5
Clifford Geertz “Being There: Anthropology and the Scene of Writing” (In Clifford Geertz. Works and Lives: The Anthropologist as Author. Stanford University Press.1988.) คลิฟฟอร์ด เกีร์ยซ อยู่ที ่นั่น: มานุษยวิทยาและฉากของการเขียน(เก็บความโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร) ภาพลวงที่ว่า มานุษยวิทยาคือการศึกษาเรื่องราวแปลกๆและข้อเท็จจริงเพี ้ยนๆมานําเสนอผู ้คนนั ้น ผ่านพ้นไปแล้ว มนต์มานุษยวิทยาแบบที่ว่าไม่มีอีกแล้ว แต่อะไรล่ะที ่จะมาแทน ก็ยังไม่แน่นอน ขณะนี้ คนเริ่มคิดกันถึงการเขียนว่าจะมาแทนที แต่เรายังไม่ได้พิจารณามันดีนัก ว่ากันว่าสิ ่งที่มานุษยวิทยาควรทํา คือการออกไปในที่ต่างๆ เพื่อค้นหา สํารวจข้อเท็จจริง แล้วกลับมา เล่าเกี ่ยวกับผู้คนที่อยู ่ที ่นั่น เขียนเรื่องราวเหล่านั้นให้ชุมชนวิชาการรับรู้ มานุษยวิทยาไม่ใช่การค้นคว้า ทางวรรณคดีในห้องสมุด การมาใส่ใจกับการอ่านดูว่าตัวบททางมานุษยวิทยาเป็นอย่างไร ถูกเขียนขึ้น มาอย่างไร เป็นสิ่งที่บางคนบอกว่ามันไรสาระ เสียเวลาเปล่า คนอยากรู้เกี่ยวกับชีวิตคนทิโกเปีย คนทา เลนซี ไม่ใช่อยากรู้ว่าเรย์มอน เฟิร์ทหรือเมเยอร์ ฟอเทสเขียนหนังสืออย่างไร บางคนบอกว่า งานทางมานุษยวิทยาไม่มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ขนาดนั้น งานวรรณกรรมสิจึงจะมีคุณค่า เชิงวรรณศิลป์ ยิ่งงานแห้งๆของนักมานุษยวิทยาอย่างโลวี หรือแรดคลิฟ-บราวน์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขนาด งานที่มีสไตล์อย่างของเอดเวิร์ด ซาเปีย, รูธ เบเนดิก, หรือมาลินอฟสกี และเลวี -สโทร์สส์ ก็ยังไม่ถึงขั้น จะเป็นวรรณกรรมที่มีวรรณศิลป์ และนั่นก็อาจจะเป็นการทําให้งานทางมานุษยวิทยาเสียข้อได้เปรียบไป เพราะคนก็หวังว่า งานเขียนทางมานุษยวิทยาที่ดีคืองานที่เรียบๆ ไม่เสแสร้งอะไร ไม่จําเป็นต้องมีการ อ่านในเชิงวรรณศิลป์หรือให้ค่าอะไรในลักษณะนั ้น แต่การปฏิเสธที ่จะพิจารณางานทางมานุษยวิทยาในลักษณะนั้น อาจมาจากการเกรงกันว่าจะทําให้มี การลดทอนความจริงจังของงานเขียนทางมานุษยวิทยา การมองงานมานุษยวิทยาว่าเป็นเพียง จินตนาการ เป็นอุปลักษณ์ เป็นการประดิษฐ์ถ้อยคํา หรือเสียง จะทําให้มองงานเขียนทางมานุษยวิทยา เป็นสิ่งที่สัมพัทธ์ ทุกอย่างเป็นเพียงความเห็นที่ฉลาดกว่าหรือด้อยกว่าเท่านั ้น งานชาติพันธ์ุนิพนธ์ก็จะ กลายเป็นเพียงการเล่นคํา ไม่ต่างอะไรกับนวนิยายและบทกวี การเปิดให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ถูกสร้างขึ ้นมา อย่างไร กลายเป็นการทําลายไปเสีย อย่างไรก็ดี ทัศนะดังกล่าวข้างต้นไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ ่ง... หากว่ามานุษยวิทยาจะเลิกรายงานเกี ่ยว กับชีวิตผู้คนในที่ต่างๆ อีกต่อไป แล้วมานั่งดูว่างานเขียนของอัลเฟรด โครเอเบอร์ หรือแมก กลักแมน เป็นอย่างไร หรือหากจะมีการไปศึกษาอย่างจริงจังว่า เรื่องเล่าของเอเวิร์ด เวสเทอร์มาร์กเกี่ยวกับมอ รอคโค และของพอล บาวเลสสนใจเรื่องที่เขาสนใจได้อย่างไร นั่นก็จะกลายเป็นการทําลายล้าง มานุษยวิทยาไปจริงๆ แต่ความกังวลเหล่านั้นจะมีอยู่ หากว่าเราไม่เข้าใจที ่มาที่ไปของมันดีพอ ที่มาของความกลัวน่าจะมา จากแหล่งอื ่นๆ หากเราเข้าใจลักษณะเชิงรรณศิลป์ของงานเขียนทางมานุษยวิทยามากขึ ้น ภาพลวง เกี่ยวกับการหว่านล้อมให้ผู้คนที ่อ่านงานมานุษยวิทยาชื ่อถืองานมานุษยวิทยาก็จะถูกเปิดโปง แล้วงาน มานุษยวิทยาก็จะไม่สามารถหลอกคนได้ง่ายๆอีกต่อไป เราจะได้เห็นกันมากขึ ้นว่า งานเขียนทาง มานุษยวิทยาไม่ได้มีพลังจากการนําเสนอข้อมูลที ่สําคัญๆ เท่านั้น แต่มันมาจากการที ่นักมานุษยวิทยา ใช้วรรณศิลป์หว่านล้อมให้ผู้คนเชื ่อถือด้วย ความผิดพลาดไม่ลงตัวของงานเขียนทางมานุษยวิทยามัก ถูกกลบเกลื่อนด้วยข้อมูลขนาดมหึมา 1

being there

Embed Size (px)

DESCRIPTION

being there

Citation preview

Page 1: being there

Clifford Geertz “Being There: Anthropology and the Scene of Writing” (In Clifford Geertz. Works and Lives: The Anthropologist as Author. Stanford University Press.1988.)

คลิฟฟอร์ด เกีร์ยซ “อยู่ที่นั่น: มานุษยวิทยาและฉากของการเขียน”(เก็บความโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร)

ภาพลวงที่ว่า มานุษยวิทยาคือการศึกษาเรื่องราวแปลกๆและข้อเท็จจริงเพี้ยนๆมานําเสนอผู้คนนั้น ผ่านพ้นไปแล้ว มนต์มานุษยวิทยาแบบที่ว่าไม่มีอีกแล้ว แต่อะไรล่ะที่จะมาแทน ก็ยังไม่แน่นอน ขณะนี้คนเริ่มคิดกันถึงการเขียนว่าจะมาแทนที่ แต่เรายังไม่ได้พิจารณามันดีนัก

ว่ากันว่าสิ่งที่มานุษยวิทยาควรทํา คือการออกไปในที่ต่างๆ เพื่อค้นหา สํารวจข้อเท็จจริง แล้วกลับมาเล่าเกี่ยวกับผู้คนที่อยู่ที่นั่น เขียนเรื่องราวเหล่านั้นให้ชุมชนวิชาการรับรู้ มานุษยวิทยาไม่ใช่การค้นคว้าทางวรรณคดีในห้องสมุด การมาใส่ใจกับการอ่านดูว่าตัวบททางมานุษยวิทยาเป็นอย่างไร ถูกเขียนขึ้นมาอย่างไร เป็นสิ่งที่บางคนบอกว่ามันไรสาระ เสียเวลาเปล่า คนอยากรู้เกี่ยวกับชีวิตคนทิโกเปีย คนทาเลนซี ไม่ใช่อยากรู้ว่าเรย์มอน เฟิร์ทหรือเมเยอร์ ฟอเทสเขียนหนังสืออย่างไร

บางคนบอกว่า งานทางมานุษยวิทยาไม่มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ขนาดนั้น งานวรรณกรรมสิจึงจะมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ ยิ่งงานแห้งๆของนักมานุษยวิทยาอย่างโลวี่ หรือแรดคลิฟ-บราวน์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขนาดงานที่มีสไตล์อย่างของเอดเวิร์ด ซาเปีย, รูธ เบเนดิก, หรือมาลินอฟสกี และเลวี-สโทร์สส์ ก็ยังไม่ถึงขั้นจะเป็นวรรณกรรมที่มีวรรณศิลป์ และนั่นก็อาจจะเป็นการทําให้งานทางมานุษยวิทยาเสียข้อได้เปรียบไป เพราะคนก็หวังว่า งานเขียนทางมานุษยวิทยาที่ดีคืองานที่เรียบๆ ไม่เสแสร้งอะไร ไม่จําเป็นต้องมีการอ่านในเชิงวรรณศิลป์หรือให้ค่าอะไรในลักษณะนั้น

แต่การปฏิเสธที่จะพิจารณางานทางมานุษยวิทยาในลักษณะนั้น อาจมาจากการเกรงกันว่าจะทําให้มีการลดทอนความจริงจังของงานเขียนทางมานุษยวิทยา การมองงานมานุษยวิทยาว่าเป็นเพียงจินตนาการ เป็นอุปลักษณ์ เป็นการประดิษฐ์ถ้อยคํา หรือเสียง จะทําให้มองงานเขียนทางมานุษยวิทยาเป็นสิ่งที่สัมพัทธ์ ทุกอย่างเป็นเพียงความเห็นที่ฉลาดกว่าหรือด้อยกว่าเท่านั้น งานชาติพันธ์ุนิพนธ์ก็จะกลายเป็นเพียงการเล่นคํา ไม่ต่างอะไรกับนวนิยายและบทกวี การเปิดให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร กลายเป็นการทําลายไปเสีย

อย่างไรก็ดี ทัศนะดังกล่าวข้างต้นไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง... หากว่ามานุษยวิทยาจะเลิกรายงานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในที่ต่างๆ อีกต่อไป แล้วมานั่งดูว่างานเขียนของอัลเฟรด โครเอเบอร์ หรือแมก กลักแมนเป็นอย่างไร หรือหากจะมีการไปศึกษาอย่างจริงจังว่า เรื่องเล่าของเอเวิร์ด เวสเทอร์มาร์กเกี่ยวกับมอรอคโค และของพอล บาวเลสสนใจเร่ืองที่เขาสนใจได้อย่างไร นั่นก็จะกลายเป็นการทําลายล้างมานุษยวิทยาไปจริงๆ

แต่ความกังวลเหล่านั้นจะมีอยู่ หากว่าเราไม่เข้าใจที่มาที่ไปของมันดีพอ ที่มาของความกลัวน่าจะมาจากแหล่งอื่นๆ หากเราเข้าใจลักษณะเชิงรรณศิลป์ของงานเขียนทางมานุษยวิทยามากขึ้น ภาพลวงเกี่ยวกับการหว่านล้อมให้ผู้คนที่อ่านงานมานุษยวิทยาชื่อถืองานมานุษยวิทยาก็จะถูกเปิดโปง แล้วงานมานุษยวิทยาก็จะไม่สามารถหลอกคนได้ง่ายๆอีกต่อไป เราจะได้เห็นกันมากขึ้นว่า งานเขียนทางมานุษยวิทยาไม่ได้มีพลังจากการนําเสนอข้อมูลที่สําคัญๆ เท่านั้น แต่มันมาจากการที่นักมานุษยวิทยาใช้วรรณศิลป์หว่านล้อมให้ผู้คนเชื่อถือด้วย ความผิดพลาดไม่ลงตัวของงานเขียนทางมานุษยวิทยามักถูกกลบเกลื่อนด้วยข้อมูลขนาดมหึมา

1

Page 2: being there

แต่อันที่จริง ความน่าเชื่อถือของงานเขียนของมาลินอฟสกีหรือเลวี-สโตรทส์ ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลเหล่านั้นเป็นหลัก หรือหากมันจะเป็นเช่นนั้น งานอย่างของเจมส ์เฟรเซอร์หรืออาจจะรวมทั้งของออสการ์ ลิววิสก็จะเป็นงานขั้นเทพ ส่วนงานที่ถูกตั้งข้อสงสัยถึงความด้อยค่าทางข้อมูลงาน Edmund Leachʼs Political Systems of Highland Burma หรืองานที่น่าประทับใจแต่เป็นเพียวภาพหยาบๆอย่าง Margaret Meadʼs Balinese Character ก็จะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถอธิบายได้ว่าทําไมคนจึงเชื่อถือทั้งๆที่ข้อมูลมันแย่

นักชาติพันธ์ุนิพนธ์มักเขื่อว่างานของตนเองได้รับความเชื่อถือก็เพราะว่าบทพรรณนาของตนนั้นครอบคลุมข้อมูลกว้างขวาง (เมื่อลีชถูกถามถึงข้อเท็จจริงต่างๆในงานเรื่องพม่าของเขา เขาก็กลับพยายามพิสูจน์ความสามารถด้วยการไปเขียนเรื่องศรีลังกา แต่กลับไม่มีใครสนใจงานเขา ส่วนมีดก็ปกป้องตนเองว่า รูปถ่ายจํานวนมหาศาลของกรีกอรี บีทสันคือข้อพิสูจน์ต่อความเป็นข้อเท็จจริงของงานเธอ แต่ไม่มีใครจะเห็นด้วย แม้แต่บีทสันเองก็ไม่คิดเช่นนั้น) ก็จริงที่ว่านักชาติพันธ์ุนิพนธ์ควรเชื่อมั่นในความครอบคลุมของข้อมูล แต่ความน่าเชื่อถือของงานไม่ได้มาจากสิ่งนั้น

ความคิดที่ว่าข้อเท็จจริงจํานวนมากจะนําความน่าเชื่อถือมาสู่งานเขียนเองนั้น เป็นสิ่งที่ยากที่จะยอมรับ บางทีวิธีการของงานเขียนแบบดั้งเดิม ที่พยายามบอกว่าจะทําอย่างไรให้ “ข้อค้นพบ” มี “ความหนักแน่น” ได้ชี้แนะแนวทางในการพิจารณาเรื่องนี้เอาไว้ การบอกว่างานหนักแน่นเนื่องจากมีพลังในการอธิบายในทางทฤษฎีนั้น ใช้ไม่ได้อีกต่อไป พลังการอธิบายของงานของมาลินอฟสกีนั้น ใช้ไม่ได้เลย แต่เขาก็ยังคงเป็นนักชาติพันธ์ุนิพนธ์ของบรรดานักชาติพันธ์ุนิพนธ์ ทฤษฎีต่างๆในทางจิตวิเคราะห์ของมีด ไม่ได้มีค่าเท่ากับข้อมูลจากการสังเกตของเธอ งานบางส่วนของเลวี-สโตรทส์เกี่ยวกับโครงสร้างนิยมจะอยู่กับรุ่นต่อๆไปอีก คนจะยังอ่าน The Nuer แม้ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับการแบ่งแยกกลุ่มที่กล่าวถึงในนั้นจะไม่มีใครสนใจอีกต่อไป

“ความสามารถของนักมานุษยวิทยาในอันที่จะทําให้เราสนใจสิ่งที่พวกเขาเขียนอย่างจริงจังนั้น ไม่ได้อยู่ที่ข้อเท็จจริงหรือความโอ่อ่าทางทฤษฎ ีมากไปกว่าความสามารถที่ของพวกนักมานุษยวิทยาในอันที่จะหว่านล้อมให้พวกเรายอมรับว่า สิ่งที่พวกเขาพุดนั้นเป็นผลมาจากการที่พวกเขาได้แทรกซึมเข้าไป (หรืออาจจะเรียกได้เช่นกันว่าจากการที่ผู้เขาถูกแทรกซึมโดย) วิถีชีวิตรูปแบบอื่น หรือการได้ไป “อยู่ที่นั่น” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และการหว่านล้อมให้เราเชื่อถึงความมหัศจรรย์ของการไปอยู่ที่นั่นนั่นเอง ที่งานเขียนได้บังเกิดขึ้น” (pp. 4-5)

*****ความพิเศษอย่างหนึ่งของงานเขียนชาติพันธ์ุนิพนธ์นั้น เห็นได้ชัดจากการพยายามหลบเลี่ยงไม่ให้ใครสังเกตเห็นตนเอง เหมือนคนที่ไปขโมยอ่านจดหมายคนอื่น ด้านหนึ่งคือเราจะเห็นได้จากการที่งานทางมนุษยวิทยาไม่สามารถตรวจสอบ ทบทวน จากคนอื่นได้ มันเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (highly situated) คือติดกับนักชาตพันธ์ุนิพนธ์คนนี้ เวลานี ้ณ ที่นี ้กับผู้ให้ข้อมูลเหล่านี้ ในความสัมพันธ์แบบนี ้และประสบการณ์แบบนี้ เป็นภาพแทนความจรงของวัฒนธรรมหนึ่ง เป็นสมาชิกของชนชั้นหนึ่ง ทําให้เราต้องทําได้แค ่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามใจ (take-it-or-leave-it)

แม้ว่าอันที่จริงการตรวจสอบก็พอจะทําได้ แต่ก็ทําได้ยากมาก เช่น หากใครไปศึกษา Azande ที่อีแวน-พริทชาร์ดเคยศึกษาเกี่ยวกับความมุ่งมั่น ความรู้ และหลักเหตุผลของชาวอซานเด แล้วเกิดไม่พบสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา เราก็จะไม่สงสัยอีแวน-พริทชาร์ดเท่ากับจะสงสัยความสามารถในการศึกษาของเราเองมากกว่า เราไม่สามารถกลับไปศึกษา kula ได้อีกต่อไป ไม่ว่าเราจะเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับมันไปอย่างไรก็ตาม แต่ภาพกูลาในหนังสือของมาลินอฟสกีก็จะยังคงอยู่ต่อไป ไม่ถูกกระทบกระเทือนอย่าง

2

Page 3: being there

ใด หากจะมีการถกเถียงกันของนัมานุษยวิทยาต่อพื้นที่ศึกษาใดๆ (อย่างการถกเถียงกันของ Oscar Lewis กับ Robert Redfiled) มันก็จะเป็นการเถียงกันจากคนละมุมมอง เหมือนคลําช้างคนละส่วนเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าสิ่งที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์พูดทุกอย่างจะเป็นที่ยอมรับเพราะวกเขาพูดออกมา แต่เพราะฐานที่จะยอกรับหรือไม่ยอมรับสิ่งที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์พูดนั้น มัน person-specific ((Geertz said so once in “Thick Description)) มันติดตัว เฉพาะตัว งานศึกษาของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไมสามารถทําซ้ําได้อีก เราฟังเสียงบางเสียง ไม่ฟังเสียงอีกหลายๆเสียง

มันจะเป็นเรื่องอื้อฉาวเลวร้ายขึ้นมาทันทีหากว่าเราจะเลือกฟังหรือไม่ฟังใครอันเนื่องมาจากการที่เรามีอคติ จากความขลาด สันดาน อคติ หรือความนิยมทางการเมืองของเรา แต่หากเราทําดังนั้น แต่ด้วยความเก่งกาจในการกลบเกลื่อนในงานเขียน ให้ดูราวกับว่าเขาได้ใกล้ชิดกับชีวิตของคนห่างไกลจริงๆ ปัญหาดังกล่าวก็อาจจะดูเลวร้ายน้อยลง ในการสร้างความน่าเชื่อถือดังกล่าว เราจะพบว่ามันมีเกณฑ์ของมันอยู่

อย่างถ้าเราจะดู person-specific หรือความจําเพาะของแต่ะบุคคล (ไม่ใช่ personal หรือความเป็นส่วนตัวนะ) เราอาจเริ่มจากการพิจารณาว่า ผู้เขียนงานมานุษยวิทยาคือใคร ในงานเขียนประเภทอื่นๆ มักจะบอกกันว่าผู้เขียนกําลังตายไปแล้ว แต่ในมานุษยวิทยา ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู ่ผู้เขียนยังมีตัวตนเป็นผู้พูดอยู่ในงานมานุษยวิทยา

เรื่องนี้พาดพิงไสู่งานของ Michel Foucault ที่ชื่อ “What Is an Author?” ฟูโกต์แยกผู้เขียนออกเป็นสองกลุ่มจากงานเขียน หนึ่งคือ พวกงานประพันธ์ (fiction) ซึ่ง “หน้าที่เชิงผู้เขียน” (author-function) ยังคงอยู ่กับงานเขียนทางวิชาการซึ่งไม่มีผู้เขียนอีกต่อไป ฟูโกต์บอกว่า เดิมพวกนิทานนั้น ไม่มีผู้เขียน ส่วนงานเขียนทาง “วิทยาศาสตร์” นั้น มีชื่อผู้เขียน แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17-18 ที่งานเขียนทางวิทยาศาสตร์เริ่มได้รับการยอมรับโดยตัวของมันเอง แปลว่าไม่ต้องมีผู้เขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีฐานะความจริงเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ประจักษ์ถึงความเป็นจริงของข้อเขียน ความเป็นสถาบันที่ผู้เขียนสังกัดอยู่เ้นผู้รับรองสถานะความจริงของข้อเขียน ไม่ใช่ผู้เขียนอีกต่อไป ผู้รังสรรค์งานเป็นแค่ผู้เป็นเจ้าของชื่อผลงาน ชื่อทฤษฎี ชื่อโรคที่ค้นพบ ก็เท่านั้น ส่วนงานเขียนวรรณกรรมนั้นกลับเป็ในทางตรงกันข้าม คือผู้เขียนมีบทบาทมากขึ้น เราพูดถึงงานวรรณกรรมว่าใครเขียนเขาเขียนมาจากบริบทแวดล้อมอะไร เขาคิดอะไร

หากมองในแง่นี้ งานเขียนทางมานุษยวิทยาเดินไปในเส้นทางแบบวรรณกรรมมากว่าแบบวิทยาศาสตร์ งานเขียนทางมานุษยวิทยายังมีชื่อนักเขียนอยู่ ยังมีการเรียกงานเขียนและแนวทางการทํางานตามชื่อนักมานุษยวิทยา แต่น่นก็ไม่ได้จะทําให้นักมานุษยวิทยาเป็นนักเขียนวรรรณกรรมไปแต่อย่างใด แต่การที่นักมานุษยวิทยาค้นหาทฤษฎีต่างๆ ก็ไม่ได้ทําให้นักมานุษยวิทยาเป็นแบบนักฟิสิกส์ขึ้นมาแต่อย่างใด แต่มันบอกถึงความเป็นเครือญาติของนักมานุษยวิทยากับทั้งนักเขียนวรรณกรรมและนักวิทยาศาสตร์

*****ถ้าอย่างนั้น นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ดูจะเหมือนกับพวกนักเพ้อฝันมากกว่าพวกทํางานในห้องทดลอง คําถามคือ (๑) ความเป็นผู้เขียนปรากฏตัวตนอย่างไร ในงานเขียนทางมานุษยวิทยา (๒) ความเป็นผู้เขียน เป็นอย่างไร คําถามแรกเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์จากการเขียน ปัญหาที่สองเป็นเรื่องของการประกอบสร้างเป็นข้อเขียน เช่นการใช้คําศัพท์ วาทศิลป์ รุปแบบของการสร้างข้อเสนอ เป็นต้น สองข้อนี้ก็เกี่ยวข้องกัน

3

Page 4: being there

การแสดงตัวตนในงานเขียนทางมานุษยวิทยาเป็นปัญหาที่ว่า ทําอย่างไรจึงจะกันความเป็นอัตวิสัยออกไปจากการที่มันจะมาแปดเปื้อนความเป็นภววิสัย เป็นปัญหาของการปะทะกันระหว่างการมองสิ่งต่างๆจากมุมมองของคนๆหนึ่ง กับการมองสิ่งต่างๆจากธรรมชาติของมันเอง

นักมานุษยวิทยาพยายามจะเชื่อว่า การทํางานในภาคสนามให้ดีที่สุด การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด

แต่นั่นไม่เพียงจะไม่จริงแล้ว ยังมองข้ามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เห็นได้ในพื้นที่กับสิ่งที่ปรากฏในหน้ากระดาษ การสร้างงานเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ภาคสนามนั้น เป็นสิ่งที่กํากวมอย่างยิ่ง หากจะพยายามลดอคติต่อผู้คน ก็จะกลายเป็นการถือว่าผู้คนเป็นเหมือนวัตถุสิ่งของ แต่หากจะควบคุมผู้คนทั้งหมด คนที่ถุกศึกษาก็จะกลายเป็นหุ่นเชิดของนักมานุษยวิทยา ทําอย่างไรจึงจะยืนอยู่บนทั้งสองบทบาทนั้น นั่นคือปัญหาใหญ่ของการเขียนงานทางมานุษยวิทยา วิธีที่จะเห็นการเหวี่ยงไปมาระหว่างสองด้านดังกล่าวดูได้จากบทเริ่มต้นของงานเขียนชาติพันธ์ุนิพนธ์ มีสองตัวอย่าง หนึ่งจะเป็นแบบคลาสสิค คือนิ่งๆ สง่างาม อีกแบบจะใหม่กว่า คือแสดงอาการวิตกกังวลให้เห็น

งานคลาสสิกของ Raymond Firthʼs We, the Tikopia (1936) งานชิ้นนี้พยายามจะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นงานที่เขียนจากการเก็บข้อมูลเมื่อ 7 ปีก่อนหน้านี้ ไม่ได้เขียนจากข้อมูลที่เพิ่งเก็บ ในบทแรก เฟิร์ทเขียนเล่าบรรยากาศของสถานที่ที่เขาอยู่ในการทําวิจัย เขาบอกเล่ารายละเอียดของสถานที่ บรรยากศของที่นั่น อย่างละเอียดละออ เขาเล่าถึงการที่เขาเข้าไปในพื้นที่กับผู้ช่วยเขา ที่พูดภาษาอังกฤษแบบงูๆปลาๆ เรียกตัวเองด้วยคําว่า “me” ฯลฯ

จากคําบอกเล่าของเฟิร์ท เราแน่ใจได้ว่าเขาไปอยู ่“ที่นั่น” แน่ๆ จากรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ เราจึงมั่นใจได้ว่า ข้อเขียนอีกกว่า 500 หน้าตามมานั้นอัดแน่นด้วยข้อเท็จจริงอย่างเป็นภววิสัยแน่นอน กระนั้นก็ตาม เฟิร์ทก็ไม่สามารถเก็บความรู้สึกของเขาให้พ้นไปจากการทงานได้ง่ายๆ เขาแสดงออกมาในความกังวลใจต่อระเบียบวิธีการทําวิจัยของเขา ว่าจะทําอย่างไรให้มันเป็นภววิสัยให้ได้มากที่สุด

งานของอีกคนหนึ่งที่แสดงความกังวลทํานองเดียวกันคือของ Loring Danforthʼs The Death Rituals of Rural Greece (1982) ที่พูดถึงการที่นักมานุษยวิทยามักรักษาระยะห่างระหว่าง “เขา” กับ “เรา” แดนฟอร์ดเรียกมันว่า ethnographic distance ระยะห่างเชิงชาติพันธ์ุนิพนธ์ ที่คอยทําให้คนอื่นแปลกประหลาด (exotic) เสมอ ทั้งที่เขาเห็นว่า จริงๆแล้วนักมานุษยวิทยาจะเข้าใจคนอื่นได้ดีกว่านี้หากจะไม่รักษาระยะห่างมากขนาดนั้น เขาคิดว่าวิธีนี้เป็นปัญหา เพราะจะทําให้มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ที่เรากับเขามีร่วมกัน ไม่ใช่แตกต่างกันอย่างยิ่ง เมื่อเขาศึกษาความตาย ในการสังเกตการณ์จากพิธีศพ เขาเริ่มจินตนาการว่า แทนที่จะเป็นคนอื่นหรือพวกเขา หากเป้นญาติเขาเอง หรือหากเป้นความตายของเขาเอง เขาจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งทําให้เขาคิดว่าได้เข้าใจคนที่เขาศึกษามากขึ้น ความห่างระหว่าง “เรา” กับ “เขา” มีน้อยลง

จากงานของนักมานุษยวิทยาทั้งสอง เราเห็นงานสองแนว แนวหนึ่งคือแบบนิยายสัจจนิยม อีกแนวคือแบบนักปรัชญา แนวหนึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่กังวลต่อความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ อีกแนวคือแบบนักมนุษยศาสตร์ที่กังวลกัลการ “เข้าถึง” “เข้าใจ” กลุ่มคนที่เขาศึกษา

แต่ไม่ว่าจะแบบใด สิ่งที่ทั้งสองทําเหมือนกันคือ การนําเราเข้าไปยังที่ที่พวกเขาเข้าไป คนหนึ่งนําเราไปเจอกับหัวหน้าเผ่า ซึ่งเราจะเดาได้ว่าต่อไปทั้งสองจะรู้จักกันและนักมานุษยวิทยาจะได้รับความช่วยเหลือ อีกคนหนึ่งนําเราเข้าไปสู่ความใกล้ิดกับผู้คน ในที่สุดเราเชื่อว่านักมานุษยวิทยาจะเข้ากับผู้คนที่นั่นได้ดี ฉะนั้น สิ่งที่นักมานุษยวทิยาทําไม่ใช่เพียงทําให้เราเชื่อว่าพวกเขาไปอยู่ที่นั่น แต่พวกเขายัง

4

Page 5: being there

ทําให้เราเชื่อว่า “หากว่าเราไปี่นั่นกับพวกเขา เราก็จะเห็นสิ่งต่างๆแบบเดียวกับที่พวกเขาเห็น รู้สึกแบบเดียวกับที่พวกเขารู้สึก ได้ข้อสรุปแบบเดียวกับที่พวกเขาสรุป” (p. 18)

ที่จริงงานเขียนทางมานุษยวิทยาส่วนใหญ่จะเก็บตัวตนผู้เขียนเอาไว้ แยกไว้ต่างหาก ในคํานําบ้าง ในบันทึกบ้าง ในภาคผนวกบ้าง หรือบางคนก็พยายามพุดเลี่ยงไป โดยให้คนอื่นเล่าเรื่องแทน หรือเล่าโดยไม่มีตัวตนของตนเองอยู่ที่นั่น ราวกับว่าเป็นบทบรรยายสถานที่ ทั้งๆ ที่เมื่อทําอย่างละเอียดแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันออกมาจากมุมมองของนักมานุษยวิทยาที่เขียนมันขึ้นมานั่นเอง

*****งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่สําคัญต่อการเข้าใจปัญหาความเป็นผู้เขียนคืองานของ Roland Barthesʼs “Authors and Writers” (1982) ออกมาก่อนงานของฟูโกต์ บาร์ทแยกระหว่าง author (ผู้ประพันธ์) กับ writer (ผู้เขียน) โดยแบ่งคนทั้งสองออกจากกันด้วยการมองว่า ผู้ประพันธ์เป็นคนสร้าง “ผลงาน” ส่วนผู้เขียนเป็นคนเขียน “ตัวบท” ผู้ประพันธ์แสดงบทบาทบางอย่าง แต่ผู้เขียนเป็นผู้สร้างกิจกรรม ผู้ประพันธ์ระบุว่าอะไรเป็นอะไร แต่ผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับอะไรบางอย่าง การเขียนสําหรับเขาไม่สิ้นสุด มันเดินหน้าไปเรื่อยๆ เขาไม่ได้เป็นผู้กําหนดงานเขียน แนวคิดนี้เหมือนกับที่ฟูโกต์ว่า มีผู้เขียนสองประเภท ประเภทหนึ่งเขียนแล้วจบ สร้างทฤษฎีที่จบในตัวเอง ส่วนอีกประเภทเป็นผู้เขียนที่ก่อข้อถกเถียงไปเรื่อย อย่าง Marx, Freud

*****แล้วเกีร์ยซก็เล่าถึงการอ่านงานนักมานุษยวิทยาทั้ง 4 คน ว่าทั้งสี่เป็น author (ไม่ใช่ writer) ในความหมายของ Barthes แบบต่างๆกัน

5