3
ผลงาน “สวิทซ์ตั้งเวลาแบบติดผนัง” หรือ “Wall-mounted Timer switch” ที่ส่งเข้าประกวด Thailand Energy Award 2011นีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหารทรัพยากรพลังงานไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมองว่าในการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนที่สูญเปล่าอยู่ไม่ใช่น้อย เช่น การเปิดไฟแสงสว่าง การเปิดแอร์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆทิ้ง โดยไม่ได้ปิดทั้งๆที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์นั้นๆแล้ว ถ้าเรามองการใช้ไฟฟ้าในทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงาน โรงงาน ฯลฯ เราจะพบว่ามีไฟฟ้าในบางพื้นที่ บางการใช้งาน สามารถกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดได้ค่อนข้างชัดเจน เช่น ไฟรั้ว ไฟสนาม ไฟโรงรถของบ้านพักอาศัย และไฟป้าย ไฟรั้ว ไฟสนาม ไฟทางเดิน ไฟห้องทำงาน ไฟห้องประชุม ตลอดไปถึง เครื่องปรับอากาศ ในส่วนอาคารสำนักงาน ผลิตภัณฑ์ “สวิทซ์ตั้งเวลาแบบติดผนัง” นั้นน่าจะเป็นคำตอบในการช่วยอนุรักษ์ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดี จำเป็นจะต้องมุ่งหวังให้ได้รับการยอมรับจากตลาดส่วนใหญ่ ซึ่งนั่นหมายถึง “สวิทซ์ตั้งเวลา แบบติดผนัง”นี้ถูกกำหนดตำแหน่ง(Product Positioning)ทีก) จะต้องใช้ได้ทั้งอาคารใหม่ และอาคารเก่า ข)จะต้องใช้งานง่าย สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสวิทซ์ธรรมดาได้(On/Off เมื่อต้องการ) วัตถุประสงค์ของผลงาน 1 รายละเอียดโครงการ 2 แนวคิด 2.1 ภาพทั้งสองข้างบนนี้เป็นที่มาแห่งแนวคิด ซี่งเริ่มจากการสังเกตุชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป ทั้งชีวิตที่ทำงานและที่บ้าน เราจะพบว่าเราสามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ “ปิดไฟ” ดวงที่ไม่จำเป็น ลองฝันดู..ถ้าทุกคน ทุกประเทศ ช่วยกันทำอย่างที่ว่านี้.. คงจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมหาศาลทีเดียว แต่ในชีวิตจริง แค่การเดินไป “ปิดไฟ”ที่สวิทซ์นั้น เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดในภาคปฏิบัติได้ไม่ง่ายเลยจริงๆ ทุกคนมักจะ ปล่อยปละละเลย คำถามคือ “ทำไม?” ที่ทำงาน = 1) ธุระไม่ใช่(ไม่ใช่หน้าที่) 2)ไม่ใช่เจ้าของบริษัทที่จะเป็นผู้จ่ายค่าไฟ ที่บ้าน = 1) ลืมปิด หรือไม่ได้สนใจมากพอ 2) ไม่มีคนอยู่บ้าน(ออกจากบ้านแต่เช้ามืด หรือไปต่างจังหวัด) ปวดหัวไหม.. ลูกน้องไม่เคย ปิดแอร์..ปิดไฟ เวลาพักเที่ยง ฟ้าสว่างแล้ว... แต่ยังไม่ได้ ปิดไฟหน้าบ้าน คิดมุมกลับ.. ถ้าคนไม่สนใจจะปิด ก็ให้เครื่องปิดให้ดีกว่า ให้สวิทซ์อิเลคทรอนิคส์ทำหน้าที่แทนคน คอย “เปิด-ปิด” อุปกรณ์ไฟฟ้าแทนเราตามเวลาที่ตั้งไว้ดีกว่า น่าจะดีกว่าพึ่งคนแน่ Thailand Energy Award 2011 Wall-mounted Timer switch หน้า 1

Timer switch homexpert break 1

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Timer switch homexpert break 1

Citation preview

Page 1: Timer switch homexpert break 1

ผลงาน “สวิทซ์ตั้งเวลาแบบติดผนัง” หรือ “Wall-mounted Timer switch” ที่ส่งเข้าประกวด Thailand Energy Award 2011นี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงการบริหารทรัพยากรพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมองว่าในการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนที่สูญเปล่าอยู่ไม่ใช่น้อย เช่น การเปิดไฟแสงสว่าง การเปิดแอร์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆทิ้ง โดยไม่ได้ปิดทั้งๆที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์นั้นๆแล้ว

ถ้าเรามองการใช้ไฟฟ้าในทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงาน โรงงาน ฯลฯ เราจะพบว่ามีไฟฟ้าในบางพื้นที่ บางการใช้งานสามารถกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดได้ค่อนข้างชัดเจน เช่น ไฟรั้ว ไฟสนาม ไฟโรงรถของบ้านพักอาศัย และไฟป้าย ไฟรั้ว ไฟสนาม ไฟทางเดิน ไฟห้องทำงาน ไฟห้องประชุม ตลอดไปถึง เครื่องปรับอากาศ ในส่วนอาคารสำนักงาน ผลิตภัณฑ์ “สวิทซ์ตั้งเวลาแบบติดผนัง” นั้นน่าจะเป็นคำตอบในการช่วยอนุรักษ์ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดี จำเป็นจะต้องมุ่งหวังให้ได้รับการยอมรับจากตลาดส่วนใหญ่ ซึ่งนั่นหมายถึง “สวิทซ์ตั้งเวลา แบบติดผนัง”นี้ถูกกำหนดตำแหน่ง(Product Positioning)ที่

ก) จะต้องใช้ได้ทั้งอาคารใหม่ และอาคารเก่า ข)จะต้องใช้งานง่าย สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสวิทซ์ธรรมดาได้(On/Off เมื่อต้องการ)

วัตถุประสงค์ของผลงาน1

รายละเอียดโครงการ2

แนวคิด2.1

ภาพทั้งสองข้างบนนี้เป็นที่มาแห่งแนวคิด ซี่งเริ่มจากการสังเกตุชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป ทั้งชีวิตที่ทำงานและที่บ้านเราจะพบว่าเราสามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ “ปิดไฟ” ดวงที่ไม่จำเป็น ลองฝันดู..ถ้าทุกคน ทุกประเทศช่วยกันทำอย่างที่ว่านี้.. คงจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมหาศาลทีเดียว

แต่ในชีวิตจริง แค่การเดินไป “ปิดไฟ”ที่สวิทซ์นั้น เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดในภาคปฏิบัติได้ไม่ง่ายเลยจริงๆ ทุกคนมักจะปล่อยปละละเลย คำถามคือ “ทำไม?” ที่ทำงาน = 1) ธุระไม่ใช่(ไม่ใช่หน้าที่) 2)ไม่ใช่เจ้าของบริษัทที่จะเป็นผู้จ่ายค่าไฟ ที่บ้าน = 1) ลืมปิด หรือไม่ได้สนใจมากพอ 2) ไม่มีคนอยู่บ้าน(ออกจากบ้านแต่เช้ามืด หรือไปต่างจังหวัด)

ปวดหัวไหม..ลูกน้องไม่เคย ปิดแอร์..ปิดไฟ เวลาพักเที่ยง

ฟ้าสว่างแล้ว...แต่ยังไม่ได้ ปิดไฟหน้าบ้าน

คิดมุมกลับ.. ถ้าคนไม่สนใจจะปิด ก็ให้เครื่องปิดให้ดีกว่า ให้สวิทซ์อิเลคทรอนิคส์ทำหน้าที่แทนคน คอย “เปิด-ปิด” อุปกรณ์ไฟฟ้าแทนเราตามเวลาที่ตั้งไว้ดีกว่า น่าจะดีกว่าพึ่งคนแน่

Thailand Energy Award 2011 Wall-mounted Timer switch

หน้า 1

Page 2: Timer switch homexpert break 1

ตอกย้ำด้วยเสียกเรียกร้อง

เนื่องจาก บ.อี-สไตล์ จำกัด เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะแบรนด์ HomeXpert หนึ่งในกิจกรรมการตลาดของเราคือ ออกงานแสดงสินค้า ซึ่งในช่วงแรก เรามีเฉพาะสวิทซ์ตั้งเวลา แบบเสียบปลั๊กไฟ ซึ่งเหมาะกับควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก เช่น ทีวี พัดลมหม้อต้มน้ำ ฯลฯ แต่ทุกครั้งเราจะได้รับเสียงเรียกร้องจากลูกค้าว่า อยากได้ “สวิทซ์ตั้งเวลา แบบติดผนัง” จะนำไปเปิด-ปิดไฟรั้วไฟโรงรถ ไฟออฟฟิต ซึ่งความต้องการนี้สอดคล้องกับความคิดของเราพอดี

การนำผลิตภัณฑ์ไปออกงานแสดงสินค้า

รุ่นDaily Timerแบบ-ปลั๊ก

รุ่นCountdown Timerแบบ-ปลั๊ก

เหมาะกับอุปกรณ์ที่มีปลั๊กไฟทั่วไป

การดำเนินการ2.2

เรากำหนดขั้นตอนดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ขั้นที่ 1 ศึกษาโอกาส และอุปสรรค

ขั้นที่ 2 กำหนดมิติของผลิตภัณฑ์ ขั้นที่ 3 ดำเนินการวิจัยและพัฒนาสินค้า

ขั้นที่ 1 ศึกษาโอกาส และอุปสรรค

โอกาส Opportunity

1) ตลาดด้านอาคาร : มองเห็นว่าจะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้ทั้งตลาดอาคารโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงงาน โรงแรม รวมไปถึงบ้านพักอาศัย เพราะทุกอาคารจะมีสวิทซ์ไว้ควบคุมไฟแสงสว่าง และ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อยู่แล้ว และสำคัญที่สุด ตลาดอาคารที่สร้างเสร็จมีการใช้งานแล้ว มีจำนวน ที่มากกว่า อาคารที่จะก่อสร้าง หรือกำลังก่อสร้างอยู่มาก ดังนั้นถ้าผลิตภัณฑ์สามารถใช้ได้กับทั้ง อาคารเก่าและอาคารใหม่ จะเป็นโอกาสที่ดีที่สุด

2) ด้านผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด : จากการศึกษาพบว่าแทบไม่มีผลิตภัณฑ์ สวิทซ์ตั้งเวลาติดผนังจำหน่ายเลย จะมีอยู่ก็ เพียง 2-3ยี่ห้อ Bticino Panasonic เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ราคา 6,000-8,000 บาท ซี่งเป็นราคาที่ ไม่สามารถทำการตลาดได้แน่นอน

ผลิตภัณฑ์สวิทซ์ตั้งเวลาที่มีขายในท้องตลาด

สวิทซ์ตั้งเวลา แบบติดผนังWall-mounted Timer switch

สวิทซ์ตั้งเวลา แต่ต้องมีทั้งสาย Line + Neutralราคาสูงมาก 6,000-8,000 บาท

สวิทซ์ตั้งเวลา แบบใช้ในตู้คอนโทรลSystem Timer switch

ไม่สามารถเป็นสวิทซ์ผนังได้ราคาประมาณ 800-1,500 บาท

สวิทซ์ตั้งเวลา แบบปลั๊กA.C.Plug Timer switch

ไม่สามารถเป็นสวิทซ์ผนังได้ราคาประมาณ 350-500บาท

Bticino Panasonic Panasonic Toshino

Thailand Energy Award 2011 Wall-mounted Timer switch

หน้า 2

Page 3: Timer switch homexpert break 1

โอกาส Opportunity(ต่อ)

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง

แม้เราจะขยายการศึกษาไปถึงผลิตภัณฑ์ที่คุณสมบัติใกล้เคียง ก็จะพบว่ามีเทคโนโลยีไม่มากนักในตลาดปัจจุบัน

สวิทซ์Photo Cell (มีหลากหลายยี่ห้อ)

ขึ้นอยู่กับจุดติดตั้งเป็นสำคัญ ว่าจะทำงานได้เสถียรแค่ไหนไม่เหมาะกับ เปิด-ปิด ไฟในอาคารไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสวิทซ์Manual ได้ราคาไม่แพง 100-300 บาท

หลอดไฟที่มีBuild-in Photo Cell

ขึ้นอยู่กับลักษณะโคมไฟเป็นสำคัญ ว่าจะทำงานได้เสถียรแค่ไหนไม่เหมาะกับ เปิด-ปิด ไฟในอาคารไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสวิทซ์Manual ได้ราคาไม่แพง 250 บาท/หลอด แต่ละหลอดทำงานอิสระต่อกัน ดังนั้นถ้าต้องใช้หลายหลอด การลงทุนจะสูง ถ้าหลอดไฟหมดอายุ การเปลี่ยนหลอดไฟแต่ละครั้ง ต้นทุนจะสูง

อุปสรรค Treat

ไม่มีไฟมาเลี้ยงอุปกรณ์ : อุปสรรคที่สำคัญเป็นเรื่องการระบบการเดินสายไฟอาคาร ซึ่งในทางปฏิบัติปกตินั้นช่างไฟ จะเดินเฉพาะสายLine(จากแหล่งจ่ายไฟ) และสายLoad(ไปยังหลอดไฟ) จากฝ้าเพดานลงมาที่สวิทซ์ผนัง เท่านั้น ส่วนสายNeutralนั้น ช่างไฟจะเดินตรงไปที่หลอดไฟเลย ซึ่งสายNeutralนี้จะอยู่ใน ฝ้าเพดานตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อปิดฝ้าเพดานไปแล้ว เป็นการยากมากที่จะนำมาใช้งาน อุปสรรค ก็คือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ทุกประเภทจะทำงานได้นั้นจะต้องมีกระแสไฟครบวงจร กล่าวคือ ถ้าจะทำสวิทซ์ตั้งเวลาแบบติดผนัง ก็ต้องมีทั้งสายLine และNeutral อุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ภายในสวิทซ์ตั้งเวลาจึงจะทำงานได้ และนี่คือปัญหาที่เราต้องหาทางออกให้ได้

สาย Neutral

สาย Line สาย Load

ฝ้าเพดาน

แหล่งจ่ายไฟ

สายไฟส่วนที่ลงจากฝ้าเพดานมา

การเดินสายไฟ-ของสวิทซ์ไฟทั่วไป

วงจรอิเลคทรอนิคส์ ต้องการทั้งNeutral-Line เพื่อให้กระแสไฟครบวงจร

สาย Neutral

สาย Line

Thailand Energy Award 2011 Wall-mounted Timer switch

หน้า 3