5

Click here to load reader

Children Care

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Children Care

แนวทางการพยาบาลเด็กและวัยรุนสุชีวา วิชัยกุล

เด็กเปนทรัพยากรมนุษยที่มีคุณคาและมีความเปราะบางไมสามารถพึ่งพาตนเองได จึงเสี่ยงตอการไดรับผลกระทบจากสิ่งแวดลอมรอบดาน เชนความเจ็บปวย สภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดลอม เพื่อใหเด็กเติบโตในสิ่งแวดลอมที่เอื้อตอการมีสุขภาพชีวิตที่ดี การดูแลเด็กครอบครัวจึงมีสวนรวมในการประคับประคองเด็กเนื่องจากครอบครัวเปนหนวยสังคมหนวยแรกที่เด็กมีความผูกพัน ในการพยาบาลเด็กจึงควรเขาใจโครงสรางของครอบครัวตลอดจนความตองการและผลกระทบของครอบครัวเมื่อสมาชิกมีความเจ็บปวย ปรัชญาหรือแนวคิดของการพยาบาลเด็กและวัยรุนในปจจุบันจึงเนนที่การพยาบาลโดยใหครอบครัวเปนศูนยกลาง ( Family-Center Care)

แนวคิดของการพยาบาลโดยใชครอบครัวเปนศูนยกลาง

เปนการใชความรักและสัมพันธภาพของคนในครอบครัวซึงเปนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจในตัวเด็กเขามามีสวนรวมตอกิจกรรมการดูแลรักษา โดยตระหนักถึงความตองการพื้นฐานหลักของเด็กเชนความรัก ความรูสึกมั่นคง ปลอดภัย การปฏิบัติการพยาบาลจึงควรเคารพในความแตกตางของครอบครัว และสนับสนุนความรวมมือกับครอบครัวในการดูแลเด็กแตละคน ทําใหบิดามารดารูสึกมีคุณคาในการมีสวนรวมในการวางแผนกิจกรรมในการดูแลบุตรตนเอง ลดความวิตกกังวล มีเจตคติที่ดีตอระบบบริการสุขภาพ สามารถเผชิญปญหาไดดี และสามารถดูแลเด็กไดอยางตอเนื่องหากวาเด็กจําเปนจะตองไดรับการดูแลตอเนื่องที่บานตอไปขอดีของการพยาบาลโดยใชครอบครัวเปนศูนยกลาง

1. เด็กรูสึกอบอุนและปลอดภัย เมื่อไดอยูใกลสมาชิกที่คุนเคยในครอบครัว ลดความวิตกกังวลตอการถูกพลัดพรากจากบุคคลอันเปนที่รัก

2. บิดามารดาแลคนในครอบครัวรูสึกมีคุณคาในการมีสวนรวมตอกิจกรรมการดูแลเด็กและรับทราบสถานการณอยางใกลชิด ทําใหสามารถเผชิญความเครียดและมีสวนรวมในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ลดความหวั่นวิตกและความกลัวที่เกิดจากการคาดเดาหรือความเขาใจผิด และสามารถใหการดูแลเด็กอยาวงตอเนื่องที่บานได

3. พยาบาลสามารถใหกิจกรรมการพยาบาลไดอยางเต็มที่ และสามารถใชครอบครัวเปนสื่อกลางในการเขาถึงตัวเด็ก

4. ครอบครัวมีเจตคติที่ดีตอระบบบริการสุขภาพ

Page 2: Children Care

2

บทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็กโดยใชครอบครัวเปนศูนยกลาง พยาบาลตองเสริมสรางความสามารถ (Enabling)และสรางพลังอํานาจให แกครอบครัว(Empowerment) โดยสรางกลไกความสัมพันธกับบิดามารดาแบบมีหุนสวน ( ParentProfessional Partnership) ในการดูแลเด็ก และตองเคารพและตระหนักถึงความสําคัญของครอบครัว มีการวางแผนกิจกรรมการดูแลเด็กรวมกับครอบครัว และแลกเปลี่ยนขอคิดเห็นและยอมรับฟงขอเสนอแนะของครอบครัว ตลอดจนมีทักษะในการใหความรูแกครอบครัวเพื่อความเขาใจที่ถูกตองและตรงกัน

การสงเสริมการดูแลตนเองในเด็กและวัยรุนที่เจ็บปวยการดูแลตนเอง (Self Care) เปนกระบวนการที่บุคคลทั่วไปกระทําดวยตนเอง เพื่อตอบโต

กับความเจ็บปวย ตอบสนองตอการรักษาหรือเผชิญปญหา และสงเสริมสุขภาพปองกันโรคของตนเอง (Ivan Barofsky cited in Gantz,1990)

โดโรธี โอเรม (Dorothy Orem) ไดกลาวในทฤษฎีการดุแลตนเองไววา เปนการกระทําที่บุคคลริเร่ิมหรือกระทําดวยตนเอง ดวยความตั้งใจ จงใจ และมีเปาหมายเพื่อดํารงชีวิต สุขภาพสวัสดิภาพ และความผาสุกในตนเอง และเมื่อมีสุขภาพเบี่ยงเบน การดูแลจะมีแบบแผน และลําดับข้ัน ซึ่งถากระทําอยางมีประสิทธิภาพ จะทําใหบุคคลมีความมั่นคง ทําหนาที่ไดอยางเต็มที่และมีพัฒนาการ

ความสามารถในการดูแลตนเองในเด็กแตละวัยเด็กแตละวัยจะมีความสามารถในการดูแลตนเองที่แตกตางกัน ข้ึนอยูกับความสมบูรณ

ของรางกาย จิตใจ และการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกตางกัน ความสามารถในการดูแลตนเองโดยมีพัฒนาการเปนสําคัญ(Developmental Milesstone)ในแตละชวงมีดังนี้

1. วัยทารก(Infant) หมายถึง เด็กแรกเกิด – 1 ป ที่มีความสามารถในการชวยเหลือตัวเองนอยที่สุด โดยเริ่มมีความสามารถของกลามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ และเรียนรูโดยใชประสาทสัมผัสเปนสวนใหญ พัฒนาการที่นําไปสูการดูแลตนเองไดคือเร่ิมแตงแตเมื่อสามารถคืบ คลาน คว่ํา ชันคอ พลิกหงาย ลุกนั่ง คลาน เกาะยืน ลุกยืนไดเอง จนกระทั่งเดินได เปนตน

2. วัยหัดเดิน ( Toddlers) หมายถึง 1-3 ป ซึ่งจะมีพัฒนาการความสามารถในการใชกลามเนื้อมัดเล็กมัดใหญมากขึ้น เร่ิมเรียนรูที่จะมีปฏิสัมพันธกับผูอ่ืน และชวยเหลือตัวเองในการทํากิจวัตรประจําวันงายๆไดเชนทรงตัวไดดีมากขึ้น เดินขึ้นลงบันไดไดตักอาหารเขาปาก เปดปดประตู เร่ิมหัดแปรงฟน ฝกหัดขับถาย (Toilet Training)

Page 3: Children Care

3

3. วัยกอนเรียน(Preschool) หมายถึง เด็กอายุ 3-6 ป เร่ิมเขาโรงเรียนอนุบาล สามารถชวยเหลือทํากิจกรรมงานบานบางอยางได ทานอาหารเองได ใสเสื้อผาเองได ชวยถูกตัวอาบน้ําเองได แตตองดูแลอยูใกลๆ

4. วัยเรียน (School-age) หมายถึง เด็กอายุ 6-12 ป ที่เร่ิมเขาศึกษาในชั้นประถมศึกษาสามารถดูแลตนเองไดในเรื่องการรับประทานอาหาร การขับถาย การแตงตัวไปโรงเรียน แตผุปกครองควรดุแลและเขาไปมีสวนชวยในบางเรื่องเชนการเลือกชนิดของอาหารเพื่อปองกันภาวะขาดสารอาหาร การดูแลความสะอาดรางกาย สระผม ปองกันเหา การดุแลความสะอาดปากและฟน ปองกันฟนผุ เปนตน

5. วัยรุน ( Adolescents) แบงเปน2 ชวง คือวัยรุนตอนตน อายุ 13-15 ป และวัยรุนตอนปลาย 16-19 ป ซึ่งจะมีความสามารถในการดูแลตนเองไดดีที่สุดในเด็ก และพรอมที่จะเขาสูวัยผูใหญ ซึ่งผูปกครองควรคอยดูแลอยูหางๆ เนื่องจากเด็กรักอิสระ และอยากตัดสินใจทําอะไรดวยตนเองมากกวา วัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางรางกายมากในเร่ืองระบบสืบพันธุ และสรีระทางกาย ดังนั้นอาจมีผลตอการเปลี่ยนแปลงทางจิตและสังคมไปดวย ผูปกครองจึงควรคอยดูแลและใหคําแนะนําอยูหางๆ เพื่อปองกันปญหาที่เกิดจากรูเทาไมถึงการณ หรือการนิยมตามแฟชั่น หรือเพื่อนจนขาดการไตรตรองที่ถูกตอง

ผลกระทบของความเจ็บปวยตอความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กและวัยรุนความเจ็บปวยหรือโรค มีผลตอพยาธิสภาพทางกาย ในหลายๆดาน นอกจากนั้นการรักษา

หรือการจํากัดการเคลื่อนไหวหรือการจํากัดกิจกรรมยังมีผลตอความรูสึกทางจิตใจ ซึ่งแตละวัยจะมีความเขาใจตอการรักษาของแพทยที่แตกตางกัน การแยกจากครอบครัว(Separation)จึงทําใหเกิดความกลัว วิตกกังวล และความเครียดในเด็กได

การประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กและวัยรุนความตองการและความจําเปนในการดูแลตนเอง ( Self Care Requisites) ของเด็กตาม

แนวคิดของโอเร็ม (Orem,1991) มี 3 ประเภท1. ความตองการและความจําเปนในการดูแลตนเองทั่วไป(Universal Self Care

Requisites)โดยความตองการตอบสนองความตองการดานตางๆ2. ความตองการและความจําเปนในการดูแลตนเองตามพัฒนาการ( Development

Self Care Requisites) เปนการดูแลตนเองตามกระบวนการพัฒนาของชีวิต ซึ่งจะ

Page 4: Children Care

4

เนนการพัฒนาและคงอยูของพัฒนาการ และการดูแลเพื่อปองกันผลกระทบตอพัฒนาการ เปนตน

3. ความตองการและความจําเปนในการดูแลตนเองตามภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ(Health Deviation Self Care Requisite)

การประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กและวัยรุนที่เจ็บปวย พยาบาลจะตองกระทําดังนี้คือ

1. รวบรวมขอมูลเกี่ยวกับความตองการและความจําเปนในการดูแลตนเองโดยทั่วไปเชนเร่ืองอาหาร น้ํา อากาศ ความจําเปนตอการมีชีวิต ความจําเปนตามพัฒนาการ และความตองการและจําเปนเมื่อสุขภาพมีการเบี่ยงเบนไป

2. ระบุความตองการการดูแลตนเองทั้งหมด โดยใชมาตรฐานขอมูลของเด็กวัยเดียวกัน3. ประเมินสภาพรางกาย และสิ่งแวดลอมที่เปนปจจัยเกี่ยวของ4. ประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของเด็ก

บทบาทของพยาบาลในการสงเสริมการดูแลตนเองของเด็ก1. ประเมินความสามารถหรือความบกพรองในการดูแลตนเองของเด็ก2. ประเมินความสามารถหรือความบกพรองในการดูแลเด็กของครอบครัว3. วางแผนการพยาบาลตามระดับความสามารถในการดูแลตนเองของเด็ก หรือผูดูแล

โดยการ3.1 สนับสนุนและใหความรู แกเด็กและผูดูแล3.2 ทดแทนบางสวน(Partly Compensation) ในเด็กที่สามารถชวยเหลือตัวเองได

บาง3.3 ทดแทนทั้งหมด ( Wholly Compensation) ในเด็กและวัยรุนที่ไมสามารถชวย

เหลือตัวเองไดเลย3.4 สรางเสริมพลังอํานาจใหแกเด็กและครอบครัว ( Empowerment) ใหเกิดความ

ตระหนักความรูและสามารถดูแลตนเองได3.5 สงเสริมใหเด็กและวัยรุนไดมีสวนรวมในการดูแลตนเองตามพัฒนาการเพื่อปอง

การการสูยเสียความเปนตนเอง (Self esteem)3.6 ใหขอมูลแกเด็กและครอบครัว

Page 5: Children Care

5

แหลงอางอิง Arseneault, L., Moffitt, T. E., Caspi, A., Taylor, A., Rijsdijk, F. V., Jaffee, S., Ablow, J. C., &Measelle, J. R. (submitted). Strong genetic effects on antisocial behavior among 5-year-old childrenaccording to mothers, teachers, examiner–observers, and twins' self-reports. Archives of GeneralPsychiatry. Dorothea Orem: Self-Care Deficit Theory Donna L. Hartweg, Foreword by SusanG. Taylor. Textbook Paperback, September 1994. Johnson BS. Child Adolescent & Family Psychiatric Nursing Philadelphia: J.B. Lippincott.1995. Measelle, J. R., Cowan, P. A., & Cowan, C. P. (2001). Family processes and preschoolers self-perceptions: Predictions to kindergarten adjustment. (Under revision, Developmental Psychology). สาหรี จิตตินันท และคณะ.ตํารากุมารเวชศาสตร เลม 1. พิมพคร้ังที่3.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพกรุงเทพเวชสาร,2539.