12
การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โมดูลที 8

การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศริิลักษณ์ วงส์พิเชษฐ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

โมดูลท่ี

8

Page 2: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 2

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์

การจัดการของเสียของฟาร์ม ได้แก่ มูลสัตว์ น้้าเสีย ก๊าซและกลิ่น ซากสัตว์ และขยะ เป็นสิ่งที่มี ความส้าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดการเลี้ยงดูสัตว์ให้มีศักยภาพการผลิตที่ดี จากปริมาณของเสียจ้านวนมากท้าให้มีการบูรณาการหลักการ 3R’s มาในกระบวนการผลิตสัตว์ของฟาร์ม เพื่อช่วยลดปริมาณของเสียที่จะต้องก้าจัด และเพ่ิมประสิทธิภาพการจัดการของเสียของฟาร์ม

ทั้งนี้การน้าของเสียจากการผลิตสัตว์มาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การใช้ท้าปุ๋ย การผลิตก๊าซชีวภาพ และการใช้เป็นอาหารสัตว์ นับเป็นการเพิ่มมูลค่าของของเสียซึ่งอาจอยู่ในรูปของการสร้างรายได้ หรือการลดค่าใช้จ่ายในการด้าเนินงานฟาร์ม หรือการลดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งในภาพรวมจะมีส่วนส้าคัญท่ีช่วยให้ฟาร์มด้าเนินงานได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน

ของเสียที่เกิดจากการผลิตสัตว์ ของเสีย (waste) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตใดๆ ก็ตาม อันเป็นผลมาจากความไม่สามารถเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นผลผลิตที่ต้องการได้ ส้าหรับกระบวนการผลิตสัตว์นั้น ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ส้าคัญ ได้แก่ มูลและปัสสาวะสัตว์ น้้าเสีย ซากสัตว์ ก๊าซ และขยะ เนื่องจากของเสียเหล่านี้มีหลากหลายชนิดทั้งในรูปของแข็ง ของเหลวและก๊าซที่สัตว์ขับถ่ายออกมาและที่เกิดจากการหมักเน่าของของเสียอ่ืนที่มีการจัดการก้าจัดที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการมีความรู้และเข้าใจถึงชนิดของของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตสัตว์ จะช่วยให้ฟาร์มมีการจัดการก้าจัดได้อย่างถกูต้องและเหมาะสม

1. มูลและปัสสาวะสัตว์ มูลและปัสสาวะสัตว์ เป็นสิ่งที่สัตว์ขับถ่ายออกมา เป็นส่วนของกากอาหารหรืออาหารที่ไม่ถูกย่อย

และอาหารบางส่วนที่ถูกย่อยแล้วแต่ร่างกายสัตว์ไม่สามารถดูดซึมไปใช้ รวมทั้งเซลล์ของจุลินทรีย์และเศษเนื้อเยื่อบุผนังล้าไส้ในระบบทางเดินอาหารที่หลุดปะปนออกมาด้วย ทั้งนี้ปริมาณและลักษณะของมูลสัตว์ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ชนิด ขนาดและอายุของสัตว์ อาหารที่สัตว์กิน สภาพแวดล้อมและการจัดการเลี้ยงดู เป็นต้น ดังตัวอย่าง

- ชนิดสัตว์ มูลไก่มีลักษณะค่อนข้างเหลวเมื่อเทียบกับสัตว์อ่ืน เนื่องจากไก่ไม่มีกระเพาะปัสสาวะจึงขับของเสียที่เป็นน้้าออกมาพร้อมกับมูล หรือโคและกระบือเป็นสัตว์กระเพาะรวมจะกินอาหารที่มีเยื่อใยสูง มูลที่ขับออกมาก็จะมีกากหรือเยื่อใยสูงกว่ามูลสุกรและสัตว์ปีกซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวที่กินอาหารข้นที่มีเยื่อใยต่้า

Page 3: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 3

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

- ขนาดตัวสัตว์ มูลที่ไก่ มีปริมาณวันละ 0.1 กิโลกรัม ส่วนสุกรขับถ่ายมูลวันละ 7 กิโลกรัม แต่เมื่อเทียบกับน้้าหนักตัวแล้ว ปริมาณมูลที่ไก่ขับถ่ายออกมาคิดเป็นร้อยละ 4.5 ของน้้าหนักตัว มากกว่าสุกรถึงกว่าสองเท่า และใกล้เคียงกับโคเนื้อและโคนม

ตารางท่ี 1 ปริมาณมูลที่สัตว์ขับถ่ายและส่วนประกอบของธาตุอาหารในมูลสัตว์

หน่วย ไก่ (2 กก./ตัว)

สุกร (90 กก./ตัว)

โคเนื้อ (520 กก./ตัว)

โคนม (640 กก./ตัว)

สัตว์ 1 ตัว ให้ 1 - มูลสด - ปริมาณปัสสาวะ

กก./วัน 0.1 7 29 50 %ของนน.ตัว %ของนน.ตัว

4.5 -

2 3

5 4-5

5 4-5

- วัตถุแห้ง - โปรตีนหยาบ

(CP)

%ของมูลสด %ของน้้าหนักแห้ง

26 31.3

9 23.5

12 20.3

14 *

สัตว์นน. 100 กก. ให้ 2

1. มูลสด

กก./วัน 5.6 7.0 6.4 * ตัน/ปี 3.22 2.24 2.06 *

2. ไนโตรเจนในมูล กก./ปี 33.3 18.5 13.8 * 3. ฟอสฟอรัสในมูล กก./ปี 25.3 11.0 4.1 * 4. โปตัสเซียมในมูล กก./ปี 11.8 17.2 11.2 * * ไม่มีข้อมูล ที่มา: ดัดแปลงจาก 1 Fontenot et al (1983), 2 E.P. Taiganides and T.E. Hazen (1966)

2. น้้าเสีย น้้าเสีย หมายถึง น้้าทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ ของการเลี้ยงสัตว์ เช่น น้้าล้างคอกและท้าความสะอาดตัว

สัตว์ น้้าล้างอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ น้้าที่ใช้ในการระบายความร้อนให้แก่สัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะมีปัสสาวะและเศษมูลสัตว์ปะปนมาด้วย

น้้าเสียที่เกิดขึ้นในฟาร์มจะข้ึนอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิด จ้านวน และขนาดของสัตว์ ลักษณะอาหารและวิธีการให้อาหาร ลักษณะโรงเรือนและระบบจัดการของเสีย วิธีการท้าความสะอาดคอกและปริมาณน้้าที่ใช้ล้างหรือท้าความสะอาด

Page 4: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 4

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปัญหาด้านปริมาณน้้าเสียของฟาร์มสัตว์แต่ละประเภทมีระดับความรุนแรงของปัญหาแตกต่างกัน โดย ฟาร์มสัตว์ปีก มีปัญหาด้านน้้าเสียน้อยกว่าฟาร์มสัตว์ชนิดอ่ืนๆ เนื่องจากวัสดุรองพ้ืนคอก เช่น ขี้เลื่อย หรือแกลบ ได้ช่วยดูดซับสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ รวมทั้งการท้าความสะอาดจะไม่ใช้น้้า จึงมีน้้าเสียในปริมาณน้อย ส่วนฟาร์มสุกรจะมีการใช้น้้าปริมาณมากท้าให้มีน้้าสียจ้านวนมาก ในท้านองเดียวกับฟาร์มโคนม

3. ก๊าซและกลิ่น ก๊าซที่เป็นของเสียจากการผลิตสัตว์ มีทั้งที่เกิดจากการขับถ่ายของสัตว์โดยตรง และเกิดจากการ

ตกค้างของเศษอาหาร มูลและปัสสาวะที่สัตว์ขับถ่ายออกมาในคอกหรือรางระบายน้้า หรือกองไว้เพ่ือรอการก้าจัดออกจากฟาร์ม ได้เกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือมีการสลายตัว ท้าให้มีก๊าซเกิดขึ้น (ภาพที่ 14.1) ก๊าซที่เกิดขึ้นจากการผลิตสัตว์บางชนิดไม่มีกลิ่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และหลายชนิดมีกลิ่นเหม็น เช่น แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า ถ้าฟาร์มมีการจัดการระบายอากาศที่ดีภายในโรงเรือน ก๊าซที่เกิดข้ึนโดยทั่วไปจะไม่ถึงขั้นท้าอันตรายต่อตัวสัตว์ แต่จะรบกวนสุขภาพและประสิทธิภาพทางการผลิตของสัตว์

ภาพที่ 1 แผนผังกระบวนการเกิดกลิ่นของฟาร์ม

4. ซากสัตว์ ซากสัตว์ หมายถึง ร่างกายสัตว์ที่ตาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคและสาเหตุอ่ืนที่ไม่ใช่เชื้อโรค

นอกจากนี้สัตว์พิการหรืออ่อนแอที่พิจารณาแล้วว่าอาจไม่มีชีวิตรอด หากปล่อยไว้อาจเป็นพาหะน้าโรค ก็จะต้องท้าการคัดทิ้งและท้าลาย ฟาร์มจะต้องมีบริเวณเฉพาะส้าหรับท้าลายซากสัตว์ โดยเป็นพ้ืนที่ที่ห่างจากบริเวณโรงเรือนท่ีอาศัยของสัตว์ และไม่ใช่ทางผ่านประจ้าของบุคลากรของฟาร์ม อย่างไรก็ดี แม้ว่าสัตว์จะตาย

อาหาร โรงเรือน/คอกสตัว ์ ระบบบ าบดัน ้ าเสีย

อาหารตกคา้ง

ปัสสาวะและ มูลสตัว ์

ลานตากมูล

ก๊าซแอมโมเนีย

ก๊าซไข่เน่า

วสัดุรองพ้ืนคอก

สตัว ์

รางระบายน ้ าและบ่อกกัเก็บน ้ าเสีย

Page 5: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 5

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

จากสาเหตุที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ ก็ไม่ควรน้าซากสัตว์นั้นมาใช้เป็นอาหารบริโภคของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซากสัตว์ที่ป่วยตายจากการติดเชื้อโรคและไม่รู้สาเหตุห้ามน้ามารับประทานเด็ดขาด

5. ขยะ ขยะ หมายถึง เศษวัสดุ เศษอาหาร ภาชนะท่ีใช้บรรจุปัจจัยการผลิต เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก

กระป๋องใส่ยา ถุงใส่อาหารและวัตถุดิบอาหาร เป็นต้น ฟาร์มต้องมีการแยกประเภทของขยะ นอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะที่ต้องก้าจัดแล้ว ขยะบางชนิดสามารถน้ากลับมาใช้ใหม่ได้หรือน้าไปใช้ประโยชน์ในด้านอ่ืนๆ บางชนิดสามารถขายเป็นรายได้พิเศษของแรงงานในฟาร์ม

แนวคิดในการเพ่ิมมูลค่าของเสียโดยการน้าของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันการจัดการของเสียของฟาร์มเป็นสิ่งที่ท้าได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากปริมาณของเสียที่ต้องก้าจัดเมื่อ

เทียบต่อพ้ืนที่การผลิตของฟาร์มจะมีเป็นจ้านวนมาก ในขณะที่ทรัพยากรที่ใช้ในการก้าจัดของเสียกลับมีปริมาณจ้ากัดและไม่ได้สัดส่วนกับปริมาณของเสียที่เพ่ิมมากข้ึน เช่น การขาดพ้ืนที่ที่ใช้ในการก้าจัดและบ้าบัดของเสีย การขาดแรงงานฟาร์ม น้้ามันเชื้อเพลิงมีราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีราคาสูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเพ่ิมต้นทุนการผลิต ฯลฯ ดังนั้นจึงมีการน้าหลักการด้าเนินงาน 3R’s ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้้า (Reuse) และการน้ากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาใช้ เพื่อลดปริมาณของเสียและเพ่ิมประสิทธิภาพการก้าจัดของเสียของฟาร์ม นอกจากนี้หากการก้าจัดของเสียนั้นสามารถสร้างประโยชน์ต่อฟาร์มในแง่ของการสร้างรายได้ ย่อมเป็นสิ่งจูงใจให้ฟาร์มมีการก้าจัดของเสียของฟาร์มอย่างถูกต้อง

การก้าจัดของเสียโดยน้าหลักการด้าเนินงาน 3R’s ในการปฏิบัติงานฟาร์ม มีแนวทางดังนี้ 1. การลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตสัตว์ โดยฟาร์มต้องมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่าง

มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต ตลอดจนมีการปรับปรุงด้านเทคนิคและวิธีการในกระบวนการการผลิต เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เลือกพันธุ์สัตว์มาเลี้ยงต้องสอดคล้องกับความพร้อมของทรัพยากรฟาร์ม หากเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดี แต่สัตว์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ สัตว์ก็ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ตามมาตรฐานของพันธุ์สัตว์ได้ นั่นหมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิตและเกิดความสูญเสียด้านการผลิต

2. การเพิ่มประสิทธิภาพการก้าจัดของเสีย ต้องพิจารณาเลือกวิธีการก้าจัดของเสียให้ถูกต้องและ เหมาะสมกับลักษณะของของเสียนั้น เพ่ือให้ของเสียที่ต้องก้าจัดมีปริมาณน้อยที่สุด เช่น มีการคัดแยกวัสดุเหลือใช้ออกจากของเสีย การเลือกวิธีบ้าบัดและก้าจัดที่เหมาะสมกับลักษณะสมบัติของเสีย

3. การเพิ่มมูลค่าของเสียโดยการน้าของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ของเสียจากการผลิตสัตว์หลาย ชนิดยังมีคุณค่าท่ีจะน้าไปใช้ประโยชน์ จากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ท้าให้มีการใช้ประโยชน์จากของเสียแพร่หลายมากขึ้น เช่น การใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ และการใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น

Page 6: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 6

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การเพิ่มมูลค่าของเสียโดยการน้าของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน ์การน้าของเสียจากการผลิตสัตว์มาใช้ประโยชน์นั้น นอกจากจะท้าให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการลดปริมาณของเสียจากการผลิต ลดปัญหามลภาวะของฟาร์มและสิ่งแวดล้อมท่ีเป็นปัญหากระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่ายของฟาร์ม สร้างอาชีพและธุรกิจต่างๆ ที่เก่ียวข้อง ซึ่งนับได้ว่าให้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ในอดีต ขนไก่ เศษเนื้อและกระดูกป่น จัดเป็นของเสียจากโรงงานแปรรูปไก่ เมื่อมีการคิดค้นและพัฒนาโดยน้าหลักการด้าเนินงานด้าน 3R’s มาใช้ ท้าให้ทั้งขนไก่ เศษเนื้อและกระดูกป่น ถูกน้ามาใช้เป็นวัตถุดิบส้าหรับผลิตสินค้าในรูปอ่ืนๆ ที่สามารถสร้างรายได้เช่นเดียวกับผลผลิตหลัก เช่น เนื้อ นมและไข่

หากจะเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าแล้ว การเพ่ิมมูลค่าของเสียของฟาร์ม อาจกล่าวได้ว่า เป็นการน้าวัตถุดิบ “ของเสียจากการผลิตสัตว์” มาใช้ในการสร้างผลผลิตส้าหรับใช้ประโยชน์นั่นเอง ส้าหรับการเพ่ิมมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ที่น่าสนใจ

1. การผลิตปุ๋ย 2. การผลิตก๊าซชีวภาพ 3. การผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียฟาร์มโดยใช้ผลิตปุ๋ย มูลสัตว์และน้้าเสียของฟาร์มสามารถใช้ท้าปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้้าสกัดจากปุ๋ยหมัก และกากมูลหมัก ซึ่ง

จะช่วยลดปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม ลดกลิ่นเหม็นและแมลงวัน ลดปริมาณของเสียท้าให้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขนย้ายและเก็บรักษา ทั้งนี้กระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ จะเปลี่ยนรู ปอินทรียสารที่เป็นองค์ประกอบของของเสียเป็นอนินทรียสารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้

แม้ว่าปุ๋ยมูลสัตว์จะให้ธาตุอาหารหลักไม่เข้มข้นเช่นปุ๋ยเคมี แต่จะให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารปลีกย่อยที่ปุ๋ยเคมีไม่มี ประกอบกับปุ๋ยจากมูลสัตว์ ท้าให้ดินมีการระบายน้้าและอากาศดีขึ้น จะช่วยให้จุลินทรีย์ด้าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพ่ิมปริมาณของจุลินทรีย์ในดินอีกด้วย ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์มีคุณสมบัติช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพ่ิมความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาหน้าดินไว้

ตารางท่ี 2 คุณค่าของธาตุอาหารส้าหรับพืชในมูลสัตว์ชนิดต่างๆ

ชนิดมูลสัตว์ pH ธาตุอาหารหลัก (%) ธาตุอาหารรอง (%) N P K Ca Mg S

มูลวัวใหม่ 10.4 1.95 1.76 0.43 1.82 0.56 0.07 มูลวัวเก่า 8.7 1.73 0.49 0.30 0.55 0.22 0.05

Page 7: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 7

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มูลกระบือ (เก่า) 8.7 1.82 1.92 0.12 2.06 0.74 0.52 มูลสุกร (เก่า) 6.9 2.83 16.25 0.11 8.11 2.42 0.14 มูลไก่ไข่ 7.5 2.28 5.91 3.02 12.10 1.07 0.67 มูลไก่เนื้อ (ใหม่) 8.0 2.65 2.69 1.85 2.18 0.51 0.18 มูลไก่เนื้อ (เก่า) 8.2 2.09 6.07 0.42 11.30 0.86 0.68

ที่มา: สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลติ (2544)

ของเสียจากการผลิตสัตว์ของฟาร์ม สามารถน้าใช้ประโยชน์และเพ่ิมมูลค่าโดยใช้ท้าปุ๋ยได้หลาย

รูปแบบ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้้าสกัดจากปุ๋ยหมัก และกากมูลหมัก ในกรณีการน้ามูลสัตว์มาท้า “ปุ๋ยหมัก” จ้าเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมต่อกับจุลินทรีย์เพ่ือย่อยสลายอินทรียสารที่มีอยู่ในมูลสัตว์ให้เปลี่ยนเป็นอนินทรียสารที่พืชดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปหรือไม่เหมาะสมกับการท้างานของจุลินทรีย์ดังกล่าว ก็จะท้าให้การย่อยสลายเกิดอย่างช้าๆ หรือหยุดชงักได้ สภาพแวดล้อมที่ต้องพิจารณาในการท้าปุ๋ยหมัก ได้แก่ ความสมดุลของธาตุอาหาร ความชื้น อุณหภูมิ ออกซิเจน ความเป็นกรด-ด่างและขนาดของชิ้นส่วนวัสดุท้าปุ๋ยหมัก

โดยปกติมูลสัตว์จะมีโปรตีนระดับสูง ดังนั้นการท้าปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์จึงต้องมีการปรับสัดส่วนด้วยวัสดุที่มีพลังงานสูงหรือมีโปรตีนต่้า เช่น เศษต้นพืช ฟางข้าว เป็นต้น

ตารางท่ี 3 การปรับค่าความสมดุลของธาตุอาหาร (C:N) ในการท้าปุ๋ยหมักจากมูลสุกร*

วัสดุที่ใช้ปรับค่าความสมดุลของธาตุอาหาร (C: N) ปริมาณวัสดุที่ใช้ (กิโลกรัม)

ปริมาณมูลสุกรที่ใช้ (กิโลกรัม)

ฟางข้าว ผักตบชวา หญ้าแห้ง 1 2.5

ขุยมะพร้าว แกลบ กากอ้อย ใบอ้อย ต้นข้าวโพด 1 4

ขี้เลื่อย ใบไม้แห้ง กิ่งไม้ เปลือกไม้ เปลือกถั่วลิสง 1 5 *ค่า C: N ของปุ๋ยหมักมีค่าประมาณ 30: 1 ที่มา: สมชัย จันทรส์ว่าง (2552)

การเพิ่มมูลค่าของเสียฟาร์มโดยใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ โดยปกติตามธรรมชาติ จะเกิดการย่อยสลายของเสียจากการท้างานของจุลินทรีย์ทั้งที่ใช้ออกซิเจน

และไม่ใช้ออกซิเจนอยู่แล้ว แต่กระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนหรือการหมักนั้น จะมีก๊าซมีเทน ซึ่งสามารถน้ามาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งให้พลังงาน เพราะมีคุณสมบัติติดไฟและให้ความร้อนได้ดี ดังนั้นหากอาศัยการก้าจัดมูลสัตว์และบ้าบัดน้้าเสียของฟาร์มเพ่ือการผลิตก๊าซชีวภาพส้าหรับใช้เป็นแหล่งให้พลังงานส้าหรับ

Page 8: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 8

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผลิตความร้อน ไฟฟ้า การท้างานของเครื่องกล ฯลฯ ก็จะเป็นการเพ่ิมมูลค่าของเสียของฟาร์มและสามารถให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อการจัดการบ้าบัดน้้าเสียของฟาร์ม

การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียมีหลายระบบหรือแบบ การเลือกใช้เทคโนโลยีแบบใด ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนที่ของฟาร์ม ปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิตสัตว์ และความสามารถในการลงทุน และบางระบบก็สามารถใช้ได้กับฟาร์มทุกขนาด โดยอาจมีการปรับอุปกรณ์บางอย่างเพ่ิมเติม ซึ่งสามารถจ้าแนกบ่อที่ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ ตามลักษณะการท้างานและลักษณะของของเสียที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1 บ่อหมักช้าหรือบ่อหมักของแข็ง ส้าหรับใช้ย่อยสลายมูลสัตว์ หรือน้้าเสียที่มีสารแขวนลอยสูงหรือมีมูลสัตว์ปนเปื้อนอยู่ในน้้าเสียสูง โดยทั่วไป มี 3 แบบ ได้แก่

1) แบบยอดโดมหรือแบบฟิกซ์โดม (Fixed Dome Digester) ลักษณะเป็นทรงกลมฝังอยู่ใต้ดิน ส่วนที่กักเก็บก๊าซมีลักษณะเป็นโดม แบบนี้เหมาะส้าหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก

2) แบบฝาครอบลอย (Floating Drum Digester) มีที่เก็บก๊าซท้าด้วยเหล็กครอบบ่อหมัก ฝาเหล็กครอบจะลอยขึ้นลงตามปริมาณก๊าซที่สะสม มีอายุการใช้งานสั้น เพราะมักเกิดการรั่วของก๊าซ จึงไม่พบเห็นการน้ามาใช้ในปัจจุบัน

3) แบบปลั๊กโฟลว์ (Plug Flow Digester) หรือแบบพลาสติกคลุมราง มีลักษณะเป็นบ่อยาว น้้าเสียจะไหลตามแนวยาวของบ่อ ระยะเวลาในการหมักมูลใช้เวลามากข้ึน ระบบที่มีลักษณะการท้างานแบบนี้ ได้แก่ บ่อ Cover Lagoon และ บ่อหมักราง (Channel Digester)

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการผลิตก๊าซชีวภาพ แบบบ่อหมักช้าส้าหรับเกษตรกรรายย่อย คือ “ถุงหมักก๊าซชีวภาพ” ซึ่งมีต้นทุนในการจัดสร้างต่้าและสร้างได้ง่าย เพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพส้าหรับใช้ในการหุงต้มประกอบอาหารในครัวเรือน

ก. บ่อหมักยอดโดม ข. บ่อหมักช้าแบบรางขนาดเล็ก

ภาพที่ 2 แบบบ่อหมักยอดโดม (Fixed dome) และบ่อหมักช้าแบบรางขนาดเล็ก (CD-Junior)

Page 9: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 9

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2 บ่อหมักเร็ว ส้าหรับใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ละลายปนเปื้อนในน้้าเสีย หรือน้้าเสียที่มีสารแขวนลอยต่้า แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

1) แบบบรรจุตัวกลางในสภาพไร้ออกซิเจน (Anaerobic Filter) หรือแบบเอเอฟ (AF) ลกัษณะของบ่อหมักเร็วแบบนี้ จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตและเพ่ิมจ้านวนบนตัวกลางที่ถูกตรึงอยู่กับที่ โดยตัวกลางที่ใช้ เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่ตัดเป็นท่อน เป็นต้น

2) แบบยูเอเอสบี (UASB หรือ Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ลักษณะการท้างานของบ่อหมักเร็ว โดยการควบคุมความเร็วของน้้าเสียให้ไหลเข้าบ่อหมักจากด้านล่างข้ึนสู่ด้านบน ตะกอนส่วนที่เบาจะลอยตัวไปพร้อมกับน้้าเสียที่ไหลล้นออกนอกบ่อ ตะกอนส่วนที่หนักจะจมลงก้นบ่อ ทั้งนี้ตะกอนของสารอินทรีย์ (Sludge) ที่เคลื่อนไหวภายในบ่อหมักเป็นตัวกลางให้จุลินทรีย์เกาะและผลิตก๊าซมีเทน

ตัวอย่างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมัก PVC หรือถุงหมักก๊าซชีวภาพ: ส้าหรับเกษตรกรรายย่อย เป็นขนาดที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยซึ่งเลี้ยงสัตว์ประมาณ 10 - 20 ตัว ส้าหรับสัดส่วนของมูล

และน้้าที่ใช้ คือ 1: 1 ถึง 1: 4 ส่วน หากใช้มูลสุกรซึ่งมีของแข็งประมาณ 15% จะเติมมูลสัตว์วันละ 24 ลิตร และใช้น้้าวันละ 24 - 96 ลิตร หรือเท่ากับการเลี้ยงสุกรอย่างน้อย จ้านวน 6 ตัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพวันละประมาณ 2 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอต่อการใช้กับเตาหุงต้มส้าหรับใช้ท้าอาหารในครัวเรือนได้พอดี (ใช้ก๊าซ 0.15 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง)

ลักษณะท่ัวไป (1) ใช้ถุงพลาสติกพีวีซี ความยาว 6 เมตร เส้นรอบวง 5.25 เมตร (ขนาดของบ่อดินมีความกว้าง 2

x 4 x 1 เมตร) (ภาพที่ 14.5) มีปริมาณรวม 7.8 ลูกบาศก์เมตร แยกเป็นส่วนของเหลว 5.9 ลูกบาศก์เมตร ก๊าซ 1.7 ลูกบาศก์เมตร

(2) ส้าหรับพื้นที่ท่ีจะท้าการสร้างบ่อหมัก ควรเป็นพื้นที่ลาดเอียงต่้ากว่าระดับคอกสัตว์เล็กน้อย เพ่ือให้มูลสัตว์ไหลระบายเข้าบ่อเอง หรือจะท้าเป็นบ่อชนิดตักมูลสัตว์มาเติมก็ได้ โดยขนาดของหลุมที่จะขุด ควรมีขนาดกว้างด้านบน 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร (ส้าหรับการเลี้ยงสุกรขนาดเฉลี่ยปานกลางจ้านวน 10 - 15 ตัว หรือเท่ากับบ่อเก็บมูลปริมาณ 7 - 8 ลูกบาศก์เมตร) บ่อหมักควรขุดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ให้ฐานของบ่อมีพ้ืนที่หน้าตัดที่แคบกว่าเล็กน้อย ควรขุดด้านหัวและท้ายของบ่อเป็นแนวส้าหรับวางท่อรับและระบายมูลด้วย โดยให้ทางเข้ามูลมีระดับสูงกว่าทางระบายมูลออกเล็กน้อย

Page 10: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 10

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภาพที่ 3 บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพลาสติกพีวีซี ที่มา: ภาควิชาสตัวศาสตร์และสัตว์น้้า (2554)

การเพิ่มมูลค่าของเสียฟาร์มโดยใช้ผลิตอาหารสัตว์ ของเสียจากสัตว์ เช่น ซากสัตว์ เศษอาหารตกหล่นจากคอกและมูลสัตว์ โดยเฉพาะมูลสัตว์ปีกและมูล

สุกร สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในรูปมูลสดและมูลตากแห้งหรือมูลอัดเม็ด ส่วนมูลโคนั้นไม่นิยมน้ามาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีเยื่อใยในปริมาณสูง ประกอบกับเกษตรกรจะใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยบ้ารุงดินและให้ธาตุอาหารพืชอาหารสัตว์ส้าหรับเป็นอาหารเลี้ยงโค อนึ่ง จะไม่ใช้มูลสัตว์นั้นเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ชนิดนั้น เช่น ไม่ใช้มูลไก่ไข่ผลิตอาหารไก่ไข่ หรือมูลสุกรผลิตอาหารสุกร เป็นต้น เพ่ือป้องกันวงจรการเจริญและแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเชื้อ และอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผลผลิตที่ผู้บริโภคจะน้ามาใช้บริโภคอีกด้วย

ของเสียบางชนิด เช่น น้้าเสีย ได้ใช้ผลิตสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น สาหร่ายสไปรูลินา ไรแดง เป็นต้น ซ่ึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้จะใช้ธาตุอาหารที่มีในของเสียในการเจริญเติบโตและเพาะขยายแพร่จ้านวนเพิ่มขึ้น จากนั้นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกน้ามาใช้ประโยชน์เป็นอาหารต่อไป เช่น สาหร่ายสไปรูลินาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ให้วิตามิน และกรดไขมันจ้าเป็นหลายชนิด ใช้เป็นอาหารในการอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อน และผสมในอาหารส้าหรับปลาสวยงาม เพ่ือเร่งสีในปลาสวยงาม เป็นต้น

Page 11: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 11

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตารางท่ี 4 ส่วนประกอบทางโภชนะที่มีอยู่ในมูลสัตว์ชนิดต่างๆ หนว่ย: ร้อยละ

ชนิดของส่วนประกอบ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง มูลไก่เนื้อ มูลไก่ไข่ มูลสุกร ยอดโภชนะย่อยได้ 73 52 48 โปรตีนหยาบ 31 28 24 เยื่อใย 17 13 15 แคลเซี่ยม 2.4 8.8 0.7 ฟอสฟอรัส 1.8 2.5 2.1 แมกนีเซียม 0.4 0.7 0.9 โปตัสเซียม 1.8 2.3 1.3

ที่มา : L. W. Smith and W. E. Wheeler (1979)

ตัวอย่างการใช้เป็นอาหารสัตว์โดยตรง เช่น การเลี้ยงไก่หรือเป็ดหรือสุกรร่วมกับการเลี้ยงปลา

นอกจากมูลสัตว์ ยังมีเศษอาหารตกหล่นที่ปลาใช้เป็นอาหารได้โดยตรง มูลสัตว์และเศษอาหารยังเป็นปุ๋ยหรืออาหารส้าหรับแพลงก์ตอน จุลินทรีย์ สัตว์และพืชน้้าเล็กๆ ในบ่อที่เป็นวงจรห่วงโซ่อาหารปลาต่อไป ช่วยลดปริมาณอาหารสมทบ ลดค่าใช้จ่าย แรงงานและเวลาในการหาอาหารให้ปลา ส้าหรับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในด้านการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่้าลง สัตว์ไม่เครียด ท้าให้กินอาหารได้มากข้ึนโตเร็วและต้านทานโรคได้ดีทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ท้าเสา และวัสดุปูพ้ืนเพ่ิมข้ึน แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่าเพราะประหยัดพ้ืนที่และประหยัดแรงงานมากกว่า

ข้อสังเกตในการใช้ประโยชน์มูลสัตว์ในรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการเลี้ยงปลา เนื่องจาก ลักษณะการผลิตเป็นการเกษตรแบบผสมผสานที่เอ้ือประโยชน์ต่อกัน ผลส้าเร็จของใช้มูลสัตว์เป็นอาหารเลี้ยงปลาโดยการเลี้ยงสัตว์ทั้งสองกลุ่มร่วมกัน ขึ้นอยู่กับการควบคุมปริมาณของมูลสัตว์ให้เหมาะสมกับการรักษาคุณภาพของน้้าภายในบ่อเลี้ยง ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับชนิดและจ้านวนปลาที่เลี้ยง ทั้งนี้เพ่ือท้าให้ปลาใช้อาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้พอดี ดังนั้นในการเตรียมการและวางแผนจ้าเป็นต้องค้านึงถึงปัจจัยที่เก่ียวข้องกับการผลิตของสัตว์ที่เลี้ยงร่วมกันและมีความสอดคล้องเอ้ือประโยชน์ต่อกันดังนี้

1). ขนาดพ้ืนที่ดินที่ต้องสัมพันธ์กับจ้านวนสัตว์ที่เลี้ยง 2). ชนิดของปลาที่เลี้ยง โดยพิจารณาด้านชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา เช่น ชนิดและลักษณะ

อาหารที่ขึ้นอยู่กับสรีระวิทยาการย่อยและใช้อาหารของปลา แหล่งพ้ืนที่อาศัยของปลา 3). ช่วงเวลาการเลี้ยงและการจ้าหน่ายผลผลิต เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตปลาให้อยู่ในฤดูแล้งซึ่ง

ปลาจะมีราคาดี หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาและไก่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูท่ีมีโรคระบาด

Page 12: การเพิ่มมูลค่าของเสียจาก การผลิตสัตว์stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/content/modules/Agriculture...การผลิตสัตว์

การเพิ่มมูลค่าของเสียจากการผลิตสัตว์ 12

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตารางท่ี 5 อัตราการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการเลี้ยงปลา

ขนาดบ่อ (ไร่)

พันธุ์ปลา (ตัว)

ขนาดเล้า (ตารางเมตร)

ชนิดและจ้านวนสัตว์ (ตัว)

อาหารหลัก อาหารสมทบ

15 นิล 60,000 - 67,500

สวาย 30,000 - 67,500 จีน 15,000

400 ไก่เนื้อ 10,000

สุกร 220 มูลไก่

ร้า ปลายข้าว เศษอาหาร

10 นิล 50,000 400 ไก่เนื้อ 10,000 (เลี้ยง 2 รุ่น)

มูลไก่ ร้าปลายข้าว เศษอาหาร

5 ดุกบิ๊กอุย 200,000 200 ไก่เนื้อ 5,000 (เลี้ยง 2 รุ่น)

มูลไก่ เศษอาหาร

เศษอาหารจากร้าน อาหารเม็ด

5 -10 ดุกบิ๊กอุย 300,000 400 ไก่เนื้อ 10,000

เลี้ยง 2 รุ่น มูลไก่

เศษอาหาร เศษอาหารจากร้าน

อาหารเม็ด

1 นิล 500

สวาย 500 จีน 200

40 ไก่ไข่ 200 สุกร 3-5

มูลไก่ มูลสุกร

ร้าปลายข้าว เศษอาหาร

ที่มา: สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสตัว์น้้าชายฝั่ง สงขลา (ม.ป.ป.)