10
พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวทฺฒโน อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ ต.พุดเลา อ.บางปะ หัน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นชาว อ.บางปะหัน โดยกาเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ท่ ต.บ้านลีโยมบิดา-มารดา ชื่อ นายนาม-นางลาใย ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอม กับ พระสมุห์ดิษย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ จนอายุ 16 ปี จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บรรพชาเป็น สามเณรที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่ในความปกครองของพระครูปรากรมุนี (เกิด) ได้ศึกษามูลกัจ จายน์กับ อาจารย์ช้าง ผู้เป็นฆราวาส และเรียนบาลีกับ พระประสิทธิ์สุตคุณ (จุ๊ย) และพระอาจารย์ ทอง พออายุ 22 ปี จึงกลับมาอุปสมบทท่วัดทอง อ.บางปะหัน โดยมี พระอุปัชฌาย์ปั้น วัดศรีโพ เป็น พระอุปัชฌาย์ , พระอธิการเปรม วัดม่วง และ พระอาจารย์ป้อม วัดนาค เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายา "สิริวทฺฒโน" จากนั้นกลับไปจาพรรษาที่วัดราชบูรณะ ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนจบถารกมงคลทีปนี บาลีสูตรกิต์ก ฯลฯ สามารถแปลได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้นที่วัดราชบูรณะ จะเป็นสานักทิศาปาโมกข์ ซึ่งมีครูบาอาจารย์สาคัญๆ มาจาพรรษาอยู่มาก ด้วยท่านใฝ่ใจในการศึกษาจึงรับการถ่ายทอดทุก เคล็ดวิชาจากทุกพระอาจารย์จนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังเป็นคนโปรดของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาทุกแขนง

New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวทฺฒโน อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ ต.พดุเลา อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นชาว อ.บางปะหัน โดยก าเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ที่ ต.บ้านลี่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายนาม-นางล าใย ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอม กับ พระสมุห์ดิษย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ จนอายุ 16 ปี จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่ในความปกครองของพระครูปรากรมุนี (เกิด) ได้ศึกษามูลกัจจายน์กับ อาจารย์ช้าง ผู้เป็นฆราวาส และเรียนบาลีกับ พระประสิทธิ์สุตคุณ (จุ๊ย) และพระอาจารย์ทอง พออาย ุ22 ปี จึงกลับมาอุปสมบทที่วัดทอง อ.บางปะหัน โดยมี พระอุปัชฌาย์ปั้น วัดศรีโพ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเปรม วัดม่วง และ พระอาจารย์ป้อม วัดนาค เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายา "สิริวทฺฒโน" จากนั้นกลับไปจ าพรรษาที่วัดราชบูรณะ ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนจบถารกมงคลทีปนี บาลีสูตรกิต์ก ฯลฯ สามารถแปลได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้นที่วัดราชบูรณะ จะเป็นส านักทิศาปาโมกข์ ซึ่งมีครูบาอาจารย์ส าคัญๆ มาจ าพรรษาอยู่มาก ด้วยท่านใฝ่ใจในการศึกษาจึงรับการถ่ายทอดทุกเคล็ดวิชาจากทุกพระอาจารย์จนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังเป็นคนโปรดของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาทุกแขนง

Page 2: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า แสง เป็นชาวต าบลนางเลิ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดในรชักาลที ่๓ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๗๕ ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็น เจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหาร

และ พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๔๖ เป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ

หลังจากนั้นหลวงพ่อเพ็ชร์ ไดย้้ายมาจ าพรรษาที่ วัดรังษีสุธาวาส บางล าพู เพื่อสอนพระปริยัติธรรมอยู่ 5 พรรษา ระหว่างนั้นยังได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับ พระธรรมกิตติ (แจ้ง) จนช่วงท้ายพรรษาที่ 5 พระสมุห์ดิษย์ มรณภาพลง ชาวบ้านพุดเลาได้รับค าแนะน าจากท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (สะอาด) วัดโลกยะสธุา (ศาลาปูน) ให้มาอาราธนาท่านกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ ท่านจึงรับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนนทรีสืบแทน

หลวงพ่อเพ็ชร์ ปกครองวัดและพระลูกวัดด้วยความยุติธรรม พัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดและท้องถิ่น พัฒนาด้านการศึกษา สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนประชาบาล ท่านเป็นพระแบบครู ตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกศษิย์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ท่านยังเชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณช่วยรักษาชาวบ้านและญาติโยมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทั้งยังได้สร้างวัตถมุงคลและ

Page 3: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

หลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวทฺฒโน

เครื่องรางเพื่อแจกจ่ายแก่สาธุชนไว้ป้องกันตัวและเสริมสิริมงคล อาทิ ตะกรุด ลูกอม ผา้ยันต์

ธงค้าขาย ธงกันไฟ ผา้ประเจียด ตะกรุดสาริกา สีผึ้ง และน้ ามนตส์ะเดาะเคราะห์ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ปรากฏและเป็นที่หวงแหนยิ่งนัก

ท่านได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้เป็นที่ พระครูธรรมการศึกษา ในปี พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นปีที่ท่านจะมีอายุครบ 80 ปีพอดี บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจึงพร้อมใจกันขออนุญาตจัดงานฉลองสมณศักดิ์และท าบุญอายุให้ท่านเป็นงานใหญ่ พร้อมขออนุญาตจัดสร้าง “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก” เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสส าคัญทั้งสอง ท่านมรณภาพในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2493

สิริอายุ 83 ปี

Page 4: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489 ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หูเชื่อม ด้านหน้า ยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ห่มจีวรลดไหล่ครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักษรไทยก ากับว่า “พระครูธรรมการ เพ็ชน์ วัดนนทรีย์” (สันนิษฐานว่า ค าว่า ‘เพ็ชร์” ช่างแกะแม่พิมพ์ผิดจาก ‘ร’ เป็น ‘น’) ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม อ่านว่า “สัตถาระนุง อากัตทิตุง วิสัตเชตงุ นาทาสิ สัตถาธะนุง นาทาสิ” คาถาบทนี้มีในต านานพุทธชาดก เป็น ‘พระคาถามหาอุด’ ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า “ที่ระลึกครบอายุ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๔๘๙”

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489 นี้ โด่งดังมากมาแต่โบราณ พุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ ยิ่งด้านคงกระพันชาตรีนั้น ว่ากันว่า “จะฟันก็ฟันไม่เข้า ยิงเท่าไหร่ไม่มีออก” ทีเดียว อาจเป็นด้วยท่านเป็นชาวพุดเลา ที่มีเลือดนักรบและหนังเหนียวเป็นที่เลื่องลือของอริราชศัตรูมาแต่ครั้งโบราณก็เป็นได้

Page 5: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

ประวัติ วัดนนทรีย์ ต าบลพุทเลา อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างเมื่อป ีพ.ศ. ๒๓๐๐ และได้วิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดาร สมัยพระบรมราชาที่ ๓ (พระที่นั่งสุริยาอมรินทร์) ดังความตอนหนึ่งว่า

"ครั้นแล้ว กองทัพพม่ายกมาจากเมืองสุพรรณบุรี ยกมาตามท้องทุ่ง พบกองทัพไทยตั้งค่ายรายรับอยู่ต าบลล าน้ าเอกราชเป็นหลายค่าย ก็ขับพลทหารข้ามน้ าแยกออกเป็นหลายกอง เข้าตีค่ายทัพไทย

ทุก ๆ ค่าย ได้รบกันเป็นสามารถ พลทัพไทยฝีมืออ่อน สู้พม่ามิไดก้็แตกฉานทิ้งค่ายเสียทุก ๆ ค่าย พ่ายหนีกระจัดพลัดพรายไม่เป็นหมวดกอง เจ้าพระยามหาเสนา (พระอภัยราชา) แม่ทพัไทยนั้น ขึ้นช้างหนีมาถึง "ทุ่งวัดนนทรีย์" ทัพหม่าควบไล่ติดตามมาทัน พุ่งด้วยหอกซัดถูกตายตกจากหลังช้าง และพระยายมราชก็ต้องหอกซัดเป็นหลายแห่ง หนีมาได้ถึงพระนคร..."

จากค าบอกเล่าสืบ ๆ กันมา มีว่า วัดนนทรีย์นี้ตั้งอยู่ริมคลอง หลงัวัดเป็นป่าใหญ่ ทางเข้าวัดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีเสาหินใหญ่ ปลายเสาแกะเป็นรูปนกอินทรีเกาะอยู่ ภายในวัดแบ่งออกเป็นสองส่วน เรียกคณะเหนือ กับคณะใต้ แต่ละคณะมีกุฏิอยู่ ๘ - ๙ หลัง ชาวบ้านที่อยู่เหนือวัดเมื่อบวชก็จะอยู่คณะเหนือ ชาวบ้านที่อยู่ใต้วัด เมื่อบวชก็จะอยู่คณะใต้ ตรงกลางระหว่างคณะเหนือและคณะใต้ มี

Page 6: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

พระอุโบสถ ทรงโบราณชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันของพระอุโบสถนี้ และหน้าต่างประดับถ้วยจานเบญจรงค์ ผนังภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมชาดกต่าง ๆเต็มทุกด้าน มีการซ่อมครั้งหนึ่งเมื่อสมัยหลวงพ่อสมุห์ดิษฐ์เป็นเจ้าอาวาส และสร้างใหม่ในสมัยพระครูโอภาสกิตติคุณ เป็นเจ้าอาวาส (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๕๓๐) ซึ่งพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถเม่ือปีพ.ศ.๒๕๒๕ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระปรมาภิไธยย่อ ภปร ประดับไว้ที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าของพระประธานในพระอุโบสถด้วย

ประวัติความเป็นมา พระประธานในพระอุโบสถวัดนนทรีย์ เดิมเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดแหลมดุสิต หรือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงมีความเคารพนับถือและสนิทสนมกับเจ้าคุณ พระสุนทรสมาจารย์ (เจ้าคุณสวน) เป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่ง ตามเสด็จท่านเจ้าคุณ มาที่วัดนนทรีย์ ได้ทรงส าราญพระทัยในการได้พายเรือเล่น และทรงพระแสงปืน ไปตามท้องทุ่งวัดนนทรีย์ จึงได้ตามเสด็จมาบ่อย ๆ เมื่อพระสมุห์ดิษฐ์ บูรณะ

Page 7: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

(5 เมษายน พ.ศ. 2399 – 25 มกราคม พ.ศ. 2467)

อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ และเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่

พระอุโบสถใกล้จะส าเร็จนั้น ได้ปรารภกับท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจารย์ถึงพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงทราบ จึงตรัสให้ฟังถึงพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถของวัดแหลมดุสิตที่สร้างใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเบญจมบพิตรว่า ขณะนี้ฝากไว้ที่วัดบางจาก (วัดภคินีนาถ) ธนบุร ีน่าจะขอพระราชทานมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้ หลังจากได้หารือกันเป็นที่สมควรแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ ๕ เพื่อขอพระราชทาน ซึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้ น าความปลาบปลื้มมาสู่ชาววัดนนทรีย์เป็นอย่างยิ่ง และได ้

Page 8: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

มีการจัดเรือไปรับมาจากวัดบางจาก จึงได้พระพุทธรูปนี้มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

วัดนนทรีย์ได้เปิดเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ และเปิดสอนบาลีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ปัจจุบันนี้ วัดนนทรีย์นับได้ว่าเป็นวัดใหญ่ และมีความส าคัญมากวัดหนึ่งของอ าเภอบางปะหัน ไม่มีการแบ่งเป็นคณะ ดังแต่ก่อนแล้ว ได้เป็นทีป่ระกอบศาสนกิจเช่นเดียวกับวัดทั่ว ๆ ไป และยังเป็น

Page 9: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

ความภาคภูมิใจของชาวต าบลพุทเลา ที่วัดนี้มีประวัติความเป็นมาอันต่อเนื่อง ยาวนาน อีกทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งในอดีตและปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙)

เจ้าอาวาสที่พอจะล าดับได้ มีดังนี้

๑. พระอาจารย์แตง

๒. พระอาจารย์ทิน

๓. พระอาจารย์สมุห์ดิษฐ์

๔. พระอาจารย์ขุนเทพ

๕. พระครูธรรมการศึกษา (เพ็ชร) พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๙๔

๖. พระครูโอภาสกิตตคิุณ พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๕๓๐

๗. พระครูวิจิตรการโกศล พ.ศ. ๒๕๓๐ - ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๐)

วัดนนทรีย์ได้มีการก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อันควรแก่การประกอบกุศลกิจของชาวพุทธ เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ฌาปนสถาน ฯลฯ ทัง้นี้ก็ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจ ศรัทธา ของท่านเจ้าอาวาสพระภิกษุสามเณร และชาวพุทธทั้งหลาย นอกจากนี้แล้ว วดันนทรีย์ยังเกื้อกูลด้านสถานที่ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประถมศึกษา และที่ตั้งของอบต.พุทเลา(ชั่วคราว) และการท างานของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตน้ าดื่มอีกด้วย

Page 10: New พระครูธรรมการศึกษา หรือ หลวง ...amuletheritage.com/pdf/a89.pdf · 2020. 9. 10. · พระครูธรรมการศึกษา

ที่มา : พระเกจิอยุธยา, www.facebook.com/759460067398831/ , ต านาน แห่งท้องทุ่ง

บางปะหัน, หลวงพ่อเพ็ชร วัดนนทรีย,์ โพสต์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559.

อ.ราม วัชรประดิษฐ์, http://www.arjanram.com/ , เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์

ปี 2489 หนึ่งในเบญจภาคีเหรียญเมืองกรุงเก่า.

Sangkhatikan, https://sangkhatikan.com/ , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง

ปญฺญาทีโป ป.ธ.๗).

Watnonthree, www.facebook.com/watnonthree1/ , วัดนนทรีย์.

Vajirayana, https://vajirayana.org/ , พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง

ประจักษ์ศิลปาคม.