52
60 ความสำเร็จของ องค์การสหประชาชาติ 60 ways the United Nations makes a difference

60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

60 ความสำเร็จของ องค์การสหประชาชาติ 60 ways the United Nations makes a difference

Page 2: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

ในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติมีอายุครบ 60 ปี ถือเป็นเวลาสําหรับการระลึกถึงสิ่งดีงามที่องค์การแห่งนี้ได้สร้างขึ้นตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน สหประชาชาติได้เป็นศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ ในตลอดช่วงเวลา 50 ปีหลังของศตวรรษที่ 20 และในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 อาทิ การป้องกันมิให้เกิดสงคราม การยืดอายุขัยของมนุษย์ การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์อันตราย การรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติของโลก และการสร้างความตระหนักในเรื ่องสิทธิมนุษยชนขึ้นทั ่วโลก องค์การสหประชาชาติกําลังทํางานเพื่อส่งเสริมการปรับตัวสู่กระแสโลกาภิวัตน์อย่างกว้างขวางและขจัดปัญหาความยากจน

ปีที่ 60 ยังเตือนเราให้ระลึกว่า โลกในปัจจุบันนี้แตกต่างจากโลกในสมัยของผู้สถาปนาองค์การของเราเป็นอย่างยิ่ง สหประชาชาติจะต้องคํานึงถึงโลกยุคใหม่และตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่ท้าทายองค์การ รวมทั้งสิ่งที่สําคัญที่สุด นั่นคือ บรรดาประชาชนอีกหลายร้อยล้านชีวิตที่ถูกปล่อยให้เผชิญกับความอดอยาก โรคภัยไข้เจ็บ และ สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ทั้งๆ ที่สังคมโลกก็มีวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือพวกเขาอยู่แล้วก็ตาม องค์การสหประชาชาติที่จะได้รับการปฏิรูปใหม่จะต้องช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าว และต้องทํางานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้อุดมคติและเจตจํานงอันสูงส่งของผู้ก่อตั้งองค์การฯ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ 24 ตุลาคม 2005

Page 3: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

สืบเนื่องจากสงครามที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง จึงได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพและทําให้สันติภาพมีรากฐานที่มั่นคงแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ท่ามกลางความน่าพรั่นสพึงกลัวของสงครามนิวเคลียร์ และความขัดแย้งระหว่างภูมิภาคต่างๆ ที่ไม่จบสิ้น การรักษาสันติภาพจึงกลายเป็นประเด็นที่สหประชาชาติให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง และภารกิจต่างๆ ของผู้รักษาสันติภาพภายใต้หมวกสีฟ้า (blue-helmeted peacekeepers) ก็ได้ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัดท่ามกลางภารกิจอื่นๆ

ทว่า สหประชาชาติก็ยังเป็นมากกว่าผู้รักษาสันติภาพหรือเวทีในการหาข้อยุติความขัดแย้ง บ่อยครั้งที่สหประชาชาติ ทบวงการชํานัญพิเศษและหน่วยงานในเครือข่ายของสหประชาชาติ ได้เข้าไปช่วยเหลือในงานด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลกให้ดีขึ้น ซึ่งไม่เป็นที่สนใจหรือรับรู้กันโดยทั่วไป

การช่วยชีวิตและการพัฒนาเด็ก การรักษาสภาพแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การวิจัยด้านสุขภาพ และการแพทย์ การขจัดความยากจนและการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาทางการเกษตรและการประมง การศึกษา การพัฒนาและความก้าวหน้าของสตรี การบรรเทาทุกข์จากสาธารณภัยและเหตุฉุกเฉิน การเดินทางทางอากาศและน่านน้ำ การใช้พลังงานปรมาณูอย่างสันติวิธี แรงงานและสิทธิของคนงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

ตัวอย่างผลงานโดยย่อที่องค์การสหประชาชาติและหน่วยงานในสังกัดได้ดําเนินการสําเร็จ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นใน ปี 1945 มีดังต่อไปนี้

1 ]

Page 4: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 2

Page 5: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

1. การส่งเสริมการพัฒนา (Promoting Development)

องค์การสหประชาชาติได้อุทิศความมุ่งมั่นและทรัพยากรต่างๆ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ให้ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมแรงงานฝีมือและเพิ่มพูนศักยภาพแก่มวลมนุษย์ทั่วโลก ซึ่งพันธกิจดังกล่าวนี้ ได้ดําเนินไปตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา งบประมาณรายจ่ายประจําปีของสหประชาชาติเพื่อการพัฒนา ไม่รวมกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ สูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme หรือ UNDP) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจําอยู่ในประเทศต่างๆ 166 ประเทศ ที ่กําลังดําเนินงานของสหประชาชาติในการขจัดความยากจนและการส่งเสริมงานด้านธรรมภิบาล ในประเทศกําลังพัฒนา องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund หรือ UNICEF) ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศต่างๆ 157 ประเทศและใช้งบประมาณถึง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการคุ้มครองเด็ก การให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค การต่อสู้กับเอชไอวี/เอดส์ และการศึกษาสําหรับเด็กผู้หญิง ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในโอกาสทางการค้าเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ยังให้การช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาในรูปแบบของเงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า รวมประมาณ 1.8 – 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปีและนับ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 เป็นต้นมา ได้สนับสนุนโครงการพัฒนาต่างๆ ไปแล้วกว่า 9,500 โครงการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เงินทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทั้งหมดนี้ เป็นเงินช่วยเหลือที่ได้รับบริจาคจากประเทศต่างๆ

3 ]

Page 6: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

2. การส่งเสริมประชาธิปไตย (Promoting Democracy)

องค์การสหประชาชาติได้เข้าช่วยเหลือโดยการส่งเสริมสถาบัน และกิจกรรมต่างๆ ในด้านประชาธิปไตยทั ่วโลกให้เข้มแข็งขึ ้น ทําให้ประชาชนในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา นามิเบีย เอลซาวาดอร์ อิริเธีย โมแซมบิค นิคารากัว อัฟริกาใต้ โคโซโว และติมอร์ตะวันออก สามารถเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปอย่างมีอิสระและยุติธรรม สหประชาชาติได้ช่วยให้คําแนะนําและความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการตรวจนับคะแนนการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศ และ บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นในช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อในประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านั้น เช่น ในประเทศอัฟกานิสถาน อิรัค และบุรุนดี

[ 4

Page 7: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

3. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Promoting Human Rights)

นับตั้งแต่ที่การประชุมสมัชชาใหญ่มีมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ในปี 1948 องค์การสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือในการออกข้อตกลง หลายฉบับ ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าด้วยสิทธิทางการเมือง ประชาสังคม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติโดยการสืบสวนข้อร้องเรียนจาก บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และกระตุ้นให้ประชาคมโลกสนใจในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรม การหายสาบสูญ และการคุมขังโดยพลการ ตลอดจนการสร้างแรงกดดันจากนานาประเทศต่อรัฐบาลนั้นๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงสถานภาพด้านสิทธิมนุษยชนของผู้คนในประเทศนั้น

5 ]

Page 8: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 6

Page 9: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

4. การธํารงรักษาสันติภาพและความมั่นคง (Maintaining Peace and Security)

โดยการส่งกองกําลังรักษาสันติภาพและสังเกตการณ์ รวมทั้งสิ้น 60 หน่วย ไปยังจุดที่ได้รับความเดือดร้อนทั่วโลก ในปี 2005 สหประชาชาติสามารถนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา กระทั่งเพียงพอที่จะทําให้เกิดขั้นตอนการเจรจาต่อรอง ซึ่งช่วยให้หลายล้านชีวิตรอดพ้นภัยสงคราม ปัจจุบัน มีกองกําลังรักษาสันติภาพปฏิบัติการอยู่ 16 แห่งทั่วโลก

5. การทําให้เกิดสันติภาพ (Making Peace)

ตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา สหประชาชาติได้เข้าช่วยเหลือในการเจรจาต่อรองด้านสันติภาพกว่า 170 ครั้ง ซึ่งช่วยยุติข้อขัดแย้งต่างๆ ในภูมิภาค ดังเช่น ในการเจรจายุติสงครามอิรัค-อิหร่าน การช่วยดําเนินการ ในการถอนทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน และยุต ิสงครามกลางเมืองในเอลซาวาดอร์และกัวเตมาลา สหประชาชาติยังได้ดําเนินการทางการทูตแบบเงียบ (quiet diplomacy) เพื ่อยุติสงครามต่างๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น

7 ]

Page 10: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

6. การรักษาสิ่งแวดล้อม (Protecting the Environment)

องค์การสหประชาชาติได้ดําเนินงานอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก โดยจัดให้มีเวทีการประชุมต่างๆ ในการเจรจาและจัดทําฉันทามติหรือข้อตกลงเพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การลดลงของชั ้นโอโซน ปัญหาสารตกค้างที ่เป็นพิษและของเสียอันตราย การตัดไม้ทําลายป่า การลดลงของพันธ์ุพืชและสัตว์ และปัญหามลพิษทางน้ำ และอากาศ ตราบใดที่ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาวะทางการตลาดและเศรษฐกิจก็จะไม่ยั ่งยืนในระยะยาว ทั้งนี ้ เพราะว่าเมื่อ สิ่งแวดล้อมถูกทําลาย “ทุน” ทางธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานของการเติบโตและการดํารงชีวิตของมนุษย์ก็จะถูกทําลายลงไปด้วย

[ 8

Page 11: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

7. ป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ (Preventing Nuclear Proliferation)

องค์การสหประชาชาติ โดยองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ได้ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าประเทศต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ไม่ได้กําลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การนําพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในโครงการต่างๆ หลายร้อยโครงการในกว่า 70 ประเทศ ได้อยู่ในความควบคุมดูแลของ IAEA ปัจจุบัน มีข้อตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง (Safeguard Agreement) จํานวน 237 ฉบับ ที่มีผลบังคับใช้ใน 152 ประเทศ

8. ส่งเสริมการกําหนดเจตจํานงตนเองและ เอกราช (Promoting Self-Determination and Independence)

เมื่อองค์การสหประชาชาติได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1945 ประชาชนกว่า 750 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีชีวิตอยู่ในดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง ซึ ่งอยู ่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม องค์การสหประชาชาติได้แสดงบทบาทสําคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติต่างๆ กว่า 80 ประเทศ ให้ได้มาซึ่งเอกราช และเป็นประเทศที่มีอธิปไตย

9 ]

Page 12: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

9. ดําเนินคดีกับอาชญากรสงคราม (Prosecuting War Criminals)

ศาลพิเศษสหประชาชาติซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีอดีตประเทศยูโกสลาเวียและประเทศรวันดา ได้พิพากษาลงโทษและจําคุกบรรดาอาชญากรสงคราม นอกจากนี้ยังได้พัฒนาข้อมูลคดีด้านกฎหมาย (case law) ว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ (genocide) และสิทธิมนุษยชน รวมทั้งกําหนดมาตรการ ด้านกระบวนการยุติธรรมซึ่งประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ที่ประสบปัญหาได้นําไปบังคับใช้อย่างจริงจัง

10. ยุตินโยบายแบ่งแยกสีผิวในอัฟริกาใต้ (Ending Apartheid in South Africa)

องค์การสหประชาชาติ ได้มีบทบาทสําคัญ โดยการใช้มาตรการต่างๆ ตั ้งแต่ การห้ามนำอาวุธเข ้าออกประเทศ ตลอดจนถึงการทําอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการจัดการแข่งขันกีฬาที่มีการแบ่งแยกสีผิว (convention against segregated sporting events) จนนํามา ซึ่งการล่มสลายของระบบแบ่งแยกสีผิวในที่สุด ในปี 1994 มีการเลือกตั้งที่อนุญาตให้ชาวอัฟริกันทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียงบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม ซึ่งนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลหลายเชื้อชาติ

[ 10

Page 13: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

“เรามาที ่นี ่ในวันนี ้ เพื ่อแสดงความคารวะต่อองค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกทั ้งหลาย ที ่ได้ร ่วม แรงร่วมใจกับมวลประชาชนของเรา ในการร่วมกันต่อสู้ เพื่อนํามาซึ่งการปลดแอกและการทําลายกําแพงขวางกั้นทางเชื้อชาติ”

คําปราศรัยของ ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดล่า ต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในปี 1994 ซึ ่งเป็นปีที ่มีการ เลือกตั ้งของคนหลายเชื ้อชาติอย่างเสรีเป็นครั ้งแรกใน อัฟริกาใต้

11 ]

Page 14: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

11. เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกฎหมายระหว่างประเทศ (Strengthening International Law)

มีสนธิสัญญาพหุภาคีมากกว่า 500 ฉบับ ที่ได้มีการลงนามร่วมกันโดยผ่านทางสหประชาชาติ ทั้งในประเด็นของสิทธิมนุษยชน การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย การปลดอาวุธ การแบ่งปันทรัพยากรและน่านน้ำ

12. จัดหาความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมให้แก่ผู้ลี้ภัย (Providing Humanitarian Aid to Refugees)

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1951 สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยมากกว่า 50 ล้านคนที่ลี้ภัยจากสงคราม ความอดอยาก หรือการประหัตประหาร โดยทำงานอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์การที่เกี่ยวข้อง โดยองค์การฯ แสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาวหรืออย่างถาวร โดยช่วยเหลือให้ผู้ลี ้ภัยได้กลับประเทศบ้านเกิด หากสถานการณ์เอื้ออํานวยและมีหลักประกันในความปลอดภัย ช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศที่รองรับหรือไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม มีผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาพื้นที่พักพิงชั่วคราว และผู้พลัดถิ่นฐานภายในประเทศมากกว่า 19 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นสตรีและเด็ก บุคคลคนเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย บริการทางการแพทย์ การศึกษา และการกลับสู่ภูมิลําเนาโดยองค์การสหประชาชาติ

[ 12

Page 15: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

13. การบรรเทาความยากจนของชนบทในประเทศกําลังพัฒนา (Alleviating Rural Poverty in Developing Countries)

กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development หรือ IFAD) ได้มีการพัฒนาระบบ สําหรับการให้บริการสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อในวงเงินจํานวนน้อย เพื่อช่วยให้ประชาชนที่ยากจนในเขตชนบท สามารถต่อสู้กับความยากจนได้ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนในปี 1978 กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ได้มีการลงทุนไปแล้วมากกว่า 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ในโครงการต่างๆ มากกว่า 676 โครงการ ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาความยากจนให้กับคนมากกว่า 250 ล้านคน ทั้งนี้ เงินทั้งหมดของกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมได้มาจากการสนับสนุนโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิกต่างๆ

13 ]

Page 16: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 14

Page 17: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

14. ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ (Aiding Palestine Refugees)

ในขณะที่ประชาคมโลกกําลังต่อสู้ดิ ้นรนที่จะให้สันติสุขบังเกิดขึ้นอย่างถาวรระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ สํานักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติส ําหรับผู ้ล ี ้ภ ัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ (UN Relief and Works Agency for Palestine refugees in the Near East หรือ UNRWA) ซึ่งเป็นองค์การบรรเทาทุกข์และพัฒนาเพื่อผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ได้ให้ความช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์มาแล้ว 4 ชั่วอายุคน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข บริการสังคม การให้เงินกู้ และความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยกว่า 4 ล้านคน ในตะวันออกกลางที่ลงทะเบียนไว้กับองค์การ UNRWA

15. การมุ่งเน้นที่การพัฒนาทวีปอัฟริกา (Focusing on African Development)

ทวีปอัฟริกายังคงถือเป็นความสําคัญอย่างเร่งด่วนสําหรับองค์การสหประชาชาติ ในปี 1986 องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมสมัยพิเศษเพื่อเรียกร้องให้มีการสนับสนุนจากนานาชาติ เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสภาพเศรษฐกิจของทวีปอัฟริกา โดยในปี 2001 ผู้นําของกลุ่มประเทศอัฟริกา ได้จัดทําแผนของทวีปของตนเองขึ้นมาเรียกว่าแผนพันธมิตรใหม่สําหรับการพัฒนาอัฟริกา ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติในปี 2002 โดยมีการ กําหนดกรอบการทํางานเพื่อกระจายช่องทางการสนับสนุนจากนานาชาติไปยังประเทศในทวีปอัฟริกา ทั ้งนี ้ ทวีปอัฟริกาได้ร ับการสนับสนุนคิดเป็นร้อยละ 33 ของระบบค่าใช้จ่ายสําหรับการพัฒนาทั้งหมดขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ได้รับการช่วยเหลือสูงที่สุด ทุกหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติต่างมีโครงการพิเศษสําหรับทวีปอัฟริกาโดยเฉพาะ

15 ]

Page 18: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

16. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรี (Promoting Women’s Well-Being)

องค์การสหประชาชาติได้ดําเนินการช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันและคุณภาพชีวิตของสตรี โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Fund for Women หรือ UNIFEM) และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (International Research and Training Institute for the Advancement of Women หรือ INSTRAW) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาเพื ่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสิทธิสตรี ในมากกว่า 100 ประเทศ ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศ เพื่อความก้าวหน้าของสตรีนั้นจะเป็นผู้ค้นคว้าวิจัยและจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ในขณะที่กองทุนเพื ่อการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติจะเป็นผู ้ให้การสนับสนุนโครงการซึ่งจะช่วยขจัดความรุนแรงต่อสตรี การยับยั้งการแพร่กระจายของโรคเอดส์ และส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่สตรี อาทิเช่น โครงการเพิ่มสิทธิในการทํางาน และสิทธิในที่ดิน ทํากินและมรดกตกทอด เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติจะต้องให้ความสําคัญกับความต้องการของสตรีเสมอ

17. การส่งเสริมสิทธิสตรี (Promoting Women’s Rights)

วัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การสหประชาชาติประการหนึ่ง ก็คือการส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสตรี และยกย่องสตรีให้มีสิทธิในการกําหนดวิถีชีวิตของตนเองมากขึ้น องค์การสหประชาชาติได้มีการ ดําเนินการจัดการประชุมโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ที่กรุงเม็กซิโก ในปี 1975 ขึ ้นเป็นครั ้งแรก พร้อมทั ้งการประชุมนานาชาติอื ่นในช่วงทศวรรษสตรีสากล (International Women’s Decade) ด้วยการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ โดยหัวข้อหลักเพื่อยกระดับสิทธิสตรี ในอนุสัญญาสหประชาชาติปี 1979 ว่าด้วยการยกเลิกการกีดกันสตรีในทุกรูปแบบ ได้มีการลงสัตยาบันจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 180 ประเทศ ช่วยส่งเสริมสิทธิสตรีทั่วโลก

[ 16

Page 19: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

17 ]

Page 20: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 18

Page 21: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

18. จัดหาน้ำดื่มที่สะอาด (Providing Safe Drinking Water)

ระหว่างทศวรรษสหประชาชาติเรื่องน้ำครั้งที่หนึ่ง (1981-1990) ประชาชนกว่าหนึ่งพันล้านคนสามารถเข้าถึง แหล่งน้ำดื่มที่ปลอดภัยเป็นครั้งแรกในชีวิตของพวกเขา และประชาชนอีกหนึ่งพันหนึ่งร้อยล้านคนสามารถ เข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่สะอาดระหว่างปี 1990 ถึง 2002 ในปี 2003 ปีสากลแห่งน้ำสะอาด (International Year of Freshwater) ทําให้เกิดความตระหนักถึงความต้องการที่จะปกป้องทรัพยากรที่ทรงคุณค่านี้ ทศวรรษสหประชาชาติเรื่องน้ำครั้งที่สอง (2005-2015) ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะพยายามลดอัตราส่วนของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่ปลอดภัยให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง

19 ]

Page 22: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 20

19. การขจัดโรคโปลิโอให้ หมดไป (Wiping Out Polio) อันเป็นผลมาจากการริเริ ่มโครงการขจัดโรคโปลิโอทั่วโลก ซึ ่งนับเป็นความพยายามด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับจนถึงปัจจุบัน ได้มีการขจัดโรคโปลิโอออกไปจากโลกนี้ ยกเว้นในเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อียิปต์ อินเดีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย และปากีสถาน เท่านั้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากการนําโดยองค์การอนามัยโลก องค์การยูนิเซฟ โรตารีสากล และศูนย์ควบคุมและป้องกันเชื้อโรคของสหรัฐอเมริกา เด็กทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคนสามารถกลับมาเดินได้อีกครั้งหลังจากที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอ เชื้อโรคที่เคยทําให้เด็กพิการมากกว่า 125 ประเทศทั่วโลก ใกล้จะหมดไปจากโลกนี้อย่างถาวร

20. การดําเนินงานด้านโรคเอดส์ (Responding to HIV/AIDS) โครงการร่วมเอดส์แห่งสหประชาชาติ (The Joint United Nations Programme on HIV/AIDS หรือ UNAIDS) ท ําหน้าท ี ่ประสานงานในระดับนานาชาติ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์เกือบ 40 ล้านชีวิต โครงการนี ้ดําเนินงานอยู ่มากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และการให้บริการด้านการรักษา อีกทั้งยังลดความเสี่ยงของบุคคล และชุมชน และลดผลกระทบอันเนื ่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โครงการร่วมเอดส์แห่งสหประชาชาติได้นําหน่วยงานสหประชาชาติที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ 10 องค์กร มาเป็นองค์กรร่วมภาคี

21. การขจัดโรคไข้ทรพิษ (Eradicating Smallpox) ความพยายามมากว่า 13 ปีขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ส่งผลให้เกิดการสูญสิ้นอย่างถาวรของโรคไข้ทรพิษตั ้งแต่ปี 1980 ความสําเร ็จดังกล่าว ได้ช่วยประหยัดเงินมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี สําหรับเป็นค่าวัคซีนและการตรวจรักษาโรค ซึ ่งมีมูลค่าสูงกว่าค่าใช้จ่าย ในการขจัดโรคร้ายให้หมดไปถึง 3 เท่า

Page 23: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

21 ]

22. การต่อสู้กับเชื้อโรคที่เกิดจากพยาธิ (Fighting parasitic Diseases) โครงการขององค์การอนามัยโลกในกลุ่มประเทศอัฟริกาตะวันตก 11 ประเทศ ได้ร่วมกันกําจัดแหล่งที ่มาของเชื ้อโรคที ่ เก ิดจากพยาธิเก ือบทั้งหมด ซึ่งช่วยป้องกันเด็กจากเชื้อโรคพยาธิมากกว่า 11 ล้านคน และเปิดพื้นที่มากกว่า 25 ล้านเฮคเตอร์สําหรับที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ ไปยังไร่นา ด ้วยความพยายามของหน ่วยงานองค ์การสหประชาชาติในทวีปอัฟริกาเหนือ เมื่อปี 1991 นําไปสู่การกําจัดพยาธิที่น่ากลัวชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทางผิวหนัง รวมทั้งโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการที่ได้ช่วยชีวิตคนเป็นจํานวนมากจากพยาธิ Guinea และเชื้อโรคในเขตร้อนอื่นๆ

23. การหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคระบาด (Halting the Spread of Epidemics) องค์การอนามัยโลกได้ช่วยเหลือในการหยุดยั้งการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจอย่างรุนแรง (โรคซาร์ส) ก่อนที่โรคดังกล่าวจะคร่าชีวิตประชากรจํานวนมากลง เนื่องจากการเตือนภัยทั่วโลกขององค์การอนามัยโลกและการเดินทางฉุกเฉินเพื ่อคอยให้คําแนะนํา เริ ่มตั ้งแต่เดือนมีนาคม 2003 เกือบทุกประเทศทั่วโลกที่มีการระบาดของโรคติดต่อ สามารถที ่จะป้องกันทั ้งกรณีของการแพร่กระจายออกไป และป้องกันการเพิ ่มจํานวนของผู ้ติดเชื ้อให้มีจํานวนน้อยที ่สุด องค์การอนามัยโลกได้มีการค้นคว้า วิจัยการแพร่ระบาดของเชื้อโรคกว่า 200 ถึง 250 ชนิดในแต่ละปี โดยเฉลี่ยแล้ว เชื้อโรคจํานวน 5 ถึง 15 ชนิดจะมีการแพร่ระบาดเป็นประจําทุกปี ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือจากนานาชาติเป็นหลัก

24. การกดดันให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคทั่วโลก (Pressing for Universal Immunization) การสร้างภูมิคุ้มกันโรค ได้ช่วยชีวิตผู้คนมากกว่า 20 ล้านคนในช่วง 2 ทศวรรษที ่ผ ่านมา ด้วยผลลัพธ์ของความพยายามขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) อัตราการสร้างภูมิค ุ ้มกันโรคสําหรับโรคที ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน 6 ชนิด ได้แก่ โปลิโอ บาดทะยัก หัด ไอกรน คอตีบ และวัณโรค ได้เพิ่มสูงขึ้นจาก ต่ำกว่าร้อยละ 5 ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 มาอยู่ที่ราวร้อยละ 76 ในปัจจุบัน การเสียชีวิตอันเนื่องจากโรคหัดลดลงประมาณร้อยละ 50 ในช่วงปี 1999 ถึงปี 2005 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักนั้น ได้ช่วยชีวิตมารดาและเด็กแรกเกิดหลายล้านคน และช่วยกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจาก 104 ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก

Page 24: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 22

25. การลดการเสียชีวิตในวัยเด็ก (Reducing Child Mortality)

ตั้งแต่เริ่มต้นทศวรรษที่ 1960 ประชากรวัยเด็กประมาณ 1 ใน 5 ต้องเสียชีวิตก่อนที่พวกเขาจะอายุครบ 5 ปี อัตราการเสียชีวิตของเด็กในประเทศกําลังพัฒนาได้ลดลงจนกระทั่งเหลือน้อยกว่า 1 ต่อ 12 ในปี 2002 เนื่องจากได้รับมาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ในการรักษาโดยให้เกลือแร่ชดเชยทางปาก ในเรื่องของน้ำ และสุขอนามัย รวมทั้งโภชนาการ และสุขภาพด้านอื่น ๆ สําหรับเป้าหมายปัจจุบันคือ ลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เมื่อปี 1990 ลงเป็นอัตราส่วน 2 ใน 3 ภายในปี 2015

Page 25: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

23 ]

26. การวางรากฐานสําหรับการทําธุรกิจ (Laying the Groundwork for Business)

องค์การสหประชาชาติสนับสนุนการทําธุรกิจ ทั ้งนี ้ ได้จัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน สําหรับเศรษฐกิจทั่วโลก โดยการเจรจาต่อรองกับนานาประเทศ เกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคที่ยอมรับได้ ในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทั้งด้านสถิติ กฎหมายการค้า กระบวนการทางศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา การบิน การเดินเรือ และโทรคมนาคม เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และลดค่าใช้จ่ายในธุรกรรมต่างๆ องค์การสหประชาชาติได้วางกรอบรากฐานสําหรับการลงทุนในเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา โดยส่งเสริมให้มีความมั่นคงทางการเมืองและมีธรรมาภิบาลที่ดี การต่อสู้กับการคอร์รัปชั ่น และกระตุ ้นให้มีนโยบายด้านเศรษฐกิจที ่เอื ้อ อํานวย และออกกฎหมายที่สนับสนุนการทําธุรกิจ

27. การสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศกําลังพัฒนา (Supporting Industry in Developing Countries)

องค์การสหประชาชาติ ด้วยความพยายามขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industr ia l Development Organization หรือ UNIDO) ได้จัดให้มีการจับคู่ระหว่าง การร่วมมือกันทางด้านอุตสาหกรรมระหว่าง เหนือ-ใต้ และ ใต้-ใต้ เพื ่อส่งเสริมการเป็นเจ้าของกิจการ การลงทุน การถ่ายโอนด้านเทคโนโลยี การประหยัดต้นทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่าง ยั่งยืน หน่วยงานดังกล่าวได้ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและลดความยากจนอย่างเป็นระบบ

Page 26: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 24

Page 27: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

25 ]

28. การช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัย (Helping Disaster Victims) เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ซับซ้อนขึ้น องค์การสหประชาชาติจะช่วยประสานงาน และระดมกําลังความช่วยเหลือให้แก่ผู้ประสบภัย ด้วยการทํางานร่วมกันกับองค์การกาชาดสากล (Red Cross / Red Crescent) และหน่วยงานบรรเทาทุกข์ และผู้บริจาคสิ่งของช่วยเหลือต่างๆ หน่วยปฏิบัติการขององค์การสหประชาชาติจะคอยให้ความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่าที ่จําเป็น การร ้องขอความร่วมมือสําหร ับการช่วยเหลือฉุกเฉินขององค์การสหประชาชาตินั้นมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

29. การลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Reducing the Effects of Natural Disasters) องค์การอ ุต ุน ิยมว ิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO) ได้คอยช ่วยเหล ือให ้ประชาชนจ ํานวนมากปลอดภัยจากผลกระทบของภัยพิบัติ ที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทําของมนุษย์ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งได้ครอบคลุมถึงระบบ การตรวจสอบพื้นผิวจํานวนมาก เช่นเดียวกับจานดาวเทียม ซึ่งช่วยให้ระบบเตือนภัยดังกล่าวมีความสามารถในการทํานายภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี ่ยวข้องต่างๆ ได้อย่างแม่นยํามากยิ่งขึ้น มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของน้ำมัน สารเคมี และการรั ่วไหลของนิวเคลียร์ และสามารถ ทํานายความแห้งแล้ง ในระยะยาวได้ ระบบนี้ยังช่วยให้เกิดการกระจายความช่วยเหลือด้านอาหาร ไปยังพื้นที่ที ่ประสบความแห้งแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

30. การบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติสึนามิ (Providing Tsunami Relief) ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 องค์การสหประชาชาติได้ส่งคณะทํางานเข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงที่สุดเพื่อประเมินความเสียหาย และประสานงานให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด ภายใน 6 เดือนแรก องค์การสหประชาชาติ สามารถให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิต อันได้แก่แจกจ่ายอาหารให้แก่ผู ้ประสบภัยที่มีจํานวนมากกว่า 1.7 ล้านคน จัดหาที่พักพิงแก่ผู ้ประสบภัยที่กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นจํานวนมากกว่า 1.1 ล้านคน จัดหาน้ำดื ่มแก่ผู ้ประสบภัยที่มี จํานวนมากกว่า 1 ล้านคน รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้แก่เด็กจํานวนมากกว่า 1.2 ล้านคน การบรรเทาทุกข์เพื่อมนุษยธรรม ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาดที่จะเกิดตามมาหมายความว่าไม่ม ีช ีว ิตใดๆ อีกแล้วที่จะต้องสูญเสียหลังจากวันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่

Page 28: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 26

31. ปกป้องชั้นบรรยากาศ (Protecting the Ozone Layer)

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO) เป็นแรงสําคัญในการจุดประเด็นให้เห็นถึงความเสียหายซึ่งเกิดกับชั้นบรรยากาศโอโซนของโลก ทําให้เกิดสนธิสัญญาที ่รู ้จ ักกันในชื ่อ พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) รัฐบาลจากทั่วโลกเริ่มยกเลิกการผลิตสารเคมี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย และทดแทนด้วยสารอื่นที่ปลอดภัยกว่า ความพยายามนี้จะช่วยมนุษย์นับล้านๆ คน จากความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเป็นมะเร็งผิวหนังเนื่องจากการได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่เพิ่มมากขึ้น

32. มุ่งเน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Addressing Climate Change)

กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility หรือ GEF) ให้เงินทุนแก่โครงการเพื่อช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนา ให้ลดความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1991 เป็นแหล่งทุนเดียวที่ใหญ่ที่สุดเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก นอกจากนี้ยังสนับสนุนโครงการที่จะอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน รักษาความสะอาดน่านน้ำสากล ลดความเสื ่อมโทรมของดิน และการยกเลิกการผลิตสารมลพิษ ตั้งแต่ปี 1991 กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ได้ให้เงินช่วยเหลือจํานวน 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินช่วยเหลือขนาดย่อม 6,000 ทุน แก่หน่วยงานพัฒนาเอกชนและชุมชน และยังริเริ่มให้เกิดทุนสนับสนุนจากภาคีอื ่นๆ อีก 18 ล้านเหรียญสหรัฐ กองทุน สิ่งแวดล้อมโลก (GEF) เป็นความพยายามร่วมกันระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการสิ ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และธนาคารโลก (World Bank)

Page 29: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

27 ]

33. การขจัดกับระเบิด (Clearing Landmines)

องค์การสหประชาชาติเป็นองค์การที่เป็นผู้นําในการสร้างความพยายามระหว่างประเทศ เพื ่อขจัดกับระเบิด ในประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศ รวมทั ้ง อัฟกานิสถาน อังโกลา บอสเนียและเฮอร์เซโกวินา อิรัค โมซัมบิก และซูดาน กับระเบิดยังคงคร่าชีวิตประชาชนผู้บร ิส ุทธ ิ ์ ให ้ล ้มตายและพิการเป ็นจ ํานวนมากทุกปี องค์การสหประชาชาติยังทํางานเพื่อคุ้มครองประชาชนจากอันตรายต่างๆ ช่วยเหยื ่อผู ้ เคราะห์ร ้ายเพื ่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการทําลายล้างกับระเบิด

Page 30: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 28

34. จัดหาอาหารให้แก่ผู้อดอยากหิวโหย (Providing Food to the Neediest) โครงการอาหารโลก องค์การสหประชาชาติ (World Food Programme หรือ WFP) เป็นหน่วยงานบรรเทาทุกข์ที่มีขอบข่ายการให้ความช่วยเหลือครอบคลุมกว้างขวางที่สุดในโลก โดยเฉลี่ยในแต่ละปี ได้ทําหน้าที่จัดหาอาหารให้แก่ ผู้คนที่อดอยากหิวโหยกว่า 90 ล้านคน ใน 80 ประเทศ รวมถึงผู ้ได้รับผลกระทบจากภาวะฉุกเฉิน ทั ้งจากภัยธรรมชาติและสงคราม ผู ้อพยพลี ้ภ ัยและผู ้พลัดถิ ่น โครงการอาหารโลกจัดสรร อาหารโดยคํานึงถึงหลักภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ซึ่งเป็นกลุ ่มหลักที ่ต้องเผชิญกับความหิวโหยและการขาดสารอาหาร โครงการอาหารโรงเรียนของ WFP (School Feeding Programme) เป็นโครงการที่จัดหาอาหารกลางวันหรือ ปันส่วนอาหารให้เด็กๆ นํากลับไปรับประทานที ่บ้าน สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจน เป็นจํานวนมากกว่า 17 ล้านคน -- ด้วยค่าใช้จ่ายต่อคนเพียง 8 บาทต่อมื้อ โครงการอาหารโลก มีเครือข่ายขนส่งลําเลียงที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยเทคโยโลยีล้ำหน้า และใช้วิธีการขนส่งทุกแบบ อาทิ ทางรถยนต์ รถไฟ ทางเรือ ทางเครื่องบิน หรือแม้แต่พาหนะพื้นเมือง เช่น ลา หรือจามรี รวมทั้งยังใช้เครือข่ายดาวเทียมติดตามตรวจสอบการจัดส่งอาหาร ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา WFP ได้จัดหาอาหารคิดเป็นปริมาณกว่า 78.3 ล้านตัน เพื ่อช่วยเหลือประชากรโลกผู ้เดือดร้อนและหิวโหยประมาณ 1,400 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน โดยใช้งบประมาณรวมแล้วเป็นจํานวนทั้งสิ้น 33,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

Page 31: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

29 ]

35. การต่อสู้กับความหิวโหย (Fighting Hunger)

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization หรือ FAO) ได้เป็นผู้นําในความพยายามระยะยาวทั ่วโลกเพื ่อต่อสู ้กับความหิวโหย ใน ประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกําลังพัฒนา องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ดําเนินการในฐานะเป็นสมัชชากลาง ซึ่งทุกประเทศจะพบปะกันอย่างเสมอภาค เพื ่อเจรจาตกลงความร่วมมือกันและพิจารณานโยบาย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติยังช่วยให้ประเทศกําล ังพัฒนา ได้ม ีการปร ับปร ุงพัฒนาระบบการเกษตร การป่าไม้และการประมง ให้ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีโภชนาการที่ดีสําหรับทุกประเทศ

Page 32: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 30

36. การป้องกันการจับปลาเกินขอบเขต (Preventing Overfishing)

ร้อยละ 16 ของปริมาณปลาสํารองทั่วโลกนั้น ถูกจับมามากเกินปริมาณ ร้อยละ 8 ของจำนวนปลาทั้งหมดได้มีการร่อยหรอไปอย่างเห็นได้ชัด หรือกําลังได้รับการฟื้นฟูให้เพิ่มปริมาณ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ทําการตรวจสอบ การผลิตสินค้าเกี่ยวกับสัตว์น้ำทางทะเลและได้ออกคําเตือนเพื่อป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดจากการจับปลาในทะเลมากจนเกินไป เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกได้ทํางานร่วมกัน เพื ่อจัดทําแนวทางปฏิบัติสำหรับการประมงแบบรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries) ขึ้นมาในปี 1995

37. ห้ามผลิตสารเคมี (Banning Toxic Chemicals)

อน ุส ัญญาสต ๊อกโฮล ์มว ่าด ้วยสารมลพิษท ี ่ตกค ้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants) แสวงหาหนทางที่จะกําจัดสารเคมีร้ายแรงที่สุดในโลกที่ถูกสร้างขึ ้น อนุ-สัญญาสหประชาชาติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2001 ระบุถึงสารเคมีป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ และสารเคมีอุตสาหกรรม 12 ชนิด ซึ่งสามารถฆ่าคน หรือทําลายระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน อันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหรือ ความผิดปกติทางระบบสืบพันธ์ุ รวมถึงมีผลต่อการพัฒนาของเด็ก ขณะเดียวกัน อนุสัญญาสหประชาชาติ และแผนปฏิบัติการฉบับอื่นๆ ยังช่วยปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ แก้ไขการผันแปรของอุณหภูมิของโลกและสภาพภูมิอากาศ ปกป้องสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ุ ต่อสู้กับภัยแล้ง ทําความสะอาดทะเลทั่วภูมิภาค และการควบคุมการเคลื่อนย้ายปฏิกูลเคมีข้ามแดน

Page 33: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

31 ]

38. การคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค (Protecting Consumers’ Health)

เพื่อให้มั ่นใจได้ว่าอาหารในท้องตลาดมีความปลอดภัย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้ทํางานร่วมกันกับประเทศสมาชิก เพื่อกําหนดมาตรฐานสําหรับสินค้าในกลุ่มอาหารมากกว่า 200 ชนิด ขีดจํากัดด้านความปลอดภัยสําหรับภาชนะบรรจุอาหารมากกว่า 3,000 ชนิด และกฎระเบียบเกี ่ยวกับกระบวนการเอฟหกสิบเอ การขนส่ง และการเก็บรักษา มาตรฐานการระบุชื่อและรายละเอียดของอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้บริโภคจะไม่เกิดการเข้าใจผิด

39. การต่อสู้กับการก่อการร้าย (Combating Terrorism)

สหประชาชาติได้กําหนดมาตรการทางกฎหมายเพื ่อต่อสู ้กับการก่อการร้ายสากล มาตรการทางกฎหมายระดับโลก 13 ข้อ อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงสนธิสัญญาต่อต้านการลักพาตัวประกัน การปล้นช ิงเคร ื ่องบ ิน ระเบ ิดก ่อการร ้าย การสนับสนุนเงินเพื่อการก่อการร้าย และการก่อการร้ายด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งกําหนดเมื่อเร็วๆ นี้ มีประเทศต่างๆ 63 ประเทศได้ให้สัตยาบันลงนามเมื ่อเดือนมิถุนายน 2005 มีการร่างอนุสัญญา ต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ซึ่งละเอียดรัดกุม คณะกรรมาธิการการตอบโต้การก่อการร้ายแห่งสหประชาชาติ (UN Counter-Terrorism Committees) มีหน้าที่กํากับดูแลว่าประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามข้อผูกมัดที ่ได้ม ีข ึ ้นภายหลังเหตุการณ์โจมตีโดยผู ้ก ่อการร้าย 11 กันยายน (9/11) และประสานความร่วมมือในการตอบโต้การก่อ การร้าย สำนักงานควบคุมยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Office on Drugs and Crime) และหน่วยงาน สหประชาชาติอื่นๆ ได้ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการต่อสู้การก่อการร้าย

Page 34: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 32

Page 35: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

33 ]

40. การส่งเสริมการวางแผนครอบครัวและสุขภาพอนามัยของมารดา (Promoting Reproductive and Maternal Health)

กองทุนประชากรแห่งสหประชาติ (United Nations Population Fund หรือ UNFPA) โดยการส่งเสริมสิทธิในการตัดสินใจของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับจํานวนบุตรและเวลาในการมีบุตร ผ่านทางโครงการวางแผนครอบครัวแบบสมัครใจ ได้ช่วยให้ประชาชนทราบข้อมูลทางเลือกและได้ให้สมาชิกในครอบครัวต่างๆ โดยเฉพาะสมาชิกที ่เป็นผู ้หญิงสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้มากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ทําให้สตรีในประเทศกําลังพัฒนามีบุตรน้อยลง จาก 6 คนในช่วงปี 1961-1970 เหลือเพียง 3 คนในปัจจุบัน เป็นการลดอัตราการเติบโตของประชากรโลกลง เมื่อกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติเริ่มต้นการทํางานในปี 1969 จํานวนคู่สมรสไม่ถึงร้อยละ 20 มีการวางแผนครอบครัว อัตราดังกล่าวนั้นได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 61 ในปัจจุบัน กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และพันธมิตรหลายแห่ง ยังได้ช่วยกันส่งเสริมเรื่องการคลอดบุตรโดยผู้เชี่ยวชาญ การให้มารดาทุกคนที่จะคลอดฉุกเฉินและคลอดยากได้รับการดูแล อีกทั้งยังได้ขยายโครงการวางแผนครอบครัวเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการคลอดบุตร

41. การยื่นมือเข้าช่วยเหลือเกี่ยวกับการตัดสินคดีความในข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ (Handing Down Judicial Settlements in Major International Disputes)

โดยการให้การตัดสินและความเห็นเชิงแนะนํา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) ได้ช่วยแก้ไขความ ขัดแย้งกันระหว่างประเทศ อันเกี ่ยวข้องกับประเด็นด้านขอบเขต ดินแดน ความสัมพันธ์ทางการทูต การจับตัวประกัน สิทธิของผู้ลี้ภัย และสิทธิด้านเศรษฐกิจ และเรื่องอื่นๆ อีกหลายประเด็น

Page 36: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 34

42. ปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้าโลก (Improving Global Trade Relations)

ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ได้ช่วยให้ประเทศกําลังพัฒนาสามารถเจรจาข้อตกลงที ่ทําให้ได้ร ับสิทธิประโยชน์ในการส่งออก นอกจากนี้ยังทําให้ประเทศที่กําลังพัฒนาได้รับความเป็นธรรม ในด้านราคาสินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างด้านการค้า และยังช่วยสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางการผลิตในประเทศกําลังพัฒนา ให้สามารถบูรณาการเข้าสู่การค้าระดับโลกได้

43. สนับสนุนการปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ (Promoting Economic Reform)

ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ได้ช่วยให้หลายประเทศปรับปรุงพัฒนาการจัดการด้านเศรษฐกิจของประเทศตนเอง โดยได้จัดหาความช่วยเหลือ ด้านการเงินชั่วคราวแก่ประเทศต่างๆ เพื่อช่วยลดปัญหาในเรื่องการเงินของประเทศนั้นๆ ตลอดจนให้การช่วยเหลือในเรื่องการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ด้านการเงินของรัฐ

Page 37: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

35 ]

44. ส่งเสริมความยั่งยืนและการจัดการมหาสมุทรที่ดี (Promoting Stability and Order in the World’s Ocean)

องค์การสหประชาชาติได้เป็นผู้นําในความพยายามที่จะควบคุมการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรภายใต้อนุสัญญาฉบับเดียว อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ปี 1982 (UN Convention on the Law of Sea) เป็นที ่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ถือได้ว่า เป็นกรอบข้อผูกมัดทางกฎหมายฉบับแรกที่ครอบคลุมกิจกรรม ทั้งที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวและภายใต้มหาสมุทรทั้งหมด อนุสัญญาดังกล่าวได้วางกฎสําหรับเขตต่างๆ ในมหาสมุทร การกําหนดเขตอํานาจอธิปไตยทางทะเลของประเทศ การเดินเรือในทะเลสากล สิทธิและหน้าที่ของประเทศที่ติดทะเลและประเทศอื ่นๆ พันธกรณีในการคุ ้มครองและอนุร ักษ์ สิ่งแวดล้อมทางทะเล ความร่วมมือในการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีชีวิตทางทะเลอย่าง ยั่งยืน

45. พัฒนาการเดินทางทางอากาศและทางทะเล (Improving Air and Sea Travel)

หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัยสําหรับการเดินทาง ทางทะเลและทางอากาศ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization หรือ ICAO) มีส่วนช่วยให้การเดินทางทางอากาศเป็นวิธีเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดวิธีหนึ่ง เมื่อปี 1947 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางอากาศ 590 คน จากจํานวนผู้โดยสาร 9 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2004 ที่มีผู้เสียชีวิต 420 คนจากจํานวนผู้โดยสารทางอากาศ 3,300 ล้านคน ในขณะเดียวกันองค์การการเดินเร ือระหว่างประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO) มีส่วนช่วยให้การเดินทางทางทะเลมีความปลอดภัยมากขึ้น ข้อมูลทางสถิติแสดงให้เห็นว่าการขนส่งทางทะเลมีความปลอดภัยมากขึ้นและมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมลดลง การสูญหายของเรือเดินทะเลและอุบัติภัยทางทะเลลดน้อยลงเช่นเดียวกับมลภาวะที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการขนส่ง ปัญหามลภาวะทางอากาศหรือน้ำเสียที่ระบายทิ้งลงทะเลกําลังได้รับการแก้ไข ในขณะที่การขนส่งทางทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Page 38: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 36

46. การแก้ไขปัญหายาเสพติด (Tackling Illicit Drugs)

ส ําน ักงานควบค ุมยาเสพต ิดและป ้องก ันอาชญากรรมแห ่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime หรือ UNODC) ได้ทํางานเพื ่อลดจํานวนการผลิต (supply) และความต้องการ (demand) ยาเสพติดตามข้อก ําหนดของอนุส ัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมยาเสพติด 3 อนุสัญญา และให้ความสําคัญ ต่อผลกระทบด้านสังคมและสุขภาพที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด รวมถึงการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์จากการใช้ยาเสพติด ส ําน ักงานควบค ุมยาเสพต ิดและป ้องก ันอาชญากรรมแห ่งสหประชาชาติยังให้การช่วยเหลือแก่หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย และสนับสนุนโครงการรักษาผู้ติดยาและการป้องกันการใช้ยาเสพติด โดยมีชุมชนเป็นฐาน รวมทั้งโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากไร้ในการลดการพึ่งพาพืชเสพติด โดยให้การช่วยเหลือเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนและไม่ผิดกฎหมาย

47. การต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ (Combating International Crime)

ส ําน ักงานควบค ุมยาเสพต ิดและป ้องก ันอาชญากรรมแห ่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime หรือ UNODC) ร่วมงานกับนานาประเทศและองค์การต่างๆ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านเทคนิคเพื่อต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น การฟอกเงิน การลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้ามนุษย์ และการลักลอบเคลื่อนย้ายผู้อพยพย้ายถิ่น รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของกระบวนการยุต ิธรรมทางอาญา ส ําน ักงานควบคุมยาเสพติดและป้องก ันอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติเป็นตัวจักรสําคัญในการช่วยเหลือการพัฒนาและการนําสนธิสัญญาต่างๆ มาสู่การปฏิบัติ

Page 39: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

37 ]

48. ส่งเสริมงานที่มีคุณค่า (Promoting Decent Work)

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) ส่งเสริมให้มีการนำมาตรฐาน รวมถึงหลักและสิทธิพื ้นฐาน มาใช้ในชีวิตการทำงาน ทั้งนี้รวมถึงเสรีภาพในการคบหาสมาคม และสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วมกัน การขจัดแรงงานบังคับในทุก รูปแบบ การขจัดการใช้แรงงานเด็ก และการขจัดการเลือกปฏิบัติในที่ทํางาน กิจกรรมหลักของ ILO คือการ ส่งเสริมการจ้างงาน ความคุ้มครองทางสังคมแก่ทุกคน และการเจรจาทางสังคมที ่ เข ้มแข็งระหว่างองค์กรนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล

Page 40: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 38

49. การปรับปรุงการรู้หนังสือและการศึกษาในประเทศกําลังพัฒนา (Improving Literacy and Education in Developing Countries)

ร้อยละ 76 ของประชากรผู้ใหญ่ในประเทศกําลังพัฒนาปัจจุบันสามารถอ่านหนังสือและเขียนหนังสือได้ และร้อยละ 84 ของประชากรวัยเด็กได้รับการศึกษาในชั้นประถม โดยเป้าหมายในปัจจุบันได้ตั้งไว้ว่า ประชากรในวัยเด็กทุกคน จะต้องได้รับการศึกษาในชั้นประถมภายในปี 2015 โครงการต่างๆ ที่ตั้งเป้าหมายไปที่การส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาการของสตรีนั้น เพื่อช่วยเหลือให้มีการยกระดับ อัตราการรู้หนังสือของสตรีในประเทศ กําลังพัฒนาจากร้อยละ 36 ในปี 1970 ให้เป็นร้อยละ 70 ในปี 2000 และเป้าหมายในปัจจุบัน กําหนดให้เด็กผู้หญิงทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาภายในปี 2015

Page 41: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

39 ]

50. การสร้างพันธะกรณีทั่วโลกเพื่อเด็ก (Generating Worldwide Commitment in Support of Children)

จากประเทศเอลซัลวาดอร์จนถึงเลบานอนและจากประเทศซูดาน จนถึงอดีตประเทศยูโกสลาเวีย องค์การยูนิเซฟ ได้ริเริ่มให้มีการ จัดตั้งวันแห่งความสงบ (Days of Tranquillity) ขึ้นและเปิดให้มีระเบียงแห่งสันติภาพ (Corridors of Peace) เพื่อฉีดวัคซีนและมอบความช่วยเหลืออื่นที่จําเป็นสําหรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการขัดแย้งทางทหาร อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Chi ld – CRC) ได ้กลายเป็นกฎหมายใน 192 ประเทศ ภายหลังการประชุมสมัยพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับเด็กในปี 2002 รัฐบาลของ 190 ประเทศสมาชิก ต่างให้สัตยาบันในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในด้านต่างๆ เพื่อเด็ก ซึ่งรวมถึงสุขภาพอนามัย การศึกษา การคุ้มครองเด็กจากการถูกล่วงละเมิด การแสวงหาผลประโยชน์ การใช้ความรุนแรง และการต่อสู ้กับ โรคเอดส์

Page 42: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 40

51. การอนุรักษ์ และบูรณะสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม รวมทั้งสถานที่สําคัญทางธรรมชาติ (Preserving historic, cultural, artchitectural and natural sites)

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO) ได้ช่วยเหลือ 137 ประเทศสมาชิกในการคุ้มครองอนุสาวรีย์โบราณและสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสถานที่สําคัญทางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมนานาชาติเพื ่ออนุรักษ์ไว้ซึ ่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและ สถานที่สําคัญทางธรรมชาติต่างๆ

52. การอํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนทางความรู้และวัฒนธรรม (Facilitating Academic and Cultural Exchanges)

องค์การสหประชาชาติ โดยองค์การยูเนสโกและมหาวิทยาลัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations University) ได้ส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ การเชื ่อมโครงการเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่างๆ และการส่งเสริมให้มีการแสดงออกทางวัฒนธรรม รวมทั้งวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยและชนพื้นเมือง

Page 43: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

41 ]

53. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Protecting Intellectual Property)

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) ได้คุ้มครองซึ่งสิทธิของผู้สร้างสรรค์และเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าผู้คิดค้น และผู้แต่งจะได้รับการยอมรับ และต้องได้รับสิ่งตอบแทนสําหรับการประดิษฐ์คิดค้นของพวกเขา การคุ้มครองสิทธิทางปัญญานั้นจะเป็นเสมือนสิ ่งกระตุ ้นให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ และให้ก้าว ล้ำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่โลกแห่งการเรียนรู้และศิลปะ โดยการจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงต่อการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และเปรียบเสมือนสิ่งหล่อลื่นของการค้าระหว่างประเทศ

54. การส่งเสริมเสรีภาพของสื่อมวลชนและอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น (Promoting Press Freedom of Expression)

เพื่อให้ประชาชนทั้งหมดสามารถรับรู้ข่าวสาร ที่ปราศจากการตรวจสอบ แก้ไขตัดทอน การบิดเบือน ปิดบัง และอคติทางวัฒนธรรม องค์การยูเนสโกได้ช่วยเหลือในการพัฒนาส่งเสริมสื ่อมวลชน และสนับสนุนให้หนังสือพิมพ์และสถานีวิทยุกระจายเสียงมีความเป็นอิสระ องค์การยูเนสโกยังมีหน้าที ่เสมือนผู ้ปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยจะประณามต่อสาธารณะในเรื่องการละเมิดอย่างรุนแรง เช่น การลอบสังหาร และการกักขังผู้สื่อข่าว เป็นต้น

Page 44: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 42

Page 45: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

43 ]

55. การเปลี่ยนแหล่งเสื่อมโทรมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ (Turning Slums into Decent Human Settlements)

มหานครต่างๆ ในปัจจุบัน เป็นที ่อาศัยของครึ ่งหนึ ่งของจำนวนมนุษยชาติ เมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เป็นศูนย์กลางสําหรับการผลิตและการบริโภคของประเทศส่วนใหญ่ เศรษฐกิจและกระบวนการทางสังคม ที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งและโอกาส แต่เมืองเหล่านี้ก็เป็นแหล่งของเชื้อโรค อาชญากรรม มลภาวะและความยากจน ในมหานครหลายแห่ง โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนา จํานวนผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดมีมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากร และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น หรืออาจไม่มีเลย ที่คนเหล่านี้จะมี เครื่องนุ่งห่ม น้ำ และ สุขอนามัยที ่ เพ ียงพอ องค์การเพื ่อการตั ้งถ ิ ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Programme for Human Rights หรือ UN-HABITAT) พร้อมด้วยโครงการทางเทคนิคมากกว่า 150 โครงการ และโครงการต่างๆ ใน 61 ประเทศทั่วโลก ได้ทํางานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การพัฒนาเอกชนเพื่อให้ได้มาซึ่งการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่สําหรับเมืองและมหานครต่างๆโครงการเหล่านี้ยังรวมถึงการสร้างความปลอดภัยในการครอบครองทรัพย์สินสําหรับคนยากจนในชนบท ซึ่งผลที่ได้รับจะเป็นเหมือนสิ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย และบริการพื้นฐานต่างๆ

56. ปรับปรุงบริการไปรษณีย์ทั่วโลก (Improving Global Postal Services)

สหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union หรือ UPU) เป็นองค์กรหลักที่ส่งเสริมความร่วมมือในการให้บริการไปรษณีย์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นใจในเครือข่ายที่เป็นสากลเพื่อนําเสนอผลิตภัณท์และบริการที่ทันสมัยอย่างแท้จริง โดยการออกกฎระเบียบและวิธีปฎิบัติเกี ่ยวกับการแลกเปลี ่ยนไปรษณีย์ภัณท์ระหว่างประเทศ และให้คําแนะนําในการบริหารงาน อันจะนําไปสู่การพัฒนาและกระตุ้นการเจริญเติบโตของปริมาณงานและการปรับปรุงคุณภาพบริการไปรษณีย์เพื ่อประโยชน์ของผู ้ใช้บริการ การให้บริการไปรษณีย์ของสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์รวม 190 ประเทศ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนไปรษณีย์ภัณท์ระหว่างกัน ประมาณปีละ 430,000 ล้านฉบับ นับเป็นเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Page 46: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 44

Page 47: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

45 ]

57. การแนะนําเทคนิคในการปรับปรุงการเกษตรและการลดค่าใช้จ่าย (Introducing Improved Agricultural Techniques and Reducing Costs)

ด้วยการช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization หรือ FAO) ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร นโยบายในการปฏิรูปและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชาวนาในประเทศแถบเอเชียสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปกับยาฆ่าแมลงได้มากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งทําให้รัฐบาลของประเทศดังกล่าวได้ผลประโยชน์มากกว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากการลดการสนับสนุนด้านยาฆ่าแมลงลง ผลประโยชน์ที่ได้ทางสิ่งแวดล้อมและทางสุขอนามัยของการลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลงเหล่านี้ยังสามารถคิดออกมาเป็นมูลค่าได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

58. การส่งเสริมสิทธิของคนพิการ (Promoting the Rights of Persons with Disabilities)

องค์การสหประชาชาติถือได้ว่าเป็นหน่วยงานแนวหน้า ในการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคแก่คนพิการ ส่งเสริมให้บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในสังคม เศรษฐกิจและทางการเมือง องค์การสหประชาชาติ ได้แสดงให้เห็นว่า คนพิการนั้นถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างหนึ่งของสังคม และปัจจุบัน กําลังร่างอนุสัญญาขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อผลักดันเรื่องสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการทั่วโลก

Page 48: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 46

59. การพัฒนาระบบโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) เป็นองค์กรที่นํารัฐบาลและอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศสมาชิกมาร่วมกันพัฒนาและประสานการปฏิบัติการด้านเครือข่ายและบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยสหภาพฯ ได้ประสานงานการแบ่งปันการใช้งานร่วมกันของคลื่นความถี่วิทยุ ส่งเสริมการร่วมมือกันในระดับนานาชาติในการจัดสรรช่องสัญญาณดาวเทียม ทํางานเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรคมนาคมในประเทศกําลังพัฒนา และเจรจาตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบที่ไร้อุปสรรคของการสื่อสารเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศที่มีขอบเขตอันมหาศาล เริ่มตั้งแต่ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broadband internet) จนถึงเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุด จากระบบการนําร่องการบินและการเดินเรือ ไปจนถึงระบบวิทยุดาราศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาผ่านระบบดาวเทียม จากระบบบริการโทรศัพท์และโทรสาร ไปจนถึงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ความเร็วสูงและเครือข่ายรุ่นถัดไป สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศจะคอยให้ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารของโลกต่อไป ทั้งนี้ การทํางานของสหภาพฯ จะช่วยให้การโทรคมนาคมเติบโตจนเป็นอุตสาหกรรมระดับโลกในระดับ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

Page 49: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

47 ]

Page 50: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

[ 48

60. การปรับปรุงสภาพชีวิตของชน พื้นเมือง (Improving the Plight of Indigenous People)

องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสําคัญกับความไม่เท่าเทียมกัน ของประชากรชาวพื้นเมืองกว่า 370 ล้านคน ซึ่งอยู่อาศัยใน 70 ประเทศทั่วโลกและผู้ที่อยู่ระหว่างกลุ่มของประชากรที ่ เส ียเปรียบและไม่ม ั ่นคงที ่ส ุดในโลก สภาถาวรเพื่อแก้ปัญหาชนพื้นเมืองซึ่งมีสมาชิกจาก 16 ประเทศ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2000 ได้ทํางานเพื่อปรับปรุงสถานภาพของประชากรชาวพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วโลก ทั้งในด้านการพัฒนา วัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน สภาพแวดล้อม การศึกษา และสุขอนามัย

Page 51: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยที่ช่วยสนับสนุนในการแปล และตรวจทาน หนังสือเล่มนี้

NOBEL PEACE PRIZES TO THE UNITED NATIONS 2005 I THE INTERNATIONAL ATOMIC ENERGY AGENCY AND ITS DIRECTOR GENERAL, MOHAMED ELBARADEI 2001 I THE UNITED NATIONS AND ITS SECRETARY-GENERAL, KOFI ANNAN 1988 I THE UNITED NATIONS PEACEKEEPING FORCES 1981 I THE OFFICE OF THE UNITED NATIONS HIGH COMMISSIONER FOR REFUGEES 1969 I INTERNATIONAL LABOUR ORGANIZATION 1965 I THE UNITED NATIONS CHILDREN’S FUND 1961 I DAG HAMMARSKJOLD, UN SECRETARY-GENERAL 1954 I THE OFFICE OF THE UNITED NATIONS HIGH COMMISSIONER FOR REFUGEES 1950 I RALRH BUNCHE, DIRECTOR OF THE UN DIVISION OF TRUSTEESHIP PHOTO CREDITS Page 2: Jorgen Schytte/Still Pictures; Page 5: UN Photo/Martine Perret; Page 6: UN Photo/Martine Perret; Page 8: Ron Giling/Peter Arnold, Inc.; Page 11: UN Photo; Page 13: UN Photo/R. Chalasani; Page 14: UN Photo/Stephanie Hollyman; Page 17: UN Photo/Ky Chung; Page 18: UNEP/Hlaing Thntint; Page 20: Ron Giling/Still Pictures; Page 21: Shehzad Noorani/Still Pictures; Page 22: UNICEF/Roger LeMoyne; Page 24: UN Photo; Page 27: UN Photo/Jorge Aramburu; Page 29: WFP/Mikael Bjerrum; Page 32: Sean Sprague/Still Pictures; Page 34: Macduff Everton/The Image Bank; Page 35: Dougal Waters/Photodisc; Page 37: Magnum/Steve McCurry; Page 39: UN Photo; Page 40: Peter Schickert/Still Pictures, Frans Lemmens/Still Pictures; Page 41: Ron Giling/Still Pictures, Chlaus Lotscher/Still Pictures, Otto Stadler/Das Fotoarchiv; Page 43: Mark Henley/Panos; Page 44: Jorgen Schytte/Peter Arnold, Inc. Page 47: Tamas Dezso/UNEP; Page 48: Luis Delgado Hurtado Additional five photos on back cover (from left to right): Paul Ubl, Eric Roeder, UN Photo, UN Photo, Paul Ubl

THE UNITED NATIONS SYSTEM Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) www.fao.org International Atomic Energy Agency (IAEA) www.iaea.org International Civil Aviation Organization (ICAO) www.icao.int International Fund for Agricultural Development (IFAD) www.ifad.org International Labour Organization (ILO) www.ilo.org International Maritime Organization (IMO) www.imo.org International Monetary Fund (IMF) www.imf.org International Telecommunication Union (ITU) www.itu.int Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS) www.unaids.org Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR) www.ohchr.org Office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) www.unhcr.org Organization for the Prohibition of Chemical Weapons (OPCW) www.opcw.org PrepCom for the Nuclear-Test-Ban-Treaty Organization www.ctbto.org United Nations Capital Development Fund (UNCDF) www.uncdf.org United Nations Children’s Fund (UNICEF) www.unicef.org United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) www.unctad.org United Nations Development Fund for Women (UNIFEM) www.unifem.org United Nations Development Programme (UNDP) www.undp.org United Nations Environment Programme (UNEP) www.unep.org United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) www.unesco.org United Nations Human Settlements Programme (UN-HABITAT) www.unhabitat.org United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) www.unido.org United Nations International Research and Training Institute for the Advancement of Women (INSTRAW) www.un-instraw.org United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) www.unodc.org United Nations Population Fund (UNFPA) www.unfpa.org United Nations Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East (UNRWA) www.un.org/unrwa United Nations University (UNU) www.unu.edu United Nations Volunteers (UNV) www.unv.org Universal Postal Union (UPU) www.upu.int World Bank Group www.worldbank.org World Food Programme (WFP) www.wfp.org World Health Organization (WHO) www.who.org World Intellectual Property Organization (WIPO) www.wipo.int World Meteorological Organization (WMO) www.wmo.ch World Tourism Organization (WTO) www.world-tourism.org World Trade Organization (WTO) www.wto.org

..

Page 52: 60 ความสำเร็จของ องค์การ ...unic.un.org/aroundworld/unics/common/documents/... · 2017-03-17 · ศูนย์กลางของกระบวนการที่สําคัญที่สุดต่างๆ

องค์การสหประชาชาติได้ทํางานทางด้านสันติภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมาตลอด 60 ปี สํานักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific หรือ UNESCAP) ในกรุงเทพฯ เป็นสํานักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปี 1947 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกได้ขอให้สหประชาชาติ ช่วยเหลือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางด้านมนุษยธรรม การสร้างสันติภาพและการจัดการเลือกตั้ง รวมทั้งการต่อต้านยาเสพติดและอาชญากรรมระหว่างประเทศ เช่น การลักลอบค้าขายผิดกฎหมาย รวมไปถึงการป้องกันโรคระบาด เช่น โปลิโอ ไข้หวัดนก และเอชไอวี/เอดส์ นายคิม ฮัก-ซู เลขาธิการบริหารของ UNESCAP กล่าวว่า “ความท้าทายของเราคือการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยการแผ่ขยายความร่ำรวยและความสําเร็จทางด้านเศรษฐกิจไปสู่คนยากจนกว่า 680 ล้านคนในภูมิภาคนี้” UNESCAP: ขจัดความยากจนและช่วยให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ www.unescap.org

ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก For more information on the Millennium Development Goals: www.un.org/millenniumgoals www.millenniumcampaign.org millenniumindicators.un.org For more information on how the UN works for all: www.un.org/works

จัดทําและแปลโดยสํานักงานสารนิเทศสหประชาชาติ กรุงเทพฯ จากหนังสือ 60 ways the United Nations makes a difference (DPI/2405) – พิมพ์โดยกรมสารนิเทศสหประชาชาติ นิวยอร์ก UNISBKK/2006/04/DPI2405/T (4,000)