6
Akhil Gupta and James Ferguson “Discipline and Practice: ʻThe Fieldʼ as Site, Method, and Location in Anthropology” ( In Akhil Gupta and James Ferguson (eds.) Anthropological locations: Boundaries and Grounds of a Field Science. Berkeley: University of California Press.1996: pp. 1-46.) อาคิล กุปตะ และเจมส์ เฟอร์กูสัน ขนบทางวิชาการและปฏิบัติการ: ʻสนามʼ ในฐานะพื้นที่ วิธีการศึกษา และถิ่นฐานในวิชามานุษยวิทยา(เก็บความโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร) กล่าวนํา ภาคสนาม” (fieldwork) กลายเป็นวิธีวิทยาหลักของการศึกษาทางมานุษยวิทยาในปัจจุบัน ในทัศนะ ของกุปตะกับเฟอร์กูสัน ชื่อนักมานุษยวิทยาที่เป็นที่รู้จัก จดจํากันในปัจจุบัน แทนที่จะเป็นบรรดาคนที่ ทํางานทางทฤษฎี อย่างแรดคลิฟ-บราว์น เลสลี ไวท์ หรือจอร์จ เมอร์ดอก ก็กลับเป็นคนอย่างมาลินอฟ สกี โบแอส อีวาน-พริดชาร์ด ลีนฮาร์ท ก็กลับมาเป็นชื่อที่สําคัญกว่า การศึกษาภาคสนามกลายมาเป็น แกนกลางของความเป็นมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาก็จะต้องศึกษาภาคสนามอย่างน้อยสักก็ครั ้ง หนึ่งในช่วงชีวิตตนเอง มานุษยวทยากลายเป็นสิ่งที่ผูกติดอยู ่กับ สนามอย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ทั้งสองเห็นว่าแนวคิดเรื ่องสนามและภาคสนามยังไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากนัก แนวคิดวัฒนธรรมถูกวิจารณ์มาก่อนหน้า ส่วนชาติพันธ์ุนิพนธ์ก็ถูกวิจารณ์ตามมา แต่แนวคิดเรื ่องสนาม ยังไม่ได้รับความสนใจในแง่ของการวิจารณ์เท่าที ่ควร ในแง่ของการศึกษาทางมานุษยวิทยา แม้ว่าการ ศึกษาทางมานุษยวิทยาจะให้ความสําคัญกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม ภาควิชามานุษยวิทยาที่มีการ เรียนการสอนด้านวิธีวิทยากันก็ไม่ไมมากนัก กุปตะและเฟอร์กูสันจึงมองว่า สนามเป็นแนวคิดลึกลับ ในมานุษยวิทยาพอสมควรทีเดียว ทั้งสองเห็นว่า มีประเด็นที่สําคัญอย่างน้อยสองประเด็นที ่เราต้องให้ความสนใจ ประเด็นแรกคือ การที่การศึกษาภาคสนามกลายเป็นอัตลักษณ์หลักของการศึกษาทางมานุษยวิทยา ใน ด้านหนึ่ง มันดีที่มันช่วยสร้างพื ้นที่ให้กับการศึกาทางมานุษยวิทยา ให้มานุษยวิทยามีพื ้นที่เฉพาะของ ตนเอง ดังที่ปัจจุบันนี้ เวลาที่ใครจะใช้วิธีการแบบนี ก็มักจะอ้างว่าเป็นวิธีการแบบมานุษยวิทยาหรือ แบบชาติพันธ์ุวรรณนา แต่ในอีกแง่หนึ ่ง มันกักขังมานุษยวิทยาอยู่ในพื้นที ่ใดพื้นที่หนึ่ง ทั้งๆ ที่ มานุษยวิทยาไม่จําเป็นต้องเป็นอย่างนี ประเด็นที่สอง ขณะนี้มีการวิจารณ์มากมายว่า ขอบเขตของพื้นที่ของมานุษยวิทยาจะยังสามารถเป็น แบบเดิมได้หรือไม่ ปัญหาคือสังคมขณะนี้มีความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง และถูกทําให้กลายเป็นส่วน หนึ่งของโลกขนาดกว้างอยู ่ตลอดเวลา ในโลกที่ความเป็นถิ่นฐานแตกสลายลงไปแล้วนี นัก มานุษยวิทยาจะจัดการกับพื้นที่การศึกษาอย่างไร ในเมื่อพื้นที่ไม่ได้ถูกจํากัดดังเดิมอีกต่อไป วิธีการใด ที่นักมานุษยวิทยาจะดําเนินการวิจัยต่อไปได้ นักมานุษยวิทยาจะไม่จํากัดตัวเองอยู่ในท้องถิ ่นใดอย่าง ตายตัวต่อไปได้อย่างไร สาแหรกของ ศาสตร์ภาคสนามความเป็น สนาม” (the field) คือการเป็นพื้นที่การศึกษาของมานุษยวิทยา การเป็นพื้นที่ลักษณะดัง กล่าว ไม่ได้เกิดขึ ้นมาอย่างลอยๆ มีกระบวนการที่ยาวนานพอสมควร นอกจากนั้น มันยังเกี่ยวข้องกับ การแบ่งพื้นที ่โลกออกเป็นส่วนๆ ตามลักษณะทางวัฒนธรรม อาณาบริเวณ และถิ่นที่ แนวคิดเกี่ยวกับ ความเป็นพื้นที่เหล่านี้เป็นแนวคิดที ่มารองรับการทําการศึกษาภาคสนาม 1

the field

Embed Size (px)

DESCRIPTION

the field

Citation preview

Page 1: the field

Akhil Gupta and James Ferguson “Discipline and Practice: ʻThe Fieldʼ as Site, Method, and Location in Anthropology” (In Akhil Gupta and James Ferguson (eds.) Anthropological locations: Boundaries and Grounds of a Field Science. Berkeley: University of California Press.1996: pp. 1-46.)

อาคิล กุปตะ และเจมส์ เฟอร์กูสัน “ขนบทางวิชาการและปฏิบัติการ: ʻสนามʼ ในฐานะพื้นที ่วิธีการศึกษา และถิ่นฐานในวิชามานุษยวิทยา”(เก็บความโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร)

กล่าวนํา“ภาคสนาม” (fieldwork) กลายเป็นวิธีวิทยาหลักของการศึกษาทางมานุษยวิทยาในปัจจุบัน ในทัศนะของกุปตะกับเฟอร์กูสัน ชื่อนักมานุษยวิทยาที่เป็นที่รู้จัก จดจํากันในปัจจุบัน แทนที่จะเป็นบรรดาคนที่ทํางานทางทฤษฎ ีอย่างแรดคลิฟ-บราว์น เลสล ีไวท ์หรือจอร์จ เมอร์ดอก ก็กลับเป็นคนอย่างมาลินอฟสกี โบแอส อีวาน-พริดชาร์ด ลีนฮาร์ท ก็กลับมาเป็นชื่อที่สําคัญกว่า การศึกษาภาคสนามกลายมาเป็นแกนกลางของความเป็นมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาก็จะต้องศึกษาภาคสนามอย่างน้อยสักก็ครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตตนเอง มานุษยวทยากลายเป็นสิ่งที่ผูกติดอยู่กับ “สนาม”

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ทั้งสองเห็นว่าแนวคิดเรื่องสนามและภาคสนามยังไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากนัก แนวคิดวัฒนธรรมถูกวิจารณ์มาก่อนหน้า ส่วนชาติพันธ์ุนิพนธ์ก็ถูกวิจารณ์ตามมา แต่แนวคิดเรื่องสนามยังไม่ได้รับความสนใจในแง่ของการวิจารณ์เท่าที่ควร ในแง่ของการศึกษาทางมานุษยวิทยา แม้ว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาจะให้ความสําคัญกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม ภาควิชามานุษยวิทยาที่มีการเรียนการสอนด้านวิธีวิทยากันก็ไม่ไมมากนัก กุปตะและเฟอร์กูสันจึงมองว่า “สนาม” เป็นแนวคิดลึกลับในมานุษยวิทยาพอสมควรทีเดียว

ทั้งสองเห็นว่า มีประเด็นที่สําคัญอย่างน้อยสองประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ

ประเด็นแรกคือ การที่การศึกษาภาคสนามกลายเป็นอัตลักษณ์หลักของการศึกษาทางมานุษยวิทยา ในด้านหนึ่ง มันดีที่มันช่วยสร้างพื้นที่ให้กับการศึกาทางมานุษยวิทยา ให้มานุษยวิทยามีพื้นที่เฉพาะของตนเอง ดังที่ปัจจุบันนี ้เวลาที่ใครจะใช้วิธีการแบบนี้ ก็มักจะอ้างว่าเป็นวิธีการแบบมานุษยวิทยาหรือแบบชาติพันธุ์วรรณนา แต่ในอีกแง่หนึ่ง มันกักขังมานุษยวิทยาอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ทั้งๆ ที่มานุษยวิทยาไม่จําเป็นต้องเป็นอย่างนี้

ประเด็นที่สอง ขณะนี้มีการวิจารณ์มากมายว่า ขอบเขตของพื้นที่ของมานุษยวิทยาจะยังสามารถเป็นแบบเดิมได้หรือไม่ ปัญหาคือสังคมขณะนี้มีความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง และถูกทําให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกขนาดกว้างอยู่ตลอดเวลา ในโลกที่ความเป็นถิ่นฐานแตกสลายลงไปแล้วนี้ นักมานุษยวิทยาจะจัดการกับพื้นที่การศึกษาอย่างไร ในเมื่อพื้นที่ไม่ได้ถูกจํากัดดังเดิมอีกต่อไป วิธีการใดที่นักมานุษยวิทยาจะดําเนินการวิจัยต่อไปได้ นักมานุษยวิทยาจะไม่จํากัดตัวเองอยู่ในท้องถิ่นใดอย่างตายตัวต่อไปได้อย่างไร

สาแหรกของ “ศาสตร์ภาคสนาม”ความเป็น “สนาม” (the field) คือการเป็นพื้นที่การศึกษาของมานุษยวิทยา การเป็นพื้นที่ลักษณะดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างลอยๆ มีกระบวนการที่ยาวนานพอสมควร นอกจากนั้น มันยังเกี่ยวข้องกับการแบ่งพื้นที่โลกออกเป็นส่วนๆ ตามลักษณะทางวัฒนธรรม อาณาบริเวณ และถิ่นที่ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพื้นที่เหล่านี้เป็นแนวคิดที่มารองรับการทําการศึกษาภาคสนาม

1

Page 2: the field

การศึกษาทางมานุษยวิทยาเริ่มให้ความสําคัญกับพื้นที่สนามเมื่อนักสัตวศาสตร์ชื่อ Alfred C. Haddon (1855-1940) แฮดดอนเป็นผู้นําเอาวิธีการของการศึกษาธรรมชาติภาคสนาม มาใช้ในการศึกษามนุษย์ มานุษยวิทยาจึงมีลักษณะเหมือน “ศาสตร์ภาคสนาม” อื่นๆ อย่างสัตววิทยา พฤกษศาสตร์ และภูมิศาสตร์ กลายเป็นการศึกษาอย่างละเอียดในพื้นที่อนจํากัด การศึกษาภาคสนามในชั้นแรกของการศึกษาทางมานุษยวิทยาแนวนี้ จึงได้แก่การศึกษาลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์ในสภาพตามธรรมชาติของพวกเขา

อย่างไรก็ดี นักมานุษยวิทยาที่ใช้วิธีนี้ในยุคแรกๆ เป็นจํานวนมากรู้ดีว่า กลุ่มชนที่พวกเขาศึกษา ไม่ได้อาศัยอยู่ใน “สภาพตามธรรมชาติ” อีกต่อไป พวกเขาจึงต้องรื้อฟื้นภาพ (to reconstruct) ที่คล้ายสภาพดั้งเดิมขึ้นมา จากการสกัดเอาวิถีชีวิตดั้งเดิม ออกมาจากวิถีชีวิตที่ผู้คนในปัจจุบันที่นักมานุษยวิทยาไปศึกษา นักมานุษยวิทยาจึงบ่นเสมอๆ ว่า พวกเขาต้องสกัดเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมที่แทบจะไม่เหลือหลอหรือถูกลืมเลือนไปโดยผู้คนที่พวกเขาศึกษาไปแล้ว กลับขึ้นมาใหม่ เป็น

เสมือนการชุบชีวิตวิถีชีวิตดั้งเดิมเหล่านั้น ดังนั้น นักมานุษยวิทยาจึงไม่สามารถไปศึกษาผู้คนในสภาพดั้งเดิมของพวกเขาได้จริงๆ

ในระยะหลัง นักมานุษยวิทยาอย่างมาลินอฟสกีจึงมีบทบาทสําคัญ เนื่องจากเขาให้ความสําคัญกับการสังเกต (to observe) แทนที่จะเป็นการรื้อฟื้นภาพดั้งเดิม การสังเกตอย่างตรงไปตรงมาในสังคมที่นักมานุษยวิทยาศึกษา จึงเป็นหลักประกันให้กับการศึกษาในสภาพตามธรรมชาติของนักมานุษยวิทยา วิธีการของมาลินอฟสกีจึงทําให้การศึกษาทางมานุษยวิทยาเริ่มระบุว่าตนเองศึกษาในสังคมขนาดเล็ก ที่ไม่มีประวัติศาสตร์ (หมายถึงไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง) เป็นการเขียนวัฒนธรรมต่างๆขึ้นมา เพื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมอื่นๆ โดยมีวิธีการแบบ “การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม” เป็นวิธีการสําคัญ

แต่อันที่จริง วิธีการแบบมาลินอฟสกีไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันในทันทีทันใด วิธีการของเขาได้รับการสนับสนุนโดยแหล่งทุนใหญ่คือมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ ที่กําหนดให้ผู้รับทุนไปศึกษาวิจัยสังคมแอฟริกาด้วยทุนจากมูลนิธิ จะต้องไปศึกษากับมาลินอฟสกีเป็นเวลาหนึ่งปี ดังนั้นวิธีการแบบมาลินอฟสกีจึงไม่ได้สําเร็จเป็นที่ยอมรับจากคุณูปการทางวิทยาศาสตร์เสียทีเดียว แต่มันมาจากการสนับสนุนเชิงสถาบัน มาจากการกําหนดเชิงอํานาจของสถาบันด้วย

ที่สําคัญคือ วิธีการที่เดิมถูกตั้้งข้อสงสัยโดยนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่อย่างแรดคลิฟ-บราวน์ กลับมาเป็นวิธีการศึกษาที่สําคัญทางมานุษยวิทยาในยุคต่อมา ทําให้คนที่ไม่ได้ทําวิจัยในถิ่นฐานที่อยู่ของชนพื้นเมือง จะไม่ได้รับการยอมรับ เพราะถือว่าพวกเขาศึกษานอกสนาม ยิ่งกว่านั้นคือ นักมานุษยวิทยามักจะต้องไปหา “คนอื่นของคนอื่น” (the other of others) หรือ “คนอื่นที่สุด” (the most Other) คือคนที่อยู่ไกลออกไป ยิ่งไกลจากการติดต่อของเมืองและคนตะวันตกได้มากเท่าไรยิ่งดี คนเหล่านั้นคือคนที่อยู่ในสภาพธรรมชาติอย่างที่สุด

2

Page 3: the field

ตามแนวคิดดังกล่าว “สนาม” จึงเป็นที่ใดก็ตามที่ไกลไปจาก “เมือง” (urban) ตรงกันข้ามกับสังคมทุนนิยม สังคมเมือง สังคมโลกาภิวัตน์ การไปสนามคือการไปที่ที่อยู่ในชนบท ไปในป่า ใกล้ธรรมชาติที่สุด วิธีการแบบนี้เชื่อว่า ที่ใดก็ตามที่อยู่ใกล้อารยธรรมคือที่ซึ่งไม่ธรรมชาติ

ความเป็นอาณาบริเวณ (area) และถิ่นที่ (site) เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่สําคัญของศาสตร์แห่งสนาม นักมานุษยวิทยามักจะอาศัยการศึกษาภาษาและความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพื้นที่ อาณาบริเวณที่ตนศึกษา ในการศึกษาในพื้นที่ใดเป็นระยะเวลายาวนาน ทําให้นักมานุษยวิทยามีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ วิธีการศึกษาดังกล่าวนํามาสู่การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

อย่างไรก็ดี การแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตวัฒนธรรมต่างๆ (culture areas) ของนักมานุษยวิทยา มักสอดคล้องกับการเมืองของอาณาบริเวณศึกษา (area studies) และการจัดระเบียบรัฐประชาชาติทั่วโลก พื้นที่ต่างๆของโลกกลายเป็นเขตวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงของตนเอง เช่นเขตเมดิเตอเรเนียนกลายเป็นเขตวัฒนธรรมของศักศรีและความอาย เอเชียใต้กลายเป็นเขตวัฒนธรรมชั้นวรรณะ ส่วนโพลีเนเชียนกลายเป็นวัฒนธรรมหัวหน้าเผ่า ทั้งๆ ที่ไม่จําเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป และวิธีคิดในลักษณะดังกล่าวก็ไปจํากัดการเข้าใจพื้นที่นั้นๆ ไปเสีย

((ในกรณีของประเทศไทย ก็เคยถูกจัดว่าเป็นสังคมที่มีโครงสร้างหลวม ซึ่งก็ถูกโต้แย้งว่าสังคมไทยมีโครงสร้างที่เข้มแข็ง เช่นการศึกษาหมู่บ้านในเชียงใหม่ โดย Jack Potter การศึกษาโครงสร้างสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยอคิน รพีพัฒน์))

((ตัวอย่างที่ต้องการเปลี่ยนวิธีคิดดังกล่าวก็เช่น งานของ Kirin Narayan ที่ไม่ต้องการจํากัดให้วัฒนธรรมฮินดูจะต้องเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นเสมอไป))

อย่างไรก็ดี การศึกษาในปัจจุบันทําให้รายละเอียดของพื้นที่ต่างๆ เป็นที่เข้าใจแตกต่างไปจากเดิม และการเข้าใจที่แตกต่างออกไปนี้ ก็มีส่วนเป็นไปตามประเด็นสนใจของสถาบันที่สนับสนุนการวิจัย เช่น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีความพยายามยามจะสร้างอาณาบริเวณที่เรียกว่า “เอเชียใน” ขึ้นมา เพื่อแบ่งพื้นที่นี้ออกต่างหากจากยุโรปตะวันออกกับรัสเชียและตะวันออกกลางกับจีน เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและประเทศในตะวันตกต้องการเข้าใจพื้นที่ของแอฟกานิสถานให้มากขึ้น และเกิดความกลัวต่ออิทธิพลของศาสนาอิสลามมากขึ้น ในแง่นี ้ความเป็นอาณาบิริเวณศึกษาจึงแยกกันไม่ออกจากอํานาจทางการเมืองของประเทศมหาอํานาจ ที่สนับสนุนทุนวิจัย

การศึกษาทางมานุษยวิทยาก็เผชิญปัญหากับการกําหนดอาณาบริเวณมากขึ้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางการเมืองหลังยุคอาณานิคม ไม่ว่าจะชื่อหรืออาณาบริเวณของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปมากมายหลังการสิ้นสุดลงของอาณานิคม เช่น ที่เรารับรู้กันจากงานของ Victor Turner ว่าเขาศึกษา the Ndembu ที่จริงเขาศึกษาในพื้นที่ที่เรียกว่า Rhodesia หรือพื้นที่ทางวัฒนธรรมซึ่ง Evan-Pritchard ศึกษา ก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเรียกแบบที่เขาเรียกว่า Azande หรือ Nuer ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการเมือง

พื้นที่หรือสนาม จึงมีความเปลี่ยนแปลงเสมอ และมันถูกกําหนดโดยอํานาจทางการเมืองของสถาบัน ความเป็นพื้นที่จึงไม่ได้เกิดขึ้นมา “ตามธรรมชาติ” การจํากัดพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่จํากัดขอบเขตให้การศึกษาทางมานุษยวิทยาตายตัโดยไม่จําเป็น

3

Page 4: the field

นัยของความเป็น “ต้นแบบ”ภาพลักษณ์ในอุดมคติของการศึกษาภาคสนามแบบมาลินอฟสก ีกลายเป็นภาพต้นแบบในอุดมคติของการศึกษาทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะไม่มีใครยึดถือปฏิบัติตามนั้นอย่างจริงจังแล้วก็ตาม ภาพต้นแบบดังกล่าวกลายมาเป็นบรรทัดฐานให้ยึดมั่นกัน ทั้งๆที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงความถูกต้องแม่นยําของวิธีการศึกษาแบบนี้ได้อีกต่อไป ภาพลักษณ์ในอุดมคติดังกล่าว

((ไม่ต่างอะไรกับการบอกว่า “สยามเมืองยิ้ม” ทั้งที่จริงๆแล้วภาพดังกล่าวไม่เป็นจริง))

ภาพอุดมคติของความเป็น “สนาม” สร้างขึ้นมาจากวิธีการต่างๆ ที่สําคัญได้แก่การแบ่งแยก ประการแรก “สนาม” ออกจาก “บ้าน” ประการที่สอง การกําหนดให้มานุษยวิทยาต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ประการที่สาม การกําหนดอัตลักษณ์ความเป็นนักมานุษยวิทยา

การแยกสนามออกจากบ้าน ไม่เพียงแยกพื้นที่ แต่ยังเป็นการแยกกิจกรรมของนักมานุษยวิทยา ที่สําคัญคือการแยก “บันทึกภาคสนาม” (fieldnotes) ออกจากงานเขียนทางชาตพันธ์ุนิพนธ์ ที่เชื่อกันว่าต้องทําหลังจากกลับจากสนาม มาเขียนที่บ้าน งานเขียนที่บ้านจึงได้แก่การเขียนทฤษฎี การเขียนชาติพันธุ์นิพนธ์ การขัดเกลางานเขียน การสํารวจเอกสารงานวิจัยของคนอื่น งานเขียน “ที่บ้าน” ทําในห้องสมุด ทําในห้องทํางาน ในมหาวิทยาลัย ทําอย่างเป็นระบบ ทําอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน ต่างจากบันทึกภาคสนามที่ทํา “ในพื้นที”่ ด้วยเครื่องมือเครื่องเขียนง่ายๆ เขียนไปคุยไป ไม่ค่อยต่อเนื่อง ไม่เป็นระบบ

การแบ่งแยกบ้านกับสนามวิธีหนึ่งคือการที่นักมานุษยวิทยามักเขียนบรรยายการเข้าและออกจากพื้นที่ งานเขียนลักษณะนี้นับเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการอยู่ที่นั่นของนักมานุษยวิทยา เป็นการสร้างความห่างของพื้นที่สนามกับผู้อ่านที่อยู่ที่พื้นที่บ้าน การแบ่งแยกพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวจึงละเลยการพาดข้ามไปมาของพื้นที่บ้านกับสนาม ที่ปัจจุบันเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่สามารถแยกจากกันได้อีกต่อไปแล้ว เช่น การที่นักมานุษยวิทยาสามารถติดต่อกับ “บ้าน” ได้ตลอดเวลาผ่านเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ ย่อมไม่สามารถแบ่งแยกบ้านกับที่อื่นได้ง่ายๆ อีกต่อไป

แต่นักมานุษยวิทยาก็มักให้คุณค่ากับสนามและบ้านอย่างแตกต่างกัน ใครก็ตามที่ทํางานภาคสนามในพื้นที่ห่างไกล ย่อมจะได้รับการยกย่องมากกว่านักมานุษยวิทยาที่ทํางานวิจัยที่บ้าน บางที่จึงถูกถือว่ามีลักษณะ “เข้าใกล้สภาพธรรมชาติ” มากยิ่งกว่าบางพื้นที่ ในการหางานทํา นักมานุษยวิทยาที่ไปศึกษาในพื้นที่สนามที่ห่างไกลจากบ้านมากๆ ในที่แปลกๆ จึงมีโอกาสได้งานมากกว่าผู้ที่ศึกษาในพื้นที่ไม่ไกลจากบ้านตนเองนัก ดังนั้นหากจะมีการรับนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคมอเมริกาเหนือ ก็จะสนใจคนที่ศึกษา “คนอื่น” ในอเมริกาเหนือ นั่นก็คือคนที่ศึกษากลุ่มชาติพันธ์ุหรือประเด็นเกี่ยวกับเชื้อชาติ มากกว่าจะสนใจคนที่ศึกษา “ชาวอเมริกันผิวขาว”

การจํากัดวิธีการศึกษาโดยเน้นที่ “สนาม” ทําให้การศึกษาทางมานุษยวิทยามีข้อได้เปรียบ แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาประเด็นต่างๆมากมาย เช่น (ในอดีต) การศึกษาทางมานุษยวิทยาขาดการศึกษาข้ามพรมแดนของถิ่นฐานต่างๆ ขาดการศึกษาสื่อซึ่งมักเดินทางข้ามพรมแดน

การศึกษาโดยจํากัดอยู่ที่ “ท้องถิ่น” ทําให้นักมานุษยวิทยาไม่สนใจขอบเขตของพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น เมื่อศึกษาการเมือง ก็สนใจการเมืองท้องถิ่น โดยไม่ค่อยเชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติและระดับโลก ((มานุษยวิทยาการเมือง จึงไม่ค่อยสนใจการเลือกตั้ง การเมืองในระบอบรัฐสภา การเมืองระหว่างรัฐ หรือไม่ค่อยสนใจประเด็นอย่าง การเมืองระบอบประชาธิปไตย การเมืองฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา เป็นต้น)) ดังนั้น อะไรก็ตามที่เป็นประเด็นศึกษาของ “บ้าน” จึงยังไม่ค่อยถูกนํามาป็นประเด็นศึกษาทางมานุษยวิทยาเท่าที่ควร

4

Page 5: the field

ในที่สุด การศึกษาภาคสนามจึงกลายมาเป็นตัวตนของนักมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยามักพูดถึงการศึกษาภาคสนามว่าเป็น “rite of passage” หรือพิธีกรรมแห่งการเปลี่ยนสถานภาพของนักมานุษยวิทยา แต่ตัวตนดังกล่าวใช้ได้เฉพาะกับนักมานุษยวิทยาที่นิยาม “คนอื่น” แบบหนึ่งเท่านั้น ในบริบทปัจจุบันที่ “ตัวตน” (self) ไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะผู้ชาย ผิวขาว ชาวตะวันตก แต่ยังมีนักมานุษยวิทยาที่เป็นผู้หญิง เป็นคนผิวส ีเป็นชนกลุ่มน้อย มาจากซีกโลกต่างๆ คนเหล่านี้เป็น “คนอื่น” ของนักมานุษยวิทยาแบบดั้งเดิม

การกําหนดว่ามานุษยวิทยาที่ดีเป็นอย่างไร การทํางานภาคสนามเป็นอย่างไร ที่ไหนคือสนามที่ดีของนักมานุษยวิทยา ดังกล่าวข้างต้น ทําให้ขอบเขตของการทํางานทางมานุษยวิทยาจํากัด ยิ่งกว่านั้น กรอบดังกล่าวยังทําให้ “ความเป็นนักมานุษยวิทยา” ต้องจํากัดอยู่เฉพาะคนที่เดินทางจาก “บ้าน” ไปศึกษาวิจัย “ในสนาม” ในขณะที ่นักมานุษยวิทยา “จากสนาม” กําลังมีมากขึ้น หากเราจํากัดพื้นที่อยู่เพียงดังเดิม คนเหล่านี้จะอยู่ตรงไหนในการศึกษาทางมานุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็น “ลูกคร่ึง” ทางวัฒนธรรม ((เช่น Dorinne Kondo, Kirin Narayan หรือแม้แต่นักมานุษยวิทยาไทยที่มักศึกษา “คนใน” เช่น ปริตตา เฉลิมเผ่า อนันตกูล)) เราจะถือว่าเขาเป็นคนอื่น (the other) หรือชาวเรา (the self) กันแน่ การไปศึกษาบ้านเขาจะเป็นบ้านเขาจริงหรือ หรือเป็นสนามจริงหรือ

ปัญหาที่พบบ่อยๆ จากการจํากัดพื้นที่การศึกษาทางมานุษยวิทยาได้แก่การที่นักมานุษยวิทยาผิวดําในอเมริกามักถูกกีดกันไม่ให้ศึกษาคนดําในอเมริกา เพราะถือว่าไม่ได้ศึกษาคนอื่นเพียงพอ นั่นเป็นเพราะการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่ผ่านมายังไม่ได้พิจารณาข้อจํากัดของการแยกตนเองออกจากคนอื่นอย่างดีนัก นอกจากนั้น มานุษยวิทยาในอดีตยังมักกีดกันผู้หญิง เนื่องจากเชื่อว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาเป็นอันตรายต่อผู้หญิง เพราะนักมานุษยวิทยาต้องไปอยู่ที่อื่น ห่างไกลบ้าน แวดวงมานุษยวิทยาจึงปลอดผู้หญิง หรือมีผู้หญิงน้อยมากมาเป็นเกือบศตวรรษ ((ในไทย บรรจบ พันธุเมธาถูกพระยาอนุมานทักว่าไม่อยากให้ไปศึกษาในพื้นที่ห่างไกลถึงอาหม เนื่องจากเป็นผู้หญิง จะอันตราย))

ทางเลือกอื่น ๆ ของการศึกษาภาคสนามแม้ว่ากระแสหลักของการศึกษาทางมานุษยวิทยาจะเป็นดังกล่าว มีกระแสรองของการศึกษาสนาม และทางเลือกใหม่ๆ ของการศึกษาภาคสนามกําลังริเริ่มอยู่ ต่อไปนี้จะกล่าวถึงแนวทางที่แตกต่างไปคร่าวๆ

ความสําเร็จของมาลินอฟสกีมักถูกกล่าวขานถึง จนบดบังการศึกษาแนวหนึ่งที่เรียกกันว่า diffusionism หรือแนวทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ที่ให้ความสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่นงานของ W. H. R. River ชื่อ Essays on the Depopulation of Melanesia (1922) ((พิมพ์ปีเดียวกับงานชิ้นแรกที่โด่งดังของมาลินอฟสกี แต่ไม่ค่อบเป็นที่รู้จัก)) ที่ศึกษาการติดต่อทางวัฒนธรรม ที่ทําให้เกิดการเกณฑ์แรงงานชาวเกาะมาทํางานในไร่ขนาดใหญ่ จนทําให้เกิดการทําลายโครงสร้างประชากร งานลักษณะนี้จึงให้ภาพวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงและมีความเคลื่อนไหว มากกว่างานศึกษาสนามแบบมาลินอฟสกี นอกจากนั้นยังให้ความสําคัญกับการติดต่อกัน

ระหว่างพื้นที่หนึ่งกับพื้นที่ในบริบทที่ใหญ่กว่า คือระดับรัฐและโลก

5

Page 6: the field

นอกจากนั้นยังมีงานแนวของ Franz Boas ซึ่งไม่ได้ให้ความสําคัญกับการสังเกตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งแบบมาลินอฟสกี โบแอสให้ความสําคัญต่อการเก็บข้อมูลวัฒนธรรมที่กําลังจะสูญหายไปอันเนื่องมาจากการติดต่อทางวัฒนธรรม การศึกษาของโบแอสมักสนใจการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนย้ายประชากร ในแง่นี ้การศึกษาของโบแอสจึงแตกต่างจากการพยายามศึกษาแบบครอบคลุมหรือ holistic แบบมาลินอฟสกี เนื่องจากวิธีการของโบแอสยอมรับว่า เราไม่สามารถศึกษาวัฒนธรรมหนึ่งใดอย่างรอบด้านและดูเป็นเหมือนระบบปิดได้ เพราะวัฒนธรรมมีการติดต่อ เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

ในอเมริกา ยังมีแนวการศึกษาอีกแบบคือการศึกษาการติดต่อทางวัฒนธรรม หรือ acculturation ที่ทําให้ความแตกต่างระหว่าง “ที่นี”่ และ “ที่นั่น” หายไป เนื่องจากทุกที่ล้วนติดต่อกัน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมเสมอ วัฒนธรรมต่างๆจึงมีความเป็น “ลูกผสม” อยู่เสมอๆ การศึกษาการติดต่อทางวัฒนธรรมที่สําคัญแบบหนึ่งได้แก่การชี้ให้เห็นถึงการกลืนกลายทางวัฒนธรรม หรือ assimilation ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และในยุคของภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา นักมานุษยวิทยาอเมริกันสนใจวัฒนธรรมกระแสหลักของอเมริกันมากขึ้น ทําให้ต้องทํางานกับนักวิชาการสาขาอื่นๆ มากขึ้น ก่อให้เกิดการนําเข้าแนวความคิดใหม่ๆ ที่ทําให้การศึกษาแบบ “ภาคสนาม” กลายเป็นข้อจํากัดไป การศึกษาสังคมขนาดใหญ่ และศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

นอกจากนั้น มานุษยวิทยาต่อจากนี้ไปยังควรที่จะให้ความสนใจต่อประวัติศาสตร์มานุษยวิทยานอกสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์มานุษวิทยานอกแหล่งทั้งสองเป็นที่รู้จักน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นมานุษยวิทยาฝรั่งเศส มานุษยวิทยาเยอรมัน มานุษยวิทยาในเอเชีย และที่อื่นๆ อีกมากมาย มานุษยวิทยาในที่อื่นๆ เกิดขึ้นมาเพื่อตอบคําถามของแต่ละถิ่นที่ แตกต่างกันออกไป การศึกษาทางมานุษยวิทยาจึงมีความหลากหลาย มากกว่าที่เราจะต้องเรียนรู้จากยุโรปและอเมริกาเท่านั้น และดังนั้น ก็จะทําให้เรามีโอกาสคิดถึงแนวทางการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่แตกต่าง หลากหลายออกไป ไม่เพียงจากกรอบของคามเป็นคนอื่น ความเป็นตัวเรา แบบยุโรปหรืออเมริกา

((อย่างในไทย ในอดีต มานุษยวิทยาไทยตอบคําถามเพื่อชนชั้นปกครอง นักมานุษยวิทยา (เช่น พระยาอนุมานราชธน) อธิบายความเป็นตัวตนโดยดูที่ “คนอื่น” ในเมือง ว่าเป็นคนไทยในอดีต แต่ก็เพื่อหารากเหง้าอธิบายความเป็นตัวตนก่อนปัจจุบัน ต่อมามานุษยวิทยาไทยอยู่ในกรอบของการศึกษาแบบอาณาบริเวณศึกษาของอเมริกัน เพื่อรับใช้การทํางานทางทหารของสัมพันธมิตร นักมานุษยวิทยาไทยกลายเป็นลูกมือนักมานุษยวิทยาออสเตรเลีย อเมริกัน และอังกฤษ มีการไปศึกษาในประเทศเหล่านั้นมากขึ้น รับแนวคิดทางมานุษยวิทยากระแสหลักของโลกมา หลังจากนั้น มานุษยวิทยาไทยมักตอบคําถามเกี่ยวกับตัวเอง เพื่อตอบโต้กับคําอธิบายโดยนักมานุษยวิทยาจากข้างนอก นอกจากนั้น มานุษยวิทยาไทยมักมุ่งไปที่การแก้ปัญหาของประเทศ และตอบสนองกับความต้องการของผู้คนในท้องถิ่น ปัจจุบัน มานุษยวิทยาไทยกําลังจะไปทางไหนเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาในต่างประเทศมากขึ้น มานุษยวิทยาไทยจะสร้างอาณานิคมทางความรู้หรือไม ่หรือจะทําอะไรต่อไป นักมานุษยวิทยาไทยจะใช้ตัวตนแบบใดในการศึกษาในต่างประเทศ มีงานทั้งแบบอาณานิคมใหม่ (เช่น ศึกษาคนไทในต่างแดน เพื่อเข้าใจความเป็นไทแท้ๆ ดั้งเดิม) และแบบนําคําถามจากต่างแดนมาท้าทายตนเอง (เช่น ศึกษาความแตกต่างของนโยบายรัฐต่อชนกลุ่มน้อย)))

((นอกจากนั้น ปัจจุบันยังมีการสร้างพื้นที่ใหม่ๆ เช่น มานุษยวิทยาออนไลน ์มานุษยวิทยาประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาของการสร้างถิ่นฐาน เป็นต้น))

6