10
1 natdanaj ความรู้เรื่อง เพชร ตอนที2 การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร ระดับความบริสุทธิ(Clarity)

ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

Embed Size (px)

DESCRIPTION

วิธีดูและวิเคราะห์เพชร แท้หรือเทียม

Citation preview

Page 1: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

1natdanaj

ความรู้เรื่อง เพชรตอนที่ 2

การจำแนกความบริสุทธิ์ของเพชร

ระดับความบริสุทธิ์ (Clarity)

Page 2: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

2natdanaj

1.Flawless (FL) - เป็นเพชรชั้นเยี่ยม น้ำงามที่สุด ไม่มีตำหนิหรือมลทินใดๆในทั้งเนื้อเพชร และผิวของเพชร เมื่อมองด้วยกล้องขยาย 10 เท่า (10X)

กล้องขยาย 2.Internally Flawless (IF) - เป็นเพชรชั้นยอดที่ไม่มีตำหนิภายในเนื้อเพชรเลย เมื่อมองภายใต้ กล้องขยาย 10 เท่า (10X)

3.Very Very Slightly Included (VVS1 / VVS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรให้เห็น ได้น้อยมากๆ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้อง ใช้เวลาในการค้นหาค่อนข้างนาน แล้วแต่ความชำนาญของผู้ตรวจสอบ จำแนกออกเป็นระดับ 1 และ 2 ตามลำดับ หากตำหนิน้อยมากจะใช้ VVS1 หากตำหนิที่สามารถเห็นได้ชัดมากขึ้นจะใช้ VVS2

คลิ้กที่นี่เพื่อดูภาพขยาย

Page 3: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

3natdanaj

4.Very Slightly Included (VS1 / VS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรในระดับที่ไม่สามารถ เห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า ส่องจึงเห็น และจะต้องใช้เวลาในการค้นหาสักพัก แต่ จะใช้เวลาน้อยกว่าเพชรความสะอาดระดับ VVS ตำหนิและมลทินสามารถเห็นได้ชัดเจนมากกว่าระดับ VVS และอาจมีสีต่างๆในเนื้อของมลทินที่สามารถมองเห็นได้

ดูภาพขยายคลิ้กที่นี่

5.Slightly Included (SI1 / SI2) - เป็นระดับของมลทินที่สามารถมองเห็นได้ทันทีภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าและบางกรณีสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดที่เล็กอาจจะต้องสังเกต หรือใช้กระดาษขาวทาบ และ มองกับแสงไฟจึงเห็นชัดขึ้น ในระดับสายตาของผู้ยังไม่ชำนาญการ จะต้องใช้เวลานานในการสังเกต

Page 5: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

5natdanaj

การเจียระไนนักอัญมณีหมายถึง-สัดส่วนของเพชร (proportions) นั่นก็คือ ความลึก (depth) ความกว้าง (width) รูปทรงของหน้าเจียระไน (facet) และความสมมาตร (symmetry) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่นักอัญมณีส่วนใหญ่ ให้ความเห็นว่าเป็น ปัจจัยที่ส่งผลต่อความงามของ เพชรมากที่สุด ด้วยเหตุที่ว่าเพชรจะไม่มีประกายแวววาวหาก ไม่ได้รับ การเจียระไน แม้ว่าจะมีสีและความสะอาดที่ดีเยี่ยม-การดูความถูกต้องของสัดส่วน (Proportion Grading) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน (Crown) และส่วนล่าง (Pavilion) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับ ส่วนสัดของเพชรที่นาย Tolkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียระไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion-การจัดระดับฝีมือการเจียระไน (Finish Grading) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียระไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่า หน้าขัดมันมีรูปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลม มีความเบี้ยว เล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่าง-การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อ เจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหาก สามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะ ทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น-การเจียระไนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เพชรมีประกายแวววาวเมื่อกระทบกับแสง โดยลักษณะของแสง (Light performance) ที่ดีนั้น แสงทั้งหมดจะต้องถูกสะท้อนมายังผู้สวมใส่ ให้ความแวววาว (Brilliance) สูงสุด สรุป การเจียระไน หมายถึง เหลี่ยมและสัดส่วนของเพชร เป็นการกำหนดความเป็นประกายของเพชร ไม่มีหน่วยวัดโดยตรง แต่ต้องใช้การสังเกต หลายๆ อย่างผสมผสานกัน เพชรที่เจียระไนอย่างถูกสัดส่วน จะส่องประกายเจิดจรัสดูภาพเจียระไนตื้นเกินไป(very shallow) แสงหลุดไปด้านล่างไม่กระทบมาด้านหน้า สูญเสียความแววาวไป-เพชรที่เจียระไน แบบ shallow หรือ deep โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า Indian cut หรือ เหลี่ยมเพชรอินเดีย ต่อมามีการคิดค้น Belgium cut และ Russian cut ออกมา ซึ่งจะดูดีกว่า Indian cut แต่ก็ยังไม่ให้แสงที่ perfect-จนกระทั่งในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดค้นการเจียระไนที่เรียกว่า Hearts & Arrows (H&A) ซึ่งเป็นการ เจียระไนที่ให้แสงที่มีความแวววาวสูงสุดแบบ Ideal cut นับว่าเป็นเพชรที่สมบูรณ์แบบที่สุด

ดูภาพขยาย การเจียระไนเพชร หรือ พลอยมี 4 รูปแบบหลักๆ คือ Brilliant cuts บริลเลียนท์คัท (เหลี่ยมเกสร) คำว่า "บริลเลียนท์" หมายถึงการเจียระไนที่มีเหลี่ยมอย่างน้อย 56 เหลี่ยม ไม่นับเทเบิล และคิวเลท (32 เหลี่ยมบนคราว์น และ 24 เหลี่ยมบนพาวิลเลี่ยน) และมีขอบเพชร เป็นรูปกลม มีหน้าเจียระไนทรงสามเหลี่ยมและทรงว่าว ซึ่งนิยมเจียระไนในเพชรทรงกลม (round) หรือที่รู้จัก กันดีในชื่อ round

Page 6: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

6natdanaj

brilliant cut เป็นรูปแบบของการเจียระไนเพชรที่ได้รับความนิยมที่สุดและ princess cut ซึ่งเป็นเพชรรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปในปัจจุบันเพชรแบบนี้จะมีหน้าเจียระไนทั้งหมด 58 หน้า

ดูภาพขยาย ดูภาพขยาย

ดูภาพขยาย Step cuts สเต็พ คัท หรือ แทร็พ คัท (Trap Cut) มีเหลี่ยมเรียงตัวขนานกันเป็นขั้นบันได ได้แก่ เอมเมอ รัลคัท สแควร์คัท บาเก็ทท์ เทเพิร์ทบาเก็ทท์ สแพ็ตบาเก็ทท์ หรือบูทเล็ทคัท เพนทากอน ทราเพ็ซ ล็อซซิน แทร็พบริลเลี่ยนท์ และรวมทั้งเพชรขนาดเล็ก ๆ ที่มักนิยมใช้สำหรับล้อมเพชรเม็ดใหญ่ มีหน้าเจียระไน สี่ ด้านที่ถูกเจียระไนให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหน้า table และขนานกับ girdle ซึ่งการเจียระไนแบบนี้จะให้ความ แวววาวน้อยกว่า brilliant cut และมีข้อเสียตรงที่จะทำให้เห็นมลทินและตำหนิภายในชัดเจนขึ้น เมื่อนำไปเข้า ตัวเรือน

ดูภาพขยาย Mixed cuts เป็นการผสมผสานระหว่าง brilliant cuts และ step cuts ซึ่งนิยมเจียระไนกับพลอยสีมิกซด์คัท (Mixed Cut) ที่น่ากล่าวถึงนั้น ได้แก่ แบเรียนคัท ซึ่งส่วนของคราว์นเป็นเอมเมอรัลคัท และพาวิล เลี่ยนเป็นโมดิเฟด์บริลเลียนท์คัท เรเดียนทคัทก็เช่นเดียวกัน (70 เหลี่ยม) ส่วนควีนสคัทของไทยก็เป็นลูก ผสมเช่นกัน มี 60 เหลี่ยม (คราว์น 32 เหลี่ยม และพาวิลเลี่ยน 28 เหลี่ยม)

ดูภาพขยาย

Page 7: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

7natdanaj

Rose cuts โรสคัท (เหลี่ยมกุหลาบ) มีส่วนฐานที่แบน และส่วนบนโค้งนูน ส่วนใหญ่ฐานจะเป็นรูปกลม ที่เป็นรูปไข่ และรูปแพรก็พอมีให้เห็นบ้าง โรสคัท มีหลายประเภท อาทิ ไทรแองกูลาโรส ฟุลล์ดัชโรส หรือฮอล แลนด์โรส ดับเบิลดัชโรส หรือดับเบิลฮอลแลนด์โรส แพรเซ้พด์โรส โบทเซ็พด์โรส ดับเบิลโรส ฮาล์ฟบิล เลียนทท์เวลฝ์ฟาเซ็ทโรส หรือแอนท์เวิร์พโรส หรือบราแบนท์โรส ซิกส์ฟาเซ็ทโรส และทรีฟาเซ็ทโรส-ปัจจุบันไม่มีการเจียระไนประเภทนี้อีกแล้ว ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษที่ต้องเจียระไนขึ้นมาทดแทนของเก่าที่ชำรุดไป (ที่เก็บรักษาไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ) เท่านั้น อย่างไรก็ตามโรสคัทขนาดเล็กไม่เกิน 0.40 ct ก็ยังมีการผลิต อยู่เช่น เคย ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เพชรที่มีชื่อเสียงอย่าง koh-i-nur และ Great Mogul ก็เป็นโรสคัทเช่นกัน ส่วนบีดคัท (Bead Cut) ก็จัดเป็นโรสคัทด้วย เช่นกัน เช่น บีด (Bead) บรีโอเลทท์ (Briolette) และรอนเดลล์ (Rondelle)

ดูภาพขยาย ดูภาพขยาย ภาพตัวอย่างของการเจียระไน

ดูภาพขยาย1.2.และ 3.มุมต่อของเหลี่ยมเพชรที่วงไว้ไม่สบกันพอดี4.culet (ก้นเพชร)สึก เหลี่ยมเจียระไนเป็นส่วน 1 ใน 4 ส่วนที่ใช้ในการประเมินเพชรเม็ดว่าสวยเพียงใด ความสวย, ประกายของเพชร, จำนวนเหลี่ยมของเพช เป็นปัจจัยสำคัญที่เราจะให้คะแนนเพชรเม็ดนั้นว่าสวยหรือไม่- เพชรคุณภาพดีมักมีขอบเพชรใส (Faceted) ไม่ขุ่น-หากเราเลือกเพชรสี D ความสะอาด IF แต่เหลี่ยมเจียระไนคะแนนตกไปถึง Very Good , Good เม็ดนั้นก็ไม่น่าสนใจ ให้ดูประกอบกันทั้งหมดทั้ง 4c

Page 8: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

8natdanaj

"รัสเซียนคัต" ถือว่ามีคุณภาพสูงสุด "เบลเยียมคัต" คุณภาพเป็นอันดับสอง อันดับสามคือ "บางกอกคัต" และสุดท้ายคือ "อินเดียนคัต"-รัสเซี่ยนคัท มีคุณภาพดีกว่า (สมำเสมอกว่า) เบลเยี่ยมคัท อยู่ขั้นนึง.. เป็นอย่างน้อย.. ประมาณ เกรด B+ กับ A รัสเชียนคัต (Russian Cut)

ดูภาพขยาย ดูภาพขยาย

เบลเยี่ยมคัต(BELGIUM CUT )

Page 9: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

9natdanaj

ดูภาพขยาย อิสราเอลคัต(israel cut)

ดูภาพขยาย ดูภาพขยาย เพชร Hearts &Arrows (H&A) เพชรกลมระดับโลกที่เจียระไนได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบที่สุด

ดูภาพขยาย ดูภาพขยาย เอกลักษณ์ของเพชร คือ การเล่นแสง เพชรที่ดีจะก่อให้เกิดประกายที่สวยงาม ที่เราเรียกว่า "น้ำ" เพชรน้ำดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ การเล่นแสงของเพชร ยิ่งเพชรสะท้อนแสงได้มากเท่าไหร่ เพชรยิ่งสวยงามมาก ขึ้นเท่านั้น Hearts & Arrows คือ เพชรกลม (Round Brillant) ที่ได้รับการเจียระไนอย่างได้สัดส่วนสมบูรณ์ แบบที่สุดในโลก โดยทุกเหลี่ยมเพชร (Facet) ทำมุมองศาและสัดส่วน ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความสุกใสส่องสว่าง (Brilliance, การสะท้อนกลับของแสงสู่ตา ) และการกระจาย แสงของเพชร (Dispersion) หรือไฟนั่นเอง โดยเมื่อมองผ่านกล้อง Hearts & Arrows Loope จะเห็นภาพลูกศร 8 ดอก ขนาดเท่า ๆ กัน เรียงเป็นวงกลม บนด้านหน้าหรือ เทเบิล และเมื่อมองจากทางก้นเพชรหรือพาวิลเลียน จะเห็นเป็นรูปหัวใจ 8 ดวง เรียงกันเป็นวงกลมเช่นกัน

Page 10: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่2

10natdanaj

เพชร Hearts & Arrows แตกต่างจากเพชรอื่น ๆ ตรงความสมบูรณ์แบบ ที่สามารถมองเห็น และสัมผัสได้สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบสัดส่วนของเพชรนั้นส่งผลต่อการกระจายแสงของเพชร โดยเพชรที่เจียระไนตื้นและมีหน้ากว้างไป หรือเจียรไน ลึกและแคบไปนั้นจะทำให้แสงออกด้านข้าง และด้านล่างของเพชรทำให้เพชรเสียความสุกสว่าง และการส่อง ประกาย ซึ่งเพชร Hearts & Arrows นั้นถูกเจียรไนให้ได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้เพชรนั้นเล่นแสงและ เปล่งประกายได้มากที่สุดเท่าที่เพชรจะสามารถส่องประกายได้ ในการเจียระไนเพชรเพื่อให้ได้เพชรที่มีสัดส่วนงดงามสมบูรณ์แบบ “Heart & Arrow” เช่นนี้จะต้องตัดเนื้อ เพชรดิบ (Rough Diamonds) ออกไปมากกว่าการเจียระไนเพชรแบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ก้อนเพชรดิบน้ำหนัก 5 กะรัต หากต้องการรักษาน้ำหนัก และนำมาเจียระไนเป็น “เหลี่ยมอินเดีย”แล้วเมื่อเจียระไนเสร็จ เพชร (Polished Diamond) ที่ได้ อาจมีน้ำหนักสูงถึง 4 กะรัต หรือถ้าเจียระไนเป็นแบบอื่นๆ อย่าง “เหลี่ยมเบลเยี่ยม”อาจมีน้ำหนัก 3 กะรัต “เหลี่ยมรัชเชี่ยน” อาจมีน้ำหนัก 2 กะรัต และจะเหลือแค่เพียง 1 กะรัต หากเจียระไนเป็นแบบ “Heart & Arrow” นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เพชรที่เจียระไนแบบ “Heart & Arrow” H Color จึงมีราคาสูงกว่าเพชร ที เจียระไนแบบอื่นอย่างเพชร “เหลี่ยมอินเดีย” D Color เป็นเท่าตัว มีต่อ-ตอนที่ 3 การวิเคราะห์เพชรแท้-เทียม การอ่านใบเซอร์เพชร

ต้นฉบับตอนท 1