12
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557

มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

Embed Size (px)

DESCRIPTION

มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

Citation preview

Page 1: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษา�ประจำ�ปีการศึกษา�2557

Page 2: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152 ประจำ�เดือน ธันว�คม 2558 - มกร�คม 2559

มหาวิทยาลัยนเรศวร www.nu.ac.th

ที่ปรึกษา ดร. สุชาติ เมืองแก้ว

ศิริมาศ เสนารักษ์

บรรณาธิการบริหาร พรรณงาม ลักษณ์สุชน

บรรณาธิการ สุธินี พูลเขตนคร

กองบรรณาธิการข่าว เกียรตินารี ธชีพันธุ์

สุธินี พูลเขตนคร

ธิติ สิงห์คง

กองบรรณาธิการศิลป์ ยศวดี สายสืบ

ศุภเลขา พันธ์ปัญญา

นเรศ เอี่ยมอินทร์

จัดทำาโดย งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง

สำานักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยนเรศวร

สารบัญ

เรื่องจ�กปก 1

นเรศวรวิจัย 2

มน. สู่ชุมชน 3

นเรศวรวิช�ก�ร 4

DNA นเรศวร 5

สืบศิลป์-ส�นศิลป์ 6

มน. มอนิเตอร์ 7@ มน. 8

ม.นเรศวร จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จการศึกษาประจำาปีการศึกษา 2557

ด้วยหัวใจ...ในการสืบสานภูมิปัญญาผ้าทอ

เจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 38

หมู่บ้านนาต้นจั่น ต้นแบบหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวความสำาเร็จของงานวิจัยบนรากฐานของชุมชน

ม.นเรศวร เพาะเลี้ยงสตอเบอรี่ พันธุ์พระราชทาน 80 ไร้ไวรัสแห่งแรกของไทย

คว้า 3 รางวัล เวที SYS Student Design Contest 2015

- อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร รับมอบปริญญาวิทยาศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์- พัฒนาทักษะผู้นำาในศตวรรษที่ 21- แข่งขันตอบปัญหาเชิงวิชาการ- ม.นเรศวร เจ้าภาพเปิดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 38- ม.นเรศวร จับมือ กยศ. เปิดกิจกรรม “กยศ. รวมใจปันโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ ปี 3”

บทบรรณาธิการ

วารสาร ม.นเรศวรสัมพันธ์ ฉบับนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแสดงความยินดีกับรางวัลแห่งความพยายาม ความอดทน ความขยันหมั่น

เพียร และผลตอบแทนที่ได้รับก็คือ ความสำาเร็จ วันที่บัณฑิตทุกท่านรอคอย “พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำาปีการศึกษา 2557”

ฉบับนี้ กองบรรณาธิการจะพาไปเยี่ยมชมหมู่บ้านนาต้นจั่น อำาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ต้นแบบหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบท เพื่อ

การท่องเที่ยวความสำาเร็จของงานวิจัยบนรากฐานของชุมชน โดยการพัฒนาของสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

อีกคอลัมน์ที่น่าสนใจ “นเรศวรวิจัย” นำาเสนอถึงผลงานวิจัยการเพาะเลี้ยงสตอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ไร้ไวรัสแห่งแรกของไทย ซึ่ง

ขยายผลผลิต ลดต้นทุน ปลูกในพื้นที่ราบเป็นผลสำาเร็จแห่งแรกของประเทศไทย เตรียมต่อยอดขยายผลผลิตคุณภาพ

ทิ้งท้ายฉบับนี้ ด้วยรางวัลผลงานนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก เวที SYS Student Design Contest 2015 คว้า 3 รางวัล ในการ

ประกวดการนำาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนไปออกแบบด้านสถาปัตยกรรม ติดตามแนวคิดในการออกแบบได้ในคอลัมน์ “DNA นเรศวร”

สุธินี พูลเขตนคร: บรรณาธิการ

Page 3: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

เรื่องจากปก�|�1

ม.นเรศวร�จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษา�ประจำ�ปีการศึกษา�2557

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม-

บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินแทนพระองค์ ในการพระราชทาน

ปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จการศึกษาระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎี-

บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำาปีการศึกษา 2557 สำาหรับใน

ปีนี้มีผู้สำาเร็จการศึกษาจำานวน 5,286 คน แบ่งเป็นผู้สำาเร็จการศึกษา

ระดับปริญญาตรี 4,358 คน ระดับปริญญาโท 616 คน และปริญญา

เอก 113 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด

พิษณุโลก

Page 4: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

2�|�นเรศวรวิจัย

ม.นเรศวรเพาะเล ี ้ยงสตอเบอร ี ่พันธุ ์พระราชทาน�80�ไร้ไวรัสแห่งแรกของไทย

ทีมวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม ศึกษาวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสตรอเบอรี่ พันธุ์พระราชทาน

80 แบบไร้ไวรัส ขยายผลผลิต ลดต้นทุน ปลูกในพื้นที่ราบเป็นผลสำาเร็จ

แห่งแรกของประเทศไทย เตรียมต่อยอดขยายผลผลิตคุณภาพ

ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผอ. สถานวิจัยเพื่อความเป็น

เลิศทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า

หลังทำาการวิจัยสตอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ในการเพาะเลี้ยง

เนื้อเยื่อนานกว่า 2 ปี เพื่อทำาการคัดเลือกต้นพันธุ์สตอเบอรี่พันธุ์

พระราชทาน 80 ให้มีมาตรฐานและปราศจากไวรัสสามารถนำามาปลูก

ในพื้นที่ราบเพื่อขยายผลผลิตที่มีคุณภาพ ของเกษตรกรได้ สำาเร็จเป็น

แห่งแรกของไทย โดยคณะวิจัยได้นำาต้นพันธุ์ที่มีลักษณะลำาต้นสมบูรณ์

แข็งแรง ให้ผลผลิตปริมาณมาก และปราศจากการทำาลายของโรคและ

แมลง โดยทำาการตัดบริเวณปลายยอดของไหลขนาด 2-3 เซนติเมตร

พร้อมกับตัดแต่งใบขนาดเล็กบริเวณปลายยอดออก แล้วนำามาล้าง

นำาแบบไหลเวียน 45 นาที จากนั้นนำาปลายยอดไปจุ่มลงในสารละลาย

ฆ่าเชื้อโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ที่ความเข้มข้น 2% เป็นเวลา 10 นาที

แล้วนำาไปล้างด้วยนำากลั่นทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที ซึ่งทำาภายใน

ตู้ปลอดเชื้อ จากนั้นทำาการตัดแต่งปลายยอดอีกครั้งพร้อมกับตัดส่วน

เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ จาก

นั้นนำาชิ้นส่วนปลายยอดขนาด 0.2 เซนติเมตร ที่ได้จากการตัดภาย

ใต้กล้องจุลทรรศน์ วางลงบนสูตรอาหารควบคุมการเจริญเติบโต ซึ่ง

ประกอบด้วย ไซโตไคนิน ออกซิน นำาตาล และผงวุ้นจากนั้นทำาการ

ปรับสูตรอาหาร แล้วนำาไปผ่านการฆ่าเชื้อ จากนั้นนำาพืชไปเพาะเลี้ยง

ที่อุณหภูมิ 25 - 27 องศาเซลเซียส จากนั้นนำาต้นพันธุ์ที่ได้มาทำาการ

ปรับสภาพภายในโรงเรือน ทั้งนี้จากการทดลองพบว่า สตอเบอรี่ มี

อัตรารอดสูงที่สุดและสามารถ เจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ และให้ผลผลิต

ที่สูงต่อไป ถือว่าเป็นพืชผลไม้ที่กำาลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มักมี

ประชาชนโดยเฉพาะบนพื้นที่สูงนำาไปปลูกส่งขายสร้างรายได้ถึง

กิโลกรัมละ 400 -500 บาท โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวกำาลังออก

ผลผลิตกันหลายพื้นที่ ซึ่งหลังจากการวิจัยครั้งนี้ ต้นสตอเบอรี่ที่ผ่าน

การวิจัย ถือว่าเป็นต้นที่ทนต่อโรค ให้ผลผลิตที่ดี สามารถนำามาปลูก

พื้นที่ราบได้ นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถนำาไปปลูกในแปลง

ไฮโดรโปนิกส์ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการพัฒนาสายพันธุ์สตอเบอรี่พันธุ์

พระราชทาน 80 ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบไร้ไวรัสเป็นผลสำาเร็จ

เรียกว่าที่เดียวของประเทศไทย

ภาพ : ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลข่าว : สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

Page 5: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

มน.�สู่ชุมชน�|�3

หมู่บ้านนาต้นจั่น�ต้นแบบหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวความสำ�เร็จของงานวิจัยบนรากฐานของชุมชน

ข้าวเปิ๊บ ผ้าหมักโคลน หัตถกรรมจากรากไม้ ตุ๊กตาบาร์โหน

ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้าน โฮมสเตย์...ฯลฯ เหล่านี้คือภูมิปัญญา

ศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชนหมู่บ้านนาต้นจั่น อำาเภอศรีสัชนาลัย

จังหวัดสุโขทัย ที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟืนฟู ส่งเสริม พัฒนา ตามโครงการ

อนุรักษ์ สืบสานและพัฒนางานทำานุบำารุงศิลปวัฒนธรรม ของสถาน

อารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร นำาโดยผู้ช่วย

ศาสตราจารย์ ดร. วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำานวยการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.

2547 เป็นต้นมา ภายใต้การสนับสนุนของสำานักงานสนับสนุนการ

วิจัย โดยนำาทุนทางวัฒนธรรมผสมผสานองค์ความรู้จากรากฐานของ

ชุมชน และการบริหารจัดการแบบชุมชนมีส่วนร่วม กลายเป็นหมู่บ้าน

อุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วศิน ปัญญาวุธตระกูล เล่าถึง

กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านนาต้นจั่นว่า “เมื่อค้นพบว่า หมู่บ้านนาต้น

จั่นมีทุนทางวัฒนธรรมที่คลอบคลุมมิติปัจจัย 4 อยู่แล้ว จึงเริ่ม

กระบวนการพัฒนาโดยปลุกให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในตัวเองก่อน เห็น

ของดีของตัวเองก่อน คอยให้คำาปรึกษา แนะนำา แล้วนำาไปสู่การต่อยอด

สร้างเครือข่ายพันธมิตร หาผู้สนับสนุน ทั้งในด้านวิชาการ เงินทุนจาก

ภาครัฐและเอกชน”

วันนี้หมู่บ้านนาต้นจั่น เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง เป็นจุดสนใจของ

นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนเข้ามาอย่างไม่ขาด

สาย เป็น 1 ใน 2 ของหมู่บ้านโฮมสเตย์ในประเทศไทย ที่ได้รับรางวัล

PATA Gold Awards ผลงานด้านมรดกและวัฒนธรรม จากสมาคมส่ง

เสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Pacific Asia Travel Asso-

ciation -PATA) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕

“อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชาวบ้านต้องตระหนักก็คือ social

protect สังคมจะปกป้องตัวเองอย่างไร ท่ามกลางกระแสของนักท่อง-

เที่ยวที่เข้ามา ตลอดจนความสมดุลระหว่างนักท่องเที่ยว กับวิถีชีวิต

ของคนในหมู่บ้าน เหล่านี้คือรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องให้ความสำาคัญ

เป็นอย่างยิ่ง”

การพัฒนาหมู่บ้านนาต้นจั่น จึงนับเป็นแบบอย่างความสำาเร็จ

ในการนำาต้นทุนทางวิชาการผสมกับต้นทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนา

องค์ความรู้ผสานรากฐานความเข้มแข็งของชุมชน ก่อเกิดเป็นหมู่บ้าน

อุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ

พรปวีณ์ ทองด้วง

นักประชาสัมพันธ์ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

Page 6: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

4�|�นเรศวรวิชาการ

เจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย

ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ�ครั้งที่�38

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพจัดการ

ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 38

(The 38th National Graduate Research Conference) ในหัวข้อ

บัณฑิตศึกษากับการพัฒนาสู่โลกาภิวัตน์ (Graduate Research

towards Globalization) โดยจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 19 – 20

กุมภาพันธ์ 2559 ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภายในงานจัดกิจกรรมการนำาเสนอผลงานแบบบรรยาย

(Oral Presentation) และการนำาเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์

(Poster Presentation) ซึ่งแยกตามกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่ม

วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(Science and Technology) และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

(Humanities and Social Science) นิทรรศการและการแนะนำา

หลักสูตร รวมถึงการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ โดย

ศาสตราจารย์ นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัย

นเรศวร บรรยายในหัวข้อ “การสร้างภาวะผู้นำาในสังคมไทย” การ

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “The Importance of Mentoring and

Networking in Graduate Education” and “How to Apply for

Graduate Schools in USA and Prepare for Ph.D. Studies in

USA” โดย Professor Dr. Jamboor K.Vishwanatha จาก Texas

Center for Health Disparities, University of North Texas

Health Science Center และการบรรยายพิเศษ โดย ดร. รุจเรขา

วิทยาวุฑฒิกุล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ

“How to choose a good quality of Open Access Journal:

Significance and Impact”

อนึ่ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มีบทบาทสำาคัญ

ในการผลิตนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็น

ที่ยอมรับ ซึ่งนิสิตที่ศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะต้องมีการสร้าง

ผลงานวิทยานิพนธ์และผลงานวิจัยควบคู่กันไป เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่

สาธารณชน การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่ง

ชาติในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนให้บัณฑิตได้มีเวทีแลก

เปลี่ยนข้อมูลการวิจัยร่วมกันระหว่างนิสิต คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เกิด

การสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาทั้งในและ

ต่างประเทศ

Page 7: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

DNA�นเรศวร�|�5�

คว้า�3�รางวัลเวที�SYS�Student�Design�Contest�2015

นายจตุพล แก้วคำามา เล่าฟังถึงแนวคิดผลงาน : Crane

Lever ว่า “เครนเป็นเครื่องจักรที่สามารถยกของที่มีนำาหนักมากๆ ได้ดี

จึงนำาโครงสร้างของเครน ที่เป็นโครงถักมาใช้ออกแบบให้กับการต่อเติม

บ้าน โดยแนวความคิดหลักคือ ใช้โครงถักและการดึงเข้ามาออกแบบ

อาคาร โดยต้องการไม่ให้ส่วนที่ต่อเติมสัมผัสกับพื้นดิน เพื่อที่จะลด

คาร์บอนฟรุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และทำาให้บ้านมีจุดเด่นและ

น่าสนใจ”

นายพชร แสนทวีสุข เล่าฟังถึงแนวคิดผลงาน: บ้านเหล็ก

ว่า “เน้นการโชว์โครงสร้างเหล็ก ให้มีความหรูหราสวยงาม ด้วย

บรรยากาศแบบ LOFT เน้นการรู้สึกที่แข็งแรงและหนักแน่น ด้วยการ

ใช้กรอบเป็นโครงข้อแข็ง แล้วจึงมีการใช้โครงสร้างคานหล็กในอีกชิ้น

เพื่อโชว์ความสวยงามของโครงสร้างอย่างไร้การปิดบัง”

นิสิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมส่งผลงานประกวด SYS Student Design

Contest 2015 ซึ่งจัดโดยบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำากัด ผล

ปรากฎ สามารถคว้า 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล Popular Vote อันดับ 2

ผลงาน : The Wall House concept รางวัล Popular Vote อันดับ

3 ผลงาน : Crane Lever และรางวัลชมเชย ผลงาน : บ้านเหล็ก

นายยุทธการ ราศรี เล่าฟังถึงแนวคิดผลงาน : The Wall

House ว่า “การสร้างโครงสร้างเหล็กด้วยระบบ Rigid frame และใช้

เป็นโครงสร้างหลักในการรับนำาหนักของอาคารที่ยื่นออกไปทั้ง 2 ข้าง

โครงสร้างตรงกลาง ใช้เป็นบันไดที่เชื่อมต่อพื้นที่แต่ละส่วน นำาเสนอ

ความท้าทายของรูปแบบการก่อสร้างอาคารด้วยโครงสร้างเหล็ก ทำาให้

บ้านโปร่งและลดการทำาลายของพื้นผิวหน้าดิน เพราะอาคารยกพื้นสูง

และมีส่วนของโครงสร้างที่ปักดินน้อย”

Page 8: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

6�|�สืบศิลป์�-�สานศิลป์

“ผ้าทอผืนนี้สวยจังเลย ใครเป็นคนทอ ทอยังไง ใช้เวลาทอ

นานแค่ไหน” ประโยคคุ้นเคยของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเส้นทางการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อชมผ้าทอมืออันเป็นภูมิปัญญาอันล้ำาค่า ทำาให้

เราในฐานะผู้นำาชมต้องพาไปดูกระบวนการกว่าจะเป็นผืนผ้า ฝีมือของ

นางสาวอนงค์ วงศ์สุวรรณ์ ช่างทอผ้าวัย 31 ปี

ด้วยหลงใหลในเสน่ห์ของกระบวนการ กว่าจะเป็นผืนผ้าอัน

วิจิตรงดงาม นางสาวอนงค์ วงศ์สุวรรณ์ ใช้เวลาว่างจากการเรียนมา

ร้อยเรียงเส้นด้าย ให้กลายเป็นผืนผ้า ด้วยวิธีการครูพักลักจำา ตลอดจน

การศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสื่อต่าง ๆ จากที่เคยทอไว้ใช้ บ้างก็ให้แม่

บางส่วนนำาออกจำาหน่าย มาวันนี้ อนงค์รู้สึกมีความสุขและภาคภูมิ-

ใจทุกครั้ง ที่ได้บอกเล่า บรรยาย และบรรจงรังสรรค์ดอกฝ้าย รังไหม

ให้กลายเป็นเส้น เน้นเป็นสีสัน ลวดลาย จนกระทั่งเป็นผืนผ้า ณ เส้น

ทางการเรียนรู้มหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้ เป็นระยะเวลากว่า 7 ปีแล้ว

“น้อง ๆ รู้มั้ยคะว่า กว่าจะเป็นผ้าทอแต่ละผืน ต้องผ่าน

กระบวนการมากมาย จากดอกฝ้าย นำามาอิ้ว ดีด ดิ้ว เข็น เปีย กง กวัก

ย้อมสี และนำาขึ้นกี่ทอผ้า” อนงค์อธิบายพร้อมลงมือสาธิตด้วยความ

กระฉับกระเฉง พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้กับหลาย ๆ คน ที่อดใจไม่ไหวขอ

เรียนรู้ด้วยตัวเอง

“ถึงเวลาของการมัดลายใส่ผืนผ้าแล้วค่ะ” อนงค์และทีมงาน

แจกผ้าเช็ดหน้าให้ทุกคน จัดการสร้างลวดลายบนผ้าเช็ดหน้าด้วยหนัง

ยาง ไม้ไอติม ไม้หนีบผ้า แล้วนำาลงย้อมสี ใช้เวลาไม่นาน ก็ได้ชื่นชมผล

งานของตัวเอง ในรูปวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ดาว ดอกไม้ เป็นต้น

สนุก ได้ความรู้ ที่สำาคัญได้ชิ้นงานฝีมือของตัวเองกลับไปด้วย

เพราะภูมิปัญญาอันทรงคุณค่านี้ จะดำารงอยู่และสืบสานต่อ

ไปได้ด้วยหัวใจของคนรุ่นหลัง ดังเช่น นางสาวอนงค์ วงศ์สุวรรณ์ ที่

พร้อมรอถ่ายทอดมรดกของบรรพชน ในนามของของสถานอารยธรรม

ศึกษา โขง-สาละวิน ณ เส้นทางการเรียนรู้มหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้

พรปวีณ์ ทองด้วง

นักประชาสัมพันธ์ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

ด้วยหัวใจ... ในการสืบสานภูมิปัญญาผ้าทอ

Page 9: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

มน.�มอนิเตอร์�|�7�

Page 10: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

8�|�@�มน.

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยสงขลา-

นครินทร์ มอบปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพืชศาสตร์ พร้อมทั้งมอบครุยวิทยฐานะ และรับมอบของที่ระลึกจากมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย ร่วมแสดงความยินดีกว่า 300 คน ณ ห้องประชุม 301 อาคารเอการถ

มหาวิทยาลัยนเรศวร

อนึ่ง การมอบปริญญา ฯ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในครั้งนี้ สืบเนื่องจาก ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ

มีความเชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นผู้เขียนตำาราพันธุศาสตร์ภาษาไทยเล่มแรกของประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช 2518

ท่านได้วิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ชื่อว่า “พันธุ์สุวรรณ 1” ตลอดจนได้วางรากฐานให้กับคณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลา-

นครินทร์ นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ในการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร ระบบนิเวศเกษตร และวิถีชีวิตชุมชนชนบท สภา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติปริญญาวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพืชศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล

สืบไป

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 กองกิจการนิสิต จัดกิจกรรม

พัฒนาทักษะผู้นำาในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้นำานิสิต นักศึกษา มีความพร้อมในการทำางาน

และขีดความสามาถในระดับสากล และเพื่อบูรณาการในกิจกรรมใน

มิติ “คนเก่ง” และ “มีความสุข” สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถ

แสดงผลงานได้ในเชิงประจักษ์ สามารถนำาเสนอผลงานในระดับชาติ

และนานาชาติได้ โดยในงานมีการอบรมให้แก่ผู้นำานิสิต นักศึกษาจาก

สถาบันเครือข่าย เพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เขตภาคเหนือตอน

ล่าง จำานวน 28 สถาบันๆ ละ 5 คน และมีกิจกรรมระดมสมองเพื่อ

สร้างสรรค์กิจกรรมในโครงการเติมหัวใจให้สังคม ณ ห้องพระราชทาน

ปริญญาบัตร อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร�รับมอบปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์�จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พัฒนาทักษะผู้นำ�ในศตวรรษที่�21

Page 11: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152

@�มน.�|�9�

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ภาควิชารัฐศาสตร์และ

รัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ จัดการแข่งขันตอบปัญหาทาง

วิชาการ ครั้งที่ 13 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริม ให้นักเรียน นิสิต และ

บุคคลทั่วไป มีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน รวม

ถึงการปลูกจิตสำานึกและความเข้าใจ ในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้

ทางวิชาการ ด้านการเมืองการปกครองไทย และมีส่วนร่วมในการตอบ

ปัญหาทางวิชาการ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องสัมมนา 301

อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ดร. สุชาติ เมืองแก้ว รอง

อธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประธานเปิดงาน

“กยศ. รวมใจปันโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ ปี 3” ณ อาคาร

อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สถานศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก

ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก และเหล่ากาชาดจังหวัด

พิษณุโลก จัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา โดย

เปิดโอกาสให้ นักเรียน นิสิตผู้กู้ยืมเงินกองทุน และประชาชนทั่วไป ได้

แสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และ

เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดีต่อไปในอนาคต โดย

การเปิดรับบริจาคในครั้งนี้ได้รับโลหิตจำานวน 231,600 ซี.ซี.

วันท่ี 19 กุมภาพันธ์ 2559 ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ จินายน

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์

ดร. เอกชัย แสงอินทร์ ประธานที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษา

มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำากับของรัฐ (ทคบร.) และ

ประธานสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.)

ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิต

ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 (The 38th National Graduate Research

Conference) บัณฑิตศึกษา กับการพัฒนาสู่โลกาภิวัตน์ (Graduate

Research towards Globalization)

ภายในงาน จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษโดย วิทยากรผู้ทรง

คุณวุฒิ อาทิ ศาสตราจารย์ นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์ นายกสภา

มหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายในหัวข้อ “การสร้างภาวะผู้นำาในสังคม

ไทย” การนำาเสนอผลงานวิจัย โดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในรูป

แบบบรรยายจำานวน 102 ผลงาน และการนำาเสนอผลงานในรูปแบบ

โปสเตอร์ 182 ผลงาน รวมถึงนิทรรศการและการแนะนำาหลักสูตรจาก

มหาวิทยาลัยชั้นนำาทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า 500

คน ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แข่งขันตอบปัญหาเชิงวิชาการ

ม.นเรศวร�เจ้าภาพเปิดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย

ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ�ครั้งที่�38

ม.นเรศวร�จับมือ�กยศ.�เปิดกิจกรรม�“กยศ.�รวมใจปันโลหิต

ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์�ปี�3”

Page 12: มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 152