20

ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)
Page 2: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ศิลปะพม่า

Page 3: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ภาพจากปกหน้า

ภาพจากปกหลัง

(๑)  เจดีย์ชเวซิกอง

(๒)  พระพุทธรูปประดิษฐานในวิหารธรรมเยซิกะเจดีย์

(๓)  วัดเขามัณฑะเลย์

(๔)  จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารปยาตองสู

(๑)  พระมหามัยมุนี

(๒)  ลายเส้นรูปหงส์ 

(๓)  ลายเส้นมณฑปหลังคาปราสาทที่ประดิษฐานพระมหามัยมุนี 

ที่มา : Myint, U Aye, edited by Sone Simatrang, translated by U Thanoe,

Burmese design through drawings (Bangkok : Slipakorn University, 1993).

๑ ๒

๔๓

๒๑

Page 4: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ศิลปะพม่า

ราคา ๒๙๕ บาท

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

Page 5: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ศิลปะพม่า • ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

พมิพ์ครั้งแรก : ตลุาคม ๒๕๕๗

ราคา ๒๙๕ บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรมศกัดิ์ชยั สายสงิห์.

ศิลปะพม่า. กรงุเทพฯ : มตชิน, ๒๕๕๗.๓๔๘ หน้า. - - (ประวตัศิาสตร์ศลิปะ).๑. ศลิปะพม่า. I. ชื่อเรื่อง700.9591ISBN 978 - 974 - 02 - 1340 - 6

• ที่ปรกึษาส�านกัพมิพ์ : อารกัษ์ คคะนาท, สพุจน์ แจ้งเรว็, นงนชุ สงิหเดชะ• ผู้จดัการส�านกัพมิพ์ : กติตวิรรณ เทงิวเิศษ• รองผู้จดัการส�านกัพมิพ์ : รจุริตัน์ ทมิวฒัน์• บรรณาธกิารบรหิาร : สลุกัษณ์ บุนปาน• บรรณาธกิารส�านกัพมิพ์ : พลัลภ สามสี• หวัหน้ากองบรรณาธกิาร : อพสิิทธิ์ ธรีะจารวุรรณ• บรรณาธกิารเล่ม : มณฑล ประภากรเกยีรติ• พสิูจน์อกัษร : โชตชิ่วง ระวนิ / พทัน์นลนิ อนิทรหอม• รูปเล่ม : อรอนงค์ อนิทรอดุม• ศลิปกรรม : นสุรา สมบูรณ์รตัน์• ออกแบบปก : สลุกัษณ์ บนุปาน• ประชาสมัพนัธ์ : สภุชยั สชุาตสิธุาธรรม

บริษัทมติชน จ�ากัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาลประชานเิวศน์ ๑ เขตจตจุกัร กรงุเทพฯ ๑๐๙๐๐โทรศพัท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘แม่พิมพ์สี-ขาวด�า : กองการเตรยีมพมิพ์ บรษิทัมตชิน จ�ากดั (มหาชน)๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานเิวศน์ ๑ เขตจตจุกัร กรงุเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศพัท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒พิมพ์ที่ : โรงพมิพ์มตชินปากเกรด็ ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสขุาประชาสรรค์ ๒ ต�าบลบางพูด อ�าเภอปากเกรด็ นนทบรุ ี๑๑๑๒๐โทรศพัท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗จัดจ�าหน่ายโดย : บรษิทังานด ีจ�ากดั (ในเครอืมตชิน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานเิวศน์ ๑ เขตจตจุกัร กรงุเทพฯ ๑๐๙๐๐โทรศพัท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd.12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand

หากสถาบันการศึกษา  หน่วยงานต่างๆ  และ 

บุคคล ต้องการสั่งซื้อจ�านวนมากในราคาพิเศษ

โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ากัด

โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓

โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนงัสอืเล่มนี้พมิพ์ด้วยหมกึที่เป็นมติรกบัสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องธรรมชาต ิและสขุภาพของผู้อ่าน

Page 6: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(5)ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

สารบัญ

ศิลปะพม่า

ค�านิยม (๙)

ค�าน�า (๑๓)

๑.ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมพม่า ๒

สมัยที่๑สมัยก่อนประวัติศาสตร์

(ก่อนพุทธศตวรรษที่๗) ๓

วัฒนธรรมในยุคหินหรือสังคมล่าสัตว์  ๔

      สังคมเกษตรกรรม  ๔

สมัยที่๒การรับอารยธรรมอินเดียยุคแรกเริ่ม

(พุทธศตวรรษที่๗-๑๑) ๘

สมัยที่๓ยุคอารยธรรมโบราณ:

ปยูมอญโบราณและอาระคัน(ยะไข่)

(พุทธศตวรรษที่๑๑-๑๕) ๑๒

วัฒนธรรมปยู (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕)  ๑๒

      มอญโบราณ 

        (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗)  ๑๘

      อาระคัน (ยะไข่) 

        (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕)   ๒๐

สมัยที่๔อาณาจักรพุกาม(จักรวรรดิพม่าครั้งที่๑)

(พ.ศ.๑๕๘๗-๑๘๓๐) ๒๑

Page 7: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(6) ศิลปะพม่า

สมัยที่๕สมัยหลังอาณาจักรพุกาม

(พ.ศ.๑๘๓๐-๒๐๙๘) ๒๕

อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. ๑๘๕๕-๒๐๙๘)  ๒๕

      อาณาจักรยะไข่ (พ.ศ. ๑๙๔๗–๒๒๒๗)  ๒๖

อาณาจักรมอญ ที่เมืองพะโค (หงสาวดี)  

        (พ.ศ. ๑๘๐๐-๒๐๗๔)  ๒๖

สมัยที่๖ราชวงศ์ตองอูและราชวงศ์นยองยาน

(จักรวรรดิพม่าครั้งที่๒)

(พ.ศ.๒๐๒๙-๒๒๙๕) ๒๗

สมัยที่๗ราชวงศ์คองบอง(อลองพระ)

(จักรวรรดิพม่าครั้งที่๓)

(พ.ศ.๒๒๙๕-๒๔๒๘) ๒๘

สมัยที่๘พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ

(พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๙๑) ๓๑

สมัยที่๙พม่าภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ

(พ.ศ.๒๔๙๑-ปัจจุบัน) ๓๒

๒.ประวัติศาสตร์ศิลปะพม่า ๓๗

ศาสนาความเชื่อและแนวคิดท่ีมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรม ๓๘

ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศพม่า ๔๔

สมัยที่๑ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์

(ก่อนพุทธศตวรรษที่๗) ๔๕

สมัยที่๒การรับอารยธรรมอินเดียยุคแรกเริ่ม

ทางประวัติศาสตร์(พุทธศตวรรษที่๗-๑๑) ๔๗

ศิลปวัตถุเนื่องในศาสนา  ๔๙

สมัยที่๓ยุคอารยธรรมโบราณ:

ปยูมอญโบราณและอาระคัน(ยะไข่)

(พุทธศตวรรษที่๑๑-๑๕) ๕๒

วัฒนธรรมปยู  ๕๒

Page 8: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(7)ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

      ศิลปกรรมมอญโบราณ  ๖๘

      ศิลปะอาระคัน  ๗๓

สมัยที่๔ศิลปะพุกาม(พุทธศตวรรษที่๑๖-๑๙) ๗๗

งานสถาปัตยกรรม  ๗๘

      งานประติมากรรม  ๑๒๙

      งานจิตรกรรม  ๑๕๕

สมัยที่๕สมัยหลังพุกาม:ศิลปะมอญสมัยหงสาวดี

และศิลปะพม่าในราชวงศ์ตองอู

(ต้นพุทธศตวรรษที่๑๙-ปลายพุทธศตวรรษที่๒๓) ๑๖๓

ศิลปะมอญสมัยหงสาวดี 

        (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙-ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑)  ๑๖๓

      ศิลปะพม่าในราชวงศ์ตองอู

        (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑-ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓)  ๑๗๓

สมัยที่๖ศิลปะพม่ายุคหลังสมัยราชวงศ์คองบอง(อลองพระ)๑๗๔

ศิลปะสมัยเมืองอังวะ อมรปุระ และมัณฑะเลย์

        (พ.ศ. ๒๒๙๕-๒๔๒๘)  ๑๗๔

๓.แหล่งเรียนรู้และสถานที่ส�าคัญ

ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ๒๑๑

เมืองศรีเกษตร ๒๑๒

เมืองพะโคหรือหงสาวดี ๒๑๔

รัฐอาระคัน(ยะไข่) ๒๒๑

เมืองพุกาม ๒๒๒

เมืองอังวะ ๒๒๙

เมืองมัณฑะเลย์และพระราชวังมัณฑะเลย์ ๒๓๒

เมืองสะกายหรือสะแคง ๒๔๔

Page 9: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(8) ศิลปะพม่า

๔.ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ

กับดินแดนไทย ๒๕๙

ความสัมพันธ์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๒๖๐

ความสัมพันธ์ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่๑๙ ๒๖๐

วัฒนธรรมทวารวดีวัฒนธรรมปยู(ศรีเกษตร)

และวัฒนธรรมมอญระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๒-๑๖ ๒๖๑

      ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และงานศิลปกรรม    

        ระหว่างวัฒนธรรมทวารวดี ปยู และมอญ  ๒๖๑

บทบาทของศิลปะพุกามต่องานศิลปกรรม

ในประเทศไทย ๒๖๕

สมัยหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘)  ๒๖๕

      สมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒)  ๒๗๘

      สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)  ๒๙๔

      สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓)  ๓๐๑

สมัยรัตนโกสินทร์:ศิลปะมอญพม่าในประเทศไทย

ในพุทธศตวรรษที่๒๔-๒๕ ๓๐๘

บทบาทของศิลปะพม่าในงานจิตรกรรมระยะหลัง ๓๑๒

ศิลปะไทยในประเทศพม่า ๓๑๓

บทสรุป ๓๒๑

บรรณานุกรม ๓๒๖

Page 10: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(9)ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ค�านิยม

ศิลปะพม่า

  หนังสือชุด “ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” เกิดขึ้น 

เนื่องด้วยการที่ประเทศในภูมิภาคนี้ประกาศรวมตัวกันเป็นประชาคม 

อาเซียน ใน พ.ศ. ๒๕๕๘  ดังนั้น ในทุกภาคส่วนของแต่ละประเทศ 

จึงมีความตื่นตัวเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น อันเป็นการเตรียมความ 

พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับการเข้าร่วมประชาคมดังกล่าว 

  ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ส�าคัญอย่างหนึ่งของ 

ประชาชาติอาเซียน ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคด ี

มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการเรียนการสอน 

ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานข้อมูลด้านศิลปกรรมอยู ่

ระดับหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางความรู้ทางด้านศิลปกรรม 

โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุน้ีคณาจารย์ในภาควิชาฯ 

จึงได้ร่วมกันจัดท�าชุดต�าราความรู ้เรื่อง “ศิลปกรรมในเอเชียตะวัน 

ออกเฉียงใต้” ตามโครงการเข้าสู ่ประชาคมอาเซียน โดยได้รับทุน 

สนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย 

ศลิปากร เพือ่จัดท�าต�าราในครัง้นี ้ซึง่เลอืกเขยีน ๕ ศลิปะ ได้แก่ ศลิปะ 

เวียดและจาม ศิลปะเขมร ศิลปะพม่า ศิลปะลาว และศิลปะชวา  ส่วน 

Page 11: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(10) ศิลปะพม่า

ชุดที่ ๒ ที่จะตามมาได้แก่ ศิลปะไทย (เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน)

  วฒันธรรมดัง้เดมิของผูค้นในภมูภิาคนีม้พีฒันาการมาในลกัษณะ 

เดียวกัน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสังคมล่าสัตว์จนสู่สังคม 

เกษตรกรรม มีหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าสังคมยุคแรก 

เริ่มนี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น วัฒนธรรมหัวบิเนียน ต่อมาเมื่อเข้าสู่ 

ยุคโลหะ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมชัดเจนขึ้น เช่น มีวัฒนธรรม 

ดองซอน วัฒนธรรมยุคส�าริด ที่พบกลองมโหระทึกในลักษณะเดียวกัน 

และในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายได้พบหลักฐานว่าผู ้คนใน 

ภูมิภาคนี้เริ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เช่น 

เครื่องประดับ ก�าไล ตุ้มหู ที่มีรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น 

  การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ส�าคัญในภูมิภาคน้ี คือ การ 

รับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย โดยได้พบหลักฐานว่า ศาสนา 

เริ่มเข้ามาเผยแผ่แล้วต้ังแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๙ ทั้งศาสนาพุทธ 

และฮินดู  ดูเหมือนว่าในระยะเริ่มแรกนั้นศาสนาเข้ามาปรากฏหลักฐาน 

ข้ึนพร้อมๆ กัน เพียงแต่ผู้คนในภูมิภาคเลือกรับศาสนาที่เหมาะสมกับ 

ตนเองหรือตามความศรัทธาที่อาจเกิดจากผู้น�าเป็นส�าคัญ ด้วยเหตุน้ี 

จึงท�าให้ลักษณะทางวัฒนธรรมเริ่มแตกต่างกัน อันส่งผลในงานศิลป 

กรรมท่ีตามมานั้นเกิดความแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น ชนชาติที่ 

เลือกรับศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ชวา (ในประเทศอินโดนีเซีย) 

จาม (ในประเทศเวยีดนาม) และเขมร ส่วนชนชาตทิีเ่ลอืกรบัพทุธศาสนา 

ได้แก่ พม่า ไทย และลาว

  งานศิลปกรรมเกิดจากศรัทธาความเชื่อทางศาสนา ชนชาติที่ 

เลือกรับศาสนาฮินดู มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและลัทธิเทวราชา ท�าให้ 

มีการก่อสร้างศาสนสถานที่มีความยิ่งใหญ่มั่นคงเพื่อเทพเจ้า ส่วน 

หลักปรัชญาของพุทธศาสนา มีความเชื่อเรื่องนิพพานเป็นเร่ืองสูงสุด 

เพราะฉะนั้นการสร้างศาสนสถานเป็นเพียงเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา 

สมถะ เรียบง่ายและเหมาะกับคนในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่ง 

ของศาสนสถานในพุทธศาสนาที่มีความยิ่งใหญ่ก็มีเช่นเดียวกัน เช่น 

Page 12: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(11)ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ในศิลปะพม่า ซึ่งเกิดจากความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

  ดังนั้นจากความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดย 

เฉพาะงานศิลปกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนความคิดและ 

ความเชื่อทางศาสนาของแต่ละชนชาติ จึงปรากฏในงานศิลปกรรม 

ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นศาสนาเดียวกันก็ตาม ส่วนหนึ่งของแนวคิด 

คติการก่อสร้างนั้นเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบศิลปกรรมย่อม 

มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม อันเป็นเรื่อง 

ของงานช่าง แม้ว่าจะมีการรับและส่งอิทธิพลให้แก่กันในบางเวลาและ 

โอกาสก็ตาม เช่น ปราสาทที่สร้างในศิลปะชวา ต่างจากปราสาทเขมร 

และปราสาทจาม หรือเจดีย์ในศิลปะพม่าก็มีลักษณะและรูปแบบต่าง 

จากเจดีย์ในประเทศไทย เป็นต้น

  ดังนั้น ชุดโครงการต�าราประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออก 

เฉียงใต้ จึงต้องการแสดงให้เห็นหลักฐานทางด้านศิลปกรรมของแต่ละ 

ประเทศว่ามีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัย การเริ่มต้น 

การสืบเนื่อง ความรุ่งเรือง และความเส่ือม ในส่วนที่เหมือน ส่วนที ่

แตกต่าง และเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร จาก 

ชุดโครงการต�าราดังกล่าว ได้น�ามาปรับปรุงเป็นหนังสือชุด “ประวัต ิ

ศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน” จัดพิมพ์โดยส�านักพิมพ์มติชน โดย 

แยกเล่มเป็นศิลปะในแต่ละประเทศเพื่อง่ายต่อการอ่านและท�าความ 

เข้าใจ โดยในเน้ือหาหลักของศิลปกรรมแต่ละประเทศจะประกอบด้วย 

ส่วนที่ ๑ ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนที่ ๒ ประวัต ิ

ศาสตร์ศิลปะ ส่วนที่ ๓ แหล่งเรียนรู้และสถานที่ส�าคัญทางประวัติ 

ศาสตร์ศิลปะ และส่วนที่ ๔ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร ์

ศิลปะกับดินแดนไทย 

  ในนามของคณะผู ้จัดท�าขอขอบคุณ คณบดีคณะโบราณคด ี

(ผู ้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต ขาวเขียว) ที่ได้ให้ความส�าคัญและได้ 

สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าด�าเนินการจัดท�าโครงการต�าราในครั้งนี้ 

และขอขอบคุณส�านักพิมพ์มติชน ที่ได้ให้ความส�าคัญอย่างมากต่อ 

งานศิลปวัฒนธรรม และได้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเผย 

Page 13: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(12) ศิลปะพม่า

แพร่ความรู้สู่สาธารณชน

  คณะผู้จัดท�าจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดความรู้น้ีจะเป็นประโยชน์ 

ตามวัตถุประสงค์ที่จะท�าให้ทั้งคนไทยและประชาคมอาเซียนได้มีความรู ้

ความเข้าใจในวัฒนธรรมซึ่งกันและกันได้ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งการท�าความ 

เข้าใจในงานศิลปกรรมร่วมกันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้า 

ใจและความร่วมมือร่วมใจกันในเชิงสร้างสรรค์ของประชาคมอาเซียน 

ท่ีจะขับเคล่ือนไปในอนาคต อันจะเป็นผลดีต่อกันมากกว่าการที่แต่ละ 

ชาติจะหวังผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจเป็นส�าคัญ

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย  สายสิงห์

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๕๖         

Page 14: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(13)ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

พม่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่ส�าคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออก 

เฉียงใต้และในโลก เป็นแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร 

ธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ และอัญมณี มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม 

และเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ส�าคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งมาตั้งแต่อดีต 

จนถึงปัจจุบัน จนมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือดินแดนหนึ่ง 

ที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ที่กล่าวถึงในต�านานการประดิษฐานพระพุทธ 

ศาสนาในภูมิภาคนี้ 

ความเป็นมาของผู้คนในประเทศพม่ามีพัฒนาการใกล้เคียงกับ 

ในดินแดนไทยและประเทศใกล้เคียง คือมีการพบหลักฐานทางโบราณคด ี

ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนอยู่อาศัยมาแล้วต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ์

จนมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยท่ีมีการรับวัฒนธรรมทางศาสนา 

จากอินเดีย ชนชาติที่อยู่ในพม่าเลือกรับศาสนาพุทธเช่นเดียวกับในไทย 

จึงท�าให้แบบแผนประเพณี วัฒนธรรมความเป็นอยู่ และนิสัยใจคอของ 

ชาวพม่า ชาวมอญ มีลักษณะใกล้เคียงกับคนไทย และสะท้อนออกมา 

ในรูปแบบของงานศิลปกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย 

งานศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่ในดินแดนพม่า มีท้ังของชาวพม่าเอง 

ค�าน�า

ศิลปะพม่า

Page 15: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

(14) ศิลปะพม่า

รวมทั้งชาวมอญ ชาวยะไข่นั้น แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองใน 

แต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะวัดวาอาราม แบบของเจดีย์ท่ีมีลักษณะเฉพาะ 

อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะพม่า เช่น เจดีย์ทรงระฆังที่ไม่มีบัลลังก ์

เจติยวิหารท่ีมีทั้งวิหารและเจดีย์อยู่ในอาคารเดียวกัน ความส�าคัญ 

อยู่ที่แต่ละยุคสมัยของพม่านั้น มีการสร้างวัดเป็นจ�านวนมาก มีขนาด 

ใหญ่โต และมีการปิดทองเจดีย์ให้เหลืองอร่ามเกือบทุกองค์ เหล่าน้ี 

สะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในพม่าที่มีต่อศาสนา 

อย่างแท้จริง

หนังสือศิลปะพม่าเล่มน้ีเป็นเพียงส่วนหน่ึงของชุดความรู้ประวัติ 

ศาสตร์ศิลปะในประเทศอาเซียน ท่ีเป็นงานรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียง 

ขึ้นอย่างเป็นระบบ  ในเรื่องของรูปแบบศิลปกรรมในแต่ละยุคสมัย 

ที่เกิดขึ้นในดินแดนพม่า ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่มีการรับวัฒนธรรมทาง 

ศาสนา ผ่านยุคสมัยต่างๆ ทั้งของชาวพม่า ชาวมอญ และชาวยะไข ่

ท่ีเป็นชนชาติหลักในการสร้างงานศิลปกรรม จนมาถึงยุคปัจจุบัน โดย 

ประกอบด้วย ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์โดยย่อ ประวัติศาสตร์ 

ศิลปะในแต่ละยุคสมัย แหล่งเรียนรู้ทางศิลปกรรมท่ีส�าคัญ และท้ายสุด 

บทบาทของงานศิลปะพม่าที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะในประเทศไทย

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากการเรียนรู้และเข้าใจในงานศิลปกรรม 

พม่าจะมีส่วนช่วยให้ผู ้อ่านได้เรียนรู้ และเข้าใจถึงความงาม ความ 

ศรัทธา จิตวิญญาณของผู้คนในพม่า ว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจงดงาม อ่อนน้อม 

ถ่อมตน สมกับความเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาต่อพุทธศาสนา 

อย่างแท้จริง

  ในโอกาสนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. 

สันติ เล็กสุขุม ผู้ถ่ายทอดความรู้ศิลปะพม่าแก่ผู ้เขียนมาโดยตลอด 

คุณภภพพล จันทร์วัฒนกุล ผู้น�าพาไปรู้จักแหล่งความรู้และผู้คนใน 

พม่าพร้อมการเอ้ือเฟื้อภาพประกอบอันงดงาม  รองศาสตราจารย์ 

ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี ผู้ช่วยเพิ่มเติมความรู้และแหล่งข้อมูลใหม่ๆ และ 

ภาพประกอบ  คุณภัทราวรรณ บุญจันทร์ ผู้ช่วยตรวจแก้ภาษาต้นฉบับ 

Page 16: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

และขอขอบคุณผู้เอื้อเฟื้อภาพประกอบอีกหลายท่าน อาทิ คุณอรุณศักดิ์ 

กิ่งมณี  อาจารย์ ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช  อาจารย์กวิฎ ต้ังจรัสวงศ ์

รวมทั้งผู้ที่มิได้เอยนาม ณ ที่นี้

                  ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย  สายสิงห์

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี

มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 17: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)
Page 18: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ศิลปะพม่า

Page 19: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

ประวัติศาสตร์สังคม

และวัฒนธรรมพม่า

Page 20: ศิลปะพม่า · 2016-02-12 · สมัยที่ ๖ ศิลปะพม่ายุคหลัง สมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ)

3ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

การแบ่งยุคสมยัทางประวตัศิาสตร์สามารถแบ่งออกได้ดงันี้

สมยัที่ ๑ สมยัก่อนประวตัศิาสตร์ (ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๗)

สมัยที่ ๒ การรับอารยธรรมอินเดียยุคแรกเริ่ม (พุทธศตวรรษ 

ที่ ๗-๑๑)

สมยัที่ ๓ ยุคอารยธรรมโบราณ : ปยู มอญโบราณ และอาระคนั 

(ยะไข่) (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕)

สมัยที่ ๔ สมัยพุกาม (จักรวรรดิพม่าครั้งที่ ๑) (พ.ศ. ๑๕๘๗- 

๑๘๓๐)

สมยัที่ ๕ สมยัหลงัพุกาม (พ.ศ. ๑๘๓๐-๒๐๙๘)

สมัยที่ ๖ ราชวงศ์ตองอูและราชวงศ์นยองยาน (จักรวรรดิพม่า 

ครั้งที่ ๒) (พ.ศ. ๒๐๒๙-๒๒๙๕)

สมัยที่ ๗ ราชวงศ์คองบอง (จักรวรรดิพม่าครั้งที่ ๓) (พ.ศ. 

๒๒๙๕-๒๔๒๘)

สมัยที่ ๘ พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ (พ.ศ. ๒๔๒๘-  

๒๔๙๑)

สมัยที่ ๙ พม่าภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ (พ.ศ. 

๒๔๙๑-ปัจจุบนั)

สมัยที่๑สมัยก่อนประวัติศาสตร์

(ก่อนพุทธศตวรรษที่๗)

พม่าถือเป็นดินแดนหนึ่งที่มีการพบหลักฐานพัฒนาการของ 

มนุษย์มาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับดินแดนอื่นๆ 

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุที่ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีทั้ง 

ภูเขา แม่น�้า ถ�้า เพิงผา และพื้นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะ 

แก่การอยู่อาศัยของมนุษย์ โดยได้พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัย 

ก่อนประวัติศาสตร์ลักษณะเดียวกับที่พบในประเทศไทย  ทั้งรูปแบบ 

วัฒนธรรม เครื่องมือ เครื่องใช้ และพัฒนาการในแต่ละยุคสมัย (ภาพ 

ที่ ๑) ตั้งแต่วัฒนธรรมยุคหินหรือในสังคมแบบล่าสัตว์และสังคม