117
General Maintenance Management คคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคคคคค คคคคคคคคคคค : คคคคคคคคคคคค คคคคคค : 1 ค.ค. 2560 สสสสสส สสสส สสสสสสสสสสสส คคคคคคคคค 1 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 3 คคคคคคคคคคคคคค 4 คคคคคคคคคคคคค 5 คคคคค/คคคคคคคคคคคคค 6 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 8 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 11 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 12 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 20 สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส 21 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค (Aircraft Maintenance Record ) 21 คคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค (Aircraft Maintenance Program) 24 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค 25 คคคคคคคคคคคคค Airworthiness Directive 26 คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค DEPARTMENT OF ROYAL RAINMAKING AND AGRICULTURAL AVIATION

คู่มือ - Royal Thai Policesar.tpad.police.go.th/.../dynamic/dynamic-17484399.docx · Web viewค ม อการซ อมบำร งท วไป (General Maintenance

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

คู่มือ

การปรับปรุง : ฉบับเริ่มต้น

วันที่ : 1 ต.ค. 2560

General Maintenance Management

คู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป

สารบัญ

หน้า

รายการทั่วไป

คำชี้แจง 1

ความทันสมัยของหน้าเอกสาร 3

รายการปรับปรุง4

รายการแจกจ่าย5

นิยาม/คำศัพท์เฉพาะ 6

การจัดโครงสร้างองค์กร8

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 11

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 12

นโยบายด้านการฝึกอบรม 20

การคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน 21

การบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Record ) 21

การจัดทำ แผนการบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance Program)24

การคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศ 25

การควบคุมดูแล Airworthiness Directive 26

แนวทางการปฏิบัติในการดัดแปลงอากาศยานในกรณีที่ไม่ได้บังคับให้ต้องดัดแปลง 27

มาตรฐานการบำรุงรักษาและการดัดแปลงอากาศยานในสาระสำคัญ 28

การปฏิบัติกับรายงานการชำรุดของระบบและอุปกรณ์อากาศยาน 29

งานเชิงวิศวกรรม30

ระบบความเชื่อมั่นในการบำรุงรักษา ( Reliability Program ) 38

การตรวจก่อนบิน 40

การชั่งดุลอากาศยาน 41

การบินทดสอบ 42

การบินนำส่งอากาศยาน 42

ระบบคุณภาพ 44

นโยบายประกันคุณภาพ 44

การตรวจอากาศยาน45

การตรวจรับ วัสดุ และพัสดุอะไหล่ที่จะต้องนำมาใช้ในการซ่อมบำรุงอากาศยาน 46

การดูแลข้อมูลและเอกสารเทคนิค 47

การปรับเทียบมาตรฐานเครื่องวัด/เครื่องทดสอบ 48

การปฏิบัติเกี่ยวกับ ควา

คำชี้แจง

การจัดระบบบริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance Managements) เป็นไปเพื่อการรักษาสภาพความสมควรเดินอากาศของอากาศยานให้สามารถทำภารกิจใดสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และมีความคุ้มค่า FAA (Federal Aviation Authority) ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการบินในทวีปอเมริกา ได้เสนอแนะแนวทางให้ผู้ครอบครองอากาศยานสามารถรักษาสภาพความสมควรเดินอากาศของอากาศยานได้ 4 ประการ คือ

1)ต้องมีการกระทำให้อุปกรณ์ต่างๆเกิดความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือได้ในระดับต่างๆอย่างถูกต้องและชัดเจน

2)ต้องมีการฟื้นฟูอุปกรณ์ที่เกิดการเสื่อมสภาพ ให้เกิดความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือได้ในระดับเดิม

3)ต้องมีระบบสารสนเทศสำหรับการปรับแก้ ปรับสภาพความเหมาะสม ของระบบการซ่อมบำรุงในกรณีเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากข้อกำหนดรวมทั้งต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการปรับปรุงอุปกรณ์ที่ความน่าเชื่อถือถดถอยลง

4) ต้องมีความประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสีย

การที่จะบรรลุเป้าหมาย ทั้ง 4 ประการ ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น

มีการจัดทำแผนการตรวจซ่อมตามกำหนดเวลา,มีหน่วยตรวจซ่อมและแก้ไขข้อขัดข้อง, มีการเก็บข้อมูลการซ่อมบำรุงโดยละเอียด , มีระบบเสนอความต้องการในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อระบบหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคู่มือของผู้ใช้งาน, มีระบบความรับผิดชอบและอำนวยความสะดวกต่องานทุกประเภทในแผนงานซ่อมบำรุง โดยไม่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานต้องสูญเสีย ค่าใช้จ่าย เวลาและแรงงาน ไปกับการกระทำใดๆที่ต้องกระทำตามหน้าที่ของตน

การที่ต้องมีผู้รับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว ทำให้ต้องจัดองค์กรให้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการทำงานในด้านการบำรุงรักษาอากาศยานที่นิยมจัดกันเป็นสากล โดยจะต้องมีผู้รับผิดชอบในหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ

1)งานให้การบริการทางเทคนิค (Technical Services) ได้แก่ งานวิศวกรรม งานวางแผนการบำรุงรักษา การฝึกศึกษา งานเอกสารอ้างอิง และงานสารสนเทศ (Engineering , Maintenance Program , Training , Publications , Computer)

2)งานซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Maintenance) ได้แก่ งานซ่อมบำรุงในโรงเก็บ งานซ่อมบำรุงในลานจอด และงานบริหารภายในศูนย์การควบคุมการซ่อมบำรุง (Hangar Maintenance , Line Maintenance , Maintenance Control Center)

3)งานซ่อมบำรุงโดยหน่วยซ่อมเฉพาะทาง (Shop Maintenance) ได้แก่ การซ่อมเครื่องยนต์ การซ่อมระบบอีเลกโทรนิกส์เดินอากาศ งานเครื่องมือกล งานซ่อมโครงสร้าง (Engine Shop , Avionics Shop , Mechanical Shop , Structures Shop)

4) งานวัสดุ/พัสดุ (Material) ได้แก่ การจัดหา การเก็บรักษา การบริหารพัสดุคงคลัง การรับพัสดุ (Purchasing , Stores , Inventory , Receiving)

5) งานประเมินระบบการซ่อมบำรุง ( Maintenance Program Evaluation ) ได้แก่ การประกันคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ ระบบความน่าเชื่อถือของอากาศยาน งานนิรภัย (Quality Assurance , Quality Control , Reliability , Safety)

มาตรฐานการบำรุงรักษาอากาศยาน จึงหมายถึง การมีบรรทัดฐานในการบำรุงรักษาอากาศยาน โดยยึดถือความปลอดภัย และความสมควรเดินอากาศของอากาศยานและผู้เกี่ยวข้อง เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีแผนงาน มีผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบ มีคู่มือและเอกสารอ้างอิง มีประวัติและข้อมูลตรวจสอบได้ และมีระบบประเมินคุณภาพ

คู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป (General Maintenance Management) ฉบับนี้ เป็นฉบับเริ่มแรก จัดทำขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการทำงานตามกระบวนการซ่อมบำรุงอากาศยาน ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยอ้างอิงสาระสำคัญของการซ่อมบำรุงอากาศยานที่กฎหมายกำหนด จาก “ประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2551 เรื่อง ข้อกำหนดในการจัดทำคู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป “ ซึ่งกำหนดให้

ผู้ได้รับ ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate) ต้องจัดทำคู่มือดังกล่าวนี้ ใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาอากาศยาน

การปฏิบัติตามคู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป ฉบับนี้นอกจากจะครอบคลุมการบริหารกิจการซ่อมบำรุงอากาศยานตามสากลนิยมแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกฎหมายการเดินอากาศของทางราชการ ซึ่งจะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลอากาศยานภาครัฐกับอากาศยานในภาคเอกชนกระทำได้โดยสะดวก

ให้ทำการปรับปรุงคู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป (General Maintenance Management) ฉบับนี้ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระ วิธีการปฏิบัติ หรือข้อมูลอ้างอิง ส่วนการปฏิบัติใดที่มีลักษณะเฉพาะและมีรายละเอียดในการปฏิบัติซับซ้อน ให้แยกจัดทำเป็นคู่มือต่างหาก และให้อ้างอิงไว้ในคู่มือฉบับนี้ด้วย

ให้ฝ่ายแผนและควบคุมการซ่อมบำรุง ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการขออนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไข “คู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป” เป็นฉบับปรับปรุงใหม่และขออนุมัติใช้ต่อไป

ให้ใช้คู่มือการซ่อมบำรุงทั่วไป (General Maintenance Management) ฉบับนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

.......................................................................

(................................................................)

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

วันที่ กันยายน 2560

ความทันสมัยของหน้าเอกสาร

รายการปรับปรุง

รายการแจกจ่าย

นิยาม / คำศัพท์เฉพาะ

7การจัดโครงสร้างองค์กร

การจัดองค์กร

กองซ่อมบำรุงอากาศยาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประกอบด้วยหน่วยงาน 8 หน่วย คือ

1) ฝ่ายแผนการซ่อมบำรุง

2) ฝ่ายวิศวกรรม

3) ฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง

4) กลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกตรึง

5) กลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกหมุน

6) กลุ่มสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน

7) หน่วยฝึกศึกษา

8) หน่วยพัสดุ

ฝ่ายแผนการซ่อมบำรุง มีหน้าที่ วางแผนการซ่อมบำรุงอากาศยาน ควบคุมการซ่อมบำรุง จัดการเกี่ยวกับการจัดหน่วยเคลื่อนที่ และการจัดทำความต้องการงบประมาณในการซ่อมบำรุง

ฝ่ายวิศวกรรม มีหน้าที่ ดำเนินการในด้าน การให้บริการทางเทคนิค การจัดการเกี่ยวกับเอกสารเทคนิคและการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการซ่อมบำรุงอากาศยาน

ฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพการควบคุมคุณภาพ และ งานนิรภัย ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน

กลุ่มอากาศยานแบบปีกตรึง มีหน้าที่ ดำเนินการตรวจซ่อมและบริการอากาศยานปีกตรึงในระดับหน่วย และการตรวจซ่อมอากาศยานปีกตรึงภายในโรงงาน รวมถึงการตรวจซ่อม เครื่องยนต์และ บริภัณฑ์อากาศยาน เพื่อการสนับสนุนการซ่อมอากาศยาน ตลอดจนการให้การบริการการซ่อมบำรุงด้วยบริภัณฑ์ภาคพื้น

กลุ่มอากาศยานแบบปีกหมุน มีหน้าที่ ดำเนินการตรวจซ่อมและการบริการอากาศยานปีกหมุนในระดับหน่วย และการตรวจซ่อมอากาศยานปีกหมุนภายในโรงงาน รวมถึงการตรวจซ่อม เครื่องยนต์และ บริภัณฑ์อากาศยาน เพื่อการสนับสนุนการซ่อมอากาศยาน ตลอดจนการให้การบริการการซ่อมบำรุงด้วยบริภัณฑ์ภาคพื้น

กลุ่มสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน มีหน้าที่ ทำการตรวจตามระยะเวลา แก้ไขข้อขัดข้อง ซ่อมแซมและติดตั้งระบบนักบินกลระบบเครื่องช่วยเดินอากาศระบบสื่อสารภาคอากาศและ ระบบนำร่อง ของอากาศยานแบบปีกตรึงและปีกหมุน รวมถึงการสนับสนุนการตรวจและบริการประจำวันของอากาศยานทั้ง 2 ประเภท

หน่วยฝึกศึกษา มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารการศึกษา การพัฒนาการศึกษา และการฝึกงานในหน้าที่ ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน

หน่วยพัสดุ มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดหาพัสดุ การจัดทำบัญชีควบคุมพัสดุคงคลังการจัดเก็บพัสดุในคลัง และการให้บริการพัสดุ เช่น การตรวจสอบความถูกต้อง การเตรียมการตรวจรับ การบรรจุภัณฑ์ และ การรับ – ส่ง พัสดุถึงผู้ใช้

5

คณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (Personnel Staff)

เจ้าหน้าที่ในระบบบริหารกิจการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน

2) หัวหน้าฝ่ายแผนการซ่อมบำรุง

3) หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม

4) หัวหน้าฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง

5) หัวหน้ากลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกตรึง

6) หัวหน้ากลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกหมุน

7) หัวหน้ากลุ่มสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน

8) หัวหน้าหน่วยฝึกศึกษา

9) หัวหน้าหน่วยพัสดุ

10) เจ้าหน้าที่ธุรการ

11) ช่างภาคพื้นดิน

11.1) ช่างเครื่องบิน (Aircraft Mechanics)

11.2) ช่างเครื่องยนต์อากาศยาน

11.3) ช่างไฟฟ้าเครื่องวัด

11.4) ช่างบริภัณฑ์อากาศยาน

11.5) ช่างบริภัณฑ์ภาคพื้น

12)เจ้าหน้าที่อิเล็กทรอนิกส์การบิน

13)เจ้าหน้าที่พัสดุ

14)หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง (Chief Mechanics)

15)หัวหน้านายตรวจ (Chief Inspector)

16)เจ้าหน้าที่ควบคุมการซ่อมบำรุง (Maintenance Control Manager)

17)เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ (Quality Assurance Manager)

18)เจ้าหน้าที่ตรวจอากาศยาน (Aircraft Inspector)

19)เจ้าหน้าที่ตรวจในหน่วยซ่อม (Repair shop inspector)

20)เจ้าหน้าที่การฝึกศึกษา

21)เจ้าหน้าที่เอกสารเทคนิค

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

ผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน ขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีหน้าที่ อำนวยการและกำกับดูแลความสมควรเดินอากาศและความพร้อมในการใช้งานของอากาศยาน โดย

1)กำกับดูแลให้อากาศยานได้รับการตรวจและบริการอย่างถูกต้อง

2)จัดให้มีระบบการกลั่นกรองและรับรองคุณภาพในการแก้ไขข้อขัดข้องทีมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบินรวมถึงการจัดการให้มีบัญชีรายการ Minimum Equipment List และ Configuration Deviation List ตามที่แบบของอากาศยานกำหนด

3)กำกับดูแลการปฏิบัติและจัดให้มีการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการซ่อมบำรุงตาม แผนการบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance Program)

4)กำกับดูแลการปฏิบัติตามแนวทางของ Aircraft Reliability Program

5)กำกับดูแลการปฏิบัติตาม Service Bulletin/ Airworthiness Directive หรือข้อกำหนดในการดูแลความสมควรเดินอากาศอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรฐานสากล การปรับปรุง/ดัดแปลงอากาศยานต้องเป็นไปตามที่องค์กรดูแลมาตรฐานกำหนด

6)กำกับดูแลความทันสมัยและอายุการบังคับใช้เอกสารสำคัญของอากาศยานอย่างต่อเนื่อง

7)บุคลากรในระบบการซ่อมบำรุงอากาศยานต้องมีความรู้ ทักษะความชำนาญที่ได้รับการรับรอง

8)จัดเตรียมวัสดุและพัสดุอะไหล่อย่างมีประสิทธิภาพ

1. หัวหน้าฝ่ายแผนการซ่อมบำรุง ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่

1)วางแผนการซ่อมบำรุงตาม Aircraft Maintenance Program / Inspection Program

2)วางแผนและกำกับดูแลการปฏิบัติตามคำสั่งเทคนิคต่างๆ เช่น Airworthiness Directive, Service Bulletin, Engineering Directive , Service Note

3)รวบรวม จัดทำ ข้อมูลการซ่อมบำรุงอากาศยาน เอกสาร แบบฟอร์ม ใบสั่งงาน และ รายการตรวจซ่อม(Work Sheet) ตาม Maintenance Program / Inspection Program

4)วางแผน จัดเตรียม กำลังพลให้เพียงพอกับภารงาน

5)วางแผน จัดเตรียม พัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุง

6)จัดทำกำหนดการซ่อมบำรุงอากาศยานและการซ่อมบำรุงในโรงงาน

7)จัดทำงบประมาณและควบคุมค่าใช้จ่าย

8)ออกใบสั่งงาน ติดตาม และกำกับดูแลผลผลิตและข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารการซ่อมบำรุง

2. หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่

1)จัดทำและกำกับดูแลการซ่อมบำรุงอากาศยานตาม Aircraft Maintenance Program / Inspection Program ที่กำหนดไว้ตามระดับการตรวจ ได้แก่ การตรวจก่อนบิน การตรวจระหว่างทำการบิน การตรวจประจำวัน การตรวจตามระยะเวลาระดับต่างๆ เช่น การตรวจทุกๆ 100 ชม.บิน มีการตรวจประจำปี ,การตรวจที่แบ่งระดับภารงานตามตัวอักษร เช่น A-Check , B-Check , C-Check , D-Check เป็นต้น

2)จัดทำรายการตรวจ (Inspection Work Sheet ) ให้ฝ่ายแผนการซ่อมบำรุงและช่างตรวจอากาศยานใช้งาน

3)พิจารณากลั่นกรองและออกคำสั่งเทคนิค เพื่อการปฏิบัติตาม Airworthiness Directive ,Service Bulletin ของ FAA , EASA, Aircraft/Engine/Equipment Manufacturer

4)จัดทำและปรับปรุง Minimum Equipment Lists และ Configuration Deviation Lists ของอากาศยาน

5)รับผิดชอบการชั่งดุลอากาศยาน

6)รับผิดชอบห้องสมุดเอกสารเทคนิค / เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน

7)ดูแลระบบสารสนเทศเพื่อการซ่อมบำรุงอากาศยาน

8)การจัดทำโครงการ Aircraft Reliability Program

3. หัวหน้าฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่ ดำเนินการ

1)ติดต่อประสานงานกับหน่วยกำหนดมาตรการการซ่อมบำรุงอากาศยานสากล

2) กำกับดูแลกระบวนการ/วิธีการตรวจ และมาตรฐานการปฏิบัติ

3)ตรวจรับรองความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน

4)ดูแลรับผิดชอบ สิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจ (Required Inspection Items RIIs)

5)การตรวจพิเศษและการตรวจตามเงื่อนไขต่างๆ

6)การตรวจชิ้นส่วนอะไหล่ และการตรวจวัสดุ

7)การกำกับดูแล ติดตามและส่งเครื่องมือ/เครื่องทดสอบปรับเทียบมาตรฐาน

8)การจัดทำระบบวิเคราะห์และเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

9)การตรวจประเมินคุณภาพภายในหน่วย

10)การจัดทำระบบ Reliability Program

11)การเตรียมการบินทดสอบ การบินนำส่งอากาศยาน

12)ดูแลระบบเก็บบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงทั้งในส่วนที่เป็นเอกสารประจำอากาศยานและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

13) ริเริ่มและดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการมาตรฐานการซ่อมบำรุงอากาศยาน

4. หัวหน้ากลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกตรึง ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่ ดำเนินการ ดังนี้

1)จัดระบบการตรวจซ่อมอากาศยานภายในหน่วย ตามรูปแบบที่กำหนด

2)รับผิดชอบการตรวจก่อนบินและการบริการอากาศยาน การตรวจซ่อมตามกำหนดที่อยู่ในขีดความสามารถ การแก้ไขข้อขัดข้องอากาศยาน

3)จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวางแผนการซ่อมอากาศยานตามกำหนดและการซ่อมใหญ่อากาศยาน

4)ให้ข้อเสนอแนะ/ริเริ่มในการปรับปรุง กระบวนการซ่อมบำรุง การจัดทำแผนกำหนดการซ่อมบำรุงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการส่งซ่อมใหญ่อากาศยานด้วย

5)กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้มีคุณสมบัติ ทำหน้าที่สำคัญได้ตามความจำเป็นแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้ง

6)กำกับดูแลการบันทึกข้อมูลการบิน ข้อมูลการซ่อมบำรุง เอกสารประวัติอากาศยาน เครื่องยนต์

7)อำนวยการและประสานงานกับหน่วยเกี่ยวข้อง

5. หัวหน้ากลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยานแบบปีกหมุน ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่ ดำเนินการ ดังนี้

1)จัดระบบการตรวจซ่อมอากาศยานภายในหน่วย ตามรูปแบบที่กำหนด

2)รับผิดชอบการตรวจก่อนบินและการบริการอากาศยาน การตรวจซ่อมตามกำหนดที่อยู่ในขีดความสามารถ การแก้ไขข้อขัดข้องอากาศยาน

3)จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวางแผนการซ่อมอากาศยานตามกำหนดและการซ่อมใหญ่อากาศยาน

4)ให้ข้อเสนอแนะ/ริเริ่มในการปรับปรุง กระบวนการซ่อมบำรุง การจัดทำแผนกำหนดการซ่อมบำรุงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการส่งซ่อมใหญ่อากาศยานด้วย

5)กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้มีคุณสมบัติ ทำหน้าที่สำคัญได้ตามความจำเป็นแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้ง

6)กำกับดูแลการบันทึกข้อมูลการบิน ข้อมูลการซ่อมบำรุง เอกสารประวัติอากาศยาน เครื่องยนต์

7)อำนวยการและประสานงานกับหน่วยเกี่ยวข้อง

6. หัวหน้ากลุ่มสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่ ดำเนินการ ดังนี้

1)จัดระบบการตรวจซ่อมระบบหรืออุปกรณ์สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน ในขณะที่อุปกรณ์ฯติดตั้งอยู่บนอากาศยาน และเมื่อถอดออกจากอากาศยาน

2)รับผิดชอบการตรวจก่อนบินและการบริการระบบ การตรวจซ่อมตามกำหนด รวมถึงการแก้ไขข้อขัดข้องของระบบหรืออุปกรณ์สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน

3)จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวางแผนการตรวจซ่อมอากาศยานตามกำหนดและการซ่อมใหญ่อากาศยาน ในส่วนที่รับผิดชอบ

4)ให้ข้อเสนอแนะ/ริเริ่มในการปรับปรุง กระบวนการซ่อมบำรุงและการจัดทำแผนกำหนดการ

5)กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้มีคุณสมบัติ ทำหน้าที่สำคัญได้ตามความจำเป็นแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้ง

6)กำกับดูแลการบันทึกข้อมูลการบิน ข้อมูลการซ่อมบำรุง เอกสารประวัติอุปกรณ์สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน

7)อำนวยการและประสานงานกับหน่วยเกี่ยวข้อง

ช่างภาคพื้นดิน

1. ช่างอากาศยาน (Aircraft Mechanics ) ได้แก่ ช่างเครื่องบิน ช่างเฮลิคอปเตอร์ ช่างเครื่องยนต์อากาศยานช่างไฟฟ้าเครื่องวัดช่างบริภัณฑ์อากาศยาน และช่างบริภัณฑ์ภาคพื้น

2. ช่างอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics Technician) ได้แก่ ช่างซ่อมบำรุงอุปกรณ์สื่อสารภาคอากาศ ช่างซ่อมบำรุงอุปกรณ์นำร่องและระบบนักบินกล

3. ช่างซ่อมอากาศยานโรงงาน (Aircraft Repairman) หมายถึง ช่างอากาศยาน หรือ ช่างอิเล็กทรอนิกส์การบิน ที่อยู่ประจำในหน่วยซ่อม (Shop) ทำหน้าที่เป็นช่างชำนาญงานเฉพาะทาง มีหน้าที่ซ่อมอากาศยานภายในโรงงาน (Hangar) หรือซ่อมแซม เครื่องยนต์ ใบพัด อุปกรณ์สื่อสารภาคอากาศ อุปกรณ์นำร่องและระบบนักบินกล หรือบริภัณฑ์อากาศยานใด ๆ (Aircraft Components) ที่ถอดลงจากอากาศยาน

หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง (Chief Mechanics) ขึ้นตรงกับหัวหน้ากลุ่มซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือ กลุ่มสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน ตามภารกิจของกลุ่ม มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติการและการประสานงานในการซ่อมบำรุงอากาศยานแต่ละประเภท หรือการซ่อมบำรุงระบบสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์การบิน ดังนี้

1)การตรวจ/บริการประจำวันและการปฏิบัติตาม กำหนดการตรวจซ่อมอากาศยานตามกำหนดเวลา ตามที่ Aircraft Maintenance Program กำหนด

2)การแก้ไขข้อขัดข้องของอากาศยานในลานจอด หรือในโรงซ่อมอากาศยาน ตามระดับความรับผิดชอบ

3)การปฏิบัติตามขั้นตอนการซ่อมบำรุงที่กำหนดไว้ใน Maintenance Instruction , Repair Procedure , Service Bulletin ,Airworthiness Directive ,Engineering Directive หรือ ระเบียบ คำสั่ง ที่ผู้บังคับบัญชากำหนด

4) การใช้และดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ทดสอบ อย่างถูกต้อง

5)การลงบันทึกข้อมูลการทำงานในเอกสารประจำอากาศยาน ประวัติเครื่องยนต์ และบริภัณฑ์อากาศยาน ใบสั่งงาน ป้ายกำกับพัสดุ

6)กำหนดการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องวัด

7)ความสะอาดและความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน

8)การตรวจรับและส่งคืน เครื่องมือและพัสดุ

9)การรายงานข้อขัดข้องและสิ่งผิดปกติที่จะมีผลต่อความสมควรเดินอากาศ

10)การดูแลความถูกต้องและทันสมัยของเอกสารเทคนิคและคู่มือที่ใช้ในการซ่อมบำรุงอากาศยานหรือระบบที่รับผิดชอบ

11)การตรวจรับรองสภาพอากาศยานก่อนนำไปใช้ทำการบิน

12)การจัดทำข้อมูล/เอกสาร เพื่อขอการตรวจรับรองจาก หน่วยควบคุมคุณภาพ ในกรณีที่มีข้อยกเว้นหรือความคลาดเคลื่อนต่างๆ

13)การประสานงานกับหน่วยข้างเคียงเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวหน้านายตรวจ (Chief Inspector) ขึ้นตรงกับ หัวหน้าหน่วยควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่

1)ควบคุมและตรวจสอบกระบวนในระหว่างการตรวจสอบอากาศยาน (Aircraft Maintenance Check) ได้แก่ มาตรฐานงาน (Work Standard ),ความถูกต้องครบถ้วนของงานที่ต้องกระทำและหลักฐานเอกสาร,การสรุปรวบรวมภารงานก่อนส่งมอบอากาศยาน

2)จัดทำขั้นตอน/วิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานสำหรับการตรวจอากาศยาน

3)เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบ ต้องได้รับการสอบเทียบมาตรฐาน

4)จัดเตรียมรายการตรวจประเมินค่าคุณภาพหน่วยงานและทำการตรวจประเมินค่าหน่วยงานซ่อมบำรุงอากาศยานและหน่วยงานพัสดุ ประจำปี/ตามกำหนดเวลา จัดทำรายงานสิ่งที่ตรวจพบถึงหัวหน้าหน่วยควบคุมคุณภาพ

5)ตรวจรับรอง ความสมควรเดินอากาศ ของอากาศยาน / ตรวจรับรองคุณภาพการซ่อมบำรุงภายในโรงงาน

6)ปฏิบัติตามหน้าที่งานควบคุมคุณภาพตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

เจ้าหน้าที่ตรวจอากาศยาน (Aircraft Inspector) ขึ้นตรงกับ หัวหน้าหน่วยควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่

1)รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลการซ่อมบำรุงที่บันทึกไว้ ส่งให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยซ่อม เพื่อตรวจสอบ และเตรียมการ

2)ตรวจหาความบกพร่อง เสื่อมสภาพ อาการชำรุด ของอากาศยาน /เครื่องยนต์ และระบบอากาศยาน ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน Inspection Program ของอากาศยานแต่ละแบบ

3)ตรวจหาการชำรุดที่อาจซ่อนอยู่โดยไม่มีผู้ใดสังเกตเห็นได้ เช่น การชำรุดจากการลงกระแทก (Hard Landing) อุบัติเหตุ การถูกไฟไหม้ การถูกฟ้าผ่า เป็นต้น

4)วิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องที่ตรวจพบในระหว่างการตรวจตาม Inspection Program หรือขณะทำการบิน

5)รายงานสิ่งบกพร่องที่ตรวจพบ ถึงหัวหน้าหน่วยซ่อมและผู้ครอบครองอากาศยานและบันทึกข้อบกพร่องลงในแบบฟอร์ม และใบสั่งงาน และแบบฟอร์มอื่นๆ ที่หน่วยซ่อมกำหนดใช้

6)กำกับดูแลการการซ่อมบำรุงและการแก้ไขสิ่งที่บกพร่องตามขั้นตอนที่คู่มือระบุ

7)ก่อนส่งมอบอากาศยาน/บริภัณฑ์อากาศยานกลับไปใช้งาน ต้องตรวจสอบทบทวนรายการแก้ไขสิ่งบกพร่อง และความถูกต้องของแบบฟอร์ม การปฏิบัติตาม Service Bulletin / Airworthiness Directive บันทึกการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงความถูกต้องในการใช้พัสดุอะไหล่อย่างถูกต้องและตรวจสอบแหล่งที่มาได้ กรณีเป็นบริภัณฑ์อากาศยาน ต้องมีป้ายกำกับพัสดุใช้งานได้

8)รายละเอียดในการส่งมอบงานให้ผู้ใช้ ต้องประกอบด้วย

8.1) ข้อมูลการตรวจซ่อม /การปฏิบัติตาม Preventive Maintenance Concept/การดัดแปลง

8.2) ชื่อผู้ทำการตรวจซ่อม และการตรวจรับรองคุณภาพ

8.3) อายุการใช้งาน / Cycle ทีจะสามารถใช้งานได้ต่อไป

8.4) วันที่ส่งมอบงาน

9)ตรวจรับรอง ความสมควรเดินอากาศ ของอากาศยาน / ตรวจรับรองคุณภาพการซ่อมบำรุงภายในโรงงาน ตามระดับความรับผิดชอบของหน่วยงาน

10) ทำการตรวจรับพัสดุก่อนนำเก็บในคลัง โดยพิจารณารายละเอียดของพัสดุเกี่ยวกับ หลักฐานการขนส่ง เอกสารรับรองการใช้งานจากผู้ผลิต/คู่สัญญา สภาพทางกายภาพของพัสดุ หลักฐานการรับรองแหล่งผลิต อายุการเก็บ อายุใช้งาน

11) ตรวจและบันทึกรับรองสภาพพัสดุใช้งานได้ ในป้ายกำกับพัสดุ ก่อนเก็บเข้าคลัง

เจ้าหน้าที่ตรวจในหน่วยซ่อม (repair shop inspector) ขึ้นตรงกับ ฝ่ายซ่อมอากาศยานแบบปีกตรึง หรือ ฝ่ายซ่อมอากาศยานแบบปีกหมุน หรือ ฝ่ายซ่อมระบบสื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศของอากาศยานแบบปีกตรึง หรือ ฝ่ายซ่อมระบบสื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศของอากาศยานแบบปีกหมุน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีหน้าที่

1)รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลการซ่อมบำรุงที่บันทึกไว้ ส่งให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยซ่อม เพื่อตรวจสอบ และเตรียมการ

2)ตรวจหาความบกพร่อง เสื่อมสภาพ อาการชำรุด ของอากาศยาน /เครื่องยนต์ และบริภัณฑ์อากาศยาน ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน Inspection Program ของอากาศยานแต่ละแบบ

3)วิเคราะห์และแก้ไขข้อขัดข้องที่ตรวจพบตามขั้นตอนการปฏิบัติที่คู่มือการซ่อมบริภัณฑ์เฉพาะแบบกำหนด

4) รายงานสิ่งบกพร่องที่ตรวจพบ ถึงหัวหน้าหน่วยซ่อมและผู้ครอบครองอากาศยานและบันทึกข้อบกพร่องลงในแบบฟอร์ม และใบสั่งงาน และแบบฟอร์มอื่นๆ ที่หน่วยซ่อมกำหนดใช้

5) ก่อนส่งมอบอากาศยาน/บริภัณฑ์อากาศยานกลับไปใช้งาน ต้องตรวจสอบทบทวนรายการแก้ไขสิ่งบกพร่อง และความถูกต้องของแบบฟอร์ม การปฏิบัติตาม Service Bulletin / Airworthiness Directive บันทึกการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงความถูกต้องในการใช้พัสดุอะไหล่อย่างถูกต้องและตรวจสอบแหล่งที่มาได้ กรณีเป็นบริภัณฑ์อากาศยาน ต้องผูกป้ายกำกับพัสดุใช้งานได้

6)กรณีเป็นบริภัณฑ์อากาศยานที่มีประวัติการใช้งาน ต้องบันทึกประวัติการตรวจซ่อมลงในประวัติบริภัณฑ์ เช่น

6.1)ข้อมูลการตรวจซ่อม /การปฏิบัติตาม Preventive Maintenance Concept/การดัดแปลง

6.2)ชื่อผู้ทำการตรวจซ่อม และการตรวจรับรองคุณภาพ

6.3)อายุการใช้งาน / Cycle ทีจะสามารถใช้งานได้ต่อไป

6.4)วันที่ส่งมอบงาน

7)ตรวจรับรองคุณภาพการซ่อมบำรุงภายในโรงงาน ตามระดับความรับผิดชอบของหน่วยงาน

8)ช่วยเหลือหน่วยควบคุมคุณภาพในการ ตรวจรับพัสดุก่อนนำเก็บในคลัง ตามที่ร้องขอ

เจ้าหน้าที่ควบคุมการซ่อมบำรุง (Maintenance Control Manager) ขึ้นตรงกับหัวหน้าฝ่ายแผน และควบคุมการซ่อมบำรุง มีหน้าที่

1)รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำกำหนดการซ่อมบำรุงตามอากาศยานตาม Aircraft Maintenance Program / Inspection Program

2)ประสานงานกับฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุงเพื่อเกี่ยวกับกำหนดการปฏิบัติตามคำสั่งเทคนิคต่างๆ เช่น Airworthiness Directive, Service Bulletin, Engineering Directive , Service Note

3)จัดทำ แบบฟอร์ม ใบสั่งงาน และ รายการตรวจซ่อม (Work Sheet) ตาม Maintenance Program / Inspection Program

4)จัดเตรียม แรงงานและพัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุง

5)จัดเตรียม การซ่อมใหญ่อากาศยาน เครื่องยนต์ และบริภัณฑ์อากาศยานที่มีความสำคัญ

6)จัดทำสถานภาพติดตามบริภัณฑ์ที่ควบคุมอายุการใช้งาน

7)ออกใบสั่งงาน ติดตาม และกำกับดูแลผลผลิตและข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารการซ่อมบำรุง

8)รวบรวมข้อมูล ความสิ้นเปลือง พัสดุ เชื้อเพลิง ค่าใช้จ่าย เพื่อจัดทำงบประมาณ

9)ประสานงานกับหน่วยเกี่ยวข้องเพื่อให้การซ่อมบำรุงเป็นไปตามแผนงาน

เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ (Quality Assurance Manager) ขึ้นตรงกับหัวหน้าฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง มีหน้าที่

1)รับผิดชอบระบบควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงระบบคุณภาพ

1.1) ประเมินกระบวนการและระบบเอกสารที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

1.2) ปรับปรุง General Management Manual และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.3) จัดทำระบบเอกสารภายใน

1.4) ตอบสนองต่อความต้องการของคู่สัญญาและแหล่งผลิต

1.5) ติดตามการแก้ไขสิ่งที่ผิดปกติในระบบงาน (Non-Conformities)

2)กำหนดมาตรฐานการฝึกอบรมและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน

2.1) กำหนดมาตรฐานการฝึกอบรมและจัดทำโครงการศึกษา

2.2) กำหนดความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบการฝึกศึกษา

2.3) กำหนดมาตรฐานบุคลากรทางการฝึกอบรม

2.4) จัดทำประวัติการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงาน

2.5) รับรองผลการฝึกอบรมและการให้การรับรองหน้าที่ความรับผิดชอบตามคุณวุฒิ

3)การควบคุมและการตรวจสอบอากาศยานและชิ้นส่วนอะไหล่จัดทำระบบบันทึกเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องทันสมัย ของข้อมูลทางเทคนิคของอากาศยาน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ อายุใช้งาน Cycle การถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ ภารกรรมของอากาศยานและภารกรรมของอุปกรณ์ ตรวจสอบความถูกต้อง ตรงรุ่น/แบบ ของชิ้นส่วนอะไหล่ที่นำมาติดตั้งกับอากาศยาน

4)ตรวจประเมินแหล่งจัดหาพัสดุอะไหล่อากาศยาน

5)การควบคุมและตรวจสอบกระบวนการตรวจซ่อมอากาศยาน

6)การประเมินการปฏิบัติตามหลักการนิรภัยที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงและ แนวทางแก้ไขเชิงป้องกันอุบัติเหตุ

7) การพิจารณาการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนจากเกณฑ์ปกติ

8)การควบคุมและจัดการเกี่ยวกับเอกสารและข้อมูลการซ่อมบำรุง และการดูแลห้องสมุดเทคนิค

9)จัดทำระบบการตรวจประเมินคุณภาพหน่วยงานซ่อมบำรุง ดังนี้

9.1) จัดทำแผนการตรวจประเมินคุณภาพประจำปี

9.2) จัดทำหัวข้อการตรวจประเมินคุณภาพที่ครอบคลุมทุกส่วนงาน

9.3) แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพ โดยเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจและคุ้นเคยต่อระบบการทำงาน แต่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานที่รับการตรวจ

9.4) แจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบแผนการตรวจล่วงหน้า กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ /อุบัติการณ์ การตรวจคุณภาพตามสถานการณ์ที่ผิดปกติ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

9.5) ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขสิ่งบกพร่องตามกรอบเวลาที่ทำความตกลงกันในระหว่างการตรวจนั้น

9.6) รายงานผลการตรวจถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรง

7. หัวหน้าหน่วยฝึกศึกษา ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการกองซ่อมบำรุงอากาศยาน มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา การพัฒนาการศึกษา และการฝึกงานในหน้าที่ ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน

เจ้าหน้าที่การฝึกศึกษา ขึ้นตรงต่อหัวหน้าหน่วยฝึกศึกษา มีหน้าที่

1)จัดทำตำราเรียนและคู่มือการฝึกงาน

2)ดำเนินการจัดการฝึกศึกษา การอบรม และการฝึกงานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

3)จัดทำหลักสูตร และเนื้อหารายวิชาตามหลักสูตร สื่อการเรียน การสอน

4)จัดตารางการเรียนการสอน

5)จัดหลักสูตรพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยบินหรือหน่วยซ่อมบำรุงอากาศยานเช่น Human factor, คู่มือการทำงานในหน้าที่ต่างๆ

6)กำหนดความต้องการ ดำเนินการและกำกับดูแลกระบวนการจัดจ้างการฝึกอบรมโดยคู่สัญญา

7) ประเมินผลการฝึกอบรมและบันทึกประวัติการศึกษา การอบรม การฝึกงาน ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

8) ออกใบรับรองคุณวุฒิแก่ผู้จบการศึกษา

หัวหน้าหน่วยพัสดุ มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดหาพัสดุ การจัดทำบัญชีควบคุมพัสดุคงคลังการจัดเก็บพัสดุในคลัง และการให้บริการพัสดุ เช่น การตรวจสอบความถูกต้อง การเตรียมการตรวจรับ การบรรจุภัณฑ์ และ การรับ – ส่ง พัสดุถึงผู้ใช้

8. เจ้าหน้าที่พัสดุ ขึ้นตรงกับหัวหน้าหน่วยพัสดุ มีหน้าที่

1)ดำเนินการจัดหาพัสดุเพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยาน ด้วยการจัดซื้อ จัดจ้าง และการส่งซ่อมสร้างภายในหน่วย

2)รักษาอัตราสะสมของพัสดุคงคลังให้มีเพียงพอต่อการใช้งาน

3)จัดระบบการเก็บ และควบคุมการแจกจ่ายพัสดุอย่างเป็นระบบ

4)มีระบบที่ให้ความสำคัญต่อพัสดุที่มีอายุการเก็บ พัสดุที่ควบคุมอายุการใช้งาน พัสดุอันตราย พัสดุ/เครื่องมือ ที่ต้องได้รับการสอบเทียบมาตรฐาน

5)ให้การบริการพัสดุแก่ผู้ใช้ การตรวจรับ-ส่งพัสดุ การนำส่งพัสดุ การบรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบความถูกต้องของพัสดุ และความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของพัสดุ

6)การรายงานสถานภาพและมูลค่าพัสดุคงคลัง

7)การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำความต้องการพัสดุประจำปี

8)การจำหน่ายพัสดุ

9)กำกับดูแลและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัสดุประจำหน่วยซ่อม

เจ้าหน้าที่เอกสารเทคนิค ขึ้นตรงต่อหัวหน้าประกันคุณภาพ มีหน้าที่

1)จัดทำเอกสารเทคนิค/สำเนาเอกสารเทคนิค แจกจ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2)ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเทคนิค ก่อนการแจกจ่าย

3)ควบคุมและจัดทำบัญชีบันทึกการแจกจ่ายแก่หน่วยเกี่ยวข้อง

4)ปรับปรุงเอกสารเทคนิคประจำห้องสมุดเทคนิคให้ทันสมัย

5)จัดเก็บเอกสารเทคนิคประเภทที่เกี่ยวข้องกับความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน เช่น Service Bulletin ,Service Letter, Airworthiness Directive ไว้ในห้องสมุดเทคนิค เพื่อการอ้างอิง

6)ตรวจสอบ/ทบทวน ความต้องการเอกสารเทคนิคของหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งความต้องการดำเนินการจัดหา

7)จัดหา / จัดทำ ปก/แฟ้ม เอกสารเทคนิค สนับสนุนหน่วยเกี่ยวข้อง

8)ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือหน่วยเกี่ยวข้องในการปรับปรุง ดูแลความทันสมัยของคู่มือที่ใช้งาน

9)จัดทำบัญชีสถานภาพความทันสมัยของเอกสารเทคนิคที่เกี่ยวข้อง

10) ดำเนินการกับเอกสารเทคนิคที่บันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะเดียวกัน

นโยบายด้านการฝึกอบรม

1)เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน จะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพื้นฐานเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต

2)จัดการฝึกอบรม 2 แบบ คือ

2.1)การฝึกอบรมพื้นฐานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ในงานประจำ เช่นการจัดองค์กร หน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.2)การฝึกอบรมตามวิชาชีพ ได้แก่การฝึกอบรมที่จัดขึ้นตามในสาขาที่ต้องการโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญตรงตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นภาคบังคับและต้องได้การรับรอง โดยให้ฝ่ายแผนและควบคุมการซ่อมบำรุงฝ่ายวิศวกรรมและฝ่ายมาตรฐานการซ่อมบำรุง เป็นผู้กำหนดความต้องการอบรม

3)การฝึกอบรมที่ต้องจัดทำอย่างต่อเนื่อง

3.1)เมื่อมีได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ องค์กร หรือแผนการผลิต

3.2)การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน/มาตรการในการซ่อมบำรุงอากาศยาน

3.3)Recurrent Training เมื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการ หาสาเหตุข้อขัดข้อง และการแก้ไขความบกพร่องผิดพลาดต่าง ๆ เพื่อรักษาคุณภาพผลงาน หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงระบบหรืออุปกรณ์อากาศยาน

3.4)Brush-Up Training จัดขึ้นในกรณีที่การรับรองอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หมดอายุลงก่อนที่จะมีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมตามกำหนด โดยที่อำนาจหน้าที่นั้นยังมีหลักฐานปรากฏอยู่ชัดเจน ฝ่ายวิศวกรรมสามารถจัดการฝึกอบรมให้โดยเฉพาะเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการซ่อมบำรุงได้เป็นการชั่วคราว

4)การฝึกอบรมเพิ่มเติม จัดขึ้นเมื่อได้รับมอบอากาศยานใหม่ บริภัณฑ์ภาคพื้นใหม่ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน

5)จัดให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และวิทยฐานะ

6)จัดให้มีการฝึกงานในหน้าที่ เพื่อฝึกงานช่างอากาศยานแรกเข้าทำงาน หรือเพื่อเลื่อนชั้นความชำนาญของช่างอากาศยาน ให้สามารถทำการซ่อมบำรุงอากาศยานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

7)จัดระบบเก็บรวบรวมประวัติการฝึกงานในหน้าที่ของช่างภาคพื้นดินเป็นรายบุคคล เก็บรวบรวมไว้ ณ หน่วยงานที่สังกัด

8)การประเมินผล กระทำได้ 3 วิธี คือ การสอบปากเปล่า การสอบข้อเขียน โดยวิธีอัตนัย/ปรนัย การสอบปฏิบัติ เกณฑ์การประเมินผล กำหนดตามหลักการประเมินผลในระบบการศึกษาสากล

9)การฝึกอบรมช่างอากาศผู้ได้รับการรับรอง (Certifying Staff) ได้แก่

1)License Aircraft Engineer

2)Certify Aircraft Mechanics

3)Aircraft Inspector

การคงความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน

การบันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance Record)

1)ฝ่ายแผนและควบคุมการซ่อมบำรุง เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในระบบเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยานและบริภัณฑ์

2)เมื่อได้รับเอกสารที่จำเป็นต่อการซ่อมบำรุงอากาศยาน ต้องตรวจสอบความจำเป็น คัดแยก แจกจ่าย และจัดให้เข้าระบบการควบคุม

3)กู้คืน ซ่อมแซม เอกสารและข้อมูลที่ชำรุด

4)การคำนวณอายุการใช้งาน อากาศยาน เครื่องยนต์ บริภัณฑ์ อันเนื่องมาจากการซ่อมแซมที่มีผลต่ออายุการใช้งาน เพื่อการเริ่มต้นใช้งานเมื่อติดตั้งกับอากาศยาน เครื่องยนต์ หรือบริภัณฑ์หลัก

5)การกำหนด/ประมาณอายุการใช้งาน เมื่อข้อมูลอายุการใช้งานของอากาศยาน/บริภัณฑ์อากาศยานสูญหายหรือขาดความสมบูรณ์ โดยการวิเคราะห์จากประจักษ์พยานที่น่าเชื่อถือโดยรอบ แต่ไม่รวมถึงการประมาณกำหนดเวลาตรวจซ่อมตามระยะเวลา

6)การตรวจซ่อมตามเอกสารเทคนิคที่สำคัญ เช่น Airworthiness Directive Service Bulletin จะต้องให้ความสำคัญต่อข้อมูลที่จดบันทึก โดยเฉพาะชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินการ

7)ข้อมูลที่ต้องจัดทำระบบการบันทึกและจัดเก็บ ได้แก่

7.1)ข้อมูลการตรวจซ่อมอากาศยานที่เกิดขึ้นในหน่วยซ่อมอากาศยานในลานจอด (Line Station) ซึ่งจะต้องบันทึกข้อมูลเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

7.1.1)ข้อมูลรายวัน ได้แก่ ข้อมูลในสมุดปูมเดินทาง ข้อมูลการตรวจและบริการประจำวันข้อขัดข้องที่ค้างการปฏิบัติและย้ายโอนไปปฏิบัติในโอกาสต่อไป หรือการรายงานข้อขัดข้องที่จะต้องกระทำภายใน 24 ชั่วโมง

7.1.2)ข้อมูลรายสัปดาห์ ประกอบด้วย ข้อมูลในปูมการบินและการซ่อมบำรุง

รายการการถอดเปลี่ยนพัสดุอะไหล่ รายการงานค้างการปฏิบัติที่ได้รับการตรวจแก้ไขแล้ว รายงานที่ผู้ทำงานในอากาศและช่างอากาศยานเขียนรายงาน การรวบรวมเอกสารรับรองคุณภาพพัสดุที่แนบมากับพัสดุส่งคลังพัสดุเพื่อเป็นข้อมูลการจัดหาต่อไป

7.1.3)ข้อมูลรายเดือน ได้แก่รายงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการซ่อมบำรุง เช่น รายงานพัสดุคงคลัง และรายงานความต้องการพัสดุล่วงหน้า

7.2)ใบสั่งงาน เป็นเอกสารที่ระบุความต้องการในการตรวจซ่อมบำรุงโดยเฉพาะเจาะจงกับ อากาศยาน เครื่องยนต์ บริภัณฑ์ ระบบ หน่วยควบคุมการซ่อมบำรุงจะต้องออกใบสั่งงานกำกับเมื่ออากาศยานเข้าสู่กระบวนการซ่อมบำรุง ใบสั่งงานต้องมีลักษณะที่สามารถประยุกต์ใช้กับระบบสารสนเทศได้ โดยจะต้องมีข้อมูลในใบสั่งงาน เช่น

เลขงาน ที่สามารจัดเรียงลำดับได้ , เลขทะเบียนของอากาศยานตามที่หน่วยงานกำหนด , วันที่ออกเลขงาน , รหัสของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานตรวจซ่อมนั้น , ภารงานที่ต้องปฏิบัติ , หมายเลขชิ้นส่วนอะไหล่ ชื่อ และหมายเลขลำดับการผลิต , กำหนดวันเสร็จ , ชั่วโมง - คน ประมาณการ , วันครบกำหนด , สถานที่ปฏิบัติงาน

ใบสั่งงานต้องถูกส่งถึงหน่วยรับผิดชอบการปฏิบัติโดยตรง และมีสำเนาส่งถึงหน่วยควบคุมงานและหน่วยควบคุมคุณภาพ

7.3)ชุดใบงาน (Work Packs)

เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดของหัวข้อการทำงาน เมื่ออากาศยานเข้ารับการตรวจซ่อมตามระยะเวลา การดัดแปลง การซ่อมใหญ่ ฝ่ายควบคุมการซ่อมบำรุงจะต้องจัดทำรายละเอียดของการทำงาน โดยรวบรวมจากเอกสาร คู่มือที่เกี่ยวข้อง จัดรวมเป็นชุด ประกอบด้วย ใบสั่งงาน , บัญชีรายการงานที่จะต้องกระทำ , บัตรตรวจ , เอกสารเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เช่น Service Bulletin, Airworthiness Directive , Service Letter , รายการงานที่ไม่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ แต่ต้องปฏิบัติในขณะทำการตรวจซ่อมในคราวนั้น

งานในชุดใบงานที่มีนัยสำคัญ ต้องมีเลขงานโดยเฉพาะ ปรากฏอยู่ในบัญชีรายการงานที่จะต้องกระทำ

จัดส่งชุดใบงานทั้งชุด แก่หน่วยปฏิบัติการซ่อมบำรุงในระดับหน่วย (Line Maintenance) หรือระดับโรงงาน (Hangar Maintenance) ตามภารงาน

7.4)สมุดปูมประวัติอากาศยาน

7.4.1)ปูมการบิน/ปูมการเดินทาง สำหรับบันทึกข้อมูลการบินของอากาศยาน ได้แก่ ชื่อผู้ทำการบิน ชั่วโมงบิน จำนวนการลงพื้น การสถานีขึ้นลง ต้นทาง - ปลายทาง การตรวจและบริการประจำวัน ข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นระหว่างทำการบิน ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการคำนวณ อายุการใช้งานของ เครื่องบิน เครื่องยนต์ อุปกรณ์ที่ควบคุมอายุการใช้งาน และจำนวนชั่วโมงบินสะสมของนักบิน

7.4.2)ปูมประวัติเครื่องยนต์ สำหรับบันทึกรายละเอียดเบื้องต้นและประวัติการใช้งานของเครื่องยนต์ เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณอายุการใช้งานตามชั่วโมงบิน หรือจำนวน Cycle ในการใช้กำลังเครื่องยนต์ โดยคำนวณเปรียบเทียบกับชั่วโมงบินของอากาศยานที่เปลี่ยนไปตามเที่ยวบิน ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ ผู้ผลิต รุ่น แบบ อายุการใช้งาน ทะเบียนอากาศยานที่เครื่องยนต์ติดตั้งอยู่ วันที่ทำการติดตั้งกับอากาศยาน อายุของเครื่องยนต์ในขณะทำการติดตั้งกับอากาศยาน ชั่วโมงการใช้งานสะสมในแต่ละเที่ยวบิน วันที่ทำการถอดลงจากอากาศยาน อายุของอากาศยานในขณะติดตั้ง หรือถอดเครื่องยนต์ เหตุผลในการซ่อมบำรุงหรือการถอดเปลี่ยนเครื่องยนต์ หลักฐานการรับรองความถูกต้องในการตรวจซ่อมเพื่อส่งกลับไปใช้งาน (Certificate of Release to Service)

7.4.3)ปูมประวัติเครื่องช่วยติดเครื่องยนต์ (APU - Auxillary Power Unit) เก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับ ปูมประวัติเครื่องยนต์

การแยกประเภทและการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย

ฝ่ายแผนและควบคุมการซ่อมบำรุง มีหน้าที่แยกประเภทและดูแลความถูกต้องทันสมัยของข้อมูลการซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยจัดแบ่งประเภทข้อมูลดังนี้

1)แฟ้มข้อมูลของ Airworthiness Directive Files

2)แฟ้มข้อมูลการดัดแปลงอากาศยาน Modification Files

3)แฟ้มข้อมูลการซ่อมโครงสร้าง Structure Repair Files

4)ข้อมู�