33
๒๓๒ เอกสารประกอบการศึกษา วิชากฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา (.๑๐๑) กิตติศักดิปรกติ ปญหานิติกรรมที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา อุทาหรณ . เปนผูเยาวโดยมี . เปนผูแทนโดยชอบธรรม ไดทําสัญญาจะขายที่ดินแปลงหนึ่งของตนใหแก . โดยทําเปนหนังสือสัญญากันเองระบุวาสัญญาจะซื้อขายรายนี้ใหมีผลเมื่อไดรับอนุญาตจากศาลใหจําหนาย ที่ดินแปลงดังกลาวไดตามมาตรา ๑๕๗๔ ตอมาระหวางที่ยังไมมีการยื่นคํารองตอศาลใหพิจารณาอนุญาตในการ ขายที่ดินแปลงนี. แจงให . ทราบวาไมประสงคจะผูกพันตามสัญญานี้ตอไป ดังนี. จะหลุดพนจากความ ผูกพันตามสัญญาหรือไม อุทาหรณ . ประสงคจะซื้อรถยนตในหางของ . ราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต . ขาดเงินมีแตสลากกินแบง เพียง ใบจึงนําสลากกินแบงไปแสดงเพื่อขอซื้อรถยนตจาก . โดยตกลงทําสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขวา หาก . ถูก รางวัลสลากกินแบงที่ออกรางวัลในวันนั้นและไดรับเงินอยางนอย ๕๐๐,๐๐๐ บาท . และ . ตกลงซื้อขายรถยนต คันนั้นกัน ดังนี้หากปรากฏวาสลากของ . ถูกรางวัลทีในวันนั้นมีมูลคา ลานบาท ดังนี้สัญญาซื้อขายระหวาง . กับ . มีผลบังคับไดหรือไม เพราะเหตุใด อุทาหรณ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา ในเวลาที. กับ . ตกลงทําสัญญากันนั้นสลากกินแบงไดออก รางวัลไปแลวตั้งแตเมื่อวันกอนที่ทั้งสองจะตกลงกัน วัน แต . ยังไมทันไดตรวจวาสลากของตนถูกรางวัล หรือไม อุทาหรณ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา สลากกินแบงที่ใชในการตกลงกันนั้นเปนของงวดกอนหนานี้ซึ่ง ไดออกรางวัลไปแลว และ . ไมไดรับรางวัลใด เลย แตคูกรณีทั้งสองฝายเขาใจผิดไปวาเปนสลากงวดที่กําลังจะ ออกรางวัลในวันนั้น อุทาหรณ . ประสงคจะซื้อเครื่องรับโทรทัศนเครื่องหนึ่งจาก . เปนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท โดยทั้งสองฝายตก ลงกันใหชําระราคาเปนงวด งวดละ ,๐๐๐ บาท โดย . ตกลงสงมอบเครื่องรับโทรทัศนให . ไปใชไดไดกอน แต . ตกลงสงวนการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องรับโทรทัศนนี้ไวจนกวา . จะชําระราคาครบถวน ดังนี้สัญญาซื้อ ขายรายนี้สําเร็จเด็ดขาดลงแลว หรือเปนสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข อุทาหรณ ตามกรณีในอุทาหรณ หาก . นําเครื่องโทรทัศนที่ซื้อมาไปตรวจสภาพที่รานของ . หลังจาก ไดผอนชําระไปแลว งวด ปรากฏวา . ไดขายเครื่องรับโทรทัศนเครื่องนั้นตอไปยัง . เปนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ดังนี. จะมีสิทธิเรียกคาสินไหมทดแทนจาก . หรือเรียกให . สงมอบเครื่องรับโทรทัศนเครื่องดังกลาวคืนแก ตนไดหรือไม เพียงใด

เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

  • Upload
    nawapat

  • View
    285

  • Download
    1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๒

เอกสารประกอบการศึกษา วิชากฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา (น.๑๐๑)

กิตติศักดิ์ ปรกติ

ปญหานิติกรรมที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา อุทาหรณ ๑ ก. เปนผูเยาวโดยมี ข. เปนผูแทนโดยชอบธรรม ไดทําสัญญาจะขายที่ดินแปลงหน่ึงของตนใหแก ค. โดยทําเปนหนังสือสัญญากันเองระบุวาสัญญาจะซื้อขายรายน้ีใหมีผลเมื่อไดรับอนุญาตจากศาลใหจําหนายที่ดินแปลงดังกลาวไดตามมาตรา ๑๕๗๔ ตอมาระหวางที่ยังไมมีการยื่นคํารองตอศาลใหพิจารณาอนุญาตในการขายที่ดินแปลงนี้ ข. แจงให ค. ทราบวาไมประสงคจะผูกพันตามสัญญาน้ีตอไป ดังน้ี ก. จะหลุดพนจากความผูกพันตามสัญญาหรือไม อุทาหรณ ๒ ก. ประสงคจะซื้อรถยนตในหางของ ข. ราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต ก. ขาดเงินมีแตสลากกินแบงเพียง ๑ ใบจึงนําสลากกินแบงไปแสดงเพ่ือขอซื้อรถยนตจาก ข. โดยตกลงทําสัญญาซื้อขายมีเง่ือนไขวา หาก ก. ถูกรางวัลสลากกินแบงที่ออกรางวัลในวันน้ันและไดรับเงินอยางนอย ๕๐๐,๐๐๐ บาท ก. และ ข. ตกลงซื้อขายรถยนตคันน้ันกัน ดังน้ีหากปรากฏวาสลากของ ก. ถูกรางวัลที่ ๑ ในวันน้ันมีมูลคา ๓ ลานบาท ดังน้ีสัญญาซื้อขายระหวาง ก. กับ ข. มีผลบังคับไดหรือไม เพราะเหตุใด อุทาหรณ ๓ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา ในเวลาที่ ก. กับ ข. ตกลงทําสัญญากันน้ันสลากกินแบงไดออกรางวัลไปแลวต้ังแตเมื่อวันกอนที่ทั้งสองจะตกลงกัน ๑ วัน แต ก. ยังไมทันไดตรวจวาสลากของตนถูกรางวัลหรือไม อุทาหรณ ๔ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา สลากกินแบงที่ใชในการตกลงกันน้ันเปนของงวดกอนหนาน้ีซึ่งไดออกรางวัลไปแลว และ ก. ไมไดรับรางวัลใด ๆ เลย แตคูกรณีทั้งสองฝายเขาใจผิดไปวาเปนสลากงวดที่กําลังจะออกรางวัลในวันน้ัน อุทาหรณ ๕ ก. ประสงคจะซื้อเครื่องรับโทรทัศนเครื่องหน่ึงจาก ข. เปนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท โดยทั้งสองฝายตกลงกันใหชําระราคาเปนงวด ๆ งวดละ ๒,๐๐๐ บาท โดย ข. ตกลงสงมอบเครื่องรับโทรทัศนให ก. ไปใชไดไดกอน แต ข. ตกลงสงวนการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องรับโทรทศันน้ีไวจนกวา ก. จะชําระราคาครบถวน ดังน้ีสัญญาซื้อขายรายน้ีสําเร็จเด็ดขาดลงแลว หรือเปนสัญญาซื้อขายโดยมีเง่ือนไข อุทาหรณ ๖ ตามกรณีในอุทาหรณ ๕ หาก ก. นําเครื่องโทรทัศนที่ซื้อมาไปตรวจสภาพที่รานของ ข. หลังจากไดผอนชําระไปแลว ๓ งวด ปรากฏวา ข. ไดขายเครื่องรับโทรทัศนเครื่องน้ันตอไปยัง ค. เปนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ดังน้ี ก. จะมีสิทธิเรียกคาสินไหมทดแทนจาก ข. หรือเรียกให ค. สงมอบเครื่องรับโทรทัศนเครื่องดังกลาวคืนแกตนไดหรือไม เพียงใด

Page 2: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๓

สวนที่ ๕

นิติกรรมมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา และนิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม

๑. นิติกรรมมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลา

๑.๑ ความหมาย ความสําคัญ และกรณีท่ีอาจต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาได

ก) ขอความคิดวาดวยเงื่อนไข

คําวาเง่ือนไขเปนคําท่ีมีไดหลายความหมาย ตามความหมายท่ัวไปนั้น เง่ือนไขของส่ิงหนึ่งส่ิงใดหรือเหตุการณหนึ่งเหตุการณใด หมายถึงพฤติการณซ่ึงเปนสาเหตุหรือมีความเกี่ยวพันเชิงเหตุผลกับส่ิงนั้น หรือเหตุท่ีทําใหเหตุการณนั้นมีข้ึนหรือมีผลเปนท่ียอมรับได เชนเง่ือนไขในการชําระหนี้มีวา ลูกหนี้ตองชําระเปนเงินสด หรือเง่ือนไขในการบอกเลิกสัญญามีวาตองทําเปนหนังสือ เง่ือนไขในการสงมอบกําหนดวาจะตองทําในระหวางเวลากลางวัน เปนตน สวนในแงกฎหมายนติิกรรมนั้นคําวา “เง่ือนไข” มีความหมายเฉพาะ กลาวคือนติิกรรมท่ีมีเง่ือนไข หมายถึงนิติกรรมท่ีมีขอกําหนดใหนิติกรรมนั้นเปนผล เม่ือมีเหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกดิข้ึนหรือไมในอนาคตเกิดข้ึน (มาตรา ๑๘๒ ปพพ.) เง่ือนไขในความหมายของมาตรา ๑๘๒ ปพพ. จึงมีความหมาย ๒ นัยคือ นัยประการแรกหมายถึงขอกําหนดในนิติกรรมน้ันเองซ่ึงจะทําใหนิติกรรมมีผล สวนนัยประการตอมา เง่ือนไขยังหมายถึงเหตุการณในอนาคตอันไมแนนอนวาจะเกดิข้ึนหรือไมอีกดวย (๑) เง่ือนไขตามท่ีกฎหมายกําหนดไวนี้ กฎหมายมุงหมายถึงเง่ือนไขของนิติกรรม ซ่ึงเปนเง่ือนไขในแงขอกําหนดแหงนิติกรรมท่ีผูทํานิติกรรมกําหนดขึ้นดวยเจตนา ไมใชเง่ือนไขทางกฎหมายซ่ึงโดยท่ัวไปหมายถึงขอกําหนดท่ีเปนองคประกอบแหงความมีผลตามกฎหมายในเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง เราจงึควรเขาใจโดยแยกแยะวา เง่ือนไขท่ีกําหนดข้ึนในนิติกรรมน้ีเปนคนละกรณกีันกับเง่ือนไขทางกฎหมาย เพราะนิติกรรมท่ีทําข้ึนโดยมีเง่ือนไขนั้นยอมเกิดผลเปนนิติกรรมท่ีผูกพันกันแลวทันทีท่ีทํานิติกรรมนั้นสําเร็จลง และคูกรณีท้ังสองฝายยอมมีสิทธิและหนาท่ีระหวางกันแลว (มาตรา ๑๘๔, ๑๘๕ ป.พ.พ.) แมวาเง่ือนไขจะยังไมสําเร็จและนติิกรรมนั้นยังไมเปนผลก็ตาม ความสําเร็จของเง่ือนไขเพยีงแตทําใหนิติกรรมท่ีเกิดข้ึนแลวนั้นเปนผลหรือส้ินผลไปตามท่ีตกลงกันเทานั้น สวนเง่ือนไขทางกฎหมายน้ันกฎหมายมุงหมายถึงองคประกอบทางกฎหมายท่ีทําใหนิติกรรมมีผลตามกฎหมายเปนสําคัญ เชนสัญญาใหยอมสมบูรณเม่ือสงมอบ (มาตรา ๕๒๓ ป.พ.พ.)

Page 3: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๔

การสงมอบจึงเปนเง่ือนไขความสมบูรณหรือเปนองคประกอบของสัญญาให หากองคประกอบทางกฎหมายยังไมครบถวนนิติกรรมยอมไมครบองคประกอบและไมเกิดเปนนิติกรรมเลย ตัวอยางท่ีเห็นได ไดแกกรณตีามอุทาหรณ ๑ ซ่ึงเปนกรณท่ีีกฎหมายไดกําหนดไวเปนองคประกอบทางกฎหมายในมาตรา ๑๕๗๔ ปพพ. วา การจําหนายท่ีดินของผูเยาวจะจําหนายไดก็ตอเม่ือไดรับอนุญาตจากศาลแลว ในกรณเีชนนี้เม่ือพิเคราะหดูความมุงหมายของกฎหมายแลวเหน็ไดวา กฎหมายมุงใหนิติกรรมเกิดข้ึนเม่ือครบองคประกอบตามท่ีกฎหมายกําหนด คือจะตองไดรับอนุญาตจากศาลเสียกอน การไดรับอนุญาตจากศาลจึงนบัเปนเง่ือนไขทางกฎหมาย ไมใชเง่ือนไขแหงนิติกรรม ดวยเหตุนี้ไมวานิติกรรมซ้ือขายนั้นจะกําหนดใหการไดรับอนุญาตจากศาลเปนเง่ือนไขหรือไมกําหนดเง่ือนไขใด ๆ เลยก็ตาม การไดรับอนุญาตจากศาลก็ยังคงเปนองคประกอบท่ีจะทําใหนิติกรรมนั้นมีผลหรือไมมีผลอยูดี๑ และโดยท่ีเปนองคประกอบแหงนิติกรรม คูกรณีจึงไมอาจตกลงใหซ้ือขายกันโดยไมตองไดรับอนุญาตจากศาล เพราะหากขืนตกลงกันเชนนั้นก็เปนการอันขัดตอกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมยอมตกเปนโมฆะ อยางไรก็ตาม คําวาเง่ือนไขท่ีคูกรณีตกลงกันในนิติกรรมตาง ๆ นั้น ไมจําเปนจะตองเปนเง่ือนไขอันเปนขอกําหนดเกีย่วกับความเปนผลหรือส้ินผลของนิติกรรมท่ีข้ึนอยูกับเหตุการณท่ีไมแนนอนในอนาคตตามความหมายในมาตรา ๑๘๒ ปพพ. เสมอไป เพราะอาจมีการตกลงเง่ือนไขอยางอ่ืน ซ่ึงไมใชเปนขอกําหนดเกี่ยวกับความเปนผลของนิติกรรมก็ได เชนเง่ือนไขการปฏิบัติการชําระหนี้ เง่ือนไขสงมอบ หรือรับมอบสินคา เง่ือนไขการชําระเงิน หรือเง่ือนไขการรับสมัครบุคคลเขาทํางาน เปนตน เง่ือนไขเหลานี้ไมกระทบตอความมีผลแหงนิติกรรม ไมอาจนับวาเปนเง่ือนไขแหงนิติกรรม๒ (๒) เง่ือนไขแหงนติิกรรมในประมวลกฎหมายแพงและพาณชิยนั้นหมายถึง “เหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกิดข้ึนหรือไมในอนาคต” ซ่ึงหากสําเร็จเม่ือใด คูกรณตีกลงใหนิติกรรมเปนผลหรือส้ินผล

๑ โปรดดู ฎีกาที่ ๕๖๐/๒๕๑๐ ๒๕๑๐ ฎ.๘๓๑ สัญญาจะขายที่ดินมีขอความกําหนดวาผูขายจะดําเนินการยื่น

คํารองตอศาลขอขายที่ดินแทนเด็ก ดังน้ีเมื่อไดรองตอศาลก็เปนการปฏิบัติตามสัญญาแลว เมื่อศาลไมอนุญาตใหขายก็เปนอันไมซื้อไมขาย ไมสําเร็จตามเง่ือนไข อน่ึงกรณีน้ี จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, พิมพครั้งที่ ๕ ๒๕๒๘, หนา ๒๑๗ อธิบายวาเปนสัญญาซื้อขายมีเง่ือนไขบังคับกอนวาตองไดรับอนุญาตจากศาลใหขายได

๒ โปรดดู ฎีกาที่ ๑๖๙๘/๒๕๑๕ ๒๕๑๕ ฏ. ๑๒๓๑ จําเลยตกลงยอมชดใชเงินแกโจทกเพราะทํางานผิดระเบียบ

โดยโจทกจะใหจําเลยกลับเขาประจําตําแหนงเดิม ขอที่โจทกรับจะทําน้ีไมใชเง่ือนไข ดังน้ันเมื่อโจทกสั่งใหจําเลยประจําตําแหนงเดิมแลว แมจําเลยไปรับตําแหนงไมไดเพราะปวย จําเลยก็ตองใชเงินแกโจทกตามสัญญา

Page 4: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๕

เหตุการณอันไมแนนอนซ่ึงเปนสาระสําคัญของเง่ือนไขนี้ จะตองเปนเหตุการณอันไมแนวาจะเกิดข้ึนหรือไม ถาเปนเหตุการณท่ีรูแนวาจะตองเกิดข้ึนอยางแนนอนในอนาคต เพยีงแตไมรูแนวาจะเกิดข้ึนเม่ือใด ดังนี้เหตุการณนั้นไมใช “เง่ือนไข” ในความหมายนี้ แตแทท่ีจริงแลวเปน “เง่ือนเวลา” ซ่ึงหมายถึงเหตุการณในอนาคตท่ีจะตองเกดิข้ึนอยางแนนอน ตัวอยางเชน ก. สัญญาตอ ข. วาจะชําระเงินชวยคาทําศพ เปนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาทแก ข. หรือทายาทของ ข. หากบิดาของ ข. ถึงแกความตาย ดังนีจ้ะเหน็ไดวา ความตายของบิดาของ ข. ซ่ึงดูเหมือนจะเปนเง่ือนไขในการชําระเงินชวยคาทําศพตามสัญญานี้ แทท่ีจริงแลวไมอาจนับเปนเง่ือนไขในความหมายท่ีเปนเหตุการณในอนาคตท่ีไมแนวาจะเกดิข้ึนหรือไม แตความตายของบิดาของ ข. นั้นเปนเหตุการณอันจะตองเกิดข้ึนอยางแนนอน เพียงแตไมรูแนวาจะเกิดข้ึนเม่ือใดเทานัน้ นอกจากเง่ือนไขจะตองเปนเหตุกรณอันไมแนวาจะเกิดข้ึนหรือไมแลว เง่ือนไขยังตองเปนเหตุการณในอนาคตอีกดวย ดังนั้น ถา “เง่ือนไข” ท่ีตกลงกันเปนเหตุการณในปจจุบันหรือเปนเหต-ุการณในอดีตท่ีผานพนไปแลว ดังนี้เหตุการณเชนนัน้ยอมไมอาจนับเปนเง่ือนไขแหงนิติกรรมตามความหมายนี้ แมวาคูกรณีในนิติกรรมจะไดตกลงกนัโดยไมรูวาเหตุการณท่ีตกลงกันวาเปนเง่ือนไขนั้นไดเกิดข้ึนแลวในอดีตหรือในปจจุบันก็ตาม ในเร่ืองนี้มีบัญญัติไวในมาตรา ๑๘๗ ปพพ. ท่ีวา ถาเง่ือนไขสําเร็จแลวแตในเวลทํานิติกรรม หากเปนเง่ือนไขบังคับกอนใหถือ

วานิติกรรมนัน้ไมมีเง่ือนไข หากเปนเง่ือนไขบังคับหลัง ใหถือวานิติกรรมน้ันเปนโมฆะ

ถาเปนอันแนนอนในเวลาทํานิติกรรมวา เง่ือนไขไมอาจจะสําเร็จได หากเปนเง่ือนไขบังคับกอน ใหถือวานิติกรรมนั้นเปนโมฆะ หากวาเปนเง่ือนไขบังคับหลัง ใหถือวานิติกรรมน้ันไมมีเง่ือนไข

หลักตามมาตรา ๑๘๗ ปพพ. นี้เปนหลักธรรมดา ซ่ึงต้ังอยูบนหลักการสันนิษฐานเจตนาท่ีแทจริงของคูกรณีวา หากรูวาเหตุการณอันเปนเง่ือนไขนัน้สําเร็จลงแลว หรือรูวาไมอาจสําเร็จไดเปนแนแท คูกรณีก็คงจะตกลงหรือไมตกลงกันเลยตามเหตุตามผล ในกรณีท่ีเง่ือนไขสําเร็จแลวในเวลาทํานิติกรรม ถาคูกรณีรูวาเง่ือนไขสําเร็จลงแลว ก็คงจะตกลงกันไปโดยไมต้ังเปนเง่ือนไขบังคับกอน เชน๓ตกลงเชาบานกัน โดยมีเง่ือนไขบังคับกอนวาใหสัญญาเชามีผลบังคับเม่ือผูเชาถูกยายมาประจําในทองท่ีนัน้ ดังนี้ถาไดรูแลววาถูกยายมาแลวต้ังแตเวลาท่ีตกลงเชากัน ก็คงจะเชาบานกันโดยไมยกเหตุวาจะถูกยายหรือไมมาเปนเง่ือนไข ซ่ึงก็คือเปนไปตามเจตนาท่ีแทจริงของคูกรณีนั่นเอง หรือในทางกลับกัน ถาเปนเง่ือนไขบังคับหลัง เชนตกลงเชาบานกันโดยต้ังเง่ือนไขบังคับหลังวาใหสัญญาเลิกกันหากถูกยายไปประจําทองท่ีอ่ืน ดังนี้หากรูวาถูกยายไปทองถ่ินอ่ืนแลวต้ังแตเวลาท่ีทําสัญญากัน ก็คงจะไมไดตกลงเชากันเลย

๓ ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๑๖

Page 5: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๖

สวนกรณีท่ีเปนอันแนนอนวาเง่ือนไขไมอาจสําเร็จลงไดกเ็ชน ตกลงเชาบานกันโดยกําหนดเง่ือนไขบังคับกอนวาใหมีผลบังคับหากถูกยายมาประจําในทองท่ีนั้นภายใน ๓ เดือน แตปรากฏวาไดถูกยายไปทองท่ีอ่ืนและไมมีทางยายมาอยูในทองท่ีนัน้ตามเง่ือนไขไดแนนอน ดังนี้หากคูกรณีรูแนวาผูเชาถูกยายไปท่ีอ่ืนแลวก็คงไมไดทําสัญญากนัเลย หรือในกรณท่ีีตกลงเชาบานกันโดยผูใหเชาต้ังเปนเง่ือนไขบังคับหลังวาหากครอบครัวบุตรท่ีอยูตางประเทศยายกลับมาอยูดวยกใ็หสัญญาเชาเลิกกัน แตปรากฏวาครอบครัวบุตรไดกลับมาแลว แตแยกไปอยูท่ีอ่ืน ไมกลับมาอยูดวย หรือบุตรถึงแกความตายไปแลวไมมีทางจะกลับมาอยูดวย ดังนี้เปนกรณีเง่ือนไขบังคับหลังไมอาจสําเร็จลงได ผลก็คือสัญญาเชายอมสมบูรณโดยปราศจากเง่ือนไข๔ มีขอนาคิดวา หากเง่ือนไขสําเร็จแลว หรือไมมีทางสําเร็จไดในขณะทํานิติกรรมแตคูกรณีท้ังสองฝายไมรูถึงขอเท็จจริงนั้น ดังนีจ้ะปรับใชมาตรา ๑๘๗ ปพพ. อยางไร จะถือวานิติกรรมนั้นมีผลโดยไมมีเง่ือนไข หรือตกเปนโมฆะไปทันที หรือจะนับต้ังแตเวลาท่ีคูกรณีท้ังสองฝายรูหรือควรไดรูถึงความสําเร็จ หรือไมมีทางสําเร็จของเง่ือนไขนั้นเสียกอน โดยท่ีบทกฎหมายขางตนเปนบทกฎหมายที่กําหนดข้ึนตามหลักสันนิษฐานเจตนาโดยสุจริตของคูกรณี ดังนัน้หากคูกรณีตกลงกาํหนดใหเหตุการณท่ีเกิดข้ึนแลวในอดีต หรือเหตุการณในปจจุบันเปนเง่ือนไขโดยไมรูวาส่ิงนั้นไดสําเร็จลงแลว หรือไมอาจสําเร็จลงไดก็ตองพิจารณาเจตนาท่ีแทจริงของคูกรณีวาหากไดรูวาส่ิงนั้นไดสําเร็จลงแลว หรือไมมีทางสําเร็จได จะไดตกลงกันไวอยางไร มิใชถือเครงตามตัวบทโดยไมคํานึงถึงเจตนาท่ีแทจริงของคูกรณี เพราะโดยท่ัวไปพอจะถือไดวาในหลายกรณีนัน้ การรูถึงความสําเร็จของเง่ือนไขซ่ึงไดรูในเวลาหลังจากนั้น นบัเปนเหตุการณในอนาคตอยางหนึง่ กรณีเชนนี้ความรูวาเง่ือนไขไดสําเร็จไปแลวหรือไมมีทางสําเร็จไดท่ีไดรูข้ึนภายหลังเปนเสมือนเงื่อนไข หรือเปนเสมือนเง่ือนไขนั้นไดสําเร็จหรือไมมีทางสําเร็จในอนาคตได เชนแมเหตุการณอันคูกรณีต้ังเปนเง่ือนไขจะไดเกิดข้ึนแลวในขณะตกลงกัน แตหากตองใชเวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะรูได เชนขาวคําส่ังยายกด็ี หรือการท่ีบุตรท่ีอยูตางประเทศถึงแกความตายก็ดียังมาไมถึง ดังนี้ความมีผลของนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขจะเปนประการใด ตองพิเคราะหตามหลักเจตนาแทจริงโดยสุจริตของคูกรณี โดยอาศัยหลักการเทียบเคียงบทกฎหมายใกลเคียงอยางยิง่มาปรับใชในกรณีนีด้วยวาจะเปนกรณีท่ีอยูใตบังคับของหลักเง่ือนไขธรรมดา หรืออยูในบังคับแหงหลักเง่ือนไขอันสําเร็จแลวในเวลาทํานิติกรรมตามมาตรา ๑๘๗ ปพพ. ตัวอยางเชน ตกลงเชาบานกนัโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนใหสัญญาเชามีผลเม่ือผูเชาถูกยายมาประจําในทองท่ีนั้น ในระหวางนั้นใหไปมาใชพักอาศัยไดโดยไมเก็บคาเชา โดยไมรูวาในขณะที่ตกลงกันไดมีคําส่ังใหผูเชามาประจําในทองท่ีนั้นแลว กวาตางฝายจะรูถึงคําส่ังยายเวลาก็ลวงเลยไป

๔ ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๑๖

Page 6: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๗

แลวถึง ๑ เดือน ดังนีห้ากจะถือวาเปนสัญญาเชาไมมีเง่ือนไขตามมาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ปพพ. ผูเชาก็ตองชําระคาเชา ๑ เดือนต้ังแตวนัทําสัญญา แตถาถือวาเง่ือนไขสําเร็จเม่ือรูแนวาคําส่ังมีวาอยางไร ดังนี้ก็ตองถือวาสัญญามีผลเม่ือรูถึงคําส่ังยาย ไมตองชําระคาเชาระหวางท่ีมีคําส่ังแลวแตคูกรณยีังไมรู คือถือเอาความรูแนวาถูกส่ังยายมาประจําในทองท่ีนั้นเปนเง่ือนไขดังนี้เปนตน ดวยเหตุนี้ กรณีตามอุทาหรณ ๓ จึงตองตีความการแสดงเจตนาของคูกรณีท่ีเกีย่วกับเง่ือนไขการถูกสลากกินแบงวาหมายถึงรูแนวาสลากถูกรางวัล ดังนั้นจึงตองถือเอาเวลาท่ีตรวจรางวัลหรือเวลาท่ีกําหนดแนไดวาไดถูกรางวัลเปนเกณฑ และตราบใดท่ี ก. ยังไมรูแนวาตนถูกรางวัลหรือไม ก็ตองถือวาเง่ือนไขยังไมสําเร็จอยูนั่นเอง แตถาคูกรณีรูวาเง่ือนไขนั้นสําเร็จไปแลว ยงักําหนดเง่ือนไขเชนนั้นเปนเง่ือนไขบังคับกอน กฎหมายถือวานิติกรรมนั้นเปนผลโดยไมมีเง่ือนไข (มาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ตอนตน) และถากําหนดเปนเง่ือนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ตอนทาย) เพราะยอมคาดหมายไดวาคงจะไมไดทํานติิกรรมนั้นข้ึนมาแตตนนัน่เอง เชนตกลงซ้ือน้ํามันกันรายเดือน เดือนละ ๑,๐๐๐ ลิตร โดยมีเง่ือนไขบังคับหลังวา หากนํ้ามันราคาขึ้นไปถึงลิตรละ ๓๐ บาท สัญญาซ้ือขายเปนอันส้ินผลไป ดังนี้ถาขณะตกลงกันน้ํามันราคาลิตรละ ๓๐ บาทอยูแลว ไมวาในขณะทํานิติกรรมคูกรณีจะรูหรือไมรูวาเง่ือนไขสําเร็จไปแลวหรือไมก็ตาม กรณเีปนท่ีเห็นไดชัดวา หากรูวาเง่ือนไขสําเร็จแลว ยังกําหนดเปนเง่ือนไขบังคับหลัง ก็เทากบัมุงหมายใหนิติกรรมส้ินผลไปในทันทีเลย หากไมรูกย็อมสันนิษฐานไดทํานองเดยีวกันวา หากไดรูก็คงไมประสงคทํานิติกรรมนั้นข้ึนเลย ดังนั้นนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับหลังเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ

ข) ขอความคิดวาดวยเงื่อนเวลา

นิติกรรมท่ีมี “เง่ือนเวลา” หมายถึงนิติกรรมท่ีมีขอกําหนดใหความมีผลหรือส้ินผลของนิติกรรมข้ึนอยูกบัเวลาในอนาคต หรือจะตกลงใหมีผลทันทีแตตองปฏิบัติตามหนาท่ีในนิติกรรมเม่ือถึงเวลากําหนดกไ็ด ตามเจตนาของคูกรณี เง่ือนเวลาจึงตางจากเง่ือนไขตรงที่เง่ือนเวลาหมายถึงเหตุการณในอนาคตซ่ึงจะตองเกิดข้ึนมีข้ึนอยางแนนอน เง่ือนเวลาจึงอาจจะเปนขอกําหนดเกีย่วกับเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือวันใดวันหนึ่งโดยเจาะจงตามปฏิทิน หรือวันท่ีบุคคลใดบุคคลหน่ึงถึงแกความตายก็ได ในกรณีแรกท้ังสองกรณีนัน้เปนวนั เวลา ท่ีมีกําหนดแนนอน สวนกรณหีลังซ่ึงกําหนดวันตายของบุคคลเปนเง่ือนเวลานั้น แมจะเปนเวลาท่ีไมอาจกําหนดแนนอนได แตก็เปนเหตุการณณในอนาคตท่ีตองเกิดข้ึนอยางแนนอนท้ังส้ิน๕ อยางไรก็ดี ถาถือเอากําหนดเวลาในอนาคตท่ีบุคคลใดบุคคลหน่ึงจะถือกําเนิดข้ึนเปนขอกําหนดความเปนผลหรือส้ินผลของนิติกรรม ดังนีย้อมตองนับวา

๕ โปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๒๙, หนา ๒๔๐

Page 7: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๘

เปน “เง่ือนไข” เพราะยังไมแนวา จะมีการปฏิสนธิ หรือแมมีการปฏิสนธิแลวทารกซ่ึงอยูในครรภนั้นจะคลอด หรือรอดชีวิตมาจนถึงวันคลอดไดอยางแนนอนหรือไมนัน่เอง ตัวอยางเชน ก. ตกลงกับ ข. วา ถาบิดาของ ข. ถึงแกความตาย ก. จะจายเงินใหแก ข. เปนคา

ทําศพ ๕๐, ๐๐๐ บาท โดยไมไดระบุรวมไวดวยวา ก. จะจายเงินให ข. หรือทายาทของ ข. ดังนี้จะเห็นไดวากรณดีังกลาวมีเง่ือนไขผูกติดอยูกับเง่ือนเวลาดวย กลาวคือวนัท่ีบิดาของ ข. ถึงแกความตายนั้นเปนเง่ือนเวลา สวนปญหาวา ข. จะมีอายุยืนยาวและมีชีวิตอยูจนถึงวันหลังจากบิดาของ ข. ถึงแกความตายหรือไมนั้นเปนเหตุการณในอนาคตอันไมแนนอน จึงถือไดวาขอกําหนดเกีย่วกับความมีชีวิตของ ข. ในวันท่ีบิดาของ ข. ถึงแกความตายเปนเง่ือนไขอยางหนึ่ง แตถา ก. ตกลงกันกับ ข. วาจะจายเงินให ข. หรือทายาทของ ข. ก็จะเหน็ไดวาความมีผลหรือไมมีผลแหงนิติกรรมยอมข้ึนอยูกบัเง่ือนเวลาคือความตายของบิดา ข. แตประการเดียว

ค) ความหมายและความสําคัญของนติิกรรมมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา

๑) เง่ือนไขนั้นมีข้ึนก็เพื่อใหนิติกรรมท่ีคูกรณไีดตกลงผูกพนักันแลว เกดิความยืดหยุน ไมตายตัว และกาํหนดเผ่ือใหอาจเปล่ียนแปลงหรือส้ินผลไปไดในภายหลัง หากเกดิเหตุการณอยางหนึ่งอยางใดซ่ึงไมแนวาจะเกดิข้ึนหรือไมในอนาคต ตัวอยางเชน ก. เปนเจามรดก ไดกําหนดไวในพินยักรรมท่ีตนทําข้ึนวา หากตนถึงแกความตายก็ใหทรัพยมรดกท้ังหมดตกเปนของบุตรและของภริยาคนละคร่ึงหนึ่ง แตหากภริยามีสามีใหมก็ใหทรัพยมรดกท้ังหมดตกไดแกบุตรแตผูเดียว หรือ ก. กับ ข. ทําพินัยกรรมฉบับเดียวกันตางยกทรัพยสินใหแกกันและกนั โดยมีเง่ือนไขวาหากฝายใดตายกอนใหทรัพยสินของผูท่ีถึงแกความตายกอนตกเปนสินสวนตัวของผูทําพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยูแตผูเดยีว๖ หรือในกรณีท่ี ก. กับ ข. ตกลงทําสัญญาจะซ้ือจะขายท่ีดนิโดย ก. วางเงินมัดจําไว ตอมาท้ังสองฝายตกลงเลิกสัญญากัน แต ข. ยังไมมีเงินมัดจําจะคืนใหจึงตกลงกนัวาเงินมัดจําจะคืนใหเม่ือขายท่ีดินแปลงนี้ได๗ ดังนี้เปนตน ตามอุทาหรณ ๒ เราเหน็ไดวา การที่ ก. ตกลงกับ ข. โดยมีเง่ือนไขวา หากสลากกินแบงของ ก. ถูกรางวัล ก. ตกลงซ้ือรถยนตจาก ข. มีผลทําให ก. สามารถผูกมัด ข. ไวกอนแลวช้ันหนึ่ง เพราะหาก ก. รอตอไปจนกวาจะรูแนวาสลากของตนจะถูกรางวัลหรือไม จะไดรูแนวาจะมีเงินพอซ้ือรถยนตของ ข. เวลาก็อาจผานไป และ ข. อาจจะเปล่ียนใจตกลงขายรถยนตคันดังกลาวใหแกบุคคลภายนอกแลวได แตถา ก. กับ ข. ตกลงผูกมัดกันไวกอน โดยกําหนดใหนติิกรรมเปนผลและกรรมสิทธ์ิโอนกันเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ดังนีห้ากเง่ือนไขสําเร็จนิติกรรมยอมมีผลเปนสัญญาซ้ือขาย

๖ ตัวอยางจากฎีกาที่ ๑๔๖๖/๒๕๓๗ ๗ ตัวอยางจากฎีกาที่ ๖๙๓/๒๕๓๗

Page 8: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๓๙

และการโอนกรรมสิทธ์ิเปนผลพรอมกันไปเลย ในกรณีเชนนี้ ก. และ ข. ไมจําเปนตองมาตกลงทําสัญญาหรือโอนกรรมสิทธ์ิกันใหมอีกแตอยางใด ตัวอยางเชน ตามอุทาหรณ ๕ นั้น ก. ตกลงซ้ือเคร่ืองรับโทรทัศนจาก ข. นับเปนสัญญาซ้ือขายท่ีเสร็จเด็ดขาดแลว เพราะสัญญาซ้ือขายสําเร็จเปนผลข้ึนแลว กรณีไมใชเปนสัญญาซ้ือขายโดยมีเง่ือนไข เพราะกรณีท่ีจะถือไดวาเปนสัญญาซ้ือขายโดยมีเง่ือนไขนั้น ตองเปนกรณท่ีีคูกรณีไมประสงคผูกพันกันจนกวาเง่ือนไขจะสําเร็จ ตราบใดท่ีเง่ือนไขไมสําเร็จนิติกรรมคือสัญญาซ้ือขายก็ยังไมเปนผล แตกรณีตามอุทาหรณ ๕ นัน้ เห็นไดชัดวาคูกรณีในสัญญาซ้ือขายรายน้ีไดตกลงใหสัญญาซ้ือขายเปนผลทันที ดังจะเห็นไดจากการชําระราคาและโอนกรรมสิทธ์ิทรัพยสินกันแลว เพียงแตตกลงกันใหกรรมสิทธ์ิยงัไมโอนไปจนกวาผูซ้ือจะไดชําระราคาครบถวนเทานั้น นับเปนสัญญาซ้ือขายท่ีเปนผลโดยไมมีเง่ือนไข จะมีก็แตมีเง่ือนไขในการโอนกรรมสิทธ์ิ ซ่ึงเปนเง่ือนไขในการชําระหนีเ้ทานั้น โดย ข. ตกลงโอนกรรมสิทธ์ิในเคร่ืองรับโทรทัศนเม่ือ ก. ไดชําระราคาครบถวนแลว (หรือท่ีเรียกวาเปนสัญญาซ้ือขายเสร็จเด็ดขาดท่ีมีเง่ือนไขหรือมีขอสงวนการโอนกรรมสิทธ์ิ) ตราบใดท่ี ก. ยังชําระราคาซ้ือขายไมครบถวน ตราบนั้นโทรทัศนนั้นยังเปนของ ข. อยู และ ข. ยอมมีหลักประกนัการไดรับชําระหนี้จาก ก. ท่ีด ีคือมีกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันเปนหลักประกัน และหาก ก. ผิดนัดไมชําระราคาทรัพยสินท่ีซ้ือไป ข. ยอมมีสิทธิเรียกทรัพยคืนไดตามหลักกรรมสิทธ์ิ อยางไรก็ตาม หากปรากฏวาตอมา ก. ไดชําระราคาทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันครบถวนดแีลว เง่ือนไขยอมสําเร็จ และกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันยอมโอนไปยังผูซ้ือทันที โดยไมตองใหคูกรณีมาทําการโอนกันอีกคร้ังหนึ่งแตอยางใด นอกจากนั้นเง่ือนไขยังเปนท่ีนิยมใชในการชักจูงใจใหผูไดรับประโยชนกระทําการหรือละเวนกระทําการอีกอยางหนึ่งดวย ตัวอยางเชน ก. ตกลงยกรถยนตของตนซ่ึง ข. ยืมใชอยูใหแก ข. โดยมีเง่ือนไขวา การใหจะมีผลเม่ือ ข. สอบไลหรือสําเร็จการศึกษา หรือ ตกลงวา ข. จะตองสงรถคืนหาก ข. สอบตก หรือกระทําผิดกฎหมาย หรือ ก. เปนกรรมการผูจัดการตกลงลาออกจากตําแหนงเม่ือไดมีการรับซ้ือหุนสวนของ ก. ในบริษัทและไดชําระราคาแลว๘ ผูจะขายท่ีดินตกลงจะขายท่ีดนิโดยมีเง่ือนไขวาใหสัญญาเปนผลเม่ือศาลไดมีคําพิพากษาถึงท่ีสุดวาท่ีดินนั้นเปนของตนแตเพียงผูเดยีว๙ เปนตน

๘ โปรดดูตัวอยางไดจากฎีกาที่ ๒๖๖๒/๒๕๓๗ ซึ่งผูเปนกรรมการผูจัดการแสดงเจตนาตอคณะกรรมการ

บริษัทวาจะออกจากตําแหนงเมื่อมีการรับซื้อหุนสวนของตน และไดชําระราคาครบถวนแลว ดังน้ีเปนการแสดงเจตนาลาออกจากตําแหนงโดยมีเง่ือนไข

๙ โปรดดูฎีกาที่ ๓๗๗๗/๒๕๓๓ ตกลงจะขายที่ดินโดยสัญญาจะใหคานายหนาแกผูช้ีชวนใหทําสัญญาซื้อขาย

กัน แตมีเง่ือนไขวา ใหเปนผลเมื่อศาลพิพากษาวาที่ดินเปนของผูจะขายแตเพียงผูเดียว ดังน้ีหากตอมาศาลตัดสินวาเปนของเจาของรวม และเจาของรวมคนอื่นไมยอมขายทําใหไมสามารถตกลงกันไมได ไมถือวาผู

Page 9: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๐

๒) สวนเง่ือนเวลานั้น มักจะมีการนํามากําหนดไวในนิติกรรมเม่ือตองการใหนิติกรรมนัน้เปนผลหรือส้ินผลไปเม่ือถึงเวลาขณะใดขณะหนึ่ง แตในกรณีมีขอสงสัยกฎหมายสันนิษฐานวาในกรณีเง่ือนเวลาเร่ิมตนนั้น คูกรณียอมตกลงใหนิติกรรมมีผลทันที แตใหคูกรณีมีสิทธิทวงถามใหปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นไดตอเม่ือถึงเวลาขณะใดขณะหน่ึงท่ีกําหนดไว แตท้ังนี้การจะใหมีผลทันทีหรือไมยอมเปนไปตามความประสงคของคูกรณ ี ตัวอยางเชน ก. ตกลงเชาบานของ ข. โดยตกลงทําสัญญากันเม่ือ ๑ กุมภาพันธ โดยตกลงกันใหสัญญาเชาเร่ิมมีผลต้ังแตวนัท่ี ๑ เมษายน ปเดียวกนัและส้ินสุดลงในวนัท่ี ๓๑ มีนาคมปถัดไป ดังนี้เปนตน ตามอุทาหรณขางตน อาจมีขอสงสัยข้ึนไดวา ต้ังแตวนัท่ี ๑ กมุภาพันธ ซ่ึงไดทําสัญญาเชากัน จนถึงวนัท่ี ๓๑ มีนาคม สัญญาเชาระหวาง ก. กับ ข. มีข้ึนแลวหรือยัง คําตอบยอมเปนไปตามขอสันนิษฐานตามมาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ. คือสัญญาเชาเกิดข้ึนแลว เพยีงแตหนาท่ีตามสัญญาคือการชําระคาเชา หรือการใชสอยทรัพยท่ีเชายังไมอาจทวงถามใหปฏิบัติตามไดจนกวาจะถึงเวลาท่ีกําหนด แตขอสันนิษฐานตามมาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ. นี้ คูกรณีอาจตกลงกันเปนอยางอ่ืน เชนตกลงใหผูเชาชําระคาเชาลวงหนา แตใหเร่ิมใชสอยทรัพยเชาไดเม่ือถึงกําหนดเงื่อนเวลาก็ได

ง) กรณีท่ีอาจตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได

๑) การกําหนดเงือ่นไขและเงื่อนเวลานั้นยอมเปนไปตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา และการกําหนดเง่ือนไขและเง่ือนเวลาอาจกระทําไดท้ังในรูปนิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้ (อุทาหรณ ๒) หรือในรูปนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิหรือโอนทรัพย (อุทาหรณ ๕) ควรสังเกตดวยวาหลักเกณฑท่ีเกี่ยวกับเง่ือนไขนี้ กฎหมายมุงกําหนดผลใหเปนไปตามเจตนาของคูกรณี เชนกรณีตามมาตรา ๑๘๙ ป.พ.พ. กลาวคือ นิติกรรมใดมีเง่ือนไขบังคับกอน และเง่ือนไขนั้นเปนการพนวิสัย นิติกรรมนั้นเปนโมฆะ และวรรคสองท่ีวานิติกรรมใดมีเง่ือนไขบังคับหลัง และเง่ือนไขนั้นเปนการพนวิสัย ใหถือวานิติกรรมนัน้ไมมีเง่ือนไข การที่กฎหมายกําหนดไวเชนนี้กเ็พราะคํานึงถึงความประสงคในทางสุจริตของคูกรณีตามหลักในการตีความสัญญาในมาตรา ๓๖๘ ป.พ.พ. นั่นเอง เพราะเง่ือนไขท่ีเปนการอันพนวิสัยอยูในขณะท่ีทํานิติกรรมนั้นยอมจัดเปนเปนเง่ือนไขท่ีตกไปแตตน การท่ีทํานิติกรรมโดยกําหนดใหมีผลเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ เม่ือเง่ือนไขนั้นไมมีวันสําเร็จเพราะเปนพนวสัิยอยูแลว จึงเทากับเปนการทํานิติกรรมท่ีไมมีวันมีผลได ดังนั้น

จะขายผิดสัญญาเพราะเง่ือนไขที่ต้ังไววาใหสัญญามีผลเมื่อศาลพิพากษาวาที่ดินเปนของผูจะขายแตผูเดียวน้ันยังไมสําเร็จ

Page 10: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๑

กฎหมายจึงกําหนดใหนติิกรรมน้ันเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๙ วรรคแรก ป.พ.พ.) สวนกรณีท่ีเปนนิติกรรมมีเง่ือนไขบังคับหลังก็ทํานองเดียวกนั กลาวคือการตกลงใหนิติกรรมส้ินผลไปเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ถาเง่ือนไขนั้นเปนการอันพนวิสัย ก็เทากับเง่ือนไขนั้นไมมีวันสําเร็จ และนิติกรรมไมมีวันส้ินผล กฎหมายจงึกําหนดใหนติิกรรมนั้นมีผลโดยไมมีเง่ือนไข (มาตรา ๑๘๙ วรรคสอง ป.พ.พ.) ตัวอยางทํานองเดียวกันเหน็ไดจากมาตรา ๑๙๐ ป.พ.พ. ซ่ึงวางหลักวา นิติกรรมใดมีเง่ือนไขบังคับกอน และเปนเง่ือนไขอันจะสําเร็จหรือไมสุดแลวแตใจของฝายลูกหนี้ นิติกรรมนั้นเปนโมฆะ ซ่ึงยอมเปนท่ีเขาใจไดวาการทํานิติกรรมโดยกําหนดวาจะเปนผลหรือไม ใหสุดแลวแตใจของลูกหนี้นั้น เทากับยังไมประสงคจะใหลูกหนี้ตองผูกพนัอะไรในนิติกรรมนั้นเลย หรือเปนแตเปนเพยีงการแสดงเจตนาเลน ๆ นั่นเอง๑๐ ตัวอยางเชนทําคําม่ันใหแกกนัไว โดยกําหนดเปนเง่ือนไขบังคับกอนวาคําม่ันจะมีผลเปนคําม่ันข้ึนมาก็ตอเม่ือฝายผูใหคําม่ัน (ซ่ึงเปนลูกหนี)้ พอใจจะใหเปนผล ดังกรณีมีผูทําคําม่ันจะออกทุนการศึกษาแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งเปนเงินจํานวนหนึ่ง โดยมีเง่ือนไขบังคับกอนวาใหมีผลเม่ือตนพอใจจะผูกพนัตามคําม่ันนัน้ ดังนีย้อมเปนการตกลงใหคําม่ันท่ีเปลาประโยชน เพราะฝายท่ีเปนลูกหนี้ยังมิไดประสงคจะผูกพันเลย ดังนี้กฎหมายจึงกําหนดใหนิติกรรมเชนนั้นไมมีผล คือตกเปนโมฆะไป แตถาเปนกรณีท่ีทําคําม่ันโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนวาจะเปนผลเม่ือใดแลวแตเจาหนี้ หรือแลวแตเหตุการณไมแนนอนอยางอ่ืน ดังนี้นิติกรรมนั้นยอมมีผลสมบูรณ เชนทําคําม่ันจะออกเงินทุนการศึกษาใหคูกรณีอีกฝายหนึง่จนจบ เม่ือคูกรณีอีกฝายหนึ่งนั้นจะเรียกเอาเม่ือใด ก็ใหคําม่ันมีผลเม่ือนั้น ดังนีเ้ง่ือนไขบังคับกอนมิไดเปนเร่ืองสุดแตใจของลูกหนี้ แตเปนเร่ืองสุดแตใจของฝายเจาหนี้๑๑ อนึ่ง ปญหาวากรณีใดเปนเง่ือนไขบังคับกอนอันจะสําเร็จไดหรือไมสุดแลวแตใจลูกหนี้หรือไมนี้ ตองพิเคราะหจากเจตนาผูกพันของคูกรณีเปนสําคัญ เชนอาจเกดิปญหาวากรณีท่ีมีผูทําคําม่ันแกคูกรณีอีกฝายหน่ึงวาหากตนทําการสมรส หรือหากเดนิทางไปตางประเทศจะชําระเงินแกองคกรสาธารณประโยชนเปนจํานวนเทานั้นเทานี้ ดงันี้จะเห็นไดวามิใชกรณีท่ีลูกหนี้ไมประสงคผูกพัน และไมใชกรณีท่ีแลวแตใจลูกหนี้โดยแท เพราะการทําการสมรสมิไดสุดแตใจของลูกหนี้ฝายเดียว แตเปนเหตุการณอันไมแนนอนซ่ึงตองอาศัยความสมัครใจของผูจะเปนคูสมรสประกอบเขา

๑๐ โปรดดูจิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๐๗, หนา ๒๒๕; เทพวิทุร, พระยา, หนา ๕๔๑ ๑๑ โปรดดู คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖/๒๔๙๐ ๒๔๙๐ ฎ. ๗๖๔ ซึ่งผูใหเชาตกลงใหเชาอสังหาริมทรัพยแกผูเชามี

กําหนด ๒ ป โดยตกลงกันวาเมื่อครบกําหนดสัญญา หากผูเชาปรารถนาจะเชาตอไป ก็ใหเชาตอไปไดอีก ๒ ป โดยผูใหเชาไมมีสิทธิปฏิเสธไมตอสัญญาให และตอจากน้ันหากครบกําหนด ๒ ปแลวหากผูเขาปรารถนาจะเชาตออีก ๒ ปก็ไดอีก และในระยะที่สามน้ี หากผูเชาจะเชา ผูใหเชาก็ยอมใหเชาโดยไมกําหนดเวลา ดังน้ีศาลตัดสินวาสัญญาเชามีผลสมบูรณ กรณีไมใชเรื่องเง่ือนไขสําเร็จหรือไมสุดแลวแตใจลูกหน้ี เพราะแมตามสัญญาเชา ผูเชาจะเปนลูกหน้ีตองชําระหน้ีคาเชา แตในกรณีคํามั่นจะใหเชาในกรณีน้ีผูเชาเปนเจาหน้ีในคํามั่น และผูใหเชาเปนลูกหน้ีตามคํามั่น

Page 11: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๒

ดวย๑๒ หรือกรณท่ีีวาจะเดินทางไปตางประเทศเม่ือใดจะใหเงินเม่ือนั้น หากเปนกรณท่ีีแนนอนวาผูใหคําม่ันต้ังใจจะผูกพัน และจะตองเดินทางไปตางประเทศในวนัใดวนัหนึ่งอยางแนนอน ดังนี้ก็ไมใชกรณีท่ีเปนเง่ือนไขบังคับกอนแตเปนเง่ือนเวลา ดังนีเ้ปนตน ๒) แตมีบางกรณท่ีีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาอาจไมชอบดวยกฎหมายได (๑) เง่ือนไขท่ีขัดตอกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอาจมีไดดังเชนกรณีท่ีเหน็ไดวานิติกรรมบางประเภทเปนนติิกรรมท่ีไมอาจกระทําข้ึนโดยกําหนดใหอยูใตบังคับเง่ือนไขได ไมวาจะเปนไปโดยสภาพแหงนิติกรรมน้ันเอง หรือเปนเพราะหากทําข้ึนก็จะขัดตอกฎหมาย ตัวอยางท่ีสําคัญมี เชน สัญญาตามกฎหมายครอบครัว การหม้ัน การสมรส ยอมเปนนิติกรรมท่ีกฎหมายมุงใหผูกพันกันโดยเปนผลทันทีท่ีนิติกรรมสําเร็จลง โดยความผูกพันนัน้ยอมปราศจากเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลา ความมุงหมายเชนนี้ถือเปนประโยชนสําคัญทางกฎหมาย ท่ีนับไดวาเปนไปเพื่อความสงบเรียบรอยของประชาชนอยางหนึง่ ดังนั้น หากไปขืนต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาใหการสมรสเปนผล เง่ือนไขเชนนัน้ยอมไมชอบดวยกฎหมาย และไมมีผลบังคับ อนึ่ง การโอนกรรมสิทธ์ิในอสังหาริมทรัพยกย็อมไมอาจต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาได เพราะจะทําใหทะเบียนอสังหาริมทรัพยขาดความแนนอน เนื่องจากเนื้อหาแหงสิทธิทางทะเบียนอาจเปล่ียนแปลงไปเม่ือเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาสําเร็จ เวนแตเปนกรณีท่ีมีกฎหมายยกเวนไวโดยเฉพาะเชนในเร่ืองขายฝาก (มาตรา ๔๙๑, ๔๙๒ ป.พ.พ.) อยางไรก็ดี หากจะมีการตกลงกําหนดเงื่อนไขกัน หากเง่ือนไขนั้นเพียงแตเปนการท่ีตางจากบทบัญญัติแหงกฎหมาย โดยมิไดขัดตอขอหามทางกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยของแผนดิน เชนตกลงโอนกรรมสิทธ์ิในอสังหาริมทรัพยไปโดยกําหนดเง่ือนไขบังคับหลังกันไว กย็อมทําไดในสวนท่ีจะเปนผลทางหนีห้รือในแงความผูกพันท่ีจะกระทําการหรืองดเวนกระทําการโดยผูกพนัเปนสิทธิเรียกรองระหวางคูกรณีเทานัน้ แตในกรณีท่ีคูกรณีขืนตกลงทําการสมรสกันโดยมีเง่ือนเวลา หรือตกลงโอนท่ีดินกนัโดยมีเง่ือนไข ดังนี้เปนเง่ือนเวลาและเง่ือนไขท่ีไมชอบดวยกฎหมาย นิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาหรือเง่ือนไขเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๘ ปพพ.) (๒) การแสดงเจตนาฝายเดยีวท่ีมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลานัน้ หากกระทบถึงสิทธิหนาท่ีหรือทรัพยสินของผูแสดงเจตนาเพียงฝายเดียว เชนทําพินยักรรม สละกรรมสิทธ์ิ ยอมกระทําไดโดยชอบตามหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา หรือการทําสัญญาโดยตกลงกนัใหมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลา ก็ยอมมีไดตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา แตในบางกรณีการแสดงเจตนาฝายเดยีวโดยมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาของบุคคลหน่ึง อาจสงผลกระทบตอสิทธิทางทรัพยสินของบุคคลอ่ืนดวย ดงันี้การแสดงเจตนาเชนนั้นอาจตองหามมิใหมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาได ท้ังนี้เพราะในสวนท่ีเกี่ยวกับการแสดงเจตนาฝายเดยีวนั้น กฎหมายมุงคุมครองประโยชนไดเสียของผูรับการแสดงเจตนาใหผูรับการ

๑๒ โปรดเทียบ จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ๓๐๒, หนา ๒๒๕

Page 12: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๓

แสดงเจตนาสามารถรูแนถึงสถานะของนิติสัมพันธไดอยางชัดเจนดวย ตัวอยางเชนในการแสดงเจตนาหกักลบลบหนี้ (มาตรา ๓๔๑ ปพพ.) ซ่ึงเปนการแสดงเจตนาฝายเดียวในลักษณะท่ีเปนสิทธิกอต้ัง กลาวคือฝายผูแสดงเจตนาหกักลบลบหนี้ยอมเปนฝายกําหนดใหหนี้ท่ีมีอยูระหวางผูแสดงเจตนากับผูรับการแสดงเจตนาหักกลบลบกันและหน้ีเปนอันระงับลง ในกรณีเชนนีก้ฎหมายกําหนดหามไว มิใหแสดงเจตนาหักกลบลบหน้ีกนัโดยมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาใด ๆ ท้ังส้ิน (มาตรา ๓๔๒ ปพพ.) เหตุผลสําคัญท่ีกฎหมายหามมิใหหกักลบลบหนี้โดยมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาก็เพราะกฎหมายมุงคุมครองใหคูกรณีอีกฝายหน่ึงรูแนชัดถึงสถานะแหงหนี้ระหวางคูกรณีนัน่เอง เพราะในหนี้ท่ีหกักลบลบกันไดนัน้ คูกรณีท้ังสองฝายตางเปนลูกหนี้อันมีวัตถุแหงหนี้อยางเดียวกันซ่ึงถึงกําหนดชําระแลว ตางฝายตางมีสิทธิหักกลบลบหนี้เหมือนกัน ดังนั้นหากยอมใหฝายหน่ึงแสดงเจต-นาหักกลบลบหน้ีโดยมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลา ก็จะผูกมัดใหอีกฝายหน่ึงตองตองผูกอยูกับความสํา-เร็จของเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลานั้น ท้ัง ๆ ท่ีหากฝายนั้นจะหักกลบลบหนี้ดวยกย็อมทําไดเชนกัน เชน การแสดงเจตนาหักกลบลบหน้ีโดยตั้งเง่ือนไขวา หากอีกฝายหนึ่งมีภริยาเม่ือใดก็ใหหนี้เปนอันหกักลบลบกัน หรือหากมีภริยาเม่ือใดใหการหักกลบลบหนี้เปนอันส้ินผลไป ดังนี้ทําไมไดเพราะตองหามตามกฎหมาย การทีก่ฎหมายหามไวนีย้อมมีผลใหการแสดงเจตนาหักกลบลบหน้ีท่ีมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาเปนอันไมชอบดวยกฎหมาย การแสดงเจตนาเชนนั้นยอมไมมีผลเปนการหักกลบลบหนี้เลย๑๓ ในทํานองเดยีวกันการแสดงเจตนาฝายเดียวเพื่อกําหนดสิทธิของคูกรณี เชนบอกลางโมฆียกรรม การบอกเลิกสัญญา หากมิไดตกลงยนิยอมกันไวกอน หรือมีกฎหมายรับรองไวโดยเฉพาะ ก็ตองถือวาไมอาจทําโดยมีเง่ือนไข หรือเง่ือนเวลาไดเชนกนั เพราะหากยอมใหบอกลางโมฆียกรรม หรือเลิกสัญญาโดยมีเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาได ก็จะเปนเหตุใหคูกรณีอีกฝายหนึ่งไมอาจรูแนถึงสถานะของคูกรณีดวยเชนกนั อนึ่ง การที่กฎหมายกําหนดขอหามการตั้งเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาในกรณีแสดงเจตนาฝายเดียวนี้เปนไปเพื่อคุมครองคูกรณีอีกฝายหนึ่งใหรูแนถึงสถานะแหงสิทธิหนาท่ี ดังนัน้หากเปนกรณีท่ีคูกรณีอีกฝายหนึ่งนั้นเปนผูสละความคุมครองนั้นเสียเอง หรือมีเหตุอยางอ่ืนใหไมควรไดรับความ

๑๓ เรื่องน้ีมีทางคิดไปไดสองทาง คือถือวาไมมีการหักกลบลบหน้ีกันเลยทางหน่ึง กับถือวามีการหักกลบลบหน้ี

กันโดยปราศจากเง่ือนไขอีกอยางหน่ึง แตหากพิเคราะหตามเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาหักกลบลบหน้ี ก็ยอมเห็นไดวา การท่ีเขาต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาก็เพราะตองการหนวงผลหรือแปลงผลตามเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลา หากผูแสดงเจตนารูวาต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาไมได และต้ังไปก็จะมีผลเปนการหักกลบลบหน้ีโดยปราศจากเง่ือนไข ดังน้ีเห็นไดวาขัดกับเจตนาของเขา และยอมสันนิษฐานไดตอไปดวยวา เขายอมเลือกไปในทางไมหักกลบลบหน้ีกันเลยยิ่งกวา และโปรดดู เสนีย ปราโมช, นิติกรรมและหน้ี เลม ๒, ฉบับแกไขเพ่ิมเติม พ.ศ. ๒๕๐๕, หนา ๑๑๕๑

Page 13: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๔

คุมครองเชนนั้น ดังนี้ขอหามต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาในการแสดงเจตนาฝายเดยีวกําหนดสิทธิหนาท่ีของอีกฝายหนึ่งยอมไมนํามาใชบังคับแกกรณีนั้น ๆ ตัวอยางเชน คูกรณีท้ังสองฝายตกลงกนัยกเวนขอหามต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลานั้นเสียเอง หรือในกรณีท่ีความสําเร็จแหงเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลานัน้ยอมข้ึนอยูกบัคูกรณีอีกฝายนั้นเอง ดังนีก้ารแสดงเจตนาฝายเดยีวโดยต้ังเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาในกรณีเหลานัน้ยอมไมตองหาม เพราะในเม่ือเง่ือนไขหรือเง่ือนเวลาตกอยูภายใตอํานาจควบคุมของคูกรณีอีกฝายหนึ่งเสียแลว ฝายนั้นยอมรูแนไดวาสถานะแหงสิทธิและหนาท่ีของคูกรณีในกรณนีั้น ๆ เปนอยางไร และประโยชนท่ีกฎหมายมุงคุมครองใหคูกรณีฝายนั้นไดรูถึงสถานะแหงสิทธิตามกฎหมายไดอยางชัดเจนก็ยอมจะสําเร็จข้ึนไดอยูแลว ตัวอยางเชน ก. เปนผูใหเชา ใชสิทธิบอกกลาวเลิกสัญญาเชาตามสิทธิท่ีไดกําหนดไวในสัญญา โดยกําหนดเง่ือนไขไวดวยวา หาก ข. ไมยอมชําระคาเชาเพิ่มข้ึนอีก ๑,๐๐๐ บาทตอเดือน ก็ใหสัญญาเชานั้นเปนอันเลิกกัน ดังนีจ้ะเหน็ไดวา ฝายผูถูกบอกเลิกสัญญายอมสามารถรูแนชัดวาสถานะแหงสิทธิหนาท่ีในกรณีนี้เปนอยางไร เพราะการท่ีเง่ือนไขจะสําเร็จไดดวยการชําระคาเชาเพิ่มข้ึนอีก ๑,๐๐๐ บาทตอเดือนนั้น เปนเง่ือนไขท่ีอยูในอํานาจควบคุมของตนเอง แตถาเปนนิติกรรมท่ีเกี่ยวกับสถานะบุคคล หรือมีผลกระทบตอบุคคลภายนอก หรือมีผูมีสวนไดเสียในความแนนอนชัดเจนดวยกนัหลายฝาย การท่ีคูกรณีจะตกลงกันเองโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนหรือบังคับหลังยอมจะมีผลผูกพันระหวางกนัเทานั้น ไมอาจมีผลใชยันตอบุคคลภายนอกได ตัวอยางเชน กรณีการสละมรดกกฎหมายบัญญัติหามไวมิใหสละโดยมีเง่ือนไข หรือเง่ือนเวลา (มาตรา ๑๖๑๓ ปพพ.) การสมรสไมอาจตกลงกันโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนหรือบังคับหลังได การรับเด็กเปนบุตร หรือการรับบุตรบุญธรรม เหลานี้เปนนิติกรรมท่ีตองการความแนนอนชัดเจน ดังนั้นจึงไมอาจทําข้ึนโดยมีเง่ือนไขได นอกจากนี้การจดทะเบียนสิทธิในอสังหาริมทรัพยกไ็มอาจจดทะเบียนสิทธิโดยมีเง่ือนไขได เพราะทะเบียนสิทธิในอสังหาริมทรัพยมีข้ึนเพื่อความเช่ือถือของสาธารณชนในความถูกตองแนนอนของทะเบียนทรัพยสิทธิ ดังนั้นโดยเหตุผลของเร่ืองจึงไมอาจจดทะเบียนสิทธิโดยมีเง่ือนไขได เวนแตจะเปนกรณีท่ีมีกฎหมายบัญญัติรับรองไวโดยเฉพาะ และแมในกรณีท่ีมีการจดทะเบียนจาํนองอสังหาริมทรัพยเปนหลักประกันการชําระหนี้อันมีเง่ือนไข การจํานองนั้นแมจะเปนหนี้อุปกรณ แตกเ็ปนหลักฐานแหงทรัพยสิทธิอยางหนึ่ง ซ่ึงตองการความแน-นอน จึงยอมมีผลเม่ือมีการจดทะเบียนจํานอง ไมใชมีผลเม่ือเง่ือนไขสําเร็จและหนี้นั้นเปนผลข้ึน๑๔

๑๔ โปรดดูกรณีในกฎหมายฝรั่งเศส ซึ่งนักกฎหมายสวนมากก็มีความเห็นทํานองน้ี ใน Maurad Ferid,

Franzoesisches Zivilrecht, Bd.I, Frankfurt2Berlin, 1971, 1E 308

Page 14: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๕

๑.๒ ชนิดของเงื่อนไขและเง่ือนเวลา

ก) เงื่อนไขบังคับกอนและเงื่อนไขบังคับหลัง

เงื่อนไขบังคับกอน (Suspensive Condition) หมายถึงเหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกิดข้ึนหรือไมในอนาคตซ่ึงผูทํานิติกรรมกําหนดไววา หากเหตุการณดังกลาวเกิดข้ึนหรือเง่ือนไขนั้นสําเร็จ นิติกรรมยอมเปนผล (มาตรา ๑๘๓ วรรคแรก ปพพ.) ดังนั้นนิติกรรมอันไดกระทําลงแลวนั้น แมจะไดช่ือวาเปนนติิกรรมท่ีเกิดมีข้ึนแลว แตก็เปนนิติกรรมท่ีนับไดวาอยูในภาวะท่ียังไมแนไมนอน จนกวาเง่ือนไขจะสําเร็จ นิติกรรมท่ีไดทําข้ึนนั้นจึงจะเปนผลข้ึน ตัวอยางเชน ก. สงมอบรถยนตคันหนึ่งแก ข. ตามสัญญาเชาซ้ือ โดยตกลงกนัวา หาก ข. ชําระราคาเชาซ้ือครบถวนแลว ก. ยอมใหกรรมสิทธ์ิในรถยนตคันนี้ตกเปนของ ข. ดังนี้การชําระเงินครบถวนไมใชเง่ือนไขของสัญญาเชาซ้ือ แตเปนเง่ือนไขบังคับกอนในนิติกรรมโอนกรรมสิทธ์ิ เงื่อนไขบังคับหลัง (Resolutive Condition) หมายถึงเหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกิดข้ึนหรือไมในอนาคตซ่ึงผูทํานิติกรรมวางเปนขอกําหนดแหงนิติกรรมวาหากเกิดข้ึนก็ใหนิติกรรมนั้นส้ินผลไป (มาตรา ๑๘๓ วรรคสอง ปพพ.) ดังนั้นนติิกรรมท่ีไดทําข้ึนนัน้ยอมเปนผลทันที และผลนั้นยอมระงับส้ินไป หากเง่ือนไขหรือเหตุการณในอนาคนอันไมแนนอนวาจะเกดิข้ึนนั้นไดเกดิข้ึนจริง ตัวอยางเชน ก. ยืมหรือกูเงินของ ข. โดย ก. โอนรถยนตของตนใหเปนกรรมสิทธ์ิของ ข. เปนประกนัการชําระหนี้เงินกูรายน้ี ท้ังสองฝายตกลงกันวา หาก ข. ชําระหนี้ครบถวนแลวก็ใหกรรมสิทธ์ิในรถนั้นตกกลับมาเปนของ ก. ดังเดิม ดังนี้เปนกรณีท่ี ก. โอนกรรมสิทธ์ิในรถยนตแก ข. โดยกําหนดใหการชําระหนีค้รบถวนเปนเง่ือนไขบังคับหลัง ในเร่ืองเง่ือนไขบังคับกอนหรือเง่ือนไขบังคับหลังนี้ ในบางกรณีอาจเกิดขอสงสัยไดวาเง่ือนไขท่ีกําหนดหรือท่ีตกลงกันนั้นเปนเง่ือนไขบังคับกอนหรือเง่ือนไขบังคับหลังกันแน ในกรณีเชนนี้จําเปนตองมีการตีความการแสดงเจตนาวาคูกรณมีีความมุงหมายอยางไรเสียกอน ในกรณีท่ีคูกรณีมิไดประสงคจะใหนติิกรรมเปนผลทันที แตประสงคจะใหนิติสัมพันธเกิดข้ึนในอนาคตเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ กรณีกย็อมจะจัดเปนนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับกอน แตถาไดความวานติิกรรมนั้นควรมีผลทันทีท่ีตกลงทํานิติกรรมข้ึนเลย แตผูทํานิติกรรมประสงคใหส้ินผลไปภายหลังเม่ือเกิดเหตุการณอยางหนึ่งซ่ึงไมแนวาจะเกดิข้ึนในอนาคต ดังนี้นิติกรรมนัน้ยอมเปนนติิกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับหลัง ตัวอยางเชน ก. ซ้ือเคร่ืองจักรจาก ข. โดย ข. ต้ังเง่ือนไขสงวนการโอนกรรมสิทธ์ิในเคร่ือง-จักรท่ีซ้ือขายกนัรายนี้มีใจความวา ใหกรรมสิทธ์ิโอนไปยังผูซ้ือเม่ือผูซ้ือไดชําระราคาที่ซ้ือขายกันครบถวนแลว ดังนี้เปนกรณท่ีีคูกรณีตกลงทําสัญญาซ้ือขายกันเสร็จเด็ดขาด คือมีผลใหคูกรณีมีสิทธิหนาท่ีตอกนัตามสัญญาซ้ือขายในทันที คือฝายผูขายตกลงโอนกรรมสิทธ์ิ และฝายผูซ้ือตกลงชําระ

Page 15: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๖

ราคา สวนการสงวนการโอนกรรมสิทธ์ิของผูขายในกรณนีี้ เปนการตกลงใหการโอนกรรมสิทธ์ิไปยังผูซ้ือข้ึนอยูกับการท่ีผูซ้ือชําระหนี้ครบถวนซ่ึงเปนเหตุการณอันไมแนวาจะเกิดข้ึนในอนาคต เจตนาโอนกรรมสิทธ์ิของผูขายในกรณีนีจ้ึงนับไดวาตกอยูภายใตเง่ือนไขบังคับกอน ในทางกลับกนั ถาตกลงกันใหกรรมสิทธ์ิโอนไปยังผูซ้ือทันที แตมีเง่ือนไขวาใหกรรมสิทธ์ิโอนกลับมายังผูขาย หากผูซ้ือผิดนัดชําระราคาท่ีกาํหนดไวเปนงวด ๆ นานเกินกวา ๑ สัปดาห ดงันี้เปนกรณีโอนกรรมสิทธ์ิโดยมีเง่ือนไขบังคับหลัง ในบางกรณีเราไมอาจกําหนดแนไดวา คูกรณีมีเจตนาจะใหมีเง่ือนไขบังคับกอน หรือมีเง่ือนไขบังคับหลัง ในกรณีเหลานี้บางกรณีกฎหมายไดกําหนดขอสันนิษฐานไวเปนการเฉพาะ ตัวอยางเชน ในการซ้ือขายภายใตขอสงวนการโอนกรรมสิทธ์ินั้น หากเปนกรณีมีขอสงสัยก็ควรสันนิษฐานไวกอนวา เปนเง่ือนไขบังคับกอน คือตกลงกันใหกรรมสิทธ์ิในทรัพยสินท่ีซ้ือขายกันโอนไปเม่ือชําระราคาครบถวน ในกรณีตกลงซ้ือขายเผ่ือชอบ (มาตรา ๕๐๕ ปพพ.) ดังนีเ้ปนกรณีท่ีคูกรณีตกลงซ้ือขายกันโดยมีเง่ือนไขบังคับกอน คือสัญญาซ้ือขายเกิดข้ึนเม่ือผูซ้ือพอใจสินคานั้น

ข) เงื่อนเวลาเริ่มตน และเงื่อนเวลาส้ินสุด

เง่ือนเวลาเร่ิมตน หมายถึงขอความอันบังคับไวใหนิติกรรมเปนผลเม่ือเหตุการณอันแนนอนวาจะเกดิข้ึนในอนาคตไดเกดิข้ึน เชนถึงเวลาท่ีกําหนดไว หรือบุคคลท่ีกําหนดถึงแกความตาย เง่ือนเวลาเร่ิมตนจึงมีผลในทํานองเดียวกันกับเง่ือนไขบังคับกอนซ่ึงหากเง่ือนไขสําเร็จยอมมีผลใหนิติกรรมเปนผล และโดยเหตุนีเ้ราจึงอาจนําเอาหลักเกณฑเกีย่วกับนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับกอนมาปรับใชกับนิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนไดในฐานะเปนบทกฎหมายใกลเคียงอยางยิ่ง อยางไรก็ดี นิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนนั้นกฎหมายกําหนดวา หามมิใหทวงถามใหปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นกอนถึงเวลากาํหนด (มาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ.) ดังนั้นนิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนจึงอาจมีไดสองนัย คือโดยนัยแรกเปนนติิกรรมท่ีมีผลทันทีท่ีทําข้ึนแตหามมิใหทวงถามจนกวาจะเง่ือนเวลาจะถึงกําหนด หรืออีกนัยหนึ่งเปนนิติกรรมท่ียังไมเปนผลทนัทีแตรอเปนผลเม่ือถึงกําหนดเง่ือนเวลาเร่ิมตนก็ได แลวแตเจตนาของผูทํานิติกรรมนั้น๑๕ ตัวอยางเชน ตกลงเชาบานกันลวงหนา โดยใหสัญญาเชามีผลหลังจากวันท่ีตกลงกัน ๓ เดอืน ดังนี้หากตกลงกันแจงชัดอยางไร ผลยอมเปนไปตามนั้น แตถากรณีเปนท่ีสงสัยวาคูกรณีประสงคจะใหมีผลทันทีแตยังเรียกใหบังคับกันไมไดจนกวา

๑๕ อยางไรก็ดี จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๓๐, หนา ๒๔๐ ซึ่งอธิบายวานิติกรรมอันเมีเง่ือนเวลา

เริ่มตนน้ัน ยอมมีผลกอหน้ีขึ้นต้ังแตเวลาที่ทํานิติกรรมน้ัน ๆ แลว แตยังบยังคับกันไมไดจนกวาจะถึงเวลาที่กําหนด, ความเห็นทํานองเดียวกันโปรดดู ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๑๐๓-๑๐๔.

Page 16: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๗

จะถึงกําหนดเวลา หรือไมประสงคใหมีผลทันทีแตใหมีผลเม่ือถึงเวลากําหนด ดังนี้กฎหมายใหสันนิษฐานไวกอนวามีผลทันที เพียงแตยังเรียกใหปฏิบัติตามนั้นยังไมไดเทานั้น เง่ือนเวลาส้ินสุด หมายถึงขอความอันบังคับไวใหนิติกรรมส้ินผลเม่ือถึงเวลากําหนด หรือเม่ือเหตุการณอันแนนอนวาจะเกิดข้ึนในอนาคตไดเกิดข้ึน (มาตรา ๑๙๑ วรรคสอง ป.พ.พ.) เชนตกลงกันใหสัญญาเชาระงับส้ินไปเม่ือถึงเวลากําหนด หรือเม่ือผูเชาถึงแกความตาย เปนตน เห็นไดวานิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาส้ินสุดยอมมีผลทํานองเดียวกันกับนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับหลัง และดังนั้นกฎเกณฑเกี่ยวกับเง่ือนไขบังคับหลังยอมนาํมาปรับใชกับนิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาส้ินสุดไดในฐานะบทกฎหมายใกลเคียงอยางยิง่เชนกัน สวนปญหาวานิติกรรมท่ีมีกาํหนดเง่ือนเวลาไวจะหมายถึงเง่ือนเวลาเร่ิมตนหรือเง่ือนเวลาส้ินสุด เปนปญหาท่ีตองอาศัยการตีความการแสดงเจตนา สวนผลของนิติกรรมท่ีมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนและเง่ือนเวลาส้ินสุดนั้นยอมเปนไปในทํานองเดียวกันกับผลของนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับกอน หรือมีเง่ือนไขบังคับหลังแลวแตกรณี และในระหวางท่ีเง่ือนเวลายังไมถึงกําหนด คูกรณียอมมีสิทธิหนาท่ีตอกนัในทางท่ีแตละฝายตองไมทําการใหเส่ือมเสียประโยชนอันอาจเกดิจากเง่ือนเวลาถึงกําหนดแกคูกรณีอีกฝายหนึง่ และคูกรณแีตละฝายอาจจาํหนาย รับมรดก หรือจดัการปองกันรักษาสิทธิตามนิติกรรมท่ียังไมถึงกําหนดเวลาเร่ิมตน หรือยังไมระงับไปเพราะยังไมถึงกําหนดเวลาส้ินสุดไดตามหลักในมาตรา ๑๘๔, ๑๘๕ ป.พ.พ. ดวย ขอสันนิษฐานทางกฎหมายท่ีสําคัญในกรณนีิติกรรมมีเง่ือนเวลาเร่ิมตน หรือเง่ือนเวลาส้ินสุดนั้น ก็คือกฎหมายสันนิษฐานไวกอนวา เง่ือนเวลานั้นยอมกําหนดไวเพื่อประโยชนแกฝายลูกหนี้ (มาตรา ๑๙๒ ป.พ.พ.) แตคูกรณจีะกาํหนดเง่ือนเวลาไวเพื่อประโยชนแหงเจาหนี้ หรือเพื่อประโยชนแกคูกรณีท้ังสองฝายก็ได และประโยชนแหงเง่ือนเวลานัน้ ฝายใดจะสละเสียก็ได แตการสละประโยชนเชนนัน้ยอมไมกระทบกระเทือนถึงประโยชนอันคูกรณีอีกฝายหน่ึงจะพึงไดรับแตเง่ือนเวลานัน้ (มาตรา ๑๙๒ วรรคสอง ป.พ.พ.) ตัวอยางเชน สัญญาซ้ือขายรถยนต โดยมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนใหผูซ้ือชําระราคาภายใน ๓ เดือน ดังนี้ยอมสันนษิฐานไดวา เปนสัญญาซ้ือขายท่ีมีผลทันที เพียงแตมีเง่ือนเวลาเร่ิมตนท่ีหนี้ถึงกําหนดชําระ และเง่ือนเวลาเชนนั้นยอมเปนไปเพือ่ประโยชนของผูซ้ือซ่ึงเปนลูกหนี้ในการชาํระราคา ดังนั้นกอนครบ ๓ เดือนผูขายไมมีสิทธิเรียกใหผูซ้ือชําระราคา แตผูซ้ือจะเลือกชําระราคาเม่ือใดภายในกําหนดเง่ือนเวลากไ็ด ดังนี้เปนตน สวนกรณีท่ีมีพฤติการณแหงกรณีใหเหน็ไดวาเง่ือนเวลาเร่ิมตนหรือส้ินสุดนั้นเปนไปเพื่อประโยชนของเจาหนี้ หรือเพื่อประโยชนแกคูกรณท้ัีงสองฝาย ก็อาจมีเชน ก. ทําสัญญาฝากรถยนตไวกับ ข. มีกําหนด ๓ เดือน ดังนีเ้ปนกรณีสัญญามีเง่ือนเวลาบังคับหลัง เม่ือครบ ๓ เดือนแลว สัญญารับฝากยอมถึงกําหนด และผูรับฝากตองคืนรถที่รับฝากไว แตจะคืนรถยนตท่ีฝากไวกอนกําหนดไมได เปนกรณีท่ีพฤติการณแหงกรณีแสดงใหเห็นวานติิกรรมนั้น ๆ เปนไปเพื่อประโยชนของเจาหนี้ คือผูฝากรถนั่นเอง สวนกรณีท่ีมีพฤติการณใหเห็นไดวา

Page 17: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๘

เปนไปเพื่อประโยชนของคูกรณีทุกฝาย เชนสัญญาฝากเงินเปนบัญชีฝากประจําโดยมีกําหนดใหถอนไดเม่ือครบ ๓ ปแลว ดังนี้ฝายธนาคารยอมไดประโยชนจากการนําเงินนั้นไปลงทุนหรือใหสินเช่ือแกผูอ่ืน และฝายผูฝากยอมไดประโยชนคือดอกเบี้ยซ่ึงปกติยอมมีอัตราสูงกวาการฝากเงินเผ่ือเรียก ในกรณีเชนนี้ฝายลูกหนี้คือธนาคารยอมตองรับฝากเงินไวโดยไมสงคืนกอนครบ ๓ ป แตขณะเดยีวกนั ฝายเจาหนี้คือเจาของเงินฝากก็ไมมีสิทธิเรียกใหธนาคารคืนเงินจนกวาจะครบกําหนดเชนกัน (แตคูกรณีกย็ังอาจตกลงกันเปนอยางอ่ืนเชน หากผูฝากถอนเงินกอน ๓ ปจะไดดอกเบ้ียนอยลง เปนตน) กรณีท่ีลูกหนี้ไมอาจถือเอาประโยชนจากเง่ือนเวลาเร่ิมตน หรือเง่ือนเวลาส้ินสุด ไดแกกรณีตามมาตรา ๑๙๓ ป.พ.พ. กลาวคือ (๑) ลูกหนี้ถูกศาลส่ังพิทักษทรัพยเด็ดขาดตามกฎหมายวาดวยลมละลาย (๒) ลูกหนี้ไมใหประกันในเม่ือจาํตองให (๓) ลูกหนี้ไดทําลาย หรือทําใหลดนอยถอยลงซึ่งประกันอันไดใหไว (๔) ลูกหนี้นําทรัพยสินของบุคคลอ่ืนมาใหเปนประกันโดยเจาของทรัพยสินนั้นมิไดยินยอมดวย

๑.๓ ผลของกรณีท่ีเง่ือนไขสําเร็จ และกรณท่ีีเง่ือนไขตกไป

๑) เงื่อนไขสําเร็จ ก) เม่ือเงื่อนไขสําเร็จนิติสัมพันธระหวางคูกรณียอมเปนไปตามเจตนา คือเม่ือเหตุการณในอนาคตอันไมแนอนวาจะเกิดข้ึนไดนัน้ไดเกิดข้ึนแลว ดังนี้สถานะทางกฎหมาย หรือสิทธิหนาท่ีของคูกรณีแหงนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขยอมเปล่ียนแปลงไปตามเง่ือนไขท่ีกําหนดไว ถาเปนเง่ือนไขบังคับกอน นติิกรรมนั้นก็เปนผลข้ึน ถาเปนเง่ือนไขบังคับหลังนิติกรรมนั้นยอมส้ินผลไป ท้ังนี้เปนไปตามเจตนาท่ีไดแสดงไวแลว คูกรณีท้ังสองฝายไมจําเปนตองแสดงเจตนาประการใดใหมเพิ่มข้ึนอีก ข) เกิดผลตอไปในอนาคต ไมมีผลยอนหลัง เวนแตจะตกลงกัน กลาวคือสถานะตามกฎหมายของนิติกรรมยอมเปล่ียนแปลงไปเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ คือนิติกรรมยอมเปนผลหรือส้ินผลไป และมีผลตอไปในอนาคต คือมีผลตอไปขางหนา(ex nunc)ไมไดมีผลยอนหลัง (ex tunc)๑๖ ดังจะ

๑๖ โปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๓๔ ซึ่งอธิบายวากฎหมายไทยถือตามหลักกฎหมาย

โรมัน เยอรมัน ญี่ปุนและ กฎหมายลักษณะหน้ีของสวิส ซึ่งแตกตางจากกฎหมายฝรั่งเศส เน่ืองจากมาตรา

Page 18: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๔๙

เห็นไดจากความในมาตรา๑๘๓ วรรคแรก และวรรคสอง ปพพ. ซ่ึงกําหนดวานิติกรรมยอมเปนผล หรือส้ินผลเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ อยางไรก็ดี ถาคูกรณีตกลงใหนิติกรรมเปนผลหรือส้ินผลยอนหลังไปกอนเวลาท่ีเง่ือนไขสําเร็จ ก็อาจทําได ดังจะเห็นไดจากการท่ีกฎหมายรับรองไวมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ปพพ. การตกลงเชนนั้นยอมผูกพันคูกรณีแหงนิติกรรมท่ีตกลงกันในฐานะเปนนิติสัมพันธท่ีกอใหเกิดสิทธิเรียกรองระหวางกัน แตอาจทําใหเกิดปญหาข้ึนไดวาการตกลงใหเง่ือนไขมีผลยอนหลังไปนี้จะมีผลยันบุคคลอ่ืนนอกเหนือจากคูกรณีแหงนิติกรรมไดเพียงใด ปญหาขางตนนี้อาจแสดงใหเห็นได เม่ือเราแยกผลผูกพันทางหนี้กับผลผูกพันทางทรัพย หรือนิติกรรมกอความผูกพันทางหนีแ้ละนิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิเหนือทรัพยออกจากกัน กลาวคือความตกลงใหมีผลยอนหลังนั้นปกติยอมกอใหเกดิผลทางหนี้ระหวางกันไดตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา แตนาคิดวาความตกลงเชนนั้นจะเปล่ียนแปลงสถานะทางทรัพยสิทธิใหยอนหลังไดเพยีงใด เพราะทรัพยสิทธิเปนสิทธิมีอํานาจเหนือทรัพยสินซ่ึงเปนผลตามกฎหมาย ใชยันบุคคลท้ังหลายไดเปนการท่ัวไป ไมจํากัดเฉพาะคูกรณีท่ีมีนิติสัมพนัธตอกัน เม่ือทรัพยสิทธิเปนสิทธิท่ีคนท่ัวไปจะตองเคารพยอมรับ สถานะแหงสิทธิจงึตองการความแนนอนชัดเจนเปนพิเศษเพื่อใหคนท่ัวไปรับรูและเคารพสิทธิเชนนั้นได กรณีจึงควรเขาใจวา เม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ขอตกลงระหวางคูกรณยีอมใชไดในระหวางคูกรณี แตไมมีผลยอนหลังไปผูกพนับุคคลภายนอกในลักษณะท่ีเปนทรัพยสิทธิหรือเปนสิทธิเด็ดขาดได และคูกรณีมีหนี้ท่ีจะตองทําใหอีกฝายหน่ึงอยูในฐานะตามท่ีตกลงกนัเทานั้น ตัวอยางเชน ก. ตกลงซ้ือวัวตัวหนึ่งจาก ข. โดยมีเง่ือนไขบังคับกอน ท้ังสองฝายตกลงกันเม่ือวันท่ี ๑ มกราคม วาใหกรรมสิทธ์ิในววัท่ีซ้ือขายกันนี้โอนไปยงั ก. ผูซ้ือ เม่ือผูซ้ือไดชําระราคาวัวครบถวนแลว ปรากฏวา ก. ชําระราคาวัวตัวนี้ครบถวนเม่ือวนัท่ี ๑ มีนาคม ปเดียวกัน ดังนี้กรรมสิทธ์ิยอมโอนไปเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ คือ ๑ มีนาคม ไมใชมีผลยอนหลังเปนการโอนไปต้ังแตวันท่ีตกลงกันคือ ๑ มกราคม๑๗ ถาในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จนั้น ววัตัวท่ีซ้ือขายกนัเกิดตกลูกออกมา ๑ ตัว ลูกวัวยอมเปนดอกผลของแมทรัพย และตกเปนกรรมสิทธ์ิแกเจาของแมทรัพยตามหลักเร่ืองกรรมสิทธ์ิในดอกผล (มาตรา ๑๓๓๖ ปพพ.) ซ่ึงก็คือตกไดแก ข. นั่นเอง และการไดมาซ่ึง

๑๑๗๙ แหงประมวลกฎหมายแพงฝรั่งเศสกําหนดวา เมื่อเง่ือนไขสําเร็จใหนิติกรรมเปนผลยอนหลังไปถึงเวลาที่ทํานิติกรรมอันมีเง่ือนไขน้ันขึ้น

๑๗ แมในกฎหมายฝร่ังเศสจะมีหลักวาเมื่อเง่ือนไขสําเร็จใหนิติกรรมมีผลยอนหลังไปถึงวันที่ทํานิติกรรมนั้นขึ้น

ก็ตาม หลักดังกลาวน้ียอมไมใชแกกรณีที่ผูโอนทรัพยไดใชสอยทรัพย หรือไดดอกผลจากทรัพยน้ันในระหวางที่เง่ือนไขยังไมสําเร็จ และถือวาผูโอนทรัพยมีสิทธิใชสอยและไดดอกผลระหวางที่เง่ือนไขไมสําเร็จ โปรดดู Colin-Capitant, Traité de Droit Civil Français,Paris (1957), II, Nr.1696; Aubry et Rau, Cours de Droit Civil Français, ed. 6, Paris (1948-58), IV (Bartin), §302 4

Page 19: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๐

กรรมสิทธ์ิในดอกผลนี้เปนการไดมาโดยกฎหมาย จึงมิไดอยูใตบังคับเง่ือนไขใด ๆ ดังนี้หาก ก. กบั ข. ตกลงกันวาเม่ือเง่ือนไขสําเร็จใหกรรมสิทธ์ิโอนโดยมีผลยอนหลังไปถึงวันท่ีทําสัญญากันคือ ๑ มกราคม (ซ่ึงตกลงกันไดตามมาตรา ๑๘๗ วรรคสาม ปพพ.) ดังนี้ขอตกลงน้ันยอมมีผลระหวางกันไดในสวนท่ีเกีย่วกับแมทรัพยคือววัตัวท่ีซ้ือขายกัน แตการจะตกลงกนัใหดอกผลตกเปนสิทธิของผูซ้ือโดยใหมีผลยอนหลังไปดวยนั้น ยอมมีผลเปนการตกลงกันขัดตอหลักเกณฑในเร่ืองดอกผลที่กฎหมายบังคับไวใหตกเปนสิทธิแกเจาของแมทรัพยตามมาตรา ๑๓๓๖ ป.พ.พ. ดวยเหตุนี้เพื่อใหผลในมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ซ่ึงเปนไปตามหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา มีผลสอดคลองกับมาตรา ๑๓๓๖ ป.พ.พ. ซ่ึงเปนบทบังคับ เราควรเขาใจวา ขอตกลงเชนนี้ไมมีผลทําใหกรรมสิทธ์ิในดอกผลเปล่ียนแปลงไปตามขอตกลง เพียงแตคูกรณีมีหนาท่ีตามนิติสัมพันธท่ีมีข้ึนตามขอตกลงเทานั้น ดังนั้นในกรณนีี้ ข. ซ่ึงเปนเจาของแมววัยอมไดกรรมสิทธ์ิในลูกววัทันท่ีท่ีลูกวัวเกิด และมีหนาท่ีหรือหนี้ตามสัญญาท่ีจะโอนกรรมสิทธ์ิในลูกวัวตัวนัน้แก ก. และผูกพนัท่ีจะรับรองสิทธิของ ก. เพื่อทําให ก. อยูในฐานะเสมือนมีสิทธิเปนเจาของกรรมสิทธ์ิลูกวัวอยูโดยใหมีผลยอนหลังไปถึงเวลาท่ีตกลงกัน๑๘ โดยนัยเชนนี้เม่ือเง่ือนไขสําเร็จ คือมีการชําระเงินกันครบถวน ก. ยอมอางสิทธิยัน ข. ไดวาตนมีสิทธิในแมววัมาตั้งแตวันท่ีตกลงซ้ือขายกัน และยอมมีสิทธิเปนเจาของลูกววัดวย แตถาในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ มีบุคคลภายนอกไดรับโอนลูกววัไปจาก ข. ซ่ึงขณะน้ันมีฐานะเปนเจาของกรรมสิทธ์ิลูกวัวตัวนั้น ดังนี้ผูรับโอนยอมไดกรรมสิทธ์ิในลูกววัไป แมตอมาเง่ือนไขสําเร็จลง ก. ก็ไมอาจอางสิทธิของตนข้ึนตอสูบุคคลภายนอกได อยางไรก็ดี ในสวนท่ีเกีย่วกับการโอนทรัพยอันเปนวัตถุแหงนิติกรรมท่ีอยูใตบังคับเง่ือนไขนัน้ ใหดูขอ ๑.๔ ตอไป ในกรณีท่ี ก. กบั ข. ตกลงซ้ือขายววักันโดยมีเง่ือนไขบังคับหลัง คือให ก. ไดกรรม-สิทธ์ิในวัวไปจนกวาเง่ือนไขจะสําเร็จ ดังนี้ หากวัวตัวนัน้ออกลูกมาในระหวางท่ีเง่ือนไขนั้นยังไมสําเร็จลูกวัวยอมเปนของ ก. ซ่ึงเปนเจาของแมววัอยูในขณะนั้น คร้ันตอมาเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ สัญญาซ้ือขายเปนอันระงับและแมววัโอนกลับไปเปนของ ข. แมคูกรณีอาจตกลงกันใหมีผลยอนหลังกลับ-ไปถึงวันท่ีไดตกลงกัน (ซ่ึงตกลงกันไดตามมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ปพพ.) ดังนี้ลูกววัก็ยังคงเปนของ ก. อยู เพยีงแต ก. มีหนาท่ีโอนลูกวัวนั้นแก ข. และยอมรับวา ระหวาง ก. และ ข. นั้น ข. ยอมไดสิทธิยอนหลังไปถึงวันท่ีทําสัญญาตามท่ีตกลงกันเทานัน้ ค) กรณีท่ีกฎหมายใหถือวาเงื่อนไขสําเร็จ ไดแกกรณีท่ีความสําเร็จแหงเง่ือนไขอาจจะเปนทางใหคูกรณีฝายหนึง่เสียเปรียบ และคูกรณีฝายนัน้ทําการโดยไมสุจริตจนเปนเหตุใหเง่ือนไข

๑๘ แตโปรดดู ศักด์ิ สนองชาติ, นิติกรรมและสัญญา, พ.ศ. ๒๕๓๖, ขอ ๓๑๖, หนา ๓๒๕ ซึ่งอธิบายวาเมื่อ

เง่ือนไขสําเร็จ หากตกลงกันใหความสําเร็จแหงเง่ือนไขมีผลยอนหลังไป กรรมสิทธิ์ยอมโอนยอนหลังไป และดอกผลยอมตกแกผูซื้อยอนหลังไปดวย

Page 20: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๑

ไมสําเร็จ ดังนีก้ฎหมายกําหนดผลโดยใหถือวาเง่ือนไขใดไมสําเร็จเพราะการกระทําท่ีฝนความสุจริต ถือไดวาเง่ือนไขนั้นสําเร็จลงแลว(มาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ.) หรือกรณีท่ีความสําเร็จแหงเง่ือนไขจะเปนเหตุใหฝายใดไดเปรียบ และฝายนัน้ทําการโดยไมสุจริตเปนเหตุใหเง่ือนไขสําเร็จ กฎหมายก็ถือวาเง่ือนไขท่ีสําเร็จข้ึนโดยการกระทําอันไมสุจริตของผูไดเปรียบ ยอมมีคาเสมือนวาเง่ือนไขไมสําเร็จเลย (มาตรา ๑๘๖ วรรคสอง ปพพ.) กรณีท้ังสองนี้เปนหลักความสุจริตในพฤต-ิการณพิเศษประการหน่ึงซ่ึงจดัวาเปนสวนหนึ่งของหลักสุจริตท่ัวไปในมาตรา ๕ ปพพ. ตัวอยางเชน ข. ขายทรัพยให ก. โดยมีเง่ือนไขการโอนกรรมสิทธ์ิในลักษณะเปนเง่ือนไขบังคับกอน เชนตกลงกันวาใหกรรมสิทธ์ิโอนไปยัง ก. เม่ือ ก. ไดชําระราคาครบถวนแลว ปรากฏวาเม่ือ ก. นําเงินงวดสุดทายมาชําระราคาตามท่ีซ้ือขายกัน ข. ซ่ึงเปนฝายท่ีจะตองเสียเปรียบ เพราะจะเสียกรรมสิทธ์ิในทรัพยท่ีซ้ือขายกลับปฏิเสธไมรับเงินโดยไมสุจริต คือปราศจากเหตุผลอันอาจจะยกข้ึนอางไดโดยชอบ ดังนี้ถือไดวา ข. ทําการอันฝาฝนความสุจริตเพื่อใหเง่ือนไขไมสําเร็จ และดังนัน้กฎหมายยอมถือวาเง่ือนไขนั้นสําเร็จลงแลวในทันทีท่ี ข. ไดทําการโดยฝาฝนความสุจริตนั้นเอง ดังนั้นกรรมสิทธ์ิในทรัพยท่ีซ้ือขายกันยอมโอนไปยัง ก. ทันที หรือตัวอยางเชนตกลงซ้ือขายกัน โดยมีเง่ือนไขวาใหสัญญาซ้ือขายมีผล หากเรือลําท่ีตกลงกันมาถึงทาเรือภายใน ๑๕ วัน ดังนี้หากคูกรณีฝายท่ีจะเสียประโยชนจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขไปดําเนินการอยางใดอยางหนึ่งโดยฝาฝนความสุจริต เพื่อใหเรือลําท่ีตกลงกันมาไมถึงภายในกาํหนด เชนทําใหเคร่ืองยนตเสียหาย หรือกอเหตุข้ึนบนเรือเพื่อใหเรือมาถึงชา เพื่อใหเง่ือนไขเปนอันตกไป ดังนี้มาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ. ใหถือวาเง่ือนไขนั้นนัน้สําเร็จลงแลวในทันที หรือตัวอยางเชนตกลงชําระคานายหนาเม่ือผูซ้ือตกลงซ้ือท่ีดิน แตผูขายกลับทําการโดยไมสุจริตเปนเหตุใหผูซ้ือเปล่ียนใจไมซ้ือท่ีดินแปลงนั้น เชนบอกวาราคาท่ีดินแปลงนั้นสูงเกินจริง ดังนี้แมเง่ือนไขจะไมสําเร็จ แตกฎหมายก็ถือวาเง่ือนไขสําเร็จแลว๑๙ ผูขายจึงตองชําระคานายหนาท้ัง ๆ ท่ีไมมีการซ้ือท่ีดิน แตถาเปนกรณท่ีีคูกรณีท้ังสองฝายตกลงกันยอมใหเง่ือนไขสําเร็จหรือไมข้ึนอยูกับความพอใจของคูกรณีฝายหนึ่ง เชนตกลงซื้อขายทรัพยสินกันตามสัญญาซ้ือขายเผ่ือชอบ คือตกลงสงมอบทรัพยแกผูซ้ือ โดยยอมใหทดลองใช หากชอบหรือพอใจจึงจะถือวาสัญญาซ้ือขายเกิดข้ึน ดังนี้เทากับตกลงใหเง่ือนไขสําเร็จหรือไมแลวแตใจของฝายผูซ้ือ ดังนี้หากฝายผูซ้ือไมประสงคใหนิติกรรมเกิดข้ึนหรือส้ินผลไป ยอมมีสิทธิท่ีจะไมปลอยใหเง่ือนไขสําเร็จได ดังนี้ไมอาจเรียกไดวาเปนกรณีท่ีความสําเร็จแหงเง่ือนไขเปนทางใหไดเปรียบหรือเสียเปรียบระหวางกัน และการท่ีผูซ้ือพอใจแตไมตกลงซ้ือยอมเปนสิทธิของผูซ้ือตามท่ีไดตกลงกันไว จึงถือไมไดวาการไมตกลงซ้ือท้ัง ๆ ท่ีพอใจเปนการทําการโดยฝาฝนความสุจริต

๑๙ ตัวอยางจากฎีกาที่ ๔๔๓/๒๔๖๑ ซึ่งอางโดยจิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๑๙, หนา ๒๓๓

Page 21: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๒

๒) เงื่อนไขเปนอันตกไป ก) เม่ือปรากฏวาเหตุการณอันไมแนนอนในอนาคตอันต้ังเปนเง่ือนไขนัน้ไมอาจสําเร็จลงได เง่ือนไขนัน้ยอมเปนอันตกไป ตัวอยางเชน กําหนดเปนเง่ือนไขแหงนิติกรรมวาวาหากลูกหนี้ชําระเงินภายในกําหนดเวลาใดเวลาหน่ึง ใหนิติกรรมเปนผลหรือส้ินผล หากตอมา กาํหนดเวลานั้นไดผานพนไปแลวโดยไมมีการชําระเงิน ยอมเห็นไดวา เง่ือนไข(ท่ีต้ังไววาตองมีการชําระเงินภายในเวลากําหนด)ยอมไมมีทางสําเร็จลงได เง่ือนไขท่ีไมมีทางสําเร็จลงไดนีจ้ึงตองถือวาเปนอันตกไป หรือกรณีท่ีมีขอกําหนดวา หาก ก. ตายกอน ข. ใหนติิกรรมเปนผลหรือส้ินผล การที่ ก. จะตายกอน ข. หรือไมเปนเหตุการณอันไมแนนอน จึงกาํหนดเปนเง่ือนไขแหงนิติกรรมได แตถาปรากฏวากอนท่ี ก. จะถึงแกความตายนั้น ข. ไดถึงแกความตายกอนเสียแลว ดังนี้เง่ือนไข (การท่ี ก. ตายกอน ข.) ยอมไมมีทางสําเร็จลงได และยอมถือไดวาเง่ือนไขเปนอันตกไป เม่ือทํานิติกรรมโดยมีเง่ือนไข แลวปรากฏตอมาวาเง่ือนไขแหงนิติกรรมนั้นเปนอันตกไป ถานิติกรรมนั้นเปนนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขบังคับกอน การท่ีเง่ือนไขตกไปยอมสงผลใหนิติกรรมนั้นไมมีทางเปนผลข้ึนตอไปอีก นิติกรรมนัน้ยอมส้ินผลไป (ถาไดชําระหนี้อะไรกันไว ก็เปนกรณีท่ีไดทรัพยสินไปโดยเหตุซ่ึงมิไดมีไดเปนข้ึน และตองคืนกันตามหลักลาภมิควรไดตามมาตรา ๔๐๖ วรรคสองตอนตน ปพพ.) เชนมอบแหวนใหหญิงมีครรภ โดยกําหนดเง่ือนไขวาตกลงใหเปนของ-ขวัญหากไดบุตรคนแรกเปนชาย ปรากฏวาบุตรคนแรกท่ีเกิดมาเปนหญิง ดังนี้เง่ือนไขยอมตกไปและสัญญาใหยอมไมเปนผล แหวนท่ีไดไวก็ตองคืนกัน แตถาเปนเง่ือนไขบังคับหลัง การที่เง่ือนไขเปนอันตกไปยอมทําใหนิติกรรมนั้นไมมีทางส้ินผล หรือยอมเปนผลโดยปราศจากเง่ือนไข เชนตกลงขายสินคากัน โดยมีเง่ือนไขวาหากผูซ้ือสามารถซ้ือสินคาอยางเดยีวกันในราคาถูกกวาไดภายใน ๑ เดือนยอมใหคืนสินคานั้น ดังนี้หากพนเดือนหนึ่งไปแลว เง่ือนไขยอมเปนอันตกไป และสัญญาซ้ือขายยอมมีผลสมบูรณโดยไมอาจส้ินไปเพราะเง่ือนไขสําเร็จอีกแลว ข) กรณีท่ีกฎหมายถือวาเง่ือนไขตกไป ท้ัง ๆ ท่ีเง่ือนไขสําเร็จลงแลว ไดแกกรณีท่ีคูกรณีฝายท่ีไดเปรียบจากความสําเร็จของเง่ือนไข และไดกระทําการโดยไมสุจริตเพื่อใหเง่ือนไขนั้นสําเร็จ ดังนี้กฎหมายถือวาการกระทําโดยไมสุจริตเปนการอันไมชอบ และแมเง่ือนไขจะสําเร็จลงก็สําเร็จลงโดยการกระทําอันมิชอบ ดวยเหตุนี้กฎหมายจึงวางหลักวาเง่ือนไขท่ีสําเร็จข้ึนโดยการกระทําอันไมสุจริตของผูไดเปรียบ ยอมมีคาเสมือนวาเง่ือนไขไมสําเร็จ หรือเง่ือนไขนั้นเปนอันตกไปเลย (มาตรา ๑๘๖ วรรคสอง ปพพ.) ตัวอยางเชน ข. ตกลงจะขายบานให ก. ในราคาถูกกวาทองตลาด เม่ือ ค. ซ่ึงเปนผูเชาบานอยูยายออกไป ดังนีห้าก ก. ขวนขวายใหคนของตนขมขูให ค. ยอมยายออกไปจากบาน ก็เปนกรณีท่ี ก. ทําการโดยไมสุจริตเพื่อใหเง่ือนไขสําเร็จ กฎหมายถือวาเง่ือนไขเชนนั้นไดสําเร็จ หรือเปนอันตกไปเลย เราจะเห็นไดวา กรณีตามมาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ. นั้น เปนกรณปีองกันไมใหเง่ือนไขสําเร็จโดยไมสุจริต กฎหมายถือวาเง่ือนไขสําเร็จแลว สวนกรณตีามมาตรา ๑๘๖ วรรคสอง

Page 22: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๓

ปพพ. เปนกรณีทําใหเง่ือนไขสําเร็จโดยไมสุจริต กฎหมายก็ถือวาเง่ือนไขนั้นเปนอันตกไป ท้ังสองกรณีลวนแลวแตสะทอนหลักสุจริตดวยกนัท้ังส้ิน ๑.๔ การคุมครองประโยชนของผูไดสิทธิโดยมีเงื่อนไข ๑) การคุมครองสิทธิของคูกรณ ี ระหวางท่ีนิติกรรมท่ีมีเง่ือนไขไดเกิดข้ึนแลว แตยังไมเปนผล เพราะเง่ือนไขยังไมสําเร็จ และนิติกรรมจะยังไมเปนผล และยังไมมีหนี้ตามความประสงคของคูกรณีเกดิข้ึนก็ตาม แตก็ไมอาจเรียกไดวาคูกรณไีมมีสิทธิหนาท่ีใด ๆ ตอกันเลย เพราะตราบใดที่เง่ือนไขนั้นยงัไมตกไป ยังมีทางท่ีเง่ือนไขนั้นอาจสําเร็จไดในอนาคต เรียกไดวายังมีเช้ือแหงสิทธิตามนิติกรรมตามเง่ือนไขรอเกิดเปนผลข้ึนอยู คูกรณีท้ังสองฝายยอมควรจะคาดหมายไดวาเง่ือนไขอาจสําเร็จและนิติกรรมอาจเปนผลไดในเวลาใดเวลาหนึ่งขางหนา ดวยเหตุนี้คูกรณีท้ังสองฝายยอมมีหนาท่ีตามหลักสุจริตระหวางกัน ในอันท่ีจะไมทําการหรือกระทําการอยางหนึ่งอยางใดไปในทางท่ีอาจเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหน่ึงซ่ึงจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขนั้น ดังจะเหน็ไดจากการที่กฎหมายบัญญัติคุมครองประโยชนของคูกรณีท่ีมีสิทธิโดยมีเง่ือนไขไวในมาตรา ๑๘๔ และ มาตรา ๑๘๕ ดังนี ้ มาตรา ๑๘๔ ในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ คูกรณีฝายหนึ่งฝายใดแหง

นิติกรรมอันอยูในบังคับเง่ือนไขจะตองงดเวนไมกระทําการอยางหนึ่งอยางใดใหเปนท่ีเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซ่ึงจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขนัน้

มาตรา ๑๘๕ ในระหวางท่ีเง่ือนไขยังมิไดสําเร็จนั้น สิทธิและหนาท่ีตาง ๆ ของคูกรณีมีอยางไร จะจําหนาย จะรับมรดก จะจัดการปองกันรักษา หรือจะทําประกันไวประการใดตามกฎหมายก็ยอมทําได

ก) คูกรณีตองงดเวนไมทําใหเปนท่ีเส่ือมเสียประโยชนอันอีกฝายหนึง่จะพงึไดรับเม่ือเงื่อนไขสําเร็จ (มาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ.) การที่กฎหมายหามมิใหคูกรณีฝายหนึ่งฝายใดทําการอยางหน่ึงอยางใดใหเปนท่ีเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งนั้น เปนผลมาจากหนาท่ีของคูกรณีท้ังสองฝายท่ีผูกพันกันตามนิติกรรมอันมีเง่ือนไขนั้นเอง ท้ังนี้แมวานิติกรรมนั้นจะยังไมเปนผล หรือส้ินผล เพราะเง่ือนไขยังไมสําเร็จ แตท้ังสองฝายตางก็มีความผูกพันตอกันตามนิติกรรมท่ีอยูภายใตบังคับเง่ือนไขนั้นแลว จึงตองหามมิใหกระทําการใด ๆ ในลักษณะท่ีเปนการกระทบกระเทือนไปในทางเส่ือมเสียตอประโยชนของคูกรณีอีกฝายหน่ึง ซ่ึงแมขณะท่ีเง่ือนไขนั้นยังไมสําเร็จ ประโยชนจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขจะยังไมเปนผล แตคูกรณกี็มีความผูกพันในอันท่ีจะคุมครองประโยชนอันจะพึงมีพึงไดของคูกรณีอีกฝายหนึ่ง ซ่ึงอาจเกิดมีข้ึนเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ดังนั้นตราบใดท่ีเง่ือนไขยงัไมสําเร็จ และ

Page 23: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๔

เง่ือนไขนั้นยังมิไดเปนอันตกไป คูกรณีท้ังสองฝายตองผูกพันกนัในลักษณะท่ีตางฝายตางมีหนาท่ีตองงดเวนไมทําการใหอีกฝายหนึ่งอาจตองเส่ือมเสียประโยชนอันพึงไดจากนติิกรรมนั้น ท่ีวาเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหน่ึงตามมาตรา ๑๘๔ นี้ อาจเปนการทําแกตัวทรัพยอันเปนวัตถุแหงหนีใ้หเส่ือมเสีย เส่ือมคาหรือสูญหายไป หรือทําใหเส่ือมแกสิทธิเชนทําใหทรัพยนั้นตกอยูภายใตบังคับของสิทธิอ่ืน หรือทําใหสิทธิอันคูกรณีอีกฝายหนึ่งจะพึงไดรับนั้นลดนอยถอยลงหรือเส่ือมสูญไปก็ได ตัวอยางเชน ก. ตกลงขายรถยนตแก ข. ภายใตเง่ือนไขบังคับกอนวาหาก ก. ไดรับทุนไปศึกษาตอตางประเทศเปนอันขายตามราคาท่ีตกลงกันไวลวงหนาแลว ดังนี้ ในระหวางท่ียังไมแนวา ก. จะไดรับทุนไปศึกษาตอหรือไม แมวา ก. จะยังคงเปนเจาของกรรมสิทธ์ิรถยนตคันนี้เต็มภูมิ แตภายใตนิติกรรมอันมีเง่ือนไขนี้ ก. ยอมมีหนาท่ีตองระมัดระวังไมทําการใด ๆ ใหเส่ือมเสียแกตัวทรัพย หรือทําใหสิทธิในตัวทรัพยนั้นเส่ือมเสียไป นับต้ังแตจะตองดูแลรักษารถนั้นดวยความระมัดระวังเชนท่ีกระทําตามปกติ ไมใชสอยรถนั้นในลักษณะท่ีเส่ียงอันตรายอันอาจจะเกิดเสียหายแกรถ และไมดัดแปลงรถนัน้ไปในทางใหเส่ือมคาหรือเส่ือมประโยชนใชสอยแก ข. รวมตลอดไปถึงการงดเวนไมนํารถนั้นจํานํา หรือไปจําหนายแกบุคคลภายนอก เพราะจะมีผลใหเกิดเส่ือมสิทธิแก ข. เปนตน ในทางกลับกนั หาก ก. ขายรถแก ข. ภายใตเง่ือนไขบังคับหลังวา หาก ข. ไดทุนไปศึกษาตอในตางประเทศ ก็ใหรถนั้นโอนกลับมาเปนของ ก. ดังนี้ ข. ยอมไดกรรมสิทธ์ิในรถท่ีซ้ือขายกันโดยมีเง่ือนไขบังคับหลัง และ ข. ตองงดเวนไมทําการใหเส่ือมเสียประโยชนของ ก. ท้ังในการดูแลรักษา และไมทําการใหเส่ือมสิทธิอันอาจเกดิมีแก ก. เชนไมนํารถนั้นไปจําหนายหรือจํานําไวแกบุคคลภายนอก ผลของการท่ีฝายใดฝายหนึ่งทําการอันเปนการฝาฝนหนาท่ีงดเวนไมทําใหเปนท่ีเส่ือมประโยชนอันอีกฝายหนึ่งจะพึงไดรับในเม่ือเง่ือนไขสําเร็จนี้ ยอมมีคาเทากับการไมชําระหนี้ท่ีจะตองงดเวนไมทําการใหเส่ือมประโยชนแกอีกฝายหนึ่ง ดังนั้นฝายท่ีฝาฝนหนาท่ีดังกลาวยอมตองรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทนแกอีกฝายหนึ่งเม่ือเง่ือนไขนั้นสําเร็จ ตัวอยางเชน ก. ตกลงขายรถให ข. ภายใตเง่ือนไขบังคับกอนวาเม่ือ ก. ไดรับการแตงต้ังใหดํารงตําแหนงราชการในตางประเทศ หากปรากฏวา กอนท่ีเง่ือนไขจะสําเร็จ ก. ไดใชสอยรถโดยประมาทเปนเหตุใหรถนัน้ประสบอุบัติเหตุจนบุบสลายใชการไมได ดงันี้ถือไดวา ก. กระทําการใหเส่ือมเสียประโยชนอัน ข. จะพึงไดรับเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ดังนั้น หากตอมา ก. ไดรับแตงต้ังตามเง่ือนไข ก. ยอมมีหนาท่ีชดใชคาเสียหายแก ข. ซ่ึงตองเส่ือมเสียประโยชนจากการใชสอยรถนั้น เชนรถนั้นมีราคาตามทองตลาด ๕ แสนบาท แตตกลงซ้ือขายกันโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนในราคาเพียง ๔ แสนบาท ดังนี้หากกอนท่ีเง่ือนไขจะสําเร็จ ก. ทําใหรถนั้นบุบสลายใชการไมได ดังนีห้ากตอมาเง่ือนไขเกิดสําเร็จข้ึน ก. มีหนาท่ีตองชดใชคาเสียหายแก ข. ในเหตุท่ีทรัพยเส่ือมราคา และ

Page 24: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๕

เส่ือมประโยชนใชสอย ซ่ึงหากนิติกรรมเปนผลตามเง่ือนไข ข. ยอมไดกรรมสิทธ์ิในรถท่ีมีมูลคา ๕ แสนบาท ในราคาเพียง ๔ แสนบาท ดังนัน้ ก. ตองชดใชาคาเสียหายแก ข. เปนเงิน ๑ แสนบาท เปนตน (และโปรดดูความในมาตรา ๓๗๑ วรรคสองตอนทาย ป.พ.พ. ประกอบ) นอกจากความรับผิดตองชดใชคาเสียหายเพราะเหตุท่ีไมชําระหนี้ตามนติิกรรมอันมีเง่ือนไขนั้นแลว ในกรณีท่ีเปนสัญญาตางตอบแทนอันมีเง่ือนไขบังคับกอน และทรัพยนั้นสูญหรือเสียหายไปในระหวางท่ีเง่ือนไขไมสําเร็จ กรณตีองอยูใตบังคับมาตรา ๓๗๑ วรรคสอง ป.พ.พ. ซ่ึงวางหลักวา หากทรัพยสูญหรือเสียหายไปโดยโทษเจาหนี้(คือผูจะไดประโยชนจากความสําเร็จแหงเง่ือนไข)ไมไดแลว ลูกหนี้ตองเปนฝายตองรับความเส่ียงภัย หรือบาปเคราะหอันเกิดจากการที่ทรัพยนั้นสูญหรือเสียหายไป คือตองสูญเสียทรัพยนั้นไปโดยท่ีแมตอมาหากเง่ือนไขสําเร็จลงลูกหนี้กไ็มมีสิทธิเรียกคาตอบแทนจากเจาหนี้ซ่ึงเปนคูกรณีอีกฝายหนึ่ง ตัวอยางเชน ในเร่ืองขายรถโดยมีเง่ือนไขบังคับกอน หากในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ รถนั้นถูกชนหรือถูกไฟไหมเปนเหตุใหบุบสลาย ความสูญเสียยอมเปนพับแกฝายลูกหนี้ (คือผูขาย) และไมวาในระหวางเง่ือนไขยังไมสําเร็จนั้น ทรัพยจะสูญหรือเสียหายไปเพราะความผิดของลูกหนี้(ขับรถโดยประมาท) หรือเพราะบุคคลภายนอก (ลูกหนี้ไมไดประมาท แตบุคคลภายนอกประมาท) กต็าม หากความสูญหรือเสียหายนั้นไมอาจโทษเจาหนี้ไดแลว เม่ือเง่ือนไขสําเร็จแลวเจาหนีย้ังมีสิทธิท่ีจะเลือกใหลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญา คือสงมอบทรัพยท่ีตกลงซ้ือขายกันตามสภาพท่ีบุบสลาย หรือโอนกรรมสิทธ์ิแหงทรัพยท่ีสูญหายไปนัน้แกเจาหนี้ โดยเจาหนี้มีสิทธิลดราคาลงตามสวน หรือจะเลือกบอกเลิกสัญญาเสียก็ได (มาตรา ๓๗๑ วรรคสอง ป.พ.พ.) ความคุมครองในการเรียกคาเสียหาย หรือการใชสิทธิเรียกใหปฏิบัติตามสัญญาแลวลดราคาลง หรือใชสิทธิเลิกสัญญาดังท่ีกลาวขางตน จะเกิดแกคูกรณีอีกฝายหนึ่ง(เจาหนี)้ไดก็ตอเม่ือเง่ือนไขสําเร็จลงแลว เพราะกอนท่ีเง่ือนไขจะสําเร็จกย็ังไมเปนอันรูแนวาคูกรณีอีกฝายหนึ่งจะตองเสียหายหรือไม จึงทําใหนาคิดวา ระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จนั้น คูกรณีอีกฝายหนึ่งจะมีทางไดรับการเยียวยาอยางไร ซ่ึงเปนปญหาท่ีเราจะไดพิจารณาถึงสิทธิหนาท่ีของคูกรณีตามมาตรา ๑๘๕ ป.พ.พ. ในหัวขอตอไป ข) คูกรณีมีสิทธิจําหนาย รับมรดก จัดการปองกันรักษา หรือทําประกันไวในระหวางท่ีเงื่อนไขยงัไมสําเร็จ (มาตรา ๑๘๕ ป.พ.พ.) เปนท่ียอมรับกันวา แมในขณะท่ีเง่ือนไขยงัไมสําเร็จ และยังไมเปนอันแนนอนวาเง่ือนไขจะสําเร็จหรือไม กฎหมายก็รับรองใหคูกรณีมีสิทธิหนาท่ีตอกันแลว และยังมีสิทธิจัดการหรือมีสิทธิทํานิติกรรมในทางจําหนาย รับมรดก จัดการปองกันรักษา หรือทําประกนัไวในระหวางเง่ือนไขยังไมสําเร็จไดแลว สิทธิหนาท่ีท่ีคูกรณีมีในระหวางท่ีเง่ือนไขยงัไมสําเร็จนี้จึงตองนับวาเปนสิทธิอันมีราคาและถือเอาได และนับเปนสิทธิทางทรัพยสินอยางหนึ่ง ซ่ึงอาจเรียกวา “สิทธิใน

Page 25: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๖

ประโยชนอันพึงได” เม่ือเง่ือนไขนั้นสําเร็จ ตัวอยางเชนสิทธิตามสัญญาขายฝาก ซ่ึงนับเปนสัญญาขายทรัพยท่ีมีเง่ือนไขบังคับหลังอยางหนึ่ง ซ่ึงกฎหมายยอมใหผูซ้ือฝากซ่ึงไดกรรมสิทธ์ิไปนั้นโอนสิทธิของตน(ซ่ึงอยูใตบังคับเง่ือนไขท่ีผูขายอาจไถทรัพยนั้นกลับไปได)ตอไปยังบุคคลภายนอกได และในขณะเดยีวกัน ผูขายฝากก็โอนสิทธิในการไถทรัพยท่ีขายฝากกันไวตอไปได นอกจากนี้หากจะมีการรับมรดกในสิทธิเชนนั้น หรือจะจดัการปองกันรักษา เชนนําคดีข้ึนสูศาลเพื่อปองกันหรือรักษาสิทธิตามเง่ือนไขอันจะพึงได เชนฟองเรียกทรัพยคืนจากผูไมมีสิทธิยึดถือ หรือผูท่ีเขาครอบครองปรปกษทรัพยอันจะพึงไดแกตนเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ หรือจะเอาประกันภัยในทรัพยสินนัน้ดวยก็ยอมได ไมเปนการตองหามตามมาตรา ๘๖๓ ป.พ.พ. ซ่ึงหามมิใหผูมีสวนไดเสียเอาประกัน๒๐ หรือจะจดัใหมีการคํ้าประกนั หรือวางหลักประกนัการชําระหนี้อันมีเง่ือนไข เชนทําจํานํา จํานองไวดวยก็ได และหลักทํานองเดยีวกันนีก้็ควรจะนํามาใชในกรณีนิติกรรมมีเง่ือนไขบังคับกอนดวย ดังนั้นแมเง่ือนไขจะยังไมสําเร็จ แตปรากฏวามีการทําการอยางใดไปในทางท่ีจะเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซ่ึงจะพึงไดจากการท่ีเง่ือนไขนั้นสําเร็จลง คูกรณีฝายท่ีเส่ือมเสียประโยชนยอมมีสิทธิจัดการในทางปองกนัรักษาสิทธิอันมีเง่ือนไขของตนได และดวยเหตุนีห้ากมีการโอนทรัพยสินอันเปนวตัถุแหงหนีต้ามนิติกรรมไปยังบุคคลภายนอกในลักษณะท่ีจะทําใหคูกรณีอีกฝายหนึ่งตองเสียเปรียบ คูกรณีฝายนัน้ยอมมีสิทธิเพิกถอนการฉอฉลได (มาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ.) แตหลักการเพิกถอนการฉอฉลนี้ ไมใชแกกรณีท่ีบุคคลภายนอกไดทรัพยสินไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน ในการจําหนายสิทธิและหนาท่ีของนิติกรรมภายใตบังคับเง่ือนไขนั้น ควรเขาใจวาสิทธิและหนาท่ีของผูโอนยอมโอนไปยังผูรับโอนภายใตบังคับเง่ือนไขนั้นดวย เชน ก. ตกลงขายรถยนตแก ข. โดยมีเง่ือนไขบังคับกอนวา ใหสัญญาซ้ือขายมีผลและใหกรรมสิทธ์ิในรถโอนไปเม่ือ ข. สําเร็จการศึกษา ดังนี้ในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จนี้ หาก ก. โอนรถยนตอันเปนวัตถุแหงสัญญาอันมีเง่ือนไขนี้แก ค. ยอมมีผลให ค. ผูรับโอนไดสิทธิของ ก. คือไดกรรมสิทธ์ิซ่ึงอยูภายใตบังคับเง่ือนไขไปดวยตามหลักผูรับโอนยอมไมมีสิทธิดีกวาผูโอน ดังนั้นในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ เดิมรถยนตคันนั้นเปนของ ก. อยู เม่ือโอนให ค. กย็อมตกเปนกรรมสิทธ์ิของ ค. ดวย แตการไดกรรมสิทธ์ิของ ค. นี้ก็เปนการไดมาโดยอยูใตบังคับเง่ือนไขตามสัญญาระหวาง ก. กับ ข. หากตอมา ข. ตายหรือเลิกศึกษาตอไปก็เปนอันวาเง่ือนไขแหงนิติกรรมนัน้ตกไป ดังนี้การโอนระหวาง ก. กับ ค. กย็อมมีผลโดยปราศจากเง่ือนไขใด ๆ อีก แตหากปรากฏวาตอมา ข. สําเร็จการศึกษา ก็เปนกรณีท่ีเง่ือนไขสําเร็จลง รถยนตซ่ึงขณะนั้นตกเปนของ ค. อยู ยอมโอนไปเปนของ ข. และสิทธิของ ค. (ซ่ึงอยูใตบังคับเง่ือนไข) ก็ยอมระงับไปตามเง่ือนไข และ ค. ยอมมีหนาท่ีตองสงมอบ

๒๐ ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๒๘-๒๒๙

Page 26: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๗

รถยนตนั้นแก ข. ท้ังนี้ เวนแตวาจะเปนกรณีท่ี ค. ซ่ึงเปนบุคคลภายนอกไดรับโอนทรัพยนั้นไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน คือไมรูวาทรัพยสินนั้นตกอยูภายใตบังคับนิติกรรมอันมีเง่ือนไข อยางไรก็ดี ผูโอนซ่ึงมีสิทธิภายใตบังคับเง่ือนไขมีหนาท่ีตามมาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ. คือไมทําการใหเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหน่ึงอันจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขนั้น เพราะถาบุคคลภายนอกไดรับโอนไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน บุคคลภายนอกนั้นอาจไดรับการคุมครองสิทธิใหเปนผูมีสิทธิดีกวา เชนกรณีท่ีมีผูไดสังหาริมทรัพยโดยไดครอบครองแลวโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน ตามมาตรา ๑๓๐๓ ป.พ.พ. ดังนัน้เพื่อไมใหเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณี ผูโอนสิทธิอันมีเง่ือนไขยอมมีหนาท่ีตองแจงแกผูรับโอนวาสิทธิท่ีโอนจําหนายใหนั้นเปนสิทธิท่ีอยูใตบังคับเง่ือนไข ซ่ึงจะมีผลตอไปวา เม่ือเง่ือนไขสําเร็จสําเร็จลง สิทธิของผูรับโอนยอมระงับส้ินไป และสิทธินั้นยอมตกแกคูกรณีของผูโอนจาํหนายสิทธินัน้ หลักทํานองเดยีวกันนี้เห็นไดจากกฎหมายลักษณะขายฝาก (มาตรา ๔๙๑ – ๕๐๒ ป.พ.พ.) ซ่ึงเปนนิติกรรมซ้ือขายโดยมีเง่ือนไขบังคับหลัง กลาวคือคูกรณตีกลงใหกรรมสิทธ์ิโอนกลับมาเปนของผูขายฝากโดยอาศัยการไถทรัพยท่ีขายฝากเปนเง่ือนไขบังคับหลัง ในระหวางท่ีขายฝากกัน และเง่ือนไขยังไมสําเร็จ คือยังไมมีการไถทรัพยท่ีขายฝากกันนัน้ ผูขายฝากอาจจะโอนสิทธิของตนไปยังบุคคลภายนอกได และผูรับโอนสิทธิของผูขายน้ันยอมไดสิทธิของผูขายฝากอันเปนสิทธิท่ีมีเง่ือนไขบังคับหลังไปดวย ดังจะเหน็ไดวา มาตรา ๔๙๗ ป.พ.พ. ยอมใหผูรับโอนสิทธิของผูขายฝากมีสิทธิไถทรัพยนั้น และกรรมสิทธ์ิยอมตกกลับมาเปนของผูไถ (มาตรา ๕๐๒ ป.พ.พ.) และในทํานองเดียวกันผูซ้ือฝากจัดวาเปนผูไดกรรมสิทธ์ิในทรัพยท่ีขายฝากไปภายใตบังคับเง่ือนไขวาผูขายหรือผูรับโอนสิทธิของผูขายอาจไถทรัพยนั้นได และเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ คือมีการไถทรัพยเม่ือใด กรรมสิทธ์ิในทรัพยนัน้ยอมโอนกลับไปเปนของผูไถ หากผูซ้ือฝากนําทรัพยท่ีตนซ้ือฝากไวไปจําหนายตอไปยังบุคคลภายนอก ก็เปนกรณีโอนกรรมสิทธ์ิอันตกอยูในบังคับนิติกรรมอันมีเง่ือนไขบังคับหลัง ผลก็คือ ผูไถอาจไถทรัพยกับผูรับโอนสิทธิของผูซ้ือฝากได (มาตรา ๔๙๘ (๒) ป.พ.พ.) เปนอันวาเง่ือนไขสําเร็จ และผลก็คือทรัพยนั้นยอมโอนกลับไปเปนของผูไถ (มาตรา ๕๐๒ ป.พ.พ.) อยางไรก็ดี ผูรับโอนสิทธิของผูซ้ือฝากจะไดสิทธิไปโดยมีเง่ือนไขก็เฉพาะกรณท่ีีผูรับโอนรูอยูแลววาสิทธิท่ีรับโอนมานั้นอยูใตบังคับแหงสิทธิไถคืน หรืออยูใตบังคับแหงเง่ือนไขบังคับหลังซ่ึงตกติดมากบัทรัพยสินท่ีตนรับโอนมา (มาตรา ๔๙๘ (๒) ป.พ.พ.) ๒) การคุมครองสิทธิของบุคคลภายนอก ปญหาการคุมครองสิทธิของบุคคลภายนอกมักจะเกดิข้ึนเม่ือคูกรณีฝายหน่ึงโอนทรัพยสินอันเปนวัตถุแหงนติิกรรมท่ีอยูใตบังคับแหงเง่ือนไขบังคับกอนไปยังบุคคลภายนอกกอนท่ีเง่ือนไขจะสําเร็จ ในกรณีเชนนี้ผูโอนยังมีสิทธิเหนือทรัพยสินท่ีโอน และผูรับโอนยังไมมีสิทธิในทรัพยสินนั้นจนกวาเง่ือนไขจะสําเร็จ ดังนัน้ในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จนี้ หากผูโอนโอน

Page 27: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๘

ทรัพยสินแกบุคคลภายนอก การโอนนั้นยอมมีผลตามกฎหมาย ถาตอมาเง่ือนไขนั้นตกไป คือเง่ือนไขนั้นเปนอันไมมีทางสําเร็จลงไดอีกตอไป ปญหาก็หมดไป และผูรับโอนยอมไดสิทธิในทรัพยสินไปอยางสมบูรณ แตปญหายุงยากที่เกิดข้ึนก็คือ เม่ือผูโอนไดโอนทรัพยสินซ่ึงตกอยูภายใตบังคับเง่ือนไขนั้นไปยังบุคคลภายนอกแลว ปรากฏตอมาวาเง่ือนไขเกิดสําเร็จลง ดังนี้สิทธิของคูกรณซ่ึีงไดรับโอนไปโดยมีเง่ือนไขรายแรก กับสิทธิของบุคคลภายนอกซ่ึงไดรับโอนไปรายหลังจะเปนอยางไร ปญหาดังกลาวนี้มีมาต้ังแตสมัยโรมัน ซ่ึงถือเปนหลักวาการโอนทรัพยสินท่ีอยูภายใตบังคับเง่ือนไขไปยงับุคคลภายนอกในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จนั้นมีผลก็จริง แตผลนัน้ยังไมบริบูรณเพราะยังอยูใตบังคับเง่ือนไข หากเง่ือนไขตกไปการโอนจึงจะมีผลบริบูรณ แตหากเง่ือนไขสําเร็จเม่ือใด การโอนแกบุคคลภายนอกยอมส้ินผลไป๒๑ ในกฎหมายไทยมีหลักท่ีจะนํามาปรับใชกบัเร่ืองนี้ไดคือหลักในมาตรา ๑๘๔ และ ๑๘๕ ป.พ.พ. ซ่ึงรับรองใหคูกรณีโอนสิทธิและหนาท่ีท่ีตนมีอยู คือสิทธิและหนาท่ีอันมีเง่ือนไขของตนตอไป หรือจะจัดการระวังปองกันรักษา หรือเอาประกันในสิทธิหนาท่ีอันมีเง่ือนไขของตนก็ได ในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ (มาตรา ๑๘๕ ป.พ.พ.) แตก็จํากดัไวดวยวา ในระหวางท่ีเง่ือนไขไมสําเร็จนี้ คูกรณีท้ังสองฝายตองงดเวนไมทําการใหเปนท่ีเส่ือมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหน่ึงซ่ึงจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขนั้น (มาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ.) การทีก่ฎหมายรับรองสิทธิอันพึงได และกําหนดใหคูกรณีตองงดเวนไมทําการใหเปนท่ีเส่ือมเสียประโยชนอันพึงไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขนี ้อาจแปลความวากฎหมายจํากัดอํานาจในการโอนของคูกรณีไวเพื่อคุมครอง

๒๑ Gaius, Digesta Iustiniani, 30, 69, 1; Aelius Marcianus, Diesta Iustiniani, 20,1, 13,1 นอกจากน้ียังมีผูอธิบาย

วาที่เปนเชนน้ีก็เพราะเมื่อเง่ือนไขสําเร็จ ความสําเร็จแหงเง่ือนไขน้ันยอมมีผลยอนหลังกลับไปถึงจุดเวลาที่นิติกรรมน้ันไดทําขึ้น (Pomponius D. 46, 3, 16) แมความคิดน้ีไมไดรับการยอมรับในการตราประมวลกฎหมายของพระเจาจุสติเนียน แตก็เปนที่ยอมรับกันในระบบกฎหมายตาง ๆ เชนฝรั่งเศส อิตาลี และกฎหมายในสกุลโรมานิก ในกฎหมายฝรั่งเศสน้ันถือวาเมื่อเง่ือนไขสําเร็จ นิติกรรมมีผลยอนหลังไปแตตน (มาตรา ๑๑๗๙ ป.แพงฝรั่งเศส และโปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๒๑, หนา๒๓๔) ดังน้ันหากโอนไปยังบุคคลภายนอกในระหวางน้ันการโอนน้ันไมมีผลเมื่อเง่ือนไขสําเร็จ โดยไมไดมีกฎหมายกําหนดไวโดยเฉพาะ แตถือตามหลักทั่วไปวาเมื่อเง่ือนไขสําเร็จและมีผลยอนหลังไปเปนเหตุใหผูโอนไมมีอํานาจโอน การโอนยอมไมมีผล แตในกฎหมายเยอรมันและสวิส มิไดรับแนวคิดวาเมื่อเง่ือนไขสําเร็จ นิติกรรมยอมมีผลยอนหลังไปถึงวันที่ทํานิติกรรมแบบฝรั่งเศส เพียงแตถือวาการจําหนายทรัพยสินไปในระหวางที่เง่ือนไขไมสําเร็จน้ัน ยอมไมมีผลเฉพาะในสวนที่เก่ียวกับเง่ือนไข ดังน้ันหากเง่ือนไขน้ันสําเร็จลงในภายหลัง การโอนที่เกิดขึ้นระหวางน้ันน้ันยอมไมมีผล หรือยอมเสียผลยอนหลังไปถึงเวลาที่โอนกัน (มาตรา ๑๖๑ ประมวลกฎหมายแพงเยอรมัน และมาตรา ๑๕๒ วรรคสาม ประมวลกฎหมายลักษณะหน้ีของสวิตเซอรแลนด)

Page 28: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๕๙

ประโยชนอันพึงไดของอีกฝายหนึ่งเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ และสิทธิในประโยชนอันพึงไดนี้เปนสิทธิท่ีกฎหมายคุมครอง มิไดเปนแตเพียงความผูกพันทางหน้ีระหวางคูกรณเีทานั้น แตเปนสิทธิตามกฎหมายท่ีอาจยกข้ึนตอสูบุคคลภายนอกเพ่ือปองกันรักษาสิทธิอันพึงไดนี้ไดเสมอ จงึอาจนับเปนสิทธิเหนือทรัพยสินอยางหนึ่งท่ีกฎหมายรับรอง ดวยเหตุนี้การโอนทรัพยสินไปยังบุคคลภายนอกในระหวางท่ีเง่ือนไขยังไมสําเร็จ จึงเปนการโอนท่ีถูกจํากดัโดยกฎหมายใหมีผลไดเพยีงเทาท่ีไมกระทบในทางเส่ือมเสียตอประโยชนอันพงึไดจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขเทานั้น๒๒ ตามอุทาหรณท่ี ๖ การที่ ก. ซ้ือเคร่ืองรับโทรทัศนจาก ข. โดยมีเง่ือนไขวาใหกรรมสิทธ์ิโอนมายัง ก. เม่ือชําระเงินครบถวน ดังนั้นระหวางท่ียังชําระเงินไมครบ เคร่ืองรับโทรทัศนยยังเปนของ ข. อยู ดังนั้นเม่ือ ข. ขายเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นแก ค. การขายนั้นยอมมีผล แตโดยท่ีสิทธิของ ข. เปนสิทธิโดยมีเง่ือนไข ดังนัน้ ค. ยอมไดรับโอนสิทธิอันอยูใตบังคับเง่ือนไขของ ข. ไปดวย หากตอมาเง่ือนไขนั้นตกไป ค. ยอมไดสิทธิไปโดยบริบูรณ แตถาเง่ือนไขนั้นสําเร็จสิทธิของ ค. ซ่ึงไดมาโดยอยูใตบังคับเง่ือนไขยอมระงับส้ินไป และทรัพยสินนั้นยอมตกไปเปนกรรมสิทธ์ิของ ก. ตามเง่ือนไข เม่ือเง่ือนไขสําเร็จแลว ก. ยอมมีสิทธิเรียกให ค. สงทรัพยคืนใหแกตน สวน ค. ก็มีสิทธิไปเรียกรองตอ ข. ใหตองรับผิดเพื่อการรอนสิทธิในทรัพยสินท่ีขาย (มาตรา ๔๗๕ ป.พ.พ.) อยางไรก็ดี กฎหมายก็คํานึงถึงประโยชนอันพึงไดของบุคคลภายนอกผูไดรับโอนทรัพยสินโดยสุจริตและเสียคาตอบแทนเอาไวดวย ดงัจะเห็นไดจากการใหสิทธิเจาหนี้เพิกถอนนิติกรรมอันมีวัตถุแหงสิทธิเปนทรัพยสินซ่ึงไดทําข้ึนโดยฉอฉลและเปนทางใหเจาหนี้เสียเปรียบตามมาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ. แตถาบุคคลภายนอกผูไดประโยชนไปนั้นเปนผูสุจริตและเสียคาตอบแทน เจาหนี้ยอมไมมีสิทธิเพิกถอนการฉอฉล และในสวนท่ีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพยก็มีหลักคุมครองบุคคลภาย-นอกผูไดทรัพยสินไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทนปรากฏอยูในมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง และมาตรา ๑๓๐๐ ป.พ.พ. ซ่ึงมีหลักเกณฑวา การไดมาซ่ึงอสังหาริมทรัพยโดยผลของกฎหมาย ไมอาจยกเปนขอตอสูการไดมาซ่ึงอสังหาริมทรัพยโดยการโอนทางทะเบียน โดยสุจริต และเสียคาตอบแทนได และการไดมาโดยทางทะเบียน โดยสุจริต และเสียคาตอบแทนน้ียอมไมถูกเพิกถอน แมจะมีผูอยูในฐานะอันจะใหจดทะเบียนสิทธิของตนไดอยูกอนก็ตาม ดังนั้นบุคคลภายนอกผูไดสิทธิในอสังหาริมทรัพยไปโดยทางทะเบียน โดยสุจริตและเสียคาตอบแทนยอมมีสิทธิดีท่ีสุด สวนในเร่ืองสังหาริมทรัพยนั้นก็มีมาตรา ๑๓๐๓ บัญญัติรับรองสิทธิของผูรับโอนโดยสุจริต เสียคาตอบแทน และไดครอบครองทรัพยแลวโดยสุจริตเอาไวเชนเดยีวกัน คือ ในกรณีท่ีมีบุคคลหลาย

๒๒ แตโปรดดู เสนีย ปราโมช, นิติกรรมและหน้ี, เลม ๑, (แกไขเพ่ิมเติม พ.ศ. ๒๕๐๕), หนา ๒๒๔ ซึ่งอธิบายวา

การโอนทรัพยซึ่งตกอยูใตบังคับเง่ือนไขไปยังบุคคลภายนอกในระหวางที่เง่ือนไขยังไมสําเร็จน้ัน แมตอมาเง่ือนไขสําเร็จก็ไมกระทบตอสิทธิของบุคคลภายนอก ผูที่ตองขาดประโยชนจากความสําเร็จแหงเง่ือนไขไดแตเรียกคาสินไหมทดแทนจากคูกรณีฝายที่โอนทรัพยไปยังบุคคลภายนอกเทาน้ัน

Page 29: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๖๐

คนอางกรรมสิทธ์ิในสังหาริมทรัพยเดยีวกนั ผูรับโอนทรัพยนั้นมาโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน และไดครอบครองทรัพยนัน้แลวโดยสุจริตยอมมีสิทธิดีท่ีสุด นอกจากนี้หากบุคคลภายนอกเปนผูซ้ือทรัพยโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคําส่ังศาล หรือคําส่ังเจาพนักงานพิทักษทรัพยในคดีลมละลายยังไดรับการคุมครองตามมาตรา ๑๓๓๐ ป.พ.พ. โดยกฎหมายรับรองไววาสิทธินั้นยอมไมเสียไปหากปรากฏภายหลังวาทรัพยนั้นไมใชทรัพยของจําเลย ลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือคนลมละลาย ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ ๖ ถาปรากฏวา ค. ซ่ึงไดรับโอนจาก ข. รูดีอยูแลว หรือมีเหตุควรสงสัยวา ข. เปนเจาของเคร่ืองรับโทรทัศนซ่ึงมีสิทธิภายใตบังคับเง่ือนไขอยางหนึ่งอยางใด เชนในกรณีนี้คือเง่ือนไขวา หาก ก. ชําระเงินครบถวนเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นยอมตกเปนของ ก. ดังนี้ หาก ค. รับโอนเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นมา แมขณะโอน ข. จะยังเปนเจาของกรรมสิทธ์ิและยอมมีสิทธิโอนมายัง ค. ไดก็ตาม แตสิทธิท่ี ค. ไดรับยอมตกอยูใตบังคับเง่ือนไขเดยีวกนัดวย ดังนั้นหากตอมา ก. ชําระเงินแก ข. ครบถวน เง่ือนไขก็สําเร็จและเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นยอมตกเปนของ ก. ตามเง่ือนไข และ ค. ยอมเสียกรรมสิทธ์ิไปตามเง่ือนไขท่ีตนไดรับโอนสิทธินั้นมา ในกรณีท่ี ค. สุจริต แตไมไดเสียคาตอบแทน เชนไดมาโดยการใหโดยเสนหา ดังนี้ ค. ก็ไมไดรับการคุมครองเชนกัน หรือแมกรณท่ีี ค. สุจริต เสียคาตอบแทน แตยังไมไดครอบครองทรัพย ดังนี้สิทธิของ ค. ก็ยังไมดกีวาสิทธิของ ก. เพราะตองถือวาสิทธิของ ค. เปนสิทธิท่ีไดรับโอนมาโดยอยูในบังคับเง่ือนไขตามหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโอน และ ก. ยอมไดกรรมสิทธ์ิในเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นตามเง่ือนไข แตถาปรากฏวา ค. ไดรับโอนจาก ข. มาโดยสุจริต คือเช่ือวา ข. เปนเจาของโทรทัศนนั้นโดยไมตกอยูใตบังคับของสิทธิของผูใด และไดมาโดยเสียคาตอบแทน และไดเขาครอบครองเคร่ืองรับโทรทัศนนั้นแลว ดังนี้ ค. ยอมไดรับความคุมครองใหเปนผูมีสิทธิดีท่ีสุดเหนือสังหาริมทรัพยคือเคร่ืองรับโทรทัศนนั้น อนึ่ง หลักการในเร่ืองสิทธิของบุคคลภายนอกท่ีกลาวมานี้ยอมใชไดแกกรณีท่ีมีการโอนทรัพยสินท่ีตกอยูภายใตบังคับเง่ือนไขบังคับหลังไปยังบุคคลภายนอกในระหวางท่ีเง่ือนไขนั้นยังไมสําเร็จเชนกัน ตัวอยางเชน ก. ขายฝากรถไวกับ ข. โดยตกลงกันวาให ก. มีสิทธิไถรถคืนไปไดภายใน ๓ เดือน ปรากฏวาระหวางนั้น ข. ไดโอนขายรถใหแก ค. ดังนีห้าก ค. รูหรือควรไดรูวาสิทธิของ ข. อยูใตบังคับเง่ือนไข แลวยังรับซ้ือไป ดังนี้หากเง่ือนไขสําเร็จ ก. ยอมเรียกรถคืนจาก ค. ได ตามหลักผูรับโอนยอมไมมีสิทธิดีกวาผูโอนในมาตรา ๑๘๔ และ ๑๘๕ ป.พ.พ. แตถาเปนกรณีท่ี ค. ไดรับโอนไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน คือเขาซ้ือทรัพยโดยไมรูวาสิทธิของ ข. เปนสิทธิท่ีตกอยูใตบังคับเง่ือนไข ท้ังยังไดครอบครองรถนั้นแลวโดยสุจริต ดังนี้ ค. ยอมไดรับการคุมครองใหมีสิทธิเหนือรถนั้นดีท่ีสุดตามมาตรา ๑๓๐๓ ป.พ.พ.

Page 30: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๖๑

๒. นิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม ๒.๑ ความสําคัญของการใหความยินยอมในการทํานิติกรรม ตามปกตินิติกรรมท่ีบุคคลทําข้ึนโดยความสมัครใจนั้นยอมมีผลสมบูรณ แตบางกรณีกฎหมายก็จํากดัความสามารถหรืออํานาจของผูทํานิติกรรมไว โดยกําหนดใหนิติกรรมจะมีผลไดก็ตอเม่ือไดรับความเหน็ชอบหรือความยนิยอมจากบุคคลอ่ืน ท้ังนี้ก็ดวยเหตุผลสําคัญ ๒ ประการใหญ ๆ กลาวคือ ก) บุคคลผูทํานิติกรรมนั้นควรไดรับความคุมครอง ดังนั้นนติิกรรมท่ีบุคคลเหลานั้นไดกระทําลงไปจะมีผลสมบูรณไดก็ตอเม่ือผูแทนโดยชอบธรรมหรือผูท่ีมีอํานาจหนาท่ีในการปกครองดูแลบุคคลนั้นไดใหความยินยอมดวยแลว อันเปนการใหความยินยอมเพื่อรักษาประโยชนของผูทํานิติกรรม ตัวอยางเชน นติิกรรมท่ีผูเยาวไดกระทําลงโดยไมไดรับความยนิยอมของผูแทนโดยชอบธรรมยอมตกเปนโมฆียะ (มาตรา ๒๑ ป.พ.พ.) ดงันั้นหากผูเยาวตกลงซ้ือทรัพยสินอยางหน่ึงอยางใด นิติกรรมซ้ือขายรายน้ันจะมีผลสมบูรณก็ตอเม่ือไดรับความยินยอมจากผูแทนโดยชอบธรรมแลว หรือการจัดการทรัพยสินของผูเยาวในกรณีทํานิติกรรมสําคัญตามมาตรา ๑๕๗๔ ป.พ.พ. ผูแทนโดยชอบธรรมไมมีอํานาจทําการแทนผูเยาว แตตองขออนุญาตจากศาลกอน เปนตน ข) บุคคลภายนอกควรไดรับความคุมครอง ท้ังนี้เนื่องจากนิติกรรมนั้น ๆ สงผลกระทบตอสิทธิหนาท่ีของบุคคลภายนอกนั้น ในกรณีเชนนี้นิติกรรมน้ันจะมีผลสมบูรณไดก็ตอเม่ือไดรับความยินยอมจากบุคคลซ่ึงเกี่ยวของเสียกอน นับวาเปนการใหความยินยอมเพื่อรักษาประโยชนของผูใหความยินยอมเอง ตัวอยางเชน กรณีท่ีไดมีการโอนทรัพยสินโดยมีเง่ือนไขบังคับกอนแลว ตอมากอนท่ีเง่ือนไขนั้นจะสําเร็จ มีเหตุใหผูโอนประสงคจะโอนทรัพยสินนัน้ไปยงับุคคลอ่ืน ดังนี้หากผูโอนประสงคจะใหการโอนนั้นมีผลสมบูรณ ไมถูกกระทบกระเทือนภายหลังเม่ือเง่ือนไขนั้นสําเร็จ ผูโอนตองขอความยนิยอมจากผูรับโอนท่ีมีเง่ือนไขเสียกอน ซ่ึงจะมีผลใหการโอนทรัพยสินนัน้ไมถูกเพิกถอนเกดิขอโตแยงหรือเสียผลไปหากเงื่อนไขสําเร็จในภายหลัง หรือในกรณีท่ีเจามรดกทําพินัยกรรมโดยกําหนดเง่ือนไขใหมรดกตกทอดจากผูรับประโยชนรายหนึ่ง ไปยังผูรับประโยชนรายอ่ืนเม่ือเง่ือนไขสําเร็จ ตามมาตรา ๑๖๗๔ ป.พ.พ. หรือกาํหนดหามมิใหผูรับประโยชนโอนทรัพยสิน โดยกําหนดใหบุคคลอ่ืนเปนผูไดรับทรัพยสินนั้นหากมีการละเมิดขอกําหนดหามโอนตามมาตรา ๑๗๐๐ ป.พ.พ. ดังนี้หากผูรับประโยชนรายกอนประสงคจะโอนทรัพยมรดกท่ีตนไดไวภายใตบังคับเง่ือนไขบางตนใหมีผลสมบูรณ ผูรับประโยชนท่ีประสงคจะโอนทรัพยสินไปนั้นยอมจําเปนจะตองไดรับความยินยอมจากผูจะไดรับประโยชนตามเง่ือนไขแหงพนิยักรรมเสียกอน การโอนทรัพยสินนั้นจึงจะมีผลสมบูรณ

Page 31: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๖๒

๒.๒ ความหมายของความยนิยอม นิติกรรมท่ีตองไดรับความยนิยอมนัน้ หมายถึงนิติกรรมซ่ึงจะมีผลสมบูรณตามกฎหมายไดก็ตอเม่ือไดรับความยินยอมจากบุคคลภายนอกซ่ึงมิใชคูกรณีแหงนิติกรรมนั้น กลาวคือตองเปนกรณีท่ีการใหความยินยอมเปนเง่ือนไขแหงความมีผลตามกฎหมายของนิติกรรมนั้น ตัวอยางเชน การจําหนายตัวทรัพยซ่ึงเปนกรรมสิทธ์ิรวมน้ัน หากเปนการจัดการทรัพยในลักษณะเปนการเปล่ียนแปลงวัตถุประสงค เชนเปนทรัพยสินท่ีมีไวเพื่อใชรวมกนั หากจะนําออกจําหนายยอมตองไดรับความเหน็ชอบจากเจาของรวมทุกคน (มาตรา ๒๓๕๘ วรรคส่ี ป.พ.พ.) หรือคูสมรส หากจะจัดการสินสมรสตามกรณีท่ีกฎหมายกําหนดในมาตรา ๑๔๗๖ ป.พ.พ. (๑) – (๘) เชนขายหรือ ใหเชาอสังหาริมทรัพยเกนิสามป ฯลฯ ตองจัดการสินสมรสนั้นรวมกัน หรือไดรับความยินยอมจากอีกฝายหนึ่งเสียกอน แตถาเปนกรณท่ีีคูกรณีตกลงกันใหนิติกรรมเปนผลเม่ือไดรับความยนิยอมจากบุคคลภายนอก ดังนี้นติิกรรมนั้นมิใชเปนนิติกรรมท่ีตองไดรับความยนิยอม แตเปนการกําหนดเอาความยินยอมของบุคคลภายนอกเปนเง่ือนไขบังคับกอน นอกจากนี้ผูใหความยินยอมนั้นตองเปนบุคคลเอกชน หรือเปนพนกังานเจาหนาท่ีท่ีทําหนาท่ีเพื่อรักษาประโยชนของเอกชน ไมใชพนักงานเจาหนาท่ีท่ีทําการตามอํานาจหนาท่ีในการรักษาประโยชนสาธารณะหรือประโยชนมหาชนตามท่ีกฎหมายกําหนด ตัวอยางเชน การท่ีผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการทรัพยสินของผูเยาวตามมาตรา ๑๕๗๔ ป.พ.พ. ตองไดรับอนุญาตจากศาลเสียกอน เปนนิติกรรมท่ีตองไดรับความยนิยอม แตการตกลงทําสัญญากอสรางบานโดยกําหนดใหตองไดรับความเหน็ชอบจากเจาพนักงานโยธาเสียกอน ดังนี้เปนเง่ือนไข ไมใชเปนสัญญาท่ีตองไดรับความยนิยอม ท่ีสําคัญกรณีตองเปนการใหความยินยอมจากบุคคลผูมิใชเปนคูกรณใีนนิติกรรมนัน้เอง และเม่ือไดรับความยินยอมแลวนิติกรรมนัน้จึงจะมีผลสมบูรณตามกฎหมาย ๒.๓ การใหความยนิยอม ก) หลักท่ัวไปเก่ียวกับความยินยอม การใหความยนิยอมอาจมีไดสองชนิดคือ การใหความยินยอมหรืออนุญาตไวลวงหนาใหกระทํานิติกรรมอยางใดอยางหนึ่งกอนท่ีจะมีการทํานติิกรรมนั้นข้ึน สวนการใหความยนิยอมอีกชนิดหนึ่งไดแกการใหสัตยาบันหรือการใหความเห็นชอบแกนิติกรรมท่ีไดกระทําไปแลวในภายหลัง การใหความยนิยอมจดัเปนการแสดงเจตนาอยางหนึ่งซ่ึงตองมีผูรับการแสดงเจตนา ดังนั้นหากผูมีอํานาจใหความยินยอม มิไดแสดงเจตนาท่ีมีผลสมบูรณออกไป ตัวอยางเชนผูใหความ

Page 32: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๖๓

ยินยอมเปนคนไรความสามารถเสียต้ังแตกอนใหความยนิยอม และเม่ือการใหความยินยอมนั้นเปนโมฆียะ กไ็ดมีการบอกลางความยนิยอมนัน้แลว ปญหามีตอไปวาการใหความยินยอมนั้นผูมีอํานาจใหความยินยอมจะตองแสดงตอคูกรณีฝายใด กรณีนี้ไมมีกฎหมายกําหนดไวโดยเฉพาะ จึงเปนท่ีเขาใจวาผูมีอํานาจใหความยินยอมจะแสดงเจตนาใหความยินยอมแกคูกรณีฝายท่ีทํานิติกรรมนั้น หรือจะใหความยินอยมแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งกย็อมได ตัวอยางเชน ผูเยาวทํานิติกรรมซ้ือกลองถายรูปโดยไมไดรับความยินยอมจากผูแทนโดยชอบธรรม ดังนี้ผูแทนโดยชอบธรรมอาจแสดงเจตนาใหความยินยอมหรือท่ีเรียกกนัวาใหสัตยาบันโดยแสดงเจตนานีต้อผูเยาวเอง หรือตอคูกรณขีองผูเยาว คือผูขายกลองถายรูปนั้นกไ็ด การใหความยนิยอมนัน้มิไดมีกฎหมายกําหนดแบบไวโดยเฉพาะ ดังนัน้ตามปกติการใหความยินยอมจึงไมตองตกอยูใตบังคับแหงแบบใด ๆ ท้ังนี้เพราะการใหความยินยอมมิไดเปนสวนหนึ่งของนิติกรรม แตเปนขอเท็จจริงอันกฎหมายกําหนดใหเปนเง่ือนไขแหงความมีผลแนนอนแหงนิติกรรม ตัวอยางเชน การท่ีผูเยาวทํานติิกรรมโดยมีผูแทนโดยชอบธรรมเปนพยาน หรืออยูรวมดวยในขณะทํานิติกรรม ยอมถือไดวาไดรับความยินยอมเพราะมีการรับรูโดยไมทักทวง นิติกรรมท่ีไดรับความยินยอมแลวยอมมีผลสมบูรณ แตนิติกรรมท่ีไมไดรับความยินยอมยอมมีผลเปนนิติกรรมแตไมมีผลตามความประสงคอยางบริบูรณ เพราะอาจถูกบอกลาง หรือมีผลเพียงบางสวน หรือไมมีผลเลย แตโดยท่ัวไปก็ไมอาจนับวาถึงกับทําใหนิติกรรมนั้นตกเปนโมฆะไปเสียเลยท้ังนี้เพราะการใหความยนิยอม ใหสัตยาบันหรืออนุญาตอาจกระทํายอนหลังกไ็ด โดยท่ีความยินยอมเปนการแสดงเจตนาอยางหนึ่ง จึงมีขอนาคิดวา เม่ือไดแสดงออกไปแลวจะเพิกถอนเสียไดหรือไม เร่ืองนี้อาจตอบไดวาความยินยอมท่ีไดใหไวลวงหนายอมเพิกถอนไดเสมอตราบเทาท่ียังมิไดมีการทํานิติกรรมท่ีใหความยินยอมนั้นไวแลว เชนผูแทนโดยชอบธรรมใหความยินยอมผูเยาวในการซ้ือรถมอเตอรไซค ดังนั้นกอนท่ีผูเยาวจะตกลงทําสัญญาซ้ือขายตามท่ีไดรับความยนิยอมสําเร็จ ผูแทนโดยชอบธรรมยอมถอนความยนิยอมนัน้ไดเสมอ เวนแตจะเปนกรณีทีมีกฎหมายหามไวไมใหถอนความยินยอมเชนนั้น หรือไดมีการใหคําม่ันไวแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งแลววาจะไมถอนความยินยอมนั้น แตถาเปนความยินยอมท่ีกอผลผูกพันเด็ดขาดไปแลว ผูใหความยินยอมเชนนั้นยอมไมอาจเพิกถอนไดอีกตอไป แตถาเปนการเพิกถอนโดยศาล เชนกรณีเพิกถอนความยินยอมท่ีเปนการฉอฉล (มาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ.) เปนตน ข) ลักษณะพิเศษในกรณีการใหสัตยาบนั การใหสัตยาบันนั้นเปนการใหความยินยอมภายหลังจากท่ีไดมีการทํานติิกรรมท่ีตองไดรับความยินยอมไปแลว และเม่ือผูมีอํานาจใหสัตยาบันไดใหสัตยาบันไปแลวนิติกรรมนั้นยอมเปนอันสมบูรณมาแตเร่ิมแรก (มาตรา ๑๗๗ ป.พ.พ.) หรือท่ีเรียกวามีผลยอนหลังไปแตเร่ิมแรก (ex

Page 33: เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น. ๑๐๑)_7

๒๖๔

tunc) ดังนั้นแมผูเยาวซ่ึงทํานิติกรรมซ้ือขายซ่ึงตองไดรับความยินยอมจากผูแทนโดยชอบธรรม หรือคูสมรสฝายใดฝายหนึ่งท่ีเขาจัดการสินสมรสซ่ึงตองไดรับความยินยอมจากคูสมรสอีกฝายหนึ่งตามมาตรา ๑๔๗๖ (๑) – (๘) ป.พ.พ. จะกลายเปนคนไรความสามารถไปภายหลังจากท่ีไดทํานิติกรรมนั้นแลว ผูแทนโดยชอบธรรมหรือคูสมรสอีกฝายหนึ่งก็ยังใหสัตยาบันตอนิติกรรมดังกลาวกย็ังอาจใหสัตยาบันในนิติกรรมนัน้ ๆ ได และยอมมีผลทําใหนติิกรรมนั้นสมบูรณมาต้ังแตเร่ิมแรก แมตอมาผูเยาว หรือคูสมรสท่ีไดทํานิติกรรมไวจะกลายเปนคนวกิลจริต กลายเปนคนไรความสามารถหรือถึงแกความตายในภายหลัง ก็ไมกระทบตอความสมบูรณของนิติกรรมท่ีไดรับการใหสัตยาบันและมีผลสมบูรณมาแตเร่ิมแรกแลวอีก อยางไรก็ดี หลักท่ีวาการใหสัตยาบันยอมมีผลยอนหลังทําใหนิติกรรมนั้นสมบูรณมาแตเร่ิมแรก ตามมาตรา ๑๗๗ ป.พ.พ. นั้นอาจไมใชบังคับในบางกรณี โดยเฉพาะอยางยิง่หากผลยอนหลังจะมีผลทําใหฝายท่ีกฎหมายมุงคุมครองตองเสียประโยชนจากความคุมครองท่ีพึงไดรับไป อาทิเชนในการนับอายุความซ่ึงอาจทําใหผูเยาวตองเสียสิทธิอันพึงไดไป เปนตน นอกจากนี้ความมีผลยอนหลังของการใหสัตยาบันยอมไมมีผลทําใหการโอนทรัพยหรือการทํานิติกรรมเปล่ียนแปลงสิทธิของผูมีอํานาจใหสัตยาบันท่ีไดทําไวกอนการใหสัตยาบันนั้นเสียผลไป ตัวอยางเชน ก. เอาทรัพยของ ข. ไปขายให ค. โดยสําคัญผิดวาเปนทรัพยของตนเอง ตอมาผานไป ๓ ป ก. หรือ ค. ทราบวาทรัพยนั้นแทจริงเปนของ ข. จึงขอให ข. ใหสัตยาบันในการโอนทรัพยของ ก. ดังนีห้าก ข. ใหสัตยาบันในการขายทรัพยโดยไมมีสิทธิของ ก. ตามปกติยอมมีผลทําใหการขายทรัพยของ ก. นั้นสมบูรณมาแตเร่ิมแรก แตถาระหวางท่ี ข. ยังไมไดใหสัตยาบันแกการกระทําของ ก. นี้ หาก ก. ไดโอนสิทธิเรียกทรัพยคืน หรือขายกรรมสิทธ์ิในทรัพยนั้นใหแก ง. ไปกอนแลว ดงันี้จะเห็นไดวาการใหสัตยาบันของ ข. ยอมไมมีผลยอนหลังไปกระทบตอสิทธิของ ง. ได เพราะเม่ือ ข. ไดโอนทรัพยไปยัง ง. แลว ก็ไมอาจมีสิทธิเหลืออยูท่ีจะใหสัตยาบันแก ก. ไดเลย