19
รรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรร 19 th Retina International World Congress (RIWC 2016) รรรรรรรรรรรรร 9 – 10 รรรรรรร 2559

 · Web viewรายงานการประช มว ชาการ 19 th Retina International World Congress (RIWC 2016) ระหว างว นท 9๒.๑.๓ เพ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

2

รายงานการประชุมวิชาการ

19th Retina International World Congress (RIWC 2016)

ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2559

ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

รายงานการประชุมวิชาการ

19th Retina International World Congress (RIWC 2016)

ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2559

ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป

๑.๑ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย

1. นายสุกิจศรีทิพยวรรณตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

2. นางคัชรินทร์เจียมศรีพงษ์ตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลกลาง

3. ว่าที่ร้อยโทกิตติวงศ์กิตติโสภณตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลตากสิน

4. นายอุทัยเจริญจิตรวัฒนาตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

5. นายสุรชัยภูพิพัฒน์ผลตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

6. นายอรรถพลเกิดอรุณสุขศรีตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

7. นายสมพลบูรณะโอสถตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการ

โรงพยาบาลกลาง

8. นายณัฐวัฒน์วงษ์ไชยคณากรตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

โรงพยาบาลตากสิน

9. นางสาวมัลลวีร์จรัสจรุงเกียรติตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ

โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

๑.๒ การประชุมวิชาการ 19th Retina International World Congress (RIWC 2016)

ระหว่างวันที่ 8 – 11 กรกฎาคม 2559 ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน

แหล่งผู้ให้ทุนกรุงเทพมหานคร

งบประมาณเงินนอกงบประมาณประเภทเงินบำรุงโรงพยาบาลกลาง เงินบำรุงโรงพยาบาลตากสิน

เงินบำรุงโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เงินบำรุงโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

เงินบำรุงโรงพยาบาลราชพิพัฒน์

ส่วนที่ ๒ ข้อมูลที่ได้รับจากการประชุม

๒.๑ วัตถุประสงค์

๒.๑.๑เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ใหม่ในโรคภาวะจอประสาทตาเสื่อม

๒.๑.๒เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสมาคมผู้ป่วยโรคภาวะจอประสาทตาเสื่อม

๒.๑.๓ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย นักวิจัย แพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงการพัฒนาแนวทางการรักษาและอุปกรณ์ช่วยเหลือด้านการมองเห็นต่างๆ

๒.๒ เนื้อหาของการประชุม

การประชุม 19th Retina International World Congress ครั้งนี้เป็นการร่วมมือของสมาคม Retina Hong Kong และ Retinitis Pigmentosa Taiwan เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานวิจัย รวมถึงการรักษาในโรคภาวะจอประสาทตาเสื่อม โดยมุ่งเน้นที่ภาวะ retinitis pigmentosa

ภาวะ retinitis pigmentosa เป็นภาวะที่ทำให้การมองเห็นผิดปกติไป โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้เซลล์รับภาพที่จอประสาทตา (rod/cone photoreceptor, retinal pigment epithelium) ถูกทำลาย ทำให้เซลล์รับภาพนี้ไม่สามารถทำงานได้ โดยปกติเซลล์รับภาพจะทำหน้าที่เปลี่ยนแสงที่ได้รับจากภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งต่อไปยังเส้นประสาทตาและส่งสัญญาณเชื่อมต่อไปแปลผลที่สมอง ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ เมื่อเซลล์รับภาพถูกทำลาย จะทำให้กระบวนการมองเห็นขาดเซลล์ในการเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นไฟฟ้า ส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง

retinitis pigmentosa เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมทำให้มีการผลิตโปรตีนผิดปกติส่งผลให้เซลล์รับภาพ โดยเฉพาะ rod photoreceptor ค่อยๆถูกทำลายลง rod photoreceptor จะอยู่บริเวณส่วนนอกของจอประสาทตา และถูกกระตุ้นด้วยแสงสลัว ทำให้เมื่อ rod photoreceptor ถูกทำลายลง จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติทางการมองเห็นโดยมีลักษณะคือ มองภาพในที่มืดได้ลำบาก ลานสายตาแคบลง การมองเห็นภาพด้านข้างลดลง และเห็นแสงแฟลชในตา โดยโรคในกลุ่มนี้สามารถมีภาวะผิดปกติทางร่างกายอย่างอื่นร่วมด้วยได้ ได้แก่ Usher syndrome, Leber’s congenital amaurosis, Bardet-Biedl syndrome, Refsum disease และ Kearns-Sayre syndrome เป็นต้น

ผู้ป่วยกลุ่ม retinitis pigmentosa มักพบในกลุ่มวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น เพศชายมากกว่าเพศหญิง การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไปขึ้นกับแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็น หรือมีลานสายตาที่แคบกว่า 20 องศา เมื่ออายุ 40 ปี

retinitis pigmentosa เป็นโรคที่มีการถ่ายถอดสารพันธุกรรมที่ผิดปกติได้หลายรูปแบบ ได้แก่ autosomal dominant 20%, autosomal recessive 20%, x- linked recessive 10% และ idiopathic 50% ซึ่งจากลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมเช่นนี้ ทำให้พบผู้ป่วยชายมากกว่าหญิง

การวินิจฉัยโรคในกลุ่ม retinitis pigmentosa จะอาศัยการตรวจตา ดูลักษณะของจอประสาทตา ตรวจลานสายตา นิยมใช้เป็นเครื่อง Goldmann visual field การตรวจ electroretinographyซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของเซลล์รับภาพโดยตรง และการตรวจ genetic testing เพื่อระบุตำแหน่งสารพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีประโยชน์ในการ ให้คำแนะนำการวางแผนครอบครัว และการใช้ gene therapy ซึ่งกำลังมีการวิจัยในปัจจุบัน

การรักษาผู้ป่วยกลุ่ม retinitis pigmentosa มีเป้าหมายคือพัฒนาการมองเห็นของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ในปัจจุบันวิธีที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้ เช่น

· การใช้อุปกรณ์ช่วยในด้านสายตาเลือนราง (Low vision aid devices) เช่น การใช้แว่นขยายอุปกรณ์ส่องสว่างเพื่อช่วยเพิ่มการมองเห็น

· การผ่าตัดต้อกระจกในกรณีที่เริ่มมีภาวะต้อกระจก

· การให้สเตียรอยด์ก่อนการผ่าตัดเพื่อช่วยลดภาวะจุดรับภาพชัดบวมน้ำหลังการผ่าตัด

· Stem cell transplantation เป็นการนำ stem cell ไปทดแทนเซลล์รับภาพ (photoreceptor และ retinal pigment epithelium) ที่ถูกทำลายลง โดยใช้ stem cell ต้นแบบ (progenitorstem cell) จากที่ต่างๆ เช่น bone marrow, mesenchymal tissue, retinal pigmentepithelium, schwann cells, central nervous system stem cells, olfactory ensheathing cells, retinal stem cells, hematopoietic stem cells และembryonic stem cells เป็นต้น และนำไปปลูกถ่ายใต้จอประสาทตาเพื่อให้ stem cell นี้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถทำหน้าที่ทดแทนเซลล์รับภาพที่สูญเสียไปได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อจำกัดหลายประการในกระบวนการนี้ ได้แก่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อแปลกปลอม (immune rejection) ถึงแม้จอประสาทตาจะเป็นที่ immune privilege site ก็ยังคงประสบปัญหาในการต่อต้าน stem cell ใหม่ stem cell ที่ปลูกถ่ายไปไม่สามารถมีอายุได้นาน และ ต้องระวังการเติบโตที่ผิดปกติของ stem cell ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดเนื้องอกได้ ในปัจจุบัน ยังคงมีการวิจัยใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและปรับปรุงให้สามารถรักษาผู้ป่วย retinitis pigmentosa ได้

· Gene therapy เนื่องจาก retinitis pigmentosa เป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรม ซึ่งบางส่วนสามารถระบุตำแหน่งที่แน่ชัดได้ทำให้มีการใช้ gene therapy ในการรักษา โดยการตัดแต่งปรับปรุงสารพันธุกรรมให้ปกติและใช้ไวรัสเป็นตัวนำในการพาสารพันธุกรรมที่สมบูรณ์นี้เข้าไปในเซลล์รับภาพ เพื่อให้เซลล์รับภาพนี้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ได้แก่ gene therapy ช่วยในการรักษาเฉพาะโรคในระยะเริ่มต้นเท่านั้น และยังคงมีกลุ่มโรค retinitis pigmentosaประมาณ 50% ที่ไม่สามารถระบุสารพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติได้ทำให้ไม่สามารถใช้ gene therapy ในการรักษาได้

· Retinal prosthesis

1. Argus II retinal prosthesis system เป็นจอประสาทตาเทียมในกลุ่มของ epiretinal prosthesisที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ในการช่วยการมองเห็นในกลุ่มโรค retinitis pigmentosaโดยอุปกรณ์นี้ไม่สามารถฟื้นฟูเซลล์รับภาพที่เสียไปแล้วได้แต่เป็นการทำหน้าที่เป็นเซลล์รับภาพแทน โดยอุปกรณ์จะประกอบด้วยแว่นรับภาพ video processing unit (VPU) และ retinal prosthesis หลักการทำงานคือ ภาพจะถูกรับโดยแว่นรับภาพแล้วส่งสัญญาณไปที่ video processing unit เพื่อเปลี่ยนสัญญาณภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้า และส่งต่อไปยัง retinal prosthesis และไปยังเส้นประสาทตา เข้าสู่สมองเพื่อแปลผลต่อไป ภาพที่ได้จากอุปกรณ์นี้จะไม่เหมือนภาพจริงแต่จะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุและใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

2. Retinal implant AG Alpha IMS เป็นจอประสาทตาเทียมในกลุ่มของ subretinal prosthesis ได้รับการพัฒนาในประเทศเยอรมนี โดยประกอบด้วย subretinal chip และ external power supply โดยใช้หลักการคือ แสงส่งผ่านมาที่จอประสาทตาและใช้ subretinal chip เป็นตัวรับภาพและทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังเส้นประสาทตา และเข้าสู่สมองเพื่อแปลผลต่อไป โดยพลังงานจากแสงอย่างเดียวไม่สามารถกระตุ้นตัวเปลี่ยนสัญญาณที่ฝั่งอยู่ใน subretinal chip ได้ ต้องอาศัยพลังงานจาก external supply ซึ่งจะเชื่อมจากบริเวณ chip มาบริเวณหลังใบหูและมีแถบแม่เหล็กในการเปิดปิดพลังงาน ขณะนี้ได้มีการผ่าตัดใส่ Retinal implant AG Alpha IMS ไปทั้งหมด 53 ราย โดยเป็นประชากรในแถบประเทศยุโรปและ ยังคงมีการวิจัยพัฒนาวัสดุในการทำ chip เพื่อให้สามารถอยู่ได้นานขึ้น

ภาพผู้ป่วยจริงที่ได้รับการผ่าตัดใส่ retinal implant จากประเทศเยอรมนี ที่มาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

· ส่งปรึกษาแพทย์แผนกที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหากลุ่มโรคที่เกิดร่วมกับภาวะ retinitis pigmentosa เช่น แพทย์แผนกหู คอ จมูก เพื่อตรวจการได้ยินในกลุ่มโรค Usher syndrome แพทย์โรคหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจในกลุ่มโรค Kearns-Sayre syndrome แพทย์โรคไตเพื่อดูความผิดปกติของไตในกลุ่มโรค Bardet-Biedl syndrome เป็นต้น

· ให้คำปรึกษาในด้านการวางแผนครอบครัว และแนะนำให้พาครอบครัวและญาติมาตรวจเพิ่มเติม เพื่อที่จะวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป

· ให้คำปรึกษาในด้านอาชีพและการเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านการมองเห็นในอนาคต

· แนะนำตรวจติดตามอาการด้านการวัดลานสายตาโดยเครื่อง Goldmann visual field ทุกปี และเครื่อง electroretinography ทุก 5 ปี เพื่อดูพยากรณ์ของโรคและลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

๒.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ

2.3.1 ต่อตนเอง

1) เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในด้านการรักษา รวมถึงงานวิจัยใหม่ๆ สามารถนำความรู้นี้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยต่อไปได้

2) เป็นการเปิดโอกาสได้พบพูดคุยและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ retinal prosthesis จากประเทศผู้ผลิตรวมถึงได้พูดคุย กับผู้ป่วยที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์นี้จริง

3) เป็นการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับจักษุแพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติ

2.3.2 ต่อหน่วยงาน

1) เป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้และสังเกตการณ์การจัดประชุมในระดับนานาชาติ

2) สามารถนำความรู้ที่ได้มาสร้างระบบการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในโรคกลุ่มนี้

3) เป็นโอกาสสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อเป็นส่วนร่วมในงานวิจัย การเก็บข้อมูลสถิติต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษา ในอนาคต

ส่วนที่ ๓ ปัญหาและอุปสรรค

3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มโรคนี้มีหลายรูปแบบในแต่ละสถาบัน ทำให้การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำวิจัยหรือศึกษาเรื่อง พันธุกรรมเพื่อใช้ในการรักษาด้าน gene therapy มีความลำบาก

3.2 มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาบางอย่าง เช่น retinal prosthesis, gene therapy, stem cell transplantation ทั้งข้อจำกัด ด้านค่าใช้จ่ายและสถาบันที่สามารถให้การรักษาได้ โดยปัจจุบันพบมีเฉพาะในต่างประเทศ เช่น ประเทศอเมริกา ประเทศ เยอรมนี เป็นต้น

3.3 การทำ genetic testing ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่สูงและผู้ป่วยไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจสอบนี้

3.4 การวางแผนครอบครัว รวมถึงหารูปแบบวิธีการถ่ายทอดพันธุกรรมของโรคนี้ในผู้ป่วยแต่ละคนต้องอาศัยข้อมูล ผลตรวจ ร่างกายญาติร่วมด้วย ซึ่งยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล

ส่วนที่ ๔ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

4.1 แนะนำให้มีการเสนอรูปแบบการเก็บข้อมูลให้เป็นแนวทางเดียวกันในแต่ละสถาบันเพื่อความสะดวกในการทำวิจัย สำหรับการรักษาต่อไป

4.2 ถึงแม้การรักษาบางอย่างจะมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถเข้าถึงได้ในผู้ป่วยทุกคน แต่ควรให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว และการวางแผนชีวิตกับผู้ป่วย แนะนำอุปกรณ์ช่วยด้านอื่น เช่น อุปกรณ์ช่วยสำหรับสายตาเลือนราง แว่นขยาย และหากมีภาวะต้อกระจก ควรพิจารณาการผ่าตัดต้อกระจก และหากการมองเห็นสูญเสียไปมากแล้ว ควรแนะนำอุปกรณ์ช่วยอย่าง อื่นเช่น ไม้เท้าขาว (white cane) สุนัขช่วยนำทาง เพื่อให้ผู้ป่วยยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี และควรแนะนำให้ผู้ป่วยวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ การฝึกอ่านอักษรเบรลล์ และให้คำปรึกษาด้านการวางแผนครอบครัว การมีบุตร และความเสี่ยงที่บุตรจะเป็น โรค ให้ข้อมูลกับญาติและคนใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถเข้าใจและช่วยเหลือผู้ป่วยได้ นัดตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเพื่อดู การเปลี่ยนแปลงของโรครวมถึงแนะนำการรักษาใหม่ๆที่ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ลงชื่อหัวหน้าคณะ

(นายสุกิจ ศรีทิพยวรรณ)

นายแพทย์เชี่ยวชาญ

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

ส่วนที่ ๕ ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา

ลงชื่อหัวหน้าส่วนราชการ

(นายสุรินทร์ กู้เจริญประสิทธิ์)

ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์

การประชุมวิชาการ 19th Retina International World Congress (RIWC 2016)

ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2559

ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน