227

ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 2: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑

Page 3: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 4: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๓

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓

Page 5: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

เรื่อง - ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.๒๕๕๑

- ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิก

สภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการพ.ศ.๒๕๕๓

- ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาพ.ศ.๒๕๕๑

- ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ.๒๕๕๓

ปีที่พิมพ์ ธันวาคม๒๕๕๓

จำ�นวนหน้� ๒๒๐หน้า

พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำานวนพิมพ์๓,๐๐๐เล่ม

จัดทำ�โดย กลุ่มงานผลิตเอกสาร

สำานักประชาสัมพันธ์

สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ถนนประดิพัทธ์แขวงสามเสนในเขตพญาไท

กรุงเทพฯ๑๐๔๐๐

โทร.๐๒๒๔๔๒๒๙๔-๕

โทรสาร๐๒๒๔๔๒๒๙๒

ดัชนีคำ�ค้น/ นางสาวอารีย์วรรณพูลทรัพย์

พิสูจน์อักษร

พิมพ์ นางสาวเสาวลักษณ์ธนชัยอภิภัทร

ศิลปกรรม นายมานะเรืองสอน

Page 6: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

สารบัญ

ข้อบังคับก�รประชุมสภ�ผู้แทนร�ษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ๓

หมวด๑ การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ๔

หมวด๒ อำานาจและหน้าที่ของประธานสภารองประธานสภา

และหน้าที่ของเลขาธิการ ๕

หมวด๓ การประชุม ๗

ส่วนที่๑ วิธีการประชุม ๗

ส่วนที่๒ การเสนอญัตติ ๑๕

ส่วนที่๓ การอภิปราย ๒๐

ส่วนที่๔การลงมติ ๒๓

หมวด๔ กรรมาธิการ ๒๗

หมวด๕ การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญ ๔๖

หมวด๖ การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ๔๘

หมวด๗ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภา

มีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป ๖๐

หมวด๘ กระทู้ถาม ๖๑

ส่วนที่๑ บททั่วไป ๖๑

ส่วนที่๒ กระทู้ถามสด ๖๔

ส่วนที่๓ กระทู้ถามทั่วไป ๖๖

หมวด๙ การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ๖๘

Page 7: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

หมวด๑๐การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ๖๙

หมวด๑๑การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ๗๑

หมวด๑๒บทสุดท้าย ๗๒

บทเฉพาะกาล ๗๔

ข้อบังคับว่�ด้วยประมวลจริยธรรมของ

สม�ชิกสภ�ผู้แทนร�ษฎรและกรรม�ธิก�ร พ.ศ. ๒๕๕๓ ๗๙

หมวด๑ ๘๑

ส่วนที่๑ อุดมคติของการเป็นสมาชิกและ

กรรมาธิการ ๘๑

ส่วนที่๒ การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิก ๘๒

และกรรมาธิการ

ส่วนที่๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำารงตน

ครอบครัวและผู้อื่น ๘๕

หมวด๒การควบคุมให้เป็นไปตามจริยธรรม ๘๖

ข้อบังคับก�รประชุมวุฒิสภ� พ.ศ. ๒๕๕๑ ๙๓

หมวด๑ การเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา ๙๓

หมวด๒ อำานาจและหน้าที่ของประธานวุฒิสภา

รองประธานวุฒิสภาและเลขาธิการวุฒิสภา ๙๗

หมวด๓ การประชุมวุฒิสภา ๙๙

ส่วนที่๑ วิธีการประชุม ๙๙

ส่วนที่๒ การเสนอญัตติ ๑๐๖

ส่วนที่๓ การอภิปราย ๑๑๑

Page 8: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ส่วนที่๔การลงมติ ๑๑๕

หมวด๔ กรรมาธิการ ๑๒๐

หมวด๕ การพิจารณาให้บุคคลดำารงตำาแหน่งตาม

มาตรา ๑๒๑ของรัฐธรรมนูญ ๑๔๒

หมวด๖ การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา๒๗๐

ของรัฐธรรมนูญ ๑๔๖

หมวด๗ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญร่างพระราชบัญญัติ

และพระราชกำาหนด ๑๕๔

ส่วนที่๑ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญ ๑๕๔

ส่วนที่๒ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ๑๕๖

ส่วนที่๓ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่าง

พระราชบัญญัติที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ

ให้พิจารณาต่อไปตามมาตรา๑๕๓

ของรัฐธรรมนูญ ๑๖๔

ส่วนที่๔การพิจารณาพระราชกำาหนด ๑๖๕

หมวด๘ การตั้งกระทู้ถาม ๑๖๖

หมวด๙ การเปิดอภิปรายทั่วไป ๑๗๑

หมวด๑๐การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ๑๗๒

หมวด๑๑บทสุดท้าย ๑๗๓

บทเฉพาะกาล ๑๗๖

Page 9: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับก�รประชุมรัฐสภ� พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑๘๑

หมวด๑ อำานาจและหน้าที่ของประธานรัฐสภา

รองประธานรัฐสภาและหน้าที่ของ

เลขาธิการรัฐสภาและรองเลขาธิการรัฐสภา ๑๘๓

หมวด๒ การประชุมรัฐสภา ๑๘๕

ส่วนที่๑ วิธีการประชุม ๑๘๕

ส่วนที่๒ การเสนอญัตติ ๑๙๑

ส่วนที่๓ การอภิปราย ๑๙๔

ส่วนที่๔ การลงมติ ๑๙๗

หมวด๓ กรรมาธิการ ๒๐๑

หมวด๔ การให้ความเห็นชอบตามมาตรา๑๔๕

ของรัฐธรรมนูญ ๒๐๖

หมวด๕ การให้ความเห็นชอบตามมาตรา๑๕๓ ๒๐๘

ของรัฐธรรมนูญ

หมวด๖ การรับฟังคำาชี้แจงและการให้ความเห็นชอบ

หนังสือสัญญาตามมาตรา๑๙๐ของ

รัฐธรรมนูญ ๒๐๙

หมวด๗ การเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

แก้ไขเพิ่มเติม ๒๐๙

หมวด๘ การแถลงนโยบาย ๒๑๖

หมวด๙ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็น

ของสมาชิกรัฐสภา ๒๑๗

หมวด๑๐ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ๒๑๗

หมวด๑๑ บทสุดท้าย ๒๑๙

Page 10: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

3

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. ๒๕๕๑

อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๑๓๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐สภาผู้แทนราษฎรจึงตราข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า“ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.๒๕๕๑” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้คำาว่า “ประธานสภา” หมายความว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร “รองประธานสภา”หมายความว่า รองประธานสภาผู้แทนราษฎร “สภา”หมายความว่าสภาผู้แทนราษฎร “ประธาน”หมายความว่าประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “กรรมาธิการ” หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญของสภา

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

นิยามที่ใช้ในข้อบังคับ

Page 11: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

4

“บริเวณสภา” หมายความว่า อาณาบริเวณอันเป็นขอบเขตของสภาผู้แทนราษฎรและให้หมายความรวมถึงอาคารที่ทำาการต่าง ๆ และอาคารที่ทำาการของสภาผู้แทนราษฎรด้วย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “การประชุม” หมายความว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร “ศาล” หมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง ข้อ ๔ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำานาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้

หมวด ๑

การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา

ข้อ ๕ การเลือกประธานสภาสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อการเสนอนั้นต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียวให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

เลือกประธานสภา

Page 12: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

5

ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม ข้อ ๖ การเลือกรองประธานสภาให้นำาความในข้อ๕มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภาสองคนให้เลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สอง ข้อ๗ เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็วเพื่อนำาความกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการส่งสำาเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย

หมวด ๒

อำานาจและหน้าที่ของประธานสภา

รองประธานสภา และหน้าที่ของเลขาธิการ

ข้อ ๘ ประธานสภามีอำานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)เป็นประธานของที่ประชุมสภา (๒)กำากับดูแลการดำาเนินกิจการของสภา (๓)ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาตลอดถึงบริเวณสภา (๔)เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

เลือกรองประธานสภา

อำานาจหน้าที่ประธานสภา

แต่งตั้งประธานและรองประธานสภา

Page 13: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

6

(๕)แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำาเนินกิจการใด ๆอันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา (๖)อำานาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ข้อ ๙ รองประธานสภามีอำานาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำานาจหน้าที่ของประธานสภาหรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย เมื่อไม่มีผู้ดำารงตำาแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้ ในกรณีที่มี รองประธานสภาสองคน ให้รองประธานสภาคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา ถ้ารองประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา ข้อ ๑๐ เลขาธิการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)นัดประชุมสภาและคณะกรรมาธิการครั้งแรก (๒)เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่ (๓)ช่วยประธานในการควบคุมการนับคะแนนเสียง (๔)จัดทำารายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน (๕)ยืนยันมติของสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง

อำานาจหน้าที่รองประธานสภา

หน้าที่ของเลขาธิการ

Page 14: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

7

(๖)รักษาสรรพเอกสาร ข้อมูลและโสตทัศนวัสดุของสภา (๗)ควบคุมการปฏิบัติ งานให้ เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด (๘)หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (๙)ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธานสภามอบหมาย

หมวด ๓

การประชุม

ส่วนที่ ๑

วิธีการประชุม

ข้อ ๑๑ การประชุมย่อมเป็นการเปิดเผย เว้นแต่คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ การประชุมเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด และประธานสภาต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่ประชาชนทั่วไป

การประชุมสภา

การประชุมเปิดเผย

Page 15: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

8

สามารถรับได้อย่างทั่วถึง เว้นแต่มีเหตุขัดข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ ในกรณีที่ไม่สามารถถ่ายทอดสดการประชุมตามวรรคสองได้ ให้ประธานสภาจัดให้มีการเผยแพร่บันทึกเทปการประชุมดังกล่าวผ่านทางสื่อที่เหมาะสมโดยเร็ว การประชุมลับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมเว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานเท่านั้น ข้อ ๑๒ ให้มีการประชุมครั้งแรกภายในสิบวันนับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญหรือวิสามัญของรัฐสภา การประชุมครั้งต่อไปให้เป็นไปตามมติที่สภากำาหนดไว้ แต่ถ้ามีเหตุอันสมควรประธานสภาจะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้ ในกรณีที่ประธานสภาเห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษให้เรียกประชุมได้ ข้อ ๑๓ การนัดประชุมต้องทำาเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันแต่ถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ ข้อ ๑๔ ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ถ้าประธานสภาเห็นสมควรจะบรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมอีกก็ได้ แต่ต้องก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน

การประชุมลับ

การนัดประชุม

การส่งระเบียบวาระการประชุม

การประชุมสภาครั้งแรก

Page 16: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

9

ข้อ ๑๕ การนัดประชุมหรือการส่งเอกสารตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔ อาจดำาเนินการทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เมื่อประธานสภาเห็นสมควร เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำาหนด ข้อ ๑๖ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำาดับดังต่อไปนี้ (๑)กระทู้ถาม (๒)เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (๓)รับรองรายงานการประชุม (๔)เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว (๕)เรื่องที่ค้างพิจารณา (๖)เรื่องที่เสนอใหม่ (๗)เรื่องอื่นๆ ในกรณีที่ประธานสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำาดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้แต่จะจัดไว้ก่อนเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วไม่ได้ ข้อ ๑๗ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมประธานสภาอาจอนุญาตให้สมาชิกปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานสภากำาหนด และให้ประธานสภาส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐมนตรีหรือหน่วยงาน

การนัดประชุมหรือการส่งเอกสาร

การจัดระเบียบวาระการประชุม

ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม

Page 17: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

10

ของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจงภายในสามสิบวัน และแจ้งให้สมาชิกทราบ ข้อ ๑๘ ก่อนเข้าประชุมทุกครั้งให้สมาชิกมาประชุมลงชื่อในเอกสารที่จัดไว้หรือแสดงตนตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามตามมาตรา๑๕๖และมาตรา๑๕๗ของรัฐธรรมนูญถ้ามีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุมพิจารณาได้ เมื่อมีสมาชิกมาลงชื่อครบองค์ประชุมและมีสัญญาณให้เข้าประชุมแล้วให้ประธานดำาเนินการประชุมได้ เมื่อประธานขึ้นบัลลังก์ ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมยืนขึ้นจนกว่าประธานได้นั่งลง ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำาหนดประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว จำานวนสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้ ข้อ ๒๐ เมื่อไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานของที่ประชุม ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งมาประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมดำาเนินการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาตามข้อ ๕ และ

องค์ประชุม

เลื่อนการประชุม

ประธานชั่วคราว

Page 18: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

11

ข้อ๖หรือเพื่อให้ที่ประชุมดำาเนินการเลือกประธานเฉพาะคราวสำาหรับการประชุมครั้งนั้น ในกรณีที่ที่ประชุมต้องประชุมปรึกษาเรื่องอื่น ในการเลือกประธานเฉพาะคราว ให้นำาความในข้อ๕มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๑ การประชุม ให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุม และต้องดำาเนินการพิจารณาตามลำาดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้เว้นแต่ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำาต่อที่ประชุมให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้และต้องเป็นคำากล่าวกับประธานเท่านั้น ข้อ ๒๓ ถ้ารัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมให้ประธานพิจารณาอนุญาต สมาชิกอาจซักถามเพื่อความกระจ่างแจ้งในเรื่องที่แถลงหรือชี้แจงนั้นแต่รัฐมนตรีจะไม่ตอบก็ได้ถ้าเห็นว่าข้อซักถามนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำาคัญของแผ่นดิน ข้อ ๒๔ ในกรณีที่สภาพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับศาลองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานอื่นที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภา ให้ผู้แทนขององค์กรนั้นมีสิทธิเข้าแถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุมได้เมื่อประธานอนุญาต

การกล่าวถ้อยคำาในที่ประชุม

กรณีที่รัฐมนตรีขอชี้แจงต่อที่ประชุม

การพิจารณาเรื่องศาลองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานอื่น

Page 19: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

12

ในการแถลงหรือชี้แจง ให้นำาความในข้อ ๖๑ข้อ๖๒ข้อ๖๓และข้อ๖๔มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๕ ประธานมีอำานาจปรึกษาหารือที่ประชุมในปัญหาใด ๆ กำาหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุมสั่งพักการประชุมเลื่อนการประชุมหรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าประธานลงจากบัลลังก์โดยไม่ได้สั่งอย่างใดและไม่มีรองประธานปฏิบัติหน้าที่แทนให้เลิกการประชุม ข้อ ๒๖ รายงานการประชุม เมื่อคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรตรวจแล้ว ก่อนที่จะเสนอให้สภารับรอง ให้ทำาสำาเนาวางไว้ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ณ บริเวณสภาเพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้ รายงานการประชุมทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกที่มาประชุม ที่ลาการประชุม ที่ขาดการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนนแต่ละเรื่อง สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมดังกล่าวให้ตรงตามที่เป็นจริงโดยยื่นคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร ถ้าคณะกรรมาธิการไม่ยอมแก้ไขเพิ่มเติมให้ตามที่ขอสมาชิกผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้สภาวินิจฉัย ข้อ ๒๗ รายงานการประชุมครั้งใด เมื่อได้วางสำาเนาไว้เพื่อให้สมาชิกตรวจดูแล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติม

อำานาจประธานในการขอปรึกษา

ที่ประชุม

รายงานการประชุม

การแก้ไขเพิ่มเติมรายงาน

การประชุม

การแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุม

Page 20: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

13

ในภายหลังโดยคณะกรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมเองหรือโดยสมาชิกขอแก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม ในคราวที่สภาพิจารณารับรองรายงานการประชุมนั้น คณะกรรมาธิการจะต้องแถลงต่อที่ประชุมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ข้อ ๒๘ เมื่อสภาได้รับรองรายงานการประชุมครั้งใดแล้วให้ประธานสภาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน รายงานการประชุมที่ได้รับรองแล้ว แต่ประธานสภายังมิได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน หรือรายงานการประชุมที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่อายุของสภาสิ้นสุดลง ให้เลขาธิการบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรองความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้น ข้อ ๒๙ สภาอาจมีมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้แต่ให้มีบันทึกเหตุการณ์ไว้ ข้อ ๓๐ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อให้สภามีมติว่าจะเปิดเผยหรือไม่ ข้อ ๓๑ สภาอาจมีมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำาคัญของแผ่นดินที่ได้กล่าวหรือปรากฏในการประชุมก็ได้ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำาในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิก

รับรองรายงานการประชุม

การจดรายงานการประชุมลับ

การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ

ห้ามโฆษณาข้อความในการประชุม

Page 21: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

14

ได้รับความเสียหาย บุคคลนั้นมีสิทธิร้องขอต่อประธานสภาภายในกำาหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่มีการประชุมครั้งนั้นเพื่อให้มีการโฆษณาคำาชี้แจง การยื่นคำาร้องต้องทำาเป็นหนังสือพร้อมคำาชี้แจงประกอบข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนและอยู่ในประเด็นที่ผู้ร้องอ้างว่าก่อให้เกิดความเสียหายเท่านั้น ข้อ ๓๓ ให้เป็นอำานาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าคำาร้องและคำาชี้แจงที่ผู้ร้องกล่าวอ้างมานั้น เป็นไปตามข้อ๓๒หรือไม่ ให้ประธานสภาวินิจฉัยคำาร้องและคำาชี้แจงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำาร้อง ในกรณีที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าคำาร้องและคำาชี้แจงไม่เป็นไปตามข้อ ๓๒ ให้ยกคำาร้องเสีย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ คำาวินิจฉัยของประธานสภาให้ถือเป็นเด็ดขาด ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ประธานสภาได้วินิจฉัยว่าคำาร้องและคำาชี้แจงเป็นไปตามข้อ๓๒ให้ประธานสภาจัดให้มีการโฆษณาโดยวิธีปิดประกาศคำาชี้แจงไม่น้อยกว่าเจ็ดวันไว้ณบริเวณสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้และโฆษณาโดยวิธีการอื่นตามที่ประธานสภาเห็นสมควร ข้อ ๓๕ เมื่อประธานสภาดำาเนินการตามข้อ ๓๔แล้วให้แจ้งผู้ร้องผู้กล่าวถ้อยคำาที่ก่อให้เกิดความเสียหายและที่ประชุมสภารับทราบในโอกาสแรกที่มีการประชุม

การวินิจฉัยคำาร้องและคำาชี้แจง

การปิดประกาศคำาชี้แจง

Page 22: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

15

ข้อ ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุมทั้งนี้นอกจากรายงานการประชุมลับที่สภามีมติไม่ให้เปิดเผย

ส่วนที่ ๒

การเสนอญัตติ

ข้อ ๓๗ ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำาหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓๘ ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๓๙ หรือร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๔๒ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา๑๕๘ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา๒๙๑ของรัฐธรรมนูญและญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง ข้อ ๓๙ ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุมสภาตามมาตรา๑๗๗ของรัฐธรรมนูญถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ข้อ ๔๐ ญัตติขอให้สภามีมติว่ากรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำานาจหน้าที่ระหว่างสภากับองค์กรตาม

การจัดพิมพ์รายงานการประชุม

การเสนอญัตติ

ญัตติที่ไม่ต้องมีผู้รับรอง

ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม

ญัตติขอให้สภามีมติกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำานาจหน้าที่

Page 23: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

16

มาตรา๒๑๔ของรัฐธรรมนูญถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ข้อ ๔๑ ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของสภาตามมาตรา ๑๓๕ ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ข้อ ๔๒ ในกรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์สำาคัญของแผ่นดิน หรือมีความจำาเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือในทางใด ๆก็ตามหรือในอันที่จะขจัดเหตุใดๆที่กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง จะเสนอญัตติด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาเป็นการด่วนก็ได้ ญัตติด่วนต้องไม่มีลักษณะทำานองเดียวกับกระทู้และต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สภาดำาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ข้อ ๔๓ ให้เป็นอำานาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วนหรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วให้แจ้งผู้เสนอญัตติทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตตินั้น

ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการ

ประธานสภาวินิจฉัยญัตติ

ญัตติด่วน

Page 24: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

17

ให้ประธานสภาบรรจุญัตติด่วนเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ญัตติที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าไม่ได้เป็นญัตติด่วนให้ประธานสภาดำาเนินการต่อไปตามข้อ๔๕ ข้อ ๔๔ ญัตติที่จะก่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย ต้องเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ข้อ ๔๕ ภายใต้บังคับข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ ให้ประธานสภาบรรจุญัตติเข้าระเบียบวาระการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับญัตตินั้นตามลำาดับที่ยื่นก่อนหลัง กำาหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม ข้อ ๔๖ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ (๑)ขอให้พิจารณาเป็นเรื่องด่วน (๒)ขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม (๓)ขอให้ลงมติตามข้อ๒๙หรือข้อ๓๑ (๔) ญัตติในข้อ ๔๗ ข้อ ๗๒ ข้อ ๗๕ ข้อ ๗๖ข้อ๑๑๗หรือข้อ๑๗๖ (๕)ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร ญัตติตาม(๒)ถ้าเป็นการเสนอเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราช

ญัตติที่จะก่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย

การบรรจุญัตติเข้าระเบียบวาระ

ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ

Page 25: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

18

บัญญัติ เมื่อที่ประชุมลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้ว ให้มีผลบังคับในการประชุมครั้งต่อไป ข้อ ๔๗ เมื่อที่ประชุมกำาลังพิจารณาญัตติใดอยู่ห้ามเสนอญัตติอื่นขึ้นมาพิจารณาเว้นแต่ญัตติดังต่อไปนี้ (๑)ขอแปรญัตติ เฉพาะในเรื่องที่ ไม่ ใช่ร่ างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ (๒)ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำานองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน (๓)ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา หรือขอให้บุคคลใดส่งเอกสารหรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น (๔)ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ (๕)ขอให้เลื่อนการปรึกษาหรือพิจารณา (๖)ขอให้ปิดอภิปราย (๗)ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา ญัตติตาม(๓)(๕)(๖)หรือ (๗)เมื่อที่ประชุมลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้ว ห้ามไม่ให้เสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก ข้อ ๔๘ ญัตติตามข้อ ๔๗ (๖) และ (๗) ห้ามเสนอในคราวเดียวกับการอภิปรายของตน

ญัตติที่เสนอได้ในขณะที่ที่ประชุม

กำาลังพิจารณาญัตติอื่น

Page 26: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

19

ข้อ ๔๙ ญัตติตามข้อ๔๗(๗)ห้ามเสนอในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ ข้อ ๕๐ ในกรณีที่ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณาให้ญัตติเดิมเป็นอันตกไป ข้อ ๕๑ ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น ข้อ ๕๒ ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อ๑๖๔ ข้อ ๕๓ ญัตติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะถอนญัตติหรือจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือจะถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอ หรือผู้รับรองจะถอนการรับรองญัตติจะต้องได้รับความยินยอมของที่ประชุม ข้อ ๕๔ การถอนคำาแปรญัตติจะกระทำาเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาแปรญัตติ จะกระทำาได้เฉพาะภายในกำาหนดเวลาแปรญัตติ ข้อ ๕๕ ญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมแล้ว การเสนอญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันจะกระทำามิได้

การเสนอและการรับรองญัตติ

การถอนและแก้ไขเพิ่มเติมคำาแปรญัตติ

การแก้ไขเพิ่มเติมหรือถอนญัตติ

กรณีที่ญัตติหรือคำาแปรญัตติตกไป

Page 27: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

20

ถ้าผู้ เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุม หรือผู้ เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมโดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมายญัตติหรือคำาแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป การมอบหมายให้ชี้แจงแทนต้องทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภา ข้อ ๕๖ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำาญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกันเว้นแต่ญัตติที่ยังไม่ได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานสภาจะอนุญาตในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ข้อ ๕๗ ญัตติใดที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว หากสภาไม่ได้พิจารณาในสมัยประชุมนั้นให้เป็นอันตกไป เว้นแต่ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติตามข้อ๔๔

ส่วนที่ ๓

การอภิปราย

ข้อ ๕๘ ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ แต่ถ้าผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติมีหลายคน ให้ประธานอนุญาตให้อภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว

กรณีที่ญัตติตกไป

ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน

Page 28: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

21

กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็นหรือสมาชิกหรือกรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำาแปรญัตติไว้ในขั้นคณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้แปรญัตติด้วย ข้อ ๕๙ เมื่อผู้อภิปรายก่อนได้อภิปรายแล้วการอภิปรายในลำาดับต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุนเว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่ค้านย่อมกระทำาได้โดยไม่ต้องสลับและไม่ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด ข้อ ๖๐ ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคนประธานจะให้คนใดอภิปรายก็ได้ แต่ให้คำานึงถึงผู้เสนอญัตติ ผู้แปรญัตติและผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย ข้อ ๖๑ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำาลังปรึกษากันอยู่ ต้องไม่ฟุ่มเฟือยวนเวียนซ้ำาซากหรือซ้ำากับผู้อื่นและห้ามไม่ให้นำาเอกสารใดๆมาอ่านให้ที่ประชุมฟังโดยไม่จำาเป็นและห้ามไม่ให้นำาวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุม เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึง

ลำาดับในการอภิปราย

กรณีมีผู้ขออภิปรายหลายคน

ลักษณะการอภิปราย

Page 29: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

22

พระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำาเป็น ข้อ ๖๒ ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้วประธานจะให้ผู้นั้นหยุดอภิปรายก็ได้ ข้อ ๖๓ สมาชิกผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำาวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด ให้นำาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น ข้อ ๖๔ เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ ๖๓ ผู้อภิปรายอาจถอนคำาพูดของตนหรือตามคำาวินิจฉัยของประธานได้ ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมสภาโดยไม่ถอนคำาพูดตามคำาวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกการไม่ปฏิบัติตามคำาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม ข้อ ๖๕ การอภิปรายเป็นอันยุติเมื่อ (๑)ไม่มีผู้ใดอภิปราย (๒)ที่ประชุมลงมติให้ปิดอภิปราย (๓)ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา

การประท้วง

การถอนคำาพูด

การยุติการอภิปราย

Page 30: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

23

ข้อ ๖๖ ในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้วจะขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๖๗ เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุมจะต้องลงมติในเรื่องนั้นจึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งในแต่ละญัตติมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติ ข้อ ๖๘ ประธานอาจอนุญาตให้รัฐมนตรีมอบหมายให้บุคคลใดๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมประกอบการอภิปรายของรัฐมนตรีก็ได้ ข้อ ๖๙ ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้นให้ผู้ที่กำาลังพูดหยุดพูดและนั่งลงทันที

ส่วนที่ ๔

การลงมติ

ข้อ ๗๐ ในกรณีที่จะต้องมีมติของสภา ให้ประธานมีสัญญาณให้สมาชิกทราบก่อนลงมติ ประธานมีอำานาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติเว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๗๑ เสียงข้างมากตามมาตรา ๑๒๖ วรรคสองของรัฐธรรมนูญนั้นถ้าความเห็นของที่ประชุมมีตั้งแต่

การปิดอภิปราย

การอภิปรายสรุป

อำานาจประธานในการประชุม

การชี้แจงข้อเท็จจริง

การลงมติ

Page 31: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

24

สองฝ่ายขึ้นไป ให้ถือเอาจำานวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ๗๒ การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำาเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขอให้กระทำาเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ ในกรณีที่สมาชิกเสนอญัตติให้ลงคะแนนลับตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกในที่ประชุม ให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่จะลงคะแนนโดยเปิดเผย การออกเสียงลงคะแนนจะกระทำาแทนกันมิได้ ข้อ ๗๓ การออกเสียงลงคะแนนเลือก หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำารงตำาแหน่งใดตามมาตรา ๑๒๖วรรคห้าของรัฐธรรมนูญให้กระทำาเป็นการลับ ข้อ๗๔ การออกเสียงลงคะแนน ห้ามมิให้รัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกในขณะเดียวกันออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำารงตำาแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ข้อ ๗๕ การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้

การออกเสียงลงคะแนน

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผย

Page 32: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

25

(๑)ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานกำาหนด (๒)เรียกชื่อสมาชิกตามหมายเลขประจำาตัวสมาชิก ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคนตามวิธีที่ประธานกำาหนด (๓)วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี การออกเสียงลงคะแนนตาม(๑)หากเครื่องออกเสียงลงคะแนนขัดข้องให้ เปลี่ยนเป็นวิธีการตามที่ประธานกำาหนด การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้วิธีตาม (๑) จะใช้วิธีตาม (๒) หรือ (๓) ได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมอนุมัติ หรือเมื่อมีการนับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ๗๗ การออกเสียงลงคะแนนตาม (๒) หรือวรรคสองให้ประธานเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าหกคนเป็นผู้ตรวจนับคะแนน ข้อ๗๖ การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑)เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย3ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย x ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมายo

การออกเสียงลงคะแนนลับ

Page 33: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

26

(๒)วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี ให้นำาความในข้อ ๗๕ วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ๗๗ เมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ๗๕(๑)แล้วถ้าสมาชิกร้องขอให้มีการนับใหม่โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ก็ให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีการลงคะแนนเป็นวิธีตามข้อ๗๕ (๒) เว้นแต่คะแนนเสียงต่างกันเกินกว่ายี่สิบห้าคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ไม่ได้ เมื่อได้มีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ๗๕(๒)แล้วจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกไม่ได้ ข้อ ๗๘ สมาชิกซึ่งเข้ามาในที่ประชุมระหว่างการออกเสียงลงคะแนนอาจออกเสียงลงคะแนนได้ก่อนประธานสั่งปิดการนับคะแนน ข้อ๗๙ เมื่อได้นับคะแนนเสียงแล้ว ให้ประธานประกาศมติต่อที่ประชุมทันที ถ้าเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญกฎหมาย หรือข้อบังคับนี้กำาหนดไว้ว่ามติจะต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงถึงจำานวนเท่าใด ก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงข้างมากถึงจำานวนที่กำาหนดไว้นั้นหรือไม่ ข้อ ๘๐ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยญัตตินั้น

การนับคะแนนเสียงใหม่

การประกาศมติต่อที่ประชุม

ญัตติที่ไม่มีผู้คัดค้าน

Page 34: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

27

ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ หรือเรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดให้ที่ประชุมวินิจฉัยโดยการออกเสียงลงคะแนน ข้อ ๘๑ ให้เลขาธิการจัดทำาบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและปิดประกาศบันทึกดังกล่าวไว้ณบริเวณสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับตามข้อ๗๖

หมวด ๔

กรรมาธิการ

ข้อ ๘๒ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นสามสิบห้าคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมาธิการมีจำานวนสิบห้าคนโดยให้มีอำานาจหน้าที่ดังนี้ (๑)คณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำาเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองสิทธิชุมชนในกระบวนการยุติธรรม

บันทึกและปิดประกาศการออกเสียงลงคะแนน

คณะกรรมาธิการสามัญ

คณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน

Page 35: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

28

(๒)คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบและปรับปรุงการดำาเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎร คำาร้องเรียนข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการของสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเรื่องใดๆที่อยู่ในอำานาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและองค์กรรัฐสภาระหว่างประเทศ ตลอดจนตรวจสอบรายงานการประชุม พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยรายงานการประชุมลับ และติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร (๓)คณะกรรมาธิ การกิ จการองค์ ก รตามรัฐธรรมนูญรัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนและกองทุน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำาเนินงานของหน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ การดำาเนินงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการบริหารจัดการขององค์การมหาชนและกองทุนต่างๆ (๔)คณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาชายแดนไทย

คณะกรรมาธิการกิจการสภา

ผู้แทนราษฎร

คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตาม

รัฐธรรมนูญรัฐวิสาหกิจ

องค์การมหาชนและกองทุน

คณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย

Page 36: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

29

(๕)คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุและผู้พิการ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการรวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศต่างประเทศ ประชาคมนานาชาติเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ (๖)คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนี้สินทุกระดับ ได้แก่ปัญหาหนี้สินของประเทศหนี้สินภาคธุรกิจหนี้สินภาคอุตสาหกรรม หนี้สินข้าราชการ ตลอดจนหนี้สินเกษตรกร (๗)คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรการสหกรณ์การพัฒนาการผลิตและการตลาด (๘)คณะกรรมาธิการการคมนาคม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการคมนาคมทั้งการจราจร

คณะกรรมาธิการกิจการเด็กเยาวชนสตรีผู้สูงอายุและผู้พิการ

คณะกรรมาธิการการคมนาคม

คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์

Page 37: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

30

ทางบกทางน้ำาทางอากาศทางอวกาศการขนส่งมวลชนการขนส่งสินค้าและการพาณิชย์นาวี (๙)คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ทั้งเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินแดนและความมั่นคงของประชาชน (๑๐)คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค (๑๑) คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การธนาคาร ตลาดเงิน ตลาดทุน และสถาบันการเงินของประเทศ (๑๒)คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภาพลักษณ์ของประเทศรวมทั้ง

คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ

คณะกรรมาธิการการคุ้มครอง

ผู้บริโภค

คณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน

คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ

Page 38: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

31

กระทำากิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับชาวไทยซึ่งตั้งถิ่นฐานหรือไปประกอบอาชีพในต่างประเทศ (๑๓)คณะกรรมาธิการการตำารวจ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับกิจการตำารวจการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายการป้องกัน และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ (๑๔)คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในด้านงบประมาณ ติดตามและประเมินผลการรับ การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำาปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ (๑๕)คณะกรรมาธิการการทหาร มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับกิจการทหารการป้องกันการรักษาความมั่นคงและการพัฒนาประเทศ (๑๖) คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุปสรรค และการพัฒนาการท่องเที่ยวและการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คณะกรรมาธิการการตำารวจ

คณะกรรมาธิการการทหาร

คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ

คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา

Page 39: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

32

(๑๗)คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการส่งเสริม บำารุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม (๑๘)คณะกรรมาธิการการปกครอง มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพัฒนาระบบราชการและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง (๑๙)คณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้ง ส่งเสริมการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒๐)คณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด

คณะกรรมาธิการการที่ดิน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปราม

การฟอกเงินและยาเสพติด

คณะกรรมาธิการการปกครอง

Page 40: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

33

(๒๑)คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับการดำาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและมาตรการการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การแจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ รวมทั้งติดตามการให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยดังกล่าว (๒๒)คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการและมาตรการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (๒๓)คณะกรรมาธิการการพลังงาน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนาการจัดหาการใช้การอนุรักษ์พลังงานและผลกระทบจากการจัดหาและการใช้พลังงาน (๒๔)คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน

คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย

คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ

คณะกรรมาธิการการพลังงาน

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน

Page 41: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

34

การส่งเสริมและเผยแพร่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขวิถีคิดและวิถีปฏิบัติที่เป็นประชาธิปไตย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เสรีภาพและความรับผิดชอบในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน การคุ้มครองผู้ เสียหายจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐทุกระดับ (๒๕)คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อการเศรษฐกิจของชาติ ธุรกิจภาคเอกชน ประชาชน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆในสังคมโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยรวมทั้งนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐ (๒๖)คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการค้า การส่งออกดุลการค้า ลิขสิทธิ์ ตราสาร ทะเบียน การประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ และพัฒนาภูมิปัญญา

คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ

คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และ

ทรัพย์สินทางปัญญา

Page 42: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

35

ท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (๒๗)คณะกรรมาธิการการแรงงาน มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในประเทศ รวมทั้งแรงงานไทยในต่างประเทศ (๒๘)คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๒๙)คณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมราคาผลิตผลทางการเกษตรให้สามารถคุ้มต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทุกประเภทและสามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าตลอดจนมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพ (๓๐)คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการอุปถัมภ์ ทำานุบำารุง

คณะกรรมาธิการการแรงงาน

คณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม

คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

Page 43: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

36

และคุ้มครองศาสนาและโบราณสถาน การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมประชาธิปไตย ภูมิปัญญาชาวบ้านเอกลักษณ์และแบบวิถีชีวิตไทย (๓๑)คณะกรรมาธิการการศึกษา มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของชาติ และการส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตย รวมทั้งแนวทางการปรับฐานการเรียนรู้ของประชาชนสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ (๓๒)คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมไม่น้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐาน การสงเคราะห์ดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะผู้ยากไร้ในเมืองและชนบทและผู้ด้อยโอกาสในสังคม (๓๓)คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการแพทย์การสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพตลอดจนการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนและชุมชน

คณะกรรมาธิการการศึกษา

คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม

คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข

Page 44: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

37

(๓๔)คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสารสารสนเทศและโทรคมนาคม (๓๕)คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม มีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งศึกษาผลกระทบอันเกิดจากอุตสาหกรรม หากมีความจำาเป็นจะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญคณะอื่นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้ สมาชิกคนหนึ่งจะดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการสามัญได้ไม่เกินสองคณะ เมื่อคณะกรรมาธิการสามัญจะดำาเนินการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่ องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการสามัญรายงานให้ประธานสภาทราบ ในกรณีที่มีการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยคณะกรรมาธิการสามัญหลายคณะให้เป็นอำานาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภา และประธานคณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาว่าจะให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการดำาเนินการตามวรรคสามให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด

คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม

คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม

Page 45: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

38

ข้อ ๘๓ การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำานวนกรรมาธิการการเสนอนั้นต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ตั้งจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำานวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด จำานวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยให้มีจำานวนตามหรือ ใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ ในสภา การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมาธิการถ้ามีการเสนอชื่อกรรมาธิการเท่ากับจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อมากกว่าจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ข้อ ๘๔ การประชุมคณะกรรมาธิการ ต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในการประชุมคณะกรรมาธิการที่จะมีการลงมติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ

องค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ

Page 46: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

39

ข้อ ๘๕ การประชุมคณะกรรมาธิการ ให้นำาข้อบังคับนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมมาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกตั้งประธานรองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำาแหน่งอื่นตามความจำาเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ประธานคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะจะต้องมีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา ข้อ ๘๖ เมื่อไม่มีผู้ดำารงตำาแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานคณะกรรมาธิการหลายคนให้รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ถ้ารองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่งไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคณะกรรมาธิการลำาดับต่อไปเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ข้อ ๘๗ เพื่อประโยชน์ในการดำาเนินงาน คณะกรรมาธิการสามัญอาจตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาผู้ชำานาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำาคณะกรรมาธิการก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนดด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันของประธานคณะกรรมาธิการสามัญ

การประชุมคณะกรรมาธิการ

กรณีไม่มีผู้ดำารงตำาแหน่งประธานคณะกรรมาธิการหรือมีแต่ไม่อยู่

Page 47: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

40

ข้อ ๘๘ คณะกรรมาธิการมีอำานาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แล้วรายงานคณะกรรมาธิการภายในเวลาที่คณะกรรมาธิการกำาหนด ในกรณีที่คณะอนุกรรมาธิการกระทำากิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดไม่เสร็จภายในเวลาที่กำาหนด ให้ประธานคณะอนุกรรมาธิการขออนุญาตขยายเวลาต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการแต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมาธิการมีจำานวนไม่เกินสิบคน โดยให้ตั้งจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการในคณะนั้นมีจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำานวนอนุกรรมาธิการทั้งหมด จำานวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่กรรมาธิการเสนอ ข้อ ๘๙ การเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำาหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่ ให้ทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการหรือรองประธานคณะกรรมาธิการผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่ง เป็นข้าราชการพนักงาน  หรือลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือ

การตั้งคณะอนุกรรมาธิการ

การเรียกเอกสารหรือบุคคลมาชี้แจง

Page 48: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

41

กำากับดูแลหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำาสั่งให้บุคคลนั้นดำาเนินการ การเรียกเอกสารจากบุคคลหรือการเรียกบุคคลมาแถลงข้อเท็จจริง ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมาธิการมีอำานาจออกคำาสั่ง และให้คำาสั่งเรียกดังกล่าวมีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คำาสั่งเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับกับผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามอำานาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับกับผู้ตรวจการแผ่นดินหรือกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติตามอำานาจหน้าที่โดยตรงในแต่ละองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ข้อ ๙๐ ในการประชุมคณะกรรมาธิการสมาชิกรัฐมนตรี และผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาต มีสิทธิเข้าฟังการประชุม ในกรณีประชุมลับ ผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมและได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม ข้อ ๙๑ ภายใต้บังคับข้อ ๙๐ ผู้เสนอญัตติรัฐมนตรี และผู้ซึ่งคณะรัฐมนตรีมอบหมายมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอด

การเข้าฟังการประชุมคณะกรรมาธิการ

การชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ

Page 49: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

42

เรื่อง ส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้ การชี้แจงแสดงความคิดเห็นตามวรรคหนึ่งผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นหรือกรรมาธิการคนใดคนหนึ่งกระทำาการแทนได้ ข้อ ๙๒ ให้ เลขาธิการประกาศกำาหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ณบริเวณสภาและมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติมาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำาแปรญัตติ แล้วแต่กรณี ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันหากเรื่องใดจะก่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นกฎหมายหรือเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบด้วย ข้อ ๙๓ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่ได้เริ่มพิจารณาคำาแปรญัตติใดให้คำ าแปรญัตตินั้ น เป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จหรือที่ประชุมอนุญาตให้เลื่อนการชี้แจงไปวันอื่น ข้อ ๙๔ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใด จะสงวนคำาแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้

ประกาศกำาหนดการประชุมคณะ

กรรมาธิการ

กรณีคำาแปรญัตติตกไป

สงวนคำาแปรญัตติ

Page 50: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

43

ข้อ ๙๕ กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนความเห็นในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้ ข้อ ๙๖ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ตามอำานาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลงชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการอาจมอบหมายให้บุคคลใดแถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากประธาน ข้อ ๙๗ ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ก็ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้สภาพิจารณา ในการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการให้สภาลงมติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโดยไม่มีการอภิปราย ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานและข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง

สงวนความเห็น

กรณีที่คณะกรรมาธิการปฏิบัติงานเสร็จแล้ว

ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ

Page 51: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

44

เมื่อพ้นกำาหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานสภาส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการให้คณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทราบ คณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตนั้นประการใดหรือไม่ให้ประธานสภาแจ้งให้ที่ประชุมทราบในโอกาสแรกที่มีการประชุม ข้อ ๙๘ ถ้าสภามีมติให้คณะกรรมาธิการใดกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำาหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการนั้นกระทำากิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาไม่เสร็จภายในเวลาที่กำาหนด ประธานคณะกรรมาธิการต้องรายงานให้ประธานสภาทราบโดยด่วน ในกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ถ้าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไป ให้ประธานสภารีบเสนอต่อที่ประชุม และที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาที่ได้กำาหนดไว้หรือให้ตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิมหรือให้ดำาเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่ประชุมจะเห็นสมควรแต่ถ้าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติหรือนอกสมัยประชุม ก็ให้ประธานสภามีอำานาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำาหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควร แล้วแจ้งให้สภาทราบภายหลัง

กรณีคณะกรรมาธิการกระทำากิจการใดไม่เสร็จ

ตามเวลาที่กำาหนด

Page 52: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

45

การนับระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับแต่วันถัดจากวันที่สภามีมติกำาหนดระยะเวลา ข้อ ๙๙ กรรมาธิการพ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (๑)อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร (๒)ตาย (๓)ลาออก (๔)มีการตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิม (๕)สภามีมติให้พ้นจากตำาแหน่ง (๖)ขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานคณะกรรมาธิการทราบ ข้อ ๑๐๐ในกรณีที่ตำาแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการใดว่างลง ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภา เพื่อขอให้สภาตั้งแทนตำาแหน่งที่ว่างลง

การพ้นจากตำาแหน่งของกรรมาธิการ

ตั้งกรรมาธิการแทนตำาแหน่งที่ว่าง

Page 53: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

46

หมวด ๕

การเสนอและการพิจารณา

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๑๐๑ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต้องแบ่งเป็นมาตราและต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้ (๑)หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (๒)เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (๓)บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นให้กำาหนดโดยชัดแจ้ง ข้อ ๑๐๒ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอต่อสภา ให้ประธานสภาเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นได้โดยสะดวกตามวิธีการที่ประธานสภากำาหนด ข้อ ๑๐๓ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีผู้เสนอตามมาตรา ๑๓๙ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาทำาการตรวจสอบ และหากมีข้อบกพร่อง ให้ประธานสภาแจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับ

การเสนอร่างพ.ร.บ.ประกอบ

รัฐธรรมนูญ

กรณีร่างพ.ร.บ.ประกอบ

รัฐธรรมนูญบกพร่อง

Page 54: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

47

ข้อ ๑๐๔ให้ประธานสภาบรรจุร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๐๕การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทำาเป็นสามวาระตามลำาดับและให้นำาความในหมวด๖การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม ยกเว้นข้อ ๑๑๑ข้อ๑๑๒ข้อ๑๑๔วรรคสองและข้อ๑๑๕ ข้อ ๑๐๖การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ และในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำาดับมาตราให้ถือเอาเสียงข้างมาก การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา ข้อ ๑๐๗เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยด่วน เพื่อพิจารณาตามมาตรา ๑๔๑ ของรัฐธรรมนูญ เมื่อประธานสภาได้รับแจ้งคำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

การบรรจุร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

กรณีเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

Page 55: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

48

ข้อ ๑๐๘ในกรณีที่คำาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลทำาให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปตามมาตรา ๑๔๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้สภาพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ การออกเสียงลงคะแนนในการแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา ในกรณีที่สภามีมติเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาดำาเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นต่อวุฒิสภา

หมวด ๖

การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ข้อ ๑๐๙การเสนอร่างพระราชบัญญัติ ให้นำาความในข้อ๑๐๑ข้อ๑๐๒และข้อ๑๐๓มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑๐ร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ให้เลขาธิการจัดทำารายงานผลการดำาเนินการร่างพระราชบัญญัตินั้นเพื่อให้สภาทราบด้วย

การแก้ไขเพิ่มเติมร่าง

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

การเสนอร่างพ.ร.บ.

ร่างพ.ร.บ.ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

เข้าชื่อเสนอ

Page 56: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

49

ในการพิ จารณาร่ า งพระราชบัญญัติ ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นผู้เสนอและชี้แจงร่างพระราชบัญญัติต่อที่ประชุม ข้อ ๑๑๑ในกรณีที่ประธานสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่มีผู้เสนอตามมาตรา๑๔๒(๒)(๓)และ(๔) ของรัฐธรรมนูญเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาแจ้งให้ผู้เสนอทราบ หากผู้เสนอไม่คัดค้านความเห็นของประธานสภาภายในเจ็ดวันนับแต่วันส่งคำาแจ้ง ให้ถือว่าไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยตามมาตรา๑๔๓ ของรัฐธรรมนูญ ก็ให้ประธานสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้คำารับรอง เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งแล้ว หากไม่พิจารณาให้คำารับรองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ ให้ประธานสภาแจ้งเหตุขัดข้องให้ผู้เสนอทราบ หากผู้เสนอแจ้งคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นอำานาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย ข้อ ๑๑๒ให้ประธานสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะเพื่อพิจารณากรณีตามข้อ ๑๑๑ วรรคสามภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว

กรณีประธานสภาเห็นว่าเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงิน

การประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะ

Page 57: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

50

การประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้นำาข้อบังคับการประชุมนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑๓การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้กระทำาเป็นสามวาระตามลำาดับ ข้อ ๑๑๔การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่หนึ่ง ให้สภาพิจารณาและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น เพื่ อประโยชน์แก่การวินิ จฉั ยดั งกล่ าว ในวรรคหนึ่ง สภาจะให้คณะกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการก็ได้ ทั้งนี้ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สภามีมติ ในกรณีที่สภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการทำานองเดียวกันหลายฉบับรวมกันสภาจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแต่ละฉบับหรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ และเมื่อสภาได้มีมติรับหลักการแล้ว ให้สภาลงมติว่าจะให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับใดเป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง ข้อ ๑๑๕การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีผู้เสนอตามมาตรา๑๔๒(๒)(๓)และ(๔)ของรัฐธรรมนูญ

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.

การพิจารณาในวาระที่หนึ่ง

กรณีคณะรัฐมนตรีรับร่างพ.ร.บ.ไปพิจารณา

Page 58: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

51

ถ้าคณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไปพิจารณาก่อนที่สภาจะลงมติตามข้อ ๑๑๔ เมื่อที่ประชุมอนุมัติก็ให้รอการพิจารณาไว้ก่อน แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่สภามีมติ เมื่อประธานสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติคืนจากคณะรัฐมนตรีหรือพ้นกำาหนดเวลาที่รอการพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บรรจุร่างพระราชบัญญัตินั้นเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๑๖ในกรณีที่สภามีมติในวาระที่หนึ่งรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ให้สภาพิจารณาตามลำาดับต่อไปเป็นวาระที่สอง การพิจารณาในวาระที่สอง ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการ ข้อ ๑๑๗การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการ สภาจะให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้ การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำาได้ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนและที่ประชุมอนุมัติ คณะกรรมาธิการอาจเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมได้แต่ต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น

การพิจารณาในวาระที่สอง

การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ

Page 59: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

52

ข้อ ๑๑๘การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำาคัญเกี่ยวกับเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพให้ดำาเนินการดังนี้ (๑)ให้ตั้ งจากบุคคลซึ่ ง เป็นผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ จำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดโดยให้มีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ วิธีการคัดเลือกและการเสนอชื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด (๒)ให้ตั้งจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อไม่เกินหนึ่งในหกของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด (๓)จำานวนกรรมาธิการที่เหลือให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยให้มีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้นำาความในข้อ๘๓มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑๙การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ให้ตั้งจากผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด

การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ

วิสามัญ

Page 60: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

53

และให้นำาความในข้อ๑๑๘(๒)(๓)และวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒๐ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาแล้ว หากคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นอีก ถ้าสภามีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น ในการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้นำาความในข้อ ๑๑๙มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒๑การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอและที่มีสาระสำาคัญเกี่ยวกับเด็กเยาวชนสตรีผู้สูงอายุหรือผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพให้ตั้งจากผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น จำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด และให้ดำาเนินการเลือกตั้งตามข้อ๑๑๘ต่อไป ข้อ ๑๒๒เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คณะกรรมาธิการอาจขอให้เลขาธิการแต่งตั้งข้าราชการสำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ ง เพื่ อปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ ช่ วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการก็ได้

ผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการ

Page 61: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

54

ข้อ ๑๒๓การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขั้นคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง สมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้เสนอคำาแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำาหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่สภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ เว้นแต่สภาจะได้กำาหนดเวลาแปรญัตติสำาหรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้เป็นอย่างอื่น การแปรญัตติต้องแปรเป็นรายมาตรา การแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ข้อ ๑๒๔การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ขั้นคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง หากสภาเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอกับการบริหารงานให้เสนอคำาขอแปรญัตติต่อประธานคณะกรรมาธิการ ข้อ ๑๒๕เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นโดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการ

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ขั้น

คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.

งบประมาณฯ

กรณีที่คณะกรรมาธิการ

พิจารณาร่างพ.ร.บ.เสร็จแล้ว

Page 62: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

55

แปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำาแปรญัตตินั้นเป็นประการใดหรือมีการสงวนคำาแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการก็ให้ระบุไว้ในรายงานด้วย ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา และให้นำาความในข้อ ๙๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒๖ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกเป็นผู้เสนอ และในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน แต่ในการพิจารณาในวาระที่สอง ถ้าสภาได้ลงมติแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดและประธานสภาเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำาให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินให้ประธานสภาสั่งระงับการลงมติในวาระที่สามไว้ก่อนและส่งให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว และให้นำาความในข้อ ๑๑๑ และข้อ ๑๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒๗เมื่อประธานสภาได้รับแจ้งเรื่องการรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจากนายก

กรณีเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงิน

Page 63: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

56

รัฐมนตรีตามข้อ ๑๒๖ แล้ว ให้สภาดำาเนินการลงมติในวาระที่สามต่อไปแต่ถ้านายกรัฐมนตรีไม่ให้คำารับรองก็ให้ดำาเนินการแก้ไข เพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ข้อ ๑๒๘ในกรณีที่สภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการและประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการพิจารณาของสภาในวาระที่สองเรียงตามลำาดับมาตรารวมกันไป ข้อ ๑๒๙ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้สภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำาปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำาดับมาตราและให้สมาชิกอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำาหรือข้อความที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือผู้แปรญัตติที่มี การสงวนคำาแปรญัตติ หรือกรรมาธิการ ที่มีการสงวนความเห็นไว้ทั้งนี้เว้นแต่ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเดิม ให้พิจารณาเรียงตามลำาดับมาตราที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายเดิมด้วยและให้นำาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

กรรมาธิการเต็มสภา

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่

คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

Page 64: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

57

ข้อ ๑๓๐เมื่อได้พิจารณาตามข้อ ๑๒๙ จนจบร่างแล้ว ให้สภาพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่งและในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำาได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดไม่ได้นอกจากเนื้อความที่เห็นว่ายังขัดแย้งกันอยู่ ข้อ ๑๓๑เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สองเสร็จแล้ว ให้สภาลงมติในวาระที่สามว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย ข้อ ๑๓๒ในกรณีที่สภาลงมติในวาระที่หนึ่งไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติก็ดี หรือลงมติในวาระที่สามไม่เห็นชอบก็ดีร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไปเว้นแต่ร่างพระราชบัญญัติที่กำาหนดไว้ในมาตรา ๑๔๕ของรัฐธรรมนูญ ข้อ ๑๓๓ร่างพระราชบัญญัติใดต้องยับยั้งไว้โดยบทบัญญัติมาตรา๑๔๗ของรัฐธรรมนูญเมื่อกำาหนดเวลาตามมาตรา ๑๔๘ ของรัฐธรรมนูญได้ล่วงพ้นไปสมาชิกอาจเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนให้ยกร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้นั้นขึ้นเพื่อให้สภาพิจารณาลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกัน ข้อ ๑๓๔ในกรณีที่ สภามีมติ ในวาระที่สามเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติใด ให้ประธานสภาดำาเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา

การแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำา

การพิจารณาในวาระที่สาม

กรณีที่สภาไม่รับหลักการในวาระที่๑

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่ต้องยับยั้งไว้

กรณีที่สภาเห็นชอบด้วยกับร่างพ.ร.บ.ในวาระที่๓

Page 65: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

58

ให้มีสารบบลงวันที่สภาส่งร่างพระราชบัญญัติไปยังวุฒิสภา และวันที่สภาได้รับร่างพระราชบัญญัติคืนจากวุฒิสภา ข้อ ๑๓๕ในกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่ได้เสนอไปตามข้อ๑๓๔ให้ประธานสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน เพื่อให้สภาพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภาหรือไม่ ถ้าสภาไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมให้ประธานดำาเนินการให้สภากำาหนดจำานวนและตั้งกรรมาธิการร่วมกัน เมื่อสภาได้กำาหนดจำานวนและตั้งกรรมาธิการร่วมกันแล้วให้ประธานสภาแจ้งไปยังวุฒิสภา เมื่อคณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว ให้เสนอรายงานและร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อประธานสภา เพื่อให้สภาพิจารณาลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ในกรณีที่คณะกรรมาธิการร่วมกันเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา และให้นำาความในข้อ ๙๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม

ร่างพ.ร.บ.

Page 66: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

59

ข้อ ๑๓๖ในกรณีร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีข้อความผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการพิจารณาของสภา ประธานสภาอาจขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้นำาร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับมาทบทวนได้หากที่ประชุมสภาลงมติเห็นชอบก็ให้ดำาเนินการได้ การขอปรึกษาหรือญัตติตามวรรคหนึ่งต้องระบุประเด็นที่จะขอกลับมาทบทวนและให้เหตุผลที่ชัดเจน การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำาได้เท่าที่จำาเป็นและให้กระทำาในที่ประชุมสภา เมื่อได้ดำาเนินการตามวรรคสามแล้ว ให้ประธานสภาแจ้งไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบและให้ดำาเนินการตามมาตรา๑๕๐ของรัฐธรรมนูญต่อไป ข้อ ๑๓๗ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อสมาชิกจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภา โดยประธานสภาต้องชะลอและให้โอกาสสมาชิกสามารถเสนอได้ภายในสามวันนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบ

กรณีที่ร่างพ.ร.บ.ที่รัฐธรรมนูญเห็นชอบแล้วมีข้อความผิดพลาด

กรณีที่ร่างพ.ร.บ.ที่รัฐสภาเห็นชอบแล้วมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

Page 67: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

60

หมวด ๗

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภา

มีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป

ข้อ ๑๓๘เมื่อรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามมาตรา๑๓๖(๑๑)มาตรา๑๔๐วรรคสอง และมาตรา ๑๕๓ ของรัฐธรรมนูญ ถ้าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นค้างการพิจารณาอยู่ในวาระใด ก็ให้พิจารณาต่อไปในวาระนั้น และให้ประธานสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ถ้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นใหม่ ข้อ ๑๓๙ถ้ า ร่ า งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นอยู่ ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน ให้สภาตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายสภาขึ้นใหม่และให้ประธานสภาแจ้งไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบ

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบ

รัฐธรรมนูญหรือร่างพ.ร.บ.ที่รัฐบาลมีมติ

เห็นชอบให้พิจารณาต่อไป

Page 68: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

61

ข้อ ๑๔๐การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาให้ดำาเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปตามที่กำาหนดไว้ในหมวด ๕ การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือหมวด ๖ การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้วแต่กรณี

หมวด ๘

กระทู้ถาม

ส่วนที่ ๑

บททั่วไป

ข้อ ๑๔๑กระทู้ถามมี๒ประเภทคือ (๑)กระทู้ถามสด (๒)กระทู้ถามทั่วไป ข้อ ๑๔๒การตั้งกระทู้ถาม ให้ผู้ตั้งกระทู้ถามมีอิสระจากมติพรรคการเมือง กระทู้ถามแต่ละกระทู้นั้น ให้ตั้งถามและซักถามได้เฉพาะคนเดียว ข้อ ๑๔๓กระทู้ถามต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

กระทู้ถาม

ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ถาม

Page 69: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

62

(๑)เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย (๒)เคลือบคลุมหรือเข้าใจยาก (๓)เป็นเรื่องที่ได้ตอบแล้วหรือชี้แจงแล้วว่าไม่ตอบ (๔)เป็นเรื่องที่มีประเด็นคำาถามซ้ำากับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน (๕)เป็นการให้ออกความเห็น (๖)เป็นปัญหาข้อกฎหมาย (๗)เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระสำาคัญ (๘)เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลใด เว้นแต่ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ราชการ ข้อ ๑๔๔กระทู้ถามตามข้อ๑๔๓(๓)และ(๔)นั้น จะตั้งกระทู้ถามขึ้นใหม่ได้ในเมื่อสาระสำาคัญต่างกันหรือพฤติการณ์ในขณะที่มีกระทู้ถามครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตั้งกระทู้ถามครั้งก่อน ข้อ ๑๔๕กระทู้ถามที่สมาชิกตั้งถาม ให้ประธานสภาทำาการตรวจสอบ และหากมีข้อบกพร่อง ให้ประธานสภาแจ้งสมาชิกผู้นั้นทราบ ข้อ ๑๔๖การประชุมครั้งหนึ่ง ๆ ให้บรรจุกระทู้ถามสดได้ไม่เกินสามกระทู้และกระทู้ถามทั่วไปไม่เกินสามกระทู้ แต่ถ้าหากมีกระทู้ถามทั่วไปรอบรรจุระเบียบวาระการประชุมจำานวนมากหรือมีกระทู้ถามทั่วไปที่เลื่อนมา

การตั้งกระทู้ถามใหม่

การบรรจุและการจัดลำาดับ

กระทู้ถาม

Page 70: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

63

จากการประชุมครั้งที่แล้วประธานสภาจะบรรจุกระทู้ถามทั่วไปเกินกว่านี้ก็ได้ การจัดลำาดับกระทู้ถามในที่ประชุมสภา ให้จัดตามลำาดับคือกระทู้ถามสดและกระทู้ถามทั่วไป ข้อ ๑๔๗นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ถูกตั้งกระทู้ถามต้องเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำาเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำาให้ไม่อาจตอบกระทู้ แต่ต้องแจ้งเหตุจำาเป็นนั้นเป็นหนังสือต่อประธานสภาก่อนหรือในวันประชุมสภาและให้กำาหนดว่าจะตอบได้เมื่อใด ข้อ ๑๔๘การตั้งกระทู้ถามต้องชัดเจนไม่ฟุ่มเฟือยวนเวียนซ้ำาซากหรือมีลักษณะเป็นการอภิปราย การตอบกระทู้ถามของรัฐมนตรี ให้นำาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๔๙ผู้ตั้งกระทู้ถามมีสิทธิถอนกระทู้ถามเมื่อใดก็ได้ ข้อ ๑๕๐กระทู้ถามใดที่ประธานสภาพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ประธานสภาอาจสั่งให้นำาออกจากการรอบรรจุระเบียบวาระการประชุมได้เมื่อได้รับความยินยอมของผู้ตั้งกระทู้ถาม ข้อ ๑๕๑กระทู้ถามตกไปเมื่อ (๑)ถึงระเบียบวาระกระทู้ถามของผู้ใด ถ้าผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ถามหรือไม่อยู่ในที่ประชุม

การตอบกระทู้ถาม

ลักษณะของกระทู้ถาม

การถอนกระทู้ถาม

กรณีที่กระทู้ถามตกไป

Page 71: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

64

(๒)สมาชิกภาพของผู้ตั้งกระทู้ถามสิ้นสุดลง (๓)คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำาแหน่ง (๔)อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนที่ ๒

กระทู้ถามสด

ข้อ ๑๕๒การตั้งกระทู้ถามสด สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามได้ครั้งละหนึ่งกระทู้ โดยให้ทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภาในวันประชุมที่มีวาระการตอบกระทู้ถามก่อนเริ่มประชุมตามเวลาที่ประธานสภากำาหนดโดยระบุ ชื่อเรื่องที่จะถามพร้อมระบุวัตถุประสงค์ว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใด และต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑)เป็นเรื่องสำาคัญที่อยู่ ในความสนใจของประชาชน (๒)เป็นเรื่องที่กระทบถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน (๓)เป็นเรื่องเร่งด่วน ให้เป็นอำานาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่ากระทู้ถามใดเป็นกระทู้ถามสดหรือไม่

การตั้งกระทู้ถามสด

ลักษณะของกระทู้ถามสด

Page 72: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

65

ข้อ ๑๕๓ในสัปดาห์ใดมีกระทู้ถามสดที่ประธานสภาวินิจฉัยแล้วเกินจำานวนสามกระทู้ ให้ประธานสภาจับสลากให้เหลือเพียงสามกระทู้ ในจำานวนสามกระทู้นี้หากปรากฏว่ามีกระทู้ถามที่เป็นเรื่องทำานองเดียวกันให้กระทู้ถามที่ถูกจับสลากขึ้นมาในลำาดับหลังตกไป ข้อ ๑๕๔กระทู้ถามสดที่ประธานสภาวินิจฉัยตามข้อ ๑๕๒ หรือได้ดำาเนินการตามข้อ ๑๕๓ แล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระกระทู้ถามสดและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ถูกตั้งกระทู้ถามทราบ ข้อ ๑๕๕การถามและการตอบกระทู้ถามสดในการประชุมครั้งหนึ่งๆมีกำาหนดเวลาไม่เกินหกสิบนาที ข้อ ๑๕๖กระทู้ถามสดแต่ละกระทู้ให้ถามด้วยวาจาได้เรื่องละไม่เกินสามครั้งและต้องถามตอบให้แล้วเสร็จภายในกำาหนดเวลายี่สิบนาที เว้นแต่ในสัปดาห์ใดมีกระทู้ถามสดน้อยกว่าสามกระทู้ ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีกตามสัดส่วนภายในเวลาหกสิบนาที ข้อ ๑๕๗ในระหว่างการถามกระทู้ถามสดหากประธานวินิจฉัยว่าคำาถามข้อใดเข้าลักษณะต้องห้ามตามข้อ๑๔๓ให้ประธานมีอำานาจสั่งให้เปลี่ยนแปลงคำาถาม

การจัดลำาดับกระทู้ถามสด

การถาม-ตอบกระทู้ถามสด

จำานวนกระทู้ถามสดในการประชุมแต่ละครั้ง

Page 73: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

66

ส่วนที่ ๓

กระทู้ถามทั่วไป

ข้อ ๑๕๘การตั้งกระทู้ถามทั่วไปให้เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภาโดยมีข้อความเป็นคำาถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบาย และระบุว่าจะให้ตอบในที่ประชุมสภาหรือในราชกิจจานุเบกษา ข้อเท็จจริงที่อ้างประกอบกระทู้ถามทั่วไป ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ตั้งกระทู้ถามรับรองว่าถูกต้องแม้ไม่ได้ยืนยันรับรองไว้ในกระทู้ถามทั่วไปก็ตาม และถ้าจำาเป็นจะต้องมีคำาชี้แจงประกอบให้ระบุแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ข้อ ๑๕๙ให้ประธานสภาวินิจฉัยว่ากระทู้ถามใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๑๔๓ หรือมีลักษณะตามข้อ ๑๔๔ และเมื่อวินิจฉัยแล้วให้แจ้งผู้ตั้งกระทู้ถามทราบภายในเจ็ดวัน กระทู้ถามที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าเป็นกระทู้ถามให้จัดส่งไปยังรัฐมนตรีที่ถูกตั้งกระทู้ถาม ข้อ ๑๖๐กระทู้ถามที่ต้องตอบในที่ประชุมสภาให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งไปยังรัฐมนตรีตามข้อ๑๕๙วรรคสอง ข้อ ๑๖๑กระทู้ถามที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา ให้ประธานสภาแจ้งรัฐมนตรีที่ถูกตั้งกระทู้ถาม

การตั้งกระทู้ถามทั่วไป

การวินิจฉัยกระทู้ถาม

กระทู้ถามที่ต้องตอบในที่ประชุม

กระทู้ถามที่ต้องตอบ

ในราชกิจจาฯ

Page 74: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

67

เพื่อดำาเนินการตอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งไปยังรัฐมนตรีตามข้อ๑๕๙วรรคสอง เมื่อรัฐมนตรีได้ตอบแล้วให้ส่งราชกิจจานุเบกษาที่มีคำาตอบกระทู้ถามมาเพื่อให้ประธานสภาแจ้งให้ผู้ตั้งกระทู้ถามทราบ หากรัฐมนตรีไม่สามารถตอบภายในกำาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือและให้กำาหนดว่าจะตอบได้เมื่อใดเพื่อประธานสภาแจ้งให้ผู้ตั้งกระทู้ถามทราบ ข้อ ๑๖๒การตั้งกระทู้ถามทั่วไปตามข้อ ๑๕๘ในการประชุมให้บรรจุกระทู้ลำาดับแรกของสมาชิกเข้าระเบียบวาระการประชุมตามลำาดับก่อนหลังที่ได้ยื่นต่อประธานสภา เมื่อได้ตอบกระทู้ตามวรรคหนึ่งแล้วให้พิจารณาบรรจุกระทู้ลำาดับถัดไปของแต่ละบุคคลเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมตามลำาดับที่ได้ยื่นไว้ต่อประธานสภา กระทู้ที่ต้องตอบในที่ประชุมสภา ทั้งที่ได้รับการบรรจุและยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าระเบียบวาระในสมัยประชุมหนึ่ง ๆ เมื่อสิ้นสุดสมัยประชุมให้ประธานสภารวบรวมแจ้งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดำาเนินการตอบในราชกิจจานุเบกษาภายในสามสิบวัน ข้อ ๑๖๓กระทู้ถามที่ขอให้ตอบในที่ประชุมสภาเมื่อรัฐมนตรีได้ตอบแล้ว ผู้ตั้งกระทู้ถามมีสิทธิซักถามได้

การจัดลำาดับกระทู้

กระทู้ถามที่ขอให้ตอบในที่ประชุมสภา

Page 75: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

68

อีกหนึ่งครั้งเว้นแต่จะขอซักถามต่อไปเพราะคำาตอบยังไม่หมดประเด็นและประธานอนุญาต

หมวด ๙

การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี

ข้อ ๑๖๔การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลได้หนึ่งชื่อการเสนอนั้นต้องมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่และสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิรับรองได้หนึ่งชื่อ การรับรองให้กระทำาเป็นการเปิดเผยตามข้อ๗๕(๑) ข้อ ๑๖๕การออกเสียงลงคะแนนพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีให้กระทำาเป็นการเปิดเผยตามข้อ๗๕(๒)และให้ประธานประกาศผลการออกเสียงลงคะแนนให้ที่ประชุมทราบ ข้อ ๑๖๖ถ้าการออกเสียงลงคะแนนพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีไม่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่และมีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ๑๖๕หลายครั้งการเสนอชื่อบุคคลผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายก

การพิจารณาให้ความเห็นชอบ

นายกรัฐมนตรี

การออกเสียงลงคะแนน

ให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี

Page 76: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

69

รัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดในการลงคะแนนครั้งสุดท้ายเป็นผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ข้อ ๑๖๗ในกรณีที่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๘๒ (๑)(๒)(๓)(๕)(๗)หรือ(๘)ของรัฐธรรมนูญให้นำาความในข้อ๑๖๔ข้อ๑๖๕และข้อ๑๖๖มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๑๐

การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ

ข้อ ๑๖๘การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา๑๕๘วรรคหนึ่งหรือมาตรา๑๖๐ของรัฐธรรมนูญต้องทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภา โดยระบุเรื่องที่จะขอเปิดอภิปรายและเสนอชื่ อผู้ สมควรดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา ๑๗๑วรรคสองของรัฐธรรมนูญไว้ในญัตติด้วย กรณีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา๑๕๘วรรคสองของรัฐธรรมนูญต้องแสดงหลักฐานการยื่นคำาร้องขอตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญ

กรณีความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

Page 77: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

70

ข้อ ๑๖๙เมื่ อประธานสภาได้รับญัตติตามข้อ ๑๖๘ แล้ว ให้ทำาการตรวจสอบ หากมีข้อบกพร่องให้ประธานสภาแจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ เมื่อประธานสภาได้ตรวจสอบความถูกต้องของญัตติแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วนและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ ข้อ ๑๗๐การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา ๑๕๙ หรือมาตรา ๑๖๐ ของรัฐธรรมนูญ ให้นำาความในข้อ ๑๖๘ เว้นแต่การเสนอชื่อผู้สมควรดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรี และข้อ ๑๖๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๗๑นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อชี้แจงด้วยตนเอง หากมีเหตุจำาเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำาให้ไม่อาจชี้แจง ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภาก่อนหรือในวันประชุมสภา การชี้แจงตามวรรคหนึ่ง จะชี้แจงคำาอภิปรายของสมาชิกทีละคนเป็นลำาดับไปหรือจะรอรวมชี้แจงครั้งละหลายคนก็ได้ ข้อ ๑๗๒ในการอภิปรายและการลงมติไม่ไว้วางใจสมาชิกมีอิสระจากพรรคการเมือง

การเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปราย

ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี

เป็นรายบุคคล

ผู้ที่มีสิทธิอภิปรายชี้แจง

การอภิปรายและการลงมติ

ไม่ไว้วางใจสมาชิกมีอิสระจาก

พรรคการเมือง

Page 78: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

71

การอภิปรายตามวรรคหนึ่ง นอกจากที่กำาหนดไว้ในส่วนนี้แล้ว ให้นำาความในหมวด ๓ ส่วนที่ ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมยกเว้นข้อ๕๙

หมวด ๑๑

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

ข้อ ๑๗๓สถานที่ประชุมของสภาย่อมเป็นที่เคารพและเป็นเขตหวงห้ามบุคคลซึ่งเข้าไปต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และต้องแต่งกายตามที่ประธานสภากำาหนด บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ เมื่อหมดภารกิจต้องออกนอกสถานที่ประชุมของสภา การแต่งกายของสมาชิกนั้นให้แต่งเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภาหรือสากลนิยมหรือชุดพระราชทานหรือตามที่ประธานสภากำาหนด ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารใด ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการรบกวนในห้องประชุมสภา ข้อ ๑๗๔ผู้ ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ประธานมีอำานาจเตือน ห้ามปราม ให้ถอนคำาพูด ห้ามพูดในเรื่องที่กำาลังปรึกษากันอยู่ให้กล่าวขอขมาในที่ประชุมหรือสั่งให้ออกไปจากที่ประชุมโดยมีหรือไม่มีกำาหนดเวลาในครั้งนั้นก็ได้

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในสถานที่ที่ประชุมสภา

อำานาจของประธานในการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

Page 79: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

72

ในกรณีที่ประธานสั่งให้ผู้ใดออกจากที่ประชุมหากผู้นั้นขัดขืนประธานมีอำานาจสั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ให้นำาตัวออกจากสถานที่ประชุมหรือออกไปให้พ้นบริเวณสภา คำาสั่งของประธานตามข้อนี้ผู้ใดจะโต้แย้งไม่ได้ ข้อ ๑๗๕การรักษาระเบียบและความสงบเรียบร้อยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาในที่ประชุมสภาหรือบริเวณสภาหรือเข้าฟังการประชุมของสภา ตลอดจนมารยาทของบุคคลเช่นว่านั้น และการโฆษณาข้อความเกี่ยวด้วยการประชุมของสภา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำาหนด

หมวด ๑๒

บทสุดท้าย

ข้อ ๑๗๖ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณีหากที่ประชุมอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกในที่ประชุมก็ให้งดใช้ได้ ข้อ ๑๗๗ภายใต้บังคับมาตรา ๑๕๕ ของรัฐธรรมนูญ ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

ที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก

การงดใช้ข้อบังคับ

การตีความข้อบังคับ

Page 80: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

73

เป็นอำานาจของสภาที่จะวินิจฉัย และเมื่อที่ประชุมได้ลงมติวินิจฉัยโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกในที่ประชุมเป็นประการใดแล้ว ให้ถือว่าคำาวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด การขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง อาจกระทำาได้โดยประธานขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ข้อ ๑๗๘การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีจำานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน การเสนอและพิจารณาญัตติในวรรคหนึ่ง ให้นำาข้อบังคับว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๗๙ในกรณีมีเรื่องที่สภาจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับ หรือคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำาการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุมตามมาตรา ๑๓๑ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือในกรณีมีเรื่องที่สภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องในระหว่างสมัยประชุมตามมาตรา ๑๓๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

การขอแก้ไขเพิ่มเติม

การพิจารณาอนุญาตให้มีการจับคุมขังหรือหมายเรียกสมาชิกในระหว่างสมัยประชุม

Page 81: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

74

การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง หากประธานสภาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ประธานสภาอาจสั่งให้นำาออกจากระเบียบวาระการประชุมได้ แล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ข้อ ๑๘๐ในกรณีที่ประธานสภาได้ดำาเนินการตามมาตรา๑๓๑วรรคสองหรือวรรคห้าของรัฐธรรมนูญแล้วให้ประธานสภาแจ้งให้สภาทราบในโอกาสแรกที่มีการประชุม

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๘๑ข้อบังคับนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้กระทำาเสร็จไปแล้วก่อนใช้ข้อบังคับนี้ส่วนการใดที่ยังกระทำาค้างอยู่ให้ดำาเนินการต่อไปตามข้อบังคับที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้ข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๘๒ให้นำาข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการพ.ศ.๒๕๔๒มาใช้บังคับกับสมาชิกและกรรมาธิการโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการตราและประกาศใช้ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการขึ้นใหม่ ข้อ ๑๘๓ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่สภาตั้งคงดำารงตำาแหน่งต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น

บทเฉพาะกาล

Page 82: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

75

ข้อ ๑๘๔ให้บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำาสั่งที่ออกตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งข้อบังคับนี้ จนกว่าจะมีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำาสั่งที่ออกตามข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

ประกาศณวันที่๒พฤษภาคมพ.ศ.๒๕๕๑

สมศักดิ์เกียรติสุรนนท์รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งรักษาราชการแทนประธานสภาผู้แทนราษฎร

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๕ตอนพิเศษ๗๙งลงวันที่๒พฤษภาคม๒๕๕๑

Page 83: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 84: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับ

ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ

พ.ศ. ๒๕๕๓

Page 85: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 86: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

79

ข้อบังคับ

ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ

พ.ศ. ๒๕๕๓

อาศัยอำานาจตามความในมาตรา๑๓๔ประกอบมาตรา ๒๗๙ มาตรา ๒๘๐ และมาตรา ๓๐๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐และข้อ ๑๘๒ ของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ สภาผู้แทนราษฎรจึงตราข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการพ.ศ.๒๕๕๓ขึ้นไว้บนหลักการพื้นฐานที่ว่าสมาชิกและกรรมาธิการจักต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน โดยมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ ข้อ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการพ.ศ.๒๕๕๓” ข้อ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ๓ ในข้อบังคับนี้คำาว่า “สมาชิก”หมายถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

Page 87: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

80

“กรรมาธิการ”หมายถึงกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรตั้งขึ้น และหมายความรวมถึ งบุ คคลหรื อคณะบุคคลที่ คณะกรรมาธิการแต่งตั้งขึ้นด้วย “การประชุม” หมายถึง การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมคณะกรรมาธิการ และหมายความรวมถึงการประชุมอื่นใดซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาชิกและกรรมาธิการ “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร “ประธานกรรมการ”หมายถึงประธานกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร “กรรมการ” หมายถึง กรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ๔ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำานาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำาสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้

Page 88: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

81

หมวด ๑

ส่วนที่ ๑

อุดมคติของการเป็นสมาชิกและกรรมาธิการ

ข้อ๕ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการจงรักภักดีและพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อ๖ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการรวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยเคร่งครัด ข้อ๗ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ข้อ๘ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรู้รักสามัคคี ข้อ๙ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการกล้ายืนหยัดทำาในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมยึดมั่นหลักการในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติใดๆ

Page 89: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

82

ข้อ๑๐ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างสถาบันครอบครัว

ส่วนที่ ๒

การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกและกรรมาธิการ

ข้อ๑๑ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของสภาผู้แทนราษฎร และไม่กระทำาการใดๆอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติและสภาผู้แทนราษฎร ข้อ๑๒ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องปฏิบัติหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเที่ยงธรรมและมีความเป็นอิสระ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำาคัญ ข้อ๑๓ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องยึดถือและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ข้อ๑๔ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่วางตนอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเงิน ผลประโยชน์ หรือข้อต่อรองใดๆ เพื่อบุคคลหรือองค์กรอื่นใด ซึ่งอาจมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกและกรรมาธิการ ข้อ๑๕ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้

Page 90: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

83

วาจาอันไม่สุภาพมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นหมิ่นประมาทเสียดสีหรือใส่ร้ายป้ายสีบุคคลใด โดยไม่มีพยานหลักฐานหรือนำาเอาเรื่องที่เป็นเท็จมาอภิปรายแสดงความเห็นในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมคณะกรรมาธิการหรือที่อื่นใด ข้อ๑๖ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่ แสดงการข่มขู่ อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำาลังประทุษร้ายต่อบุคคลอื่นในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมคณะกรรมาธิการบริเวณที่ทำาการรัฐสภาหรือที่อื่นใด ข้อ๑๗ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องรักษาความลับในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมคณะกรรมาธิการที่กระทำาเป็นการลับ โดยไม่นำาไปเปิดเผยแก่ผู้ใดหรือในทางใด เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ๑๘ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องปฏิบัติหน้าที่โดยคำานึงถึงระเบียบปฏิบัติราชการที่กำาหนดไว้อย่างเคร่งครัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามภารกิจและอำานาจหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสภาผู้แทนราษฎรต้องดำาเนินการโดยประหยัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ข้อ๑๙ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องอุทิศเวลาให้แก่การประชุม โดยคำานึงถึงการตรงต่อเวลา และต้องไม่ขาดการประชุมโดยไม่จำาเป็น เว้นแต่ในกรณีเจ็บป่วยหรือมีเหตุสุดวิสัย

Page 91: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

84

ข้อ๒๐ สมาชิ ก แล ะก ร รมาธิ ก า ร จั กต้ อ งพิจารณากฎหมาย ญัตติ กระทู้ หรือเรื่องร้องทุกข์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมโดยเร็ว ข้อ๒๑ สมาชิกและกรรมาธิการพึงพบปะเยี่ยมเยียนเพื่อรับฟังเรื่องร้องทุกข์ และความคิดเห็นข้อเสนอแนะของประชาชน ทั้งต้องปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ข้อ๒๒ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องแสดงความรับผิดชอบเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หรือผิดพลาดตามควรแก่กรณี ข้อ๒๓ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง โดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าใจผิดหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือบุคคลอื่นใด ข้อ๒๔ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่ ร่วมมือกับบุคคลหรือองค์กรใดๆ กระทำาการหรือแสวงหาผลประโยชน์ที่ขัดต่อความรับผิดชอบและการปฏิบัติราชการ ข้อ๒๕ สมาชิกและกรรมาธิการพึงเสนอข้อมูลหรือการกระทำาที่ทำาให้ราชการ ผู้อื่น และประชาชนเสียหายตลอดจนการฉ้อฉลหลอกลวงการใช้อำานาจในทางที่ผิดและการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

Page 92: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

85

ส่วนที่ ๓

จริยธรรมเกี่ยวกับการดำารงตน ครอบครัว และผู้อื่น

ข้อ๒๖ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้เกียรติและเคารพต่อสถานที่ และสำารวมกิริยาวาจาในบริเวณที่ทำาการรัฐสภา ข้อ๒๗ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่ประกอบอาชีพ วิชาชีพ ดำาเนินธุรกิจ หรือกระทำากิจการใดอันเป็นการเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกหรือกรรมาธิการ ข้อ๒๘ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่แสดงพฤติกรรมคุกคามหรือระรานทางเพศต่อผู้ใด ข้อ๒๙ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่คบหา หรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดศีลธรรมหรือมีชื่อในทางเสียหาย หรือผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันอาจกระทบกระเทือนต่อชื่ อ เสี ยงและเกียรติศักดิ์ ของการเป็นสมาชิกหรือกรรมาธิการ ข้อ๓๐ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัว หรือผู้อื่นใช้ตำาแหน่งหน้าที่ของตนโดยมิชอบ

Page 93: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

86

ข้อ๓๑ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่นำาความลับของทางราชการไปใช้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริตหรือโดยมิชอบ ข้อ๓๒ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องไม่เรียกหรือรับของขวัญของกำานัลสิทธิประโยชน์หรือประโยชน์อื่นใด อันเกิดหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องดูแลให้คู่สมรสและบุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย ข้อ๓๓ สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องระมัดระวังการปฏิบัติงาน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญประจำาตัว ผู้ช่วยดำาเนินงานของสมาชิก หรือผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิก มิให้กระทำาการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สมาชิกกรรมาธิการและสภาผู้แทนราษฎร

หมวด ๒

การควบคุมให้เป็นไปตามจริยธรรม

ข้อ๓๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า“คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร”ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ (๑)ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานกรรมการ

Page 94: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

87

(๒)ผู้นำาฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (๓)ผู้ที่เคยดำารงตำาแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรจำานวนไม่เกินสามคนซึ่งได้รับเลือกจากกรรมการตาม(๑)(๒)(๔)และ(๕) (๔)สมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน (๕)สมาชิกจำานวนสี่คน จากพรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคการเมืองในสังกัดมิได้ดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีจำานวนสองคน และพรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคการเมืองในสังกัดได้ดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีจำานวนสองคน ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยอย่างน้อยต้องเป็นหญิงจำานวนสองคน ในการเลือกกรรมการตาม (๕) ให้เป็นไปตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรกำาหนด ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ข้อ๓๕ กรรมการพ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (๑)อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร (๒)ขาดจากสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิก (๓)ตาย (๔)ลาออก

Page 95: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

88

(๕)ขาดการประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการทราบ (๖)สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ออก (๗)พรรคการเมืองที่กรรมการเป็นสมาชิกถูกยุบ (๘)ได้รับการลงโทษตามข้อ๓๘ ข้อ๓๖ คณะกรรมการมีอำานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)ส่งเสริม สนับสนุน และกำากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้อย่างเคร่งครัด (๒)รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ตรวจการแผ่นดินบุคคลหรือหน่วยงานใด กรณีที่มีการกล่าวหาว่าสมาชิกหรือกรรมาธิการกระทำาผิดตามข้อบังคับนี้ (๓)พิจารณาสอบสวน วินิจฉัยคำาร้องเรียนและลงโทษตามระเบียบแห่งข้อบังคับนี้ (๔)ตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำางาน เพื่อดำาเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ (๕)วางหลักเกณฑ์ วิธีการ และระเบียบในการพิจารณาและสอบสวนให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ (๖) ดำาเนินการในเรื่องอื่นใดตามที่สภาผู้แทนราษฎรมอบหมาย ข้อ๓๗ วิธีพิจารณาของคณะกรรมการอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการพิจารณาโดยเปิดเผย การให้โอกาสคู่กรณีแสดงพยานหลักฐาน

Page 96: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

89

และความเห็นของตนก่อนการวินิจฉัย การให้สิทธิคู่กรณีขอตรวจดูเอกสารที่เกี่ยวกับตน การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านกรรมการ องค์ประชุมของคณะกรรมการต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คำาวินิจฉัยหรือคำาสั่งของคณะกรรมการให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยเหตุผลประกอบคำาวินิจฉัย ความเป็นมา หรือคำากล่าวหาสรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้กรรมการทำาคำาวินิจฉัยส่วนตนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ด้วย ข้อ๓๘ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีน้ำ าหนักรับฟั งได้ และที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกหรือกรรมาธิการผู้ใดฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อใด ให้คณะกรรมการมีอำานาจที่จะพิจารณาลงโทษสมาชิกหรือกรรมาธิการผู้นั้น ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษโดยการตักเตือน ตำาหนิ ให้ขอโทษต่อที่ประชุมตามที่คณะกรรมการกำาหนดหรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์

Page 97: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

90

ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่าเป็นความผิดร้ายแรง ให้ลงโทษโดยการเสนอถอดถอนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตามกฎหมายต่อไป คำาวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด และให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ

ประกาศณวันที่๑๒กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๕๓

ชัยชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไปเล่ม๑๒๗ตอนพิเศษ๒๖งลงวันที่๒๔กุมภาพันธ์๒๕๕๓

Page 98: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับ

การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑

Page 99: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 100: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

93

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา

พ.ศ. ๒๕๕๑

อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๑๓๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐วุฒิสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า“ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาพ.ศ.๒๕๕๑” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาพ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ ๔ ให้ประธานวุฒิสภารักษาการตามข้อบังคับนี้และมีอำานาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้

หมวด ๑

การเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา

ข้อ ๕ ในการเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการวุฒิสภา เชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ ในที่ประชุมวุฒิสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภา

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา

การเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา

Page 101: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

94

ดำาเนินการเลือกตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา และเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาดำาเนินการในเรื่องอื่นที่จำาเป็นจะต้องประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย ในการดำาเนินการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำาดับถัดไปซึ่ งอยู่ ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม ข้อ ๖ ในการเลือกประธานวุฒิสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อการเสนอนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ก่อนที่จะดำาเนินการเลือกตั้งประธานวุฒิสภานั้นให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่ง กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำารงตำาแหน่งต่อที่ประชุมวุฒิสภาภายในเวลาที่ที่ประชุมวุฒิสภากำาหนด ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อสองชื่อหรือมากกว่าสองชื่อให้มีการลงคะแนนเป็นการลับโดยการเขียนชื่อผู้ซึ่งตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษ ใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ แล้วให้เรียกชื่อสมาชิกตามลำาดับอักษรมาลงคะแนนเป็นรายคนโดยนำาซองใส่ลงในภาชนะที่จัดไว้เพื่อ

การเลือกประธานวุฒิสภา

Page 102: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

95

การนั้น ในการตรวจนับคะแนน ให้ประธานของที่ประชุมเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน กรณีมีการเสนอชื่อสองชื่อ ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกถ้าได้คะแนนสูงสุดเท่ากันให้เลือกใหม่อีกครั้งหนึ่งแต่ถ้าคะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับสลาก กรณีมีการเสนอชื่อมากกว่าสองชื่อ ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกที่มาประชุมเป็นผู้ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้ได้คะแนนสูงสุดมีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกที่มาประชุมให้ดำาเนินการดังนี้ (๑)ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับแรกหนึ่งคนและผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับที่สองหนึ่งคนให้นำาชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดสองลำาดับดังกล่าวมาให้สมาชิกลงคะแนนหรือ (๒)ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับแรกเกินกว่าหนึ่งคน ให้นำาชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดดังกล่าวมาให้สมาชิกลงคะแนนหรือ (๓)ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับแรกหนึ่งคนและมีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับที่สองเกินกว่าหนึ่งคน ให้นำาชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดลำาดับแรกและลำาดับที่สองทุกคนมาให้สมาชิกลงคะแนน

Page 103: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

96

ทั้งนี้ ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก แต่ถ้าคะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ให้ประธานของที่ประชุมประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุมวุฒิสภาและสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำาลายบัตรออกเสียงลงคะแนนนั้นด้วย ข้อ๗ในการเลือกรองประธานวุฒิสภา ให้นำาความในข้อ๖มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่วุฒิสภามีมติให้มีรองประธานวุฒิสภาสองคน ให้เลือกรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งก่อนแล้วจึงเลือกรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ข้อ ๘ ในการเลือกประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาแทนตำาแหน่งที่ว่าง ให้นำาความในข้อ ๖และข้อ๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙ เมื่อได้เลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาแล้วให้เลขาธิการวุฒิสภามีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำาความขึ้นกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาแล้ว ให้เลขาธิการวุฒิสภาส่งสำาเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อทราบด้วย

การเลือกรองประธานวุฒิสภา

การแต่งตั้งประธานและรองประธาน

วุฒิสภา

Page 104: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

97

หมวด ๒

อำานาจและหน้าที่ของประธานวุฒิสภา

รองประธานวุฒิสภา และเลขาธิการวุฒิสภา

ข้อ ๑๐ ประธานวุฒิสภามีอำานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)ควบคุมและดำาเนินกิจการของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (๒)เป็นประธานของที่ประชุมวุฒิสภา (๓)รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมวุฒิสภาตลอดถึงบริเวณที่ประชุมวุฒิสภา (๔)เป็นผู้แทนวุฒิสภาในกิจการภายนอก (๕)แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำาเนินกิจการใดๆอันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของวุฒิสภา (๖)อำานาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๑ รองประธานวุฒิสภามีอำ านาจและหน้าที่ช่วยประธานวุฒิสภาในกิจการอันเป็นอำานาจและหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย ในกรณีที่ไม่มีประธานวุฒิสภาหรือประธานวุฒิ สภาไม่ อยู่ หรื อ ไม่ สามารถปฏิบั ติหน้ าที่ ได้ ให้ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

อำานาจหน้าที่ประธานวุฒิสภา

อำานาจหน้าที่รองประธานวุฒิสภา

Page 105: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

98

ประธานวุฒิสภา ถ้าทั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งไม่มี หรือไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานวุฒิสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ข้อ ๑๒ เลขาธิการวุฒิสภามีอำานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)นัดประชุมวุฒิสภา และนัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก (๒)เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่ (๓)ช่วยประธานของที่ประชุมในการควบคุมการนับคะแนนเสียง (๔)ควบคุมการทำารายงานการประชุมทั้งปวง (๕)ยืนยันมติของวุฒิสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (๖)รักษาสรรพเอกสาร ข้อมูล และทรัพย์สินของวุฒิสภา (๗)ควบคุมการปฏิบัติ งานให้ เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนด (๘)กำากับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

อำานาจหน้าที่เลขาธิการวุฒิสภา

Page 106: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

99

(๙)หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้หรือตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย

หมวด ๓

การประชุมวุฒิสภา

ส่วนที่ ๑

วิธีการประชุม

ข้อ ๑๓ การประชุมวุฒิสภาย่อมเป็นการเปิดเผยแต่ถ้าคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาแล้วแต่กรณีร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ ในการประชุมวุฒิสภาเฉพาะที่เป็นการเปิดเผยให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนดไว้และให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง และหรือวิทยุโทรทัศน์ และจัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางเครื่องขยายเสียงและหรือวิทยุโทรทัศน์วงจรปิดภายในบริเวณของรัฐสภาและล่ามภาษามือหากมีเหตุขัดข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ

การประชุมวุฒิสภา

Page 107: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

100

ในการประชุมลับ ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ก็แต่เฉพาะสมาชิก รัฐมนตรี และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม และห้ามใช้เครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ยกเว้นการบันทึกของวุฒิสภา ข้อ ๑๔ ให้มีการประชุมวุฒิสภาครั้งแรกภายในสิบวันนับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญหรือวิสามัญของรัฐสภา เว้นแต่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าไม่มีวาระที่จะพิจารณา ในกรณีเช่นนั้นให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า การประชุมครั้งต่อไปให้เป็นไปตามมติที่ประชุมวุฒิสภา ประธานวุฒิสภาอาจสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแต่ต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นสมควรหรือสมาชิกจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้เรียกประชุมเป็นพิเศษก็ให้เรียกประชุมได้ ข้อ ๑๕ การนัดประชุมให้ทำาเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้แจ้งนัดในที่ประชุมวุฒิสภาแล้วจึงให้ทำาหนังสือแจ้งเฉพาะสมาชิกที่ไม่ได้มาประชุม

การประชุมวุฒิสภาครั้งแรก

การนัดประชุม

Page 108: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

101

การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันแต่ประธานวุฒิสภาจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐๗ ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่ เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมแต่ประธานวุฒิสภาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นว่าจำาเป็นหรือสมควร ข้อ ๑๗ การนัดประชุมหรือการส่งเอกสารตามข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ อาจดำาเนินการทางโทรสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเมื่อประธานวุฒิสภาเห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๑๘ การจัดระเบียบวาระการประชุม ให้จัดลำาดับดังต่อไปนี้ (๑)เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (๒)รับรองรายงานการประชุม (๓)กระทู้ถาม (๔)เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว (๕)เรื่องที่ค้างพิจารณา (๖)เรื่องที่เสนอใหม่ (๗)เรื่องอื่นๆ ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนจะจัดไว้ในลำาดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได้

การส่งระเบียบวาระการประชุม

การจัดระเบียบวาระการประชุม

Page 109: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

102

ข้อ ๑๙ ให้สมาชิกผู้มาประชุมลงชื่อในสมุดที่จัดไว้ก่อนเข้าประชุมทุกคราว และเมื่อมีสัญญาณให้เข้าประชุมให้สมาชิกเข้านั่งในที่ที่จัดไว้ เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามถ้ามีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุมพิจารณาได้ เมื่อประธานของที่ประชุมขึ้นบัลลังก์ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภายืนขึ้นจนกว่าประธานของที่ประชุมจะได้นั่งลง ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำาหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว จำานวนสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานของที่ประชุมอาจสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้ ข้อ ๒๑ เมื่อถึงกำาหนดเวลาประชุมหรือพ้นกำาหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาไม่อาจมาประชุมได้ให้เลขาธิการวุฒิสภาแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบในกรณีเช่นนี้ให้เลขาธิการวุฒิสภาขออนุมัติที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ ในที่ประชุมวุฒิสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาดำาเนินการเลือกตั้งประธานเฉพาะคราวสำาหรับการ

องค์ประชุม

กรณีประธานและรองประธานวุฒิสภาไม่อาจมาประชุมได้

Page 110: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

103

ประชุมครั้งนั้น โดยให้นำาความในข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนการลงคะแนนเลือกตั้ง ประธานเฉพาะคราวให้กระทำาเป็นการเปิดเผยตามข้อ๖๗ ข้อ ๒๒ ในการประชุมวุฒิสภา ให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมและต้องดำาเนินการพิจารณาตามลำาดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำาต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานของที่ประชุมอนุญาตแล้วจึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำากล่าวกับประธานของที่ประชุม ข้อ ๒๔ ถ้ารัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมศาลปกครององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดที่เกี่ยวข้องต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้ประธานของที่ประชุมพิจารณาอนุญาต สมาชิกอาจซักถามเพื่อความกระจ่างแจ้งในเรื่องที่แถลงหรือชี้แจงนั้นก็ได้ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่วุฒิสภาพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นที่กฎหมายกำาหนดให้ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อวุฒิสภา ให้ผู้แทนของ

การกล่าวถ้อยคำาในที่ประชุม

การแถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุม

Page 111: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

104

องค์กรนั้นมีสิทธิเข้าแถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาได้เมื่อประธานของที่ประชุมอนุญาต ในการแถลงหรือชี้แจง ให้นำาความในข้อ ๒๔ข้อ๕๕ข้อ๕๖ข้อ๕๗และข้อ๕๘มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๖ ประธานของที่ประชุมมีอำานาจปรึกษาที่ประชุมวุฒิสภาในปัญหาใดๆกำาหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าประธานวุฒิสภาลงจากบัลลังก์โดยมิได้มอบหมายให้รองประธานวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่แทน ให้เลิกการประชุม ข้อ ๒๗ รายงานการประชุมวุฒิสภา เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาตรวจแล้ว ก่อนที่จะเสนอให้วุฒิสภารับรองให้ทำาสำาเนาวางไว้สามฉบับณที่ซึ่งสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ประกาศกำาหนดไว้ไม่น้อยกว่าสามวันเพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้ รายงานการประชุมวุฒิสภาทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกที่มาประชุมที่ลาประชุมและที่ขาดประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนนแต่ละเรื่อง สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมวุฒิสภาดังกล่าวให้ตรงตามที่เป็นจริง โดยยื่นคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ถ้าคณะกรรมาธิการดังกล่าวไม่ยอมแก้ไข

อำานาจประธานในการขอปรึกษา

ที่ประชุม

รายงานการประชุม

วุฒิสภา

การแก้ไขเพิ่มเติมรายงาน

การประชุม

Page 112: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

105

เพิ่มเติมให้ตามที่ขอ สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้วุฒิสภาวินิจฉัย ข้อ ๒๘ ในการตรวจรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใดถ้ามีผู้ใดกล่าวถ้อยคำาหรือข้อความใดๆและได้มีการถอนหรือถูกสั่งให้ถอนถ้อยคำาหรือข้อความนั้นแล้วให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาพิจารณาว่าสมควรจะตัดถ้อยคำาหรือข้อความดังกล่าวออกหรือไม่ถ้าเห็นสมควรให้ตัดออกให้บันทึกว่า“มีการถอนคำาพูด”หรือ “ถูกสั่งให้ถอนคำาพูด” แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งนั้น ส่วนถ้อยคำาหรือข้อความที่ตัดออกให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาด้วย ข้อ ๒๙ รายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใด เมื่อได้วางสำาเนาไว้เพื่อให้สมาชิกตรวจดูแล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมเอง หรือโดยสมาชิกขอให้แก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม ในคราวที่วุฒิสภาพิจารณารับรองรายงานการประชุมนั้นคณะกรรมาธิการดังกล่าวจะต้องแถลงต่อที่ประชุมวุฒิสภาถึงการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นด้วย ข้อ ๓๐ เมื่อวุฒิสภาได้รับรองรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใดแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

การตรวจรายงานการประชุม

กรณีที่มีการแก้ไขรายงานการประชุม

การรับรองรายงานการประชุม

Page 113: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

106

ในกรณีที่มีเหตุทำาให้ประธานวุฒิสภาไม่อาจลงลายมือชื่อรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภาได้ ให้เลขาธิการวุฒิสภาบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้นแทน ข้อ ๓๑ วุฒิสภาอาจมีมติมิให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้แต่ให้มีบันทึกพฤติการณ์ไว้ ข้อ ๓๒ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาพิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อให้วุฒิสภามีมติว่าจะเปิดเผยหรือไม่ ข้อ ๓๓ วุฒิสภาอาจมีมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำาคัญของแผ่นดินที่มีการกล่าวหรือปรากฏในการประชุมได้ ข้อ ๓๔ ให้เลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมวุฒิสภา ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่มิได้มีมติของวุฒิสภาให้เปิดเผยและข้อความที่ห้ามโฆษณาตามข้อ๓๓

ส่วนที่ ๒

การเสนอญัตติ

ข้อ ๓๕ ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา และต้องมีสมาชิกรับรอง

การจดรายงานการประชุมลับ

การจัดพิมพ์รายงาน

การประชุม

การเปิดเผยรายงาน

การประชุมลับ

การเสนอญัตติ

Page 114: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

107

ไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๓๖ ญัตติตามมาตรา ๑๓๓ มาตรา ๑๖๑และมาตรา ๒๗๑ วรรคสองของรัฐธรรมนูญหรือญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง ข้อ ๓๗ ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุมวุฒิสภาตามมาตรา๑๗๗ของรัฐธรรมนูญถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ข้อ ๓๘ ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะใดคณะหนึ่งหรือญัตติขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภา ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ญัตติตามวรรคหนึ่ง กรณีขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแล้วแต่กรณีนั้น จะต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำาหรือซ้อนกัน และจะต้องไม่ซ้ำาหรือซ้อนกับอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะต่างๆ ข้อ ๓๙ ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติในกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำานาจหน้าที่ระหว่างวุฒิสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สอง

ญัตติที่ไม่ต้องมีผู้รับรอง

ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม

ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการกระทำากิจการใดๆ

ญัตติกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำานาจหน้าที่

Page 115: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

108

องค์กรขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๔ ของรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ข้อ ๔๐ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ (๑)ขอให้ปรึกษาเป็นเรื่องด่วน (๒)ขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม (๓)ขอให้ลงมติตามข้อ๓๑หรือข้อ๓๓ (๔)ญัตติตามข้อ ๔๑ ข้อ ๖๖ ข้อ ๖๗ ข้อ ๖๘ข้อ๗๔ข้อ๑๔๐หรือข้อ๑๘๑ (๕)ญัตติที่ประธานของที่ประชุมอนุญาตตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔๑ เมื่อที่ประชุมวุฒิสภากำาลังปรึกษาญัตติใดอยู่ห้ามมิให้เสนอญัตติอื่นนอกจากญัตติดังต่อไปนี้ (๑)ขอแปรญัตติ เฉพาะในเรื่ อ งที่ มิ ใช่ ร่ า งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ (๒)ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำานองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน (๓)ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา หรือขอให้บุคคลใดส่งเอกสาร หรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น

ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้า

หรือเป็นหนังสือ

ญัตติที่เสนอได้ในขณะที่ประชุม

กำาลังปรึกษาญัตติอื่นอยู่

Page 116: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

109

(๔)ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ (๕)ขอให้เลื่อนการปรึกษา (๖)ขอให้ปิดอภิปราย (๗)ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา ญัตติตาม (๓) (๕) (๖)หรือ (๗) เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้วห้ามมิให้เสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก ข้อ ๔๒ ญัตติตามข้อ ๔๑ (๖) และ (๗) ห้ามมิให้ผู้ใดเสนอในคราวเดียวกับการอภิปรายของตน ข้อ ๔๓ ญัตติตามข้อ๔๑(๗)ห้ามมิให้เสนอ (๑)ในการพิจารณาญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ (๒)ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ (๓)ในการพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำาแนะนำาหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำารงตำาแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น (๔)ในการพิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำาแหน่ง ข้อ ๔๔ ในกรณีที่ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาญัตติเดิมเป็นอันตกไป

กรณีที่ญัตติเดิมตกไป

Page 117: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

110

ข้อ ๔๕ ญัตติที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อท้ายญัตติที่เสนอ ข้อ ๔๖ ญัตติที่ ไม่ ต้ อง เสนอล่ วงหน้ า เป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ ข้อ ๔๗ การแก้ไขเพิ่มเติมญัตติหรือการถอนญัตติที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมและได้ส่งให้สมาชิกแล้ว จะกระทำาได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุมวุฒิสภา ข้อ ๔๘ การถอนคำาแปรญัตติจะกระทำาเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาแปรญัตติจะกระทำาได้เฉพาะภายในกำาหนดเวลาแปรญัตติตามข้อ๑๔๒ ข้อ ๔๙ การถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอญัตติใด หรือจากการเป็นผู้รับรอง ให้ทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานวุฒิสภา และจะกระทำาได้เฉพาะก่อนที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระการประชุม ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุญัตติตามวรรคหนึ่งเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้วจะถอนชื่อได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุมวุฒิสภา ข้อ ๕๐ ญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้เสนอญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาหรือผู้เสนอญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาโดยไม่มีผู้ชี้แจง

การเสนอและรับรองญัตติ

การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการถอนญัตติ

การถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกัน

เสนอญัตติ

กรณีที่ญัตติหรือคำาแปรญัตติตกไป

Page 118: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

111

แทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ญัตตินั้นเป็นอันตกไปเว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะพิจารณาเห็นเป็นอย่างอื่น คำาแปรญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้แปรญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาหรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาโดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย คำาแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป การมอบหมายให้ชี้แจงแทนในกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองนั้นต้องมอบแก่สมาชิก และทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานของที่ประชุมก่อนวาระพิจารณาญัตติหรือคำาแปรญัตตินั้น ข้อ ๕๑ ญัตติใดตกไปแล้วห้ามมิให้นำาญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกันเว้นแต่ประธานวุฒิสภาจะอนุญาตในเมื่อพิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

ส่วนที่ ๓

การอภิปราย

ข้อ ๕๒ ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติแต่ถ้าผู้เสนอญัตติมีหลายคน ให้ประธานของที่ประชุมอนุญาตให้ใช้สิทธิอภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว

ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน

Page 119: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

112

กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็นผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำาแปรญัตติ หรือสมาชิกผู้รับมอบหมายจากผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำาแปรญัตติไว้ในขั้นคณะกรรมาธิการ ให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้เสนอญัตติด้วย ข้อ ๕๓ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๒ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปรายในลำาดับต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนเว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้านย่อมกระทำาได้โดยไม่ต้องสลับ และมิให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด ข้อ ๕๔ ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคน ประธานของที่ประชุมจะให้คนใดอภิปรายก็ได้ แต่ให้คำานึงถึงผู้เสนอญัตติ ผู้แปรญัตติ ผู้รับรองญัตติหรือผู้รับรองคำาแปรญัตติและผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย ข้อ ๕๕ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำาลังปรึกษากันอยู่ ต้องไม่ฟุ่มเฟือยวนเวียน ซ้ำาซาก หรือซ้ำากับผู้อื่น หรือใช้ภาษาต่างประเทศโดยไม่จำาเป็น และห้ามมิให้นำาเอกสารใด ๆ มาอ่านหรือนำาวัตถุใดๆเข้ามาแสดงในที่ประชุมวุฒิสภาเว้นแต่

ลำาดับในการอภิปราย

กรณีมีผู้อภิปรายหลายคน

ลักษณะการอภิปราย

Page 120: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

113

ประธานของที่ประชุมจะอนุญาต แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิสมาชิกที่จะเขียนคำาอภิปรายของตนและอ่านคำาอภิปรายนั้นในที่ประชุมวุฒิสภา ห้ามมิให้ผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามมิให้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำาเป็น ข้อ ๕๖ ถ้าประธานของที่ประชุมเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานของที่ประชุมจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้แม้จะมิได้ฝ่าฝืนข้อ๕๕ก็ตาม ข้อ ๕๗ สมาชิกผู้ใดเห็นว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับและประสงค์จะประท้วง ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะประธานของที่ประชุมจะต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงนั้นหรือไม่ คำาวินิจฉัยของประธานของที่ประชุมดังกล่าวให้ถือเป็นเด็ดขาด ให้นำาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับประธานของที่ประชุมอาจสั่งให้ผู้อภิปรายถอนคำาพูดและผู้อภิปรายต้องปฏิบัติตามคำาสั่ง

การประท้วง

การยุติการอภิปราย

Page 121: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

114

ข้อ ๕๘ ผู้ อภิปรายอาจถอนคำาพูดของตนได้เอง หรือเมื่อมีผู้ประท้วง หรือตามคำาสั่งของประธานของที่ประชุมตามข้อ๕๗ ข้อ ๕๙ การอภิปรายเป็นอันยุติเมื่อ (๑)ไม่มีผู้ใดอภิปราย (๒)ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ปิดอภิปราย (๓)ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา ข้อ ๖๐ ในกรณีที่ประธานของที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า ได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๖๑ เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดอภิปรายอีก นอกจากในกรณีที่ที่ประชุมวุฒิสภาจะต้องลงมติในเรื่องที่กำาลังปรึกษากันอยู่ จึงให้ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะลงมติเมื่อการอภิปรายได้สิ้นสุดแล้ว ให้ประธานของที่ประชุมให้สัญญาณแจ้งสมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ ข้อ ๖๒ ประธานของที่ประชุมอาจอนุญาตให้บุคคลใดๆชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมวุฒิสภาก็ได้ ข้อ ๖๓ ถ้าประธานของที่ประชุมให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้ที่กำาลังพูดอยู่หยุดพูดและนั่งลงทันทีและให้ทุกคนนั่งฟังประธานของที่ประชุม

การยุติการอภิปราย

การปิดอภิปราย

อภิปรายสรุป

อำานาจประธานในการประชุม

Page 122: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

115

ในกรณีอ่านพระบรมราชโองการหรือกระแสพระราชดำารัส ให้ผู้อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภายืนฟังด้วยอาการสำารวมตลอดเวลาที่อ่าน

ส่วนที่ ๔

การลงมติ

ข้อ ๖๔ ในกรณีที่จะต้องมีมติของวุฒิสภา ให้ประธานของที่ประชุมขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติ การลงมติต้องมีสมาชิกครบองค์ประชุม โดยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับนี้กำาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๖๕ เสียงข้างมากตามมาตรา ๑๒๖ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ ในกรณีความเห็นของที่ประชุมวุฒิสภามีสองฝ่าย ให้ถือเอาจำานวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากกว่า และในกรณีความเห็นของที่ประชุมวุฒิสภามีเกินสองฝ่าย ให้ถือเอาจำานวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด การออกเสียงชี้ขาดของประธานของที่ประชุมให้กระทำาเป็นการเปิดเผยโดยจะให้เหตุผลหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๖๖ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญการออกเสียงลงคะแนนให้กระทำาเป็นการเปิดเผย เว้นแต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

การลงมติ

การออกเสียงลงคะแนน

Page 123: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

116

ขอให้กระทำาเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ แต่ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองมากกว่าหนึ่งในสามของจำานวนสมาชิกในที่ประชุมวุฒิสภา ก็ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย ข้อ ๖๗ การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑)ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานวุฒิสภากำาหนด (๒)ยกมือขึ้นพ้นศีรษะพร้อมกับแสดงบัตรลงคะแนน ผู้เห็นด้วยให้แสดงบัตรลงคะแนนสีน้ำาเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้แสดงบัตรลงคะแนนสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้แสดงบัตรลงคะแนนสีขาว โดยบัตรลงคะแนนดังกล่าวให้สมาชิกลงลายมือชื่อและหมายเลขประจำาตัวสมาชิกกำากับไว้ด้วย (๓)เรียกชื่อสมาชิกตามลำาดับอักษรให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคนตามวิธีที่ประธานของที่ประชุมกำาหนด (๔)วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาเห็นสมควรเฉพาะกรณี การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยนั้นให้ใช้วิธีตาม(๑) จะใช้วิธีตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ หรือเมื่อมีการนับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ๗๔

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผย

Page 124: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

117

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้จนกว่าประธานของที่ประชุมจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๒) ให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับบัตรลงคะแนนจากสมาชิกมาเพื่อดำาเนินการตรวจนับคะแนนต่อไป ข้อ ๖๘ การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑)ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานวุฒิสภากำาหนด (๒)เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายถูก(3) ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายกากบาท (X)ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมายวงกลม(O) (๓)วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาเห็นสมควรเฉพาะกรณี การออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้จนกว่าประธานของที่ประชุมจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน เมื่อจะมีการออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๒) ให้สมาชิกนั่งลงในที่ที่จัดไว้ และให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่แจกกระดาษและซองให้แก่สมาชิกทุกคนและเมื่อสมาชิกเขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซอง

การออกเสียงลงคะแนนลับ

Page 125: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

118

แล้ว ให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับมาเพื่อส่งให้แก่กรรมการตรวจนับคะแนนดำาเนินการต่อไปและในการตรวจนับคะแนนให้ประธานของที่ประชุมเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน ข้อ ๖๙ ก่อนออกเสียงลงคะแนนลับให้ประธานของที่ประชุมให้สัญญาณแจ้งสมาชิกทราบเพื่อพร้อมที่จะออกเสียงลงคะแนนลับ ข้อ๗๐ ลำาดับการลงมตินั้น ให้ลงมติในญัตติสุดท้ายก่อนแล้วย้อนเป็นลำาดับไปหาญัตติต้น แต่มิให้ถือว่าความผิดพลาดในการเรียงลำาดับดังกล่าวมานี้ เป็นเหตุให้มติที่ได้ลงคะแนนและนับคะแนนเสร็จแล้วเป็นอันเสียไป ข้อ๗๑ ประธานของที่ประชุมมีอำานาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติเว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะมีมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๗๒ สมาชิกซึ่งเข้ามาในที่ประชุมวุฒิสภาระหว่างการออกเสียงลงคะแนน ในกรณีออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตามข้อ ๖๗ (๑) หรือออกเสียงลงคะแนนลับตามข้อ ๖๘ (๑) อาจลงคะแนนได้ก่อนประธานของที่ประชุมสั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน ในกรณีออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยโดยวิธีอื่น อาจลงคะแนนทางฝ่ายที่ยังนับคะแนนเสียงไม่เสร็จได้ หรือในกรณีออกเสียงลง

ลำาดับการลงมติ

กรณีสมาชิกซึ่งเข้ามาใน

ที่ประชุมระหว่างการลงคะแนน

Page 126: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

119

คะแนนลับโดยวิธีอื่นอาจลงคะแนนได้ก่อนประธานของที่ประชุมสั่งให้นับคะแนนเสียง ข้อ๗๓ เมื่อได้นับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้ประธานของที่ประชุมประกาศมติต่อที่ประชุมวุฒิสภาทันที ในกรณีเรื่องใดรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดไว้ว่ามติจะต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงถึงจำานวนเท่าใดก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงถึงจำานวนที่กำาหนดไว้นั้นหรือไม่ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้ประกาศมติต่อที่ประชุมวุฒิสภาจากผลการออกเสียงลงคะแนน ด้วยวิธีตามข้อ ๖๘ (๒) แล้วให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำาลายบัตรออกเสียงลงคะแนนนั้นด้วย ข้อ๗๔ ในการนับคะแนนเสียงครั้ งใด ถ้าสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ก็ให้มีการนับใหม่เว้นแต่คะแนนเสียงมีความต่างกันเกินกว่าสิบคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่มิได้ การนับคะแนนเสียงใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้เปลี่ยนวิธีลงคะแนนเป็นวิธีตามข้อ๖๗หรือข้อ๖๘ซึ่งอยู่ในลำาดับถัดไป แล้วแต่กรณี เว้นแต่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดวิธีลงคะแนนไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น การนับคะแนนเสียงโดยวิธีตามข้อ๖๗(๓)หรือข้อ๖๘(๒)จะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกมิได้

การประกาศมติต่อที่ประชุม

การนับคะแนนเสียงใหม่

Page 127: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

120

ข้อ ๗๕ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานของที่ประชุมถามที่ประชุมวุฒิสภาว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยกับญัตตินั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ หรือเรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดให้ที่ประชุมวุฒิสภาวินิจฉัย โดยการออกเสียงลงคะแนน ข้อ๗๖ ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำาบันทึกการลงมติการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

หมวด ๔

กรรมาธิการ

ข้อ ๗๗ ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ กระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาหรือตามที่วุฒิสภามอบหมาย

ญัตติที่ไม่มีผู้คัดค้าน

การจัดทำาบันทึกการลงมติ

คณะกรรมาธิการสามัญประจำา

วุฒิสภา

Page 128: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

121

คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาแต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำานวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน และให้มีจำานวนยี่สิบสองคณะโดยให้มีอำานาจหน้าที่ดังนี้ (๑)คณะกรรมาธิการการกีฬา มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬาของชาติ รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการกีฬาของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๒)คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรอาหารการสหกรณ์การพัฒนาการผลิตการแปรรูปและธุรกิจการเกษตร แนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการพัฒนาการเกษตรอาหารการสหกรณ์และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๓)คณะกรรมาธิการการคมนาคม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการคมนาคมทั้งการจราจรทางบกทางน้ำา ทาง

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์

คณะกรรมาธิการการกีฬา

คณะกรรมาธิการการคมนาคม

Page 129: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

122

อากาศ ทางอวกาศ การขนส่งมวลชน การขนส่งสินค้าการพาณิชยนาวีและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๔)คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การธนาคาร ตลาดเงินตลาดทุน สถาบันการเงินของประเทศ และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง (๕)คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนไทยโพ้นทะเล สถานการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ รวมทั้งภาพลักษณ์ของประเทศและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (๖)คณะกรรมาธิการการทหาร มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับกิจการทหาร การป้องกัน การรักษาความมั่นคงการปกป้องผลประโยชน์ของชาติการพัฒนาประเทศและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน

คณะกรรมาธิการการทหาร

คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ

Page 130: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

123

(๗)คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (๘)คณะกรรมาธิการการปกครอง มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการปกครองรูปแบบพิเศษ การพัฒนาระบบราชการ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง การกระจายอำานาจพิจารณาศึกษานโยบายในการบำาบัดทุกข์บำารุงสุขรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๙)คณะกรรมาธิการการพลังงาน มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการบริหารการส่งเสริมพัฒนาการจัดหาการใช้การอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก การศึกษาผลกระทบและแนวทางการ

คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว

คณะกรรมาธิการการปกครอง

คณะกรรมาธิการการพลังงาน

Page 131: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

124

แก้ไขปัญหาอุปสรรคจากการจัดหาและการใช้พลังงานความมั่นคงด้านพลังงานและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๐)คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่ เ กี่ ย วกั บการส่ ง เ สริ มและสนับสนุนการพัฒนาการเมืองและการดำาเนินการอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำาหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง (๑๑) คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับเด็กเยาวชนสตรีผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศต่างประเทศประชาคมภายในประเทศและนานาชาติและองค์กรปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คน

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วม

ของประชาชน

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กเยาวชน

สตรีผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

Page 132: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

125

พิการ และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมศักยภาพของชุมชนด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การคุ้มครองและดูแลผู้ยากไร้ การพัฒนาสังคม การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลการสร้างหลักประกันความมั่นคงและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวมและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๒)คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำารวจ มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการดำาเนินการตามนโยบายด้านการบริหารงานยุติธรรม กระบวนการยุติธรรม การตำารวจ อัยการ และราชทัณฑ์การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (๑๓)คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในประเทศทั้งในและนอกระบบ แรงงานไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ การให้สวัสดิการ การประกันสังคมและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม

คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำารวจ

Page 133: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

126

(๑๔)คณะกรรมาธิ ก ารการวิ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับการบริหาร การส่งเสริมและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารการสื่อสารสาธารณะโทรคมนาคมและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๕)คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรมจริยธรรมศิลปะและวัฒนธรรม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับศาสนา การอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา การอนุรักษ์และการสืบสานศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน การส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม วัฒนธรรม เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ไทย และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๖) คณะกรรมาธิการการศึกษา มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบของชาติ การให้บริการทางการศึกษาสำาหรับประชาชนโดยคำานึงถึงความเป็นมาตรฐานเป็นธรรมและ

คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม

คณะกรรมาธิการการศาสนา

คุณธรรมจริยธรรมศิลปะและวัฒนธรรม

คณะกรรมาธิการการศึกษา

Page 134: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

127

ทั่วถึง เน้นความเป็นเลิศทางปัญญา วินัย คุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะ ความเป็นไทยบนพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความเป็นอิสระทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๗)คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข การพัฒนาระบบสุขภาพ การบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยรวมถึงการรักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟู การส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๑๘)คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำาเนินการบริหารจัดการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และนโยบายของรัฐบาลในด้านงบประมาณติดตามและประเมินผลการรับ การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำ าปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ

คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข

Page 135: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

128

(๑๙)คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆที่เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน การจัดการทรัพยากรน้ำาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนการส่งเสริมบำารุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมศึกษาปัญหาการใช้ การป้องกัน การแก้ไข การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (๒๐)คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาศึกษา และตรวจสอบเรื่องการกระทำาการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน และศึกษาเรื่องใดๆ เกี่ยวกับกลไกกระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๒๑)คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การ

คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล

คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ

การพาณิชย์และอุตสาหกรรม

Page 136: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

129

พาณิชย์และอุตสาหกรรม การส่งเสริม พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (๒๒)คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำานาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์กรเอกชน และองค์กรในด้านสิทธิมนุษยชน ติดตาม ตรวจสอบการกระทำาหรือการละเว้นการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพการคุ้มครองผู้บริโภคปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำาเป็นหรือเห็นสมควรวุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจำานวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้ สมาชิกคนหนึ่งจะดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาได้ไม่เกินสองคณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำารงตำาแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภา ให้ดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาได้หนึ่งคณะ สำาหรับสมาชิกผู้ดำารงตำาแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาจะดำารงตำาแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาอื่นอีกมิได้

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค

Page 137: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

130

ข้อ ๗๘ การสรรหาสมาชิกให้ดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาตามข้อ๗๗ให้ที่ประชุมวุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำานวนไม่เกินสามสิบคน และให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความจำานงโดยยื่นต่อคณะกรรมาธิการสามัญ ตามแบบที่คณะกรรมาธิการสามัญกำาหนดเพื่อที่จะดำารงตำาแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาได้ไม่เกินสองคณะ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะใดมีสมาชิกยื่นแสดงความจำานงจะดำารงตำาแหน่งไว้น้อยกว่าหรือเกินกว่าจำานวนที่จะมีได้ในคณะกรรมาธิการในคณะนั้น ให้ใช้วิธีเกลี่ยโดยหารือกับสมาชิกที่เกี่ยวข้องหรือใช้วิธีจับสลาก การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภา ให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเลือกจากรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการสามัญตามวรรคหนึ่ง เมื่อสมาชิกที่มาจากการสรรหาหรือการเลือกตั้งชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ ให้มีการดำาเนินการสรรหาคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาตามข้อ ๗๗ ใหม่ทั้งหมด ข้อ๗๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ ยวกับอำานาจหน้าที่ในระหว่างคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะต่างๆตามข้อ๗๗ที่อาจมีความไม่ชัดเจนหรืออาจ

การสรรหาสมาชิกให้

ดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการ

สามัญ

กรณีมีปัญหาในเรื่องอำานาจ

หน้าที่ของคณะกรรมาธิการ

Page 138: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

131

มีความซ้ำาซ้อนกันอยู่ และทำาให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำาเนินกิจการตามภารกิจ ในกรณีนี้ให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาในแต่ละคณะดังกล่าวนัดประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหาข้อยุติ และหากไม่อาจหาข้อยุติร่วมกันได้ ให้เสนอเรื่องต่อวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเฉพาะกรณีนั้นต่อไป ข้อ ๘๐ ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาที่ได้รับมอบหมายคนหนึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ผู้แทนคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาตามข้อ๗๗วรรคสองทุกคณะๆ ละหนึ่งคนสมาชิกที่ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกตั้งตามข้อ ๘๑ อีกไม่เกินเจ็ดคนและเลขาธิการวุฒิสภาเป็นกรรมาธิการมีอำานาจหน้าที่กระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (๑)พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือเรื่องอื่นใดตามที่วุฒิสภามอบหมายหรือตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย (๒)ติดตามมติและตรวจรายงานการประชุมของวุฒิสภา (๓)กระทำากิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่ไม่อยู่ในอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการอื่นของวุฒิสภา

คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา

Page 139: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

132

(๔)ประสานงานระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎรคณะรัฐมนตรีองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของวุฒิสภา (๕)ประสานงานกับคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาทุกคณะและสมาชิก เกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อสมาชิกหรือบุคคลใด ๆ ที่จะเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการสามัญ หรือกรรมาธิการวิสามัญตาม ข้อ ๘๑ หรือข้อ ๑๐๒ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมและเป็นธรรม (๖)ดำาเนินงานทางด้านวิชาการข้อมูลข่าวสารการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจการของวุฒิสภา (๗)รับคำาร้องเรียนหรือเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎรเพื่อมอบต่อคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา (๘)เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของวุฒิสภา (๙)เสนอแนะต่อวุฒิสภาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานวุฒิสภาและการดำาเนินกิจการในด้านต่าง ๆของวุฒิสภา (๑๐) เสนอแนะต่อวุฒิสภาเกี่ยวกับการกำาหนดรายละเอียดของงบประมาณและการแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีในส่วนของวุฒิสภาและสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา

Page 140: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

133

(๑๑) เสนอแนะต่อวุฒิสภาเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆให้แก่สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งให้มีวาระการดำารงตำาแหน่งเช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภา ข้อ ๘๑ การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ ให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน เว้นแต่การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภา ให้ดำาเนินการตามข้อ ๗๘ วรรคสอง ในการเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ ให้คณะรัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เสนอรายชื่อได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด แต่ในการเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำากิจการในเรื่องอื่น ๆ ให้ประกอบด้วยบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกมีจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมาธิการให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนโดยเลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเท่ากับจำานวนกรรมาธิการที่จะเลือกตั้งตามวิธีที่ประธานของที่ประชุมกำาหนด

การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ

Page 141: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

134

ให้ประธานวุฒิสภาและเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจนับคะแนนและให้ประธานวุฒิสภาแจ้งผลการตรวจนับคะแนนและประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการในการประชุมครั้งนั้นหรือครั้งต่อไป ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการดำารงตำาแหน่งกรรมาธิการนับแต่วันที่วุฒิสภาลงมติเลือกตั้ง ข้อ ๘๒ การเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ให้ตั้งจากผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด ข้อ ๘๓ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานวุฒิสภาวินิจฉัยว่ามีสาระสำาคัญเกี่ยวกับเด็กเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพหากวุฒิสภามิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นมีจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดทั้งนี้โดยมีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน ข้อ ๘๔ การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม และ

กรณีพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

เข้าชื่อเสนอ

กรณีพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับเด็กเยาวชนสตรีและผู้สูงอายุหรือ

ผู้พิการหรือทุพพลภาพ

องค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ

Page 142: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

135

ให้นำาข้อบังคับนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมวุฒิสภามาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘๕ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกตั้งประธานรองประธานเลขานุการโฆษกและตำาแหน่งอื่นตามความจำาเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้นๆ ให้กรรมาธิการผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อดำาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้มีผู้ ช่ วยเลขานุการคนหนึ่ งประจำ าคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ โดยให้คณะกรรมาธิการแต่งตั้งจากรายชื่อข้าราชการสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาตามรายชื่อที่เลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ในส่วนของคณะกรรมาธิการสามัญประจำ าวุฒิสภา การเลือกตำาแหน่งต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่งให้ดำาเนินการใหม่ทั้งหมดเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีหกเดือนนับจากวันที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่เมื่อประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะหนึ่งคณะใดร้องขอต่อที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อขยายการดำารงตำาแหน่งต่าง ๆ ต่อไปอีกไม่เกินสามครั้ง ๆ ละสามสิบวันเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำาทุจริต ประพฤติมิชอบของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง

ตำาแหน่งต่างๆในคณะกรรมาธิการ

วาระการดำารงตำาแหน่ง

Page 143: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

136

ข้อ ๘๖ เพื่อประโยชน์ในการดำาเนินงาน คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาอาจตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาผู้ชำานาญการนักวิชาการและเลขานุการประจำาคณะกรรมาธิการก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนด ข้อ ๘๗ คณะกรรมาธิการมีอำานาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการได้ แล้วรายงานคณะกรรมาธิการภายในเวลาที่คณะกรรมาธิการกำาหนด และให้นำาข้อบังคับว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่คณะอนุกรรมาธิการกระทำากิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดไม่เสร็จตามเวลาที่กำาหนด ให้ประธานคณะอนุกรรมาธิการขออนุญาตขยายเวลาต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการแต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมาธิการมีจำานวนไม่เกินสิบคน โดยประธานและรองประธานคณะอนุกรรมาธิการต้องตั้งจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการในคณะนั้น คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การตั้งอนุกรรมาธิการซึ่งมิใช่กรรมาธิการในคณะ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนด ข้อ ๘๘ การออกคำาสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความ

การตั้งที่ปรึกษาผู้ชำานาญการ

นักวิชาการและเลขานุการ

การตั้งคณะอนุกรรมาธิการ

การเรียกเอกสารหรือบุคคลมาชี้แจง

Page 144: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

137

เห็นในกิจการที่กระทำา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่ตามมาตรา๑๓๕วรรคสองของรัฐธรรมนูญให้ทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรี ซึ่งบังคับบัญชาหรือกำากับดูแลหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบ เพื่อมีคำาสั่งแจ้งให้บุคคลนั้นดำาเนินการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมาธิการนอกจากครั้งแรก ให้เลขานุการคณะกรรมาธิการ หรือผู้ทำาหน้าที่แทนเลขานุการคณะกรรมาธิการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ ข้อ ๘๙ สมาชิกและผู้ซึ่ ง ได้ รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการมีสิทธิเข้าฟังการประชุมคณะกรรมาธิการ ในกรณีประชุมลับผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นสมาชิกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุม และได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม ข้อ ๙๐ ภายใต้บังคับข้อ ๘๙ ผู้เสนอญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอดเรื่องส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็นได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้

ผู้มีสิทธิเข้าฟังการประชุมคณะกรรมาธิการ

การชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ

Page 145: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

138

การชี้แจงแสดงความเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นกระทำาแทนได้โดยยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการ ข้อ ๙๑ ให้เลขาธิการวุฒิสภาประกาศกำาหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ ณ สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา และมีหนังสือนัดผู้ เสนอญัตติหรือผู้ แปรญัตติ ให้มาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำาแปรญัตติ แล้วแต่กรณี ข้อ ๙๒ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่คณะกรรมาธิการได้เริ่มพิจารณาคำาแปรญัตติใด คำาแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไปเว้นแต่ คณะกรรมาธิการจะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผันให้เป็น กรณีพิเศษก่อนเสร็จการพิจารณาเรื่องนั้น ข้อ ๙๓ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้ รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนคำาแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้วุฒิสภาวินิจฉัยก็ได้ ข้อ ๙๔ กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนความเห็นของตนในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้วุฒิสภาวินิจฉัยก็ได้ ข้อ ๙๕ เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่อง

ประกาศกำาหนดการประชุม

คณะกรรมาธิการ

คำาแปรญัตติตกไป

สงวนคำาแปรญัตติ

รายงานของคณะกรรมาธิการ

Page 146: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

139

ใด ๆ อันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาหรือตามที่วุฒิสภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อวุฒิสภา ในที่ประชุมวุฒิสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลงชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำา ดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดๆแถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ ข้อ ๙๖ ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ควรทราบหรือควรปฏิบัติให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณา ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานวุฒิสภาส่งรายงาน และข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙๗ ถ้ามีมติของวุฒิสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำาหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการจะกระทำากิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำาหนด ประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ทำาหน้าที่แทนต้องรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบโดยด่วน

ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ

กรณีคณะกรรมาธิการกระทำากิจการหรือพิจารณาเรื่องใดไม่เสร็จตามกำาหนด

Page 147: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

140

ในกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ถ้าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไป ให้ประธานวุฒิสภาเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา และที่ประชุมวุฒิสภาอาจลงมติให้ขยายเวลาที่ได้กำาหนดไว้ หรือให้ตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิม หรือให้ดำาเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะเห็นสมควร แต่ถ้านอกสมัยประชุมหรืออยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติก็ให้ประธานวุฒิสภามีอำานาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำาหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควร แล้วแจ้งให้วุฒิสภาทราบภายหลังทั้งนี้ภายใต้บังคับข้อ๑๕๒ ข้อ ๙๘ ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมาธิการจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะดำาเนินการตามภาระหน้าที่อื่นอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการคณะนั้น ๆ หรือตามภาระหน้าที่อื่นตามที่วุฒิสภามอบหมายต่อไป ข้อ ๙๙ กรรมาธิการพ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (๑)สมาชิกถึงคราวออกตามวาระ (๒)ตาย (๓)ลาออก (๔)คณะกรรมาธิการครบวาระตามข้อ๗๘หรือข้อ๘๐

กรณีที่สภาผู้แทนราษฎร

สิ้นอายุหรือมีการยุบสภา

การพ้นจากตำาแหน่งของกรรมาธิการ

Page 148: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

141

(๕)มีการตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิมตามข้อ๙๗ (๖)วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำาแหน่ง เพื่อประโยชน์ในการดำาเนินการตามมาตรา๑๓๒ ของรัฐธรรมนูญ ให้กรรมาธิการที่พ้นจากตำาแหน่งตาม (๑) ทำาหน้าที่ต่อไปจนกว่าสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งหรือสรรหาใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการกระทำากิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆอันอยู่ในอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภา ให้กรรมาธิการที่พ้นจากตำาแหน่งตาม (๑) หรือ(๔)ทำาหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการใหม่ ข้อ ๑๐๐ในกรณีที่ตำาแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะใดว่างลง ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้วุฒิสภาตั้งแทนตำาแหน่งที่ว่างสำาหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญหากตำาแหน่งกรรมาธิการในคณะใดว่างลงประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจะแจ้งต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้วุฒิสภาตั้งแทนตำาแหน่งที่ว่างหรือไม่ก็ได้

ตั้งกรรมาธิการแทนตำาแหน่งที่ว่าง

Page 149: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

142

หมวด ๕

การพิจารณาให้บุคคลดำารงตำาแหน่งตาม

มาตรา ๑๒๑ ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๑๐๑เมื่อมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาให้บุคคลดำารงตำาแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำานวนไม่เกินสิบห้าคน เพื่อทำาหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำารงตำาแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำาเป็นสำาหรับตำาแหน่งนั้นเป็นกรณีๆไป ข้อ ๑๐๒การตั้งกรรมาธิการสามัญตามข้อ๑๐๑ให้ตั้งจากสมาชิกที่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาเสนอชื่อ มีจำานวนสามคน จำานวนที่เหลือให้ที่ ประชุมวุฒิ สภา เลื อกจากรายชื่ อสมาชิกที่ คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาเสนอจากกรรมาธิการคณะนั้นๆคณะละหนึ่งคน ข้อ ๑๐๓การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ๑๐๑ต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม

การพิจารณาให้บุคคล

ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา๑๒๑ของรัฐธรรมนูญ

Page 150: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

143

ข้อ ๑๐๔เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำารงตำาแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ๑๐๑อาจเรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานอันจำาเป็นจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งให้มีหนังสือเชิญบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำารงตำาแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาให้ข้อเท็จจริง หรือชี้แจงเกี่ยวกับประวัติความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ประสงค์จะทราบ หากปรากฏว่ามีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำารงตำาแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และข้อมูลหรือข้อเท็จจริงนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ ให้บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำารงตำาแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีสิทธิชี้แจงและแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อความเป็นธรรม ข้อ ๑๐๕การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๑๐๑ ให้กระทำาเป็นการลับ โดยผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมและได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม

การดำาเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อพิจารณาบุคคลตามมาตรา๑๒๑ของรัฐธรรมนูญ

Page 151: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

144

ข้อ ๑๐๖เมื่ อคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ๑๐๑ดำาเนินการตามหน้าที่เสร็จแล้วให้เสนอรายงานต่อประธานวุฒิสภา รายงานดังกล่าวให้จัดทำาเป็นรายงานลับ และให้ระบุข้อมูล หรือข้อเท็จจริง พยานหลักฐานอันจำาเป็นพร้อมรายละเอียดเป็นรายบุคคล ข้อ ๑๐๗เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานของคณะกรรมาธิการตามข้อ๑๐๖แล้วให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งเฉพาะระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สมาชิกโดยไม่ต้องจัดส่งรายงานลับของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปด้วย ข้อ ๑๐๘ในการประชุมวุฒิสภา ให้คณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๑๐๑ นำาเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดยให้เลขาธิการวุฒิสภาแจกจ่ายสำาเนารายงานลับของคณะกรรมาธิการให้แก่สมาชิกเพื่อประกอบการพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา สำาเนารายงานลับดังกล่าวสมาชิกจะนำาออกนอกห้องประชุมมิได้ ก่อนนำาเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการต่อที่ประชุมวุฒิสภาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมาธิการร้องขอต่อที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อให้มีการดำาเนินการประชุมลับ

การรายงานของคณะกรรมาธิการ

Page 152: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

145

ในกรณีที่มิได้มีการประชุมลับ ให้ประธานวุฒิสภาสั่งงดการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงและหรือวิทยุโทรทัศน์ถ้ามีและให้เลขาธิการวุฒิสภาส่งรายงานลับตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาเพื่อพิจารณาก่อนว่าจะสมควรเปิดเผยหรือไม่ และถ้าคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาเห็นว่าไม่สมควรเปิดเผย ให้เลขาธิการวุฒิสภาแยกรายงานลับดังกล่าวออกจากรายงานการประชุมวุฒิสภาและเก็บรักษาไว้โดยจะเปิดเผยมิได้ ข้อ ๑๐๙เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาเสร็จแล้วให้สมาชิกส่งคืนสำาเนารายงานลับของคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๑๐๑ ต่อเลขาธิการวุฒิสภาในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อนำาไปทำาลายตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อไปโดยให้ประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมาธิการมอบหมายเป็นผู้กำากับในการทำาลายนั้น ข้อ ๑๑๐ให้นำาความในหมวด๔ว่าด้วยกรรมาธิการมาใช้บังคับกับการดำาเนินการของคณะกรรมาธิการโดยอนุโลมเว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้แล้วในหมวดนี้

Page 153: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

146

หมวด ๖

การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา ๒๗๐

ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๑๑๑ในหมวดนี้ “ผู้ถูกกล่าวหา” หมายความว่า ผู้ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำารายงานเสนอวุฒิสภาว่าข้อกล่าวหามีมูล “ผู้ดำารงตำาแหน่ง” หมายความว่า บุคคลผู้ดำารงตำาแหน่งที่อาจถูกถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ และบุคคลผู้อาจถูกถอดถอนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต “คณะกรรมการ ป.ป.ช.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้อ ๑๑๒เมื่ อมีคำ า ร้ องขอถอดถอนผู้ ดำ า รงตำาแหน่งตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ ในระหว่างสมัยประชุม ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบโดยเร็ว ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมให้ประธานวุฒิสภาแจ้งเป็นหนังสือให้สมาชิกทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๑๓เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำาร้องขอถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา๒๗๑วรรคหนึ่งหรือวรรคสองของรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภาดำาเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่าคำาร้องขอถูกต้องและครบถ้วน

คำานิยามที่ใช้ในหมวดนี้

การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่ง

ตามมาตรา๒๗๐ของรัฐธรรมนูญ

Page 154: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

147

ตามมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.๒๕๔๒หรือไม่ และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำาเนินการไต่สวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำาร้องขอ หากไม่สามารถดำาเนินการได้ทัน ให้ประธานวุฒิสภาชี้แจงให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบเพื่อขอขยายระยะเวลา ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาได้รับคำาร้องขอถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา๒๗๑วรรคสามของรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภาดำาเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่าคำาร้องขอถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรา ๖๑แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่และส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำาเนินการไต่สวนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำาร้องขอ หากไม่สามารถดำาเนินการได้ทัน ให้ประธานวุฒิสภาชี้แจงให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบเพื่อขอขยายระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการดำาเนินการตรวจสอบและการพิจารณาคำาร้องขอ การส่งเรื่องให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำาเนินการไต่สวน และการแจ้งผลการตรวจสอบกรณีคำาร้องขอไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนด ข้อ ๑๑๔เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานเอกสารและความเห็นจากคณะกรรมการป.ป.ช.ที่มีมติ

การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามมาตรา๒๗๐ของรัฐธรรมนูญ

Page 155: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

148

ชี้มูลว่าผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา๒๗๐ของรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว และบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๑๕ให้ประธานวุฒิสภามีคำาสั่งให้แจกสำาเนารายงานพร้อมเอกสารที่มีอยู่ และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้แก่สมาชิกและผู้ถูกกล่าวหาเพื่อศึกษาล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนถึงวันประชุมนัดแรก ตามข้อ ๑๑๗ เว้นแต่เอกสารที่เป็นหลักฐานมีจำานวนมาก ให้สมาชิกหรือคู่กรณีตรวจดูได้ที่ห้องเก็บหลักฐานซึ่งสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาจัดไว้ สมาชิกหรือคู่กรณีมีสิทธิขอคัดสำาเนาเอกสารที่เป็นหลักฐานเว้นแต่เป็นเอกสารลับหรือเป็นเอกสารที่ไม่ควรเปิดเผย การคัดสำาเนาเอกสารตามวรรคสอง ให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเลขาธิการวุฒิสภา หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาจัดทำาบัญชีเอกสารเป็นลำาดับให้ชัดเจน ข้อ ๑๑๖เอกสารทุกฉบับที่ ใช้ประกอบการประชุมของวุฒิสภาหรือที่เป็นหลักฐานในเรื่องที่พิจารณาถอดถอนให้ถือว่าเป็นเอกสารที่เปิดเผยเว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะมีมติเห็นเป็นอย่างอื่น

Page 156: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

149

ข้อ ๑๑๗ให้ประธานวุฒิสภานัดประชุมนัดแรกภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน และความเห็นของคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อกำาหนดวันแถลงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหาตามข้อ ๑๒๐ และพิจารณาคำาขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานตามข้อ๑๒๑ ข้อ ๑๑๘ในการพิจารณาของวุฒิสภาเพื่ อถอดถอน บุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้พิจารณาโดยเปิดเผยเว้นแต่มีความจำาเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะสำาคัญ ในการพิจารณาลับผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการพิจารณาได้ก็แต่เฉพาะสมาชิก คู่กรณี และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุม และห้ามใช้เครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆยกเว้นการบันทึกของวุฒิสภา ข้อ ๑๑๙ในการพิจารณาของวุฒิสภาให้ยึดสำานวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลัก รวมทั้งให้พิจารณาหลักฐานและเหตุผลในข้อกล่าวหาที่ชี้มูลว่าเป็นความผิดเป็นข้อๆตามมาตรา๒๗๐ของรัฐธรรมนูญ ข้อ ๑๒๐ในวาระเริ่มแรกของการพิจารณาให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป.ป.ช.มีสิทธิแถลงเปิดสำานวนตามรายงานและความเห็นของคณะกรรมการป.ป.ช.ภายหลังจากนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้แทนมีสิทธิแถลงคัดค้านโต้แย้งคำาแถลงเปิดสำานวนหรือรายงาน

ประชุมนัดแรก

การพิจารณาของวุฒิสภาเพื่อถอดถอน

Page 157: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

150

พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยไม่มีการซักถาม เมื่อการแถลงตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นลง ให้ที่ประชุมพิจารณาว่าควรมีการซักถามในประเด็นใดเพิ่มเติมโดยพิจารณาตามญัตติของสมาชิกที่เสนอล่วงหน้าก่อนวันประชุม หากที่ประชุมมีมติให้มีการซักถามในประเด็นปัญหาใด ให้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถามขึ้นคณะหนึ่งโดยนำาข้อบังคับข้อ ๑๐๑ และข้อ ๑๐๒ มาใช้บังคับและต้องกำาหนดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อซักถามผู้เกี่ยวข้องภายในเจ็ดวันโดยต้องแจ้งมติให้คู่กรณีทราบโดยพลัน การซักถามตามวรรคสามให้อยู่ในประเด็นที่ที่ประชุมกำาหนดและกระทำาโดยคณะกรรมาธิการซักถามเท่านั้น ข้อ ๑๒๑ในการพิจารณาของวุฒิสภา ห้ามมิให้นำาเอกสารหรือพยานอื่น ๆ นอกจากพยานเอกสารตามข้อ ๑๑๙ มาสอบเพิ่มเติมให้มากขึ้นกว่าที่ปรากฏในสำานวนคณะกรรมการ ป.ป.ช. เว้นแต่เป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุสำาคัญที่ผู้ถูกกล่าวหาได้นำาเข้าสู่การพิจารณาในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการป.ป.ช.แล้วแต่คณะกรรมการป.ป.ช.ไม่ยอมรับหรือไม่ยอมนำาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป.ป.ช.หรือมีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำาพยานดังกล่าว

Page 158: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

151

มาแสดงเพื่อประโยชน์ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานดังกล่าวได้มีอยู่ การขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมวุฒิสภา โดยให้ยื่นคำาขอก่อนการประชุมนัดแรกตามข้อ๑๑๗ไม่น้อยกว่าห้าวัน ข้อ ๑๒๒ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิยื่นคำาขอแถลงการณ์ปิดสำานวนด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือต่อที่ประชุมวุฒิสภาได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันแถลงเปิดสำานวนเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำาขอแถลงการณ์ปิดสำานวนด้วยวาจาต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้ประธานวุฒิสภานัดประชุมเพื่อรับฟังคำาแถลงการณ์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำาขอ หากมีการแถลงการณ์ปิดสำานวนด้วยวาจาของทั้งสองฝ่ายให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นฝ่ายแถลงก่อน ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำาขอแถลงการณ์เป็นหนังสือให้ผู้ขอยื่นคำาแถลงการณ์ปิดสำานวนเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาภายในเจ็ดวันนับจากวันที่ครบกำาหนดตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๒๓ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมเพื่อลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนภายในสามวันนับแต่วันแถลงการณ์ปิดสำานวนด้วยวาจาหรือวันพ้นกำาหนดให้ยื่นคำาแถลงการณ์ปิดสำานวนเป็นหนังสือ

การยื่นคำาขอแถลงการณ์ปิดสำานวน

การเรียกประชุมเพื่อลงมติ

Page 159: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

152

ข้อ ๑๒๔การออกเสียงลงคะแนนถอดถอนให้กระทำาโดยวิธีลงคะแนนลับ ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดให้มีการลงคะแนนในคูหา โดยมีกล่องใส่บัตรลงคะแนน และจัดเตรียมบัตรลงคะแนนที่ระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหาจากนั้นให้เลขาธิการวุฒิสภาขานชื่อสมาชิกเพื่อรับบัตรลงคะแนนที่หน้าคูหาลงคะแนน แล้วเข้าลงคะแนนในคูหาไปโดยลำาดับโดยให้สมาชิกกาเครื่องหมายกากบาท(x)ในช่องที่กำาหนดว่าถอดถอนหรือไม่ถอดถอน และเมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วจึงเริ่มนับคะแนน ข้อ ๑๒๕ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการจับสลากเพื่อคัดเลือกสมาชิกจำานวนไม่น้อยกว่าสิบคนเป็นกรรมการผู้ดำาเนินการลงคะแนนและตรวจนับคะแนน การนับคะแนนให้ขานคะแนนว่า “ถอดถอน”หรือ “ไม่ถอดถอน” พร้อมทั้งชูบัตรลงคะแนนโดยเปิดเผยให้ผู้อยู่ในที่ประชุมได้เห็นด้วย ข้อ ๑๒๖เมื่อวุฒิสภามีมติแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งมติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกถอดถอนออกจากตำาแหน่ง แล้วแต่กรณีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องโดยทันที ข้อ ๑๒๗นับแต่ เมื่ อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานของคณะกรรมการป.ป.ช.ตามข้อ๑๑๔เป็นต้นไปจนเสร็จสิ้นการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ ๑๒๔

การออกเสียงลงคะแนนถอดถอน

การนับคะแนน

การลงมติ

Page 160: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

153

สมาชิกจักต้องวางตนเป็นกลางและเที่ยงธรรม ไม่กล่าวหรือแสดงไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันจะทำาให้การพิจารณาและการวินิจฉัยของที่ประชุมต้องเสียความยุติธรรมไปเช่น (๑)วิพากษ์ต่อสาธารณะซึ่งการดำาเนินคดีหรือคำาพยานหลักฐานของฝ่ายใดในลักษณะที่ไม่เหมาะสมต่อความเป็นกลางในคดี (๒)ให้ความเห็นต่อสาธารณะ โดยประสงค์จะบ่งบอกให้ทราบได้ว่าตนจะมีมติเช่นใด (๓)ให้ความเห็นในหมู่สมาชิกอันเป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือเป็นการวิพากษ์โดยไม่เที่ยงธรรมซึ่งการดำาเนินคดีหรือพยานหลักฐานของฝ่ายใดหรือยัง ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องในคดี (๔)ชักจูงหรือชี้แนะให้สมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดมีมติไปในทางใดในลักษณะที่เสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิก ข้อ ๑๒๘การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งนอกเหนือจากมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ ให้นำาความในหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

Page 161: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

154

หมวด ๗

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ

และพระราชกำาหนด

ส่วนที่ ๑

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๑๒๙ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่หนึ่งให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ประธานวุฒิสภาอาจอนุญาตให้ผู้แทนคณะรัฐมนตรีศาลรัฐธรรมนูญศาลฎีกาหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นแถลงหรือชี้แจงประกอบการพิจารณาของที่ประชุมวุฒิสภาก็ได้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ และในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำาดับมาตราให้ถือเสียงข้างมากของวุฒิสภา การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ลำาดับการพิจารณาร่าง

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

Page 162: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

155

ข้อ ๑๓๐ในกรณีวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา ๑๔๗ (๓)ประกอบกับมาตรา๑๔๐ของรัฐธรรมนูญเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งจำานวนกรรมาธิการร่วมกันมาให้ทราบแล้วให้ประธานวุฒิสภาดำ า เนินการ เพื่ อ ให้ วุฒิ สภาตั้ งกรรมาธิการร่วมกัน เมื่อคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณาแล้วพร้อมกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคสอง ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ข้อ ๑๓๑เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจากสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา๑๔๑วรรคสามของรัฐธรรมนูญแล้วให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

ตั้งกรรมาธิการร่วมกัน

พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม

Page 163: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

156

ให้วุฒิสภาพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญการออกเสียงลงคะแนนในการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ข้อ ๑๓๒ให้นำาความในหมวด๗ส่วนที่๒การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ข้อ ๑๓๓ให้มีสารบบลงวัน เดือน ปี ที่วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติจากสภาผู้แทนราษฎร และวัน เดือน ปี ที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัติคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๑๓๔เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติ จากสภาผู้ แทนราษฎรแล้ ว ให้บรรจุ เข้ าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๓๕ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖๘ วรรคสามของรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ให้กระทำาเป็นสามวาระตามลำาดับ

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของวุฒิสภา

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.

Page 164: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

157

ข้อ ๑๓๖ในกรณีที่มีความจำ า เป็นเกี่ ยวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติใดในวาระที่หนึ่งแล้วประธานวุฒิสภาอาจพิจารณามอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาคณะใดคณะหนึ่งที่เกี่ยวข้อง หรือวุฒิสภา อาจตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำานวนไม่เกินสิบห้าคนแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเฉพาะกรณีไปก็ได้ และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบในวาระที่สามแล้วให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวรายงานต่อประธานวุฒิสภาเป็นการด่วน ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของสมาชิกในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป ข้อ ๑๓๗การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่หนึ่ง ให้พิจารณาและลงมติว่าจะรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้พิจารณาหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๑๓๘ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นผู้ชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติต่อที่ประชุมวุฒิสภา

การพิจารณาวาระที่หนึ่ง

Page 165: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

158

ข้อ ๑๓๙ในกรณีที่วุฒิสภามีมติในวาระที่หนึ่งรับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา ให้วุฒิสภาพิจารณาในลำาดับต่อไปเป็นวาระที่สอง ข้อ ๑๔๐การพิ จารณาในวาระที่ สอง ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้งหรือกรรมาธิการเต็มสภา ตามปกติ ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่ วุฒิสภาตั้ ง การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำาได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภานั้น วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ได้ ข้อ ๑๔๑ในกรณีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่ วุฒิสภาตั้ งนั้น วุฒิสภาจะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำาวุฒิสภาหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้ ข้อ ๑๔๒ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขั้นคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง สมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้เสนอคำาแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายใน

การพิจารณาวาระที่สอง

กรณีพิจารณาร่างพ.ร.บ.โดยคณะกรรมาธิการ

การเสนอคำาแปรญัตติ

Page 166: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

159

กำาหนดเจ็ดวันนับถัดจากวันที่วุฒิสภารับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา เว้นแต่วุฒิสภาจะได้กำาหนดเป็นอย่างอื่น การแปรญัตติ ต้องแปรเป็นรายมาตรา และให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการวุฒิสภากำาหนด ข้อ ๑๔๓ เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นโดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งรายงานต่อประธานวุฒิสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำาแปรญัตตินั้นเป็นประการใดหรือมีการสงวนคำาแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการก็ให้ระบุไว้ในรายงานด้วย ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีศาลรัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมศาลปกครองหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาและให้นำาความในข้อ๙๖มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๔๔เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติและรายงานของคณะกรรมาธิการตามข้อ ๑๔๓แล้วให้เสนอวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป โดยให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

กรณีคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เสร็จแล้ว

Page 167: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

160

ข้อ ๑๔๕ในกรณีที่วุฒิสภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการและประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เป็นทั้งการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่สองเรียงตามลำาดับมาตรารวมกันไป ข้อ ๑๔๖ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำาปรารภ แล้วพิจารณาเรียงลำาดับมาตรา และให้อภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำาหรือข้อความที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือที่ผู้แปรญัตติสงวนคำาแปรญัตติหรือที่กรรมาธิการสงวนความเห็นไว้ ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๔๗เมื่อได้พิจารณาตามข้อ ๑๔๖ จนจบร่างแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง และในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำาได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดมิได้นอกจากเนื้อความที่ยังเห็นว่าขัดแย้งกันอยู่ ข้อ ๑๔๘เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สองเสร็จแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปในวาระที่สาม

กรรมาธิการเต็มสภา

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่

คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

Page 168: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

161

ข้อ ๑๔๙การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สามให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หรือถ้าในการพิจารณาในวาระที่สองได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติว่าให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติมในกรณีเช่นว่านี้มติให้แก้ไขเพิ่มเติมให้หมายความว่าให้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ได้พิจารณาไว้ในวาระที่สอง และมติไม่แก้ไขเพิ่มเติมให้หมายความว่าวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม การพิจารณาในวาระนี้ไม่มีการอภิปราย ข้อ ๑๕๐ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเมื่อวุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรหรือให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ ข้อ ๑๕๑ในกรณีวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา ๑๔๗ (๓) ของรัฐธรรมนูญ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งจำานวนกรรมาธิการร่วมกันมาให้ทราบแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำาเนินการเพื่อให้วุฒิสภาตั้งกรรมาธิการร่วมกัน เมื่ อคณะกรรมาธิการร่วมกันได้ เสนอร่ างพระราชบัญญัติที่ได้พิจารณาแล้วพร้อมกับรายงานของ

การพิจารณาวาระที่สาม

ตั้งกรรมาธิการร่วมกัน

Page 169: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

162

คณะกรรมาธิการ ให้ประธานวุฒิ สภาบรรจุ เข้ าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัตินั้น ข้อ ๑๕๒วุฒิสภาจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้เสร็จภายในกำาหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๑๔๖ของรัฐธรรมนูญถ้าการพิจารณาของวุฒิสภาอาจไม่เสร็จภายในกำาหนดเวลาดังกล่าว ให้ประธานคณะกรรมาธิการรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบเพื่อดำาเนินการขอให้วุฒิสภาขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว ให้ส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำาหนดเวลาตามมาตรา๑๔๖ของรัฐธรรมนูญ ข้อ ๑๕๓ภายใต้บังคับมาตรา๑๔๖และมาตรา๑๖๘ ของรัฐธรรมนูญ ในกรณีร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่จะส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร หากมีข้อความผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาประธานวุฒิสภาอาจขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้นำาร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับมาทบทวนข้อผิดพลาดนั้นได้ หากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ก็ให้ดำาเนินการได้

การขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ

กรณีร่างพ.ร.บ.ที่วุฒิสภา

เห็นชอบแล้วมีข้อความผิดพลาด

Page 170: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

163

การขอปรึกษาหรือญัตติตามวรรคหนึ่งต้องระบุประเด็นที่จะขอกลับมาทบทวนและให้เหตุผลที่ชัดเจน การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำาได้เท่าที่จำาเป็นและให้กระทำาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ข้อ ๑๕๔เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายแล้วให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งมีจำานวนตามที่ที่ประชุมวุฒิสภากำาหนด เพื่อพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อ ๑๕๕เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายจากสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๑๕๔ เป็นการด่วน และให้คณะกรรมาธิการพิจารณาและรายงานความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว การพิจารณาในขั้นคณะกรรมาธิการนี้ไม่มีการแปรญัตติ เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ ร่างพระราช

พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ

Page 171: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

164

บัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานความเห็นของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้วุฒิสภาพิจารณาและลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกจะขอแก้ไขเพิ่มเติมมิได้

ส่วนที่ ๓

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

หรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภามีมติเห็นชอบให้

พิจารณาต่อไปตามมาตรา ๑๕๓ ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ ๑๕๖เมื่อรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามมาตรา ๑๕๓ ของรัฐธรรมนูญถ้าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นค้างการพิจารณาอยู่ในวาระใด ก็ให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปในวาระนั้น และให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตาม

มาตรา๑๕๓ของรัฐธรรมนูญ

Page 172: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

165

ในการนับระยะเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาอยู่ในวุฒิสภาให้เริ่มนับระยะเวลาใหม่ตามที่กำาหนดในมาตรา๑๔๖ของรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ ข้อ ๑๕๗การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณา ให้ดำาเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปตามที่กำาหนดไว้ในหมวด ๗ ว่าด้วยการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ

ส่วนที่ ๔

การพิจารณาพระราชกำาหนด

ข้อ ๑๕๘เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับพระราชกำาหนดจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน การพิจารณาพระราชกำาหนดตามมาตรา ๑๘๔และมาตรา๑๘๖ของรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภาพิจารณาและลงมติว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำาหนดดังกล่าว เมื่อวุฒิสภามีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำาหนดตามวรรคสองแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้คณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรทราบ

การพิจารณาพระราชกำาหนด

Page 173: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

166

หมวด ๘

การตั้งกระทู้ถาม

ข้อ ๑๕๙การตั้งกระทู้ถาม ให้เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือยื่นต่อประธานวุฒิสภา โดยมีข้อความเป็นคำาถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบาย และให้แสดงความประสงค์ด้วยว่าจะให้ตอบในราชกิจจานุเบกษาหรือจะให้ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา ข้อเท็จจริงใดๆที่อ้างประกอบกระทู้ถามต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ตั้งกระทู้ถามรับรองว่าถูกต้อง แม้จะมิได้ยืนยันรับรองไว้ในกระทู้ถามก็ตาม และถ้าจำาเป็นจะต้องมีคำาชี้แจงประกอบ ก็ให้ระบุแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก คำาถาม ข้อเท็จจริงที่อ้าง ตลอดจนคำาชี้แจงประกอบต้องไม่ฟุ่มเฟือยวนเวียนซ้ำาซากหรือมีลักษณะเป็นทำานองอภิปราย ข้อ ๑๖๐กระทู้ถามแต่ละกระทู้นั้น ให้ตั้งถามและซักถามได้เฉพาะคนเดียว ข้อ ๑๖๑กระทู้ถามต้องไม่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑)เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย (๒)เคลือบคลุมหรือเข้าใจยาก (๓)เป็นเรื่องที่ได้ตอบแล้ว หรือชี้แจงแล้วว่าไม่ตอบ

การตั้งกระทู้ถาม

ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ถาม

Page 174: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

167

(๔)เป็นการให้ออกความเห็น (๕)เป็นปัญหาข้อกฎหมาย (๖)เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระสำาคัญ (๗)เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลใด ๆ เว้นแต่ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ราชการ ข้อ ๑๖๒กระทู้ถามตามข้อ๑๖๑(๓)นั้นจะตั้งถามขึ้นใหม่ได้ ในเมื่อมีสาระสำาคัญต่างกัน หรือพฤติการณ์ในขณะที่มีกระทู้ถามครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตั้งกระทู้ถามครั้งก่อน ข้อ ๑๖๓กรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์สำาคัญของแผ่นดินหรือมีเหตุฉุกเฉินที่มีความจำาเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมหรือเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงหรือกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีควรจะต้องชี้แจงหรือดำาเนินการโดยทันทีนั้นจะตั้งกระทู้ถามด่วนก็ได้ ข้อ ๑๖๔ให้เป็นอำานาจของประธานวุฒิสภาที่จะวินิจฉัยว่ากระทู้ถามใดที่สมาชิกตั้งถามมาเป็นหรือไม่เป็นกระทู้ถามตามข้อ ๑๕๙ ข้อ ๑๖๑ ข้อ ๑๖๒ หรือข้อ๑๖๓ และให้ประธานวุฒิสภาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับกระทู้ถามนั้น

กระทู้ถามด่วน

การวินิจฉัยกระทู้ถาม

Page 175: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

168

การวินิจฉัยดังกล่าวในวรรคหนึ่งเป็นประการใดให้เลขาธิการวุฒิสภาแจ้งให้ผู้ตั้งกระทู้ถามทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่ประธานวุฒิสภาวินิจฉัย ข้อ ๑๖๕ให้ประธานวุฒิสภาจัดส่งกระทู้ถามไปยังรัฐมนตรีผู้ซึ่งถูกตั้งกระทู้ถาม ในกรณีที่เป็นกระทู้ถามที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งรัฐมนตรีผู้ซึ่งถูกตั้งกระทู้ถาม เพื่อดำาเนินการตอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับกระทู้ถามนั้นและหากรัฐมนตรีได้ตอบแล้วในราชกิจจานุเบกษา หรือมีเหตุขัดข้องไม่ตอบภายในกำาหนดเวลาดังกล่าว ให้เลขาธิการวุฒิสภาแจ้งให้ผู้ตั้งกระทู้ถามทราบ ในกรณีที่เป็นกระทู้ถามที่ต้องตอบในที่ประชุมวุฒิสภา ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งไปตามวรรคหนึ่ง แต่ในกรณีที่เป็นกระทู้ถามด่วน ให้ประธานวุฒิสภาจัดส่งกระทู้ถามนั้นไปยังรัฐมนตรีผู้ซึ่งถูกตั้งกระทู้ถามและให้แจ้งไปด้วยว่าได้กำาหนดให้ผู้ตั้งกระทู้ถามถามเรื่องนั้นในการประชุมครั้งใด  การกำาหนดเวลาดังกล่าวให้ประธานวุฒิสภาคำานึงถึงความสำาคัญของเหตุการณ์และความสนใจของประชาชนซึ่งควรจะได้ทราบโดยปัจจุบันนั้นเป็นหลักพิจารณา หากประธานวุฒิสภาไม่อาจบรรจุกระทู้ถามเข้าระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาได้ภายใน

กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา

กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม

วุฒิสภา

Page 176: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

169

กำาหนดระยะเวลาดังกล่าวให้แจ้งเหตุขัดข้องให้ที่ประชุมวุฒิสภาและผู้ตั้งกระทู้ถามทราบ ข้อ ๑๖๖การตอบกระทู้ถาม ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องนั้นเป็นผู้ตอบ เว้นแต่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นไม่อยู่โดยมีเหตุจำาเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือติดราชการสำาคัญ จะมอบหมายให้รัฐมนตรีอื่นเป็นผู้ตอบกระทู้ถามนั้นได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือยื่นต่อประธานวุฒิสภาก่อนหรือในวันประชุมวุฒิสภาในเรื่องดังกล่าว ในการตอบกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามก็ได้แต่ต้องชี้แจงเหตุผลในที่ประชุมวุฒิสภา หรือแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือยื่นต่อประธานวุฒิสภาและให้กำาหนดว่าจะตอบได้เมื่อใด ข้อ ๑๖๗เมื่อถึงระเบียบวาระกระทู้ถาม ให้ประธานของที่ประชุมอนุญาตให้ถามตามลำาดับ ในการถามมิให้ชี้แจงหรืออ่านคำาชี้แจงประกอบ ข้อ ๑๖๘ผู้ตั้งกระทู้ถามมีสิทธิถอนกระทู้ถามได้และเมื่อถึงระเบียบวาระกระทู้ถามของผู้ใด ถ้าผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ถามหรือไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภา ให้ถือว่ากระทู้ถามนั้นตกไป ข้อ ๑๖๙เมื่อรัฐมนตรีได้ตอบแล้ว ผู้ตั้งกระทู้ถามมีสิทธิซักถามได้อีกหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะขอซักถามต่อ

การตอบกระทู้ถาม

การถอนกระทู้ถาม

การซักถามกระทู้ถาม

Page 177: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

170

ไปเพราะคำาตอบยังไม่หมดประเด็น และประธานของที่ประชุมอนุญาต ในการซักถามนั้นผู้ตั้งกระทู้ถามมีสิทธิที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบได้เท่าที่จำาเป็น ข้อ ๑๗๐ในการประชุมวุฒิสภาครั้งหนึ่ง ๆ ให้บรรจุกระทู้ถามได้ไม่เกินห้ากระทู้ แต่ถ้าหากมีกรณีจำาเป็นหรือเร่งด่วน ประธานวุฒิสภาจะบรรจุกระทู้ถามเกินห้ากระทู้ก็ได้ การถามและการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภาครั้งหนึ่ง ๆ ให้มีกำาหนดระยะเวลาไม่เกินสองชั่วโมง ข้อ ๑๗๑ในการประชุมวุฒิสภาครั้งหนึ่งๆมิให้ผู้ตั้งกระทู้ถามคนเดียวกันถามเกินหนึ่งกระทู้ เว้นแต่ไม่มีกระทู้ถามของสมาชิกอื่นเหลืออยู่ ข้อ ๑๗๒กระทู้ถามใดที่สมาชิกภาพของผู้ตั้งกระทู้ถามสิ้นสุดลงให้ถือว่ากระทู้ถามนั้นเป็นอันตกไป ข้อ ๑๗๓กระทู้ถามใดที่รัฐมนตรียังมิได้ตอบให้ เป็นอันตกไปเมื่อคณะรัฐมนตรีทั้ งคณะพ้นจากตำาแหน่ง

การบรรจุกระทู้ถามในการประชุมแต่ละครั้ง

กระทู้ถามตกไป

Page 178: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

171

หมวด ๙

การเปิดอภิปรายทั่วไป

ข้อ ๑๗๔การขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา๑๖๑ ของรัฐธรรมนูญ ให้ทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานวุฒิสภา โดยระบุให้ชัดเจนว่าจะให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำาคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องใด ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามวรรคหนึ่งไปยังนายกรัฐมนตรี และให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน ข้อ ๑๗๕เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำาคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไปแล้วสมาชิกมีสิทธิที่จะอภิปรายซักถามได้ ข้อ ๑๗๖รัฐมนตรีเท่านั้นที่มีสิทธิจะอภิปรายตอบข้อซักถาม รัฐมนตรีจะตอบสมาชิกที่ซักถามและอภิปรายในเรื่องที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไปทีละคนเป็นลำาดับไป หรือจะรอรวมตอบครั้งละหลายคนก็ได้ ข้อ ๑๗๗ในการอภิปรายนั้นนอกจากที่กำาหนดไว้ในหมวดนี้แล้ว ให้นำาความในหมวด ๓ ส่วนที่ ๓ การอภิปรายมาใช้บังคับโดยอนุโลม

การเปิดอภิปรายทั่วไป

Page 179: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

172

หมวด ๑๐

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

ข้อ ๑๗๘สถานที่ประชุมวุฒิสภาย่อมเป็นที่เคารพและเป็นเขตหวงห้าม ผู้เข้าไปต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และต้องแต่งกายตามที่ประธานวุฒิสภากำาหนด บุคคลอื่นที่มิใช่สมาชิกรัฐสภาหรือเจ้าหน้าที่รัฐสภา เมื่อหมดภารกิจต้องออกนอกสถานที่ประชุมวุฒิสภา ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารใด ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการรบกวนและห้ามสูบบุหรี่ในที่ประชุมวุฒิสภา การแต่งกายของสมาชิกนั้น ให้แต่งเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภาหรือสากลนิยมหรือชุดพระราชทานหรือตามที่ประธานวุฒิสภากำาหนด ข้อ ๑๗๙ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ประธานของที่ประชุมมีอำานาจเตือนห้ามปรามให้ถอนคำาพูดห้ามพูดในเรื่องที่กำาลังปรึกษากันอยู่ ให้กล่าวขอขมาในที่ประชุมวุฒิสภา หรือสั่งให้ออกไปจากที่ประชุมวุฒิสภาครั้งนั้นโดยมีหรือไม่มีกำาหนดเวลาก็ได้ ในกรณีที่ประธานของที่ประชุมสั่งให้ผู้ใดออกจากที่ประชุมวุฒิสภา หากผู้นั้นขัดขืน ประธานของที่ประชุมมีอำานาจสั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้นำาตัวออกจากสถานที่ประชุมวุฒิสภา หรือออกไปให้พ้น

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในสถานที่ประชุม

วุฒิสภา

อำานาจประธานในการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

Page 180: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

173

บริเวณที่ประชุมวุฒิสภา คำาสั่งของประธานของที่ประชุมตามข้อนี้ ผู้ใดจะโต้แย้งมิได้ ข้อ ๑๘๐การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาในที่ประชุมวุฒิสภาหรือบริเวณที่ประชุมวุฒิสภาหรือเข้าฟังการประชุมของวุฒิสภา ตลอดจนมารยาทของบุคคลเช่นว่านั้นและการโฆษณาข้อความเกี่ยวด้วยการประชุมปรึกษาของวุฒิสภา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำาหนดไว้

หมวด ๑๑

บทสุดท้าย

ข้อ ๑๘๑ถ้าประธานของที่ประชุมขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกในที่ประชุมวุฒิสภาก็ให้งดใช้ข้อบังคับนั้นได้ ข้อ ๑๘๒ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ให้เป็นอำานาจของวุฒิสภาที่จะวินิจฉัย และเมื่อที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติวินิจฉัยโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก

การงดใช้ข้อบังคับ

การตีความข้อบังคับ

Page 181: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

174

กึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเป็นประการใดแล้วให้ถือว่าคำาวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด การขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งอาจกระทำาได้โดยประธานของที่ประชุมขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ข้อ ๑๘๓การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับให้ทำาเป็นร่างข้อบังคับโดยแบ่งเป็นข้อ และต้องมีบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบด้วย การพิจารณาญัตติในข้อนี้ ให้นำาความในหมวด๗ส่วนที่๒การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘๔ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกไปทำาการสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาตามมาตรา๑๓๑ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ หรือมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีอาญาที่สมาชิกถูกฟ้องตามมาตรา ๑๓๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน

การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

การพิจารณาอนุญาตหรือ

ไม่อนุญาตให้มีการจับกุมคุมขังหรือหมายเรียก

สมาชิกในระหว่างสมัยประชุม

Page 182: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

175

ข้อ ๑๘๕ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาสั่งให้ปล่อยสมาชิกที่ถูกจับตามมาตรา ๑๓๑ วรรคสอง หรือที่ถูกคุมขังตามมาตรา๑๓๑วรรคห้าของรัฐธรรมนูญให้ประธานของที่ประชุมแจ้งต่อที่ประชุมวุฒิสภาในโอกาสแรกที่มีการประชุมวุฒิสภา ข้อ ๑๘๖ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำาชี้แจงตามมาตรา ๑๓๐วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำาร้องขอต่อประธานวุฒิสภาตามแบบที่กำาหนด คำาร้องขอตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่มีลักษณะเป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำาร้องขอดังกล่าว ให้ส่งคำาร้องขอนั้นไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาเป็นการด่วน เพื่อที่คณะกรรมาธิการจะได้พิจารณาคำาร้องขอดังกล่าวต่อไปและให้คณะกรรมาธิการพิจารณาและรายงานความเห็นต่อประธานวุฒิสภาให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำาร้องขอ เพื่อประธานวุฒิสภาจะได้ดำาเนินการต่อไป ให้เลขาธิการวุฒิสภาดำาเนินการโฆษณาคำาชี้แจงดังกล่าวด้วยวิธีปิดประกาศไว้ ณ สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีกำาหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่

กรณีประธานสั่งปล่อยสมาชิก

กรณีผู้เสียหายประสงค์ให้มีการโฆษณาคำาชี้แจง

Page 183: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

176

ประธานวุฒิสภาเห็นควรจัดให้มีการโฆษณาคำาชี้แจงและให้ส่งสมาชิกเพื่อทราบด้วย ข้อ ๑๘๗ให้สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาจัดสภาพแวดล้อมทั้งทางสถาปัตยกรรม สารสนเทศ การสื่อสาร หรือบริการอื่นใดให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรวมทั้ง (๑)จัดทำา จัดเก็บ หรือเรียกเอกสารใด ๆ เพื่อการพิจารณาหรือเผยแพร่ของวุฒิสภา ให้อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ที่เป็นมาตรฐานเปิด หรือซึ่งคนพิการและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ด้วย (๒)จัดอุปกรณ์ เทคโนโลยี สิ่งอำานวยความสะดวก รวมถึงผู้ช่วยสำาหรับสมาชิกซึ่งเป็นคนพิการหรือผู้สูงอายุที่มีความต้องการจำาเป็นเป็นพิเศษ เพื่อให้สมาชิกสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๘๘ข้อบังคับนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้กระทำาเสร็จแล้วก่อนใช้ข้อบังคับนี้ส่วนการใดที่ยังกระทำาค้างอยู่ให้ดำาเนินการต่อไปตามข้อบังคับที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้ข้อบังคับนี้

หน้าที่ของสำานักงาน

เลขาธิการวุฒิสภา

บทเฉพาะกาล

Page 184: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

177

ข้อ ๑๘๙ให้ คณะกรรมาธิ ก า รสามัญตามข้อ ๑๐๑ และคณะกรรมาธิการวิสามัญที่มีอยู่ก่อนวันใช้ข้อบังคับนี้ คงเป็นคณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๑๐๑และคณะกรรมาธิการวิสามัญตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๑๐๑ และคณะกรรมาธิการวิสามัญตามวรรคหนึ่งยังคงดำาเนินกิจการตามที่วุฒิสภามอบหมายต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๑๙๐ให้นำาประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาใช้บังคับกับสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการประกาศใช้ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๑๓๔ ประกอบมาตรา ๒๗๙ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแล้ว เพื่อดำาเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับว่าด้ วยประมวลจริ ย ธ ร รมของสมาชิ ก วุฒิ สภาและกรรมาธิการตามมาตรา๑๓๔ประกอบมาตรา๒๗๙วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับนี้ ข้อ ๑๙๑ให้บรรดาระเบียบประกาศหรือคำาสั่งที่ออกตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบท

Page 185: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

178

แห่งข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีระเบียบประกาศหรือคำาสั่งที่ออกตามข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ประกาศณวันที่๒๓เมษายนพ.ศ.๒๕๕๑ ประสพสุขบุญเดชประธานวุฒิสภา

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๕ตอนพิเศษ๗๖งลงวันที่๒๕เมษายน๒๕๕๑

Page 186: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

ข้อบังคับ

การประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓

Page 187: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร
Page 188: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

181

ข้อบังคับ

การประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓

อาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๑๓๖ (๘) และมาตรา ๑๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรัฐสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า“ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ.๒๕๕๓” ข้อ๒ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ๓ในข้อบังคับนี้คำาว่า “รัฐสภา” หมายถึง รัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และให้หมายความรวมถึงวุฒิสภาทำาหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบตามมาตรา ๑๓๒ (๑)ของรัฐธรรมนูญด้วย “ประธาน” หมายถึง ประธานของที่ประชุมรัฐสภา “สมาชิกรัฐสภา” หมายถึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา “การประชุมรัฐสภา” หมายถึง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้หมายความรวมถึงการประชุม

ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

นิยามที่ใช้บังคับ

Page 189: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

182

วุฒิสภาทำาหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ “ที่ประชุมรัฐสภา” หมายถึง ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้หมายความรวมถึงที่ประชุมวุฒิสภาทำาหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบด้วย “สถานที่ประชุมของรัฐสภา” หมายถึง สถานที่ประชุมของรัฐสภาณอาคารที่ทำาการของรัฐสภา เว้นแต่ในกรณีจำาเป็นที่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจประชุมในอาคารที่ทำาการของรัฐสภาได้ ประธานรัฐสภาอาจกำาหนดสถานที่ประชุมของรัฐสภาณสถานที่อื่นเป็นการชั่วคราวก็ได้ “เลขาธิการรัฐสภา” หมายถึง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้ “รองเลขาธิการรัฐสภา” หมายถึง เลขาธิการวุฒิสภาซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้ ข้อ๔ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามข้อบังคับและมีอำานาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้

Page 190: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

183

หมวด ๑

อำานาจและหน้าที่ของประธานรัฐสภา

รองประธานรัฐสภาและหน้าที่ของเลขาธิการรัฐสภา

และรองเลขาธิการรัฐสภา

ข้อ ๕ ประธานรัฐสภามีอำ านาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑)เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา (๒)กำาหนดการประชุมรัฐสภา (๓)ควบคุมและดำาเนินกิจการของรัฐสภา (๔)รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณรัฐสภา (๕)เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก (๖)แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำาเนินกิจการใด ๆตาม(๗) (๗)อำานาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ข้อ๖รองประธานรัฐสภามีอำานาจและหน้าที่ช่วยประธานรัฐสภาในกิจการอันเป็นอำานาจ และหน้าที่ของประธานรัฐสภาหรือปฏิบัติการตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย เมื่อไม่มีผู้ดำารงตำาแหน่งประธานรัฐสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานรัฐสภาเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานรัฐสภา

อำานาจหน้าที่ประธานรัฐสภา

อำานาจหน้าที่รองประธานรัฐสภา

Page 191: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

184

ข้อ๗เลขาธิการรัฐสภามีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑)นัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก (๒)เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่ (๓)ช่วยประธานในการควบคุมการนับคะแนนเสียง (๔)จัดทำารายงานการประชุมรัฐสภาและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน (๕)ยืนยันมติของรัฐสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (๖)รักษาสรรพเอกสารข้อมูลและโสตทัศนวัสดุของรัฐสภา (๗)ควบคุมการปฏิบัติ งานให้ เป็นไปตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำาหนด (๘)ปฏิบัติการตามที่กำาหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (๙)ปฏิ บั ติ ก า รอื่ นต ามที่ ป ร ะธ านรั ฐ สภามอบหมาย ข้อ๘ รอง เลขาธิการรั ฐสภามีหน้ าที่ ช่ วยเลขาธิการรัฐสภาในกิจการอันเป็นหน้าที่ของเลขาธิการรัฐสภาหรือปฏิบัติการตามที่เลขาธิการรัฐสภามอบหมาย เมื่อไม่มีเลขาธิการรัฐสภาหรือเลขาธิการรัฐสภาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการรัฐสภา

อำานาจหน้าที่เลขาธิการรัฐสภา

อำานาจหน้าที่รองเลขาธิการ

รัฐสภา

Page 192: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

185

หมวด ๒

การประชุมรัฐสภา

ส่วนที่ ๑

วิธีการประชุม

ข้อ๙ การประชุมรัฐสภาให้เป็นการเปิดเผยแต่ถ้าคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำานวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ ในการประชุมเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมรัฐสภาได้ตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำาหนด และให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์และล่ามภาษามือในกรณีถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุโทรทัศน์หากมีเหตุขัดข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ ในกรณีไม่สามารถถ่ายทอดสดการประชุมตามวรรคสองได้ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการเผยแพร่บันทึกเทปการประชุมดังกล่าวผ่านทางสื่อที่เหมาะสมโดยเร็ว ในการประชุมลับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานเท่านั้นให้ประธานรัฐสภาดำาเนินการเพื่อมิให้มีการอัดเทป

การประชุมรัฐสภา

การประชุมเปิดเผย

การประชุมลับ

Page 193: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

186

หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาตอย่างเคร่งครัด ข้อ๑๐ การประชุมรัฐสภาให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๑๓๖ของรัฐธรรมนูญ ข้อ๑๑ ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อร้องขอให้นำาความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๒๙ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำาความกราบบังคมทูลภายในสามวันของวันทำาการนับแต่วันที่ได้รับคำาร้องขอ เมื่อได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาแล้ว ให้แจ้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีทราบ ข้อ๑๒การนัดประชุมรัฐสภาต้องทำา เป็นหนังสือเว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันโดยไม่นับรวมวันส่งหนังสือและวันประชุมแต่ถ้าประธานรัฐสภาเห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้ ในกรณีเร่งด่วนแต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน ข้อ๑๓ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมรัฐสภากับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมรัฐสภา ถ้าประธานรัฐสภาเห็นสมควรจะบรรจุเรื่องใดเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาอีกก็ได้แต่ต้องก่อนวันนัดประชุมรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน

การเรียกประชุมรัฐสภา

การนัดประชุม

การส่งระเบียบวาระการประชุม

Page 194: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

187

ข้อ๑๔การนัดประชุมหรือการส่งเอกสารตามข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๓ อาจดำาเนินการทางโทรสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วยก็ได้ เมื่อประธานเห็นสมควรเว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานรัฐสภากำาหนด ข้อ๑๕การจัดระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาให้จัดตามลำาดับดังต่อไปนี้ (๑)เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (๒)รับรองรายงานการประชุม (๓)เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว (๔)เรื่องที่ค้างพิจารณา (๕)เรื่องที่เสนอใหม่ (๖)เรื่องอื่นๆ ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำาดับใดของระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอให้จัดเรื่องซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอเรื่องใดเป็นเรื่องด่วนก็ให้ประธานรัฐสภาพิจารณาและอาจจัดให้ตามที่คณะรัฐมนตรีขอ ข้อ๑๖ ก่อนเข้าประชุมทุกครั้ ง ให้สมาชิกรัฐสภาผู้มาประชุมลงชื่อในสมุดที่จัดไว้หรือแสดงตนตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำาหนด เมื่อมีสมาชิกรัฐสภา

การนัดประชุมหรือการส่งเอกสาร

การจัดระเบียบวาระการประชุม

องค์ประชุม

Page 195: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

188

ลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เมื่อมีสมาชิกรัฐสภามาลงชื่อครบองค์ประชุมและมีสัญญาณให้เข้าประชุมแล้วให้ประธานดำาเนินการประชุมได้ เมื่อประธานขึ้นบัลลังก์ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมรัฐสภายืนขึ้นจนกว่าประธานได้นั่งลง ในกรณีอ่านพระบรมราชโองการหรือกระแสพระราชดำารัส ให้ผู้อยู่ในที่ประชุมรัฐสภายืนฟังตลอดเวลาที่อ่าน ข้อ๑๗เมื่ อพ้นกำ าหนดประชุมรั ฐสภาไปสามสิบนาทีแล้ว สมาชิกรัฐสภายังไม่ครบองค์ประชุมประธานจะสั่งให้เลื่อนการประชุมรัฐสภาไปก็ได้ ข้อ๑๘เมื่อไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานของที่ประชุม ให้สมาชิกรัฐสภาผู้มีอายุสูงสุดซึ่งมาประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมดำาเนินการเลือกประธานเฉพาะคราวสำาหรับการประชุมครั้งนั้น ข้อ๑๙การประชุมรัฐสภา ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาตามเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุมรั ฐสภา และต้องดำ า เนินการพิจารณาตามลำ าดับระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาที่จัดไว้ ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติเป็นอย่างอื่น

เลื่อนการประชุม

ประธานชั่วคราว

Page 196: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

189

ข้อ ๒๐ ผู้ ใ ดปร ะสงค์ จ ะกล่ า วถ้ อยคำ าต่ อที่ประชุมรัฐสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำากล่าวกับประธานเท่านั้น ข้อ๒๑ถ้ารัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมรัฐสภาให้ประธานพิจารณาอนุญาต สมาชิกรัฐสภาอาจซักถามเพื่อความกระจ่างในเรื่องที่แถลงหรือชี้แจงนั้น แต่รัฐมนตรีจะไม่ตอบก็ได้เมื่อเห็นว่าข้อซักถามนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำาคัญของแผ่นดิน ข้อ๒๒ประธานมีอำานาจปรึกษาที่ประชุมรัฐสภาในปัญหาใด ๆ สั่งพักการประชุมรัฐสภา เลื่อนการประชุมรัฐสภา หรือเลิกการประชุมรัฐสภาได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าประธานลงจากบัลลังก์โดยมิได้สั่งอย่างใดให้เลิกการประชุมรัฐสภา ข้อ ๒๓ รายงานการประชุมรั ฐสภา เมื่ อเลขาธิการรัฐสภาจัดทำาเสร็จแล้ว ให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ก่อนที่จะเสนอให้รัฐสภารับรองให้ทำาสำาเนาวางไว้ ณ สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภาแห่งละสามฉบับไม่น้อยกว่าเจ็ดวันเพื่อให้สมาชิกรัฐสภาตรวจดูได้

การกล่าวถ้อยคำาในที่ประชุม

กรณีที่รัฐมนตรีขอชี้แจงที่ประชุม

อำานาจประธานในการขอปรึกษาที่ประชุม

รายงานการประชุม

Page 197: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

190

รายงานการประชุมรัฐสภาทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกรัฐสภาที่มาประชุม ที่ลาการประชุม ที่ขาดการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนนแต่ละเรื่อง สมาชิกรัฐสภามีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมรัฐสภาดังกล่าวให้ตรงตามที่เป็นจริงโดยยื่นคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อเลขาธิการรัฐสภา ถ้าเลขาธิการรัฐสภาไม่ยอมแก้ไขเพิ่มเติมให้ตามที่ขอสมาชิกรัฐสภาผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำาขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้รัฐสภาวินิจฉัย ข้อ ๒๔ รายงานการประชุมรัฐสภาครั้งใด เมื่อได้วางสำาเนาไว้เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาตรวจดูแล้วถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยสมาชิกรัฐสภาขอให้แก้ไขเพิ่มเติม ในคราวที่รัฐสภาพิจารณารับรองรายงานการประชุมรัฐสภานั้น เลขาธิการรัฐสภาจะต้องแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภาถึงการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ข้อ๒๕ เมื่อที่ประชุมรัฐสภาได้รับรองรายงานการประชุมรัฐสภาครั้ งใดแล้ว ให้ประธานรัฐสภาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน รายงานการประชุมรัฐสภาที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้เลขาธิการรัฐสภาบันทึกเหตุนั้นไว้และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

การแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุม

การรับรองรายงานการประชุม

Page 198: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

191

ข้อ ๒๖ การประชุมลับต้องจดรายงานการประชุมทุกครั้ง เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาอาจมีมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้แต่ให้มีบันทึกเหตุการณ์ไว้ ข้อ ๒๗ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมรัฐสภา ข้อ๒๘ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุมรัฐสภา ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่ให้เปิดเผย

ส่วนที่ ๒

การเสนอญัตติ

ข้อ๒๙ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำาหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น ข้อ๓๐ญัตติตามมาตรา๑๓๓และมาตรา๒๙๑ของรัฐธรรมนูญ และญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง ข้อ๓๑ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ

การจดรายงานการประชุมลับ

การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ

การจัดพิมพ์รายงานการประชุม

การเสนอญัตติ

ญัตติที่ไม่ต้องมีผู้รับรอง

ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ

Page 199: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

192

(๑)ขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน (๒)ขอใหเ้ปลีย่นระเบยีบวาระการประชมุรฐัสภา (๓)ขอให้ลงมติตามข้อ๒๖ (๔)ญัตติในข้อ ๓๒ ข้อ ๕๓ ข้อ ๕๔ ข้อ ๕๕ข้อ๕๖หรือข้อ๑๑๖ (๕)ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร ข้อ ๓๒ เมื่อที่ประชุมรัฐสภากำาลังปรึกษาหรือพิจารณาญัตติใดอยู่ ห้ามเสนอญัตติอื่นนอกจากญัตติต่อไปนี้ (๑)ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำานองเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน (๒)ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาหรือขอให้บุคคลใดส่งเอกสารหรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น (๓)ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ (๔)ขอให้เลื่อนการปรึกษาหรือพิจารณา (๕)ขอให้ปิดอภิปราย ญัตติตาม(๒)(๔)หรือ(๕)เมื่อที่ประชุมรัฐสภาลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้ว ห้ามเสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก

ญัตติที่เสนอได้ในขณะที่ที่ประชุม

กำาลังพิจารณาญัตติอื่น

Page 200: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

193

ข้อ๓๓ญัตติตามข้อ๓๒(๕)ห้ามผู้ใดเสนอในคราวเดียวกับการอภิปรายของตน ข้อ๓๔ญัตติที่ เสนอล่วงหน้ า เป็นหนั งสือสมาชิกรัฐสภาผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น ข้อ ๓๕ ญัตติที่ ไม่ ต้ อง เสนอล่ วงหน้ า เป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ ข้อ ๓๖ ญัตติที่บรรจุ เข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะถอนญัตติหรือจะแก้ไขเพิ่มเติม หรือจะถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอหรือผู้รับรองจะถอนการรับรองญัตติจะต้องได้รับความยินยอมของที่ประชุมรัฐสภา ข้อ ๓๗ การขอถอนคำาแปรญัตติจะกระทำาเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำาแปรญัตติจะกระทำาได้เฉพาะภายในกำาหนดเวลาแปรญัตติ ข้อ ๓๘ ญัตติหรื อคำ าแปรญัตติ ใดถึ งวาระพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว ถ้าผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุมรัฐสภา หรือผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ญัตติหรือคำาแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป

การเสนอและการรับรองญัตติ

การถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมญัตติ

กรณีที่ญัตติหรือคำาแปรญัตติตกไป

Page 201: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

194

การมอบหมายให้ชี้แจงแทนต้องมอบแก่สมาชิกรัฐสภาและต้องทำาเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน ข้อ ๓๙ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำาญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกันเว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป

ส่วนที่ ๓

การอภิปราย

ข้อ๔๐ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติแต่ถ้าผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติมีหลายคนให้ประธานอนุญาตให้อภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็นหรือสมาชิกรัฐสภาหรือกรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากผู้ แปรญัตติซึ่ ง ได้สงวนคำ าแปรญัตติ ไว้ ในขั้ นคณะกรรมาธิการ ให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้แปรญัตติด้วย ข้อ๔๑เมื่อผู้อภิปรายก่อนได้อภิปรายแล้วการอภิปรายในลำาดับต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้

ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน

ลำาดับในการอภิปราย

Page 202: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

195

การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้าน ย่อมกระทำาได้โดยไม่ต้องสลับ และไม่ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด ข้อ๔๒ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคนประธานจะให้คนใดอภิปรายก็ได้ แต่ให้คำานึงถึงผู้เสนอญัตติผู้แปรญัตติและผู้ซึ่งยังมิได้อภิปรายด้วย ข้อ ๔๓ ในการอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำาลังปรึกษากันอยู่ต้องไม่ฟุ่มเฟือยวนเวียนซ้ำาซากหรือซ้ำากับผู้อื่นและห้ามนำาเอกสารใดๆมาอ่านในที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่จำาเป็น และห้ามนำาวัตถุใดๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุมรัฐสภาทั้งนี้เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออกชื่อสมาชิกรัฐสภาหรือบุคคลใดโดยไม่จำาเป็น ข้อ๔๔ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้วประธานจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้ ข้อ๔๕สมาชิกรัฐสภาผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่ าได้มีการฝ่ าฝืนข้อบั งคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำาวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด

กรณีมีผู้ขออภิปรายหลายคน

ลักษณะการอภิปราย

การประท้วง

Page 203: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

196

ให้นำาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น ข้อ๔๖เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ๔๕ผู้อภิปรายอาจถอนคำาพูดของตน หรือตามคำาวินิจฉัยของประธานได้ ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่ถอนคำาพูดตามคำาวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกพฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามคำาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม ข้อ๔๗การอภิปรายเป็นอันยุติเมื่อ (๑)ไม่มีผู้ใดอภิปราย (๒)ที่ประชุมรัฐสภาลงมติให้ปิดอภิปราย ข้อ๔๘ ในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ ข้อ๔๙เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะต้องลงมติในเรื่องนั้นจึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติ ข้อ๕๐ประธานอาจอนุญาตให้รัฐมนตรีมอบหมายให้บุคคลใด ๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมรัฐสภาประกอบการอภิปรายของรัฐมนตรีก็ได้

การถอนคำาพูด

การยุติการอภิปราย

การอภิปรายสรุป

การชี้แจงข้อเท็จจริง

Page 204: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

197

ข้อ๕๑ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้นให้ผู้ที่กำาลังพูดหยุดพูดและนั่งลงทันที

ส่วนที่ ๔

การลงมติ

ข้อ๕๒ในกรณีที่จะต้องมีมติของรัฐสภา ให้ประธานมีสัญญาณให้สมาชิกรัฐสภาทราบก่อนลงมติและการลงมติต้องมีสมาชิกรัฐสภาครบองค์ประชุม ในกรณีที่ถ้าความเห็นของที่ประชุมรัฐสภามีสองฝ่ายให้ถือเอาจำานวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากกว่า และถ้าความเห็นของที่ประชุมรัฐสภามีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปให้ถือเอาจำานวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้ ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงชี้ขาดของประธานให้กระทำาเป็นการเปิดเผย โดยจะให้เหตุผลหรือไม่ก็ได้ ข้อ๕๓ การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำาเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสี่สิบคนขอให้กระทำาเป็นการลับจึงให้ลงคะแนนลับ

อำานาจประธานในการประชุม

การลงมติ

การออกเสียงลงคะแนน

Page 205: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

198

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีร้องขอหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติให้ลงคะแนนลับตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีสมาชิกรัฐสภาคัดค้านและมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกรัฐสภาในที่ประชุมรัฐสภาให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่จะลงคะแนนโดยเปิดเผย ข้อ๕๔การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑)ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานกำาหนด (๒)เรียกชื่อสมาชิกรัฐสภาตามลำาดับอักษร ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคนตามวิธีที่ประธานกำาหนด (๓)วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมรัฐสภาเห็นสมควรเฉพาะกรณี การออกเสียงลงคะแนนตาม(๑)หากเครื่องออกเสียงลงคะแนนขัดข้อง ให้เปลี่ยนเป็นวิธีการตามที่ประธานกำาหนด การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้วิธีตาม (๑) จะใช้วิธีตาม(๒)หรือ(๓)ได้ต่อเมื่อสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติและที่ประชุมรัฐสภาอนุมัติ หรือเมื่อมีการนับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ๕๖ การออกเสียงลงคะแนนตาม (๒) หรือวรรคสองให้ประธานเชิญสมาชิกรัฐสภาหกคนเป็นผู้ตรวจนับคะแนน

การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผย

Page 206: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

199

ข้อ๕๕การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑)เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ผู้เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย3ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย X ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมายO (๒)เขียนเครื่องหมายหรือวิธีอื่นใด ตามที่ประธานกำาหนดลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ให้นำาความในข้อ๕๔วรรคสามและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ๕๖เมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ ๕๔ (๑) ถ้าสมาชิกรัฐสภาร้องขอโดยมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสี่สิบคนให้มีการนับใหม่ ก็ให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีการลงคะแนนเป็นวิธีตามข้อ๕๔(๒)เว้นแต่คะแนนเสียงมีความต่างกันเกินกว่าสามสิบคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่มิได้ เมื่อได้มีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ๕๔(๒)แล้วจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกมิได้ ข้อ๕๗สมาชิกรัฐสภาซึ่งเข้ามาในที่ประชุมรัฐสภาระหว่างการออกเสียงลงคะแนนอาจออกเสียงลงคะแนนได้ก่อนประธานสั่งปิดการนับคะแนน

การออกเสียงลงคะแนนลับ

การนับคะแนนเสียงใหม่

Page 207: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

200

ข้อ๕๘เมื่อได้นับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้ประธานประกาศมติต่อที่ประชุมรัฐสภาทันที ถ้าเรื่องใดรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดไว้ว่า มติจะต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงถึงจำานวนเท่าใดก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงถึงจำานวนที่กำาหนดไว้นั้นหรือไม่ ข้อ ๕๙ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมรัฐสภาว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยญัตตินั้น ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ญัตติที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือเรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำาหนดให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยโดยการออกเสียงลงคะแนน ข้อ๖๐ ให้เลขาธิการรัฐสภาจัดทำาบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภาแต่ละคนและปิดประกาศบันทึกดังกล่าวไว้ ณ บริเวณรัฐสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับตามข้อ๕๕

การประกาศมติต่อที่ประชุม

บันทึกและปิดประกาศ

การออกเสียงลงคะแนน

Page 208: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

201

หมวด ๓

กรรมาธิการ

ข้อ๖๑ การตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภากรรมาธิการที่ตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกของแต่ละสภา และกรรมาธิการที่ตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ข้อ๖๒ภายใต้บังคับข้อ ๖๑ ในการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภา สมาชิกรัฐสภาแต่ละคน มีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำานวนกรรมาธิการ การเสนอนั้นต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ถ้ามีการเสนอชื่อกรรมาธิการเท่ากับจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อมากกว่าจำานวนกรรมาธิการทั้งหมด ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ข้อ๖๓การประชุมคณะกรรมาธิการต้องมีกรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม

การตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภา

การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ

องค์ประชุมคณะกรรมาธิการ

Page 209: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

202

ข้อ๖๔การประชุมคณะกรรมาธิการให้นำาข้อบังคับนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับการประชุมรัฐสภามาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือกตั้งประธานรองประธาน เลขานุการ และตำาแหน่งอื่น ๆ จากกรรมาธิการในคณะนั้นๆ ในการดำาเนินการตามวรรคสอง ให้กรรมาธิการผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการ เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อดำาเนินการเลือกตั้งประธานและรองประธาน คณะกรรมาธิการมีอำานาจตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับอำานาจหน้าที่ตามแต่จะมอบหมายได้ ข้อ๖๕การเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมาธิการให้ทำาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ข้อ๖๖ ในการประชุมคณะกรรมาธิการสมาชิกรัฐสภารัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาตมีสิทธิเข้าฟังการประชุม ในกรณีประชุมลับ ผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมและได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม

การประชุมคณะกรรมาธิการ

การเรียกเอกสารหรือบุคคลมาชี้แจง

การเข้าฟังการประชุม

คณะกรรมาธิการ

Page 210: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

203

ข้อ๖๗ภายใต้บังคับข้อ ๖๖ ผู้ เสนอญัตติรัฐมนตรี และผู้ซึ่งคณะรัฐมนตรีมอบหมายมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอดเรื่อง ส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้ การชี้แจงแสดงความคิดเห็นตามวรรคหนึ่งผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกรัฐสภาผู้อื่นหรือกรรมาธิการท่านใดท่านหนึ่งกระทำาแทนได้ ข้อ๖๘เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการอาจขอให้เลขาธิการรัฐสภาแต่งตั้งข้าราชการสำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการก็ได้ ข้อ๖๙ ให้เลขาธิการรัฐสภาประกาศกำาหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ ณ สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา และมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติมาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำาแปรญัตติ แล้วแต่กรณี ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน หากเรื่องใดจะก่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นกฎหมายหรือเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบด้วย

การชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ

การแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการ

ประกาศกำาหนดการประชุมคณะกรรมาธิการ

Page 211: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

204

ข้อ๗๐ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่ได้เริ่มพิจารณาคำาแปรญัตติใดให้คำ าแปรญัตตินั้ น เป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ หรือที่ประชุมอนุญาตให้เลื่อนการชี้แจงออกไป ข้อ๗๑ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนคำาแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้รัฐสภาวินิจฉัยก็ได้ ข้อ๗๒กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใด จะสงวนความเห็นไว้เพื่อขอให้รัฐสภาวินิจฉัยก็ได้ ข้อ๗๓เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำากิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดตามที่รัฐสภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อรัฐสภา ในที่ประชุมรัฐสภาคณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลงชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดแถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากประธาน ข้อ๗๔ถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ก็ให้บันทึกข้อสังเกต

กรณีคำาแปรญัตติตกไป

สงวนคำาแปรญัตติ

สงวนความเห็น

การรายงานผลการพิจารณา

สอบสวนต่อรัฐสภา

ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ

Page 212: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

205

ดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา ในกรณีที่รัฐสภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานรัฐสภาแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เมื่อพ้นกำาหนดระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการให้คณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทราบ ให้คณะรัฐมนตรีศาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตนั้นประการใดหรือไม่และให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบในโอกาสแรกที่มีการประชุมรัฐสภา ข้อ๗๕ถ้ารัฐสภามีมติให้คณะกรรมาธิการใดกระทำากิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำาหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการนั้นกระทำากิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาไม่เสร็จภายในเวลาที่กำาหนด ประธานคณะกรรมาธิการต้องรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบโดยด่วน ให้ประธานรัฐสภามีอำานาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำาหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควรแล้วแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบภายหลัง

กรณีคณะกรรมาธิการกระทำากิจการใดไม่เสร็จตามเวลาที่กำาหนด

Page 213: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

206

การนับระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เริ่มนับแต่วันที่รัฐสภามีมติกำาหนดระยะเวลา ข้อ๗๖กรรมาธิการพ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (๑)อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก (๕) รัฐสภามีมติให้พ้นจากตำาแหน่ง ข้อ๗๗ในกรณีที่ตำาแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการใดว่างลงให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอให้รัฐสภาตั้งกรรมาธิการแทนตำาแหน่งที่ว่าง

หมวด ๔

การให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๔๕

ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ๗๘เมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอให้รัฐสภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๔๕ ของรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน

การพ้นจากตำาแหน่งของกรรมาธิการ

ตั้งกรรมาธิการแทนตำาแหน่งที่ว่าง

การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตาม

มาตรา๑๔๕

Page 214: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

207

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาและลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบให้ที่ประชุมรัฐสภาตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำานวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ข้อ๗๙ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันให้นำาความในหมวด ๓ กรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้นำาข้อ๙๖ข้อ๙๗ข้อ๙๙และข้อ๑๐๒มาใช้บังคับกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยอนุโลม ข้อ๘๐เมื่อรัฐสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันเสนอเสร็จแล้วให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อ๘๑ในกรณีที่รัฐสภาลงมติตามข้อ๗๘หรือข้อ๘๐ไม่เห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป ข้อ๘๒เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วยตามข้อ๘๐ ให้ประธานรัฐสภาดำาเนินการส่งร่างพระราชบัญญัติตามมติของรัฐสภา เพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไป

คณะกรรมาธิการร่วมกัน

กรณีไม่เห็นชอบ

กรณีเห็นชอบ

การพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน

รัฐสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันเสนอ

Page 215: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

208

หมวด ๕

การให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๓

ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ๘๓เมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามมาตรา ๑๕๓ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน ข้อ๘๔เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบตามข้อ ๘๓แล้ว ให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณีพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับของแต่ละสภาเว้นแต่การนับระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาตามมาตรา ๑๔๖ ของรัฐธรรมนูญให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ

การให้ความเห็นชอบตาม

มาตรา๑๕๓ของรัฐธรรมนูญ

Page 216: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

209

หมวด ๖

การรับฟังคำาชี้แจงและการให้ความเห็นชอบ

หนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญ

ข้อ๘๕เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องเพื่อรับฟังคำาชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา ตามมาตรา๑๙๐ของรัฐธรรมนูญให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน ในกรณีที่ ที่ ประชุมรั ฐสภามีมติ ให้ตั้ งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณาก่อนให้ความเห็นชอบให้นำาความในหมวด๓กรรมาธิการมาใช้บังคับกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการโดยอนุโลม

หมวด ๗

การเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

แก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ๘๖ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องแบ่งเป็นมาตราและต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้ (๑)หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (๒)เหตุผลในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

การรับฟังคำาชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา๑๙๐ของรัฐธรรมนูญ

การเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

Page 217: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

210

(๓)บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้กำาหนดโดยชัดแจ้ง การแก้ไขเพิ่มเติม หรือการยกเลิกมาตราใดของรัฐธรรมนูญให้ระบุมาตราที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือจะระบุไว้ในเหตุผลด้วยก็ได้ ข้อ๘๗ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ ข้อ๘๘ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอต่อรัฐสภา ให้ประธานรัฐสภาเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้โดยสะดวกตามวิธีการที่ประธานรัฐสภากำาหนด ข้อ๘๙ร่ า ง รั ฐ ธ ร รมนูญแก้ ไ ข เพิ่ ม เ ติ มที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอให้เลขาธิการรัฐสภาจัดทำารายงานผลการดำาเนินการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเพื่อให้รัฐสภาทราบด้วย ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เป็นผู้

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอมิได้

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

ที่เสนอต่อรัฐสภา

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ

Page 218: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

211

เสนอและชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อที่ประชุมรัฐสภา ข้อ๙๐ร่ างรั ฐธรรมนูญแก้ ไขเพิ่ม เติมที่มี ผู้เสนอตามมาตรา ๒๙๑ (๑) ของรัฐธรรมนูญให้ประธานรัฐสภาทำาการตรวจสอบ และหากมีข้อบกพร่องให้ประธานรัฐสภาแจ้งผู้เสนอเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อ๙๑ให้ประธานรัฐสภาบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตตินั้น กำาหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุมเว้นแต่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้นับแต่วันที่ตรวจสอบเอกสารถูกต้องครบถ้วน ข้อ๙๒การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำาเป็นสามวาระตามลำาดับ ข้อ๙๓การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่หนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มีผู้เสนอตามมาตรา๒๙๑

ระเบียบวาระการประชุม

การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

วาระที่หนึ่งรับหรือไม่รับหลักการ

การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่ง

Page 219: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

212

เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยดังกล่าวในวรรคหนึ่งที่ประชุมรัฐสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการก็ได้ ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหลายฉบับรวมกันรัฐสภาจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแต่ละฉบับ หรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ และเมื่อที่ประชุมรัฐสภาได้มีมติรับหลักการแล้วให้ลงมติว่าจะใช้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับใดเป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง ข้อ๙๔ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติในวาระที่หนึ่งรับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้พิจารณาในลำาดับต่อไปเป็นวาระที่สอง ข้อ๙๕การพิจารณาในวาระที่สองให้ที่ประชุมรัฐสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งจากสมาชิกรัฐสภาเพื่อพิจารณามีจำานวนไม่เกินสี่สิบห้าคน และกรรมาธิการที่ตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกของแต่ละสภาและกรรมาธิการที่ตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีจำานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

กรณีพิจารณาร่างหลายฉบับรวมกัน

วาระที่สองตั้งกรรมาธิการ

Page 220: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

213

ข้อ๙๖การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้เสนอคำาแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำาหนดสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเว้นแต่รัฐสภาจะได้กำาหนดเวลาแปรญัตติ สำาหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไว้เป็นอย่างอื่น การแปรญัตติโดยปกติต้องแปรเป็นรายมาตรา การแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิม ต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการนั้น ข้อ๙๗เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ให้ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานรัฐสภารายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำาแปรญัตตินั้นเป็นประการใดหรือมีการสงวนคำาแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการก็ให้ระบุไว้ในรายงานด้วย

การแปรญัตติ

การเสนอร่างฯที่แก้ไขเพิ่มเติม

Page 221: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

214

ข้อ๙๘เมื่อประธานรัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและรายงานของคณะกรรมาธิการตามข้อ ๙๗ แล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาภายในสิบห้าวันกำาหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม ข้อ๙๙ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วให้รัฐสภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่างคำาปรารภแล้วพิจารณาเรียงตามลำาดับมาตราและให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำา หรือข้อความที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือที่มีการสงวนคำาแปรญัตติหรือที่มีการสงวนความเห็นไว้ ทั้งนี้เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติเป็นอย่างอื่น ข้อ๑๐๐การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำาดับมาตราให้คณะกรรมาธิการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เสนอ พร้อมทั้งรายงานการรับฟังความคิดเห็นต่อรัฐสภาด้วย ข้อ๑๐๑การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำาดับมาตราให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ข้อ๑๐๒เมื่อได้พิจารณาตามข้อ๙๙จนจบร่างแล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่งและในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกรัฐสภาอาจขอแก้ไข

การบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม

การพิจารณาร่างฯที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

การพิจารณาร่างฯที่เสนอโดยประชาชน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวาระที่สอง

การขอแก้ไขเพิ่มเติม

Page 222: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

215

เพิ่มเติมถ้อยคำาได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดมิได้นอกจากเนื้อความที่เห็นว่ายังขัดแย้งกันอยู่ ข้อ๑๐๓เมื่อได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำาหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาเป็นวาระที่สาม ข้อ๑๐๔การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สาม ไม่มีการอภิปรายและให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้ายให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ข้อ๑๐๕ในกรณีที่รัฐสภาลงมติในวาระที่หนึ่งไม่รับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือลงมติในวาระที่สามไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป ข้อ๑๐๖เมื่อรัฐสภามีมติในวาระที่สามเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ประธานรัฐสภาดำาเนินการส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไป

วาระที่สามเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

กรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตกไป

วาระที่สามหากเห็นชอบ

Page 223: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

216

หมวด ๘

การแถลงนโยบาย

ข้อ๑๐๗เมื่อคณะรัฐมนตรีขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้ประธานดำาเนินการให้สมาชิกรัฐสภา ซักถามและอภิปรายรวมกันเว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาได้มีมติให้ซักถามและอภิปรายเป็นประเด็นๆไป ข้อ๑๐๘สมาชิกรัฐสภามีสิทธิจะซักถามและอภิปรายทั้งในทางสนับสนุน และคัดค้านในเรื่องความเหมาะสมของนโยบายและความสามารถที่จะบริหารราชการแผ่นดินให้สำาเร็จผลตามนโยบาย ในการนี้ สมาชิกรัฐสภาอาจซักถามและอภิปรายถึงแผนการปฏิบัติและวิธีการที่จะปฏิบัติตามนโยบายนั้นๆด้วยก็ได้ ข้อ๑๐๙รัฐมนตรีเท่านั้นที่มีสิทธิจะอภิปรายตอบข้อซักถามหรือข้อคัดค้านของสมาชิกรัฐสภา เพื่อความสะดวก รัฐมนตรีจะตอบสมาชิกรัฐสภาที่ซักถาม หรือคัดค้านทีละคนเป็นลำาดับไปหรือจะรอรวมตอบครั้งละหลายคนก็ได้

การแถลงนโยบาย

การซักถามและอภิปราย

การแถลงนโยบาย

ผู้มีสิทธิตอบอภิปราย

Page 224: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

217

ข้อ๑๑๐ในการอภิปรายนั้นนอกจากที่กำาหนดไว้ในหมวดนี้แล้วให้นำาความในหมวด๒ ส่วนที่๓มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๙

การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็น

ของสมาชิกรัฐสภา

ข้อ๑๑๑เมื่อนายกรัฐมนตรีขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๗๙ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน ข้อ๑๑๒ในการอภิปรายให้นำาความในหมวด๒ส่วนที่๓มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๑๐

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

ข้อ ๑๑๓สถานที่ประชุมของรัฐสภาย่อมเป็นที่เคารพและเป็นเขตหวงห้าม บุคคลซึ่งเข้าไปในห้องประชุมรัฐสภาต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และต้องแต่งกายตามที่ประธานรัฐสภากำาหนด

การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา

การรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในสถานที่ที่ประชุมสภา

Page 225: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

218

บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาหรือเจ้าหน้าที่รัฐสภาเมื่อหมดภารกิจต้องออกจากห้องประชุมรัฐสภา การแต่งกายของสมาชิกรัฐสภานั้นให้แต่งเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภา หรือสากลนิยม หรือชุดพระราชทานหรือตามที่ประธานรัฐสภากำาหนด ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ รวมทั้งห้ามสูบบุหรี่ในห้องประชุมรัฐสภา ข้อ๑๑๔ผู้ ใ ดฝ่ าฝื นข้ อบั งคั บนี้ ป ร ะธานมีอำานาจเตือน ห้ามปราม ให้ถอนคำาพูด ห้ามพูดในเรื่องที่กำาลังปรึกษากันอยู่ ให้กล่าวขอขมาในที่ประชุมรัฐสภาหรือสั่งให้ออกไปจากที่ประชุมรัฐสภาโดยมีหรือไม่มีกำาหนดเวลาในครั้งนั้นก็ได้ ในกรณีที่ประธานสั่งให้ผู้ใดออกจากที่ประชุมรัฐสภา หากผู้นั้นขัดขืน ประธานมีอำานาจสั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้นำาตัวออกจากสถานที่ประชุมรัฐสภาหรือออกไปให้พ้นบริเวณรัฐสภา คำาสั่งของประธานตามข้อนี้ผู้ใดจะโต้แย้งมิได้ ข้อ๑๑๕การรักษาระเบียบและความสงบเรียบร้อยในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาในที่ประชุมรัฐสภา หรือบริเวณรัฐสภา หรือเข้าฟังการประชุมรัฐสภา ตลอดจนมารยาทของบุคคลเช่นว่านั้นและการโฆษณาข้อความเกี่ยวด้วยการประชุมรัฐสภา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำาหนดไว้

อำานาจของประธานในการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

การรักษาระเบียบและความสงบ

เรียบร้อยที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก

Page 226: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

219

หมวด ๑๑

บทสุดท้าย

ข้อ๑๑๖ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสี่สิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณีหากที่ประชุมรัฐสภาอนุมัติก็ให้งดใช้ได้ ข้อ๑๑๗ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ให้เป็นอำานาจของรัฐสภาที่จะวินิจฉัย และเมื่อที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติวินิจฉัยโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเป็นประการใดแล้วให้ถือว่าคำาวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด การขอให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งอาจกระทำาได้โดยประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสี่สิบคน ข้อ๑๑๘การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสี่สิบคน การเสนอและพิจารณาญัตติในวรรคหนึ่งให้นำาข้อ๘๖ข้อ๙๐ข้อ๙๒ข้อ๙๓วรรคหนึ่ง วรรคสามและวรรคสี่ข้อ๙๕ข้อ๙๖ข้อ๙๗ข้อ๙๘ข้อ๙๙ข้อ๑๐๑ข้อ๑๐๒ข้อ๑๐๔ วรรคหนึ่ง และข้อ๑๐๕มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งและในวาระที่สามให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

การงดใช้ข้อบังคับ

การตีความข้อบังคับ

การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

Page 227: ข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทน ......สารบ ญ ข อบ งค บก รประช มสภ ผ แทนร ษฎร

220

ข้อ๑๑๙ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำาชี้แจงตามมาตรา ๑๓๐วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำาร้องขอต่อประธานรัฐสภาตามแบบที่กำาหนด คำาร้องขอตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่มีลักษณะเป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคำาร้องขอดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำาร้องขอ ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นสมควรโฆษณาคำาชี้แจงดังกล่าว ให้เลขาธิการรัฐสภาดำาเนินการโฆษณาคำาชี้แจงดังกล่าวด้วยวิธีปิดประกาศไว้ ณ บริเวณรัฐสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ มีกำาหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาเห็นควร จัดให้มีการโฆษณาคำาชี้แจง และให้ส่งสมาชิกรัฐสภาเพื่อทราบ ในการนี้ประธานรัฐสภาอาจจัดให้มีการโฆษณาคำาชี้แจงนั้นโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้

ประกาศณวันที่๑๙สิงหาคมพ.ศ.๒๕๕๓ชัยชิดชอบประธานรัฐสภา

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๒๗ตอนพิเศษ๑๐๕งลงวันที่๑กันยายน๒๕๕๓

กรณีบุคคลได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มี

การโฆษณาคำาชี้แจง