27
เอกสารคาสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา กันตนามัลลกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต. บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทรศัพท์ 025048046 – 48 แฟกซ์ 025033578

เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

เอกสารค าสอน

ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยท่ี 5 การจัดการผลิตผลปศสุัตว์และสตัว์น า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตตมิา กันตนามัลลกุล

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต. บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุร ีโทรศัพท์025048046 – 48 แฟกซ์ 025033578

Page 2: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

2

ค าน า

เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตรครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตผลและกรแปรรูปผลิตผลเกษตร และสามารถไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านการจัดการผลิตผลและกรแปรรูปผลิตผลเกษตร เพ่ือเพ่ิมมูลค่าผลิตผลเกษตรหลังจากเก็บเกี่ยว โดยการแปรรูปผลิตผลเกษตรเพ่ือเป็นอาหารและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร และสามารถเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาในหน่วยที่ 5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับความส้าคัญ ห่วงโซ่การผลิต คุณภาพ การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจ

Page 3: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

3

สารบัญ ค้าน้า.............................................................................................................................................................. 2 สารบัญ .......................................................................................................................................................... 3 รายละเอียดชุดวิชา......................................................................................................................................... 4 แผนผังแนวคิดหน่วยที่ 5 ............................................................................................................................... 5 แผนการสอนประจ้าหน่วย ............................................................................................................................. 6 แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5 .................................................................................................... 8 ตอนที่ 5.1 แนวคิดเก่ียวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ............................................................... 10 ตอนที่ 5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์ ......................................................................................................... 14 ตอนที่ 5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้า .......................................................................................................... 17 แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่ 5 ........................................................................................................................ 20 แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5 .................................................................................................. 22 เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 5 ........................................................................................................ 24 บรรณานุกรม .............................................................................................................................................. 24

Page 4: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

4

รายละเอียดชุดวิชา

ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร (Agricultural Products and Processing Management)

ค าอธิบายชุดวิชา แนวคิดการจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร การเพ่ิมมูลค่าผลิตผลเกษตร การเก็บเกี่ยว

และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ พืชสวน ปศุสัตว์ และสัตว์น้้า การแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นอาหารและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร บรรจุภัณฑ์ผลิตผลเกษตรและอาหาร การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร การลงทุนและการจัดการด้านการเงินส้าหรับโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร การวางแผนการผลิตและการจัดการวัตถุดิบส้าหรับโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร การด้าเนินการการผลิตในโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร การจัดการผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจ้าหน่ายและการส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรแปรรูป ตลอดจนกรณีตัวอย่างการจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร

วัตถุประสงค์ 1. เพ่ือให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการผลิตผลเกษตร 2. เพ่ือให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการการแปรรูปผลิตผลเกษตร 3. เพ่ือให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดการผลิตผลและแปรรูปผลิตผลเกษตร

รายช่ือหน่วยการสอน หน่วยที่ 1 แนวคิดการจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 2 การเพ่ิมมูลค่าผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 3 การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน หน่วยที่ 5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า หน่วยที่ 6 การแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นอาหาร หน่วยที่ 7 การแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร หน่วยที่ 8 บรรจุภัณฑ์ผลิตผลเกษตรและอาหาร หน่วยที่ 9 การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 10 การลงทุนและการจัดการด้านการเงินส้าหรับโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 11 การวางแผนการผลิตและการจัดการวัตถุดิบส้าหรับโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 12 การด้าเนินการการผลิตในโรงงานแปรรูปผลิตผลเกษตร หน่วยที่ 13 การจัดการผลิตภัณฑ์และราคาผลิตผลเกษตรแปรรูป หน่วยที่ 14 การจัดจ้าหน่ายและการสื่อสารการตลาดส้าหรับผลิตผลเกษตรแปรรูป หน่วยที่ 15 กรณตีัวอย่างการจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิตผลเกษตร

Page 5: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

5

แผนผังแนวคิดหน่วยที่ 5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า

การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า

5.1.2 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลปศุสัตว์

5.1 แนวคิดเก่ียวกับการจัดการผลิตผล ปศุสัตว์และสัตว์น้้า

5.2.1 การจัดการผลิตผลเนื้อสัตว์

5.2.3 การจัดการผลิตผลไข่จากสัตว์ปีก

5.1.1 ความหมาย ความส้าคัญของ การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า

5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์

5.2.2 การจัดการผลิตผลน้้านมจากสัตว์

5.1.3 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลสัตว์น้้า

5.3.1 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง

5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้า

5.3.2 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการท้าประมง

Page 6: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

6

แผนการสอนประจ าหน่วย

หน่วยที่ 5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า

1. เค้าโครงเนื อหา

ตอนที่ 5.1 แนวคิดเก่ียวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า 5.1.1 ความหมาย ความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า 5.1.2 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลปศุสัตว์ 5.1.3 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลสัตว์น้้า

ตอนที่ 5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์ 5.2.1 การจัดการผลิตผลเนื้อสัตว์ 5.2.2 การจัดการผลิตผลน้้านมจากสัตว์ 5.2.3 การจัดการผลิตผลไข่จากสัตว์ปีก

ตอนที่ 5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้า 5.3.1 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง 5.3.2 การจัดการผลิตผลสัตว์การท้าประมง

แนวคิด 1. ผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเป็นผลิตผลทางการเกษตรเพ่ือการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ ผลิตผลปศุสัตว์

เพ่ือการบริโภคจ้าแนกเป็นเนื้อสัตว์ น้้านมจากสัตว์ และไข่จากสัตว์ปีก ขณะที่ผลิตผลสัตว์น้้า ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง และหมึก ผลผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้้าแต่ละประเภทมีลักษณะที่ดีแตกต่างกันไป

2. การจัดการผลิตผลปศุสัตว์เพ่ือคงคุณภาพดี ปลอดภัย และเหมาะต่อการบริโภค ควรค้านึงปัจจัยหลายด้านตั้งแต่การจัดการภายในฟาร์มไปจนถึงก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในผลิตผลเนื้อสัตว์ น้้านมจากสัตว์ และไข่จากสัตว์ปีก

3. การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าเพ่ือคงคุณภาพดี ปลอดภัย และเหมาะต่อการบริโภค ควรค้านึงปัจจัยหลายด้านตั้งแต่การจัดการจากแหล่งผลิตไปจนถึงก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของผลิตผลสัตว์น้้า

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาหน่วยที่ 5 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าได้ 2. อธิบายการจัดการผลิตผลปศุสัตว์ได้ 3. อธิบายการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าได้

Page 7: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

7

กิจกรรมระหว่างเรียน 1. ท้าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 5.1-5.3 3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน 4. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์หรือวีซีดีประจ้าชุดวิชา (ถ้ามี) 5. ท้าแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5 6. ท้ากิจกรรมประจ้าชุดวิชา (ถ้ามี) 7. เข้ารับบริการการสอนเสริม (ถ้ามี)

สื่อการสอน

1. เอกสารการสอน 2. แบบฝึกปฏิบัติ 3. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์หรือวีซีดีประจ้าชุดวิชา (ถ้ามี) 4. กิจกรรมประจ้าชุดวิชา (ถ้ามี) 5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล 1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง 3. ประเมินผลจากกิจกรรมประจ้าชุดวิชา (ถ้ามี) 4. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ้าภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 5 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

Page 8: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

8

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5 วัตถุประสงค์ เพ่ือประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเก่ียวกับเรื่อง “การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า” ค้าแนะน้า ขอให้นักศึกษาอ่านค้าถาม แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบข้อค้าตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือความหมายของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ก. การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ข. การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการจ้าหน่าย ค. การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการแปรรูป ง. การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการเก็บรักษา จ. การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการบริโภคและอุปโภค

2. ข้อใดคือความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ก. ลดต้นทุนการผลิต ข. สร้างมูลค่าเพ่ิมให้ผลิตผล ค. สร้างจุดเด่นให้กับผลิตผล ง. รักษาคุณภาพของผลิตผล จ. จ้าหน่ายได้ราคาดี

3. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่การผลิตเนื้อสุกร ก. ลูกสุกร ข. ฟาร์มเลี้ยงสุกร ค. อาหารสัตว์ ง. ระบบการผลิต จ. โรงฆ่าสัตว ์

4. ข้อใดคือลักษณะที่ดีของเนื้อสุกร ก. มีสีแดงเข้ม ข. มีไขมันแทรกภายในมัดกล้ามเนื้อ ค. มีกลิ่นหอม ง. มีรอยฟกช้้าเล็กน้อย จ. ทุกข้อเป็นลักษณะที่ดีของเนื้อสุกร

5. ข้อใดคือแหล่งที่มาที่ส้าคัญของผลิตผลปลาน้้าจืด ก. จากการเพาะเลี้ยง ข. จากการท้าประมง ค. จากการเพาะเลี้ยงและการท้าประมง ง. จากการท้าประมงมากกว่าการเพาะเลี้ยง จ. ไม่มีข้อถูก

Page 9: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

9

6. ข้อใดคือลักษณะที่ดีของปูสดทั้งตัวเพ่ือการบริโภค ก. มีเพรียงถั่วงอกเกาะ ข. กระดองมีรอยแตกเล็กน้อย ค. ปราศจากกลิ่นผิดธรรมชาติของปู ง. บริเวณท้องนิ่ม จ. เนื้อสีขาวใสและนิ่ม

7. การจัดการสัตว์ก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าในข้อใดส่งผลดีต่อคุณภาพเนื้อสุกร ก. การละลายยาในน้้าให้สัตว์กินเพ่ือการป้องกันโรค ข. การเพ่ิมปริมาณอาหารสัตว์ก่อนจับส่งโรงฆ่าสัตว์ ค. การไล่ต้อนสัตว์และการบรรทุกสัตว์ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ด้วยความรวดเร็ว ง. การขนย้ายสัตว์ส่งโรงฆ่าในเวลากลางคืน จ. การฆ่าสัตว์ควรกระท้าทันทีที่สัตว์มาถึงโรงฆ่า

8. การจัดการแม่ไก่ในข้อใดส่งผลดีต่อคุณภาพไข่ไก่ ก. การเก็บรักษาไข่ในอุณหภูมิห้อง ข. การเก็บไข่วันละครั้ง ค. การคัดแยกไข่ที่มีรอยร้าว ง. การท้าให้ไข่เปียก จ. การบรรจุไข่ในกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด

9. การจัดการสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงในข้อใดส่งผลดีต่อคุณภาพของผลิตผล ก. การจับสัตว์น้้า อย่างทะนุถนอม ข. การเติมปุ๋ยหมักลงบ่อในปริมาณมาก ค. การสุ่มตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และสารเคมีก่อนจับ ง. การเพ่ิมปริมาณอาหารสัตว์น้้าก่อนจับ จ. การเลือกใช้ภาชนะท่ีท้าจากเหล็กส้าหรับบรรจุสัตว์น้้า

10. การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการท้าประมงในข้อใดส่งผลดีต่อคุณภาพของผลิตผล ก. การลากอวนเป็นเวลานาน ข. การกองสัตว์น้้าบนดาดฟ้าเรือในบริเวณท่ีมีแดดส่อง ค. การกองสุมสัตว์น้้าให้มีขนาดใหญ่ ง. การล้างท้าความสะอาดสัตว์น้้าด้วยน้้าทะเล จ. ทุกข้อส่งผลดีต่อคุณภาพของผลิตผล

Page 10: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

10

ตอนที่ 5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง

5.1.1 ความหมาย ความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า 5.1.2 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลปศุสัตว์ 5.1.3 ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลสัตว์น้้า

แนวคิด

1. การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า หมายถึง การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพ่ือการบริโภคของมนุษย์เป็นหลักและรองลงมาเพ่ือการอุปโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือรักษาความสด ความสะอาด ความปลอดภัยทางอาหาร และคุณภาพของผลิตผลตามความต้องการของตลาด การจัดการผลิตผลที่ดีย่อมก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ

2. ผลิตผลปศุสัตว์เพ่ือการบริโภค ได้แก่ เนื้อสัตว์ น้้านมจากสัตว์ และไข่จากสัตว์ปีก ห่วงโซ่การผลิตผลิตผลปศุสัตว์เริ่มต้นจากฟาร์มไปสู่ผู้บริโภค ส่วนคุณภาพผลิตผลปศุสัตว์สังเกตได้จากประสาทสัมผัสและการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

3. ผลิตผลสัตว์น้้าเพื่อการบริโภค ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง และหมึก แหล่งที่มาของผลิตผลสัตว์น้้ามาจากการท้าประมงและการเพาะเลี้ยง ส่วนคุณภาพของผลิตผลสัตว์น้้าสังเกตได้จากประสาทสัมผัสและการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาตอนที่ 5.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความหมาย ความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าได้ 2. อธิบายห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลปศุสัตว์ได้ 3. อธิบายห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลสัตว์น้้าได้

Page 11: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

11

ตอนที่ 5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า ความหมาย ความส าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า

การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้ากล่าวโดยรวมหมายถึง การปฏิบัติต่อผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพ่ือการบริโภคของมนุษย์เป็นหลักและรองลงมาเพ่ือการอุปโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือรักษาความสด ความสะอาด ความปลอดภัยทางอาหาร และคุณภาพของผลิตผลตามความต้องการของตลาด

เกษตรกรในฐานะผู้ผลิตควรมีแนวทางการจัดการที่ดี เพ่ือการรักษาคุณภาพผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า เพ่ือความปลอดภัยทางอาหาร เพ่ือประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ และเพ่ือให้เป็นไปตามกฎระเบียบมาตรฐานของภาครัฐ ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลปศุสัตว์

ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพเนื อสัตว์ ห่วงโซ่การผลิตเนื้อสัตว์เริ่มจากสัตว์มีชีวิตจากฟาร์ม สัตว์จากฟาร์มถูกขนย้ายไปยังโรงฆ่าสัตว์ เพ่ือเข้าสู่กระบวนการฆ่าช้าแหละให้ได้เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์บางส่วนน้าไปจ้าหน่ายให้กับผู้บริโภค ขณะที่เนื้อสัตว์บางส่วนน้าไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่วนคุณภาพของเนื้อสัตว์สังเกตได้จากรูปลักษณ์ภายนอกด้วยประสาทสัมผัสและจากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น การสังเกตสีสันของเนื้อ การดมกลิ่นเนื้อ การตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในเนื้อ การบดเคี้ยวเนื้อด้วยเครื่องมืออุปกรณ์โดยเฉพาะ การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และปรสิต การตรวจสอบการปนเปื้อนสารก้าจัดแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และสารโลหะหนัก

ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพน านมโค ห่วงโซ่การผลิตน้้านมโคเริ่มต้นโดยเกษตรกรท้าการรีดน้้านมจากแม่โคภายในฟาร์ม น้้านมที่รีดได้ถูกน้าส่งเข้าศูนย์รวบรวมน้้านมดิบ น้้านมคุณภาพดีถูกน้าส่งเข้าโรงงานแปรรูป โรงงานแปรรูปตรวจสอบคุณภาพน้้านมอย่างละเอียด ก่อนน้าเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพ่ือให้ได้ผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แล้วจ้าหน่ายให้กับผู้บริโภค ส่วนคุณภาพน้้านมโคพิจารณาจากการสังเกตรูปลักษณ์ภายนอก และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ความสะอาด สีของน้้านม กลิ่นหอมของไขมันนม การวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าความถ่วงจ้าเพาะ การตรวจนับจ้านวนโซมาติกเซลล์ การตรวจนับจ้านวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในน้้านม การตรวจวัดการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา และการตรวจวัดการปนเปื้อนทางเคมี

ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพไข่จากสัตว์ปีก ห่วงโซ่การผลิตไข่ไก่เริ่มจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ ฟาร์มโดยทั่วไปก้าหนดเวลาในการเก็บไข่วันละ 1-3 ครั้ง ไข่ไก่จากฟาร์มถูกน้าส่งเข้าศูนย์รวบรวมและคัดไข่ ศูนย์รวบรวมและคัดไข่ท้าความสะอาดไข่ คัดขนาดไข่ เก็บรักษาไข่ และบรรจุหีบห่อไข่ เพ่ือรักษาความสดก่อนถึงมือผู้บริโภคและ/หรือการแปรรูปไข่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่วนคุณภาพไข่ไก่พิจารณาจากการสังเกตด้วยประสาทสัมผัส เช่น รูปทรงรี สีเปลือกตรงตามสายพันธุ์ สะอาด ผิวเปลือกเรียบ ปราศจากรอยบุบร้าว ไม่เน่าเสีย ไข่ขาวข้น โอบล้อมไข่แดง ไข่แดงสีปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ พิจารณาจากการวัดขนาดและน้้าหนักไข่ และพิจารณาจากการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้แก่ การตรวจวัดการปนเปื้อนทางชีวภาพ และการตรวจวัดการปนเปื้อนทางเคม ี

Page 12: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

12

ห่วงโซ่การผลิตและคุณภาพของผลิตผลสัตว์น า ห่วงโซ่การผลิตสัตว์น้้าจ้าแนกได้เป็นสองกรณีคือ ห่วงโซ่การผลิตสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง และห่วงโซ่

การผลิตสัตว์น้้าจากการท้าประมง ห่วงโซ่การผลิตสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง สัตว์น้้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมีทั้งที่เป็นการเพาะเลี้ยง

ชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าจืด ขณะทีส่่วนหว่งโซ่การผลิตสัตว์น้้าจากการท้าประมง ผลิตผลสัตว์น้้าที่ได้มาจากการจับตามแหล่งน้้าธรรมชาติ ซึ่งการจับสัตว์น้้าจากทะเลอาศัยเรือประมงและอุปกรณ์เฉพาะ โดยชาวประมงออกเรือและจับสัตว์น้้าในน่านน้้าฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

ส้าหรับเกณฑ์การพิจารณาลักษณะที่ดีของสัตว์น้้า ได้แก่ คุณภาพจากการสังเกตทั่วไป คุณภาพจากการ สังเกตเฉพาะส่วน และคุณภาพจากการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งรายละเอียดแตกต่างกันไปในสัตว์น้้า แต่ละชนิด

-----------------------------------------------------------------

กิจกรรม 5.1.1 จงบอกความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า บันทึกตอบกิจกรรม 5.1.1

กิจกรรม 5.1.2 จงกล่าวถึงเกณฑ์ที่น้าใช้ในการพิจารณาคุณภาพเนื้อสัตว์

บันทึกตอบกิจกรรม 5.1.2

Page 13: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

13

กิจกรรม 5.1.3 จงกล่าวถึงเกณฑ์ที่น้าใช้ในการพิจารณาคุณภาพปลา

บันทึกตอบกิจกรรม 5.1.3

Page 14: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

14

ตอนที่ 5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์ โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง

5.2.1 การจัดการผลิตผลเนื้อสัตว์ 5.2.2 การจัดการผลิตผลน้้านมจากสัตว์ 5.2.3 การจัดการผลิตผลไข่จากสัตว์ปีก

แนวคิด

1. การจัดการเนื้อสัตว์เพ่ือให้มีคุณภาพดีควรเริ่มต้นจากฟาร์มก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งประกอบ ด้วยการจัดการก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าสัตว์ การจัดการในกระบวนการฆ่าสัตว์ และการจัดการหลังกระบวนการฆ่าสัตว์

2. การจัดการน้้านมจากสัตว์เพ่ือให้มีคุณภาพดีควรเริ่มต้นจากฟาร์มก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งประกอบด้วยการจัดการภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และการจัดการก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป

3. การจัดการไข่จากสัตว์ปีกเพ่ือให้มีคุณภาพดีควรเริ่มต้นจากฟาร์มก่อนจ้าหน่ายสู่ตลาดและ/หรือเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ได้แก่ การจัดการภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และการจัดการก่อนจ้าหน่ายหรือเข้าสู่กระบวนการแปรรูป

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาตอนที่ 5.2 แล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายการจัดการผลิตผลเนื้อสัตว์ได้ 2. อธิบายการจัดการผลิตผลน้้านมจากสัตว์ได้ 3. อธิบายการจัดการผลิตผลไข่จากสัตว์ปีกได้

Page 15: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

15

ตอนที่ 5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์ การจัดการผลิตผลเนื อสัตว์

การจัดการเนื้อสัตว์ให้มีคุณภาพดีควรเริ่มต้นจากฟาร์มก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูปมีแนวทางดังนี้ การจัดการก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าสัตว์ วัตถุประสงค์เพ่ือลดความเสี่ยงจากการตกค้างของยาและ

เคมีภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เตรียมความพร้อมในการจับสัตว์ และมิให้สัตว์ต้องตกอยู่ในสภาวะเครียด เช่น การหยุดยา การอดอาหารสัตว์ การจับสัตว์ การขนย้ายสัตว์ การพักสัตว์ การท้าให้สัตว์สลบก่อนฆ่า

การจัดการในกระบวนการฆ่าสัตว์ การจัดการที่ดีสามารถป้องกันหรือลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว เนื่องจากทุกขั้นตอนของกระบวนการฆ่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการฆ่าหรือการแทงคอเอาเลือดออก การลวกซากด้วยน้้าร้อน การลอกหนัง (ส้าหรับซากโคและกระบือ) การขูดขนและการถอนขน การล้างซาก (ส้าหรับซากสุกรและสัตว์ปีก) การเปิดซากเพ่ือเอาเครื่องในออก และการแบ่งซากเป็นสอง

การจัดการภายหลังกระบวนการฆ่าสัตว์ วัตถุประสงค์เพ่ือป้องกันการแพร่พันธุ์ของจุลินทรีย์ การลดการสูญเสียน้้าหนัก และการเพิ่มความนุ่มของเนื้อ เช่น การลดอุณหภูมิซาก และการบ่มซาก

การจัดการผลิตผลน านมจากสัตว์

แนวทางการจัดการน้้านมโคให้มีคุณภาพดี เช่น การตรวจสุขภาพแม่โคประจ้าปี การรักษาสภาพร่างกายแม่โคให้แข้งแรง การรักษาความสะอาดภายในโรงเรือน โรงรีดนม และอุปกรณ์ การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะและสารก้าจัดแมลงที่ปลอดภัย การดูแลสุขภาพคนรีดนม การขนส่งน้้านมไปศูนย์รวบรวมน้้านมดิบทันทีหลังจากรีดนมเสร็จ การเก็บรักษาน้้านมที่ศูนย์รวบรวมน้้านมดิบภายในถังขนาดใหญ่ที่ติดตั้งระบบท้าความเย็น การขนส่งน้้านมไปโรงงานแปรรูปภายในเวลาไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง ด้วยพาหนะที่สามารถรักษาอุณหภูมิ ของน้้านมให้คงท่ี การจัดการผลิตผลไข่จากสัตว์ปีก

การจัดการที่ดเีพ่ือรักษาคุณภาพไข่ไก่ เช่น การรักษาความสะอาดฟองไข่ การเก็บรักษาฟองไข่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่้า ไม่ท้าให้ไข่เปียก และไม่ท้าให้ไข่แตกร้าว การเก็บไข่บ่อยครั้ง การคัดแยกไข่ผิดปกติ มีรอยร้าวหรือแตก และไข่สกปรก ออกจากไข่ปกติ ในกรณีท่ีไข่สกปรกควรเช็ดท้าความสะอาดด้วยผ้าแห้ง ก่อนการเก็บรักษาไข่ในห้องเก็บไข่ที่เป็นสัดส่วนหรือในที่ร่มและมีการระบายอากาศดี ระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ที่ฟาร์มไม่ควรเกินหนึ่งวัน และควรน้าส่งไข่ทั้งหมดเข้าศูนย์รวบรวมและคัดไข่โดยเร็วด้วยพาหนะที่สะอาด ปลอดจากแมลงและสัตว์พาหะน้าโรค การคัดแยกไข่และการท้าความสะอาดไข่ที่ศูนย์รวบรวมและคัดไข่ การบรรจุและการขนส่งไข่จากฟาร์มและศูนย์รวบรวมและคัดไข่

------------------------------------------------------------------------

Page 16: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

16

กิจกรรม 5.2.1 จงระบุแนวทางการจัดการเนื้อสัตว์เพ่ือให้มีคุณภาพดี

บันทึกตอบกิจกรรม 5.2.1

กิจกรรม 5.2.2 จงบอกแนวทางการจัดการเพ่ือให้น้้านมโคคงคุณภาพดี

บันทึกตอบกิจกรรม 5.2.2

กิจกรรม 5.2.3 จงกล่าวถึงแนวทางการจัดการไข่ไก่เพ่ือการบริโภค

บันทึกตอบกิจกรรม 5.2.3

Page 17: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

17

ตอนที่ 5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น า โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง

5.3.1 การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง 5.3.2 การจัดการผลิตผลสัตว์การท้าประมง

แนวคิด

1. แนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงให้มีคุณภาพดี ได้แก่ วางแผนการจับสัตว์น้้า การตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และสารเคมี การอดอาหาร สุขภาพของคนจับสัตว์น้้า ภาชนะ อุปกรณ์ และวิธีการจับสัตว์น้้า และการขนส่งสัตว์น้้า 2. แนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการท้าประมงให้มีคุณภาพดี ได้แก่ การจับสัตว์น้้า การคัดแยกชนิดของสัตว์น้้าบนเรือ การล้างท้าความสะอาด การบรรจุสัตว์น้้าลงกระบะ และการคัดแยกชนิดและขนาดสัตว์น้้าที่ท่าเทียบเรือ

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาตอนที่ 5.3 แล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายแนวทางการจัดการผลผลิตสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงได้ 2. อธิบายแนวทางการจัดการผลผลิตสัตว์น้้าการท้าประมงได้

Page 18: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

18

ตอนที่ 5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น า การจัดการผลิตผลสัตว์น าจากการเพาะเลี ยง แนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยง ได้แก่ การวางแผนการจับสัตว์น้้าล่วงหน้า การจัดจ้าหน่ายผลิตผลอย่างรวดเร็ว การสุ่มตัวอย่างเนื้อสัตว์น้้าเพ่ือตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และสารเคมีอย่างน้อยปีละครั้งและก่อนจับสัตว์น้้า การงดใช้ปุ๋ยหมักแตใ่ห้อาหารส้าเร็จรูปควบคู่กับการถ่ายน้้า การรักษาสุขภาพคนจับสัตว์น้้า การเลือกใช้ภาชนะและอุปกรณ์ส้าหรับการจับสัตว์น้้าที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของสัตว์น้้า รวมทั้งการปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ภาชนะใส่สัตว์น้้าต้องไม่สัมผัสพ้ืนดินโดยตรง ภาชนะอยู่ในสภาพเหมาะสม แข็งแรงทนทาน สะอาด และไม่ท้าจากวัสดุที่ท้าปฏิกิริยากับสัตว์น้้าอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค วิธีการจับสัตว์น้้าที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงควรใช้ระยะเวลารวดเร็ว ไม่ปล่อยให้สัตว์น้้าดิ้นและบอบช้้ามาก หลังจากจับสัตว์น้้าแล้วควรท้าความสะอาด ลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วด้วยน้้าและน้้าแข็งที่สะอาด คัดขนาดบนโต๊ะสะอาดและปฏิบัติอย่างรวดเร็ว แล้วบรรจุสัตว์น้้าลงภาชนะท่ีเตรียมไว้ส้าหรับการแช่และใส่น้้าแข็งทันที การจัดการผลิตผลสัตว์น าจากการท าประมง

แนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการท้าประมง ได้แก่ การลากอวนสั้น การกู้อวนขึ้นบนดาดฟ้าเรือควรกู้อวนอย่างรวดเร็ว การคัดแยกชนิดของสัตว์น้้าอย่างระมัดระวังและรวดเร็วภายในบริเวณที่บังแดดและสะอาด การไมเ่หยียบย่้าหรือยืนบนสัตว์น้้า การไม่ปล่อยให้สัตว์น้้าตากแดด แตม่ีน้้าทะเลเย็นฉีดผ่านกองสัตว์น้้า มีน้้าแข็งกลบสัตว์น้้าก่อนและขณะคัดแยก การล้างท้าความสะอาดสัตว์น้้า และการเก็บในห้องบริเวณใต้ท้องเรือ การเลือกใช้กระบะทรงเตี้ย แข็งแรง มีรูระบายน้้า และมีฝาปิดมิดชิด บรรจุสัตว์น้้า การวางเรียงสัตว์น้้าในกระบะเป็นชั้นๆ สลับกับน้้าแข็ง การคัดแยกชนิดและขนาดสัตว์น้้าที่ท่าเทียบเรือด้วยความระมัดระวังและรวดเร็ว การท้าความสะอาดสัตว์น้้าด้วยน้้า มีน้้าแข็งกลบสัตว์น้้าก่อนและขณะคัดแยก

------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม 5.3.1 จงระบุแนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงให้มีคุณภาพดี

บันทึกตอบกิจกรรม 5.3.1

Page 19: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

19

กิจกรรม 5.3.2 จงระบุแนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการประมงให้มีคุณภาพดี

บันทึกตอบกิจกรรม 5.3.2

Page 20: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

20

แนวตอบกิจกรรมหน่วยท่ี 5 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า ตอนที่ 5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น า แนวตอบกิจกรรม 5.1.1

ความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้ามีมากมายหลายประการ เช่น การรักษาคุณภาพผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ความปลอดภัยทางอาหาร ผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตรการของภาครัฐ แนวตอบกิจกรรม 5.1.2

คุณภาพเนื้อสัตว์สังเกตได้จากรูปลักษณ์ภายนอกด้วยประสาทสัมผัสและจากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น การสังเกตสีสันของเนื้อ การดมกลิ่นเนื้อ การตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในเนื้อ การบดเคี้ยวเนื้อด้วยเครื่องมืออุปกรณ์โดยเฉพาะ การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อจุ ลินทรีย์และปรสิต การตรวจสอบการปนเปื้อนสารก้าจัดแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และสารโลหะหนัก แนวตอบกิจกรรม 5.1.3

เกณฑ์ที่น้าใช้ในการพิจารณาคุณภาพปลา ได้แก่ คุณภาพจากการสังเกตท่ัวไป คุณภาพจากการสังเกตเฉพาะส่วน ได้แก่ การสังเกตบริเวณตา ผิวหนัง ล้าตัว เหงือก เนื้อสัมผัส และผนังท้อง คุณภาพจากการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ตอนที่ 5.2 การจัดการผลิตผลปศุสัตว์ แนวตอบกิจกรรม 5.2.1

แนวทางการจัดการเนื้อสัตว์เพ่ือให้มีคุณภาพดีควรเริ่มต้นจากฟาร์มก่อนเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ได้แก่ การจัดการก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าสัตว์ การจัดการในกระบวนการฆ่าสัตว์ และการจัดการหลังกระบวนการฆ่าสัตว์ แนวตอบกิจกรรม 5.2.2

แนวทางการจัดการเพ่ือให้น้้านมคงคุณภาพดีควรให้ความส้าคัญต่อสุขภาพแม่โค สภาพร่างกายแม่โค สภาพโรงเรือน โรงรีดนม และอุปกรณ์ การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะและสารก้าจัดแมลง สุขภาพคนรีดนม สภาพร่างกายคนรีดนม การขนส่งน้้านมไปศูนย์รวบรวมน้้านมดิบ การเก็บรักษาน้้านมที่ศูนย์รวบรวมน้้านมดิบ การขนส่งน้้านมไปโรงงานแปรรูป แนวตอบกิจกรรม 5.2.3

แนวทางการจัดการไข่ไก่เพ่ือการบริโภค ได้แก่ เชื้อจุลินทรีย์ การเก็บไข่ที่ฟาร์ม การคัดแยกไข่ การท้าความสะอาดไข่ และการเก็บรักษาไข่ ที่ฟาร์ม การคัดแยกไข่ การท้าความสะอาดไข่ และการเก็บรักษาไข่ที่ศูนย์รวบรวมและคัดไข่ การบรรจุและการขนส่งไข่จากฟาร์มและศูนย์รวบรวมและคัดไข่

Page 21: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

21

ตอนที่ 5.3 การจัดการผลิตผลสัตว์น า แนวตอบกิจกรรม 5.3.1

แนวทางการจัดการผลผลิตสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงให้มีคุณภาพดี ได้แก่ วางแผนการจับสัตว์น้้า การตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และสารเคมี การอดอาหาร การรักษาสุขภาพของคนจับสัตว์น้้า สภาพของภาชนะและอุปกรณ์ส้าหรับจับสัตว์น้้า วิธีการจับสัตว์น้้า และการขนส่งสัตว์น้้า แนวตอบกิจกรรม 5.3.2

แนวทางการจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการประมงให้มีคุณภาพดี ได้แก่ การลากอวนและกู้อวน การคัดแยก ชนิดของสัตว์น้้าบนเรือประมง การล้างท้าความสะอาด การบรรจุสัตว์น้้าลงกระบะ และการคัดแยกชนิดและขนาดสัตว์น้้าที่ท่าเทียบเรือ

Page 22: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

22

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5 วัตถุประสงค์ เพ่ือประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “การจัดการผลิตผลปศุสัตว์

และสัตว์น้้า” ค้าแนะน้า ขอให้นักศึกษาอ่านค้าถาม แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบข้อค้าตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือขอบเขตของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้าเพื่อการบริโภคและอุปโภค ก. การจัดการผลิตผลภายในฟาร์ม ข. การจัดการผลิตผลระหว่างการขนส่ง ค. การจัดการผลิตผลก่อนการแปรรูป ง. การเก็บรักษาผลิตผลก่อนการจ้าหน่าย จ. การจัดการผลิตผลจากฟาร์มถึงโรงงานแปรรูป

2. ข้อใดไม่ใช่ความส้าคัญของการจัดการผลิตผลปศุสัตว์และสัตว์น้้า ก. รักษาคุณภาพของผลิตผล ข. สร้างมูลค่าเพ่ิมให้ผลิตผล ค. เพ่ิมความปลอดภัยทางอาหาร ง. ผลประโยชน์ทางการค้า จ. การปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้อง

3. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่การผลิตไส้กรอกไก่ ก. ลูกไก่ ข. ฟาร์มเลี้ยงไก่ ค. โรงฆ่าสัตว์ ง. โรงงานแปรรูป จ. ตลาดสด

4. ข้อใดคือลักษณะที่ดีของเนื้อไก่ ก. มีสีเหลือง ข. มีไขมันแทรกภายในมัดกล้ามเนื้อ ค. มีกลิ่นอ่อนๆ ง. พบการปนเปื้อนของฟิวราโซลิโดน เล็กน้อย จ. ทุกข้อเป็นลักษณะที่ดีของเนื้อไก่

5. ข้อใดคือแหล่งที่มาที่ส้าคัญของผลิตผลกุ้งกุลาด้า ก. จากการเพาะเลี้ยงในกระชัง ข. จากการเพาะเลี้ยงในบ่อดิน ค. จากการท้าประมงชายฝั่ง

ง. จากการท้าประมงในทะเลน้้าลึก จ. จากการเพาะเลี้ยงและการท้าประมง

Page 23: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

23

6. ข้อใดคือลักษณะที่ดีของหมึกสดทั้งตัวเพ่ือการบริโภค ก. เนื้อนิ่ม ข. พบจุดสีม่วงคล้้ากระจายทั่ว ค. ตัวใสประกายเป็นเงามัน ง. หนังหลุดออกเล็กน้อย จ. มีกลิ่นเปรี้ยว

7. การจดัการสัตว์ก่อนเข้าสู่กระบวนการฆ่าในข้อใดส่งผลเสียต่อคุณภาพเนื้อสุกร ก. การหยุดยาก่อนจับส่งโรงฆ่าสัตว์ ข. การอดอาหารสัตว์ก่อนจับส่งโรงฆ่าสัตว์ ค. การไม่เฆี่ยนตีสัตว์ขึ้นรถบรรทุกเพ่ือการขนย้ายสัตว์ส่งโรงฆ่า ง. การขนย้ายสัตว์ส่งโรงฆ่าในเวลากลางวัน จ. การพักสัตว์ก่อนฆ่า

8. การจัดการแม่ไก่ในข้อใดส่งผลเสียต่อคุณภาพไข่ไก่ ก. การเก็บรักษาไข่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่้า ข. การเก็บไข่วันละ 2-3 ครั้ง ค. การคัดแยกไข่ที่ผิดปกติ ง. การท้าความสะอาดไข่ด้วยผ้าแห้ง จ. การบรรจุไข่ในกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด

9. การจัดการสัตว์น้้าจากการเพาะเลี้ยงในข้อใดส่งผลเสียต่อคุณภาพของผลิตผล ก. การจับสัตว์น้้า อย่างทะนุถนอม ข. การงดเติมปุ๋ยหมักลงบ่อก่อนจับ ค. การสุ่มตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์และสารเคมีก่อนจับ ง. การอดอาหารปลาก่อนจับ จ. การเลือกใช้ภาชนะท่ีแข็งแรงทนทานส้าหรับบรรจุสัตว์น้้า

10. การจัดการผลิตผลสัตว์น้้าจากการท้าประมงในข้อใดส่งผลเสียต่อคุณภาพของผลิตผล ก. การลากอวนเป็นเวลาสั้น ข. การกองสัตว์น้้าบนดาดฟ้าเรือในบริเวณท่ีบังแดด ค. การล้างท้าความสะอาดสัตว์น้้าด้วยน้้าทะเล ง. การกองสุมสัตว์น้้าให้มีขนาดใหญ่ จ. ทุกข้อส่งผลเสียต่อคุณภาพของผลิตผล

Page 24: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

24

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 5

ก่อนเรียน หลังเรียน 1. จ. 2. ง. 3. ข. 4. ข. 5. ก. 6. ค. 7. ง. 8. ค. 9. ค. 10. ง.

1. จ. 2. ข. 3. ข. 4. ค. 5. จ. 6. ค. 7. ง. 8. จ. 9. ก.

10. ง.

บรรณานุกรม กองควบคุมตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการแปรรูปสัตว์น้้า กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คู่มือประกอบการ

ประเมินคุณภาพสัตว์น้้า กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 68 หน้า 2547 กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้้า กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คู่มือการดูแลรักษาสัตว์น้้าที่ฟาร์ม

เลี้ยงสัตว์น้้า กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 52 หน้า 2547ก กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้้า กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คู่มือการดูแลรักษาสัตว์น้้าบน

เรือประมง กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ 71 หน้า 2547ข กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กรุงเทพฯ 2535 ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชีววิทยาประมง ธนิษฐา ทรรพนันทน์ บรรณาธิการ

พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ส้านักพิมพ์รั้วเขียว 146 หน้า 2543 จุฑารัตน์ เศรษฐกุล พรรณิภา ศิวะพิรุฬห์เทพ และจิตติมา กันตนามัลลกุล “การจัดการผลผลิตจากสัตว์และ

การแปรรูป” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการทรัพยากรเพ่ือการผลิตสัตว์ หน่วยที่ 10 หน้า 10-1 ถึงหน้า 10-70 นนทบุรี บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2552

ชนกันต์ จิตมนัส จป 315 หลักการส่งเสริมทางการประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 135 หน้า 2552

ชัยณรงค์ คันธพนิต วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จ้ากัด 276 หน้า 2529

โชคชัย เหลืองธุวปราณีต หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ส้านักพิมพ์โฟร์เพซ 481 หน้า 2548

Page 25: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

25

มัทนา แสงจินดาวงษ์ ผลิตภัณฑ์ประมงของไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ ส้านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 323 หน้า 2548

นงลักษณ์ สุทธิวนิช คุณภาพสัตว์น้้า ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ สงขลา 263 หน้า 2531

นฤมล อัศวเกศมณี การเก็บถนอมสัตว์น้้า โครงการต้าราวิชาการราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ภาพพิมพ์ 382 หน้า 2550

พูลทรัพย์ วิรุฬหกุล การจัดการผลผลิตสัตว์น้้าเพ่ือความปลอดภัยของผู้บริโภค กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ 106 หน้า 2547

วราภา มหากาญจนกุล และปรียา วิบูลย์เศรษฐ์ ความปลอดภัยอาหารเพ่ือคุณภาพชีวิตที่ดี โครงการวิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีความปลอดภัยอาหาร ส้านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ้ากัด 114 หน้า 2548

สุวรรณ เกษตรสุวรรณ ไข่และเนื้อไก่ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ้ากัด 396 หน้า 2522

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 6000-2547 เนื้อสุกร ค้นคืนวันที่ 2 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/pig.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 6001-2547 เนื้อโค ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/cow.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 6002-2547 เนื้อกระบือ ค้นคืนวันที่ 2 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/buffero.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 6700-2548 เนื้อไก่ ค้นคืนวันที่ 2 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/hen.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 6703-2548 ไข่เป็ด ค้นคืนวันที่ 2 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/duckegg.pdf

Page 26: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

26

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7002-2548 กุ้งก้ามกราม ค้นคืนวนัที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/kungkamkram.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7004-2548 ปูม้า ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/plameuk.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7005-2548 ปลาหมึก ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/plameuk.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7410-2548 การปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้้า เล่ม 1 ข้อก้าหนดทั่วไป ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/ GAP_fisheries_1.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7411-2548 การปฏิบัติที่ดีในการผลิตสัตว์น้้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้้า เล่ม 2 การผลิตปลาสด ปลาแล่เยือกแข็ง และเนื้อปลาบด การผลิตซูริมิเยือกแข็ง ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_fisheries_2.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7016-2549 ปลากะพงขาว ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/seabass.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7017-2549 กุ้งเยือกแข็ง ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/quickfrozen_shrimpsorprawns.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9008-2549 การปฏิบัติที่ดีส้าหรับโรงฆ่าสัตว์ปีก ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/standard/download/gmp_for_poultry_abattoir.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9008-2549 การปฏิบัติที่ดีส้าหรับโรงฆ่าสุกร ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/standard/download/gmp_for_poultry_abattoir.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2550ก) มาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ มกอช. 7019-2550 กุ้งกุลาด้า ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/std_kungkuladam.pdf

Page 27: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 94330 การจัดการผลิตผลและการแปรรูปผลิต ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

27

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2550ข) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 9019-2550 การปฏิบัติที่ดีส้าหรับโรงฆ่าโคและกระบือ ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/standard/download/std_gap_cow_buff.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 6407-2551 การปฏิบัติด้านสุขลักษณะที่ดีส้าหรับน้้านมและผลิตภัณฑ์ เล่ม 2: แนวทางส้าหรับการผลิตน้้านมขั้นต้น ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/ GAP_milk_volume2.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7020-2551 กุ้งขาวแวนนาไม ค้นคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2553 http://www.acfs.go.th/ standard/download/std_white_shrim_wannamite.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7401-2552 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าที่ดีส้าหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_marine_shrimp_110153.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7417-2552 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าที่ดีส้าหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้้าจืด ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_fresh_waa_farm.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7419-2552 การปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์น้้าที่ดีส้าหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล: การผลิตกุ้งทะเลปลอดโรค ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_shrimp_sea.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกษ. 6003-2553 น้้านมโคดิบ ค้นคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 http://www.acfs.go.th/ standard/download/raw_cow_milk.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสินค้าเ กษตร มกษ. 6702-2553 ไข่ไก่ ค้นคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/ hen_egg.pdf

ส้านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสิ นค้าเกษตร มกษ. 6909-2010 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส้าหรับฟาร์มไก่ไข่ ค้นคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 http://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_layer_farm.pdf

ส้านักมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยมาตรฐานการขนส่งสัตว์ปีก พ .ศ. 2552 ค้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 http://www.dld.go.th/certify/certify/page/page_law/data_ law/s5/s1.pdf