Transcript
Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

สถิติสำหรับ Six Sigma

ง่ายนิดเดียว

The Holistic Operational Strategy Series Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

ลิขสิทธิ์ภาษาไทย : บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด แต่เพียงผู้เดียว ห้ามลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

Original edition copyright © 2004 By McGraw-Hill Companies, as set forth in copyright notice of Proprietor’s edition. All rights reserved. Thai translation rights © 2010 by E.I. Square Publishing Company Limited. All rights reserved.

สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว แปลจาก Statistics for Six Sigma Made Easy Warren Brussee เขียน พรเทพ เหลือทรัพย์สุข แปล ดร.วิทยา สุหฤทดำรง บรรณาธิการ

ข้อมูลบรรณานุกรม

บรูซซี, วอร์เรน.

สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว.- - กรุงเทพฯ : อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์, 2553.

368 หน้า.

1. การควบคุมคุณภาพ -- ระเบียบวิธีทางสถิติ. 2. การบริหารการผลิต --ระเบียบวิธีทางสถิติ.

I. พรเทพ เหลือทรัพย์สุข, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง.

658.788 ISBN 978-616-7062-06-8

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 57 56 55 54 53

• บรรณาธิการบริหาร บัญจรัตน์ สุหฤทดำรง • บรรณาธิการเล่ม ดร.วิทยา สุหฤทดำรง • กองบรรณาธิการ ปาริชาติ ผลชีวิน • การตลาด/ขาย สุจิตรา อ่อนช่วย, สมพร จรูญ, ทิพย์สุคนธ์ จอกรบ, อัญชนา ตาอิน, คณิศรา นึบสูงเนิน • ออกแบบปก [email protected] • ออกแบบรูปเล่ม อังสนา ชิตรัตน์

หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ้ำ หน้าขาดหาย สำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ หากต้องการซื้อจำนวนมากเพื่อใช้ในการฝึกอบรม ส่งเสริมการขาย หรือเป็นของขวัญ กรุณาสอบถามราคาพิเศษได้ ยินดีน้อมรับความเห็นหรือคำติชม

ผลิตโดย อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์

จัดจำหน่าย: บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด

เลขที่ 143/2 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวง พลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

พิมพ์: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด

ติดต่อ: [email protected] โทรศัพท์ 0 2539 3373, 081 923 4122 โทรสาร 0 2539 3379 www.eisquare.com

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 3: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

คำนำบรรณาธิการ

Six Sigma เป็นแนวคิดด้านการจัดการคุณภาพมาเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว

โดยเริ่มจากเทคนิคการจัดการคุณภาพด้วยเครื่องมือทางสถิติ มาเป็นแนวคิดการจัดการ

ด้านคุณภาพระดับองค์กร Six Sigma ได้เสนอแนวคิดในเชิงโครงสร้างองค์กรของการ

เปลี่ยนแปลงเพื่อการจัดการคุณภาพซึ่งองค์กรธุรกิจทั่วไปยังไม่เคยได้เห็นมาก่อนหน้านี้

แนวคิดการจัดการคุณภาพแบบดั้งเดิมเองก็ยังไม่ได้ให้ภาพที่ครอบคลุมทั้งองค์กรอย่าง

Six Sigma รวมทั้งรูปแบบหรือขั้นตอนต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในเชิงองค์กรโดยที่ทุกคน

มีส่วนร่วมในกิจกรรม Six Sigma ถึงแม้ว่าในอดีตจะมีแนวคิดหรือปรัชญาการจัดการ

คุณภาพอย่าง TQM ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นปรัชญาของการจัดการองค์กรโดยเน้นที่การจัดการ

คุณภาพทั่วทั้งองค์กร แต่ด้วยสภาวะแวดล้อมของธุรกิจที่เป็นพลวัต จึงทำให้บริบทของ

ธุรกิจแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การแปลความหมายในเชิงปรัชญาของ TQM อาจจะ

ยากต่อการแปลความในบริบทใหม่ๆ แนวคิด Six Sigma จึงเป็นเหมือนแม่แบบของการ

จัดการคุณภาพขององค์กรอย่างสำเร็จรูป และทำให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานในองค์กร

โครงสร้างองค์กรของการจัดการคุณภาพของ Six Sigma นี้ จะช่วยให้องค์กร

สามารถทำกิจกรรมการจัดการคุณภาพได้อย่างเข้มข้น ในขณะเดียวกัน แนวคิด Six

Sigma เป็นแนวทางที่พยายามจะสร้างสภาพแวดล้อมในการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดย

การทำให้เกิดการสำรวจปัญหากันระหว่างสมาชิกขององค์กรที่ยังทำงานอย่างแยกส่วน

กันอยู่ตามมุมมองแบบดั้งเดิมในการแก้ปัญหาขององค์กร แนวคิด Six Sigma จะทำให้

มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น มีการเรียนรู้ร่วมกันและแบ่งปันความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์กร

เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาในแนวทาง Six Sigma คือ การใช้

สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กระบวนการธุรกิจเพื่อที่เข้าใจพฤติกรรมของกระบวน-

การธุรกิจ โดยเฉพาะการควบคุมและการปรับปรุงโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นด้วย

แนวทางทางสถติ ิ และยิง่ไปกวา่นัน้แนวทางทางสถติยิงัสามารถนำมาใชไ้ดใ้นการออกแบบ

กระบวนการธุรกิจเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้

แนวทาง Six Sigma ยังสามารถนำไปใช้ได้ในกระบวนการธุรกิจอื่นๆ ได้ด้วย ไม่จำเป็น

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 4: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

จะต้องเป็นกระบวนการทางด้านการผลิตเท่านั้น ที่ใดมีกิจกรรมที่มีส่วนในการสร้าง

คุณค่าและสนับสนุนกระบวนการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรธุรกิจ ที่นั้นสามารถนำเอา

แนวทาง Six Sigma มาประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น

แตก่เ็ปน็เรือ่งทีป่ฏเิสธไมไ่ดว้า่หวัใจทีส่ำคญัทีจ่ะทำใหอ้งคก์รอยูร่อดไดก้ค็อืระบบ

คุณภาพที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า ถึงแม้ว่าเรื่องราวของ

แนวทาง Six Sigma เป็นเรื่องของการจัดการโครงการด้านคุณภาพในระดับองค์กรที่

มีผลกระทบกับทุกส่วนขององค์กรธุรกิจ แต่อาวุธที่สำคัญในการจัดการกระบวนการธุรกิจ

ก็คือ ความเข้าใจในพฤติกรรมของกระบวนการธุรกิจ เครื่องมือด้านสถิติจึงเป็นเครื่องมือ

พืน้ฐานทีส่ำคญัในการวเิคราะหข์อ้มลูทีเ่ปน็ผลพวงจากพฤตกิรรมของระบบหรอืกระบวน-

การธุรกิจ หรือแกะรอยพฤติกรรมของกระบวนการธุรกิจเพื่อที่จะควบคุม ปรับปรุง และ

ออกแบบกระบวนการธุรกิจขององค์กรนั้นใหม่ ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่แค่สามารถตอบ-

สนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เท่านั้น แต่ต้องยังสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการ

ธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการใหม่ของลูกค้าได้อีกด้วย

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเครื่องมือด้านสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ใน

แนวทาง Six Sigma และที่สำคัญคือ ได้ถูกปรับให้เป็น “แบบง่าย” ที่นำมาใช้ได้สมกับ

ความเป็นจริง มีตัวอย่างการนำไปใช้ แนวคิด สูตร ตาราง และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ใน

กระบวนการ DMAIC ของ Six Sigma ผมเชื่อว่า เมื่อได้ศึกษาหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้อ่าน

นา่จะไดข้อ้คดิวา่ การตดัสนิใจมากมายของธรุกจิในทีผ่า่นมา เหตใุดจงึพจิารณา วเิคราะห ์

และตัดสินใจโดยใช้พื้นฐานทางสถิติน้อยนัก และจะพบว่าการนำสถิติมาใช้นั้น ไม่ได้

เป็นเรื่องยากหรือเกินความสมเหตุสมผลของความเป็นจริงเลย

ดร.วิทยาสุหฤทดำรง

ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

[email protected]

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 5: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับ Bonnie Burnie ซึ่งเป็น Black Belt ผู้สนับสนุน

ผมให้เขียนหนังสือเล่มนี้ และเป็นผู้ช่วยเหลือที่มีคุณค่ามากตลอดกระบวนการผลิต

หนังสือ

คนอื่นๆ ผู้ซึ่งให้ความเห็นและข้อมูลที่มีคุณค่า คือ Donald Brussee, Sharon

Curtright, Jean-Patrick Ducroux, Roy McDonald, Cheri Sims, Russ Sims, และ

Chirstopher Welker

แน่นอนว่าความผิดพลาดหรือการละเลยสิ่งใดๆ ไปไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบ

ของบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากว่าการตัดสินใจเรื่องเนื้อหาในขั้นสุดท้ายจะเป็น

ผมเอง ผมยินดีรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ทางอีเมลที่ [email protected]

หนังสือเล่มนี้ขออุทิศให้กับภรรยาของผม Lois ผู้ซึ่งตลอดเวลาหลายปีได้อดทน

ต่อนิสัยแปลกและเป็นแบบเฉพาะของผม ซึ่งรวมถึงการเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วย ไม่ดีเลย

ที่หนังสือนี้ไม่ได้เป็นนวนิยาย ที่จะทำให้เธออ่านอย่างจริงจังได้

กิตติกรรมประกาศ Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 6: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

สารบัญ

บทนำ 9

ส่วนที่ 1 ภาพรวมของกระบวนการ Six Sigma 17

และแผนผังการดำเนินงาน DMAIC

บทที่1 วิธีSixSigmaและบทบาทของผู้บริหารระดับสูง 19 ในการนำไปใช้

บทที่2 DMAIC:แผนผังการดำเนินงาน 31 ของSixSigmaแบบพื้นฐาน

ส่วนที่ 2 เครื่องมือ Six Sigma ต่างๆ ในเชิงคุณภาพ 39

บทที่3 QFDแบบง่าย 41

บทที่4 FMEAแบบง่าย 53

บทที่5 ผังก้างปลาแสดงเหตุและผล 63

บทที่6 แผนภาพการไหลของกระบวนการอย่างง่าย 69

บทที่7 การทดสอบสหสัมพันธ์ 75

ส่วนที่ 3 พื้นฐานสำหรับการใช้เครื่องมือ Six Sigma ทางสถิติ 83

บทที่8 การทำให้ได้การสุ่มตัวอย่างและข้อมูลที่ดี 85

บทที่9 การทวนสอบเครื่องมือวัดแบบง่าย 105

บทที่10 ความน่าจะเป็น 119

บทที่11 การพล็อตและการกระจายของข้อมูล 147

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 7: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 0

ส่วนที่ 4 เครื่องมือ Six Sigma เพื่อทดสอบ 185

การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

บทที่12 การทดสอบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ 187 ทางสถิติของข้อมูลแปรผัน

บทที่13 การทดสอบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 223 โดยการใช้ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นสัดส่วน

บทที่14 การทดสอบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 249 โดยการใช้ข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ

ส่วนที่ 5 เครื่องมือ Six Sigma เพิ่มเติม 255

บทที่15 การออกแบบการทดลองแบบง่าย 257

บทที่16 แผนภูมิควบคุมแบบง่าย 269

ส่วนที่ 6 เครื่องมือเชิงสถิติ 283

สำหรับการออกแบบสำหรับ Six Sigma บทที่17 พิกัดความเผื่อที่ต้องการอย่างแท้จริงเป็นเท่าใด 285

บทที่18 ฟังก์ชันการส่งผ่านเชิงเส้นแบบง่าย 295

ส่วนที่ 7 ข้อมูล Six Sigma และข้อมูลการจัดการคุณภาพ 303

บทที่19 การเปรียบเทียบข้อมูลSixSigma 305 กับข้อมูลของฝ่ายคุณภาพ

ภาคผนวกกตารางเพื่อค้นหาเครื่องมือทางสถิติของSixSigma 317

ภาคผนวกขใบรายการตรวจสอบการใช้งานเครื่องมือSixSigma 320

ภาคผนวกคสูตรที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ 324

ภาคผนวกงตารางที่ใช้หนังสือเล่มนี้ 341

ภาคผนวกจอภิธานศัพท์ 347

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING


Recommended