7
บทที1 หลักเบื้องตนในการวิจัย 1.1 บทนํา 1.2 คุณสมบัติงานวิจัย 1.3 เปาหมายของการวิจัย 1.4 กระบวนการการวิจัย 1.5 ผูเรียนไดเรียนรูอะไรจากการทําวิจัย 1.6 สรุป พิเชฐ สัมปทานุกุล ภิรมย กมลรัตนกุล 1.1 บทนํา คําวา วิจัย หรือ research มีการใชกันกวางขวางและในหลาย ความหมาย บางครั้งถูกใชโดยจงใจเพื่อใหฟงดูนาเชื่อถือ ยกตัวอยางเชน สื่อ โฆษณาชิ้นหนึ่ง อวดอางวา มีการวิจัยพบวา กวารอยละ 90 ของผูใช ผลิตภัณฑมีสุขภาพดีขึ้น การอางวามีการวิจัย ผูรับขาวสารจําเปนตอง พิจารณาวาสิ่งที่กลาวถึงเขาขายไมใช หรือ ใช การวิจัย ดังที่มีผูสรุปไวใน What Research Is Not และ What Research Is (1) นับจากอดีตมาจนปจจุบัน มนุษยพยายามแสวงหาความรูดวยวิธี ตางๆ เพื่อพยายามอธิบายเหตุการณหรือปรากฏการณที่เกิดขึ้น วิธีการใน การแสวงหาความรูของมนุษยไดพัฒนามาเปนเวลานาน ซึ่งพอจะจําแนกได เปน 4 กลุ(2) คือ . กลุมไมใชหลักเหตุผล และไมใชหลักสัมผัสได มีวิธีหลายแบบ เชน วิธีเชื่อตอๆกันมา (Tenacity) โดยเชื่อคําบอกเลาหรือเชื่อตาม ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวิธีปฏิบัติที่บอกตอๆ กันมา วิธีเชื่อผูที่มีอํานาจ (Authority) โดยเรียนรูจากผูมีอํานาจหรือผูเหนือกวา เชน อาจารย หรือ ผูเชี่ยวชาญที่สอนไวอยางไรก็เชื่อตามนั้น โดยไมไดใชวิจารณญาณไตรตรอง ถึงความถูกตองเสียกอน วิธีสัญชาตญาณและการหยั่งรู (Superstition and Intuition) หมายความวา ใชสัญชาตญาณหรือลางสังหรณเปนเกณฑ เชน มีเหตุการณแผนดินไหว ตามดวยสึนามิ ก็มีความเชื่อวาชวงนีไมควรเดินทาง ไปที่ใดๆ เพราะไมมีความปลอดภัย . กลุมใชหลักเหตุผลนํา (Rationalism) ไดแก การใชหลัก ตรรกศาสตร ซึ่งใชวิธี อนุมาน หรือ นิรนัย (deduction) และวิธีอุปมาน หรือ อุปนัย (induction) ยกตัวอยาง มนุษยทุกคนตองตาย ฉันเปนมนุษย ดังนั้น ฉันตองตาย การใชหลักเหตุผลอยางเดียวโดยไมไดพิสูจนวาเปนจริง อาจได ผลลัพธที่ไมจริงได เชน ผลไมมีประโยชนตอรางกาย น้ําผลไมสกัดมาจาก ผลไม ดังนั้น การดื่มน้ําผลไมมากๆ จะเกิดผลดีแกรางกาย

Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

บทที ่1

หลักเบื้องตนในการวิจัย

1.1 บทนํา

1.2 คุณสมบัติงานวิจัย

1.3 เปาหมายของการวิจัย

1.4 กระบวนการการวิจัย

1.5 ผูเรียนไดเรียนรูอะไรจากการทําวิจัย

1.6 สรุป

พิเชฐ สัมปทานุกุล

ภิรมย กมลรตันกุล

1.1 บทนํา คําวา วิจัย หรือ research มีการใชกันกวางขวางและในหลาย

ความหมาย บางครั้งถูกใชโดยจงใจเพื่อใหฟงดูนาเชื่อถือ ยกตัวอยางเชน ส่ือ

โฆษณาชิ้นหนึ่ง อวดอางวา มีการวิจัยพบวา กวารอยละ 90 ของผูใช

ผลิตภัณฑมีสุขภาพดีขึ้น การอางวามีการวิจัย ผู รับขาวสารจําเปนตอง

พิจารณาวาส่ิงที่กลาวถึงเขาขายไมใช หรือ ใช การวิจัย ดังที่มีผูสรุปไวใน

What Research Is Not และ What Research Is(1)

นับจากอดีตมาจนปจจุบัน มนุษยพยายามแสวงหาความรูดวยวิธี

ตางๆ เพื่อพยายามอธิบายเหตุการณหรือปรากฏการณที่เกิดขึ้น วิธีการใน

การแสวงหาความรูของมนุษยไดพัฒนามาเปนเวลานาน ซึ่งพอจะจําแนกได

เปน 4 กลุม(2) คือ

ก. กลุมไมใชหลักเหตุผล และไมใชหลักสัมผัสได มีวิธีหลายแบบ

เชน วิธีเชื่อตอๆกันมา (Tenacity) โดยเชื่อคําบอกเลาหรือเชื่อตาม

ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวิธีปฏิบัติที่บอกตอๆ กันมา วิธีเชื่อผูที่มีอํานาจ

(Authority) โดยเรียนรูจากผูมีอํานาจหรือผูเหนือกวา เชน อาจารย หรือ

ผูเชี่ยวชาญที่สอนไวอยางไรก็เชื่อตามนั้น โดยไมไดใชวิจารณญาณไตรตรอง

ถึงความถูกตองเสียกอน วิธีสัญชาตญาณและการหยั่งรู (Superstition and

Intuition) หมายความวา ใชสัญชาตญาณหรือลางสังหรณเปนเกณฑ เชน

มีเหตุการณแผนดินไหว ตามดวยสึนามิ ก็มีความเชื่อวาชวงนี้ ไมควรเดินทาง

ไปที่ใดๆ เพราะไมมีความปลอดภัย

ข. กลุมใชห ลักเหตุผลนํา (Rationalism) ไดแก การใชหลัก

ตรรกศาสตร ซึ่งใชวิธี อนุมาน หรือ นิรนัย (deduction) และวิธีอุปมาน หรือ

อุปนัย (induction) ยกตัวอยาง มนุษยทุกคนตองตาย ฉันเปนมนุษย ดังนั้น

ฉันตองตาย การใชหลักเหตุผลอยางเดียวโดยไมไดพิสูจนวาเปนจริง อาจได

ผลลัพธที่ไมจริงได เชน ผลไมมีประโยชนตอรางกาย น้ําผลไมสกัดมาจาก

ผลไม ดังนั้น การดื่มน้ําผลไมมากๆ จะเกิดผลดีแกรางกาย

Page 2: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

2

หลักเบื้องตนในการวิจัย

ค. กลุมใชหลักสัมผัสได (Empiricism) คือจะ

เชื่อเมื่อมีประสบการณดวยตนเอง หรือไดเห็นดวยตา วิธี

ลองผิดลองถูก (Trial and Error) อาจนับอยูในกลุมนี้

ตัวอยางเชน เคยใหยาอยางนี้แลวคนไขหาย ตอไปก็จะใช

ยาตัวนี้อีกถาคนไขมาดวยอาการคลายๆ กัน การใชหลัก

สัมผัสไดอยางเดียว อาจไมไดความจริงเสมอไป เชน

ลองใชยาตัวหนึ่งแลวคนไขหาย แตอธิบายกลไกที่ยาไปทํา

ใหหายไมได หรือใชไดผลกับคนไขเพียงไมกี่คน การสรุปวา

ยาทําใหโรคหาย คงไมได

ง. กลุมใชทั้งหลักเหตุผลและหลักพิ สูจนได ไดแก วิธีการทางวิทยาศาสตร (Science) เปนวิธีการที่ใช

การอนุมาน (deduction) และ การอุปมาน (induction) ใน

การสรางสมมติฐาน รวมกับการทําการทดลองหรือพิสูจน

ใหเห็นจริง จึงสรุปผลและนําไปสูการเผยแพรความรูตอไป

วิธีแสวงหาความรูทางวิทยาศาสตร เชื่อในกระบวนการ อัน

ประกอบดวย การระบุปญหา การตั้งสมมติฐาน การเก็บ

ขอมูลหรือทําการทดลอง การวิเคราะหขอมูลหรือผลการ

ทดลอง และการสรุปผล กอนจะนําไปเผยแพรตอไป

ความรูที่ไดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตรจึงถือวา ทน

ตอการพิสูจนเพราะผูที่สงสัยสามารถทําซ้ํา หรือมีการตั้ง

คําถามตอไป ก็จะมีการดําเนินการตามกระบวนการทาง

วิทยาศาสตรตอไป ความรูจึงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางครั้ง

ผลสรุปใหมอาจนําไปสูการหักลางการคนพบหรือความ

เชื่อกอนหนานี้ได

การแสวงหาความรูในปจจุบันใชกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร ซึ่งเปนวิธีการและขั้นตอนในการ

แสวงหาความรูที่เปนระบบ และเปนรากฐานของ

กระบวนการการทําวิจัยที่จะไดกลาวถึงตอไป

1.2 คุณสมบติังานวิจยั รศ.ดร.ชํานาญ รอดเหตุภัย ไดเกริ่นนําในตําราที่

ทานนิพนธไวอยางนาสนใจวา “การวิจัยเปนกระบวนการที่

มีความสําคัญมากสําหรับสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน”

พรอมกับอางถึงการนิยามของ “การวิจัย” หรือ

“Research” จากแหลงตางๆ และสรุปความหมายของการ

วิจัยวา “หมายถึง กระบวนการศึกษาคนควาหาความรู

ความจริง โดยใชวิธีการที่มีระบบดี และสามารถเชื่อถือ

ได”(3)

คําสําคัญที่อยูในความหมายนี้ ไดแก ความจริง

(truth) และวิธีการที่เปนระบบและเชื่อถือได (systematic

and reliable investigation method)

การที่จะกําหนดวากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเปน

งานวิจัยหรือไมนั้น บางกรณีก็สามารถบอกไดชัดเจนวา

เปนหรือไมเปนการวิจัย แตก็มีอยูหลายกรณีที่ไมสามารถ

จะบอกใหแนนอนลงไปได เชน การทบทวนวรรณกรรม

การรายงานผูปวย บทฟนฟูวิชาการ หรือบทความพิเศษ

เปนตน

การพิจารณาวากิจกรรมใดเปนงานวิจัย อาจใช

เกณฑสังเขปในการพิจารณา 4 ประการ(4) คือ

เกณฑขอ 1: ความสมบูรณของกระบวนการ หมายความ

วาการกระทํานั้นจะตองใชทั้งกาย วาจา และใจ (หรือ

ปญญา) ในการแสวงหาความรู

(1) ใจหรือปญญา ไดแก การใชความคิด

ในการกําหนดปญหาการวิจัยที่ชัดเจนเหมาะสมมีคุณคา

และนาสนใจ มีความมุงมั่นเพื่อการแสวงหาคําตอบ

สําหรับปญหาที่กําหนดนั้น จึงเกิดกระบวนการในสวนที่

สอง

(2) กาย ไดแก การกระทําที่เกิดขึ้นในการ

ดําเนินการวิจัย เชน การเก็บรวบรวมขอมูล การนําขอมูล

มาวิเคราะห การแปลผลขอมูล ตลอดจนการสรุป

ผลการวิจัย จากนั้นจึงเกิดกระบวนการในสวนสุดทาย

(3) วาจา ไดแก การนําผลวิจัยที่ไดออก

เผยแพร ซึ่งอาจจะเผยแพรโดยการเสนอในที่ประชุม

วิชาการ หรือ เขียนลงตีพิมพในวารสารที่เชื่อถือไดและเปน

ที่ยอมรับ (มี peer review) เพราะการวิจัยจะมีประโยชน

นอยมาก ถาไมมีการเผยแพรในแวดวงวิชาการ

การศึกษาหรือกิจกรรมที่จะถือวาเปนการวิจัยนั้น

ตองมีคุณสมบัติตามเกณฑขอนี้ คือมีความสมบูรณของ

กระบวนการ เปนลําดับแรก

เกณฑขอ 2: ความลึกซึ้งของการคนควา หมายความ

วามีการคนควาเรื่องนั้นๆอยางลึกซึ้งและอยางเปนระบบ

ระเบียบ และมีเหตุมีผลในทุกๆ ขั้นตอนของการศึกษา

Page 3: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

3

หลักเบื้องตนในการวิจัย

ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมโดยการเอาบทคัดยอมาตอๆ

กัน โดยไมไดใชวิจารณญาณในการวิเคราะห แปลผล และ

สรุปผลหรือการรายงานผูปวย (case report) ที่ไมใชเรื่อง

ใหม กิจกรรมเชนนี้ก็คงไมอาจนับไดวาเปนการวิจัย

เกณฑขอ 3: ความใหมของความรูที่ได หมายความวา

กิจกรรมนั้นนาจะกอใหเกิดความรูใหม หรือคนพบสิ่งใหมๆ

ใหแกวงการนั้น ดวยเหตุนี้การวิจัยที่เลียนแบบงานวิจัยของ

ผูอื่นที่ไดทําไวอยางถูกตองและนาเชื่อถือแลว จึงไมอาจ

นับวาเปนงานวิจัยได เกณฑขอ 4: ความถูกตองและความเชื่อถือได ซึ่ง

รวมถึงความถูกตองและความเชื่ อถือไดของขอมูล

กระบวนการรวบรวมและวิเคราะหขอมูล ตลอดจนการ

แปลผลขอมูล โดยพยายามปองกันอคติตางๆที่อาจจะ

เกิดขึ้นในทุกๆขั้นตอนของการทําวิจัย ซึ่งคุณสมบัติขอนี้

เปนสวนสําคัญที่ตองมีของการทําวิจัย

นอกจากเกณฑสังเขปทั้ง 4 ประการที่กลาว

มาแลวนั้น อาจมีเกณฑอื่นๆประกอบอีก เชน ขนาดและ

ขอบเขตของงาน แมกิจกรรมจะดําเนินการครบถวนตาม

เกณฑ แตใชขอมูลเพียงจํานวนนอย และการศึกษาคนควา

ไมลึกซึ้งมาก กิจกรรมดังกลาวอาจอยูในระดับที่เรียกวา

เปนการศึกษาเบื้องตน แตยังไมถึงระดับที่เรียกวาเปนการ

วิจัย การวิจัยโดยนัยที่ใชกันทั่วไปนั้น หมายถึงการศึกษา

ที่มีขอบเขตทั้งดานความกวางและความลึก สมควรแกการ

นับเปนงานวิจัย

1.3 เปาหมายของการวจิยั

การวิจัยมีเปาหมายเพื่อคนหาคําตอบที่ เปน

ความจริง (truth) แตส่ิงที่คนพบและยืนยันไดในการวิจัย

คือ ขอเท็จจริง (fact) ดังนิยามในพจนานุกรม

ภาษาอังกฤษวา “Research is a careful study of a

subject, especially in order to discover new facts or

information about it(5)” หรือ “Research is systematic

investigation to establish facts or collect information

on a subject(6)”

เปาหมายของการวิจัยตองการคนหาความจริง

แตผลที่ไดจากการทําวิจัยเปนขอเท็จจริง หรือ "ขอเท็จ

ผสมจริง" เพราะมีทั้งความจริง (true value) และความ

เท็จ (error) ปนๆกันอยูในผลของการวิจัยนั้น (ภาพที่ 1.1)

โดยเราไมมีทางทราบไดวา โดยความจริงของธรรมชาติ

แลวผลเปนอยางไร เราสรุปผลจากการวิจัยวา โรคนี้มี

ตนเหตุหรือปจจัยเสี่ยงอยางนี้ หรือโรคนี้ไดผลดีถารักษา

ดวยยาชนิดนี้ แตโดยความเปนจริงแลวจะเปนอยางนั้น

หรือไม เราไมสามารถจะทราบแนชัดได(4)

ภาพที่ 1.1 คาซึ่งเปนผลที่ไดจากการวิจัย

การพิจารณาผลการวิจัยวาถูกตองและนาเชื่อถือ

หรือไม จึงจําเปนตองพิจารณาจาก "วิธีการ" หรือ

"กระบวนการ" ของงานวิจัยนั้นๆ วามีความถูกตองและ

นาเชื่อถือมากนอยเพียงใด ถาวิธีการถูกตองและเชื่อถือ

ได เราก็หวังไดวาผลจากการวิจัยนั้นนาจะใกลเคียงกับ

ความจริง แตถาวิธีการในการคนหาความรูนั้นไมถูกตอง

และไมนาเชื่อถือผลที่ไดจากการวิจัยนั้นก็ไมนาจะถูกตอง(4)

ดังนั้นในการทําวิจัย นักวิจัยจําเปนตองหา

มาตรการในการปองกันหรือลดคาความเท็จอันอาจจะ

เกิดขึ้นจากการทําวิจัยนั้นๆ ใหเหลือนอยที่สุด เพื่อที่ผลที่

ไดจากการทําวิจัยใกลเคียงกับความเปนจริงมากที่สุด ซึ่ง

นั่นกค็ือ เปาหมายที่สําคัญของการวิจัยนั่นเอง(4)

ความเท็จ หรือความคลาดเคลื่อน (error) ที่อาจ

เกิดขึ้นจากการทําวิจัย แบงไดเปน 2 ประเภท (ภาพที่ 1.1)

ไดแก

TIK
Stamp
Page 4: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

4

หลักเบื้องตนในการวิจัย

ประเภทที่ 1: ความคลาดเคลื่อนอยางเปนระบบ

(systematic error) หรืออคติ (bias) เปนความคลาด

เคลื่อนที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เอนเอียงไปดานใดดานหนึ่ง

เชน การวิจัยที่มีการวัดผลโดยการชั่งน้ําหนัก เครื่องชั่งที่มี

สปริงรับน้ําหนักไมไดมาตรฐาน เชนสปริงแข็งเกินไป ทําให

การชั่งน้ําหนักใหคาน้ําหนัก นอยกวาความเปนจริงเสมอ

ทุกๆ ครั้ง สวนสปริงออนเกินไป การคลาดเคลื่อนจะเกิดใน

ลักษณะที่ใหคามากกวาความเปนจริงตลอดเวลา ซึ่งจะ

เห็นไดวาความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดอยางเปน

ระบบในลักษณะเหมือนกันทุกครั้งที่วัดคา (คือผิดพลาด

ในทางมากกวาหรือนอยกวาคาความเปนจริง) ความคลาด

เคลื่อนประเภทนี้เปนความผิดพลาดที่อันตราย เพราะจะ

ใหผลที่ผิดไปจากความจริงอยางแนนอน(4) ประเภทที่ 2: ความคลาดเคลื่อนแบบสุม (random

error) หรือส่ิงรบกวน (noise) เปนความคลาดเคลื่อนแบบ

ไมคงที่ (nonsystematic error) ยกตัวอยางเชน การชั่ง

น้ําหนัก ถามีความคลาดเคลื่อนแบบสุมก็หมายความวา

เครื่องชั่งน้ําหนักไดมาตรฐาน แตในการชั่งน้ําหนักครั้ง

หนึ่งๆ อาจมีน้ําหนักสูงหรือต่ํากวาความเปนจริงบาง

เล็กนอย ที่สังเกตไดไมชัดเจน โดยผลนี้จะสลับคละกันไป

ซึ่งจะเห็นวาความคลาดเคลื่อนแบบนี้อาจไมกอใหเกิดผล

ผิดพลาดมากนักเพราะหากมีการวัดหลายครั้ง ผลของ

ความคลาดเคลื่อนดานสูงและต่ําอาจจะหักลางกันไปเอง(4)

เมื่อเปาหมายของการวิจัยตองการคนหาความ

จริง แตผลที่ไดจากการวิจัยกลับไดขอเท็จผสมจริงเชนนี้

การจะไดบรรลุเปาหมายของการวิจัย จึงคือการพยายาม

ปองกันหรือลดความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกๆ

ขั้นตอนของการทําวิจัยนั้นใหเหลือนอยที่สุด เพื่อใหผลของ

การวิจัยใกลเคียงกับความเปนจริงมากที่สุด

การปองกันหรือการลดความคลาดเคลื่อนจาก

การทําวิจัย ตองใชมาตรการทั้ง 3 อยางขางลางนี้รวมกัน

คือ

(1) รูปแบบการวิจัย (research design)

(2) กระบวนวิธีการวิจัย(research methodology)

(3) เทคนิคทางสถิติ (statistics)

รูปแบบการวิจัยและวิธีการวิจัยที่เหมาะสมจะ

ชวยปองกัน และหลีกเลี่ยงความเท็จอันเนื่องมาจากความ

คลาดเคลื่อนอยางเปนระบบหรืออคติได สวนสถิติที่

เหมาะสมจะชวยปองกันความคลาดเคลื่อนแบบสุมได

(ภาพที่ 1.2)

ภาพที่ 1.2 การปองกันความคลาดเคลื่อนจากการทําวิจัย

อยางไรก็ตาม หลักของการทําใหงานวิจัยได

สําเร็จ ส่ิงสําคัญอันหนึ่งที่ตองคํานึงถึง คือ ความเปนไป

ได (feasibility) ของโครงการวิจัย เพราะในบางสภาวะ

หรือบางสถานการณ การใชรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม

และหรือเทคนิคทางสถิติที่เหมาะสมเพื่อใหไดผลการวิจัยที่

จะมีอคติและความคลาดเคลื่อนนอยที่สุด อาจมีขอจํากัด

หลายประการในการดําเนินการวิจัย นักวิจัยจึงมีความ

จําเปนตองปรับแผนบางอยาง ไดแก ปรับแผนไปใช

รูปแบบวิจัยที่เหมาะสมรองลงมา หรือเทคนิคทางสถิติอื่นที่

เหมาะสมรองลงมา เพื่อใหสามารถทําการวิจัยได กรณี

ดังกลาวนักวิจัย ควรเขียนหรือระบุจุดออนดังกลาวเอาไว

ดวย ซึ่งอาจใสไวในขั้นตอนการวิจารณผล เพื่อผูที่จะนํา

ผลการวิจัยนั้นไปใช จะสามารถใชวิจารณญาณไดอยาง

ถูกตอง ส่ิงที่นักวิจัยควรตองตระหนักเสมอคือ อยาให

"ความเปนไปได" ทําลายความถูกตองเสียทั้งหมด เพราะ

จะสงผลใหงานวิจัยนั้นไมนาเชื่อถือเลย

1.4 กระบวนการการวิจยั กระบวนการการวิจัยใชหลักการอันเดียวกันกับ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร ซึ่งไดพัฒนามาจากการ

TIK
Stamp
Page 5: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

5

หลักเบื้องตนในการวิจัย

อธิบายความเปนเหตุเปนผลกันของปรากฏการณใดๆ โดย

วิธีการอนุมานและอุปมาน นําไปสูการคิดปญหาและหรือ

การตั้งสมมติฐาน กระบวนการการวิจัยประกอบดวย การ

กําหนดปญหา การตั้งสมมติฐาน การรวบรวมขอมูล การ

พิสูจนสมมติฐานและการสรุปผลดังไดแสดงไวในภาพที่

1.3

ภาพที่ 1.3 ขั้นตอนของกระบวนการการวิจัย ขั้นที ่1 : การกําหนดปญหา

การวิจัยที่ดีตองเริ่มตนดวยการกําหนดปญหา

หรือคําถามเสมอ เพราะการกําหนดปญหาหรือคําถามเปน

จุดเริ่มตนในการทําใหเกิดกระบวนการในขั้นตอๆไป และ

การวางแผนในแตละขั้นตอนนั้นขึ้นอยูกับคําถามการวิจัย

คําถามวิจัยที่ดีควรมีการกําหนดและใหนิยามปญหาอยาง

ชัดเจน เพราะปญหาที่ไดรับการนิยามอยางชัดเจนจะชวย

ชี้นําไปสูการกําหนดวัตถุประสงค สมมติฐาน นิยามของตัว

แปรที่สําคัญๆ และการเลือกวิธีการที่จะวัดตัวแปรเหลานี้

ดวย ดังนั้นการกําหนดปญหาวิจัยที่ดีและนาสนใจจึงเปน

หัวใจสําคัญในการทําใหเกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ดี ขั้นที่ 2 : การตั้งสมมติฐาน

สมมติฐาน(hypothesis) อาจใหคําจํากัดความ

ไดวาเปนแนวคิดหรือขอเสนอเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่

แสดงออกมาเปนจุดเริ่มตนในการที่จะศึกษาหาเหตุผลเพื่อ

พิสูจน สนับสนุน หรือคัดคานแนวคิดนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง

สมมติฐาน คือการคาดการณถึงคําตอบที่เปนไปไดของ

ปญหาการวิจัยที่ไดกําหนดไว หัวขอวิจัยแบงตามการ

ตั้งสมมติฐานไดเปน สองแบบ คือ แบบที่ตองมีสมมติฐาน

และแบบที่ไมตองมีสมมติฐาน เชน การศึกษาความสัมพันธ

ของมะเร็งปอดกับการสูบบุหรี่ เปนหัวขอวิจัยที่ตองการ

สมมติฐาน ซึ่งกรณีนี้ สมมติฐานคือ การสูบบุหรี่เปนปจจัย

เส่ียงของการเปนมะเร็งปอด สวนตัวอยางของการวิจัยที่

ไมตองมีสมมติฐานเชน การศึกษาความชุกของการสูบบุหรี่

ในหมูวัยรุนไทย กรณีหลังนี้ ไมไดมีการตั้งสมมติฐานแต

ตองการการคาดการณตัวเลขเชน คาดการณวาจะมีราว

รอยละ 3 เพื่อนําไปสูการพิสูจนในขั้นตอนตอไป

ขั้นที ่3 : การพิสูจนสมมติฐาน

กอนอื่น ตองมีการกําหนดหนวยวัดและวิธีการวัด

ตัวแปร โดยกําหนดจากคําถามวิจัยและสมมติฐานที่ตั้งไว

กรณีที่ไมมีสมมติฐาน จะใชคาตัวเลขหรือส่ิงที่คาดการณ

เพื่อใหพิสูจนวาเปนจริงตามที่คาดการณนั้นหรือไม เมื่อ

ทราบหนวยวัดและตัวแปรที่จะศึกษา จึงดําเนินการตาม

กระบวนวิธีการวิจัยเครงครัด และเก็บรวบรวมขอมูลใหได

สมบูรณ จากนั้นจึงนําขอมูลที่รวบรวมไดมาทําการ

วิเคราะห โดยใชเทคนิคทางสถิติที่เหมาะสม เพื่อแสดงให

เห็นวามีความเปนไปไดของเหตุการณที่ จะตรงกับ

สมมติฐานหรือส่ิงที่คาดการณไวมากนอยเพียงใด

ขั้นที ่4 : การสรุปผล

การสรุปผลเปนการพิจารณาผลของความเปนไป

ไดของเหตุการณวาจะเกิดตามสมมติฐานมากนอยเพียงใด

หากความเปนไปไดมีมากก็สนับสนุน หากมีนอย ก็ไม

สนับสนุนสมมติฐานที่ไดตั้งไว ทั้งนี้ การสรุปผลตองมุงไปสู

การตอบคําถามวิจัย กรณีไดคําตอบสอดคลองกับ

สมมติฐานที่ตั้งไว สมมติฐานนั้นก็จะเปนขอเท็จจริงที่

นําไปสูการใชตอไป กรณีไมไดคําตอบเนื่องจากผลลัพธไม

รับรองสมมติฐาน นักวิจัยอาจพิจารณาเปลี่ยนสมมติฐาน

ที่ตั้งไวเดิม หรือปรับแผนการเพื่อพิสูจนใหม

โดยความเปนจริงแลว กระบวนการไมไดส้ินสุด

เพียงแคนี้ เพราะผลจากความรูใหม ๆ ที่ไดมาจากการวิจัย

ก็จะเปนจุดเริ่มตนใหเกิดคําถามใหมๆตอไปไมมีที่ส้ินสุด

TIK
Stamp
Page 6: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

6

หลักเบื้องตนในการวิจัย

ซึ่งการหาคําตอบสําหรับปญหาหรือคําถามเหลานั้น ก็ใช

กระบวนการทางวิทยาศาสตรตามขั้นตอนตางๆ ที่ไดกลาว

มาแลวเปนวัฏจักรตอไป

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เคยเปรียบเทียบเอาไว

วาในขั้นตอนตางๆ ของกระบวนการการวิจัยนั้น

เปรียบเสมือนอยูบนโลก 2 ลูก โดยในบางขั้นตอนของการ

วิจัยก็อยูในโลกความจริง เชน ในขั้นตอนการกําหนด

ปญหา การรวบรวมขอมูลเพื่อการพิสูจนสมมติฐาน

รวมทั้งผลที่ไดจากการวิจัยนั้นๆ แตขั้นตอนอื่นเสมือนอยู

ในโลกสมมติ เพราะประกอบไปดวยการคาดการณ การ

ทํานายและการตั้งขอสมมติฐาน ไดแก ในขั้นตอนของการ

ตั้งสมมติฐาน การวิเคราะหขอมูล การแปลผลขอมูล จนถึง

การสรุปผลที่ได (ภาพที่ 1.4) การเปรียบเทียบนี้ นาจะมีนัย

วา สวนที่เปนโลกสมมติ เปนส่ิงที่มีความเปนไดในทางอื่น

ดวย จึงควรเปดใจกวางและพิจารณาใหถี่ถวนวาส่ิงตางๆ

ในโลกสมมติมีความชัดเจนเพียงใด

ภาพที่ 1.4 โลกของการวิจัย (จรัส สุวรรณเวลา 2529)

1.5 ผูเรียนไดเรียนรูอะไรจากการทําวิจัย บัณฑิตวิทยาลัยระบุชัดเจน การจะจบหลักสูตร

ตองมีการทําวิจัย หรือเรียกวา วิทยานิพนธ ทําไมจึงตองให

เรียนรูการทําวิจัย ผูเรียนเคยตั้งคําถามไหมวาเราจะได

เรียนรูอะไรที่เปนแกนสาร การเรียนการสอนเรื่องการทํา

วิจัยที่ไดผล ผูเรียนตองไดทําและไดดําเนินการตั้งแตตนจน

จบกระบวนการ ดังนั้น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยไดมี

ขอกําหนด ที่จะใหบัณฑิตตองมีการตีพิมพผลงาน และ

หรือนํ า เสนอผลงานในการประชุมวิชาการ ถาจะ

เปรียบเทียบใหเห็นภาพ การเรียนการสอนการทําวิจัย

สอนวิธีการตกปลาใหกับผูเรียน ไมไดยื่นปลาให แตเปน

การสอนวิธีการที่ผูเรียนจะไปหาปลาเอง

การแสวงหาความรู มีวิธีการตางๆ ปจจุบัน

ความรูทางวิชาการมีการแตกแขนงเปนวิชา เปนอาชีพและ

สาขายอยของอาชีพ ความรูที่มนุษยไดคนพบแลวมีมาก ที่

ยังไมคนพบยิ่งมีมากกวาหลายพันหลายลานเทา การเรียน

จากครูบาอาจารยและทองจําทั้งหมดไมสามารถกระทําได

ขอมูลขาวสารมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งมีทั้งขาวจริงและขาว

หลอก การเรียนการสอนการทําวิจัย มีความมุงหมายให

ผูเรียนซึ่งจะเปนมหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ไดตระหนักถึง

การรูจักวิเคราะหวิจารณ มีการกลั่นกรองใหไดขาวสารที่มี

ขอจริงมากกวาเท็จ ไมตกเปนเหยื่อของผูที่ตองการสราง

ขาวลวง

การทําวิจัยทําใหผูเรียนไดรูวา อะไรคืองานวิจัย

จริง อะไรเปนงานวิจัยเทียม งานวิจัยมีคุณสมบัติที่สําคัญ

ประกอบดวยการใชกระบวนการการวิจัย มีการวางแผนไว

กอน เปนองคความรูใหม และสิ่งที่ขาดไมไดดวยคือความ

ถูกตองและเชื่อถือได การวิจัยเนนที่กระบวนการและจุด

ประกายดวยคําถาม ไมใชตั้งที่ผลลัพธ จึงไมใชปรัชญา

ของรัฐบุรุษ เติ้งเสี่ยวผิง ที่วา “ฉันไมสนใจวาเปนแมวสีดํา

หรือสีขาว ขอใหจับหนูไดเปนใชได”

คุณคาของงานวิจัย ตองเริ่มจากการพิจารณาวา

ระเบียบวิธีถูกตองกอน จึงคอยมามองและใหคะแนน

ผลงานวามีคุณคามากนอยเพียงใด การใหคุณคาในสวน

ของเนื้องาน ก็ใชหลักการทั่วไป คือเปนประโยชนกับคนหมู

มากขนาดไหน มีองคความรูใหมหรือทฤษฎีใหมที่สามารถ

นําไปคิดคนตอยอดใหไดเปนนวัตกรรมที่จะเปนประโยชน

ไดมากขนาดไหน แตถากระบวนการการวิจัยและหรือที่มา

ของงานวิจัยไมตรงไปตรงมา แมผลงานมีแนวโนมการเกิด

ประโยชนแกคนหมูมาก ก็จะถูกตีตกแตแรกวา ไม

พิจารณา การเรียนรูการทําวิจัยทําใหผูเรียนมีมโนทัศนที่

กวางขึ้น เพราะเปาหมายการวิจัยสอนใหผูเรียนตระหนัก

ถึงการเขาถึงความจริงทั้งหมด การเรียนการสอนเปนแขนง

วิชา และอาชีพสาขาตางๆ กอใหเกิดความเห็นที่แตกแยก

และเหมือนตาบอดคลําชาง(7) การทําวิจัย กระตุนใหผูเรียน

TIK
Stamp
Page 7: Chapter 1 ประเมินวรรณกรรม

7

หลักเบื้องตนในการวิจัย

มีการคิดในมุมมองตางๆ มีการใชผูตรวจวิชาการจาก

ภายนอกและจากสาขาอื่น ทําใหมีความเห็นที่หลากหลาย

ผูเรียนมีโอกาสไดสัมผัสกับชีวิตจริง

ผูเรียนตองมีการใชทั้ง กาย วาจา และใจ ดังที่ได

กลาวไวขางตนในการเรียนการทําวิจัย กายคือการ

ดําเนินการตามแผนใหเปน มีการเรียนรูการทํางานเปนทีม

วาจาคือการนําเสนอใหเปน มีขั้นตอนการนําเสนอเพื่อผูอื่น

จะไดเขาใจและสื่อสารไดถูกตอง ชัดเจน สวนใจคือการรู

คิดใหเปน คิดปญหา ตั้งคําถาม คิดสมมติฐาน วิเคราะห

ผล เกิดปญญา

ระเบียบวิธีการวิจัย มีความสอดคลองกับ

หลักการของการประเมินสมัยใหม ที่ผูประเมินและผูถูก

ประเมินตองมีความเขาใจและยอมรับในกติกาเดียวกัน มี

การตั้ ง เกณฑและมาตรวัดกอนการทําการประเมิน

นอกจากนี้ การที่การวิจัยใหความสําคัญกับกระบวนการ

และความถูกตอง (ไมใชใชผลลัพธนํา) จะเสริมสรางให

ผูเรียน มีความยุติธรรม ซื่อสัตยตอตนเอง และผูอื่น

การเรียนการทําวิจัยจึงให ผู เ รียนได เขาถึ ง

คุณธรรม หลักคิดและการทํางานอยางเปนระบบ ผูเรียนจึง

ไดเรียนรูส่ิงตางๆ ควบคูไปกับเนื้อหาวิทยานิพนธ

1.6 สรุป การวิจัยเปนการคนควาอยางเปนระบบมีเหตุมี

ผลเพื่อผลิตความรูใหม ซึ่งความรูใหมอาจเปนความรูใหม

เชิงทฤษฎีหรือการประยุกตปฏิบัติก็ได แตตองอยูบน

รากฐานของความถูกตองโดยตองพยายามหลีกเลี่ยงความ

แปรปรวนและอคติตางๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใชรูปแบบ

การวิจัย วิธีการวิจัยและสถิติที่เหมาะสม ทั้งนี้กระบวนการ

ดังกลาวตองถึงพรอมทั้งกาย วาจา ใจ (หรือปญญา) อยาง

สมบูรณ สวนขั้นตอนของการวิจัยที่จะใหไดมาซึ่งความรู

ใหมนั้น มีทั้งขั้นตอนที่อยูในโลกของความจริงและขั้นตอน

ที่อยูในโลกสมมติ การเรียนการวิจัยทําใหบัณฑิตมีความ

สมบูรณ เปนผูมีหลักการและวิธีการในการพิจารณาขอมูล

ขาวสาร ใหความสําคัญของที่มาและความถูกตองของ

กระบวนการกอนซึ่งเปนรากฐานของคุณธรรม และมี

มโนทัศนที่กวางขึ้น มีการคิด การดําเนินการ การนําเสนอ

และการประเมินผลอยางเปนระบบ

เอกสารอางอิง 1. Leedy PD, Ormrod JE. What is research? In: Leedy PD, Ormrod JE, eds. Practical research: planning and

design. Boston: Pearson;2010. p.1-11. 2. Jackson SL. Science and psychology. In: Jackson SL ed. Research methods: a modular approach.

Belmont, CA: Thomson Wadsworth;2008. p.3-16. 3. ชํานาญ รอดเหตุภัย. ความรูพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ใน : ชํานาญ รอดเหตุภัย, บรรณาธิการ. การวิจัยทางภาษาไทย

หลักการและวิธีดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพทางภาษาไทย ไทยคดีศึกษา ศึกษาศาสตร มนุษยศาสตร สังคมศาสตร วัฒนธรรมศาสตร และศาสตรสาขาที่ เกี่ยวของ. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2552. หนา 2-4.

4. ภิรมย กมลรัตนกุล. หลักเบื้องตนในการวิจัย. ใน: ภิรมย กมลรัตนกุล, มนตชัย ชาลาประวรรตน, ทวีสิน ตันประยูร, บรรณาธิการ. หลักการทําวิจัยใหสําเร็จ. กรุงเทพฯ: บริษัทเท็กซ แอนด เจอรนัล พับลิเคชั่น จํากัด; 2550. หนา1-8.

5. Hornby AS. Oxford advanced learner’s dictionary of current English. 8th ed. Oxford: Oxford University Press; 2010.

6. William T, McLeod. Collins Gem English Dictionary. Calcutta: Rupa;1989. 7. ประเวศ วะสี. ตาบอดคลําชาง. ใน ประเวศ วะสี บรรณาธิการ. ธรรมชาติของสรรพสิ่ง การเขาถึงความจริงทั้งหมด.

พิมพครั้งที่ 3. นนทบุรี: สํานักพิมพกรีน-ปญญาญาณ; 2553. หนา 21-6.