16
ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 1 ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet นายฐปนวัฒน์ ชูกลิ่น ครูผู้สอน ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต ( Internet) นั้นย่อมาจากคาว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่ว โลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกาหนดวิธีการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน สามารถติดต่อถึงกันได้ การที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ทาให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไมจากัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่าย โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่อง คอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทาให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสาร กันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกาเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่ง กระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สาหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูก ทาลาย แต่ส่วนที่เหลือทางานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็น โครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัย ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทาการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet ชุดที4

ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

  • Upload
    others

  • View
    12

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 1

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet

นายฐปนวัฒน์ ชูกลิ่น ครูผู้สอน

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อิ น เท อร์ เน็ ต ( Internet) นั้ น ย่ อ ม าจ ากค า ว่ า “International network” ห รื อ “Inter

Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่ว

โลกเข้าไว้ด้วยกัน เพ่ือให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่าย

ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อก าหนดวิธีการติดต่อสื่อสาร

ระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน

สามารถติดต่อถึงกันได ้

การที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ท าให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่

จ ากัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่าย

โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย อินเทอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่อง

คอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ท าให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสาร

กันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด

24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือก าเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่ง

กระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์ส าหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้

งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูก

ท าลาย แต่ส่วนที่เหลือท างานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็น

โครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัย

ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ท าการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet

ชุดที่ 4

Page 2: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 2

ในปี ค.ศ. 1983 ได้มีการน า TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol มาใช้กับ

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1986 มีการก าหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพ่ือสร้างฐานข้อมูลในแต่ละ

เครือข่าย และใช้ ISP (Internet Service Provider) ในการจัดท าฐานข้อมูลของตนเอง

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยน

ข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและท่ัวถึงกว่าเดิม

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่ อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดก าเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่าง

มหาวิทยาลั ยที่ เรี ยกว่ า แคมปั ส เน็ ต เวิ ร์ก (Campus Network) ในปี พ .ศ . 2530 โดย เริ่ มที่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ภายใต้ความ

ร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย

ในปี พ.ศ. 2531 ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่ อินเทอร์เน็ต

ในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับที่อยู่ Sritrang.psu.th ซึ่งเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทยหลังจาก

นั้นก็ได้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ใน

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว

9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้หลายด้าน ขึ้นกับลักษณะการใช้งานของเรา ซึ่งเราสามารถสรุปแนวทาง

ได้ดังนี ้

สื่อสารกับผู้อ่ืน เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตสื่อสารกับผู้อ่ืนได้ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ตาม เช่นการส่ง

เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat) เป็นต้น

แหล่งความรู้ อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนแหล่งความรู้ ที่มีข้อมูลมากมายที่เราสามารถน ามาใช้ได้ ซึ่งไม่

เป็นเพียงข้อความเท่านั้น แต่มีทั้งเสียง ภาพ ภาพยนตร์ แหล่งข่าวสาร และความบันเทิง เราสามารถติดตาม

ข่าวล่าสุด ดูหนังฟังเพลง และภาพยนตร์ล่าสุด ไม่ว่าจากในประเทศ หรือต่างประเทศ

Page 3: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 3

ศูนย์รวมสารพัดโปรแกรมใช้งาน และ เกมส์ ในอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมใช้งาน และเกมมากมายที่เรา

สามารถน ามาใช้ได้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (freeware) ที่เราน ามาใช้ได้ฟรี หรือโปรแกรมประเภท

แชร์แวร์ (shareware) ที่ให้เราทดลองใช้ก่อน และซื้อมาใช้จริงหลังหมดเวลาทดลองบริการที่มีในอินเทอร์เน็ต

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร บทความ รายงาน ผลงานวิจัยและความบันเทิง

ด้านต่างๆ รูปแบบการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตมีดังนี ้

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) เป็นการรับ-ส่งจดหมายถึงกัน ผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะท างานให้เองโดยอัตโนมัติ ท าให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว

สามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก ลักษณะการส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทั่วไป โดย

ผู้ ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail address) เช่น

[email protected] อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ,

[email protected] อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจา

วาสคริปก่อน ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ผู้ใช้สามารถส่งแฟ้มข้อมูลแนบไปกับจดหมายได้ด้วย

2. การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการถ่ายโอนข้อมูล ข่าวสาร บทความ

รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง ในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากเครื่อง

คอมพิวเตอร์อ่ืนลงมาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด (download) ส่วนการน าข้อมูล

จากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอ่ืน เรียกว่า อัพโหลด (upload)

3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอ่ืน (Telnet) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์

อ่ืนๆ ในที่ห่างไกล โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ

4. โกเฟอร์ (gopher) บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล เป็นบริการที่คล้ายกับ FTP แต่การจัดเก็บสาระ

บนรายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดที่ดีกว่า ซึ่ง

คล้ายกับการจัดตู้บัตรรายการในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่

เกี่ยวข้อง

5. ข่าวสาร (Usenet) เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยที่ทุกคน

สามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มและแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่าน

ทางอินเทอร์เน็ต

6. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและ

ครอบคลุมทั่วโลก ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา HTML

(Hypertext Markup Language) ซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว บริการนี้

ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคน

Page 4: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 4

เราจึงมักได้ยินค าว่า โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไป

ยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อ่ืนๆ ได้อีก

7. การสนทนา (Chat) การสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ซึ่งสนทนาผ่านการพิมพ์ข้อความ

รับ-ส่ง แฟ้มข้อมูล สนทนาด้วยเสียง และติดตั้งกล้องเพ่ือให้เห็นภาพคู่สนทนาด้วย

โดเมนเนม

โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพ่ือให้จดจ าและ

น าไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่

สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จ าเป็นต้องรับรู้หรือจดจ าไอพี

แอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท าหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ ากับ

ใคร โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากท่ีสุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่ม

ใช้กัน และง่ายต่อการจดจ า

ประเภทของ Domain Name แบง่ได้เป็น 2 ประเภท

1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน

2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดน เมน เนม 2 ระดั บ จะประกอบด้ วย www . ชื่ อ โด เมน . ประเภทของโด เมน เช่ น

www.b2ccreation.com ประเภทของโดเมน คือ ค าย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มี

ดังต่อไปนี้

* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์

* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลก าไร

* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย

* .edu คือ สถาบันการศึกษา

* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล

* .mil คือ องค์กรทางทหาร

โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น

www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th ประเภทขององค์กรทีพ่บบ่อยคือ

* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์

* .ac คือ สถาบันการศึกษา

* .go คือ องค์กรของรัฐบาล

Page 5: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 5

* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย

* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลก าไร

ตัวย่อของประเทศท่ีตั้งขององค์กร

* .th คือ ประเทศไทย

* .cn คือ ประเทศจีน

* .uk คือ ประเทศอังกฤษ

* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น

* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย

โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งส าคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยส าหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการ

โฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพ้ืนฐานเดิมอยู่แล้ว

นั้น จะท าให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจ าได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google

Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาท า index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา

หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งส าคัญล าดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่

เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะ

เป็นคนก าหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา

เช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่ง

คุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้

เพราะถ้าคุณจด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไร

เลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่น า DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไป

แล้วส่วนเรื่องราคาในท้องตลาดบ้านเรามีหลากหลายราคาแล้วแต่จะเลือกจดโดเมนตามความพอใจ ท่านที่

สนใจสามารถคลิกเข้าไปตรวจสอบได้ท่ี http://whois.b2ccreation.com/

Page 6: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 6

เว็บบราวเซอร์

เว็บบราวเซอร์ (Web browser) บราวเซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้

สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา

เอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอ่ืน ๆ โดย

โปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ เรียกว่า

เวิลด์ไวด์เว็บ

ประโยชน์ของ Web Browser

สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้ อความ ภาพ

และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ท าให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้ อินเทอร์เน็ตได้รับความ

นิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพ่ือ

ความสวยงามของหน้า web page รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

ดังต่ออย่าง

Internet Explorer

Mozilla Firefox

Google Chrome

Safari

E-mail

อีเมล (อังกฤษ: e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

(อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพ่ือให้

มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่า

หนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET)

และมีการดัดแปลงโค้ดจนน าไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์

ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตใน

คริสต์ทศวรรษ 1980 ท าให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอน

ไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ.

1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการท า

Page 7: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 7

ให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่า

ส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)

ระบบอีเมลที่ด าเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจ ากัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันเครื่องเดียว มีพื้นฐาน

อยู่บนแบบจ าลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ

หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจ าเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายใน

ด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอ่ืน ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่

ก าหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า

รูปแบบชื่อ Email Address จะเป็น [email protected]

1. yourname คือ ชื่อที่เราสามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ (แต่ต้องไม่ซ้ ากับของคนอ่ืน)

2. เครื่องหมาย @ ส าหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name

3. sanook.com คือ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name

ชนิดของการรับส่ง E-mail

1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม E-mail โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora

2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.sanook.com, www.yahoo.com

3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น

การรับส่ง E-mail แบบที่ 1 ตามปกติจะต้องมีการก าหนด Configuration เพ่ือก าหนด Incoming

Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งท าให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มี

เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ท าให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2

คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จ าเป็นต้องก าหนด Configuration

อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จ าชื่อ User และ Password เท่านั้น ก็

สามารถจะตรวจสอบ E-mail ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก (การลงทะเบียนเพ่ือขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการ

ให้บริการฟรี!)

Web site ที่ให้บริการ E-mail ฟรี ได้แก่

http://www.sanook.com

http://www.hotmail.com

http://www.chaiyo.com

http://www.gmail.com

อ่ืน ๆ

Page 8: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 8

วิธีการใช้งานทั่วไป

1. TO - หมายถึง ชื่อ E-mail ส าหรับผู้รับ

2. FROM - หมายถึง ชื่อ E-mail ส าหรับผู้ส่ง

3. SUBJECT - หมายถึง หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย

4. CC - หมายถึงส าเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง

5. BCC - หมายถึงส าเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับ (TO) จะไม่ทราบว่าเราส าเนาให้

ใครบ้าง

6. ATTACHMENT - ส่ง file ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ E-mail

พรบ.ว่าด้วยการกระท าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดย

ที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก าหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา

นุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของ

คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการท างานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการก าหนดค าสั่ง ชุดค าสั่ง หรือสิ่งอ่ืนใด และแนวทาง

ปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ท าหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดย อัตโนมัติ

“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ ค าสั่ง ชุดค าสั่ง หรือสิ่งอ่ืนใดบรรดาที่อยู่ใน

ระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมู ล

อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

Page 9: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 9

“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ

คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งก าเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของ

บริการ หรืออ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอ่ืนในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอ่ืน โดย

ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพ่ือประโยชน์

ของบุคคลอื่น

(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม

พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอ านาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อ

ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได ้

หมวด ๑

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ

มาตรการนั้น มิได้มีไว้ส าหรับตน ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ า

ทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อ่ืนจัดท าขึ้นเป็นการเฉพาะถ้าน า

มาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อ่ืน ต้องระวางโทษจ าคุกไม่

เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ

มาตรการนั้นมิได้มีไว้ส าหรับตน ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือท้ังจ าทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระท าด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพ่ือดักรับไว้ ซึ่ง

ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อ่ืนที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพ่ือ

ประโยชน์สาธารณะหรือเพ่ือให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน

หกหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

Page 10: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 10

มาตรา ๙ ผู้ใดท าให้เสียหาย ท าลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพ่ิมเติมไม่ว่าทั้ งหมดหรือบางส่วน ซึ่ง

ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อ่ืนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง

จ าทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระท าด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การท างานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูก

ระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถท างานตามปกติได้ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่

เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอ่ืนโดยปกปิดหรือปลอม

แปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอ่ืนโดยปกติ

สุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระท าความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง

และไม่ว่าจะเกิดข้ึนพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

(๒) เป็นการกระท าโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ

คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง

ในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระท าต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ

คอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพ่ือ ประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่น

บาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระท าความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อ่ืนถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจ าคุก

ตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจ าหน่ายหรือเผยแพร่ชุดค าสั่งที่จัดท าขึ้นโดยเฉพาะเพ่ือน าไปใช้เป็นเครื่องมือในการ

กระท าความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘

มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่น

บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระท าความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

(๑) น าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้ งหมดหรือบางส่วน หรือ

ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อ่ืนหรือประชาชน

(๒) น าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย

ต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

Page 11: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 11

(๓) น าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่ง

ราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔ ) น า เข้ าสู่ ระบบคอม พิ วเตอร์ซึ่ งข้ อมู ลคอมพิ ว เตอร์ ใด ๆ ที่ มี ลั กษณ ะอันลามกและ

ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓)

หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระท าความผิดตามมาตรา ๑๔ ใน

ระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระท าความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดน าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่

ปรากฏเป็นภาพของผู้อ่ืน และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทาง

อิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอ่ืนใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะท าให้ผู้อ่ืนนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ถ้า

การกระท าตามวรรคหนึ่ง เป็นการน าเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระท าไม่มีความผิด ความผิดตาม

วรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่ งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา

มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ

(๑) ผู้กระท าความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศท่ีความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้อง

ขอให้ลงโทษ หรือ

(๒) ผู้กระท าความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้

ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒

พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพ่ือประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควร

เชื่อได้ว่ามีการ กระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอ านาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จ าเป็นเพ่ือประโยชน์ในการใช้เป็น

หลักฐานเกี่ยวกับการกระท าความผิด และหาตัวผู้กระท าความผิด

(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มา

เพ่ือให้ถ้อยค า ส่งค าชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอ่ืนใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถ

เข้าใจได ้

Page 12: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 12

(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบ

คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอ่ืนที่เกี่ยวข้อง

(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความ

ครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(๔) ท าส าเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควร

เชื่อได้ว่ามีการกระท าความผิดตามพระราช บัญญัตินี้

ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้า หน้าที่

(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์

ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือ

อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระท า

ความผิด หรือเพ่ือสืบสวนหาตัวผู้กระท าความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทาง

คอมพิวเตอร์ ที่เก่ียวข้องเท่าท่ีจ าเป็นให้ด้วยก็ได้

(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับ

ของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ท าการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับ

ดังกล่าว

(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จ าเป็นเฉพาะเพ่ือประโยชน์ในการทราบราย ละเอียดแห่ง

ความผิดและผู้กระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อ านาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงาน

เจ้าหน้าที่ยื่นค าร้องต่อศาลที่มีเขตอ านาจเพ่ือมีค าสั่งอนุญาตให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ด าเนินการตามค าร้อง ทั้งนี้

ค าร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระท าหรือก าลังจะกระท าการอย่าง หนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิด

ตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อ านาจ ลักษณะของการกระท าความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้

ในการกระท าความผิดและผู้กระท าความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบค าร้องด้วยในการพิจารณาค า

ร้องให้ศาลพิจารณาค าร้องดังกล่าวโดยเร็ว เมื่อศาลมีค าสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนด าเนินการตามค าสั่งของศาล ให้

พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งส าเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ท าให้ต้องใช้อ านาจ ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ

(๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบส าเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

ดังกล่าวในทันทีที่กระท าได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการด าเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖)

Page 13: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 13

(๗) และ(๘) ส่งส าเนาบันทึกรายละเอียดการด าเนินการและเหตุผลแห่งการด าเนินการให้ศาลที่มี เขตอ านาจ

ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือด าเนินการ เพ่ือ

เป็นหลักฐานการท าส าเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระท าได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควร

เชื่อได้ว่ามีการกระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการด าเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นเกิน

ความจ าเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบส าเนาหนังสือแสดงการยึดหรือ

อายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึด

หรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจ าเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นค าร้องต่อศาลที่มีเขต

อ านาจเพ่ือขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีก

ไม่เกินหกสิบ วัน เมื่อหมดความจ าเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบก าหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่

ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้

เป็นไปตามท่ีก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการท าให้แพร่หลายซึ่ ง

ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่ก าหนดไว้ในภาคสอง

ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ

ศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นค าร้อง พร้อมแสดง

พยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอ านาจขอให้มีค าสั่งระงับการท าให้แพร่ หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นได้ ใน

กรณีที่ศาลมีค าสั่งให้ระงับการท าให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ท า

การระงับการท าให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการท าให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็

ได ้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดค าสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่

ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นค าร้องต่อศาลที่มีเขตอ านาจเพ่ือขอให้มีค าสั่งห้าม จ าหน่ายหรือเผยแพร่ หรือ

สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ท าลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้

หรือจะก าหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดค าสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดค าสั่งไม่

พึงประสงค์ตาม วรรคหนึ่งหมายถึงชุดค าสั่งที่มีผลท าให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือ

ชุดค าสั่งอ่ืนเกิดความเสียหาย ถูกท าลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเ พ่ิมเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตาม

ค าสั่งที่ก าหนดไว้ หรือโดยประการอ่ืนตามที่ก าหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดค าสั่งที่มุ่งหมายในการ

ป้องกันหรือแก้ไขชุดค าสั่งดังกล่าว ข้างต้น ตามท่ีรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Page 14: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 14

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทาง

คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ

กับการกระท าเพ่ือประโยชน์ในการด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพ่ือประโยชน์ใน

การด าเนินคดกีับพนักงานเจ้าหน้าที่เก่ียวกับการใช้อ านาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระท าตามค าสั่งหรือที่

ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน

หกหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระท าโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อ่ืนล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูล

จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี

หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี

หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจ าท้ังปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา

ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

ความอาญาหรือกฎหมายอ่ืนอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีค ามั่น

สัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วันนับแต่วันที่

ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจ าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษา ข้อมูล

จราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้

ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จ าเป็นเพ่ือให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้

บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่ง

จะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้

ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา

๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามค าสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็น

รายวันอีกไม่เกินวันละห้าพัน บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และ

ความช านาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีก าหนด

Page 15: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 15

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง

หรือต ารวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอ านาจรับค าร้องทุกข์หรือรับค ากล่าวโทษ

และมีอ านาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การท า

ส านวนสอบสวนและด าเนินคดีผู้กระท าความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอ านาจของพนักงานฝ่าย

ปกครองหรือต ารวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงาน

เจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพ่ือด าเนินการ ตามอ านาจหน้าที่ต่อไป ให้

นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้ก ากับดูแลส านักงานต ารวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอ านาจ ร่วมกันก าหนดระเบียบ

เกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการด าเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจ าตัวต่อบุคคลซึ่งเก่ียวข้อง บัตร

ประจ าตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบ

คอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนส าคัญ ของการประกอบกิจการ และการด ารงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระท าด้วย

ประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถท างานตามค าสั่งที่ก าหนดไว้ หรือท าให้การท างานผิดพลาดไป

จากค าสั่งที่ก าหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ ไข หรือท าลายข้อมูลของบุคคลอ่ืน ในระบบ

คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพ่ือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะ

อันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ

รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรก าหนดมาตรการเพ่ือป้องกันและปราบปรามการ

กระท าดังกล่าว จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Page 16: ชุดที่ ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet · ใบความรู้เรื่อง

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หน้า 16

สรุปโทษ พรบ.ว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ที่มาแหล่งข้อมูล http://www.thaigoodview.com/node/90636?page=0%2C1

http://whois.b2ccreation.com/

http://www.mindphp.com

http://guru.sanook.com/search/E-Mail

http://www.thaiall.com/article/law.htm

http://www.dmc.tv/pages/top_of_week