3
1 หลักประกันของงานชาติพันธุ์นิพนธ์ สรุปและเรียบเรียงจาก Jack Katz. (1997) “Ethnography’s Warrant” Sociological Methods and Research. 25: 391-423. นักสังคมวิทยาซึ่งส่วนมากใช้วิธีการเชิงปริมาณ หาค่าสถิติ จะตอบได้ว่างานของตนหาแบบแผนบางอย่าง ผลงานของนักสังคมวิทยาจึงได้แก่แบบแผนของพฤติกรรม แต่นักมานุษยวิทยาซึ ่งเขียนงานชาติพันธุ์ นิพนธ์จะบอกว่างานตนเองแสดงอะไร เนื่องจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ศึกษาความหมายจากผู้คน ศึกษา ประสบการณ์ของผู้คน แล้วเล่าสิ ่งเหล่านั้นออกมาอย่างมีรายละเอียด แต่สิ ่งเหล่านั้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้คนที่ นักชาติพันธุ์นิพนธ์ศึกษารู้ๆ กันอยู่แล้ว ถ้าอย่างนั ้นงานของชาติพันธุ์นิพนธ์ก็ไม่มีอะไรเลยอย่างนั้นหรือ เพราะเพียงแค่เล่าซ้ําสิ ่งที่เจ้าของวัฒนธรรมเล่ามาก็พอแล้ว ถ้าไม่ใช่ออย่างนั ้นแล้วงานชาติพันธุ์นิพนธ์ เขียนอะไร สิ่งหนึ่งที่ทําให้งานชาติพันธุ์นิพนธ์มีค่าคือ การนําเสนอสิ่งที่คนอ่านไม่รู้จัก คือการเขียนงานที่ผู้อ่านคือ พวกเรากําลังอ่านเรื ่องราวเกี่ยวกับ พวกเขาหรือคนอื่นที่อยู ่ต่างถิ ่น นั่นก็ทําให้งานชาติพันธุ์นิพนธ์มี ค่าขึ้นมาได้อย่างชัดเจน ความแตกต่างที ่สําคัญระหว่างคนที ่นักชาติพันธุ์นิพนธ์กับคนอ่านของชาติพันธุ์นิพนธ์ประการหนึ ่งคือสิ่งที่ เคทซ์เรียกว่า moral character หรืออาจแปลว่าลักษณะของคุณค่าเชิงศีลธรรมเฉพาะตัว ซึ่งคนที่นั่นมี แต่นักชาติพันธุ์นิพนธ์ไม่เคยรู้จักมาก่อน คนอ่านก็ไม่รู้จักมาก่อน คนอ่านงานชาติพันธุ์นิพนธ์ซึ ่งก็มักจะเป็น คนชั้นกลาง ในเมือง ที่มีการศึกษาพอสมควร ดังนั้นงานชาติพันธุ์นิพนธ์ที่จะเป็นที่สนใจได้แก่เรื ่องราว ใหม่ๆ ที่ให้รายละเอียดของผู้คนกลุ ่มคนที ่ถ้าไม่อยู่ในฐานะทางสังคมที ่ต่ํามาก ก็เป็นชนชั้นสูง ในการนั้น ประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณาคือ หนึ่ง การพรรณนาคนที่แตกต่างกับคนที ่คุ้นเคย ว่าแตกต่าง กันอย่างไร สอง ความแตกต่างระหว่างการให้ภาพพฤติกรรมที ่อยู ่ในกรอบของสังคม กับพฤติกรรมที่อยู ในบริบทที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไร การเขียนของนักชาติพันธุ์นิพนธ์จะนําไปสู่การรื้อสร้าง (deconstruct) มุมมองของ คนนอก หรือไม่ก็เป็นการเปิดโปง (debunk) ให้เห็นถึงความจริงของผู้คนที่นักชาติพันธุ์นิพนธ์ศึกษา สาม เคทซ์เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า naturalistic approach เพื่อเป็นแนวทางการเขียนงานชาติพันธุ์นิพนธ์ที่ดี ท้ายสุด เพื่อเสนอว่าหลักประกันของงานเขียนชาติพันธุ์ นิพนธ์จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง เคทจึงขอเสนอแนวทางต่างๆ ของการเขียนงานชาติพันธุ์ นิพนธ์อย่างมีประเด็น เคทซ์เสนอวิธีการศึกษาบางแนวทางต่อไปนี้ ว่าอาจเป็นทางเลือกที ่ดี แต่ก็มีข้อพึงระวังอยู่เหมือนกัน พื้นที่เสี่ยงภัยและสังคมที่ท้าทายศีลธรรม การศึกษาสังคมในพื้นที่เสี่ยงและสังคมที่ท้าทายศีลธรรม จะทําให้งานชาติพันธุ์นิพนธ์มีประเด็นศึกษาอย่าง ชัดเจน แต่อย่างไรก็ดี การศึกษาสังคมเหล่านี้ก็จะต้องไม่ใช่เพื ่อตอกย้ําภาพความน่าสะพรึงกลัวหรือความ แปลกประหลาดให้กับสังคมเหล่านี ้เข้าไปอีก แต่จะต้องเป็นไปเพื ่อแสดงให้เห็นถึงความปกติ ความมี ระเบียบแบบแผน แสดงให้เห็นถึงความเหมืนกันระหว่างสังคมเหล่านี ้กับสังคมที่เราคุ ้นเคยมากกว่า แม้ว่าในบางกรณีเราจะพบว่า กลุ่มคนเหล่านี้คิดแตกต่างจากที ่เราเข้าใจจริงๆ หรือเขาตั้งใจจะต่อต้านกฎ เกณฑ์ที่สังคมทั่วไปยึดมั่นจริงๆ สิ่งที่นักชาติพันธุ์นิพนธ์ค้นหาก็จะเป็นเหตุผลเบื้องหลังของการกระทํา

หลักประกันของงานชาติพันธ์ุนิพนธ์-3.pdf

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หลักประกันของงานชาติพันธ์ุนิพนธ์-3.pdf

�1

หลักประกันของงานชาติพันธ์ุนิพนธ์!

"สรุปและเรียบเรียงจาก Jack Katz. (1997) “Ethnography’s Warrant” Sociological Methods

and Research. 25: 391-423."

"นักสังคมวิทยาซึ่งส่วนมากใช้วิธีการเชิงปริมาณ หาค่าสถิติ จะตอบได้ว่างานของตนหาแบบแผนบางอย่าง

ผลงานของนักสังคมวิทยาจึงได้แก่แบบแผนของพฤติกรรม แต่นักมานุษยวิทยาซึ่งเขียนงานชาติพันธ์ุ

นิพนธ์จะบอกว่างานตนเองแสดงอะไร เนื่องจากนักชาติพันธ์ุนิพนธ์ศึกษาความหมายจากผู้คน ศึกษา

ประสบการณ์ของผู้คน แล้วเล่าสิ่งเหล่านั้นออกมาอย่างมีรายละเอียด แต่สิ่งเหล่านั้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้คนที่

นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ศึกษารู้ๆ กันอยู่แล้ว ถ้าอย่างนั้นงานของชาติพันธ์ุนิพนธ์ก็ไม่มีอะไรเลยอย่างนั้นหรือ

เพราะเพียงแค่เล่าซ้ําสิ่งที่เจ้าของวัฒนธรรมเล่ามาก็พอแล้ว ถ้าไม่ใช่ออย่างนั้นแล้วงานชาติพันธ์ุนิพนธ์

เขียนอะไร "

"สิ่งหนึ่งที่ทําให้งานชาติพันธ์ุนิพนธ์มีค่าคือ การนําเสนอสิ่งที่คนอ่านไม่รู้จัก คือการเขียนงานที่ผู้อ่านคือ

“พวกเรา” กําลังอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ “พวกเขา” หรือคนอื่นที่อยู่ต่างถิ่น นั่นก็ทําให้งานชาติพันธ์ุนิพนธ์มี

ค่าขึ้นมาได้อย่างชัดเจน "

"ความแตกต่างที่สําคัญระหว่างคนที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์กับคนอ่านของชาติพันธ์ุนิพนธ์ประการหนึ่งคือสิ่งที่

เคทซ์เรียกว่า moral character หรืออาจแปลว่าลักษณะของคุณค่าเชิงศีลธรรมเฉพาะตัว ซึ่งคนที่นั่นมี

แต่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ไม่เคยรู้จักมาก่อน คนอ่านก็ไม่รู้จักมาก่อน คนอ่านงานชาติพันธ์ุนิพนธ์ซึ่งก็มักจะเป็น

คนชั้นกลาง ในเมือง ที่มีการศึกษาพอสมควร ดังนั้นงานชาติพันธ์ุนิพนธ์ที่จะเป็นที่สนใจได้แก่เรื่องราว

ใหม่ๆ ที่ให้รายละเอียดของผู้คนกลุ่มคนที่ถ้าไม่อยู่ในฐานะทางสังคมที่ต่ํามาก ก็เป็นชนชั้นสูง "

"ในการนั้น ประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณาคือ หนึ่ง การพรรณนาคนที่แตกต่างกับคนที่คุ้นเคย ว่าแตกต่าง

กันอย่างไร สอง ความแตกต่างระหว่างการให้ภาพพฤติกรรมที่อยู่ในกรอบของสังคม กับพฤติกรรมที่อยู่

ในบริบทที่เฉพาะเจาะจง "

"ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไร การเขียนของนักชาติพันธ์ุนิพนธ์จะนําไปสู่การรื้อสร้าง (deconstruct) มุมมองของ

คนนอก หรือไม่ก็เป็นการเปิดโปง (debunk) ให้เห็นถึงความจริงของผู้คนที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ศึกษา สาม

เคทซ์เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า naturalistic approach"

"เพ่ือเป็นแนวทางการเขียนงานชาติพันธ์ุนิพนธ์ที่ดี ท้ายสุด เพ่ือเสนอว่าหลักประกันของงานเขียนชาติพันธ์ุ

นิพนธ์จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง เคทจึงขอเสนอแนวทางต่างๆ ของการเขียนงานชาติพันธ์ุ

นิพนธ์อย่างมีประเด็น!

"เคทซ์เสนอวิธีการศึกษาบางแนวทางต่อไปนี้ ว่าอาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็มีข้อพึงระวังอยู่เหมือนกัน!

"พ้ืนที่เสี่ยงภัยและสังคมที่ท้าทายศีลธรรม"

"การศึกษาสังคมในพ้ืนที่เสี่ยงและสังคมที่ท้าทายศีลธรรม จะทําให้งานชาติพันธ์ุนิพนธ์มีประเด็นศึกษาอย่าง

ชัดเจน แต่อย่างไรก็ดี การศึกษาสังคมเหล่านี้ก็จะต้องไม่ใช่เพ่ือตอกย้ําภาพความน่าสะพรึงกลัวหรือความ

แปลกประหลาดให้กับสังคมเหล่านี้เข้าไปอีก แต่จะต้องเป็นไปเพ่ือแสดงให้เห็นถึงความปกติ ความมี

ระเบียบแบบแผน แสดงให้เห็นถึงความเหมืนกันระหว่างสังคมเหล่านี้กับสังคมที่เราคุ้นเคยมากกว่า!

"แม้ว่าในบางกรณีเราจะพบว่า กลุ่มคนเหล่านี้คิดแตกต่างจากที่เราเข้าใจจริงๆ หรือเขาตั้งใจจะต่อต้านกฎ

เกณฑ์ที่สังคมทั่วไปยึดมั่นจริงๆ สิ่งที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ค้นหาก็จะเป็นเหตุผลเบ้ืองหลังของการกระทํา

Page 2: หลักประกันของงานชาติพันธ์ุนิพนธ์-3.pdf

�2

เหล่านั้น มากกว่าจะระบุว่าคนเหล่านั้นไม่เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม การไม่ทําตามกฎเกณฑ์ของสังคมมี

ต้นทุนที่สูง แต่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ต้องพยายามทําความเข้าใจว่า ทําไมคนบางกลุ่มจึงยอมลงทุนที่สูงขนาด

นั้น!

"หากงานจะเน้นความแปลกประหลาด ก็จะเสี่ยงกับการโรแมนติกหลงใหลชื่นชมกับความประหลาด หรือ

ขับเน้นความประหลาดมากเกินไป ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วพวกเขาอาจจะไม่ได้ประหลาดมากมายนัก วิธีนี้อาจจะ

เป็นการให้ภาพกลุ่มคนที่เป็นแบบแผนตายตัวเกินไป หรือให้ภาพพวกเขาตามภาพที่คนมีอยู่แล้ว จึงไม่

เป็นการดีที่จะเข้าใจผู้คน วิธีการแก้อาจจะได้แก่การดูว่าความแตกต่างดังกล่าวถูกแสดงออกหรือใช้ใน

ชีวิตประจําวันอย่างปกติธรรมดาอย่างไร ไม่ใช่เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่แปลกประหลาดโดยไม่ดูบริบทของ

การแสดงออกในชีวิตประจําวัน!

"แต่หากจะทําให้ผู้คนที่เราศึกษากลายเป็นเหมือนๆ กับคนทั่วๆไป หรือใช้มาตรฐานทั่วๆไปทําความเข้าใจ

พวกเขา ก็จะเสี่ยงกับการนําเอามาตรฐานของนักชาติพันธ์ุนิพนธ์ไปวัดพวกเขามากเกินไป ความสมดลุ

ระหว่างความหมายของผู้คนที่เราศึกษากับความหมายที่เราเป็นคนให้กับเขา เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความ

สําคัญ "

"นอกจากนั้น ยังต้องเข้าใจด้วยว่า ความแตกต่างและความแปลกประหลาดที่ว่านั้น เปลี่ยนไปเรื่อยๆตาม

ยุคสมัยของชาติพันธ์ุนิพนธ์และผู้อ่านงานชาติพันธ์ุนิพนธ์ พฤติกรรมของคนบางกลุ่มที่เคยแปลก

ประหลาดในยุคหนึ่ง อาจหมดความแปลกไปในอีกยุคหนึ่ง!

"ศึกษากรอบทางสังคมกับศึกษาบริบทเฉพาะ"

"การศึกษากลุ่มคนบางทีไม่จําเป็นต้องศึกษาความเฉพาะเจาะจงหรือแปลกประหลาดของเขาเลยก็ได้ หาก

แต่เพียงศึกษาลักษณะทางสังคมทั่วๆ ไปของพวกเขาก็น่าสนใจแล้ว เช่น หากจะศึกษานักดนตรี แทนที่จะ

ศึกษาการเล่นดนตรีของเขาหรือศึกษาทักษะทางดนตรีของเขา ศึกษาการรวมกลุ่มทางสังคมของพวกเขา

แทน แต่วิธีนี้ก็อาจจะทําลายลักษณะเฉพาะของผู้คน ทําให้ไม่เห็นความพิเศษของผู้คนกลุ่มต่างๆ!

"ในทางกลับกันคือการศึกษาบริบทเฉพาะ เช่นหากจะศึกษาคติชาวบ้าน ก็จะเน้นศึกษาวัฒนธรรมโดยไม่

สนใจลักษณะของความสัมพันธ์ทางสังคมมากนัก หรือหากจะศึกษาแนว ethnomethodology ก็ดูราย

ละเอียดของปฏิบัติการบางอย่างของผู้คนว่าเขาทําอะไรอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง อย่างไรก็ดี มีข้อระวัง

ว่า การบอกเล่ารายละเอียดจะนําไปซึ่งข้อมูล บทพรรณนาที่ไม่มีความหมาย ไม่มีการวิเคราะห์ มีแต่ข้อมูล

ยิบย่อย เสี่ยงกับการกลายเป็น thin description ไป!

"หนทางที่จะทําให้บทพรรณนาที่ละเอียดมีความหมายคือการชี้ให้เห็นถึง ความธรรมดาของสิ่งที่คนที่เรา

ศึกษาเข้าใจเอาเองว่าพิเศษ เช่น ของบางอย่างที่พวกชนชั้นสูงสะสมด้วยความเข้าใจว่ามีแต่พวกเขา

เท่านั้นที่สะสม หรือพฤติกรรมบางอย่างที่พวกเขาคิดว่ามีแต่พวกเขาเท่านั้นที่ทํา แต่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์อาจ

เปิดโปงด้วยการค้นคว้าประวัติศาสตร์หรือการเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่น ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้น

ของคนชั้นสูงก็ไม่ต่างจากคนธรรมดาสามัญทั่วไป!

"หรือน้อยกว่านั้นคือการแสดงให้เห็นว่า ความพิเศษบางอย่างของกลุ่มคนบางกลุ่ม แท้จริงแล้วถูกสร้างขึ้น

มาในกระบวนการทางสังคมอย่างไร หาใช่ความพิเศษเฉพาะของพวกเขาเองไม่ ศึกษาว่าหรือคุณค่าพิเศษ

ของสังคมนั้น เช่นคุณค่าทางศิลปะ หรือความรู้ แท้จริงแล้วถูกสร้างขึ้นมาในเงื่อนไขหนึ่งๆอย่างไร หาใช่

การที่สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวเองไม่ เช่นการศึกษาโลกของศิลปะ ที่ไม่ได้มีเฉพาะความงาน ฝีมือ แนวคิดทาง

ศิลปะ แต่ยังมีสังคมของศิลปิน ตลาดศิลปะ การเมืองกับศิลปะในประวติศาสตร์สมัยต่างๆ เป็นต้น หรือ

การศึกษาวิธีคิดวิธีการทํางานของนักวิทยาศาสตร์เป็นต้น"

"

Page 3: หลักประกันของงานชาติพันธ์ุนิพนธ์-3.pdf

�3

แนวทางอื่นๆ ของการทําให้งานชาติพันธ์ุนิพนธ์มีความหมาย"

"คําถามสําคัญคือ ใครที่ต้องการอ่านงานของเรา? นี่เป็นคําถามสําคัญของวิธีการศึกษาเชิงชาติพันธ์ุนิพนธ์

การที่นักสังคมวิทยามักศึกษาสังคมตนเองดูเป็นข้อเสียเปรียบของนักสังคมวิทยา แต่นักมานุษยวิทยาก็

เสียเปรียบตรงที่ แม้ว่าจะอยู่กับการศึกษาความแตกต่าง แต่ก็อาจจะกลับไม่ได้คํานึงถึงมันอย่างจริงจัง

มากนัก อาจจะไม่เห็นความแตกต่างมากนัก แนวทางต่างๆ ที่เคทซ์เสนอได้แก่ "

"- ศึกษากลุ่มคนที่เป็นที่สนใจของคนอ่าน "

"- ศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ วิธีนี้อาจช่วยให้เห็นอะไรที่แตกต่างออกไปได้ เราอาจศึกษา

วิธีที่คนที่ใดที่หนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ จัดการกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่แตกต่าง

ไปจากชีวิตปกติของพวกเขา "

"- ศึกษาเรื่องราว สืบสาวความเป็นมาของผู้คนที่เรารู้จักอยู่แล้ว แม้แต่คนในครอบครัวเรา แต่ไม่รู้ความ

เป็นมาโดยละเอียดของเขา เพ่ือให้เข้าใจเขาทั้งในฐานะที่เป็นบัจเจก และในฐานะที่เขาเป็นคนของสังคม

ของชุมชนเขา "

"- อีกวิธีหนึ่งคือ หาวิธีที่จะเขาใจกลุ่มคนหรือพฤติกรรมที่เคยเป็นที่เข้าใจมาแล้วอย่างหนึ่ง ด้วยความเข้าใจ

อย่างใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยหรือยังไม่ค่อยได้รับการอธิบาย!

"- หรือการใช้วิธีการพรรณนารายละเอียดชีวิตคนที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างละเอียด ซึ่งจะทําให้เห็นสิ่งที่ไม่

เคยเห็นมาก่อนหากศึกษาด้วยวิธีทางสถิติ เช่น การศึกษาการเลือกตั้งด้วยวีแบบชาติพันธ์ุนิพนธ์จะให้ราย

ละเอียดมากกว่าวิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์และการใช้แบบสอบถามแบบรัฐศาสตร์ เป็นต้น!

"""""