5
สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 ประตูแห่งโอกาสสู่แขวงคําม่วน สภาพทางภูมิศาสตร์ แขวงคําม่วน นับเป็นแขวงใหญ่อีกแขวงหนึ่งของ สปป.ลาว มีบนพื้นที่ 16,315 ตารางกิโลเมตร พื้นทีส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมแม่น้ําโขง ตอนกลางของแขวงเป็นเทือกเขามีภูเขาสูงสุดชื่อ ภูผาเป็ดสูงราว 1,558 ฟุต มีแม่น้ําสายสําคัญ คือ แม่น้ํามูน แม่น้ําเทินหรือกระดิ่ง แม่น้ําหินบูน แม่น้ําเซบั้งไฟ และแม่น้ําเซบั้งน้อย มี ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายต่างๆ ได้แก่ ลาว พวน ผู้ไท กะโซ้ แสก ย้อ และญวน แขวงคําม่วน ประกอบด้วยเมือง (อําเภอ) ต่างๆ 9 เมืองคือ เมืองท่าแขก มหาไซ หนองบก หินบูน ยมราช บัวละพา นากาย เซบังไฟ และไซบัวทอง เป็นแขวงที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็น ประตูการค้าชายแดนสําคัญระหว่างเมืองท่าแขกกับจังหวัดนครพนม สะพานข้ามแม่นําโขงแห่งที่ 3 เปิด ให้บริการอย่างเป็นทางการ ทําให้การคมนาคมระหว่างประเทศทั้ง 2 สะดวกและมีโครงการที่คนไทยสามารถ เข้าไปลงทุน เช่น การลงทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติซึ่งขณะนี้ จีนและเวียดนามได้เข้าไปรับสัมปทานใน

เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

  • Upload
    nay-den

  • View
    18

  • Download
    3

Embed Size (px)

DESCRIPTION

เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

Citation preview

Page 1: เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 ประตูแห่งโอกาสสู่แขวงคําม่วน

สภาพทางภูมิศาสตร์

แขวงคําม่วน นับเป็นแขวงใหญ่อีกแขวงหนึ่งของ สปป.ลาว มีบนพ้ืนท่ี 16,315 ตารางกิโลเมตร พ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นท่ีราบริมแม่น้ําโขง ตอนกลางของแขวงเป็นเทือกเขามีภูเขาสูงสุดชื่อ ภูผาเป็ดสูงราว 1,558 ฟุต มีแม่น้ําสายสําคัญ คือ แม่น้ํามูน แม่น้ําเทินหรือกระด่ิง แม่น้ําหินบูน แม่น้ําเซบ้ังไฟ และแม่น้ําเซบ้ังน้อย มีประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายต่างๆ ได้แก่ ลาว พวน ผู้ไท กะโซ้ แสก ย้อ และญวน

แขวงคําม่วน ประกอบด้วยเมือง (อําเภอ) ต่างๆ 9 เมืองคือ เมืองท่าแขก มหาไซ หนองบก หินบูน ยมราช บัวละพา นากาย เซบังไฟ และไซบัวทอง เป็นแขวงท่ีมีความเจริญทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นประตูการค้าชายแดนสําคัญระหว่างเมืองท่าแขกกับจังหวัดนครพนม สะพานข้ามแม่น้ําโขงแห่งท่ี 3 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ทําให้การคมนาคมระหว่างประเทศท้ัง 2 สะดวกและมีโครงการท่ีคนไทยสามารถเข้าไปลงทุน เช่น การลงทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติซ่ึงขณะนี้ จีนและเวียดนามได้เข้าไปรับสัมปทานใน

Page 2: เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

แขวงคําม่วนเป็นจํานวนมาก ลาวจะเป็นสวิตเวอร์แลนด์แห่งอาเซียนโดยไม่มีทะเล แต่มีอุตสาหกรรมและความเจริญตลอดจนมีผลผลิตการเกษตร มีการลงทุน

ศักยภาพของแขวงคําม่วน

แขวงคําม่วนหลังการเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว แห่งท่ี 3 เม่ือวันท่ี 11 พฤศจิกายน 2554 มีการพัฒนาข้ึนมาก สังเกตได้จากตึกรามบ้านช่อง โดยฉพาะในเมืองท่าแขกท่ีเป็นเมืองหน้าด่าน ริมแม่น้ําโขงฝั่ง สปป.ลาว ท่ีอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมของไทย บ้านเรือนหลายหลังท่ีปลูกสร้างในเมืองนี้เรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับคฤหาสน์ ปัจจุบันในเมืองท่าแขกยังคงมีการก่อสร้างถนน ตึกรามบ้านช่องและอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาต่างๆ ท่ีกําลังเกิดข้ึนในแขวงคําม่วน ได้สะท้อนบทบาทสําคัญสอดรับกับนโยบายการพัฒนาประเทศ และยกระดับจากประเทศท่ีถูก Land locks สู่การเป็น Land link ที่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากมีโครงข่ายถนนซึ่งจะครบวงจรมากขึ้นเมื่อเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครพนมและแขวงคําม่วนกับเวียดนามและจีนตอนใต้ ลาวจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งอาเซียน โดยไม่มีทะเล แต่มีอุตสาหกรรมและความเจริญตลอดจนมีผลผลิตการเกษตรและมีการลงทุนจากประเทศต่างๆ

การสร้างสะพานทําให้เห็นความสําคัญในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองท่าแขกกับนครพนม เพราะจุดนี้ถือเป็นจุดแคบท่ีสุดของ สปป.ลาว มีระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตรและไม่ไกลจากท่าเรือหวุงอ๋างของเวียดนาม เป็นระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร ท้ัง 2 รัฐบาลจึงกําหนดให้จุดนี้เป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่าง สปป.ลาวกับไทย รวมถึงการค้าผ่านแดนไปยังเวียดนามและจีน นอกจากโครงข่ายถนนแล้ว ปัจจุบัน สปป.ลาว กําลังมีแผนก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟ โดยยึดตามแผนแม่บทท่ีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เคยศึกษาเอาไว้ ซ่ึงโครงข่ายดังกล่าวจะมีการเชื่อมต่อทางรถไฟจากสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านมายังเวียดนามต่อไปถึงกัมพูชา โดยทางรถไฟเส้นนี้จะมีจุดท่ีแยกขวาวิ่งมาทางตะวันตกเข้า สปป.ลาว โดยมีปลายทางท่ีเมืองท่าแขก แขวงคําม่วน

สําหรับในฝั่งไทยมีการสร้างทางรถไฟ จาก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ถึง จ.นครพนม เพ่ือรองรับกับโครงข่ายทางรถไฟในลาวนี้ด้วย จะทําให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้า และการเดินทางลดลงไปได้มาก การท่ีเป็นแขวงซ่ึงต้ังอยู่ก่ึงกลางประเทศ มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ีสมบูรณ์ และเป็นจุดศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมทั้งทางถนนและรถไฟ ทําให้แขวงคําม่วนมีความโดดเด่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นจุดรวมศูนย์ของโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของผู้คนท่ีอาศัยอยู่ใน 6 ประเทศของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขงให้สามารถเดินทางไปมาหากันได้โดยสะดวก แขวงคําม่วนจึงเป็นแขวงท่ีมีศักยภาพลงทุนสูง ท่ีนักลงทุนชาวไทยน่าจะเข้าไปลงทุน เพราะไทยมีความได้เปรียบท่ีอยู่ใกล้ท่ีสุด มีเพียงแม่น้ําโขงท่ีขวางก้ันระหว่างนครพนม กับแขวงคําม่วนเอาไว้เท่านั้น

Page 3: เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

โอกาสสําหรับนักธุรกิจไทยในแขวงคําม่วน

ขณะนี้แขวงคําม่วนมีโครงการลงทุนจากต่างประเทศมากมาย โดยเฉพาะ เงินลงทุนจากจีน ถ้ามองจากมุมของนักลงทุนไทย สะพานมิตรภาพท่ี 3 ท่ีเป็นจุดเชื่อมต่อให้กับท้ัง 2 ประเทศได้เปิดใช้แล้วก็น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจมากมายให้กับผู้ประกอบการไทย แต่เป็นท่ีน่าเสียดายว่าโอกาสทางธุรกิจต่างๆในแขวงคําม่วนได้มีนักลงทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ญ่ีปุ่น เวียดนามและออสเตรเลียเข้าไปลงทุนโครงการต่างๆเป็นจํานวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างเข่ือนและโรงงานผลิตไฟฟ้า โครงการเหมืองแร่โปแตช โครงการเกษตรแบบมีสัญญา ฯลฯ สําหรับนักลงทุนไทยสามารถเข้าไปลงทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติท่ียังอุดมสมบูรณ์ในแขวงคําม่วน ได้แก่ โรงงานปูนซีเมนต์และธุรกิจท่องเท่ียว

โรงงานปูนซีเมนต์

สปป.ลาว อยู่ในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและก่อสร้างโครงสร้างพ้ืนฐาน ทําให้มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นจํานวนมาก เช่น โครงการสร้างเข่ือนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ํา ชลประทาน ถนน อาคารสํานักงาน โรงแรม ทําให้ สปป.ลาว ประสบปัญหาขาดแคลนปูนซีเมนต์ โรงงานปูนซีเมนต์ภายในประเทศไม่สามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้ทันต่อความต้องการของตลาด ภาคเอกชนจึงมีการเสนอให้รัฐบาลนําเข้าปูนซีเมนต์จากประเทศเพ่ือนบ้านเพ่ือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่นการนําเข้าปูนซีเมนต์จากไทย ดังท่ีกล่าวมาแล้ว

แขวงคําม่วนมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เป็นจํานวนมาก เกือบท้ังหมดนําเข้าปูนซีเมนต์จากไทย เพื่อนําไปใช้ก่อสร้างใน สปป.ลาว และตลอดวันมีการลําเลียงรถขนปูนซีเมนต์ข้ามฝั่งจากไทยไปฝั่ง สปป.ลาวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในแขวงคําม่วนมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์มีสูงมาก แม้ว ่าในแขวงคําม่วนเป็นที ่ตั ้งของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที ่ใหญ่ที ่ส ุดในลาว มีกําลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี โรงงานผลิตปูนซีเมนต์นี้ ดําเนินการโดยบริษัทชิโน ไฮโดร คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซ่ึงมีความชํานาญในการสร้างเข่ือน โดยภายใน สปป.ลาวนั้น นอกจากโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ท่ีแขวงคําม่วนแล้ว บริษัทชิโน ไฮโดรฯ ยังได้รับสัมปทานในการสร้างเข่ือนและโรงงานผลิตไฟฟ้าอีกหลายแห่ง อาทิ โรงไฟฟ้าน้ําอู เข่ือนปากลาย โครงการน้ํางึม 5 ฯลฯ

นอกจากนี้บริษัทจีนดังกล่าวยังเป็นผู้ได้รับสัมปทานสร้างเข่ือนฮัดจี เข่ือนผลิตไฟฟ้าขนาด 800 เมกะวัตต์ ในแม่น้ําสาละวินของพม่า จากการที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าหลายแห่ง ทําให้ปูนซีเมนต์ท่ีผลิตได้จากโรงงานในแขวงคําม่วน นําไปใช้ในการก่อสร้างเข่ือน เป็นหลัก รวมถึงการก่อสร้างสนามกีฬาอีกหลายแห่งในนครเวียงจันทน์ ทําให้กําลังการผลิตปูนซีเมนต์ จากโรงงานแห่งนี้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ การก่อสร้างในแขวงคําม่วนหลายโครงการ จึงยังจําเป็นต้องนําเข้าปูนซีเมนต์จากไทยผ่านทางจังหวัดนครพนม

Page 4: เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

ปัจจุบันโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในแขวงคําม่วน ได้รับการอนุมัติให้ขยายกําลังการผลิตข้ึนเป็น 2 ล้านตันต่อปี โดยอยู่ระหว่างการสํารวจผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม หาแหล่งวัตถุดิบโดยเฉพาะภูเขาหินปูนซ่ึงมีอยู่เป็นจํานวนมากในแขวงคําม่วน และการจัดหาแหล่งพลังงานหลักท่ีนํามาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ คือ ถ่านหิน จากปัจจุบันท่ีต้องใช้ถ่านหินในการผลิตปูนซีเมนต์ถึง ปีละ 1.3 แสนตัน เป็นการนําเข้าจากเวียดนามท้ังหมด อย่างไรก็ตาม ประชาชนในสปป.ลาวมีความนิยมในสินค้าปูนซีเมนต์ของไทยมากกว่าสินค้าปูนซีเมนต์ของจีน เนื่องจากปูนซีเมนต์ของไทยมีคุณภาพท่ีดี จึงเป็นโอกาสท่ีดีสําหรับผู้ประกอบการไทยและถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งท่ียังมีโอกาสสูงท่ีไทยจะเข้าไปลงทุนโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในแขวงคําม่วน

ธุรกิจท่องเท่ียว

แขวงคําม่วนมีจุดแข็งทางด้านการท่องเท่ียว และมีโอกาสสําหรับนักลงทุนไทยท่ีจะเข้าไปลงทุนธุรกิจท่องเท่ียวในแขวงคําม่วน จากการก่อสร้างโครงข่ายถนนท่ีสปป.ลาวทํามาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดพ้ืนท่ีท่องเท่ียวใหม่ๆ ให้เกิดข้ึนในแขวงคําม่วนหลายแห่ง ท่ีสําคัญ อาทิ บริเวณป่าสงวน ท่ีเมืองนากาย ซ่ึงมีนักท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์ เดินทางเข้าไปเยี่ยมชม ปัจจุบันเริ่มมีผู้ลงทุน ก่อสร้างท่ีพักสําหรับนักท่องเท่ียวเหล่านี้ไว้บ้างแล้ว

นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดเส้นทางท่องเท่ียวจากเมืองท่าแขกไปยังเมืองหินบุน และเมืองนากาย ซ่ึงสามารถต่อไปได้ถึงประเทศเวียดนาม ในเส้นทางนี้ได้มีการค้นพบถํ้าท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติแห่งหนึ่ง มีความลึกของถํ้ายาวเข้าไปในภูเขาถึง 7 กิโลเมตร ถือเป็นลักษณะของถํ้าท่ีมีเพียงไม่ก่ีแห่งในโลกนี้ ท่ีเมืองหินบุนยังมีป่าสงวนหินบุน ซ่ึงเป็นป่าหินขนาดใหญ่คล้ายๆ กับป่าหินในเมืองคุนหมิง มลฑลยูนนาน ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเท่ียวท่ีสมบูรณ์และยังมีถํ้าพระ ท่ีค้นพบเม่ือ ปี 2547 ในเมืองท่าแขก เป็นถํ้าธรรมชาติ ท่ีภายในบรรจุไว้ด้วยพระพุทธรูปขนาดต่างๆ จํานวนกว่า 200 องค์ เป็นพระพุทธรูปท่ีสร้าง ไว้เม่ือประมาณ 400 ปีมาแล้ว ปัจจุบันยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างไว้เพ่ือวัตถุประสงค์ประการใด ในเมืองท่าแขกยังมีสวนดอกไม้ขนาด ใหญ่ให้คนเข้าไปเดินชมได้ภายในวัดพระยาศรีโคตรบูร ซ่ึงเป็นชื่อของอดีตเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร มีอาณาเขตต้ังแต่จังหวัดสกลนคร นครพนม มาจนถึงเมืองท่าแขกเม่ือประมาณ 1,000 ปีก่อน ถือเป็นจุดท่องเท่ียวเชิงประวัติศาสตร์ ท่ีน่าสนใจท้ังสิ้น

แขวงคําม่วนมีโรงแรมขนาดใหญ่ท่ีได้มาตรฐานเพียงแห่งเดียว ได้แก่ โรงแรม Riveria สูง 5 ชั้น 63 ห้อง พัก ต้ังอยู่ติดกับท่าเรือโดยสาร ท่าเรือขนส่ง สินค้า และด่านศุลกากรเมืองท่าแขก โรงแรมนี้ดําเนินการโดยบริษัท GL Group ซ่ึงทําธุรกิจโรงแรม และกาสิโนในเกนต้ิง ไอส์แลนด์ มาเลเซีย ได้ร่วมทุนกับบริษัท Lao SV Group เข้ามาปรับปรุง โรงแรมคําม่วน (Khammouan Hotel) เดิม และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Riveria ถือเป็น 1 ในเครือข่ายโรงแรม และสถานบันเทิงของกลุ่ม GL Group ทุนจากมาเลเซีย นอกจากในมาเลเซียแล้วกลุ่มนี้ยังมีโรงแรมอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ กรุงโฮจิมินห์ ซิตี้ สาธารณรัฐเวียดนาม และกัมพูชา

Page 5: เอกสารวิเคราะห์ แขวงคำม่วน

ปัจจุบัน ห้องพักโรงแรมในแขวงคําม่วนไม่เพียงพอต่อนักธุรกิจและนักท่องเท่ียวท่ีเดินทางมาแขวงคําม่วน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสท่ีดีสําหรับนักธุรกิจ ไทย ที่จ ะ เข้า ไปล งทุนสร้า ง โ ร งแรม ในแขวง คําม่วน เ พื่อรองรับนักท่อง เที่ยวและนักธุรกิจของไทย, เวียดนามละจีนที่จะเดินทางมาท่องเ ที่ยวและติดต่อธุรกิจการค้าระหว่างกันบนเส้นทาง East West Economic Corridor ท่ีผ่านแขวงคําม่วนที่จะเพิ่มมากขึ้นภายหลัง เปิดใช้ สะพานมิตรภาพไทย -ลาวแห่งท่ี 3 ซ่ึงทางแขวงคําม่วนมีนโยบายสนับสนุนให้มีการก่อสร้าง โรงแรมเพ่ิมข้ึน โดยทางแขวงคําม่วนจะพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานของเมือง มีการก่อสร้างถนนหนทางต่างๆ เพ่ือรองรับนักท่องเท่ียวและการลงทุนสิ่งอํานวยความสะดวกทางด้านการท่องเท่ียว

จัดทําโดย กลุ่ม ลาว อินโดนีเซีย

สํานักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ

พฤษภาคม 2555