9
ใบความรูหน่วยที1 เรื่องการใช้เครื่องมือกราฟิก วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 20205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท1 ความหมายของกราฟิก กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน (Graphein) ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคําว่า กราฟิกไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนีกราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้ องการ ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทํา Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการและการใช้ภาพกราฟิกในการนําเสนอข้อมูลต่าง เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น ประโยชน์ของ Photoshop 1. งานตกแต่งภาพถ่าย เป็นการตกแต่งภาพถ่ายเก่า ให้คมชัดเหมือนใหม่ หรือทําการแก้ไขรูปถ่ายที่มืดไป สว่างไป มีเงาดําให้ภาพมีสีสรรสดใสสมจริง นอกจากนั้นยังสร้างภาพล้อเลียน เช่น เอาใบหน้าของคนหนึ่งไปวางไว้บนตัวคนอีกคนหนึ่ง นําภาพบุคคลไปวางบนฉากหลังอื่น เป็นต้น 2. งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร โฆษณา เรียกได้ว่าเกือบทุกงานที่ต้องใช้รู สามารถใช้ Photoshop รังสรรค์ภาพให้เป็นไปตามไอเดียที่เราวางไว้ได้ 3. งานเว็บไซด์บนอินเตอร์เน็ต ใช้สร้างภาพเพื่อตกแต่งเว็บไซด์ไม่ว่าจะเป็นแบ็คกราวน์ ปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่อง ตลอดจนภาพประกอบต่าง นอกจากนั้นยังสมารถออกแบบหน้าเว็บไซด์ด้วย Photoshop ได้ 4. านออกแบบทางกราฟิก ใช้ Photoshop ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติ การออกแบบปกหนังสือและผลิตภัณฑ์ การออกแบบการ์ดอวยพร เป็นต้น 5. สร้างภาพวาด เหมือนจิตกรสร้างภาพจากผืนผ้าใบเปล่า จนเป็นงานศิลปะขึ้นมา ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม Adobe Photoshop CS4

ใบความรู้หน่วยที่ 1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ใบความรู้หน่วยที่ 1

ใบความรู้

หน่วยที่ 1 เรื่องการใช้เครื่องมือกราฟิก

วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก ง20205 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ความหมายของกราฟิก

กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายถึง การวาดเขียน (Graphikos) และการเขียน

(Graphein) ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคําว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี ้

กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ

แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารตอ้งการ

ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก

คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ

โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทํา Image Retouching

ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการและการใช้ภาพกราฟิกในการนําเสนอข้อมูลต่าง ๆ

เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ

เป็นต้น

ประโยชน์ของ Photoshop

1. งานตกแต่งภาพถ่าย เป็นการตกแต่งภาพถ่ายเก่า ๆ ให้คมชัดเหมือนใหม่

หรือทําการแก้ไขรูปถ่ายที่มืดไป สว่างไป มีเงาดําให้ภาพมีสีสรรสดใสสมจริง

นอกจากนั้นยังสร้างภาพล้อเลียน เช่น เอาใบหน้าของคนหนึ่งไปวางไว้บนตัวคนอีกคนหนึ่ง

นําภาพบุคคลไปวางบนฉากหลังอื่น เป็นต้น

2. งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร โฆษณา เรียกได้ว่าเกือบทุกงานที่ต้องใช้รปู

สามารถใช้ Photoshop รังสรรค์ภาพให้เป็นไปตามไอเดียที่เราวางไว้ได ้

3. งานเว็บไซด์บนอินเตอร์เน็ต ใช้สร้างภาพเพื่อตกแต่งเว็บไซด์ไม่ว่าจะเป็นแบ็คกราวน์ ปุ่มตอบโต้

แถบหัวเรื่อง ตลอดจนภาพประกอบต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสมารถออกแบบหน้าเว็บไซด์ด้วย Photoshop ได้

4. งานออกแบบทางกราฟิก ใช้ Photoshop ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติ

การออกแบบปกหนังสือและผลิตภัณฑ์ การออกแบบการ์ดอวยพร เป็นต้น

5. สร้างภาพวาด เหมือนจิตกรสร้างภาพจากผืนผ้าใบเปล่า ๆ จนเป็นงานศิลปะขึ้นมา

ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม Adobe Photoshop CS4

Page 2: ใบความรู้หน่วยที่ 1

หมายเลข 1 เมนูคําสั่ง(Menu Bar)

เป็นชุดคําสั่งสําหรับทํางานทุกรูปแบบในการจัดการกับไฟล์ เช่น เปิด/ปิดหรือบันทึกไฟล์

ไปจนถึงคําสั่งในการตกแต่งภาพ เมนูส่วนนี้ถือว่าเป็นเมนูตายตัวเกือบทุกๆ โปรแกรมก็ว่าได้ เพราะว่าทุกๆ

อย่างของการทํางานในโปรแกรม จะต้องมีเมนูนี้ เพื่อไว้เกบ็คําสั่งการทํางานต่างๆ ให้กับโปรแกรม

และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานอีกด้วย ในโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 นี้ได้มีเมนู

เพิ่มขึ้นมาใหม่หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเมนูเสริมขึ้นมาอีก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมนู

ขยายเข้า/ออก, ปรับหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอหรือ Full Screen หรือ

การจัดวางตําแหน่งของเอกสารหรือตําแหน่งงานที่เราจะทํานั้นเอง เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบของเมนู

ดังนี้

File - มีไว้สําหรับเปิด-ปิด และ บันทึก (Save) ไฟล์ รวมถึงการ Import, Export การสั่งการพิมพ์ เป็นต้น

Edit – เปน็คําสั่งสําหรับการปรับแต่ง แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ รวมถึงการปรับตั้งค่าต่างๆ (Preferences)

Image – คําสั่งนี้ใช้สําหรับปรับค่าต่างๆของภาพทั้งภาพ

Layer – เป็นคําสั่งในการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งแต่ละ เลเยอร์ รวมถึงการรวมเลเยอร์เข้าด้วยกัน

Select – เป็นคําสั่งหรือจดัการกับพื้นที่ที่ต้องการทํางาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ร่วมกับเครื่องมือใน Tool box

Filter – เป็นคําสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัต มีฟิลเตอร์หลากหลายชนิดให้เลือกใช ้

Page 3: ใบความรู้หน่วยที่ 1

Analysis – เป็นการกําหนดค่าของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดขนาด

3D – เป็นคําสั่งที่ใช้ในการสร้างภาพให้เป็นสามมิต ิ

View – เป็นคําสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนมุมมอง การย่อหรือขยายขนาดของพื้นที่งาน

รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและเส้น Grid ด้วย

Window – คําสั่งนี้มีใว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บนหน้าจอ และการสั่งการแสดงหรือซ่อน หน้าต่าง Palette

และกําหนดค่า Tool preset

Help – เป็นคําสั่งช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ

หมายเลข 2 ออปชันบาร์(Options Bar)

เป็น ส่วนที่ใช้กําหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทํางานอยู่เช่น

การกําหนดขนาดของหัวพู่กันในเครื่องมือสําหรับวาดภาพ ซึ่งตัวเลือกนี้จะแสดงได้ก็ตัวเมื่อ

ได้มีการเลือกใช้เครื่องมือใน Tool box(จะกล่าวในข้อต่อไป)

เพื่อเป็นการกําหนดตัวเลือกเพิ่มเติมให้แก่เครื่องมือนัน้ๆ

หมายเลข 3 กล่องเครื่องมือ(Toolbox)

คือ กล่องที่โปรแกรมใช้เก็บเครื่องมือสําหรับตกแต่งภาพเอาไว้

โดยเครื่องมือในกล่องนี้จะถูกแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการทํางาน เช่น ดินสอ พู่กัน หรืองยางลบ

เป็นต้น ซึ่งกล่องเครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่จําเป็น ขาดไม่ได้ และถกูใช้งานบ่อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว

กล่องเครื่องมือนี้จะมีส่วนคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านี้พอสมควร และในกรณีที่เกิดการบดบังพื้นที่งาน

ลูกศรคู่ด้านซ้ายมือของแถบสีดํานี้มไีว้เพื่อเปลี่ยนการแสดงปุ่มเครื่องมือ จากแถวคู่ให้เป็นแถวเรียงเดี่ยว

เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าต่างให้กว้างขึ้น การเลือกใช้เครื่องมอืชนิดต่างๆก็ทําด้วยการคลิกที่ปุ่มนั้นๆ

ส่วนลูกศรสีดําเล็กๆตรงมุมขวาด้านล่างของปุ่มเครื่องมือจะมีเครื่องมือต่าง ชนิดซ่อนอยู่

การเรียกใช้ก็คลิกเมาส์ที่ลูกศรค้างไว้แล้วเลื่อนเม้าไปเลือกเครื่องมือที่ ต้องการแล้วปล่อยเมาส์

เครื่องมือบางชนิดต้องใช้ควบคู่ไปกับคีบอร์ดด้วยถึงจะใช้งานได้ เช่น Clone stamp tool ต้องใช้คู่กับ Alt

หมายเลข 4 พื้นที่การทํางานและกระดาษวาดภาพ(Canvas)

ใน ตอนเริ่มต้นจะเป็นพื้นที่ว่างๆ ต้องใช้คําสั่งเปิดภาพขึ้นมาก่อน หลังจากเปิดภาพขึ้นมาแล้ว

บริเวรนี้จะกลายเป็นพื้นที่สําหรับตกแต่งภาพภาพที่เลือกเปิดจะมาปรากฏ

บนกระดานวาดภาพและสามารถย้ายตําแหน่งไปมาหรือขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ ทํางานได ้

หมายเลข 5 ชุดพาเลท(Palettes)

คือ กลุ่มของหน้าต่างที่ช่วยควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในขั้นตอนการทํางาน เช่น พาเลท History

ที่ช่วยบันทึกขั้นตอนการตกแต่งภาพเอาไว้สําหรับกลับมาแก้ไข หรือพาเลท Navigator

สําหรับควบคุมการซูมภาพ ตรงส่วนนี้เราสามารถที่จะเพิ่ม/ลบ พาเลทได้ที่ เมนูบาร์ ในชื่อ Windows

แล้วให้ติ๊กเลือกตามความต้องการว่า จะให้แสดงพาเลทใดบ้าง เช่น พาเลทของฟอนต์หรือแบบอักษร

พาเลทภาพสามมิต พาเลทแอคชันและอื่นๆ เป็นต้น การเปิด Palette ใหม่ก็ด้วยการคลิกคําสั่ง Window ที่

Menu bar แล้วเลือกเปิด Pallet ที่ต้องการ Palette ใหม่จะไม่รวมกลุ่มกับของที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

Page 4: ใบความรู้หน่วยที่ 1

ถ้าอยากจัดเก็บให้เข้ากลุ่มก็ทําได้ด้วยการ คลิกที่ Tab ของหัวข้อ

แล้วลากไปวางใว้ในกลุ่มที่มีอยู่ก่อนแล้วจึงค่อบปล่อนเมาส์ การปิด Palette ใด Palette หนึ่ง ก็ให้คลิกที่ Tab

ของหัวข้อ แล้วลาก Palette นั้นออกมา แล้วคลิกที่ กากบาท x ที่อยู่มมุบนขวาเพื่อทําการปิด

ลูกศรคู่สีเทาบนแถบสีดําบนสุดของ Palette มีใว้เพื่อย่อให้ Palette มีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทํางาน

ส่วนลูกศรสีดําหันหัวลงด้านล่างและมีขีดสี่เส้นอยู่ด้านขวามีไว้เพื่อเปิด เลือกคําสั่งการใช้งานต่างๆ ที่เป็น

คําสั่งในส่วนของ Layer

แถบสถานะ

แสดงคุณสมบัติของถาพ ขนาดภาพ เปอร์เซ็นตก์ ารแสดงภาพของชิ้นงาน

และอธิบายการทํางานของเครื่องมือที่เลือก

Toolbox(ทูลบ๊อกส์)

ทูลบ๊อกส์หรือกล่องเครื่องมือ ประอบด้วยเครื่องมือต่างๆที่จําเป็นต่อการใช้งานและมีจํานวนมาก

จึงมีการรวบรวมเครื่องมือไว้ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ซึ่งจะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่มุมขวาล่างบนรูปเครื่องมือเพื่อบอกให้รู้ว่าใน

เครื่องมือนั้นมีเครื่องมืออื่นซ่อนอยู่อีก เราจะใช้งานเครื่องมือนั้นได ้

โดยการคลิเมาท์ค้างที่ปุ่มเครื่องมือเครื่องมือที่ซ่อนไวจ้ะแสดงออกมา

Page 5: ใบความรู้หน่วยที่ 1

กลุ่มเครื่องมือย่อย

Page 6: ใบความรู้หน่วยที่ 1
Page 7: ใบความรู้หน่วยที่ 1

Panel (พาเนล)

Page 8: ใบความรู้หน่วยที่ 1

พาเนล คือ กรอบหน้าต่างย่อยๆที่มีคําสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบและปรับแต่งภาพ

เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนล Color ใช้กําหนดสี , พาเนล Layers

ใช้สําหรับจัดการเลเยอร์ เป็นต้น บางพาเนลที่มักใช้ร่วมกันจะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น พาเนล Color

พาเนล Swatches และ StyLes

การเปิดใช้งาน Panel ให้คลิกที่คําสั่ง Windos>ชื่อพาเนล

การยุบ/ขยายพาเนล

เพื่อเพิ่มพื้นที่การทํางานเราสามารถยุบพาเนลที่ยึดกับแผงพาเนลและคอลัมน ์ให้แสดงในรูปไอคอนได ้

ซึ่งเมื่อต้องการใช้งานพาเนลใดก็ให้เปิดขึ้นมาเฉพาะพาเนลนั้น

Page 9: ใบความรู้หน่วยที่ 1

1.ยุบ/ขยายแผงพาเนลให้เป็นไอคอน ทําได้โดยให้คลิกที่แถบสีเทาเข้มด้านบนแผงพาเนล

จากนั้นทุกพาเนลจะถูกยุบเป็นไอคอน

2.ปรับความกว้างของพาเนล