7
บทนำ 9 บทนำ ใครควรใช้หนังสือเล่มนีผู้จัดการฝ่ายผลิต วิศวกร และช่างเทคนิค: การนำ Six Sigma มาใช้งานจะ ทำให้ทีมผลิตและทีมวิศวกรคุยภาษาเดียวกันและใช้วิธีเดียวกันในการแก้ไขปัญหา ไม่ สำคัญว่าพนักงานจะมีทักษะอะไรมาก่อน การใช้งาน Six Sigma จะทำให้ทักษะที่พวก เขาเหล่านั้นมีเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น หนังสือ สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว นีจะเน้นในเรื่องการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมต่างๆ และได้ผลลัพธ์ทีสามารถวัดได้ การจัดหา: Six Sigma จะมีคุณค่าพอๆ กันเมื่อคุณนำไปใช้งานกับผู้จัดส่ง วัตถุดิบ การใช้งานร่วมกันของเครื่องมือเหล่านี้ทำให้ผู้ขายของคุณเสมือนเป็นส่วนขยาย ของบริษัท ผู้จัดส่งวัตถุดิบมีความกระตือรือร้นเข้ามีส่วนร่วมเนื่องจากว่าเขารู้ว่ากระบวน- การ Six Sigma จะช่วยเขาทั้งในเรื่องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และเรื่องความสัมพันธ์ทีแน่นแฟ้นกับลูกค้าของเขา สิ่งเหล่านี้จะเป็นสถานการณ์แบบชนะทั้ง 2 ฝ่ายเกือบทั้งหมด เสมอ Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

บทนำ  9

บทนำ 

ใครควรใช้หนังสือเล่มนี้  

ผู้จัดการฝ่ายผลิต วิศวกร และช่างเทคนิค: การนำ Six Sigma มาใช้งานจะ

ทำให้ทีมผลิตและทีมวิศวกรคุยภาษาเดียวกันและใช้วิธีเดียวกันในการแก้ไขปัญหา ไม่

สำคัญว่าพนักงานจะมีทักษะอะไรมาก่อน การใช้งาน Six Sigma จะทำให้ทักษะที่พวก

เขาเหล่านั้นมีเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น หนังสือ สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว นี้

จะเน้นในเรื่องการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมต่างๆ และได้ผลลัพธ์ที่

สามารถวัดได้

การจัดหา: Six Sigma จะมีคุณค่าพอๆ กันเมื่อคุณนำไปใช้งานกับผู้จัดส่ง

วัตถุดิบ การใช้งานร่วมกันของเครื่องมือเหล่านี้ทำให้ผู้ขายของคุณเสมือนเป็นส่วนขยาย

ของบรษิทั ผูจ้ดัสง่วตัถดุบิมคีวามกระตอืรอืรน้เขา้มสีว่นรว่มเนือ่งจากวา่เขารูว้า่กระบวน-

การ Six Sigma จะช่วยเขาทั้งในเรื่องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และเรื่องความสัมพันธ์ที่

แน่นแฟ้นกับลูกค้าของเขา สิ่งเหล่านี้จะเป็นสถานการณ์แบบชนะทั้ง 2 ฝ่ายเกือบทั้งหมด

เสมอ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

10

วิศวกรออกแบบ: ปัญหาการผลิตจะถูกแก้ไขได้อย่างดีที่สุดในขั้นตอนการ

ออกแบบ Six Sigma จะใช้ข้อมูลและความต้องการของลูกค้ามาช่วยในการออกแบบ

ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การผลิตเพื่อที่จะขจัดปัญหาให้หมดไป หัวข้อที่น่าสนใจเป็น

พิเศษคือบทที่กล่าวถึงเรื่องพิกัดความเผื่อ (Tolerances) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องพิกัด

ความเผื่อที่คำนวณจากความต้องการจริง และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้นำความต้องการของ

ลูกค้าเข้ามาในกระบวนการ

การตลาดและการขาย: การทีส่ามารถทำใหเ้หน็วา่บรษิทัของคณุใช ้Six Sigma

ในการปรับปรุงและควบคุมกระบวนการจะกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดและการขาย

ที่ทรงพลัง บริษัทชั้นนำหลายๆ บริษัทจะใช้ประโยชน์จาก Six Sigma ชื่อเสียงของบริษัท

และความสามารถยอดเยี่ยมทางเทคนิคที่สามารถรับรู้ได้รวมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น

เครื่องมือเหล่านี้ยังเป็นตัวช่วยทำให้เห็นจุดของการเปลี่ยนแปลงในความต้องการหรือ

ยอดขายอย่างมีนัยสำคัญได ้

การบัญชี การพัฒนาซอฟต์แวร์ การประกันภัย ฯลฯ: ถึงแม้ว่าการใช้งาน

Six Sigma ในตอนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะเริ่มที่งานการผลิต แต่ก็มีความตระหนักมากขึ้นว่า

เทคนิคเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนหรือข้อผิดพลาดในงานประเภทอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน เทคนิค

เหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ คน กระบวนการ บริษัท เหตุการณ์ ฯลฯ

เพื่อชี้ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญหรือแนวโน้มต่างๆ ใช้เครื่องมือที่หลากหลายนำความ

ต้องการของลูกค้าเข้ามาในกระบวนการเพื่อให้เกิดประโยชน์จากความรู้ของทุกๆ คนที่ได้

รับผลกระทบ และเพื่อที่จะได้ความเห็นชอบร่วมกันมากที่สุด

ทำไมสถิติสำหรับ Six Sigma จึง “ง่ายนิดเดียว”  

มีหนังสือเรื่อง Six Sigma อยู่มากมาย ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงเรื่องนี้โดยทั่วๆ ไป

เท่านั้น มีรายละเอียดการนำเครื่องมือ Six Sigma ไปใช้งานจริงเพียงเล็กน้อย หนังสือ

สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว นี้ชี้แนะเรื่องราวสถิติเท่าที่จำเป็นแก่ผู้อ่าน และ

ทำให้ใครก็ตามได้นำเครื่องมือ Six Sigma ไปใช้งานร่วมกับปัญหาบนโลกแห่งความเป็น

จริงได้อย่างรวดเร็ว

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 3: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

บทนำ  11

Six Sigma เป็นระเบียบวิธีที่มีโครงสร้างสำหรับการแก้ไขปัญหาด้วยเครื่องมือที่

สามารถถูกนำไปใช้งานกับกระบวนการการแก้ไขปัญหา การใช้งาน Six Sigma จะทำ

ให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนแก่เรื่องที่อาจจะไม่ชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าในตอนแรก Six

Sigma จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ แต่ในปัจจุบันหลายๆ บริษัทก็

ใช้ปรับปรุงในเรื่องการลดต้นทุน ผู้นำระเบียบวิธีนี้ไปใช้งานมักจะถูกเรียกว่า “Green

Belt” หนังสือเล่มนี้จะทำให้การเรียนรู้เรื่อง Six Sigma และการนำไปใช้งานในโครงการ

ระดับ Green Belt ง่ายขึ้น

การอบรม Green Belt ของบริษัทหนึ่งในเรื่อง Six Sigma ประกอบไปด้วย

หนังสือ 7 เล่ม โปรแกรมสำเร็จรูป 4 โปรแกรม และเวลาเรียนในห้องเรียน 3 สัปดาห์ ซึ่ง

จะเรียนเรื่องเทคนิคทางสถิติระดับสูงอย่างเข้มข้นมาก ถึงแม้ว่าหลักสูตรแบบนี้จะ

ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัทหรือทุกคนจะต้องการความรู้และต้องรู้ในระดับนั้น หนังสือ

สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว ประกอบด้วยเพียงเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้งาน

จากผู้ใช้งาน Six Sigma ส่วนมากที่ประสบความสำเร็จ โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นมี

เพียงโปรแกรม Excel เท่านั้น ทั้ง 14 สูตรและ 5 ตารางในหนังสือนี้สามารถช่วยให้คุณ

ทำงาน Six Sigma ทุกงานที่ได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้

เทคนิคทางสถิติที่จำเป็นทั้งหมดถูกอธิบายรายละเอียดไว้อย่างสมบูรณ์และเป็น

“แบบง่าย” การใช้เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้คนๆ หนึ่งสามารถทำงานได้พอๆ กับ Green

Belt ผู้ซึ่งได้รับการอบรมมาอย่างเข้มข้นและสมบูรณ์แบบมากกว่านี้ ตามที่ได้กล่าวมา

แล้วข้างต้น

ไม่มีความจำเป็นต้องเก่งเครื่องมือทุกอย่างในระดับ “ปรมาจารย์” เพื่อให้เกิด

ประสิทธิผลในการใช้ Six Sigma การใช้งานเครื่องมือเพียง 2-3 อย่างสามารถมีผลกับ

การลดต้นทุนได้อย่างมาก

เครื่องมือ Six Sigma หลายๆ อย่างที่ถูกอธิบายในหนังสือเล่มนี้จะถูกกำหนด

ชื่อว่า “แบบง่าย” ความง่ายนี้จะไม่ได้ลดความมีประสิทธิผลของเครื่องมือลง แต่เป็น

เพียงการทำให้เครื่องมือต่างๆ นำมาใช้ได้สมกับความเป็นจริง ในทุกกรณี ผมจะให้

เหตุผลสำหรับการทำเป็น “แบบง่าย” และให้หนังสืออ้างอิงสำหรับผู้ที่ต้องการใช้วิธีการ

แบบดั้งเดิม (ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือที่ง่ายนัก) ไว้ด้วย

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 4: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

12

หนังสือเล่มนี้สามารถถูกนำไปใช้เดี่ยวๆ หรือเป็นส่วนเสริมกับหนังสือ Six

Sigma เล่มอื่นๆ ได้

การสอน Six Sigma  

หลายๆ คนที่ใช้หนังสือนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสอน Six Sigma บุคคลที่

คุณจะสอนจะมีพื้นฐานการศึกษาและระดับความสนใจที่หลากหลาย ผมขอแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นกับคุณว่าผมใช้งาน สอน และท้ายที่สุด เขียนหนังสือเล่มนี้อย่างไรบ้าง

บางทีประสบการณ์ของผมอาจมีคุณค่าสำหรับคุณที่จะใช้ในการเริ่มต้นสอนระเบียบวิธีนี้

ผมเคยทำงานอยู่ที่ GE เป็นเวลานานหลายปี และได้บริหารทีมงานวิศวกรรมที่

มีความประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อนำ Six Sigma มาใช้งาน GE เริ่มต้นจากการมี

กลุ่มคนที่เฉียบแหลมจำนวนจำกัดที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดีจากที่ปรึกษาภายนอก

ที่ดูจะเชี่ยวชาญในเรื่อง Six Sigma กลุ่มคนที่ได้อบรมมาใหม่นี้ถูกจัดรวมเป็น “โมดูล”

เพื่อที่จะสอนกลุ่มคนต่อไปซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการเป็นส่วนใหญ่

เนื่องจากกลุ่มคนเริ่มต้นไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน Six Sigma มาอย่าง

แท้จริง และมีระดับความสามารถทางด้านเทคนิคสถิติที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องโมดูลและ

การอบรมจงึคอ่นขา้งเปน็แบบตามบญุตามกรรม การอบรมแบง่เปน็ 2 ชว่งๆ ละ 1 สปัดาห ์

ซึ่งจะแนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ที่ใช้เฉพาะงาน Six Sigma

ส่วนที่นอกเหนือจากการอบรมนี้คือ GE ได้ใช้ที่ปรึกษาจากภายนอกมาสอน

เครื่องมือ Six Sigma อื่นๆ เพิ่มและสอนซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องมือเหล่านั้น เนื่องจาก

ข้อจำกัดทางด้านซอฟต์แวร์ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่มาใช้งาน

ดังนั้นจึงมีอุปสรรคในการอบรม โมดูลการอบรมที่ใช้ภายในบริษัทที่ถูกเขียน

และถูกสอนโดยผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการใช้งาน Six Sigma ทำให้หลักสูตรนั้น

ดูอ่อนไป การอบรมที่ถูกจัดโดยที่ปรึกษาก็ดูจะมากเกินอยู่บ่อยๆ มันเป็นปัญหาที่ไม่มี

หนังสือในเชิงปฏิบัติที่ใช้ได้จริงในการสอนการใช้งานเครื่องมือ Six Sigma

ตลอดช่วงระยะเวลาหลายๆ เดือน มีการจัดการอบรมในลักษณะนี้ให้กับวิศวกร

ส่วนมากและกลุ่มอื่นๆ ที่หลากหลายด้วย เช่น การตลาดและการขาย หลังจากเรียน

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 5: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

บทนำ  13

หลักสูตรนี้แล้วพนักงานจะเริ่มใช้งาน Six Sigma; เป้าหมายคือ ภายในระยะเวลา 1 ปี

ทุกๆ คนจะต้องทำโครงการ Six Sigma ที่ประสบความสำเร็จให้เสร็จ 2 โครงการ บันทึก

เรื่องราวการลดต้นทุน กำหนดการควบคุมต่างๆ ที่จำเป็น และนำเสนอผลงานอย่างเป็น

ทางการ ผู้ที่ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เสร็จจะกลายเป็น “Green Belt” ทุกคนจะต้องเข้าร่วม

การทดสอบความสามารถในเรื่อง Six Sigma ในช่วงปลายปีแรก

หลังจากทีมวิศวกรของผมส่วนใหญ่จบหลักสูตรนี้แล้ว ผมได้สัมภาษณ์ความ

เห็นพวกเขา ในตอนแรก ผมได้คำตอบประเภท “การอบรมก็ใช้ได้ดี” อย่างไรก็ตาม เมื่อ

ผมตั้งคำถามต่อ ผมก็พบว่าวิศวกรไม่ได้เรียนรู้หรือเข้าใจ Six Sigma จริงๆ จุดอ่อน

หลักๆ ในเรื่องการสอนคือ สมมติฐานที่มีว่า ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเรื่องความน่าจะเป็น

และเทคนคิทางสถติเิปน็อยา่งด ี จงึไดม้กีารแนะนำเรือ่งการนำไปใชง้านจรงิในทางปฏบิตั ิ

เพียงเล็กน้อย

เนื่องจากผมภูมิใจในทีมงานของผมที่เป็นทีมที่ดีที่สุดทีมหนึ่ง ผมจึงได้ตัดสินใจ

เริ่มต้นสอน Six Sigma เวอร์ชั่นที่เป็นไปในทางปฏิบัติจริงมากขึ้นให้กับทีมงานของผม

ผมได้กำหนดการสอน Six Sigma ครั้งละ 4 ชั่วโมงให้กับทีมงานของผม สัปดาห์เว้น

สัปดาห์ ที่ซึ่งจะครอบคลุมบางเรื่องเกี่ยวกับ Six Sigma ในภาคแรกจะทบทวนเรื่อง

เทคนิคทางสถิติทั่วๆ ไป เน้นเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริงใน

งาน Six Sigma หลังจากผ่านไปหลายเดือน ผู้จัดการทั่วไปได้เชิญผมให้เริ่มจัดสอน

ทีมงานอีกทีมหนึ่ง ซึ่งผมก็ไปตามคำเชิญ

ทุกๆ คนที่เข้าร่วมอบรมจะกลายเป็น Green Belt โดยมีเป้าหมายภายใน 1 ปี

และทีมงานนี้ได้มีผลการทดสอบที่เหนือกว่าทีมอื่นๆ จากการทดสอบ Six Sigma ในช่วง

ปลายปีนั้น

ในห้องเรียน ผมจะต้องเอาชนะปัญหาของความหลากหลายในเรื่องทักษะความ

รู้และความสามารถให้หมดไป ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย ช่างเทคนิคที่จบหลักสูตร

การศึกษาที่ใช้เวลาเรียน 2 ปี ช่างเทคนิคที่ไม่มีวุฒิการศึกษา วิศวกรปริญญา และแม้

กระทั่งผู้จบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์อีกหลายคน ผมได้อธิบายให้ทั้งหมดฟังว่าผมจะเริ่ม

สอนจากพื้นฐานและสอนช้าๆ โดยใช้ปัญหาในงานจริงเป็นตัวอย่างประกอบ ผมได้ขอให้

ผู้ที่มีความเข้าใจเทคนิคทางสถิติเป็นอย่างดีช่วยสอนคนอื่นๆ ที่ยังไม่เข้าใจด้วย ผมไม่ได้

พยายามที่จะระบุไปว่าใครควรอยู่กลุ่มใด วิธีการแบบนี้ดูเหมือนว่าจะเหมาะสมกับการ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 6: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

14

สอนนี้ แม้กระทั่งคนที่รู้สึกว่ามีความเข้าใจอยู่แล้วก็ประหลาดใจอย่างมากเมื่อรู้ว่าตนได้

เรียนรู้อีกมากจากห้องเรียนนี ้

ผมเตรียมตัวให้สอนหลักสูตรนี้อย่างไรหรือ? สุดสัปดาห์ก่อนอบรม ผมจะหา

ตัวอย่างในเรื่องที่จะสอนเพื่อให้ครอบคลุมตามเนื้อหา แล้วผมก็รวบรวมสิ่งที่สำคัญ

และพยายามที่จะนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย เนื่องจากคนที่ผมสอนรู้จักผมดีอยู่

แล้ว การได้รับข้อมูลป้อนกลับ (ทั้งเชิงบวกและลบ) จึงไม่เป็นปัญหา สิ่งนี้เองทำให้ผม

สามารถปรับแต่งสื่อการสอนได้เหมาะสม ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะ

ทำให้คุณเตรียมการสอนในระดับนี้ได้

หลังจากการทำเช่นนี้เป็นเวลาหลายๆ เดือน คุณจะสามารถรู้สึกภูมิใจในเรื่อง

การสร้างทีมเพราะว่าเขาเหล่านั้นมีความเข้าใจมากขึ้น เขาสามารถไปคุยโอ้อวดกับทีม

อื่นได้ว่าเขาสามารถสู้กับทีมอื่นๆ ได้ในการทดสอบช่วงปลายปี (ซึ่งเขาจะทำได้จริง)

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมต้องจัดการในห้องเรียน Six Sigma เกี่ยวกับเรื่องที่มีบาง

คนซึ่งมีทักษะน้อยมากๆ แต่ในหลายๆ ปีที่ผ่านมาเขาทำงานได้ดีโดยไม่ได้ใช้ Six Sigma

ทำให้ยากต่อการทำให้เขายอมรับและพยายามเรียนรู้การใช้งานระเบียบวิธีนี้ อย่างไร-

ก็ตาม คนเหล่านี้ก็เฉียบแหลมพอที่จะสำเร็จการศึกษาด้วยการเข้าชั้นเรียนเท่านั้น

ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งของการสอน Six Sigma จะเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มต้นใช้ระเบียบ

วิธีนี้อย่างแท้จริง คุณต้องเตรียมการอบรมบางอย่างให้กับคนซึ่งคุณจะขอให้เขาสนับ

สนุนในเรื่องข้อมูลหรือช่วยเก็บข้อมูล คนเหล่านี้จะต้องเข้าใจว่ากระบวนการ Six Sigma

ทำงานอย่างไร จำเป็นต้องมีการประชุมครั้งแรกที่ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้พวกเขาเข้า

ร่วมในกระบวนการนี้ ในการประชุมนี้จะเน้นว่า Six Sigma ต้องการข้อมูลนำเข้าจากคน

ที่มีความรู้ (พวกเขา) และจากข้อมูลที่ซึ่งเขาจะต้องช่วยเก็บรวบรวมเพื่อที่จะขับเคลื่อนให้

เกิดการตัดสินใจ ให้อธิบายว่าคุณกำลังทำการทดสอบทางสถิติบางอย่างกับข้อมูลนี้ซึ่ง

เขาไม่จำเป็นต้องเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด แต่คุณจะต้องเปิดเผยผลลัพธ์ที่ได้ให้กับพวก

เขา นี่มีความหมายว่าคุณจะต้องมีการประชุมร่วมกับเขาเพิ่มเติมอีก 1-2 ครั้งเพื่อทำให้

เขาทราบความคืบหน้า

จะมี 1-2 คนในกลุ่มเหล่านั้นที่ต้องการเข้าใจกระบวนการ Six Sigma อย่าง

ละเอียดมากกว่านั้น คนเหล่านี้จะมีความสำคัญสำหรับคุณอย่างยิ่ง ดังนั้นคุณควรมี

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 7: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 1

บทนำ  15

การประชุมเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจให้มากขึ้น เขาเหล่านั้นจะกลายเป็น “ฑูต”

ที่ดีที่สุดของคุณ

นอกจากนี้อาจมีความกลัวว่า Six Sigma จะใช้เพื่อฝึกหัดวินัยพนักงานในเรื่อง

งานของเขา หรืออาจทำเพื่อลดจำนวนคนงาน ให้คิดให้มากก่อนจะทำโครงการ Six

Sigma ที่มีเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อใช้ฝึกวินัยหรือเพื่อการลดคน เพราะว่าอาจไม่มีใคร

ทำงานร่วมกับคุณในเรื่อง Six Sigma อีก แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถรับประกันว่าการ

ลดจำนวนคนงานอาจจะเกิดขึ้นจากสภาพธุรกิจ แต่โครงการนี้ควรไม่มีเป้าหมายนี้

โดยตรง

หลังจากการใช้งาน Six Sigma มาหลายปีและมีทีมงานที่สามารถประหยัด

ต้นทุนได้หลายๆ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการใช้ระเบียบวิธีนี้ ผมเชื่อว่าผมควรกลับมา

ตรวจสอบวิธีและสื่อการสอนใหม่อีกครั้ง สิ่งนี้เองเป็นตัวกระตุ้นให้ผมเขียนหนังสือ สถิติ

สำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว เล่มนี้ขึ้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเติม

ช่องว่างของหนังสือในแนวปฏิบัติของการใช้งาน Six Sigma ที่มีในปัจจุบันได้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING