53
คู่มือการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าภายใน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย นายชัยชนะ นวลพงษ์ (ช่างเทคนิค) คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ..2560

คู่มือการปฏ ิบัติงาน¸„ู่มือPDFแบบรวม...2 1.2 วัตถุประสงค ์ 1.2.1 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏ

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • คู่มือการปฏิบัติงาน การบรหิารจัดการซ่อมบํารงุระบบไฟฟ้าภายใน คณะบรหิารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    โดย

    นายชัยชนะ นวลพงษ ์(ช่างเทคนิค)

    คณะบรหิารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ.2560

  • คํานํา

    การจัดทําเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า ภายในคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับน้ี จัดทําขึ้นเพ่ือใช้เป็นแนวทางในการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า จากประสบการณ์การทํางาน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ืออํานวยความสะดวกให้ผู้มาใช้บริการได้รับทราบและเข้าใจขั้นตอนของการปฏิบัติงานในได้อย่างถูกต้อง ทั้งน้ี ได้แนบเอกสารแบบฟอร์มและตัวอย่างไว้ในคู่มือฉบับน้ีแล้ว

    ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างย่ิงว่า ขั้นตอนรายละเอียดในคู่มือการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า ภายในคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับน้ี จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ใช้บริการได้บ้างไม่มากก็น้อย

    นายชัยชนะ นวลพงษ์ นายช่างเทิคนิค

  • สารบัญ

    เรื่อง หน้า

    คํานํา ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนํา 1 1.1 ความเป็นมาและความสาํคัญ 1 1.2 วัตถุประสงค์ 2 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 1.4 ขอบเขตของการจัดทําคู่มือ 2 1.5 นิยามคําศพัท์ 2 บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ 4 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ 4 2.2 โครงสร้างการบริหารองค์กร 7 บทที่ 3 หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงาน 11 บทที่ 4 เทคนิคการปฏิบัติงาน 23 4.1 แผนปฏิบัติงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องเรียนคณะ 23 บทที่ 5 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 30 5.1 ปัญหา อุปสรรค 30 5.2 ข้อเสนอแนะ 30 บรรณานุกรม ค ภาคผนวก ง

  •   

    1  

    บทที่1 1.1 ความเป็นมาและความสําคญั

    ไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นปัจจัยพ้ืนฐานสําคัญท่ีสนับสนุนการเรียนการสอน จํานวนห้องเรียนที่เปิดการเรียนการ

    สอนภายในอาคารคณะบริหารศาสตร์ มีจํานวน 13 ห้องเรียน รวมประชุม 2 ห้อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ห้อง (สถิติงานไฟฟ้าภายในอาคาร ปี พ.ศ.2555) และการให้บริการซ่อมบํารุงในเวลาราชการมีการเรียนการสอนทําให้ไม่ได้รับความสะดวก และเกิดผลกระทบต่อการเรียนการสอน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องปรับวิธีการทํางานโดยพักรับประทานอาหาร ไม่ตรงกับเวลาการเรียนการสอนเพ่ือเข้าไปซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในห้องเรียน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด รวมทั้งการประสานเจ้าหน้าที่เพ่ือเข้าทําการซ่อมบํารุงในกรณีที่มีการซ่อมแซมเกินเวลาราชการ หรือมีข้ันตอนที่ต้องประสานกับงานพัสดุกรณีที่ต้องสั่งซื้ออุปกรณ์เป็นต้น สถิติการซ่อมแซมระบบไฟส่องสว่างตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 - จนถึงปัจจุบัน ห้องเรียนทั้งหมด 18 ห้อง มีห้องพักอาจารย์จํานวน 1-2 ห้องที่ยังไม่เคยไดซ้่อมแซมตั้งแต่การปรับปรุงอาคาร แต่ประสบการณ์แซมห้องพักอาจารย์ที่ผ่านมาสามารถแก้ไขปัญหาได้และไม่เกิดอุบัติเหตุ จึงคาดเดาว่าการต่อพ่วงกระแสไฟฟ้ามีรูปแบบเดียวกัน ในการทํางานหรือปฏิบัติงานกับไฟฟ้าถือเป็นงานที่มีอันตรายต่อร่างกายเน่ืองจากมองไม่เห็นว่ามีไฟฟ้าหรือไม่ รวมถึงการปฏิบัติงานที่อาจผิดพลาด ผิดข้ันตอน และยังอาจมีผู้ร่วมปฏิบัติงานด้วยจํานวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงอาจทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได ้

    เช่นในปี 2560 เกิดอุบัติเหตุช่างซ่อมบํารุงเกิดไฟฟ้าช๊อตที่ห้องพักอาจารย์ ในขณะท่ีทําการซ่อมบํารุงสาเหตุมาจากไม่ได้รับแจ้งรายละเอียดของงานปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในห้องที่มีการปรับปรุง เมื่อเกิดปัญหาซ่อมแซม เปลีย่นบัลลาสต์เพ่ือต่อพ่วงทําใหเ้กิดไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายจากการตกบนัได ดังน้ันการทํางานซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า และการทํารายละเอียด มคีวามสําคัญ รวมทั้งการวางระบบซ่อมบํารุงไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร เพ่ือป้องกันเหตุ อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง มีปัญหาชํารุด และส่งผลต่อการวางแผนการซ่อมบํารุงดูแลรักษาอย่างสมํ่าเสมอ จากความเป็นมาและความจาํเป็นดังกล่าวผู้ปฏิบัติงานจึงเล็งเห็นความสําคัญตอ่การเขียนคู่มือการให้บริการซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ของคณะบรหิารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีขึ้น เพ่ือใหผู้้ปฏิบัตงิานและผู้ใช้บริการไดท้ราบถึงขอบเขตและข้ันตอนของการให้บริการ ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์ตดิตอ่เกิดความสะดวกและความคลอ่งตัวของผูใ้ช้บรกิาร

    เรื่อง การบริหารจัดการซอ่มบํารุงระบบไฟฟ้า ภายในคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลยัอุบลราชธานี

  •   

    2  

    1.2 วัตถุประสงค ์1.2.1 เพ่ือให้ผูป้ฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานการบริหารจัดการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า แทนกันได ้และเป็น

    มาตรฐานเดียวกัน 1.2.2 เพ่ือให้ผูบั้งคับบัญชาและหน่วยงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานการบริหารจัดการซอ่มบํารุง

    ระบบไฟฟ้า 1.2.3 เพ่ือให้ผูป้ฏิบัติงานและหน่วยงานซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าของคณะบริหารศาสตร์มีเอกสารอ้างอิงใน

    การปฏิบัติงานการบริหารจัดการซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1.3.1 ผู้ปฏิบัตงิานสามารถปฏิบัติงานการบริหารจัดการซอ่มบํารุงระบบไฟฟ้า แทนกันได้และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

    1.3.2 ผู้บริหารสามารถใช้คู่มอืปฏิบัติงานน้ี ตรวจสอบกํากับและตดิตามงานซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าของคณะบริหารศาสตร์ได ้

    1.3.3 ผู้ปฏิบัตงิานและหน่วยงานซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าของคณะบริหารศาสตร์มีเอกสารอ้างอิงในการปฏิบัติงาน 1.4 ขอบเขตของการจัดทําคู่มือ

    ครอบคลุมข้ันตอนตั้งแต่การรับแจ้งการชํารดุของอุปกรณ์ไฟฟ้าทางโทรศพัท์ หรอืใบแจ้งซ่อมในระบบ (เว็บไซต์ของคณะฯ) การเข้าไปเข้าทําการตรวจสอบ การตรวจเช็คสถานที่ที่ไดร้ับแจ้ง และดําเนินการซอ่มบํารุง 1.5 นิยามคําศัพท ์

    “คณบดี” หมายถึง คณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    “นักศึกษา” หมายถึง นักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    “หลักสูตร” หมายถึง หลักสตูรการศกึษาระดับปรญิญาตรี ที่เปิดทําการเรียนการสอนในคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ซ่อมทันที หมายถึง (กรณีที่ไม่ได้สั่งซื้ออุปกรณ์) กรณีที่ตอ้งรออะไหล่มาดําเนินการซ่อม แจ้งงานพัสดุ ขออนุมัตจัิดซือ้วัสดุที่งานพัสดุ กรณีทีด่ําเนินการ ซอ่มเองไม่ได้แจ้งงานพัสดนํุาส่งซ่อมจากหน่วยงานภายนอก

    อุปกรณ ์(Device) หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในระบบไฟฟ้า เพ่ือใช้เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ไดใ้ช้พลังงานไฟฟ้าโดนตรง

    แผงสวิตช ์(Switchboard) หมายถึง แผงเดี่ยวขนาดใหญ่หรอืหลายแผงประกอบกัน ซึ่งใชต้ิดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังของแผงสวิตช ์เช่น สวิตช ์อุปกรณ์ป้องกัน บัส ฯลฯ โดยทั่วไป แผงสวิตช์จะเข้าถึงได้ ทั้งด้านหน้า และดา้นหลัง

  •   

    3  

    แผงจ่ายไฟ (Panelboard) หมายถึง แผงเดี่ยวหรอืกลุ่มของแผงเดี่ยว ท่ีออกแบบให้ประกอบร่วมกันเป็นแผงเดียว โดยติดตั้งอยู่ในตูต้ดิผนัง และสามารถเข้าถึงได้เฉพาะด้านหน้าเท่าน้ัน ประกอบด้วย บัส อปุกรณ์ป้องกันกระแสเกิน อาจมีสวิตช์สาหรับควบคุมแสงสว่าง เคร่ืองทาความร้อน วงจรไฟฟ้ากาลัง

    เมนสวิตช ์(Main switch) หมายถึง อุปกรณ์ปลด-สับวงจร ระหว่างสายเมนหลังมิเตอร์ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับสายวงจรของผู้ใช้ไฟ ประกอบด้วย เคร่ืองปลดวงจร และเคร่ืองป้องกันกระแสเกิน

    สายเมน (Main service) หมายถึง สายไฟฟ้าท่ีต่ออยู่ระหว่างมิเตอร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกับเมนสวิตช ์

    สายป้อน (Feeder) หมายถงึ สายไฟฟ้าที่ตอ่อยู่ระหว่างเมนสวิตช์กับเคร่ืองป้องกันกระแสเกินตัวสดุท้ายของวงจรย่อย

    วงจรย่อย (Branch circuit) หมายถึง วงจรไฟฟ้า ระหวา่งเคร่ืองป้องกันกระแสเกินตวัสุดท้าย ถึงจุดที่สามารถนาไฟฟ้า ออกมาใชกั้บเครื่องอุปกรณ์ได ้

    การต่อลงดิน (Grounding) หมายถึง การตอ่ตัวนาไฟฟ้า (ทั้งจงใจหรืออุบัติเหต)ุ ระหว่างวงจรไฟฟ้าหรือเคร่ืองอุปกรณ์กับดิน หรือตัวนาอื่นๆที่ฝังอยู่ในดิน

    ขนาดกระแส (Ampacity) หมายถึง ปริมารณกระแสไฟฟ้าสูงสุดทีต่ัวนาสามารถรับไดอ้ย่างตอ่เน่ืองโดยไม่เสียหาย มีหน่วยเป็นแอมแปร์

    รางเดินสาย (Wireways) หมายถึง ท่อสายที่เป็นราง ทาจากโลหะหรืออโลหะ มีฝาเปดิ-ปิดได ้อาจมชี่องระบายอากาศด้วยก็ได ้

    หม้อแปลง (transformer) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สงูข้ึนหรือต่ําลง เพ่ือใหต้รงกับแรงดันทีใ่ชกั้บอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มีเครื่องซักผ้าแรงดัน 110 โวลต ์แต่มีไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต ์เราก็ตอ้งใช้หม้อแปลงแรงดัน 220 โวลต ์ให้เป็นแรงดัน 110 โวลต์ จึงจะใช้เครือ่งซักผ้าได ้

  • 4  

    บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผดิชอบ

    สภามหาวิทยาลัยอบุลราชธานีในคราวประชุมครั้งท่ี 3/2540 เมื่อวันจันทรท์ี ่ 23 พฤษภาคม 2540 มีมติเห็นชอบให้จัดทําโครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ และในการประชมุผูบ้ริหารครั้งที่ 12/2541 เมื่อวันท่ี 15 ตุลาคม 2541 มีมติเห็นชอบให้โครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายในที่มีการบรหิารงานข้ึนตรงตอ่สํานักงานอธิการบดี ในการนี้มหาวิทยาลัย ได้แต่งตั้งคณะทํางานโครงการจัดตั้ง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอบุลราชธานี ตามคําสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีท่ี 612/2541 โดยมีภารกิจและหน้าที่ดําเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนในวิชาศึกษาท่ัวไป และผลติบัณฑติสาขาทางด้านบริหารธุรกิจการบัญชี การเงินการธนาคาร รวมทั้งงานวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม 2.1 วสิัยทัศน ์พันธกิจ อัตลกัษณ ์เอกลักษณ์ 2.1.1 ปรัชญา วสิัยทศัน ์พนัธกิจ อัตลกัษณ์ เอกลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ปรัชญา “มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสร้างสติและปัญญาแก่สังคม บนพ้ืนฐานความพอเพียง” วสิัยทัศน ์ “มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถาบันชั้นนําแห่งการเรียนรู้ในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงและอาเซียน”

    พันธกิจ 1. สร้างบัณฑิตท่ีมคุีณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีคุณธรรมนําความรู้ คิดเป็น ทําเป็น และดํารงชีวิตบนพ้ืนฐานความพอเพียง 2. วิจัยและสร้างนวัตกรรมเพ่ือให้เกิดองค์ความรู้ใหมแ่ละผลงานสร้างสรรค์ ที่สามารถนําไป

    ประยุกต์ใช้ในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงและอาเซียน 3. บริการวิชาการ และเสรมิสร้างความร่วมมือกับชุมชน สงัคม ในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง 4. ทํานุบํารุง ฟ้ืนฟู ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของทอ้งถ่ินและภูมิภาคลุม่นํ้าโขงมหาวิทยาลัย

    อุบลราชธานี จัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาโดยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือให้ได้บัณฑิตท่ีมคีวามรู้ความสามารถเป็นกําลังสําคัญในการขับเคล่ือนการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงาน ธุรกิจ และบุคคลในภูมภิาค โดยเพ่ิมการกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือใหไ้ด้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพ่ิมมากย่ิงขึ้นต่อไป

    กลยุทธ ์ 1. สร้างบัณฑิตท่ีมคุีณภาพและสมรรถนะตามมาตรฐานสากล สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้

    อย่างตอ่เน่ือง มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ความพอเพียง จิตสํานึกทีด่ ีและมีความพร้อมเพ่ือรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาหลักสตูรให้ทันสมัย และจัดกระบวนการจดัการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และจัดใหม้ีทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์จรงิ

  • 5  

    2. พัฒนาอาจารย์ให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธภิาพและพัฒนาตนเองให้พร้อมทันตอ่พลวัตรของสังคม โดยส่งเสริมและสนับสนุนใหท้ําวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรยีนรู้ และพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการในระดับสากล

    3. พัฒนาขีดความสามารถดา้นการวิจัยเพ่ือยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับชาตแิละภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง โดยพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน เพ่ือส่งเสรมิการวิจัย และส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

    4. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพ่ือยกระดบัคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใตแ้ละภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขัน้พ้ืนฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทุกภาคส่วน

    5. สืบสาน เผยแผ่ ฟ้ืนฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทอ้งถิ่น รวมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศในอาเซียน โดยศึกษา ค้นคว้าวิจัย รวบรวมและจัดการความรู้ให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร ์และภูมิปัญญาทอ้งถ่ิน

    6. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลใช้ข้อมูลเป็นฐานในการตดัสินใจ โดยพัฒนาระบบสารสนเทศเพ่ือการบริหาร และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

    7. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธ์ิ โดยให้บุคลากรมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เพ่ือการทํางานได้เต็มตามศักยภาพอย่างมีความสุข โดยพัฒนาระบบสมรรถนะของบุคลากรและผู้บริหารทุกระดับ สร้างเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพให้บุคลากร ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากร และการจัดการความรู้เพ่ือนําไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสทิธิภาพ

    คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งขึ้นโดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในคราวประชุม

    ครั้งท่ี 3/2540 เมื่อวันจันทรท่ี์ 23 พฤษภาคม 2540 มมีติเห็นชอบให้จัดทําโครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ และในการประชุมผู้บริหารคร้ังที ่ 12/2541 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2541 มีมติเห็นชอบให้โครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายในที่มีการบริหารงานข้ึนตรงตอ่สํานักงานอธิการบดี ในการนี้มหาวิทยาลัย ไดแ้ต่งตั้งคณะทํางานโครงการจัดตั้ง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามคําสั่งมหาวิทยาลัยอบุลราชธานีที ่612/2541 โดยมีภารกิจและหน้าท่ีดําเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนในวิชาศึกษาท่ัวไป และผลิตบัณฑิตสาขาทางด้านบริหารธุรกิจการบัญช ี การเงินการธนาคาร รวมทั้งงานวิจัย การบริการวิชาการแก่สงัคม และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และได้จัดตั้งเป็นคณะบริหารศาสตร์ มหาวทิยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2544 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ตามขอ้บังคบัมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลยัอุบลราชธานี พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที ่31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 โดยมีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ อตัลักษณ ์เอกลักษณ์ และมโีครงสร้างการบริหารจัดการ ดังน้ี

  • 6  

    2.1.2 วิสัยทศัน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลกัษณ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน ี วสิัยทัศน ์ คณะบริหารศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการบริหารธุรกิจระดับสากล อย่างมคีวาม

    รับผิดชอบตอ่สังคม ในเขตอสีานใตแ้ละลุม่นํ้าโขง พันธกิจ 1.สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มจิีตสํานึก และความรบัผิดชอบ

    สามารถพัฒนาตนเองอย่างตอ่เน่ือง ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพ่ือให้ประสบผลสําเร็จในการประกอบอาชีพและมีความสุขในการดําเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพสูงให้สามารถเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศให้แข่งขันไดใ้นเขตอีสานใต ้และภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง

    2.สร้างองค์ความรู้แบบบูรณาการเพ่ือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอ้มของสังคมทุกระดับ 3.ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ทอ้งถ่ิน และภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง โดยบูรณการองค์ความรู้และสร้าง

    เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างย่ังยืน โดยเชื่อมโยงกับสู่การเรียนการสอน การวิจัย และทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

    4.ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ิน ด้วยการศึกษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย และกิจกรรมนักศึกษา เพ่ือธํารงรักษาศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ิน

    5.บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพ่ือพัฒนาคณะใหเ้ป็นองค์กรแหง่การเรียนรู้อยา่งต่อเน่ือง บุคลากรมีคุณภาพและมีความสุข

    อัตลักษณ ์ "สร้างสรรค์ สามัคคี สํานึกดตีอ่สังคม" เอกลกัษณ ์

    "ภูมิปัญญาแหง่ภูมิภาคลํานํ้าโขง"

  • 7  

    2.2 โครงสร้างการบริหารองค์กร 2.2.1 โครงสรา้งการแบ่งสว่นราชการและสว่นงานภายในมหาวิทยาลยัอุบลราชธานี

    ภาพท่ี 2 แผนผังแสดงโครงสร้างการแบ่งสว่นราชการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน ี

    (แหล่งที่มา www.ubu.ac.th)

  • 8  

    2.2.2 โครงสรา้งการแบ่งสว่นราชการและสว่นงานภายในคณะบรหิารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ภาพที่ 3 แสดงโครงสร้างการบริหารงานของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    2.2.3 โครงสรา้งสํานักงานเลขานกุาร คณะบริหารศาสตร ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  • 9  

    2.2.4 โครงสรา้งงานช่างเทคนคิ คณะบรหิารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    ภาพที่ 4 แสดงโครงสร้างงานช่างเทคนิค คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  • 10  

    บทบาทหน้าที่ความรบัผดิชอบของช่างเทคนิค ปฏิบัติหน้าที่โดยทําการตรวจสอบตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า แสงสว่าง และเคร่ืองปรับอากาศภายในห้องเรยีน

    จํานวน 18 หอ้งตรวจเช็คประจําวันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ดแูลความสะอาดเรียบร้อยของพ้ืนที่ภายหลังการปฏิบัติงานและอํานวยความสะดวกแก่การเรียนการสอน หากพบอุปกรณ์ชํารุดจะดําเนินการซ่อมบํารุงทันที มีรายละเอียดตามภาระงานดังน้ี

    1. การวางแผนพัฒนางาน จัดทําแผนรายการวัสดอุุปกรณ ์ครุภัณฑ์ประจําปีงบประมาณซ่อมบํารุง 2. ดแูลระบบสาธารณูปโภคของคณะฯ ไดแ้ก่ ระบบไฟฟ้า,ประปาและอาคารสถานที่ แก้ไข ซอ่มแซม และ

    ป้องกันความผดิปกตทิี่เกิดข้ึนกับระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณอ์ืน่ๆเช่นล้างหน้ากากเครื่องปรับอากาศ(แอร์)ตามหอ้งเรียนทั้ง 18 ห้อง

    3.ปฏิบัติการซอ่มบํารุงทั้งเชิงแก้ไข และเชิงป้องกัน 4. ตดิตาม และปฏิบัตติามแผนงานด้านความปลอดภัยของคณะฯ 5.เฝ้าระวังการทํางานการเดินระบบภายในสถานที่ปฏิบัติงาน เพ่ือให้มั่นใจว่าการทํางานเป็นไปอย่างปกติ

    หรือเกิดขอ้ผดิพลาดให้น้อยทีสุ่ดและถ้ามีปัญหาเกิดข้ึนจะได้รับการแก้ไขทันที 6.วิเคราะห์ สรปุ และรายงานสาเหตุและผลของการซอ่มบํารุงต่อผู้บังคับบัญชา และผู้ทีเ่ก่ียวข้องได้

    ทุก 2 เดอืน 7. ใหคํ้าแนะนําในการทํางาน และสอนงานแก่ผู้ทีม่ีความสามารถและประสบการณใ์นการทํางานน้อย

    กว่า 8.รายงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องเรียนทุกเดือน และสรุปรายงานผลตอ่ผู้บังคับบัญชา 9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รบัมอบหมาย เช่นช่วยงานขับรถของคณะบริหารศาสตร์ตามคําสั่ง

    มหาวิทยาลัยอบุลราชธานี

  • 11  

    บทที่3 หลักเกณฑ์วิธกีารปฏิบัติงาน

    หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงานและเง่ือนไขการปฏิบัติงานซ่อมบํารุงระบบไปฟ้า คณะบริหารศาสตร์ผู้

    ปฏิบัติต้องมีความรู้เรื่องอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน แนวคิดเรื่องของอุบัติเหตุ ต้องมีหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานไฟฟ้าอย่างเคร่งครัด ดังน้ี อันตรายจากไฟฟ้า และการป้องกันการใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกต้อง ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง อันตรายจากไฟฟ้า มิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว อันตรายแฝงอยู่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าได้ พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานท่ีสามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ อันตรายที่คนทั่วไปได้ยินได้ฟังมี 2 สาเหตุใหญ่ คือ ไฟฟ้าซ็อต และไฟฟ้าดูด ทั้งสองกรณี มสีาเหตุการเกิดที่ ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกัน 1. ไฟฟา้ซ็อต(Short Circuit) เมื่อ มีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ ไฟฟ้า (LOAD)มีสาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง การติดต้ังอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐานที่พบได้บ่อย คือ 1.1 ฉนวนไฟฟ้าชํารุดและเสื่อมสภาพ อาจเน่ืองมาจากอายุการใช้งานนานหลายปี สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูงใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัด ทําให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า 1.2 มีสิง่ก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอ่ืน ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชํารุด ลวดตัวนําไฟฟ้า ภายในสายสัมผสักันเองจนเกิดการลุกไหม ้ 1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพ้ืน ทําให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณน้ัน หากพ้ืนผิวบริเวณน้ันเปียกช้ืน อันตรายต่อผู้สัญจรย่ิงสูงตามไปด้วย

    ลักษณะการลดัวงจร ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าแรงดันตํ่า ลักษณะการเกิดและความ

    เสียหาย ก็จะมคีวามแตกต่างกัน คือ 1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชํารุด หรือ จากการสัมผสักัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทําให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจํานวนมาก ทําให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย 2. กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพ้ืนดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพ้ืนดิน ลักษณะดังกล่าวน้ีจะทํา ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน

    ผลของไฟฟา้ซ็อต ในกรณีที่กระแสไหลในสายไฟฟ้าหรือเคร่ืองอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทําให้ความร้อนเกิดขึ้นในสายทําให้

    เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าที่หลอมละลายลุกไหม้ ส่งผลใหส้ายตัวนําไฟฟ้าสัมผัสกันเกิดการสะบัดตัวกระจายเปลวไฟเป็นประกายไฟฟ้าหากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณน้ันก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรง

    แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องดูแลเคร่ืองใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้าน้ันต้องมีการตรวจสอบสม่ําเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มกีารใช้กระแสไฟเต็มที่ หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ เช่นเคร่ืองใช้ไฟฟ้าติดต้ังใช้งานมากต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสทีถู่กต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน

  • 12  

    แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร

    (1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เช่นเมื่อฟิวส์ขาดต้องใช้ขนาดเดิมไม่ควรดัดแปลงใช้วัสดุตัวนําอ่ืนมาทดแทนใช้ลวดหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้น (2) ควรตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเคร่ืองใช้ไฟฟ้าเป็นประจําเมื่อพบว่าชํารุดควรรีบซ่อมบํารุง (3) ดูแลรักษาและทาํความสะอาดเคร่ืองใช้ไฟฟ้าเป็นประจําเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆ (4) ต้องเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการประกันคุณภาพรับรองคุณภาพของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ม.อ.ก.) (5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามท่ีผู้ผลิตแนะนํา

    2. ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทําให้เสียชีวิต หรือพิการซึ่งเกิดจากภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทําให้กล้ามเน้ือเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผสัแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ 2.1 การสัมผัสโดยตรง (Direct Contact) คือการที่มีส่วนของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรงที่ชํารุด เช่น สายไฟฟ้ารั่ว 2.2 การสัมผัสโดยอ้อม (Indirect Contact) เกิดจากการที่บุคคลไปสัมผสักับสว่นที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าน้ันๆ รั่วไฟฟ้าจึงปรากฏอยู่บนพ้ืนผิวของเคร่ืองใช้ไฟฟ้าน้ันๆเมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

    ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย ์ อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่าง กายของ

    บุคคล ตามท่ี ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่า เฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน จากการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มต่ีอร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม ่จํากัดเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) เป็นไปตามตารางที่ 1

    ขนาดของกระแส อาการท่ีเกิด 500 mA. ไม่รู้สึกตัวว่าถูกดูด 1 A. รู้สึกว่าร่างกายผิดปกติถูกดูด 1-3 A. รู้สึกถึงกระแสไฟฟ้าแต่ไม่เกิดความเจ็บปวด 3-10 A. รู้สึกถึงความเจ็บปวด สูงกว่า 10 A. รู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเน้ือ สูงกว่า 30 A. รู้สึกถึงความขัดข้องของระบบหายใจ สูงกว่า 75 A. รู้สึกถึงความขัดข้องของระบบหัวใจ สูงกว่า 150 A. เกิดความขัดข้องของกล้ามเน้ือหัวใจ

  • 13  

    ปัจจัยความรนุแรงของไฟฟา้ดูด เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหน่ึงของอันตราย เท่าน้ันความจริงแล้ว

    ตัวแปรที่สําคญั ทีม่ีผลต่อความรุนแรง ม ี3 อย่าง คือ 1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านรา่งกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูง จะทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมีอันตรายมากกว่าแรง ดันตํ่า 2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผา่นร่างกาย 3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย

    ข้อปฏิบัติในการทํางานด้วยความปลอดภัย หลักพ้ืนฐานของการป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้าดูด คือจะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผสัขณะที่

    เปลือกของเคร่ืองใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การไม่ไปสัมผสัส่วนที่มีไฟฟ้า และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียกว่าการต่อเคร่ืองใช้ไฟฟ้าลงดินอย่างถูกต้อง ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้วเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว เครื่องป้องกันกระแสเกิน(ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)จะทํางานจึงต้องมีการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลา หรือตามข้อกําหนดที่ผู้ผลิตระบุ เครือ่งตัดไฟรั่วจึงเป็นเพียงอุปกรณ์เสริมเท่าน้ัน ในการติดต้ังใช้งานจึงต้องติดต้ังระบบสายดินด้วย

    การทํางานต้องห่างจากสายไฟฟ้าเท่าไรจึงปลอดภัย การปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้า หรือส่วนอ่ืนๆ ทีม่ีไฟฟ้าต้องอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมตามที่กําหนดในมาตรฐานจึงควรศึกษารายละเอียดการทํางานวิธี การป้องกัน การตรวจสอบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพ่ือความปลอดภัย

    1. น่ังร้านและสิ่งก่อสร้าง การก่อสร้างน่ังร้านเพ่ือทํางาน ระยะห่างของน่ังร้านกับสายไฟฟ้า ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าที่กําหนดต่อไปน้ี

    แรงดันไฟฟา้(กิโลโวลต์) ระยะหา่ง(เมตร) แรงตํ่า 2.40

    12 2.40 24 3.00 69 3.30 115 3.90 230 5.30

    2. ระยะห่างจากอาคาร ระยะห่างน้ีจะใช้สําหรับเป็นระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้ากับอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว การทํางานใกล้สายไฟฟ้าถึงแม้จะอยู่ในระยะห่างตามท่ีกําหนดในมาตรฐานแล้วก็ตาม ก็อาจจะเกิดอันตรายได้จากสภาพการทํางานดังน้ันจึงควรป้องกันไว้ก่อนด้วยระยะห่างสายไฟฟ้ากับอาคารที่สร้างเสร็จแล้วมีดังน้ี

  • 14  

    แรงดันไฟฟา้(กิโลโวลต์) ระยะหา่งจากอาคาร(เมตร) ระยะหา่งจากป้ายโฆษณา (เมตร) 12 และ 24 1.80 1.80

    69 2.13 1.80 115 2.30 2.30

    การหุ้มสายไฟฟ้าช่ัวคราวซึ่งสามารถทําได้โดยการติดต่อการไฟฟ้าฯ ให้ช่วยดําเนินการให้ กรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างให้เป็นไปตามที่กําหนดได้ อาจมีความจําเป็นต้องดับไฟฟ้าย้ายเสาสายไฟฟ้าลักษณะน้ีต้องติดต่อการไฟฟ้าฯ เป็นแต่ละกรณีไปซึ่งการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาดําเนินการให้ตามท่ีเห็นว่าเหมาะสม

    ไฟฟ้าให้โทษแก่มนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 1.เป็นอันตรายแก่ชีวิตสิ่งที่ทําให้เสยีชีวิตหรือได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บ คือ การไหลของกระแสไฟฟ้า(วัดเป็นจํานวนแอมแปร์) ซึ่งจะมีปริมาณ เพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นกระแสไฟสลับก็สามารถจะทําอันตรายถึงเสียชีวิตได้ถ้าหากว่ากระแสไฟฟ้าน้ันได้ไหลผ่านอวัยวะที่สําคัญ ๆ เช่น หวัใจ อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีอาการ 4 อย่าง คือ 1.1 กล้ามเน้ือแข็งตัว 1.2 หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และหยุดทํางาน 1.3 เซลล์ภายในร่างกายถูกทําลาย 1.4 ระบบประสาทชะงัก 2.เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินอันตรายต่อทรัพย์สิน ได้แก่ การเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ทําให้ทรัพย์สินเสยีหายปีละมากๆ เน่ืองจากความประมาทหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังน้ันผู้ปฏิบัติต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย

    การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชาํรุด การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าเป็นสิ่งจําเป็น เน่ืองจากเมื่อเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไปนาน ๆ ย่อมเกิดการชํารุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียหายที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ ขาดการดูแลเอาใจใส ่แม้กระทั่งเกิดขึ้นเองตามสภาพการใช้งาน แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว เราควรที่จะรีบทําการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้หรือต่อทรัพย์สิน เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดอัคคีภัย ฯลฯ ดังน้ันเพ่ือให้ทราบวิธีการปฏิบัติเพ่ือนําไปใช้ในการแก้ปัญหามีแนวทางดังต่อไปน้ี

  • 15  

    1. การสํารวจสภาพความเสียหายของวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ 2. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นของวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 .ดําเนินการแก้ไขตามสภาพของความเสียหาย

    ขั้นตอนในการตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า มีวิธีตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าดังต่อไปนี้ 1.1 ถ้าสายไฟขาดหรือมีรอยฉีกขาดควรทําการแก้ไขโดยตัดและต่อสายใหม ่ถ้าสายเก่าก็ให้เปลี่ยนสายใหม่และทําการต่ออย่างแน่นหนา 1.2 กรณีหลอดไฟไม่ติดหรือดับ อาจเกิดจากอุปกรณ์ของหลอดไฟขาด ให้ทําการเปลี่ยนใหม ่หากอุปกรณ์ของหลอดไฟไม่ขาดให้ลองตรวจสอบสวิทช์ไฟ เพ่ือตรวจสอบดูว่าเสีย สายขาด หรือเกิดการลดัวงจรหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ ควรทําการเปลี่ยน หรือทําการเช็ควงจรและไลส่ายใหม่ 1.3 กรณีปลั๊กหรือเต้ารับ ไม่มีไฟ สายอาจจะขาด อันเกิดจากการลัดวงจร ถ้าตรวจพบให้ต่อวงจรใหม่ให้เรียบร้อย แต่ถ้าไม่ขาดควรไปดูที่คัทเอ้าท์ และฟิวส์ทีแ่ผงควบคุม อาจเกิดจากฟิวส์ขาด หรือถ้าใช้เซอร์กิต เบรคเกอร์ ให้ลองสับสวิทช์อีกคร้ังหน่ึง 1.4 ถ้าไฟดับบ่อย อันเกิดจากแผงควบคุมไฟฟ้าตัดไฟ ลองตรวจดูขนาดของฟิวส์ว่ามีขนาดเล็กไปหรือไม่ควรเปลี่ยนใหม้ีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านหรือสถานที่น้ัน ๆ แต่ถ้าไม่ใช่ ลองตรวจดูอุปกรณ์อ่ืน ๆ เช่น เต้ารับ สวิทช์ไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กําลังเสียบใช้งานอยู่อาจเกิดความผิดปกติหรือลัดวงจร ให้ทําการแก้ไขโดยเร็ว หรือถ้าตรวจพบว่ามีกระแสไฟฟ้าเกินให้แจง้ต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยด่วน เพ่ือจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ดําเนินการแก้ไขต่อไป 1.5 หากพบว่ามีเสียงดังผิดปกติที่บริเวณ สวิทช์ หรือแผงควบคุมไฟฟ้า อาจเกิดจากหน้าสัมผัส (Contact) ของอุปกรณ์น้ันเกิดความร้อนสูง หรือมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณหน้าสัมผัส ใหร้ีบทําการแก้ไขโดยด่วน 1.6 บางครั้งถ้ามีเสียงครางออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ลองตรวจสอบดูว่าบัลลาสต์หลวมหรือไม่ และ หลอดไฟดับ ๆ ติด ๆ อาจเป็นที่สตาร์ทเตอร์เสื่อมสภาพ ให้ทําการเปลี่ยนใหม ่หรือบริเวณข้ัวหลอดดําก็ควรเปลี่ยนหลอดใหม่ 1.7 ในระหว่างการปฏิบัติงาน เพ่ือความไม่ประมาท ควรสวมถุงมือ หรือตัดวงจรท่ีแหล่งจ่ายไฟออกก่อน และเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมในการทํางานน้ัน เช่นควรใช้ไขควงเช็คไฟตรวจดูว่าบริเวณที่จะแก้ไขน้ันมีไฟฟ้าหรือเปล่าไม่ควรทํางานในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ 1.8 อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เราไม่สามารถทําการแก้ไขเองได้ ไมค่วรเสี่ยงที่จะดําเนินการเองเพราะอาจเกิดความผิดพลาด ควรให้ช่างผู้เช่ียวชาญมาทําการแก้ไข 1.9 ต้องเน้นยํ้าถึงความปลอดภัยในการแก้ไขอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า อย่าทําอย่างลวก ๆ ให้ตรวจสอบอย่างละเอียด และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด

  • 16  

    การเดินวงจรปลั๊กและแผงควบคุมไฟฟ้าของห้องเรียนคณะบริหารศาสตร์

    เครื่องมือวัดในงานไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายประเภท ที่มีใช้และเห็นกันบ่อย ๆ เช่น แอมป์มเิตอร์ โวลท์มิเตอร์และ มลัติมิเตอร์ ฯลฯแต่เครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ มัลติมิเตอร์ เน่ืองจากใช้ง่าย ราคาถูก และ สามารถใช้ได้เอนกประสงค์ สามารถใช้วัดได้ทั้ง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า นับเป็นเคร่ืองมือวัดขั้นพ้ืนฐานที่ช่างไฟฟ้าจะต้องมีไว้ใช้งาน และจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานการต่อสายไฟฟ้าซึ่งจุดประสงค์ของการต่อสายไฟ ต้องการให้แน่น, แข็งแรง, ตรงรอยต่อสัมผัสกันมากที่สุดและ แลดูสวยงาม การต่อสายไฟฟ้ามีวิธีต่อได้หลายแบบ คือ 1. การต่อสายแบบรับแรงดึง ก. การต่อสายเด่ียว ทําดังน้ีคือ 1. ปลอกสายที่หุ้มฉนวนออกเส้นละประมาณ 3 น้ิว 2. ขุดทําความสะอาดสาย 3. เอาปลายทั้งสองบิดเข้าหากันเป็นเกลียว 4. ใช้คีมบีบให้แน่น 2. การต่อสายแบบไม่รับแรงดึง ก. การต่อแบบหางเปีย ทําดังน้ีคือ 1. ปอกฉนวนปลายสายข้างละประมาณ 3 น้ิว 2. ขุดทําความสะอาดสาย 3. เอาปลายทั้งสองข้างมาชิดกันแล้วบิดเป็นเกลียวให้แน่น ( ดังรูป )

     

    ภาพที่ 2 การต่อสายแบบรับแรงดึง

    ภาพที่ 3 การต่อสายแบบไม่รบั

    ภาพที่ 4 หัวแร้งบัดกรีหัวแร้งบัดกรีใช้ในการบัดกรีสายตรงรอยต่อ

    ภาพที่ 1 เครื่องมือวัดในงานไฟฟ้า

  • 17  

    วัสดุ-อุปกรณ์ในงานไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการเดินสายไฟ ที่สําคญัและจําเป็นมีอยู่มากมายหลายอย่างพอแยกได้คือ 1.สายไฟฟ้า สายไฟฟ้าเป็นสิ่งจําเป็นอย่างย่ิง เพราะสายไฟเป็นตัวนําที่จะนําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปตามสายจากแห่งหน่ึงไปอีกแห่งหน่ึงได้ตามต้องการ สายไฟฟ้าที่นิยมใช้งานทั่วๆไปมีหลายขนาดที่ควรทราบ มีดังน้ี 1.1 สายเปลือย เป็นสายที่ไมหุ่้มฉนวน ใช้สาํหรับกระแสไฟฟ้ามากๆ เช่น ใช้กับพวกสายไฟฟ้าแรงสูง ส่วนมากเป็นพวกทองแดง หรืออลูมิเนียมใช้เดินในระบบสูง เพราะอันตรายจากสายไฟแรงสูงมีมาก 1.2 สายหุ้มฉนวน ก. สายหุ้มยาง ทําด้วยลวดทองแดง จะเป็นเส้นเด่ียวหรือหลายเส้นขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่นํามาใช้ภายนอก หุ้มฉนวนด้วยดีบุก หรือยาง แบบนี้นิยมใช้กันมาก ข. สายหุ้มพลาสติก ส่วนมากมักทําเป็นสายหลายๆเส้น ทีหุ่้มด้วยพลาสติกเพ่ือให้อ่อนตัวได้ง่าย ผู้ผลติมักทํา เป็นสายคู่ติดกัน ค. สายไหม ภายในทําเป็นลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยยางแล้วหุ้มทับด้วยไหมอีกทีหน่ึงมักทําเป็นเส้นคู ่ ู่บิดแบบเกลียว เหมาะสําหรับติดเต้าเพดานกับกระจุ๊บหลอด ง. สายเด่ียวและสายคู่ P.V.C. (Poly Vinyl Chloride) เป็นสายไฟทําด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน หลายช้ัน ภายนอกสุดมักเป็นฉนวนสีขาว สายไฟชนิดมีฉนวนหุ้มแข็งแรงมาก มีทั้งชนิดคู่และชนิดเดียวนิยมใช้กันแพร่ หลาย 1.3 สายอบหรืออาบนํ้ายา สว่นมากเป็นลวดทองแดงเส้นเล็ก ๆใช้นํ้ายาเคมีเคลือบเป็นฉนวนตลอดสายใช้ในงานพัน มอเตอร์ ฯลฯ สายไฟที่นิยมใช้ทั่ว ๆ ไปคือสายไฟที่ทําจากลวดทองแดง มีเน้ือที่ไม่น้อยกว่า 98 ส่วนใน 100 และหุ้มด้วยฉนวนไว้สําหรับรับแรงดันไม่ตํ่ากว่า 250 โวลท์ สายไฟที่ใช้มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา C และต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า

    ภาพที่ 5 แสดงขนาดของสายไฟฟ้า

  • 18  

    ภาพที่ 6 แสดงเข็มขัดรัดสายขนาดต่างๆ

    วิธีใช้เข็มขัดรัดสาย1. ใช้ดินสอทาเครื่องหมายไว้ให้มีระยะห่างกันประมาณ 10 ซ.ม 2. ใช้ตะปูเหล็กตอกยึดตรงกลางของเข็มขัดรัดสายกับผนังไว้ การตอกให้ได้แนวเด่ียวกันจนตลอด 3. ดึงสายไฟให้ตรงเสียก่อนจึงวางบนเข็มขัดรัดสายแล้วรัดให้แน่น 4. สายไฟคู่พยายามอย่าให้ทับกัน 5. สายที่ไม่มีฉนวนหุ้มห้ามใช้เข็มขัดรัดสายโดยเด็ดขาด ตลับแยกสายมลีักษณะกลมมฝีาเกลียวบิด มรีูเจาะออกรอบๆ 4 รูสาหรับเดินสายไฟออกตลับแยกสายมีไว้สาหรบัต่อสายไฟ ภายในตลับเพ่ือให้มองดูสวยงามเรียบร้อย

    สะพานไฟ (Cut Out ) หรือสวิทช์ตัดตอนสะพานไฟทาด้วยกระเบ้ืองทนไฟเป็นฉนวนมีไว้ภายในบ้าน เช่ือมหรือเป็นสะพานไฟระหว่างไฟภายในบ้านกับหม้อมิเตอร์ไฟฟ้าข้างนอกบ้าน มีฟิวส์ต่อไว้เมื่อเราต้องการตัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้เข้าบ้าน

    ภาพที่ 7 ตลับแยก

    ภาพ 8 สะพานไฟ

  • 19  

    ฟิวส์(Fuses)ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหน่ึงที่จาเป็นมากเป็นเคร่ืองป้องกันอันตราย อันเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกิดวงจรลัดวงจร

    ภาพที่ 9 ฟิวสแ์ละขนาดของไฟฟ้าไหลผ่าน

    สว่านเจาะไม้ สว่านเจาะไม้ใช้มากในเวลาเดินสายไฟฟ้า บางครั้งมีความจาเป็นต้องเจาะรูเพ่ือยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นพุกประกับลูกถ้วย เป็นต้น สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด เช่นสว่านมือ สว่านเฟือง

    ค้อนมีหลายชนิด แต่ที่เราใช้งานไฟฟ้าคือค้อนเดินสายไฟ มีลักษณะของหัวค้อนคือปลายด้านหน่ึงหน้าเรียบตรง อีกด้านปลายแบนแหลม ทาด้วยเหล็กใช้ตอกในที่แคบได้ ด้ามจับเป็นไม้ ไขควงไขควงหรือบางทีเรียกว่า “ สกรูไร“ เป็นเคร่ืองมือของช่างไฟฟ้าที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะอุปกรณ์เล็กๆน้อย ๆ ภายในบ้าน เช่น ต่อฟิวส์ สวิทช์ ดวงโคม ฯลฯ ไขควงใช้สาหรับขันตะปูเกลียวหรือสกรใูห้แน่น หรือใช้ถอนตะปูเกลียวให้หลุดออกจากที่ยึด

    สวิทช์ไฟฟ้า (switch )สวิทช์ไฟฟ้าทาหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าผ่านสวิทช์มีหลายแบบหลายขนาดเลือกช้ือได้ตามความพอใจให้เหมาะกับงาน

    ภาพที่ 11 ไขควง ภาพที่ 12 สวิทซ์

    ภาพที่ 10 สว่านเฟือง

  • 20  

    ขั้นตอนการตรวจสภาพอุปกรณ์ เพ่ือความปลอดภัยของผู้ใช้และผู้ที่เข้าไปเกีย่วข้องในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องมีการตรวจสภาพ อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอ หากพบเห็นสภาพท่ีผิดปรกติต้องทําการซ่อมบํารุง 1.สายไฟฟ้า ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านการดูแล ควบคุม เฝ้าระวัง และซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อ่ืนๆ ตามท่ีได้รับมอบหมาย 2.ฉนวนสายไฟฟ้าชํารุด อาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะ ถูกของมีคมบาดซึ่งจะทําให้เกิดการลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้ 3.สังเกตสีของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ํา แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีการใช้ไฟเกินขนาดสาย หรือมีการต่อสายไม่แน่น เป็นต้น 4.ตรวจสอบจุดต่อสายไฟฟ้า การเข้าสาย ต้องขันให้แน่น พันฉนวนให้เรยีบร้อย เครื่องมือทีใ่ชต้รวจสอบ 1.เครื่องมือวัดไฟฟ้า มัลติมิเตอร์ (Multimeter) 2.ไขควงเช็คไฟ (Test Current Voltage) 3.เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น (Thermohygrometer) 4.ไขควงปากแฉก 5.ไขขวงปากแบน 6.คีมช่างไฟฟ้า (Lineman’s Pliers) 7.คีมตัดสายไฟฟ้า (Diagonal – Cutting Pliers) 8.คีมปากยาว (Long-nose Pliers) รายละเอียดการปฏิบัติงาน ขั้นตอน ผู้เก่ียวข้อง ระยะเวลา เอกสารที่เก่ียวข้อง 1.การสํารวจอุปกรณ์ไฟฟ้า เดินตรวจเช็คอุปกรณ์

    ไฟฟ้าตอนเย็น 30 นาที/วัน เอกสารการตรวจเช็ค

    ห้องเรียน 2.รับแจ้งซ่อมอุปกรณ์ นักศึกษา/บุคลากร/

    อาจารย์ ภายใน1วัน โทรศัพท์ / ไลน์ /

    เอกสาร 3.ทดสอบอุปกรณ์หลังการตรวจสอบ

    พนักงานไฟฟ้า ทุกคร้ังหลังซ่อมบํารุง

    โทรศัพท์ / ไลน์ / เอกสาร

    4แจ้งผลการทดสอบ/ตรวจสอบ

    พนักงานไฟฟ้า/นักศึกษา/บุคลากร/อาจารย์

    ทุกคร้ังหลังซ่อมบํารุง

    โทรศัพท์ / ไลน์ / เอกสาร

    5.รายงานรวบรวมสถิติการปฏิบัติงาน

    พนักงานไฟฟ้า/ผู้บริหาร ทุกวันทําการ รายงานผู้บริหารเดือน/ครั้ง

    การปฏิบัติงานของพนักงานไฟฟ้าใช้แนวคิดการพัฒนางานอย่างต่อเน่ือง “Deming Cycle” PDCAเข้ามาประยุกต์ใช้ทั้งการทํางานประจํา และการปรับปรุงงาน PDCA ประกอบด้วย

  • 21  

    1) Plan คือ การวางแผน 2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน 3) Check คือ การตรวจสอบ 4) Act คือ การปรับปรุงการดําเนินการอย่างเหมาะสม ขั้นตอน Plan

    1. วางแผนการสํารวจระบบสายไฟห้องเรียน เช่นเดินตรวจ ทุกวัน 2. สํารวจอุปกรณ์การป้องกันอันตรายของผู้ปฏิบัติ และอุปกรณ์สําหรับซ่อมแซมไฟฟ้าให้พร้อมใช้

    งาน 3. เตรียมความพร้อมห้องเรียนเพ่ือเข้าไปซ่อมแซมได้

    ขั้นตอนDO 1.สํารวจสายไฟในเวลาที่ห้องเรียนว่าตามตารางเรียน

    2.รับแจ้งและซ่อมอุปกรณ์ตามที่รับแจ้ง 3.ประสานงานกับอาจารย์และบุคลากรเพ่ือดูวันเวลาว่างสําหรับเข