36
รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่อง ความรูทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน นางสาว อาภารัตน์ อิงคภากร รหัสประจาตัว 5410601424 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .. 2557

รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ

เรื่อง

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

นางสาว อาภารัตน์ อิงคภากร

รหัสประจ าตัว 5410601424

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสขุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2557

Page 2: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ อ.ดร.สมคิด ปราบภัย ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ ที่ให้ค าปรึกษาในการเรียน การค้นคว้าวิจัย ตลอดจนการตรวจแก้ไขรายงานปัญหาพิเศษจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์

ขอกราบขอพระคุณ อาจารย์สาขาวิชาสุขศึกษาทุกท่าน ที่ได้อบรมสั่งสอนและมอบความรู้อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการน าไปใช้ประโยชน์ต่อไป และขอขอบคุณเพ่ือนๆทุกคน ที่ได้ให้ความช่วยเหลือและให้ค าแนะน าต่างๆ

ด้วยความดีหรือประโยชน์อันใดเนื่องจากวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ขอมอบแด่คุณพ่อ คุณแม่ที่ได้อบรมและให้ก าลังใจผู้วิจัยมาตลอดในทุกเรื่อง

อาภารัตน์ อิงคภากร พฤษภาคม 2558

Page 3: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

อาภารัตน์ อิงคภากร.2558. ความรู้ ทัศนคต ิและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา สุขศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.สมคิด ปราบภัย . 30 หน้า.

บทคัดย่อ

การรายการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับ

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ซึ่งเป็นการศึกษาด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จ านวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา พบว่า นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่อยู่ในระดับที่สูงมีทัศนคติที่ดีและปานกลางต่อการสูบบุหรี่ในจ านวนที่เท่าๆกันและนิสิตส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่ดีต่อการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 64

จากผลการศึกษา มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้นิสิตชายที่ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่นั้นมีการดูแลสุขภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ส่วนนิสิตชายที่ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ ทางมหาวิทยาลัยและคณะควรด าเนินกิจกรรมกระตุ้นหรือส่งเสริมให้มีการลดและเลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เพ่ือจะได้เป็นแนวทางในการลดจ านวนผู้สูบบุหรี่ลงในล าดับต่อไป

Page 4: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

สารบัญ

เรื่อง หน้า

กิตติกรรมประกาศ ก

บทคัดย่อ ข

สารบัญ ค

สารบัญตาราง จ

บทท่ี 1 บทน า 1

1.1 ความส าคัญและที่มาของปัญหา 1

1.2 วัตถุประสงค ์ 2

1.3 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ 2

1.4 ขอบเขตของการศึกษา 2

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2

บทท่ี 2 ทบทวนวรรณกรรม 3

2.1 เอกสารทีเ่กี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 3

2.2 งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 8

บทท่ี 3 ระเบียบวิธวีิจัย 10

3.1 รูปแบบการวิจัย 10

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 10

3.3 เครื่องมือในการศึกษา 11

3.4 การสร้างเครื่องมือท่ีใช้ในการศึกษา 12

3.5 การตรวจสอบเครื่องมือ 12

3.6 การเก็บรวบรวมข้อมลู 13

3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล 13

Page 5: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

สารบัญ (ต่อ)

เรื่อง หน้า

บทท่ี 4 ผลการศึกษาและอภปิรายผล 14

4.1 ผลการศึกษา 14

4.2 การอภิปรายผล 21

บทท่ี 5 สรุปและข้อเสนอแนะ 22

5.1 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 22

5.2 ข้อเสนอแนะ 23

สิ่งอ้างอิง 24

ภาคผนวก 25

Page 6: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

สารบัญตาราง

เรื่อง หน้า

ตารางที ่1 ลกัษณะข้อมลูส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 14

ตารางที ่2 ความรู้เกี่ยวกับบหุรี่จ าแนกรายข้อ 17

ตารางที ่3 ทัศนคติต่อการสูบบุหรีจ่ าแนกรายข้อ 18

ตารางที ่4 พฤติกรรมการสูบบหุรีข่องกลุ่มตัวอย่าง 19

ตารางที ่5 พฤติกรรมการสูบบหุรีข่องนิสิตที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี ่ 19

Page 7: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

2

บทที ่1 บทน า

1.1 ความส าคัญ และความเป็นมาของปัญหา องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายสิ่งเสพติด หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทาง

ร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพ่ิมปริมาณมากข้ึนเรื่อยๆจนในที่สุดจะท าให้เกิดโรคต่อร่างกายและจิตใจขึ้น ปัญหายาเสพติดนั้นเป็นปัญหาสังคมที่ส าคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบันที่สังคมไทยก าลังเผชิญอยู่ จะพบว่าทุกวันนี้ประเทศไทยจะต้องเสียงบประมาณจ านวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2541 มีการใช้งบประมาณเพ่ือปราบปรามยาเสพติดถึง 1,046,417,805 บาท ซึ่งเพ่ิมขึ้นจากปี พ.ศ. 2537ที่มีการใช้งบประมาณเพ่ือปราบปรามยาเสพติดเพียง 652,736,433 บาท (ส านักนโยบายและแผน ส านักงาน ป.ป.ส., 2550) เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ของประเทศไทยพบว่า บุหรี่ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในประเภทของยาเสพติดให้โทษท าให้บุหรี่เป็นยาเสพติดที่สามารถจ าหน่ายได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นจากการส ารวจของส านักงานสถิติแห่งชาติ (2550) พบว่าผู้สูบบุหรี่มีการเริ่มสูบมากท่ีสุดในช่วงอายุ 15 – 19 ปี ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายถึงมหาวิทยาลัย การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตและทุพลภาพ ผู้สูบบุหรี่เป็นประจ าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 12 เท่า และหากสูบบุหรี่ต่อกันนานเกิน 21 – 41 ป ีจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 30 เท่า และปัจจุบันนี้พบว่ามะเร็งปอดเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งของชายไทย ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จัดโดยเริ่มสูบตั้งแต่อายุยังน้อยและสูบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงมากและยังท าให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันจากบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอด (ปกิณกะใกล้หมอ, 2539)

ในปัจจุบันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นพบว่ามีอัตราเพ่ิมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ขาดความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ (ฉันทนา, 2556) อีกทั้งวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยากรู้ อยากลอง ต้องการเรียนรู้ในกลุ่มเพ่ือนสนิท อีกทั้งยังต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพ่ือน พฤติกรรมเบี่ยงเบนและพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลายจึงจะท าตามการตัดสินใจของกลุ่ม หากทางเลือกท่ีกลุ่มเสนอนั้นไม่เหมาะสมกับตนและตนสามารถที่จะคิดหาทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเองได้ โดยอาศัยทักษะการสื่อสารเพ่ือปฏิเสธ คัดค้าน เจรจาต่อรอง โดยเสนอทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าจะเป็นทักษะที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในเชิงยับยั้งพฤติกรรมเสี่ยงได้ (ศศิพร, 2545) ส าหรับประเทศไทย จากการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวิจัยของนักวิจัยและนักวิชาการจากหลายสถาบันในปี 2547 เกี่ยวกับสถานการณ์การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทยพบว่า มีเยาวชนไทยอายุต่ ากว่า 18 ปี เสพติดบุหรี่เกือบ 500,00 คน และมีเยาวชนอายุต่ ากว่า 24 ปี เสพติดบุหรี่กว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งในแต่ละปีจะมีเยาวชนไทยเสพติดบุหรี่ใหม่และกลายเป็นผู้ต้องสูบบุหรี่เป็นประจ าระหว่าง 200,000 ถึง 300,000 คน (กรมควบคุมโรค, 2548)

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ท าให้สนใจจะศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เนื่องจากนิสิตคณะศึกษาศาสตร์นั้นจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มีสุขภาพที่ดี และต้องเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียนในอนาคต แต่กลับพบว่ายังมีนิสิตบางกลุ่มยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่อยู่เป็นจ านวนมาก ดังนั้นแล้วผู้วิจัยจึงอยากศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์เพ่ือจะได้หาแนวทางในการลดจ านวนผู้สูบบุหรี่ลงในล าดับต่อไป

Page 8: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

2

1.2 วัตถุประสงค์ 1.) เพ่ือศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 2.) เพ่ือศึกษาทัศนคติท่ีมีต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 3.) เพ่ือศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อทราบถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตบางเขน รวมไปถึงทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิต แล้วมหาวิทยาลัยหรือผู้วางนโยบายสามารถน าไปเป็นแนวทางในการลดจ านวนผู้สูบบุหรี่ของนิสิต และยังสามารถหาแนวทางที่จะป้องกันไม่ให้นิสิตลองหรือเริ่มต้นการสูบบุหรี่ได้ 1.4 ขอบเขตของการศึกษา

ประชากร นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ประจ าปีการศึกษา 2557

ระยะเวลา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2558

ตัวแปรที่ศึกษา พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ

ความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ หมายถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ สาเหตุของการสูบบุหรี่ สารประกอบต่างๆในบุหรี่ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทั้งต่อผู้สูบเอง และบุคคลรอบข้าง

ทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ หมายถึง ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจน าไปสู่การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ หมายถึง การปฏิบัติตัวหรือการกระท า กริยาอาการ ความคิด และความรู้สึกของนิสิตที่

แสดงออกว่าสูบบุหรี่

Page 9: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

3

บทที ่2 ทบทวนวรรณกรรม

ในการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพ่ือน ามาเป็นแนวทางในการด าเนินการวิจัย ตามหัวข้อต่อไปนี้

2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 2.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ - ความหมายของบุหรี่ - ประเภทของบุหรี่ - อันตรายจากการสูบบุหรี่ 2.1.2 สาเหตุของการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น 2.1.3 พัฒนาการของวัยรุ่น 2.1.4 แนวคิดทฤษฎีพ้ืนฐาน

2.2 งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 2.1.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่

ความหมายของบุหรี่ บุหรี่ เป็นสิ่งที่ท าจากใบยาสูบซึ่งมีการน ามาประดิษฐ์และปรุงแต่งเป็นรูปแบบต่างๆ โดย

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของบุหรี่ไว้ว่า บุหรี่ หมายถึง บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ ยาเส้นหรือยาเส้นปรุงตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ (สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ, 2535)

ประเภทของบุหรี่ ส านักงานสถิติแห่งชาติ (2544) ได้แบ่งประเภทบุหรี่ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. บุหรี่ซอง ผลิตในประเทศโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดก้นกรองและชนิดไม่มีก้นกรอง

2. บุหรี่ซอง ผลิตจากต่างประเทศ 3. บุหรี่ม้วนเองหรือบุหรี่ที่ไม่ได้ผลิตจากโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 4. ประเภทอ่ืนๆ ได้แก่ บุหรี่ซิการ์ และไปป์ ฯลฯ

อันตรายจากการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ส าคัญของการเกิดโรคที่เป็นอันตราย ทั้งผู้สูบบุหรี่เองโดยตรงและผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ อันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ มีดังนี้

1.โรคมะเร็ง พบมากท่ีสุดคือ มะเร็งปอด โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า (สมชาย, 2520) ซึ่งข้ึนอยู่กับจ านวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ลกัษณะของการสูบบุหรี่และระยะเวลาที่สูบบุหรี่

Page 10: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

4

จากรายงานประจ าปี 2533 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าโรคมะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่เป็นกันมาก และสูงเป็นอันดับหนึ่ง (กัญจนา, 2536)

2. โรคหัวใจและหลอดเลือด การสูบบุหรี่ท าให้กรดไขมันอิสระในพลาสมามากขึ้น การจับกลุ่มของเกล็ดเลือดมากขึ้น เป็นผลให้ผู้สูบบุหรี่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า ซึ่งท าให้เกิดการ ตายอย่างเฉียบพลันสูงกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 3 เท่า ในผู้หญิงสูบบุหรี่และกินยาคุมก าเนิดจะมีโอกาสตายด้วยโรคหัวใจมากกว่าหญิงที่สูบบุหรี่แต่ไม่กินยาคุมก าเนิดถึง 10 เท่า (นิภาวรรณ, 2551)

3. โรคระบบทางเดินหายใจ ควันบุหรี่จะท าให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวของหลอดลมและถุงลม ท าให้เกิดอาการไอ และเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพองถึงร้อยละ70 (นิภาวรรณ, 2551)

4. โรคระบบทางเดินอาหาร สารเคมีในบุหรี่เป็นสาเหตุที่ท าให้กรดเพ่ิมข้ึนในกระเพาะอาหาร ท าให้เกิดความระคายเคือง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะและเกิดแผลในกระเพาะอาหาร พบว่าผู้สูบบุหรี่จะตายด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหารถึง 3 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (นิภาวรรณ, 2551)

5. ระบบสืบพันธุ์ ในผู้หญิงที่สูบบุหรี่มากจะเข้าสู่วัยหมดประจ าเดือนเร็วกว่าปกติในผู้ชาย และพบว่าการตีบตันของหลอดเลือดแดงท่ีไปเลี้ยงอวัยวะเพศบางส่วนจะท าให้สมรรถภาพทางเพศลดลง (สรายุทธ, 2546)

6. เหงือกและฟัน ผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดโรคของเหงือกและฟันมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ท าให้ฟันมีสีเหลืองและผู้ที่สูบบุหรี่นานๆฟันจะมีสีด า ท าให้เกดิกลิ่นปากและฟันผุกร่อน

2.1.2 สาเหตุของการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น สาเหตุของการสูบบุหรี่นั้น อาจมาจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้นสาเหตุของการสูบบุหรี่มีดังนี้ (สมจิตต์, 2522)

1. อยากลอง เด็กนักเรียนวัยนี้อยู่ในช่วงวัยรุ่นมีความสนใจ กระตือรือร้นที่อยากรู้ อยากลอง อยากมีประสบการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่อยากทดลองสูบ ซึ่งจะมีผลต่อการสูบครั้งต่อไป

2. เอาแบบอย่างตามกลุ่ม ในเด็กนักเรียนโดยเฉพาะวัยรุ่น มักจะใช้กลุ่มอ้างอิงถึงเสมอในแง่ความคิด ความรู้สึก การกระท า ทัง้นี้เพราะบุคคลต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและต้องการการยอมรับจากกลุ่ม ซึ่งเข้าท านองว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม” เมื่อกลุ่มที่ตนเองใช้เป็นกลุ่มอ้างอิงสูบบุหรี่ บุคคลที่มาสูบบุหรี่ในกลุ่มนั้นก็ย่อมมีแนวโน้มที่สูบบุหรี่ตามไปด้วย

3. การเอาแบบอย่างตามบุคคลอ่ืน ในสังคมทุกสังคมจะมีบุคคลแทบทุกประเภทที่สูบบุหรี่ เด็กนักเรียนจะเห็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ดาราภาพยนตร์ หรือแม้แต่แพทย์ที่สูบบุหรี่ ดังนั้นเด็กนักเรียนก็เอาตามอย่างบ้างโดยการลองสูบบุหรี่ดู

4. กิจกรรมสังคม ถ้าจะกล่าวว่าการสูบบุหรี่เป็นกิจกรรมหนึ่งของสังคมก็คงไม่ผิด เมื่อมีการรวมกลุ่มทางสังคม นอกจากจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบกันแล้ว การดื่มเครื่องดื่มและการสูบบุหรี่มักจะตามมาเสมอ บุหรี่มีไว้ต้อนรับแขกในงานสังคม เช่นเดียวกับพวกเครื่องดื่มที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์

5. ธรรมเนียม ในชุมชนบางแห่ง เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รวมทั้งบางส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งในสมัยโบราณจะเห็นได้ชัดว่า มีการจัดหมากพลู บุหรี่ต้อนรับแขก เมื่อแขกไปเยี่ยมก็ต้องมีการสูบบุหรี่ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่มีจิตใจเป็นมิตร การใช้บุหรี่ต้อนรับกลายเป็นการแสดงถึงน้ าใจไมตรีที่มีต่อกัน

Page 11: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

5

6. ความต้องการหลีกเลี่ยงการต่อว่าหรือต าหนิติเตียน เด็กนักเรียนโดยเฉพาะวัยรุ่น เริ่มแสดงความเป็นผู้ชายให้สังคมได้รู้จัก ถ้าคนไหนสูบบุหรี่ไม่เป็นจะถูกต าหนิ หรือพูดจาถากถางด้วยค าว่า “เด็กทารก” “ตัวเมีย” ซ่ึงแสดงว่าคนนั้นไม่มีลักษณะเป็นชาย เป็นการสร้างความเชื่อที่ผิดๆที่ว่าผู้ชายต้องสูบบุหรี่

7. กลไกของการปรับตัว บุคคลเป็นจ านวนมากใช้การสูบบุหรี่เป็นทางออกของความตึงเครียดทางอารมณ์ เมื่อเกิดความกลัดกลุ้มใจก็หันไปสูบบุหรี่โดยหวังว่าการสูบบุหรี่จะช่วยระงับอาการเหล่านั้น

8. การมีบุหรี่จ าหน่ายโดยทั่วไปและการโฆษณาทางสื่อมวลชน เพราะความสะดวกในการหาซื้อบุหรี่ ซึ่งมีจ าหน่ายอยู่ท่ัวทุกหนทุกแห่ง และการหาซื้อบุหรี่ได้ง่ายจึงมีส่วนท าให้คนสูบบุหรี่มากขึ้น ถ้าการจ าหน่ายบุหรี่มีเฉพาะที่และหาซื้อได้ยากแล้ว การสูบบุหรี่ก็คงจะลดลงเป็นจ านวนมาก ประกอบกับการโฆษณาทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนมีผลท าให้คนสูบบุหรี่มากข้ึน

9. การอบรมเลี้ยงดู ท่าทีของพ่อแม่ที่มีต่อลูกและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ถ้าเป็นความสัมพันธ์ที่ดีก็จะเป็นรากฐานที่ดีส าหรับลูก ท าให้เกิดความรู้สึกม่ันคงปลอดภัย แต่ถ้าเป็นครอบครัวที่มีแต่ความตึงเครียดหาความสุขไม่ได้เด็กเกิดความคับข้องใจ รู้สึกหวาดหวั่นไม่สบายใจจนต้องหาทางออกที่รู้สึกสบายใจจึงต้องหันไปพึ่งบุหรี่

2.1.3 พัฒนาการของวัยรุ่น องค์การอนามัยโลก (1998) ให้ความหมายของวัยรุ่นตามการเปลี่ยนในช่วงวัยรุ่น ซึ่งมี 3 ลักษณะ ได้แก่

1. มีพัฒนาการด้านร่างกาย ตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศจนกระทั่งมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์

2. มีพัฒนาการทางด้านจิตใจ โดยการเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ 3. มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากการพ่ึงพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่ต้องพ่ึงตนเอง

มากขึน้ สามารถหารายได้เป็นของตนเอง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2544) ให้ความหมายของวัยรุ่นไว้ว่าเป็นช่วงชีวติระหว่างวัยเด็กกับ

วัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวตอ่ที่ส าคัญเพราะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านในระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งระบบเพศ ด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจริยธรรม

สุชา จันทน์เอม (2540) ให้ความหมายของวัยรุ่นว่าเป็นวัยที่ก้าวย่างเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ โดยยึดความพร้อมทางด้านร่างกาย หรือภาวะสูงขีดของร่างกายเป็นเครื่องตัดสินเป็นระยะของชีวิตที่คั่นระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งไม่สามารถแบ่งขีดขั้นได้อย่างแน่นอน

อุไร สุมาริธรรม (2545) กล่าวว่าวัยรุ่นหมายถึง วัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพ่ือเตรียมความพร้อมส าหรับการเข้าสู่บทบาทการเป็นผู้ใหญ่

สุชา และ สุรางค์ (2518) ได้แบ่งวัยรุ่นออกเป็น 3 ระยะคือ 1. วัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty)

- เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง 11 – 13 ปี - เด็กชายจะมีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี

2. วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) - เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี

Page 12: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

6

- เด็กชายจะมีอายุระหว่าง 15 – 17 ปี 3. วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence)

- เด็กหญิงจะมีอายุระหว่าง 17 – 20 ปี - เด็กชายจะมีอายุระหว่าง 18 – 21 ปี

ลักษณะระยะต่างๆของวัยรุ่น พอสรุปได้ดังนี้ คือ 1. วัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty) เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตทางเพศอย่างสมบูรณ์ ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชาย ส าหรับเด็กหญิงนั้นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของร่างกายเต็มที่ก็คือ การมีประจ าเดือนครั้งแรก ส่วนในเด็กชายนั้นไม่มีลักษณะบ่งบอกท่ีแน่ชัด เช่น เด็กหญิงแต่เราอาจจะสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ คือ การหลั่งอสุจิในครั้งแรก การมีขนตามอวัยวะเพศ นอกจากนี้น้ าเสียงที่พูดยังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ห้าวขึ้น และมีนมลักษณะที่เรียกว่า “นมแตกพาน” ในเด็กหญิงนอกจากการมีประจ าเดือนครั้งแรกแล้วปรากฏว่าส่วนสัดต่างๆของร่างกายยังเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านอวัยวะเพศ และการเจริญเติบโตของทรวงอกเนื่องจากผลของฮอร์โมนไปบ ารุงมากขึ้น ในระยะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนี้เป็นระยะที่เตือนให้เราเห็นว่าระยะของวัยรุ่นได้ใกล้เข้ามาแล้ว 2. วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) จะเป็นช่วงเวลานานพอสมควร โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และความนึกคิด การเจริญเติบโตในระยะวัยรุ่นนี้ปรากฏว่ามีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ในด้านร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและสิ้นสุดลงเมื่อถึง “วุฒิภาวะของวัยรุ่น” ส่วนในด้านจิตใจนั้นส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้ ที่มาจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย แม้ว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จะเป็นสิ่งปกติของเด็กทุกคนเมื่อย่างเขา้สู่วัยรุ่นก็ตามแต่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม 3. วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) การพัฒนาการของวัยรุ่นเริ่มเข้าสู่วุฒิภาวะอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งมักจะมีการพัฒนาทางด้านจิตใจมากกว่าทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกี่ยวกับความนึกคิดและปรัชญาชีวิต เด็กวัยรุ่นระยะนี้มักจะพยายามปรับปรุงร่างกายของตัวให้เข้ากับด้านสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยพยายามจะหัดตัดสินใจในแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเองก่อให้เกิดความม่ันคงด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของครอบครัวด้วย คือ ให้บุคคลที่อยู่ในครอบครัวใหญ่ ๆ มีฐานะมั่นคงและมีพ่อแม่ที่ไม่เข้มงวดจนเกินไป ก็จะมีความมั่นใจและมั่นคงมากกว่าคนที่อยู่ในครอบครัวเล็ก ๆ และได้รับความเข้มงวดจากพ่อแม่ เมื่อประสบปัญหาในระยะนี้ วัยรุ่นมักหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ครู อาจารย์ แต่มักพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งผลในทางตรงกันข้าม ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้มักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หงุดหงิดง่าย ใจคออ่อนไหว แต่พยายามดับอารมณ์ด้วยความเยือกเย็นมากยิ่งข้ึน (สุชา,2533)

2.1.4 แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม (KAP Theory) ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม (KAP) เป็นทฤษฎีที่ให้ความส าคัญกับตัวแปร 3 ตัว

ประกอบด้วย ความรู้ ( Knowledge ) ทัศนคติ (Attitude ) และการยอมรับปฏิบัติ (Practice) ของผู้รับสาร อันอาจมีผลกระทบต่อสังคมต่อไป จากการรับสารนั้นๆ การเปลี่ยนแปลง ทั้ง 3 ประเภทนี้ จะเกิดข้ึนในลักษณะต่อเนื่อง กล่าวคือ เมื่อผู้รับสารได้รับสาร ก็จะท าให้เกิดความรู้เมื่อเกิดความรู้ขึ้น ก็จะไปมีผลท าให้เกิดทัศนคติ และข้ันสุดท้าย

Page 13: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

7

คือ การก่อให้เกิดการกระท า ซึ่งทฤษฎีเกี่ยวกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม (สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, 2533 ) ประกอบด้วย

1. แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ (Knowledge) เป็นการรับรู้เบื้องต้น ซึ่งบุคคลส่วนมากจะได้รับผ่านประสบการณ์ โดยการเรียนรู้จากการตอบสนองสิ่งเร้า

(Stimulus-Response) แล้วจัดระบบเป็นโครงสร้างของความรู้ที่ผสมผสานระหว่างความจ า กับสภาพจิตวิทยา ด้วยเหตุนี้ความรู้จึงเป็นความจ าที่เลือกสรร ซึ่งสอดคล้องกับสภาพจิตใจของตนเอง ความรู้ จึงเป็นกระบวนการภายใน อย่างไรก็ตามความรู้ก็อาจส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกของมนุษย์ได้

โสภิตสุดา มงคลเกษม (2539) กล่าวว่า ความรู้เป็นข้อเท็จจริงหรือความจริง เป็นข้อมูลที่มนุษย์ได้รับและเก็บรวบรวมจากประสบการณ์ต่างๆ การที่บุคคลยอมรับหรือปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างมีเหตุผล บุคคลควรจะต้องรู้เรื่องเก่ียวกับสิ่งนั้น เพ่ือประกอบการตัดสินใจ นั่นก็คือบุคคลจะต้องมีข้อเท็จจริงหรือข้อมูลต่างๆที่สนับสนุน และให้ค าตอบข้อสงสัยที่บุคคลมีอยู่ มีการชี้แจงให้บุคคลเกิดความเข้าใจและ ทัศนคติที่ดีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งเกิดความตระหนักถึงความเชื่อและค่านิยมต่างๆ

Benjamin S. Bloom (1971) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เก่ียวข้องกับการระลึกถึงเฉพาะเรื่องหรือเรื่องทั่วๆไป ระลึกถึงวิธีกระบวนการหรือสถานการณ์ต่างๆโดยเน้น ความจ า ซ่ึง Bloom ได้แยกระดับความรู้ไว้ 6 ระดับ ดังนี้

1) ระดับท่ีระลึกได้ หมายถึง การเรียนรู้ในลักษณะที่จ าเรื่องเฉพาะ วิธีปฏิบัต ิกระบวนการ และแบบแผนได้ ความส าเร็จในระดับนี้ คือ ความสามารถในการดึงข้อมูลจากความจ าออกมา

2) ระดับท่ีรวบรวมสาระส าคัญได้ หมายความว่า บุคคลสามารถท าบางสิ่งบางอย่างได้มากกว่าการจ าเนื้อหาที่ได้รับ สามารถเขียนข้อความเหล่านั้นได้ด้วยถ้อยค าของตนเอง สามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยภาพ ให้ความหมาย แปลความ และเปรียบเทียบความคิดอ่ืนๆหรือคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นต่อไปได้

3) ระดับของการน าไปใช้ สามารถน าเอาข้อเท็จจริงและความคิดที่เป็นนามธรรม ปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม

4) ระดับของการวิเคราะห์ สามารถใช้ความคิดในรูปของการน าความคิดมาแยกเป็นส่วน เป็นประเภท หรือน าข้อมูลมาประกอบกันเพ่ือการปฏิบัติของตนเอง

5) ระดับการสังเคราะห์ คือ การน าข้อมูลและแนวความคิดมาประกอบกัน แล้วน าไปสู่การสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่แตกต่างไปจากเดิม

6) ระดับของการประเมินผล คือ ความสามารถในการใช้ข้อมูลเพื่อตั้งเกณฑ์ การรวบรวม และวัดข้อมูลตามมาตรฐาน เพ่ือให้ข้อตัดสินถึงระดับของประสิทธิผลของกิจกรรมแต่ละอย่าง

2.แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ (Attitude) ทัศนคติเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงจ าเป็นที่ต้องเข้าใจถึงความหมายของทัศนคติ และ

กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ทัศนคติ เป็นแนวคดิที่มีความส าคัญมากแนวคิดหนึ่งทางจิตวิทยาสังคม และการสื่อสาร และมีการใช้ค านี้กันอย่างแพร่หลาย ส าหรับการนิยามค าว่า ทัศนคตินั้น ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้ ดังนี้

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร ( 2533) ได้กล่าวถึง ทัศนคติว่าเป็นดัชนีชี้วัดว่า บุคคลนั้นคิดและรู้สึกอย่างไร กับคนรอบข้าง วัตถ ุหรือสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสถานการณ์ต่างๆ โดยทัศนคตินั้นมีรากฐานมาจากความเชื่อท่ีอาจส่งผลถึงพฤติกรรมในอนาคตได้ ทัศนคติจึงเป็นเพียงความพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าและเป็นมิติของการประเมินเพ่ือแสดงว่าชอบหรือไม่ชอบต่อประเด็นหนึ่งๆ ซึ่งถือเป็นการสื่อสารภายในบุคคลที่เป็นผลกระทบมาจากการรับสารอันจะมีผลต่อพฤติกรรมต่อไป

Page 14: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

8

3. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม (Practice or Behavior) พฤติกรรมบางครั้งอาจเรียกว่า การยอมรับปฏิบัติหรือการมีส่วนร่วมของบุคคลในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งตรงกับค าภาษาอังกฤษว่า Practice or Behavior ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของค าดังกล่าวไว้ ดังนี้

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2533 ) กล่าวว่า พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของบุคคล โดยมีพ้ืนฐานมาจากความรู้และทัศนคติของบุคคล การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เนื่องมาจากการมีความรู้และทัศนคติท่ีแตกต่างกัน ความแตกต่างกันในการแปลความสารที่ตนเองได้รับ จึงก่อให้เกิดประสบการณ์สั่งสมที่แตกต่างกัน อันมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของบุคคล 2.2 งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

สุขุมาลย์ (2550) นักศึกษาที่สูบบุหรี่เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 16-18 ปีมากที่สุดถึงร้อยละ 30.7 เหตุที่สูบบุหรี่เพราะอยากลองและได้รับบุหรี่มวนแรกจากเพ่ือนสนิท บุหรี่ที่สูบเป็นชนิดก้นกรองและสูบ ทุกวัน ส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่เมื่อมีความเครียดโดยอัดควันบุหรี่เข้าปอดทุกครั้งเมื่อมีการสูบ ค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่เดือนละ 101-500 บาท ถ้าอยู่ที่สถานศึกษามักเข้าไปสูบในห้องน้ าจะไม่สูบเมื่อเห็นป้ายห้ามหรือเป็นเขตปลอดบุหรี่อีกทั้งส่วนใหญ่จะไม่สูบบุหรี่ต่อหน้าผู้ปกครองขณะอยู่ที่บ้าน อย่างไรก็ตามนักศึกษาท่ีสูบบุหรี่เคยเลิกสูบบุหรี่ถึงร้อยละ 78.3 แต่เลิกสูบไม่ได้ เพราะเพ่ือนหรือผู้ใกล้ชิดยังสูบอยู่แต่นักศึกษาต้องการเลิกสูบบุหรี่เพราะกลัวจะเป็นมะเร็งปอด แต่มีบางรายที่ไม่ต้องการเลิกสูบบุหรี่เพราะเห็นว่าสูบบุหรี่ทุกวันก็ไม่มีปัญหาอะไร

นิภาวรรณ (2551) ตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกตางระหว่างกลุ่ม ได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .001 มีจ านวน 4 ตัวแปร ตามล าดับความส าคัญ ได้แก่ เจตคติต่อการสูบบุหรี่ การเป็นตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดามารดาและเพ่ือน รายได้และการควบคุมของบิดามารดา ซึ่งสามารถจ าแนกพฤติกรรมการสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ได้ร้อยละ 88.7 โดยนักศึกษาหญิงที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่จะมีเจตคติที่ดีต่อการสูบบุหรี่และได้รับตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดา มารดาและเพ่ือนมากกว่าผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แต่จะมาจากครอบครัวที่รายได้น้อยกว่า และมีการควบคุมของบิดามารดาน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

ฉันทนา (2556) จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นสูบบุหรี่ด้วยกัน อาทิ พัฒนาการ เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อารมณ์ และ จิตสังคมมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่นจึงมีความอยากรู้ อยากลอง ต้องการทดสอบความเข้มแข็งทางใจของตนเอง ต้องการการยอมรับ ความรักจากบุคคลอื่น เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นตอนกลางอายุ 13 - 15 ปี ที่มีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่มีลักษณะแปรปรวน ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเรียกช่วงวัยนี้ว่าเป็นวัยพายุ บุแคม มักตัดสินใจด้วยอารมณ์ ดังนั้นจึงเป็นช่วงวัยที่ถูกชักจูงได้ง่ายบางครั้งประสบกับความเครียดและไม่สามารถจัดการด้วยตนเองได้ จึงหันไปสูบบุหรี่เพ่ือลดความเครียดของตนเอง อีกท้ังมีความเชื่อผิดๆ เช่น สูบแล้วเท่ สูบแล้วไม่ติด ช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศ ท าให้มีสมาธิ มีความมั่นใจในตนเองเพ่ิมข้ึน สามารถลดความวิตกกังวล ป้องกันโรคอ้วนได้ ในการนี้ยังเป็นสารเสพติดที่ถูก กฎหมายราคาไม่แพงมากสามารถหาซื้อและเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้บริษัทผลิตบุหรี่มีกลยุทธ์ในการโฆษณาหลอกล่อที่แนบเนียนและแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของรัฐบาลด้วยการจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นที่ว่าตนเองได้ผลิตสินค้าเสพติดและมีอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยรวมและคนรอบข้างอย่างร้ายแรง รวมถึงการพัฒนาส่วนประกอบของบุหรี่ที่ยั่วยุความต้องการของวัยรุ่น เช่น บุหรี่ที่มีรสชาติแปลกใหม่ กลิ่นหอม ไร้ควัน วัสดุหีบห่อที่ดึงดูดใจ ท าให้วัยรุ่นเริ่มต้นทดลองสูบบุหรี่จนกลายเป็นผู้เสพติดบุหรี่ในที่สุด

Page 15: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

9

จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า สาเหตุการเกิดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นมีหลายสาเหตุและข้ึนอยู่กับพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากในวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับในกลุ่มเพ่ือนและสังคม ดังนั้นแล้วพฤติกรรมเบี่ยงเบนและพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลายจึงจะท าตามการตัดสินใจของกลุ่ม ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นมีความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง และในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจัดท าขึ้นเพ่ือจะได้หาแนวทางในการป้องกันและลดจ านวนผู้สูบบุหรในวัยรุ่นให้น้อยลง

Page 16: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

10

บทที ่3 ระเบียบวิธีวิจัย

3.1 รูปแบบการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร

ประชากรในการศึกษา คือ นิสิตชาย ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จ านวน 1,132 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จ านวน 50 คน ซึ่งหาได้จากสูตรของ Yamane ซึ่งสุ่มตัวอย่างประชากรจาก นิสิตชาย ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยมีประชากรทั้งหมด 1,132 คน สามารถสุ่มตัวอย่างได้ดังนี้ สูตร n = เมื่อ n คือ จ านวนตัวย่าง หรือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N คือ จ านวนหน่วยทั้งหมด หรือ ขนาดของประชากรทั้งหมด

E คือ ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง ในที่นี้จะก าหนดเท่ากับ +/- 0.05 ภายใต้ความเชื่อมั่น 95%

แทนค่าสูตร ดังนี้ N = จ านวนนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิยาเขตบางเขน ประจ าปีการศึกษา 2557 เป็นจ านวนทั้งหมด 1,132 คน แทนค่าสูตร n = = 295

เพราะฉะนั้นจึงสุ่มตัวอย่างประชากรจากนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนเป็นจ านวนทั้งสิ้น 295 คน เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ในด้านก าลังของผู้ท าการศึกษา งบประมาณ ระยะเวลา มีจ ากัดจึงใช้จ านวนกลุ่มตัวอย่างเพียง 50 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถานที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง คือ สถานที่ตา่งๆในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น คณะศึกษาศาสตร์ โรงอาหารกลาง 1 และ 2 ศูนย์การเรียนรวม 1,2,3 และ 4 เป็นต้น

Page 17: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

11

3.3 เครื่องมือในการศึกษา การศึกษานี้ใช้เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถามเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การสูบบุหรี่ของนิสิตชายระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีลักษณะแบบตรวจสอบรายการ (Check list) เป็นแบบสอบถามท่ีถามข้อมูลพ้ืนฐานต่างๆของกลุ่มตัวอย่าง ไดแ้ก ่ อายุปัจจุบัน สาขาที่เรียนระดับชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือน ลักษณะการพักอาศัย ลักษณะที่พักอาศัย ประวัติบุคคลใกล้ชิด มีจ านวนข้อค าถามทั้งหมด 8 ข้อ

ตอนที่ 2 แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ ใช่ ไม่ใช่ ไม่ทราบ จ านวน 10 ข้อ โดยค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 0 - 30

คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูก ให ้ 3 คะแนน ตอบผิด ให ้ 0 คะแนน ไม่ทราบ ให ้ 0 คะแนน หมายเหตุ : ข้อ 6 จากข้อค าถามที่ว่า ก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ เกณฑ์การให้คะแนน คือ

ตอบถูก ให ้ 0 คะแนน ตอบผิด ให ้ 3 คะแนน ไม่ทราบ ให ้ 0 คะแนน แล้วหารด้วยจ านวนข้อจะได้พิสัยคะแนนที่แท้จริง คือ 0 – 3 คะแนน ได้คะแนนตามเกณฑ์แบ่งเป็น 3 ระดับ

คือ คะแนน 2.51 – 3.00 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับสูง คะแนน 1.51 – 2.50 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง คะแนน 0.00 – 1.50 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับต่ า ตอนที่ 3 แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จ านวน

10 ข้อ โดยค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 10 - 40 คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน คือ ตัวเลือก คะแนนข้อค าถามเชิงลบ คะแนนข้อถามเชิงบวก เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 4 เห็นด้วย 2 3 ไม่เห็นด้วย 3 2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 1

Page 18: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

13

แล้วหารด้วยจ านวนข้อจะได้พิสัยคะแนนที่แท้จริง คือ 1 – 4 คะแนน ได้คะแนนตามเกณฑ์แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

เกณฑ์การแปลผล ค่าเฉลี่ย 3.20 – 4.00 หมายถึง ทัศนคติดี ค่าเฉลี่ย 2.00 – 3.19 หมายถึง ทัศนคติปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.99 หมายถึง ทัศนคติไม่ดี

ตอนที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ปรับมาจาก สมชัย ชื่นตา (2528) และ กัตติกา พงษ์ศิริ (2536) จ านวน 10

ข้อ

3.4 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยไดสร้างข้ึนเอง โดยมีกระบวนการสร้างเครื่องมือ ตามล าดับขั้นตอนดังนี้

1) ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือ 3) สร้างเครื่องมือให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัย 4) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ประกอบดวย

- อาจารย สมคิด ปราบภัย - อาจารย นันทนภัส เกตนโกศัลย - อาจารยอัจฉริยะ เอนก 5) ปรับปรุงแกไขตามผู้เชี่ยวชาญแนะน าก่อนน าไปเก็บรวบรวมข้อมูล

3.5 การตรวจสอบเครื่องมือ น าเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจประเมินค่าความสอดคล้องระหว่างข้อค าถามกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา (IOC : Index of item Objective Congruence) หรือดัชนีความเหมาะสม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเนื้อหาของข้อค าถามแต่ละข้อ สามารถวัดได้ตรงกับจุดประสงค์ที่ก าหนดหรือไม่ โดยให้คะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้ ถ้าข้อค าถามวัดได้ตรงตามจุดประสงค์ ได้ +1 คะแนน ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อค าถามนั้นวัดตรงจุดประสงค์หรือไม่ ได้ 0 คะแนน ถ้าข้อค าถามวัดได้ไม่ตรงจุดประสงค์ ได้ -1 คะแนน หลังจากนั้นน าคะแนนของผู้เชี่ยวชาญทุกคนที่ประเมินมากรอกลงในแบบวิเคราะห์ความสอดคล้อง ของข้อค าถามกับจุดประสงค์เพ่ือหาค่าเฉลี่ย โดยใช้สูตร ดังนี้

Page 19: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

13

IOC = ∑

∑ = ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N = จ านวนผู้เชี่ยวชาญ เกณฑ์การคัดเลือกข้อค าถาม - ข้อค าถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 – 1.00 คัดเลือกไว้ใช้ได้ - ข้อค าถามที่มีค่า IOC ต่ ากว่า 0.5 ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง 3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. น าแบบสอบถามไปแจกด้วยตนเอง ให้กลุ่มที่ศึกษากรอกแบบสอบถามเสร็จและรอรับกลับคืนมาในทันที 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกฉบับเพ่ือให้ได้ข้อมูลครบ 100 % 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม และคัดเลือกฉบับที่สมบูรณ์มาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ก าหนด น าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูลส าเร็จรูป และให้การทดสอบสมมติฐานครั้งนี้มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ก าหนด 3. วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการทางสถิติ 4. ค านวณหาค่าสถิติพ้ืนฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพ่ือบรรยายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรอ่ืนๆ

Page 20: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

14

บทที ่4 ผลการศึกษาและอภิปรายผล

การศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิยาเขตบางเขน เป็นการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามเพ่ือสัมภาษณ์นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เพศชาย จ านวนทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง โดยผลการศึกษา มีดังนี้ 4.1 ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง จากการศึกษากลุ่มประชากรตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ 21 ปี จ านวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 32 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยู่สาขาวิชา สุขศึกษา จ านวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ก าลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที ่4 จ านวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 จ านวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 56 มีรายได้ระหว่าง 5,001 ถึง 10,000 บาท จ านวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 มีลักษณะการพักอาศัยอยู่คนเดียว จ านวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 38 ลักษณะที่พักอาศัย อยู่ทีห่อพักนอก จ านวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 38 และ บุคคลใกล้ชิดมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จ านวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 50.71 ดังตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะส่วนบุคคลของประชากร ความถี่ (จ านวนคน) ร้อยละ 1. อายุ 19 3 6 20 10 20 21 16 32 22 14 28 23 7 14 2. สาขาที่เรียน

การสอนคณิตศาสตร์ 4 8 การสอนวิทยาศาสตร์ 5 10 ธุรกิจคอมพิวเตอร์ 4 8 คหกรรมศาสตรศึกษา 3 6 สุขศึกษา 21 42 พลศึกษา 13 26

Page 21: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

15

ตารางท่ี 1 ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ) ลักษณะส่วนบุคคลของประชากร ความถี่ (จ านวนคน) ร้อยละ 3. ระดับชั้นเรียน ชั้นปีที่ 1 2 4

ชั้นปีที่ 2 16 32 ชั้นปีที่ 3 8 16 ชั้นปีที่ 4 24 48

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 28 56

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.00 – 3.00 22 44 คะแนนเฉลี่ยต่ ากว่า 2.00 0 0

5. รายได้ต่อเดือน ต่ ากว่า 3,000 บาท 5 10

3,001 – 5,000 บาท 16 32 5,001 – 10,000 บาท 23 46 มากกว่า 10,000 บาท 6 12

6. ลักษณะการพักอาศัย อยู่กับบิดา มารดา ผู้ปกครอง 17 34

อยู่กับเพ่ือน 12 24 อยู่คนเดียว 19 38 อ่ืนๆ 2 4

7. ลักษะท่ีพักอาศัย บ้าน 17 34

คอนโดมิเนียม และอพาร์ทเม้นท์ 9 18 หอพักใน 5 10 หอพักนอก 19 38

8. ประวัติบุคคลใกล้ชิด (ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบได้มากกว่า 2 ข้อ) มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 36 50.71

มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 30 42.25 มีพฤติกรรมการติดยาเสพติด 1 1.41 อ่ืนๆ 4 5.64

Page 22: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

16

ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง แบ่งระดับความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 ระดับ โดยใช้เกณฑ์คือ เกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูก ให้ 3 คะแนน ตอบผิด ให้ 0 คะแนน ไม่ทราบ ให้ 0 คะแนน หมายเหตุ : ข้อ 6 จากข้อค าถามท่ีว่า ก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ เกณฑ์การให้คะแนน คือ

ตอบถูก ให้ 0 คะแนน ตอบผิด ให้ 3 คะแนน ไม่ทราบ ให้ 0 คะแนน

แล้วหารด้วยจ านวนข้อจะได้พิสัยคะแนนที่แท้จริง คือ 0 – 3 คะแนน ได้คะแนนตามเกณฑ์แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

คะแนน 2.51 – 3.00 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับสูง คะแนน 1.51 – 2.50 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง คะแนน 0.00 – 1.50 คะแนน ถือว่า นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในระดับต่ า

โดยพิจารณาจากค่าร้อยละ ซึ่งจากการส ารวจจากการแจกแบบสอบถามในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ สามารถวิเคราะห์ผลรายข้อได้ คือ นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน พบว่า

มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง สารนิโคตินในบุหรี่ ท าให้ผู้สูบบุหรี่มีอาการติดบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาตได้ ห้ามขาย แลกเปลี่ยนหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ในระดับปานกลาง คือ ผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ในระดับต่ า คือ สารทาร์ในบุหรี่ มีผลท าให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว หา้มขายบุหรี่

ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน ก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ ดังตารางที่ 2

Page 23: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

17

ตารางท่ี 2 ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่จ าแนกรายข้อ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ค่าเฉลี่ย แปลผล 1. บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง 2.94 สูง 2. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย 3.00 สูง 3. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาตได้ 2.70 สูง 4. สารนิโคตินในบุหรี่ ท าให้ผู้สูบบุหรี่มีอาการติดบุหรี่ 2.82 สูง 5. สารทาร์ในบุหรี่ มีผลท าให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว 2.10 ต่ า 6. ก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ 0.60 ต่ า 7. ผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 2.16 ปานกลาง 8. ปั๊มน้ ามัน เป็นสถานที่ไม่ควรสูบบุหรี่เด็ดขาด 2.82 สูง 9. ห้ามขายบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน 1.14 ต่ า 10.ห้ามขาย แลกเปลี่ยนหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ 2.58 สูง ส่วนที่ 3 ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง

ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จ านวน 10 ข้อ โดยค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 10 - 40 คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน คือ ตัวเลือก คะแนนข้อค าถามเชิงลบ คะแนนข้อถามเชิงบวก เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 4 เห็นด้วย 2 3 ไม่เห็นด้วย 3 2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 1

แล้วหารด้วยจ านวนข้อจะได้พิสัยคะแนนที่แท้จริง คือ 1 – 4 คะแนน ได้คะแนนตามเกณฑ์แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ เกณฑ์การแปลผล

ค่าเฉลี่ย 3.20 – 4.00 หมายถึง ทัศนคติดี ค่าเฉลี่ย 2.00 – 3.19 หมายถึง ทัศนคติปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.99 หมายถึง ทัศนคติไม่ดี

จากการศึกษา พบว่า ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มีทัศนคติเชิงลบต่อการสูบบุหรี่อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้แก่ การสูบบุหรี่ท าให้มีความมั่นใจในตนเองมากข้ึน การสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติของคนธรรมดา การเลิกสูบบุหรี่เป็นการท าลายบุคลิกภาพของตนเอง และการสูบบุหรี่ช่วยผ่อนคลายความเครียด

มีทัศนคติเชิงลบต่อการสูบบุหรี่อยู่ในระดับ ดี ได้แก่ ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่สูบบุหรี่ ท่านจ าเป็นต้องสูบบุหรี่ด้วย การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

Page 24: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

18

มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่ อยู่ในระดับ ด ีได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ สามารถเก็บออมไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่จ าเป็นอย่างอ่ืนได้ ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้เป็นผู้ที่ชนะใจตนเอง การสูบบุหรี่มีทั้งอันตรายและผลเสียมากกว่าผลดี

มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่ในระดับ ปานกลาง คือ ท่านตั้งใจว่าจะเลิกสูบบุหรี่ ดังตารางที่ 3

ตารางท่ี 3 ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่จ าแนกรายข้อ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ค่าเฉลี่ย แปลผล ทัศนคติเชิงลบ 1. การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3.24 ดี 3. การสูบบุหรี่ท าให้มีความม่ันใจในตนเองมากขึ้น 3.14 ปานกลาง 4. การสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติของคนธรรมดาทั่วไป 2.78 ปานกลาง 5. การสูบบุหรี่ช่วยผ่อนคลายความเครียด 2.70 ปานกลาง 6. ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่สูบบุหรี่ ท่านจ าเป็นต้องสูบบุหรี่ด้วย 3.30 ดี 9. การเลิกสูบบุหรี่เป็นการท าลายบุคลิกภาพของตนเอง 2.72 ปานกลาง ทัศนคติเชิงบวก 2. การสูบบุหรี่มีทั้งอันตรายและผลเสียมากกว่าผลดี 3.54 ดี 7. ท่านตั้งใจว่าจะเลิกสูบบุหรี่ 3.14 ปานกลาง 8. ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ สามารถเก็บออมไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่จ าเป็นอย่างอ่ืนได้ 3.70 ดี 10. ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้เป็นผู้ที่ชนะใจตนเอง 3.64 ดี ส่วนที่4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบสอบถามท่ีเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจะสอบถามถึง พฤติกรรมการสูบบุหรี่ สาเหตุของการสูบบุหรี่ ความถี่ในการสูบบุหรี่ ลักษณะการซื้อบุหรี่ โอกาสในการซื้อบุหรี่ สถานที่ในการสูบบุหรี่ ปริมาณการสูบบุหรี่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ความถี่ของการรับสัมผัสกับควันบุหรี่ และเม่ือเห็นคนสูบบุหรี่ท่านมีพฤติกรรมอย่างไร จากการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ตอบว่า ไม่เคยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จ านวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 64 เคยถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ จ านวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ความถี่ในการรับสัมผัสควันบุหรี่ คือ 2 – 3 วันต่อสัปดาห์ จ านวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 ปฏิกิริยาของท่านเมื่อเห็นคนสูบบุหรี่ อันดับ 1 คือ หนีออกห่าง จ านวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 82 ดังตารางที่ 4 และจากผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่า มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า สาเหตุของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากความเครียด จ านวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ความถี่ในการสูบบุหรี่ คือ สูบบางโอกาส จ านวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ลักษณะการซื้อบุหรี่ คือ ซ้ือ 1-2 ซอง จ านวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 55.56 โอกาสในการสูบบุหรี่ คือ สูบเมื่อมีความเครียด จ านวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 61.12 สถานที่ในการสูบบุหรี่ คือ ไม่เลือกสถานที่ แล้วแต่โอกาส จ านวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 36.36 และ ปริมาณการสูบบุหรี่ คือ สูบบุหรี่จ านวน 1 – 5 มวนต่อวัน จ านวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ดังตารางที่ 5

Page 25: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

19

ตารางท่ี 4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ (จ านวนคน) ร้อยละ พฤติกรรมการสูบบุหรี่

เคย 18 36 ไม่เคย 32 64

การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ เคย 30 60

ไม่เคย 20 40 ความถี่ของการรับสัมผัสควันบุหรี่ ทุกวัน 15 30

2 -3 วันต่อสัปดาห์ 24 48 อ่ืนๆ 11 22

ปฏิกิริยาของท่านเมื่อเห็นคนสูบบุหรี่ หนีออกห่าง 41 82

เข้าไปว่ากล่าวตักเตือน 6 12 อ่ืนๆ 3 6

ตารางท่ี 5 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความถี่ (จ านวนคน) ร้อยละ สาเหตุการสูบบุหรี่

สูบคลายความเครียด 12 66.67 สูบแก้เหงาในเวลาว่าง 1 5.56 สูบตามเพ่ือน 3 16.67 สูบเพ่ือแสดงความโก้ เท่ห์ 0 0.00 สูบเพราะอยากลอง 2 11.11 สูบเพ่ือให้เป็นที่ยอมรับของเพ่ือน 0 0.00 สูบเพ่ือแสดงความมั่นใจในตนเอง 0 0.00 อ่ืนๆ 0 0.00

Page 26: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

20

ตารางท่ี 5 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (ต่อ) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความถี่ (จ านวนคน) ร้อยละ ความถี่ในการสูบบุหรี่ สูบทุกวัน 5 27.78

สูบ 2-3 วันต่อครั้ง 1 5.56 สูบสัปดาห์ละครั้ง 0 0.00 สูบบางโอกาส 12 66.67

ลักษณะการซื้อบุหรี่ มากกว่า 2 ซอง 0 0.00

1-2 ซอง 10 55.56 10 มวน 0 0.00 น้อยกว่า 10 มวน 5 27.78 อ่ืนๆ 3 16.67

โอกาสในการสูบบุหรี่ เมื่อมีความเครียด 11 61.12

เมื่อมีความประหม่า 1 5.56 ก่อน - หลังรับประทานอาหาร 1 5.56 หลังตื่นนอน 0 0.00 ทุกครั้งที่มีโอกาส 0 0.00 เวลาหยุดพักระหว่างเรียน 1 5.56 อ่ืนๆ 4 22.23

สถานที่ในการสูบบุหรี่ ( ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบได้มากกว่า 2 ข้อ ) ในห้องน้ า 4 18.18 ในที่พัก 3 13.64 บริเวณท่ีโล่งแจ้ง 6 27.27 ไม่เลือกสถานที่ แล้วแต่โอกาส 8 36.36 เฉพาะเวลากลับบ้าน 1 4.55

ปริมาณการสูบบุหรี่ จ านวน 1- 5 มวน 16 88.89

จ านวน 6 - 10 มวน 2 11.11 จ านวน 11 - 15 มวน 0 0.00 มากกว่า 15 มวน 0 0.00

Page 27: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

21

4.2 การอภิปรายผล จากการศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิยาเขตบางเขน พบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่อยู่ในระดับสูง แต่ในส่วนของค าถามเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากบุหรี่นิสิตยังมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ค่อนข้างต่ า ส่วนทางด้านทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ นิสิตส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง และทัศนคติเชิงบวกในระดับดี และด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า นิสิตที่ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มีร้อยละ 64 แต่นิสิตร้อยละ 36 มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จากการศึกษานี้ พบว่า ความรู้ ทัศนคต ิและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มีความสัมพันธ์กัน เนื่องจาก นิสิตส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ในระดับสูง และมีทัศนคติต่อการสูบบุหรี่เชิงบวกอยู่ในระดับดี จึงส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่พบว่านิสิตคณะศึกษาศาสตร์ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

Page 28: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

23

บทที ่5 สรุปผล อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จ านวน 50 คน โดยท าการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 – 30 เมษายน พ.ศ. 2558 ในช่วงเวลาวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 11.00 – 15.30 น. เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากการศึกษานั้นสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 5.1 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุ 21 ป ีเรียนสาขา สุขศึกษา ชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 มีรายได้ระหว่าง 5,001 ถึง 10,000 บาท มีลักษณะการพักอาศัยอยู่คนเดียว อาศัยอยู่ หอพักนอก และ ประวัติบุคคลที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้ใกล้ชิดนั้นมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ จากการส ารวจความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับ

บุหรี่อยู่ในระดับสูง สังเกตได้จากการตอบแบบสอบถามในข้อค าถามทั้ง 10 ข้อ ผลจากการวิเคราะห์ในส่วนนี้ พบว่า นิสิตมีความรู้อยู่ในระดับสูง เป็นจ านวน 6 ใน 10 ข้อ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูล จะเห็นได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่อยู่ในระดับที่สูง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ในแต่ละด้าน อาท ิโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ เป็นต้น

ส่วนที่ 3 ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ จากการส ารวจทัศนคติเก่ียวกับการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติท่ีดีและปานกลางต่อการสูบบุหรี่ในจ านวนที่เท่าๆกัน

ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ จากการส ารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิยาเขต บางเขน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ พบว่า สาเหตุของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความเครียด ความถี่ในการสูบบุหรี่ คือ สูบบางโอกาส สถานที่ในการสูบบุหรี่ พบว่า ไม่เลือกสถานที่ แล้วแต่โอกาส ลักษณะการซื้อบุหรี่ คือ จะมีการซื้อบุหรี่จ านวน 1-2 ซอง ต่อครั้ง ปริมาณการสูบบุหรี่ คือ สูบในจ านวน 1 – 5 มวนต่อวัน และ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ความถี่ในการรับสัมผัสควันบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง คือ 2 – 3 วันต่อสัปดาห์ และ ปฏิกิริยาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เมื่อพบเห็นคนสูบบุหรี่จะมีการแสดงออก คือ หนีออกห่างผู้ที่สูบบุหรี่

Page 29: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

23

5.2 ข้อเสนอแนะ การศึกษาในเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของนิสิตชาย ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในการส ารวจครั้งนี้ เป็นการส ารวจเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่าง ท าให้ขอบเขตการศึกษาอาจท าให้แตกต่างหรืออาจจะคล้ายคลึงจากการศึกษาอื่นๆ นอกจากนี้อาจจะขยายขอบเขตในการวิจัยให้มีความกว้างมากขึ้น

ข้อเสนอแนะการท าวิจัยในครั้งต่อไป 1. ควรเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างให้มากกว่านี้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้น้อยเกินไป ท าให้การวิเคราะห์ผลขาดความละเอียด ขาดข้อมูลเชิงลึกในกลุ่มที่ต้องการจะศึกษา และอาจจะท าให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง 2. ในแบบสอบถามบางข้อควรจะใช้ค าให้ชัดเจนกว่านี้ เพราะอาจจะท าให้ผู้ตอบแบบสอบถามไม่เข้าใจและตอบแบบสอบถามไม่ครบและไม่เป็นความจริง 3.ในระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลควรจะมีการวางแผนระยะเวลาให้เหมาะสม เพ่ือที่จะได้แบบสอบถามที่ดีในการท าวิจัยครั้งต่อไป

Page 30: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

24

สิ่งอ้างอิง

ฉันทนา แรงสิงห์. 2556. การดูแลวัยรุ่นที่สูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก14 (2): 17-24.

นิภาวรรณ หมีทอง. 2551. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงในเขต กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลดาวัลย์ คันธธาศิร.ิ 2550. พฤติกรรมการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปริญญาตรี,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Page 31: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

25

ภาคผนวก

Page 32: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

26

แบบสอบถาม

เร่ือง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี ่

ของนิสิตชายปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ค าชี้แจง

แบบสอบถามชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชายปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาปัญหาพิเศษ (01173498) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษา ขอความกรุณาท่านโปรดกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง เพ่ือประโยชน์ในการศึกษาต่อไป และขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย

นางสาว อาภารัตน์ อิงคภากร นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

Page 33: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

27

ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล

ค าชี้แจง โปรดท าเครื่องหมาย ✓ลงใน ( ) หรือเติมข้อความลงในช่องว่างที่ตรงตามความเป็นจริงเกี่ยวกับท่านให้มากที่สุดและโปรดตอบทุกข้อค าถาม 1. ปัจจุบันอายุ …………………ปี

2. สาขาที่เรียน

( ) การสอนคณิตศาสตร์ ( ) การสอนวิทยาศาสตร์ ( ) ธุรกิจคอมพิวเตอร์

( ) คหกรรมศาสตรศึกษา ( ) สุขศึกษา ( ) พลศึกษา

3. เรียนอยู่ระดับชั้น

( ) ชั้นปีที่1 ( ) ชั้นปีที่2 ( ) ชั้นปีที่3 ( ) ชั้นปีที่4

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

( ) คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.00 ( ) คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.00 – 3.00 ( ) คะแนนเฉลี่ยต่ ากว่า 2.00

5. รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือน

( ) ต่ ากว่า 3,000 บาท ( ) 3,001 – 5,000 บาท ( ) 5,001 – 10,000 บาท ( ) มากกว่า 10,000 บาท

6.ลักษณะการพักอาศัย

( ) อยู่กับบิดา-มารดา / ผู้ปกครอง ( ) อยู่กับเพ่ือน ( ) อยู่คนเดียว ( ) อ่ืนๆ ระบ ุ……………..

7. ลักษณะที่พักอาศัย

( ) บ้าน ( ) คอนโด / อพาร์ทเม้นท์ ( ) หอพักใน ( ) หอพักนอก

8. ประวัติบุคคลใกล้ชิด (สามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

( ) มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ( ) มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์

( ) มีพฤติกรรมการติดยาเสพติด ( ) อ่ืนๆ ระบ ุ...........................................

Page 34: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

28

ตอนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่

ค าชี้แจง โปรดท าเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดของท่านมากท่ีสุดและโปรดตอบทุกข้อค าถาม

ข้อความ ถูก ผิด ไม่ทราบ

1. บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง

2. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย

3. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุท าให้เส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาตได้

4. สารนิโคตินในบุหรี่ ท าให้ผู้สูบบุหรี่มีอาการติดบุหรี่

5. สารทาร์ในบุหรี่ มีผลท าให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว

6. ก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้

7. ผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

8. ปั๊มน้ ามัน เป็นสถานที่ไม่ควรสูบบุหรี่เด็ดขาด

9. ห้ามขายบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน

10. ห้ามขาย แลกเปลี่ยนหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

Page 35: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

29

ตอนที่ 3 ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่

ค าชี้แจง โปรดท าเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดของท่านมากท่ีสุดและโปรดตอบทุกข้อค าถาม

ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

1. การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. การสูบบุหรี่มีทั้งอันตรายและผลเสียมากกว่าผลดี

3. การสูบบุหรี่ท าให้มีความม่ันใจในตนเองมากขึ้น

4. การสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติของคนธรรมดาทั่วไป

5. การสูบบุหรี่ช่วยผ่อนคลายความเครียด

6. ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่สูบบุหรี่ ท่านจ าเป็นต้องสูบบุหรี่ด้วย

7. ท่านตั้งใจว่าจะเลิกสูบบุหรี่

8. ค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ สามารถเก็บออมไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่จ าเป็นอย่างอ่ืนได้

9. การเลิกสูบบุหรี่เป็นการท าลายบุคลิกภาพของตนเอง

10. ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้เป็นผู้ที่ชนะใจตนเอง

Page 36: รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ เรื่องped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_21_51_44.pdf · ข อาภารัตน์

30

ตอนที่ 4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่

ค าชี้แจง โปรดท าเครื่องหมาย ✓ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเป็นจริงในช่องใดช่องหนึ่งและโปรดตอบทุกข้อค าถาม 1. ท่านมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือไม่

( ) เคย ( ) ไม่เคย (ข้ามไปท าข้อ 8 ) 2. สาเหตุของการสูบบุหรี่

( ) สูบคลายความเครียด ( ) สูบแก้เหงาในเวลาว่าง ( ) สูบตามเพ่ือน ( ) สูบเพ่ือแสดงความโก้ เท่ห์ ( ) สูบเพราะอยากลอง ( ) สูบเพ่ือให้เป็นที่ยอมรับของเพ่ือน ( ) สูบเพ่ือแสดงความมั่นใจในตนเอง ( ) อ่ืนๆ ระบ.ุ.............................

3. ความถี่ในการสูบบุหรี่ ( ) สูบทุกวัน ( ) สูบ 2 – 3 วันต่อครั้ง

( ) สูบสัปดาห์ละครั้ง ( ) สูบบางโอกาส เช่น เข้าสังคมเวลาดื่มสุรา 4. ลักษณะการซื้อบุหรี่ท่านมีการซื้ออย่างไร ( ) มากกว่า 2 ซอง ( ) 1- 2 ซอง ( ) 10 มวน

( ) น้อยกว่า 10 มวน ( ) อ่ืนๆ ระบ ุ..................................... 5. โอกาสในการสูบบุหรี่

( ) เมื่อมีความเครียด ( ) เมื่อมีความประหม่า ( ) ก่อน- หลังรับประทานอาหาร ( ) หลังตื่นนอนใหม่ ( ) ทุกครั้งที่มีโอกาส ( ) เวลาหยุดพักระหว่างเรียน ( ) อ่ืนๆ ระบ.ุ.............................

6. สถานที่ในการสูบบุหรี่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) ในห้องน้ า ( ) ในที่พัก ( ) บริเวณท่ีโล่งแจ้ง เช่น สนามกีฬา ( ) ไม่เลือกสถานที่แล้วแต่โอกาส ( ) สูบเฉพาะเวลากลับบ้าน

7. ปริมาณการสูบบุหรี่วันละกี่มวน ( ) จ านวน 1 – 5 มวน ( ) จ านวน 6 – 10 มวน ( ) จ านวน 11 -15 มวน ( ) มากกว่า 15 มวน

8. ท่านเคยถูกชักชวนให้สูบบุหรี่หรือไม่ ( ) เคย ( ) ไม่เคย 9. ความถี่ของการรับสัมผัสกับควันบุหรี่ของท่านเป็นอย่างไร ( ) ทุกวัน ( ) 2 – 3 วันต่อสัปดาห์ ( ) อ่ืนๆ ระบ ุ........................... 10. ท่านท าอย่างไรเม่ือเห็นคนสูบบุหรี่ ( ) หนีออกห่าง ( ) เข้าไปว่ากล่าวตักเตือน ( ) อ่ืนๆ ระบ.ุ...........................