15
PATIENT EDUCATION AND COUNSELING DIABETIC FOOT ญหาพบในวยเบาหวานอ ระบบการไหลเยนของเอดไวมบเยงอการดเอายกา คนวๆไป เอเนแผลหายา และเอความดปกของเนประสาทวนปลายใชางใเยง อการบาดเบ เดบาดแผลาย าไคอยแลอาจงนองดวหอขา การกษาเอเดแผลนแวน ยากกาการองนไใเดแผลงแแรก การแลเา - กษาโรคเบาหวาน วยการควบมอาหาร ออกงกายและการนยาตามแพทแนเอมระบ ตาล าบหอควรเกงแนเนนไป เองจากใเยงอการเดโรคของหลอดเอดมาก ใเอดไปเยงขาและเาไไ - งองงเกตเยวบเาไแ : - รอยแดง อาจงบอกาแรงกดบมาก หอการดเอ - รอยบาด รอยเกา หอเอดออก - งอาจเดจากการเยด หอแรงกดบมาก - อาการบวม บเวณวหงหนานคายตาปลารอยแตกหอไ - อามตรวจบเวณระหางวเาวย - ความดปกบเวณเบ - ามองไเนององจากกระจก หอใคนใกดวยเาใกน ควรจะงเวลาจะตรวจเา เน อนนอนของกน เอจะไเนจตรประนและไม - เวลางอางไขางเนเวลานาน จะใเอดไปเยงขาไ เวลางควรขบเาและอเานลงเน เวลาประมาณ 5 นาประมาณ 2-3 คงอน เอกระนการไหลเยนของเอดในขา - อาเนเาเปาแแตอนอในานควรจะใงเา หอรองเาแตะใในาน - ควรเอกรองเาใสบาย ขนาดพอบเา อนใองตรวจาไอะไรอานใน หอขอบอาจ ใเาเนแผล ในวยบางรายอาจเนองดรองเาเศษ - เวลาอรองเาให เอแรกใไ 5-10 นาใถอดออกมาารอยแดงงแสดงาแรงกดบเวณน หอไ าควรใรองเานก จะใเนแผลไ าไใถอดรองเามางเกตแบบกคง วโมงในนแรกใ - หกเยงการมสความอนหอเน เองจากในวยเบาหวานอาจอาการชาและไกางมส อนณหอางไร เอกลวกไก ใเดการบาดเบมาก ไควรแเาในอน ใง อนหอาอนประคบ วงนอนควรใงเา - ความสะอาดเา โดยใธรรมดาไองใอน (งกาวไปแว) และเดใแง โดยเฉพาะ ระหางวเา เอองนการดเอรา ทาคมบเวณเาเอไใเดวหงแงและแตกงจะไป การดเอโดยไองทาบเวณระหางว - การดเบเาเอไใเดเบขบ ควรดเนแนวตรงไโง และการตะไบเบไใบเวณเน ขอบคม โดยวไปแวแนะใดเบเอเมยาว ประมาณปดาละคง อาดกเาไปในขอบหอ หงมเบ อาจใเนแผลไ อาดบเวณวหงหนานวยวเอง - ควรใแพทตรวจเาอางอยละคง หากเนวยญหาเาควรไบการตรวจอยกาน หากการเปยนแปลงของเาและขาเน ปาง ความก (เน ไกเบ อาการชา) ใไปพบแพท

Patient Education Copy

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Summary of patient education in each conditions for OSCE exam

Citation preview

Page 1: Patient Education Copy

PATIENT EDUCATION !AND COUNSELING!!!!!

DIABETIC FOOT!! ปัญหาที่พบในผู้ป่วยเบาหวานก็คือ ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดีร่วมกับเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วๆไป เมื่อเป็นแผลก็หายช้า และเมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายที่ทำให้ชาก็ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เกิดบาดแผลง่าย ถ้าไม่คอยดูแลอาจถึงขั้นต้องตัดนิ้วหรือขา การรักษาเมื่อเกิดแผลขึ้นแล้วนั้น ยากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดแผลตั้งแต่แรก!วิธีการดูแลเท้า!- รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและการกินยาตามที่แพทย์แนนำเพื่อคุมระดับ

น้ำตาล ถ้าสูบบุหรี่อยู่ก็ควรเลิกตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดมาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาและเท้าได้ไม่ดี!

- สิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับเท้าได้แก่ : !- รอยแดง อาจบ่งบอกว่ามีแรงกดทับมาก หรือมีการติดเชื้อ!- รอยบาด รอยเกา หรือเลือดออก!- ตุ่มน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสี หรือมีแรงกดทับมาก!- อาการบวม บริเวณที่ผิวหนังหนาขึ้นคล้ายตาปลามีรอยแตกหรือไม่!- อย่าลืมตรวจบริเวณระหว่างนิ้วเท้าด้วย!- ความผิดปกติบริเวณเล็บ!- ถ้ามองไม่เห็นก็ต้องส่องดูจากกระจก หรือให้คนใกล้ชิดช่วยดูเท้าให้ทุกวัน ควรจะตั้งเวลาที่จะตรวจดูเท้า

เช่น ก่อนนอนของทุกวัน เพื่อจะได้ทำเป็นกิจวัตรประจำวันและไม่ลืม!- เวลานั่งอย่านั่งไขว้ห้างเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่ดี เวลานั่งก็ควรขยับเท้าและข้อเท้าขึ้นลงเป็น

เวลาประมาณ 5 นาทีประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในขา!- อย่าเดินเท้าเปล่าแม้แต่ตอนอยู่ในบ้านก็ควรจะใส่ถุงเท้า หรือมีรองเท้าแตะใส่ในบ้าน !- ควรเลือกรองเท้าที่ใส่สบาย ขนาดพอดีกับเท้า ก่อนใส่ต้องตรวจดูว่าไม่มีอะไรอยู่ด้านใน หรือมีขอบที่อาจ

ทำให้เท้าเป็นแผล ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องตัดรองเท้าพิเศษ!- เวลาซื้อรองเท้าใหม่ เมื่อแรกใส่ได้ 5-10 นาทีให้ถอดออกมาดูว่ามีรอยแดงซึ่งแสดงว่ามีแรงกดบริเวณนั้น

หรือไม่ ถ้ามีก็ควรใส่รองเท้าคู่นั้นอีก จะทำให้เป็นแผลได้ ถ้าไม่มีให้ถอดรองเท้ามาสังเกตแบบนี้ทุกครึ่งชั่วโมงในวันแรกที่ใส่!

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนหรือเย็น เนื่องจากในผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการชาและไม่รู้สึกว่าสิ่งที่สัมผัสอยู่นั้นมีอุณหภูมิอย่างไร เมื่อถูกลวกก็ไม่รู้สึก ทำให้เกิดการบาดเจ็บมาก ไม่ควรแช่เท้าในน้ำร้อน ใช้ถุงน้ำร้อนหรือผ้าร้อนประคบ ช่วงที่นอนก็ควรใส่ถุงเท้า!

- ทำความสะอาดเท้า โดยใช้น้ำธรรมดาไม่ต้องใช้น้ำร้อน (ดังที่กล่าวไปแล้ว) และเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อรา ทาครีมบริเวณเท้าเพื่อไม่ให้เกิดผิวหนังแห้งและแตกซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อโดยไม่ต้องทาบริเวณระหว่างนิ้ว!

- วิธีการตัดเล็บเท้าเพื่อไม่ให้เกิดเล็บขบ ควรตัดเป็นแนวตรงไม่โค้ง และทำการตะไบเล็บไม่ให้มีบริเวณที่เป็นขอบคม โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ตัดเล็บเมื่อเริ่มยาว ประมาณสัปดาห์ละครั้ง อย่าตัดลึกเข้าไปในขอบหรือหนังริมเล็บ อาจทำให้เป็นแผลได้ อย่าตัดบริเวณที่ผิวหนังหนาขึ้นด้วยตัวเอง!

- ควรให้แพทย์ตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง หากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เท้าควรได้รับการตรวจบ่อยกว่านั้น ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงของเท้าและขาเช่น รูปร่าง สี ความรู้สึก (เช่น ไม่รู้สึกเจ็บ มีอาการชา) ให้ไปพบแพทย์!!

Page 2: Patient Education Copy

TUBERCULOSIS (วัณโรค)!- ประวัติที่ควรซักเพิ่มเติมได้แก่!! - ถามประวัติการแพ้ยา!! - ประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ติดเชื้อ HIV เคยตรวจหรือไม่? โรคตับ โรคไต โรคตา ที่!! สำคัญคือโรคตับ ให้ถามประวัติดื่มสุรา ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ!! - ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิงต้องถามประวัติคุมกำเนิด เพราะ RIF ลดประสิทธิภาพของ OCP ต้องเปลี่ยนวิธี !! ถามว่ากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือไม่!! - มีประวัติเป็นวัณโรคมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้ามี ถามเกี่ยวกับประวัติการรักษา!! - contact investigation : คนในบ้าน คนใกล้ชิดมีใครบ้าง รวมถึงที่ทำงาน คนใกล้เคียงที่อาจได้รับ!! เชื้อจากผู้ป่วยควรได้รับการตรวจว่าติดเชื้อวัณโรคหรือไม่ ผู้ป่วยอาศัยอยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน ได้เดิน!! ทางไปที่ไหนหรือไม่ คนที่ควรสงสัยคือ คนที่ผู้ป่วย contact ระหว่างที่มีอาการไอ!- แจ้งการวินิจฉัย และอธิบายเกี่ยวกับตัวโรค : !จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติม พบว่าคุณติดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศที่หายใจเข้าไป คนที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อผ่านทางการไอ จาม !การติดเชื้อจะมีระยะฉับพลัน คือช่วงแรกนี้ที่จะมีอาการไข้ ไอเรื้อรัง สามารถแพร่เชื้อได้ จะตรวจพบว่ามีเชื้ออยู่ในเสมหะ ระยะต่อมาจะเป็นระยะเรื้อรัง หรือ ช่วงสงบ ไม่มีอาการไม่สามารถแพร่เชื้อได้ โดยตัวเชื้อยังคงอยู่ภายในร่างกาย!วิธีการวินิจฉัย!อาการที่พบได้ ได้แก่ มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ไอเรื้อรัง มีเสมหะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด!โรคอื่นๆที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้แก่!! - HIV infection!! - เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อน ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม!! - มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน!! - alcohol abuse!- แนวทางในการรักษา!ในปัจจุบันมียารักษาวัณโรค แต่ต้องกินยาเป็นเวลานานถึง 6 - 9 เดือน และต้องกินยาหลายตัว แต่หากกินยาครบตามที่แพทย์ให้ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้!ต้องกินยาให้ครบ และที่ต้องให้ยาหลายตัวก็เพื่อป้องกันการดื้อยา ถ้าเป็นเชื้อดื้อยาอาจจะต้องกินยานานกว่า 6 เดือน (18 - 24 เดือน) ถ้ากินยาไม่ครบตามที่แพทย์ให้อาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกายและกลับเป็นโรคขึ้นใหม่ได้ หลังรักษาประมาณ 2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้นแต่ถึงไม่มีอาการแล้วก็ต้องกินยาไปเรื่อยๆจนกว่าแพทย์จะให้หยุด และต้องมาตรวจติดตามตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง!สูตรทั่วไปมียา 4 ตัว (สิ่งสำคัญคือจำนวน dose ที่ได้รับ ไม่ได้ระยะเวลาที่ได้รับยา !!!!)!Initiation phase : ให้เป็น ทั้ง 4 ตัวนาน 2 เดือน (56 doses)! !! ! Izoniazid (INH)! 300 mg/day! ! ตับอักเสบ!! ! Rifampin (RIF)!! < 50kg ให้ 600 mg/day, > 50kg ให้ 450 mg/day ตับอักเสบ !! ! ! อาการคล้ายไข้หวัดใหญ๋!! ! Pyrazinamide (PZA) ! 20 - 30 mg/kg/day! ตับอักเสบ แพ้แสง ปวดมือ!! ! Ethambutol (EMB)! 15-25 mg/kg/day! ตามัว อาจทำให้ตาบอดได้!Continuation phase : จากนั้น อีก 18 weeks ให้เป็น!! - INH + RIF daily 126 doses!! - or INH + RIF twice-weekly 36 doses!อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้อง มีอาการชา ผื่นขึ้น เลือดออกง่าย ตามัว ได้ยินเสียงในหู เวียนศีรษะ ชารอบปาก!RIF อาจทำให้เกิด ปัสสาวะ น้ำตา น้ำลายเป็นสีส้ม!

Page 3: Patient Education Copy

- หลังจากเริ่มให้การรักษา จะนัดตรวจติดตามเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงจากการกินยาหรือไม่ ดูการตอบสนองต่อการรักษาจาก!

! - อาการของผู้ป่วยลดลงหรือไม่!! - ตรวจเสมหะดูว่ายังพบเชื้ออยู่หรือไม่ ตรวจทุกเดือนจนกว่าจะไม่พบเชื้อ!! - ตรวจ x-ray ดูว่ามีการเปลีย่นแปลงหรือไม่!ต้องประเมินการรักษาหากพบว่า!! - อาการไม่ดีขึ้นหรือ sputum cuture positive หลังรักษาไป 2 เดือน!! - อาการแย่ลงหลังจากดีขึ้นไปช่วงหนึ่ง!! - culture กลับมา positive อีกหลังจากที่ negative ไปแล้ว!!- การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย!

- กินยาให้ครบดังที่กล่าวข้างต้น โดยจะให้กินยาก่อนนอน!- ผู้ป่วยควรแยกห้องนอน หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดกับผู้อื่น หลังกินยาไป 2 สัปดาห์แล้วจึงอยู่ร่วมกับคนอื่น

ได้ปกติ!- เมื่อไอหรือจามต้องใช้ผ้าปิดปากและจมูก เวลาบ้วนเสมหะให้ทิ้งลงในโถส้วม!- ใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร แยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ช้อนส้อม !- ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก!- ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน โดยกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่มีอาหารที่ห้ามกิน ควร

กินอาหารที่สุกสะอาด ถูกสุขลักษณะ เมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่!

- นำสมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย เพื่อนร่วมงาน คนใกล้ชิดมากตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรคว่ามีการติดเชื้อหรือไม่!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Page 4: Patient Education Copy

!!!!!!!!!HEPATITIS B VIRUS INFECTION!!!!!!!!!

แจ้งการวินิจฉัย : พบว่าคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี/ มีภูมิจากการฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อ/ไม่มีภูมิ!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!- โรคนี้เป็นโรคติดต่อ เป็นการติดเชื้อไวรัส โดยสามารถแพร่สู่กันโดย!! ติดต่อทางเลือด เช่น ใช้เข็มร่วมกัน!! ติอต่อทางเพศสัมพันธ์!

Page 5: Patient Education Copy

! ติดต่อจากมารดาสู่บุตร มีโอากาสติดเชื้อสูงระหว่างคลอด!- การติดเชื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น!! ระยะเฉียบพลัน มีอาการไข้ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน!! ! บางคนอาจมีอาการรุนแรงเป็นตับวาย แต่ส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน 1-4 weeks มีเพียง 5 - 10% ที่! ! ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด กลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง!! ระยะเรื้อรัง!! ! ผู้ป่วยที่เป็นพาหะ คือไม่มีอาการ การทำงานของตับปกติ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้!! ! ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง จะมีค่าการทำงานของตับผิดปกติ!ถ้าติดเชื้อเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นตับแข็งหรือโรคมะเร็งของตับได้!- การวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หากมีเป็นระยะใด หรือมีภูมิหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือด!แนวทางการป้องกันโรค :!- เด็กแรกเกิด ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยรวมทั้งหมดแล้วต้องฉีดสามเข็ม ปัจจุบันเป็นวัคซีนพื้นฐาน

ที่ทางรัฐบาลให้ฉีดฟรี!- ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะ ควรตรวจเลือดให้ทราบถึงสภาวะของบุคคลนั้นก่อนจะฉีดวัคซีน!แนวทางการรักษาโรค :!มีเพียงผู้ป่วยบางรายที่ต้องได้รับยา!! - HBsAg positive เป็นเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน!! - evidence of viral replication!! ! - HBeAg positive with viral load > 20,000 IU/mL!! ! - HBeAg negative with viral load > 2,000 IU/mL!! - ALT > 1.5 x upper normal limit for 2 times, at least 3 months apart!! ยกเว้นถ้ามี cirrhosis, liver failure ให้การรักษาเลย ไม่ต้องรอนาน 3 เดือน!ตัวอย่างยา antiviral ที่มีในปัจจุบัน : adeforvir dipivoxil, interferon alfa-2b, lamivudine,telbivudine)!การปฏิบัติตัวในระยะเฉียบพลัน :!- รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์!- มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูการทำงานของตับ และมารับการตรวจร่างกายและตรวจเพิ่มเติม

ด้วยการเจาะเลือดและ ultrasound เพื่อดูว่ามีมะเร็งตับหรือไม่ อย่างน้อยปีละครั้ง ในผู้ป่วยที่!- มีภาวะตับแข็ง!- เป็นเพศชายอายุมากกว่า 45 ปี !- เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปี!- มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว!

- ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น!- แจ้งให้สมาชิกในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดทราบ จะได้ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนถ้ายังไม่มีภูมิ ไม่เคยติด

เชื้อมาก่อน!- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการสวมถุงยางอนามัน!- งดบริจาคเลือด!- แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเมื่อต้องทำหัตถการ เช่น การผ่าตัด ถอนฟัน!- หญิงตั้งครรภ์เมื่อคลอดบุตร บุตรควรได้รับวัคซีนภายใน 24 ชม.!

- การกินอาหาร !- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ต้องสุกและสะอาด!- หลีกเลี่ยง อาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน หรือไหม้เกรียม อาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ ระวังอาหารที่อาจมี

เชื้อรา ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากขึ้น เช่น อาหารหมักดอง ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นาน!- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!!!!

Page 6: Patient Education Copy

!ANKYLOSING SPONDYLITIS (โรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติด)!แจ้งการวินิจฉัย และอธิบายเกี่ยวกับตัวโรค : !! เป็นโรคข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการอักเสบของกระดูกสันหลังเป็นลักษณะเด่น ร่วมกับมีข้ออักเสบ อาจพบการอักเสบของเอ็นและระบบอื่นๆของร่างกาย จะเป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเป็นๆหายๆ เมื่อเป็นนานๆ จะทำให้เกิดการเชื่อมติดกันของข้อกระดูกสันหลัง ก้มหรือแอ่นไม่ได้ หลังงอ หลังค่อม !! สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ถ้าในครอบครัวมีประวัติเป็นก็จะเสี่ยง คาดว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติจากการติดเชื้อ โดยโรคนี้จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 - 3 เท่า!! ช่วงแรกๆจะไม่ค่อยมีอาการ ต่อมาจะเริ่มมีอาการปวดหลังหรือเชิงกราน อาจพบอาการปวดข้ออื่นๆ เช่น ไหล่ เข่า นิ้วมื้อ เอ็นร้อยหวาย จะมีอาการเป็นๆหาย ปวดมากตอนเช้า รู้สึกขยับตัวยาก สักพักจะบรรเทาลง อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง!! ในระยะยาว อาจทำให้เกิดการทำลายข้อ เกิดกระดูกยึดติด ผิดรูป ลงท้ายด้วยการพิการถาวร!แนวทางการรักษา : ในปัจจุบันไม่มีการรักษาตัวโรคให้หายขาด เป็นเพียงการบรรเทาอาการ ประกอบไปด้วยการรักษาสองส่วนคือ!1. การรักษาด้วยยา โดยมียาที่ใช้อยู่สองชนิดคือ!! - ยาแก้ปวด เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการและเป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบ (NSAIDs)!! - ยากดภูมิ เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (corticosteroid, ! !! sulfasalizine, TNF- alfa blocker)!2. กายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากจะช่วยลดอาการปวดแล้ว สิ่งสำคัญคือ

ช่วยให้ข้อผิดรูปน้อยที่สุด ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวที่ปกติ โดยการทำกายภาพบำบัดด้วยการบริหารนี้ ผู้ป่วยจะต้องกลับไปทำเองเมื่ออยู่บ้าน สามารถแบ่งท่าบริหารได้เป็น 3 ชนิด คือ!

Page 7: Patient Education Copy

! - การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ!

!!!

Page 8: Patient Education Copy

! - การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดี ป้องกันการผิดรูป!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Page 9: Patient Education Copy

! - ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการขยายของทรวงอก!

การปฏิบัติตัว :!- ดังที่ได้บอกไปแล้วว่า การรักษานั้นเป็นเพียงการบรรเทาอาการและต้องใช้ยาร่วมไปกับกายภาพบำบัด ต้อง

ออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวัน!- ควรเปลี่ยนท่าทุก 30 นาที ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป!- นอนหนุนหมอนอย่าเกิน 1 ใบ เพราะจะทำให้ไหล่งุ้มมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง ยืน หรือ เดิน หลีกเลี่ยงการ

ค่อมไหล่ห่อตัว ต้องยืดตัวให้ตรง เพราะถ้าค้างอยู่ในท่างอเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถตั้งตัวตรง แล้วกลายเป็นอยู่ในท่างออย่างถาวร!!!

! !!!!!!!!!!!!!

Page 10: Patient Education Copy

RHEUMATOID ARTHRITIS (โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์)!!แจ้งการวินิจฉัย!อธิบายเกี่ยวกับโรค :!! เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง!!!!!!!!!HIV INFECTION!แจ้งการวินิจฉัย : จากผลการตรวจเลือดครั้งที่แล้วพบว่าคุณติดเชื้อ HIV!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า HIV สามารถแบ่งตัวในเซลล์ของคน ร่างกายจะสร้างภูมิต้านท้านแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไป เชื้อจะคงอยู่และทำลายเม็ดเลือดขาว นำไปสู่ภูมิต้านทานที่บกพร่อง!! การติดต่อสามารถผ่านได้ 3 ทาง คือ!! - การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ใช้ถุงยาง ไม่ว่าจะกับเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ เสี่ยงมากขึ้นถ้าหากมีแผล ! ในประเทศไทยพบว่า 80 % ติดเชื้อผ่านทางนี้!! - การรับเชื้อทางเลือด พบได้ในผู้ที่ใช้สารเสพติดแล้วใช้เข็มร่วมกัน ส่วนการรับเลือดในปัจจุบันจะต้อง! ผ่านการตรวจจึงปลอดภัยเกือบ 100%!! - การติดเชื้อผ่านจากแม่สู่ลูก ในปัจจุบันสามารถป้องกันได้ ด้วยการให้มารดากินยาต้านไวรัส หรือใช้! วิธีผ่านคลอดเพื่อลดโอากาสการติดเชื้อ และงดการให้นมแม่!! ปัจจัยที่มีผลได้แก่ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ บาดแผลที่เชื้อเข้าถึง การติดเชื้ออื่นๆ จำนวนครั้งที่สัมผัสเชื้อ และสุขภาพของผู้ที่สัมผัสกับเชื้อ!เมื่อได้รับเชื้อ จะมีระยะของโรคคือ!ระยะไม่ปรากฏอาการ จะเหมือนคนปกติ ผลเลือดเป็นบวก 4 สัปดาห์ภายหลังรับเชื้อ !ระยะมีอาการ!- มีอาการร่วมเช่น มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นงูสงัด อาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือนไม่ทราบสาเหตุ!- ระยะโรคเอดส์ คือภูมิคุ้มกันถูกทำลายมาก เกิด “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส”ซึ่งไม่พบในคนปกติ เช่น !ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อที่ไม่พบในคนปกติ มีการติดเชื้อรา อาการมะเร็ง เช่น มะเร็งหลอดเลือด (Kaposi’s sarcoma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Non-Hodgekin’s lymphoma)!ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี บางรายอยู่นานเป็นสิบปีโดยไม่มีอาการใดๆ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ ไม่รับเชื้อเพิ่ม หากเริ่มมีอาการมักเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี หลายคนอยู่ได้นานมากกว่า 5 ปี!แนวทางการรักษา :!! การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ทำให้หายขาด แต่เป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส แต่ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปจากร่างกาย โดยการกินยานี้จะต้องทำร่วมกับการดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ป้องกันการติดเชื้อ หากไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปอีกหลายปี!ยาที่ให้จะประกอบไปด้วย!- ยาต้านไวรัส ซึ่งนิยมให้ครั้งละสามตัว ต้องกินให้ครบ กินให้ตรงเวลาไม่คลาดเคลื่อน แม้จะแค่ห้านาที!- ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉแวยโอกาส ให้กรณีที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก โอกาสติดเชื้อสูง!ข้อควรปฏิบัติ :!

Page 11: Patient Education Copy

- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างครบถ้วน ตรงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยา ห้ามลืมโดยเด็ดขาด จะต้องมีการกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด ยามักจะมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน ผื่นผิวหนัง โลหิตจาง ต้องมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อดูผลการรักษา ผลข้างเคียงของยา และตรวจหาการติดเชื้อฉวยโอกาส !

- สามารถอยู่ในสังคมได้ปกติ แตะต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่ได้ติดต่อกันทางการสัมผัสหรือทางลมหายใจ หากมีเรื่องเครียด ควรปรึกษาคนที่เข้าใจ เช่น พ่อแม่ คู่สมรส !

- ระมัดระวังไม่ให้สารคัดหลั่ง เช่น น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ เลือด กระเด็นเปื้อนผู้อื่น ถ้าบ้วนก็ควรนำไปทิ้งและทำความสะอาด ถ้าสัมผัสกับสารคัดหลั่งแล้วให้รีบทำความสะอาด ล้างมือ ซักเสื้อผ้าที่เปื้อน!

- หากมีเพศสัมพันธ์ ต้องใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพื่อป้องกันการรับหรือการแพร่เชื้อเอดส์ ไม่ว่าคู่นอนจะติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม เพราะ อาจจะเป็นเชื้อคนละสายพันธุ์ที่ดื้อยาต่างกัน การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ช่วยป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อ รวมถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30% หากต้องการตั้งครรภ์จริง ต้องมาวางแผนครอบครัว!

- หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ!- งดการใช้สิ่งเสพติด งดการบริจาคเลือดหรือวัยวะ!- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ!

- การติดเชื้อจะทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นระยะมีอาการ ต้องกินอาหารเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เพื่อคงน้ำหนักตัวไว้!

- ป้องกันการติดเชื้อ ถ้า CD4 < 200 : ล้างมือก่อนกินอาหารทุกครั้ง หลีกเลี่ยงของดิบ หรือ นมที่ไผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์มีชีวิต (โยเกิร์ต) ตั้งทิ้งไว้นานก็ควรอุ่นก่อนทาน อาหารไม่ควรแช่เย็นเกิน 1 วัน กินผักผลไม้ได้แต่ต้องล้างให้สะอาดก่อน!

- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ ทำลายตับ มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาต้านไวรัส!- อาจมีน้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์และแป้ง หลีกเลี่ยงไขมันเนื่องจากย่อยและดูดซึมยาก!- หากมีแผลในปาก ให้ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารกรอบหรือรสจัด !- คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารทีละน้อย เพิ่มจำนวนมื้อ งดอาหารจำพวกของทอด ของมัน !- ท้องเสีย ต้องกินแป้งเพิ่ม กินโพแทสเซียมเพิ่ม (กล้วย ส้ม น้ำมะพร้าว มะเขือเทศ)!

- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ HIV จะต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย!- การกินอาหารควรใช้ช้อนกลาง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบอาหาร!- สามารถใช้ห้องน้ำห้องส้วมร่วมกันได้ !- เสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องซักแยก หรือใช้เป็ชนิดพิเศษ ยกเว้นกรณีเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ต้องทำการซัก

แยกต้องหาก เวลาสัมผัสต้องใส่ถุงมื้อ นำมาแช่น้ำผสมยาซักผ้าขาว 30 นาทีก่อนนำไปซักตามปกติ!!!!THALASSEMIA!แจ้งผลการตรวจ : พบว่า คุณ(ผู้ชาย) เป็น…. คุณ(ผู้หญิง) เป็น…..!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติของการสร้างส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายและมีภาวะเลือดจาง สามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อแม่ที่มียีนผิดปกติจะถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ !

Page 12: Patient Education Copy

Beta-thal : คนเราจะมียีนอยู่สองตัว ยีนผิดปกตินี้เป็นยีนแฝง หมายถึง จะต้องผิดปกติทั้งสองตัวจึงจะเป็นโรค ถ้ามีผิดปกติเพียงตัวเดียวจะเรียกว่าเป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนคนทั่วไป!! ! !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!สำหรับคนที่เป็นพาหะจะไม่มีอาการ ดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป เพียงแต่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้ไปสู่ลูกได้ โดยหากบุตรเป็นโรคจะเป็นชนิดรุนแรง คือ แรกเกิดไม่มีอาการ เมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน จะเห็นอาการซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง เริ่มมีตับม้ามโต ตัวเล็ก การเจริญเติบโตช้า มักต้องรับเลือดเป็นประจำ มักจะมีลักษณะของใบหน้าที่จำเพาะต่อโรคนี้!การวางแผนครอบครัว :!- แจ้งว่าบุตรมีโอกาสเป็นกี่เปอร์เซ็น โดยเพศของบุตรไม่มีความเกี่ยวข้องกับโอกาสของการถ่ายทอด!- การตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวคุณพ่อและคุณแม่ โดยหากตั้งครรภ์แล้ว แนะนำให้รีบมาฝาก

ครรภ์ การวินิจฉัยว่าเด็กในท้องเป็นโรคหรือเป็นพาหะหรือไม่สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ การเก็บรกไปตรวจ การทราบผลก่อนคลอดบุตรจะช่วยในการตัดสินใจว่าต้องการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือาจจะเป็นการให้เวลาพ่อแม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการดูแลบุตรที่เป็นโรค!

Page 13: Patient Education Copy

- ควรแนะนำให้ญาติ พี่น้องไปตรวจเลือดว่าเป็นพาหะหรือไม่ และปรึกษาแพทย์ก่อนสมรสเพื่อวางแผนครอบครัว!

การปฏิบัติตัว :!- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และควรติดตามการรักษาต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนที่รักษาบ่อยๆ!- รักษาความสะอาดของร่างกาย ปากและฟัน เพราะติดเชื้อง่าย ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน!- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารโปรตีนสูง พืชผักใบเขียวเพื่อให้ได้โฟเลทที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด

แดง!- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องใน ตับ หัวใจ !!!POST MYOCARDIAL INFARCTION!แจ้งการวินิจฉัย : เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด !อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เกิดจากมีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสาเหตุที่พบมากที่สุดเกิดจากการมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทำให้มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง เมื่อออกแรงมากๆ มีอารมณ์โกรธ จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ เกิดการขาดเลือดติดต่อกันนานก็จะเกิดการตายของกล้ามเนื้อ!! มักพบในคนอายุมาก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงได้แก่ สูบบุหรี่จัด ความดันโลหิตสูง อ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด!! จะมีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ อาจร้าวไปที่ไหล่ซ้าย มีอาการในขณะพัก ถ้าเป็นมากๆ อาจเกิดภาวะช็อค เป็นลมหมดสติ เสียชีวิตในทันทีทันใด!แนวทางการรักษา :!จะได้รับยากลับไปกินเป็น!- ยาละลายลิ่มเลือด 2 ตัว (aspirin + clopidogrel) จะทำให้เสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย หากจะต้องทำหัตถการ

เช่น การผ่านตัด หรือ ถอนฟัน จะมีความจำเป็นต้องหยุดยาระยะหนึ่งก่อนทำ ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่ากำลังกินยาละลายลิ่มเลือดอยู่!

- ยาลดไขมัน (statin) อาจทำให้แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ และต้องมาตรวจการทำงานของตับเป็นครั้งคราว!

- ยาลดความดัน (ACEI + Beta-blocker/CCB)!- ยาอมใต้ลิ้น ให้อมเมื่อมีอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นๆที่บ่งบอกว่าอาจมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่!การปฏิบัติตัว :!- ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ และมาพบแพทย์ตามนัด!- คอยสังเกตอาการของตัวเอง อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างชัดเจน แต่เป็นการปวดเมื่อยที่ไหล่ หรือขา

กรรไกร จุกแน่นลิ้นปี่ ให้มาพบแพทย์!- เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด งดการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มคาเฟอีน!- ถ้าอ้วนต้องลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ใช้น้ำมันพืชแทนนำ้มันจากสัตว์ ออกกำลังกายอย่าง

สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้แรงอย่างหักโหม แนะนำให้ค่อยๆเพิ่มความหนักของการออกกำลังกาย เช่น เริ่มจากการเดินเร็ว ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันมากกว่า 10 นาที จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มเวลา จนได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง!

- หลีกเลี่ยงอารมณ์โกรธ หรือความเครียดต่างๆ เนื่องจากมีผล่อการกำเริบ!- การทำงาน : เริ่มทำงานได้หลังมีอาการ 8 - 12 สัปดาห์ โดยไม่ใช้แรงมากเพราะจะทำให้อาการกำเริบอีก กา!- การมีเพศสัมพันธ์ : ภายหลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ควรเริ่มหลังผ่านไปแล้ว 6 สัปดาห์ แต่ถ้า

มีภาวะแทรกซ้อนเช่น หัวใจล้มเหลว อาจต้องปรึกษาแพทย์ อาจมีการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากยาที่ได้รับ ห้ามใช้ยาไวอากร้าโดยเด็ดขาด (ในกลุ่มที่ได้รับยา nitrate) เพราะจะทำให้ควมดันโลหิตต่ำรุนแรง อาจเสียชีวิตได้!!!

Page 14: Patient Education Copy

!!!!!!!!!!!!!!!!!!METABOLIC SYNDROME (กลุ่มอาการเมทาบอลิก หรือ โรคอ้วนลงพุง)!เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยลักษณะหลายอย่าง เช่น มีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้อาจจะไม่ได้มีครบทุกเกณฑ์ตามที่กล่าวข้างต้น แต่ถ้ามีกลุ่มอาการเหล่านี้แล้วจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น!!!!!!!CHRONIC KIDNEY DISEASE (โรคไตเรื้อรัง)!!การปฏิบัติตัว :!- ควบคุมความดันโลหิต!- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถ้ามีเบาหวาน!- ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด!

- ควบคุมปริมาณเกลือที่กินเข้าไป เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดส่วนเกิน จะทำให้น้ำคั่งและเกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ปลาเค็ม ขนมขบเคี้ยว แฮม เบคอน อาหารดอง อาหารกระป๋องต่างๆ ห้ามใช้ซอสปรุงรส เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม!

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งทางขับออกมีทางเดียวคือไต ถ้ามีการสะสม จะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยง กล้วย ส้ม ทุเรียน มะละกอ ขนุน มะเขือเทศ ผักใบเขียว มะขาม หัวผักกาด ผลไม้แห้งทุกขนิด เลือกกินแตงกวา กะหล่ำปลี สับปะรด!

- โปรตีน จำกัดปริมาณที่โปรตีนสูง ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่คอเลสเตอรอลสูง !- รักษาภาวะโลหิตจาง!- ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก!

Page 15: Patient Education Copy

- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื้อ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ในสัปดาห์แรก เท่าที่ทำไหว ช่วงแรกอาจทำติดต่อกันนาน 10 นาที แล้วค่อยๆเพิ่มจนกระทั่งได้ ครึ่งชั่วโมงต่อวัน!!

อย่าออกกำลังกายหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ : มีไข้ อากาศร้อนและมีความชื้นสูง มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ!หยุดออกกำลังกายทันทีหากรู้สึกดังต่อไปนี้ : เหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก!หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือไม่เป็นจังหวะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว!!- ป้องกันโรคหัวใจ!- หยุดสูบบุหรี่!- คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา!

- หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรต่างๆ เพราะเสี่ยงต่อการทำให้เกิดไตวายสูง!- ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กินอยู่ ได้แก่ ชื่อ ขนาด วัตถุประสงค์ของการใช้ยา วิธีการกิน ข้อควรระวัง