31
คคคคคค “คคคค” เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเ เเเเเเเเ เเเเเ เเเเเเเ เเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเ เเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเ

WordPress.com - คำนำ · Web view“บ าน” เป นสถานท อย อาศ ยและพ กผ อน และโดยท วไปบ านจะม

  • Upload
    others

  • View
    12

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

คำนำ

PAGE

20

คำนำ

“บ้าน” เป็นสถานที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และโดยทั่วไปบ้านจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นเช่น หลอดไฟฟ้า โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เตารีด และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ล้วนต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น ดังนั้นหากรู้จักวิธีใช้ หรือรู้จักเลือกซื้อก็จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าใชจ่ายสำหรับครอบครัวได้จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย

สารบัญ

แนวทางการประหยัดพลังงานในบ้าน.................................................................3

วิธีคิดค่าไฟ..........................................................................................................11

บิลค่าไฟเดือนมิถุนายน.......................................................................................15

บิลค่าไฟเดือนกรกฎาคม......................................................................................16

บิลค่าไฟเดือนสิงหาคม........................................................................................17

ตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า...................................................................18

วิเคราะห์ข้อมูล.....................................................................................................19

บรรณานุกรม........................................................................................................20

แนวทางการประหยัดพลังงานในบ้าน

1. ออกแบบบ้านและหันทิศทางของบ้านให้เหมาะสม เลือกซื้อบ้านหรือออกแบบบ้านที่มีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีการระบายความร้อนได้ดีสำหรับทิศทางของบ้านควรหันหน้าไปในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าสู่ช่องเปิดของตัวบ้านโดยตรงหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์บังแสงแดด เช่น ติดตั้งกันสาดหรือปลูกต้นไม้ช่วย

2. สร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี โดยสร้างให้ตั้งแต่หลังคาจนถึงผนัง

3. จัดวางตำแหน่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจากแสงแดดตามลักษณะการใช้งาน(         ห้องนอน ควรตั้งอยู่ทิศตะวันออก เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงบ่าย(         ห้องเก็บของ ที่จอดรถ ห้องซักผ้า ห้องน้ำ ห้องครัว ควรอยู่ทิศตะวันตก เพื่อเป็นส่วนกันความร้อนเข้าตัวบ้าน(         ห้องพักผ่อนหรือห้องที่ต้องใช้งานอยู่ทั้งวัน ควรตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เพราะจะถูกแสงแดดน้อยกว่าด้านอื่น ๆ ห้องรับแขก(         ควรตั้งอยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ ห้องนั่งเล่น ควรตั้งอยู่ในทิศใต้(         โดยอาจทำระเบียงและพุ่มไม้เพื่อป้องกันแสงแดด

4. ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่ตัวบ้าน ช่วยเพิ่มร่มเงาให้กับตัวบ้าน ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายขึ้น จึงช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศลง

5. เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน เช่น เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 หรือตู้เย็นที่มีฉลากเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าเบอร์ 5 เดิมร้อยละ 20 เป็นต้น

6. ใช้น้ำอย่างประหยัด น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติแต่ผ่านกระบวนการกรองและฆ่าเชื้อจนสะอาดและบริโภคได้ ซึ่งต้องอาศัยพลังานในกระบวนการเหล่านั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย(         ใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ(         ปิดก๊อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด(         ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้น แทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด(         ล้างรถด้วยฟองน้ำและรองน้ำใส่ถัง แทนการใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง(         ใช้น้ำจากการซักล้าง เช่น น้ำสุดท้ายของการซักผ้า หรือน้ำจากการถูพื้นเพื่อรดน้ำต้นไม้ แทนการใช้น้ำประปา

7. การใช้เตาก๊าซ(         ควรเลือกใช้ถังก๊าซที่มีเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) (         ตั้งเตาก๊าซให้ห่างจาถังก๊าซโดยใช้สายยาง หรือสายพลาสติกให้มีความยาวห่างจากถังก๊าซประมาณ 1-1.5 เมตร(         เมื่อเลิกใช้ ปิดวาล์วที่ตัวถังก่อน แล้วจึงปิดปิดวาล์วที่ตัวเตา

8. การใช้เตาถ่าน ควรเลือกใช้เตาถ่านชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง(         ซึ่งจะมีลักษณะขอบเตาเรียบเสมอกัน เส้าของเตามีส่วนลาดมากกว่า ทำให้ใช้กับหม้อได้หลายขนด มีช่องบรรจุถ่านไม่กว้างใหญ่เกินไป มีรังผึ้งที่หนาทนทาน และรูรังผึ้งเล็กจึงช่วยรีดอากาศได้ดี เตรียมกาหารสด เครื่องปรุง(         และอุปกรณ์การทำอาหารให้พร้อมก่อนติดไฟรอนานเกินไปจะสิ้นเปลืองถ่าน(         เลือกขนาดของหม้อหรือกระทะให้เหมาะสมกับปริมาณและประเภทของอาหารที่จะปรุง(         ควรทุบถ่านให้มีขนาดพอเหมาะ คือ ชิ้นละประมาณ 2 – 4 ซม.

(ไม่ควรใส่ถ่านมากจนล้นเตาเก็บรักษาถ่านอย่าให้เปียกชื้น

(         เพราะถ่านจะติดไฟยากและแตกประทุทำให้สิ้นเปลือง

(         ขจัดขี้เถ้าในรังผึ้งและใต้รังผึ้งออกให้หมดก่อนที่จะติดเตาใหม่ทุกครั้ง จะทำให้การเผาไหม้ถ่านดีขึ้น

9. การใช้หลอดแสงสว่าง(         ปิดไฟเมื่อใช้งาน หมั่นทำความสะอาดหลอดแสงสว่างและโคมไฟ(        (         ใช้หลอดแสงสว่างเท่าที่จำเป็น(         สำหรับสถานที่ที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดคืน ควรใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์(         บริเวณใดที่เคยใช้หลอดไส้ในการให้แสงสว่าง ควรหันมาเปลี่ยนเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ใช้หลอดประหยัดพลังงาน(         เช่น หลอดผอม (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไส้ 4 – 5 เท่า และมีอายุการใช้งานมานกว่า 8 เท่า ใช้แสงอาทิตย์แทนการเปิดหลอดไฟ เช่น(         ห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ทางเดิน เป็นต้น(         ควรทาสีผนังห้องหรือเลือกวัสดุพื้นห้องที่เป็นสีอ่อน ๆ เพื่อช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้อง

10. การใช้ตู้เย็น(         เลือกใช้ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดไฟกว่าเบอร์ 5 เดิม ร้อยละ 20 เลือกใช้แบบที่มีฉนวนกันความร้อนชนิดโฟมฉีด(        (         ตู้เย็นแบบประตูเดียว จะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบ 2 ประตูในขนาดที่เท่ากัน(         อย่าติดตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน(         ควรตั้งห่างจากฝาผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างไม่น้อยกว่า 15 ซม. เพื่อให้มีการระบายความร้อนได้ดีC( ควรตั้งอุณหภูมิภายในตู้เย็น 3 - 6(         C(C ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด 1(และในช่องแช่แข็งระหว่างลบ 15 - 18 จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย(         หรือเปิดประตูค้างไว้นาน ๆ (         อย่านำของที่มีความร้อนเข้าไปแช่ ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ(        

11. การใช้เครื่องปรับอากาศ เลือกขนาดที่เหมาะสม(         ตัวอย่างเช่นห้องที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร และมีพื้นที่ห้องขนาด 13 – 15 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 7,000 – 9,000 บีทียู/ชั่วโมง ขนาดพื้นที่ 16 – 17 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 9,000 – 11,000 บีทียู/ชั่วโมง เป็นต้น(         ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสุดซึ่งแสดงด้วยหน่วย EER(Energy Efficiency Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างความสามารถในการให้ความเย็นของเครื่องต่อกำลังไฟฟ้า (บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์) ซึ่งเครื่องที่มีค่า EER สูงจะให้ความเย็นมาก และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเครื่องที่มีค่า EER ต่ำ(         หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่ให้มีฝุ่นจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง(         เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

12. การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ควรเลือกชนิดที่มีที่เก็บความร้อน(         เพราะจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบไหลผ่านขดลวดความร้อน

(         เลือกขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับครอบครัวและความจำเป็นในการใช้(         ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลา ในการฟอกสบู่อาบน้ำหรือขณะสระผม(         ปิดวาล์วน้ำและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน(         ควรให้เฉพาะวันที่มีอากาศเย็น หรือเท่าที่จำเป็น

13. การใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าหรือกาต้มน้ำไฟฟ้า(         ใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณที่ต้องการใช้ และถ้าจำเป็นต้องต้มน้ำต่เนื่องระวังอย่าให้น้ำแห้ง(         เมื่อเลิกใช้ควรถอดปลั๊กทันที ไม่ต้มน้ำในห้องที่มีการปรับอากาศ(         เพราะไปเพิ่มความชื้นและความร้อนในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ ไม่ควรนำน้ำที่มีความเย็นมาก ๆ(         ไปต้มทันทีจะสิ้นเปลืองไฟ ระวังอย่าให้มีตะกรันเกาะด้สนในตัวกระติก(         จะทำให้สิ้นเปลืองไฟในการต้มน้ำมากกว่าเดิม ไม่นำสิ่งใด ๆ(         ปิดช่องไอน้ำออก

14. การใช้เตาไฟฟ้า(         ควรเตรียมเครื่องประกอบอาหารให้พร้อม รวมทั้งลำดับการปรุงอาหาร(         ไม่ควรเปิดเตาไฟฟ้ารอไว้นานเกินไป ใช้ภาชนะประกอบอาหารให้เหมาะสม(        • ภาชนะควรมีก้นแบนราบ จะได้สัมผัสความร้อนได้ทั่วถึง• ภาชนะไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าเตา จะสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์• ภาชนะควรมีฝาครอบปิดขณะหุง จะช่วยให้อาหารเสร็จเร็วขึ้น(         ปิดสวิตซ์เตาไฟฟ้าก้อนเสร็จสิ้นการทำอาหาร ถอดปลั๊กออกทันที(         เมื่อเลิกใช้

15. การใช้เตารีด (   ควรเตรียมอาหารที่จะอบหลาย ๆ อย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน อย่าเปิดเตาบ่อย ๆ

(         เพราะการเปิดประตูแต่ละครั้งจะสูญเสียพลังงานประมาณร้อยละ 20(         ตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าตั้งสูงเกินความจำเป็นเพราะจะสิ้นเปลืองไฟ(         ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้

16. การใช้เตารีดไฟฟ้า(         ควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง(         ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมาก ๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้าและรีดติดต่อกันจนเสร็จอย่าพรมน้ำจนเปียก

(         เพราะจะต้องทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิม สิ้นเปลืองไฟฟ้า(         ควรถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาษ 2 – 3 นาทีเนื่องจากยังมีความร้อนเหลือเพียงพอที่จะรีดผ้าที่รีดง่าย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง

(         เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่ายลดเวลาในการรีด และประหยัดไฟฟ้า

17. การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า(         เลือกใช้ขนาดให้เหมาะสมกับครอบครัว- สมาชิก 1 – 2 คน ใช้ขนาด 0.3 – 1.0 ลิตร- สมาชิก 3 – 6 คน ใช้ขนาด 1.0 – 1.5 ลิตร- สมาชิก 5 – 8 คน ใช้ขนาด 1.6 – 2.0 ลิตร (ไม่ควรใช้เวลาในการอุ่นข้าวให้นานเกินควร         (         ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้งาน อย่าเปิดฝาหม้อในขณะที่ข้าวยังไม่สุก(         เพราะจะสูญเสียความร้อน หม้อหุงข้าวจะทำงานนานยิ่งขึ้น สิ้นเปลืองไฟ

18. การใช้โทรทัศน์(         โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น(         โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่งไปในขนาดเดียวกัน เราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตอดเวลาเมื่อยังเสียบปลั๊กอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง จึงควรปิดสวิตซ์ที่ตัวเครื่อง ไม่ปิดด้วยรีโมทคอนโทรล(         ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้(   ปิดเมื่อไม่มีคนดู      (         ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ เพราะจะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนหลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง(         ไม่เปิดโทรทัศน์โดยต่อสายผ่านเข้าเครื่องวีดีโอเพราะต้องสิ้นเปลืองไฟให้กับเครื่องวีดีโอโดยไม่จำเป็น

19. การใช้เครื่องซักผ้า (         แช่ผ้าก่อนเข้าเครื่องเพราะสิ่งสกปรกจะออกง่ายขึ้นลดการซักผ้าซ้ำ ไม่สิ้นเปลืองไฟ(         จำนวนผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป(         ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก ควรตากผ้ากับแสงแดดหรือในที่มีลมถ่ายเทได้ดี(         ตั้งโปรแกรมที่ใช้น้ำร้อนเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะใช้ไฟมาก(         ตั้งโปรแกรมการซักผ้าให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าทุกครั้ง

20. การใช้เครื่องปั๊มน้ำ(         เลือกซื้อเครื่องปั๊มน้ำที่มีถังความดันของเครื่องป๊มน้ำขนาดใหญ่พอสมควรถ้าเล็กเกินไปสวิตซ์อัตโนมัติจะทำงานบ่อยขึ้น มอเตอร์ทำงานมากขึ้นสิ้นเปลืองไฟ(         ควรสร้างบ่อพักน้ำไว้ระดับพื้นดิน(         หมั่นดูแลท่อน้ำประปาและถังพักน้ำของชักโครกอย่าให้ชำรุดหรือรั่ว เมื่อมีรอยรั่วความดันลดลง เครื่องปั๊มทำงานหนัก และบ่อยขึ้นสิ้นเปลืองไฟ ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง

(         น้ำหยดหรือรั่วเพียงเล็กน้อยติดต่อกันนาน ๆ ก็ทำให้ปั๊มน้ำเดินเครื่องได้

21. การใช้พัดลมระบายอากาศ( อย่าเปิดทิ้งไว้ เมื่อไม่มีใครอยู่(         เปิดหน้าตางเพื่อใช้ลมธรรมชาติช่วยถ่ายเทอากาศในห้อง(         เลิกสูบบุหรี่ในห้อง เพื่อลดการใช้พัดลมระบายอากาศ(         หมั่นทำความสะอาดใบพัดและตะแกรง อย่าให้มีฝุ่นเกาะ(         ตั้งความเร็วพัดลมให้พอเหมาะ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี และเป็นการประหยัดไฟอีกด้วย(         ห้องที่จะติดเครื่องปรับอากาศควรเปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาแทนที่อากาศในห้อง แทนการใช้พัดลมระบายอากาศ

22. การใช้พัดลม(         อย่าเปิดทั้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่(         ถ้าใช้พัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรลต้องถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิกใช้(         ยิ่งเปิดลมแรงขึ้น ยิ่งใช้ไฟมากขึ้น ทำความสะอาดใบพัด ตะแกรงครอบ

(         และแผงหุ้มมอเตอร์พัดลม อย่าให้มีฝุ่นเกาะ อย่าให้ใบพัดโค้งงอผิดส่วน

(         ความแรงจะลดลง( ตั้งพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก        

23. การใช้วิทยุและเครื่องเสียง(         อย่าเปิดวิทยุเพียงเพื่อเป็นเพื่อนโดยไม่ได้สนใจฟัง สิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์(         อย่าเปิดวิทยุคู่กับการเปิดดูโทรทัศน์(         อย่าเสียบปลั๊กวิทยุไว้ใช้เพื่อดูเวลาหากมีนาฬิกาอื่น ๆ ใช้ดูเวลาอยู่แล้ว(         เลิกปิดเครื่องโดยใช้รีโมทคอนโทรลให้ปิดจากสวิตซ์ที่เครื่องแทน(         ตั้งวิทยุและเครื่องเสียงให้ห่างจากเตาอบไมโครเวฟเพื่อไม่ให้ระบบการทำงานถูกคลื่นไมโครเวฟรบกวน(         เลือกซื้อรุ่นที่เหมาะกับการใช้งาน หากไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรุ่นที่มีระบบการทำงานหลายอย่างก็ไม่ควรเลือกซื้อรุ่นนั้น เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา

24. การใช้เครื่องดูดฝุ่น( เมื่อใช้แล้วควรเทฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อเครื่องจะได้มีแรงดึงดูดดีและไม่เปลืองไฟ(         เลิกใช้เครื่องดูดฝุ่นกับพื้นบ้านที่ทำความสะอาดง่าย ควรใช้ไม้กวาดและผ้าชุบน้ำถูพื้นแทน(         ก่อนใช้งานตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้แน่นไม่ให้เกิดการรั่วของอากาศ มอเตอร์อาจทำงานหนักและไหม้ได้(         ห้ามดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้วเศษใบมีดหรือบุหรี่ที่กำลังติดไฟ จะก่ออันตรายต่อตัวเครื่อง( หมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่น ออกมาทำความสะอาดเพราะถ้าอุดตันจะดูดฝุ่นได้ไม่เต็มที่และสิ้นเปลืองไฟ(         เมื่อดูดฝุ่นเสร็จแล้วปล่อยให้เครื่องเย็นก่อนนำไปเก็บเพื่อยึดอายุการใช้งาน(         เปิดประตูหน้าต่างขณะดูดฝุ่น เพื่อให้มีการระบายความร้อนของตัวเครื่องได้ดี(         เลือกขนาดเครื่องดูดฝุ่นตามความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ถ้าใช้ดูดฝุ่นสำหรับพื้นที่เป็นพรมหรือเก้าอี้ที่ทำด้วยผ้าควรใช้เครื่องทีมีกำลังดูดสูง แต่ถ้าจะดูดฝุ่นที่ทั่ว ๆ ไปไม่ควรใช้เครื่องที่มีกำลังดูดสูง

25. การใช้คอมพิวเตอร์ ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นาน ๆ

(         เพราะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้(        (         ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที(         ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี ควรตั้งะบบ Screen

(         Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอ(         ตรวจสอบดูว่าระบบประหยัดพลังงานในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่ถ้ายังต้องสั่งให้ระบบนี้ทำงานเพราะจะช่วยประหยัดพลังงาน(         เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รองาน(         ควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25(         คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่และประหยัดไฟได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

Electricity Tips

การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง 

ที่มา วารสารภายใน การไฟฟ้านครหลวง  ปีที่ 18 ฉบับที่ 178 กรกฏาคม 2541

                ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้นท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้

สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ  x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต

ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่v

คำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า

1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย

2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย

3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย

4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย

5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย

6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย

7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย

8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย

9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย  

ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1. ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด

คือ

ไม่มีการใช้ไฟฟ้า

4.67

บาท

5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก

(หน่วยที่ 1-5)

เป็นเงิน

4.96

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 6-15)

หน่วยละ

0.7124

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 16-25)

หน่วยละ

0.8993

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 26-35)

หน่วยละ

1.1516

บาท

65 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 36-100)

หน่วยละ

1.5348

บาท

50 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 101-150)

หน่วยละ

1.6282

บาท

250 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 151-400)

หน่วยละ

2.1329

บาท

เกินกว่า 400 หน่วย

(หน่วยที่ 401เป็นต้นไป)

หน่วยละ

2.4226

บาท

2 ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ

ไม่มีการใช้ไฟฟ้า

เดือนละ

83.18

บาท

35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง)

(หน่วยที่ 1-35)

เป็นเงิน

85.21

บาท

115 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 36-150)

หน่วยละ

1.1236

บาท

250 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 151-400)

หน่วยละ

2.1329

บาท

เกินกว่า 400 หน่วย

(หน่วยที่401เป็นต้นไป)

หน่วยละ

2.4226

บาท

 

ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ

ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้าสมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย

35 หน่วยแรก

 

85.21

บาท

115 หน่วยต่อไป

(115x1.1236 บาท)

129.21

บาท

250 หน่วยต่อไป

(250x2.1329 บาท)

533.22

บาท

ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย

(990-400 = 590 x 2.4226 บาท)

1,429.33

บาท

รวมเป็นเงิน

 

2,176.97

บาท

คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวงตัวอย่าง       ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์

990 หน่วย x 0.05045 บาท

 

499.46

บาท

รวมเงิน

2,176.97+499.46 =

2,676.43

บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

= 2,676.43 x 7/ 100 =

187.35

บาท

รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท

ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

2,863.75

บาท

 

หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์

สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก

ตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2553 ถึง เดือน สิงหาคม 2553

เดือน

หน่วย

ค่าFt

(บาท/หน่วย)

ค่าไฟ

มิถุนายน

464

0.9255

1739.99

กรกฎาคม

425

0.9255

1577.11

สิงหาคม

398

0.9255

1464.76

 

วิเคราะห์ข้อมูล

จากตารางจะเห็นได้ว่าเดือนที่มีค่าไฟมาที่สุดคือเดือน มิถุนายน รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม และเดือนที่มีค่าไฟน้อยที่สุดคือเดือน สิงหาคม โดยสาเหตุที่ค่าไฟนั้นมีจำนวนน้อยลงประกอบด้วยสาเหตุหลายประการได้แก่

1.สาเหตุที่เดือนมิถุนายนมีค่าไฟสูงกว่าเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมนั้นเพราะมีแขกมาพักที่บ้านและกลับออกไปในประมาณกลางเดือนมิถุนายนทำให้ค่าไฟในเดือนมิถุนายนสูงกว่าในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม

2.สาเหตุที่เดือนกรกฎาคมมีค่าไฟสูงกว่าเดือนสิงหาคมเพราะเนื่องจากเดือนสิงหาคมผมไม่ค่อยได้อยู่บ้าน(ค่าไฟจึงน้อยลง) โดยวันที่ผมไม่อยู่คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ ของทั้งเดือน(ไปทำงานบ้านเพื่อน)และวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนผมไปเข้าค่ายวิทย์-คณิตอีกด้วย

3.สาเหตุที่ค่าไฟเดือนมิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม ลดลงตามลำดับนั้นอีกหนึ่งสาเหตุมาจากการที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำรายงานนี้ทำให้ผมต้องลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่จะทำรายงาน(ปกติผมก็ลดพลังงานไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ผมจงใจลดเพื่องานนี้)

4.อาจเป็นเพราะความบังเอิญที่ค่าไฟลดลง(บุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านอาจประหยัดไฟด้วย)

บรรณานุกรม

1.http://www.student.chula.ac.th/~49718863/elec.htm

2.http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=218&Itemid=27