17
37 วิถีชุมชน (สค03045) ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งตลอดมา โดยทรง อุปถัมภ์ในทุก ๆ ด้าน คือ ด้านศาสนธรรมก็ได้ทรงอุปถัมภ์ การชำระและจารึกพระไตรปิฎก การศึกษา พระปริยัติธรรม ตลอดจนการปฏิบัติธรรม ด้านศาสนบุคคลก็ได้ทรงอุปถัมภ์คณะสงฆ์และการ สถาปนาพระราชาคณะ ด้านศาสนวัตถุก็ได้ทรงอุปถัมภ์การสร้าง และการทะนุบำรุงถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา อีกทั้งทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดในพระพุทธศาสนา อนึ่ง พระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญ ไม่ว่าจะเป็นงานพระราช พิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ล้วนแต่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักทั้งสิ้น แม้จะมีพิธี พราหมณ์ปนอยู่ พิธีพราหมณ์เหล่านั้นก็เป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าประเทศ ไทย แม้จะไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ โดยพฤตินัยและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเครื่องหมายธงชาติ ไทย ก็เป็นอันนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยมาแต่อดีต พระมหาธรรมราชาลิไท พระราชประวัติ พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยสุโขทัย ทรงเป็น พระราชโอรสของพญาเลอไท ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ.1890 โดยการปราบดาภิเษก ทรงใช้ พระนามว่า ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช แต่ประชาชนมักจะนิยมเรียกว่า พระมหาธรรมราชา ลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงประสบกับปัญหา ทางการเมือง กล่าวคือในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสของพญาเลอไท พระองค์น่าจะได้ขึ้นครองราชย์ สมบัติต่อจากพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระยางั่วนำถมได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพญาเลอไท ส่วนพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระยางั่วนำถมสวรรคต พญาลิไท (ตำแหน่งขณะนั้น) ได้ยกกำลังจากศรีสัชนาลัยเข้ายึดสุโขทัย ต่อจากนั้นพระองค์ได้ปราบปรามเมือง ต่างๆที่แตกแยกออกไปให้กลับเข้ามารวมในอาณาจักรเดียวกัน ทำให้อาณาจักรสุโขทัยได้เป็นปึกแผ่น อีกครั้งแต่เนื่องจากได้เกิดอาณาจักรใหม่ซึ่งมีอำนาจกล้าแข็งทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ.1893 คือ อาณาจักรอยุธยา และได้ขยายอำนาจขึ้นไปยังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จนทำให้ พระมหาธรรมราชาลิไทต้องย้ายไปประทับอยู่เมืองพิษณุโลกถึง 7 ปี ในช่วง พ.ศ.1906-1920 และหลังจากนั้นสุโขทัยก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรอยุธยาโดยตลอดซึ่งเป็นเหตุให้ พระมหาธรรมราชาลิไทต้องดำเนินนโยบายการทูตกับอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยรอบ ทั้งนี้เพื่อ เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย พระมหาราชาลิไทใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการทูต เนื่องจากพระองค์ทรงเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองศรีสัชนาลัยได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือ เตภูมิถาหรือไตรภูมิพระร่วงขึ้นในปี พ.ศ.1888 โดยสาระสำคัญของเรื่องอยู่ที่แนวคิดและความเชื่อถือ ของคนโบราณซึ่งได้จินตนาการสร้างสรรค์อันเป็นเครื่องจูงใจให้คนประพฤติดี ละเว้นชั่ว พระราช นิพนธ์เล่มนี้จึงเป็นคู่มือในการสอนศีลธรรมและสะกดกั้นความประพฤติในสังคมไทยตลอดมา

ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

37วิถีชุมชน (สค03045)

ตอนที่ 4

พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งตลอดมา โดยทรง

อุปถัมภ์ในทุก ๆ ด้าน คือ ด้านศาสนธรรมก็ได้ทรงอุปถัมภ์ การชำระและจารึกพระไตรปิฎก การศึกษา

พระปริยัติธรรม ตลอดจนการปฏิบัติธรรม ด้านศาสนบุคคลก็ได้ทรงอุปถัมภ์คณะสงฆ์และการ

สถาปนาพระราชาคณะ ด้านศาสนวัตถุก็ได้ทรงอุปถัมภ์การสร้าง และการทะนุบำรุงถาวรวัตถุทาง

พระพุทธศาสนา อีกทั้งทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดในพระพุทธศาสนา

อนึ่ง พระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญ ไม่ว่าจะเป็นงานพระราช

พิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ล้วนแต่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักทั้งสิ้น แม้จะมีพิธี

พราหมณ์ปนอยู่ พิธีพราหมณ์เหล่านั้นก็เป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าประเทศ

ไทย แม้จะไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่

โดยพฤตินัยและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเครื่องหมายธงชาติ

ไทย ก็เป็นอันนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยมาแต่อดีต

พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชประวัติ พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยสุโขทัย ทรงเป็น

พระราชโอรสของพญาเลอไท ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ.1890 โดยการปราบดาภิเษก ทรงใช้

พระนามว่า ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช แต่ประชาชนมักจะนิยมเรียกว่า พระมหาธรรมราชา

ลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงประสบกับปัญหา

ทางการเมือง กล่าวคือในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสของพญาเลอไท พระองค์น่าจะได้ขึ้นครองราชย์

สมบัติต่อจากพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระยางั่วนำถมได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพญาเลอไท

ส่วนพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระยางั่วนำถมสวรรคต พญาลิไท

(ตำแหน่งขณะนั้น) ได้ยกกำลังจากศรีสัชนาลัยเข้ายึดสุโขทัย ต่อจากนั้นพระองค์ได้ปราบปรามเมือง

ต่างๆที่แตกแยกออกไปให้กลับเข้ามารวมในอาณาจักรเดียวกัน ทำให้อาณาจักรสุโขทัยได้เป็นปึกแผ่น

อีกครั้งแต่เนื่องจากได้เกิดอาณาจักรใหม่ซึ่งมีอำนาจกล้าแข็งทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ในปี พ.ศ.1893 คือ อาณาจักรอยุธยา และได้ขยายอำนาจขึ้นไปยังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน จนทำให้

พระมหาธรรมราชาลิไทต้องย้ายไปประทับอยู่ เมืองพิษณุโลกถึง 7 ปี ในช่วง พ.ศ.1906-1920

และหลังจากนั้นสุโขทัยก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรอยุธยาโดยตลอดซึ่งเป็นเหตุให้

พระมหาธรรมราชาลิไทต้องดำเนินนโยบายการทูตกับอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยรอบ ทั้งนี้ เพื่อ

เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย

พระมหาราชาลิไทใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการทูต เนื่องจากพระองค์ทรงเลื่อมใส

ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองศรีสัชนาลัยได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือ

เตภูมิถาหรือไตรภูมิพระร่วงขึ้นในปี พ.ศ.1888 โดยสาระสำคัญของเรื่องอยู่ที่แนวคิดและความเชื่อถือ

ของคนโบราณซึ่งได้จินตนาการสร้างสรรค์อันเป็นเครื่องจูงใจให้คนประพฤติดี ละเว้นชั่ว พระราช

นิพนธ์เล่มนี้จึงเป็นคู่มือในการสอนศีลธรรมและสะกดกั้นความประพฤติในสังคมไทยตลอดมา

Page 2: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

38 วิถีชุมชน (สค03045)

พ.ศ.1900 ได้ส่งสมณทูต 2 รูป คือ พระบรมครูติโลกติลก และพระสุมนะเถระ เดินทางไป

ศึกษาที่สำนักของพระอุทุมบุปผาสวามีเมืองพัน (Martaban) เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและนำมาเผย

แพร่ที่สุโขทัย ในปีเดียวกันนี้ได้ทรงซ่อมพระเจดีย์ เมืองนครชุม

พ.ศ.1902 ได้ทรงประดิษฐ์สถานรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุมนกูฎนอกเมืองสุโขทัย และ

ทรงสร้างวัดป่าแดง ที่เมืองศรีสัชนาลัย เพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระมหากัลยาณเถระ พระสังฆราช

พ.ศ.1904 พระมหาธรรมราชาลิไทได้ทรงออกผนวช การออกผนวชครั้งนี้นับเป็นการเผยแพร่

ชื่อเสียงด้านศาสนาของสุโขทัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ในการผนวชครั้งนี้ได้มีผู้บวชตามอีกเป็น

จำนวน 400 คน นอกจากนี้แล้ว พระมหาธรรมราชาลิไทยังได้ทรงสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง และได้ทรง

สร้างพระพุทธรูปสำริด ซึ่งหล่อเท่ากับพระองค์ของพระพุทธเจ้า คือ พระศรีศากยมุนีประดิษฐานที่วัด

มหาธาตุ

พ.ศ.1911 พระมหาธรรมราชาลิไทได้ทรงรวบรวมผู้คนจากเมืองต่างๆ คือ สระหลวงสองแคว

ปากยม ชากังราว สุพรรณลาว นครพระชุม เมืองน่าน เมืองราด เมืองละค้า เมืองหล่มบาจาย ไปไหว้

รอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ

ด้านศาสนา 1. ทรงเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา รอบรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา

และปกรณ์พิเศษอื่นๆ โดยทรงศึกษาจากพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกในขณะนั้น เช่น พระมหา

เถรมุนีพงศ์ พระอโนมทัสสีเถรเจ้า เป็นต้น หรือจากราชบัณฑิตฝ่ายฆารวาส เช่น อุปเสนบัณฑิต เป็นต้น

2. ทรงส่งเสริมอุปถัมภ์ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ต่างๆ

3. ทรงส่งราชบุรุษไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากลังกาทวีปและได้ทรงนำมาบรรจุไว้ในพระ

มหาธาตุเมืองนครชุม (เมืองโบราณอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร)

4. ทรงส่งราชฑูตไปอาราธนาพระสังฆราชมาจากลังกาทวีป มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง

นอกจากนี้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา และทรงสร้างพระพุทธรูปไว้หลายองค์

การสร้างพระพุทธรูปของไทยครั้งเก่าไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้

พระพุทธสิหิงค์ จากลังกา แนวทางสร้างพระพุทธรูปได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบลังกา ดังนั้นพระพุทธ

รูปสุโขทัยเป็นทรงที่สวยงามที่สุด มีลักษณะอ่อนไหวเหมือนมีชีวิตชีวาจริงๆ จนได้รับการยกย่องว่า

เป็นยุคทองแห่งศิลปะพุทธศาสนา

พระมหาธรรมราชาลิไท ได้ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุไว้มากมาย เช่น

พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระเจดีย์ต้นโพธิ์ และรอยพระพุทธบาท วัดพระศรีมหาธาตุ

พิษณุโลก เป็นต้น

ด้านการปกครอง 1. โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียร

2. โปรดให้ยกผนังกั้นน้ำตั้งแต่สองแคว (พิษณุโลก) มาถึงสุโขทัย

3. ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรม

Page 3: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

39วิถีชุมชน (สค03045)

ด้านอักษรศาสตร์ 1. ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ ไตรภูมิพระร่วง” อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา

เรื่องแรกของไทย

2. โปรดให้สร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักจารึกทั้งภาษาไทย มคธ และขอม นอกจากนี้ยังทรง

เชี่ยวชาญในด้านไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ โดยที่พระองค์ทรงสามารถคำนวณปฏิทินและ

ลบศักราชได้ พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงเป็นปราชญ์ ทรงรอบรู้ในศิลปะศาสตร์มากมาย ทรง

บำเพ็ญพระราชกรณียกิจและทรงมีพระจริยาวัตรอันเป็นประโยชน์อย่างไพศาลแก่ฝ่ายพุทธจักรและ

อาณาจักรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงประพฤติในทางที่จะเป็นธรรมราชา คือ การปกครองพระราช

อาณาจักรด้วยธรรมานุภาพเป็นสำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพระองค์จึงเจริญ

รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง

พระมหาธรรมราชาลิไท สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเป็นช่วงใดช่วงหนึ่ง

ระหว่างปี พ.ศ.1911-1917 การที่พระมหาธรรมราชาลิไททรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ

ศาสนานี้เอง ทำให้ทรงสามารถรวบรวมอาณาจักรต่างๆไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัยได้ พระมหาธรรม

ราชาลิไททรงมีพระมเหสี 2 องค์ คือ พระมหาเทวีกับพระศรีจุฬาลักษณ์ มีพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ

พ่อเลอไท กำเนิดกับพระมหาเทวี พระมหาธรรมราชาที่ 2 กับพระอโศกกำเนิดกับพระศรีจุฬาลักษณ์

พระมหาธรรมราชลไิทสวรรคตเมือ่ใดไมป่รากฏหลกัฐานแนช่ดั สนันษิฐานวา่อยูใ่นชว่ง พ.ศ.1911-1917

ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ประทับอยู่ที่พิษณุโลก

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง พระมหาธรรมราชาลิไททรงมีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างหลายประการ ดังนี้

1) ทรงมีความเสียสละ ความจริงจะต้องได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากบิดา แต่เมื่อทรงเห็นว่า

มีบุคคลที่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมกว่า ก็ยอมหลีกทาง ไม่คิดจะแย่งชิงราชสมบัติมาครอบครอง

2) ทรงมีความคิดรอบคอบ มองการณ์ไกล และมีสติปัญญา โดยทรงเห็นว่า อาณาจักรอยุธยา

กำลังเรืองอำนาจ หากทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาโดยลำพัง มีแต่จะเพลี่ยงพล้ำ จึงได้ดำเนิน

นโยบายการทูตกับอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยรอบ ทั้งนี้เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย

3) ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง โดยทรงพระนิพนธ์หนังสือไตรภูมิ

พระร่วง เพื่อใช้เป็นคู่มือสอนศีลธรรมประชาชน และทรงออกผนวชในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาและ

ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ 4

แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่ า “ เจ้ าฟ้ ามงกุฎ สมมติ เทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์ ”

เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347

ในสมยัรชักาลที ่1 ณ นวิาสสถานในพระราชนเิวศนเ์ดมิดา้นใตข้องวดัอรณุราชวราราม เปน็พระราชโอรส

องค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์

Page 4: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

40 วิถีชุมชน (สค03045)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน ยังเป็น

โทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และทรงมีพระราชโอรส - พระราชธิดารวมทั้ง

สิ้น 82 พระองค์ พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ

ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 65 พรรษา วัดประจำรัชกาลของพระองค์คือ

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อ

วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช

1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347

ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราช

บิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยา

เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมี

พระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า “ทูลกระหม่อมฟ้า

ใหญ่”พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราช

มารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย

(สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฏ และ

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้น

เป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์จึง

เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มี

พระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ

สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระ

มหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรม

มหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรง

เพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

นภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธี

ลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่ รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระ

ราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป

พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและ

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้ เพื่อเป็นแบบแผนของ

พระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัย

กรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จ

พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร” ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มี

พระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัส จัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์

ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดย

ได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 5: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

41วิถีชุมชน (สค03045)

พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม

ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรี

ธรรมาธิราช รวมทั้งทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย

ทรงผนวช เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระ

สังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จ

ไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ทรงผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลา

ประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด

ให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้าง

สำคัญของบ้านเมือง ได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้า

กรมหลวงเทพยวดี พระขนิษฐาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเพียงพระองค์เดียวเกิด

สิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธี

ทรงผนวชอยา่งใหญโ่ต โปรดใหม้เีพยีงพธิอียา่งยอ่เทา่นัน้ โดยใหท้รงผนวช ณ วดัพระศรรีตันศาสดาราม

มีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า “วชิรญาโณ” หรือ

“วชิรญาณภิกขุ” แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้นจึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัด

ราชาธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อทรงผนวช

ในขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูก

ยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

นภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตัดสิน

พระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้น ได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ

ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราช

อุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมี

ความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึง

ลาผนวช เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา)

ครองราชย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระ

ราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้า

จะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้น

ครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาท

สมเดจ็พระปรเมนทรมหามงกฏุฯ พระจอมเกลา้เจา้อยูห่วั และมพีระนามตามจารกึในพระสบุรรณบฏัวา่

Page 6: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

42 วิถีชุมชน (สค03045)

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติ เทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์

วรขตัตยิราชนกิโรดม จาตรุนัตบรมมหาจกัรพรรดริาชสงักาศ อภุโตสชุาตสิงัสทุธเิคราะหณ ีจกัรบีรมนาถ

อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ

ธญัญลกัษณ วจิติรโสภาคสรรพางค ์มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยคุคล ประสทิธสิรรพสภุผลอดุม

บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภา

ไพโรจน ์อเนกโกฎสิาธ ุคณุวบิลุยสนัดาน ทพิยเทพวตาร ไพศาลเกยีรตคิณุอดลุยพเิศษ สรรพเทเวศรานรุกัษ์

เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ

บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ

สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร

สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร

มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์

อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร

ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศ

รังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวร

ราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้นพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จ

พระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช

สวรรคต เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม

ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอด

พระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณ ก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดัง

ที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับ

กรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และ

ทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็น

พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่

สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวงเข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มี

พระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน หลังจากนั้น ในวันที่

1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยา

เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัยที่

สมุหนายก เข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสว่า “ ท่านทั้ง 3 กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา

Page 7: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

43วิถีชุมชน (สค03045)

บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้

มีภัยอันตราย หรือเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่

โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง 3 จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด “

พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดิน

องค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้

ผู้ ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ทรงผนวชอยู่นั้น

ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราช

สมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคต

ท่ามกลางสงฆ์ ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์

ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว

จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง

สิริพระชนมพรรษา 65 พรรษา

พระราชกรณียกิจ

การริเริ่ม พระองค์โปรดให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี

ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์

ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่า จะต้องทรงให้

คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระ

พิพัฒน์สัตยา

พ.ศ. 2396 โปรดให้จัดทำพระราชพิธีบรรจุดวงพระชะตาพระนคร ลงในหลักเมืองที่โปรด

ให้ทำขึ้นใหม่ แทนหลักเมืองเก่าซึ่งยกขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 1 ซึ่งชำรุดทรุดโทรม

พ.ศ. 2400 โปรดให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่

พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ

พ.ศ. 2401 โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า “โรงราชกิจจานุเบกษา” เพื่อเสนอ

ข่าวราชการเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2403 โปรดให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง

เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ซื้อขายแลกเปลี่ยนแทนเงินอย่างเก่าคือ

พดด้วง ทรงพระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในเมืองไทย

พ.ศ. 2404 โปรดให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาว

ต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนน

บำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลอง

มหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น

Page 8: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

44 วิถีชุมชน (สค03045)

ด้านวรรณคดี พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อย

แก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่

1. ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา

2. ตำนานเรื่องพระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์

3. ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของ

พ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไท

ด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่

ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญา

กับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงนำนโยบาย “ผ่อนสั้น ผ่อนยาว” มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็น

พระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่ง

คณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียร

พิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ นับเป็นความ

คิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้เจ้านาย พระราชวงศ์

ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ

พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง

อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศ

ไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ พระยาสยามานุกูลกิจ สยาม

มิตรมหายศ” เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

Page 9: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

45วิถีชุมชน (สค03045)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และ

เป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวัน

อังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2411 สวรรคต เมื่อ

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 42 ปี

การปกครอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักปกครองที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งทรง

ประเพณีการปกครองของไทยอย่างเก่าแต่โบราณมาผสมผสานกับประเพณีการปกครองอย่างนิยมกัน

ในทวีปยุโรป แล้วทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นลำดับตามลำดับตามสถานการณ์และความ

เหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงดำริและริเริ่ม

ในแผ่นดิน ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่มุ่งหวังให้เท่าเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระองค์ทรงมิได้

ปฏิบัติพระองค์แบบผูกขาดอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ทรงให้อิสระทางความคิดและทรงแต่งตั้งบุคคลเพื่อ

ถวายความคิดเห็นแก่พระองค์

ทรงโปรดให้แต่งตั้งสภาที่ปรึกษา

ราชการแผ่นดิน (Council of State)

ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8

พฤศจิกายน พุทธศักราช 2417

และปีเดียวกันทรงตั้งสภาองคมนตรี

(Privy Council) ขึ้นเป็นสภาที่ปรึกษา

ราชการส่วนพระองค์

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2435 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะกรมขึ้นเป็นกระทรวงมี

เสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง จัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็น

สัดส่วน ในปลายรัชกาลได้ปรับปรุงกระทรวงใหม่เหลือ 10 กระทรวง

การปกครองในส่วนภูมิภาค โปรดให้จัดตั้งแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในปี

พุทธศักราช 2437 คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ซึ่งมีถึง 14 มณฑล แต่ละมณฑลมีจังหวัด

คือเมืองในปกครอง 3-4 จังหวัด แบ่งเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ผู้บริหารมณฑล เรียกว่า

“สมุหเทศาภิบาล” หรือข้าหลวงใหญ่ ส่วนผู้บริหารจังหวัดเรียกว่า “ข้าหลวงจังหวัด” ขึ้นตรงต่อ

ข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑล มีนายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ปกครองเขตท้องที่ในจังหวัดทุก

มณฑล มีกองทัพมณฑลไว้ป้องกันเหตุร้าย โดยมีแม่ทัพมณฑลขึ้นตรงต่อเสนาบดีกลาโหม ซึ่งมี

เสนาบดีกระทรวงดูแลเป็นสัดส่วนขึ้นมาถึงพระมหากษัตริย์ องค์พระผู้เป็นประมุขของประเทศทำให้

Page 10: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

46 วิถีชุมชน (สค03045)

การปกครองสามารถสร้างเอกภาพได้ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองให้เจ้า

หน้าที่ฝ่ายปกครองรับพระราชทานเงินเดือนประจำ และมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองโดยยึดถือความรู้ ความ

สามารถแทนการสืบสายโลหิต ทั้งเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วพระ

อาณาเขต

การเลิกทาส ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานาน เพื่อใช้ทำกิจการต่างๆในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่

สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับ

เสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีจะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท

ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน

ในปีพุทธศักราช 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอา

ไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พุทธศักราช 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้

อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว

จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก

ทรงพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้คนขายตัวเป็นทาส จึงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบการศึกษา

ให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น

ตลอดรัชกาลได้ทรงพระราชการตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสหลายฉบับ ออกบังคับใช้ใน

มณฑลต่างๆ ให้ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขาย

ทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้นทรัพย์ ทรงกระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนาง

ในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ถอนทาสพร้อมพระราชทานที่ทำกิน เป็นผลให้

ระบบทาสที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่

และทรงพระราชอุตสาหะ เป็นเวลาถึง 30 ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จในพุทธศักราช 2448 สมตามพระราช

ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ พระราชกรณียกิจสำคัญนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของพลเมืองจาก

ทาสมาเป็นสามัญชน มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกัน

การเสด็จประพาสต้น และประพาสหัวเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการเสด็จประพาสยิ่งนัก ซึ่งจัดเป็นพระ

ราชกรณียกิจเฉพาะพระองค์ เนื่องจากทรงปรารถนาที่จะทรงทำนุบำรุงราษฎร พระองค์ทรงอุทิศ

พระองค์เพื่อประโยชน์แห่งประเทศชาติ ตามพระราชปณิธานที่พระราชทานแก่ประชาชนคราวเสด็จ

กลับจากประเทศยุโรปว่า “ เราตั้งใจอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างสุด ที่จะให้กรุง

สยามเป็นประเทศอันหนึ่งซึ่งมีอิสรภาพ และความเจริญ”

พระองค์ทรงเสด็จประพาสไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาจักร เพื่อตรวจจัดการ

ปกครอง และสำราญพระอริยบถ ซึ่งการเสด็จพระพาสหัวเมืองภายในนั้น พระองค์เสด็จอย่างเป็น

ทางการมิได้เสด็จเยี่ยงพระมหากษัตริย์เสมอไป บางครั้งก็เสด็จอย่างสามัญชน บางครั้งก็ทรงเรือเล็ก

หรือเสด็จโดยสารทางรถไฟมิให้ใครรู้ เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เสด็จประพาสต้น” ในการเสด็จสมาคมกับ

ราษฎรอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เองนั้น ทำให้ทรงได้พบเห็นการปกครองของข้าราชการที่ทรงไว้วาง

พระราชหฤทัยให้ออกไปทำงานต่างพระเนตรต่างพระกรรณอีกด้วย

Page 11: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

47วิถีชุมชน (สค03045)

การเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินพระราโชบายโดยหลักสัมพันธไมตรีผ่อน

หนักผ่อนเบา ถือเอาแต่สาระประโยชน์เป็นสำคัญ จึงทรงสามารถระงับเหตุการณ์อันเกิดขึ้นในขณะนั้นได้

ส่วนความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ได้ทรงมีพระราชไมตรีกับประเทศออสเตรีย และฮังการี

รัสเซีย ญี่ปุ่น ทรงรักษาความสัมพันธ์กับประเทศที่มีไมตรีกันมาแต่ก่อนแล้วให้ยืนยงมีราชการไปมาต่อ

กันมากขึ้น แต่งตั้งอัครราชทูตให้ประจำ ณ สำนักต่างๆ เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช 2424 แม้จะมีข้อ

บาดหมางกับบางประเทศด้วยสาเหตุต่างๆ ซึ่งต่างรักษาผลประโยชน์ของตน พระองค์ยังทรงมุ่งหวังผล

แห่งการประนีประนอมยอมตกลงกันโดยไมตรีทำให้พระเกียรติยศแผ่กว้างขวางออกไป เมื่อมีการ

ประชุมนานาประเทศด้วยกิจการใดจึงได้รับเชิญเนืองๆ เช่น การประชุมสากลไปรษณีย์ ณ เมืองเบอร์น

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และการประชุมเรื่องการรักษาความสงบระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศ

เนเธอร์แลนด์ ในรัชกาลของพระองค์ มีพระมหากษัตริย์ตลอดจนเจ้านายต่างประเทศเสด็จเข้ามาเยือน

ไทยหลายพระองค์ อาทิ สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระเจ้ากรุงรัสเซีย ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น

มกุฎราชกุมาร เจ้าชายวัลดิมาร์ และเจ้าชายแอกเซล แห่งเดนมาร์ก เป็นต้น

การเสด็จประพาสต่างประเทศ ในการเจริญสัมพันธไมตรีต่างประเทศนั้น ความสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเสด็จประพาสยัง

ต่างประเทศ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว ยังได้ทอดพระเนตรแบบอย่างอันดีของ

ประเทศนั้นๆ เพื่อนำกลับมาปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองตามความเหมาะสมอีกด้วย ปีพุทธศักราช 2413

ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรกทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไป

ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก มีชวา สิงคโปร์และอินเดีย

ด้านการศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ใน

ส่วนศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาตินั้นทรงยึดมั่นและเลื่อมใสอย่างลึกซึ้งเมื่อปีพุทธศักราช

2431 โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนา และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และแจก

จ่ายตามพระอารามและหอสมุดต่างๆ ชุดละ 35 เล่ม รวมทั้งสิ้น 1,000 ชุด ซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ

สยามรัฐ ปีพุทธศักราช 2445 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์เป็นฉบับแรก

โปรดเกล้าให้ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วัด มหาธาตุฯ และมหามงกุฎราชวิทยาลัย ที่วัดบวรนิเวศ

ในการเสด็จประพาสอินเดียเมื่อพุทธศักราช 2414 ยังทรงนำพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา

มาทรงปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตร และที่วัดอัษฎางคนิมิตร เกาะสีชัง และโปรดให้สร้างวัด ต่างๆ เช่น

วัดราชบพิธ เป็นวัดประจำรัชกาล วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดราชาธิวาส วัดนิเวศน์ธรรม

ประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคมิตร วัดจุฑาทิศ ธรรมสภาราม (เกาะสีชัง จ.ชลบุรี)

สำหรับวัดเก่าที่เสื่อมโทรมนั้นพระองค์ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ

ทั่วราชอาณาจักร เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัด

พระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี วัดสุวรรณดาราม และ

พระปฐมเจดีย์ ทรงสร้างต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์

Page 12: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

48 วิถีชุมชน (สค03045)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 9 แห่ง

ราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ถึงปัจจุบัน ทรงดำรงสถานะเป็นพระ

ประมุขแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่เหนือการเมืองทั้งปวง

และเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติ ทั้งนี้

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมชีพอยู่

และทรงเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และยาวนานที่สุด

ในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยเช่นกัน

พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า

สมเด็จพระภัทรมหาราช ซึ่งมีความหมายว่า

“พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง” ต่อมาได้มีการถวาย

พระราชสมัญญานามใหม่ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เมื่อ พ.ศ. 2539 และ

“พระภูมิพลมหาราช” อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียว

กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับ

พระราชสมัญญาว่า “พระปิยมหาราช” อนึ่งประชาชน

ทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า “ในหลวง” คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก “ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง”

บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “นายหลวง” ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาท

สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมัน

ว่า “Bhumibala Aduladeja” ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมา พระบาท

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบ

สลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกดตราบปัจจุบัน

ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า “Bhumibala” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

จึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล” ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น

“Bhumibol”

ความหมายของพระนาม ปรมินทร = มาจากการสนธิคำระหว่าง “ปรม (ป.,ส. : อย่างยิ่ง, ที่สุด) + อินฺทฺร (ส. , ป. อินฺท :

ผู้เป็นใหญ่) “ หมายความว่า “ผู้เป็นใหญ่ที่สุด” หรือ “ผู้เป็นใหญ่อย่างยิ่ง”

ภูมิพล = ภูมิ หมายความว่า “แผ่นดิน” และ พล หมายความว่า “พลัง” รวมกันแล้วหมายถึง

“พลังแห่งแผ่นดิน”

อดุลยเดช = อดุลย หมายความว่า “ไม่อาจเทียบได้” และ เดช หมายความว่า “อำนาจ” รวมกัน

แล้วหมายถึง “ผู้มีอำนาจที่ไม่อาจเทียบได้”

Page 13: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

49วิถีชุมชน (สค03045)

พระราชสมภพและขณะทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอัน

เป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์

สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5

ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรม

ราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้า

มหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราช

ชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใน

กาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินี

และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรม

หลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”

เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษา

ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จ

พระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม

ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่

หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

การศึกษา พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือน

พฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระ

พลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน

เมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และ

ภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ “โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์ เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน

พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระ

มหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น “สมเด็จพระเจ้า

น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้

โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี

พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรง

เข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง

ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

Page 14: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

50 วิถีชุมชน (สค03045)

เสด็จขึ้นครองราชย์ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต

อย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ

เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ สืบราช

สันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย

เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขา

สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ

ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชย์สมบัติ แต่ใน

ช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์และไม่เคยเตรียม

พระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิต

เซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน” จึงทรงนึกตอบใน

พระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้” ซึ่งพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคน

เดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วัทรงหมัน้กบั ม.ร.ว.สริกิติิก์ติยิากร เมือ่วนัที ่19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28

เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา

อัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธี

บรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธย

ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศ

รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ

ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และในโอกาสนี้ มีพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินี

Page 15: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

51วิถีชุมชน (สค03045)

ทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่

22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไป

ประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ในปีเดียว

พระราชบุตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม

ราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้า

ลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน พ.ศ. 2494, สถานพยาบาล

มงต์ชัวซี เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจาก

ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับนายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่ง

องค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้ คำว่า “ทูลกระหม่อมหญิง” เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็น

สมเด็จพระบรมราชินี

2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม:

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณู

ประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร; ประสูติ:

28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

โสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์

ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์ กับพระธิดาสองพระองค์

3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราช

กุมารี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์; ประสูติ:

2 เมษายน พ.ศ. 2498, พระที่นั่งอัมพรสถาน)

4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประสูติ: 4 กรกฎาคม พ.ศ.

2500, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน โดยมีพระธิดา

สองพระองค์

ด้านการปกครอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมตลอดเวลา พระองค์ทุ่มเทพระวรกาย

อุทิศแรงกายให้กับประชาชนทุกยามไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ตาม พระองค์ก็ไม่เคยท้อแท้ พร้อมที่

จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนของพระองค์อยู่ดีมีสุขภายใต้พระปฐมบรมราชโองการก่อน

เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

Page 16: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

52 วิถีชุมชน (สค03045)

พระองค์ปกครองโดยผ่านทางรัฐบาล รัฐสภา และศาล ที่เราเรียกว่า “อำนาจอธิปไตย” ที่พระองค์ต้องมี

พระราชวินิจฉัยก่อนลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ ทุกครั้ง ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและ

พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา

บางครั้งเหตุการณ์ทางการเมืองถึงขั้นวิกฤติ อย่างในเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือเหตุการณ์พฤษภา

ทมิฬ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว ทรงพระราชทานแนวทางแก้ไขความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ในชาติ

ด้านศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะ และองค์พระอัครศาสนูปถัมภก และให้

ความเสมอภาคในการนับถือศาสนาของประชาชน โดยไม่ปิดกั้นเชื้อชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ

สมภาร ทุกๆ วันสำคัญพระองค์จะเสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆ

บูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น และเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามหลวงต่างๆ

มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายทบวง เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระราม 9

กาญจนาภิเษก และวัดญาณสังวราราม โดยที่พระองค์ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปสร้าง

ด้านศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดี ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ หลาย

แขนง จนได้รับการยกย่องให้พระองค์เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการ

วัฒนธรรมแห่งชาติ งานทางด้านทัศนศิลป์และประติมากรรม พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการ

ฝึกเขียนภาพ และมีพระปรีชาสามารถในเรื่องการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ทรงถ่ายรูปภาพได้หลายรูป

แบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทรงปั้นพระพุทธรูปต่างๆ ได้อย่างงดงาม เช่น พระสมเด็จจิตรลดา

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นต้น

งานทางด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลากหลายภาษา

ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และ

พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่องทองแดง เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง

เป็นต้น บทความและพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ทรงเลือกถ้อยคำที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย อีกทั้งได้

อรรถรสในการอ่านอีกด้วย

Page 17: ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยkorat.nfe.go.th/ebook_witee/chapter/chap4.pdfวิถีชุมชน

53วิถีชุมชน (สค03045)

กิจกรรมท้ายบทเรียน

ตอนที่ 4 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย ✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧✧

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ลงในช่องว่าง

1. จงบอกคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท

ตอบ…………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองโดยผ่านทางรัฐบาล รัฐสภาและศาล เรียกว่าอะไร

ตอบ…………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

3. “ อริยสัจสี่ ” ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมอธิบายแต่ละข้อ

ตอบ…………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………