12
ปีท่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ สัมภาษณ์ป ระธานนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคใต้ นพ. ยงยุทธ ปัจจักขภัติ ๙๓ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ ขอเชิญร่วมประกวด ออกแบบโปสเตอร์กีฬา มหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ ๓๘ “จามจุรีเกมส์”

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓

สัมภาษณ์ประธานนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคใต้ นพ. ยงยุทธ ปัจจักขภัติ

๙๓ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ

ขอเชิญร่วมประกวดออกแบบโปสเตอร์กีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ ๓๘ “จามจุรีเกมส์”

Page 2: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

จุฬาฯ ..... “เสาหลักของแผ่นดิน” ในรอบปีที ่ผ่านมา ด้วยพลัง “น้ำใจน้องพี่สีชมพู” ช่วย

ผลักดันการเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ของ “จุฬาฯของเรา” ให้

เด่นชัดยิ่งขึ้น

เราได้รับการจัดอันดับ โดยนิตยสาร Times Higher Education

(THE) ร ่วมก ับบร ิษ ัท Quacquare l l i Symonds (QS) ให ้ เป ็น

“มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดสองร้อยอันดับแรกของโลก” โดยได ้

“อันดับที่ ๑๓๘ ของโลก” (อันดับที่ ๒๐ ของทวีปเอเชีย และอันดับที่

๓ ของกลุ่มประเทศอาเซียน) นับเป็นการก้าวกระโดดขึ้นมาจากปีที่แล้ว

ถึง ๒๘ อันดับ และดีขึ้นกว่า ๒ ปีที่แล้ว ถึง ๘๕ อันดับ

นอกจากนั้น ในทุกสาขา (๕ สาขา) ที่มีการจัดอันดับ จุฬาฯ

ของเรามีอันดับที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งสิ้น :-

• สาขา Arts & Humanities

ได้อันดับที่ ๔๙ ของโลก (ปี ๒๕๕๐ ได้อันดับที่ ๑๓๖)

• สาขา Social Sciences

ได้อันดับที่ ๕๑ ของโลก (ปี ๒๕๕๐ ได้อันดับที่ ๘๓)

• สาขา Life Sciences & Biomedicine

ได้อันดับที่ ๕๑ ของโลก (ปี ๒๕๕๐ ได้อันดับที่ ๑๓๘)

• สาขา Engineering & IT

ได้อันดับที่ ๗๘ ของโลก (ปี ๒๕๕๐ ได้อันดับที่ ๑๐๐)

• สาขา Natural Sciences

ได้อันดับที่ ๑๓๖ ของโลก (ปี ๒๕๕๐ ได้อันดับที่ ๑๕๙)

นับเป็นปีสุดท้ายของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกร่วมกัน

ระหว่างนิตยสาร THE และบริษัท QS (ซึ ่งจัดร่วมกันมาตั ้งแต่ปี

ค.ศ. ๒๐๐๔) จึงถือว่าเป็นตำนานที่สมควรบันทึกไว้ในแผ่นดิน

จุฬาฯ จึงถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวใน

ประเทศไทยที ่ ได ้ร ับเก ียรต ิภูม ิอ ันย ิ ่งใหญ่น ี ้อย ่างสง ่างามและ

สมศักดิ์ศรี ซึ่งสะท้อนถึงการได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกด้วย

“พลังน้ำใจน้องพี่สีชมพู” ทั ้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที ่ช่วยกัน

ทำให้จุฬาฯ เป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” สมดังพระราชปณิธานของ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู ้พระราชทาน

กำเนิด และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สถาปนา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็น “หลักเฉลิมพระนครแห่งกรุงสยาม”

นอกจากนี้ “จุฬาฯ ของเรา” ยังประสบความสำเร็จในอีก

หลายๆ ด้าน ที่แสดงถึงการเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ในรอบปีที่

ผ่านมา อาทิ

• ได้รับรางวัล “Trusted Brand 2010” จากหนังสือ

Reader’s Digest ในระดับสูงสุด (Platinum Award for the University)

ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีชื ่อเสียงและเป็นที่น่าเชื่อถือมากที่สุดจาก

ผู้บริโภค ๔ ปีติดต่อกัน (ค.ศ. ๒๐๐๗ – ๒๐๑๐)

• รางว ัล “Website ยอดนิยมของโลก” จากการ

จัดอันดับผ่านทาง “4 International Colleges & Universities” ว่าเป็น

website ที่นักศึกษานานาชาติเข้าชมมากที่สุด “อันดับที่ ๑๐๓” ของโลก

อันดับที่ ๒๐ ของเอเชียและอันดับที่ ๑ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

• ครอง “เจ้าเหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัย” ๒ ปีซ้อน

คือครั้งที่ ๓๖ (ปี ๒๕๕๒ : หัวหมากเกมส์) และครั้งที่ ๓๗ (ปี ๒๕๕๓ :

แม่โดมเกมส์) หลังจากว่างเว้นมานานถึง ๑๐ ปี นอกจากนี้ยังเป็น

“แชมป์ฟุตบอล” (กีฬายอดนิยม) ในแม่โดมเกมส์และชนะเลิศ

การแข่งขัน “ฟุตบอลอุดมศึกษา” อีกด้วย ซึ ่งพิสูจน์ว ่าจุฬาฯ

สามารถเป็น “เสาหลักของแผ่นดินด้านกีฬาฯ” ได้อีกด้วย

• จุฬาฯ เข้าร ่วมแก้ “ปัญหาสำคัญของประเทศ”

หลายประการ เช่น

§ • เสนอหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพเพื่อเพิ่มศักยภาพของ

ผู้ว่างงาน ๙๗ หลักสูตร รองรับผู้อบรมกว่า ๒ แสนคน

§ • โครงการ “จุฬาฯ – สระบุรี” เพื่อต่อยอดงานวิจัย

สู่ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม โดยจะสร้าง

โรงงานต้นแบบ ๑๕ โรง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกว่า ๖๐

ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีต้นแบบ ๑๕ รายการ และ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน ๔๕ เรื่อง

• เป็น “เสาหลักด้านการศึกษา” โดยช่วยกระทรวง

ศึกษาธิการในการพัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษาและครู

ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ (รวมทั้ง ๓

จังหวัดชายแดนภาคใต้) กว่า ๔ แสนคน เพื่อยกระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งประเทศ รวมทั้งการช่วยพัฒนา

ระบบ “Teacher TV”

• ร ิเร ิ ่มการจัดการเร ียนการสอน “ด้านเกษตร” ในปี

๒๕๕๓ ภายใต้หลักสูตร “การบริหารจัดการทรัพยากรทางการ

เกษตร” (ทำให้จุฬาฯ กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบที่สุด) เพื่อ

สร้างผู้ประกอบการเกษตรใหม่ที่ยังไม่เคยมีในสังคมไทย ที่สามารถ

มองห่วงโซ่คุณค่าอาหารและพลังงานอย่างครบวงจร บัณฑิตจุฬาฯ

กลุ่มนี้จะถูกส่งต่อสู่สังคมรากหญ้า เพื่อให้เป็นผู้จัดการชุมชนด้าน

อาหารและเกษตร ซึ่งเป็นของขวัญที่ชาวจุฬาฯ จะมอบให้แผ่นดิน

(เมื่อจุฬาฯ ครบ ๑๐๐ ปี)

• เราได้รับการคัดเลือกเป็น “มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ”

โดยเน้นการวิจ ัยที ่ช ่วยตอบโจทย์ให้กับสังคมและประเทศใน

7 clusters (Foods & Water, Energy, Climate Change, Emerging

Health Risks, Aging Society, Advanced Materials & Human Security)

อธิการบดี ถึง “น้องพี่สีชมพู”

� น้ำใจน้องพี่สีชมพู เมษายน ๒๕๕๓

Page 3: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

เรียน นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานฯ ได้รับจดหมายจากนิสิตเก่าจุฬาฯ เรื่องการจัด

ส่งวารสาร “น้ำใจน้องพี่สีชมพู” ว่า คำนำหน้าชื่อนิสิตเก่ายังไม่ถูกต้อง

ไม่มีชั ้นยศของทหารหรือตำรวจรวมทั ้งผู ้มีบรรดาศักดิ ์ ไม่ถูกต้อง

และเห็นว่าควรมีการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องสมบูรณ์ สำนักงานฯ

ใคร่ขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอเรียนให้ทราบว่า

สำนักงานฯได้ร ับรายชื ่อและที ่อยู ่เหล่านี ้มาจากสมาคมนิสิตเก่า

บางคณะ และจากสำนักทะเบียน ซึ่งบางส่วนเป็นข้อมูลเก่าเมื่อนิสิต

จบการศึกษา ข้อมูลเหล่านี ้นิสิตเก่าแต่ละท่านเป็นผู ้บันทึกไว้เอง

โดยไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ทันกับตำแหน่งปัจจุบัน ดังนั้น

เพื ่อให้เกิดความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล สำนักงานนิสิตเก่า

สัมพันธ์ฯ ใคร่ขอความกรุณาจากนิสิตเก่าทุกท่านแจ้งข้อมูลส่วนตัว

ที่ถูกต้องของท่านมายังสำนักงานฯ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องในการจัดส่ง

คราวต่อไป โดยสามารถแจ้งข้อมูลมาที่สำนักงานนิสิตเก่าสัมพันธ์

โดย Fax ข้อมูลที่ต้องการแก้ไขมาที่หมายเลข ๐๒-๒๑๘-๓๓๕๙-๖๐

หรือส่ง E-mail มาที่ [email protected]

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบคุณในความร่วมมือ

ของนิสิตเก่าทุกท่าน

สำนักงานนิสิตเก่าสัมพันธ์

บทบรรณาธิการ

• ส่วนงานในจุฬาฯ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

หลายแห่ง เช่น

• “ศศินทร”์ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศ

ไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก “Association

on Advance Collegiate Schools of Business”

(AACSB) ซึ ่งเป็นหน่วยงานที ่ร ับรองมาตรฐาน

สถาบันการศึกษาบริหารธุรกิจระดับโลก

• วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ได้รับการคัดเลือก

เป็น World Health Organization Collaborating

Centre for Research & Training in Public

Health Development

• “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” ได้รับการรับรองให้เป็น

ศูนย์กลางพัฒนาระบบ IMT-GI Integrated ICT Halal

Superhighway และ IMT-GI Halal Forensic Laboratory

Training

• คณาจารย์ บุคลากรและนิสิต ได้รับรางวัลและได้รับการ

ยอมรับในระดับนานาชาติและระดับชาติกว่า ๑,๐๐๐ รายการ

• ได้คะแนนประเมินสูงสุด จากการประเมินโดยสำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

• ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จาก ก.พ.ร.

• ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

• โครงการ “CU Gateway สู่สังคมไทย” เพื่อเผยแพร่

ความรู้สู่สาธารณะ ผ่านทาง e-mail และ e-books

• การเผยแพร่ความรู้สู่สังคมผ่านสื่อต่างๆ ผ่านเวทีจุฬาฯ

เพื่อประชาคม การเสวนา และการประชุมวิชาการต่างๆ

• ตลาดสามย่าน จุฬาฯ กวาด ๔ รางวัล (Healthy Market,

Food Safety, Clean Food Good Taste & ส้วมสะอาด)

• การจัดสรรทุนให้กับนิสิตในรูปแบบต่างๆ ประมาณ

๘,๐๒๐ ทุน วงเงิน ๒๐๓ ล้านบาท

ความสำเร็จทั ้งหลายทั ้งปวง เป็นเพราะ “ศิษย์เก่า” ที ่

กระจายเป็น “เสาหลัก” ในสถานที่ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ผสานพลัง

แห่งความรักและศรัทธา เพื่อ “ทดแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา”

จนทำให้ “จุฬาฯของเรา” มีวันอันยิ่งใหญ่แห่งความภาคภูมิใจ

เฉกเช่นวันนี ้...... วันที่เราสามารถปัก “ธงสีชมพ”ู ให้งามสง่าไปทั่วหล้า

ช่วยกันปลูก “จามจุรี” ให้ความร่มเย็นไปทั่วทั้งแผ่นดิน

ขอขอบคุณ !!!

(ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล)

อธิการบดี

�น้ำใจน้องพี่สีชมพูเมษายน ๒๕๕๓

Page 4: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จฯ ทรงร่วมงานวันครบรอบ ๙๓ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงบาตร

พิธีถวายชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ

เวลา ๐๙.๑๕ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยัง

ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและ

ผู้แทนบุคลากร ฝ่ายต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราช

สมภพ ในโอกาสนี้ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัย ทูลเกล้าฯ ถวายของ

ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒ เมษายนที่จะถึงนี้ ซึ ่งในปีนี ้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือตำราภาษาอังกฤษที่มีเนื ้อหาเกี่ยวข้าว

ของสำนักพิมพ์ IRRI จำนวน ๔๗ เล่ม พร้อมด้วยหนังสือชุด

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลำดับที่ ๑ เรื่อง “พอเพียง โลกเย็น”

และซีดีซอฟต์แวร์ คำนวณการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซีดีเพลง

ที่ชนะการประกวดแต่งเพลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน

๑๐ เพลง และซีดีรวมเพลงที่ส่งเข้าประกวด จำนวน ๑๐๙

เพลง

วันศุกร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๗.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงร่วมงานวันครบรอบ ๙๓ ปีแห่งการสถาปนา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ได้ทรงวางพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนถวายเครื่อง

ราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จากนั้น

เสด็จฯ ทรงบาตรบริเวณหน้าหอประชุมจุฬาฯ ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์

บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน

การแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ ์เวลา ๑๐.๐๐ น. เสด็จฯไปยังหอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทอดพระเนตร

การแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ ์ ประกอบด้วย การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์

ตระบองกันของวงบ้านปลายเนิน การขับร้องและบรรเลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ร่วมกับการ

แสดงละครภาพนิ ่ง จากบทคอนเสิร์ตเรื ่องรามเกียรติ ์ ตอนอินทรชิตแผลงศรนาคบาศ

พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ การขับร้อง

และบรรเลงดนตรีไทยของวงสายใยจามจุร ี ร่วมกับวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ ชุด

“ตับนางซิน ตอนเข้าครัว” บทเพลงพระราชนิพนธ์ และระบำพระราชทาน ในสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ทรงระนาดร่วมกับวงปลายเนินและวงสายใยจามจุรีด้วย

� น้ำใจน้องพี่สีชมพู เมษายน ๒๕๕๓

Page 5: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

งาน “คืนเหย้าชาวจุฬาฯ รวมใจถวายพระพรองค์ราชัน” เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและ

สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงเป็นประธานงาน “คืนเหย้าชาว

จุฬาฯ รวมใจถวายพระพรองค์ราชัน” ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ ๙๓ ปี

แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรม

ราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางนิสิตเก่าชาวจุฬาฯที่มาร่วมงานเป็น

จำนวนมาก

เมื่อเสด็จฯมาถึงบริเวณงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงร่วม

กิจกรรม ณ ซุ ้มลงทะเบียน ซุ ้มสีชมพูเทิดจงรักทูลภักดิ ์ โดยทรงเขียนคำถวายพระพร

“ทรงพระเจริญ” บนกระดาษรูปใบไม้แล้วทรงนำไปติดที ่ต้นโพธิ ์ จากนั ้นทรงลงพระนาม

“สิรินธร” ที่ซุ้มไปรษณีย์ไทย ทรงฉายพระรูปเพื่อทำเป็นแสตมป์ และทรงฉายพระรูปย้อนวันวาน

เมื่อครั้งทรงเป็นนิสิตจุฬาฯ

ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ขึ้นบนเวที พระราชทาน

พระราโชวาท จากนั้นทรงขับร้องเพลง “จามจุรีประดับใจ” “CU POKA” “เกียรติภูมิจุฬาฯ” ฯลฯ

คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ นายกสมาคมและประธานชมรม

นิสิตเก่าทุกคณะ ทุกจังหวัด ร่วมกันขับร้องเพลง “สุขสันต์วันเกิด” จบแล้วนายกสมาคมนิสิตเก่า

จุฬาฯ ทูลเกล้าฯถวายของทูลพระขวัญเนื ่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ เป็น “กระเช้า

ดอกกล้วยไม้สีม่วง” ก่อนจะปิดท้ายด้วยการร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” ร่วมกัน

สร้างความประทับใจแก่นิสิตเก่าทุกคนในงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ ปีนี้

พิธีเจิมแผ่นศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กีฬาจุฬาฯ และอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

เวลา ๑๓.๐๐ น. เสด็จฯไปยังห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นประธาน

ในพิธีเจิมแผ่นอิฐทอง นาก เงิน และแผ่นศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กีฬาจุฬาลงกรณ์ และ

อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

อาคารศูนย์กีฬาจุฬาลงกรณ ์ เป็นอาคารสูง ๔ ชั ้น ประกอบด้วย สนาม

แบดมินตัน ๖ สนาม สระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส ห้องยิมนาสติก มวย ยูโด คาราเต้ ฟันดาบ

แอโรบิก สนามวอลเลย์บอล และสนามบาสเกตบอลพร้อมอัฒจันทร์ การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

ในปลายปี ๒๕๕๓

ส่วนอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ เป็นอาคารที่ทำการรวมของคณะ

พยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้เป็น

ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนาม

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวิชาชีพพยาบาลและ

การสาธารณสุขทุกสาขา เป็นชื่ออาคาร

พิธีเปิดอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร ์เวลา ๑๓.๑๕ น. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์

จากนั้นได้ทรงปลูกต้นมหาพรหม และต้นสรัสวดี จำนวน ๒ ต้น ทรงลงพระนามาภิไธย

บนพระฉายาลักษณ์และแผ่นศิลา และเสด็จฯทอดพระเนตรที่ทำการแห่งใหม่ของศูนย์ภาษาไทย

สิรินธรและสถาบันขงจื่อ ณ ชั้น ๘ อาคารมหาจักรีสิรินธร และทอดพระเนตรนิทรรศการ

ในโอกาสนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเข็ม

พระนามาภิไธยย่อแก่ผู้มีอุปการคุณบริจาคเงินสมทบการก่อสร้าง การตกแต่งภายใน และวัสดุ

อุปกรณ์การเรียนการสอนในอาคารด้วย

อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร ์ เป็นอาคารเรียนสูง ๙ ชั้น โดยได้รับ

พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน

พระราชานุญาตให้ใช้ชื ่ออาคารว่า “มหาจักรีสิรินธร” และเสด็จฯมาติดตามตรวจสอบ

พระราชทานพระราชดำริอันเป็นประโยชน์ในการก่อสร้างและการเรียนการสอน อาคารแห่งนี้

พร้อมจะเปิดใช้ได้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๓

�น้ำใจน้องพี่สีชมพูเมษายน ๒๕๕๓

Page 6: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

vมหาว ิทยาล ัยจ ัดการประชุมวิชาการระดับชาติ

ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง “พอเพียง โลกเย็น” เมื่อ

วันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ ห้อง ๒๑๒ อาคารมหิตลาธิเบศร

เพื่อสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง ในงานมีการบรรยายเรื่อง “นโยบายของจุฬาฯ ในการ

ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล

อธิการบดี “บทบาทของมหาวิทยาลัยในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัย นอกจากนี ้ยังมี

การบรรยายในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจโดยคณาจารย์จุฬาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ

หลายท่าน

vเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ ห้อง ๒๑๒

อาคารมหิตลาธิเบศร ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบด ี เป็น

ประธานในพิธีประกาศเกียรติคุณศาสตราภิชาน รางวัลศาสตราจารย์

พิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอน

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านกิจการนิสิต รางวัลการวิจัย

และรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี ๒๕๕๒ โดยมีบุคลากรชาวจุฬาฯ จำนวน

มากร่วมแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา ที่ได้รับรางวัล

อันน่าภาคภูมิใจในครั้งนี้

vมหาวิทยาลัยจัดสัปดาห์พัฒนาความสะอาด “จุฬาฯ

สวยด้วยชาวจุฬาฯ” เมื่อวันที่ ๘ – ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยได้รับความ

ร่วมมือจากบุคลากรชาวจุฬาฯ ร่วมทำความสะอาดพื้นที่ คณะ สถาบันและ

หน่วยงาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่

vวันพุธที ่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ ชั ้น ๑๒ ตึก สก.

รพ.จุฬาลงกรณ์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยมอบเงินและสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่

แผนกคนไข้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง รพ.จุฬาลงกรณ์ และร่วมกิจกรรม

เสริมความรู้แก่เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง และถวายปัจจัย สิ่งของ

เครื่องสังฆทาน และเครื่องอุปโภคบริโภคแด่พระภิกษุอาพาธ

ณ ตึกวชิรญาณวงศ์ รพ.จุฬาลงกรณ์

v วันพฤหัสบดีที ่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ศ.นพ.ภิรมย์

กมลรัตนกุล อธิการบดี เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระบรมราชา

นุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จากนั้น

ได้เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

และแก่บูรพคณาจารย์ ตลอดจนผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยที่

ล่วงลับไปแล้ว ณ ห้อง ๑๑๑ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

กิจกรรมต่างๆ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๙๓ ปี สถาปนาจุฬาฯ

� น้ำใจน้องพี่สีชมพู เมษายน ๒๕๕๓

Page 7: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

บทสัมภาษณ์

“การเป็นน้องใหม่หรือเฟรชชี่ มีกิจกรรมมากมาย ทุกวัน

ตอนเที่ยงกินข้าวเสร็จก็ต้องเข้าหอประชุมเชียร์ สิ่งที่ประทับใจคือ รุ่นพี่เอารถ

มารับไปเชียร์การแข่งขันฟุตบอลจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ที่โคราช โดยมีพี่ๆ

ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และสิ่งที่ประทับใจที่สุด คือ “ในหลวง”

เสด็จฯทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ ทุกวันที่ ๒๐ กันยายน ตั้งแต่ ๕ โมง

เย็นถึง ๒ ทุ่ม บางปีก็เลยไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งยังทรงมีมุกสนุก

ตลอด” นายแพทย์ยงยุทธ ปัจจักขภัติ ประธานนิสิตเก่าจุฬาฯ

ภาคใต้ แพทย์จุฬาฯ รุ่น ๒๓ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะสมุย

จ.สุราษฎร์ธานี ระลึกถึงสมัยยังเป็นนิสิตใหม่ของจุฬาฯ

คุณหมอกล่าวต่อว่า การใช้ชีวิตในรั้วจามจุรีรับรองได้ว่าไม่มี

ใครเรียนทนกว่าผม คณะวิทยาศาสตร์สมัยนั้นหลักสูตร ๕ ปี พอปีที่ ๓

ได้รับวุฒิอนุปริญญา จากนั้นจึงแยกไปเรียนตามแผนกต่างๆ สมัยนั้น

มีหน่วยงานนอกรั ้วมหาวิทยาลัยรองรับ คือ แผนกเคมีปฏิบัต ิท ี ่

กระทรวงอุตสาหกรรม หน้า รพ.รามาธิบดีปัจจุบัน อีกแห่งคือ แผนก

กายภาพบำบัดที ่ รพ.ศิริราช ซึ ่งหลังรับอนุปริญญาอยากเป็นหมอ

เพราะจำได้สมัยเรียนเคมีปี ๑ กับอาจารย์ทองสุข พงศ์ทัต เวลาท่าน

บรรยายไปกลัวนิสิตหลับ ท่านก็ปล่อยมุกตลกออกมา ที่ปล่อยบ่อยคือ

พวกเธอเรียนๆ ไปเถอะ รีพีท รีไทร์ รีแอ๊กแซม อีก ๑๗ ปีก็เป็นหมอแล้ว

จากนั ้นจึงตัดสินใจข้ามถนนไปเรียนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ต่อ

สมัยนั้นพอเรียนผ่านคณะแพทย์ปีที่ ๒ ก็ได้ปริญญาวิทยาศาสตร์การแพทย์

พอจบแพทย์ก ็ได ้แพทยศาสตรบัณฑิต มันก็ค ุ ้มก ับการเร ียนทน

นายแพทย์ยงยุทธ ปัจจักขภัต ิ

ประธานนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคใต้

รับพระราชทานปริญญาบัตรจากในหลวง ๓ ครั้ง มีสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถทรงประทับร่วมครั้งแรก เสียดายที่ไม่ทันรุ่นคุกเข่า

เข้ารับปริญญาจากในหลวง

แม้จะจบการศึกษามานานแล้ว แต่ความรู ้ส ึกในใจของ

คุณหมอยงยุทธที ่ยังมีเสมอมาคือ อยากให้นิสิตเก่าจุฬาฯ ทุกคน

“ทดแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา” คุณหมอมองไปที่ศูนย์กีฬา

แห่งจุฬาฯ ที่กำลังสร้าง และอยากให้นิสิตเก่าทุกคนให้การสนับสนุน

กำลังทรัพย์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ อยากให้รุ่นพี่

เป็นตัวอย่างแก่รุ่นน้องในทุกๆ เรื่อง เพื่อจรรโลงสถาบันของเราให้อยู่ยั้ง

ยืนยง คงความเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาไทยเช่นนี้ตลอดไป และมี

ความมั่นใจในตัวอธิการบดีคนปัจจุบันคือ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล

ซึ่งเรียนแพทย์จุฬาฯ รุ่น ๒๓ มาด้วยกัน คุณหมอภิรมย์เป็นผู้มีความคิด

กว้างไกล และใจกว้าง เหมาะแก่การบริหารงานองค์กรระดับใหญ่ และ

สามารถเข้ากับบุคคลได้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน

เสมอ สำหรับกิจกรรมการรวมตัวของนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคใต้ ยังนับว่า

น้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ เท่าที่ดำเนินการขณะนี้ คือการออกหนังสือ

ราตรีสีชมพู และเอกสารการก่อตั้งสมาคมส่งไปยังสมาชิก เพื่อเรียก

ระดมพลยามคณะจุฬาฯ สัญจร ซึ่งได้แก่คณะผู้บริหาร ตัวแทนนิสิตเก่า

นิสิตปัจจุบันมาเยี่ยมเยือน “อยากให้พี่น้องชาวจุฬาฯ ภาคใต้ผนึกกำลัง

กันให้เหนียวแน่นสมกับเป็นนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียง

ของประเทศ” นพ.ยงยุทธ กล่าวทิ้งท้าย

“อยากให้พี่น้องชาวจุฬาฯ ภาคใต้ ผนึกกำลังกันให้เหนียวแน่นสมกับเป็นนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงของประเทศ”

�น้ำใจน้องพี่สีชมพูเมษายน ๒๕๕๓

Page 8: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

เกียรติภูมิจุฬา

สำนักงานจัดการทรัพย์ส ิน จุฬาฯ เล็งเห ็นความสำคัญของ

ประชาชนในชุมชนต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับโครงการบ้านนี้มีสุข

จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม

สุขภาพ (สสส.) จัดโครงการ “ชุมชนแข็งแรง ชุมชน ๕ ส” (สยามสแควร์

สามย่าน สวนหลวง สีลม และสวนลุมพินี) เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี

มีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาชุมชนไปด้วยพร้อมกัน

โครงการ “ชุมชนแข็งแรง ชุมชน ๕ ส” จะนำร่องด้วย ๒

โครงการ ประกอบด้วย โครงการ “สยามสแควร์ อาหารปลอดภัย รสชาติดี

มีความสุข” (Safe Food Good Taste Feel Happy @ Siam Square) ซึ่งเป็นความ

ร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

ร่วมกับสำนักงาน เขตปทุมวัน และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ทำการ

ตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการบริเวณสยามสแควร์ จำนวน ๑๕๐ แห่ง

ระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่มีนาคม – ตุลาคม ๒๕๕๓

โครงการต่อมาคือ “โครงการพัฒนาเครือข่าย สร้างเสริม

สุขภาพช่องปาก” (Developing CU-Oral Health Promotion Network) โดยภาควิชา

ทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะส่งนิสิตชั้นปีที่ ๕ ไปฝึก

ปฏิบัติงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด

กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึง

การเสริมสร้างสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื ่องและยั ่งยืน ระยะเวลาดำเนิน

โครงการตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ – กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องแปซิฟิค บอลรูม

โรงแรมแพน แปซิฟิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัทลอรีอัล

ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าว “จากขั้วโลกใต้ สู่ไทย” เผยประสบการณ์

การเดินทางสำรวจโดย ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์สตรีไทย

คนแรก จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับ

คัดเลือกจากสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น (NIPR: National Institute

of Polar Research Japan) ให้ร่วมเดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติกกับคณะ

สำรวจทวีปแอนตาร์กติกญี่ปุ่น คณะที่ ๕๑ (JARE-51: Japanese Antarctic

Research Expedition) ณ สถานีวิจัยโชว์วะของประเทศญี่ปุ ่น ตั ้งแต่เดือน

พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์สตรีไทยคนแรกที่ได้

เดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติก เปิดเผยว่า “รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากที่

ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตร่วมกับคณะทีมสำรวจระดับ

นานาชาติในครั้งนี้ การเดินทางไปในทวีปแอนตาร์กติกในครั้งนี้ต้องเดินทางด้วย

เรือตัดน้ำแข็ง AGB Shirase II เพื่อเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ ณ สถานีวิจัยโชว์วะ

โดยเฉพาะการสำรวจครั้งที่ ๕๑ นี้ นับเป็นการปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากลำบาก

มากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างมาก

จากพายุหิมะ หลายครั้งพัดผ่านตั้งแต่ช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงช่วง

ฤดูร้อน ที่คณะสำรวจฯ ได้เดินทางเข้ามาถึง ส่งผลให้การปฏิบัติงานหลายอย่าง

ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานทั้งหมดที่กำหนด

ซึ่งพายุหิมะที่เกิดขึ้นในระดับที่รุนแรงที่สุดของช่วงฤดูร้อนของปีนี้ มีความเร็วลม

สูงกว่า ๓๕ เมตรต่อวินาที ทัศนวิสัยต่ำกว่า ๕๐ เมตร ซึ่งนับว่ารุนแรงกว่าช่วง

ฤดูร้อนปกติเป็นอย่างมาก

การสำรวจอุกกาบาตเป็นอีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ซึ ่งประเทศญี่ปุ ่นได้ชื ่อว่าเป็นประเทศแนวหน้าที ่มีการสำรวจและค้นพบหิน

อุกกาบาตบนทวีปแอนตาร์กติกเป็นจำนวนสูงสุดของโลก และในปีนี้ได้สำรวจ

พบอุกกาบาตจำนวนทั้งสิ้น ๖๓๕ ชิ้น ซึ่งชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักประมาณ

๕ กิโลกรัม อุกกาบาตเป็นชิ ้นส่วนของหินแร่จากอวกาศที ่ตกลงสู ่พื ้นโลก

อุกกาบาตเหล่านี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทราบถึงการกำเนิดและความเป็นมา

ของระบบสุริยะ รวมถึงโลกของเราต่อไป

“ประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้จากการเดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติก

ในครั ้งนี ้ อยากจะนำมาถ่ายทอดให้คนไทยรวมทั ้งนักวิทยาศาสตร์ไทย

ได้เข้าใจถึงธรรมชาติและความสำคัญของทวีปแอนตาร์กติกที่มีต่อโลกและ

มนุษยชาติ นอกจากนี้ตัวอย่างหรือสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไป

วิเคราะห์เพื ่อศึกษาผลกระทบของการเปลี ่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่อไป” ผศ.ดร.สุชนา กล่าวสรุปท้าย

“จากขั้วโลกใต้ สู่ไทย” ประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่จากการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกของนักวิทยาศาสตร์สตรีไทยคนแรก

“ชุมชนแข็งแรง ชุมชน ๕ ส” โครงการตอบแทนสังคมของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ

� น้ำใจน้องพี่สีชมพู เมษายน ๒๕๕๓

Page 9: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

เกียรติภูมิจุฬา

เมื่อวันพฤหัสบดีที ่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุม ๒๐๒

อาคารจามจุรี ๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล

อธิการบด ี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดแต่งเพลง “ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม “โครงการขับเคลื่อนปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง” เนื ่องในโอกาสวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครบรอบ ๙๓ ปี ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ เพื่อนำผลงานที่ได้รับรางวัลมาจัดทำเป็น

ซีดีเพลงชุด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เผยแพร่สู ่ประชาคมจุฬาฯ และ

สาธารณชน ตลอดจนใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ ต่อไป โดยมี ศ.ดร. วีรชาติ

เปรมานนท์ ผู้แทนคณะกรรมการตัดสินการประกวดฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน

จากนั้นอธิการบดีได้กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ที่ได้รับรางวัล รวมทั้งได้มอบของ

ที ่ระลึกแก่ ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์ และ อ.ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติขจร

คณะกรรมการตัดสิน ซึ่งมาร่วมเป็นเกียรติในงาน

สำหรับผลงานที ่ได ้ร ับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ เง ินรางว ัล

๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ เพลง “ชีวิตพอเพียง” โดย นาย

ธานินทร์ เคนโพธิ์ นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑

เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ เพลง “แค่เพียงพอก็

พอเพียง” โดย น.ส.สายทิพย์ วิวัฒนปฐพี นิสิตชั้นปีที่ ๔ คณะนิเทศศาสตร์

จุฬาฯ น.ส.บุญญวาสน์ ธนะสมบูรณ ์นิสิตชั้นปีที่ ๔ คณะพาณิชยศาสตร์และ

การบัญชี จุฬาฯ นายฌานดนู ไล้ทอง นิสิตชั้นปีที่ ๒ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

ได้แก่ เพลง “เส้นทางพอเพียง” โดย นางดวงแข ยอดแสง ครูโรงเรียนบ้าน

ต้นมะพร้าวมิตรภาพ

ที่ ๙๑ จ.สุราษฎร์ธานี

นอกจากนี้ยังมีรางวัล

ชมเชย เง ินรางว ัล

๕,๐๐๐ บาท พร้อม

เกียรติบัตร จำนวน ๗

รางวัล ได้แก่ เพลง

“ ร่ ม โพธิ์ ทอ งของ

แผ่นดิน” โดย นาย

สมัย แก้วบุดดา เพลง

“ป รั ชญา เศ รษฐกิ จ

พอเพียง” โดย นาย

มิน เนาวคุณ เพลง

“เพียงพอดี” โดย นาย

บุรวิชช์ ชนาธิปัตย ์

เพลง “พอเพียง” โดย

น.ส.จิตตินันท์ กลิ่นน้ำหอม เพลง “ตอบแทนพ่อด้วยพอเพียง” โดย

นายอัชฌา ปุญญประยูร น.ส.ฉัตรหทัย มีประดิษฐ ์ เพลง “พอ” โดย

นายอัครพล เดชวัชรนนท์ และเพลง “อยู่ที่ความพอเพียง” โดย

นายสร้างสรรค์ พันสะอาด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา

มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓๘ “จามจุรีเกมส์” ภายใต้แนวคิด

“ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือน้ำใจนักกีฬา” ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๒ มกราคม

๒๕๕๔ ในการนี้มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์

ตัวนำโชค (Mascot) และบทเพลงประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฯ

ครั้งนี้ ซึ่งผลการประกวดมีดังนี้

ตราสัญลักษณ์ “จามจุรีเกมส์” ผลงานการออกแบบโดยนายปิติ

ประวิชไพบูลย์ นิสิตชั้นปีที่ ๓ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะ

สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการนำดอกจามจุรีซึ ่งมีความสวยงาม

แตกต่างจากดอกไม้ทั่วไปนำมาเรียงตัวเป็นเลข ๓ และ ๘ ต่อกัน โดยปรับ

รูปทรงให้ดูคล้ายกับพระเกี้ยว ส่วนรูปแบบตัวอักษร “จามจุรีเกมส์” มีการใช้

ลักษณะตัวอักษรที่เรียบง่ายแต่คงไว้ซึ่งความหนักแน่นของการแข่งขันกีฬา

ตัวนำโชค (Mascot) เป็น “กระรอก” ๒ ตัว ชื ่อ “น้ำใจ”

“ไมตรี” ผลงานการออกแบบของนายณัฐกรณ์ ไทยรัตนสุวรรณ นิสิตชั้นปีที่

๕ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

เนื่องจากกระรอกเป็นสัตว์ที่พบมากในจุฬาฯ จึงสื่อถึงความเป็นจุฬาฯได้อย่าง

ชัดเจน นอกจากนี้กระรอกยังเป็นสัตว์ที่มีความว่องไว ซึ่งสอดคล้องเป็นอย่างดี

กับการแข่งขันกีฬา ในส่วนของสีสันที่ใช้เป็นสีชมพูและสีขาว โดยหางกระรอก

มีลวดลายเป็นใบจามจุรี

บทเพลง “ชัยชนะ

ที่ยิ่งใหญ่คือน้ำใจนักกีฬา”

บทเพลงประจำการแข่งข ันกีฬา

มหาวิทยาลัยฯ “จามจุร ีเกมส์”

ผลงานของนายธานินทร์ เคนโพธิ์

นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

ภาควิชาดนตรีศึกษา ปัจจุบันเป็น

ครูสอนดนตร ีและการร ้องเพลง

รวมท ั ้ ง เป ็นน ักแต ่งเพลงอ ิสระ

เนื ้อหาของบทเพลงเกี ่ยวข้องกับ

การแข่งขันกีฬาซึ่งมีทั้งแพ้และชนะ

สิ่งที ่สำคัญที่สุดของจามจุรีเกมส์

คือ การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ถ้าชนะ

ก ็ชนะอย ่างใสสะอาด ในขณะ

เดียวกันหากพ่ายแพ้ก็เป็นการแพ้

อย่างยิ่งใหญ่ เหรียญรางวัลไม่ใช่

เป้าหมายหลักของการแข่งขัน แต่

เป็นการเชื ่อมความสัมพันธ์ของ

นักกีฬาจากทุกสถาบันการศึกษา

พิธีมอบรางวัลประกวดแต่งเพลง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ตราสัญลักษณ์ ตัวนำโชค และบทเพลงประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ ๓๘ “จามจุรีเกมส์”

�น้ำใจน้องพี่สีชมพูเมษายน ๒๕๕๓

Page 10: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

10 น้ำใจน้องพี่สีชมพู เมษายน ๒๕๕๓

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานน้ำสงกรานต์ แก่พระอาจารย์อาวุโสชมรม

บาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร ์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๕๘ น.

ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปพระราชทานน้ำสงกรานต์แก่

ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ผศ.ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ และ แม่ชีวิมุตติยา

(รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) พระอาจารย์อาวุโสที่เคยถวาย

พระอักษรภาษาบาลีและสันสกฤตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ในงานสงกรานต์ชมรมบาลี-สันสกฤต ประจำปี ๒๕๕๓ โดยมี

ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

คณบดีคณะอักษรศาสตร ์เฝ้ารับเสด็จ

ในโอกาสนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชทานพระราชวโรกาสให้อาจารย์และผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์

จุฬาฯ ถวายน้ำสงกรานต์ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศ.วิสุทธ์

บุษยกุล ประธานชมรมบาลี-สันสกฤต กราบบังคมทูลโครงการ

การดำเนินงานของชมรมฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ

ทรงเยี่ยมร้านกาชาดจุฬาฯ

เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ บริเวณสวนอัมพร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ

อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จฯทรงเปิดงานกาชาด

ประจำปี ๒๕๕๓ และเสด็จฯเยี่ยมร้านกาชาดจุฬาฯ ด้วย

งานกาชาดปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม – ๗ เมษายน

๒๕๕๓ ภายใต้คำขวัญ “รวมใจถวายราชสดุดี ถวายพระพรพระภูมี

ทรงพระเจริญ” เพื่อสดุดีในพระเกียรติคุณและพระราชกรณียกิจใน

ด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที ่ได้พระราชทาน

แก่ปวงชนชาวไทย

ร้านกาชาดจุฬาฯ ตั้งอยู่ใกล้พระบรมรูปทรงม้า ได้รับความ

สนใจจากชาวจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปจำนวนมากที่มาแวะชมและ

ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งวัน ร่วมอุดหนุนสลากกาชาดจุฬาฯ รายได้

บำรุงสภากาชาดไทย รวมทั ้งร ับประทานอาหารอร่อย ท่ามกลาง

บรรยากาศที่ประทับใจในเสียงเพลงไพเราะจากวงดนตรีซียู แบนด์

ข่าวสังคมจามจุรีสีชมพู

Page 11: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

11น้ำใจน้องพี่สีชมพูเมษายน ๒๕๕๓

ผลการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์

ครั้งที่ ๖๖

การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่

๖๖ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพได้จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๖

มกราคม ๒๕๕๓ ณ สนามศุภชลาศัย ภายใต้แนวคิด “รับอย่างใส่ใจ

ให้อย่างสร้างสรรค์ อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล” รายได้จากการจัดงานนำขึ้น

ทูลเกล้าฯถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย โดยมี

นายพลากร สุวรรณรัตน์ ฯพณฯ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็น

ประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน

ผลการแข ่งข ันฟ ุตบอลประเพณีในป ีน ี ้ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสมอกัน ๐ ต่อ ๐ ได้

ครองถ้วยพระราชทานร่วมกัน สถิติการแข่งขันนี้ จุฬาฯ ชนะ ๑๓ ครั้ง

ธรรมศาสตร์ ชนะ ๒๒ ครั้ง เสมอกัน ๓๑ ครั้ง

“จากขยะสู่น้ำมัน : เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทางเลือก

ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม”

ปัญหาขยะล้นเมือง

และวิกฤตการณ์ด้านพลังงานเป็น

๒ ปัญหาใหญ่ด้านสิ ่งแวดล้อมที ่

นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะเพิ่มขึ ้น

ประมาณ ๑๔ ล้านตันต่อวัน และมี

ขยะที ่ไม่สามารถย่อยสลายด้วย

จุลินทรีย์ตามธรรมชาติได้ปะปนอยู่

ด้วย เช่น ยางรถยนต์หมดสภาพที่

ถูกทิ้งถึง ๕๐ ล้านเส้นต่อปี ส่วนใหญ่

จะถูกเผาทิ้งหรือฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิด

มลภาวะต ่อส ิ ่งแวดล ้อม ฯลฯ

ส่วนทรัพยากรด้านพลังงาน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ ก็มีจำนวนลดน้อยลง

เรื่อยๆ ทำให้พลังงานมีราคาแพงขึ้น ขณะนี้จึงมีความพยายามจากนักวิชาการ

หลากหลายสาขาวิชาในการพัฒนาองค์ความรู ้ด้านการจัดการขยะและ

การแสวงหาพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง

รศ.ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคม ี

จุฬาฯ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “จากขยะสู่น้ำมัน : เทคโนโลยีการผลิต

พลังงานทางเลือกที่ดูแลสิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้รับรางวัล TTF Award

ประจำปี ๒๕๕๒ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

เปิดเผยว่า จากวิกฤติการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒ - ๓ ปีก่อน ซึ่งราคา

น้ำมันดิบพุ่งสูงถึง ๑๔๐ เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้สังคมไทยหันมาให้

ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดความคิดในการ

เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อรวบรวมคำถามที่ประชาชนสนใจ พร้อมสอดแทรก

ความรู้ทางวิชาการเข้าไปด้วย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ประชาชนทั่วไป

และผู ้ประกอบการที ่สนใจจะทำเทคโนโลยีนี ้ไปผลิตจริงในเชิงพาณิชย์

ในการเขียนหนังสือเล่มนี้พยายามใช้คำพูดและภาษาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย

รวมทั้งแปลศัพท์เทคนิคต่างๆ ให้เป็นคำที่คนทั่วไปเข้าใจได้ ผลงานชิ้นนี้

ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านค่อนข้างดีมาก

ประกวดออกแบบโปสเตอร์กีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั้งที่ ๓๘ “จามจุรีเกมส์” ขอเชิญนิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า บุคลากรจุฬาฯ และนักเรียน

โรงเร ียนสาธิตจ ุฬาฯ ส่งผลงานเข ้าร ่วมการประกวดออกแบบ

โปสเตอร์การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓๘

“จามจุรีเกมส์” ชิงเงินรางวัลรวม ๔๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

เพื่อนำผลงานที่รับรางวัลไปใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

การแข่งขันกีฬาดังกล่าว ซึ่งจุฬาฯ จะเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๒

มกราคม ๒๕๕๔ รวมทั ้งเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวจุฬาฯ

ได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฯ

ในครั้งนี้

ส่งผลงานในรูปแบบแผ่นซีดี ไฟล์ .jpg หรือ .ai พร้อม

ตัวอย่างโปสเตอร์ขนาด A4 กำหนดส่งผลงานตั ้งแต่วันที ่ ๒๒

มิถุนายน – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่สำนักงานสารนิเทศ จุฬาฯ

ชั้น ๑ อาคารจามจุรี ๒ หากส่งทางไปรษณีย์ต้องส่งลงทะเบียน และ

จะถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๔-๘ หรือ www.chula.ac.th

ข่าวสังคมจามจุรีสีชมพู

Page 12: ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๓ · ระดับประถมและมัธยมทั้งระบบทั่วประเทศ

น้ำใจน้องพี่ สู่สถาบัน

ที่ปรึกษา : ฝ่ายบริหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานที่ติดต่อ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๔-๘ โทรสาร ๐-๒๒๑๕-๔๘๐๔, ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๙ จัดทำโดย : สำนักงานสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๔-๘ สำนักงานนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๓๕๙ พิมพ์ที ่: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. ๐-๒๒๑๕-๓๖๑๒ นางศรินทิพย์ นิมิตรมงคล ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา เมษายน ๒๕๕๓

n โครงการ ๑,๐๐๐ บาท ๑ วันเกิด ชื่อบัญชี “โครงการ ๑,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ วันเกิด” ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี ๐๓๘-๔๓๖-๗๙๓-๘ n พระนิรันตรายสองกษัตริย ์รายได้ส่วนหนึ่งจากการร่วมบริจาคจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและร่วมสมทบทุนสร้างอาคาร ที่ระลึก ๑๐๐ ปี พระปิยมหาราช โทร. ๐-๒๒๑๕-๓๔๘๘, ๐-๒๒๑๘-๓๖๘๐ หรือ www.nirantarai.com n พระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร. เพื่อสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา และกองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ สามารถเช่าบูชาได้ที่ สำนักงานนิสิตเก่าสัมพันธ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี ๒ ชั้น ๑ ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. ๑๐๓๓๐ โทร.๐-๒๒๑๘-๓๓๕๙-๖๐ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๐ n โครงการรินน้ำใจ สู่จุฬาฯ เพื่อหารายได้สร้าง Sport Complex ของจุฬาฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๐๔๕-๒-๕๑๕๘๕-๕ ชื่อบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย n กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี

• โครงการทุนการศึกษา • โครงการจากใจพี่สู่น้อง • โครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชน • โครงการเงินทุนศาสตราภิชาน/Chair Professor • โครงการพัฒนาวิชาการ • โครงการจัดหาอุปกรณ์ศึกษาและวิจัย • โครงการสนับสนุนปริญญาเอก • โครงการปรับปรุงหอประชุมจุฬาฯ

ร่วมสมทบทุนได้โดยโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี ้ • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี ๐๔๕-๓-๐๔๒๐๓-๓ ชื่อบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ) • ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี ๐๒๖-๑-๑๐๓๓๓-๘ • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สาขาสภากาชาดไทย เลขที่บัญชี ๐๔๕-๒-๙๐๓๖๐-๐ สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี ๐๕๒-๑-๓๒๙๖๐-๔

• ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) • ธนาคารออมสิน สาขาสุรวงศ์ เลขที่บัญชี ๑๔๗-๔-๕๗๙๒๑-๔ สาขาสามย่าน เลขที่บัญชี ๐๐-๐๐๑๓-๒๐-๐๔๑๒๒๙-๐ • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี ๐๒๖-๒-๗๖๗๔๒-๖ สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี ๑๒๓-๑-๒๘๘๙๙-๗

นำสำเนาใบฝากเงินและสถานที่อยู่ ส่งโทรสารมาที่หมายเลข ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๐ ภายใน ๑๕ วัน เพื่อจัดทำใบเสร็จรับเงินส่งให้ทาง ปณ.

โหลดแบบฟอร์มจาก www.cuar.chula.ac.th

แจ้งการรับวารสาร

ชื่อ(นาย นาง นางสาว)................................นามสกุล.............................................

ที่อยู่ปัจจุบัน...................................................................................................................

.............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

ที่ทำงาน........................................................................................................

.............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

หมายเลขโทรศัพท์ : บ้าน.................................ที่ทำงาน......................................

โทรสาร...................................................โทรศัพท์มือถือ.............................................

E-mail : ...........................................................................................................................

ที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อ ® ที่บ้าน ® ที่ทำงาน