หิมพานต์หรรษา - thapra.lib.su.ac.th ·...

Preview:

Citation preview

หิมพานต์หรรษา

โดย นางสาวอิสรีย์ รัตนสิริรัตน์

ศิลปนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์(ศิลปะไทย)

ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปีการศึกษา 2558

Amazing Himphant

By Miss Itsaree Rattanasirirat

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Bachelor of Fine Arts (B.F.A.), Program in Visual Arts

Department of Thai Art The Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts

Silpakorn University Academic Year 2015

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาลัยศิลปากร อนุมิติให้ศิลปนิพนธ์ เรื่อง “หิมพานต์หรรษา” เสนอโดย นางสาวอิสรีย์ รัตนสิริรัตน์ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาเอกศิลปะไทย

.................................................................. ( อาจารย์อ ามฤทธิ์ ชูสุวรรณ )

คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ................../............................./................ ผู้ควบคุมศิลปนิพนธ์ อาจารย์ชูศักดิ์ ศรีขวัญ คณะกรรมการตรวจศิลปนิพนธ์ ...................................................... ประธานกรรมการ ( ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ) ................../...................../............

....................................................... กรรมการ ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัญญา ดวงรัตน์ ) ................../...................../............

...................................................... กรรมการ ( อาจารย์สาครินทร์ เครืออ่อน ) ................../...................../...........

...................................................... กรรมการ ( อาจารย์ชูศักดิ์ ศรีขวัญ ) ................../...................../............

...................................................... กรรมการและเลขานุการ ( อาจารย์ฤทัยรัตน์ ค าศรีจันทร์ ) ................../...................../...........

หัวข้อศิลปนิพนธ์ หิมพานต์หรรษา ชื่อนักศึกษา นางสาวอิสรีย์ รัตนสิริรัตน์ สาขาวิชา ทัศนศิลป์ ภาควิชา ศิลปไทย ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

หิมพานต์เป็นดินแดนในอุดมคติตามความเชื่อของไทยในเรื่องไตรภูมิ ซึ่งปรากฏอยู่ในผลงานศิลปกรรมไทยสาขาต่าง ๆ จึงน ามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ โดยการถ่ายทอดรูปแบบ เนื้อหา เรื่องราวของดินแดนหิมพานต์ ที่อาศัยจินตนาการส่วนตนผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม แสดงออกด้วยเทคนิคกระบวนการเย็บปักผ้าและวัสดุส าเร็จรูป เพ่ือความสุขหรรษาในลักษณะอุดมคติไทย

Thesis Title Amazing Himphant Name Miss Itsaree Rattanasirirat Concentration Visual Arts Department Thai Art Academic Year 2558

Abstract

Himmaphan is the mysterious land being mentioned in various literatures, folk tales, and religious manuscripts. It’s also an incredibly popular aspect of Thai traditional art. I relay the story of Himmaphan according to my imagination and believe. By using embroidery technique and addition of ready-made objects, I indicate Himmaphan in my perception as a land of joy.

กิตติกรรมประกาศ

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์หัวข้อ “หิมพานต์หรรษา” นี้ของข้าพเจ้าจักสามารถส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีมิได้เลยหากขาดซึ่งการสนับสนุนของบิดา มารดา บุพการีผู้ให้ก าเนิด ขอบพระคุณมารดาเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสและส่งเสริมข้าพเจ้าได้ศึกษาหาความรู้ในด้านศิลปะอย่างจริงจัง อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เทคนิควิธีการตลอดจนวิธีคิดสร้างสรรค์ผลงาน คณาจารย์ภาควิชาศิลปไทยที่ท่านได้ชี้แนะแนวทางการสืบค้นข้อมูลในการสร้างสรรค์ อาจารย์ชูศักดิ์ ศรีขวัญ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ศิลปนิพนธ์ผู้ให้ค าปรึกษา ชี้แนะแนวทาง สนใจ ใส่ใจ สนับสนุนแนวทางของข้าพเจ้าให้ก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงมาได้ด้วยดีและนายปัณณทัต สินสมโชติ ที่ให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้านจนท าให้ข้าพเจ้าประสบความส าเร็จในการท าศิลปนิพนธ์ รวมไปถึงผู้มีพระคุณทุกท่านที่มิได้เอยนาม ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้

ค าน า

เอกสารฉบับนี้เป็นหนังสือประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาเอกศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2558 ซึ่งเป็นการน าเสนอเรื่องราวการศึกษาค้นคว้าและการปฏิบัติงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “หิมพานต์หรรษา” (Amazing Himphant) ตามหลักสูตรการศึกษาชั้นปริญญาศิลปบัณฑิต โดยเรียบเรียงให้สามารถเข้าถึงระบบแนวความคิดและการปฏิบัติอันเป็นการสร้างสรรค์ผลงาน ในส่วนที่เป็นเอกสารวิชาการประกอบการสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์นั้นได้รวบรวมขั้นตอนเพ่ือประกอบการศึกษา เพ่ืออธิบายการด าเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ อันได้แก่แหล่งที่มาที่ได้รับอิทธิพล ทีไ่ด้รับแรงบันดานใจ แนวความคิด เทคนิควิธีการ รูปแบบ และผลสรุปของการสร้างสรรค์ โดยหวังว่าโครงการศิลปนิพนธ์ชุดนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางการศึกษาต่อไป

สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ จ กิตติกรรมประกาศ ฉ ค าน า ซ สารบัญภาพ ญ บทที ่ 1 บทน า 1 ความเป็นมาและความส าคัญของการสร้างสรรค์ 1 วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ 2 แนวความคิดในการสร้างสรรค์ 2 ขอบเขตของการสร้างสรรค์ 2 เวลาที่ใช้ในการท าศิลปนิพนธ์ 3 วิธีการศึกษา 3 แหล่งข้อมูลที่น ามาใช้ในการสร้างสรรค์ 3 อุปกรณ์ท่ีใช้ในการสร้างสรรค์ 4 2 ข้อมูลและอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ 8

อิทธิพลจากไตรภูมิกถา (ชมพูทวีป ป่าหิมพานต์) 8 อิทธิพลจากจิตรกรรมไทย 9 อิทธิพลจากการเย็บ 18

3 การก าหนดรูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์ 21 ขั้นตอนการด าเนินงาน 21 ขั้นตอนการแสดงออกด้วยเทคนิควิธีการ 27 ทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ 29

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ 30 4 วิเคราะห์ผลงาน 31 การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ในระยะเริ่มต้น 31 การสร้างสรรค์ผลงาน ระยะก่อนศิลปนิพนธ์ 35 การสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ 38

5 บทสรุป 43 บรรณานุกรม 44 รายชื่อผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ 45 รายชื่อผลงานศิลปนิพนธ์ 45 ประวัติผู้วิจัย 46

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1 ผ้าชนิดต่าง ๆ ................................................................................................................ 4 2 เข็ม ด้าย กรรไกร ............................................................................................................ 5 3 ใยสังเคราะห์ ................................................................................................................... 5 4 ลูกปัด ............................................................................................................................. 6 5 ดินสอเขียนผ้า กาว ......................................................................................................... 6 6 เฟรมไม้ ........................................................................................................................... 7 7 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง .................................................................................................... 10 8 ภาพตระกูลม้าจิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ...................................... 10 9 ภาพตระกูลช้างจิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ..................................... 11

10 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ .................................................... 12 11 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ .................................................... 12 12 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ .................................................... 13 13 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ .................................................... 13 14 ภาพลายเส้นสัตว์ .......................................................................................................... 14 15 ภาพลายเส้นสัตว์ .......................................................................................................... 14 16 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า ..................................................... 15 17 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า ..................................................... 15 18 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า ..................................................... 16 19 ต้นแบบดอกไม้ .............................................................................................................. 17 20 ต้นแบบดอกไม้ .............................................................................................................. 17 21 การเนาผ้า ..................................................................................................................... 18 22 การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง ......................................................................................... 19 23 การท าคัทเวิร์ค .............................................................................................................. 20 24 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 22 25 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 23 26 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 23 27 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 24 28 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 24 29 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 25 30 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 25 31 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 26 32 ภาพร่าง ........................................................................................................................ 26

33 ขั้นตอนการท างาน ........................................................................................................ 27 34 ขั้นตอนการท างาน ........................................................................................................ 28 35 ขั้นตอนการท างาน ........................................................................................................ 28 36 ภาพผลงานระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 1 .................................................................................... 31 37 ภาพผลงานระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 2 .................................................................................... 32 38 ภาพผลงานระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 1 .................................................................................... 33 39 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิน้ที่ 1 .............................................................................. 34 40 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิน้ที่ 2 .............................................................................. 35 41 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิน้ที่ 3 .............................................................................. 36 42 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 1...................................................................................... 37 43 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 2...................................................................................... 38 44 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 3...................................................................................... 39 45 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 4...................................................................................... 40

1

บทที่ 1

บทน า

ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเช่ือในเรื่องไตรภูมิตามคติ

ศาสนาพุทธและฮินดู มีความเช่ือว่าป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) เขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาน 3,000 โยชน์ วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระ คือ

1. สระอโนดาต 2. สระกัณณมุณฑะ 3. สระรถการะ 4. สระฉัททันตะ 5. สระกุณาละ 6. สระมัณฑากิณี 7. สระสีหัปปาตะ

บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 น้ัน สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ท่ีจัดเป็นยอดเขา หิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 20 โยชน์

ในป่าหิมพานต์เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ้งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ท่ัวไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งช่ือข้ึนใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจิตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สร้างสรรค์ภาพจากเอกสารเก่า ๆ ต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างอิงถึงนี้เป็นท่ีรู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์1

ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา จินตนาการจากความเชื่อเรื่องไตรภูมิ เรื่องราวของพุทธจักรวาลที่ถูกถ่ายทอดจินตนาการ

ความเชื่อ ความคิด เพ่ือเป็นค าสอนจากตัวหนังสือ เผยแผ่พระธรรมในรูปแบบของดินแดนต่าง ๆ

1 วิกิพีเดีย, ป่าหิมพานต์, เข้าถึงเมือ่วันท่ี 10 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ป่าหิมพานต ์

2

อย่างเช่นป่าหิมพานต์ที่มักจะพรรณนาถึงสัตว์หิมพานต์ พืชพรรณไม้ ที่แตกต่างไปจากโลกของความเป็นจริง มักปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังตลอดจนผลงานศิลปกรรมที่ประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามหรือปราสาทพระราชวัง ล้วนแต่เกิดจากจินตนาการและการสร้างสรรค์ รูปแบบการผสมของสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ ได้อย่างงดงามและน่าสนใจ

ข้าพเจ้ามีความประทับใจในเรื่องของป่าหิมพานต์และเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากเรื่องราวความสุขหรรษาของดินแดนหิมพานต์ในไตรภูมิ โดยน าเสนอในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และมีความร่วมสมัยด้วยเทคนิคกระบวนการศิลปะเย็บปักผ้าและวัสดุ ถ่ายทอดผ่านบรรดาสัตว์ พืชพรรณไม้ สภาพแวดล้อม สถานที่และความประทับใจเข้าไว้ด้วยกัน วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ 1. เพ่ือศึกษารูปแบบของสัตว์หิมพานต์ คติความเชื่อของช่างไทยโบราณ เพ่ือน ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบผลงาน 2 มิติ ด้วยเทคนิคเย็บปักวัสดุผ้า เพ่ือให้เกิดผลทางความงามทางอุดมคติ 2. เพ่ือถ่ายทอดความประทับใจคติความเชื่อและจินตนาการส่วนตัวที่มีต่อสัตว์หิมพานต์ให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่มีรากฐานมาจากศิลปไทยโบราณและเห็นคุณค่าในงานศิลปะ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ข้าพเจ้าต้องการน าเสนอคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิในรูปแบบของดินแดนหิมพานต์ในอุดมคต ิมาแสดงออกในรูปแบบศิลปะ 2 มิติ ด้วยเทคนิควิธีการเย็บปักผ้า ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปไทยร่วมสมัยเพ่ือให้เห็นถึงพ้ืนฐานประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับความนึกคิดและจินตนาการ ที่มีรากฐานมาจากความเชื่อของคนไทยในอดีตและในปัจจุบันที่อาจมีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงหรือผิดแผกไปจากเดิม โดยผสมที่อยู่สภาพแวดล้อมของสัตว์เข้าไปด้วย ขอบเขตของการสร้างสรรค์ เพ่ือด าเนินการสร้างสรรค์งานอย่างมีขอบเขต และมีการค้นคว้างานที่ตรงตามเป้าหมายของการศึกษา ข้าพเจ้าจึงได้ก าหนดขอบเขตของการสร้างสรรค์ผลงานไว้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ขอบเขตของเนื้อหา แสดงเนื้อหาสาระคติความเชื่อเรื่องดินแดนหิมพานต์ในอุดมคติ โดยใช้จินตนาการผสมผสานความเชื่อ ความศรัทธาในปัจจุบัน

3

2. ขอบเขตด้านรูปแบบ น าเสนอเป็นผลงานศิลปะเทคนิคผสม 2 มิติผ่านรูปลักษณ์ของสัตว์ผสมและสภาพแวดล้อมในดินแดนในหิมพานต์ โดยผสมผสานระหว่างรูปแบบดั้งเดิมและจินตนาการส่วนตัวและสิ่งแวดล้อม 3. ขอบเขตด้านเทคนิคและวิธีการ ใช้เทคนิคกระบวนการเย็บปักผ้าและวัสดุส าเร็จรูป เวลาที่ใช้ในการท าศิลปนิพนธ์ ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2558 – พฤษภาคม 2559 ประจ าปีการศึกษา 2558 วิธีการศึกษา 1. ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากหนังสือและเอกสาร บทความต่าง ๆ และการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง 2. ร่างภาพ ค้นหารูปแบบผลงาน 3. สร้างสรรค์ผลงาน โดยเริ่มจากภาพร่าง ท าการตัด ประกอบ และสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคการเย็บปักผ้าและวัสดุส าเร็จรูป 4. วิเคราะห์ผลงาน เพ่ือหาแนวทางพัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดข้ึน 5. ติดตั้งผลงาน 6. สรุป เรียบเรียงเป็นเอกสารศิลปนิพนธ์ แหล่งข้อมูล ข้อมูลภาคเอกสาร - หนังสือสัตว์หิมพานต์ รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ - หนังสือไตรภูมพระร่วง - หนังสือภาพสัตว์โลก - หนังสือไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ - หนังสือจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ

4

ข้อมลูภาคสนาม - จิตรกรรมฝาผนงัที่เก่ียวข้องกบัเร่ืองราวหมิพานต์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการท าศิลปนิพนธ์

ภาพที่ 1 ผ้าชนิดต่าง ๆ ที่มา ผ้าไหม, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://welovethaiking.com

5

ภาพที่ 2 เข็ม ด้าย กรรไกร

ภาพที่ 3 ใยสังเคราะห์ ที่มา ใยสังเคราะห์แผ่น, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.kateclub.com/product

6

ภาพที่ 4 ลูกปัด

ภาพที่ 5 ดินสอเขียนผ้า กาว

7

ภาพที่ 6 เฟรมไม้ ที่มา ใยสังเคราะห์แผ่น, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.kateclub.com/product

8

บทที่ 2

ข้อมูลและอิทธิพลทีเ่กี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์

1.อิทธิพลจากไตรภูมิกถา (ชมพูทวีป ป่าหิมพานต์) แผ่นดินชมพูทวีปนั้น มีปริมาณได้ 10,000 โยชน์ ทั้งด้านยาวและด้ายกว้างแยก

ออกเป็นท่ีอยู่อาศัยของมนุษย์ 3,000 โยชน์ เป็นป่าเขาหิมพานต์ 3,000 โยชน์ เป็นทะเล 4,000 โยชน์ ภูเขาหิมพานต์นั้นสูงประมาณ 500 โยชน์ กว้างใหญ่ 3,000 โยชน์ มียอดเขา 84,000 ยอด ที่เชิงเขาหิมพานต์นั้นมีต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่ง อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ าช่ือว่า สีทานที ต้นหว้านั้นมีขนาดใหญ่โอบรอบได้ 14 โยชน์ ตั้งแต่พื้นดินถึงค่าคบสูงได้ 50 โยชน์ตั้งแต่ค่าคบขึ้นไปถึงยอดได้ 50 โยชน์และตั้งแต่ปลายค่าคบด้านทิศตะวันออกมาถึงทิศตะวันตกมีระยะทางไกลถึง 1,000 โยชน์ ตั้งแต่ทิศทางปลายค่าคบทิศเหนือจดทิศใต้ ไกลถึง 800,000 วา ปริมาณปลายค่าคบโดยรอบปริมณฑลได้ 2,400,000 วาถัดจากป่าไม้หว้านั้นไปเบื้องหน้า มีต้นมะขามป้อมซึ้งมีผลใหญ่มีรสอร่อย ถัดจากป่าไม้มะขามป้อมไปเป็นป่าสมอ ถัดจากป่าสมอไปเบื้องหน้านั้นมีแม่น้ าใหญ่ 7 สาย ต่อจากแม่น้ าไป มีป่าไม้หว้าซึ่งมีผลหวานปานน้ าผึ้ง ถัดจากป่าไม้นั้น มีป่าไม้นารีผล ซึ่งมีลักษณะทรวดทรงงามยิ่งนัก เปรียบปานสาวรุ่นที่มีอายุได้ 16 ปี เมื่อชายใดได้พบเห็นก็มีใจเสน่หา ลุ่มหลงรักใคร่ ครั้นยามร่วงหล่นลงก็มีฝูงนกกลุ้มรุมกันจิกกัด เหมือนกับหมีกินผึ้งและผ่านป่าไม้หมู่นั้นไปทานทิศตะวันออกยาวรีไปถึงแม่น้ ามหาสมุทรทางด้านทิศตะวันตก และยาวรีไปถึงแม่น้ าใหญ่ 7 สายนั้น โดยกว้างได้ 100,000 วา ถัดจากแม่น้ าไปเบื้องหน้ามีป่าไม้ 6 ป่า คือ ป่ากุรภะ ป่าโกรภะ ป่ามหาพิเทหะ ป่าตะปันทละ ป่าโสโมโลและป่าไชยเยตในป่าหิมพานต์มีสระใหญ่ 7 สระ คือ สระอโนดาต สระกัณณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันต์ สระกุณาละ สระมันทากินีและสระสีหปปา-ตะ สระใหญ่ทั้ง 7 นี้เท่ากัน ความกว้าง ลึกและมณฑลรอบเท่ากันทุกสระ คือกว้าง 432,000 วา ลึก 432,000 วา มณฑลรอบ 1,296,000 วา สระอโนดาต มีเขา 5 เทือกล้อมรอบ คือ เขาสุทัสสนะ เขาจิตรกูฏ เขากาฬกูฏ เขาคันทมาทนแ์ละเขาไกรลาศ เขาไกรลาสนั้นเป็นเงิน เขาเทือกนี้ใหญ่และสูงเท่ากัน ยื่นไปในสระอโนดาต ด้วยอานุภาพพญานาคราชและฝูงเทวดาที่บันดาลให้ฝนตก ณ สระอโนดาตนั้น ทั้งแม่น้ าน้อยใหญ่ ที่ไหลมาแต่ห้วยและภูเขา ก็ไหลไปขังอยู่ในสระอโนดาตนั้น สระอโนดาตนั้นจึงไปเหือดแห้งสักครั้งเดียว ส่วนในป่าหิมพานต์มักจะพรรณนาถึงสัตว์หิมพานต์ไว้ด้วยบรรดาพรรณไม้ต่าง ๆ

9

ล้วนแตกต่างไปจากปกติ สัตว์หิมพานต์หรือสัตว์เขาไกรลาศเป็นส่วนหนึ่งของกนกลายไทยเป็นจินตนาการที่ช่างพรรณนาถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์2

2.อิทธิพลจากจิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบและวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยน าสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีช่ือเรียกต่าง ๆ กันซึ่งน าเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจ ายาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเช่ือและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น

จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสทุธ์ิน่าช่ืนชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม3

2.1 จิตรกรรมฝาผนัง

ข้าพเจ้าได้รับอิทธิพลจากงานจิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์และวัดโพธิ์ในเรื่องของรูปทรง โครงสี สีที่มีลักษณะเฉพาะ มีความสดใส ดูสนุกสนานและลักษณะท่าทาง กิจกรรมการอยู่ร่วมกันของสัตว์ และความเป็นเอกภาพของงานจิตรกรรมฝาผนัง

2 กรมศิลปากรเผยแผ,่ ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ, พิมพ์ครั้งท่ี 2 (กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จ ากัด, 2555), 234. 3 วิกิพีเดีย, จิตรกรรมไทย, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จิตรกรรมไทย

10

ภาพที่ 7 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ที่มา จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศน์, เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559

เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศน์

ภาพที่ 8 ภาพตระกูลม้าจิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม

ที่มา ภาพถ่ายจากวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม โดย สิปปวิชญ์ บุณยพรภวิษย์

11

ภาพที่ 9 ภาพตระกูลช้างจิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม

ที่มา ภาพถ่ายจากวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม โดย สิปปวิชญ์ บุณยพรภวิษย์

2.2 สัตว์หิมพานต์ รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ซึ่งเกิดจากจินตนาการแต่ก็ยังอาศัยสิ่งเดิมที่มีอยู่น ามาตัดต่อปรับเปลี่ยนรูปแบบที่มีความพิเศษ แปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ แต่รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ยังมีจุดต่างกัน คือ - สร้างขึ้นจากธรรมชาติแล้วดัดแปลงให้มีความงดงามในแบบอุดมคติและมีรูปทรงที่งดงามสมบูรณ์ เช่น ช้าง ม้า โค นาคหรือหงส์ - สร้างจากสัตว์ 2 ชนิดต่างประเภทตัดเปลี่ยนอวัยวะ เช่น ราชสีห์ เหมราช นก-หัสดีลิงค์ เป็นต้น - สร้างจากมนุษย์และสัตว์ผสมกัน โดยตัดเปลี่ยนอวัยวะ เช่น กินนร กินรี เป็นต้น - สร้างจากจินตนาการของช่าง4

เป็นเรื่องที่เหนือจินตนาการ มีความน่าสนใจทั้งด้านของคติความเชื่อรูปแบบ เนื้อหา เรื่องราว ที่ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจ จึงน ามาถ่ายทอดจินตนาการใหม่ที่ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมของไทย เพ่ือน ามาสร้างดินแดนหิมพานต์ร่วมสมัยในผลงานศิลปนิพนธ์

4 จริยา โกมลสิงห์, จินตนาการจากสัตว์หิมพานต์, 2554, 6-7.

12

ภาพที่ 10 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์

ที่มา สุรศักดิ์ เจรญิวงศ์. (2557) ภาพสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ. พิมพ์ครั้งท่ี 1. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจภุัณฑ์และการพิมพ์ จ ากัด.

ภาพที่ 11 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์

ที่มา สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2557) ภาพสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ ากัด.

13

ภาพที่ 12 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ที่มา สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2557) ภาพสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ ากัด.

ภาพที่ 13 ภาพลายเส้นโดยรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ที่มา สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2557) ภาพสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยาม บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ ากัด.

14

ภาพที่ 14 ภาพลายเส้นสัตว์ ที่มา เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536) เส้นสายลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :สุขภาพใจ.

ภาพที่ 15 ภาพลายเส้นสัตว์ ที่มา เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536) เส้นสายลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

15

2.3 สัตว์ในธรรมชาติ - หนังสือภาพสัตว์โดย Jim Harter มีการรวบรวมภาพสัตว์หลายชนิดและหลายอิริยาบถมีการ สเก็ตภาพสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติจริง โดยมีการศึกษาสัตว์แต่ละชนิดในหลายๆมุมมอง รวมถึงที่อยู่อาศัยและการด าเนินชีวิตของสัตว์ที่อยู่ต่างธรรมชาติและได้รับการเลี้ยงดูจากมนุษย์

ภาพที่ 16 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า

ที่มา Jim Haerter. Animals : Dover pudlications,inc., (1979)

ภาพที่ 17 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า

ที่มา Jim Haerter. Animals : Dover pudlications,inc., (1979)

16

ภาพที่ 18 ภาพผลงานของ Jim Harter ที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้า

ที่มา Jim Haerter. Animals : Dover pudlications,inc., (1979) ข้าพเจ้าสนใจในบุคลิกที่มีความเป็นธรรมชาติเหล่านี้ สนใจในความเป็นจริงที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งใดใดลงไป เป็นการศึกษาโครงหน้า กล้ามเนื้อ สีและพ้ืนผิวนั้น ๆ ของสัตว์แต่ละชนิด ก่อนน ามาผสมผสานจินตนาการเพ่ือเพ่ิมความสมจริงให้กับสัตว์หิมพานต์ในลักษณะเฉพาะของข้าพเจ้า

17

2.4 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอุดมคติและความเป็นจริง

ภาพที่ 19 ต้นแบบดอกไม้

ที่มา เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536) เส้นสายลายไทย. พิมพ์ครั้งท่ี 5. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

ภาพที่ 20 ต้นแบบดอกไม้ ที่มา เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536) เส้นสายลายไทย. พิมพ์ครั้งท่ี 5. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

18

3. อิทธิพลจากการเย็บปัก ข้าพเจ้าสนใจเรื่องการประกอบผ้า การคัดสรรค์สีผ้า ลายผ้า รวมถึงสีด้ายและขนาดของด้าย ข้าพเจ้าเห็นถึงความสนุกสนามที่เกิดจากการน าผ้าต่างชนิด ต่างสีมาผสมผสานเสริมสร้างจินตนาการ ความพยายามในการควบคุมโทนสี เย็บและปัก ความอดทนในเทคนิคต่าง ๆ ของการเย็บผ้า เช่น การเนา การชุน การสอย การด้น การด้นถอยหลัง เป็นต้น เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อน ามาประกอบเข้าด้วยกันจะให้ความรู้อ่อนช้อย สวยงาม เทคนิคการเย็บผ้าด้วยมือ

การเนาผ้า

ภาพที่ 21 การเนาผ้า

จับผ้าด้วยมือซ้ายจับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้วเส้นเดียว) มือขวาแทงเข็มขึ้น-ลงให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนักตามในภาพแล้วดึงด้ายให้ผ่านไปท าซ้ า ๆ อย่างนี้ไปตามความยาวท่ีต้องการ นี่คือการเนา ใช้ในการท าให้ผ้า 2-3 ช้ัน ติดกันคร่าว ๆ ก่อนที่จะน าไปเย็บด้วยจักร หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักรตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ ท าอย่างนี้อีกจนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ5

ข้าพเจ้าใช้เทคนิคการเนาผ้าในส่วนของพ้ืนหลังและส่วนที่เป็นองค์ประกอบ หมายถึง จุดที่เป็นธรรมชาติ โขดหิน ต้นไม้ ใบไม้ เพ่ือเป็นการสร้างระยะของภาพ

5 การเย็บผ้าด้วยมือ, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก

http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

19

การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง

ภาพที่ 22 การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง

เริ่มด้วยการแทงเข็มขึ้นมาตรงจุดที่ 1 แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3 ในเวลาเดียวกันดึงด้ายขึ้นให้ตลอด จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5 ดึงด้ายผ่านตลอด ท าซ้ าอย่างนี้ตามในภาพจะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะท าให้ตะเข็บสวย แข็งแรง ถ้าอยากให้เป็นเส้นตรง ควรขีดเส้นเตรียมไว้ตามต้องการ6

ข้าพเจ้าใช้เทคนิคนี้ในการสร้างความคมชัดและลวดลายของสัตว์แต่ละชนิด

6การเย็บผ้าด้วยมือ, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

20

การท าคัทเวิร์ค

ภาพที่ 23 การท าคัทเวิร์ค

การท าคัทเวิร์ค เป็นการปักริมผ้าที่สวยงามลายหนึ่ง ท าไม่ยากอย่างที่คิด หรือจะปักเป็นลวดลายบนผ้าก็สวย เริ่มจากจุดที่ 1 แทงเข็มขึ้นมา ดึงด้ายตวัดปลายเข็ม แทงเข็มลงที่จุด 2 ให้ข้ึนมาที่จุด 3 ดังในภาพ 7

ข้าพเจ้าใช้เทคนิคนี้ในการเก็บรายละเอียดขอบของรูปทรงสัตว์เกือบทุกตัวในผลงาน ศิลปนิพนธ์ชุดนี้ เพ่ือความเรียบร้อยและยังเป็นการเน้นความส าคัญให้กับจุดเด่นของสัตว์แต่ละชนิดอีกด้วย

7การเย็บผ้าด้วยมือ, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก

http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

21

บทที่ 3

การก าหนดรูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์

ในการศึกษาค้นคว้าเพ่ือการสร้างสรรค์ผลงาน ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคกระบวนการเย็บปักผ้าเป็นสื่อกระบวนการน าเสนอในรูปแบบของดินแดนหิมพานต์ โดยน ามาผสมผสานกับจินตนาการ ความรู้สึกและสิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจในโลกปัจจุบัน เพ่ือแสดงให้เห็นถึงความน่าอัศจรรย์ของป่าหิมพานต์และความสนุกสนาน หรรษา จินตนาการของช่างไทยผสมผสานกันจินตนาการส่วนตน โดยอาศัยทัศนธาตุทางศิลปะมาเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนการด าเนินงานสร้างสรรค์ การก าหนดรูปแบบให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน การใช้หลักของทฤษฏีองค์ประกอบทางทัศนธาตุทางศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงานจริงและการแก้ไขปัญหาไปพร้อม ๆ กัน เพ่ือให้สอดคล้องทั้งรูปแบบ แนวความคิด อารมณ์ความรู้สึกของศิลปินและอีกประการหนึ่งที่ส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลการสร้างสรรค์ ข้าพเจ้าจึงได้ก าหนดรูปแบบวิธีการสร้างสรรค์ผลงานเป็นล าดับดังนี้ ขั้นตอนการด าเนินงาน 1.การหาข้อมูล 1.1 ข้อมูลจากสถานที่จริง

- ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากจิตรกรรมฝาผนังต่างวัดต่าง ๆ การคัดลอก ถ่ายภาพ เพ่ือศึกษารูปแบบของป่าหิมพานต์และสัตว์หิมพานต์ของช่างโบราณ

- การเก็บสะสมวัสดุพ้ืนเมืองในหลาย ๆ จังหวัดที่มีความโดดเด่นในเรื่องชนิดของผ้า เช่น ภาคเหนือ ที่มีผ้าชาวเขาเป็นจุดเด่นของภูมิภาค รวมถึงด้ายสีสันสดใส ลูกปัดไม้ และเทคนิคการปักผ้าของคนพ้ืนเมืองเป็นต้น 1.2 ข้อมูลจากเอกสาร

- ศึกษาจากไตรภูมิกถา (ฉบับถอดความ) ศึกษาเนื้อหาเรื่องราวของดินแดนชมพูทวีปที่ตั้งของป่าหิมพานต์ เพ่ือน าข้อมูลของสถานที่นั้นมาสร้างสรรค์ป่าหิมพานต์และสัตว์หิมพานต์ในรูปแบบของข้าพเจ้า

- ข้อมูลจากหนังสือภาพสัตว์ ศึกษาท่าทางการเคลื่อนไหวก่อนน ามาปรับใช้ให้เป็นรูปแบบของสัตว์หิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ที่ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ข้ึน

22

- ข้อมูลจากจิตรกรรมฝาผนังจากวัดต่าง ๆ ศึกษารูปแบบ การวางโครงสร้าง สีและการรับ-ส่งกันของตัวละครในภาพ เพ่ือน ามาปรักปรุงแก้ไขในผลงานของข้าพเจ้า 2.การสร้างสรรค์ภาพร่าง เมื่อข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นจึงได้เริ่มท าการร่างภาพจากโครงสร้างจริงของสัตว์แต่ละชนิดก่อนน ามาเพ่ิมเติมหรือตัดทอนด้วยจินตนาการของข้าพเจ้า เพ่ือให้เกิดรูปทรงของสัตว์หิมพานต์ที่มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูแปลกตาไปจากเดิมและน่าสนใจ ทั้งยังเพ่ิมเติมเนื้อหาเรื่องราวยุคปัจจุบันลงไป เพ่ือเป็นการสร้างความร่วมสมัยให้กับผลงาน

- การสร้างภาพร่างโครงสร้างรวมของผลงาน - การสร้างภาพร่างรูปทรงสัตว์และรายละเอียดต่าง ๆ

ภาพที่ 24 ภาพร่าง

23

ภาพที่ 25 ภาพร่าง

ภาพที่ 26 ภาพร่าง

24

ภาพที่ 27 ภาพร่าง

ภาพที่ 28 ภาพร่าง

25

ภาพที่ 29 ภาพร่าง

ภาพที่ 30 ภาพร่าง

26

ภาพที่ 31 ภาพร่าง

ภาพที่ 32 ภาพร่าง

27

ขั้นตอนการแสดงออกด้วยเทคนิควิธีการ ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนี้ด้วยเทคนิคเย็บปัก โดยอาศัยจินตนาการส่วนตนเป็นส่วนส าคัญในการแสดงออก ทั้ งกระบวนการและเทคนิคเป็นการสร้างสิ่ งที่ ไม่มีอยู่ จริ ง ด้วยจินตนาการ แสดงออกถึงความสดใส สีสันฉูดฉาดของความเป็นป่าหิมพานต์หรรษา ในการท างานข้าพเจ้าเลือกการใช้สีผ้าในการสร้างมิติของภาพ ใช้สีและขนาดของด้ายในการเน้นรูปทรงที่ส าคัญและใช้ลูกปัดในการเน้นย้ ารูปทรงที่ส าคัญมากกว่า ในส่วนที่เป็นจุดเด่นหรือจุดที่ส าคัญจะใช้สีของผ้าที่สดใส จัดจ้าน ดูสะดุดตา เพื่อเพ่ิมอารมณ์ความรู้สึกสนุกสนาน กระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจในผลงาน

ภาพที่ 33 ขั้นตอนการท างาน

28

ภาพที่ 34 ขั้นตอนการท างาน

ภาพที่ 35 ขั้นตอนการท างาน

29

ทัศนธาตุในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ ข้าพเจ้าได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแบบประเพณีไทย เรื่องป่าหิมพานต์ จากการค้นคว้าท าให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ผสมผสานจินตนาการกับความรู้สึกส่วนตน การใช้ทัศนธาตุเป็นส่วนส าคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ให้ความรู้สึกหลากหลายในผลงาน โดยก าหนดองค์ประกอบด้วยทัศนธาตุต่าง ๆ คือ

1. รูปทรง ( Form ) ข้าพเจ้าใช้รูปทรงของธรรมชาติเป็นหลัก ต้นไม้ ใบไม้ โขดหินและสัตว์ เป็นส่วนส าคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีการเพ่ิมและลดทอนส่วนต่าง ๆ เพ่ือเพ่ิมความแปลกใหม่ในการแสดงออกของผลงาน

2. เส้น ( Line ) ผลงานของข้าพเจ้าใช้เส้นจากด้ายที่มีสีและขนาดที่แตกต่างกัน โดยเน้นใช้เส้นโค้งท่ีให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวเป็นหลัก เน้นความสนุกสนานและการเชื่อมความสัมพันธ์ของสัตว์และธรรมชาติ ในการปักเย็บนั้นเน้นความประณีตโดยเฉพาะจุดส าคัญ ๆ

3. สี ( color ) สีสันสดใสสะดุดตาดูมีชีวิตชีวาเป็นบทบาทส าคัญในงานของข้าพเจ้า เป็นการเพ่ิมจินตนาการส่วนตนลงไปอย่างไม่มีขอบเขตจ ากัด ไม่เน้นโทนสีเหมือนจริงมากนัก ดอกไม้ ใบหญ้าและสัตว์ เน้นสีที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น แปลกตาและน่าสนใจ

4. พ้ืนผิว ( texture ) เกิดจากชนิดของผ้า ฝีด้าย ขนาดของด้ายและลูกปัด ปักลูกปัดและใช้ด้ายเส้นใหญ่ในจุดที่ต้องการเน้น รวมถึงการปักด้านที่มีขนาดเล็กลงในจุดที่ลึกลงไปในส่วนอ่ืน ๆ

5. พ้ืนที่ว่าง ( space ) เป็นส่วนประกอบส าคัญที่เชื่อมต่อรูปทรงเล็ก ๆ ยิบย่อยในงานให้เห็นถึงรูปทรงท่ีเกิดข้ึนจากการรวมตัวขององค์ประกอบเล็ก ๆ

30

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ 1. คิด วิเคราะห์ ประมวลภาพร่างจากลายเส้น เพ่ือหาโครงสีตามหลักทัศนธาตุของผลงานที่

เหมาะสมที่ข้าพเจ้าต้องการ 2. รวบรวมวัสดุอุปกรณ์ เลือกสีของผ้าให้อยู่ในขอบเขตที่ก าหนดไว้ 3. น าภาพร่างมาขยายเป็นผลงานจริง 4. น าภาพที่ขยายมาวางโครงสีของผ้าพ้ืนหลัง ก าหนดน้ าหนัก แสงเงา และองค์ประกอบ

คร่าว ๆ เมื่อได้ตามท่ีต้องการ จึงเย็บติดเป็นชั้นแรก 5. วางโครงสีสัตว์หิมพานต์ เลือกท าจุดเด่นก่อน แต่เป็นการแยกออกมาท าต่างหากก่อนน าลง

ไปเย็บติดกับพ้ืนหลัง การท าสัตว์หิมพานต์ในแต่ละตัว จ าเป็นต้องท าแยกกับพ้ืนหลังเพ่ือความสะดวก รวดเร็วในการใส่รายละเอียดของสัตว์ชนิดนั้น ๆ แต่ยังคงค านึงถึงความเป็นเอกภาพเดียวกันในผลงาน

6. น าสัตว์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาจัดวางหาระยะหน้า-หลัง บนพ้ืนหลังที่เราได้เตรียมไว้แล้วข้างต้น

7. ใช้พืช พรรณไม้ เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดของสัตว์แต่ละตัวในป่าหิมพานต์ให้มีความเป็นเอกภาพท่ีสมบูรณ์มากขึ้น

31

บทที่ 4

วิเคราะห์ผลงาน

ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ “หิมพานต์หรรษา” ข้าพเจ้าได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ จากไตรภูมิกถา รวมถึงวิเคราะห์วิธีการน าเสนอดินแดนหิมพานต์ในรูปแบบใหม่ ที่มีความร่วมสมัย ให้ผู้ชมผลงานมีความเข้าใจโดยง่าย ผ่านกระบวนการเย็บปักผ้าและวัสดุ ทั้งยังใช้สีสันสดใสเพ่ิมความสนุกสนานให้กับผลงาน เพ่ือเพ่ิมความน่าสนใจในการรับชมและกระตุ้นจินตนาการของคนดูอีกด้วย ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ในชุดนี้ข้าพเจ้าได้แบ่งการสร้างสรรค์ออกเป็น 3 ระยะดังนี้ 1. การสร้างสรรค์ผลงาน ระยะเริ่มต้น 2. การสร้างสรรค์ผลงาน ระยะก่อนศิลปนิพนธ์ 3. การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปนิพนธ์ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ในระยะเริ่มต้น ผลงานศิลปนิพนธ์เริ่มต้นในช่วงภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ข้าพเจ้าได้เริ่มจากการศึกษาวิธีการผสมของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ในดินแดนหิมพานต์ โดยเริ่มจากการน าสัตว์ต่างชนิดกันมาผสมกัน เพ่ือเพ่ิมจินตนาการส่วนตนลงไปในผลงาน รวมทั้งเติมแต่งสีสันสดใส ท่าทางการเคลื่อนไหวของสัตว์ ให้ผลงานมีความสนุกสนาน ปัญหาที่พบในระยะนี้คือเรื่องของการจัดวางโครงสร้างไม่สามารถจัดวางองค์ประกอบของสัตว์แต่ละตัวให้มีความเป็นเอกภาพและสวยงามได้ ขาดพ้ืนที่และสภาพแวดล้อมเพ่ือเชื่อมกันของสัตว์แต่ละตัว

32

ภาพที่ 36 ภาพผลงานระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “พบปะ” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่

33

ภาพที่ 37 ภาพผลงานระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 2 ชื่อผลงาน “แบ่งปัน” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่

34

ภาพที่ 38 ภาพผลงานก่อนระยะเริ่มต้น ชิ้นที่ 3 ชื่อผลงาน “ฝรั่ง” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่

35

การสร้างสรรค์ผลงาน ระยะก่อนศิลปนิพนธ์ ผลงานศิลปนิพนธ์เริ่มต้นในช่วงภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ผลงานในระยะนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ปัญหาจากผลงานระยะเริ่มต้น น ามาแก้ปัญหาในผลงานระยะนี้ โดยการสร้างสภาพแวมล้อมและการน าเนื้อหาเรื่องราวดินแดนหิมพานต์เข้ามาสร้างสรรค์ให้เกิดความงามทางอุดมคติของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งยังถ่ายทอดเรื่องราวดินแดนหิมพานต์ในไตรภูมิให้เกิดความน่าสนใจ จากจินตนาการส่วนตนร่วมกับวัสดุสมัยใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงาน ทัง้ยังพยายามก าหนดโทนสีให้เกิดความงามมีเอกภาพมากข้ึน

ภาพที่ 39 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “สัตว์สรรค์” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 160 x 145 ซม.

36

ภาพที่ 40 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 2 ชื่อผลงาน “สระน้ า” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 170 x 150 ซม.

37

ภาพที่ 41 ภาพผลงานก่อนศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 3 ชื่อผลงาน “อโนดาตพาเพลิน” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 180 x 145 ซม.

38

การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปนิพนธ์ ผลงานในระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง ท าให้มีความเข้าใจในความเป็นมาของดินแดนหิมพานต์ การด ารงอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ วิถีชีวิตของสัตว์ในปัจจุบัน จึงท าให้ข้าพเจ้าสามารถถ่ายทอดเรื่องราวดินแดนหิมพานต์ในรูปแบบของข้าพเจ้าได้อย่าชัดเจนมากขึ้น ทั้งยังมีรสนิยมของสีที่ดีขึ้น มีการพัฒนาทางด้านเอกภาพข้ึนมาก ในการสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ชุดนี้ ข้าพเจ้าได้น ารูปทรงของธรรมชาติและสัตว์เข้าด้วยกัน เพ่ือสร้างมุมมองใหม่ของอาณาจักรสัตว์แต่ละชนิดในรูปแบบของข้าพเจ้า

39

ภาพที่ 42 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “ดินแดนอาชา” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 160 x 145 ซม. การสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 1 ข้าพเจ้าสนใจน าเสนอดินแดนของม้าหรืออาชา น าเสนอในรูปแบบของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ า ความอุดมสมบูรณ์ของป่า การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต โดยก าหนดโครงสีเป็นโทนเย็น มีการสร้างระยะหน้าหลังจากสีเข้มและสีอ่อน เพ่ือแสดงออกถึงความนุ่นนวลของดินแดนแห่งนี้ ทั้งยังสร้างความเคลื่อนไหวจากเส้นรูปทรงของใบไม้และการจ้องกันของสัตว์

40

ภาพที่ 43 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 2 ชื่อผลงาน “ดินแดนคชสาร” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 185 x 145 ซม. การสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 2 น าเสนอในรูปแบบของดินแดนช้าง ก าหนดโครงสีโทนร้อนให้ความรู้สึกดุดันและสร้างความอ่อนโยนจากการประกอบกันของสัตว์ตัวเล็กและธรรมชาติ มีการตัดทอนและเพ่ิมเติมสัตว์ในจินตนาการเพ่ือสร้างเรื่องราวให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งยังเน้นการสื่อสารกันของสัตว์เพ่ือสร้างความเคลื่อนไหวให้กับผลงาน โดยใช้โครงสร้างช้างตัวใหญ่เป็นจุดศูนย์กลาง

41

ภาพที่ 44 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 3 ชื่อผลงาน “ดินแดนหงส์” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 195 x 170 ซม.

การสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 3 น าเสนอในรูปแบบของดินแดนหงส์ ก าหนดโครงสีเป็นโทนร้อนพาสเทล (pastel color)เพ่ือสร้างความนุ่มนวลดูเบาสบายของดินแดนนี้ โดยใช้พญาหงส์เป็นจุดศูนย์รวมของภาพ ใช้สัตว์ตัวเล็กและธรรมชาติเป็นตัวเชื่อมโยงของเอกภาพ

42

ภาพที่ 45 ภาพผลงานศิลปนิพนธ์ ชิ้นที่ 4 ชื่อผลงาน “ดินแดนมัจฉา” เทคนิค เย็บปักวัสดุ ขนาด 190 x 140 ซม. ผลงานศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 4 น าเสนอในรูปแบบของดินแดนสัตว์น้ า โดยเน้นโทนสีร้อนและโครงสีที่สดใสสร้างความสนุกสนานให้กับผลงานมากกว่าชิ้นที่ผ่าน ๆ มา ใช้การจดจ้องกันของสัตว์ใหญ่เป็นจุดเด่นของภาพสร้างความเคลื่อนไหวจากเส้นคลื่นน้ า ธรรมชาติและสัตว์ตัวเล็ก ความน่าสนใจของผลงานชิ้นนี้คือความกล้าในการใช้สี ท าให้ผลงานมีความเป็นธรรมชาติและสนุกสนานมากขึ้น

43

บทที่ 5

บทสรุป

การสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ภายใต้หัวข้อ “หิมพานต์หรรษา” เป็นการน าเสนอดินแดนใน

อุดมคติตามความเชื่อของไทยในเรื่องไตรภูมิ ข้าพเจ้าจึงหยิบยกจินตนาการจากความเชื่อเรื่องไตรภูมิ เรื่องราวของพุทธจักรวาลที่ถูกถ่ายทอดจินตนาการความเชื่อ ความคิด เพ่ือเป็นค าสอนจากตัวหนังสือ เผยแผ่พระธรรมในรูปแบบของดินแดนต่าง ๆ ป่าหิมพานต์ที่เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดและพืชพรรณไม้ที่มีความแปลกประหลาดแตกต่างไปจากโลกของความเป็นจริง มักปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังตลอดจนผลงานศิลปกรรมที่ประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามหรือปราสาทพระราชวัง ล้วนแต่เกิดจากจินตนาการและการสร้างสรรค์ รูปแบบการผสมของสัตว์หิมพานต์ ต่าง ๆ

ข้าพเจ้ามีความประทับใจในเรื่องของดินแดนหิมพานต์และเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากเรื่องราวความสุขหรรษาของดินแดนหิมพานต์ในไตรภูมิ โดยน าเสนอในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และมีความร่วมสมัยด้วยเทคนิคกระบวนการศิลปะเย็บปักผ้าและวัสดุ ถ่ายทอดผ่านบรรดาสัตว์ พืชพรรณไม้ สภาพแวดล้อม สถานที่และความประทับใจนั้นมากลั่นกลองเพ่ือน าเสนอเทคนิคของไทยผสมผสานความคิดของข้าพเจ้าสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะเพ่ือให้อุดมคติความเชื่อของไทยในเรื่องไตรภูมิสืบสานให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและเผยแพร่ต่อไป

44

บรรณานุกรม

ภาษาไทย จริยา โกมลสิงห์, จินตนาการจากสัตว์หิมพานต์, 2554, 6-7. เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2536) เส้นสายลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2557) ภาพสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศิลป์สยาม- บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จ ากัด. ภาษาต่างประเทศ Jim Haerter. Animals : Dover pudlications,inc., (1979) เว็บไซต์ วิกิพีเดีย, ป่าหิมพานต์, เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ ป่าหิมพานต์ กรมศิลปากรเผยแผ่, ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน- เพรส โพรดักส์ จ ากัด, (2555), 234. วิกิพีเดีย, จิตรกรรมไทย, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จิตรกรรมไทย. การเย็บผ้าด้วยมือ, เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558, เข้าถึงได้จาก http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศน์, เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2559 เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศน์ ผ้าไหม, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://welovethaiking.com ใยสังเคราะห์แผ่น, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://www.kateclub.com/product ใยสังเคราะห์แผ่น, เข้าถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://www.kateclub.com/product

45

รายช่ือผลงานก่อนศิลปนิพนธ์

1. ชื่อผลงาน “พบปะ” ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่ เทคนิค เย็บปักวัสดุ 2. ชื่อผลงาน “แบ่งปัน” ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่ เทคนิค เย็บปักวัสดุ 3. ชื่อผลงาน “ฝรั่ง” ขนาด แปรผันตามพ้ืนที่ เทคนิค เย็บปักวัสดุ 4. ชื่อผลงาน “สัตว์สวรรค”์ ขนาด 160 x 145 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ 5. ชื่อผลงาน “สระน้ า” ขนาด 170 x 150 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ 6. ชื่อผลงาน “อโนดาตพาเพลิน” ขนาด 185 x 145 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ

รายช่ือผลงานศิลปนิพนธ์

1. ชื่อผลงาน “ดินแดนอาชา” ขนาด 160 x 145 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ 2. ชื่อผลงาน “ดินแดนคชสาร” ขนาด 185 x 145 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ 3. ชื่อผลงาน “ดินแดนหงส์” ขนาด 195 x 170 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ 4. ชื่อผลงาน “ดินแดนมัจฉา” ขนาด 190 x 140 เซนติเมตร เทคนิค เย็บปักวัสดุ

46

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-นามสกุล อิสรีย์ รัตนสิริรัตน์ วันเดือนปีเกิด 22 ตุลาคม 2535 ที่อยู ่ 342/76 ถนนทหารบก ต าบลพระปฐมเจดีย์ อ าเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 โทรศัพท์ 085-4444964 ประวัติการศึกษา 2551 – 2553 - พระปฐมวิทยาลัย นครปฐม 2554 - สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาเอกศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติการแสดงงาน 2554 - นิทรรศการแสดงงานวิชาสร้างสรรค์, หอศิลป์ พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี คณะจิ ต รกรรมประติ ม ากรรมและภาพพิม พ์ มหาวิทยาลั ยศิ ลปากร - นิทรรศการเทน สเต็ป, หอศิลป์ พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี, คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ( 5 – 13 มิถุนายน ) 2555 - นิทรรศการภาพเขียนทิวทัศน์ ซี แอ แลนด์ , หอศิลป์ ร้อยสี แกลเลอรี , กรุงเทพฯ (มีนาคม) เกียรติประวัติ 2553 - ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 25 หัวข้อ “ความฝันอันสูงสุด” 2556 - รับมอบเกียรติบัตร เป็นผู้อุทิศตนท าคุณประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคม ณ มหาวิยาลัยศิลปากร 2555 - ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวด “จิตรกรรมบนตัวควาย” งานประเพณีวิ่งควายชลบุรีครั้งที่ 141 2557 - ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 29 หัวข้อ “ก้าวไปด้วยกัน...สู่วันพรุ่งนี้”

Recommended