12
รางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรม Internet GIS http://www.map.nu.ac.th/mm.html

มน สัมพันธ์ 134

Embed Size (px)

DESCRIPTION

มน สัมพันธ์ ฉบับที่ 134 มกราคม 2556

Citation preview

Page 1: มน สัมพันธ์ 134

รางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรม Internet GIS

http://www.map.nu.ac.th/mm.html

Page 2: มน สัมพันธ์ 134

สารบัญ

  เรื่องเด่นเอ็นยู            1  รางวัลเหรียญทองและทูตทางวัฒนธรรม ในงานศิลปกรรมนานาชาติ   ดี - เด่น - ดัง            2  มหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมเป็นผู้นำาจัดประชุมนานาชาติ

  เรื่องจากปก            4 MaeMoh Mine Map Web App

  มหาวิทยาลัยชาวบ้าน            6 ม.นเรศวร รักษาฟันฟรี

  ศิลปะวัฒนธรรม          7  นเรศวรสังคีต ครั้งที่ 22 "อิเหนา ตอนไหว้พระ"

  วัยโจ๋ โชว์เจ๋ง            8   รางวัลชนะเลิศ ภาพถ่ายภายใต้โครงการจิตสำานักรักเมืองไทย ปีที่ 4  โครงการ "โยธาและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนครั้งที่ 9"

บทบรรณาธิการ จากการแข่งขันกับทีมอื่น ๆ ทั้งสิ้น 8 ทีม  โดยมีทีมจากประเทศไต้หวัน และญี่ปุ่น ร่วมด้วย เสียงเชียร์ได้ถูกตะโกนอย่างกึกก้อง เมื่อพิธีกรประกาศผลรางวัลว่าผู้ชนะการประกวด Web Contest หรือ WEBCON คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากจังหวัดพิษณุโลก ไม่เพียงจะเป็นความภูมิใจของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่รางวัลนี้เป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา การันตีว่า ความสามารถของนิสิตไทย ไม่แพ้ใครในโลก ม.นเรศวรสัมพันธ์ ฉบับนี้จึงขอแสดงความยินดีแก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรทั้งสามท่าน ติตตามรายละเอียดได้ภายในเล่มนะครับ   ส่งท้ายผมขอนำาคำาพูดดี ๆ มาฝาก จำาไม่ได้ว่าอ่านมาจากไหน ต้องขออภัย และขออนุญาตท่านเจ้าของมาด้วย ผมประทับใจคำาพูดนี้ "โอกาสเปรียบเหมือนอากาศ" ซึ่งทั้งคู่มีอยู่รอบตัว แต่แตกต่างกันที่ว่าจะมีใครนำามาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่เท่านั้นเอง เพราะบุคคลที่ประสบความสำาเร็จในชีวิตทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้รู้จังหวะเวลา โอกาสเป็นของคนที่มองเห็นนะครับ

ด้วยความเคารพวิฑูรย์ ธนูทอง

มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 134 ประจำาเดือนธันวาคม 2555 - มกราคม 2556

มหาวิทยาลัยนเรศวร    http://www.nu.ac.th

ที่ปรึกษา      ดร.สุชาติ เมืองแก้ว 

      ดร.สันต์ จันทร์สมศักดิ์

      ศิริมาศ เสนารักษ์

บรรณาธิการบริหาร    พรรณงาม ลักษณ์สุชน

บรรณาธิการ    วิฑูรย์ ธนูทอง

กองบรรณาธิการข่าว    พงศ์ภัทร์ ฟักฟูม 

      เกียรตินารี ธชีพันธุ์ 

      สุธินี พูลเขตนคร

กองบรรณาธิการศิลป์    ยศวดี ภูมิผล 

      ศุภเลขา พันธ์ปัญญา  

      นเรศ เอี่ยมอินทร์

จัดทำาโดย      งานประชาสัมพันธ์  กองกลาง  

      สำานักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยนเรศวร

พิมพ์ที่      ดาวเงินการพิมพ์ 

      โทรศัพท์ 0 5521 9787, 0 5521 9646 

      โทรสาร 0 5521 9647

Page 3: มน สัมพันธ์ 134

Naresuan University  1

เรื่องเด่นเอ็นยู

  รศ.ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ นำาเสนอผลงานจิตรกรรม ชื่อผลงาน สายลมและแสงแดดในบรรยากาศร้อนของประเทศไทย ขนาด 1.10 x 1.20 เมตร เข้าตากรรมการได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 50 ศิลปินที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ซึ่งภายในงานมีศิลปินกว่า 30 ประเทศทั่วโลกประมาณ 400 คน เข้าร่วมปฏิบัติการทางศิลปะในหัวข้อ "Living Places" Ecorea Jeonbuk Biennale ครั้งที่ 1 ณ สาธารณรัฐเกาหลี                 คณะกรรมการให้เหตุผลว่า ผลงานสายลมและแสงแดดเป็นการเชื่อมระหว่างตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างสวยงาม กลมกลืน นั่นคือ การใช้รูปทรงนามธรรม ซึ่งได้รับการยอมรับในสากล ในขณะที่มีการใช้สีแบบตะวันออกคือ สีจัด ชัดเจน และเด็ดขาด ต่างกับทางตะวันตกที่ต้องมีการผสมสี นอกจากนี้ รศ.ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นทูตทางวัฒนธรรมอีกด้วย 

รางวัลเหรียญทองและทูตทางวัฒนธรรม ในงานศิลปกรรมนานาชาติของ รศ.ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ประสบการณ์ลำ้าค่าสู่การพัฒนาวงการศิลปะไทย

เรียบเรียง / ภาพประกอบ จาก:สถานอารยธรรมศึกษาโขง - สาละวิน

Page 4: มน สัมพันธ์ 134

  ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรเปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีนโยบายที่จะยกระดับมหาวิทยาลัยให้เข้าสู่สากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะให้อุดมศึกษาและการทำาให้หน่วยงานของรัฐเห็นบทบาทความเป็นผู้นำาของมหาวิทยาลัย ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยจึงต้องจัดการประชุมระดับนานาชาติขึ้นเพื่อแสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำาด้านต่าง ๆ  ประเด็นของความพร้อมอยู่ที่ความสามารถของการบริหารจัดการอย่างที่เคยจัดมาแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องนโยบายใหญ่ระดับประเทศ การจัดการบางเรื่องต้องอาศัยเอกชนมาร่วมดำาเนินโครงการก็จะทำาให้ภาพต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นไปได้ด้วยดี ยกตัวอย่างระดับประเทศ เครื่องจักรกลทางการเกษตรเน้นไปที่เรื่องข้าว ในการทำาประชาสัมพันธ์จะต้องทำากว้างขวางมีการทำาไปที่ต่างประเทศด้วย มีการติดต่อประสานงานไปที่หน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมของต่างประเทศจะต้องอาศัยบริษัทที่มีความสามารถในการดำาเนินการเรื่องการจัดประชุมมาบริหารจัดการให้ก็เป็นส่วน ๆ ไป ความเด่นในการจัดงานก็จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ตอนนี้เราทำาได้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความคิดของการจัดการ ว่าจะจัดการอย่างไรให้เหมาะสมไปตามระดับของการประชุมนานาชาติ  นโยบายสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องทำาเพื่อส่วนรวมในระดับต่าง ๆ ก็ต้องทำา ส่วนที่ว่าจะสำาเร็จได้ดีขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ เท่าที่ผ่านมา 3 ครั้งก็มีครั้งเดียวที่ต้องใช้บริษัทเอกชนมาช่วยทำาในการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหลากหลายของสื่อทางทีวีในต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ในต่างประเทศ เป็นต้น เราก็ทำาเองได้แต่อาจจะต้องเสียเวลาที่จะต้องหาข้อมูลต่าง ๆ แต่ภาคเอกชนมีความพร้อมอยู่แล้วก็จะให้ช่วยจัดการแทนเราก็จะทำาให้เนื้องานออกมาตามวัตถุประสงค์ ผลงานออกมาเป็นที่ประทับใจอย่างที่ได้จัดมาแล้ว 3 ครั้ง ถามว่าแต่ละปีมีเป้าหมายอย่างไร ก็คิดว่าต่อไปในวันข้างหน้ายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องประชุมนานาชาติขึ้น ถามว่า... จัดประชุมนานาชาติแล้วได้ประโยชน์อะไร ได้รู้สถานภาพภายในประเทศและต่างประเทศว่ามีการพัฒนาไปทิศทางใด ได้เรียนรู้การพัฒนาของต่างประเทศเพื่อนำาไปพัฒนาต่อไป ได้รู้จักกับตัวบุคคลและบริษัทที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ติดต่อประสานงานความร่วมมือต่อไป ในภายภาคหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้จะได้มีความเท่าทันกัน อย่างน้อยที่สุดมหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยหนึ่งที่จะดำาเนินงานแทนกระทรวง ทบวง กรม และถ้าในวันข้างหน้ากระทรวง ทบวง กรม เห็นความสำาคัญจะทำาต่อ มหาวิทยาลัยก็จะเป็นเครือข่ายที่จะดำาเนินการต่อไปให้ต่อเนื่อง  แนวโน้มของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุมนานาชาติเน้น 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ "เรื่องการเกษตร" ดูตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นนำ้า กลางนำ้า ปลายนำ้า คือดูตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และเรื่องตลาดด้วย "เรื่องของสุขภาพ" ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ก็จะจัดประชุมนานาชาติแต่ไม่ซ้อนกับทางมหาวิทยาลัยในกรุงเทพจะเน้นเรื่องแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย แพทย์จีน แพทย์อินเดีย เสริมเข้าไปแต่ในส่วนของวิทยาการซึ่งจะลงลึกมาก ๆ ในระดับหนึ่ง เรื่องสาธารณสุข เรื่องการจัดการความรู้ทางด้านสุขภาพทางด้านโภชนาการในระดับชุมชนที่จะทำาให้สุขอนามัยของประชาชนดีขึ้นก็จะต้องดำาเนินการ อธิการบดีกล่าวทิ้งท้าย

พรอ้มเปน็ผูน้ำาจดัประชมุนานาชาติยกระดับและสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศ

ดี - เด่น - ดัง

2  ม.นเรศวรสัมพันธ์

Page 5: มน สัมพันธ์ 134

Naresuan University  3

ดี - เด่น - ดัง

Page 6: มน สัมพันธ์ 134

4  ม.นเรศวรสัมพันธ์

นิสิต ม.นเรศวร สร้างชื่อเสียงระดับอาเซียนคว้ารางวัลชนะเลิศ (Gold Award) จากการประกวดนวัตกรรม Internet GIS

  "MaeMoh Mine Map Web App 

มีชั้นข้อมูลแผนที่ี่รองรับการทำางานแต่ละแผนก 

มีการเก็บรักษาข้อมูลของหน่วยงานที่เป็นระบบ 

ช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลสูญหาย เพราะมีการ

จัดเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง มีระบบการให้สิทธิ

เข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึง แบ่งปัน และแลก

เปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวกผ่านระบบเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต สามารถจัดการ แก้ไขข้อมูล และ

แสดงผลข้อมูลทันทีเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง"

ภาพประกอบจาก: อินเทอร์เน็ต

Page 7: มน สัมพันธ์ 134

http://www.map.nu.ac.th/mm.html

เรื่องจากปก

  สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่างมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโน-โลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนการฝึกประสบการณ์นอกห้องเรียนของนิสิต โดยให้นิสิตเข้าร่วมการประกวด Web Contest หรือ WEBCON ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ  Asian Conference on Remote Sensing  ครั้งที่ 33 ประจำาปี 2555 หรือ The 33rd ACRS 2012 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ได้นำาเสนอทักษะ และผลงานนวัตกรรมการเขียนโปรแกรมด้าน GIS Internet Web Applications ปรากฏทีมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้ผลงานชื่อ "MaeMoh Mine Map Web App" สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ (Gold Award) จากการแข่งขัน 8 ทีม โดยมีทีมจากประเทศไต้หวัน และญี่ปุ่น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (Silver Award) และ 2 (Bronze Award) ตามลำาดับ โดยมีสมาชิกในทีม ประกอบด้วย นายศักดิ์ดา หอมหวล นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายวีรยุทธ ชลารักษ์ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และนายกิตติศักดิ์ เพชรรุ่งนภา นิสิตปริญญาตรีภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีที่ปรึกษา คือ รศ.ดร.ชฎา ณรงค์ฤทธิ์ ผศ.ดร.จรัสศรี รุ่งรัตนาอุบล และ Dr. Antony Harfiled 

   ทีมผู้คิดค้นผลงาน เปิดเผยถึง แนวความคิดในการเขียนโปรแกรม MaeMoh Mine Map Web App ว่า "ปัญหาเกิดจากการทำางานที่มีหลายหน่วยงานของเหมืองแม่เมาะทำาให้เกิดความซำ้าซ้อนของข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการเหมือง ทีมเราจึงได้นำาเอาแนวคิดทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศไปใช้ร่วมกับการบริหารจัดการข้อมูล โดยให้มีการทำางานอยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในเหมือง ซึ่ง MaeMoh Mine Map Web App นำาฐานข้อมูลทางด้าน MIS ในรูปแบบของตารางข้อมูล รูปภาพ และกราฟ มาเชื่อมโยงกับแผนที่จึงทำาให้การนำาเสนอข้อมูลเข้าใจง่าย สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ หน่วยงานที่สนใจ ซึ่ง               MaeMoh Mine Map Web App มีข้อดี คือ มีชั้นข้อมูลแผนที่ต่าง ๆ ที่รองรับการทำางานแต่ละแผนก มีการเก็บรักษาข้อมูลของหน่วยงานที่เป็นระบบ จึงไม่ต้องกังวลและเสียเวลาในการรื้อค้นข้อมูลแผนที่เมื่อต้องการใช้งาน ช่วยลดความเสี่ยงของหน่วยงานที่เกิดจากข้อมูลสูญหายเพราะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง มีระบบการให้สิทธิเข้าถึงข้อมูล ช่วยให้สามารถเข้าถึง แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวกและง่ายดายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถจัดการ แก้ไขข้อมูล และแสดงผลข้อมูลทันทีเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง และ MaeMoh Mine Map Web App พัฒนาระบบมาจาก Open source GIS จึงลดค่าใช้จ่ายทางด้าน software" คณะทีมผู้คิดค้นผลงาน กล่าวทิ้งท้าย

ภาพประกอบจาก:สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง

Naresuan University  5

Page 8: มน สัมพันธ์ 134

มหาวิทยาลัยชาวบ้าน

โรงพยาบาลทันตกรรม ม.นเรศวร "รักษาฟันฟรี"  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณา-ธิคุณต่อมวลทันตแพทย์และวิชาชีพทันตแพทย์ อันจะหาที่เปรียบใด ๆ มิได้พระองค์ทรงมีพระราชปรารภว่า "เวลาพระองค์ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับฟันก็มีทันตแพทย์ดูแลรักษา แล้วราษฎรที่อยู่ห่างไกลจะมีทันตแพทย์ช่วยรักษาหรือเปล่า" พระองค์ทรงรับสั่งว่า "ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำาบัดทุกข์ ให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่ห่างไกล" ด้วยพระราชดำาริดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง "หน่วยทันตกรรมพระราชทาน" เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้จัดสร้างรถยนต์ทำาฟันเคลื่อนที่คันแรกเพื่อให้เป็น "หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ส่วนพระองค์" ปัจจุบันการบริหารงานของหน่วยทันตกรรมพระราชทานประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารและอาสาสมัคร โดยอาศัยแนวพระราชดำาริเป็นต้นแบบในการดำาเนินงาน  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดโครงการวันทันตสาธารณสุข ประจำาปี 2555 ให้บริการด้านทันตกรรม อาทิ ตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เป็นต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ณ โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพประกอบจาก:คณะทันตแพทยศาสตร์

6  ม.นเรศวรสัมพันธ์

Page 9: มน สัมพันธ์ 134

ศิลปะวัฒนธรรม

นเรศวรสังคีต ครั้งที่ 22ละครในเรื่อง "อิเหนา ตอนไหว้พระ"

  เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดงานนเรศวรสังคีต ครั้งที่ 22 โดยจัดการแสดงละครใน เรื่องอิเหนา ตอนไหว้พระ ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตในสาขานาฏศิลป์และดนตรีไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แสดงออกถึงความสามารถ ทั้งนี้รายได้ทั้งหมดจากการจำาหน่ายบัตรเป็นเงิน 280,327 บาท โดยรายได้ส่วนที่ 1 สมทบทุนจัดซื้อที่ดินการจัดสร้างอุทยานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำานวน 140,163.50 บาท และส่วนที่ 2 เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและสมทบทุนสร้างวัดหลวงอาร์เจนตินา สาธารณรัฐอาร์เจนตินาเป็นจำานวนเงิน 140,163.50 บาท ณ โรงละคร เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Naresuan University  7

Page 10: มน สัมพันธ์ 134

8  ม.นเรศวรสัมพันธ์

วัยโจ๋ โชว์เจ๋ง

รางวัลชนะเลิศทีมลูกพระนเรศวร จากมหาวิทยาลัยนเรศวรชื่อผลงาน "สามัคคี"แนวความคิด: ในภาพเป็นเด็กช่วยกันดึงเชือกชักคะเย่อในการแข่งขันกีฬาสี แสดงให้เห็นถึงการร่วมพลังสามัคคีของเยาวชนที่พร้อมจะช่วยกันเมื่อยามที่กำาลังจะพ่ายแพ้ และควรปลูกฝังให้เด็กรู้จักมีนำ้าใจนักกีฬาในการแข่งขันกีฬา

  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555  ณ ห้องประชุมศาลาว่าการกลาโหม กรุงเทพมหานครฯ นิสิตคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้ารับโลร่างวัลชนะเลิศ ประเภทภาพถ่าย ภายใต้โครงการจิตสำานึกรักเมืองไทย ปีที่ 4 จาก พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมรับทุนการศึกษา 30,000 บาท ภายใต้ชื่อผลงาน "สามัคคี" โดยใช้ชื่อทีมในการแข่งขันว่า "ลูกพระนเรศ" โดยมีสมาชิก 6 คน ประกอบด้วย นางสาวศุภาณีฆ์ เจตน์เกษตกรณ์ นายกฤชติณท์ แม้นทอง  นางสาวกาญจนา ตุ้ยโชติ  นางสาวจิตต์เกษม ธนะสังข์  นายไพศาล สอนวงค์จิตร  และนางสาวอทิตา ทองคระยับ นิสิตคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ภาควิชานิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้บันทึกภาพ ทั้งนี้ผลงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา สื่อสารกับการเมือง โดย ผศ.ดร.พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์ อาจารย์ประจำาภาควิชาสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพประกอบจาก:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Page 11: มน สัมพันธ์ 134

วัยโจ๋ โชว์เจ๋ง

โครงการ "โยธาและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนครั้งที่ 9"  นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำาเนินการจัดโครงการ "โยธาและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนครั้งที่ 9" ในระหว่างวันที่ 10 - 24 ตุลาคม 2555 ณ โรงเรียนบ้านแม่คุ ตำาบลบ้านตึก อำาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้นำาความรู้ในทางวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างจริงก่อนที่จะสำาเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพในอนาคต และนำาความรู้ที่มีของนิสิตมาใช้ทำาประโยชน์ต่อชุมชน ทำาให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตกับสังคม อีกทั้ง ยังเป็นการฝึกฝนการทำางานเป็นหมู่คณะซึ่งเป็นสิ่งสำาคัญในงานทางด้านวิศวกรรม และเสริมสร้างความสามัคคีให้กับนิสิตภาควิชาฯ

เรียบเรียง / ภาพประกอบ จาก:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Naresuan University  9

Page 12: มน สัมพันธ์ 134

ณ ที่นี้ แหล่งหล้า นเรศวร