

เสนอเพื่อบรรจุในระเบียบวาระของการประชุม

คณะกรรมการมรดกโลก

๑๖. ปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบต่อประเทศไทย

คือเอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาท

พระวิหารเป็นมรดกโลก (Nomination File) ของ

กัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตแกน (Core Zone)

เขตกันชน (Buffer Zone) และเขตพัฒนา

(Development Zone) ของอาณาบริเวณปราสาท

พระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลก

ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย

๑๗. การกำหนดขอบเขตดังกล่าว ตั้งอยู่บน

พืน้ฐานความเขา้ใจของฝา่ยกมัพชูาในเรือ่งเสน้เขตแดน

ที่ต่างจากไทย (ดูข้อ ๑๑) ซึ่งทำให้บางส่วนของพื้นที่

เขตแกนและเขตพัฒนาที่ฝ่ายกัมพูชาระบุล้ำเข้ามาใน

ดินแดนของไทย และทำให้มีชาวกัมพูชารุกล้ำเข้ามา

22

ก่อสร้างชุมชน ร้านขายของที่ระลึก และวัดในดินแดน

ของไทย ใกล้กับตัวปราสาทพระวิหารอีกด้วย ซึ่ง

เกี่ยวกับเรื่องการรุกล้ำของชุมชนกัมพูชาดังกล่าว

กระทรวงการต่างประเทศได้ทำการประท้วงรัฐบาล

กัมพูชามาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด

๑๘. ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๙

(ค.ศ. ๒๐๐๖) กัมพูชาได้ส่งเอกสารรายละเอียด

เกี่ ยวกับปราสาทพระวิหารเพื่ อการขึ้นทะเบียน

เป็นมรดกโลกถึงศูนย์มรดกโลก ซึ่งต่อมาได้รับรอง

และนำเสนอเข้าวาระ ในการประชุมคณะกรรมการ

มรดกโลกสมัยที่ ๓๑ ที่ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศ

นิวซีแลนด์ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)

ภาพแสดงแนวสันปันน้ำบริเวณเขาพระวิหาร

23

๑๙. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก

สมัยที่ ๓๑ ที่ เมืองไครสต์เชิร์ช ฝ่ายไทยได้รณรงค์

ทางการเมืองและการทูต จนประสบผลสำเร็จให้

คณะกรรมการมรดกโลกมีมติเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน

๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) ให้เลื่อนการพิจารณาขึ้น

ทะเบียนของกัมพูชาออกไป ๑ ปี และให้ไทยและ

กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ โดยจะมีการ

พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการ

มรดกโลก สมัยที่ ๓๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา

๒๐. ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทาง

แก้ปัญหาร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอใน

หลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอขึ้นทะเบียนเดิม

ของตน และให้กัมพูชาและไทยร่วมกันนำปราสาท

พระวิหารในพื้นที่ฝั่งกัมพูชา รวมทั้งโบราณสถานที่

เกี่ยวข้องกับปราสาทที่อยู่ในฝั่งไทย อาทิ สระตราว

สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทย

๒๑. ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

ไทยได้เสนอรายงานข้อโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับ

การประเมินของอิโคมอส (International Council on

24

Monuments and Sites – ICOMOS) กรณีการเสนอ

ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้าง

เหตุผลต่างๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ

ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน)

มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาท

กับชุมชนดั้งเดิมในแง่ความผูกพันทางจิตใจ และ

ความคลาดเคลื่อนของการตีความและนำเสนอข้อมูล

๒๒. อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการ

มรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม

๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา

ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง

หน้าผา และถ้ำต่างๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่า

สากลที่โดดเด่นของตัวปราสาทพระวิหารเอง

๒๓. ในการประชุมดังกล่าว ไทยในฐานะผู้

สังเกตการณ์ได้แถลงคัดค้านการขึ้นทะเบียน รวมทั้ง

เอกสารทุกชิ้นและแผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบ

โดยอ้างข้อ ๑๑ (๓) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง

มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ๒๕๑๕

(ค.ศ. ๑๙๗๒) ซึ่งระบุว่า การรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่

ในดินแดน อธิปไตย หรือเขตอำนาจที่อ้างสิทธิโดยรัฐ

มากกว่าหนึ่งรัฐ จะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของคู่

พิพาทไม่ว่าในทางใด (The inclusion of a property

25

ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๒

ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา เรื่องการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร

เป็นมรดกโลก วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

situated in a territory, sovereignty or jurisdiction

over which is claimed by more than one State,

will in no way prejudice the rights of the party to

the dispute.)

26

27

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

ข้อมติ: 32 COM 8 B. 102

คณะกรรมการมรดกโลก

1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/

INF.8B.Add2

2. โดยอ้างถึง ข้อมติ 31 COM 8B.24 ซึ่ง

ยอมรับ “ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหาร

มีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่า

สากลที่โดดเด่นบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ

(4) และตกลงในหลักการว่าปราสาทพระวิหารควร

ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก”

3. ได้บันทึกว่า ความคืบหน้าโดยรัฐภาคี

กัมพูชาไปสู่การพัฒนาแผนบริหารจัดการสำหรับ

ทรัพย์สิน ดังร้องขอโดยคณะกรรมการโดยข้อมติ

31 COM 8 B.24 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์

4. ขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยียม

สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การ

สนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเหลือ

ในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น

28

และ ICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

ที่มีค่าในกระบวนการนี้

5. รับรอง ว่าคำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อ

วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาล

แห่งกัมพูชาและไทย กับยูเนสโก รวมทั้งร่างคำ

แถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่

22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร

WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้

ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของ

แถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

ของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้

6. บันทึก ว่ารัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะ

กรรมการมรดกโลกซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน

(RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/INF.8B.

Add2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุ

ขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการ

ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก

7. ตัดสิน บนพื้นฐานการยกเว้นเป็นกรณี

พิเศษ ให้รับในกระบวนการพหุภาคีซึ่งไปสู่การ

จัดทำรายงานขยายความเสริม ซึ่งเสนอเมื่อเดือน

พฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยรัฐภาคีกัมพูชา ตาม

29

คำขอของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก

ข้อมูลส่งโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังกำหนดเวลาที่

กำหนดไว้ในวรรค 148 ของแนวปฏิบัติดำเนินการ

8. รับรอง ว่าไทยได้แสดงความปรารถนา

ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อที่จะร่วมในการขอขึ้นทะเบียน

ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ

9. บันทึก ว่าทรัพย์สินที่ เสนอสำหรับขึ้น

ทะเบียน ได้รับการลดขนาดและประกอบเพียง

ปราสาทพระวิหารและไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่

กว้าง หน้าผา และถ้ำต่างๆ

10. พิจารณา ต่อไปอีกว่าการค้นคว้าทาง

โบราณคดีกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีการค้นพบ

สำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอขึ้น

ทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับ

ความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย

11. ส่งเสริม กัมพูชาให้ประสานงานกับไทย

ในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริง

ที่ว่าประชาชนในพื้นที่ โดยรอบได้ให้คุณค่าแก่

ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็น

สิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและ

ภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้นทะเบียนใน

30

บัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4

ซึง่ไดร้บัการรบัรองแลว้โดยคณะกรรมการในคำตดัสนิ

31 COM 8B.24

12. ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร กัมพูชา

ในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1

13. ออกคำแถลงเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอัน

เปน็สากล ดังต่อไปนี้

ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรม

ที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วย

ระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร

เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร

ในเรื่องของผัง การตกแต่ง และความสัมพันธ์กับ

ภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ

เกณฑ์ 1 : พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยม

ของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง

ทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง

ความถกูตอ้งแทจ้รงิไดร้บัการยอมรบั ในลกัษณะ

ที่อาคารและวัสดุได้แสดงคุณค่าของทรัพย์สิน

เป็นอย่างดี ข้อเด่นของทรัพย์สินประกอบด้วย

กลุ่มปราสาท บูรณภาพของทรัพย์สินถูกทำให้เสีย

ไปส่วนหนึ่งเพราะส่วนของชะง่อนเขาไม่ได้รวมไว้

31

ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาท

ในทางกฎหมายถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้า

ในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับ

การพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับ

การรับรอง

14. รอ้งขอ ใหร้ฐัภาคกีมัพชูา โดยการประสาน-

งานกับยูเนสโก ให้จัดการประชุมคณะกรรมการ

ประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนา

ทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดย

เชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีก

ไม่เกิน 7 ประเทศเข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบาย

ทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล

ของทรัพย์สิน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการ

อนุรักษ์สากล

15. ร้องขอ รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสาร

ต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์

ค.ศ. 2009 :

ก) แผนทีช่ัว่คราวซึง่ใหร้ายละเอยีดเพิม่เตมิ

ของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนด

ขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP

32

ข) เอกสารคำขอขึน้ทะเบยีนทีป่รบัปรงุแลว้

เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน

ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของ

ทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขต

กันชนที่ระบุใน RGPP

ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการ

เตรียมแผนบริหารจัดการ

16. ร้องขอเพิ่มเติม ต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่ง

แผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับ

การขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จให้ศูนย์

มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้

แก่คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 34 ใน

ค.ศ. 2010

33

ความตึงเครียดบริเวณชายแดนหลังกัมพูชานำ

ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก

๒๔. การที่กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้น

ทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยไม่รับฟังเสียงทัดทาน

จากประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับ

ผลกระทบจากการดำเนินการดังกล่าวของกัมพูชา

ทำให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่าง

ประเทศทั้งสอง และบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา

โดยกัมพูชาได้ปิดทางขึ้นปราสาทพระวิหารในเวลา

ต่อมา

๒๕. ต่อมาในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ.

๒๐๐๘) กำลังทหารไทยได้เข้าคุ้มครองชาวไทย ๓ คน

ในบริเวณวัด “แก้วสิขาคีรีสะวารา” ใกล้ปราสาท

พระวิหาร ซึ่งกัมพูชาสร้างล้ำดินแดนไทย ทำให้กัมพูชา

ไม่พอใจและทำหนังสือแจ้งคณะมนตรีความมั่นคง

แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) และเสนอให้มีการประชุมด่วนคณะมนตรี

ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยอ้างว่า เหตุการณ์

ที่เกิดขึ้นกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน

ของกัมพูชา รวมทั้งสันติภาพและความมั่นคงของ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยก็ได้ทำหนังสือ

34

ถึงสหประชาชาติชี้แจงจุดยืนของไทยและแสดงความ

มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหากับกัมพูชา โดยสันติวิธีผ่าน

กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม

๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง

สหประชาชาติได้ตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาคำขอของ

กัมพูชาออกไป ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะมนตรี

ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เห็นสอดคล้องกับไทย

ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาในระดับทวิภาคีระหว่าง

ไทยกับกัมพูชา ซึ่งควรแก้ไขปัญหาด้วยกลไกทวิภาคีที่

มีอยู่แล้ว

๒๖. ประเทศไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาความ

ตึงเครียดที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธีผ่านกลไกทวิภาคี อาทิ

การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General

Border Committee) ระหว่างผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ของไทย (ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี

ในขณะนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหมด้วย) กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว

เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) การ

หารือทางโทรศัพท์ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับนายก

รัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑

35

(ค.ศ. ๒๐๐๘) การพบหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงการต่างประเทศของไทยกับกัมพูชา ที่เมือง

เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา และที่อำเภอชะอำ จังหวัด

เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

และวันที่ ๑๘ - ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

ตามลำดับ

๒๗. แม้จะมีความพยายามเจรจาระหว่างไทยกับ

กัมพูชาดังกล่าว แต่ความตึงเครียดที่ชายแดนบริเวณ

เขาพระวิหารยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การ

เผชิญหน้าและการใช้กำลังในบริเวณเขาพระวิหาร

เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) บริเวณ

ภูมะเขือ (ทางด้านตะวันตกของปราสาทพระวิหาร)

เหตุการณ์ที่ทหารไทย จำนวน ๒ คน เหยียบทุ่นระเบิด

ที่มีการวางใหม่เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ.

๒๐๐๘) ทำใหข้าขาดและบาดเจบ็สาหสั และเหตกุารณ ์

ปะทะกันที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม

๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ซึ่งมีผลทำให้ทหารไทยเสียชีวิต

๒ คน และทหารกัมพูชาเสียชีวิต ๓ คน ทั้งนี้ เป็นที่น่า

สังเกตว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) เกิดขึ้นเพียง ๒ วัน หลังจากที่นายก

รัฐมนตรีกัมพูชายื่นคำขาด ในโอกาสการเดินทางเยือน

36

กมัพชูาของอดตีรฐัมนตรวีา่การกระทรวงการตา่งประเทศ

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) ให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณ

เขาพระวิหารภายใน ๒๔ ชั่วโมง

๒๘. หลัง เหตุการณ์ความตึง เครียดบริ เวณ

ชายแดนดังกล่าว ได้มีการหารือกันระหว่างไทย

กับกัมพูชาทั้ งในระดับผู้บัญชาการทหารในพื้นที่

(การประชุมระหว่างแม่ทัพภาคที่ ๒ ของไทยกับ

ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๔ ของกัมพูชาที่ เมือง

เสียมราฐ เมื่อวันที่ ๒๓ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑/ ค.ศ.

๒๐๐๘) ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และในระดับ

ผู้นำรัฐบาล (การหารือระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กับ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน

ของกัมพูชา ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในระหว่างการ

ประชุมสุดยอดเอเชียยุโรป (ASEM) ครั้งที่ ๗ เมื่อวันที่

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ / ค.ศ. ๒๐๐๘)

๒๙. นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

ไทย - กัมพูชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ

ต่างประเทศของไทยและกัมพูชาได้ประชุมหารือกัน

ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๒

พฤศจิกายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) และ ๑๒

37

พฤศจิกายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ตามลำดับ

เพื่อหารือเกี่ยวกับการลดความตึงเครียดบริ เวณ

ชายแดนและให้มีการสำรวจและปักปันเขตแดน

บริเวณปราสาทพระวิหารโดยเร็ว

38

การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่าง

ยั่งยืน

๓๐. นอกจากการแถลงคัดค้านข้อมติของ

คณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาท

พระวิหารเป็นมรดกโลก รวมทั้งเอกสารทุกชิ้นและ

แผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบการขอขึ้นทะเบียน

ตลอดจนได้แถลงสงวนสิทธิ์ของไทย ดังกล่าวในข้อ

๒๓ แล้ว ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศ

ได้ประท้วงและตอบโต้กัมพูชา ตลอดจนชี้แจงให้

ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจท่าทีของไทยเกี่ยวกับ

การที่กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็น

มรดกโลก ความตึงเครียดและการละเมิดอธิปไตย

และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยที่ตามมาโดย

กัมพูชาในทุกกรอบความสัมพันธ์ ทั้งทวิภาคีและ

พหุภาคี และในทุกเวทีระหว่างประเทศ เช่น คณะมนตรี

ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาสหประชาชาติ

องค์การยูเนสโก องค์การระหว่างประเทศของกลุ่ม

ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและอาเซียน และการประชุม

อนุสัญญาออตตาวาว่าด้วยทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

เป็นต้น

๓๑. นอกจากนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวง

การต่างประเทศยังได้เตรียมการรับมือกับปัญหาที่อาจ

39

เกิดขึ้นในอนาคต จากการที่คณะกรรมการมรดกโลก

ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ด้วย

การกำหนดแนวทางการดำเนินการในกรณีที่มีการ

ดำเนินการของยูเนสโกเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งอาจมีนัย

กระทบอธิปไตยของไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความ

เห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

สรุปว่า การดำเนินการใดๆ ของยูเนสโกหากจะออก

มานอกตัวปราสาท จะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศ

ไทยก่อน นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศและ

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ไม่ให้การดำเนินการใดๆ จากทุกฝ่าย ละเมิดอธิปไตย

หรือบูรณภาพแห่งดินแดนราชอาณาจักรไทยโดย

เด็ดขาด

๓๒. การที่ไทยกับกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มีชายแดนร่วมกันถึง ๗๙๘ กิโลเมตรและไม่สามารถ

จะแยกออกจากกันได้ ตลอดจนความสัมพันธ์และ

ผลประโยชน์ระหว่างประเทศทั้งสองยังมีร่วมกันอีก

หลายด้าน ประเทศไทยจึงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไข

ปัญหาที่ เกิดขึ้นร่วมกับกัมพูชาโดยการเจรจาผ่าน

กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการ

เขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (JBC) เพื่อลดความ

ตึงเครียดและการเผชิญหน้าบริเวณชายแดน และ

40

การจัดทำหลักเขตแดนให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่าง

ประเทศ โดยการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ

(๑) ระยะสั้น จัดทำข้อตกลงชั่วคราว

(Provisional Arrangement) ในบริเวณปราสาท

พระวิหารระหว่างรอการสำรวจจัดทำหลักเขตแดน

เสร็จสิ้น

(๒) ระยะยาว ให้ JBC เจรจาและจัดทำ

หลักเขตแดนตลอดแนว

กรอบการเจรจา

(๑) ขอ้ตกลงชัว่คราวไทย - กมัพชูา เกีย่วกบั

สถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร

วัตถุประสงค์ เพื่อมีมาตรการชั่วคราวร่วมกัน

สำหรับลดความตึงเครียดและลดการเผชิญหน้า

ทางทหารระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ชายแดนบริเวณ

เขาพระวิหาร ระหว่างรอให้คณะกรรมาธิการ

เขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (Thai – Cambodian

Joint Commission on Demarcation for Land

Boundary – JBC) สำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วเสร็จ

41

สาระสำคัญ

๑. ปรับกำลังของแต่ละฝ่ายออกจากวัดแก้ว

สิขาคีรีสะวารา พื้นที่รอบวัด และปราสาทพระวิหาร

เหลือไว้เพียงชุดติดตามสถานการณ์ทหาร (Military

Monitoring Groups) ของแต่ละฝ่ายในจำนวน

ที่เท่ากัน

๒. จัดการประชุมระหว่างหัวหน้าชุดประสาน

งานชั่วคราวฝ่ายกัมพูชา (ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๖

ส.ค. ๒๕๕๑) กับประธานคณะกรรมการชายแดน

ส่วนภูมิภาคฝ่ายไทย เป็นครั้งที่สองที่กัมพูชา เพื่อ

หารือเรื่องการปรับกำลังช่วงที่สอง และให้ฝ่ายไทย

จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว

๓. เก็บกู้ทุ่นระเบิดในลักษณะที่ประสานงาน

กัน ในพื้นที่ที่จะทำการสำรวจและจัดทำหลัก

เขตแดนโดย JBC ตามบันทึกความเข้าใจปี ๒๕๔๓

๔. ให ้JBC กำหนดพืน้ทีท่ีจ่ะทำใหอ้ยูใ่นสภาพ

พร้อมสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

ภายใต้แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของ

JBC และทำให้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อม

ก่อนที่ชุดสำรวจร่วมจะเริ่มงาน

42

๕. จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราวประกอบด้วย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณา

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ รวมทั้งวัดแก้วสิขาคีรี-

สะวารา

๖. ข้อตกลงชั่วคราวนี้จะไม่กระทบต่อสิทธิ

ของแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลัก

เขตแดนในกรอบของ JBC และท่าทีทางกฎหมาย

ของตน

(๒) กรอบการเจรจาด้านการสำรวจและจัด

ทำหลกัเขตแดนทางบกไทย - กมัพชูา ตลอดแนว

ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย

- กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้

ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา

เจรจากับฝ่ายกัมพูชาเพื่อดำเนินการสำรวจและ

จัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชาให้

เป็นไปตามเอกสารดังต่อไปนี้

๑. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไข

ข้อบทเพิ่มเติม ข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่

๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ (ค.ศ. ๑๘๙๓) ว่าด้วยดินแดน

กับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีสเมื่อ

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒ (ค.ศ. ๑๙๐๔)

43

๒. สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยาม

กับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับลง

นาม ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕

(ค.ศ. ๑๙๐๗) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดน

แนบท้ายสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ ๒๓ มีนาคม

ร.ศ. ๑๒๕ (ค.ศ. ๑๙๐๗)

๓. แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปัน

เขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่าง

สยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี

ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๗

กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา

ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญาฉบับปี

ค.ศ. ๑๙๐๗ ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

๓๓. รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจา

ทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

ด้วยคะแนน ๔๐๙ ต่อ ๗ และ ๔๐๖ ต่อ ๘ (จาก

๔๑๘ เสียงของผู้เข้าร่วมประชุม) ตามลำดับ และ

ขณะนี้การเจรจาในกรอบ JBC กำลังดำเนินอยู่

44

มาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช-

อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน

การทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก

และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การ

ระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต

ไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมี

สิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา

หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออก

พระราชบญัญตัเิพือ่ใหก้ารเปน็ไปตามหนงัสอืสญัญา

หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือ

สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพัน

ด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ

อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของ

รัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ

ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับ

นานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ตาม

วรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มี

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจง

45

ต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้

คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อ

ขอความเห็นชอบด้วย

เมือ่ลงนามในหนงัสอืสญัญาตามวรรคสองแลว้

ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี

ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของ

หนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตาม

หนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อ

ประชาชนหรอืผูป้ระกอบการขนาดกลางและขนาดยอ่ม

คณะรฐัมนตรตีอ้งดำเนนิการแกไ้ขหรอืเยยีวยาผูไ้ดร้บั

ผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอน

และวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อ

ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ

อย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือ

การลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือ

เยียวยาผู้ที่ ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตาม

หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม

ระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก

การปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชน

ทั่วไป

46

ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสองให้เป็นอำนาจ

ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำ

บทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับ

การเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

๓๔. กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำเนินการ

ให้ข้อมูล รับฟังความเห็นประชาชน และชี้แจงรัฐสภา

เกี่ยวกับการเจรจาข้างต้นมาอย่างต่อเนื่องในหลาย

ช่องทาง อาทิ การเปิด website - www.mfa.go.th/190

หรือ www.mfa.go.th คลิกภาษาไทย และคลิกแถบ

“การดำเนินการตามมาตรา ๑๙๐” การให้ข้อมูล

ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ตลอดจนการจัดการ

ให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนใน

ลักษณะสัญจร ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด

๓๕. กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนเชิญ

พี่น้องประชาชนชาวไทยให้ข้อคิดเห็นโดยผ่านช่องทาง

ข้างต้น หรือส่งความคิดเห็นไปที่

ศูนย์สถานการณ์พื้นที่เขาพระวิหาร

และชายแดนไทย - กัมพูชา

กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

กระทรวงการต่างประเทศ

มีนาคม ๒๕๕๒

47

กระทรวงการต่างประเทศ

มีนาคม ๒๕๕๒

พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐

โทร. ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ E-mail : [email protected] Homepage : http://www.amarin.com