16
...ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้า จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคงเป็นปกติสุข. ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น...

เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

Embed Size (px)

DESCRIPTION

เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

Citation preview

Page 1: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

...ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้า จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคงเป็นปกติสุข.

ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง

ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ

โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น... ”

Page 2: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม

๒๕๕๒ ย่อมประจักษ์แก่ใจคนไทยทั้งประเทศอยู่แล้วว่า เป็นสัจจะเที่ยงแท้

ด้วยพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ที่ทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกาย

พระสติปัญญา พระวิริยอุตสาหะ ทรงงานหนักมาตลอด เพื่อให้บ้านเมือง

และประชาชนของพระองค์ มีความเจริญมั่นคงเป็นปกติสุข

ด้วยความรักอันสุจริตมั่นคงที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสุขของราษฎรก่อนความสุขของพระองค์

เองเสมอมา ไม่ว่าหนทางจะทุรกันดารห่างไกลยากลำบากเพียงใด ไม่ว่าพื้นที่

นั้นจะอยู่ ณ แห่งหนใด จะเสด็จพระราชดำเนินไปจนถึง เพื่อทรงทราบถึง

ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และจะทรงคิดค้น ค้นคว้า ทดลอง

พิสูจน์ จนกว่าจะได้คำตอบของการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด แล้วจึงพระราชทาน

แนวทางนั้นมาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป สืบเนื่องเช่นนี้มาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกล คือ การก่อเกิดปรัชญา

ในการดำรงชีวิต ทฤษฎีในการปฏิบัติตน และโครงการพระราชดำริมากกว่า

๓,๗๐๐ โครงการ ทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป้าหมายในที่สุด คือ

การพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และการอยู่ร่วมกันของทุกสรรพชีวิตด้วยความ

สงบสุขในสังคมแห่งความเอื้ออาทร

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 2

Page 3: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

ความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำรินั้น

เกิดขึ้นจากหลักและวิธีการทรงงาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงยึดมั่นปฏิบัติตลอดมา คือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลัง

ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อน พัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ

ความจำเป็น เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงก่อนดำเนินการเพื่อความเจริญ

ก้าวหน้าในลำดับต่อไป เน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่

ชุมชนให้พึ่งตนเองได้ พัฒนาให้สอดคล้องกับ “ภูมิสังคม” ในท้องถิ่น

นั้น ๆ ใช้หลักการแก้ไขปัญหาด้วยธรรมชาติ เรียบง่าย และประหยัด

ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูง

หรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยาก สร้างเสริม “ตัวอย่างของความสำเร็จ” ให้

ราษฎรรู้เห็นตัวอย่างของความสำเร็จ สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง แล้ว

กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้เกิดการพัฒนา ฟื้นฟู และ

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา

ประเทศในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ให้อยู่ในสภาพที่

มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิสูจน์ให้คนไทยได้ประจักษ์

แล้วว่า การพัฒนาตามแนวทางสายกลางอย่างมีความสมดุล คือ

มีขั้นตอน พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน ผสมผสานความรู้

ด้านต่าง ๆ รวมทั้งการมีสติ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความเพียร

ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น ตามแนวทาง

พระราชดำริ คือ แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศไทยให้

ดำรงอยู่ได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมไหลบ่าเข้ามาอย่างรุนแรง

ทางสายกลางภายใตกระแสการเปลี่ยนแปลง

เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย สุจริต ขยันอดทน สติปญญา แบงปน)

เงื่อนไขความรู(รอบรู รอบคอบ ระมัดระวัง)

นำสู

ชีวิต, เศรษฐกิจ,สังคม, สิ่งแวดลอม

กาวหนาอยางสมดุล,มั่นคง, ยั่งยืน

พอประมาณ

มีภูมิคุมกันที่ดีในตัว

มีเหตุมีผล

พระราชปณิธานอันเข้มแข็ง

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

และแบบอย่างจากพระราชกรณียกิจนี้เอง

คือ แรงบันดาลใจให้เกิดหน่วยงานเล็ก ๆ

ที่มุ่งมั่นสานต่อพระราชปณิธาน

ในการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นั่นคือ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 3

Page 4: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

เพื่อรับผิดชอบการจัดการความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาตาม

แนวทางโครงการพระราชดำริอย่างเป็นระบบกว้างขวาง จนกระทั่งเป็น

แนวทางการพัฒนาหลักของประเทศ โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิ เป็นผู้

กำหนดนโยบาย ควบคุม ดูแล ติดตาม และประเมินผล และมีคณะ

กรรมการสถาบัน ทำหน้าที่กำกับการบริหารของสถาบันให้เป็นไปตาม

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง

นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนมูลนิธิ

ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ตามใบสำคัญแสดง

การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ทะเบียนเลขที่ กท ๑๙๑๙ ลงวันที่ ๒๐

มกราคม ๒๕๕๓ ต่อมามีการประชุมคณะผู้ก่อตั้ งและเลือกตั้ ง

คณะกรรมการมูลนิธิ จำนวน ๘ คน โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

เป็นประธาน ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เป็นกรรมการและเลขาธิการ

แนวทางการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และสถาบันฯ จะมุ่งเน้นการ

บูรณาการความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดแนวทาง

ที่หลากหลายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศตามภูมิสังคมอย่าง

ยั่งยืน ตามแนวทางพระราชดำริ เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีทุกภาคส่วน

ในการพัฒนายุทธศาสตร์ แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาและพัฒนา

ประเทศตามแนวทางพระราชดำริ และเกิดการรับรู้ เข้าใจ และ

ความร่วมมือสนับสนุนจากภาคีรัฐ วิชาการ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชน

ประชาสังคม และนานาชาติ ในการร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน และร่วมแก้ไข

ปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ

ก่อนถึงวันนี้ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พัฒนาต่อเนื่อง

มาจากโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่งดำเนินการ

มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ในเวลานั้น โครงการปิดทองหลังพระฯ มีพันธกิจ

ตามมติคณะรัฐมนตรี คือ เพื่อฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ และ ๘๔

พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้ประชาชนสามารถ

เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำริ

เอกภาพของโครงการพระราชดำริเพื่อพัฒนาชาติ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 4

Page 5: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริม

อาชีพประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย

ในการดำเนินภารกิจของโครงการปิดทองหลังพระฯ เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ

ให้ขยายผลสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนนั้น กลับมี

ข้อจำกัดจากการที่เป็นหน่วยงานย่อยในสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ

(องค์การมหาชน) เนื่องจากข้อจำกัดของกรอบภารกิจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สสปน.

ดังนั้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานเฉพาะรองรับภารกิจสืบสานแนวพระราชดำริให้ขยายผลสู่ชุมชน

ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการจัดตั้ง “มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” และ

“สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” ขึ้นแทน

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล

เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

กรรมการและเลขาธิการ

คณะกรรมการ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี

ประธาน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

กรรมการ

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สิน

ส่วนพระมหากษัตริย์

กรรมการ

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ

รองราชเลขาธิการ

กรรมการ

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ

รองราชเลขานุการในพระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

กรรมการ

นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

กรรมการ

ดร.วิรไท สันติประภพ

รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย

กรรมการและเหรัญญิก

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 5

Page 6: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

ปณิธาน เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ

“๑๐ ปีที่มีโอกาสศึกษาแนวพระราชดำริและปฏิบัติงานถวาย ได้

เห็นว่าแนวพระราชดำริต่าง ๆ นั้นเป็นประโยชน์กับประชาชนในระดับ

รากหญ้าอย่างแท้จริง เป็นการแก้ปัญหาของประเทศทั้งมหภาคและ

จุลภาคเชื่อมโยงกัน คือ ทรงแก้ปัญหาใหญ่ของประเทศ แต่ทำแล้ว

ประโยชน์ตกไปสู่ประชาชนทุกครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก ทำให้

ผมตระหนักถึงคุณค่าของแนวพระราชดำริ แล้วจึงอยากจะเผยแพร่ต่อ

ยังมีสิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระองค์ท่านอีก ในเรื่องหลักการทรงงาน

และเนื้องาน โดยหลักการทรงงานนั้น จะทรงมีทั้งหลักคิด หลักวิชา แล้ว

ก็หลักปฏิบัติ หลักคิด คือ จะทำอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อใครต่ออะไร

หลักวิชา คือ ถ้าจะทำอย่างนั้น เรารู้พอหรือยัง ต้องหาความรู้เพิ่มจาก

ที่ไหนไหม แล้วก็ทรงทดลองจนกระทั่งแน่พระทัยแล้ว ค่อยไปสู่หลัก

ปฏิบัติ คือ ตัวโครงการ

สำหรับเนื้องานจะทรงเอาพื้นที่เป็นเป้า เอาภูมิสังคมในพื้นที่เป็น

หลัก โดยมีเป้าหมายว่า ชุมชนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วม เมื่อแก้ไขปัญหา

แล้ว ชุมชนต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้องมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

และสิ่งแวดล้อมก็ต้องดีด้วย

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

“ก่อนจะพูดว่าปิดทองหลังพระ จะทำให้เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ ต้องพูดถึง

ประชาชนก่อน เพราะปิดทองหลังพระ คือ การนำแนวพระราชดำริและวิธีการพัฒนาต่างๆ มาทำให้

เกิดประโยชน์กับประชาชนกับบ้านเมือง เพราะถ้าประชาชนไม่ได้พัฒนาในหนทางที่ถูกต้อง ผลสุดท้าย

ทรัพยากรต่าง ๆ ก็จะสูญหายไป ประเทศชาติก็จะไม่ได้รับอะไร ดังนั้น หัวใจสำคัญ จึงอยู่ที่

ผู้รับเอาแนวพระราชดำริไปใช้ในชีวิตของเขา ก็คือประชาชน ถ้าหากเข้าใจ เข้าถึง ในสิ่งต่าง ๆ ที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้ดู มีจิตสำนึกที่ดี มีความเข้าใจที่ดีในการนำเอาไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ในชีวิตแล้ว ผมคิดว่าประโยชน์สุขตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัย

ให้กับแผ่นดินไทย ก็จะเกิดขึ้น

ผมเชื่อมั่นกับปิดทองหลังพระว่า จะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้

ประชาชนต้องทำเอง ปิดทองหลังพระจะชักชวนให้ประชาชนมาทำ ชักชวนมาให้ความรู้ ให้ปัญญา

โดยหวังว่าเมื่อได้ปัญญาไปแล้ว ได้ความรู้ไปแล้ว เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับตัว

เขาเอง แล้วผลสุดท้ายแผ่นดินทั้งแผ่นดินก็จะได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน”

มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ จะใช้ทั้ง 2 หลักนี้ในการทำงานและ

ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตัดสินใจกันเองในพื้นที่ของ

เขาว่า เมื่อได้เรียนรู้อย่างนี้แล้ว และมีตัวอย่างที่อื่นทำให้เห็นแล้ว เขาจะ

ทำอะไรต่อไป ซึ่งจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญมากของชุมชน ที่จะ

ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน พึ่งตนเองได้ เมื่อคนมีความสุข บ้านเมืองก็

จะมีความสุข และทำให้แนวคิดนี้กระจายไปในหลาย ๆ ภูมิภาคของ

ประเทศ

ผมเชื่อว่า ด้วยความสามารถของผู้ที่เข้ามาร่วมงาน จะผลักดันให้

มูลนิธิฯ สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ปรารถนาไว้ คิดว่า

น่าจะเห็นผลภายในหนึ่งสองสามปีข้างหน้า”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานกรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 6

Page 7: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

มาบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์กับประเทศชาติมาก และเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นการทำงานแบบ

บูรณาการที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง จึงทุ่มเทสนับสนุนเต็มที่ ด้วยความเชื่อมั่น

ในโครงการอย่างสูง เพราะได้เห็นแล้วว่า ปิดทองหลังพระ ไม่ใช่การทำงาน

แบบไฟไหม้ฟาง แต่ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการสร้างรากฐานที่เข้มแข็ง

กอ่น การดำเนนิงานที่จังหวัดน่าน ได้ทำให้ทุกคนเชื่อแล้ว ด้วยเหตุด้วยผลของ

แนวความคิด กระบวนการและรูปธรรมที่เกิดขึ้น ทำให้มีศรัทธาเพิ่มมากขึ้น

ผนวกกับความร่วมมือของทุกฝ่าย ช่วยให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

เกินกว่าที่คาดไว้เสียอีก”

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

“การที่ปิดทองหลังพระ คิดแบบครบวงจร ศึกษาตั้งแต่เหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขให้ถึงรากเหง้า

โดยเอาคนเป็นตัวตั้ง กำหนดแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีจุดหมายปลายทางชัดเจนว่า จะไปทางไหน อย่างไร

ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน รู้ปัญหา รู้ความต้องการของชาวบ้าน รู้ว่าโครงการไหนจะแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้ แล้วก็

ชักชวนทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โครงการพระราชดำริต่าง ๆ จังหวัด จนถึง อบจ. อบต.

เทศบาล และชาวบ้าน ให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว บูรณาการการทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งเท่ากับเป็น

การระเบิดจากข้างใน ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสไว้ แล้วก็สามารถวัดผลได้เป็นชิ้น

เปน็อนั ทำใหผ้มเชือ่มัน่มากวา่ การทำงานปดิทองหลงัพระมโีอกาสประสบความสำเรจ็ เพราะนอกจากจะเปน็ดว้ย

ตวัโครงการทีด่แีลว้ การมพีระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั สมเดจ็พระนางเจา้ฯ พระบรมราชนินีาถ และทกุพระองค์

ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่เข้มแข็ง จะช่วยเพิ่มแรงศรัทธาที่ทุกคนจะทำงานเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

ใครบ้างจะไม่อยากช่วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ เมื่อทรงทำมาแล้วมากมาย

และไม่ใช่การทำให้กับพระองค์เอง แต่เป็นทำให้กับราษฎร ก็ถึงเวลาที่พวกเราจะเรียนรู้จากพระองค์ท่าน

แล้วทำถวายบ้าง”

นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

“การทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เป็นการสืบสาน

ขยายผลโครงการพระราชดำริเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน

อย่างกว้างขวาง เป็นการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีทุก

ภาคส่วน ตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จนถึงท้องถิ่นและชุมชน

เป็นรูปแบบการทำงานที่น่าสนใจมากในการบริหารราชการ

แผ่นดิน จึงคิดว่าการทำงานร่วมกับมูลนิธิฯ จะทำให้ได้เห็น

ตัวอย่าง วิธีการทำงานส่งเสริมการพัฒนา โดยมีแนวทางและ

เป้าหมายร่วมกัน ทำให้อยากร่วมงานด้วย

“การทำงานของมูลนิธิฯ เป็นการคิดแบบนอกกรอบ แต่ว่า

ทำแล้วเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง สามารถแก้

ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ทำให้เชื่อว่าจะไปได้ดีแล้วก็ประสบความ

สำเร็จ เพราะเมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์ เกิดความสำเร็จ ทุกคนก็

อยากทำ เพราะทุกคนก็อยากเห็นสังคมมีความสุขด้วยกันทั้งนั้น”

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

“จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไป

ทุกหย่อมหญ้าทั่วประเทศ ตลอด ๖๓ ปี ทรงสร้างศูนย์การเรียนรู้และ

พระราชทานโครงการพระราชดำริมาถึง ๔,๐๐๐ โครงการ เหล่านี้ล้วนเป็น

ความรู้ที่มีอย่างมากมาย การที่ปิดทองหลังพระฯ นำแนวพระราชดำริ ๖ ด้าน

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 7

Page 8: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

มิติที่ ๑ น้ำการปองกันและแกไขปญหาตั้งแตตนน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

มิติที่ ๒ ดินการปองกันและแกไขปญหาในเรื่องของสภาพดิน ซึ่งเปนปจจัยสำคัญในการทำการเกษตร

มิติที่ ๓ เกษตรการนำเกษตรทฤษฎีใหมมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุดในแตละพื้นที่

มิติที่ ๔ พลังงานทดแทนการปรับใชพลังงานใหเหมาะสมกับทองถิ่นโดยการคิดคนและพัฒนาพลังงานทางเลือกที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได

มิติที่ ๕ ปาการลดการตัดไมทำลายปาและสงเสริมใหมีการปลูกปาในรูปแบบตาง ๆโดยการปลูกฝงจิตสำนึกใหชุมชนเห็นความสำคัญของปา

มิติที่ ๖ สิ่งแวดลอมการนำแนวทางการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียมาใชใหเกิดประสิทธิภาพ เปนการดำรงชีวิตอยูอยางเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมในระยะยาว

๓ หลักการที่ยึดมั่น มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มุ่งมั่นดำเนินการโดยยึด ๓ หลักการ ในการปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท คือ

หลักการองค์ความรู้ ๖ มิติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ องค์ความรู้ด้านน้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังเป็นความห่วงใยของประชาชนทั่วโลกทุกวันนี้อีกด้วย

เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนา โดยปรับน้ำหนักแต่ละเรื่องให้สอดคล้อง เหมาะสม กับสภาพภูมิสังคมและสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในที่สุด

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 8

Page 9: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

เสนทางของ “โครงการปดทองหลังพระ”เสนทางของ “โครงการปดทองหลังพระ”

ความยั่งยืน ชุมชนคือเจาของ

เขาใจ

เขาถึง

พัฒนา

หลักการทรงงานและหลักการโครงการ มูลนิธิปิดทอง

หลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มุ่งมั่นดำเนินการโดยน้อมนำหลักการ

ทรงงานและหลักการโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นหลักในการปฏิบัติงาน โดยนำไปปรับใช้กับพื้นที่ต่าง ๆ ที่ปิดทอง

หลังพระเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการองค์ความรู้ตามแนว

พระราชดำริ เช่นที่จังหวัดน่าน

หลักการทรงงาน ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้น เอกสาร แผนที่

จากการสอบถามผู้เกี่ยวข้องให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง รวดเร็ว และตรง

ตามความต้องการของประชาชน

มององค์รวม มีวิธีคิดอย่างองค์รวมหรือมองอย่างครบวงจร มอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

ไม่ยึดติดตำรา ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ ไม่

เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

ทำให้ง่าย คิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนา

ประเทศตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำสิ่งยากให้

กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำร ิ คือ เข้าใจ เข้าถึง

และพัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ

บันไดทั้ง ๓ ขั้นนี้ จะทำให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของ และนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนาในที่สุด

การพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบ

หลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของชุมชน

รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในชุมชน และติดตามสนับสนุนประเมินผล

การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน

ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา และ

รวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ

การเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม

โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจ และความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา

และความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากที่สุด

เน้นการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้สาธารณชนทุกระดับร่วมแสดง

ความคิดเห็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นหรือความต้องการของ

สาธารณชน แล้วเก็บมาประมวลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์ ตัวของเราเอง

ก็ได้รับประโยชน์ด้วย

ขาดทุนคือกำไร หลักการคือ “การให้” และ “การเสียสละ”

เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

ความเพียร ในการทำโครงการต่าง ๆ แม้ระยะแรกจะไม่มีความ

พร้อมมากนัก แต่ก็ต้องไม่ท้อและมีความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาบ้านเมือง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างความ

เข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน ซึ่งจะสามารถทำให้อยู่ได้อย่างสมดุล ใน

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ การเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้

ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพราะปัญหาของธรรมชาติ จะต้องใช้

ธรรมชาติแก้ไข ช่วยเหลือ

ปลูกป่าในใจคน การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา

จะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 9

Page 10: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

ทำงานอยา่งมคีวามสขุ เปน็ความสขุทีเ่กดิขึน้จากการทำประโยชน ์

ให้กับผู้อื่น

รู้-รัก-สามัคค ี รู้ คือ การที่จะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน

รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา รัก เมื่อเรารู้ครบถ้วน

กระบวนความแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะ

เข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้น ๆ สามัคค ี เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติ

ต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกัน

เป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วยดี

ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ใช้หลักในการแก้ไขปัญหา

ด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ใน

ท้องถิ่น ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้อง

ลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก

หลักการโครงการ ระเบิดจากข้างใน คือ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีสภาพ

พร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคล

จากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันมีโอกาสเตรียมตัว

แก้ปัญหาที่จุดเล็ก มองปัญหาในภาพรวมก่อน แต่เริ่มแก้ปัญหา

จากจุดเล็ก ๆ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนมักจะมองข้าม

ทำตามลำดับขั้น เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน

สร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อน จึง

ค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และเศรษฐกิจขั้นสูงโดยลำดับต่อไป

ใช้อธรรมปราบอธรรม ใช้ความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่ง

ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการและแนวปฏิบัติที่

สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่

ระบบที่เป็นปกติ

การพึ่งตนเอง การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้

ชุมชนแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ แล้วขั้นต่อไปก็คือการพัฒนาให้

สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ “พึ่งตนเองได้”

ในที่สุด

พออยู่พอกิน ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน”

เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน เพราะผู้ที่มีความสุจริตและ

บริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้

มากกว่าผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ

คำนึงถึงภูมิสังคม การพัฒนาต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ

สังคมวิทยาตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

บริการที่จุดเดียว การบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อ

ประชาชนที่จะมาใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมี

หน่วยงานราชการต่าง ๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการ ณ ที่แห่งเดียว

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 10

Page 11: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

แนวทางดำเนินงาน ของปิดทองหลังพระจะยึด

หลักการบริหารเชิงบูรณาการตั้งแต่ระดับ ต้นน้ำ กลางน้ำ

และ ปลายน้ำ

ต้นน้ำ เป็นแหล่งองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ

จะประกอบด้วยความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา โครงการ

ส่วนพระองค์ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการในพระบรม

ราชานุเคราะห์

กลางน้ำ จะเป็นส่วนที่ปิดทองหลังพระ มีบทบาท

เป็นสะพานเชื่อมระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำ โดยมุ่งเน้นด้าน

การจัดการความรู้ การส่งเสริมการพัฒนา และการสร้าง

ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ

โครงการพระราชดำริ

การจัดการความรู

ประชาสังคมศูนยศึกษาการพัฒนา

โครงการตามพระราชประสงค

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการในพระบรมราชานุเคราะห

โครงการสวนพระองค

โครงการหลวง

สถาบันวิชาการ

การเชื่อมโยง/สงเสริม

การพัฒนา

องคกรปกครองสวนทองถิ่น

องคกรชุมชน

องคกรทางสังคม

จังหวัด/อปท.

บูรณาการระดับพื้นที่/

ชุมชน/ทองถิ่น/จังหวัด

ประชาชนอยูดีมีสุข

มูลนิธิปดทองหลังพระฯ

องคกรภาครัฐ

ภาคธุรกิจ

อื่น ๆ

ชุมชน

ทองถิ่น

จังหวัด

หนวยงานระดับพื้นที่

๓ แนวทางปฏิบัติ

แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ๗ ขั้นตอน ซึ่งประยุกต์จากหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา คือ

๑. การสร้างความเข้าใจกับประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีความร่วมมือ

๒. การกำหนดพื้นที่ โดยพิจารณาจากภูมิสังคม และสภาพปัญหา

แต่ละพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายปฏิบัติการพัฒนา

๓. การถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดย

จัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของกลุ่ม

เป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายก่อนกระบวนการพัฒนา

๔. การลงมือปฏิบัติ คือ การที่ชุมชนและภาคีทุกภาคส่วนร่วมกัน

ดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาโดยเรียนรู้จากโครงการพระราชดำริ

และนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ศักยภาพชุมชน ภูมิปัญญา

ท้องถิ่น ฯลฯ

๕. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนที่

เน้นการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการลงมือ

ปฏิบัติ เพื่อสรุปบทเรียน ข้อค้นพบ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๑สรางความเขาใจ

๒กำหนดพื้นที่

โดยภูมิสังคมและสภาพปญหาชุมชน

๓ถายทอดองคความรูพัฒนาศักยภาพ

๔ลงมือปฏิบัติ

๕แลกเปลี่ยนเรียนรูพัฒนาตอเนื่อง

๖ใหคำปรึกษา&ติดตามใกลชิด

๗วัดผล-ถวายรายงานขยายผลจากตนแบบ

๖. การให้คำปรึกษาและติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นการจัดทีม

สนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่พื้นที่ที่มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ส่งเสริม

การพัฒนา

๗. การวัดผล เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน

ว่ามีผลสำเร็จ หรือมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร เพื่อใช้

เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

แนวทางการบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างบูรณาการ เน้นการบริหารจัดการเพื่อนำศักยภาพของพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นพลัง

สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา และให้ความสำคัญต่อการบูรณาการทุนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในจังหวัด ทั้งความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา งบ

ประมาณ และโครงการพระราชดำริ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และตรงกับความต้องการของ

ประชาชนในพื้นที่

ปลายน้ำ จะเป็นการบูรณาการระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อนำ

องค์ความรู้จากโครงการพระราชดำริเชื่อมโยง และปรับใช้ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม

กับภูมิสังคม และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเป้าหมายให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 11

Page 12: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

โรงสีขาว

ขาว ขาวโพด ถั่วเหลืองและถั่วเขียว เพื่อการเกษตร

ไกและไขไกเพื่อการบริโภค

แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดนาน

รายไดเข

าหมูบาน

โรงผลิตอาหารสัตว

อาหารสัตว

ธนาคารสัตว

ศูนยการเรียนรูเรื่องแพะ

อาหารปลาและไก

ถังเก็บน้ำเพื่อใชในหมูบาน

มูลไกใหปลากิน

ตลาด

ผลผลิตมูลคาเพิ่ม

ธนาคารเมล็ดพันธุพืช

ผลผลิตพลอยได

เมล็ด

วาระน่าน ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 12

Page 13: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

จังหวัดน่าน นอกจากจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์

เพราะเป็นต้นน้ำน่าน ที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบน้ำในประเทศไทย

(ร้อยละ ๔๕ ของแม่น้ำเจ้าพระยา) แล้ว น่าน ยังเป็นจังหวัดที่มีปัญหา

รุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม จาก

การที่ป่าต้นน้ำน่านกำลังเผชิญกับการบุกรุกเพื่อเป็นพื้นที่ทำกิน อากาศ

เสียเพราะหมอกควันจากการเผาเตรียมพื้นที่การเกษตร ดินเสื่อม ด้วย

สารตกค้างจากการใช้เคมีการเกษตรเข้มข้น น้ำปนเปื้อนสารเคมี และ

เต็มไปด้วยตะกอนจากการชะหน้าดิน ตามแนวลุ่มน้ำเกิดอุทกภัยรุนแรง

ซ้ำซาก ขาดความรู้ที่จำเป็นในการยังชีพ ยากจน เป็นหนี้ ไม่มีทางออก

ร้อยละ ๗๕ ของชาวอำเภอสองแคว สุขภาพเสื่อมโทรม ด้วยสารพิษใน

เลือดสูงกว่าระดับปกติธรรมดาถึง ๕ เท่า

แต่โชคดีที่น่านมีข้าราชการและเครือข่ายประชาคมเข้มแข็ง

มผีูน้ำทอ้งถิน่ทีม่วีสิยัทศัน ์ และผูค้นทีก่ระตอืรอืรน้ เปดิรบั เรยีนรูต้วัอยา่ง

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

ได้ริเริ่มแปรแนวความคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตามแนวพระราชดำริมาสู่การปฏิบัติ

ด้วยโครงการนำร่องบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่

จังหวัดน่าน ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ

และเริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒

ความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ทุกฝ่ายหารือและตกลงใจกัน

เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ ระดมสรรพกำลัง โดยการสนับสนุนของ

ปิดทองหลังพระฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ประยุกต์องค์ความรู้จาก

โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้วในจังหวัดน่าน เป็น

แนวทางร่วมกันดำเนินภารกิจ “ปิดทองหลังพระ ณ ต้นน้ำน่าน”

จากจุดเริ่มต้นในพื้นที่นำร่องขนาดเล็ก ที่บ้านยอด ตำบลยอด

อำเภอสองแคว และบ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ขยายสู่

ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และบ้านห้วยธนู ตำบลตาลชุม

บ้านห้วยม่วง ตำบลศรีชุม อำเภอท่าวังผา ตามคำร้องขอของชุมชนเอง

การดำเนินงานปิดทองหลังพระฯ คือ ส่งเสริมให้ชุมชนที่ยากจน

สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชอาหาร ปศุสัตว์

และประมงให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งของตนเองและทั้งจังหวัดน่าน

ได้ตลอดปี โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำร ิ “ลดการใชพ้ืน้ทีป่า่ ปลกูนาขัน้บนัได” ในสมเดจ็พระนางเจา้ฯ

พระบรมราชินีนาถ มาขยายผลในพื้นที่ทั้ง ๓ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้

เพียงพอต่อการบริโภค ควบคู่กับการลดพื้นที่แผ้วถางป่าเพื่อปลูกข้าวไร่

พร้อมกับพัฒนาต้นแบบการถ่ายทอดความรู้อื่น ๆ ควบคู่กันไป

เช่น พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ ปรับปรุงปัจจัยการผลิตพื้นฐาน

ได้แก่ น้ำ ดิน และเมล็ดพันธุ์ โดยก่อสร้างระบบกระจายน้ำเข้าสู่แปลง

เกษตร รวมทั้งฝายต้นน้ำ ฝายชะลอน้ำ จัดหาแหล่งน้ำใหม่เพิ่มเติม

เสรมิสรา้งความรูด้า้นการเพาะปลกู กอ่ตัง้กองทนุปุย๋ กองทนุเมลด็พนัธุพ์ชื

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 13

Page 14: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

ปลูกป่าเศรษฐกิจและป่าใช้สอย ส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลสัตว์ การใช้วัคซีนและเวชภัณฑ์

การโภชนาการสัตว์ การจัดการโรงเรือน ก่อตั้งกองทุนยารักษาสัตว์และกองทุนอาหารสัตว์ ส่งเสริม

การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ด้วย

การพัฒนาคน ถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังความคิดและค่านิยมของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสืบสานงานพัฒนาใน

ด้านต่างๆ ต่อไปได้ในอนาคต

การดำเนินงานในพื้นที่ดำเนินการ ๓ อำเภอนี้ จะเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้ เพื่อนำไปปรับใช้

แก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ต่อไป คือ อำเภอสองแคว จะเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่อง

การเก็บข้อมูลและการบริหารข้อมูล อำเภอท่าวังผา เป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำและการบริหาร

จดัการนำ้และปา่ อำเภอเฉลมิพระเกยีรต ิเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องการทำนาขั้นบันไดและการบริหารจัดการดิน

การดำเนินงานที่ผ่านมาเพียงไม่ถึงหนึ่งป ี แนวทางปิดทองหลังพระ นำมาซึ่งการรับรู้และความเข้าใจ

ที่ดี จนเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ประชาชนจังหวัดน่านทุกภาคส่วน ไดร้ว่มกนัประกาศเจตนารมณ ์

“วาระนา่น–โครงการปดิทองหลงัพระ สบืสานแนวพระราชดำร ิ จังหวัดน่าน” เพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมคน

เตรียมแผนงาน เตรียมงบประมาณและสรรพกำลัง สืบสานและขยายผลงานพัฒนาที่ปิดทองหลังพระ

บกุเบกิไว ้ จากพืน้ทีด่ำเนนิการ ๓ อำเภอ สูพ่ืน้ทีข่ยายผลอกี ๑๒ อำเภอ ครอบคลมุทัว่ทัง้จงัหวดัอยา่งตอ่เนือ่ง

และยัง่ยนืสบืไป

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 14

Page 15: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ๑๕ หมู่บ้านต้นน้ำน่าน ในตำบลขุนน่าน

บ้านง้อมเปา (ห้วยกานต์) บ้านเปียงก่อ

บ้านด่าน (ห้วยส้ม) บ้านเปียงซ้อ

บ้านนาคุ บ้านห้วยฟอง

บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง

บ้านห้วยปูด (ปูดู่) บ้านกิ๋วจันทร์

บ้านน้ำช้างพัฒนา บ้านน้ำรีพัฒนา

บ้านบวกหญ้า บ้านบวกอุ้ม

บ้านห้วยเต๋ย

อำเภอสองแคว ๓ หมู่บ้าน ในลุ่มน้ำยาว ลุ่มน้ำยอด คือ

บ้านยอด หมู่ที่ ๒ ตำบลยอด

บ้านผาหลัก หมู่ที่ ๓ ตำบลยอด

บ้านน้ำเกาะ หมู่ที่ ๖ ตำบลยอด

อำเภอท่าวังผา ๓ หมู่บ้าน ในลุ่มน้ำสบสาย คือ

บ้านน้ำป้าก หมู่ที่ ๙ ตำบลตาลชุม

บ้านห้วยธนู หมู่ที่ ๙ ตำบลตาลชุม

บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ ๘ ตำบลศรีภูมิ

พื้นที่ดำเนินการ โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน

อำเภอทุ่งช้าง บ้านเฉลิมราช หมู่ที่ ๘ ตำบลปอน ลุ่มน้ำน่านตอนบน

อำเภอเชียงกลาง บ้านกอก หมู่ที่ ๘ ตำบลเชียงกลาง

ลุ่มน้ำเปือ–น้ำกอน

อำเภอปัว บ้านน้ำยาว หมู่ที่ ๓ และบ้านห้วยหาด หมู่ที่ ๗ ตำบลอวน

ลุ่มน้ำยาว-น้ำอวน

อำเภอเมืองน่าน บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ ๑ ตำบลเรือง

ลุ่มน้ำสมุนตอนล่าง

อำเภอบ้านหลวง บ้านโป่งศรี หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านฟ้า ลุ่มน้ำสวด

อำเภอเวียงสา บ้านน้ำปุ๊สามัคคี หมู่ที่ ๓ ตำบลส้านนาหนองใหม่

ลุ่มน้ำว้า

อำเภอนาหมื่น บ้านน้ำอูน หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองลี ลุ่มน้ำอูน

อำเภอนาน้อย บ้านทุ่ง หมู่ที่ ๑๒ ตำบลสถาน ลุ่มน้ำแหง

อำเภอบ่อเกลือ บ้านน้ำว้า หมู่ที่ ๖ ตำบลบ่อเกลือเหนือ

ลุ่มน้ำน่านตอนบน

อำเภอแม่จริม บ้านสว่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลหนองแดง ลุ่มน้ำว้า

อำเภอภูเพียง บ้านห้วยคำ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลฝายแก้ว ลุ่มน้ำห้วยคำ

พื้นที่ขยายผล ตามประกาศจังหวัดน่าน ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 15

Page 16: เอกสารแนะนำมูลนิธิปิดทองหลังพระ

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อราษฎรไทยมาโดยตลอด

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

จึงตั้งปณิธานการทำงาน ที่จะสร้างความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจากทุกฝ่าย

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ การพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีความพอเพียง และมีความสุขอย่างยั่งยืน

และเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการนำองค์ความรู้จากแนวพระราชดำริมาปฏิบัติจริงให้เกิดประโยชน์จริง

และเผยแผ่ไปสู่ชุมชนทั่วประเทศ ให้ร่วมกันเดินตามรอยพระยุคลบาท

เพื่อความสำเร็จที่คนไทยทุกคน จะได้ภาคภูมิใจ น้อมเกล้าฯ ถวาย

ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๔ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๔

นั่นคือ ประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของประชาชนคนไทยทั้งมวล

ซึ่งจะเป็นความสุข ความสวัสดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง