147
พุทธศาสนากับพมาในสมัยอาณาจักรพุกาม (.. 1057-1287) โดย นางสาวกรรณิการ ถนอมปญญารักษ สารนิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2547 ISBN 974-464-623-3 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

พุทธศาสนากบัพมาในสมยัอาณาจักรพุกาม (ค.ศ. 1057-1287)

โดย นางสาวกรรณิการ ถนอมปญญารักษ

สารนิพนธนี้เปนสวนหนึง่ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควชิาประวตัิศาสตร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2547

ISBN 974-464-623-3 ลิขสิทธ์ิของบณัฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลัยศิลปากร

Page 2: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

BUDDHISM AND PAGAN BURMA (A.D. 1057-1287)

By Kannika Thanompunyarak

A Master’s Report Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree

MASTER OF ARTS Department of History

Graduate School SILPAKORN UNIVERSITY

2004 ISBN 974-464-623-3

Page 3: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหสารนพินธเร่ือง “พุทธศาสนากับพมาในสมัยอาณาจกัรพุกาม (ค.ศ. 1057-1287)” เสนอโดย นางสาวกรรณิการ ถนอมปญญารักษ เปนสวนหนึ่งของการศกึษาตามหลกัสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาประวัติศาสตรเอเชียตะวนั ออกเฉยีงใต

................................................................... (รองศาสตราจารย ดร.จิราวรรณ คงคลาย) คณบดีบัณฑิตวทิยาลัย

วันที่ .......... เดอืน .................. พ.ศ. ........ ผูควบคุมสารนิพนธ อาจารย ดร.วนิัย พงศศรีเพยีร คณะกรรมการตรวจสอบสารนิพนธ ............................................................... ประธานกรรมการ (อาจารย ดร.วินัย พงศศรีเพียร) .............../...................../....................... ............................................................... กรรมการ (อาจารย ดร.ชาญวิทย เกษตรศิริ) .............../...................../........................

Page 4: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

K43415001 : สาขาวิชาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต คําสําคัญ : พุทธศาสนา / พมาในสมัยอาณาจักรพุกาม กรรณิการ ถนอมปญญารักษ : พุทธศาสนากับพมาในสมัยอาณาจักรพุกาม (ค.ศ. 1057-1287) ( BUDDHISM AND PAGAN BURMA (A.D. 1057-1287) ) : อาจารยผูควบคุมสารนิพนธ : อ. ดร. วินัย พงศศรีเพียร. 136 หนา. ISBN 974-464-623-3

สารนิพนธฉบับนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาถึงการประดิษฐานและความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกาม พุกามไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาท เมื่อพระเจา อนิรุทธทรงสงกองทัพเขาโจมตีเมืองสะเทิม และทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนความเชื่อหลักในพุกาม ชาวพุกามทั้งกษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง และประชาชนมีความศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาทเปนอยางยิ่ง ศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนาเถรวาทไดทําใหพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุงเรืองในดินแดนแหงนี้ ดังจะเห็นวามีการกอสรางศาสนสถานจํานวนมากมายในพุกาม และที่สําคัญพุกามเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญแหงหนึ่ง

พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทสงผลกระทบตออาณาจักรพุกามในดานตางๆ ทั้งสังคม ความเชื่อ วัฒนธรรม วิถีชีวิต การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจของอาณาจักรพุกามเปนอยางยิ่ง การศึกษาประวัติศาสตรพุกามจึงไมอาจแยกพุทธศาสนาออกจากันได ประเด็นที่นาสนใจผลกระทบของพุทธศาสนาเถรวาทตออาณาจักรพุกาม ในปลายสมัยพุกามพุทธศาสนาเถรวาทยังมีสวนที่ทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุมแมน้ําอิระวดี

แมวาอาณาจักรพุกามจะลมสลายเสื่อมไปในปลายคริสตศตวรรษที่ 13 แตพุทธศาสนายังคงเปนสถาบันที่คงอยูกับชาวพมา พุกามยังคงเปนศูนยกลางของพุทธศาสนามีพระสงฆและผูที่ศรัทธาในพุทธศาสนายังเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาในดินแดนแหงนี้ ซ่ึงแสดงใหเห็นถึงสถาบันพุทธศาสนาที่แข็งแกรง สามารถจะดํารงอยูไดดวยตัวเอง และพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกามไดเปนรูปแบบที่อาณาจักรในลุมแมน้ําอิระวดีไดสืบตอความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนา

ภาควิชาประวตัิศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2547 ลายมือช่ือนักศึกษา...................................................... ลายมือชื่ออาจารยผูควบคุมสารนิพนธ ..................................................................

Page 5: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

K43415001 : MAJOR : HISTORY OF SOUTH – EAST ASIA KEY WORD : BUDDHISM / PAGAN BURMA KANNIKA THANOMPUNYARAK : BUDDHIM AND PAGAN BURMA (A.D.1057-1287). MASTER’S REPORT ADVISOR : WINAI PONGSRIPIAN, Ph.D. 136 pp. ISBN 974-464-623-3

The propose of this research paper is to study the rise of Theravada Buddhism in Pagan from 1057 to 1287 A.D. Theravada Buddhism came to Pagan Burma, when King Aniruddha conquered Thaton and adopted Theravada Buddhism as the national religion. All kings, members of the royal family, noblemen, and commoners were equally pious. Pagan was a centre of Buddhist religious activities, and a place of pilgrimage, as well as a seat of learning for Buddhist monks from distant lands.

The impact of Theravada Buddhism in Pagan was most felt in all aspects of life, political, economic, and cultural. Theravada Buddhism and the Sangha, however, prospered at the cost of the monarchy, especially the the wrestling for control of material wealth and manpower in the late Pagan period.

Pagan may have declined as a powerful kingdom in the late 13th century, but Theravada Buddhism continued to survive as a cultural force. Pagan itself remained a centre of Buddhism, monks and pilgrims went there to visit the sacred shrines and temples. Most important of all, Theravada Buddhism as practised durig the Pagan period was to served as a model for later generations of Burmese until the present time.

Department of History Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2004 Student’s signature ....................................................……… Master’s Report Advisor’s signature ...............................................….

Page 6: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

กิตติกรรมประกาศ

สารนิพนธเลมนี้สําเร็จไดโดยครอบครัวที่ใหโอกาสในการศึกษาตอ และใหการสนบั สนุนดูแลในทกุๆดานเปนอยางดี ขอขอบคุณสําหรับความชวยเหลือหวงใยของญาติๆ นองเจษฎา สายสุวรรณนทีและครอบครัวทีที่มีน้ําใจและเสียสละเวลาชวยเหลือในเวลาที่ตองการความชวย เหลือในการทาํงานใหสําเร็จเปนไปโดยสะดวก กราบขอบพระคุณอาจารยภาควิชาประวัตศิาสตร มหาวทิยาลัยศิลปากรทุกทานที่ถายทอดความรูในดานตางๆ จนทําใหสารนิพนธเลมนี้สําเร็จในที่สุด และขอกราบขอบพระคุณทานอาจารย ดร.วินัย พงศศรีเพียรเปนอยางยิ่งในความกรุณาใหคําปรึกษาดูแลและแกไขขอปรับปรุงขอผิดพลาดตางๆในการทํางานมาโดยตลอด กระทั่งงานสําเร็จลุลวงไปไดโดยดี กราบขอบพระคุณอาจารย พัฒนพงศ ประคัลภพงศที่ใหขอแนะนําในการทํางาน รวมถึงความหวงใยที่ทานผูชวยศาสตราจารย ดร. ชุลีพร วิรุณหะ ผูชวยศาสตรารจารยยงยุทธ ชูแวน และอาจารยวรพร ภูพงศพันธ ที่มีใหมาโดยตลอด ขอบกราบขอบคุณทานอาจารย ดร. ชาญวิทย เกษตรศิริที่ไดเปนกรรมการตรวจสอบสารนิพนธ

ขอบขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ นองๆ ภาควชิาประวัติศาสตรทุกทานที่เปนกําลังใจในการทํางานมาโดยเสมอ ขอบคุณในความเปนหวงในดานการทํางานและสขุภาพที่คุณอษุณีย พรหมสุวรรณ คุณกญัจวลัย นาชัยสิทธิ์ที่มีใหโดยตลอด ขอบคณุกําลังใจจากคุณศิริพร คุณเพ็ญสุรัตน คุณวิชุลดา คุณรัตนา คุณลลิดา คุณภูริภมูิ คุณณัฏฐิรา และความหวงใยสอบถามเรื่องการเรียนโดยเสมอจากเพื่อนๆ คุณอัญชลี เอี่ยมมาลีรัตน คุณดิษฐการ พงศเสนีย คณุศรินยา สุริยไกร คุณสรนิยา พณีชีพ คณุวัลยา เลาวเลิศ คุณจันทิพร ช่ืนเพ็ชร คุณเอือ้มพร ผลฉัตร คุณเพ็ญวภิา เอี่ยมสะอาด คุณณัฐสุดา ภูอุบล คุณชมาภรณ นอยเจรญิ

ขอผิดพลาดตางที่เกิดขึ้นในงานสารนิพนธนี้ ผูเขียนขอเปนผูรับผิดชอบในความผิด พลาดแตเพยีงผูเดียว

Page 7: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

สารบัญ หนา บทคัดยอภาษาไทย ……………………………………………………………………….. ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ …………………………………………………………………..... จ กิตติกรรมประกาศ ……………………………………………………………………....... ฉ บทที่ 1 บทนํา ………………………………………………………………………………... 1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ……………………………………...... 1 หลักฐานทีใ่ชในการศึกษา …………………………………………………….. 2 จารึก............................................................................................................ 2 พระราชพงศาวดาร...................................................................................... 3 หลักฐานโบราณคดี..................................................................................... 4 บันทึกจีน..................................................................................................... 4 จารึกกัลยาณี................................................................................................ 5 คัมภีรศาสนวงศ........................................................................................... 5 งานเขียนประวัติศาสตรพมาสมัยใหม......................................................... 6 ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา .................................................... 7 ขอบเขตการศึกษา................................................................................................ 8 วธีิการศึกษา......................................................................................................... 8 แหลงขอมูล ......................................................................................................... 8 2 ภูมิหลังอาณาจักรพุกาม................................................................................................ 9 อาณาจักรพกุาม.................................................................................................... 9 ที่ตั้งอาณาจักรพุกาม............................................................................................. 10 ชาวพมา................................................................................................................ 12 พุกามกอนสมยัพระเจาอนิรุทธ............................................................................ 13 พุกามสมัยพระเจาอนิรุทธ.................................................................................... 15 การปกครอง......................................................................................................... 26 เศรษฐกิจ.............................................................................................................. 31 ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม.............................................................................. 32

Page 8: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

บทที่ หนา 3 อาณาจักรพกุามกับการรับพทุธศาสนาลัทธิเถรวาท………………………………….. 33 พุทธศาสนากอนสมัยพระเจาอนิรุทธ................................................................... 33

การประดิษฐานพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ...................................... 33 พุทธศาสนาในอาณาจกัรศรีเกษตร.............................................................. 35 พุทธศาสนาในดินแดนมอญ........................................................................ 38

ความเชื่อของชาวพมากอนรับพุทธศาสนาเถรวาท .............................................. 39 พุทธศาสนามหายานลัทธิตนัตระ................................................................ 39 ความเชื่อเร่ืองนัต......................................................................................... 42 พระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพกุาม.............. 45 พระราชกรณยีกิจของกษัตริยพระองคตอมาในดานศาสนา................................. 52 อิทธิพลพทุธศาสนาลัทธิลังกาวงศในพุกาม......................................................... 57 พระฉปฏแผยแผพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศในพุกาม................................... 58 การแตกแยกของพระสงฆลังกาวงศในพุกาม.............................................. 61 พระสงฆอรัญวาสีในปลายพกุาม......................................................................... 65 4 ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม…………………………………………. 69 หลักฐานทีแ่สดงใหเห็นถึงความเจริญรุงเรอืงของพุทธศาสนาในพุกาม.............. 69 งานศิลปกรรมที่เกี่ยวของกับศาสนา............................................................ 69 จารึก............................................................................................................ 88 วรรณกรรมพทุธศาสนา............................................................................... 90 ลักษณะของพทุธศาสนาในพุกาม……………………………………………… 90 การกัลปนา........................................................................................................... 91 ความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับการกัลปนา........................................................... 67 ความเชื่อเร่ืองนิพพาน................................................................................. 92 ความเชื่อในพระศรอีรยเมตรไตรย.............................................................. 93 การคงอยูของศาสนา 5000 ป....................................................................... 95 วัตถุประสงคของการกัลปนา............................................................................... 96 กัลปนาเพื่อสรางศาสนสถาน....................................................................... 97 การกัลปนาเพือ่ซอมแซม ทํานุบํารุงศาสนสถาน และดูแลอํานวยความ

สะดวกใหแกพระสงฆ.................................................................................

98

Page 9: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

บทที่ หนา ทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อการศาสนา............................................................... 99 บทบาทของชาวพุกามกับการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา..................................... 102 กษัตริยและพระบรมวงศานวุงศ ................................................................. 104 ขุนนางและครอบครัว.................................................................................. 106 ประชาชนชาวพุกาม ................................................................................... 106 พระสงฆในพกุาม................................................................................................ 107 การจัดองคกรสงฆในสมัยพกุาม.................................................................. 107 บทบาทของพระสงฆในพุกาม.................................................................... 109 พุกามศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนา................................................................. 110 วรรณกรรมพทุธศาสนากอนสมัยพระเจานรปติสิทถุ.................................. 111 วรรณกรรมพทุธศาสนาในสมัยพระเจานรปติสิทถุ..................................... 113 5 บทสรุป ผลกระทบของพุทธศาสนาเถรวาทตออาณาจักรพุกาม……………………... 118 สังคม................................................................................................................... 118 ศาสนาและความเชื่อ............................................................................................ 118 วัฒนธรรม............................................................................................................ 120 การเมืองการปกครอง........................................................................................... 120 เศรษฐกิจ.............................................................................................................. 121 การลมสลายของอาณาจักรพกุาม......................................................................... 123 ปจจัยภายใน................................................................................................ 126 ปจจัยภายนอก............................................................................................. 127

สรุป..................................................................................................................... 129 บรรณานุกรม ....................................................................................................................... 131 ประวัติผูศึกษา ...................................................................................................................... 136

Page 10: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

สารบัญภาพ ภาพที่ หนา

1 แผนที่ดินแดนพมาในสมัยอาณาจักรพุกาม (คริสตศตวรรษที่ 11-12)………. 11 2 แผนที่ศูนยกลางอาณาจักรพุกาม……………………………………………. 29 3 แผนที่การปกครองสมัยพุกาม ……………………………………………… 30 4 เขาโปปา …………………………………………………………………… 41 5 รูปปนพระอินทร (Thayamin) ...…………………………………………… 43 6 นัตมังมหาคีรี………………………………………………………………... 43 7 นัต 37 องค………………………………………………………………….. 44 8 เจดียชเวซิกอง………………………………………………………………. 51

9-10 รูปปนพระชินอรหันตและพระเจาจันสิตถะพนมมือไหวพระพุทธรูปในวิหารทิศตะวันตกของเจดียวิหารอนันท…………………………………….

54

11 ทุงเจดียที่พุกาม……………………………………………………………... 68 12 เจดียชเวซิกอง………………………………………………………………. 70 13 เจดียชเวสันดอ……………………………………………………………… 72 14 เจดียปูปยา…………………………………………………………………... 74 15 เจดียโลกนันท………………………………………………………………. 74 16 เจดียธรรมราชิกะ…………………………………………………………… 75 17 เจดียวิหารอนันท……………………………………………………………. 77

18-19 ยอดหลังคาวิหารอนันทและแผนภาพดินเผาชาดกที่ประดับที่ระเบียงหลังคาเจดียอนันท………………………………………………………………….

78

20 พระพุทธรูปประทับยืนประจําวิหาร 4 ดานของเจดียอนันท………………... 80 21 เจดียวิหารสัพพัญู………………………………………………………… 81

22-23 จิตกรรมฝาผนัง และภาพวาดชาดก…………………………………………. 83 24-25 พระพุทธรูปทองแดงสมัยพุกาม…………………………………………….. 85 26-27 พระพุทธรูปกออิฐและฉาบปูนเปนที่นิยมสรางในสมัยพุกาม………………. 87

28 จารึกที่พบในอาณาจักรพุกาม………………………………………………. 89 29 แผนภาพดินเผาชาดก……………………………………………………….. 112

30-31 คัมภีรโบราณและ ปะระผูก(parabuik) สมุดที่ใชจดบันทึก สวนใหญใชในการศาสนา…………………………………………………………………..

114

Page 11: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

32 เจดียวิหารอนันท เจดียวิหารสัพพัญูมีแมน้ําอิระวดีดานหลัง……………... 117

Page 12: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

1

บทท่ี 1

บทนํา

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา (Statements and significance of the problems)

ประเทศพมาเปนรัฐพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทที่สําคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทไดเขามามีบทบาทจนกลายเปนศาสนาหลักของพมาในสมัยที่พุกามเปนราชธานีนับตั้งแตคริสตศตวรรษที่ 11 เปนตนมาจนถึงค.ศ. 1287 ความรุงเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอาณาจักรพุกามไดฝากประจักษพยานไวอยางเปนรูปธรรม ไมวาจะเปนโบราณสถานทั้งวัดและเจดียขนาดเล็กใหญมากมายหลายพันแหง จนทําใหพมาไดรับสมญาวาเปน “ดินแดนแหงเจดียลานองค” อาณาจักรพุกามเปนอาณาจักรแหงแรกของชาวพมาบนลุมแมน้ําอิระวดี และมีอํานาจปกครองดินแดนตางๆ และผูคนในลุมแมน้ําอิระวดีตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 13 ตลอดระยะเวลา 250 ปอาณาจักรพุกามไดสั่งสมความเจริญรุงเรืองในดานการเมือง การปกครอง สถาบันกษัตริย เศรษฐกิจ ศิลปกรรม วัฒนธรรม และพุทธศาสนา กลาวไดวาสมัยพุกามเปนยุคทองของประวัติศาสตรพมา และเปนตนแบบใหแกอาณาจักรของชาวพมาในสมัยตอมา

สมัยพุกามพุทธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองสูงสุดในประวัติศาสตรพมา ทั้งจารึก ซากโบราณสถาน และวรรณกรรมพุทธศาสนาที่หลงเหลืออยูจนถึงปจจุบัน สะทอนใหเห็นความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาเถรวาทในพุกามไดเปนอยางดี พระเจาอนิรุทธ (ครองราชยระหวางค.ศ. 1044–1077) ทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม โดยพระองคทรงสงกองทัพเขาโจมตีเมืองสะเทิมศูนยกลางพุทธศาสนาของชาวมอญ ในป ค.ศ. 1057 และทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนความเชื่อหลักในพุกาม พุทธศาสนาที่รับมาจากมอญไดเขามาเปนสวนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวพุกาม พุทธศาสนามีสวนเกี่ยวของกับสถาบันตางๆในพุกามอยางใกลชิด ทั้งดานการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปกรรม สถาปตยกรรมและวัฒนธรรม และยังรวมถึงอาณาจักรสมัยตอมาที่พุทธศาสนาเถรวาทมีบทบาทที่สําคัญในประวัติศาสตรพมา ประวัติศาสตรพมาเกี่ยวของกับพุทธศาสนาจนไมสามารถแยกออกจากกันได

พุทธศาสนาเถรวาทมีบทบาทสําคัญในประวัติศาสตรพมาตั้งแตอดีตจนกระทั่งปจจุบัน วิถีชีวิตชาวพมาสัมพันธกับพุทธศาสนาเถรวาทอยางใกลชิด การศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทในสมัย

Page 13: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

2

พุกามซึ่งเปนจุดเริ่มตนพุทธศาสนาในดินแดนแหงนี้ ไดเปนการทาํความเขาใจประวัติศาสตรพมาไดอยางลึกซึ้ง เนื่องจากพุทธศาสนาเถรวาทเปนพื้นฐานทางความคิดดานตางๆ ของพมานั้นเอง

หลักฐานที่ใชในการศึกษาประวัติศาสตรพุกาม

หลักฐานที่สําคัญไดแก จารึก พระราชพงศาวดาร หลักฐานโบราณคดี และบันทึกของจีน หลักฐานเหลานี้มีความสําคัญตอการศึกษาประวัติศาสตรพุกาม เพราะเปนแหลงขอมูลที่ทําใหนักวิชาการในสมัยปจจุบันไดศึกษาคนควาประวัติความเปนมาในสมัยพุกามไดเปนอยางดี

จารึก จารึกเปนหลักฐานที่สําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพมา พมาเปนดินแดนแหงหนึ่ง

ของเอเชียตะวันออกเฉียงใตทีมีการคนพบจารึกเปนจํานวนมากมาย จารึกที่พบในพมากระจายอยูในดินแดนตางๆ จารึกที่คนพบในพมาไดรับการศึกษาและแปลโดยนักวิชาการทั้งชาวพมาและชาวตะวันตก บุคคลที่มีความสําคัญในการศึกษาจารึกในพมาเชน C.O. Blagden, Charles Duroiselle, G.H. Luce, Pe Tin Maung, Taw Sein Ko จารึกที่สําคัญของพมาไดรับการแปลเปนภาษาอังกฤษและพิมพเผยแพรในหนังสือชุดที่สําคัญคือ Epigraphica Birmanica งานทางวิชาการที่เปดโลกใหแกผูศึกษาประวัติศาสตรพมาสมัยโบราณ

พุกามมีการคนพบจารึกไมต่ํากวา 550 หลัก นักวิชาการคนสําคัญที่ศึกษาและแปลจารึกสมัยพุกามคือ ศาสตราจารย จีเอช ลูช (G.H.Luce) และ เป หมอง ทิน (Pe Maung Tin) ลักษณะที่สําคัญของจารึกที่พบในพุกามและพมาโดยทั่วไป เปนการบันทึกเรื่องการกัลปนาอุทิศส่ิงของตางๆใหแกวัดและพระสงฆ ไดแกที่ดิน ขาทาสวัด และทรัพยสินมีคาตางๆ การที่พบจารึกเปนจํานวนมากในพุกามและในพมา เนื่องจากความเชื่อที่วาการทํากัลปนาอุทิศจะไมเสร็จสมบูรณหากปราศจากการทําจารึก1 จึงทําใหจารึกที่พบในพมาสวนใหญกลาวถึงกิจกรรมทางพุทธศาสนาการกัลปนาอุทิศ แตสิ่งที่สําคัญของจารึกคือเบื้องหลังของการบันทึกเรื่องราวตางๆลงในจารึก จารึกไดเปนขอมูลที่สําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพุกามที่ไมสามารถหาอานไดจากที่ใด2 จารึกเปนหลักฐานที่สําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพุกามทั้งดานการเมืองการปกครอง สถาบันกษัตริย เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตผูคน

1 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300,” Journal of Burma

Research Society 61, 1-2 (December 1978): 16. 2 Ibid.

Page 14: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

3

พระราชพงศาวดาร พมาเรียกพระราชพงศาวดารวา ยาซาวิน (ya-zawin) มาจากภาษาบาลีวา ราชวงศ

(raja-vamsa) แปลวาลําดับกษัตริย3 พระราชพงศาวดารสองฉบับที่สําคัญของพมาคือ มหายาซาวินยี (Maha-yaza-win-gyi) และฮมันนานยาซาวินดอยี(Hman-nan-ya-zawin-daw-gyi) ซ่ึงเปนที่รูจักอยางดีในชื่อพระราชพงศาวดารฉบับหอแกว (Glass Palace Chronicle of the Kings of Burma)

มหายาซาวินยีเปนพระราชพงศาวดารฉบับสมบูรณฉบับแรกของพมาแตงโดยอูกะลา (U Kala) กะลา เปนคําที่พมาใชเรียกชาวอินเดีย อูกะลามีบิดาเปนพอคาชาวอินเดียที่มีฐานะใน อังวะและมารดาเปนชาวพมาหรือฉาน เนื่องจากเขามีความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร จึงไดทุมเทเวลาในการศึกษาประวัติศาสตรพมา อูกะลาเริ่มเขียนมหายาซาวินยีในป ค.ศ. 1714 ซ่ึงเปนปที่พระเจาตะนินกันเว (Thanin-ganwei) ขึ้นครองราชยสมบัติและแตงเสร็จสมบูรณในป ค.ศ. 1733 อูกะลาใชเวลา 21 ปในการเขียนพระราชพงศาวดารฉบับนี้

พระราชพงศาวดารฉบับนี้มีความพิเศษกวาพระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ เนื่องจาก อูกะลาเขียนมหายาซาวินยีโดยไมไดรับการอุปถัมภจากราชสํานัก งานเขียนของเขาจึงไมไดรับแรงกดดันจากพระราชสํานัก และสิ่งที่สําคัญในงานเขียนของอูกะลาคือ เร่ืองที่เกี่ยวของกับสมัยตองอูซ่ึงเปนยุคสมัยของผูแตง อูกะลาสามารถใชหลักฐานซึ่งเปนเอกสารในราชสํานักในการเขียนงานของเขา ในอีก 20 ปหลังจากที่อูกะลาแตงมหายาซาวินยีเสร็จ อังวะเกิดไฟไหมทําใหหลักฐานที่สําคัญสมัยตองอูถูกทําลาย แตมหายาซาวินยีเปนหลักฐานทางประวัติศาสตรสําคัญที่เหลืออยู มหายาซาวินยีจึงเปนตนแบบงานเขียนประวัติศาสตรที่สําคัญของพมาในสายตานักประวัติศาสตร4 และเปนหลักฐานที่สําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพมา

ฮมันนานยาซาวินดอยี หรือพระราชพงศาวดารฉบับหอแกว พระเจาบายีดอ (Bagyi-daw) ทรงรับสั่งใหแตงพระราชพงศาวดารขึ้นมาฉบับหนึ่ง เนื่องจากพระราชพงศาวดารของพมามีมากมายหลายฉบับ และแตละฉบับมีความสับสนอยูมากมาย พระเจาบายีดอทรงตองการสรางพระราชพงศาวดารใหเปนมาตรฐานฉบับหนึ่ง ในป ค.ศ. 1829 ทรงโปรดใหพระสงฆ พราหมณ นักปราชญในพระราชสํานักรวมกันชําระพระราชพงศาวดารพมา พระเจาบายีดอทรงโปรดใหนํา

3 Hla Pe, Buma:Literature, Historiography, Scholarship, Lunguage, Life, and

Buddhism,(Singapore:Institute of Southeast Asians Studies,1985),45. 4 Victor Lieberman, “How Reliable is U Kala’s Burmese Chronicle? Some New

Comparison,” Journal of Southeast Asia Studies 17, 2 (September 1986): 236.

Page 15: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

4

จารึกทั้งของจริงและที่คัดลอก รวมถึงพระราชพงศาวดารฉบับตางๆ และงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตรทองถ่ิน หนังสือบาลีและบทกลอนนํามาเปรียบเทียบตรวจทานเพื่อความถูกตอง5 การที่พระราชพงศาวดารฉบับนี้เรียกวาพระราชพงศาวดารฉบับหอแกว เนื่องจากพระเจา บายีดอทรงใหทําการชําระพระราชพงศาวดารฉบับนี้ที่พระราชวังหอแกว ผูคนจึงเรียกพระราชพงศาวดารฉบับนี้วาพระราชพงศาวดารฉบับหอแกวตามสถานที่แตง เนื้อหาในพระราชพงศาวดารฉบับหอแกวในสามสวนแรกกอน ค.ศ. 1751 คัดลอกมาจากมหายาซาวินของอูกะลา6 พระราชพงศาวดารฉบับหอแกวมีสวนที่แตงใหมคือหลังจากสมัยของอูกะลาจนถึงสมัยพระเจาบายีดอ พระราชพงศาวดารฉบับหอแกวเปนพระราชพงศาวดารที่ไดรับความนิยมเปนอยางยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตรพมา เนื่องจากศาสตราจารย จี.เอช. ลูช และเป หมอง ทินไดรวมกันแปลเปนภาษาอังกฤษ และพิมพเผยแพรครั้งแรกในป ค.ศ. 1923

หลักฐานโบราณคดี โบราณสถานในบริเวณที่ตั้งของอาณาจักรพุกามบงบอกถึงความเจริญรุงเรืองของ

อาณาจักรพุกามเปนอยางดี นอกจากที่โบราณสถานเหลานี้ไมไดเพียงจะสะทอนถึงความเจริญรุงเรืองในอดีตที่ผานมาเทานั้น ยังสะทอนใหเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในดานตางๆของพุกามที่สะทอนออกมาทางศิลปกรรมและสถาปตยกรรมที่เปลี่ยนแปลงในแตละชวงเวลา หลัก ฐานโบราณคดียังชวยยืนยันความถูกตองของหลักฐานอื่นๆ ทั้งจารึก พระราชพงศาวดาร

บันทึกจีน จีนมีความสัมพันธกับกลุมคนตางๆในลุมแมน้าํอิระวดีกอนสมัยพุกาม บันทึกของจีน

เปนหลักฐานที่สําคัญตอการศึกษาประวัติศาสตรพุกามกอนกลางคริสตศตวรรษที่ 11 และในปลายสมัยพุกามปลายคริสตศตวรรษที่ 13 ในคริสตศตวรรษที่ 9 ซ่ึงเปนจุดเริ่มตนประวัติศาสตรพมาในลุมแมน้ําอิระวดีไดมีหลักฐานบันทึก หมานชู (Man Shu) แตงโดยฝานฉัว (Fan C’ho) กลาวถึงชาวพมาอพยพของมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้าํอิระวดีแลว บันทึกหมานชูไดชวยใหนักประวัติศาสตรคล่ีคลายประวัติศาสตรพมาในชวงเวลานี้ไดเปนอยางดี ในปลายคริสตศตวรรษที่ 13 เปนชวงที่อาณาจักรพุกามมีความวุนวายสับสนทั้งจากการเมืองภายในและภายนอก โดยเฉพาะการที่กองทัพ

5 Hla Pe, Burma: Literrature, Historiography, Scholarship, Language, Life, and

Buddhism, 57. 6 Ibid., 41.

Page 16: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

5

มองโกลเขาโจมตีพุกามไดมีการเขียนบันทึกเหตุการณในชวงเวลานี้อยางละเอียดโดยฝายจีน และไดกลายเปนหลักฐานสําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพุกามในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 13

สําหรับการศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกามมีหลักฐานที่สําคัญ คือ จารึกกัลยาณีและหนังสือศาสนวงศ

จารึกกัลยาณี พระเจาธรรมเจดียกษัตริยผูปกครองกรุงหงสาวดี (ค.ศ.1472-92) ทรงโปรดใหทํา

จารึกกัลยาณีในป ค.ศ. 1746 เพื่อเปนที่ระลึกในการชําระพุทธศาสนาในเมืองมอญ เมื่อคร้ังที่พุทธศาสนาในดินแดนมอญเสื่อมเปนอยางยิ่ง พระเจาธรรมเจดียทรงสงคณะสงฆจากเมืองมอญ 20 รูป เดินทางไปยังเกาะลังกาเพื่อรับการอุสมปบทใหมจากพระเถระชาวลังกา7 และเมื่อพระสงฆเหลานี้เดินทางกลับมายังเมืองมอญไดทําการผูกพัทธสีมาและอุปสมบทใหมใหแกพระ สงฆชาวมอญ เปนการสังคายนาคณะสงฆที่สําคัญในประวัติศาสตรพมา และเปนการรับอิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศอยางเปนทางการของคณะสงฆในพมา และที่จารึกหลักนี้ช่ือวากัลยาณีเนื่องจากเมื่อคร้ังที่พระสงฆชาวมอญไปทําการอุปสมบทใหมที่เกาะลังกานั้น พระเถระชาวลังกาไดประกอบพิธีอุปสมบทใหมที่แมน้ํากัลยาณี ปจจุบันอยูที่เมืองแคนดี้8 จารึกนี้จึงชื่อกัลยาณีเพื่อเปนที่ระลึกถึงสถานที่ทําการอุปสมบทของพระสงฆชาวมอญ จารึกกัลยาณีมีความสําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพุทธศาสนาในพุกาม เนื่องจากจารึกกัลยาณีไดบันทึกเหตุการณทางพุทธศาสนาที่สําคัญตั้งแตเร่ิมแรกที่พุทธศาสนาเผยแผเขามาในดินแดนพมา และในสมัยพุกามเมื่อพระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาจากเมืองสะเทิม รวมถึงเหตุการณสําคัญที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในพุกาม ที่สําคัญจารึกกัลยาณียังเปนหลักฐานที่มีอายุใกลเคียงกับสมัยพุกามที่กลาวถึงประวัติศาสตรพุกาม

คัมภีรศาสนวงศ พระปญญาสามีรจนาคัมภีรศาสวงศเปนภาษามคธเมื่อป ค.ศ. 1861 พระปญญาสามี

เปนพระอาจารยของพระเจามินดง และยังเปนพระสงฆที่มีความรูความสามารถในดานพุทธ

7 Niharranjan Ray, An Introduction to Study Theravada Buddhism in Burma: a Study

in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest (India:Nihsitchandra Sen,1946), 90.

8 Ibid.

Page 17: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

6

ศาสนาและภาษาบาลีเปนอยางยิ่ง ศาสนวงศเปนหนังสือที่กลาวถึงประวัติพุทธศาสนาในดินแดนพมาที่สมบูรณที่สุดที่พมาเคยมีมา ศาสนวงศเร่ิมตนที่ประวัติพุทธศาสนาในอินเดีย ศรีลังกา เนื้อหาสวนใหญของหนังสือคือการเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนพมาครั้งแรกจนถึงสมัยของผูแตงคือคริสตศตวรรษที่ 19 ความสําคัญของหนังสือศาสนวงศไมเปนเพียงหนังสือประวัติพุทธศาสนาของพมาเทานั้น หากยังไดสะทอนความคิดของพระสงฆพมาที่มี่ตอสังคมพมา ดานการเมือง การปกครอง แมหนังสือเลมนี้จะถูกมองวาเต็มไปดวยอคติในทางศาสนาแตหากเปนหนังสือที่สําคัญตอการศึกษาประวัติพุทธศาสนาในพมาเปนอยางยิ่ง ดร.มาเบิล โบด (Dr.Mable Bode) ไดถอดความจากตนฉบับที่พระปญญาสามีรจนาเปนภาษามคธเปนอักษรโรมันในป ค.ศ. 2440 กรมศิลปากรไดใหนายแสง มนูวิทูรแปลถอดความจากฉบับอักษรโรมันของ ดร.มาเบิล โบด หนังสือศาสนวงศจัดพิมพทั้งที่แปลเปนภาษาไทยและมคธ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพุฒาจารยเจาอาวาสวัดสุทัศนในป พ.ศ. 2506

งานเขียนประวัติศาสตรพมาสมัยใหม งานเขียนประวัติศาสตรนิพนธสมัยใหมของพมาเริ่มในปลายคริสตศตวรรษที่ 19 กอน

ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ไดมีนักวิชาการชาวตะวันตกเดินทางมาศึกษาประวัติศาสตรพมาในดานตางๆ กระทั่งมีองคความรูในดานประวัติศาสตรพมามากเพียงพอที่จะเขียนประวัติศาสตรพมา และเมื่ออังกฤษเขาปกครองพมาไดใหความสนใจประวัติศาสตรพมามากขึ้น งานเขียนประวัติ ศาสตรพมาชวงแรกจึงเปนชาวอังกฤษเปนสวนใหญ และในชวงเวลาตอมาไดมีนักประวัติศาสตรชาวพมาและชาวตะวันตกชาติอ่ืนๆ เขียนงานประวัติศาสตรพมา

งานเขียนประวัติศาสตรพมาที่สําคัญไดแกงานของ Sir Authur Phayre “History of Burma” ในป ค.ศ. 1883 งานของ G.E. Harvey “History of Burma from the Earliest Times to 10 March 1824, the Beginning of the English Conquest” ในป ค.ศ. 1925 งานของ D.E.G. Hall “Burma” ในป ค.ศ. 1950 งานของ Maung Htin Aung “History of Burma” ในป ค.ศ. 1967 งานของVictor B. Lieberman “Burma Administrative Cycle” ในป ค.ศ. 1984 หนังสือประวัติศาสตรเหลานี้นิยมที่จะเริ่มตนประวัติศาสตรพมาในสมัยกอนพุกามเรื่อยไปจนถึงการเขายึดครองของอังกฤษในป ค.ศ. 1824 ชวงเวลาดังกลาวถือวาเปนประวัติศาสตรของชาวพมาโดยแทจริง เนื่องจากไมมีอิทธิพลของชาติตะวันตกเขาครอบงํา

ในสมัยพุกามมีผูใหความสนใจศึกษาเปนจํานวนมาก นักประวัติศาสตรคนสําคัญคือ ศาสตราจารย จี.เอช. ลูช (G.H. Luce) เปนชาวอังกฤษผูมีบทบาทสําคัญในการศึกษาประวัติศาสตรพุกาม ศาสตราจารยลูชมีงานเขียนที่เกี่ยวกับประวัติศาสตรพุกามตีพิมพในวารสาร

Page 18: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

7

Journal of Burma Research Society เปนจํานวนมาก งานเขียนที่เปนสุดยอดประวัติศาสตรพุกามที่ศาสตราจารยลูชไดเขียนขึ้นมีสองชุดคือ Old Burma-Early Pagan มี 3 เลม และ Phases of Pre-Pagan Burma, Languages and History มี 2 เลม งานทั้งสองชุดของศาสตราจารยลูชไดสรางความเขาใจประวัติศาสตรสมัยกอนพุกามและสมัยพุกามไดเปนอยางดียิ่ง นักประวัติศาสตรสมัยใหมที่ศึกษาประวัติศาสตรพุกามคือ Dr.Michael Aung-Thwin มีงานเขียนที่สําคัญ “The Nature of State and Society in Pagan:an Institutional History of 12th and 13th Century Burma” และ “Pagan: the Origins of Modern Burma” งานของ Dr.Michael Aung-Thwin ทั้งสองเลมเปนการศึกษาประวัติศาสตรพุกามในสวนที่เปนสถาบันตางๆ ทั้งกษัตริย การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและสังคม ซ่ึงเปนโครงสรางทางสังคมที่สําคัญของพุกาม

งานศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญในสมัยพุกามเปนของ Niharranjan Ray ชาวอินเดียที่สนใจประวัติศาสตรพมา หนังสือเร่ือง “An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma:a Study in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest times to the British Conquest” หนังสือนี้เปนงานที่ศึกษาพุทธศาสนาในพมาตั้งแตเร่ิมตนรับพุทธศาสนาจนถึงกอนที่อังกฤษจะเขายึดครองพมาครั้งแรกในป ค.ศ. 1824 งานสําคัญอีกเรื่องหนึ่งคือวิทยานิพนธระดับปริญญาเอกของ ดร.ทัน ตุน (Dr.Than Tun) “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300” เปนงานที่ศึกษาพุทธศาสนาในพุกามโดยเฉพาะ ซ่ึงใหความเขาใจถึงพุทธศาสนาในดินแดนพุกามเปนอยางดี

ความสนใจศึกษาประวัติศาสตรพมาในประเทศไทย สวนใหญเปนเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธของทั้งสองดินแดน โดยสวนมากเปนการทําสงความของทั้งสองดินแดน สวนประวัติศาสตรในสมัยพุกามไดรับความสนใจนอยมาก หากเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาประวัติศาสตรกัมพูชาสมัยเมืองพระนครซึ่งเปนยุคสมัยเดียวกับพุกาม อาณาจักรพุกามมีความคลายคลึงกับอาณาจักรสุโขทัยของไทย โดยเฉพาะในดานพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเปนจุดเดนของทั้งสองดินแดน การศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทในพุกามเพื่อที่จะเขาใจสังคมของพมา ซ่ึงประเทศเพื่อนบานที่มีความใกลชิดในทางประวัติศาสตรกับประเทศไทยประเทศหนึ่ง

ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา (Goal and objective)

1. เพื่อศึกษาการประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในดินแดนพมา 2. เพื่อศึกษาปจจัยตางๆ ที่มผีลตอพัฒนาการของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในอาณาจักร

พุกามระหวางคริสตศตวรรษที่ 11 ถึงการสิ้นสุดลงของอาณาจักรพุกามในครึ่งหลังคริสตศตวรรษที่ 13

Page 19: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

8

3. เพื่อศึกษาผลกระทบของพุทธศาสนาเถรวาทตอพัฒนาการทางวัฒนธรรมของ สัง คมพมาในสมัยพุกาม โดยเฉพาะอยางยิ่งความสําคัญของสถาบันสงฆ ความสัมพันธระหวางสถาบันพระมหากษัตริยกับสถาบันสงฆ ความเจริญรุงเรืองของวรรณกรรมพุทธศาสนาในพมา ความสัมพันธที่พุทธศาสนามีตอศิลปกรรมแบบฉบับของพมา และพุทธศาสนาในฐานะเปนศูนยกลางแหงพลังทางวัฒนธรรมของกลุมคนตางๆ ในสังคมพมา

ขอบเขตการศึกษา (Scope or delimitation of the study)

ชวงเวลาในการศึกษาเริ่มที่พระเจาอนิรุทธทรงโจมตีเมืองสะเทิมศูนยกลางพุทธศาสนาเถรวาทของชาวมอญในป ค.ศ. 1507 และรับพุทธศาสนาเถรวาทประดิษฐานในพุกาม ส้ินสุดการศึกษาเมื่อกองทัพจีนภายใตการนําของกุบไลขานโจมตีอาณาจักรพุกาม และอาณาจักรพุกามสูญเสียอํานาจการปกครองลุมแมน้ําอิระวดีในป ค.ศ. 1287

วิธีการศึกษา

สารนิพนธนี้เรียบเรียงขึ้นโดยใชวิธีการทางประวัติศาสตร กลาวคือ เปนการคนควาวิจัยที่อาศัยเอกสารทั้งชั้นตนและชั้นรองเปนหลัก เอกสารชั้นตนที่นํามาวิเคราะหไดแก หลักฐานประเภทจารึกรวมสมัย จดหมายเหตุรวมสมัย วรรณกรรมพุทธศาสนาของพมา รวมทั้งหลักฐานดานศิลปกรรม สวนเอกสารชั้นรองไดแก ผลงานการคนควาหลักๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตรพมาโบราณ ทั้งนี้โดยมีการตั้งขอสมมุติฐานและตรวจสอบขอสมมุติฐานดังกลาว ในขั้นตอนของการนําเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห

แหลงขอมูล

1. หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากรวังทาพระและพระราชวังสนามจันทร 2. หอสมุดสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 3. หองสมุดคณะอักษรศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 4. หองสมุดสยามสมาคม 5. หองสมุดสถาบันภาษาและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยมหิดล

Page 20: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

9

บทท่ี 2

ภูมิหลังอาณาจักรพุกาม

ในสมัยที่พุกามเปนเมืองหลวงนั้น พมามีความเจริญรุงเรืองสูงสุดยุคหนึ่ง กษัตริย

พุกามทรงสั่งสมพระราชอํานาจจนสามารถปกครองชาวพมาและกลุมชนตางๆ ในลุมแมน้ําอิระวดีมาตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ 9 ครั้นถึงกลางคริสตศตวรรษที่ 11 พระเจาอนิรุทธทรงขยายพระราชอาณาเขตและสรางความรุ งโรจนแกอาณาจักรพุกามอยางแทจริงเปนครั ้งแรกในประวัติศาสตรพมา แมวาพุกามจะเปนอาณาจักรแหงแรกของชาวพมาในลุมแมน้ําอิระวดี และตั้งอยูในเขตแหงแลงที่สุดของพมา แตอาณาจักรพุกามกลับมีความเจริญรุงเรืองไมดอยไปกวาอาณาจักรโบราณอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต กษัตริยทุกพระองคของพุกามไดสืบตอความเจริญรุงเรืองที่พระเจาอนิรุทธทรงสรางไวทั้งดานการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม แมวาอาณาจักรพุกามจะลมสลายไปในปลายคริสตศตวรรษที่ 13 เพราะไมสามารถตานทานการรุกรานของพวกมองโกล ชาวพมายังคงจดจําความเจริญรุงเรืองของอาณาจักรพุกามไดเปนอยางดี และยกยองใหอาณาจักรพุกามเปนตนแบบในการสรางอาณาจักรสมัยตอมา

อาณาจักรพุกาม (Pagan) พุกามมีคัมภีรนามวา อริมัทนปุระ (Arimaddanapura) นามนี้แปลวาเมืองแหงความ

พินาศพายแพของศัตรู จารึกที่เกาแกที่สุดที่กลาวถึงพุกามคือ จารึกจามที่พบบริเวณแมน้ําพันรัง(Phanrang, Panduranga) จารึกหลักโพนคร (Po-Nagar) ในป ค.ศ. 1050 ไดจารึกถึงการกัลปนาทาสจํานวน 50 คน ซึ่งมีชาวจาม เขมร จีน พุกาม และสยาม1 ใหแกเทพกัลยา (Kanya) จารึกมอญที่เกาแกที่สุดกลาวถึงพุกามในป ค.ศ. 1093 เขียนชื่อพุกามวา โพกาน (Pokan) พุกาม (Pukam) และบางครั้งเขียน ปูกาม (Bugam) 2 จารึกมอญยังเรียกพุกามวา ตตฺตเทส (Tattadesa) แปลวา

1 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma

Research Society, 3. 2 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol.1 ( New York: J.J. Augustin Publisher,

1969), 8.

Page 21: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

10

ดินแดนที่แหงแลง3 ในป ค.ศ. 1285 พระทิศาปราโมกขเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนเรียกพุกามวา ตมฺพทวีป (Tambadipa) แปลวา ดินแดนทองแดง4 แมวาอาณาจักรพุกามจะเปนที่รูจักในหลายชื่อ หากชื่อที่เปนที่รูจักกันอยางแพรหลายคือ พุกาม

ท่ีตั้งอาณาจักรพุกาม พุกามตั้งอยูบริเวณตอนกลางของลุมแมน้ําอิระวดี (Upper Burma) ศูนยกลางของ

อาณาจักรพุกามมีพื้นที่ 25 ตารางไมลบนฝงตะวันออกของแมน้ําอิระวดี ซึ่งเปนบริเวณที่แมน้ําฉินวิน (Chinwin) แมน้ําสาขาสายสําคัญของแมน้ําอิระวดีไหลมาบรรจบรวมกับแมน้ําอิระวดี ศูนยกลางอาณาจักรพุกามตั้งอยูในภูมิประเทศที่แหงแลงกึ่งทะเลทราย (Dry Zone) ปริมาณน้ําฝนที่ตกในแตละปนอยที่สุดของพมา ดังนั้นบริเวณนี้เปนเขตแหงแลงที่สุดของพมา จากสภาพภูมิประเทศที่แหงแลงทําใหพืชที่เจริญเติบโตในบริเวณนี้ตองทนตอความแหงแลง ศูนยกลางของอาณาจักรพุกามไมสามารถเพาะปลูกขาวได ยกเวนบริเวณริมฝงแมน้ําและเกาะกลางแมน้ําอิระวดีเทานั้น5 การที่กษัตริยพุกามทรงเลือกพุกามซึ่งเปนบริเวณที่แหงแลงที่สุดเปนศูนยกลางของอาณาจักร เปนการแสดงใหเห็นถึงความสําคัญของบริเวณแหงนี้ เนื่องจากพุกามตั้งอยูระหวางพื้นที่การเกษตรที่สําคัญคือ กย็อกเซ (Kyaukse) และมินบู (Minbu) กย็อกเซเปนเขตทําการเกษตรกรรมขนาดใหญที่สุดของพุกาม ตั้งอยูทางตอนเหนือของพุกาม 100 ไมล และมินบูตั้งอยูทางใตพุกาม 80 ไมล แมกย็อกเซและมินบูจะตั้งอยูในเขตแหงแลงแตหากมีระบบชลประทานที่ดีจึงสามารถทําการเพาะปลูกไดตลอดทั้งป และยังเปนแหลงผลิตขาวที่สําคัญของพุกาม กย็อกเซและมินบูมีความสําคัญตอเศรษฐกิจของพุกาม กษัตริยพุกามทุกพระองคทรงทรงควบคุมดินแดนทั้งสองแหงอยางใกลชิด และทรงสรางและปรับปรุงระบบการชลประทานในสองดินแดนตลอดสมัยพุกาม ที่ตั้งของอาณาจักรพุกามมีความสําคัญในการควบคุมแมน้ําอิระวดี ที่ตั้งของอาณาจักรพุกามอยูตรงกลางของแมน้ําอิระวดี และเปนบริเวณที่แมน้ําฉินวินไหลมารวมกับแมน้ําอิระวดี พุกามจึงสามารถควบคุมการเดินเรือในแมน้ําอิระวดีและแมน้ําฉินวิน ที่ตั้งของอาณาจักรพุกามมีความสําคัญในการควบคุมพื ้นที ่การเกษตรและการเด ินเรือภายในแมน้ําอิระวดี หางจากศูนยกลางพุกามไปทางตะวันออกเฉียงใตมีภูเขาที่มีความสําคัญคือเขาโปปา (Popa) มียอดเขาสูง 5000 ฟุต เขาโปปาเปนภูเขาไฟที่ดับแลวยอดเขามีลักษณะเปนที่ราบกวาง ชาวพมา

3 Ibid., 4. 4 Ibid. 5 Ibid.

Page 22: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

11

ภาพที่ 1 แผนที่ดินแดนพมาในสมัยอาณาจักรพุกาม (คริสตศตวรรษที่ 11-12) ที่มา: G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1(New York: J.J. Augustin Press,19),2.

Page 23: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

12

เชื่อวาที่ยอดเขาแหงนี้เปนที่สิงสถิตของ นัต (Nat) หรือวิญญาณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวพมา ชาวพมาเปนผูสรางอาณาจักรพุกาม ชาวพมามีเชื้อสายทิเบต-พมา (Tibeto-Burman)

สันนิษฐานวาถิ่นฐานเดิมของชาวพมาอยูที่กานสู (Kansu) ระหวางทะเลทรายโกบีกับบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทิเบต6 ชาวพมาไดอพยพจากกานสูมายังหยุนหนานทางใตของจีน บันทึกหมานชู (Man Shu) ของฝานฉัว (Fan-Ch’o) ซึ่งเขียนขึ้นในป ค.ศ. 863 ไดกลาวถึงกลุมชนพวกหนึ่งโดยเรียกวา มัง, มาง (Mang) และใหขอมูลวา คําเดียวกันนี้เปนคําเรียกประมุขของชนกลุมนี้ดวย หรือ บางทีก็เรียกวา มังเจา (Mang Chao) ทําใหดร. วินัย พงศศรีเพียร สันนิษฐานวา ชนกลุมที่ฝานฉัวกลาวถึงนาจะหมายถึง ชาวพมาหรือมอญโบราณ ซึ่งเรียกผูนําของตนวา มัง (Lord) ถาขอสันนิษฐานนี้ถูกตอง ชาวพมาอาศัยอยูบริเวณถังเฟง (T’ang-feng) ของหยุนหนาน และไดอพยพลงมาที่ยังเฟงหลานหยง (Feng-lan-jung) และมาตั้งถิ่นฐานที่หยงซาง (Yung-ch’ang)7 การที่ชาวพมาอพยพจากหยุนหนานลงมายังตอนเหนือของพมาในปจจุบัน เนื่องจากในปค.ศ. 794 กษัตริยหนานเจาพระเจายี่โหมวซวิ่น (I-mou-hsun) หลานชายของพระเจาเกอลอฝง (Ko-lo-feng) มีนโยบายที่จะปราบปรามชาวมังและกลุมคนที่อาศัยบริเวณเฉิงตู (Ch’eng-tu) จนถึงฮานอย8 ชาวพมาหนีการโจมตีของกษัตริยหนานเจาลงมายังตอนเหนือของพมา และอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบตอนกลางของแมน้ําอิระวดี ศาสตราจารยลูชเชื่อวา ชาวพมาอพยพมายังที่ราบตอนบนของแมน้ําอิระวดีในคริสตศตวรรษที่ 9 และ 10 ชาวพมาไดอพยพตอมายังที่ราบตอนกลางของแมน้ําอิระวดี ดินแดนแหงแรกที่ชาวพมาตั้งถิ่นฐานในลุมแมน้ําอิระวดีคือที่ กย็อกเซ บริเวณกย็อกเซกอนที่ชาวพมาจะตั้งถิ่นฐานเปนที่อาศัยของกลุมคนตางๆ ชาวมอญ วา (Wa, Lawa) ปะหลอง (Palaung, Ponlon) กะฑุ (Kadu, Kantu) พวกสัก (Thet, Sak) รวมถึงพวกกระเหรี่ยง9 ชาวพมาไดเขามาแทรกซึมและผสมผสานกับกลุมคนดั้งเดิม และยังเขาโจมตีเพื่อยึดครองดินแดน ในเวลาตอมาที่ราบกย็อกเซไดเปนแหลงเพาะปลูกและเปนฐานอํานาจของพุกามที่

6 D.E.G.Hall, Burma, (London:Hutchison University Library,1960), 11. 7G.H. Luce, Man Shu, (Ithaca: Departement of Southeast Studies Cornell

University, 1961), 43. 8 G.H. Luce, “Old Kyaukse and the Coming of Burma,” Journal of Burma

Research Society 42,1 (June 1959): 78. 9 Ibid.,81.

Page 24: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

13

สําคัญ10 ชาวพมาไดตั้งถิ่นฐานและขยายอํานาจการปกครองกลุมคนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดีตอนกลาง และสามารถสถาปนาอาณาจักรพุกามไดในที่สุด

พุกามกอนสมัยพระเจาอนิรุทธ การศึกษาประวัติศาสตรพุกามนิยมเริ่มที่ป ค.ศ. 1044 ซ่ึงเปนปที่พระเจาอนิรุทธขึ้น

ครองราชยในอาณาจักรพุกาม หากอาณาจักรพุกามมีจุดเริ่มตนที่เกาแกไปถึงกลางคริสตศตวรรษที่ 9 ชวงเวลานี้มีความสําคัญเนื่องจากเปนจุดเริ่มตนประวัติศาสตรพุกาม ชาวพมาไดส่ังสมอํานาจของตนเองที่ลุมแมน้ําอิระวดีตอนกลาง ในชวงเวลาเดียวกันที่ชาวผะยู (Pyu) กลุมคนที่มีอํานาจปกครองลุมแมน้ําอิระวดีตอนกลางและตอนบนไดเสื่อมอํานาจในชวงเวลานี้เชนเดียวกัน ทําใหชาวพมาที่อพยพมาจากทางใตของจีนสามารถจะตั้งถ่ินฐานบริเวณตอนกลางแมน้ําอิระวดีตอน กลางไดอยางสะดวก และสั่งสมอํานาจทางการเมืองการปกครองจนกระทั่งสรางอาณาจักรพุกามในอีก 200 ปตอมา

ชาวผะยูเปนกลุมคนโบราณในดินแดนพมา ในชวงแรกชาวผะยูมีอํานาจปกครองลุมแมน้ําอิระวดีตอนกลางมีศูนยกลางการปกครองที่ศรีเกษตร (Sri Ksetra) กระทั่งปลายคริสตศตวรรษที่ 8 ถึงตนคริสตศตวรรษที่ 9 ศูนยกลางชาวผะยูไดยายไปทางตอนบนของลุมแมน้ําอิระวดี จากที่เมือง ฮมอซา (Hmawza) ไปอยูที่เมืองหะลินยี (Halingyi) ซึ่งอยูใกลกับเมืองชเวโบ ในป ค.ศ. 801-2 กษัตริย ผะยูไดสงคณะทูตเดินทางไปจีนโดยดินทางไปพรอมคณะทูตของหนานเจา ในเวลานั้นศูนยกลางของชาวผะยูไดยายไปอยูที่หะลินยีแลว11 การที่ชาวผะยูยายศูนยกลางการปกครองจากศรีเกษตรไปยังหะลินยียังไมทราบสาเหตุที่แนชัด แตการยายศูนยกลางครั้งนี้ทําใหชาวผะยูตองเผชิญกับอํานาจของหนานเจา ในป ค.ศ. 832 หนานเจาเขาโจมตีและปลนสะดมหะลินยีศูนยกลางของชาวผะยู และไดนําทาสชาวผะยูมากกวา 3000 คนไปยังเฉอตง (Che-tung) หรือหยุนหนานฝู (Yunnan Fu) 12 ซึ่งในปจจุบันคือ คุนหมิง ในอีกสามปตอมา ค.ศ. 835 หนานเจาไดยกกองทัพลงมาโจมตีดินแดนมอญ (Mi-ch’en) 13 การที่หนานเจา

10 G.H. Luce, “Geography of Burma Under the Pagan Dynasty,” Journal of

Burma Research Society 42,1 (June 1959): 3. 11 Ibid., 2. 12G.H. Luce, “Old Kyaukse and the Coming of the Burmans,” Journal of Burma

Research Society,79. 13 Ibid.

Page 25: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

14

โจมตีศูนยกลางของชาวผะยูในป ค.ศ. 832 ไดทําใหอํานาจการปกครองของชาวผะยูในลุมแมน้ําอิระวดีเสื่อมลง ชาวผะยูที่หลงเหลือจาการกวาดตอนของหนานเจาไมสามารถสรางอํานาจของตนเองขึ ้นมาใหม ชาวผะย ูได ถ ูกด ูดกล ืนจากชนชาต ิอื ่นโดยเฉพาะชาวพม า และประวัติศาสตรชาวผะยูไดเลือนหายไปจากลุมแมน้ําอิระวดี

ชวงเวลาที่ชาวผะยูเสื่อมอํานาจไปจากลุมแมน้ําอิระวดีในป ค.ศ. 835 มีความสัมพันธกับชวงเวลาที่ชาวพมาอพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี เมื่อชาวผะยูเสื่อมอํานาจทําใหตอนกลางของลุมแมน้ําอิระวดีวางจากอํานาจทางการปกครอง ชาวพมาจึงสามารถตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปบริเวณลุมแมน้ําอิระวดีตอนกลาง ชาวพมาไดขยายอํานาจการเมืองการปกครองของตนเองขึ้นมาแทนที่อํานาจของชาวผะยู ดังนั้นจึงสรุปวาพุกามกอตั้งหลังจาก ค.ศ. 832 หลักฐานโบราณคดีคูเมืองเดิมของพุกาม นายดูรัวแซล (Mr.Duroiselle) นักโบราณคดีไดสรุปวาคูเมืองเดิมพุกามนาจะสรางในประมาณป ค.ศ. 850 และยังเปนปที่กอตั้งพุกามดวย14 ชวงเวลาที่กอตั้งพุกามจึงอยูในชวงกลางคริสตศตวรรษที่ 9 และไมเกินคริสตศตวรรษที่ 10 เนื่องจากในคริสตศตวรรษที่ 10 ไดมีตํานานกลาวถึงกษัตริยปกครองอาณาจักรพุกามแลว

พระราชพงศาวดารฉบับหอแกวไดกลาวเรื่องราวกษัตริยผูปกครองอาณาจักรพุกามกอนสมัยพระเจาอนิรุทธ กษัตริยที่กลาวถึงคือพระเจานยองอูสอรหัน (Nyaung-u Sawrahan) พระองคปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 931-964 พระเจานยองอูสรหันไดรับการยกยองวาเปนกษัตริยนักบุญ (Saint King) พระราชประวัติของพระองคมีนอยมาก ในพระราชพงศาวดารฉบับหอแกวกลาววา กอนที่พระองคจะเปนกษัตริยปกครองพุกามทรงเปนชาวนาทําไรแตงกวามากอน15 แตจากผลบุญที่พระองคสรางไวแตชาติกอนไดทําใหพระองคไดเปนกษัตริยปกครองพุกาม พระเจานยองอูสรหันมีพระมเหสีสามพระองคซ่ึงเปนพี่นองกัน ในปลายสมัยของพระองคไดถูกพระเจากุนษอ กยองพยูชิงราชสมบัติ

พระเจากุนษอกยองพยู (Kunhsaw Kyaungbyu) ทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 964-986 เมื่อพระองคทรงขึ้นครองราชย ทรงแตงตั้งพระมเหสีทั้งสามองคของพระเจานยองอูสรหันเปนพระมเหสีของพระองค ในขณะนั้นพระมเหสีของพระเจานยองอูสรหันสองพระองคไดตั้ง

14 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol.1, 6. 15 แกนของเรื่องนี้เปนเรื่องตํานานที่แพรหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใตภาคพื้น

ทวีป เพราะวีรบุรุษวัฒนธรรมของไทย เชน ทาวแสนปม และวีรกษัตริยเขมร เชน พระเจาปทุมสุริยวงศ ก็ไดรับการกลาวถึงวา เปนชาวไรแตงมากอนไดขึ้นเปนกษัตริยโดยการแทรกแซงของอิทธิปาฏิหาริย

Page 26: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

15

ครรภพระเจากะยิโส (Kyizo) 9 เดือน และพระเจา โสกกะเต (Sokkate) 6 เดือน16 สวนพระมเหสีองคเล็กไดตั้งครรภพระเจาอนิรุทธหลังจากที่พระเจากุนษอกยองพยูทรงขึ้นครองราชยแลว ในปลายรัชสมัยของพระเจากุนษอกยองพยูพระเจากะยิโสและพระเจาโสกกะเตชิงราชสมบัติจากพระองค และบังคับใหพระองคทรงออกผนวช พระเจากะยิโสทรงขึ้นครองราชยปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 986-992 เมื่อพระเจากะยิโสสิ้นพระชนม พระเจาโสกกะเตพระอนุชาตางมารดาทรงปกครองพุกามตอจากพระองคในชวง ค.ศ. 992-1017 พระเจาโสกกะเตก็ถูกพระเจาอนิรุทธชิงราชสมบัติ

ประวัติศาสตรพุกามกอนสมัยพระเจาอนิรุทธสวนใหญเปนตํานานเรื่องเลาสืบตอกันมา จึงไมเปนที่เชื่อถือของนักประวัติศาสตร แตเร่ืองราวตางๆเหลานี้ไดสะทอนใหเห็นสภาพการเมืองของพุกามในสมัยกอนพระเจาอนิรุทธไดเปนอยางดี การเมืองพุกามในชวงเวลานี้ไมมั่นคงนัก เนื่องจากมีการแยงชิงราชสมบัติเพื่อปกครองพุกาม พระเจาอนิรุทธพระองคทรงชิงราชสมบัติจากญาติเพื่อปกครองพุกามเชนกัน

พุกามในสมัยพระเจาอนิรุทธ พระเจาอนิรุทธทรงเปนกษัตริยผูยิ่งใหญพระองคหนึ่งของประวัติศาสตรพมา พระ-

องคทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1044-1077 พระเจาอนิรุทธทรงเปนพระโอรสของพระเจากุนษอกยองพยูกับพระนางมยอปปยินสี (Myauppyinthi) พระองคเติบโตขึ้นมาในวัดที่พระบิดาทรงผนวช พระองคทรงไดรับการศึกษาดานอักษรและการทหารเปนอยางดี เมื่อทรงเติบใหญแลว ก็ทรงชิงราชบัลลังกคืนจากพระเจาโสกกะเต ซ่ึงไดเคยชิงราชสมบัติจากพระบิดาพระองค17 พระเจาอนิรุทธไดยกกองทัพมายังพุกาม และสงสารทารบไปยังพระเจาโสกกะเต เพื่อใหพระเจาโสกกะเตคืนพระราชบัลลังกแกพระบิดาของพระองคหรือจะทําสงครามกับพระองค18 พระเจาโสกกะเตตอบตกลงทาํสงครามกับพระเจาอนิรุทธ และถูกพระเจาอนิรุทธสังหาร พระเจาอนิรุทธไดนําราชบังลังกถวายคืนแดพระบิดา แตพระเจากุษอกยองพยูไดปฏิเสธเนื่องจากทรงมีพระชนม

16 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trans., The Glass Palace Chronicle of the Kings

of Burma (London: Oxford University Press,1923), 62. 17 Maung Htin Aung, History of Burma (New York : Columbia University Press),

31. 18 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trans., The Glass Palace Chronicle of the Kings

of Burma, 63.

Page 27: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

16

มากแลว และทรงใหพระเจาอนิรุทธขึ้นครองราชยแทนพระองค19 พระเจาอนิรุทธขึ้นครองราชยเปนกษัตริยพุกามในป ค.ศ. 1044

พระเจาอนิรุทธเปนที่รูจักในพระนามอโนรธา (Anawratha) บาง อโนรธามินสอ Anawrathaminsaw) บาง พระองคมีพระนามที่เปนที่รูจักอยางแพรหลายกวา อนิรุทธ (Aniruddha) และ อนุรุทธ (Anuruddha) พระนามที่เปนภาษาสันสกฤตคือ มหาราชา ศรีอนิรุทธเทพ (Maharaja Sri Aniruddha-deva) 20 เมื่อกลาวถึงนามเหลานี้หมายถึงกษัตริยผูสรางอาณาจักรพุกาม

เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงปกครองอาณาจักรพุกาม พระองคทรงจัดการปญหาภายในอาณาจักรพุกามใหสงบเรียบรอย เมื่อภายในอาณาจักรมีความมั่นคงแลวส่ิงที่พระองคทรงปฏิบัติคือการขยายดินแดนออกไป ส่ิงที่สําคัญคือการรวบรวมกลุมคนและดินแดนตางๆ ในบริเวณลุมแมน้าํอิระวดีใหอยูภายใตการปกครองของพุกาม นโยบายที่พระเจาอนิรุทธทรงใชในการขยายดินแดนคือ การอางสิทธิธรรมในพุทธศาสนาในการโจมตีและยึดครองดินแดนตางๆ ดินแดนที่สําคัญที่พระเจาอนิรุทธขยายอํานาจไปปกครองคือเมืองสะเทิม พระเจาอนิรุทธทรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาทเปนอยางยิ่ง และจากการที่พระชินอรหันตแนะนําใหพระเจาอนิรุทธทรงอัญเชิญพระไตรปฎกมายังพุกามเพื่อเปนตําราที่ใชในการศึกษาพทุธศาสนาอยางถูกตอง การประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในพุกามนโยบายที่สําคัญของพระเจาอนิรุทธ พระองคทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากดินแดนมอญเมืองสะเทิม (Thaton) มาประดิษฐานในพุกาม พระเจาอนิรุทธทรงสงขุนนางผูมีความรูความสามารถพรอมดวยของกํานัลไปเขาเฝาพระเจามกุฎกษัตริยสะเทิม เพื่อขออัญเชิญพระไตรปฎกมาประดิษฐานยังพุกาม พระเจามกุฎทรงปฏิเสธคณะทูตของพระเจาอนิรุทธดวยถอยคําที่ดูถูก21 พระเจาอนิรุทธทรงโกรธแคนเปนอยางยิ่ง พระองคทรงสงแมทัพที่เกงกลาทั้งสี่คือ จันสิตถะ, Nga Htweyu, Nga Lonlephpe และ Nyaung-u-upi นําทัพไปโจมตีเมืองสะเทิม กองทัพของพระเจาอนิรุทธสามารถยึดครองเมืองสะเทิมและยังไดนําพระไตรปฎก รวมถึงจับกษัตริยสะเทิมพระเจามกุฎลามโซตรวนทองคํา และพระบรมวงศานุวงศประทับชางมายังพุกาม และยังไดกวาดตอนชาวเมืองสะเทิมพระสงฆ นักปราชญ ชางเขียนจารึก

19Ibid., 64. 20 Than Tun, “History of Buddhim in Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma

Research Society, 4. 21 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trans., The Glass Palace Chronicle of the Kings

of Burma, 77.

Page 28: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

17

ชางผีมือดานตางๆมายังพุกาม ชาวเมืองสะเทิมที่ถูกกวาดตอนมาไดเขามาเปนกําลังสําคัญในการสรางความเจริญรุงเรืองใหกับพุกาม22 การโจมตีเมืองสะเทิมของพระเจาอนิรุทธจึงสรางประโยชนใหกับพุกามถึงสองดานคือไดรับพุทธศาสนาเถรวาท ส่ิงสําคัญอยางยิ่งที่พุกามไดรับจากการโจมตีเมืองสะเทิม คือวัฒนธรรมมอญ ชาวมอญไดช่ือวาเปนผูสรางวัฒนธรรมที่เจริญรุงเรืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ชาวพมาไดรับอิทธิพลวัฒนธรรมของชาวมอญซึ่งมีความเจริญกวานําไปสรางความเจริญรุงเรืองใหกับอาณาจักรพุกาม ในชวงตนของอาณาจักรพุกามไดรับอิทธิพลวัฒนธรรมมอญทั้งดานศิลปกรรม สถาปตยกรรม ภาษา การเมืองการปกครอง และพุทธศาสนาเถรวาท จนมีคํากลาวาชาวพมารบชนะชาวมอญแตหากตองพายแพทางวัฒนธรรมใหกับชาวมอญ การโจมตีเมืองสะเทิมของพระเจาอนิรุทธไดสรางความตระหนกใหกับชาวมอญเปนอยางยิ่ง เนื่องจากสะเทิมเปนศูนยกลางพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่สําคัญของชาวมอญไดถูกยึดครองจากชาวพมาสรางความปนปวนใหกับดินแดนมอญบริเวณอาวเมาะตะมะเปนอยางยิ่ง อิทธิพลของพุกามในดินแดนมอญสมัยพระเจาอนิรุทธยังอาจไปถึงตะนาวศรีอีกดวย จารึกภาษาบาลีที่คนพบที่เมืองมะริด(Mergui) จารึกในสมัยพระเจาสอลูกลาววา พระจา อนิรุทธไดสงขุนพลคนสําคัญ จันสิตถะมาปกปองเมืองทวาย (Tvoy)23

ดินแดนทางใตที่พระเจาอนิรุทธทรงยึดครองที่สําคัญคือเมืองแปร (Prome) เมืองนี้เคยตั้งของอาณาจักรศรีเกษตรอาณาจักรโบราณของชาวผะยู เมื่อคร้ังที่กองทัพของพระเจาอนิรุทธเดินทางไปโจมตีเมืองสะเทิม กองทัพของพระเจาอนิรุทธไดเดินทางผานเมืองแปร กองทัพของพระเจาอนิรุทธไดเขาทําลายเจดียที่สรางโดยพระเจาทุตตะบวง (Dwattabaung) เจดียนี้เปนที่บรรจุพระธาตุสวนหนาฝากของพระพุทธเจาและกองทัพของพระองคไดอัญเชิญมาประดิษฐานยังพุกาม24 ในรัชสมัยของพระเจาอนิรุททรงยึดครองดินแดนสําคัญทางตอนลางของของแมน้ํา อิระวดี

นโยบายดานศาสนาและการขยายดินแดนของพระเจาอนิรุทธมีความสอดคลองกันอยางยิ่ง ไมใชกรณีการโจมตีเมืองสะเทิมเทานั้น แตหากการขยายดินแดนของพระเจาอนิรุทธทรงใชสิทธิธรรมทางดานศาสนาเพื่อขยายอํานาจการปกครองของพระองคไปยังดินแดนตางๆ

22 Ibid. 23 G.H.Luce, “Old Kyaukse and the Coming of Burmans,” Journal of Burma

Research Society, 94. 24 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trans., The Glass Palace Chronicle of the Kings

of Burma, 86.

Page 29: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

18

ในลุมแมน้ําอิระวดี เมื่อดินแดนทางตอนใตอยูภายใตการปกครองของพระเจาอนิรุทธ พระองคทรงขยายดินแดนไปทางเหนือ ดินแดนทางเหนือแหงแรกที่พระเจาอนิรุทธเดินทางไปคืออาณาจักรตาหล่ี พระเจาอนิรุทธทรงรับรูวาที่อาณาจักรตาหลี่มีพระเขี้ยวแกวประดิษฐานอยู พระองคไดยกกองทัพไปยังอาณาจักรตาหล่ีเพื่อขออัญเชิญพระเขี้ยวแกวมาประดิษฐานที่พุกาม กษัตริยแหงตาหล่ีทรงใหการตอนรับพระเจาอนิรุทธเปนอยางดี และทรงพระราชทานพระเขี้ยวแกวองคจําลองแกพระเจาอนิรุทธ 25 ความพยามยามที่จะอัญเชิญพระเขี้ยวแกวและขยายอํานาจไปยังอาณาจักรตาหลี่ของพระเจาอนิรุทธไมประสบความสําเร็จ หากสิ่งที่สําคัญในการเดินทางไปทางเหนือคร้ังนี้คือ เมื่อพระเจาอนิรุทธเสด็จกลับพุกาม พระองคเสด็จทองเที่ยวไปในดินแดนรัฐฉานของชาวไท พระเจาอนิรุทธทรงเปนที่ยอมรับของผูนํารัฐฉานกลุมตางๆ และพระองคไดรับการยกยองวาเปนกษัตริยแหงตะวันฉาย26 ดินแดนตอนเหนือที่สําคัญที่พระเจาอนิรุทธขยายอํานาจไปคืออาระกัน พระราชพงศาวดารฉบับหอแกวกลาววา พระเจาอนิรุทธทรงเดินทางมาถึงเมืองเวสาลีเมืองหลวงของอาระกัน พระองคตองการที่จะอัญเชิญพระมหามุนี ซ่ึงเปนพระพุทธรูปคูบานคูเมืองอาระกันมาประดิษฐานยังพุกาม แตเนื่องจากพระพุทธรูปมีขนาดใหญเกินกวาที่จะอัญเชิญมายังพุกามได27 ในสมัยพระเจาอนิรุทธทรงขยายอํานาจปกครองรัฐฉานและอาระกันซึ่งเปนดินแดนที่สําคัญทางตอนเหนือ

พระเจาอนิรุทธทรงอางสิทธิธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อรุกรานและเขาโจมตีดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี หลักฐานของพุกามไดกลาวถึงการที่พระเจาอนิรุทธทรงรุกรานและยึดครองดินแดนตางๆ เพื่อนําสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เปนที่นับถือในพุทธศาสนามาประดิษฐานที่พุกาม และสรางใหอาณาจักรพุกามเปนศูนยกลางพุทธศาสนาที่สําคัญ การเขายึดครองดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดีของพระเจาอนิรุทธยังมีเหตุผลทางดานการติดตอการคาภายนอก เนื่องจากที่ตั้งของอาณาจักรพุกามแมวาจะสามารถควบคุมพื้นที่การเพาะปลูกที่สําคัญคือกย็อกเซและมินบู แตที่ตั้งของอาณาจักรพุกามไมสะดวกในการติดตอการคาภายนอกทั้งทางทะเลและทางบก เนื่องมาจากตั้งอยูหางจากทะเลและการเดินทางทําการคากับจีนตอนใตยังเปนไปดวยความลําบาก ศูนยกลางการคาติดตอภายนอกจึงอยูภายใตการควบคุมของคนกลุมอื่นๆ การที่พระเจาอนิรุทธโจมตีเมือง

25 Ibid.,78. 26 Ibid., 36. 27 Ibid., 86.

Page 30: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

19

สะเทิมยังมีเหตุผลที่สําคัญอีกคือ การคาภายนอกกับโลกภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย28 พระเจาอนิรุทธทรงตองการควบคุมดินแดนบริเวณปากแมน้ําอิระวดี เนื่องจากบริเวณนี้มีความสําคัญในทางยุทธศาสตรเปนที่ตั้งเมืองทาการคาภายนอกที่สําคัญ บริเวณปากแมน้ําอิระวดีเปนจุดควบคุมเสนทางการเดินเรือเขาออกแมน้ําอิระวดีทั้งหมด บริเวณนี้มีความสําคัญตอความมั่นคงของลุมแมน้ําอิระวดีทั้งหมด พระเจาอนิรุทธทรงขยายอํานาจเขายึดครองบริเวณคอคอดกระซึ่งเปนถิ่นฐานของชาวมอญที่สําคัญ และเปนเสนทางการคาขามคาบสมุทรที่สําคัญอีกดวย พระเจาอนิรุทธทรงตองการยึดครองดินแดนของชาวมอญเปนแหงแรกๆ เพื่อจะสรางความมั่นคงใหกับพุกามในดานการคา การขยายอํานาจไปยังอาระกันและดินแดนของฉานมีสาเหตุจาการคาภายนอกเชนเดียวกัน อาระกันเปนดินแดนที่ติดกับอินเดียและอาวเบงกอล อาระกันจึงมีการติดตอการคากับอินเดียอยางใกลชิดทั้งทางบกและทางทะเล ดินแดนของฉานควบคุมเสนทางการคากับจีนทางตอนใต การติดตอการคาภายนอกจึงเปนปจจัยหนึ่งที่ทําใหพระเจาอนิรุทธทรงขยายอํานาจไปปกครองดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี พุกามสามารถควบคุมเศรษฐกิจในบริเวณลุมแมน้ําอิระวดีไดทั้งหมด

การขยายอํานาจไปปกครองดินแดนและกลุมคนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดีมีความสํา- คัญตอการปกครองลุมแมน้ําอิระวดี พระเจาอนิรุทธทรงเปนกษัตริยพมาพระองคแรกที่รวบรวมและปกครองกลุมคนและดินแดนที่สําคัญของลุมแมน้ําอิระวดีไดทั้งหมด พระราชอํานาจที่พระเจาอนิรุทธทรงขยายไปปกครองดินแดนและผูคนในลุมแมน้ําอิระวดีไดเปนตนแบบใหกษัตริยพมาตอๆ มาดําเนินตามในการปกครองอาณาจักร

ในดานความสัมพันธกับภายนอก ในสมัยพระเจาอนิรุทธไดมีการติดตอกับลังกา ในป ค.ศ. 1067 พระเจาวิชัยพาหุที่ 1 (Vijayabahu 1) กษัตริยแหงลังกาทรงขอความชวยเหลือจากพระเจาอนิรุทธ เพื่อที่จะขับไลโจฬะที่ปกครองเกาะลังกาในขณะนั้น พระเจาอนิรุทธทรงสงส่ิงของมีคาไปชวยเหล่ือพระเจาวิชัยพาหุที่ 1 เพื่อใชในการขับไลโจฬะ เหตุการณนี้เปนการติดตอภายนอกที่สําคัญในสมัยพระเจาอนิรุทธ ในเวลาตอมาไดมีการแลกเปลี่ยนในทางพุทธศาสนาของทั้งสองดินแดนอันนํามาซึ่งความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม

ส่ิงกอสรางในสมัยพระเจาอนิรุทธที่สําคัญคือ เจดียชเวซิกอง (Shwezigon) พระเจา อนิรุทธทรงสรางขึ้นเพื่อเปนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระองคนํามาจากดินแดนตางๆ การสรางเจดียองคนี้เสร็จสิ้นในสมัยพระเจาจันสิตถะ สถาปตยกรรมและงานวิจิตรศิลปของ

28 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D.1000-1300,” Journal of

Burma Research Society, 6.

Page 31: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

20

เจดียชเวซิกองเปนตนแบบงานศิลปกรรมของพุกาม ส่ิงกอสรางที่สําคัญในสมัยพระเจาอนิรุทธคือการซอมและสรางระบบชลประทานในอาณาจักรพุกาม โดยเฉพาะกย็อกเซและมินบูซึ่งเปนพื้นที่ทําการเกษตรกรรมที่สําคัญของพุกาม

พระเจาอนิรุทธส้ินพระชนมจากอุบัติเหตุลาสัตวในป ค.ศ. 1077 ตลอดรัชสมัยของพระองคไดสรางความเจริญรุงเรืองและสรางความยิ่งใหญใหกับอาณาจักรพุกาม พระองคทรงรวบรวมผูคนตางเชื้อชาติและดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดีใหอยูภายใตการปกครองของพระ องค ดินแดนที่พระเจาอนิรุทธทรงขยายอํานาจปกครองไปถึงนั้นมีขนาดใกลเคียงกับประเทศพมาในปจจุบัน ที่สําคัญพระเจาอนิรุทธไดทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทประดิษฐานในพุกาม และทรงสรางพุกามใหเปนศูนยกลางพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญ พระเจาอนิรุทธไดวางพื้นฐานดานการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เพื่อใหกษัตริยพุกามพระองคตอมาไดสานตอความเจริญรุงเรืองของอาณาจักรพุกาม

พระเจาสอลู (Sawlu) (ค.ศ. 1077-1084) ทรงปกครองอาณาจักรพุกามตอจากพระราชบิดา เมื่อทรงขึ้นครองราชยทรงมีพระนามวา ศรีพัชรภรณตรีภูวติ และยังทรงเปนที่รูจักวา มังลูลาน (Man Lulan) แปลวาพระราชาหนุม พระเจาสอลูทรงไมมีความสามารถในดานการปกครองเชนพระราชบิดาของพระองค ในพระราชพงศาวดารฉบับหอแกวกลาววาพระองคใชชีวิตสําราญในพระราชวังโดยไมทําประโยชนใดๆ29 พระองคทรงปลอยใหเสนาอํามาตยเปนผูบริหารงานบานเมือง จันสิตถะเปนเสนาบดีผูที่มีอํานาจในราชสํานัก ตอมาในภายหลังพระเจาสอลูพยายามที่จะกําจัดอํานาจจันสิตถะโดยทรงเนรเทศไปอยูที่หางไกล แตเมื่อเกิดปญหาที่ตองแกไขในสมัยพระองคเสนาบดีคนสําคัญคือจันสิตถะเปนผูจัดการปญหา30 สมัยพระเจาสอลูเปนระยะเวลาสั้นๆ พระองคไมไดสรางความเจริญใดๆใหอาณาจักรพุกาม

ในปลายรัชสมัยพระเจาสอลู งะรมัน (Nga Raman) เจาเมืองพะโคกอกบฎ งะรมันเปนพระอาจารยของโอรสพระเจาสอลูที่ราชสํานักพุกามสงไปปกครองพะโค31 งะรมันยกกองทัพจากเมืองพะโคลองมาตามแมน้ําอิระวดีขึ้นมายังพุกาม และจับตัวพระเจาสอลูเปนตัวประกัน ในขณะนั้นจันสิตถะซ่ึงปกครองเมืองถิเลงไดยกกองทัพกลับมาชวยแตไมทันการณ งะรมันไดสังหารพระเจาสอลูที่เมืองพวาสอ (Prantwsa) และพยายามที่จะยกกองทัพเขายึดครอง

29 Pe Muang Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings

of Burma, 105. 30 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol.1, 38. 31Ibid., 47.

Page 32: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

21

พุกาม จันสิตถะไดเขาขัดขวางและสังหารงะรมัน เหลาเสนาอํามาตยและพระชินอรหันตไดเลือกใหจันสิตถะขึ้นเปนกษัตริยพุกาม

พระเจาจันสิตถะ (Kyanzittha) ปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1084-1113 เมื่อทรงขึ้นครองราชยทรงมีพระนามวา ศรีตรีภูวทิตยธรรมราชา ในจารึกพมายังเรียกพระองควา ถิลุงมัง(T’iluin Man) แปลวากษัตริยแหงถิเลง (Htilaing) พระเจาจันสิตถะทรงมีพระประวัติที่ลึกลับ เมื่อทรงขึ้นครองราชย ทรงประกาศวาพระองคทรงมีเชื้อสายสุริยวงศเนื่องจากพระบิดาของพระ องคสืบเชื้อสายมาจากสุริยวงศ และพระมารดาของพระองคเปนเจาหญิงจากเมืองเวสาลี (Vesali)32 (เมืองเวสาลีที่กลาวถึงนาจะหมายถึง เวสาลีของอาระกันมากกวาที่อินเดีย) จารึกมอญยังกลาววาพระเจาจันสิตถะเปนพระโอรสของพระเจาอนิรุทธ แตพระเจาจันสิตถะไมเคยอางถึงความ สัมพันธใดๆกับพระเจาอนิรุทธ แมวาพระเจาจันสิตถะจะไดรับเลือกจากเสนบดีใหเปนกษัตริยปกครองพุกามและพระชินอรหันตเปนผูประกอบพิธีราชาภิเษกแดพระองค แตเนื่องจากพระองคไมใชผูสืบราชบัลลังก ดังนั้นเมื่อพระองคทรงขึ้นครองราชยพระองคไดสรางสิทธิธรรมในการปกครองพุกาม ทรงประกาศวาพระองคเปนพระพุทธ เจากลับชาติมาเกิด และยังเปนอว ตานขององคพระวิษณุผูสรางอาณาจักรศรีเกษตรของชาวผะยูอีกดวย33

ในสมัยพระเจาจันสิตถะเปนชวงเวลาที่สําคัญของอาณาจักรพุกาม แมวาพระเจาอนิรุทธจะทรงรวบรวมผูคนและดินแดนในลุมแมน้ําอิระวดีใหอยูภายใตการปกครองของพุกาม ในสมัยพระเจาจันสิตถะทรงตั้งมั่นอํานาจกษัตริยพุกามในการปกครองดินแดนในลุมแมน้ําอิระวดีใหมั่นคง โดยเฉพาะการควบคุมกย็อกเซซึ่งเปนดินแดนที่มีความสําคัญตอการปกครองและเศรษฐกิจพุกาม พระเจาจันสิตถะทรงมีความสัมพันธที่ใกลชิดกับบริเวณนี้เปนอยางยิ่ง ตาํแหนงเดิมของพระองคกอนที่จะเปนกษัตริยปกครองพุกามคือ เจาเมืองถิเลง (Htilaing) ศาสตราจารยลูชกลาววา ถิเลงเปนเมืองที่อยูในบริเวณกย็อกเซ และยังเปนฐานอาํนาจของพระเจาจันสิตถะดวย34 การที่พระเจาจันสิตถะทรงมีความใกลชิดกับบริเวณกย็อกเซไดทําใหพุกามมีความมั่นคงในดานการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจเปนอยางยิ่ง

รัชสมัยพระเจาจันสิตถะมีการติดตอกับภายนอกอยางกวางขวาง ในป ค.ศ. 1095 พระ องคทรงสงคณะทูตและชางฝมือเดินทางไปพุทธคยา เพื่อไปซอมแซมวัดศรีพัชรัส (Sri Bajras)

32Ibid., 55. 33 Ibid. 34 G.H.Luce, “The Career of Htilaing Min (Kyanzittha), the Uniter of Burma,Fl.

A.D. 1084-1113, ” Journal of The Royal Asiatic Society (April 1966):55.

Page 33: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

22

หรือวัดวัสสนัส (Vajrassanas) วัดแหงนี้เปนสถานที่พระพุทธเจาทรงตรัสรูที่ใตตนมหาโพธิ์ พระเจาจันสิตถะทรงซื้อที่ดินกัลปนาใหแกวัด ขุดอางเก็บน้ํา สรางเขื่อนเพื่อประโยชนในการปลูกขาว และยังถวายตะเกียงเทียนจํานวนมาก และทรงกัลปนาขาทาสใหกับวัดอีกดวย35 ในสมัยพระเจาจันสิตถะมีพระสงฆนิกายมหายานจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียหลบหนีอิทธิ- พลอิสลาม เพื่อมาขอความชวยเหลือจากพระองค และทรงใหความชวยเหลือพระสงฆเหลานี้ดวยการสรางวัดเล็กๆถวายเปนที่พํานักแกพระสงฆเหลานี้ วัดนี้อยูระหวางเจดียชเวซิกองกับมินนันถุ (Minnanthu)36 ดานความสัมพันธกับจีน ในป ค.ศ. 1106 พระเจาจันสิตถะทรงสงคณะทูตเดินทางไปยังเมืองไคเฟง (K’ai feng) เมืองหลวงของจีนสมัยราชวงศซง พระจักรพรรดิจีนทรงใหการตอนรับคณะทูตของพุกามเทียบเทากับทูตของอาณาจักรโจฬะ37 ในสมัยพระเจา จันสิตถะอาณาจักรพุกามไดมีบทบาทติดตอสัมพันธกับดินแดนตางๆทั้งอินเดียและจีน การที่พระองคสงคณะทูตเดินทางไปซอมวัดศรีพัชรัสเปนการแสดงถึงความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนาในพุกาม และการสงคณะทูตเดินทางไปยังเมืองจีนเพื่อใหอาณาจักรพุกามเปนที่ยอมรับของจีนในฐานะที่เปนอาณาจักรที่สําคัญ เนื่องจากทางการจีนใหการตอนรับทูตจากอาณาจักรพุกามเทียบเทาอาณาจักรโจฬะ ในสมัยพระเจาจันสิตถะทรงประสบความสําเร็จที่ทําใหพุกามเปนที่รูจักของดินแดนตางๆ

พระเจาจันสิตถะทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาเถรวาท แตในขณะเดียวกันพระองคยังทรงนับถือพระวิษณุ ทรงประกาศวาทรงเปนอวตานของพระวิษณุ และยังทรงเปนพระโพธิสัตวอีกดวย นอกจากนี้พระองคยังนับถือนาคและนัตอีกดวย เมื่อครั้งที่พระองคเฉลิมฉลองพระราชวังใหมทรงประกอบพิธีทั้งที่เปน พุทธ พราหมณ และการบูชางูและนัต ส่ิงกอสรางที่สําคัญในสมัยพระเจากยันซิตถา คือวัดอนันทซึ่งเปนที่ตั้งของเจดียวิหารรอนันทเปนเจดียวิหารที่มีความงดงามในดานสถาปตยกรรมและวิจิตรศิลป งานกอสรางที่สําคัญในสมัยพระองคคือการสรางพระราชวังใหมมีช่ือวา ราชสถานพุกาม (Rajastan Pukam) ในปค.ศ. 1101 ในสมัยพระเจากยันซิตถาวัฒนธรรมมอญไดเจริญรุงเรืองอยางสูงสุดทั้งดานสถาปตยกรรม ศิลป กรรม วรรณศิลป โดยเฉพาะภาษามอญ ในรัชสมัยของพระองคมีการสรางจารึกภาษามอญจํานวนมากมาย

ตลอดรัชสมัยของพระเจาจันสิตถะทรงสรางความเจริญรุงเรืองและความมั่นคงใน

35 Ibid., 56. 36 Ibid., 58. 37 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol.1, 58.

Page 34: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

23

การปกครองใหแกอาณาจักรพุกาม ซ่ึงทําใหกษัตริยพุกามตอจากพระองคสามารถที่จะสรางความเจริญรุงเรืองในดานตางๆ โดยไมตองกังวลดานความมั่นคงของอาณาจักรพุกาม เมื่อพระเจาจันสิตถะสิ้นพระชนมราชบัลลังกนาจะเปนของเจาชายราชกุมาร แตเนื่องจากเหตุผลบางประการทําใหพระนัดดาของพระองคไดขึ้นครองราชยสมบัติตอจากพระองค

พระเจาอลองคสิทถุ (Alaungsithu) ทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1113-1163 พระองคเปนพระราชนัดดาของพระเจาจันสิตถะที่เกิดจากพระธิดาของพระเจาจันสิตถะและพระบิดาเปนโอรสของพระเจาสอลูที่เกิดจากมารดาที่เปนเจาหญิงเมืองมอญ พระนามของพระองคที่จารึกในวัดชเวกูคือ ศรีตรีภูวนาทิตยบวรธรรมราชา38 พระนามที่เปนที่รูจักคือ Cansu อานวา สิทถุ (Sithu) แปลวาวีรบุรุษผูชนะ ในพระราชพงศาวดารและจารึกสวนใหญเรียกพระองควา อลองคสิทถุ (Alaungsithu) คําวาอลอง (Alaung) แปลวาพระพุทธเจาในอนาคต39 รัชสมัยของพระเจาอลองคสิทถุเปนชวงเวลาที่ยาวนาน และจากความมั่นคงที่กษัตริยพุกามกอนหนาพระองคไดสรางไว ทําใหสมัยพระองคเปนชวงเวลาแหงการสรางความเจริญรุงเรืองดานการปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรมและการศาสนาอยางแทจริงชวงหนึ่งของพุกาม พระเจา อลองคสิทถุทรงเปนกษัตริยนักเดินทาง พระองคไดเดินทางไปยังดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี และทรงเดินทางไปยังดินแดนโพนทะเลที่เกาะสุมาตรา เบงกอล รวมถึงศรีลังกา การเดินทางไปยังดินแดนตางๆ โดยเฉพาะในลุมแมน้ําอิระวดีเปนการแสดงอํานาจเหนือดินแดนเหลานี้ การขยายดินแดนที่สําคัญของพระเจาอลองคสิทถุคือการยึดครองตะนาวศรี และเปนการเขาควบคุมคอคอดกระ ซ่ึงเปนเสนทางการคาขามคาบสมุทรที่สําคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ในสมัยพระเจาอลองคสิทถุพุกามสามารถควบคุมเสนทางการคาที่สําคัญนี้ได โดยเฉพาะการคาชางระหวางเอเชียตะวันออกเฉียงใตกับอินเดียและลังกา ในสมัยตอมาไดสรางปญหาความขัดแยงระหวางพุกามและลังกา

สมัยพระเจาอลองคสิทถุเปนยุคแหงความเจริญของการปกครอง เศรษฐกิจ พุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และยังเปนชวงเปลี่ยนผานวัฒนธรรมทีสําคัญของพุกาม ในสมัยพระเจาจันสิตถะเปนชวงเวลาทีวัฒนธรรมมอญไดเจริญสูงสุดในพุกาม ในสมัยพระเจาอลองคสิทถุทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมทั้งดาน ศิลปกรรม สถาปตยกรรม ภาษาใหเปนแบบพมามากขึ้น ในสมัยพระเจาอลองคสิทถุมีการสรางบูรณะซอมแซมวัดและเจดียมากมาย และยังการกัลปนาที่ดินและแรงงานใหแกวัดและพระสงฆ งานกอสรางที่สําคัญคือ เจดียวิหารสัพพัญู เจดีย

38 Ibid., 83. 39 Ibid.

Page 35: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

24

วิหารชเวกู (Shwegu) ในค.ศ. 1131 ที่เจดียวิหารแหงนี้มีจารึกบทกลอนภาษาบาลีสองแผนบนผนังเจดีย บทกลอนที่นี้ไดรับการยกยองวาเปนงานวรรณศิลปที่ใชภาษาไดงดงามและเปนงานวรรณศิลปที่ยอดเยี่ยมของพุกาม

ปลายรัชกาลของพระเจาอลองคสิทถุเปนชวงเริ่มตนความเสื่อมครั้งแรกของพุกาม เมื่อพระเจานรถุพระโอรสของพระเจาอลองคสิทถุทรงแยงชิงราชบังลังกจากพระเจาอลองคสิทถุ และพระเจามินชินสอพระเชษฐาของพระองค พระเจานรถุ (Narathu) ทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1163-1165 พระนามที่เปนที่รูจักของพระองคคือ อิมตอสยัน (Im Taw Syan) ชาวพมาสมัยหลังเรียกพระองควา กุลากยา (Kula-Kya) แปลวากษัตริยที่ถูกปลงพระชนมโดยชาวอินเดีย40 ในรัชสมัยของพระองคทรงปกครองพุกามดวยความโหดเหี้ยม พระองคทรงประหารบุคคลที่จะเปนอันตรายตอราชบังลังกของพระองค แมแตพระมเหสีของพระองคยังโดนพระองคประหาร

เหตุการณความวุนวายในปลายรัชสมัยพระเจานรถุ เกิดจากความขัดแยงระหวางพุกามและลังกา สาเหตุเนื่องมาจากการคาขามคาบสมุทรที่พุกามควบคุมไวตั้งแตสมัยพระเจาอลองคสิทถุ ในสมัยพระเจานรถุทรงขัดขวางการคาชางระหวางเขมรกับลังกา และจากการที่พระเจานรถุทรงประหารพระมเหสีพระองคหนึ่ง ในพระราชพงศาวดารกลาววาทรงเปนธิดาของกษัตริยลังกา เหตุการณที่เกิดขึ้นสรางความไมพอใจใหกษัตริยลังกาคือพระเจาปรากรมพาหุที่ 1 (Prakrambahu) พระองครับสั่งใหสรางเรือรบเปนจํานวนหลายรอยลําและยกกองเรือมายังพุกาม เรือรบจากลังกาไดโจมตีเมืองพะสิม (Bassein) และลองเรือมาตามแมน้ําอิระวดีมายังพุกาม ทหารลังกาสามารถจับตัวพระเจานรถุและประหารพระองค พระเจานรถุจึงมีชื่อเรียกวากุลากยา เมื่อพระเจานรถุส้ินพระชนมประวัติศาสตรพุกามมีความสับสน นักประวัติศาสตรเชื่อวาเปนชวงที่ไมมีกษัตริยปกครองเปนเวลา 9 ป คือระหวาง ค.ศ. 1165-1174 หากมีหลักฐานบางสวนที่กลาวถึงกษัตริยที่ปกครองพุกามทรงพระนามวาพระเจานรเถขะ (Naratheinkha) ทรงเปนพระโอรสของพระเจานรถุ

พระเจานรปติสิทถุ (Narapatisithu) ปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1174-1211 พระองคทรงเปนพระราชนัดดาของพระเจาอลองสิทถุ พระนามเมื่อขึ้นครองราชยคือ ศรีตรีภูวทิตยบันฑิตธรรมราชานรปติ...ชัยสุระ41 พระนามของพระองคในจารึกคือ Cansu ซ่ึงเปนพระนามเดียวกับพระอัยกา ในรัชสมัยของพระองคเปนชวงเวลาที่อาณาจักรพุกามมีความเจริญรุงเรือง

40 Kula ในภาษาพมาแปลวาอินเดีย แตในที่นี้หมายถึงชาวลังกา 41 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300,” Journal of

Burma Research Society,13.

Page 36: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

25

สูงสุดในดานการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รัชสมัยพระเจานรปติสิทถุเปนชวงที่วัฒนธรรมพมาไดเขามาแทนที่วัฒนธรรมมอญที่มีอิทธิพลในชวงตนพุกาม พระเจานรปติสิทถุทรงสรางรูปแบบวัฒนธรรมพมา ทั้งดานศิลปกรรม สถาปตยกรรม พุทธศาสนา และภาษาพมาขึ้นมา พระองคทรงไดสงตออิทธิวัฒนธรรมพมากลับไปยังชาวมอญอีกดวย

ในดานศาสนาสมัยพระเจานรปติสิทถุเปนชวงเวลาที่สําคัญ รัชสมัยพระองคพุทธศาสนาลังกาวงศไดเขามามิอิทธิพลในพุกาม และยังเปนยุคทองแหงการศึกษาพุทธศาสนามีตําราทางพุทธศาสนาที่แตงขึ้นในสมัยพระองคเปนจํานวนมาก รัชสมัยของพระองคมีการสรางวัดและเจดีย รวมถึงการกัลปนาที่ดินและแรงงานเปนจํานวนมาก วัดและเจดียที่สรางในสมัยพระเจานรปติสิทถุไดกระจายออกไปตามเมืองตางๆ และยังเปนการขยายชุมชนออกไปยังดินแดนตางๆและเพิ่มพื้นที่ในการเกษตรใหกับอาณาจักรพุกามดวย พระเจานรปติสิทถุไดสรางความเจริญรุงเรืองใหกับอาณาจักรพุกาม อาณาจักรพุกามในสมัยพระองคมีความยิ่งใหญและมั่นคงเปนอยางยิ่ง และทําใหอาณาจักรพุกามยังคงความยิ่งใหญตอไปได แมวากษัตริยที่ปกครองพุกามตอจากพระองคจะไมมีความสามารถในการปกครอง หลังจากสมัยพระเจานรปติสิทธถุอาณาจักรพุกามไดเขาสูความเสื่อมอยางแทจริง

พระเจานดวงมยา (Nadaungmya) ปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1211-1231 พระองคทรงปกครองพุกามตอจากพระราชบิดา และจากความเจริญรุงเรืองที่พระราชบิดาพระองคไดสรางไวทําใหรัชสมัยพระองคยังดําเนินตามความรุงเรืองที่พระเจานรปติสิทถุไดทรงสรางไว ความวุนวายในสมัยพระเจานดวงมยาเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ในตนรัชสมัยของพระองคมีการกอกบฏโดยเจาชายตางมารดาของพระองค พระเจานดวงมยาทรงสงทหารไปปราบปรามสําเร็จ42 ในสมัยพระองคยังเปนชวงสุดทายของการสรางวัดและเจดียขนาดใหญในพุกาม เนื่องจากพระเจานดวงมยาทรงไมมีความสามารถทางการปกครอง และพระองคยังตองเผชิญกับปญหาทางดานเศรษฐกิจเมื่อไมสามารถเก็บภาษีไดตามเปาหมาย ปญหานี้ไดกลายเปนปญหาที่สําคัญกับกษัตริยพุกามพระองคตอมา

พระเจากกยอฉวา(Kyawsawa) ทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1235-1249 พระองคทรงมีความสนใจในพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง ในสมัยพระองคตองประสบปญหาที่สะสมมาจากกษัตริยองคกอนหนา โดยเฉพาะเมื่อเงินในทองพระคลังที่รอยหลอเนื่องจากการสรางวัดและเจดียเปนจํานวนมาก และปญหาจากการเก็บภาษีไดนอย เนื่องจากการกัลปนาที่ดิน แรงงานจํานวนมากใหแกวัดและพระสงฆ ทรัพยสินที่เปนของวัดรัฐไมสามารถเก็บภาษีได พระเจาก

42 Ibid., 20.

Page 37: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

26

ยอฉวาไดแกปญหาโดยการเรียกคืนที่ดินมหาทาน แรงงานที่กัปนาอุทิศใหแกวัดและพระสงฆแตไมประสบความสําเร็จ

พระเจาอุสานะ (Uzana) ปกครองพุกามใน ค.ศ. 1249-1255 พระองคเปนพระโอรสของพระเจากยอฉวา พระองคไมสนใจในดานการปกครองบานเมือง ทรงใหมหาอํามาตยราชสิงคาล (Yazathingyan) เปนผูปกครองบานเมืองแทนพระองค43 เมื่อพระเจาอุสานะสิ้นพระชนมพระโอรสของพระองคขึ้นครองราชยบัลลังกตอจากพระองค

พระเจานรสีหปติ (Narathihapate) ทรงปกครองพุกามในชวง ค.ศ. 1255-1278 พระองคเปนโอรสองคเล็กของพระเจาอุสานะ มหาอํามาตยราชสิงคาลเปนผูเลือกใหพระองคเปนกษัตริยตอจากพระราชบิดา อํานาจการปกครองที่แทจริงในสมัยพระองคอยูที่มหาอํามาตยราชสิงคาล ในสมัยพระเจานรสีหปติเปนชวงที่มีความวุนวายภายในราชสํานักมีการแยงชิงอํานาจระหวางพระนางสอ (Caw) และมหาอํามาตยราชสิงคาล รวมถึงการแยงชิงราชสมบัติจากเจาชายองคอ่ืน และหัวเมืองประเทศราชไดพยายามแยกตัวออกจากพุกาม และปญหาดานเศรษฐกิจ เมื่อมหาอํามาตยราชสิงคาลสิ้นทําใหพุกามออนแอเปนอยางยิ่ง และในปลายรัชสมัยของพระเจานรสีหปติพุกามตองเผชิญกับการรุกรานของจีน เมื่อกองทัพมองโกลของกุบไลขานไดเขาโจมตีพุกามในค.ศ. 1278 กองทัพมองโกลและ กองทัพหนานเจาที่อยูภายใตการปกครองของมองโกลเขาโจมตีพุกาม และจากความออนแอภายในไดทําใหอาณาจักรพุกามแตกออกเปนสวนๆ ดินแดนที่เคยอยูภายใตการปกครองของพุกามไดแยกตัวออกเปนอิสระ แมวาหลังจากค.ศ. 1278 พุกามจะมีกษัตริยปกครองแตหากอยูภายใตอํานาจของมองโกล ปค.ศ. 1278 จึงเปนปที่พุกามลมสลายจากการเปนศูนยกลางอํานาจปกครองลุมแมน้ําอิระวดี

การปกครองสมัยพุกาม กษัตริยเปนสถาบันการปกครองที่สําคัญของพุกาม พื้นฐานอํานาจกษัตริยพุกามมา

จากสังคมชนเผา ซ่ึงเปนสังคมดั้งเดิมของชาวพมาเมื่ออพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี ในชวงแรกที่ชาวพมาอพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี ชาวพมาไดตั้งถ่ินฐานกระจายเปนกลุมๆ ในแตละกลุมมีผูนําปกครองของตนเอง หัวหนาหรือกษัตริยของแตละกลุมเรียกตําแหนงนี้วา มัง (man)44 และเมื่อเวลาผานไปมังของแตละกลุมไดขยายอํานาจการปกครองของตนเองออกไปและมีมังบางคนที่สามารถพัฒนาอํานาจของตนเองขึ้นมาปกครองชาวพมากลุมตางๆ

43Ibid., 65. 44 Ibid., 37.

Page 38: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

27

ทั้งหมด และไดเปลี่ยนสถานภาพจากมังเปนมังกรี (mankri) แปลวาผูเปนใหญแหงกษัตริยทั้งปวงหรือกษัตริยผูปกครองชาวพมาทั้งหมดนั้นเอง45 ผูนําในชวงแรกของพมาเปนผูที่มีลักษณะพิเศษคือเปนผูมีบารมีอํานาจสวนตัวจนเปนที่ยกยองของคนทั่วไป และยังอาจอางอํานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติทําใหเปนบุคคลที่มีความพิเศษแตกตางจากคนธรรมดาทั่วไป กษัตริยพุกามพระองคแรกที่มีสถานภาพเปนมังกรีคือพระเจาอนิรุทธ

เมื่อพมาไดรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะวัฒนธรรมอินเดีย วัฒน- ธรรมอินเดียไดเปลี่ยนสถานภาพกษัตริยพมาใหเปนกษัตริยตามความเชื่อทั้งพุทธศาสนา ฮินดู จากที่เปนเพียงผูนําของชาวพมา กษัตริยพุกามทรงเปน สมมติเทพ เทวราชา จักรวติน ธรรมราชา พระโพธิสัตว ทําใหอํานาจกษัตริยพุกามเพิ่มมากขึ้น และมีสิทธิธรรมในการปกครองการขยายดินแดน โดยมีความเชื่อในทางศาสนามารองรับอํานาจของกษัตริย อํานาจกษัตริยพุกามจึงเปนการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของชาวพมา และการรับอิทธิพลวัฒนธรรมพุทธ ฮินดู จากอินเดีย จนทําใหเกิดอํานาจกษัตริยพุกาม46

การปกครองคนในสมัยพุกามแบงคนในสังคมออกเปนสองกลุม คือชนนั้นผูปกครอง และชนชั้นผูถูกปกครอง

ชนชั้นผูปกครอง หรือชนชั้นสูงในสังคมพุกาม ไดแกกษัตริย พระบรมวงศ เสนาอํามาตยในราชสํานัก และขุนนาง คนกลุมนี้เปนคนกลุมนอยในสังคมพุกาม แตเปนผูควบคุมอํานาจการปกครอง เนื่องจากเปนผูควบคุมคนหรือแรงงานในพุกาม ซ่ึงเปนเจาของปจจัยทางเศรษฐกิจที่สําคัญของพุกาม ชนชั้นปกครองของพุกามนอกจากจะมีอํานาจในการปกครองแลวยังเปนกลุมคนที่รํ่ารวยที่สุดในสังคมพุกาม

ชนชั้นผูถูกปกครอง หรือชนชั้นลาง คนกลุมนี้เปนคนสวนใหญในสังคมพุกาม และยังเปนแรงงานที่สําคัญในการผลิตของพุกาม คนกลุมนี้มีความสัมพันธกับคนกลุมแรกในฐานะที่เปนนายกับบาวหรือผูถูกใชแรงงาน ชนชั้นผูถูกปกครองในพุกามแบงออกเปน 2 กลุม คือ พวกอิสระ (asan) และผูที่เปนขามีนาย (kywan)

พวกอิสรชน (asan) เปนกลุมคนที่อิสระไมไดอยูภายใตการควบคุมของใคร คนกลุมนี้สวนใหญเปนชางฝมือในดานตางๆ บางพวกทํางานแลกผลประโยชนจากนายจาง และมีพวก

45 Ibid. 46 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an

Institutional History of 12th-13th Century of Burma , (Michigan: University of Microfilm International, 1976), 199.

Page 39: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

28

อิสระบางคนขายตนเพื่อเปนขากับนายเพื่อทํางานรับใชนายเหมือนขามีนายทั่วไปขา ขามีนาย (kywan) แบงออกเปน 3 กลุมที่สําคัญ ขาทํางานใหแกกษัตริย (kywan-to)

ขาทาสเหลานี้ทํางานรับใชกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศ งานที่สําคัญของขากลุมนี้คือเพาะปลูกบนที่ดินหลวง การสรางสาธารณูประโยชนของอาณาจักรพุกาม ระบบชลประทาน ถนน พระราชวัง วัดและเจดีย ขาทํางานรับใชนาย (kywan) ขาเหลานี้ทํางานรับใชนายตัวเองสวนใหญเปนเสนาอํามาตยและขุนนาง งานที่ขาทาสสวนใหญคือการทําการเกษตรเพาะปลูก ขาวัด (pura kywan) คนกลุมนี้ทํางานรับใชในดานศาสนา มีหนาที่ดูแลวัด และเจดีย และยังมีบางพวกที่ทํางานรับใชพระสงฆ คนกลุมนี้สวนใหญถูกกัลปนาจากนายเพื่อเปนพุทธบูชา และยังมีอีกสวนที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนาไดกัลปนาตัวเองเพื่อมารับใชพุทธศาสนา คนกลุมนี้ยังมีพวกที่เปนอิสระชนสวนใหญเปนชางฝมือที่ไมตองการถูกทางการเรียกใชแรงงานจากรัฐ จึงกัลปนาตนเองเพื่อเปนขาวัด เนื่องจากขาวัดจะไมถูกเรียกเกณฑแรงงานจากรัฐ ชนชั้นลางของพุกามเปนกลุมคนที่มีความสําคัญ โดยเฉพาะเปนแรงงานในการผลิต และสรางความเจริญรุงเรืองของอาณาจักรพุกาม

ในพุกามนอกจากคนสองกลุมนี้แลวยังมีกลุมคนที่มีความสําคัญคือ พระสงฆ ในสมัยพุกามพระสงฆมีการปกครองของตนเองไมยุงเกี่ยวกับอาณาจักร แตพระสงฆในพุกามเปนกลุมคนที่มีบทบาทในสังคมอยางยิ่ง พระสงฆเปนบุคคลที่อยูระหวางชนชั้นปกครองและผูถูกปกครอง ในขณะเดียวกันพระสงฆเปนผูครอบครองปจจัยการผลิตที่สําคัญคือที่ดินและแรงงานที่สําคัญของพุกาม

พุกามเปนศูนยกลางการปกครองที่สําคัญ บริเวณที่เปนศูนยกลางการปกครองเรียกวาปราณ (pran) คือพื้นที่ 25 ตารางไมลที่ตั้งพุกามนั้นเอง บริเวณนี้จะถูกปกครองโดยตรงจากราชสํานักพุกาม เนื่องจากเปนศูนยกลางอํานาจการปกครอง พุกามแบงบริเวณการปกครองเปน 3 สวน คือ คะยวน (kharuin) ตุอิก (tuik) และนวนนํา (nuinnam)

คะยวน (Kharuin) ไดแกบริเวณที่ถัดออกจากศูนยกลางของพุกาม และเปนดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพมา ซ่ึงหมายถึงแหลงทําการเกษตรที่สําคัญไดแกกย็อกเซและมินบู บริเวณนี้มีความสําคัญตอการปกครองและเศรษฐกิจพุกามเปนอยางยิ่ง กษัตริยพุกามจะสงผูที่พระองคไววางใจไปปกครองไดแก พระบรมวงศานุวงศ และขุนนางที่ใกลชิดกับกษัตริย

ตุอิก (Tuik) เปนบริเวณที่อยูถัดจากคะยวนออกไป บริเวณตุอิกสวนใหญขยายออกมาในสมัยพระเจานรปติสิทถุในคริสตศตวรรษที่ 13 พระองคทรงเห็นวาคะยวนมีความหนาแนนของประชากรและไมสามารถขยายที่ดินการการเกษตรกรรมได พระองคทรงขยายพื้นที่ออกไปยังบริเวณอื่นที่หางไกลออกไป เนื่องจากตุอิกอยูหางไกลจากศูนยกลางพุกามจึงไม

Page 40: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

29

ภาพที่ 2 แผนที่ศูนยกลางอาณาจักรพุกาม ที่มา: Michael Aung-Thwin, Pagan: the Origins of Modern Burma (Honolulu : University of Hawaii Press,1985),178.

Page 41: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

30

ภาพที่ 3 แผนที่เขตการปกครองสมัยพุกาม ที่มา : Michael Aung-Thwin,Pagan : the Origins of Modern Burma (Honolulu : University of Hawaii Press,1985),100.

Page 42: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

31

เขมงวดในการปกครอง กษัตริยพุกามโปรดใหเจาเมืองปกครองดูแลกันเอง สวนในเมืองที่มีความสําคัญกษัตริยจะสงคนจากสวนกลางไปปกครอง

นวนนํา (Nuinnam) หรือดินแดนประเทศราช เปนดินแดนที่พุกามเขายึดครอง ประชาชนสวนใหญไมใชชาวพมา การปกครองสวนใหญใหกษัตริยของดินแดนเหลานั้นปกครองตนเอง และตองสงเครื่องบรรณาการมายังพุกามตามที่กําหนด สวนในนวนนําบางแหงที่มีความสําคัญตอความมั่นคงของพุกาม กษัตริยจะสงผูปกครองจากศูนยกลางไปปกครองครองเชนที่เมืองพะโคซึ่งเปนหัวเมืองมอญที่สําคัญ

กษัตริยทรงแตงตั้งพระบรมวงศาวงศ ขุนนางและผูนําทองถิ่นไปปกครองเมืองตางๆ เพื่อทําหนาที่จัดเก็บภาษีอากรตางๆตามที่กษัตริยทรงกําหนด โดยเฉพาะที่เมืองที่มีความสําคัญเชนบริเวณกย็อกซและมินบู กษัตริยทรงสงพระบรมวงศานุวงศและขุนนางใกลชิดไปปกครอง สวนเมืองที่ไมมีความสําคัญจะสงขุนนางหรือใหเจาเมืองทองถ่ินปกครอง เจาเมืองเปนผูเก็บภาษี อากรจากประชาชนเพื่อสงเขาทองพระคลังตามที่กษัตริยทรงกําหนด หากมีภาษีอากรที่เหลือเจาเมืองจะเก็บเปนรายไดของตนเอง เรียกวาระบบกินเมือง (ca)47 กษัตริยพุกามทรงพระราชทานรางวัลแกขุนนาง ทหาร พระสงฆ ขาราชสํานักเรียกวามหาทาน ที่ดินเปนมหาทานที่กษัตริยทรงพระราชทานดวย ที่ดินที่กษัตริยทรงพระราชทานเพื่อใชในการเพาะปลูกและอยูอาศัย ขุนนาง ทหารที่มียศสูงๆจะไดรับพระราชทานที่ดินบริเวณกย็อกเซและมินบู48 การที่กษัตริยทรงพระราชทานที่ดินเปนรางวัลใหกับบุคคลตางๆ เนื่องจากพระองคตองการใหที่ดินนําไปใชเพื่อการเพาะปลูก เพื่อที่จะไดเรียกเก็บภาษีจากผลผลิตบนที่ดินนั้นเอง เมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาลกษัตริยพระองคใหมจะเรียกคืนที่ดินมหาทานที่กษัตริยพระองคกอนพระราชทานกลับคืนและจะทรงพระราชทานใหกับบุคคลตางๆ

เศรษฐกิจ พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สําคัญของพุกามคือการเกษตรและการเก็บภาษี ดั้งนั้นการ

ควบคุมคนและพื้นที่ทางการเกษตรจึงเปนสิ่งที่สําคัญตอเศรษฐกิจของพุกามเปนอยางยิ่ง เนื่อง จากจะทําใหการเก็บภาษีเปนไปโดยมีประสิทธิภาพ รูปแบบเศรษฐกิจของพุกามคือ การกระจายความมั่งคั่ง รัฐจะนําเอาผลผลิตจากที่แบงบันผลประโยชนจากประชาชนมารวมไวที่สวนกลาง

47 Micheal Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan : an

Institutional History of 12th-13th Century of Burma , 41. 48 Ibid.

Page 43: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

32

และกระจายออกไปตามสวนตางๆอีกครั้ง49 ลักษณะที่สําคัญของเศรษฐกิจพุกามคือ ความเจริญรุงเรืองดานเศรษฐกิจพุกามจะแสดงออกมาทางดานศาสนา ความมั่งคั่งทางดานเศรษฐกิจของพุกามไดนํามาสรางศาสนสถานทั้งวัด เจดีย เนื่องจากประชาชนชาวพุกามไมนิยมที่จะเก็บทรัพยสินเพื่อแสดงฐานะของตนเอง แตส่ิงที่แสดงฐานะของแตละคนคือศาสนสถานที่สรางขึ้นนั้นเอง

ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ในสมัยพุกามเปนยุคแหงความรุงเรืองทางดานศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของพมา

ในชวงตนของพุกามจะไดรับอิทธิพลจากมอญทั้งดาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมก็ตาม ชาวพมาไดนําวัฒนธรรมมอญที่ไดรับมาปรับใหเขากับตนเอง และไดสรางวัฒนธรรมที่เปนรูปแบบของตนเองขึ้นมา ซึงมีความยิ่งใหญไมนอยไปกวาวัฒนธรรมมอญที่ไดรับมา โดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาทที่เจริญรุงเรืองอยางสูงสุดในพุกาม และไดกระตุนใหเกิดความเจริญรุงเรืองในดานศิลปะและวัฒนธรรมของพุกาม พุทธศาสนาเถรวาทยังมีบทบาทที่สําคัญในพุกามในดานตางๆเปนอยางยิ่ง

ระยะเวลา 250 ปที่อาณาจักรพุกามมีอํานาจปกครองลุมแมน้ําอิระวดี กษัตริยทุกพระองคของพุกามไดสรางอาณาจักรพุกามใหเจริญรุงเรือง อาณาจักรพุกามไดผานชวงเวลาที่เจริญ รุงเรืองสูงสุดในดานการปกครอง สถาบันกษัตริย เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และชวงที่ตกต่ําจนอาณาจักรพุกามตองลมสลาย แมอาณาจักรพุกามจะลมสลายไปแลวแตภาพความเจริญรุงเรืองของอาณาจักรแหงนี้ยังเปนที่จดจําของชาวพมากระทั่งปจจุบัน

49Ibid.

Page 44: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

33

บทท่ี 3

อาณาจักรพุกามกับการรับพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท

พุทธศาสนาเถรวาทเขามามีบทบาทและอิทธิพลทางวัฒนธรรมในอาณาจักรพุกาม

เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงสงกองทัพไปโจมตีเมืองสะเทิมในป ค.ศ. 1057 พระองคทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากดินแดนมอญมาประดิษฐานในพระราชอาณาจักรของพระองค พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทไดตั้งมั่นและรุงเรืองในพุกามรวมถึงลุมแมน้ําอิระวดีตอนบนในเวลาอันรวดเร็ว พุทธศาสนาเถรวาทไดเผยแผเขามายังลุมแมน้ําอิระวดีกอนปค.ศ. 1057 ความเชื่อที่สําคัญในการประดิษฐานพุทธศาสนาครั้งแรกของพมา คือการที่พระเจาอโศกทรงสงสมณทูตเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ชาวพมาเชื่อวาดินแดนสุวรรณภูมิคือเมืองสะเทิม จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในพมาแสดงใหเห็นวาพุทธศาสนาเถรวาทเขามามีอิทธิพลตั้งแตในคริสตวรรษที่ 4-5 ชาวผะยูผูสรางอาณาจักรศรีเกษตรไดนับถือพุทธศาสนาเถรวาทอยางเครงครัด และชาวมอญเองก็นับถือพุทธศาสนาเถรวาทกอนป ค.ศ. 1057 เชนเดียวกัน หากไมมีคร้ังใดที่พุทธศาสนาเถรวาทจะสงผลกระทบตอดินแดนในลุมแมน้ําอิระวดีเทากับการที่พระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองสะเทิม เนื่องจากพุทธศาสนาเถรวาทไดเขามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบความเชื่อของชาวพมาและสังคมพมาอยางที่ไมเคยปรากฏมากอน

พุทธศาสนาในพมากอนสมัยพระเจาอนิรุทธ

การประดิษฐานพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ความเชื่อที่สําคัญในการประดิษฐานพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตคือ การที่

พระเจาอโศกทรงสงสมณทูตเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิในป พ.ศ. 291 เหต ุการณนี ้เก ิดขึ ้นหลังจากการทําส ังคายนาพระไตรป ฎกครั ้งที ่สาม การทําส ังคายนาพระไตรปฎกครั้งนี้มีพระเจาอโศกกษัตริยแหงแควนมคธเปนองคอุปถัมภ และพระโมคคัลลีบุตรดิสเถระเปนประธานฝายสงฆ เมื่อทําสังคายนาพระไตรปฎกครั้งที่สามเสร็จสิ้น พระโมคคัล

Page 45: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

34

ลีบุตรดิสเถระตอง การใหพุทธศาสนาทั้งสามคือพระปริยัติศาสนา และปฏิบัติศาสนา ปฏิเวธศาสนาใหเจริญรุงเรืองในดินแดนตางๆ1 ดังนั้นพระโมคคัลลีบุตรดิสเถระขอพระราชทานพระเจาอโศกสงพระเถระที่เปนลูกศิษยเดินทางไปเผยแผพุทธศาสนายังดินแดนตางๆ 9 แหง และหนึ่งในดินแดน 9 แหงคือสุวรรณภูมิ พระโมคคัลลีบุตรดิสเถระไดสงพระมหาเถระทั้งสอง คือพระโสณะและอุตตรเถระไปยังสุวรรณภูมิ2 นี่เองเปนเหตุการณในดานพุทธศาสนาที่สําคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยเฉพาะที่ภาคพื้นทวีปชาวพมาเชื่อวาดินแดนสุวรรณภูมิที่พระโสณะและอุตตระเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาคือเมืองสะเทิม (Thaton) เมืองทาของชาวมอญบริเวณอาวเมาะตะมะ ชาวมอญ ในสมัยโบราณเรียกชื่อเมืองนี้วา สุธรรมนคร เมื่อครั้งที่พระโสณะและอุตระเดินทางมายังสุวรรณภูมิกลาวถึงดินแดนแหงนี้วา “เมืองนั้นตั้งอยูใกลมหาสมุทรผีเสื้อน้ํามากินเด็กที่เกิดในพระราชสํานักเสมอ”3 พระปญญาสามีผูแตงศาสนวงศไดอนุมานทั้งเสนทางและสถานที่ตั้งของเมืองสุวรรณภูมิ และสรุปวาสุวรรณภูมิคือเมืองสะเทิมวา

“อนุมานทาง คือ จากเกาะสีหฬไปถึงสุวรรณภูมิมีระยะทางเทากันกับจากเมือง สุธรรมถึงสีหฬ ตรงกับอรรถกถาจารยกลาวไวในอรรถกถาวา “จากนี้ (เกาะสีหฬ) ถึงสุวรรณภูมิประมาณ 700 โยชน เรือใบใชลมแลนอยางเดียวแลน 7 วัน 7 คืนถึง มีอยูคราวหนึ่งปลาโลมาหนุนเรือ 7 วันถึงเหมือนกัน” ดังนั้นนัยวาจากเมืองสุธรรมถึงเกาะสีหฬประมาณ 700 โยชน เรือใบเวลาแลนมาถูกลมตรง (แลนตามลม) 7 วัน 7 คืนถึง นี่คืออนุมานทาง

อนุมานสถานที่ คือกลาวกันวา สุวรรณภูมิอยูใกลมหาสมุทรเปนเมืองทาใหญ พวกพอคาชาวตางประเทศมารวมกันที่นั่น เพราะฉะนั้นเด็กผูใหญลงเรือสินคาจากนครจัมปาเปนตนมายังสุวรรณภูมิ แมเมืองสุวรรณภูมิปจจุบันนี้ก็ตั้งอยูใกลมหาสมุทร นี่คืออนุมานสถานที่”4

สุวรรณภูมิ จึงนาจะหมายความถึงเมืองสะเทิมในปจจุบัน เนื่องจากสถานที่ตั้งของเมืองสะเทิมตั้งอยูริมทะเลและเปนเมืองทาการคาที่สําคัญของมอญ ที่สําคัญการเดินเรือจากอาวเบงกอล ฝง

1 พระมหานาม แพ ตาละลักษณ, มหาวงศ (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534), 183. 2 เร่ืองเดียวกัน. 3 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ (พระนคร:โรงพิมพรุงเรืองธรรม, 2506), 55. 4 เร่ืองเดียวกัน , 16.

Page 46: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

35

โคโรมันเดลของอินเดียและจากเกาะลังกามายังเมืองสะเทิมเปนไปโดยสะดวกเพียงขามมหา สมุทรอินเดียเทานั้น ดินแดนตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่อางวาเปนดินแดนสุวรรณภูมิที่สําคัญคือเมืองนครปฐมของไทย นอกจากนี้ยังมีเมืองเมืองหริภุญชัย และบริเวณคาบสมุทรมาลายูอีกดวย

ปจจุบันความเชื่อเร่ืองการเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาของพระโสณะและอุตตระนั้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกมองวาเปนตํานานในพุทธศาสนาที่ถูกเลาขานสืบตอกันมาจนกระทั่งเชื่อถือกันวาเปนเหตุการณที่เกิดขึ้นจริง ความเชื่อนี้มีที่มาจากคัมภีรมหาวงศของลังกา ซ่ึงเปนเพียงหลักฐานเดียวที่กลาวถึงการสงสมณทูตเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ความสําคัญที่พระเจาอโศกสงสมณทูติเดินทางไปเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนตางๆ ในคัมภีรมหาวงศอยูที่การสงพระมหิทรซึ่งเปนพระโอรสของพระเจาอโศกเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในเกาะลังกา สวนการสงสมณทูตเดินทางไปยังดินแดนอื่นเปนเพียงรายละเอียดปลีกยอย และสิ่งสําคัญที่เมืองสะเทิมหรือดินแดนตางๆที่อางวาเปนดินแดนสุวรรณภูมิไมมีหลักฐานที่เกาแกที่แสดงวาพุทธศาสนาไดประดิษฐานในชวงเวลาประมาณ 250 ปกอนคริสตศักราช การเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาของพระโสณะและอุตตระจึงอาจเปนตํานานศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาที่เลาขานทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต แมวาการเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิยังไมสามารถหาขอสรุปไดวาเปนเรื่องจริงหรือไม หากเหตุการณนี้ในพมาเปนจุดเริ่มตนของพุทธศาสนาเปนการประดิษฐานพุทธศาสนาครั้งแรก ยังเปนจุดเริ่มตนของคณะสงฆของมอญและพมาที่สําคัญ พระสงฆชาวมอญและพมากอนที่จะไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาจากเกาะลังกาถือวาตนเองสืบวงศมาจากพระโสณะและอุตตระ ดังนั้นพุทธศาสนาที่พระเจาอนิรุทธรับมาจากเมืองสะเทิมจึงเปนพุทธศาสนาที่สืบมาจากพระเถระทั้งสองเชนเดียวกัน

พุทธศาสนาในอาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรศรีเกษตรเปนอาณาจักรโบราณของชาวผะยู ศูนยกลางของอาณาจักรศรี

เกษตรปจจุบันคือเมืองเมืองฮมอซา (Hmawza) และเมืองเล็กๆใกลเคียงกัน ซ่ึงอยูหางจากเมือง

Page 47: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

36

แปร (Prome) ไปทางใต 6 ไมล5 หลักฐานที่เกาแกที่สุดที่แสดงวาพุทธศาสนาไดเขามามีอิทธิพลในอาณาจักรศรีเกษตรตั้งแตคริสตศตวรรษที่ 4-5 แลว ที่เมืองมวงคุน (Maunggan) เมืองเล็กๆใกลกับเมืองฮมอซาพบจารึกใบลานทอง 2 แผน จารึกใบลานทองทั้งสองแผนไดจารึกพระสูตรภาษาบาลีที่รูจักรแพรหลายในพุทธศาสนาโดยมีบทเริ่มตนที่เหมือนกันคือ เย ธฺมมา เหตุปฺปภวา (Ye dhamma hetuppabhava) รูปแบบอักษรบาลีที่ใชในจารึกเปนอักษรแบบ กทัมพะ (Kadamba) ซ่ึงใชอยางแพรหลายบริเวณกะทัมพัส (Kadambas) และใกลกับจาลุกยัส (Culukyas) ในอินเดียใตอยูในชวงเวลาคริสตศวรรษที่ 5-66 จารึกภาษาบาลีที่สําคัญที่พบที่เมืองฮมอซาเปนจารึกแผนลานทองจํานวน 20 แผน สมุดจารึกใบลานทองนี้ไดจารึกพระสูตรที่รูจักอยางแพรหลายในพุทธศาสนาจํานวน 9 บท รูปแบบอักษรบาลีที่ใชจารึกเปนอิทธิพลที่ไดจากบริเวณคาบสมุทรเดกขาน (Deccan) ของอินเดีย ซ่ึงใชอยางแพรหลายในอาณาจักรอานธระ-กุยตะละ (Andhra-Kuntala) ชวงเวลาคริสตศตวรรษที่ 4-5 7 อักษรบาลีที่ใชจารึกพระสูตรในพุทธศาสนาที่พบในอาณาจักรศรีเกษตรเปนอิทธิพลที่ไดจากอินเดียใตและเดกขาน ในชวงเวลาคริสตศตวรรษที่ 4-7 พุทธศาสนาเถรวาทเปนที่นับถือและรุงเรืองในบริเวณคาบสมุทรเดกขาน อาณาจักรอานธระ-กุนตะละ-ปลลวะ (Andhra-Kuntala-Pallava) และที่อินเดียใตมีศูนยกลางที่อามารวดี (Amaravati), นครชุนิกุดา(Nagarjunikuda), กุนจิมปุรัม (Kuncimpuram), กันเวรปตตนัม (Kanveripattanam), และอุรปปุรัม(Urapapuram)8 พุทธศาสนาเถรวาทที่ชาวผะยูนับถือไดรับอิทธิพลจาเดกขานและทางอินเดียใตนั้นเอง

เกี่ยวกับบริเวณที่ตั้งอาณาจักรศรีเกษตร ไดพบจารึกพระสูตรในพุทธศาสนาเปนภาษาสันสกฤตดวย นายดูรัวเซล (Mr.Duroiselle) พบพระพุทธรูปและที่บริเวณฐานของพระพุทธรูปไดจารึกบทรอยแกวภาษาสันสกฤต ที่ตําบลกันเวตคองกอน (Kan-wet-khaung-kon) ในเขตเมืองแปร. ดร. แบลกเด็น (Dr. Blagden) ไดวิเคราะหอักษรสันสกฤตและสรุปวาเปน

5Niharranjan Ray, An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma :a

Study in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest, (India:Nishichandra Sen,1946), 29.

6Ibid., 43. 7 Ibid., 44. 8 Ibid.

Page 48: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

37

อิทธิพลทางอักษรศาสตร ที่ชาวผะยูไดรับมาจากอักษรคุปตะ-พราหมี (Gupta-Brahmi) ตอนปลายและพระพุทธรูปมีรูปแบบศิลปะชวงปลายสมัยคุปตะเชนกัน ดังนั้นทั้งรูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและอักษรสันสกฤตรวมสมัยเดียวกัน9 ที่เมืองฮมอซาพบจารึกภาษาสันสกฤตบนฐานพระพุทธรูป ไดจารึกพระสูตรที่รูจักแพรหลายในพุทธศาสนา คือ เย ธฺมมา เหตุปฺปภวา และยังเปนพระสูตรที่จารึกในพระพิมพที่พบทั่วไปในพมาทั้งที่เปนภาษาบาลีและสันสกฤตอีกดวย10 รูปแบบอักษรสันสกฤตที่พบเปนอิทธิพลที่ไดรับจากตะวันออกของอินเดีย ในชวงคริสตศตวรรษที่ 7 พระพุทธรูปเปนศิลปะปลายคุปตะทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเชนเดียวกับพระพุทธรูปที่พบที่กันเวตคองกอน11 พุทธศาสนาที่ใชภาษาสันสกฤตในอาณาจักรศรีเกษตรเปนอิทธิพลที่ไดรับมาจากตะวันออกของอินเดีย ชวงเวลานี้บริเวณตะวันออกของอินเดีย แควนมคธนับถือพุทธศาสนานิกายสรวัสดิวาส (Saravasdivas) อยางเครงครัด12 พุทธศาสนานิกายสรวัสดิวาสเปนพุทธศาสนาหินยานเชนเดียวกับพุทธศาสนาเถรวาท แตหากใชภาษาสันสกฤตแทนภาษาบาลี พุทธศาสนาทั้งสองนิกายมีความแตกตางกันเพียงเล็กนอยในหลักพระธรรมวินัย แตแทบไมมีความแตกตางในหลักปฏิบัติ ทั้งสองนิกายตางเปนพุทธศาสนาหินยานและปฏิบัติตามแนวทางพระธรรมวินัยเหมือนกัน13 พุทธศาสนาที่นับถือในอาณาจักรศรีเกษตรนอกจากจะเปนนิกายเถรวาทแลวยังมีนิกายสรวัสดิวาสอีกดวย

พุทธศาสนาในชวงคริสตศตวรรษที่ 4-8 ไดเผยแผไปยังดินแดนตางๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใตเชนเดียวกัน หลวงจีนอี้จิง (I-Ching) เดินทางจากจีนไปแสวงบุญยังอินเดียในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 8 ไดกลาวถึงดินแดนตางๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใตนับถือพุทธศาสนาอยางเครงครัดที่ศรีเกษตร (Shih-li-ch’a-ta-lo), ลังกสุกะ (Lang-chia-shu, Lankasu), ทวารวดี(She-ho-po-ti),จามปา(Lin-i)14 ดินแดนเหลานี้อยูบริเวณภาคพื้นทวีป สวนดินแดนที่

9 Niharranjan Ray, Sanskrit Buddhism in Burma, (Rangoon:Buddha Sasana Council

Press,1936), 19. 10 Ibid., 20. 11 Ibid. 12Ibid., 21. 13 Ibid., 22. 14 Ibid., 23.

Page 49: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

38

เปนหมูเกาะไดแกบอเนียว สุมาตรา ชวา และคาบสมุทรมาลายูนับถือพุทธศาสนาอยางเครงครัดเชนเดียวกัน15 ชวงเวลาคริสตศตวรรษที่ 4-8 พุทธศาสนาจากสวนตางๆของอินเดียไดกระจายไปยังดินแดนตางๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต และเปนชวงเวลาเดียวกับอาณาจักรศรีเกษตรของพมาไดรับอิทธิพลของพุทธศาสนาเชนเดียวกัน

พุทธศาสนาในดินแดนมอญ

ชาวมอญเปนกลุมคนที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต หากประวัติพุทธศาสนาในดินแดนมอญที่สําคัญมีเพียงตํานานที่พระโสณะและอุตตระเดินทางมาเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิสมัยพระเจาอโศก ความเชื่อนี้ยังไมมีหลักฐานยืนยันวาเปนเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม ในคริสตศตวรรษที่ 5 มีตํานานพระสงฆชาวมอญที่แสดงวาชาวมอญนับถือพุทธศาสนาเถรวาทแลว พระพุทธโฆสาจารย (Buddhaghosa) เปนชาวเมืองสะเทิม และเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่เกาะลังกาในพ.ศ. 943 (ค.ศ. 400)16 พระพุทธโฆสาจารยเปนพระสงฆที่ไดรับการยกยองวามีความรูในดานพระไตรปฎกแตกฉาน และยังเปนผูทําอรรถาธิบายและแตงคัมภีรพุทธศาสนาที่สําคัญของพมา ประวัติพระพุทธโฆสาจารยมีกลาวไวในตาํนานพุทธศาสนาทั้งของมอญ พมา และลังกาดวย หากเรื่องราวของพระพุทธโฆสาจารยเปนเรื่องจริง แสดงใหเห็นวาชาวมอญนับถือพุทธศาสนาเถรวาทตั้งแตคริสตศตวรรษที่ 5 แลว สอดคลองกับเหตุการณที่เกิดขึ้นในดินแดนพมาชวงเวลานั้น เนื่องจากอาณาจักรศรีเกษตรของชาวผะยูไดนับถือพุทธศาสนาเถรวาท การที่พุทธศาสนาจากอินเดียจะเผยแผเขาไปยังอาณาจักรศรีเกษตรไดตองผานดินแดนของชาวมอญซึ่งตั้งบริเวณอาวเมาะตะมะกอน ชาวมอญจึงนาจะไดรับอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาทพรอมกับชาวผะยู บันทึกของหลวงจีนอี้ชิงในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 8 ไดกลาวถึงดินแดนชื่อวา ลังเกียซ่ิว (Lang-chia-shu, Lankasu) ดินแดนแหงนี้นับถือพุทธศาสนาอยางเครงครัด นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตรพมาเชื่อวา ดินแดนแหงนี้นาจะอยูบริเวณตะนาวศรี

15 Ibid., 30. 16 Niharranjan Ray, An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma:a

Study in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest, 24.

Page 50: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

39

จนถึงทวาย17 ซ่ึงเปนดินแดนของชาวมอญนั้นเอง

ความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนาในดินแดนมอญที่เปนที่กลาวขานในหลักฐานตางๆอยูในชวงตนคริสตศตวรรษที่ 11 กอนที่พระเจาอนิรุทธจะโจมตีเมืองสะเทิม ชวงเวลาดั้งกลาวพุทธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองในเมืองสะเทิม และเมืองสะเทิมเปนศูนยกลางพุทธศาสนาที่สําคัญของชาวมอญ หากการที่เมืองสะเทิมจะเปนศูนยกลางพุทธศาสนาเถรวาทไดนั้นตองสั่งสมความรูในดานพุทธศาสนามาเปนระยะเวลายาวนานกอนคริสตศตวรรษที่ 11

ชาวผะยูและชาวมอญเปนกลุมคนที่มีบทบาทสําคัญในลุมแมน้ําอิระวดี และคนทั้งสองกลุมไดนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเปนเวลานาน ศาสตราจารยลูชไดตั้งของสังเกตวาชาวพมานาจะไดรับอิทธิพลดานพุทธศาสนาเถรวาทจากคนทั้งสองกลุมกอนป ค.ศ. 1057 เมื่อครั้งที่ชาวพมาอพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดีในประมาณคริสตศตวรรษที่ 9 ชาวพมาไดพบกับชาวมอญที่ตั้งถ่ินฐานบริเวณกย็อกเซ ชาวมอญซึ่งนับถือพุทธศาสนาเถรวาทอยูกอนแลวอาจถายทอดความรูในดานพุทธศาสนาเถรวาทใหแกชาวพมา18 ชาวผะยูและชาวพมามีความใกลชิดในดานเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ชาวผะยูยังเปนกลุมคนที่ถายทอดความรูเกี่ยวกับพุทธศาสนาเถรวาทแกชาวพมาดวยเชนกัน

ความเชื่อของชาวพมากอนรับพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ ชาวพมาไดรับอิทธิพลพุทธศาสนามหายานเมื่อคร้ังที่ตั้งถิ่นฐานที่หยุนหนานทาง

ตอนใตของจีน ซ่ึงบริเวณนี้เปนเขตอิทธิพลของพุทธศาสนามหายานอยูกอนแลว เมื่อชาวพมาอพยพลงมาทางตอนบนของลุมแมน้ําอิระวดีไดรับอิทธิพลพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ พุทธศาสนามหายานนิกายตันตระเผยแผมาจากทางตอนเหนือของอินเดียผานมาทางเบงกอล และผานเขามาทางตอนเหนือของพมาในชวงคริสตศตวรรษที่ 10 สมัยพุกามเรียกพระสงฆนิกาย

17 Niharranjan Ray, Sanskrit Buddhism in Burma, 26. 18 G.H. Luce, “Old Kyauke and the Coming of Burmans,” Journal of Burma Research

Society 42,1(June 1956): 81.

Page 51: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

40

นี้วาพระอาริ คัมภีรศาสนาวงศเรียกพวกนี้วา สมณกุตตกะ19 พระสงฆและชาวพมาในสมัยหลังมองพระอาริวา พระอารินิยมที่จะปฏิเสธคําสั่งสอนของพระพุทธเจา และถือปฏิบัติตามแนวทางของตนเอง พระอาริศรัทธาบูชาเทพเจา 30 องค และปฏิบัติตามหลักธรรมของตนเอง 66,000 ขอ ศูนยกลางของพระอาริอยูที่เมืองถมาติ (Thamati)20 ความเชื่อของพระอาริสวนใหญเปนไปในดานเวทยมนตคาถา การบูชานาค งู พระวิษณุ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตางๆ ความเชื่อของพระอาริเปนการประกอบพิธีกรรมตางๆ กษัตริยพุกามกอนพระเจาอนิรุทธทรงศรัทธานับถือพระอาริเปนอยางมาก พระเจานยองอูสรหันตทรงศรัทธาในพระอาริ พระองคไดแตงตั้งพระอาริใหเปนผูดูแลเจดียที่เมืองยะเถปยี (Yathepy)i และที่เมืองสะเทิม และยังสรางเจดีย 5 องค คือ ปโตคยี (Pahtogyi), ปโตเง (Pahtonge), ปโธธัมยะ (Pathothamya), สินลินปโต (Thinlinpahto) และเสตติปโธ (seittipahto) ภายในเจดียประดิษฐานรูปเคารพที่ไมใชวิญญาณศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธรูป พระองคทรงใหมีการบูชาดวยขาวปลาอาหารและสุรา ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน21 นอกจากนี้ พระอาริยังมีอิทธิพลตอชาวพุกามทั่วไปอีกดวย

“พระสมณกุตตกะใหโอวาทแกผูที่เขาไปหาตนดวยมิจฉาวาทะ (ลัทธิผิด) เปนตนวา ผูใดทําบาปปาณาติบาต สวดบริบทนี้จะพนบาป ผูใดทําอนันตริยกรรมฆามารดาบิดา ใครพนจากอนันตริยกรรม สวดปริบทนี้ก็พนได ถาจะทําพิธีกรรมสมรสตองมอบตัวแกอาจารยกอน”22

พิธีกรรมอยางหลังเรียกวา การทําลายพรหมจรรย พระอาริเปนผูประกอบพิธีกรรม ตางถือปฏิบัติอยางเครงครัดทั้งกษัตริย ขุนนาง เศรษฐี ประชาชนทั่วไป หากผูใดละเวนจากพิธีกรรมนี้จะถือวามีบาปเปนอยางมาก และกษัตริยทรงลงพระอาญาอยางรุนแรง23 พระอาริมีอิทธิพลตอชาวพุกามตั้งแตกษัตริยจนถึงประขาชนชาวพุกามทั่วไป

19 Niharranjan Ray, Sanskrit Buddhism in Burma, 62. 20 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 71. 21Ibid. 22 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 85. 23Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 28.

Page 52: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

41

ภาพที่ 4 เขาโปปา

ที่มา : Richard M.Cooler, The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/

Page 53: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

42

ความเชื่อเร่ืองนัต นัต (Nat) เปนความเชื่อดั้งเดิมเรื่องวิญญาณนิยมแบบพมา นั่นคือนับถือผีและสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์ที่มีอํานาจเหนือธรรมชาติ24 นัตที่ชาวพมานับถือแบงออกเปนสองประเภทที่สําคัญ นัตที่เปนวิญญาณที่สิงสถิตในธรรมชาติ เชนภูเขา ตนไม แมน้ํา สัตว ส่ิงของตางๆ และนัตที่เปนวิญญาณบรรพบุรุษที่ยังอยูคุมครองลูกหลาน ยังรวมไปถึงวิญญาณของวีรบุรุษเมื่อตายไปแลวไดรับการยกยองใหเปนนัต ผีบรรพบุรุษมี่ตั้งแตระดับบาน หมูบาน เมือง และอาณาจักร ชาวพมาเชื่อวานัตเหลานี้สามารถใหคุณและโทษแกตนเองได จึงประกอบพิธีเซนไหวบูชานัตเหลานี้จนเปนประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบตอมา

ชาวพมานับถือนัตจํานวนมากมายตามความเชื่อของแตละคน นัตสององคที่เปนที่นับถือของชาวพมาคือ มังมหาคีรี (Min Mahagiri) เรียกอีกชื่อวา เจาพอแหงเขาโปปา ชาวพมาเชื่อวา มังมหาคีรีเปนผูคุมครองเขาโปปา และพระแมหนาทอง (Lady of Golden Face) ในสมัยพระเจาอนิรุทธ เมื่อทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาในฐานะศาสนาหลักในพุกาม พระองคก็ยังทรงแตงตั้งนัต 36 องคเปนนัตประจําชาติ และไดอัญเชิญนัต 36 องคใหมาประดิษฐานยังระเบียงเจดียชเวซิกอง25 มังมหาคีรีและพระแมหนาทองไดรับแตงตั้งใหเปนนัตประจําชาติดวย นัต 36 องคไดรับการยกยองใหเปนเทวดาผูคุมครองพุทธศาสนา และพระเจาอนิรุททรงแตงตั้งพระอินทรเทวราชผูคุมครองพุทธศาสนาใหเปนหัวหนานัต 36 องค รวมเปนเทวดาในความเชื่อพมา 37 องค 26 นัตยังคงเปนความเชื่อที่สําคัญในพมาแมวาจะรับพุทธศาสนาเถรวาทแลว ชาวพมายังคงนับถือบูชานัตตามบานตางๆ และที่เขาโปปาในทุกวันเพ็ญ มีพิธีบูชานัตที่เขาโปปา และจะมีการจัดงานใหญในคืนวันเพ็ญของเดือนธันวาคม ในวันนั้นจะมีผูคนจากที่ตางมากมายเดินทางมารวมพิธี มีการฆาสัตวจํานวนนับรอยตัวเพื่อสังเวยแดมังมหาคีรีและพระแมหนาทอง และยังมีงานฉลองดื่มสุราและฟอนรําโดยรางทรงของนัตตางๆ27 เมื่อรับอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาท

24 ความเชื่อเร่ืองนัตเปนความเชื่อพบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต หากแตละที่จะ

เรียกชื่อตางกันไป 25 Htin Aung U, Folk Element in Burmese Buddhism (Rangoon, Buddha Sasana

Council press,1975), 4. 26 Ibid., 3. 27 Ibid.

Page 54: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

43

ภาพที่ 5 รูปปนพระอินทร (Thagyamin)

ที่มา : Richard M.Cooler, The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

ภาพที่ 6 นัตมังมหาคีรี

ที่มา : Richard M.Cooler, The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 55: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

44

ภาพที่ 7 นัต 37 องค

ที่มา : John Gottberg edt., Burma (Singapore : Apa Productions (HK) Ltd, 1981),88-89.

Page 56: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

45

แลว การบูชานัตไดถูกผสมผสานเขากับพิธีกรรมพุทธศาสนาเถรวาทในวันพระ ในปจจุบันไมสามารถแยกความเชื่อนัตและพุทธศาสนาเถรวาทออกจากกันได นอกจากความเชื่อพระอาริและนัตแลว ชาวพมายังมีความเชื่อทั้งลัทธิฮินดู การบูชาพระวิษณุ เทพเจาองคตางของฮินดู และความเชื่อทองถิ่นตางๆ หากแตไมมีความเชื่อใดที่โดดเดนเทาทั้งสองความเชื่อนี้ โดยเฉพาะความเชื่อนัตที่ชาวพมายังคงนับถือกระทั่งปจจุบัน

พระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกาม พระเจาอนิรุทธทรงขึ้นปกครองพุกามในป ค.ศ. 1044 พระองคทรงจัดการการ

ปกครองภายในพุกามใหมีความเรียบรอย ในดานการศาสนาพระเจาอนิรุทธทรงไมพอพระทัยในพฤติกรรมของพระอาริเปนอยางยิ่ง พระอาริปฏิบัติตนผิดจากหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจา และพิธีกรรมตางๆของพระอาริมิชอบดวยหลักธรรมในพุทธศาสนา พระเจาอนิรุทธไมปรารถนาจะเห็นพฤติกรรมนอกรีตของพระอาริ และยังทรงมีศรัทธาอันแรงกลาที่จะคนหาหลักธรรมอันถูกตองของพระพุทธเจา28 ความพยายามของพระเจาอนิรุทธทําใหพุทธศาสนาเถรวาทเขามามีอิทธิพลในบริเวณแมน้ําอิระวดีตอนบน พุทธศาสนาเถรวาทเผยแผเขามาในลุมแมน้ําอิระวดีเปนเวลานานกอน ค.ศ. 1057 หากพุทธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองอยางสูงสุดหลังจากที่พระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกาม พุทธศาสนาไดเขามิอิทธิพลตอดินแดนพมาอยางที่ไมเคยปรากฏมากอนหนานี้ การรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองสะเทิมเปนเหตุการณที่มีความสําคัญตอความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพมา และยังมีความสําคัญตอประวัติศาสตรพมาเปนอยางยิ่งดวยเชนกัน

พระชินอรหันตเปนผูที่มีบทบาทสําคัญในการประดิษฐานและสรางความรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกาม พระชินอรหันตเปนพระสงฆชาวเมืองสะเทิม นามพระชินอรหันตเปนที่รูจักอยางแพรหลายเมื่อเดินทางมายังพุกาม นามเดิมของพระชินอรหันต คือพระธรรมทัสสี (Shin Dhammadassi) ประวัติพระชินอรหันตมีวา เมื่อสมัยที่พระพุทธเจายังทรงมรมาณอยู พระองคไดเคยเสด็จมายังที่ตั้งอาณาจักรพุกามพรอมกับพระอานนท พระองคไดกลาวทํานายแกพระอานนทวา “ตอไปภายหนา ประเทศนี้จะมีพระราชานามวา สมตติ สรางนคร

28 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 71.

Page 57: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

46

ช่ืออริมัททนะ และศาสนาของคถาคตจะเจริญมั่นคงในนครนี้”29 เมื่อเวลาผานไปนานแลวพระพุทธศาสนายังไมตั้งมั่นในดินแดนแหงนี้ตามคําทํานายของพระพุทธเจา เหลาพระเถระทั้งหลายจึงไปกลาวแกทาวสักกะ (พระอินทร) เพื่อขอใหสงผูมีบุญมาปลูกปกพระพุทธศาสนาใหมั่นคงในพุกาม “ทาวสักกะไดของรองใหเทพบุตรตนหนึ่งในดาวดึงสภิภพใหถือปฏิสนธิในครรภพราหมณีผูหนึ่ง เมื่อครบสิบเดือนคลอดออกมาแลว พระเถระองคหนึ่งชื่อ สิลพุทธคอยดูแลรักษา คร้ันอายุควบบวชจึงใหบวช”30 พระชินอรหันตเปนลูกศิษยพระสิลพุทธ ทานศึกษาพุทธศาสนาเชี่ยวชาญพระไตรปฎก และไดบรรลุอรหันต มีนามปรากฏวา ชินอรหันต31 ทั้งหมดนี้เปนประวัติพระชินอรหันตตามที่ปรากฏในตํานาน

พระชินอรหันตเดินทางจากเมืองสะเทิมมายังพุกามในชวงตนทศวรรษที่ 1050 ในชวงเวลานั้นเมืองสะเทิมภายใตการปกครองของพระเจามกุฎทรงเปนกษัตริยที่ออนแอ พุทธศาสนาในเมืองสะเทิมเสื่อมเปนอยางยิ่ง พระภิกษุทั้งหลายที่อยูในรามัญประเทศนั้นไมสามารถเลาเรียนพระปริยัติธรรมไดโดยสะดวก และไมสามารถบําเพ็ญสัมมาปฏิบัติใหเต็มที่ได32 การที่พระสงฆในเมืองสะเทิมไมสามารถปฏิบัติกิจในดานศาสนาไดอยางเต็มที่ จึงเปนเหตุทําใหพระชินอรหันตเดินทางไปยังพุกาม เพื่อแสวงหาดินแดนแหงใหมที่เผยแผพระพุทธศาสนา คัมภีรศาสนาวงศกลาววา เมื่อพระชินอรหันตเดินทางมาใกลถึงเมืองพุกาม ทานพํานักที่ปาใกลๆเมือง เวลานั้นมีนายพรานผูหนึ่งมาพบพระชินอรหันต และเห็นวาพระชินอรหันตมีลักษณะพิเศษแตกตางจากบุคคลธรรมดา นายพรานจึงเชิญทานไปเฝากษัตริย พระเจาอนิรุทธทอดพระเนตรแลวทรงดําริวา “ทานผูนี้มีอินทรียเรียบรอยไมใชคนปา ชะรอยภายในทานจะมีหลักธรรม”33 เมื่อพระเจาอนิรุทธสนทนาธรรมกับพระชินอรหันต พระองคมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง พระเจาอนิรุทธทรงยอมรับนับถือพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีพระชินอรหันตเปนพระอุปชฌาจารย พระเจาอนิรุทธทรงปฏิบัติตนเครงครัดในหลักธรรมคําสั่งสอนเปนอยางยิ่ง และ

29 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 84. 30 เร่ืองเดียวกัน, 86. 31 เร่ืองเดียวกัน. 32 เรือง อติเปรมานนท, ผูแปล, จารึกกัลยาณี, (พระนคร,โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร

,2468), 75. 33 เร่ืองเดียวกัน.

Page 58: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

47

พระองคยังมีความประสงคที่จะตั้งมั่นพุทธศาสนาเถรวาทใหเจริญรุงเรืองในอาณาจักรพุกาม

พระเจาอนิรุทธทรงปรึกษาพระชินอรหันตในเรื่องที่พระองคจะทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาในพุกาม พระชินอรหันตมีความเห็นวา “บรรดาศาสนาทั้งสาม คือปริยัติศาสนา ปฏิบัติศาสนา และปฏิเวธศาสนา เมื่อปริยัติศาสนาตั้งมั่นนั่นเหละ ปฏิบัติศาสนาจึงมั่นคงอยูได และเมื่อปฏิบัติศาสนามั่นคงนั้นเหละ ปฏิเวธศาสนาจึงตั่งมั่นได”34 การที่จะตั้งมั่นพุทธศาสนาจึงจําเปนตองมีปริยัติศาสนาเปนสิ่งที่สําคัญ ส่ิงที่จะทําใหปริยัติศาสนาตั้งมั่นในอาณาจักรพุกามคือพระไตรปฎกตําราที่สําคัญในพุทธศาสนานั้นเอง พระชินอรหันตเห็นวาพุกามยังไมมีพระไตรปฎก จึงเปนการยากที่จะตั้งมั่นพุทธศาสนาหากขาดซึ่งปริยัติศาสนา จึงแนะนําใหพระเจาอนิรุทธไปอัญเชิญพระไตรปฎกและพระธาตุมาประดิษฐานยังอาณาจักรพุกาม

พระชินอรหันตเปนชาวเมืองสะเทิมจึงรูวาที่เมืองสะเทิมเขาจาร(เขียน)ไตรปฎกจบถึง 3 คร้ัง เก็บไวทั้ง 3 จบ และพระสารีกริธาตุที่นั้นก็มีมาก35 พระชินอรหันตจึงใหพระเจาอนิรุทธไปอัญเชิญพระไตรปฎกและพระสารีริกธาตุจากเมืองสะเทิม พระเจาอนิรุทธทรงสงขุนนางที่เต็มเปยมไปดวยความรูความสามารถ เดินทางไปยังเมืองสะเทิมพรอมดวยเครื่องบรรณาการ เพื่อไปอัญเชิญพระไตรปฎกและพระสารีริกธาตุจากพระเจามกุฏกษัตริยแหงเมืองสะเทิม พระเจามกุฏไดปฏิเสธคณะทูตของพระเจาอนิรุทธ พระเจาองคทรงไมพอพระทัยอยางยิ่ง ดังนั้นในป ค.ศ. 1057 พระองคจึงทรงสงแมทัพคนสําคัญ 4 คน และกองกําลังทหารจากพุกามเขาโจมตีเมืองสะเทิม กองกําลังทหารของพระเจาอนิรุทธเขายึดครองเมืองสะเทิมและจับพระเจามกุฏ พรอมดวยพระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง นักปราชญในราชสํานัก ชางฝมือตางๆ และที่สําคัญกองทัพของพระเจาอนิรุทธไดอัญเชิญพระไตรปฎกจํานวน 30 ชุดไวบนหลังชางเผือก 32 เชือกเพื่อนํามาประดิษฐานยังอาณาจักรพุกาม36 การอัญเชิญพระไตรปฎกจากเมืองสะเทิมมาประดิษฐานในอาณาจักรพุกาม ถือเปนการเริ่มตนของการรับพระพุทธศาสนาเถรวาทของอาณาจักรพุกาม เนื่องจากพระไตรปฎกเปนคัมภีรสําคัญในการศึกษาพุทธศาสนา และเปนหลักการปฏิบัติที่สําคัญของชาวพุทธ

34 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 92. 35 เร่ืองเดียวกัน, 93. 36 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 78.

Page 59: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

48

การโจมตีเมืองสะเทิมนอกจากพระไตรปฎกที่พระเจาอนุรุทธอัญเชิญมาแลว พระ สงฆจากเมืองสะเทิมยังเปนกลุมคนที่สําคัญที่จะตั้งมั่นและสรางความรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม ในคราวที่พระเจาอนิรุทสงกองทัพโจมตีเมืองสะเทิมพระองคยังรับสั่งใหพระสงฆทิ้งเมืองสุธรรมมาประดิษฐานพุทธศาสนาในนครอริมัททนะ37 พระสงฆจากเมืองสะเทิมเปนผูที่มีความรูความสามารถในดานพุทธศาสนาเปนอยางดี เมื่อพระสงฆเหลานี้มายังพุกามไดชวยพระชินอรหันตสรางความรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาในพุกามเปนอยางยิ่ง การโจมตีเมืองสะเทิมในป ค.ศ. 1057 พระเจาอนิรุทธไดรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองสะเทิม เปนจุดเริ่มตนความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม

เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรพุกาม พระองคทรงอุปถัมภพุทธศาสนาและพระสงฆเปนอยางดี ภารกิจที่สําคัญดานพุทธศาสนาที่พระเจาอนิรุทธทรงปฏิบัติโปรดใหพระชินอรหันตชําระพุทธศาสนาในพุกามใหบริสุทธิ์ พระชินอรหันตและพระสงฆสามเณรที่มาจากเมืองสะเทิมไดทําพิธีอุปสมบทใหมใหแกพระสงฆในพุกาม และยังรวมไปถึงหมอผี นักพรตที่อยูในปาใหเปนพระสงฆที่ถูกตองตามพระเพณีและหลักพุทธศาสนา38 การชําระพุทธศาสนาในครั้งนี้มีความสําคัญเปนอยางยิ่ง เนื่องจากพระสงฆนักบวชในพุกามซึ่งมีมากมายหลายความเชื่อ โดยเฉพาะพระอาริใหปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทเหมือนกัน พระอาริถูกบังคับใหทําการอุปสมบทใหมโดยพระสงฆจากเมืองสะเทิม สวนพระ อาริที่ไมไดเขาพิธีอุปสมบทใหมโดยพระชินอรหันต พระเจาอนิรุทธทรงลงโทษใหเปนพลดาบ พลหอก และพลเลี้ยงชางในกองทัพ 39 ส่ิงที่พระเจาอนิรุทธปฏิบัติตอพระอาริสรางความไมพอใจแกพระอาริเปนอยางยิ่ง เนื่องจากเดิมพระอาริเคยเปนที่เคารพและยกยองของกษัตริยและประชาชนชาวพุกาม ในศาสวงศไดกลาวถึงพระอาริวา “พวกสมณกุตตกะที่เสื่อมลาภพากันผูกโกรธพระเถระเพราะกลายเปนคนอานาถา เหมือนสุนัขที่เขาเลี้ยงแตถูกปลอยเขาปาไมมีเจาของตางไดรับทุกขทั้งกายทั้งใจ”40 พระเจาอนิรุทธทรงมีชัยชนะเหนือพระอาริ “พระองคทรงทําลาย

37 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 96. 38Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 75. 39 Ibid. 40 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 88.

Page 60: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

49

ลัทธิของพวกสมณกุตตกะเสียแลวเหมือนไดภาชนะทอง แลวทําลายภาชนะดินเสียฉะนั้น และพระองคยังทรงชาวเมืองใหทิ้งลัทธิของพวกสมณกุตตกะ”41 การชําระพุทธศาสนาของพระเจาอนิรุทธเปนการทําลายอํานาจอิทธิพลของพระอาริ และทําใหพระสงฆจากเมืองสะเทิมเขามามีอิทธิพลในพุกาม พระสงฆที่มาจากเมืองสะเทิม และพระสงฆที่อุปสมบทใหมเปนพระสงฆที่สืบวงศมาจากพระโสณะและอุตระเถระเมื่อครั้งที่มาเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยตอมาเรียกพระสงฆคณะนี้วาพระสงฆมรัมมะ

ในรัชสมัยพระเจาอนิรุททรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม พระองคยังสรางความเจริญรุงเรืองใหแกพุทธศาสนาเถรวาทเปนอยางยิ่ง ตลอดรัชสมัยของพระองคทรงแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุจากดินแดนตางๆมาประดิษฐานในพุกาม พระองคทรงเดินทางไปยังอาณาจักรตาหล่ีเพื่อขออัญเชิญพระเขี้ยวแกว กษัตริยแหงตาหล่ีพระราชทานพระเขี้ยวแกวองคจําลองแกพระเจาอนิรุทธแทน นอกจากนี้พระองคยังเดินทางไปยังเมืองเวสาลีของอาระกันทรงตั้งพระทัยที่จะอัญเชิญพระมหามุนีพระพุทธรูปคูบานคูเมืองของอาระกันมายังพุกาม หากเสนทางการเดินทางไมสะดวกจึงไมสามารถอัญเชิญพระมหามุนีมายังพุกามได

ในสมัยพระเจาอนิรุทธพุกามและศรีลังกามีความสัมพันธใกลชิด โดยเฉพาะในดานพุทธศาสนา ในสมัยพระเจาวิชัยพาหุที่ 1 แหงลังกาไดขับไลโจฬะออกจากเกาะลังกา พระองคบูรณะบานเมืองที่ทรุดโทรมจากการปกครองของโจฬะ รวมถึงพุทธศาสนาที่ไดเสื่อมลงเปนอยางยิ่ง ถึงกับขาดแคลนพระภิกษุที่จะทําพิธีกรรมในพุทธศาสนาโดยเฉพาะการอุปสมบท พระเจาวิชัยพาหุที่ 1 ทรงขอความชวยเหลือจากพระเจาอนิรุทธในการฟนฟูพุทธศาสนาในลังกา

“ทาวเธอจึงแตงทูตไปเฝาพระเจากรุงรามัญวิสัย พรอมทั้งเครื ่องบรรณาการ ไปสูสํานักพระเจาอนิรุทธผูเปนอทิฎฐสหายพระองคไดดํารงรามัญวิสัย เมื ่อคณะทูตทั้งหลายเขาเผาพระเจารามัญแลว ไดอัญเชิญพระไตรปฎกทั้งหลายพรอมอาราธนาภิกษุทั้งหลายที่ทรงคุณเปนศีลาทิคุณเปนตน”42

จากความชวยเหลือของพระเจาอนิรุทธไดทําใหการฟนฟูพุทธศาสนาในเกาะลังกาใหกลับมารุงเรืองอีกครั้ง เหตุการณนี้ไมไดกลาวในหลักฐานของพุกาม หากหลักฐานพุกามไดกลาวถึงความสัมพันธระหวางพุกามและลังกาวา เมื่อคร้ังที่พระเจา อนิรุทธทรงสรางเจดียชเวซิกองดานที่

41 เร่ืองเดียวกัน, 85. 42พระมหานาม แพ ตาละลักษณ, ผูแปล, มหาวงศ, 661.

Page 61: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

50

สามเสร็จ พระองคมีความประสงคจะใชเปนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และจากการที่พระองคไมประสบความสําเร็จในการอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากตาหลี่ พระองคไดแสวงหาพระธาตุจากดินแดนอื่น และในเกาะลังกามีพระเขี้ยวแกวที่เปนที่นับถือบูชาองคหนึ่งพระเจาอนิรุทธทรงไปอัญเชิญมาจากลังกา ตํานานที่กลาวถึงการอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากลังกาที่สําคัญ พระอินทรไดเขาฝนพระเจาอนิรุทธวาที่เกาะลังกามีพระเขี้ยวแกวที่เปนที่นับถือบูชาเปนอยางยิ่ง พระอินทรใหพระเจา อนิรุทธไปอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากเกาะลังกา พระเจาอนิรุทธทรงปรึกษากับแมทัพทั ้งสี ่ม ีความเห็นวาควรไปอัญเชิญพระเขี ้ยวแกวจากเกาะลังกา โดยเฉพาะจันสิตถะสนับสนุนใหพระเจาอนุรุทธสงทหารไปโจมตีไมใชเพียงเกาะลังกาเทานั้น หากยังใหสงทหารไปโจมตีชมพูทวีป (ซึ่งหมายถึงอินเดีย) ใหอยูภายใตการปกครองของพระเจาอนิรุทธ43 หากพระอินทรไดเขาฝนพระเจาอนิรุทใหใชัวิธีสันติในการอัญเชิญพระเขี้ยวแกว พระอนิรุทธไดปรึกษาพระชินอรหันต พระชินอรหันตไดใหพระเจาอนิรุทธสงชางเผือกเปนของกํานัลในการอัญเชิญพระเขี้ยวแกว44 คณะทูตของพระเจาอนิรุทธเดินทางถึงลังกาเพื่อขออัญเชิญพระเขี้ยวแกว ไดเกิดปาฏิหาริยกับพระเขี้ยวแกว พระเขี้ยวแกวไดแสดงนิมิตเกิดมีลําแสงออกมา พระเขี้ยวแกวลอยข้ึนไปบนทองฟาและเกิดมีพระเขี้ยวแกวอีกองค พระเขี้ยวแกวองคหนึ่งลอยลงมาอยูในผอบที่กษัตริยลังกาทูลไวเหนือพระเศียร และทรงมอบพระเขี้ยวแกวใหแกคณะทูตอัญเชิญพระเขี้ยวแกวลงเรือกลับมายังพุกาม45 เมื่อพระเขี้ยวแกวจากลังกามาถึงพุกามพระเจาอนิรุททรงอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากลังกาไปประดิษฐานที่เจดียชเวซิกอง มีงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ และในศาสนาวงศกลาวพระเจาอนิรุทธสงทหาร 4 คนไปยังลังกาเพื่ออัญเชิญพระไตรปฎกจากลังกา เมื่อนําพระไตรปฎกจากลังกากลับมายังพุกาม พระอรหันตเถระเอาพระไตรปฎกที่ไดจากเมือง สุธรรมเทียบกับพระไตรปฎกที่นํามาแตเกาะสีหฬสอบทานพิสูจนดูแลว เห็นวาไตปฎกทั้งสองฉบับไมยิ่ง หยอนไปกวากัน46

ความสัมพันธดานพุทธศาสนาระหวางพุกามและลังกาในสมัยพระเจาอนิรุทธมีกลาว

43 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 88. 44 Ibid., 89. 45 Ibid. 46 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 97.

Page 62: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

51

ภาพที่ 8 เจดียชเวซิกอง

ที่มา : Richard M.Cooler, The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 63: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

52

ทั้งในหลักฐานของลังกาและพมา หากเปนเรื่องราวที่ไมตรงกันนักประวัติศาสตรบางคนกลาววาพระสงฆที่พระเจาวิชัยพาหุที่ 1 อาราธนาจากพุกามเปนพระสงฆชาวลังกาที่หลบหนีการปกครองของโจฬะมายังเมืองมอญ และถูกกองทัพพระเจาอนิรุทธกวาดตอนไปยังพุกามเมื่อครั้งที่โจมตีเมืองสะเทิมค.ศ. 105747 หรือการอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากลังกาของพระเจาอนิรุทธ เนื่องจากพระเจา อนิรุทธทรงขอพระราชทานพระเขี้ยวแกวเปนสิ่งตอบแทนจากที่ทรงใหความชวยเหลือพระเจาวิชัยพาหุที่ 1 ในการขับไลโจฬะ พระเขี้ยวแกวที่พระเจาอนิรุทธไดรับจากเกาะลังกานั้นนักวิชาการเชื่อวานาจะเปนองคจําลอง และจากเรื่องราวการไปอัญเชิญพระเขี้ยวแกวแสดงวาเกิดมีพระเขี้ยวแกวมีสององค ซ่ึงนาจะหมายถึงองคจําลองที่พระเจาวิชัยพหุที่ 1 พระ ราชทานใหกับพระเจาอนิรุทธ ความสัมพันธดานศาสนาระหวางพุกามและลังกาในสมัยพระเจาอนิรุทธมีความสับสนเปนอยางยิ่งอยางไรก็ตามเปนเริ่มตนอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาที่จะเขามามีบทบาทในพุกามภายหนา

การที่พระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนความเชื่อหลักพุกามนอก จากศรัทธาที่พระองคมีตอพุทธศาสนาเถรวาทแลว พุทธศาสนาเถรวาทยังมีแนวความคิดที่เปนประโยชนตอการปกครองพุกามของพระเจาอนิรุทธ พุทธศาสนาเถรวาทไดเขามาผสานความเชื่อตางๆที่มีในพุกามใหเปนความเชื่อเดียวกัน โดยมีพุทธศาสนาเถรวาทเปนแกนหลักทําใหชาวพุกามมีความเชื่อที่เหมือนกันเปนการลดความแตกตางทางความคิดดานศาสนา ซ่ึงเปนการงายตอการที่พระเจาอนิรุทธจะปกครองพุกาม นอกจากนี้พระเจาอนิรุทธทรงนําความคิดในพุทธศาสนาเถรวาทเรื่องจักรวาทิน และธรรมราชามาใชในการขยายดินแดนและปกครองอีกดวย

พระราชกรณียกิจของกษัตริยพระองคตอมาในดานศาสนา ในรัชสมัยของพระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาใหตั้งมั่นและเจริญรุงเรือง

ในพุกาม สิ่งที่สําคัญเปนอยางยิ่งที่ทําใหพุกามเปนศูนยกลางความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาเถรวาทคือ การที่กษัตริยพุกามพระองคตอมาใหการอุปถัมถพุทธศาสนาดั่งที่พระเจาอนิรุทธทรงปฏิบัติมา พระเจาสอลูกษัตริยผูปกครองพุกามตอจากพระเจาอนิรุทธ พระองคทรงปกครองพุกามเปนระยะเวลาที่สั้นๆ จึงไมมีภารกิจในดานพุทธศาสนามากนัก กษัตริยผูปกครองเมือง

47 W.M. Sirisena, Sri Lanka and South-East Asia Political,Religious,and Cultural

Relations from A.D.C.1000 to C.1500 (E.J.Brill :Leiden, 1978), 62.

Page 64: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

53

พุกามองคตอมา คือพระเจาจันสิตถะภารกิจในดานพุทธศาสนาของพระองคยังดําเนินตามพระเจาอนิรุทธ เนื่องจากพระชินอรหันตยังดํารงตําแหนงพระสังฆราชในพุกามตลอดรัชสมัยของพระองค พระชินอรหันตไดแนะนําใหพระเจาจันสิตถะสรางเจดียชเวซิกองที่ยังไมเสร็จในสมัยของพระเจาอนิรุทธใหเสร็จสมบูรณในสมัยของพระองค พระเจาจันสิตถะทรงสรางเจดียชเวซิกองเสร็จสิ้นภายใน 7 เดือน กับอีก 7 วัน48 ศาสนาสถานที่สําคัญในสมัยพระเจาจันสิตถะคือเจดียวิหารอนันทะ ซ่ึงเปนเจดียวิหารที่มีคามสวยงามองคหนึ่งของพุกาม ดานการศึกษาพุทธศาสนาในสมัยพระเจาจันสิตถะ พระสงฆช่ือธรรมเสนาปติจําวัดที่วัดอนันทะไดแตงคัมภีรการิกา (Karika) เปนตําราไวยกรณบาลี49 และเปนงานศึกษาพุทธศาสนาเลมแรกของพุกาม

ภารกิจในดานการศาสนาที่สําคัญของพระเจาจันสิตถะคือ การสงคณะทูตเดินทางไปที่พุทธคยา เพื่อไปซอมแซมวัดศรีพัชรัสสถานที่พระพุทธเจาทรงตรัสรูใตตนมหาโพธิ์ สถานที่นี้พวกมุสลิมที่เขามาปกครองไดทําลายเสียหาย พระองคยังทรงถวายปจจัยตางๆ เพื่อเปนเครื่องไทยทานแกวัด และพระสงฆในการประกอบภารกิจทางศาสนา การสงคณะทูตเดินทางไปยังพุทธคยาของพระเจาจันสิตถะเปนการสงเสริมชื่อเสียงดานพุทธศาสนาของพุกาม ใหเปนรูจักของดินแดนตางๆ ดินแดนตางๆไดรับรูความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนาในพุกามเปนอยางดี

สมัยพระเจาอลองคสิทถุทรงใหการอุปถัมภพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรือง ในตนรัชสมัยของพระองค พระชินอรหันตพระสังฆราชแหงพุกามไดชราภาพเปนอยางมาก ในบั้นปลายชีวิตของพระชินอรหันตไดพํานักภาวนาศีลที่ปาใกลๆ เมืองพุกาม เมื่อพระเจาอลองคสิทถุเสด็จกลับจากตะนาวศรี พระชินอรหันตไดมรณภาพ ในปค.ศ. 1115 สิริอายุรวม 81 ป 50 พระชินอรหันตไดสรางคุณประโยชนในดานการศาสนาใหแกพุกาม พระชินอรหันตไดดํารงตําแหนงพระสังฆราชของกษัตริยพุกามถึงสี่พระองค และยังเปนผูที่ค้ําจุลสนับสนุนราชบังลังกของกษัตริยที่ส่ีพระองค นามของพระชินอรหันตเปนที่รูจักในดินแดนพมาและดินแดนใกลเคียงเปน

48 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 109. 49 Mabel Bold, The Pali Literature of Burma, 2nd ed., rev, (Great Britain, Lowe and

Brydone Ltd., 1966), 16. 50 G.E. Harvey, History of Burma: from the Earliest Times to 10 March 1824 the

Beginning of the English Conquest. 2nd ed., rev, (London: Frank Cass and Co.Ltd.), 44.

Page 65: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

54

ภาพที ่ 9-10 รูปป นพระชินอรหันตและพระเจาจันสิตถะพนมมือไหวพระพุทธรูปในวิหารตะวันตกของเจดียอนันท

ที่มา : Richard M.Cooler, The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/

Page 66: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

55

อยางดี

พระสงฆผูดํารงตําแหนงสังฆราชตอจากพระชินอรหันตคือพระปนถคุ (Panthagu) ซ่ึงเปนบุตรของเจาเมืองเสนเรต (Lord of Seinyet) พระเจาอลองคสิทถุยังทรงแตงตั้งพระผูชวยอีกสองรูปคือ พระอนันทะ (Ananda) และพระโพธิ (Bodhi) พระทั้งสองรูปนี้มีความรูความสามารถที่จะชวยพระปนถคุปกครองคณะสงฆในพุกาม51 พระปนถคุดํารงตําแหนงสังฆราชตลอดรัชสมัยของพระเจาอลองคสิทธู ในสมัยของพระเจาอลองคสิทถุพุทธศาสนาไดเจริญรุงเรืองเปนอยางยิ่งพระสงฆชาวพุกามชื่อพระอัคควังสะแตงคัมภีรสัททนีติ (Saddaniti)ในป ค.ศ. 1155 ในเวลาตอมาพระเถระอัคควังสะไดเปนพระอาจารยของพระเจานรปติสิทธู52 พระเจาอลองคสิทถุสรางศาสนาสถานที่สําคัญคือ เจดียสัพพัญู (Thatpyinnyu) และเจดียชเวกู (Shwegu) เปนสิ่งกอสรางที่มีขนาดใหญและงดงามของพุกาม

เมื่อพระเจาอลองคสิทถุส้ินพระชนม เกิดความขัดแยงในการขึ้นครองราชยสมบัติเมื่อโอรสพระเจาอลองสิทถุ พระเจานรถุทรงชิงพระราชบัลลังกจากพระเชษฐาคือพระเจามินชินสอ ซ่ึงเปนผูที่สืบราชสมบัติตอจากพระบิดา พระปนถคุไดเขาไปมีสวนในเหตุการณนี้ซ่ึงสงผลตอตําแหนงพระสังฆราชของพระปนถคุ พระปนถคุไดเขาไปมีสวนรวมโดยเจตนาดี หากพระปนถคุถูกพระเจานรถุออกอุบายใหไปทูลกลาวตอพระเจามินชินสอที่ตั้งทัพอยูนอกเมืองพุกาม วาพระองคจะมอบพระราชบัลลังกใหแกพระเจามินชินสอ แตพระเจามินชินสอตองเสด็จมาเพียงองคเดียว และใหคํามั่นสัญญากับพระปนถคุวาจะถวายพระราชบัลลังกแดพระเจามินชินสอ พระปนถคุจึงไปทูลกลาวแกพระเจามินชินสอ พระเจามินชินสอเชื่อในสิ่งที่พระปนถคุทูลกลาว พระองคไดเดินทางไปเพียงลําพัง พระเจานรถุไดถวายพระราชบัลลังกแกพระเชษฐา แตพระองคไดวางยาพิษในอาหารปลงพระชนมพระเชษฐาตัวเอง เมื่อพระปนถคุรูเรื่องราวไมพอใจพระเจานรถุเปนอยางยิ่ง ทานสาปแชงพระเจานรถุและเดินทางจากพุกาม และเดินทางไปพํานักอยูยังเกาะลังกาตลอดรัชสมัยที่พระเจานรถุปกครองพุกาม ในสมัยพระเจานรถุทรงปกครองบานเมืองดวยความโหดเหี้ยมและไมไดทํานุบํารุงในดานพุทธศาสนามากนัก หากในสมัยพระองคไดสรางเจดียที่มีขนาดใหญโตที่สุดของพุกามคือเจดียธรรมซายาน (Dhammayan)

51 Niharranjan Ray, An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma:a

Study in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest , 107.

52 Mabel Bold, The Pali Literature in Burma, 16.

Page 67: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

56

สมัยพระเจานรปติสิทถุเปนยุคทองของพุทธศาสนาในพุกามอีกชวงหนึ่ง พระองคทรงใหการอุปถัมภพุทธศาสนาเปนอยางดียิ่ง ในสมัยของพระองคพระปนถคุเดินทางกลับพุกามในชวงเวลาที่พระเจานรปติสิทถุทรงครองราชยสมบัติในปแรกๆ ค.ศ. 1173 พระเจานรปติ- สิทถุทรงแตงตั้งใหพระปนถคุดํารงตําแหนงพระสังฆราชตามเดิม ในขณะนั้นพระปนถคุมีอายุมากและมรณภาพในไมกีปตอมา53 แมวาพระปนถคุจะดํารงตําแหนงสังฆราชในสมัยพระเจานรปติสิทถุเพียงไมกี่ป หากมีความสําคัญเปนจุดเริ่มตนของการรับรูเร่ืองราวพุทธศาสนาในเกาะลังกา เนื่องจากการที่พระปนถคุไดพํานักในศรีลังกาเปนเวลาหลายป พระปนถคุไดรับรูเร่ืองราวตางๆของพุทธศาสนาในเกาะลังกาเปนอยางดี เมื่อทานเดินทางกลับมายังพุกามไดเลาเรื่องตางๆที่พบเห็นในเกาะลังแกใหแกพระสงฆในพุกาม มีพระสงฆจากพุกามเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในเกาะลังกา พระอุตตระชีวาพระสังฆราชองคตอจากพระปนถคุเดินทางไปเกาะลังกาพรอมดวยคณะสงฆจํานวนหนึ่ง การเดินทางไปลังกาครั้งนี้ไดเปลี่ยนแปลงพุทธศาสนาในพุกามเปนอยางยิ่งเมื่อพระสงฆที่กลับจากลังกาไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาจากลังกามาเผยแผในพุกาม โดย เฉพาะในการศึกษาดานพุทธศาสนาพระสงฆที่กลับมาจากลังกาไดแตงคัมภีรตําราในพุทธศาสนาเปนจํานวนมาก ตําราสําคัญที่แตงในสมัยพระเจานรปติสิทถุจํานวนมากมาย รัชสมัยของพระองคจึงเปนยุคทองการศึกษาพุทธศาสนาในพุกาม พระสงฆพุกามที่มีบทบาทในการศึกษาพุทธศาสนาคือพระฉปฏ พระฉปฏไดเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในเกาะลังกา เมื่อเดินทางกลับมาพุกามไดแตงคัมภีรทางศาสนาที่สําคัญ ไดแก สุตตนิเทส, สังเขปวัณณา, วินยคูฬหัตดิทีปนี, สีมาลังการะเปนตน และยังมีพระสงฆพุกามแตงคัมภีรอื่นอีกเชน พระมหาวิมลพุทธเถระแตงคัมภีร นยาส พระสัทธรรมสิริแตงคัมภีรสัททัตถเภทจินดา ตลอดรัชสมัยของพระองคทรงสรางวัดและเจดียในเมืองตางๆของพุกามเจดียที่สําคัญในสมัยของพระองคคือเจดียวิหารสุลมณี (Sulamuni) เจดียโคโถปะลิน (Kawdawpallin) และเจดียธรรมยานซิกะ (Dhammayazika)

สมัยพระเจานตวนมยาทรงปกครองพุกามตอจากพระราชบิดา สมัยของพระองคเปนชวงสืบทอดความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนาตอจากพระเจานรปติสิทถุ และพระเจานตวนมยาไมไดมีความสามารถเทาพระราชบิดาในดานพุทธศาสนาไมไดสรางความเจริญรุงเรืองใดๆมากนักสิ่งกอสรางที่สําคัญในสมัยพระองค คือเจดียมหาโพธิ (Maha Boddi) และเจดียถิโลมินโล (Hilomilo)

53 G.E. Harvey, History of Burma: from the Earliest Times to 10 March 1824 the

Beginning of the English Conquest, 55.

Page 68: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

57

สมัยพระเจากยอฉวา พระองคไดรับพระนามวา ธรรมราชา และยังเปนปราชญในดานศาสนา พระองคทรงอานพระไตรปฎกจบมากกวา 9 จบ ยังทรงมีความเชี่ยวชาญดานบาลี สามารถที่จะอธิบายอรรถาขอสงสัยในพุทธศาสนาได ทรงชอบสนทนาโตตอบปญหาธรรมกระทั่งไมมีพระสงฆในพุกามมีความสามารถเทาพระองค และยังทรงเปนพระอาจารยส่ังสอนพระสงฆวันละ 7 เวลา54 ความรอบรูในดานพุทธศาสนาของพระองคที่สําคัญ พระองคไดแตงคัมภีรอรรถาธิบาย 2 เลมคือสัททพินทุและปรมัตพิทุ และพระธิดาของพระองคไดแตงคัมภีร วิภัตยัตถ ในสมัยพระเจากยอฉวาเปนชวงที่การศึกษาในพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองเปนยิ่งของพุกามชวงหนึ่ง พระเจากยอฉวาไดสรางเจดีย Pyatthad ที่เมืองสากุ (Sagu) หากไมเสร็จในสมัยพระองค ในสมัยพระเจากยอฉวาไดมีคณะสงฆจากพุกามเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในลังกา คือพระธรรมสิริและพระ สุภุทิจันทะ กษัตริยพระองคตอจากพระเจากโยซาวาไมไดสนใจในดานพุทธศาสนา และจากสภาพบานเมืองที่ไมสงบเรียบรอย

อิทธิพลพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศในพุกาม

ในชวงตนอาณาจักรพุกามไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาจากเมืองมอญ ในรัชสมัยของพระเจานรปติสิทถุพุทธศาสนาจากลังกาเขามามีอิทธิพลในพุกาม ความสัมพันธดานศาสนาระหวางลังกาและพุกามเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระเจาอนิรุทธ จนกระทั่งสมัยพระเจานรปติสิทถุความสัมพันธดานพุทธศาสนาระหวางสองดินแดนเพิ่มมากขึ้น และทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงพุทธศาสนาในพุกามที่สําคัญ

จุดเปลี่ยนทางพุทธศาสนาของพุกามเริ่มในสมัยที่พระอุตตรชีวะ (Uttrajiva) ดํารงตําแหนงพระสังฆราชตอจากพระปนถคุ พระอุตตรชีวะเปนชาวเมืองมอญเชนเดียวกับพระชินอรหันต จึงสืบวงศศาสนามาจากพระโสณะและพระอุตระเชนเดียวกับพระชินอรหันต ภารกิจที่สําคัญของพระอุตตรชีวะที่นํามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงพุทธศาสนาในพุกาม พระอุตตรชีวะไดเดินทางไปนมัสการพระมหาเจดียที่เกาะลังกาในป ค.ศ. 1180 “เหตุการณในลังกา 107 ปลุรสยมปาณศักราช 526 (1174) พระเจาสังฆโพธิปรัมพาหุไดทรงชําระพุทธศาสนาในลังกาทวีปให

54 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma, 155.

Page 69: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

58

บริสุทธิ์คร้ังหนึ่ง”55 เมื่อการชําระพุทธศาสนาในลังกาทราบถึงพระสงฆพุกาม และจากคําบอกเลาของพระปนถคุเกี่ยวกับพุทธศาสนาในลังกา ทําใหพระสงฆพุกามตองการเดินทางไปยังลังกา เพื่อไปพบเห็นความรุงเรืองของพุทธศาสนาในลังกา “ปที่ 6 (1180) แตปที่พระเจาสังฆโพธิประกรมพาหุ ไดทรงทํานุบํารุงพุทธศาสนาแลวนั้น จึงมีมหาเถระองคหนึ่งชื่ออุตตรชีวะ เปนอาจารยของพระเจาปุกาม (พุกาม) จึงดําริวาเราจะขึ้นนาวาไปพรอมดวยภิกษุเปนอันมากเพื่อจะไปนมัสการพระเจดียในลังกาทวีป”56 คณะของพระอุตตรชีวะเดินทางออกจากพุกามไปลงเรือที่เมืองพะสิม เมืองทาของมอญเพื่อเดินทางไปลังกา

พระฉปฏเผยแผพุทธศาสนาลังกาวงศในพุกาม ส่ิงที่สําคัญนอกจากที่พระอุตตรชีวะจะเดินทางไปนมัสการพระมหาเจดียที่ลังกาแลว

การไปลังกาครั้งนี้พระอุตตรชีวะไดสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรูทางพุทธศาสนากับพระสงฆชาวลังกา ในกาลนั้นพระมหาเถระชาวลังกาทวีปทั้งหลาย ก็ชักชวนกันมาสนทนาซักถามในขอธรรมิกถา57 พระอุตตรชีวะไดความรูในดานหลักธรรมจาพระสงฆลังกาวงศเปนอยางมาก เมื่อเดินทางกลับพุกามทานไดนําความรูที่ไดจากการไปลังกามาเผยแผในพุกาม พระอุตตรชีวะไดรับการยกยองวาเปนคณะสงฆลังกาวงศคณะแรกในพุกาม การเดินทางไปลังกาของพระอุตตรชีวะยังมีความสําคัญ เนื่องจากมีการทําสังฆกรรมรวมกันของพระสงฆสองฝาย เมื่อพระมหาเถระชาวลังกาทั้งหลาย จึงกลาว “ขาพเจาทั้งหลายเปนสายพระมหินทเถระ ซ่ึงเปนผูประดิษฐานพุทธสาสนาไวในลังกาทวีป ฝายทานทั้งหลายเลานั้นก็เปนเชื้อสายพระมหาเถระทั้งสอง ผูมีนามวาพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ซ่ึงเปนผูประดิษฐานพุทธสาสนาในแวนแควนสุวรรณภูมิ เหตุดังนี้เราทั้งหลายทั้งปวง เปนผูมีสมานสังวาสเสมอกัน”58 ทั้งนี้เนื่องจากพระมหินทเถระรวมถึงพระโสณะและพระอุตรเปนสมณทูตที่พระโมคคัลีบุตรดิสเถระสงไปเผยแผพุทธศาสนาในดินแดนตางๆ พุทธศาสนาที่ลังกาและพุกามจึงมีกําเนิดจากที่เดียวกัน การทําสังฆกรรมรวมกันของพระสงฆทั้งสองฝาย คือการรวมกันอุปสมบทใหสามเณรชาวพุกามที่ช่ือวา ฉปฏ

55 เรือง อติเปรมานนท, ผูแปล, จารึกกัลยาณี, 76. 56 เร่ืองเดียวกัน. 57 เร่ืองเดียวกัน, 78. 58 เร่ืองเดียวกัน.

Page 70: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

59

ในคณะของพระอุตตรชีวะที่เดินทางไปนมัสการพระมหาเจดียที่ลังกามีสามเณรรูปหนึ่งชื่อ ฉปฏ (Chapata) รวมเดินทางไปดวย สามเณรรูปนี้เปนศิษยของพระอุตตรชีวเถระ และที่ชนทั้งหลายเรียกสามเณรวา ฉปฏ นั้น เพราะวาสามเณรเปนบุตรชาวบานฉปฏครามในแวนแควนกุสิมราษฐ(พะสิม)59 เมื่อเดินทางไปถึงลังกาสามเณรฉปฏมีอายุครบ 20 ปเต็มครบที่จะทําการอุปสมบทเปนภิกษุ พระอุตตรชีวะซ่ึงเปนอาจารยและภิกษุชาวลังกาจึงไดรวมกันทําการอุปสมบทใหสามเณรฉปฏ การอุปสมบทของพระฉปฏในครั้งนี้มีความสําคัญตอพุทธศาสนาในพุกาม เนื่องจากพระฉปฏเปนพระสงฆรูปแรกของพุกามที่ทําการอุปสมบทในเกาะลังกา โดยที่มีภิกษุชาวลังกาเปนผูทําการอุปสมบท ดังนั้นพระฉปฏจึงไมไดสืบวงศศาสนาตามที่พระสงฆพุกามสืบตอกันมาจากเมืองสะเทิม พระฉปฏเปนพระสงฆพุกามรูปแรกที่สืบวงศมาจากลังกาหรือเรียกวาพระสงฆลังกาวงศ

เมื่อคร้ังที่พระอุตตรชีวะเดินทางกลับพุกาม พระฉปฏไมไดเดินทางกลับพรอมพระอุตตรชีวะ เนื่องดวยปรารถนาที่จะศึกษาพระธรรมตอที่เกาะลังกา เพราะเกรงวาเมื่อกลับพุกามจะศึกษาเลาเรียนไดไมเต็มที่ พระฉปฏจึงอําลาพระอุตตรชีวะขออยูเลาเรียนตอในเกาะลังกา พระฉปฏอยูศึกษาเลาเรียนพระบาลีและอรรถกถา เรียนจบพระไตรปฎกกับถึงอรรถกถา เมื่อมีพรรษาได 10 พรรษา คร้ังไดนามสมมุติวาเปนเถระ60แลวมีความปราถนาเพื่อจะกลับมาเมืองพุกาม61 พระฉปฏเปนผูที่มีความรูในดานบาลีและพระธรรมเปนอยางดี และไดเปนกําลังสําคัญในการประดิษฐานคณะสงฆลังกาวงศในพุกามที่สําคัญ เมื่อคร้ังที่พระฉปฏเดินทางกลับพุกาม คิดวาตนเองเปนผูที่ไดรับการอุปสมบทจากพระสงฆชาวลังกา เปนผูที่สืบวงศลังกาวงศแตกตางจากพระสงฆชาวพุกามทั้งหลายที่สืบวงศมาจากเมืองสะเทิม พระฉปฏไมตองการทําสังฆกรรมรวมกับพระสงฆชาวพุกามที่สืบวงศแตกตางกัน “จึงดําริวาหากเราจะกลับมาแตผูเดียวไซร ถาและในเมืองปุกามไมมีพระอุตตรชีวเถระผูเปนอาจารยแลว เราไมปรารถนาจะทําสังฆกรรมพรอมดวยภิกษุชาวปุกาม”62 พระฉปฏจึงไดชักชวนพระสงฆ 4 รูป ที่ศึกษาเลาเรียนรวมกันที่เกาะ

59 เร่ืองเดียวกัน, 77. 60 พระสงฆที่จะมีนามวาเถระตองศึกษาพระธรรมไมต่ํากวา 10 ปขึ้นไปจึงจะไดรับนาม

วาเถระ 61 เร่ืองเดียวกัน, 79. 62 เร่ืองเดียวกัน.

Page 71: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

60

ลังกากลับมายังพุกามดวยกัน คือ พระสิวลีเถระเปนบุตรชาว ตามสิตคาม 1 พระตามลินทเถระ เปนโอรสของพระเจากัมโพช 1 พระอานันทเถระ เปนบุตรชาวเมืองกิญจิบุรี 1 พระราหุลเถระ เปนบุตรชาวลังกาทวีป 163 รวมพระฉปฏมีภิกษุลังกาวงศครบ 5 รูปที่จะทําสังฆกรรมได พระสงฆทั้ง 5 รูปเดินทางจากเกาะลังกามาถึงเมืองทาพระสิมเปนเวลาเขาพรรษาพระสงฆทั้ง 5 รูปหยุดจําพรรษาที่เมืองพะสิม 1 พรรษากอนจะเดินทางไปยังพุกาม เมื่อคณะของพระฉปฏเดินทางไปถึงพุกาม พระอุตตรชีวะเถระสังฆราชแหงพุกามมรณภาพแลว ก็ในกาลนี้ความเปนอิศระนั้นตกไปอยูแกหมูภิกษุชาวมรัมมะประเทศเสียแลว เหตุดังนี้เราทั้งหลาย (พระฉปฏและพระสงฆ 4 รูปที่เดินทางมาจากลังกา) จึงไมปรารถนาเพื่อจะกระทําสังฆกรรมรวมดวยภิกษุชาวมรัมมะประเทศเหลานี้64 คณะสงฆของพระฉปฏไดทําสังฆกรรมแยกกับพระสงฆที่พุกาม

พุทธศาสนาในพุกามตั้งแตสมัยพระเจาอนิรุทธจนถึงสมัยพระเจานรปติสิทธูตกอยูภายใตการปกครองของพระสงฆพมามาโดยตลอด เหตุการณที่เปนจุดเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ เมื่อพระเจานรปติสิทถุทรงใหการอุปถัมภพระสงฆลังกาวงศ พระองคทรงเลื่อมใสในพระมหาเถระทั้ง 5 รูปยิ่งนัก จึงมีรับสั่งใหชางทําเรือขนานแลวมอบถวายพระมหาเถระทั้ง 5 รูปสําหรับจะได อุสมบทแกกุลบุตรผูเพงตออุปสมบทเปนอันมาก ในมหานทีช่ือวาเอราวดี พระมหาเถระทั้ง 5 รูปจึงเปนผูเจริญขึ้นเปนพหูคณะ คือมีคณะมากขึ้นทุกที่65 การทําการอุปสมบทกลางแมน้ําอิระวดีของพระสงฆลังกาวงศในพุกาม เปนการทําตามประเพณีที่มีมาในเกาะลังกา ในสมัยพระเจา ปรมพาหุที่ 1 เมื่อคร้ังทรงชําระพุทธศาสนาในเกาะลังกาใหบริสุทธิ์ พระองคไดสรางปรัมพิธีบนเรือที่ลอยอยูกลางแมน้ํามหาวาลี (Mahavali) เพื่อใชเปนที่ในการทําการอุปสมบทพระสงฆ66 พระเจานรปติสิทถุไดอุปถัมภพระสงฆลังกาวงศ และทรงปฏิบัติตามประเพณีที่กระทํามาในเกาะลังกา เพื่อเปนการแสดงถึงการยอมรับพุทธศาสนาลังกาวงศในพุกาม ในครั้งนั้นพุทธศาสนาในพุกามไดแยกออกเปนสองคณะ

“ภิกษุที่เปนเชื้อสายสืบสาสนามาแตสุธรรมนคร มนุษยชาวมรัมมะประเทศ

63 เร่ืองเดียวกัน, 80. 64 เร่ืองเดียวกัน, 81. 65 เร่ืองเดียวกัน, 82. 66 W.M.Siriseana, Sri Lanka and South-East Asia Political, Religious, and Cultural

Relations from A.D.C.1000 to c.1500, 70.

Page 72: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

61

ที่อยูในเมืองปุกาม เรียกวาปุริมภิกษุสงฆ เพราะเหตุวาเปนหมูภิกษุมากอน สวนภิกษุสงฆนอกจากนั้นเรียกวาสีหฬภิกษุสงฆ เพราะเหตุวาเปนหมูภิกษุสงฆที่สืบประเวณีสาสนามาแตเกาะสีหฬ และเรียกภิกษุนิกายอีกพวกหนึ่งวาปจฉิมภิกษุสงฆ เพราะเหตุวาเปนผูมาในกาลสุดทายภายหลัง”67

ในชวงตนที่คณะสงฆลังกาวงศประดิษฐานในพุกาม ตกอยูในสภาพเปนคนกลุมนอย และไมมีอํานาจที่จะสูกับพระสงฆชาวพมาได

การแตกแยกของพระสงฆลังกาวงศในพุกาม พระสงฆ 5 รูปที่มาจากเกาะลังกาไดชวยกันตั้งมั่นคณะสงฆลังกาวงศในพุกามอยาง

แข็งขัน หากพระสงฆที่มาจากลังกาไดเกิดการแตกแยก เหตุการณแรกเกิดเมื่อพระราหุลหนึ่งในพระเถระที่มาจากลังกาไดทําผิดวินัยสงฆอยางรายแรง เมื่อพระเจานรปติสิทถุมีความเลื่อมใสพระเถระที่มาจากลังกา รวมถึงคณะสงฆลังกาวงศในพุกาม พระองคทรงนิมนตพระสงฆมารวมพิธีถวายมหาทาน มีการจัดงานรื่นเริงสนุกสนานมีนางรําออกมารายรํา พระราหุลเมื่อไดพบเห็นนางรําผูหนึ่งมีจิตใจสมัครรักใครในนางรําผูนั้น ปราถนาซึ่งเพศเปนคฤหัสถจึงปรารภเพื่อจะสึก68 พระเถระทั้ง 4 รูปนําโดยพระฉปฏไดชวยกันหามปราม แนะนําใหพระราหุลตั้งมั่นอยูในพระธรรมวินัย หากไมสามารถโนมนาวจิตใจของพระราหุลได พระเถระทั้ง 4 รูปเกรงวาพฤติกรรมของพระราหุลจะนํามาซึ่งความเสื่อมแกพระสงฆลังกาวงศ จึงแนะนําพระราหุล “ทานจงไปยังรามัญประเทศแลวจึงขึ้นนาวาไปยังเกาะมลัยแลวพึงสึกอยูในเกาะมลัยนั้นเถิด”69 เกาะมลัยที่กลาวถึงคือมาลายู พระราหุลไดเดินทางไปยังมาลายู กษัตริยแหงมาลายูไดใหการตอนรับพระราหุลและยังใหพระราหุลส่ังสอนพระธรรมแกพระองค ทรงพอพระทัยในพระราหุล พระองคจึงบูชาดวยแกวมณีพรรณตางๆกัน พอเต็มบาตรหนึ่งเปนเครื่องคุรุบูชาสักการนั้นแลวก็สึกเปนคฤหัสถ สําเร็จกิจครองเรือนอยูในเกาะมลัยนั้น70 พระราหุลเปนพระสงฆที่มาจากลังการูปแรกที่แยกตัวสึกเปนคฤหัสถอยูในมาลายู

67 เรือง อติเปรมานนท, ผูแปล, จารึกกัลยาณี, 87. 68 เร่ืองเดียวกัน, 81. 69 เร่ืองเดียวกัน, 83. 70 เร่ืองเดียวกัน.

Page 73: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

62

พระสงฆที่มาจากลังกาจึงเหลือ 4 รูป โดยที่พระฉปฏผูเปนหัวหนาคณะสงฆที่มาจากเกาะลังกามรณภาพเปนรูปแรก พระสงฆที่มาจาเกาะลังกาจึงเหลือ 3 รูป พระสงฆทั้ง 3 รูปไดชวยกันตั้งมั่นคณะสงฆลังกาวงศในพุกามอยางเต็มที่ ในเวลาตอมาไดเกิดความแตกแยกของพระสงฆทั้ง 3 รูป เมื่อพระเจานรปติสิทถุถวายชางใหแกพระเถระทั้ง 3 รูป รูปละ 1 เชือก พระสิวลีเถระและพระตามลินทเถระไดปลอยชางที่พระเจานรปติสิทถุถวายเขาปาไป สวนพระอนันทเถระไดมอบชางใหแกญาติที่เมืองกิญจิบุรีในชมพูทวีป โดยสงชางไปขึ้นเรือที่เมืองพะสิมเพื่อไปยังเมือง กิญจิบุรี เมื่อความที่พระอนันทเถระสงชางที่พระเจานรปติสิทถุถวายใหแกญาติของตนรูถึงพระมหาเถระสองรูปไดตําหนิการกระทําของพระอนันทเถระ “เราทั้งสองไดชางแลวก็ปลอยไปเสียในปา สวนวาทาทําสัตวเดียรฉานใหไดรับความทุกข สงไปใหแกหมูญาติใชการเพื่อเหตุใด การกระทําดังนี้ไมควรแกทานผูเปนสมณะ”71 พระอานัทเถระตอบแกพระเถระทั้งสองรูป “ขาแตพระผูเปนเจาผูเจริญ พระผูมีพระภาคยตรัสเทศนาวา การสงเคราะหแกหมูญาติเปนมงคลไมใชหรือ”72 คําตอบของพระอนันทเถระสรางความไมพอใจใหพระสิวลีเถระและพระตามลินทเถระ จึงกลาวที่จะไมรวมทําสังฆกรรมกับพระอานันทเถระ พระสงฆที่มาจากลังกาจึงแตกออกเปนสองคณะ

ในคราวตอมาพระตามลินทเถระและพระสิวลีเถระเกิดแตกแยกกัน พระตามลินทเถระตองการสงเสริมพระสงฆที่ตองการเรียนในพุทธศาสนา พระตามลินทเถระปรารถนาจะสงเคราะหภิกษุทั้งหลายเหลานี้ ดวยจตุปจจัยลาภ “ถาและทานทั้งหลายจะกระทําสมเคราะหดวยจตุปจจัยแลวไซ ภิกษุทั้งหลายเหลานั้น ก็จักสามารถเพื่อเลาเรียนพระปริยัติธรรมและบําเพ็ญสัมมาปฏิบัติใหบริบูรณได73 เมื่อพระสิวลเถระไดยินคํากลาวของพระตามลินทเถระเห็นวาไมเหมาะสม “เหตุใดทานจึงยังจตุปจจัยลาภใหบังเกิดขึ้นดวยวจีวิญญัติดังนี้ เปนการไมควรแกทาน”74 พระตามลินทเถระกลาว “ขาพเจาไมไดกลาววจีวิญญัติใหจตุปจจัยลาภบังเกิดขึ้นฉเพาะตน อนึงขาพเจารูแลววาความเจริญจะมีแกพระพุทธสาสนาโดยแท เพราะบริบูรณดวยพระปริยัติ

71 เร่ืองเดียวกัน, 84. 72 เร่ืองเดียวกัน. 73 เร่ืองเดียวกัน, 85. 74 เร่ืองเดียวกัน, 86.

Page 74: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

63

ธรรมและปฏิบัติธรรม”75

ความขัดแยงของพระเถระทั้งสองรูปทําใหคณะสงฆจากลังกาแยกออกเปนสองคณะ รวมคณะสงฆที่มาจากลังกาแยกออกเปน 3 คณะ คือคณะของพระอานันทเถระ คณะของพระ ตามลินทเถระ และคณะของพระสิวลีเถระ แมวาคณะสงฆที่มาจากลังกาวงศจะแตกแยกออกเปน 3 คณะ หากยังคงเรียกคณะสงฆที่มาจากลังกาวา พระสงฆลังกาวงศคือคณะสงฆที่สืบวงศมาจากลังกา คณะสงฆที่มาจากลังกาไดชวยกันตั้งมั่นคณะสงฆลังกาวงศแมวาจะเกิดความแตกแยกไมทําสังฆกรรมรวมกัน สวนพระสงฆชาวพมายังคงดําเนินปฏิบัติในแนวทางของตนเอง ในพุกามจึงมีคณะสงฆสองคณะที่สําคัญ พระสงฆชาวพมาที่สืบวงศมาจากเมืองสะเทิม และพระสงฆลังกาวงศที่สืบวงศมาจากเกาะลังกา

คณะสงฆในพุกามแยกออกเปนสองคณะ ซ่ึงหากมองในทางหลักการแลวพระสงฆทั้งสองคณะไมไดมีความแตกตางกันอยางไร คือทั้งพระสงฆมรัมมะและลังกาวงศเปนพุทธศาสนาเถรวาทเชนเดียวกัน การสืบศาสนาของพระสงฆสองคณะมีที่มาจากที่เดียวกันคือในรัชสมัยพระเจาอโศกทรงทําสังคายนาพระไตรปฎกเปนครั้งที่สามในพุทธศาสนา เมื่อชําระพระไตรปฎกเสร็จเรียบรอยพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระประธานสงฆในการทําสังคายนาไดสงสมณทูตเดินทางไปเผยแผศาสนาในดินแดนตางๆ ในเกาะลังกาไดสงพระมหินทเถระเดินทางไปเผยแผศาสนา ในสุวรรณภูมิไดสงพระโสณเถระและพระอุตรเถระเดินทางไปเผยแผศาสนา ดังนั้นพระสงฆทั้งสองคณะจึงสืบศาสนามาจากพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนั้นเอง และเมื่อคร้ังที่พระอุตตรชีวะสังฆราชแหงพุกามเดินทางไปนมัสการพระมหาเจดียที่เกาะลังกา พระสงฆลังกายังยกยองพระสงฆจากพุกามวามีความเทาเทียมเสมอกันกับพระสงฆในลังกา เนื่องจากสืบวงศมาจากพระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระเชนเดียวกัน สวนหลักปฏิบัติในศาสนา พระสงฆทั้งสองคณะยึดแนวทางเดียวกันคือยึดหลักปฏิบัติตามพระไตรปฎกเชนเดียวกัน พระสงฆทั้งสองคณะในพุกามไมไดมีความแตกตางกันอยางใด หากพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศไดรับการยกยองวาเปนผูที่สืบพุทธศาสนามาจากอินเดียเมื่อคร้ังพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อม และศูนยกลางพุทธศาสนาไดยายมายังเกาะลังกาแทนที่อินเดีย พระสงฆลังกายังเปนที่ยอมรับวาปฏิบัติตามพระไตรปฎกและหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจาอยางเครงครัด และเปนแบบอยางที่สําคัญของพระสงฆในแบบเถรวาท ทําใหพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศเปนที่นิยมและยอมรับโดยทั่วไป

75 เร่ืองเดียวกัน.

Page 75: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

64

การรับพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศในพุกาม ไดสงผลกระทบตอพุทธศาสนาที่ดาํเนินมาในพุกามตั้งแตสมัยพระเจาอนิรุทธ การที่พระเจานรปติสิทถุทรงใหการยกยองและอุปถัมภพระสงฆลังกาวงศเปนอยางดี มีความสาํคัญมากกวาความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ ในสมัยพระเจานรปติสิทถุมีความเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในพุกาม พระเจานรปติสิทถุไดลดบทบาทอิทธิพลของมอญที่เคยมีในพุกาม โดยที่พระองคไดสรางรูปแบบวัฒนธรรมแบบพมาขึ้นมาแทนวัฒนธรรมมอญ ตั้งแตสมัยของพระเจานรปติสิทถุรูปแบบศิลปะในพุกามไดเปลี่ยนเปนแบบพมา ภาษาก็ใชภาษาพมาแทนภาษามอญที่นิยมใชในตนพุกาม รวมถึงพุทธศาสนาเถรวาทที่ไดรับอิทธิพลจากมอญ พระเจานรปติสิทถุทรงรับอิทธิพลพุทธศาสนาจากลังกา เพื่อเปนการลดอิทธิพลมอญที่มีตอพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม การเปลี่ยนแปลงในดานวัฒนธรรมในสมัยพระเจานรปติสิทถุ สงผลทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนาครั้งสําคัญที่เกิดในพุกาม

นอกจากความพยายามที่พระเจานรปติสิทถุจะทรงลดอิทธิพลวัฒนธรรมมอญที่มีในพุกามแลว การรับพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ ยังมีความสําคัญตอพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม เนื่องจากการที่พุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุงเรืองเปนอยางยิ่งในพุกาม นับตั้งแตพระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองสะเทิม พุทธศาสนาเถรวาทไดเปนที่นับถือศรัทธาเล่ือมใสในพุกาม กษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง ประชาชนไดใหการอุปถัมภพุทธศาสนาเถรวาทเปนอยางดียิ่ง ในชวงตนของพุกามมีการสรางวัดและเจดียจํานวนมากมาย และสิ่งที่สําคัญที่ปฏิบัติพรอมการสรางวัดและเจดีย คือการกัลปนาอุทิศ ที่ดิน ขาทาส และทรัพยสินมีคาตางๆใหแกวัดและพระสงฆ เพื่อใชในกิจการดานศาสนา การกัลปนาอุทิศในชวงตนพุกามไดทําใหพุทธศาสนาในพุกามเจริญรุงเรืองและมีความเขมแข็งเปนอยางยิ่ง และการกัลปนาอุทิศทําใหพระสงฆในพุกามไดกลายเปนเจาของที่ดิน แรงงาน และทรัพยสินมากมาย การที่พระสงฆเปนเจาของที่ดินเรียกวาที่ดินธรณีสงฆ และขาทาสเปนจํานวนมากสงผลกระทบตออาณาจักร เนื่องจากที่ดินธรณีสงฆไดรับการยกเวนไมตองเสียภาษีใหแกรัฐ และขาทาสวัดทางการไมสามารถเรียกใชแรงงานได

พระเจานรปติสิทถุทรงมองเห็นปญหาอิทธิพลของพุทธศาสนาและพระสงฆที่เพิ่มอยางรวดเร็ว หากปลอยไวจะเปนการยากในการควบคุมพระสงฆ พระองคพยายามที่จะลดบทบาทและอิทธิพลพระสงฆในพุกาม โดยทรงใหการสนับสนุนพระสงฆลังกาวงศใหตั้งมั่นในพุกาม เพื่อใหพระสงฆลังกาวงศเปนผูถวงอํานาจของพระสงฆมรัมมะซึ่งเปนพระสงฆกลุมเดียวทีมีอํานาจในพุกาม การลดบทบาทอํานาจพระสงฆมรัมมะของพระเจานรปติสิทธูมีความคลายกับการลดบท บาทอํานาจพระอาริในสมัยพระเจาอนิรุทธ แตพระเจานรปติสิทถุไมไดรับพุทธ

Page 76: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

65

ศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศมาชําระพุทธศาสนาในพุกาม เนื่องจากไมไดบังคับใหพระสงฆพุกามทําการอุปสมบทใหมโดยพระสงฆลังกาวงศ เปนไปโดยความสมัครใจ และการชําระพุทธศาสนานั้นแสดงวาศาสนามีความเสื่อม หากพุทธศาสนาในพุกามเจริญรุงเรืองเปนอยางยิ่ง การรับพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศของพระเจานรปติสิทถุจึงไมนาใชการชําระพุทธศาสนา หรือปฏิรูปพุทธศาสนา แตหากเพื่อเปนการถวงดุลอํานาจ และจํากัดอํานาจพระสงฆมรัมมะที่เพิ่มขึ้นอยางมากในพุกาม

พระเจานรปติสิทถุใชวิธีในการควบคุมอิทธิพลของพระมรัมมะ คือการใชศาสนาควบคุมอํานาจกันเอง พระองคทรงหลีกเลี่ยงการใชพระราชอํานาจของพระองคในฐานะกษัตริยในการบังคับคณะสงฆ เนื่องจากจะสรางความไมพอใจใหแกคณะสงฆในการใชอํานาจแทรกแซงกิจของศาสนจักร เพราะอาจเกิดการตอตานจนเกิดเปนความขัดแยงระหวางอาณาจักรและศาสนจักรได การที่พระเจานรปติสิทถุใหการอุปถัมภพระสงฆลังกาวงศใหเขมแข็งเพียงพอที่จะคานอํานาจกับพระสงฆมรัมมะเปนวิธีการที่หลีกเลี่ยงความขัดแยงระหวาพระองคกับพระสงฆ ตลอดรัชสมัยของพระองคพุทธศาสนาในพุกามไดเจริญรุงเรืองยุคหนึ่งของพุกาม หากไมเกิดมีความขัดแยงของพระสงฆทั้งสองคณะแตอยางใด เนื่องจากพระองคจะทรงใหการอุปถัมภพระสงฆลังกาวงศ ในขณะเดียวกันพระสงฆมรัมมะยังไดรับการอุปถัมภจากราชสํานักเชนเดียวกัน

พระสงฆอรัญวาสีในสมัยปลายพุกาม ในขณะที่กษัตริยพุกามทรงตั้งมั่นพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม ไดเกิดคณะสงฆขึ้น

ใหมในปลายสมัยพุกามคือพระอรัญวาสี พระสงฆอรัญวาสีอาศัยในปา วัดที่พระอรัญวาสีอาศัยเรียกวา วัดปา หรือ ตอโกลน (taw klon) พระอรัญวาสีมีหลักปฏิบัติที่แตกตางจากหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยมีหลักปฏิบัติที่สําคัญสามขอ หนึ่งพระอรัญวาสีตองอาศัยในปาเทานั้น จะเขามาในเมืองตอเมื่อตองการเครื่องนุงหม ตองการน้ําดื่ม ฟนและเดินธุดงค สองพระอรัญวาสีตองเรียนรูลักขณาทางจันทรคติ และตองเชี่ยวชาญในฤกษยาม76 แนวทางการปฏิบัติของพระอรัญวาสีเปนไปในทางสันโดด ตัดขาดจากโลกภายนอกและปฏิบัติอรัญญิกังคะ ซ่ึงเปนหนึ่งใน 13 ของธุดงคกรรมอยางเครงครัด การเกิดของพระสงฆอรัญวาสีในปลายสมัยพุกาม ทัน ตุน

76 Ibid., 120.

Page 77: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

66

(Than Tun) อธิบายวาเนื่องจากกลุมพระสงฆในพุกามที่ไมไดอุปสมบทใหมเปนพระสงฆลังกาวงศ หรือเปนกลุมพระสงฆที่ไมไดปฏิบัติตามพระธรรมวินัย77 ยังมีแนวความคิดวาพระอรัญวาสี คือ พระอาริที่พระเจาอนิรุทธทรงปราบปรามเมื่อตนสมัยพุกาม แมวาพระสงฆลังกาวศและมรัมมะจะไดรับการอุปถัมภจากกษัตริยพุกามเปนอยางดี แตพระสงฆอรัญวาสีเปนที่นับถือในพุกามเปนอยางมากเชนเดียวกัน พระสงฆอรัญวาสีเปนที่นับถือในพุกามตั้งแตสมัยพระเจานตวนมยาจนถึงชวงเวลาที่อาณาจักรพุกามลมสลาย78 พระสงฆอรัญวาสีเปนที่นับถือของประชาชนในพุกามเปนอยางยิ่ง และยังรวมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ ขุนนางที่ใกลชิดกับกษัตริยพุกามอีกดวย

พระมหากัสสปะเปนพระสงฆอรัญวาสีที่ไดรับการยกยองและนับถือเปนอยางมาก ศูนยกลางของพระสงฆอรัญวาสีอยูที่เมืองมินยู (Myinnu) และเมืองมณีวา (Monywa) และยังมีวัดปาตั้งใกลพุกามอยูที่เมืองมินนันทู (Minnathu) และเมืองปวาระ (Pwaza) ซ่ึงอยูทางตะวันออกของพุกาม วัดปาบางวัดมีขนาดใหญโตมีพระสงฆจําพรรษาในวัดเปนรอยรูป วัดปายังเปนศูนยรวมความร่ํารวยท่ีไดมาจากการกัลปนา ทั้งที่ดิน ทรัพยสินของมีคา รวมถึงขาทาสแรงงานตางมากมาย ส่ิงที่สําคัญคือพระอรัญวาสีนอกจากจะสามารถรับสิ่งตางที่ไดจากการกัลปนาแลว ยังสามารถที่จะซื้อที่ดินเพิ่มไดอีกดวย79 พระสงฆอรัญวาสีจึงเปนกลุมคนที่มีความมั่งคั่งในพุกามเนื่องจากถือครองที่ดินเปนจํานวนมาก แมวาพระสงฆอรัญวาสีจะถือหลักปฏิบัติที่เครงครัดในอรัญญิกังคะ แตในความเปนจริง พระสงฆอรัญวาสีเปนผูถือครองที่ดิน ทรัพยสินและขาทาสจํานวนมากมาย ทําใหพระสงฆอรัญวาสีดําเนินชีวิตอยางสะดวกสบายจากทรัพยสินที่มีเปนจํานวนมาก

อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วของคณะสงฆอรัญวาสีในสมัยปลายพุกาม ทําใหกษัตริยพมาทรงพยายามที่จะควบคุมพระสงฆอรัญวาสี เหตุการณที่นําไปสูความพยายามลดอํานาจพระสงฆในปลายสมัยพุกามมาจากการที่พระสงฆอรัญวาสีเปนเจาของอสังหาริมทรัพยและแรงงาน ทําใหรัฐตองสูญเสียผลประโยชนเปนอยางมาก ดังนั้นในป ค.ศ. 1235 หลังจากที่

77 Ibid. 78 Ibid. 79 Ibid., 121.

Page 78: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

67

พระเจากยอฉวาทรงขึ้นครองราชย พระองคไดมีพระบรมราชโองการยึดคืนที่ดินธรณีสงฆ80 แตไมประสบความสําเร็จเนื่องจาถูกตอตานจากพระสงฆอยางรุนแรง จนพระองคตองยอมออนขอใหกับพระสงฆ นี่แสดงใหเห็นวาถึงแมกษัตริยพมาทรงพยายามที่จะลดอํานาจของพระสงฆพุกาม โดยใชพระราชอํานาจฝายราชอาณาจักร แตไมสามารถกระทําได ตลอดรัชสมัยของพระเจากยอฉวาพระองคไดตั้งตนอยูในพุทธศาสนาอยางเครงครัด และยังทรงชี้แนะใหชาวพุกามตั้งมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนาที่ถูกตอง เปนการลดทอนอํานาจพระอรัญวาสีและเปนการลดการเผชิญอํานาจระหวางพระองคและพระสงฆ ช้ีใหเห็นวากษัตริยทรงใชอํานาจในการแทรกแซงกิจการศาสนาไมประสบความสําเร็จ และยังสรางความขัดแยงที่รุนแรงระหวางกษัตริยและพระสงฆ ซึงนี่ไมใชเปนเหตุการณเดียวที่เกิดในพุกาม แตในปลายพุกาม มีกรณีความขัดแยงระหวางกษัตริยและพระสงฆอรัญวาสีซึ่งเปนคณะสงฆที่เกิดใหมในสมัยปลายพุกาม โดยที่ความขัดแยงพระสงฆเปนฝายชนะเสียสวนใหญ แสดงใหเห็นถึงอิทธิพลของพระสงฆในพุกามไดเปนอยางดี

พระเจาอนิรุทธทรงประดิษฐานพุทธศาสนาเถรวาทในพุกาม (ค.ศ. 1057) เปนเหตุการณที่มีความสําคัญอยางยิ่ง พุทธศาสนาเถรวาทไดตั้งมั่นในพุกามและไดเปนสวนหนึ่งของวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครองของพุกาม ตลอดสมัยพุกามพุทธศาสนาเถรวาทไดเจริญรุงเรืองแมวาจะมีความเปลี่ยนแปลงในพุทธศาสนา รูปแบบพุทธศาสนาเถรวาทยังคงอยูและไดพัฒนาไปตามชวงเวลา ปจจัยตางๆ ที่เขามากระทบ พุทธศาสนาเถรวาทเปนสัญลักษณอันโดดเดนของสมัยพุกาม เมื่อกลาวถึงพุกามแลวตองกลาวถึงพุทธศาสนาเถรวาทดวย

80 Ibid., 39.

Page 79: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

68

ภาพที่ 11 ทุงเจดียที่พุกาม

ที่มา : Bob Hudson, Buddhist Architecture at Bagan [Online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://archaeology/usyd.edu.au/~hudson/pagan/

Page 80: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

69

บทท่ี 4

ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม

วัดและเจดียหลายพันแหงที่พบในบริเวณที่เคยเปนศูนยกลางอาณาจักรพุกาม ได

แสดงใหเห็นถึงความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในดินแดนแหงนี ้ไดเปนอยางดี ปจจุบันโบราณสถานที่พบในพุกามเปนเพียงเศษเสี้ยวของความงามที่เคยเปนมา เมื่อครั้งที่อาณาจักรพุกามเจริญรุงเรืองมีอํานาจปกครองลุมแมน้ําอิระวดีเปนระยะเวลา 250 ป มีการสรางวัด เจดียและศาสนสถานมากมายกวาหนึ่งหมื่นแหง จนกระทั่งพื้นที่ 25 ตารางไมลที่เปนศูนยกลางของอาณาจักรพุกามไดร ับสมญาวาเปนทุ งเจดีย หรือทะเลแหงเจดีย ในสมัยพุกามไมใชเพียงสถาปตยกรรม ศิลปกรรมที ่เกี ่ยวของกับพุทธศาสนาที ่เจริญรุงเร ืองเทานั ้น พุกามยังเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญแหงหนึ่ง พระสงฆจากดินแดนตางๆเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาที่พุกาม และในสมัยเวลานี้ไดมีการแตงคัมภีรพุทธศาสนาที่สําคัญหลายเลม พุทธศาสนาไดเขามาเปนสวนหนึ ่งในวิถีชีวิตของชาวพุกาม วัดเปนศูนยกลางของชุมชนทั ้งในการศึกษาทางธรรม และทางโลก พุทธศาสนาจึงเขามามีบทบาทตอความเชื่อ สังคม เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม การที่พุทธศาสนาเจริญรุงเรืองอยางรวดเร็วในสมัยพุกามสวนหนึ่งเกิดมาจากศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนา และการกัลปนาเพื่อการศาสนามีสวนสําคัญในการสรางความเจริญรุงเรืองพุทธศาสนา

หลักฐานที่แสดงใหเห็นถึงความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามสะทอนออกมาในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวของ

กับศาสนา จารึก และวรรณกรรมพุทธศาสนา หลักฐานเหลนี้ทําใหคนยุคปจจุบนัรับรูถึงประวัติความเปนมาของพุทธศาสนาในดินแดนแหงนี้ อิทธพิลของพุทธศาสนาที่มีตอชาวพุกามทั้งดานจิตใจ ความคิดความเชื่อ วถีิการดําเนินชวีิต และความสัมพันธของชาวพุกามที่มีตอพุทธศาสนาอันนํามาซึ่งความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนา

งานศิลปกรรมท่ีเก่ียวของกับพุทธศาสนา งานศิลปกรรมสมยัพุกามที่หลงเหลือมาถึงปจจุบันสวนใหญเปนงานที่เกี่ยวของกับพทุธ

Page 81: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

70

ภาพที่ 12 เจดียชเวซิกอง ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 82: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

71

ศาสนา โดยเฉพาะงานสถาปตยกรรมและวจิิตรศิลป งานศิลปกรรมเปนสิ่งแรกที่ทําใหคนใน ปจจุบันไดรับรูถึงความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม ในพืน้ที่ 25 ตารางไมลซ่ึงเคยเปนที่ตั้งของอาณาจักรพุกามพบสถาปตยกรรมในพุทธศาสนาทั้งที่เปนวดัและเจดยีมากมาย แมวาศาสนสถานเหลานี้จะสรางมาเปนเวลาหลายรอยป และชํารุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จากการทําลายของธรรมชาติและมนุษย ศาสนสถานเหลานี้ยงัคงความงดงามทางรูปแบบศิลปะ สถาปตยกรรมและงานวิจิตรศิลปที่ใชในการประดบัตกแตงภายในและภายนอก

สถาปตยกรรมที่สําคัญของพุกามไดแกเจดีย เจดียในสมัยพุกามแบงออกเปนสองลักษณะ หากมีหนาที่คลายคลึงกันใชเปนที่ประดิษฐานของสัญลักษณที่แสดงถึงพระพุทธเจา เชนพระบรมสารีริกธาตุ รอยพระบาท พระพุทธรูป หนอตนมหาโพธิ์ พระไตรปฎก ส่ิงตางเหลานี้เปนที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ดังนั้นเจดียจึงเปนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เปนที่เคารพบูชาของชาวพุกาม และยังใชเปนที่เก็บทรัพยสินมีคาตางๆของวัดอีกดวย

- เจดียที่ภายในตัน เจดียในสมัยพุกามไดรับอิทธิพลจากอินเดีย การสรางเจดียในอินเดียเร่ิมแรกเปนเพียง

กองดินที่กอขึ้นมา และประดับดวยฉัตรไวบนยอด เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองรูปแบบสถาปตยกรรมการสรางเจดียไดเปลี่ยนไป มีการประดับตกแตงประตู บันได ระเบียงทางเดิน และปลายยอดเจดียอยางงดงาม1 เจดียที่เปนตนแบบใหกับการสรางเจดียคือ เจดียสัญจี (Sanchi) รูปแบบสถาปตยกรรมของเจดียสัญจีเปนโดมครึ่งวงกลม ในพมารูปแบบเจดียไดเปลี่ยนแปลงไปจากอินเดีย ในสมัยผะยูโดมเจดียยกขึ้นสูงเปนทรงกระบอก และที่ปลายฐานจะแผกวางออก ในสมัยพุกามรูปทรงเจดียไดรับอิทธิพลจากผะยู เจดียในสมัยพุกามจะปองตอนกลาง รูปแบบเจดียพุกามไดเปนรูปแบบการสรางเจดียของพมาในสมัยคริสตศตวรรษที่ 152

เจดียตั้งอยูบนฐานที่ยกสูงขึ้นจากพื้นเรียกวาจงกรม (cankram) มีระเบียงเรียกวา เมธี (medhi) หรือ อลินทะ (alinda) เปนทางเดินลอมรอบเจดีย ระเบียงเจดียมีทั้งชั้นเดียว 3 ช้ัน 5 ช้ัน ลดหล่ันขึ้นไปเพื่อรองรับตัวเจดีย ระหวางชั้นของระเบียงมีบันไดเชื่อมทุกชั้น บนชั้นสุดทายของระเบียงเปนที่ตั้งของตัวเจดียเรียกวา อัณฑะ (anda) แปลวาไข3 รูปทรงโดมเจดียในสมัยพุกามเปนทรงระฆังที่ตรงกลางปอง บริเวณอัณฑะจะฉาบปูนขาว สวนที่สําคัญที่สุดของเจดียคือที่ปลาย

1 Sujata Soni, Evolution of Stupa in Burma: Pagan Period 11th to 13th Century A.D. (Delhi:

Motiatal Banarsidass Publisher,1991), 12. 2 Ibid, 13. 3 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 238.

Page 83: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

72

ภาพที่ 13 เจดียชเวสันดอ ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 84: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

73

ยอดเรียกวา อัธวาต (at’wat) มาจากภาษาทิเบตพมา แปลวามงกุฎ4 บริเวณนี้จะหุมดวยโลหะมีคาในสมัยพุกามนิยมใชโลหะผสมระหวาง ทองคํา ปรอท และทองแดง5 บนยอดอัธวาตประดับดวยฉัตรที่ตกแตงอยางงดงาม

เจดียองคสําคัญในสมัยพุกามกามคือ เจดียชเวซิกอง (Shwezigon) เจดียองคนี้เปนที่นับถือและบูชาของชาวพุกามเปนอยางยิ่ง พระเจาอนิรุทธทรงสรางเจดียนี้ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสวนหนาผากที่นํามาจากศรีเกษตรและพระเขี้ยวแกวจําลองจากลังกา เจดีย ชเวซิกองสรางไมเสร็จในสมัยพระเจาอนิรุทธ เมื่อพระเจาจันสิตถะขึ้นครองราชยสมบัติ พระองคทรงสรางตอจนเสร็จสมบูรณ เจดียชเวซิกองมีความสูง 112 ฟุต ตัวเจดียหรือัณฑะตั้งอยูบนฐานบัวสองชั้น โดมเจดียเปนรูปทรงระฆัง สวนปลายยอดคอยๆเรียวแหลม ที่ปลายสุดมี amalaka (บัวตูม) และ double lotus claping ฐานเจดียมีระเบียงทางเดินรอบเจดีย 3 ช้ันลดหล่ันขึ้นไป ในแตละดานมีบันไดเชื่อมระเบียงทั้ง 3 ช้ัน ที่ระเบียงชั้นที่ 3 ประดับดวยแผนดินเผาเลาเรื่องชาดก 550 ภาพ ที่วิหารทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ ที่รอบฐานเจดียชเวซิกองมีศาลของนัต 37 องคตั้งเรียงราย

รูปแบบสถาปตยกรรมของเจดียชเวซิกองเปนตนแบบใหกับการสรางเจดียในสมัยหลัง โดยเฉพาะเจดียชเวดากองสรางในคริสตศตวรรษที่ 15 เจดียองคที่สําคัญในสมัยพุกาม เจดีย ปูปยะ (Pupaya) สรางกอนสมัยพระเจาอนิรุทธ และเปนเจดียที่สรางริมแมน้ําอิระวดีจึงเปนสัญลักษณของนักเดินเรือวาไดเดินทางมาถึงยังพุกามแลว เจดียชเวสันดอ (Shwesandaw) สรางในสมัยพระเจาอนิรุทธเชื่อกันวาเจดียแหงนี้เปนที่ประดิษฐานเสนพระเกศาของพระพุทธเจาที่พระเจาอนิรุทธอัญเชิญมาเมื่อคร้ังเขาโจมตีเมืองสะเทิม เจดียโลกนันท (Lawkananda) เจดียองคนี้สรางบริเวณที่พระเจาอนิรุทธทรงอัญเชิญพระเขี้ยวแกวจากลังกาขึ้นฝงแมน้ําอิระวดีที่แหงนี้ พระองคจึงสรางเจดียเปนอนุสรณเหตุการณนี้ เจดียเปตเลก (Petleik) สรางในสมัยพระเจาอนิรุทธเชนเดียวกัน มงคลเจดีย (Mingala) และ ธรรมราชิกะ (Dhammayazika) เปนเจดียที่พระเจานรปติสิทถุทรงสรางขึ้น โดยเฉพาะเจดียธรรมราชิกะที่ฐานเจดียมีหาดาน ฐานเจดีย 5 เหล่ียมเปนรูปแบบสถาปตยกรรมเฉพาะในสมัยพุกาม นักวิชาการประวัติศาสตรศิลปะเชื่อวาการสรางเจดียที่มีฐาน 5 เหล่ียมเปนการแสดงความเชื่อพระพุทธเจาทั้ง 5 องคนั้นเอง

4 Ibid., 236. 5 Ibid.

Page 85: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

74

ภาพที่ 14 เจดียปูปยา ที่มา: Daniel Kahrs, A Golden Souvenir of Pagan (Hong Kong : Pacific Rim Press (HK) Co.Ltd.,1995),26.

ภาพที่ 15 เจดียโลกนันท ที่มา Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 86: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

75

ภาพที่ 16 เจดียธรรมราชิกะ (Dhammayazika) ที่มา : Paul Strachan, Imperial Pagan: Art and Architecture of Burma (Honolulu: University of Hawaii Press,1989),115.

Page 87: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

76

เจดียวิหาร6 เจดียวิหารเปนงานสถาปตยกรรมที่นิยมในสมัยพุกาม เจดียวิหารมีหองคูหาภายใน

คูหาเปนคําภาษาบาลีตรงกับคําวา กู มีใชทั่วไปทั้งภาคเหนือ อีสาน และในประเทศลาว7 ภายในเจดียวิหารใชเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป สถาปตยกรรมภายในเจดียวิหารเปนหองโถงกวางจึงใชเปนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เชนการปฏิบัติธรรม พังเทศน สวดมนต เจดียรูปแบบนี้จึงมีลักษณะเหมือนวัดที่มีศาสนสถานตางๆที่ใชในการประกอบพิธีกรรม ชาวพุกามจึงเรียกเจดียวิหารวาวัด การสรางเจดียวิหารไดรับอิทธิพลมาจากอินเดียเปนการสรางศาสนสถานเลียนแบบถ้ํา (ku) ในอินเดยีกอนที่จะมีการสรางศาสนสถานเพื่อใชประกอบพิธีกรรม ใชถํ้าตามธรรมชาติเปนสถานที่ประกอบพิธีกรรมตางๆ เมื่อมีการสรางศาสนสถานจึงสรางใหคลายกับถํ้า เจดียวิหารในสมัยพุกามมีสวนประกอบที่สําคัญคือ หองโถงตรงกลาง ระเบียงที่ลอมรอบหองโถง และวิหาร8 หองโถงตรงกลางเปนหองสี่เหลี่ยม ถัดจากหองโถงออกมามีระเบียงเปนทางเดินรอบหองโถง เจดียวิหารบางแหงมีระเบียงสองชั้น สวนดานนอกสุดเปนวิหารที่เปนมุขยื่นออกมา ในสมัยพุกามรูปแบบสถาปตยกรรมของเจดียวิหารแบงออกเปนสองลักษณะ แบบแรกมีมุขยื่นออกมาดานเดียว และมีทางเขาเพียงทางเดียว พระพุทธรูปจะประดิษฐานอยูดานในสุดของหองโถงกลาง สวนอีกแบบเปนแบบที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ดานเปนทรงจตุรมุข ตรงกลางเปนหองโถงกวาง และที่วิหารที่ ๔ ดานมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู9 พระพุทธรูปที่วิหารทั้ง 4 ประดิษฐานหันหลังชนกันและหันหนาไปยังทิศทั้ง 4 สวนหองโถงกลางเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน หรือพระบรมสารีริกธาตุ10 ภายในเจดียวิหารตกแตงอยางงดงามดวยจิตรกรรมฝาผนัง และงานศิลปะอื่นๆ สวนประกอบที่สําคัญของเจดีย

6 ศ.มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, และ ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม, เที่ยวดงเจดียที่พมาประเทศทาง

ประวัติศาสตร ศิลปะและวัฒนธรรม (สํานักพิมพมติชน: กรุงเทพฯ, 2545), 111. (เจดียวิหารเปนคําที่ ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม ใชเรียกศาสนสถานในพุกามที่มีลักษณะตรงกลางเปนหองโถง (คูหา) ในพมาเรียกศาสนสถานรูปแบบนี้วา ku แปลวาวัด)

7 เร่ืองเดียวกัน. 8 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 243. 9 Aung Thaw, Historical Sites in Burma (Rangoon: Ministry of Union Culture. Govt. of

Union Burma,1972), 48. 10 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1500,” Journal of Burma

Research Society, 128.

Page 88: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

77

ภาพที่ 17 เจดียวิหารอนันท ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 89: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

78

ภาพที่ 18-19 ยอดหลังคาเจดียวิหารอนันท และแผนภาพดินเผาชาดกประดับที่ระเบียงหลังคา เจดียหารอนันท ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 90: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

79

วิหารคือเครื่องยอดหลังคา หลังคามีลักษณะซอนขึ้นไปเพื่อรองรับเจดียที่มีทั้งทรงระฆัง ทรงส่ีเหล่ียมที่มีปลายยอดเรียวแหลมสูงเสียดฟา หลังคาเจดียวิหารประดับประดาตกแตงอยางสวยงามเชนเดียวกับเจดีย ผนังดานนอกของเจดียวิหารมีการเจาะบานหนาตางแกะสลักลวดลายบานหนาตางสวยงาม การเจาะชองหนาตางนอกจากเพื่อความสวยงามแลวยังเปนการระบายอากาศภายในและใหแสงแดดสองเขาไปภายใน และที่ประตู หนาตางวิหารของเจีดียวิหาร มีการประดับตกแตงอยางสวยงามเชนเดียวกัน

เจดียวิหารที่มีความงดงามของพุกามคือ เจดียวิหารอนันท (Anandha) พระเจาจันสิตถะทรงสรางในป ค.ศ. 1105 พระราชพงศาวดารฉบับหอแกวกลาววา พระองคทรงสรางเจดียวิหารอนันทถวายพระสงฆชาวอินเดีย 8 รูป พระสงฆชาวอินเดียทั้ง 8 รูปมาบิณฑบาตที่พระราชวัง พระเจาจันสิตถะทรงถวายภัตาหาร และทรงถามวาพระสงฆเหลานี้มาจากที่ใด พระสงฆจากอินเดียเหลานี้ตอบวาตนเองมาจากครันธมัทนะ (Grandhamadana) และพระสงฆเหลานี้ไดเลาถึงถํ้านันทมุลา (Nandamula) ที่เขาครันธมัทนะถวายแดพระเจาจันสิตถะ พระองคทรงดําริที่จะสรางวัดเลียนแบบถ้ํานันทมุลาที่เทือกเขาหิมาลัย ทรงตั้งชื่อวัดแหงนี้วานันทะ (Nanda)11 ปจจุบันเรียกวาอนันท การสรางวัดอนันทไดรับอิทธิพลจากอินเดียเหนือ เบงกอล และเนปาล วัดอนันทเปนศาสนสถานขนาดใหญแหงหนึ่งของพุกาม บริเวณหองโถงกลางมีขนาดสูง 87 ฟุต และสูงถึงยอดเจดีย 160 ฟุต มีวิหารเปนมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ดาน ภายในวิหารทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญ 4 องค ซ่ึงหมายถึงพระพุทธเจาทั่ง 4 พระองค คือ พระพุทธเจากกุสันธะทางวิหารทิศตะวันออก พระพุทธเจาโกนาคมนวิหารทิศใต พระพุทธเจากัสสปวิหารทิศตะวันตก และพระพุทธโคดมวิหารทิศตะวันออก 12 ที่วิหารทางดานตะวันออกมีรูปปนที่เชื่อกันวาเปนพระเจาจันสิตถะและพระชินอรหันตนั่งคุกเขาพนมมือสักกา -ระพระพุทธรูป ที่เรือนยอดหลังคาของเจดียวิหารอนันท เปนหลังคาลดหลั่นมีระเบียงลอมรอบเจดีย 5 ช้ัน ยอดเจดียวิหารอนันทเปนทรงสี่เหลี่ยม บริเวณระเบียงบนหลังคา 4 ช้ันบนสุดมีแผนภาพดินเผาทศชาติชาดกจํานวน 375 แผน สวนที่ช้ันลางสุดเปนแผนดินเผาชาดก 573 แผน ทุกแผนมีช่ือและหมายเลขเปนภาษาบาลีกํากับเอาไว13 สวนแผนภาพชาดกที่ระเบียงชั้นลางสุดของเจดียวิหารอนันทเปนอิทธิพลการทําแผนดินเผาชาดกจากมอญ แผนดินเผาชาดกที่วัดอนัท

11 Pe Maung Tin and G.H. Luce, trns., The Glass Palace Chronicle of the Kings of

Burma,110. 12 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 358. 13 Ibid., 359.

Page 91: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

80

ภาพที่ 20 พระพุทธรูปประทับยืนยืนประจําวิหารที่ 4 ดานของเจดียอนันท ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 92: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

81

ภาพที่ 21 เจดียวิหารสัพพัญู ที่มา : Daniel Kahrs, A Golden Souvenir of Pagan (Hong Kong : Pacific Rim Press (HK) Co.Ltd.,1995),43.

Page 93: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

82

นับวาเปนชุดชาดกที่ครบสมบูรณที่สุดของพุกาม ภายในเจดียวิหารอนันทยังประดับตกแตงอยางสวยงามจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง และงานวิจิตรศิลปอ่ืนๆ

เจดียวิหารองคอ่ืนที่มีความสวยงามในพุกาม เจดียวิหารชเวกูยี (Shwegugyi) เจดียวิหารสัพพัญู (Thabyinnayu) พระเจาอลองคสิทถุทรงสรางขึ้น รูปแบบสถาปตยกรรมของ เจดียวิหารทั้งสองเปนการเปลี่ยนผานรูปแบบศิลปกรรมที่ไดรับอิทธิพลจากมอญและผะยูมาเปนศิลปกรรมรูปแบบเฉพาะของพมา เจดียวิหารธรรมรันคยี (Dhammayangyi) พระเจานรถุทรงสรางขึ้นและเปนสิ่งกอสรางที่มีขนาดใหญที่สุดในพุกาม เจดียวิหารจุฬามณี (Sulamani) พระเจานรปติสิทถุทรงสรางขึ้น เจดียวิหารหติโลมินโล (Hatilominlo) พระเจานดวงมยาทรงสรางขึ้น

- ส่ิงกอสรางอื่นๆภายในวัด อุโบสถ (sim, thein) เปนศาสสถานที่สําคัญของวัด อุโบสถใชเปนสถานที่ประกอบ

พิธีกรรมที่สําคัญคือ อุปสมบท การสวดพระปาฏิโมกข การสวดปวารณาของพระสงฆ ในคริสตศตวรรษที่ 15 มอญนิยมที่จะปกใบเสมาแสดงอาณาเขตของอุโบสถ ภายในอุโบสถจะประดิษฐานพระพุทธรูปเชนเดียวกับเจดียและเจดียวิหาร 14

ปฎกไตร (pitakat-tuik) เปนสถานที่เก็บพระไตรปฎก พระไตรปฎกเปนตําราสําคัญที่ใชในการศึกษาพุทธศาสนา การคัดลอกพระไตรปฎกหนึ่งชุดมีราคาแพงมาก การเก็บรักษาพระไตรปฎกจึงมีความสําคัญเปนอยางยิ่ง ในสมัยพระเจาอนิรุทธทรงสรางหอไตรเพื่อเก็บพระไตรปฎกที่ทรงนํามาจากเมืองสะเทิม ปจจุบันหอไตรแหงนี้ยังคงอยูทางตะวันออกเฉียง เหนือของเจดียชเวกูยี มีการซอมแซมหอไตรแหงนี้หลายครั้ง ครั้งที่สําคัญในป ค.ศ. 1783 หอไตรแหงนี้ยังคงเหลือเคาโครงเดิมของสถาปตยกรรม เปนอาคารสี่เหล่ียมสูง 51 ฟุต กอสรางดวยอิฐ หลังคาของหอไตรเปนหลังคาซอนลดหล่ัน 5 ช้ัน ชายคายาวคลุมระเบียง ภายในหองโถงมืด ระเบียงรอบหองโถงมืด และมีแสงสวางจากหนาตางและประตูทางทิศตะวันออก15

ธรรมศาลา (Dhammsa, Trya Im) เปนสถานที่ใชฟงเทศนา ผูคนมารวมกันที่นี่เพื่อฟงพระสงฆแสดงเทศนา ภายในธรรมศาลาประดับอยางงดงาม มีธรรมมาสนใชเปนที่นั่งเทศนาของพระสงฆ ธรรมมาสนบางแหงประดับประดาอยางงดงาม

กุฏิสงฆ เปนสถานที่พระสงฆใชจําวัด กุฏิสงฆมีทั้งที่สรางดวยอิฐและไม กุฏิของพระสงฆบางรูปประดับตกแตงอยางสวยงาม ประตู หนาตางของกุฏิแกะสลักอยางงดงาม

14 Ibid., 253. 15 Ibid., 254.

Page 94: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

83

ภาพที่ 22-23 จิตกรรมฝาผนังสมัยพุกาม และภาพวาดชาดก ที่มา : Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 95: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

84

หลังคาซอนเปนชั้น มีรูปปนชางวางที่ประตูทางเขา16 ส่ิงกอสรางในวัดยังรวมถึง โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาที่ผูผูปฏิบัติธรรม (tanchan) โรงทาน (carap) ยุงฉาง (kappiyakuti) และยังรวมถึงบอน้ํา แทงน้ําใชในการเก็บกักน้ําเพื่อใชอุปโภค บริโภคภายในวัด

งานวิจิตรศิลป จิตรกรรมฝาผนังเปนงานศิลปะที่ตกแตงศาสนสถานสมัยพุกาม โดยเฉพาะที่หอง

โถง ระเบียงและผนังวิหาร เร่ืองราวที่นิยมนํามาวาดเปนเรื่องที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ไดแกพุทธประวัติ จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนา ชาดก การวาดภาพบนผนังใชวิธีการวาดและลงสีบนผนังที่ฉาบปูนแหงแลว สีที่ใชเปนสีธรรมชาติซ่ึงมีเพียงไมกี่สี สีหลักที่ใชคือ ดํา ขาว เหลือง แดง น้ําเงิน และเขียว สีน้ําเงินและเขียวใชนอยมาก17 ที่ผนังดานบนสวนโคงของประตูศาสนสถานแสดงภาพสระบัว ซ่ึงเปนสัญลักษณของการเกิดและพรหม ภายในหองโถงประดิษฐานรอยพระบาทจําลอง ที่รอยพระบาทมีการวาดภาพมงคล 108 ประการ รอบๆมีการวาดภาพจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนาประกอบดวยพรหมโลก 16(20) ช้ัน และเทวโลก 6 ช้ัน ดานลางเปนภาพพระพุทธเจา ๒๘ องค สวนผนังหลักของวิหารวาดภาพพุทธประวัติ และพระพุทธเจา 8 ปาง การเดินทาง การสนทนา การจําพรรษา การเทศนา ปาฏิหาริยและการเผยแผพุทธศาสนาของพระพุทธเจา18 จิตกรรมฝาผนังที่นิยมวาดในพุกามคือ ภาพชาดก การเลาเรื่องชาดกในสมัยพุกามนิยมสรางดวยแผนดินเผาแลว ในสมัยพุกามยังวาดภาพชาดกในผนังศาสนสถานอีกดวย โดยเฉพาะที่ผนังฝงประตูทางเขาหลักวิหาร การวาดภาพชาดกจะอยูในกรอบเล็กเรียงกันเปนแถว ที่วัด Kubyauk-gyi มีการวาดภาพชาดกที่ผนังหองโถงทั้งหมด 537 รูป แตละรูปมีขนาดกวาง 5 นิ้วคร่ึง และยาว 6 นิ้วครึ่ง19 ชาดกที่นิยมนํามาวาดบนผนังคือทศชาติชาดกเชนเดียวกับแผนดินเผา

พระพุทธรูป (Mudra) การสรางพระพุทธรูปในสมัยพุกามเพื่อนําไปประดิษฐานในศาสนสถานตางของวัด เจดีย อุโบสถ พระพุทธรูปในสมัยตนพุกามสรางจากหินนํามาแกะสลัก และพระพุทธรูปหลอทองแดง การหลอพระพุทธรูปทองแดงที่มีความสวยงามอยู

16 Than Tun “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300,” Journal of the Burma

Research Society, 130. 17 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 247. 18Ibid., 245. 19 Ibid., 247.

Page 96: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

85

ภาพที่ 24-25 พระพุทธรูปทองแดงในสมัยพุกาม ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 97: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

86

ในชวง ค.ศ. 1100 ชางหลอพระพุทธรูปทองเหลืองมีความสามารถหลอพระพุทธรูปทองเหลืองที่มีลักษณะสวยงาม มีความออนโยน พระวรกายที่แข็งแรงและอวบอิ่ม20 พระพุทธรูปที่สรางดวยหินและทองแดงที่พบในชวงตนพุกามมีนอยมาก พระพุทธรูปสวนใหญเปนการสรางโดยการกออิฐและฉาบดวยปูนขาว การสรางพระพุทธรูปดวยหินและทองแดงมีขั้นตอนการสรางที่ยุงยาก ชางผีมือตองมีความสามารถในการสราง หินและทองแดงที่นํามาสรางพระพุทธรูปเปนส่ิงที่หายากและมีราคาสูง ขอจํากัดของการสรางพระพุทธรูปดวยหินและทองแดงไมสามารถสรางพระพุทธรูปขนาดใหญได วิธีการสรางพระพุทธรูปในสมัยพุกามที่สําคัญคือการกออิฐและฉาบดวยปูน พระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญบางองคที่สวนลําตัวใชทอนไมแทนการกออิฐ21

การสรางพระพุทธในสมัยพุกามรูปมีหลายลักษณะ เชน แบบประทับนั่งขัดสมาธิและยืนบนฐานบัว และพระพุทธรูปประทับนั่งหอยเทา การสรางพระพุทธรูปลักษณะอิริยาบถตางๆ นํามาจากพุทธประวัติตอนที่สําคัญ นํามาสรางเปนพระพุทธรูปปางตางๆ พระพุทธรูปที่นิยมสรางในสมัยพุกามคือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปปางมารวิชัยเปนพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถดานซายวางบนตัก และพระหัตถดานขวาวางพาดที่เขาดานขวา ปลายนิ้วช้ีไปที่พื้นดิน พระพุทธรูปปางมารวิชัยเปนการสรางพระพุทธรูปจากพุทธประวัติ เมื่อคร้ังที่พระพุทธเจามีชัยชนะเหนือมาร (บุคคลาธิษฐานของกิเลส) และพระองคตรัสรูเปนพระพุทธเจาองคปจจุบัน พระองคทรงใชนิ้วมือกดลงแผนดินเปนการแสดงชัยชนะเหนือมาร แสดงใหเห็นวาพระองคทรงตรัสรูเปนพระพุทธเจา22 พระพุทธรูปปางนี้จึงมีช่ือวามารวิชัย หรือปางตรัสรู และยังมีการสรางพระพุทธรูปปางสมาธิ นิพพานและปางอื่นๆ พระพุทธรูปในสมัยพุกามสรางเพื่อเปนสัญลักษณแทนพระพุทธโคดมพระพุทธเจาองคปจจุบัน ยังมีการสรางพระพุทธรูปแสดงถึงพระพุทธเจา 3 พระองคที่ตรัสรูมากอนแลวในภัทรกัลปคือ พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคมน พระพุทธกัสสปะ

งานศิลปกรรมสะทอนความเชื่อและศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนา ซ่ึงแสดงออกมาในงานสถาปตยกรรม วิจิตรศิลปที่งดงาม ในสมัยพุกามจึงไมใชเปนเพียงความรุงเรืองของศาสนาเทานั้น ในดานศิลปกรรมที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาก็เจริญรุงเรืองอยางสูงสุดเชน เดียวกัน พุทธศาสนาและงานศิลปกรรมจึงเปนสิ่งที่ดํารงอยูคูกันไมสามารถแยกออกจากกันได

20 Paul Strachan, Pagan Art and Architecture of Old Burma, (Singapore: Kiscadale,1989),

22. 21 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 244. 22 Paul Strachan, Pagan Art and Architecture of Old Burma, 23.

Page 98: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

87

ภาพที่ 26-27 พระพุทธรูปกออิฐและฉาบปูนเปนที่นิยมสรางในสมัยพุกาม ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/ และ Ministry of Culture Archaeology Department Socialist Replublic of the Union Burma, Pictorial Guide to Pagan, (Rangoon: The Printing and Publishing Coperation,1979),23.

Page 99: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

88

จารึก จารึกเปนหลักฐานที่บอกเลาถึงความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม เนื้อหา

สาระของจารึกที่พบในพุกามสวนใหญเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะการกัลปนาเพื่อการศาสนา เมื่อผูกัลปนาไดกัลปนาทรัพยสินมีคาตางๆ เพื่อการศาสนาจะสรางจารึก เพื่อบันทึกกุศลผลบุญที่ตนเองไดสรางเอาไว รูปแบบจารึกในสมัยพุกามจึงมีลักษณะที่คลายกันประ กอบดวยวันเดือนปที่กัลปนา ช่ือและประวัติของผูที่กัลปนา การกัลปนาเพื่อการใดในศาสนา รายละเอียดส่ิงของมีคาที่กัลปนาเพื่อการศาสนาและ เปาหมายของการกัลปนา จารึกที่สําคัญและเปนที่รูจักอยางแพรหลายหลักหนึ่งของพุกามคือ จารึกมยาเจดีย (Myazedi) หรือเปนที่รูจักกันวาจารึกราชกุมาร ใจความของจารึกหลักนี้มีวา

“หลังจากที่พระพุทธเจาเสด็จปรินิพพานแลว 1628 ป นคร อริมัทนปุระ มีกษัตริยผูปกครองนครมีนามวา ศรีตรีภูวนาทิตยธรรมราชาทรงมีอัครมเหสีนามวาโลกวตังสิกาเทวี พระนางทรงมีโอรสพระนามวาเจาชายราชกุมาร พระราชาพระราชทานขาทาส 3 เมืองแดพระนาง เมื่อพระนางสิ้นพระชนม พระราชาพระราชทานสมบัติของอัครมเหสีรวมถึงขาทาสจาก 3 เมืองแดเจาชายราชกุมารโอรสของนาง

เมื่อพระราชาครองราชยได 28 ปทรงประชวร เจาชายราชกุมารโอรสของอัครมเหสีทรงปรารถนาใหอาการของพระราชาดีขึ้น พระองคทรงสรางพระพุทธรูปทองคําหนึ่งองค และนําไปถวายแดพระราชา เจาชายราชกุมารทรงกลาววา ขาพเจาสรางพระพุทธรูปทองคําถวายแดพระราชา และขาพเจาขอถวายขาทาส 3 เมืองที่พระราชทานแดขาพระเจาใหแดพระพุทธรูป ขอใหพระองคทรงอนุญาติ

พระราชาทรงปติเปนอยางยิ่งและกลาววา สาธุ สาธุ ขุนนาง เหลาพระสงฆ และพระสังราชาโมคัลลีบุตรติสสเถระ พระสุเมธา พรหมปาล พรหมนทิเร พระสงฆ รวมกันยินดี พระราชาทรงหลั่งน้ําลงที่พื้นดิน

เจาชายราชกุมารโอรสของอัครมเหสีทรงประดิษฐานพระพุทธ รูปทองคําในวัดที่ยอดเจดียหอหูมดวยทองคํา เจาชายราชกุมารทางกัลปนาขาทาสจากเมือง สักมุนาโลน ยะไผ เฮนพุย ใหเปนขาทาสวัดทั้งหมด พระองคทรงหลั่งน้ําลงบนพื้นดิน พระองคทรงอธิฐานวา ส่ิงตางๆ ที่ขาพเจากระทํานี้เพื่อมุงหวังยังนิพพาน ขอใหบุตรของขาพเจา ญาติ มิตรสหายและบุคคลอื่นๆไดบรรลุนิพพานในสมัยของพระพุทธเจาองคปจจุบัน

Page 100: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

89

ภาพที่ 28 จารึกที่พบในอาณาจักรพุกาม ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 101: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

90

อยาไดไปถึงยุคพระศรีอารยเมตไตรยเลย23 จารึกในสมัยพุกามเปนสิ่งที่จะบอกถึงประวัติความเปนมาของพุทธศาสนาในดินแดนแหงนี้ และสะทอนความคิดความเชื่อและศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนา ซึ่งเหตุที่ทําใหพุทธศาสนาเจริญรุงเรืองในพุกาม

วรรณกรรมพุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนาเปนสิ่งที่สะทอนความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในดาน

การ ศึกษา ในสมัยพุกามมีการแตงคัมภีรพุทธศาสนาจํานวนมากมาย คัมภีรบางเลมยังใชในการศึกษามาจนกระทั ่งป จจ ุบ ัน ในสมัยพุกามเปนชวงเวลาที ่การศึกษาด านพุทธศาสนาเจริญรุงเรือง พระสงฆ สามเณรชาวพุกามและที่เดินทางมาจากที่อื ่นเชนพระสงฆจากลังกา รวมถึงชาวพุกามทั่วไปชายหญิงที่สนใจในการศึกษาพุทธศาสนาทั้งพระไตรปฎก ตําราในพุทธศาสนาเปนจํานวนมาก พุกามไดเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญอีกแหงหนึ่งในชวงเวลานั้น

ลักษณะของพุทธศาสนาในพุกาม

พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทเจริญรุงเรืองในอาณาจักรพุกาม เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองมอญมาประดิษฐานยังพุกาม พุทธศาสนาเถรวาทเปนอิทธิพลที่พุกามรับมาจากจากภายนอกทั้งมอญและลังกา พระสงฆที่รับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองมอญคือพระสงฆมรัมมะ และพระสงฆที่ไดรับอิทธิพลจาลังกาคือพระสงฆลังกาวงศ แมวาพุกามไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาทจากภายนอก แตพุกามไดปรับปรุงรูปแบบของพุทธศาสนาเถรวาทที่รับมาจากภายนอกใหเขากับวิถีชีวิตเดิมของตนเอง เมื่อคร้ังที่พระเจาอนิรุทธทรงรับพุทธศาสนาเถรวาทจากเมืองมอญเขามาเปนความเชื่อหลักของพุกาม ในขณะที่ความเชื่อเดิมของพุกามยังคงอยู โดยเฉพาะความเชื่อนัต (Nat) ที่ปรับตัวเขาเปนสวนหนึ่งของพุทธศาสนาเถรวาท และยังคงมีบทบาทและอิทธิพลในสังคมพมาจนกระทั่งปจจุบัน

พุทธศาสนาเถรวาทในพุกามมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่สําคัญ ชาวพุกามไดช่ือวาเปนผูที่เครงครัดและศรัทธาในพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง ศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนาทํา

23 Charls Duroiselle, ed., Archaelogical Survey of Burma “Egigraphia Birmanica Being

Lithic and other Inscriptions of Burma” Vol. 1 part. 1, (Rangoon: Superintendent, Government Printing,1960), 57.

Page 102: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

91

ใหพุกามเปนศูนยกลางความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาที่สําคัญแหงหนึ่ง พุกามเปนศูนยกลางการกอสรางงานสถาปตยกรรมและวิจิตรศิลปที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญแหงหนึ่ง และที่สําคัญพุกามเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญ ชาวพุกาม พระสงฆ รวมถึงนักแสวงบุญจากดินแดนตางๆ เดินทางมาพุกามเพื่อศึกษาพุทธศาสนา รูปแบบการศึกษาพระปริยัตธรรมของพุกามไดเปนตนแบบการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญของดินแดนอื่นๆใกลเคียง ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามเปนลักษณะเฉพาะของพุกาม ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามเกิดจากศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนาเถรวาท ชาวพุกามไดกัลปนาเพื่อการกอสรางงานสถาปตยกรรม วิจิตรศิลปที่เกี่ยวของกับศาสนาจํานวนมากมาย และใหกับอุปถัมภการศึกษาพุทธศาสนาอยางดียิ่ง ศรัทธาที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนาไมไดเกิดจากการบังคับหรือเกณฑแรงงาน ทรัพยสิน มาใชสรางความเจริญรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาในพุกาม การกัลปนาเพื่อการศาสนาจึงเปนลักษณะที่สําคัญของพุทธศาสนาในพุกาม

การกัลปนา

คําวา กัลปนา มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตวา กปฺปนา แปลวา เจาะจงให หรือ ที่ดินหรือสิ่งอื่นเชนอาคารที่เจาของอุทิศผลประโยชนใหแกวัดและศาสนา สวนบุญที่อุทิศใหผูตาย24 ในสมัยพุกามการกัลปนาเปนกิจกรรมในพุทธศาสนาที่สําคัญ เนื่องจากชาวพุกามทั้งกษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง พอคา ประชาชน ขาทาสไดกัลปนาทรัพยสินมีคาเพื่อใชในการสรางวัด ศาสนสถาน และสาธารณูปโภคตางๆภายในวัด นอกจากการกัลปนาเพื่อกอสรางศาสนสถานภายในวัดแลว ยังมีการกัลปนาที่ดินและขาทาสเพื่อนําผลประโยชนจากที่ดินและแรงงานมาใชในการดูแลรักษาทํานุบํารุงศาสนสถาน หรือรับใชพระสงฆภายในวัด ในสมัยพุกามมีการกัลปนาเพื่อการศาสนาจํานวนมากมาย เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาที่สําคัญ ไดแกนิพพาน พระศรีอารยเมตไตรย และการคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ปทําใหชาวพุกามสรางความเจริญรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาในพุกามไมเฉพาะทางดานศาสนสถานเทานั้น แตยังรวมถึงการศึกษาปฏิบัติธรรมดวย

ความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับการกัลปนา

ชาวพุกามรับรูหลักธรรมและเปาหมายของพุทธศาสนาเปนอยางดี การที่ชาวพุกาม

24 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ: นานมี

บุคสพับลิเคชั่น, 2546), 107.

Page 103: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

92

กัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมากมาย เนื่องจากปรัชญาความเชื่อที่สําคัญในพุทธศาสนาซึ่งเปนเปาหมายที่สําคัญคือ นิพพานหมายถึง ความดับสิ้นแหงกิเลสและกองทุกข25 พุทธศาสนาอธิบายวามนุษยเกิดมาไดรับความทุกขทรมานจากการเกิด แก เจ็บ ตาย รัก โลภ โกรธ หลง ความผิดหวัง ความพลัดพราก สภาพตางๆ เหลานี้มนุษยไดรับซ้ําแลวซํ้าเลาจากการเวียนวายตายเกิดหรือ วัฏสงสาร หนทางที่มนุษยจะหลุดพนจากวัฏสงสารคือการบรรลุนิพพาน ปรัชญาความเชื่อที่ทําใหชาวพุกามกัลปนาเพื่อการศาสนาที่สําคัญคือ การไปเกิดในยุคพระศรีอารยเมตไตรย ยุคของพระศรีอารยเมตไตรยโลกมีแตความสงบสุข และผูใดที่ไดฟงพระศรีอารยเมตไตรยแสดงพระธรรมเทศนาผูนั้นสามารถบรรลุนิพพานไดเชนเดียวกัน และปรัชญาความเชื่อการคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ปไดทําใหชาวพุกามกัลปนาเพื่อรักษา ดํารงพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรือง 5000 ป ชาวพุกามยึดถือปรัชญาความเชื่อพุทธศาสนาอยางเครงครัด และไดแสดงออกมาในการกัลปนาจํานวนมากมายเพื่อใหบรรลุเปาหมายปรัชญาความเชื่อในพุทธศาสนา

ความเชื่อเร่ืองนิพพาน ชาวพุกามเชื่อวาหนทางที่จะนําไปสูนิพพานอีกหนทางคือการสรางกุศลกรรมไว

มากๆ จะใหบรรลุนิพพานไดเชนเดียวกัน ชาวพุกามจึงกัลปนาเพื่อการสรางศาสนสถาน วัด เจดีย โบสถ ธรรมศาลา หอไตร การสรางสาธารณูปโภคตางในวัด โรงทาน ยุงฉาง ระบบชลประทานเขื่อน อางเก็บน้ํา และการอํานวยความสะดวกใหกับพระสงฆภายในวัด การกัลปนาเพื่อการศาสนาเหลานี้ชาวพุกามเชื่อวาเปนกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ หากสะสมกุศลกรรมไวมากเพียงพอจะดลบันดาลใหผูกัลปนาบรรลุนิพพานได จารึกกัลปนาสมัยพุกามกลาวถึงความเชื่อในนิพพานเปนเปาหมายที่สําคัญในการกัลปนา จารึกเจดียชเวสันดอ (Shwesandaw) พระเจาจันสิตถะทรงกลาว “ การที่พระองคกัลปนาเพื่อสรางพระพุทธรูป สรางเจดีย ศาสนสถานตาง การขุดสระน้ํา หรือการเพาะปลูกพืชเพื่อการศาสนา ส่ิงตางๆที่พระองคทรงปฏิบัติเพื่อที่จะทรงหลุดพนจากวัฏสงสาร” 26 ในจารึกราชกุมาร เจาชายราชกุมารทรงอธิฐานวา “ขอใหกุศลผลบุญที่

25 เร่ืองเดียวกัน, 589. 26 Taw Sein Ko and Charls Duroiselle,ed., Archaeological Survey of Burma “Epigraphia

Birmanica Being Lithic and other Inscriptions of Burma” vol.1, Pt.2, 2nd ed., rev. (Rangoon: Superintentendent, Government Printing,1927), 166.

Page 104: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

93

ขาพเจาสรางไวดลบันดาลใหขาพเจาบรรลุนิพพาน”27 ในป ค.ศ. 1104 พระเจาอลองคสิทถุทรงอธิบายเหตุผลที่ทรงสรางเจดียวิหารวา “เนื่องจากขาพเจาปรารถนาที่จะมีปญญารูแจงเห็นจริง (สัพพัญู) ดั่งเชนองคพระพุทธเจา เพื่อที่จะหลุดพนจากความทุกขทรมานของวัฏสงสาร”28 เนื่องจากนิพพานเปนเปาหมายที่สําคัญในพุทธศาสนา พระเจาอลองคสิทถุทรงสรางเจดียองคหนึ่งชื่อวา “สัพพัญู” ซ่ึงแปลวาความรูแจงเห็นจริงซึ่งจะนําไปสูนิพพาน เจดียสัพพัญูจึงเปนส่ิงที่แสดงวานิพพานเปนเปาหมายสูงสุดในพุทธศาสนาในสมัยพุกาม นิพพานไมไดเปนเปาหมายสูงสุดของกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศเทานั้น ชาวพุทธพุกามทั้งหญิงและชายตางมีเปาหมายของการกัลปนาที่การบรรลุนิพพานเชนเดียวกัน ดังปรากฏในคําอธิษฐานวา

“ศักราช ๕๕๔ ป ผลคุณ วันศุกร ขึ้นน 5 ค่ํา เดือนตะโพน (Tapon) เจามวนสัน (Cau Mwan San)29 และบุตรสาวปรารถนาที่จะหลุดพนจากความทุกขทรมานของวัฏสงสาร เพื่อที่จะบรรลุนิพพานจึงไดสรางกําแพงลอมสระน้ําและวัด และ เอื้อยมวนสัน (Uim Mwan San) บุตรีไดกัลปนาที่ดิน อาหาร น้ํามันตะเกียง....ใหแกวัด”30

สวนสตรีในราชสํานักก็อธิษฐานวา “ขาพเจาปรารถนาปลอยวางสังขารที่เต็มไปดวยความทุกข

ทรมานจากการเกิด แก เจ็บ ตาย การพลัดพรากจากผูเปนที่รัก การอยูรวมกับผูที่ไมรัก ความผิดหวัง ความสูญเสีย ขาพเจาปรารถนาที่จะบรรลุนิพพานเพื่อหลุดพนจาความทุกขทรมานของวัฏสงสาร”31

ความเชื่อในพระศรีอารยเมตไตรย หนทางที่จะบรรลุนิพพานมอีีกทางหนึ่งคอื การไปเกิดในยุคของพระศรีอารยเมตไตรย

27 Charls Duroiselle,ed., Archaeological Survey of Burma “Epigraphia Birmanica Being

Lithic and other Inscriptions of Burma” Vol.1, Pt.1,57. 28 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma,80. 29 คํานําหนาชื่อวา เจา ที่ปรากฎนี้บงอยางชัดเจนวา เปนคนคนชั้นเจานายเชื้อสายไทย 30 Pe Maung Tin “Buddhism in the Inscriptions of Pagan,” Journal of Burma Research

Society, 53. 31 Ibid.

Page 105: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

94

พระศรีอารยเมตไตรยทรงเปนพระพุทธเจาองคที่ 5 ตอจาพระพุทธโคดมซึ่งเปนพระพุทธเจาองคปจจุบัน คําทํานายที่เชื่อกันก็คือ พุทธศาสนาของพระพุทธโคดมจะเสื่อมในเวลา 5000 ป เมื่อหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธโคดมเสื่อมจนถูกลืมเลือนไปในที่สุดแลว พระศรีอารยเมตไตรยจะเสด็จมายังโลกมนุษยเพื่อเผยแผหลักธรรมคําสั่งสองของพระองค ผูใดที่ไดฟงพระศรีอารยเมตไตรยแสดงธรรมเทศนาผูนั้นก็มีโอกาสจะบรรลุนิพพาน32 มีความเชื่อวาในยุคของพระศรีอารยเมตไตรยยังเปนยุคแหงความสงบสุข ทุกหนทุกแหงเต็มไปดวยตนไมดอกไม ทะเลสาบมีน้ําใสสะอาด และกองเพชร นิลจินดา มนุษยอยูรวมกันดวยเมตตาธรรม ชีวิตมีแตความสุขสมหวัง แมวาประชากรจะอยูอยางหนาแนน แตพืชผลทางการเกษตรใหผลผลิตมากมายกวาถึงเจ็ดเทา33

ในความเชื่อของชาวพุกาม ยุคพระศรีอารเมตไตรยเปรียบเหมือนสวรรคที่เต็มไปดวยความสุข ดังนั้นมนุษยในยุคพระพุทธโคดมผูที่ไมมั่นใจในอนาคตชาติของตนจึงปรารถนาจะไปเกิดในยุคพระศรีอารยเมตไตรย หนทางที่มนุษยในปจจุบันจะไปเกิดในยุคพระศรีอารยเมตไตรยมีตํานานเรื่องพระมาลัยเลาไว กลาวกันวา พระมาลัย (Malan) เปนพระอรหันตชาวลังกาที่เคยสนทนากับพระศรีอารยเมตไตรย พระองคทรงตรัสกับพระมาลัยวา ผูใดปรารถนาจะเกิดในยุคที่พระองคทรงเปนพระพุทธเจา “ผูนั้นตองสรางกุศลผลบุญโดยการถวายภัตตราหาร ผลไมรสเปรี้ยว หวาน น้ํามันตะเกียง ดอกไมน้ํา ดอกไมบก ตุง กลด จํานวน 1000 คร้ังแดพระพุทธเจาองคปจจุบัน และการฟงเทศนพระเวสสันดร”34 ชาวพุกามจึงกัลปนาเพื่อการศาสนา โดยมุงหวังวาผลบุญที่สรางขึ้นดลบันดาลใหตนเองไปเกิดในยุคพระศรีอารยเมตไตรย ดังเชน พระนางอสอขวัน (Acawkrwan) พระมเหสีของพระเจานรปติสิทธู แสดงความปรารถนาที่จะหลุดพนจากความทุกขทรมานของการเวียนวายตายเกิด พระนางปรารถนาจะบรรลุนิพพานในยุคสมัยของพระศรีอารยเมตไตรย และยังทรงปรารถนาใหวิญญาณที่ทนทุกขทรมานในนรกอเวจีไดบรรลุนิพพานเชนเดียว กัน พระนางไดสรางวัดขนาดใหญที่มีเจดียหนึ่งองค และคัดลอกพระไตรปฎก 1 ชุด35 สวนผูดีที่ช่ือ สัน ลยันนา ตรยาสะ (San Lyan Na Tryasa) ไดสรางวัดและ

32 Ibid., 76. 33 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma, 76. 34 Pe Maung Tin, “Buddhism in the Inscriptions of Pagan,” Journal of Burma Research

Society, 59. 35 Ibid.

Page 106: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

95

อธิษฐานวา “ขาพเจาปรารถนาที่จะไปเกิดในเมื่อพระศรีอารเมตไตรยมาตรัสรู”36 ในจารึกหลักหนึ่งลงศักราชตรงกับป ค.ศ. 1182 ผูกระทํากัลปนาอธิษฐาน “ขอใหขาพเจาไปเกิดในยุคพระศรีอารยเมตไตรยผูทรงเปนพระพุทธเจาตามคําทํานาย เพื่อที่ขาพเจาจะไดหลุดพนจากความทุกขทรมานของสังสารวัฏ”37

การคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ป คําทํานายอายุพุทธศาสนาของพระพุทธโคดมจะมีอายุ 5000 ป หลังจากนี้หลักธรรม

คําสั่งสอนของพระองคจะเสื่อมและลืมเลือนไปในที่สุด ชาวพุทธจึงพยายามที่จะรักษาพุทธศาสนาใหมีอายุครบ 5000 ปตามคําทํานาย วิธีการที่จะรักษาพุทธศาสนาใหมีอายุ 5000 ปที่สําคัญคือการรักษาพระธรรมของพระพุทธเจาใหคงอยูเปนที่รูจัก ชาวพุกามไดสนับสนุนอุปถัมภเพื่อการคัดลอกพระไตรปฎก พระไตรปฎก 1 ชุดประกอบดวย พระวินัยปฎก พระอภิธรรมปฎก และสุตตันตปฎก ในสมัยพุกามการคัดลอกพระไตรปฏก 1 ชุดมีคาใชจายที่สูงมาก ในป ค.ศ. 1248 เจาหญิงอสอขวันทรงอุปถัมภการคัดลอกพระไตรปฏก 1 ชุดมีมูลคาถึงเปนเงิน 2027 บาท38 และในปลายสมัยพุกามสัมปยันโลกชน (Sam pyan Lok chon) กัลปนาเพื่อสรางหอไตรและคัดลอกพระไตรปฎก 1 ชุดมีมูลคาเปนเงิน 3000 บาท 39 มูลคาของพระไตรปฎก 1 ชุดสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสรางศาสนสถานตางในวัด ดังนั้นผูที่ไมสามารถคัดลอกพระไตรปฎกไดทั้งชุด จึงเลือกที่จะคักลอกพระไตรปฎกบางสวนแทน40 ไดแกพระวินัยปฎก พระอภิธรรมปฎก และสุตตันตปฎก และในแตละสวนยังแยกออกเปนสวนยอยๆ ชาวพุกามไมเพียงคัดลอกพระไตรปฎกถวายใหกับวัดเทานั้น ยังกัลปนาขาทาสซึ่งมีหนาที่ซอมแซมและคัดลอกพระไตรปฎกที่ชํารุด ทําใหพระไตรปฎกซึ่งหมายถึงคําสั่งสอนของพระพุทธเจาคงอยู ศาสนาคงอยูเชนเดียวกันเมื่อหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธ เจายังคงอยู

การกัลปนาเพื่อการคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ปที่สําคัญคือการกัลปนาเพื่อการ ศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระสงฆ สามเณร และประชาชนทั่วไป การศึกษาพระธรรมที่สําคัญ

36 Ibid., 81 37 Than Tun, “History of Buddhism In Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma Research

Society,61. 38 Ibid., 78. 39 Ibid., 79. 40 Ibid., 80.

Page 107: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

96

ในสมัยพุกามคือการศึกษาพระปริยัติธรรมการกัลปนาเพื่อการศึกษา พระปริยัติธรรม ในป ค.ศ. 1234 พระมเหสีของพระเจากยอซาวา พระปตุลาของพระเจากยอฉวาและภรรยาไดกัลปนาสรางศาสนสถาน อันไดแกหอไตร ศาสนสถานอื่นๆ และธรรมศาลารอบๆ เจดีย และไดกัลปนาที่ดิน 800 ไพ ขาทาส 30 คน แกพระภิกษุที่ศึกษาพระธรรมขั้นสูงสุด41 ในป ค.ศ. 1262 สองสามีภรรยาไดกัลปนาเพื่อสรางวัดที่มีกําแพงลอมสี่ดาน ภายในวัดมีส่ิงกอสรางตางๆ เจดีย ศาสนสถานที่สรางดวยอิฐ หอไตร โบสถ ธรรมมาสน โรงเรียนพระปริยัติธรรม 8 แหง และกัลปนาที่ดิน 652 ไพ และขาทาส 20 คนเพื่อดูแลศาสนสถานที่สรางไว42 การกัลปนาเพื่อการศึกษาพระไตรปฎกของพระสงฆและสามเณร รวมถึงการกัลปนาเพื่อการซอมแซมศาสนสถานใหคงอยูถาวร เนื่องจากเมื่อศาสนสถานเหลานี้ยังคงอยูหมายถึงการคงอยูของศาสนาเชนเดียวกัน ชาวพุกามจึงกัลปนาที่ดินแรงงานและที่ดิน เพื่อนําผลประโยชนมาใชในการดูแลศาสนสถานใหคงอยูตราบนานเทานาน43 วัตถุประสงคของการกัลปนา

การกัลปนาในสมัยพุกามเพื่อเปนการบูชาพระรัตนตรัยอันไดแกพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ โดยเฉพาะพระสงฆชาวพุกามจะดูแลอาํนวยความสะดวกสบายใหกับพระสงฆเปนอยางดี ชาวพุกามไดถวายปจจัย 4 อันไดแกอาหาร เครื่องนุงหม ยารักษาโรคและที่อยูอาศัยแดพระสงฆอยางไมขาดตกบกพรอง และพระสงฆรูปใดที่ชาวพุกามเคารพนับถือเปนอยางยิ่ง ชาวพุกามจะกัลปนาทรัพยสินมีคาใหแดพระสงฆเปนการเฉพาะ ในคริสตศตวรรษที่ 13 พระวินัยธร (Wienendhuir) เปนที่เคารพและนับถือของชาวพุกามเปนอยางยิ่ง เนื่องจากทานไดอุทิศเวลาเพื่อการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมอยางเครงครัด ทานยังเปนกําลังสําคัญของพระสงฆลังกาวงศ จารึกในคริสตศตวรรษที่ 13 ไดกลาวถึงการกัลปนาทรัพยสินและสรางวัดถวายแดพระสงฆรูปนี้ ในชวงป ค.ศ. 1216–1261 มีจารึกที่กลาวถึงการกัลปนาแดพระสงฆรูปนี้ ในป ค.ศ. 1216 มหาอํามาตยอสังขยา (Asankhya) ขุนนางชาวไทใหญ ไดกัลปนาที่ดิน 150 ไพ แดพระวินัยธร44 ในป ค.ศ. 1261 พระนาง Acaw Lat ชายาของอํามาตย Jayyasaddhiy และยังเปนพระกนิษฐาตาง

41 Ibid., 98. 42 Ibid., 97. 43 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma, 87. 44 Ibid., 117.

Page 108: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

97

มารดาพระเจาอุซานะ นางไดกัลปนาสรางเจดียวิหาร เจดียวิหารแหงนี้มีพระวินัยธรเปนเจาอาวาส เจดียวิหารยังใชประดิษฐานพระไตรปฎก และพระบรมสารีริกธาตุ และกัลปนาที่ดิน 435 ไพ ขาทาส 68 คน45

การกัปนาเพื่อสรางศาสนสถาน สถาปตยกรรมและงานวิจิตรศิลปที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาในพุกามจะไมมีความยิ่ง

ใหญและงดงามไดหากขาดการกัลปนาเพื่อการสรางศาสนาสถานเหลานี้ จากศรัทธาความเชื่อที่ชาวพุกามมีตอพุทธศาสนาทําใหชาวพุกามกัลปนาทรัพยสินมีคาตางๆ เพื่อสรางศาสนสถานตางๆ ในพุกาม จารึกในการสรางวัดของอํามาตยอนันตสุระ (Anantasura) และภรรยาไดกลาวรายละเอียดของการสรางศาสนสถานภายในวัด

“เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1223 ในเมืองอมานะ (Amana) หรือ มินันสู (Minanthu) บริเวณแหงนี้เราไดปลูกตนตาลไวโดยรอบ ภายในกําแพงอิฐรูปสี่เหล่ียมเราไดสรางกู ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมสารีริกธาตุบรรจุภายในตลับไมจันทร บรรจุภายในตลับแกว บรรจุภายในตลับไมจันทรแดง ตลับทอง ตลับเงิน ตลับที่ประดับดวยอัญมณี ตลับงาชาง ตลับทองแดง และบรรจุภายในเจดียจาํลองที่สรางดวยหิน นอกจากนี้ เรายังนอบนอมกัลปนาเสื่อทองเส่ือเงิน ขาวตากแหงทองเงิน อัจกลับทองเงิน องคเจดียจําลองที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุประดับดวยขายถักดวยลวดทองแดง ปลายยอดหุมดวยทองคํา และมีฉัตรทองคําประดับอยูบนยอด ฉัตรประดับดวยมุกและปะการัง เราหอพระเจดียจําลองดวยผา 7 ช้ัน และปดทองลงบนผา พระพุทธรูปทองคําหนัก ๓๐ บาท46 พระพุทธรูปเงินมีน้ําหนัก 50 บาท และพระพุทธรูปหินออน บนเศียรของพระพุทธรูปประดับดวยฉัตรทองคําและเงิน ภายในหองโถงของ ku เราไดสรางพระพุทธรูป 4 องค พระพุทธรูปทั้ง 4 องคประทับหันหลังใหกันและหันหนาไปยังทิศทั้ง 4 ภายในโถงประดับดวยอัญมณีมีคามากมาย พระพุทธรูปอีกจํานวนหนึ่งประดิษฐานบริเวณกําแพงกู ที่กําแพงเจดียมีการวาดภาพชาดก 500 ชาติ เจดียบนยอดกู หุมดวยทองแดงจํานวน 47

45 Ibid., 118. 46 มาตราเงินและทองในสมัยพุกาม ตําลึง (viss) ช่ัง (buih) บาท (klyap)

Page 109: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

98

ตําลึง 8 ช่ัง 4 บาท บนปลายยอดเจดียหุมดวยทองคํา 393/4 บาท เงินอีก 159 บาท สิ่งเหลานี้เปนทรัพยสินมีคาที่กัลปนาในการสรางและตกแตงกู เราไดกัลปนาเพื่อคัดลอกพระไตรปฎก 1 ชุด และสรางธรรมศาลาเพื่อเปนสถานที่ผูคนเขามาฟงเทศนารวมกัน ภายในธรรมศาลาเราไดสรางธรรมาสนทองคํา และมีฉัตรทองคําประดับขางบน สถานที่กวางใหญและเงียบสงบเปนสถานที่พระคุณเจาปฏิบัติธรรม ผูที่แสวงหานิพพานไดรับการส่ังสอนที่นี่ บริเวณรอบกําแพงแกวเราไดสรางศาสนสถานเพื่อใหพระสงฆใชปฏิบัติธรรม เนื่องจากพระสงฆตองอุปโภคและบริโภคน้ํา และเพื่อความสะดวกเราจึงขุดสระน้าํเก็บกักน้ําสรางดวยอิฐ ทางฝงตะวันออของอางน้าํยกระดับเปนสองชั้นเพื่อใหน้ําไหลเขามาทางทอ รอบๆทะเลสาบปลูกตนไมรมร่ืนงดงาม ภายนอกวัดเราไดสรางศาลาที่พักผูมาปฏิบัติธรรม ผูที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศไดพักผอน หลับนอน ทางฝงตะวันออกของอางเก็บน้ําสรางยุงฉางไวเก็บเสบียงอาหารเปนอาคารที่สรางดวยอิฐ” 47

การกัลปนาเพื่อซอมแซมทํานุบํารุงศาสนสถาน และดูแลอํานวยความสะดวกใหกับ

พระสงฆ กัลปนาในพุกามยังครอบคลุมไปถึงการดูแลรักษา ซอมแซม ทํานุบํารุงศาสนา

สถานภายในวัด เพื่อเปนการแบงเบาภาระของพระสงฆในการดูแลศาสนสถาน และการกัลปนาเพื่อดูแลความสะดวกสบายใหแกพระสงฆในดานตางๆ การกัลปนาเพื่อการนี้สวนใหญเปนการกัลปนาที่ดิน และขาทาสแรงงาน เพื่อนําผลประโยชนที่ไดจากที่ดินแรงงานมาใชในการดูแลศาสนสถานและพระสงฆ จารึกหมายเลขทะเบียน L254 ไดกลาวรายละเอียดของการกัลปนา

“ขอใหพระคุณเจารับสิ่งตางเหลานี้ ขาวัดทั้งหลายที่ ดินและสวน ส่ิงตางๆเหลานี้ขาพเจามอบใหแก วัด และศาสนสถานภายในวัด ขาวัดเหลานี้มีหนาที่ซอมแซมวัดและศาสนสถานในวัด รวมถึงธรรมศาลา ขาวัดเหลานี้มีหนาที่ถวายขาวเปลือก 5 ทะนานแดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทุกๆเดือน ขาวัดเหลานี้มีหนาที่ถวายขาวเปลือก 4 ทะนานเพื่อนํามาหุงขาว 1.5

47 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300,” Journal of Burma

Research Society, 132.

Page 110: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

99

ทะนานในโอกาสที่สําคัญ 4 คร้ัง คือตน กลาง ปลายพรรษา และในวันเพ็ญเดือนกุนสุน (Kunsun) ขาวัดนําขาวเปลือก 4 ทะนานมาหุงเปนขาว 1 ทะนานครึ่ง ถวายในแตละชวง ขาวัดมีหนาที่ถวายผลไมและใบพลูที่มีราคาเทากับขาวเปลือก 6 ทะนาน ถวายขาวเปลือก 10 ทะนาน รวมเปน 40 ทะนานตอป ทุกอาทิตยตลอดพรรษาใหขาวัดถวายขาวแดง 3 ปยี (pyi) ขาวขาว 1 ตุม (tuim) รวมถึงขาวเปลือกที่ตองเตรียมระหวางพรรษา 1 1/4 ทะนานที่ตองถวายแดพระธรรม ขาวเปลือกจํานวนไมเกิน 1 ทะนานแตไมนอยกวา 1/2 ทะนาน เปนราคาของหมากตออาทิตย ราคาอาหารและหมากเทากับขาวเปลือก 1 ปยี ตอวัน รวมขาวเปนเปลือก 183/4 ทะนานตอเดือนและ 225 ทะนานตอป ถวายหมากแดพระเจา48 10 ลูกตอวัน 300 ลูกตอเดือนและ 3600 ลูกตอป ถวายที่ดินใหกับปรุมปรินสอน (prumprinson) และกันยะสอน (kanrason) คนละ 1 เป (pe) มอบขาวเปลือก 135 ทะนานใหแกขาวัดที่อาศัยในวัด ไดแก คนดุริยสังคึต คนกลอง คนเปา คนนรันจร (Narancara)49 และยังมอบขาวเปลือกเปนพิเศษกับคนนรันจรอีก 2 ทะนาน คนกลอง 1 ทะนาน คนตีฉิ่งครึ่งทะนาน ชาวดุริยพาทยที่เหลือ 4 คน คนละคร่ึงทะนาน มอบขาวเปลือกใหกับหัวหนาวงคนกลองและคนเปาปคนละ 1 ทะนาน คนกลองไดรับขาวเปลือกอีกสามในสี่ของทะนาน สวนมือกลองแลคนเปาแตรเพิ่มอีกเศษหนึ่งสวนสี่ของทะนาน ขาวเปลือกที่มอบใหชาวพิณชาวพาทยปละ 135 ทะนาน รวมขาวเปลือกที่กัลปนาใหวัด 427 ทะนานครึ่งตอป 50

ทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อการศาสนา การสรางวัดหรือเจดียแหงหนึ่งมีคาใชจายมากมาย โดยเฉพาะคาจางชางในการ

กอสราง คาวัสดุอุปกรณที่ใชในการกอสราง เงินจึงเปนสิ่งสําคัญที่ใชในการการกอสรางวัดและเจดีย ชาวพุกามกัลปนาเงินและของมีคาอื่นๆเพื่อใชเปนคาจางชางและวัสดุในการกอสราง

48 ในที่นี้หมายถึงพระพุทธรูปที่แสดงถึงพระพุทธเจา 49 วงดนตรีที่ประกอบดวยเครื่องดนตรี 6 ช้ิน หมายถึง ชาวพิณชาวพาทย 50 Pe Maung Tin, “Buddhism in the Inscriptions of Pagan,” Journal of Burma Research

Society, 60-61.

Page 111: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

100

จํานวนเงินที่ใชในการกอสรางแตกตางกันไปตามขนาดของวัดและเจดียที่สราง นอกจากเงินที่ชาวพุกามกัลปนาเพื่อการศาสนาแลว ชาวพุกามยังนิยมกัลปนาที่ดินและคนใหเปนขาทาสวัด เพื่อนําผลประโยชนมาใชภายในวัด ทั้งการซอมแซม ทํานุบํารุง ดูแลศาสนสถานตางๆภายในวัด รวมถึงรับใชพระสงฆในดานตางๆ ที่ดินและขาทาสวัดจึงเปนทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อการศาสนาที่สําคัญ

- ที่ดินธรณีสงฆ ที่ดินเปนทรัพยสินที่ชาวพุกามนิยมกัลปนาเพื่อการศาสนา ที่ดินที่กัลปนาเพื่อการ

ศาสนาเรียกวา ที่ดินธรณีสงฆ วัตถุของการกัลปนาที่ดินเพื่อนําที่ดินไปใชในการเพาะปลูก ผลผลิตที่ไดจากที่ดินธรณีสงฆจะนําไปใชเพื่อประโยชนตามที่ผูกัลปนาระบุไว ที่ดินธรณีสงฆสวนใหญเปนที่ดินที่อุดมสมบูรณเหมาะสมตอการเพาะปลูก เนื่องจากที่ดินธรณีสงฆมีการสรางและซอมแซมระบบชลประทาน คลองสงน้ํา บอน้ํา ประตูระบายน้ํา อางเก็บกักน้ํา สวนที่ดินที่ยังเปนปารกจะไดรับการถากถางและสรางระบบชลประทาน เพื่อใหเหมาะสมตอการเพาะปลูก51 ที่ดินธรณีสงฆยังนําไปใหผูอ่ืนเชาเพื่อทําการเพาะปลูก คาเชาที่ดินคือผลผลิตทางการเกษตรตามที่ไดตกลงกัน ที่ดินธรณีสงฆเปนทรัพยสินของศาสนา ผลผลิตที่ไดจากที่ดินธรณีสงฆไมตองเสียภาษีอากรใหกับอาณาจักร ที่ดินธรณีสงฆเปนทรัพยสินที่มีความสําคัญตอวัดและพระสงฆเปนอยางยิ่ง

- ขาวัด ขาวัดคือบุคคลที่ถูกกัลปนา หรือกัลปนาตนเองเพื่อเปนแรงงานดานตางๆในศาสนา

ผูที่เปนทาสวัดจะตองเปนไปตลอดชีวิต และสืบตอไปยังลูกหลานอีกดวย การเปนทาสในสมัยพุกามไมไดมีชีวิตที่เลวราย ทาสในสมัยพุกามมีชีวิตไมแตกตางจากผูคนธรรมดามากนัก การเปนขาทาสวัดจึงไมใชสถานภาพที่บุคคลทั่วไปไมพึงประสงค จารึกในสมัยพุกามกลาวถึงการกัลปนาตนเอง รวมถึงบุคคลตางๆ ในครอบครัวใหเปนขาทาสวัด กษัตริยทรงกัลปนาบุตรของพระองคเปนขาทาสวัด พระเจานรปติสิทธูทรงกัลปนาบุตร 3 พระองคที่เกิดจากพระนางอิวจกปน (Uiw chok Pan) ใหเปนขาทาสเจดียที่พระมหาเถระธรรมวิลาสพระอาจารยของพระองคสรางขึ้น และตอมาพระองคทรงไถถอนบุตรทั้ง 3 พระองคดวยที่ดิน 30 ไพ52

51 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma, 46. 52 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1500,” Journal of Burma

Research Society, 145.

Page 112: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

101

ขาทาสวัดที่กัลปนาเพื่อเปนแรงงานในวัดแบงหนาที่ออกเปน 3 ประเภท - ขาทาสวัดที่มีหนาที่ดูแล รักษาความเรียบรอยภายในศาสนสถาน ขาทาสวัดเหลานี้

มีหนาที่ทําความสะอาด เติมน้ํามันตะเกียง จุดไฟตะเกียงใหแสงสวางในยามกลางคืน ยังรวมถึงการซอมแซมศาสนสถาน สวนใหญเปนชางดานตางๆ ชางไม ชางปูน ชางลงรักปดทอง และขาวัดมีหนาที่ในการเลนดนตรี รองเพลงและฟอนรําเพื่อถวายเปนพุทธบูชาใหแกศาสนสถาน

- ขาทาสวัดมีหนาที่ดูแลรับใชพระสงฆ ขาทาสวัดเหลานี้มีหนารับใชพระสงฆในดานตางๆเชน ตักน้ําไวใหพระสงฆและสามเณรชําระรางกายและใชดื่ม เตรียมอุปกรณที่ใชในการศึกษาพระธรรม และยังมีหนาที่หุงขาวและปรุงอาหารถวายแดพระสงฆและสามาเณรในวัด

- ขาทาสมีหนาที่เพาะปลูกบนที่ดินธรณีสงฆ และเลี้ยงสัตวที่มีผูกัลปนาใหกับวัด ขาทาสเหลานี้ตองเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะขาวเปลือก ขาทาสเหลานี้ตองนําผลผลิตไปถวายใหกับศาสนาตามที่ผูกัลปนากําหนดไว โดยเฉพาะขาวเปลือกนํามาอุปโภคบริโภคภายในวัด และใชในการแลกเปลี่ยนเปนสิ่งของเครื่องใชตางๆภายในวัด

ขาทาสวัดเปนแรงงานที่สําคัญของวัด ขาทาสวัดสวนหนึ่งไดรับผลผลิตทางการเกษตรตอบแทนในการทํางานรับใชพุทธศาสนา เชนชางผีมือ นักดนตรี นักรอง นักฟอนรํา ขาทาสวัดนอกจากจะปฏิบัติหนาที่ของตนเองภายในวัดแลว ขาทาสวัดยังเพาะปลูกและเลี้ยงสัตวของตนเองดวย พระสงฆในสมัยพุกามพอใจที่จะไดรับผลผลิตตามที่ผูกัลปนากําหนดไว ดังนั้นเมื่อขาทาสวัดทํางานภายในวัดเรียบรอย ก็จะใชชีวิตทํางานเหมือนคนปกติทั่วไป53 ขาทาสวัดเปนบุคคลที่ตัดขาดจากอาณาจักรเปนคนของศาสนจักร ดังนั้นขาทาสวัดจึงไมตองเสียภาษีหรือถูกเกณฑใชแรงงานใหกับอาณาจักร54

ที่ดิน ขาทาสแรงงานมีความสําคัญตอพุทธศาสนาในสมัยพุกามเปนอยางยิ่ง เนื่องจากที่ดิน ขาทาสแรงงานเปนทรัพยสินที่ทําใหพุทธศาสนาสามารถอยูไดดวยตนเอง โดยไมตองพึ่งพาอาศัยจากอาณาจักร วัดและพระสงฆจึงเปนอิสระจากอาณาจักรอยางแทจริง การกัลปนาที่ดินและขาทาสวัดยังมีความเชื่อวาจะทําใหศาสนาคงอยูอยางถาวร

ทรัพยสินที่กัลปนาจะเปนสมบัติของศาสนาอยางถูกตอง กษัตริยจะตองทรงรับทราบการกัลปนาและทรงยินยอมใหมีกากัลปนาทรัพยสินเพื่อการศาสนาเสียกอน พิธีกรรมที่แสดงวากษัตริยทรงรับรูและยินยอมใหมีการกัลปนาคือ การหลั่งน้ําลงบนพื้นดินเปนการแสดงวา

53 Ibid., 99. 54 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma, 127.

Page 113: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

102

ทรัพยสินที่กัลปนาไดเปนสมบัติศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอยางถูกตอง การกัลปนาเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับศาสนาและผูที่กัลปนาเต็มใจที่จะอุทิศทรัพยสินของตนใหเปนสมบัติของศาสนา หากเปนอํานาจอันชอบธรรมของกษัตริยที่จะทรงรับรูการกัลปนา เนื่องจากกษัตริยทรงเปนเจาของแผนดินและแผนน้ําและเจาชีวิตในราชอาณาจักรที่ทรงปกครอง หรือทรงเปนเจาของทรัพยากรและผูคนทั้งหมดในราชอาณาจักร กษัตริยทรงมีพระราชอํานาจที่ยินยอมใหมีการกัลปนาทรัพยสินเพื่อการศาสนาโดย เฉพาะที่ดินและขาทาส ในทางปฏิบัติชาวพุกามทั่วไปตัดพิธีกรรมหล่ังน้ําลงบนพื้นดินออกไป55 ผูที่ประกอบพิธีกรรมนี้สวนใหญเปนบุคคลในพระราชสํานักที่เขาใจพิธีกรรมเปนอยางดี

ทรัพยสินมีคาตางๆ สิ่งของเครื่องใช ที่ดิน ขาทาสวัด เมื่อกัลปนาใหกับศาสนาจะเปนสมบัติของศาสนาอยางถาวรไมสามารถเรียกคืนได ทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อพุทธศาสนาจะตองนําไปใชตามวัตถุประสงคที่ผูกัลปนาระบุเอาไวเทานั้น ผูใดที่ละเลยตอวัตถุประสงคของผูกัลปนา ทําลาย หรือลักขโมย ทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อการศาสนาถือวาทําผิดอยางรายแรง จารึกไดสาปแชงผูที่ทําผิดอยางรุนแรง นางผอชอ (Phaw Jaw) สาบแชงผูที่ทําลายหรือขโมยทรัพยสินที่กัลปนาใหกับศาสนาวา

“ขอใหไดรับทุกขทรมานตายใน 7 วัน 7 เดือน 7 ป ขอใหตายทั้งเปนจากการพลัดพรากผูเปนที่รักทั้งหลาย ภรรยา ลูกชาย สามี ขอใหเจ็บไขไดปวยรักษาไมหาย ไปเกิดในยุคที่กษัตริยทรงเปนทรราช ขอใหฟาผาบาน ประสบแตเคราะหรายตกน้ําลุยไฟ เมื่อตายไปขอใหตกนรกอเวจี....56

ในที่นี้จะเห็นไดวา ทรัพยสินที่กัลปนาเพื่อการศาสนาเปนทรัพยสินอันศักดิ์สิทธิ์ตองใชประโยชนเพื่อการศาสนาเทานั้น บทบาทของชาวพุกามกับการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา

ชาวพุกามมีบทบาทที่สําคัญตอความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม สมัยพุกามแบงคนออกเปน 3 กลุมไดแกกษัตริยพระบรมวงศานุวงศ ขุนนางและครอบครัว กลุมสุดทายประชาชนทั่วไป ความสัมพันธของชาวพุกามที่มีตอพุทธศาสนาแตกตางกันไปตาม

55 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History

of 12th -13th Century of Burma, 59. 56 Pe Maung Tin, “Buddhism in the Inscriptions of Pagan,” Journal of Burma Research

Society: 65.

Page 114: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

103

สถานภาพหนาที่ของแตละคน และจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ ความแตกตางดานเศรษฐกิจทําใหชาวพุกามในแตละกลุมกัลปนาเพื่อการศาสนาไมเทากัน สัดสวนวัดและเจดียที่สรางระหวางคริสตศตวรรษที่ 11–13 กษัตริยและพระบรมวงศานุวงศสรางประมาณรอยละ 20 มูลคาเงินที่ใชในการกอสรางวัดละประมาณ 20,000 บาท ขุนนางและครอบครัวสรางวัดประมาณรอยละ 55 มูลคาเงินในการสรางวัดละประมาณ 900 บาทและชาวพุกามทั่วไปสรางวัดประมาณรอยละ 25 มูลคาเงินในการสรางวัดละประมาณ 400 บาท57 การกัลปนาแสดงใหเห็นถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจของคนแตละกลุมกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศเปนผูที่กัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมาที่สุด เนื่องจากเปนผูที่เปนเจาของทรัพยากรสวนใหญในพุกามจึงมีความสามารถในการกัลปนามากกวาคนกลุมอื่น และที่สําคัญบทบาทหนาที่ของกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศในดานศาสนาทําใหคนกลุมนี้ตองกัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมากกวาคนกลุมอื่น

กษัตริยและพระบรมวงศานุวงศ กษัตริยและพระบรมวงศานุวงศเปนบุคคลที่กัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมาก

ที่สุด เนื่องจากสถานภาพของกษัตริยในพุทธศาสนาทรงเปน “ธรรมราชา” พระองคทรงเปนผูอุปถัมภ ปกปอง และตั้งมั่นพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรือง 5000 ป พระราชกรณียกิจของกษัตริยคือการสราง ซอมแซมศาสนสถานใหคงอยูถึง 5000 ป กษัตริยตองใหการดูแลพระสงฆ สามเณรในการปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเปนอยางดี กษัตริยตองดูแลใหพระสงฆเครงครัดในพระธรรมวินัย58 ซ่ึงจะทําใหศาสนาตั้งมั้นได 5000 ปตามคําทํานาย หากพระสงฆหยอนยานทางวินัย กษัตริยซ่ึงมีหนาที่ปกปองรักษาพุทธศาสนาตองใหกับสนับสนุนการทําสังคายนาพระสงฆใหเครงครัดในหลักพระธรรมวินัย

นิพพานเปนเปาหมายสูงสุดของกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศเชนเดียวกัน กษัตริยและพระบรมวงศานุวงศจึงกัลปนาทรัพยสิน แรงงานจํานวนมากมายเพื่อบรรลุเปาหมายนิพพาน และจากภาระของกษัตริยที่ตองดูแลทุกขสุขราษฎรของพระองค ซ่ึงรวมถึงการสนับสนุนให

57 Michael Aung-Thwin, Pagan: The Origins of Modern Burma (Honolulu:University of

Hawaii Press,1985), 178. 58 Michael Aung-Thwin, “The Role Of Sasana Reform in Burmese History :

EconomicDimensions of Religious Purification,” Journal of Asian Studies 38,1, (August 1979), 671.

Page 115: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

104

ราษฎรใหตั้งมั่นในพุทธศาสนา ภารกิจของธรรมราชาที่มีตอราษฎรคือ การนําพาราษฎรใหขามผานวัฏสงสารเพื่อบรรลุนิพพาน อันเปนเปาหมายที่สําคัญในพุทธศาสนา บทกลอนภาษาบาลีที่จารึกบนผนังของวัดชเวกูยี ซ่ึงเปนวัดที่พระเจาอลองคสิทถุทรงสรางขึ้นเปนแหงแรกเมื่อพระองคทรงขึ้นครองราชย กลอนบทหนึ่งไดกลาวถึงหนาที่ของกษัตริยในการนําพาราษฎรของพระองคขามพนวัฏสงสารวา

“By this my gift, whatever boon ensues ดวยส่ิงของที่ขาพระเจาไดกัลปนานี้ ขอพรอันประเสริฐจงเกิดมี Be the best of boons, to profit all ! เปนพรอันประเสริฐสุด ใหไดถึงแกทั้งหลายทั่วกัน By this abundant merit I desire ดวยบุญอันอนันต ขาพระเจา Here nor hereafter no angelic pomp หาไดปรารถนาในกาลนี้หรือกาลหนาซึ่งสวรรคสมบัติ Of Brahmas, Suras, Maras; nor the state แหงพรหมแหงสุระแหงมาร หรือ ความเปน And splendour of a king; nay; nor the steps หรือความอลังการแหงพระมหากษัตริย หรือบันได Sublime of pupil of the conqueror. อันรุงโรจนแตไมยั่งยืนของผูจักเปนจักรพรรดิ But I would make my body a bridge athwart ขาพระเจาหากปรารถนาใหตนเปนสะพาน The river of Samsara, and all folk อันทอดขามสังสารวัฏ แลเพ่ือคนทั้งหลาย Would speed across thereby until they reach อาจไดเรงขามจนบรรลุยัง The Blessed City. I myself would across นครแหงนิพพาน ขาพระเจาเองจักขาม And drag the drowning over. Ay, myself แลจักชวยผูเวียนวายอยูใหรอด อนึ่ง ขาพระเจานั้น

Page 116: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

105

Tamed, I would tame the wilful; comforted. สงบแลว แลจักชวยใหผูมีจิตดื้อร้ันไดสงบ, สุขแลว Comfort the timid ; wakened, wake the asleep; แลจักชวยผูยังหวั่นไหวใหเปนสุข, ตื่นแลว แลจักชวยผูยังหลับใหตื่น, Cool, cool the burning; freed, set free the bound เย็นแลว แลจักชวยผูรอนใหเย็น, เปนอิสระแลว แลจักชวยผูถูกพันธนาการ

ใหเปนอิสระ Tranquil, and led by the good doctrine, I ดวยจิตอันวางแลวแลนําพาดวยพระธรรมอันประเสริฐยิ่ง ขาพระเจา Would hatred calm. The three immoral states, จักทําใหความเกลียดความโกรธสงบลง ส่ิงอันรายทั้งสามประการ Greed, Hate, Dulusion-rooted all in self โลภะ, โทษะ แลโมหะ ทั้งหลายอันฝงลึกในตน O may they die, whenever born in me!....”59 ขอใหตาย แมหากจักเกิด ก็อยาไดเกิดแกขาพระเจาเลย60

หนาที่ของกษัตริยในฐานะธรรมราชายังเปนสิ่งที่พระบรมวงศานุวงศในพุกามชวยกษัตริยปฏิบัติเชนกัน เจาชายราชกุมารไดอธิษฐานในจารึกราชกุมารวา “ ขอใหกุศลผลบุญที่ขาพเจาสรางขึ้นสงผลใหขาพเจาเปนผูรูแจงเห็นจริง และนอกจากขาพเจาขอให บุตรชาย บุตรสาว และญาติๆ รวมถึงบุคคลอื่นๆใหบรรลุนิพพานในยุคสมัยพระพุทธเจาองคปจจุบัน อยาไดไปถึงยุคพระศรีอารเมตไตรยเลย61 ปลายคริสตศตวรรษที่ 13 พระนางสอ (Caw) ทรงเปนพระปตุฉาของพระเจากะยอซาวาไดอธิษฐานวา “จากกุศลผลบุญที่ขาพเจาไดสรางขึ้นขอให กษัตริย พระอนุชา พระโอรส พระธิดา พระกนิษฐา พระสนมในพระราชสํานัก เสนาอํามาตย มนุษย เทวดา ที่อาศัยในจักรวาล ทั้งในนรกอเวจี สวรรคชั้นสูงสุดและต่ําสุด รวมถึงผูที่อยูนอกจักรวาล ขอใหบุคคลเหลานี้หลุดพนจากความทุกขทรมานของการเวียนวายตายเกิดและบรรลุ

59 G.H. Luce, Old Burma Early Pagan Vol. 1, 88. 60 คําถอดความของ ดร. วินัย พงศศรีเพียร 61 Charls Duroiselle, ed., Archaeological Survey of Burma “Epigrahhia Birmanica Being

Lithic and other Inscriptions of Burma”,26.

Page 117: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

106

นิพพาน ซึ่งเปนดินแดนที่มีแตความสงบสุข62 หนาที่กษัตริยและพระบรมวงศานุวงศที่มีตอพุทธศาสนาทําใหคนกลุมนี้ตองกัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมากกวาคนกลุมอื่นๆ

ขุนนางและครอบครัว ขุนนางและครอบครัวเปนกลุมคนที่กัลปนาเพื่อสรางศาสนสถานจํานวนมากมาย

เชนเดียวกับกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศ จารึกไดกลาวถึงคนกลุมนี้มีเปาหมายการกัลปนาที่นิพพาน ความเชื่อในพระศรีอารยเมตไตรย และการคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ป การกัลปนาของขุนนางและครอบครัวสวนใหญเพื่อประโยชนของตนเองและครอบครัว

ประชาชนชาวพุกาม นิพพานเปนเปาหมายในพุทธศาสนาที่ประชาชนชาวพุกามปรารถนา หากประชาชน

ชาวพุกามเปนผูที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดอยกวาคนสองกลุมแรก ดังนั้นความสามารถในการกัลปนาเพื่อสรางกุลศลกรรมจึงมีนอยกวาคนในสองกลุมแรก ส่ิงนี้ไมไดแสดงวาประชาชนชาวพุกามมีความสัมพันธกับพุทธศาสนานอยไปดวย ในทางตรงกันขามประชาชนชาวพุกามมีความผูกพันกับพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง และยังอํานวยผลประโยชนใหซ่ึงกันและกันดวย

- ความสัมพันธในฐานะอุบาสกและอุบาสิกาในชีวิตประจําวันชาวพุกาม มีความสัมพันธกับพุทธศาสนาอยางใกลชิดทั้งดานการศึกษา การประกอบอาชีพ และความเชื่อ เด็กๆชาวพุกามไดรับการศึกษาใหอานออกเขียนไดที่วัด ผูชายที่มีอายุ ๒๐ ปอุปสมบทเปนพระภิกษุเพื่อศึกษาเลาเรียนในทางพุทธศาสนา สวนชาวพุกามทั่วไปเขาวัดเปนประจําเพื่อทําบุญ ฟงเทศนและปฏิบัติธรรม ภายในวัดจึงมีสถานที่เพื่อประกอบศาสนกิจสําหรับผูที่มาแสวงบุญอยางเปนสัดสวน

- ความสัมพันธในฐานะที่เปนขาทาสวัด ขาทาสวัดที่กัลปนาใหกับศาสนาสวนใหญเปนประชาชนชาวพุกามทั่วไป การเปนขาทาสวัดนับวาเปนการทําบุญสรางกุศลที่ยิ่งใหญเชนเดียวกัน เนื่องจากไดเปนผูรับใชศาสนาอยางใกลชิด การมาเปนขาทาสวัดทําใหชาวพุกามไดสรางกุศลดวย ประชาชนชาวพุกามแมวาจะไมไดเปนผูที่กัลปนาเพื่อการศาสนาจํานวนมาก ประชาชนชาวพุกามไดสรางกุศลผลบุญของตนเองซึ่งมีความสําคัญตอความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามเปนอยางยิ่ง

62 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma

Research Society, 62.

Page 118: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

107

พระสงฆในพุกาม พรสงฆเปนบุคคลที่มีความสําคัญในทางพุทธศาสนา ชาวพุกามเคารพและนับถือ

พระสงฆเปนอยางยิ่ง ดังนั้นพระสงฆจึงไดรับการดูแลในดานตางๆอยางใกลชิด แมวาพระสงฆเปนผูที่ศึกษาและปฏิบัติในทางธรรมไมเกี่ยวของกับทางโลก ความจริงพระสงฆไดเขามามีบทบาททางสังคมที่สําคัญในหลายเรื่อง และชาวพุกามเชื่อถือปฏิบัติตามคําแนะนําของพระสงฆเปนอยางยิ่ง

การจัดองคกรสงฆในพุกาม ในสมัยพุกามพระสงฆแยกการปกครองออกจาอาณาจักร โดยมีพระสังฆราชเปน

ประมุขปกครองฝายสงฆ ตําแหนงสังฆราชในสมัยตอมาเรียกวา “ศาสนเบง” (thathanabaing, sasanapuin) กษัตริยทรงเปนผูแตงตั้งพระสังฆราช พระสังฆราชองคแรกของพุกามคือ พระชินอรหันต พระเจาอนิรุทธทรงแตงตั้งทานใหดํารงตําแหนงสังฆราชองคแรกของอาณาจักรพุกาม และทานดํารงตําแหนงสังฆราชในกษัตริย 4 รัชสมัยไดแก พระเจาอนิรุทธ พระเจาสอลู พระเจาจันสิตถะและตนรัชสมัยพระเจาอลองคสิทถุ ทานเปนสังฆราชที่มีบทบาทโดดเดนที่สุดในประวัติศาสตรพมา พระสังฆราชองคตอจากพระชินอรหันตคือพระปนถคุ พระอุตตรชีวะตามลําดับ

แมวาพระสงฆในสมัยพุกามจะแยกการปกครองออกจากอาณาจักร หากไมมีการจัดตั้งองคกรสงฆขึ้นมาปกครองอยางในสมัยตอมา เชน ในสมัยราชวงศคอนบองพระเจาบอดวงพญาทรงแตงตั้งคณะพระสังฆราชา 8 รูปเปนคณะสงฆเพื่อชวยพระสังฆราชในการปกครองและดูแลเรื่องที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนา63 ในสมัยพุกามจึงไมมีการจัดองคกรสงฆและการลําดับชั้นยศของพระสงฆ แมวาในจารึกจะมีคําที่ใชเรียกพระสงฆแตกตางกัน แตคําเหลานี้ไมไดมีการกําหนดใชอยางแนชัดเชนตาํแหนงพระสังฆราชมีคาํนําหนาตางๆ กันทั้งมหาเถระ สังฆราชา เถระและราชครู64 คําเหลานี้ยังใชเรียกพระสงฆที่เปนที่นับถือของชาวพุกาม พระสงฆที่เปนพระ

63 Niharran Ray, An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma: a Study

in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest, 274.

64 Tun, “History of Buddhism in Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma Research Society, 117.

Page 119: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

108

อาจารยของกษัตริยมีคําเรียกนําหนาวา พระมหาเถระ สังฆราชา เถระ หรือ สขิ่น (skhin)65 คําวามหาเถระยังใชเรียกพระสงฆที่มีอาวุโสภายในวัดอีกดวย66 การปกครองของพระสงฆภายในวัด เปนการปกครองตามความอาวุโส พระที่มีอาวุโสเรียกวา สันกรี (San kri)67 เปนผูปกครองดูแลพระสงฆที่มีอาวุโสนอยเรียกวา Sanlyan ในสมัยพุกามยังไมมีการจัดองคกรสงฆ การลําดับชั้นของพระสงฆเปนไปตามความอาวุโส และมีเพียงพระสังฆราชเปนประมุขปกครองสูงสุดในพุทธศาสนา

ในสมัยพุกามไมมีการจัดองคกรสงฆอยางเปนทางการ วิธีการที่พระสังฆราชใชในการควบคุมพระสงฆคือ การสังคายนาคณะสงฆเปนการปฏิรูปคณะสงฆที่หยอนยานทางวินัยหรือปฏิบัติไปในทางเสื่อมผิดเพี้ยนไปจากหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจา การสังคายนาเพื่อใหพระสงฆไดปฏิบัติตนเครงครัดในพระธรรมวินัย การสังคายนาเปนการรับอิทธิพลของพุทธศาสนาจากภายนอกเพื่อนํามาปฏิรูปคณะสงฆ ในสมัยพุกามมีการสังคายนาคณะสงฆหลายคร้ัง คร้ังที่สําคัญในสมัยพระเจาอนิรุทธทรงโปรดใหพระชินอรหันตนําพุทธศาสนาที่รับมาจากเมืองสะเทิมมาปฏิรูปคระสงฆภายในพุกามใหปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยที่เครงครัดเหมือน กัน การสังคายนาคณะสงฆคร้ังนี้ทําใหพุกามไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากมอญ ในสมัยพระเจานรปติสิทถุเมื่อพระฉปฏเดินทางกลับมาจากลังกา ทานไดนําพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากลังกาเขามาเผยแผในพุกาม พระเจานรปติสิทถุทรงใหอุปถัมภพระฉปฏและพระสงฆลังกาวงศใหตั้งมั่นในพุกาม สมัยพระเจากยอฉวาพระองคไดสงพระสงฆสองรูปคือ พระธรรมศิริและพระสุภุติจันทะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่เกาะลังกา เพื่อที่จะกลับมาสังคายนาคณะสงฆในพุกามใหเครงครัดเปนไปตาหลักธรรมในพุทธศานา การสังคายนาคณะสงฆของพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญคือ การสงพระสงฆไปอุปสมบทใหมและศึกษาพระธรรมที่เกาะลังกา เนื่องจากลังกาเปนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนาเถรวาทที่ยึดถือแนวทางพุทธศาสนาของพระพุทธเจาอยางเครงครัด

การทําสังคายนามีความสําคัญตอการปกครองคณะสงฆในพุกาม เนื่องจากเมื่อทําสังคายนาคณะสงฆเปนการทําใหพระสงฆยึดถือปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยเดียวกันจึงเปน

65 Ibid., 116. 66 Ibid. 67 ทัน ตุน กลาววา San เปนคําที่ยอมาจาก Sangha หรือพระสงฆนั้นเอง ดร. วินัย พงศศรี

เพียร เชื่อวา คําวา สันกรี ตรงกับ สังฆการี ในทําเนียบพระไอยการของกรมวังของไทย สังฆการี ฝายทีมีหนาที่ดูแลกิจการสงฆและวินัยพระภิกษุ

Page 120: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

109

การงายตอการปกครองของพระสังฆราช การสังคายนาคณะสงฆทําใหพระสังฆราชสามารถควบคุมคณะสงฆดวยความชอบธรรม สามารถที่จะกันบุคคลที่สรางความเสื่อมใหกับศาสนาออกไปเหลือไวแตพระสงฆที่ปฏิบัติตามหลักธรรมอยางเครงครัด ในขณะเดียวกันการสังคายนาคณะสงฆเปนวิธีการที่กษัตริยทรงใชในการควบคุมคณะสงฆเชนเดียวกัน กษัตริยทรงเปนธรรมราชาผูอุปถัมภและคุมครองพุทธศาสนา พระองคทรงมีอํานาจชอบธรรมที่จะรักษาปกปองพุทธศาสนาใหบริสุทธิ์และเจริญรุงเรือง ดั้งนั้นเมื่อคณะสงฆปฏิบัติตนที่จะทําใหศาสนาเสื่อมกษัตริยทรงเขามาจัดการกับพระสงฆ ซึ่งเปนการเขามาแทรกแซงดานศาสนาของอาณาจักรวิธีการหนึ่ง การเขามาแทรกแซงกิจกรรมศาสนาของกษัตริยเนื่องจากในสมัยพุกามมีการกัลปนาทรัพยสินมีคาตางๆใหกับศาสนาและพระสงฆเปนจํานวนมาก จนทําใหกษัตริยตองควบคุมพระสงฆไมใหเปนเจาของทรัพยากรความมั่งคั่ง โดยการใหมีการสังคายนาคณะสงฆเพื่อใหพระสงฆในพุกามไดเครงครัดในหลักธรรมและคัดแยกบุคคลที่แอบแฝงเขามาเปนพระสงฆ ทรัพยสินที่พระสงฆครอบครองนั้นจะกลับมาเปนสมบัติทางโลกทําใหสามารถเรียกเก็บภาษีได

บทบาทของพระสงฆในพุกาม บทบาทของพระสงฆในพุกามคือ การเผยแผหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจา

ใหแกชาวพุกาม พระสงฆชาวพุกามจํานวนมากใชเวลาสวนใหญเพื่อการศึกษาพระไตรปฎกและตําราตางๆในพุทธศาสนา พระชินอรหันตเปนพระสงฆรูปสําคัญของพุกาม ทานเปนผูนําพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทเขามาเผยแผในพุกามและสรางความรุงเรืองใหกับพุทธศาสนาในพุกาม ทานเปนที่รูจักอยางแพรหลายตั้งแตอดีตจนปจจุบัน พระสงฆรูปอื่นในสมัยพุกามไดแตงคัมภีรในพุทธศาสนามากมาย พระสงฆที่ศึกษาพระธรรมอยางเครงครัดและเปนที่รูจักในสมัยพุกามคือ พระฉปฏทานไดไปศึกษาพระธรรมที่เกาะลังกาเปนเวลา 10 พรรษาจนไดเปนพระเถระ พระวินัยธรเปนพระสงฆที่ศึกษาพระธรรมวินัยอยางเครงครัดจนไดเปนพระเถระเชนเดียวกัน พระ สงฆพุกามไมไดมีความรูในดานพุทธศาสนาเพียงอยางเดียวเทานั้น พระสงฆยังเปนผูที่มีความรูทางดานตางมากมาย ภาษาและไวยากรณ ตรรก การแพทย โหราศาสตร ดาราศาสตร ปรัชญา การเมือง กฎหมาย กวี การวัดชั่งตวง รวมถึงดานการทหาร68 บทบาททําสําคัญของพระสงฆคือการเปนอาจารยสอนวิชาตางๆ ใหกับชาวพุกาม

68 Niharranjan Ray, An Introduction to the Study of Theravda Buddhism in Burma: a Study

in Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest, 259.

Page 121: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

110

- พระสงฆทรงเปนราชครูของกษัตริยและโอรสธิดาของกษัตริย พระสงฆที่มีความรูความสามารถกษัตริยทรงแตงตั้งใหเปนราชครู (Rajakuru) หรือ มันจารยะ (man charya) พระราชครูมีหนาที่ในการสอนพระธรรมในพุทธศาสนาแกกษัตริยและพระบรมวงศานุวงศ นอก จากนี้พระสงฆยังเปนผูส่ังสอนวิชาตางๆ ที่มีความสําคัญตอการปกครองบานเมือง พระราชครูบางรูปที่กษัตริยทรงไววางใจเปนอยางยิ่ง กษัตริยทรงใหเปนที่ปรึกษาทางดานการเมืองการปกครองดวย ในบางครั้งพระสงฆเปนผูวางแผนนโยบายทางดานการเมืองอีกดวย

- พระสงฆกบัการสั่งสอนประชาชน หนาที่สําคัญของพระสงฆคือ การเผยแผพทุธศาสนาในพุกาม โดยแสดงธรรมเทศนาใหแกประชาชนทั่วไปไดรูจักหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจา หนาที่นี้เปนหนาที่หลักที่สําคัญของพระสงฆ สวนอีกหนาที่หนึ่งคือการสั่งสอนวิชาตางๆ ใหกับชาวพุกาม เนื่องจากในสมัยพุกามวัดเปนเพียงสถานที่เดียวที่จะสั่งสอนวิชาความรูดานตางๆใหกับประชาชนชาวพุกามทั่วไป เปนธรรมเนียมปฏิบัติวาเด็กผูชายที่มีอายุ 7 ขวบผูปกครองจะสงไปบวชเปนสามเณร เพื่อศึกษาวิชาความรูตางๆ โดยเฉพาะการเรียนเขียนอานหนังสือ เมื่ออายุครบ 20 ป ผูชายชาวพุกามอุปสมบทเปนพระภิกษุเพื่อศึกษาเลาเรียนในทางพุทธศาสนา ในสมัยพุกามพระสงฆเปนมีความรูในดานตางๆ ในจารึกกลาววาพระสงฆเปนผูสอนใหขาทาสวัดเลนดนตรีเพื่อถวายเปนพุทธบูชา69 บทบาทของพระสงฆในสมัยพุกามจึงไมไดมีเพียงในดานศาสนาเทานั้น พระสงฆมีหนาที่ส่ังสอนความรูดานตางๆ พระสงฆและวัดจึงไมใชแหลงความรูทางดานพุทธศาสนาเทานั้น หากยังเปนศูนยกลางความรูของศาสตรตางๆ ของสังคมพมาในสมัยพุกามดวย

พุกามศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนา

พุกามเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญแหงหนึ่ง พระสงฆและนักแสวงบุญจากดินแดนตางๆเดินทางเขามาศึกษาพุทธศาสนาในพุกาม จารึกพุกามป ค.ศ. 1268 กลาววา “มีผูถวายปจจัยในการทําบุญแดพระสงฆชาวลังกา70 ซ่ึงเปนการแสดงวามีพระสงฆชาวลังกาในพุกามแลว ชาวพุกามใหความสนใจศึกษาพุทธศาสนาอยางกวางขวางทั้ง กษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง ประชาชนทั่วไป พระเจากยอฉวาทรงสนพระทัยศึกษาพระธรรมเปนอยางยิ่งและพระองคยังเปนปราชญทางศาสนาดวย ที่สําคัญในพุกามทั้งเด็กและผูใหญสนใจ

69 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300,” Journal of Burma

Research Society, 63. 70 Ibid., 119.

Page 122: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

111

ศึกษาพุทธศาสนาเชนเดียวกัน ศาสนวงศกลาวถึงสตรีชาวพุกามเมื่อเวลาพบปะกันมักไตถามถึงเร่ืองการเรียนคัมภีรตางๆในพุทธศาสนา71 พุกามเปนชวงเวลาที่การศึกษาพุทธศาสนาเฟองฟูยุคหนึ่ง

วรรณกรรมพุทธศาสนาสะทอนถึงความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม จารึกในสมัยพุกามกลาวถึงพระสงฆในพุกามจํานวนมากอุทิศเวลาเพื่อการศึกษาพระไตรปฎกและตําราตางๆในพุทธศาสนา กษัตริย พระบรมวงศานุวงศขุนนางและประชาชนชาวพุกามใหความสนใจศึกษาพุทธศาสนาเชนเดียวกัน การศึกษาพุทธศาสนาของพระสงฆชาวพุกามเฟองฟูจนสามารถที่จะแตงคัมภีรในพุทธศาสนาจํานวนมากมาย และบางเลมยังไดรับการยอมรับจนใชในการศึกษาพุทธศาสนาในปจจุบัน การศึกษาพุทธศาสนาในสมัยพุกามแบงออกเปนสองชวงคือ กอนสมัยพระเจานรปติสิทธูและหลังจาสมัยพระเจานรปติสิทธู งานวรรณกรรมพุทธศาสนาในสมัยพุกาม Dr. Mabel Bode ไดรวบรวมคัมภีรพุทธศาสนาในหนังสือ The Pali Literature of Burma (วรรณกรรมบาลีของพมา)

วรรณกรรมพุทธศาสนากอนสมัยพระเจานรปติสิทธู วรรณกรรมพุทธศาสนากอนไดรับอิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ ชวงเวลานี้ไมคอยมี

งานวรรณกรรมพุทธศาสนามากเทาในชวงเวลาหลัง ความรูทางพุทธศาสนาที่สําคัญในชวงเวลานี้คือ ชาดก เปนเรื่องที่เกี่ยวกับพระชาติตางๆของพระพุทธเจากอนที่จะประสูติเปนเจาชายสิตธัตถะ ชาดกเปนที่รูจักกันอยางแพรหลายในพุกามและเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยเฉพาะทศชาติชาดก หรือสิบชาติสุดทายของพระพุทธเจา

ชาดกเปนแหลงการเรียนรูเกี่ยวกับคําสอนของพุทธศาสนาอยางแรกๆ ที่ชาวพุกามรูจัก แมวาพระเจาอนิรุทธพระเจาอนิรุทธจะทรงสงกองทัพไปโจมตีเมืองสะเทิมในป ค.ศ. 1057 และทรงอัญเชิญพระไตรปฎกมาจากเมืองสะเทิม แตตลอดรัชสมัยของพระเจาอนิรุทธชาดกถือเปนเรื่องที่ชาวพุกามรูจักเปนอยางดีจากแผนภาพดินเผาชาดกที่ประดับระเบียงเจดียตางๆ ภาพจิตรกรรมผาผนัง หรือเปนนิทานที่เลาสืบตอกันมา ชาดกที่เปนที่นิยมไดแก ทศชาติชาดก และชาดกที่ไดรับความนิยมเปนอยางยิ่งคือพระเวสสันดรชาดก

ชาดกมีความสัมพันธใกลชิดกับชาวพุกามมากกวาวรรณกรรมพุทธศาสนาอื่นๆ ใน ชวงตนของอาณาจักรพุกามความรูในดานพุทธศาสนาที่สําคัญ คือชาดก ชาดกเปนเรื่องราวประวัติพระพุทธเจากอนที่จะทรงพระชาติเปนพระพุทธเจา ที่เจดียชเวซิกองและอนันทเจดียมี

71 พระปญญาสามี, ศานวงศ, 117-119.

Page 123: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

112

ภาพที่ 29 แผนภาพดินเผาชาดก ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 124: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

113

แผนดินเผาแกะสลักเรื่องชาดกติดที่ผนังระเบียงเจดียจํานวนมากมาย ชาดกที่รูจักอยางแพรหลายคือ ชาดก 10 ชาติสุดทายของพระพุทธเจา หรือทศชาติชาดก ศาตราจารยลูชกลาววาเมื่อคร้ังที่พระเจาอนิรุทธโจมตีเมืองสะเทิมในป ค.ศ. 1057 ตําราพุทธศาสนาที่พระองคนํามาจากเมืองสะเทิมนาจะเปนชาดกมากกวาพรไตรปฎก72 เนื่องจากในสมัยพระเจาอนิรุทธไมพบความรูที่เกี่ยวกับพระไตรปฎกในวัดและเจดียที่พระองคทรงสรางขึ้น สมัยตอจากพระเจาอนิรุทธความรูในพระไตรปฎกยังไมเปนที่ศึกษาอยางแพรหลายเชนเดียวกัน การศึกษาดานพุทธศาสนามีเพียงเล็กนอย จนเมื่อพุกามมีการติดตอกับลังกาในดานพุทธศาสนาในสมัยพระเจานรปติสิทถุการศึกษาพุทธศาสนาไดเจริญรุงเรืองอยางยิ่ง

วรรณกรรมพุทธศาสนาที่สําคัญในชวงเวลานี้คือ คัมภีรการิกา (Karika) แตงขึ้นในสมัยพระเจาจันสิตถะ พระธรรมเสนาบดีซ่ึงจําวัดที่วัดอนันทเปนผูแตงขึ้น คัมภีรการิกาเปนอรรถกถา ทานไดรวมคัมภีรสองเลมคือ เอติมสมิทิปานี (Etimasamidipani) และมโนหระ (Manohara) เขาไวดวยกัน73 ในป ค.ศ.1154 พระอัคควังสะแตงคัมภีรสัททนีติ (Saddaniti) เปนอรรถกถาพระไตรปฎกที่ครอบคลุมที่สุดเลมหนึ่ง74 เมื่อคร้ังที่พระอุตตรชีวะเดินทางไปนมัสการพระมหาธาตุที่เกาะลังกา ทานไดนําคัมภีรสัททานีติไปเผยแพรใหพระสงฆชาวลังกาไดรูจัก พระสงฆชาวลังกาใหการยอมรับคัมภีรสัททนีติวามีความยอดเยี่ยมเทากับคัมภีรที่พระสงฆชาวลังกาแตงขึ้น75 คัมภีรทั้งสองเลมยังเปนที่รูจักจนกระทั่งในปจจุบัน คัมภีรทั้งสองเลมยังคงไดรับการตีพิมพเผยแพรเพื่อใชในการศึกษาพุทธศาสนา

วรรณกรรมพุทธศาสนาสมัยพระเจานรปติสิทถุ วรรณกรรมพุทธศาสนาหลังจาที่ไดรับอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ ในสมัย

พระเจานรปติสิทธูเปนยุคทองของการศึกษาพุทธศาสนาในพุกาม จุดเปลี่ยนที่สําคัญคือเมื่อพระฉปฏเดินทางกลับจากเกาะลังกา ทานไดนําพุทธศาสนาจากลังกาเขามาเผยแผที่พุกาม รวมถึงความรูพุทธศาสนาที่พระฉปฏไปเรียนมาจากเกาะลังกา คัมภีรพุทธศาสนาที่พระฉปฏแตงขึ้นที่สําคัญ สุตฺถนิเทสฺส (Sutthanidessa) เปนอรรถกถาคัมภีรกัจจายน (Kaccayana) ของ

72G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan Vol. 1, 26. 73 Mabel Bold, The Pali Literature of Burma, 16. 74 Ibid. 75 Ibid.,17.

Page 125: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

114

ภาพที่ 30-31 คัมภีรโบราณ และ ปะระผูก (Parabuik) สมุดที่ใชในการจดบันทึกสวนใหญใชในการศึกษาพุทธศาสนา ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 126: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

115

อินเดียที่พระฉปฏนํามาเผยแพรในพุกาม76 คัมภีรสังเขปปวัณณา (Sankheppavanna) พระฉปฏไดแปลสังเขปวัณณาจากภาษาสิงหฬเปนภาษามอญ77 คัมภีรสีมาลังการะ (Simalankara, Simalankaratika) เปนตาํราที่อธิบายพิธีกรรมการปกเขตสีมา คัมภีรเลมนี้เปนการอรรถกถาคัมภีรของพระเถระชาวลังกาชื่อวา วจีสาระ (Vacissara)78 คัมภีรวินยคูฬหัตตธิปนี (Vinayagulhatthadipani) เปนคัมภีรอรรถกถาอธิบายขอความที่เขาใจยากในพระวินัยปฎก

วรรณกรรมพุทธศาสนาในสมัยพระเจานปติสิทธูไมไดมีเพียงที่พระฉปฏแตงขึ้นเทานั้น พระสงฆมรัมมะไดแตงคัมภีรพุทธศาสนาที่สําคัญ พระสัทธรรมศิริแตงคัมภีรอรรถกถาอธิบายสัททัตถเภทจินทะ (Saddatthabhedacinda) อันเปนคัมภีรที่กลาวถึงความหมายตางๆ ของศัพทภาษามคธและขอความที่สับสน79 พระมหาวิมลพุทธิแตงอรรถกถาชื่อ นยาส (Nyas) เพื่ออธิบายคัมภีรกัจจายนยคะ (Kaccayanayaga)

สมัยพระเจากยอฉวาทรงเปนกษัตริยที่สนใจศึกษาพุทธศาสนาอยางเครงครัด พระ องคทรงแตงคัมภีรพุทธศาสนา 2 เลมคือ สัททพินทุ (Saddabindu) ฉบับสังเขป และปรมัตถพินทุ (Paramatthabindu) คัมภีรทั้ง 2 เลมเปนอรรถกถาเพื่อประโยชนแกทาวนางขางใน ซ่ึงกําลังศึกษาคัมภีรพุทธศาสนาอยู80 พระธิดาของพระเจากยอฉวาทรงแตงคัมภีรวิภาตยัตตะ พระราชครูของพระเจากยอฉวาแตงคัมภีรมุขมัตตสาระ (Mukhamattasara)81 หลังจากสมัยของพระเจากยอฉวาพุทธศาสนา รวมถึงอาณาจักรพุกามไดเสื่อมลงจึงไมมีการแตงวรรณกรรมพุทธศาสนา และยังเปนชวงสุดทายของความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกาม

ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามเกิดจากศรัทธาความเชื่อที่ในเรื่องนิพพาน พระศรีอารยเมตไตรย และการคงอยูของพุทธศาสนา 5000 ป ทําใหชาวพุกามกัลปนาเพื่อการศาสนา ในการสรางงานศิลปกรรมที่เกี่ยวของกับศาสนา สถาปตยกรรม วิจิตรศิลป และการศึกษาพุทธศาสนา ความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาในพุกามยังไดแสดงใหเห็นถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมพุกามในขณะนั้นไดเปนอยางดี การสรางศาสนสถานจํานวนมากมาย และการกัลปนาที่ดินขาทาสแรงงานจํานวนมากมายเพื่อการศาสนาไดสงผลกระทบตออาณาจักร

76 Ibid.,18. 77 Ibid. 78 Ibid. 79 พระปญญาสามี, ศาสนวงศ, 113. 80 เร่ืองเดียวกัน, 115. 81 Mabel Bold, The Pali Literature of Burma, 21.

Page 127: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

116

พุกามทั้งในดานที่ดีและผลเสีย ซ่ึงเปนประเด็นประวัติศาสตรที่สําคัญในสมัยพุกาม

Page 128: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

117

ภาพที่ 32 เจดยีวหิารอนันทและเจดียวิหารสัพพัญูมีแมน้ําอิระวดีดานหลัง ที่มา: Richard M. Cooler, The Art and Culture of Burma, [online]. Accessed 3 June 2003. Available from http://seasite.nui.edu/burmese/Cooler/Burma Art/

Page 129: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

118

บทท่ี 5

บทสรุป

ผลกระทบของพุทธศาสนาเถรวาทตออาณาจักรพุกาม

พุทธศาสนาเถรวาทไดตั้งมั่นในอาณาจักรพุกาม และเปนสวนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวพมา พุทธศาสนาไดสรางความรุงเรืองใหกับอาณาพุกามในดานตางๆ พุทธศาสนาเถรวาทไดเปลี่ยนชาวพมาจากกลุมคนเรรอนใหเปนผูที่มีอารยธรรมเจริญทัดเทียมชนชาติอื่นๆ พุทธศาสนาเถรวาทสงผลตอความเจริญรุงเรืองของอาณาจักรพุกามทั้งดานสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันพุทธศาสนาเถรวาทไดทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมและลมสลายในที่สุดอีกดวย

สังคม พื้นฐานสังคมพุกามเปนสังคมชนเผาที่อพยพเขามาตั้งถ่ินฐานบริเวณลุมแมน้ําอิระวดี

ตอนบนในชวงคริสตวรรษที่ 9-10 สังคมพุกามในชวงตนจึงเปนสังคมแบบชนเผา ในดานศาสนาและความเชื่อมีแตกตางและหลากหลายไปตามความเชื่อของกลุมคนตางๆ และความเชื่อที่ปฏิบัติสืบตอกันมา ความเชื่อที่ชาวพมานับถือที่สําคัญคือการนับถือภูตผี วิญญาณ ส่ิงศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ซ่ึงเปนที่รูจักในความเชื่อเร่ืองนัต ดานวัฒนธรรมยังไมมีความสลับซับซอน และยังไมมีรูปแบบวัฒนธรรมที่แนนอน เนื่องจากในแตละกลุมยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง สังคมพุกามในชวงตนที่มาตั้งถ่ินฐานบริเวณลุมแมน้ําอิระวดีจึงเปนสังคมที่มีความหลากหลายในความเชื่อ และวัฒนธรรม สังคมยังไมมีความเจริญรุงเรืองมานัก เมื่อเทียบกับกลุมคนกลุมอื่นที่ตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดีทั้งมอญ และผะยู

ศาสนาและความเชื่อ กอนที่จะรับพุทธศาสนาเขามาเปนความเชื่อหลักในสังคมพุกาม ชาวพมามีความเชื่อ

ดานศาสนาที่หลากหลาย ความเชื่อที่มีอิทธิพลในสังคมพุกามคือความเชื่อเร่ืองนัต และพระอาริหรือสมณกุตตกะ และนัตเปนความเชื่อดั้งเดิมของชาวพมาที่เกี่ยวของกับชาวพมาอยางใกลชิด ความเชื่อนัตเปนความเชื่อที่โดดเดนของสังคมพุกาม การนับถือบูชานัตของชาวพมาไมไดเปนอันหนึ่งอนัเดียวกัน เนื่องจากชาวพมานับถือบูชานัตจํานวนมากมาย ซ่ึงเปนไปตามบรรพบุรุษที่กลุมคนนับถือ

Page 130: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

119

สืบตอกันมา การประกอบอาชีพ หรือจากความนับถือเล่ือมใสเปนพิเศษ นัตนั้นไมไดเปนสถาบันทางสังคม หากเปนเพียงความเชื่อทองถ่ินที่สืบปฏิบัติตอกันมา เชนเดียวกับการนับถือพระอาริ พระอาริมีอิทธิพลตอชาวพมาในทางพิธีกรรมเปนสวนใหญ ไมไดมีผลตอการดําเนินชีวิตของชาวพมามากนัก ศาสนาความเชื่อของพุกามในชวงแรกมีความหลากหลายไปตามกลุมคนตางๆ และยังไมไดเปนสถาบันทางสังคมที่ การประกอบพิธีกรรมตางๆเปนไปตามความเชื่อของกลุมตนที่ปฏิบัติสืบตอกันมา โดยเฉพาะความเชื่อนัตที่แตละกลุมจะนับถือนัตที่แตกตางกัน และประกอบพิธีกรรมบูชานัตตามความเชื่อของตนเอง ดังนั้นศาสนาความเชื่อของพุกามกอนที่จะรับพุทธศาสนาจึงไมมีแบบแผนพิธีกรรมรวมกัน ความแตกตางดานศาสนาและความเชื่อทําใหกลุมคนชาวพมามีความแตกตางกันไมรวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน

เมื่อพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนความเชื่อหลัก พุทธศาสนาไดเขามาผสมผสานความเชื่อที่หลากหลายและแตกตางของพุกามใหเขาเปนสวนหนึ่งของพุทธศาสนา พระเจาอนิรุทธทรงเปลี่ยนสถานภาพของนัต ซ่ึงแตเดิมเปนเพียง ผี วิญญาณความเชื่อส่ิงศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติใหเปนเทวดาในความเชื่อพุทธศาสนา พระองคทรงแตงตั้งนัต 36 องค ซ่ึงเปนที่นับถือบูชาของชาวพมากลุมตางๆใหเปนเทวดาผูคุมครองและปกปองพุทธศาสนา โดยใหพระอินทรซ่ึงเปนเทวดาในพุทธศาสนาเปนหัวหนาของนัต 36 องค พระองคทรงอัญเชิญนัตทั้ง 36 องคไปประดิษฐานที่รอบๆเจดียชเวซิกอง พระเจาอนิรุทธทรงนําพุทธศาสนาเถรวาทเขามาทําลายอิทธิพลของพระอาริ โดยทรงโปรดใหพระชินอรหันตสังคายนาคณะสงฆในพุกาม เพื่อใหพระสงฆเหลานี้ปฏิบัติตนเครงครัดในหลักธรรมวินัยของพุทธศาสนาเถรวาท พระอาริสวนใหญไดทําการอุปสมบทใหมและรับหลักธรรมของพุทธศาสนาเถรวาทเปนแนวทางสําคัญแทนหลักธรรมเดิมของตนเอง

ความเชื่อเดิมของชาวพมาไดผสมผสานเขากับพุทธศาสนาเถรวาท และไดเกิดรูปแบบพุทธศาสนาที่เปนเอกลักษณที่โดดเดนของพุกาม แมวาพุทธศาสนาเถรวาทจะเขามาเปนความเชื่อหลักของสังคมพุกาม แตความเชื่อเดิมยังคงดํารงอยูภายใตความคิดความเชื่อในแบบพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะความเชื่อนัต กอนที่ความเชื่อนัตจะรวมเปนสวนหนึ่งของพุทธศาสนาเถรวาท ชาวพมานับถือบูชานัตหลากหลายและแตกตางกันไปในแตละกลุม จึงไมมีนัตที่ชาวพมานบัถือบชูารวมกัน เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงคัดเลือกนัตที่ชาวพมากลุมตางๆนับถือ 36 องคใหเปนเทวดาผูคุมครองพุทธศาสนา นัตทั้ง 36 องคจึงเปนนัตประจําชาติ ชาวพมาจึงบูชานับถือนัต 36 องคไปพรอมกับการนับถือพุทธศาสนาอยางเครงครัด พุทธศาสนาเถรวาทไดสรางเอกภาพความเชื่อทางศาสนา และวัฒนธรรมใหกับสังคมพุกาม ดานคติความเชื่อโลกทัศนซ่ึงเปนอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาท และการดําเนินชีวิตประจําวันที่เกี่ยวของกับความเชื่อนัต พุทธศาสนาเถรวาททําใหชาวพมามีความเชื่อดานศาสนาเปนไปในทางเดียวกัน วิถีชีวิตและการปฏิบัติตนของชาวพมาอยู

Page 131: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

120

ภายใตแนวทางพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญ วัฒนธรรม วัฒนธรรมของชาวพมาในชวงแรกที่อพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี นั้นยังไมมี

แบบแผนทางวัฒนธรรมรวมกัน ชาวพมาเองมีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกตางไปตามกลุมของตนเอง วัฒนธรรมของชาวพมายังไมละเอียดออน ซับซอนในดานการดําเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ศิลปกรรม วัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งมีความเจริญกวาวัฒนธรรมของชาวพมาไดเขามามีอิทธิพลตอความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวพมาอยางที่ไมเคยปรากฏมากอน ชาวพมานับถือและปฏิบัติตามหลักธรรมในพุทธศาสนาอยางเครงครัด พุทธศาสนาเถรวาทไดเขามาเปนวัฒนธรรมหลักของชาวพมาสงผลให วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา การศึกษา ศิลปกรรมมีความละเอียดออนและลุมลึกในแบบอยางของพุทธศาสนาเถรวาท วิ ถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงามของชาวพมาเปนผลเนื่องมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาเถรวาท ภาษาเปนสิ่งที่ไดรับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเถรวาท เมื่อภาษาบาลีซ่ึงเปนภาษาของพุทธศาสนาเถรวาทไดเขามาสรางความมั่งคั่งทางภาษาใหกับภาษาพมา เปนสิ่งสําคัญที่ทําใหเกิดวรรณกรรมทางพุทธศาสนาจํานวนมากมายในสมัยพุกาม สมัยพุกามเปนชวงความรุงเรืองของศิลปกรรมทางดานศาสนา การสรางศาสนสถานจํานวนมากมายเปนการพัฒนารูปแบบศิลปกรรมของพุกามซึ่งไดรับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเถรวาท

พุทธศาสนาเถรวาทมีบทบาทสําคัญตอการสรางความมั่นคงและความเจริญของสังคมพุกาม ชาวพมาซึ่งเปนชนเผาที่อพยพเขามาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี สังคมยังไมมีเอกภาพและรูปแบบรวมกัน พุทธศาสนาเถรวาทไดผสมผสานความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวพมาใหเปนเอกภาพภายใตพุทธศาสนาเถรวาท และสรางสังคมพุกามใหมีความเจริญรุงเรืองเทียบเทากลุมคนกลลุมอื่นในบริเวณลุมแมน้ําอิระวดี

การเมืองการปกครอง กษัตริยเปนบุคคลที่มีความสําคัญตอการเมืองการปกครองของพุกาม เนื่องจากกษัตริย

ทรงเปนศูนยกลางของอาณาจักร การเมืองการปกครองของพุกามจึงอยูภายใตพระราชอํานาจของกษัตริย กษัตริยพุกามทรงเปนเจาชีวิต เจาแผนดิน และเจาทองน้ํา พระองคเปนผูมีอํานาจเด็ดขาดในการปกครองอาณาจักร อํานาจกษัตริยพุกามมาจากการขยายพระราชอํานาจไปปกครองกลุมชาวพมากลุมตางๆ ที่อพยพมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี สถานภาพกษัตริยพุกามในชวงตนทรงเปนกษัตริยของชาวพมาทั้งปวง ในชวงแรกอํานาจกษัตริยพุกามจํากัดในกลุมชาวพมาเทานั้น

การที่พระเจาอนิรุทธทรงขยายอํานาออกไปปกครองดินแดนของกลุมชนชาติอ่ืน

Page 132: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

121

พระองคทรงนําแนวคิดกษัตริยในพุทธศาสนาเขามาสนับสนุนการขยายดินแดน “ธรรมราชา” เปนแนวความคิดกษัตริยที่สําคัญของพุทธศาสนาเถรวาท ธรรมราชามีหนาที่สําคัญในพุทธศาสนาคือ เปนผูอุปถัมภ ยกยอง และตั้งมั่นพุทธศาสนาใหมีอายุ 5000 ป จากหนาที่ของธรรมราชาไดสรางอํานาจชอบธรรมในการทําสงคราม รุกรานดินแดนตางๆ เพื่อประโยชนทางดานศาสนาเปนสิ่งที่ถูกตอง พระเจาอนิรุทธทรงยกเหตุผลทางศาสนาเพื่อสงกองทัพไปโจมตีเมืองสะเทิม เนื่องจากพระองคทรงตองการพระไตรปฎก กองทัพของพระเจาอนิรุทธเขาทําลายเจดียที่เมืองแปรซึ่งเคยเปนศูนยกลางของชาวผะยู และนําพระบรมสารีริกธาตุสวนหนาฝากไปประดิษฐานที่พุกาม การพระองคเดินทางไปอัญเชิญพระเขี้ยวแกวที่อาณาจักรตาหล่ี และการที่พระองครุกรานอาระกันเพื่ออัญเชิญพระมหามุนี เปนการกระทําที่ชอบดวยหลักธรรมในพุทธศาสนาซึ่งเรียกวา “ธรรมวิชัย” (Dharmavijaya)1 กษัตริยพุกามทุกพระองคทรงตั้งตนเปนธรรมราชา

กษัตริยพุกามทรงเปนผูมีอํานาจสูงสุดในการปกครองราชอาณาจักร แมวากษัตริยพุกามจะเปนผูที่มีอํานาจอยางไมมีขีดจํากัด หากการใชอํานาจของกษัตริยเปนไปภายใตความคิด “ธรรมราชา” กษัตริยตองปฏิบัติตนใหเครงครัดในหลักธรรมพุทธศาสนา หลักธรรมที่กษัตริยในพุทธศาสนาทรงยึดถือหลักทศพิธราชธรรมในการปกครองประชาชน กษัตริยตองดูแลทุกขสุขของประชาชนในอาณาจักรอยางใกลชิด กษัตริยตองสนับสนุนชวยเหลือประชาชนใหอยูอยางเปนสุขทั้งในการดําเนินชีวิตประจําวัน และในทางศาสนากษัตริยมีหนาที่ในการสนับสนุนใหประชาชนของพระองคยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา ดังนั้นกษัตริยจึงมีหนาที่นําพาประชาชนของพระองคใหบรรลุนิพพานเปาหมายสําคัญในพุทธศสนา

พุทธศาสนาเถรวาทไดมอบอํานาจในการปกครองใหกับกษัตริยพุกาม และในขณะเดียวกันไดจํากัดการใชอํานาจใหอยูในหลักธรรมเพื่อที่จะไมใชอํานาจในการขมเหงประชาชนของพระองค

เศรษฐกิจ รูปแบบเศรษฐกิจพุกามคือ Redistribution เปนการจัดเก็บผลประโยชนทางดาน

เศรษฐกิจมายังสวนกลางและกระจายไปอีกครั้งหนึ่ง พุทธศาสนาเขามาเปนสวนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของพุกามในการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจไปยังชาวพุกาม ระบบเศรษฐกิจพุกามทําใหผลประโยชนทางเศรษฐกิจอยูในมือคนกลุมเล็กๆ กษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนางเปน

1 Lauraine Gersick, ed., Centre, Symbol, and Herachies: Essays on the Classical States

of Southeast Asia, (New Heaven: Yale University Southeast Asia Studies,1983), 53.

Page 133: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

122

สวนใหญ คนกลุมนี้จึงเปนเจาของปจจัยการผลิตของพุกามคือ ที่ดินและแรงงาน และเปนผูที่มีฐานะร่ํารวยและเปนเจาของทรัพยสินตางๆมากมาย แตจากความเชื่อเร่ืองนิพพานทําใหชาวพุกามกัลปนาทรัพยสินมีคาเพื่อสรางซอมแซม ดูแลวัดและเจดีย การสรางสาธารณูปโภคภายในวัด กลุมคนที่กัลปนาเพื่อการศาสนามากที่สุดคือ กษัตริย พระบรมวงศานุวงศ และขุนนาง เนื่องจากเปนกลุมคนที่มีความสามารถในการกัลปนามากที่สุกในพุกาม

การกัลปนาเปนการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่อยูในมือของคนกลุมเล็กๆไปยังชาวพุกาม เนื่องจากการสรางวัด เจดีย ศาสนสถานตางๆภายในวัดตองใชทรัพยสินมีคาตางๆ เพื่อเปนคาจางชางฝมือและเปนคาวัสดุอุปกรณที่ใชในการกอสราง จารึกพุกามไดบันทึกชางฝมือในการสรางวัดและเจดีย ชางลงรัก ชางทาสี ชางแกะสลักไม ชางปนพระพุทธรูป ชางวาดภาพ ชางอิฐ ชางไม ในการสรางวัดและเจดียตองอาศัยชางฝมือหลายๆดาน การกัลปนาจึงเปนการจางงานและสรางงานที่สําคัญของพุกาม การกัลปนายังเปนการกระจายความั่งคั่งทางเศรษฐกิจไปยังชุมชนตางๆ

เนื่องจากในการสรางวัด เจดียและศาสนสถาน ผูอุทิศกัลปนาตองใชวัสดุอุปกรณตางๆมากมายในการกอสราง อุปกรณในการกอสรางวัด รวมถึงขาวของเครื่องใชในวัด ชุมชนหมูบานเปนผูจัดหาสิ่งตางๆ เหลานี้ ในบางเมืองหมูบานเปนแหลงผลิตวัตถุดิบที่ใชในการสรางวัดและขาวของเครื่องใชภายในวัด เชน หิน หินออน งาชาง ทอง เงิน ผา อิฐ การสรางศาสนสถานจึงเทากัยเปนการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนที่สําคัญ ที่เมืองมินบูเปนแหลงผลิตกระดาษสาที่พมาเรียกวา ปะระผูก (parabuik) ใชในการจาร เมืองนยองอู (Nyaung-U) เปนแหลงผลิตบาตรพระและเชี่ยนหมาก เมืองปะกอกกู (Pakokku) เปนแหลงผลิตเครื่องใชที่ทําจากไม เมือง จกุน (Cakuin) เปนแหลงผลิตชางฝมือดานตางๆ ชางทอง ชางรัก ชางทองแดง ชางกอสราง ชางแกะสลักหินและไม ชางทาสี ชางไม เมืองมุจิปม (Muchipim) เปนแหลงผลิตน้ําตาลสด เกลือ ถาน หินปูน ทอง น้ํามัน ยิบซั่ม2 การกัลปนาเพื่อการศาสนาทําใหเกิดหัตถอุตสาหกรรมที่ตอบสนองการกอสรางศาสนสถาน การกัลปนาสงผลกระทบตอเศรษฐกิจชุมชนของพุกาม และเปนการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจไปยังชุมชนอีกทางดวย

การกัลปนาเปนการขยายพื้นที่การเพาะปลูก ชาวพุกามนิยมที่จะกัลปนาที่ดินและขาทาสแรงงานเพื่อใชในการเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกขาวเพื่อใชบริโภคภายในวัด และใชแลกเปลี่ยนกับสิ่งของตางๆที่นํามาใชในวัด ที่ดินที่กัลปนาเพื่อการศาสนาเปนที่ดินไดรับการปรับปรุงเพื่อใหเหมาะสมในการเพาะปลูก โดยมีการสรางซอมแซมระบบชลประทานเพื่อให

2 Michael Aung-Thwin, Pagan: the Origins of Modern Burma, 176.

Page 134: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

123

เหมาะสมในการเพาะปลูก ระบบชลประทานที่ดินธรณีสงฆยังสงประโยชนใหกับที่ดินที่อยูขางเคียงเปนแหลงเพาะปลูกที่สําคัญ บริเวณรอบๆวัดยังเปนแหลงเพาะปลูกที่สําคัญจากระบบชลประทานของวัด วัดในสมัยพุกามแบงออกเปนสองสวนที่สําคัญคือสวนที่เปนที่ตั้งของศาสนสถานของวัด และสวนที่เปนระบบชลประทานของวัดที่ใชเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในวัด ประชาชนที่อยูรอบวัดไดใชประโยชนจากระบบชลประทานของวัดเพื่อการเพาะปลูก3 ระบบชลประทานของวัดและที่ดินธรณีสงฆเปนประโยชนตอการเพาะปลูกในพุกาม

สมัยพระเจานรปติสิทถุทรงใชวัดเปนศูนยกลางการขยายพื้นที่การเกษตร ในชวงตนของพุกามการเพาะปลูกของพุกามอยูในบริเวณที่สําคัญคือกย็อกกเซและมินบู เมื่อพื้นทางการเกษตรทั้งสองแหงขยายตัวจนไมสามารถที่จะขยายไดอีก พระเจานรปติสิทถุทรงมีนโยบายขยายพื้นที่การเกษตรออกไปยังดินแดนรอบนอก วิธีการหนึ่งที่พระองคทรงใชคือ ทรงกัลปนาเพื่อสรางวัด พระองคทรงใชวัดเปนศูนยกลางของชุมชน และทรงสรางระบบชลประทานที่ดีเพื่อจูงใจใหประชาชนยายออกมาทําการเพาะปลูก เปนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่สําคัญโดยอาศัยพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

การกัลปนามีความสําคัญตอเศรษฐกิจพุกามในการกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่อยูในคนกลุมเล็กๆ ใหกระจายไปยังชาวพุกามกลุมตางๆ ทั้งชางฝมือ และชุมชนผูผลิตวัตถุและอุปกรณในการกอสรางศาสนสถาน การกัลปนายังเปนการขยายพื้นที่ทางการเกษตรจากระบบชลประทานในที่ดินธรณีสงฆและของวัด

การลมสลายของอาณาจักรพุกาม อาณาจักรพุกามลมสลายในปลายคริสตวรรษที่ 13 ความเสื่อมของอาณาจักรพุกามเริ่ม

ในรัชสมัยของพระเจานดวนมยาในตนคริสตศตวรรษที่ 13 Michael Aung-Thwin ผูศึกษาประวัติศาสตรพุกาม มีความเห็นวาความเสื่อมของอาณาจักรพุกามเกิดจากการเสียอํานาจในการควบคุมที่ดินและแรงงานเปนจํานวนมากใหกับศาสนา สมัยพุกามการกัลปนาที่ดินและแรงงานเพื่อการศาสนาเปนสิ่งที่ชาวพุกามทั้งหลายปฏิบัติอันเนื่องมาจากความเชื่อนิพพาน การกัลปนาจํานวนมากมายมหาศาลในพุกามเริ่มในกลางคริสตศตวรรษที่ 11 จนถึงตนคริสตศตวรรษที่ 13 สงผลทําใหความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของพุกามไปอยูที่วัด พระสงฆ และชางฝมือที่รับจางสรางศาสนสถาน4

3 Michael Aung-Thwin, The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional

History of 12th -13th Century Burma, 46. 4Michael Aung-Thwin, Pagan: The Origins of Modern Burma, 175.

Page 135: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

124

ในขณะที่อาณาจักรสูญเสียผลประโยชนจากการจัดเก็บภาษีบนที่ดินธรณีสงฆ และการเรียกเกณฑแรงงานจากขาทาสวัด เนื่องจากทรัพยสินที่เปนของศาสนาไดรับการยกเวนภาษี

การกัลปนาสงผลตออาณาจักรพุกามคือ กษัตริยทรงไมสามารถควบคุมพระสงฆ และ

กลุมชางฝมือที่กลายเปนกลุมคนที่มีอํานาจทางเศรษฐกิจในปลายพุกาม การกัลปนาจํานวนมากมายทําใหพระสงฆเขมแข็ง ไมจําเปนตองพึ่งพาอาณาจักรและเปนอิสระจากการปกครองของกษัตริยในที่สุด สวนชางฝมือไดสรางฐานะขึ้นมาจากการรับจางสรางศาสนสถาน คนกลุมนี้ไดซ้ือที่ดินเปนจํานวนมากและเปนเจาของที่ดินที่สําคัญ คนกลุมนี้ไดกัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมากในปลายพุกาม กลุมชางฝมือยังหลบเลี่ยงการเก็บภาษีและการยึดคืนที่ดินของกษัตริยพุกาม โดยการกัลปนาที่ดินที่ดินใหกับพระสงฆรูปใดรูปหนึ่งเปนการเฉพาะ เนื่องจากมีกฎหมายที่ดินที่กลาวถึงที่ดินที่กัลปนาเพื่อพะสงฆวา “ผูใดที่กัลปนาทรัพยสินใหกับพระสงฆรูปใดรูปหนึ่งเปนการเฉพาะ เมื่อพระสงฆรูปนั้นมรณภาพ ทรัพยสินที่กัลปนาตองคืนใหกับผูกัลปนา”5 กลุมชางฝมือซ่ึงเปนเจาของที่ดินมากมายจึงหลบเลี่ยงการเรียกที่ดินคืนและการเก็บภาษีของกษัตริย จึงกัลปนาที่ดินใหกับพระสงฆ แตยังทําการเพาะปลูกบนที่ดินของตนเองที่กัลปนาใหพระสงฆ ผลผลิตที่ไดบนที่ดินธรณีสงฆไมตองเสียภาษี กลุมชางฝมือไดสรางฐานะของตนเองและมีอิทธิพลทางดานเศรษฐกิจ ในปลายสมัยพุกามไดเขามามีอิทธิพลในราชสํานักโดยการแตงงานกับบุคคลในราชสาํนกั พระมาดาของพระเจานรสีหปติทรงเปนธิดาของเศรษฐีที่มีพื้นฐานมาจากชางฝมือ

ปญหาที่เกิดจากการกัลปนาที่ทําใหอาณาจักรเสียผลประโยชนทางเศรษฐกิจ และสงผลตอการปกครองของกษัตริยพุกาม ในรัชสมัยของพระเจากยอฉวาพระองคเผชิญกับปญหาการจัดเก็บภาษี เมื่อพระองคทรงขึ้นครองราชยในป ค.ศ.1235 พระองคทรงเรียกคืนที่ดินมหาทานในดินแดนตอนบนและตอนลาง การเรียกคืนที่ดินมหาทานรวมถึงที่ดินมหาทานที่พระเจานดวงมยาพระราชทานใหกับอํามาตยชัยบุตร (Zeyyaput) และอํามาตยชัยบุตรไดกัลปนาใหกับเจดียของวัดอรัญวาสี พรสงฆในวัดถวายฎีกาแดพระเจานดวงมยา โดยกลาววาที่ดินแหงนี้เปนสมบัติที่อํามาตยชัยบุตรกัลปนาใหกับวัดแลว พระเจากยฉวาทรงรับทราบและแตงตั้งคณะผูตรวจสอบซึ่งประกอบดวยพระบิตุลาของพระองค 2 องค และขุนนางอีก 4 คน ไดผลสรุปคือ “พระบิดาของพระองค (พระเจานดวงมยา) พระราชทานที่ดินมหาทานใหอํามาตยชัยบุตรเปน

5 Keneath R. Hall, ed., Exploration in Early Southeast Asia History the Origins of

Southeast State Craft, (Michigan:Paper on southeast Asia,11), 225.

Page 136: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

125

ความจริง และอํามาตยชัยบุตรไดกัลปนาที ่ดินมหาทานใหกับเจดียเปนความจริง

เชนเดียวกัน”6 เมื่อไดขอสรุปพระเจากยฉวาไดพระราชทานที่ดินคืนแกวัด และทรงหลั่งน้ําลงบนดินเพื่อแสดงวาพระองคทรงรับทราบการกัลปนาแลว ที่ดินธรณีสงฆเปนปญหาที่สําคัญกษัตริยทรงพยายามที่จะจํากัดที่ดินที่พระสงฆและวัดถือครอง ในปลายพุกามเกิดกรณีความขัดแยงที่ดินระหวางพระสงฆและอาณาจักร จารึกกลาวถึงพระมหากัสสปะพระอรัญวาสีที่ชาวพุกามเคารพนับถือ ทานไดซื้อที่ดินมหาทานที่เปนสมบัติของคอบครัวทาน แตทางการใหการซื้อที่ดินเปนโมฆะทําการซื้อขายไมได พระมหากัสสปะตอสูคดี และเปนฝายชนะในที่สุด7 นอกจากนี้พระมหากัสสปะยังซื้อที่ดินบริเวณชเวโบและฉินวิน อีกดวย8 พระเจากยอฉวาทรงพยายามที่ลดการครอบครองที่ดินของพระสงฆและวัดแต หากไมประสบความสําเร็จมากนัก เมื่อเกิดกรณีความขัดแยงในเรื่องที่ดินพระสงฆมักเปนฝายที่ชนะมากกวา

พระเจากยอฉวาทรงพยายามที่จะควบคุมพระสงฆ ตลอดรัชสมัยของพระองคทรงแสดงพระองคเปนธรรมราชา พระองคทรงศึกษาและปฏิบัติตนเครงครัดในหลักธรรมพุทธศาสนา โดยที่พระองคทรงสั่งสอนพระธรรมแด พระสงฆ พระบรมวงศานุวงศ ขุนนางและประชาชนใหปฏิบัติตนเครงครัดในหลักธรรมพุทธศาสนา และที่สําคัญพระองคไดสงพระสงฆสองรูปเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา เพื่อที่จะกลับมาทําสังคายนาพระสงฆในพุกาม ความพยายามที่จะควบคุมที่ดินแรงงานและพระสงฆไมประสบความสําเร็จมากนัก เนื่องจากพระองคยังคงกัลปนาเพื่อสรางวัดและเจดีย พระองคทรงสรางวัดและเจดียจํานวนมากมาย แตไมมีที่สรางเสร็จ อันเนื่องมาจาทรงขาดแคลนชางฝมือและเงินที่จะนํามาสราง9 ปญหาที่อาณาจักรตองสูญเสียผลประโยชนจากการจัดเก็บภาษีจากที่ดินและแรงงานที่เปนสมบัติของศาสนา และการควบคุมพระสงฆไดเปนปญหาที่สําคัญในปลายสมัยพุกามที่กษัตริยไมสามารถแกไขได ปญหานี้ยังนําไปสูความลมสลายของอาณาจักรพุกามสมัยพระเจานรสีหปติ

6 Pe Maung Tin, “Buddhism in the Inscriptions of Pagan,” Journal of Burma Research

Society, 63. 7 Ibid., 62. 8 Than Tun, “History of Buddhism in Burma A.D.1000-1300,” Journal of Burma

Research Society,123. 8 Ibid., 62. 9 Maung Htin Aung, History of Burma, 64.

Page 137: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

126

รัชสมัยของพระเจานรสีหปติพระองคยังเผชิญปญหาการควบคุมที่ดินและแรงงาน และการควบคุมคณะสงฆ ในขณะที่กลุมชางฝมือที่ไดรับผลประโยชนจากการกัลปนาไดสรางฐานะของตนเองเปนกลุมคนชั้นกลาง พยายามเขาไปมีอํานาจในราชสํานัก จนเปนกลุมคนที่มีอํานาจในการปกครอง ในราชสํานักพุกามเกิดการแยงชิงอํานาจของกลุมคนชั้นกลางกับขุนนาง กระท้ังป ค.ศ. 1287 กองทัพมองโกลเขาโจมตีพุกาม พระเจานรสีหปติไมมีกําลังทหารเพียงพอที่จะตอสูกองทัพมองโกล และพระองคยังทําลายเจดียจํานวนมากเพื่อใชเปนปอมปราการในการปองกันกองทัพมองโกล พระเจานรสีหปติไมสามารถตานทานกองทัพมองโกลได พระองคทรงหนีไปยังดินแดนทางใตและถูกลอบปลงพระชนม

ในปลายสมัยพุกาม กษัตริยพมาทรงสูญเสียอํานาจในการควบคุมพระสงฆ และไมสามารถควบคุมที่ดินและแรงงานที่กัลปนาเพื่อการศาสนา กษัตริยพุกามในสมัยหลังตองเผชิญการที่ไมมีเงินเหลือในทองพระคลัง เนื่องจากไมสามารถเก็บภาษีได และการขาดแคลนแรงงานทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมและนําไปสูการลมสลายในที่สุด

ความเสื่อมและการลมสลายของอาณาจักรพุกามพุกามยังมีปจจัยอ่ืนที่สําคัญ ทั้งที่เปนปจจัยภายในอาณาจักรพุกามเองและเกิดขึ้นจากปจจัยภายนอกที่สงผลกระทบตออาณาจักรพุกาม

ปจจัยภายใน - กษัตริยออนแอ รัชสมัยของพระเจานรปติสิทถุเปนยุคแหงความยิ่งใหญในการขยายดินแดน และความ

เจริญรุงเรืองทางวัฒนธรรมพมา หลังจากรัชสมัยของพระเจานรปติสิทถุอาณาจักรพุกามเขายุคความเสื่อมอยางรวดเร็ว สาเหตุหนึ่งเนื่องจากกษัตริยที่ปกครองอาณาจักรพุกามตอจากพระองคไมมีความสามารถเทาพระองค กษัตริยพุกาม 3 ใน 5 พระองคสุดทายใหขุนนางเปนผูปกครองอาณาจักรเปนสวนใหญ10 กษัตริยพุกามไมมีความสามรถและออนแอจึงสงผลตอการปกครองอาณาจักร โดยเฉพาะการควบคุมพระสงฆ ทําใหพระสงฆเปนผูที่มีอิทธิพลทางดานเศรษฐกิจเปนเจาของที่ดินและแรงงานที่สําคัญ ซ่ึงแตกตางจากกษัตริยพุกามพระองคกอนหนาพระเจานดวงมยา ที่มีความสารถในการควบคุมพระสงฆและศาสนา และยังจัดการกับที่ดินวัดและขาทาสวัดไมใหเกิดผลกระทบตออาณาจักรพุกามได วิธีที่กษัตริยทรงใชในการควบคุมศาสนาและพระสงฆคือการทําสังคายนาคณะสงฆ สวนการจัดการกับที่ดินและแรงงานนั้นกษัตริยทรงมีพระราชอํานาจในการ

10 Victor B. Lieberman, “The Political Significance of Religious Wealth in Burma

History:Some Future Thought,” Journal of Asian Studies 39,4 (August,1980): 756.

Page 138: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

127

เรียกคืนที่ดินหมาทาน และพิธีกรรมที่กษัตริยทรงรับรูการกัลปนาโดยการหลั่งน้ําลงบนดิน วิธีการเหลานี้สมารถที่จะควบคุมพระสงฆเพื่อไมใหเปนเจาของที่ดินและแรงงานจํานวนมากเกินไป จนสงผลกระทบตอเศรษฐกิจพุกาม

ในรัชสมัยพระพระเจากยอฉวาพระองคทรงเรียกคืนที่ดินมหาทานที่กัลปนาใหแกศาสนาแตไมประสบความสําเร็จ นี่เปนการแสดงใหเห็นวากษัตริยพุกามออนแอเนื่องจากการเรียกคืนที่ดินมหาทานเปนพระราชอํานาจที่กษัตริยพุกามที่ทรงกระทําได แตพระเจา กยอฉวาทรงยินยอมใหกับดานศาสนา และยังปญหาที่ดินระหวางพระสงฆและอาณาจักรที่สวนใหญพระสงฆเปนฝายชนะ ในปลายสมัยพุกามที่ดินและแรงงานจํานวนมากไดกัลปนาเพื่อเปนสมบัติของศาสนา ทําใหกษัตริยไมสามารถเรียกเก็บภาษีและเกณฑแรงงานได

-ความวุนวายในราชสํานัก กษัตริยสามพระองคสุดทายกอนที่มองโกลเขาโจมตีคือ พระเจากยอฉวา พระเจาอุสานะ

และพรเจานรสีหปติ ไมไดเปนผูปกครองบานเมืองเอง ทรงปลอยใหเปนหนาที่ของพระบรมวงศานุวงศและเสนาอํามาตยเปนผูปกครอง ในรัชสมัยพระเจาอุสานะและนรสีหปติมีมหาอํามาตยราชสิงคาลเปนผูดูแลปกครองบานเมือง ในรัชสมัยพระเจานรสีหปติเกิดความวุนวายภายในราชสํานัก การแยงชิงอํานาจของเจาชายสิงคสู (Thingathu) และการแยงชิงอํานาจและการรักษาผลประโยชนของพระบรมวงศานุวงศและขุนนาง ความวุนวายภายในราชสํานักทําใหการปกครองบานเมืองเปนไปโดยลําบาก สงผลทําใหหัวเมืองตางๆแยกตัวเปนอิสระจาพุกาม

-หัวเมืองตางแยกตัวเปนอิสระ ความออนแอกษัตริยพุกามและความวุนวายภายในราชสํานัก ทําใหหัวเมืองตางๆที่เคย

อยูภายใตการปกครองพุกามกอกบฏเพื่อแยกตัวเปนอิสระ มอญและอาระกันพยายามที่จะแยกปกครองตนเอง โดยเฉพาะฉานที่ขยายอิทธิพลลงมายังบริเวณกย็อกเซ ซึงเปนบริเวณที่มีความสําคัญตอการปกครองและเศรษฐกิจของพุกาม

ปจจัยภายนอก คริสตศตวรรษที่ 13 อาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต จามปา อังกอ พุกาม

สิงหสาหรี ศรีวิชัย เกิดความเสื่อมอยางรวดเร็วหลังจากที่เจริญรุงเรืองสูงสุดในคริสตศตวรรษที่ 11-12 กระทั่งปลายคริสตศตวรรษที่ 13 อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใตเขาสูชวงความออนแอดานการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ เมื่อกองทัพมองโกลเขาโจมตีอาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใตลมสลายในเวลาที่ใกลเคียงกัน สาเหตุหนึ่งเกิดจากปญหาภายในของแตละอาณาจักร และยังมาจากสาเหตุภายนอกที่สําคัญ

Page 139: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

128

-การคาทางทะเลของอินเดียและจีนที่ลดลง คริสตศตวรรษที่ 13 อินเดียและจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ กองทัพเติรกบุกเขายึด

ครองอินเดียและตั้งราวงศโมกุลขึ้นปกครองอินเดีย ในขณะที่กองทัพมองโกลของกุบไลขานลมลางราชวงศซงและตั้งราชวงศหยวนปกครองจีน เหตุการณทําใหการคาทางทะเลของอินเดียและจีนหยุดชะงัก ซ่ึงสงผลกระทบตอการคาทางทะเลของอาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ที่ทําการคากับจีนและอินเดียเปนสวนใหญ เมื่อการคาทางทะเลลดลงสงผลทําใหการผลิตและการคาภายในอาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใตลดลงดวย เศรษฐกิจของอาณาจักรตางๆจึงไดรับผลกระทบจากการคาทางทะเลที่ลดลงของอินเดียและจีน

-การรุกรานของมองโกล กุบไลขานเมื่อตั้งราวงศหยวนปกครองจีน ไดพยายามขยายอิทธิพลการเมืองออกไปยัง

ดินแดนตางๆ ในปลายคริสตศตวรรษที่ 13 กองทัพจีนภายใตการนําของกษัตริยชาวมองโกลไดโจมตีอาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ในขณะนั้นอาณาจักรตางๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใตออนแอเปนอยางยิ่ง แมวากองทัพที่กุบไลขานสงมาโจมตีไมไดมีขนาดใหญมากนัก แตอาณาจักรตางๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใตไมสามารถตานทานกองทัพของกุบไลขานได และลมสลายไปในเวลาใกลเคียงกัน

พุทธศาสนาเถรวาทเปนปจจัยหนึ่งที่ทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมในคริสตศตวรรษที่ 13 การกัลปนาเพื่อการศาสนาเปนจํานวนมากไดทําใหอาณาจักรสูญเสียผลประโยชนจากการจัดเก็บภาษีและการเกณฑแรงงาน แตยังมีปจจัยอ่ืนๆที่มีความสําคัญที่ทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมและลมสลายในที่สุด การที่มีผูมองวาพุทธศาสนาเปนปจจัยสําคัญที่ทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อม เนื่องจากผลกระทบที่พุทธศาสนามีตอการลมสลายของอาณาจักรพุกามเปนสิ่งที่เห็นอยางชัดเจนกวาปจจัยอ่ืนๆ

เมื่อพระเจาอนิรุทธทรงสรางอาณาจักรพุกามใหรุงเรือง พระองคทรงนําพุทธศาสนาเถรวาทเขามาสนับสนุนการสรางความรุงเรืองใหกับอาณาจักรพุกาม พุทธศาสนาจึงมีผลกระทบตอสังคมพุกามในดานตางๆ วิถีชีวิต ความเชื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ พุทธศาสนาไดทําใหสังคมของชาวพมาซึ่งมีความหลากหลายใหรวมกันอยูภายใตความเชื่อพุทธศาสนาเถรวาทเปนสําคัญ ในขณะที่พุทธศาสนาเถรวาทสรางความรุงเรืองใหกับอาณาจักรพุกาม พุทธศาสนาเถรวาทมีสวนทําใหอาณาจักรพุกามเสื่อมและลมสลายในปลายคริสตศตวรรษที่ 13

Page 140: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

129

สรุป การที่พระเจาอนิรุทธและกษัตริยพมาทุกพระองคที่ครองราชยสืบตอมา ทรงใหพระ

ราชูปถัมภรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนศาสนาหลักในพุกาม มีความสําคัญตอพัฒนาการทางวัฒนธรรมของพมามาก แมพุทธศาสนาเถรวาทเปนอิทธิพลที่ชาวพมารับมาจากภายนอกทั้งจากมอญและลังกา แตชาวพมาไดหลักคําสอนของพุทธศาสนาปรับเปลี่ยนใหเขากับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม และความเชื่อที่แตกตางและหลากหลายดั้งเดิมของตนเอง พุกามไดสรางรูปแบบพุทธศาสนาในแบบอยางของชาวพมา รูปแบบของพุทธศาสนาในพุกามไดกลายเปนตนแบบของพุทธศาสนาในลุมแมน้ําอิระวดี รวมถึงดินแดนใกลเคียงอื่นๆอีกดวย ชาวพมาเปนผูที่ศรัทธาและยึดมั่นในหลักธรรม ปรัชญาความเชื่อในพุทธศาสนาอยางเครงครัด ซ่ึงกลาวไดวาไมมียุคสมัยใดของพมาที่พุทธศาสนาเถรวาทจะเจริญรุงเรืองเทียบเทาสมัยพุกาม ในสมัยพุกามมีการสรางศาสนสถานที่ประดับตกแตงอยางสวยงามจํานวนมากมายหลายพันแหง และพุกามเปนศูนยกลางการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญแหงหนึ่ง พระสงฆ ชาวพุกาม รวมถึงนักแสวงบุญจากดินแดนตางๆเดินทางมายังพุกามเพื่อศึกษาพุทธศาสนา พุทธศาสนาเถรวาทสงผลกระทบตอความเชื่อของผูคนกลุมตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี แมวาในบริเวณนี้จะเคยไดรับอิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท และความเชื่อตางๆมากมาย แตไมเคยมีความเชื่อใดที่จะมีอิทธิพลตอความเชื่อของผูคนในลุมแมน้ําอิระวดีเทากับการรับพุทธศาสนาเถรวาทของพระเจาอนิรุทธ

การรับพุทธศาสนาเถรวาทเขามาเปนความเชื่อหลักของพุกาม ไมไดสงผลกระทบตอความเชื่อในดานศาสนาเทานั้น ส่ิงที่สําคัญของการรับพุทธศาสนาคือ การที่พุกามไดเปดตัวเองรับรูโลกภายนอกครั้งที่สําคัญ ชาวพมาเปนกลุมคนที่อพยพมาจากทางตอนใตของจีนมาตั้งถ่ินฐานในลุมแมน้ําอิระวดี พื้นฐานดานสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองจึงยังไมเจริญรุงเรืองมากนัก การที่ชาวพมาเปดโลกรับวิทยาการความรู ศิลปะจากภายนอกนํามาสรางความเจริญรุงเรืองใหกับอาณาจักรพุกาม และที่สําคัญชาวพมาไดติดตอกับดินแดนตางๆภายนอกและมีความสัมพันธทั้งดานศาสนา การเมือง การคา การที่ชาวพมาเปดตนเองสูโลกภายนอก และไดรับรูและมีความสัมพันธกับดินแดนตางๆ ไดทําใหอาณาจักรพุกามเจริญรุงเรืองทัดเทียมกับคนกลุมตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี จนกระทั่งชาวพมาสามารถสรางความเจริญรุงเรืองเหนือกกลุมคนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดี ชาวพมาสามารถควบคุมปกครองกลุมคนและดินแดนตางๆในลุมแมน้ําอิระวดีไดทั้งหมด ส่ิงนี้เปนผลที่สืบเนื่องมาจากการรับพุทธศาสนาเถรวาทของพุกาม

พุทธศาสนาเถรวาทมีความสําคัญตออาณาจักรพุกามในดานตางๆมากมาย เมื่อครั้งที่อาณาจักรพุกามเจริญรุงเรือง กษัตริยและประชาชนชาวพุกามใหการอุปถัมภพุทธศาสนาเถรวาท

Page 141: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

130

ใหเจริญรุงเรือง กระทั่งพุกามเปนศูนยกลางความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนา เมื่อครั้งที่อาณาจักรพุกามลมสลายหมดอํานาจการปกครองและควบคุมผูคนและดินแดนในลุมแมน้ําอิระวดี แตหากพุทธศาสนาเถรวาทในอาจักรพุกามไมไดเสื่อมตามอาณาจักรพุกามไปดวย พุกามยังเปนศูนยกลางของพุทธศาสนาเถรวาทที่สําคัญในลุมแมน้ําอิระวดี เนื่องจากยังมีการสรางและซอมแซม ศาสนสถานในพุกามอยางตอเนื่อง และที่สําคัญอยางยิ่งสถาบันสงฆในพุกามยังดําเนินปฏิบัติกิจทางศาสนาอยางตอเนื่อง พุกามยังคงเปนศูนยกลางของการศึกษาพุทธศาสนาที่สําคัญของลุมแมน้ําอิระวดี พระสงฆจากที่ตางๆยังคงเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนายังดินแดนแหงนี้อยางตอเนื่อง พระเจาธรรมเจดียกษัตริยกษัตริยเมืองมอญผูทรงเครงครัดในพุทธศาสนา พระองคทรงเคยมาศึกษาพุทธศาสนายังพุกาม พุกามมีความสําคัญตอพุทธศาสนาในดินแดนในลุมแมน้ําอิระวดีเปนอยางยิ่ง

พุทธศาสนาเถรวาทยังคงมีอิทธิพลอยางมากตอชาวพมาในปจจุบันเชนเดียวกับที่เคยเปนมาในอดีต ชาวพมาในปจจุบันรับรูวาพุกามเปนจุดเริ่มของความเจริญรุงเรืองของพุทธศาสนาที่สําคัญ การที่พระเจาอนิรุทธและกษัตริยพุกามทรงสรางรากฐานที่มั่นคงใหกับพุทธศาสนาเถรวาทในลุมแมน้ําอิระวดี ไดเปนการสรางสัญลักษณที่โดดเดนของชาวพมา พุทธศาสนาเถรวาทเปนสวนหนึ่งของสังคมชาวพมามาตั้งแตในอดีตและในปจจุบัน

Page 142: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

131

บรรณานุกรม ภาษาไทย หนังสือ ณัฏฐวี ทศรฐ. ความเชื่อเร่ืองนัต (Nat) ในสังคมพมา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540. แพ ตาละลักษณ, พระมหานาม พระยาธรรมโรหิต พระยาปริยัติธรรมธาดา, ผูแปล. มหาวงศ.

กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534. ปญญาสามี, พระ. ศาสนวงศ. พระนคร : โรงพิมพรุงเรืองธรรม, 2506. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานกุรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส

พับบลิเคชั่นส , 2546. เรือง อติเปรมานนท,ผูแปล. จารึกกัลยาณ.ี พระนคร : โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร, 2468. สุภัทรดิศ ดิศกลุ,มจ. ประวัตศิาสตรเอเชียอาคเนยถึง พ.ศ. 2000. กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร

ในพระบรมราชูปถัมภสมเดจ็พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี, 2535. สุภัรดิศ ดิศกลุ, ศ.มจ. และ สันติ เล็กสุขมุ, ศ.ดร. เทีย่วดงเจดยีที่พมาประเทศทางประวัติศาสตร

ศิลปะและวัฒนธรรม. สํานักพิมพมติชน : กรุงเทพฯ, 2545. ภาษาองักฤษ Aung Thaw. Historical Sites in Burma. Rangoon : Ministry of Union Culture. Govt. of Union

Burma, 1972. Aung-Thwin, Michael. Pagan the Origins of Modern Burma. Honnolulu : University

of Hawaii Press, 1985. __________. The Nature of State and Society in Pagan: an Institutional History of 12th and 13th

Century Burma. Michigan : University Microfilm International, 1986. Bold, Mabel Haynes. The Pali Literature of Burma. 2nd ed., rev. Great Britain: Lowe and

Brydone Ltd., 1966. Duroiselle, Charls, ed. Archaeological Survey of Burma “Epigraphia Birmanica Being Lithic and

other Inscriptions of Burma”. Vol.1, Prt.2, Rangoon : Superintendent, Government Printing, 1960.

Coedes, George. The Making of Southeast Asia. Berkley : University of California Press, 1967. Gesick,Lauraine, ed. Center, Symbol, and Hierarchies: Essay on the Classical States of

Southeast Asia. Connecticut : Yale University Southeast Asia Studies, 1983.

Page 143: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

132

Cooler, Richard M. The Art and Culture of Burma [Online]. Accessed 3 June 2003. . Available from http:// seasite.niu.edu/burmese/Cooler/BurmaArt/

Hall, D.E.G. Burma. London : Hutchison University Library, 1960. Hall, Keneth R. , ed. Exploration in Early Southeast Asia History the Origins of Southeast Asia

Statecraft. Michigan : Paper on Southeast Asia, 11, 1976. Harvey, G.E. History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824 the Beginning of the

English Conquest. 2nd ed.,rev. London : Frank cass and Co.Ltd., 1967. Hazra, Kanai Lat. The Buddhist Annals and Chronicle of South-East Asia. New Delhi :

Munshiram Manoharlal Publisher, 1986. Htin Aung, Maung. A History of Burma. New York : Columbia University Press, 1969. Kahrs,Daniel. A Golden Souvernir of Pagan. Hong Kong :Pacific Rim Press,1995. Luce, Gordon Hannington. Old Burma-Early Pagan. Vol. 1-3. New York : J.J. Augustin

Publisher, 1969-1970. . Phases of Pre-Pagan Burma Languages and History. Vol. 1-2. London : Oxford

University Press , 1985. . The Man Shu. Ithaca : Department of Far Eastern Studies Cornell University,

1961. Ministry of Culture Archaeology Department. Pictorical Guide to Pagan. 6th ed., rev. Rangoon :

The Printing and Publishing Coperation,1979. Mendelso, Michael E. Sangha and State in Burma: A Study of Monastic Sectarianism and

Leadership. London : Cornell University Press, 1975. Pe, Hle. Burma: Literature, Historiography, Scholarship, Language, Life, and Buddhism.

Singapore : Institute of Southeast Asia Studies, 1985. Ray, Niharranjan. An Introduction to the Study of Theravada Buddhism in Burma: a Study in

Indo-Burmese Historical and Cultural Relations from the Earliest Times to the British Conquest. Culcutta : Nishitchandra Sen, 1946.

. Sanskrit Buddhism in Burma.Rangoon : Buddha Sasana Council Press,1936. Sirisena, W.M. Sri Lanka and South-East Asia Political, Religious and Cultural Relations from

A.D. C.1000 to C.1500. Netherlands : E.J.Brill Leiden, 1978.

Page 144: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

133

Soni, Sujata. Evolution of Stupas in Burma: Pagan Period, 11th to 13Th Century A.D. Delhi : Motiatal Banarsidass Publisher, 1991.

Strachan, Paul. Pagan: Art and Architecture of Old Burma. Singapore : Kiscadale, 1989. . Imperial Pagan, Art and Architecture of Burma. Honolulu: Unversity of Hawaii

Press,1990. Taw, Sein Ko and Charls Duroiselle, ed. Archaeological Survey of Burma “Epigraphia

Birmanica Being Lithic and other Inscriptions of Burma.”Vol.1, Prt.1. 2nd ed., rev. Rangoon : Superintendent, Government Printing, 1972.

Temple,Richard C, Sir. The Thirty-Seven Nats: a Phase of Spirit-Worship Prevailing in Burma. London : Kisdel Publications,1985.

Tin, Pe Maung and G.H. Luce, trans. The Glass Palace Chronicle of the Kings of Burma. London : Oxford University Press, 1923.

Tun,Than. Essays on the History and Buddhism of Burma. Scothland : Kiscadle Publications, 1988.

U, Htin Aung. Folk Element in Burmese Buddhism. Rangoon : Buddha Sasana Council : Religion Affairs Dept. Press, 1975.

Wales, H.G. Quarich. The Univers Around Them Cosmology ans Cosmic Renewal in Indianized South-east Asia. Leeds : W.S. Maney and Son Ltd., 1977.

วารสาร Aung-Thwin, Michael. “The Role of Sasana Reform in Burma History: Economic Diemension of

a Religious Purification.” Journal of Asia Studies 38 (4 August 1979) :671-688. . “Jambudipa : Classical Burma’s Camelot.” Contribution to Asian Studies 16

(1981) : 38-61. Aung-Thwin, Michael. “Hierarachy and Order in Pre-Colonial Burma.” Journal of Southeast

Asia Studies 15,2 (1984) : 224-232. Duroiselle, Charls. “The Ari of Burma and Tantric Buddhism.” Journal of Burma Research

Society 9, 1 (1919) : 53-56.

Page 145: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

134

Han, Ba.Dr. “Burmese Cosmolony and Cosmology.” Journal of Burma Research Society 48, 1 (June 1965) : 7-16.

Godakumbura, C.E. “Relation between Burma and Ceylon.” Journal of Burma Research Society 49, 2 (December 1969) : 145-158.

Finot, M. Louis. “Un Nouveau Document Sur le Buddhism Birmar.” Journal Asiatique (Juillet-Aout 1912) : 121-136.

Huber, M. Edouard. “La Fin De la Dynasties de Pagan.” Bullentin de l’ecole Francaise D’Extreme-Orient 9, 4 (Octorber-December 1909) : 633-680.

Hudson, Bob. Buddhist Architecture at Bagao [Online]. Access 3 June 2003. Available from http:// archaeology.usyd.edu.au/~hudson/pagan/

Lieberman, Victor B. “The Political Significance of Religious Wealth in Burmese History : Some Future Thoughts.” Journal of Asian Studies 39, 4 (August 1980) : 753-769.

___________. “How Reliable is U Kala’s Burmese Chronocle? Some New Comparison.” Journal of Southeast Asia Studies 17, 2 (September 1986) : 236-255.

___________. “Reinterpreting Burmese History.” Comparative Studies in Society and History 29, 1 (1987) : 162-194.

Luce,Gordon Hannington. “The Career of Htilaing Min (Kyanzittha), the Uniter of Burma, fl. A.D. 1084-1113.” Journal of the Royal Asiatic Society (April 1966) : 53-68.

. “Burma Debt to Pagan.” JBRS 22, 3 (April 1939) : 120-127. Luce, Gordon Hannington. “Old Kyause and the Coming of the Burmans.” Journal of Burma

Research Society 42, 1 (June 1956) : 75-112. . “Geography of Burma Under the Pagan Dynasty.” Journal of Burma Research

Society 42, 1 (June 1959) : 32-74. Luce,G.H. and Tin Pe Maung. “Burma Down to the Fall of Pagan.” Journal of Burma Research

Society 29,3 (1939) : 264-273. Tin, Pe Maung. “Women in the Inscription of Pagan.” Journal of Burma Research Society 25, 3

(December 1935) : 149-159. . “Buddhism in the Inscription of Pagan.” Journal of Burma Research Society 36, 1

(April 1936) : 52-70.

Page 146: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

135

Tun, Than. “History of Buddhism in Burma A.D. 1000-1300.” Journal of Burma Research Society 61 (1987) : 1-266.

Win, U Lu Pe. “Buddhaghosa and Burma.” Journal of Burma Research Society 63, 1 (Octorber 1975) : 93-100.

Page 147: พุทธศาสนากับพม าในสมัยอาณาจ ักรพุกามคศ. 1057-1287) · อาณาจักรพุกามเสื่อมและหมดอํานาจในการปกครองลุ

136

ประวัติผูวิจัย ช่ือ-สกุล นางสาวกรรณิการ ถนอมปญญารักษ ที่อยู 46/42 หมู 6 ถนนประชาราษฎร ตําบลตลาดขวัญ อําเภอเมือง จังหวดันนทบุรี 11000 ประวัติการศกึษา พ.ศ. 2541 สําเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกมานุษยวิทยา วิชาโท

ประวัติศาสตร จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2543 ศึกษาตอระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรเอเชีย

ตะวนัออกเฉียงใต บัณฑิตวทิยาลัย มหาวทิยาลัยศิลปากร