102
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ทรงได้รับการปลูกฝังแต่ทรงพระเยาว์ให้ทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นชาวพุทธ ที่แท้ทั้งด้วยการปฏิบัติพระองค์ตามพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง พระจริยาวัตรและพระกรณียกิจ ในการทำนุบำรุงพระศาสนา ในกาลต่อมาจึงเป็นผลแห่งการที่ทรงได้รับการเอาพระทัยใสมาด้วยดีดังความที่ทรงพระนิพนธ์เล่าความที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพาไปชมวัดต่าง ๆ เมื่อเสด็จกลับมาประท้บ ณ วังสระปทุม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๗๖ ดังนี...วันอาทิตย์ แม่จะพาไปดูวัดต่าง ๆ เป็นเพียงการไปชมภายนอกเพื่อให้รู้จัก ลักษณะของวัด เช่น วัดพระแก้ว โดยเฉพาะระเบียงที่มีภาพรามเกียรติ์ วัดสุทัศน์ฯ วัดโพธิ์ วัดอรุณฯ ที่วัดสระเกศฯ นั้นได้ไปเวลามีงานภูเขาทองเพื่อดูละครลิงและ ซื้อดอกไม้ไฟ แม่ไม่ได้พาไปฟังเทศน์เพราะ “เด็ก ๆ” (ตามที่เราเรียกตัวเองกัน) คงนั่งนิ่ง ๆ อยู่ไม่ไหวและคงไม่เข้าใจอะไรเลย แม่จะอธิบายพุทธประวัติในถ้อยคำง่าย ๆ ที่เราสามารถจะเข้าใจได้และก่อนนอนจะให้สวดมนต์สั้น ๆ ในภาษาธรรมดา ๆ ว่า “ขอให้พระพุทธเจ้าบันดลใจให้ (ชื่อของเราเอง) เป็นเด็กดี มีใจเมตตากรุณา”... (เจ้านายเล็ก-ยุวกษัตริย์ หน้า ๘๔) พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ทรงได้รับการปลูกฝังแต่ทรงพระเยาว์ให้ทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นชาวพุทธ

ที่แท้ทั้งด้วยการปฏิบัติพระองค์ตามพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง พระจริยาวัตรและพระกรณียกิจ

ในการทำนุบำรุงพระศาสนา ในกาลต่อมาจึงเป็นผลแห่งการที่ทรงได้รับการเอาพระทัยใส่

มาด้วยดีดังความที่ทรงพระนิพนธ์เล่าความที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ทรงพาไปชมวัดต่างๆเมื่อเสด็จกลับมาประท้บณวังสระปทุมระหว่างพ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๖

ดังนี้

...วันอาทิตย์ แม่จะพาไปดูวัดต่าง ๆ เป็นเพียงการไปชมภายนอกเพื่อให้รู้จัก

ลักษณะของวัด เช่น วัดพระแก้ว โดยเฉพาะระเบียงที่มีภาพรามเกียรติ์ วัดสุทัศน์ฯ

วัดโพธิ์ วัดอรุณฯ ที่วัดสระเกศฯ นั้นได้ไปเวลามีงานภูเขาทองเพื่อดูละครลิงและ

ซื้อดอกไม้ไฟ แม่ไม่ได้พาไปฟังเทศน์เพราะ “เด็ก ๆ” (ตามที่เราเรียกตัวเองกัน)

คงนั่งนิ่งๆอยู่ไม่ไหวและคงไม่เข้าใจอะไรเลยแม่จะอธิบายพุทธประวัติในถ้อยคำง่ายๆ

ที่เราสามารถจะเข้าใจได้และก่อนนอนจะให้สวดมนต์สั้น ๆ ในภาษาธรรมดา ๆ ว่า

“ขอให้พระพุทธเจ้าบันดลใจให้ (ชื่อของเราเอง) เป็นเด็กดี มีใจเมตตากรุณา”...

(เจ้านายเล็ก-ยุวกษัตริย์ หน้า ๘๔)

พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

Page 2: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

แม้ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี

นิวัตพระนครครั้งแรกซึ่งยังทรงพระเยาว์มาก มีพระชันษาเพียง ๙ เดือน สมเด็จ

พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระสงฆ์วันละองค์

...เหตุนั้นเกิดจากการที่สมเด็จหญิงทอดพระเนตรเห็นพระก็ทรงชี้พระหัตถ์

ไปยังพระภิกษุ ...การถวายอาหารบิณฑบาตเริ่มต้นด้วยสมเด็จหญิงถวายวันละองค์ก่อน

โดยตรัสว่า“ให้ทำของใส่บาตรให้หลานได้รู้จักพระ...”

(สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, หน้า ๒๓๑)

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ทรงปฏิบัติพระองค์เช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป คือเมื่อเสด็จไป

ยังท้องที่ต่าง ๆ หากสถานที่นั้นมีปูชนียสถาน มีวัด และมีพระสงฆ์ผู้ทรงคุณทั้งด้าน

ปฏิบัติและปริยัติจะเสด็จไปทรงสักการะ ทรงบำเพ็ญกุศลถวายจตุปัจจัยไทยธรรม

ทรงสนทนาธรรมตามที่เหมาะที่ควร บางครั้งทรงปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ เช่น ต้นโพธิ์

ตามราชประเพณีในโอกาสเดียวกันก็ทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าด้วย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ทรงบำเพ็ญกุศลและทรงงานยังวัดทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ตามหลักฐานมีปรากฏดังนี้

Page 3: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า วัดสะแกมีตำนานเนื่องในพงศาวดารเมื่อปีขาลจัตวาศกจุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธศักราช ๒๓๒๕ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตรเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ วัดสระเกศมีข้อความปรากฏตามตำนานว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมมีชื่อว่า “วัดสะแก” เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกมีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช๑๑๓๔ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพูเรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลองหลอดแล ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อให้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนครได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาและวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหานาค แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดสระเกศ” และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศทั้งพระอารามตั้งต้นแต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย คำว่า “สระเกศ” นี้ตามรูปคำ ก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ ๑๑ ว่า “รับสั่ง พระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควรที่ต้นทาง เสด็จพระนคร” ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์ เพราะเป็นต้นทางที่ เสด็จเข้ามาพระนครมีคำเล่ากันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่วัดสะแกจึงเปลี่ยนนามว่า“วัดสระเกศ”

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

Page 4: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จวัดสระเกศราชวรมหาวิหารเป็นการส่วนพระองค์

เพื่อถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ บนบรมบรรพตภูเขาทอง ซึ่งตามประวัติระบุว่า

ถูกขุดพบที่ตำบลปิปราห์วะ เมืองบัสติ ประเทศอินเดีย อันเป็นที่ตั้งกรุงกบิลพัสดุ์

สมัยพุทธกาล มีข้อความจารึกที่ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แท้จริงรัฐบาลอินเดียทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้บรรจุไว้ ณ พระเจดีย์

บรมบรรพตภูเขาทองในวันอาทิตย์ที่๒๓พฤษภาคมพ.ศ.๒๔๔๒(ร.ศ.๑๑๘)

เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เสด็จเป็นองค์ประธานทอดผ้าป่า

มหากุศลเพื่อบูรณะพระอุโบสถวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เสด็จไปยกช่อฟ้าพระอุโบสถ

วัดสระเกศฯ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ

และในโอกาสเดียวกันได้ทรงเป็นประธานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน พร้อมกันนั้น

ได้เสด็จทอดพระเนตรหอไตร ซึ่งเคยเสด็จทอดพระเนตรครั้งหนึ่งแล้ว ทรงปรารภ

Page 5: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

แก่นายสด แดงเอียด (รองอธิบดีกรมศิลปากร ขณะนั้น) ว่าเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่ามาก

ควรบูรณะให้งดงามเช่นเดิม จึงทรงนับเป็นประธานในการบูรณะและกรมศิลปากร

ได้ดำเนินการบูรณะจนแล้วเสร็จตามพระประสงค์

หอไตรนี้สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่กลางสระน้ำ

ใกล้พลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ประทับ

สรงมูรธาภิเษก ครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ก่อนเสด็จขึ้น

ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์โปรดให้สร้างพระตำหนัก

ขึ้นหลังหนึ่ง บริเวณพลับพลาที่ประทับพร้อมกับโปรดให้มีการบูรณะหอไตรหลังนี้ด้วย

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้ทำการบูรณะอีกครั้ง

ในรัชสมัยของพระองค์

Page 6: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

ในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ตรงกับวันที่๙มิถุนายนของทุกปีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเสด็จเป็นการส่วนพระองค์

ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายมิได้ขาด หลายครั้งได้เสด็จไปยังพระอุโบสถ

วัดสระเกศฯพระองค์ก็จะทรงพระกรุณาพระราชทานปัจจัยเพื่อบำรุงพระอารามเสมอ

Page 7: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระอนุญาตมูลนิธิส่งเสริม

ฝรั่งเศสและฝรั่งเศสศึกษาในพระอุปถัมภ์ฯ จัดสร้างพระพุทธโสธรจำลองของวัดโสธร

วรารามวรวิหาร โดยเสด็จไปประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธโสธรจำลองด้วยพระองค์เอง

ณพระวิหารพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตรวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

Page 8: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดสระเกศราชวรมหาวิหารจึงเป็นวัดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระศรัทธาปสาทะ

ในพระบวรพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าแห่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นแบบอย่างให้ชาวไทยได้เจริญรอยตาม

เบื้องพระยุคลบาทในการทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย

และเป็นมรดกแห่งแผ่นดินไทย นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังได้ทรงพระราชทานพุทธรูป

ปางต่างๆไว้ประจำวัดบ้างประจำสถานศึกษาบ้างเสด็จเยี่ยมโบราณสถานบ้าง

Page 9: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร

ตั้งอยู่เลขที่๒ถนนเฟื่องนครแขวงวัดราชบพิธเขตพระนครกรุงเทพฯ

รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดแรกหลังจากทรงเสด็จขึ้นครองราชย์

เพื่อเป็นที่ระลึกแก่พระอัครมเหสี พระราชเทวี และเจ้าจอมพระสนมเอกของพระองค์

วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่๗มีสิ่งสำคัญเช่น

พระอุโบสถ ภายนอกเป็นศิลปะไทยแต่ภายในเป็นแบบฝรั่ง ลวดลายจำลอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับมุกที่บานประตู ยกย่องกันว่าเป็น “ศิลปะชิ้นสำคัญ

ของกรุงรัตนโกสินทร์”

พระพุทธอังคีรส ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อ

ปางสมาธิ ผิวเป็นทองคำทั้งองค์ ภายใต้ฐานชุกชีเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร

รัชกาลที่๗

Page 10: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

พระเจดีย์ ทรงไทยย่อเหลี่ยมฐาน คูหาประดับกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์

ยอดพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซุ้มพระเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ

พระวิหาร สร้างเหมือนพระอุโบสถทั้งภายในและภายนอก บานหน้าต่าง

เป็นลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลงรักปิดทอง

สุสานหลวง มีอนุสาวรีย์ที่บรรจุพระสรีรางคารของพระบรมราชเทวี

พระราชเทวีเจ้าจอมมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ และพระบรมวงศานุวงศ์

โดยสร้างเป็นรูปปรางค์วิหารแบบขอมเจดีย์ฯลฯ

วัดราชบพิธฯมีความโดดเด่นในศิลปะการก่อสร้างและการวางผังที่เหมาะสม

ลงตัว สิ่งที่พิมพ์พิเศษอีกอย่างคือ ไม่มีเสมาที่พระอุโบสถ แต่มีมหาเสมาซึ่งทำเป็น

รูปเสมาธรรมจักรจำหลักติดเสาศิลาซึ่งอยู่บนกำแพงทั้ง๘ทิศแทน

Page 11: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

วัดราชโอรสาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัด

ประจำรัชกาลที่ ๓ ตั้งอยู่ริมคลองด่านฝั่งตะวันตก ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ

เขตจอมทองกรุงเทพฯสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อ“วัดจอมทอง”

เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากพระองค์ทรงนิยมศิลปกรรมแบบจีนมากสิ่งก่อสร้าง

และศิลปะการตกแต่งภายในวัดจึงมีความโดดเด่นของศิลปะจีนเป็นอย่างมาก

วัดนี้นับเป็นวัดแรกที่สร้างโบสถ์วิหารโดยไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ รวมทั้ง

การประยุกต์ศิลปกรรมนั้นทำได้อย่างประณีตกลมกลืนงดงามอย่างมาก

พระอุโบสถ หลังคา๒ชั้นแบบจีนมุงกระเบื้องสีแบบไทยหน้าบันประดับ

กระเบื้องเคลือบ ตอนบนประดิษฐ์เป็นภาพทิวทัศน์ มีบ้านเรือน ภูเขาลำธาร วัว กิเลน

ต้นไม้ ฯลฯ ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายดอกเบญจมาศปูนปั้น ส่วนพระประธานนั้น

สร้างได้งดงามกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นในสมัยเดียวกัน โดยประดิษฐานภายใต้นพปฎล

มหาเศวตฉัตร (พระมหาฉัตร ๙ ชั้น) ซึ่งจะมีเฉพาะวัดที่มีพระบรมอัฐิของ

พระมหากษัตริย์บรรจุเท่านั้น

Page 12: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

พระแท่นปะทับณ ต้นพิกุล อยู่ใต้ต้นพิกุลใหญ่หน้าพระอุโบสถเป็นที่ประทับ

ของรัชกาลที่๓เมื่อครั้งเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้างหรือประพาสวัด

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น

ผนังด้านนอกรอบพระระเบียงจารึกตำรายาและตำราหมอนวด บานประตูและหน้าต่าง

ด้านนอกประกอบด้วยปูนปั้นเซี่ยวกางแบบไทยยืนอยู่บนประแจจีน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ และเสด็จเป็นการ

ส่วนพระองค์เมื่อวันที่๑๙ธันวาคม๒๕๔๗

Page 13: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดนางนอง กรุงเทพมหานคร

วัดนางนอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖

ถนนวุฒากาศ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เป็นวัดเก่า ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง

แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ ๘

(ขุนหลวงสรศักดิ์)มีสิ่งสำคัญเช่น

พระอุโบสถ เป็นศิลปะในสมัยรัชกาลที่ ๓ บานประตูด้านนอกประดับมุก

ทั้งบาน เขียนลายงดงามมาก ด้านในเขียนลายรดน้ำ บานหน้าต่างเขียนภาพเรื่อง

ในวรรณคดี ส่วนที่บานประตูและผนังด้านในเขียนเรื่องจีน เช่น สามก๊ก ฮก ลก ซิ่ว

พระประธานทรงเครื่องปางมารวิชัยเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยสร้างในสมัยรัชกาลที่๓

พระเจดีย์ เป็นแบบย่อมุมไม้ ๒๐ ฐานเป็นทักษิณ ๘ เหลี่ยม ยอดแหลมเรียว

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ บริเวณด้านหน้าพระเจดีย์ประดิษฐานพระสังข์กัจจายน์

หรือ“หลวงพ่อโต”

Page 14: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

พระวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับปูนปั้นรูปมังกร

ส่วนเจดีย์จีนประดับด้วยกระเบื้องสี

พระวิหารเก่า มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ มีผู้เล่าว่า มีคนพบ

ของโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เมื่อทำการขุดก็พบพระพุทธรูป ๒ องค์ จึงขนานนามว่า

“พระผุด”

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่๑๙ธันวาคม๒๕๔๗

Page 15: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดเจษฎาราม จังหวัดสมุทรสาคร

วัดเจษฎาราม เป็นพระอารามหลวง

ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลมหาชัย

อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

เดิมเรียกว่าวัดธรรมสังเวช ในสมัยพระครู

มหาชัยบริรักษ์เป็นเจ้าอาวาสได้มีการก่อสร้าง

ปรับปรุ งแก้ ไข เสนาสนะถาวรวัตถุ ให้ เป็น

ระเบียบ ในสมัยพระสาครมุนีได้มีการก่อสร้าง

บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จเป็นการส่วนพระองค์โดยทางเรือและทรงพำนักณ วัดเจษฎาราม

มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อเป็นพระกุศลจำนวนหนึ่ง

และพระองค์ได้ทรงบริจาคเพื่อบูรณะพระอารามเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่

๒๓มีนาคมพ.ศ.๒๕๒๘

Page 16: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดโกรกกราก ตั้งอยู่ที่บ้านโกรกกราก ตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง

สมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน พระประธาน

ในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นอกจากมีพุทธลักษณะงดงามแล้วยังสวมแว่นดำ

ชาวบ้านเล่าว่าเคยมีผู้มาบนบานศาลกล่าวไว้ให้อาการบาดเจ็บที่ดวงตาหายขาดแล้ว

จึงถวายแว่นตาดำเป็นการแก้บนผู้คนจึงนิยมถวายแว่นตาดำนับแต่นั้นมา

อุโบสถของวัดโกรกกรากเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องสี

มีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบทั้งสี่ด้านรองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลมช่อฟ้าใบระกา

ประดับกระจก หน้าบันเรียบ ฝาผนังไม้ด้านหน้าและหลังคามีประตูทางเข้าด้านละ

๒ประตูด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ๕บานบานประตูหน้าต่างไม้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จไปสักการะหลวงปู่วัดโกรกกราก โดยมีเจ้าอาวาสและคณะสงฆ์

ร่วมรับเสด็จเมื่อวันที่๒๑กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๒๗

วัดโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร

Page 17: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดสองพี่น้อง ตั้งอยู่ที่บ้านแพรกศรีราชา หมู่ที่ ๘ ตำบลแพรกศรีราชา

อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

มีพระปรางค์ชำรุด ๒ องค์ วิหารและอุโบสถปรักหักพังอยู่เป็นหลักฐาน ประชาชน

ได้ร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์จนวัดเจริญรุ่งเรือง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยี่ยมชมวัดและสนทนาธรรม พร้อมทั้ง

ได้ถวายปัจจัยแด่พระครูกิตติชัยสาร เจ้าอาวาส พร้อมด้วยพระดำรัสว่า “ขอถวายปัจจัยนี้

เพื่อเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ”เมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดสองพี่น้อง จังหวัดชัยนาท

Page 18: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่บ้านหน้าพระลาน หมู่ที่ ๘ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอ

สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่า

สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระปรางค์ทองยอดกลีบ

มะเฟือง สร้างด้วยอิฐถือปูน สูงประมาณ ๒๐ เมตร ลักษณะคล้ายพระปรางค์

ในวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นศิลปะแบบลพบุรี แต่ลักษณะกลีบมะเฟืองของ

พระปรางค์วัดมหาธาตุเมืองสรรคบุรีทรงชะลูดกว่า ที่ฐานพระปรางค์เป็นรูปแปดเหลี่ยม

เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอยุธยา

ยอดพระปรางค์ส่วนบนมีภาพสลักเป็นภาพเทพพนมนอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์พระวิหาร

หลวงพ่อหลักเมืองหรือหลวงพ่อหมอและเสาหินหลักเมือง

วัดมหาธาตุ จังหวัดชัยนาท

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 19: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท

วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๙๐๐ สมัยเดียวกันกับวัดมหาธาตุ สิ่งสำคัญ

ภายในวัด ได้แก่ แบบผสมผสานระหว่างเจดีย์ละโว้ทรงสูงกับเจดีย์ทวาราวดีตอนปลาย

ฐานเรือนธาตุแบบลดท้องไม้ เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยผสมผสานกับศิลปะสมัยศรีวิชัย

และมีพระพุทธรูปสำคัญคือหลวงพ่อฉายและหลวงพ่อลอย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 20: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี

วัดวังก์วิเวการาม เป็นวัดที่

หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านอพยพ

ชาวกะ เหรี่ ย งและชาวมอญช่ วยกัน

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ที่บ้านวังกะล่าง

อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ใกล้กับชายแดนไทยพม่า ห่างจากอำเภอเมือง

กาญจนบุรี ประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร

แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่าวัดหลวงพ่อ

อุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณ

ที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่มีแม่น้ำ ๓ สาย ไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำ

ซองกาเลีย แม่น้ำปีคลี่ และแม่น้ำรันตี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับอนุญาตจาก

กรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่าวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คือ อำเภอวังกะ

ต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็นอำเภอสังขละบุรีในปัจจุบัน เมื่อปี

พ.ศ. ๒๕๐๘ ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม พระอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำ และ

มีชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงเป็นที่รู้จักกันในนามชื่อว่าวัดใต้น้ำสังขละบุรี

Page 21: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดแก้วพิจิตร จังหวัดปราจีนบุรี

วัดแก้วพิจิตร ตั้งอยู่ที่ถนนแก้วพิจิตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี

จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อปี

พ.ศ.๒๕๓๑คือพระอุโบสถหอพระไตรปิฎกและโรงเรียนอภัยพิทยาคาร(ปัจจุบันเป็น

พิพิธภัณฑสถานวัดแก้วพิจิตร) ลักษณะความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์และโบราณสถาน คือ

รวบรวมลักษณะสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมไว้ถึง ๔ ชาติด้วยกัน

คือ ฝรั่งเศส เขมร จีน และไทย เป็นการร่วมสมัยที่ละเมียดละไมด้วยลายปูนปั้น

ศิลปกรรมลวดลายโคลินเธียรและบาล๊อค ได้มีการสอดแทรกปริศนาธรรม ปริศนาการ

ปกครอง ปริศนาการอนุรักษ์ ปริศนาการเรียนรู้ต่าง ๆ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเปิดพิพิธภัณฑสถานวัดแก้วพิจิตร เมื่อวันที่ ๒๗

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา มหาเถรสมาคม

ได้พิจารณายกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ วัดนี้ได้เป็นวัดหนึ่ง

ที่ได้รับพระราชทานให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ

Page 22: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้ เสด็จเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานวัดแก้วพิจิตรและ

โบราณสถานอื่นๆในจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อวันที่๑๕ตุลาคมพ.ศ.๒๕๓๙

Page 23: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี

วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็น

พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร

ตั้งอยู่ทิศใต้ตลาดขวัญ ฝั่งตะวันตก

ของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖

หมู่ที่ ๓ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง

นนทบุรีจังหวัดนนทบุรีห่างจากศาลากลาง

จังหวัด (หลังเก่า) ข้างหอนาฬิกา

เ ยื้ อ ง ไ ป ท า ง ทิ ศ เ ห นื อ ป ร ะ ม าณ

๑ กิโลเมตร บริเวณอันเป็นที่ตั้ ง

ของวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน

เข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาทางการ

ได้สร้างป้อมไว้ป้อมหนึ่ง เพราะปรากฏมีหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง

เดอชัวร์ชีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมกับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้ามาเจริญ

ทางพระราชไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อพ.ศ.๒๒๒๘ว่า“...เช้าวันนี้

เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ ๒ ป้อม ป้อมหนึ่งยิงปืนเป็นการคำนับ ๑๐ นัด อีกป้อมหนึ่ง

๘ นัด ที่นี่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว

และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลาและอ้าง

เหตุผลว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจนสุดดินแดนที่อยู่ในความปกครองของเมือง

บางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นั่งมาในเรือ

บัลลังก์ ซึงมีฝีพาย ๖๐ คนเศษมากระทำความเคารพต่อท่านราชทูต พอเราจะเข้า

นั่งโต๊ะรับประทานอาหารที่ป้อมไม้ฟากโน้นก็ยิงปืนอีก เมื่อเราจากนั้นมาเขาก็ยิงปืน

เช่นเดียวกัน”

Page 24: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

ตามหลักฐานที่กล่าวมาแล้ว เข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณ

ตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติ

และในเวลาต่อมาบริเวณป้อมทับทิมแห่งนี้ก็กลายเป็นนิวาสสถานแห่งพระอัยกาของ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยปรากฏในเรื่อง “พระราชสันตติวงศ์”

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระชนกของสมเด็จ

พระศรีสุลาไลย มีนามว่าบุญจัน ได้ทำราชการแผ่นดินเป็นที่พระยานนทบุรีศรีอุทยาน

ตั้งเคหสถานอยู่ในที่ซึ่งได้ทรงสถาปนาเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติเมืองนนทบุรีและปรากฏ

ในหนังสือราชินิกูล รัชกาลที่ ๓ ซึ่งสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข เจ้าฟ้า

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “เมื่อพระชนกจัน

ได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีแล้วไปตั้งเคหสถานอยู่ ณ จังหวัดนั้น สืบสกุลต่อมา

ฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “สกุลเมืองนนท์” ภายหลังในตำบลนั้น พระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระอารามถวายสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระบรมราชชนนี

อันมีปรากฏนามว่าวัดเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นเครื่องหมายสำคัญอยู่ในทุกวันนี้”

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จเยี่ยมชม สนทนาธรรม และถวายปัจจัยบำรุงวัด เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม

พ.ศ.๒๕๔๔

Page 25: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดปรมัยยิกาวาส จังหวัดนนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวง

ชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่า

วัดปากอ่าวมีอายุกว่า๒๐๐ปีเป็นวัด

รามัญมาแต่โบราณ เรียกตามภาษา

รามัญว่า เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง แปลว่า

วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕

ไ ด้ เ สด็ จพ ร ะ ร า ชด ำ เนิ นม าทอด

ผ้าพระกฐินณวัดปากอ่าวครั้นเสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว เสด็จพระราชดำเนิน

รอบพระอารามทรงเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ทรุดโทรมอยู่พระอารามอื่น ๆ

จึงทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาให้ดีขึ้น เพื่อสนองพระเดชพระคุณ

พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลเลี้ยงดู

พระราชมารดาและพระองค์แต่ยังทรงพระเยาว์ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

จึงทรงตรัสพระราชดำริที่จะปฏิสังขรณ์พระอารามนี้แก่พระคุณวงศ์(สน)เจ้าอาวาส

การปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว เริ่มขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ

ฉศกจุลศักราช๑๒๓๖โดยสร้างกุฏิสงฆ์เสนาสนะทั้งปวงทางทิศเหนือสร้างหอกลอง

ชั้นล่างเป็นหอฉัน ชั้นบนใช้ทำหอไตร ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกหลายครั้ง

เช่น พระอุโบสถ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากนั้น ทรงโปรดให้รื้อออกทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่

วิหารพุทธไสยาสน์ก็ทรงโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่

Page 26: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

พระบุษบก โปรดให้ซ่อมของเดิม

ให้งดงามขึ้น บุษบกองค์นี้ไม่มีที่ใดเหมือน

เป็นศิลปะรามัญที่ช่างได้นำเอาศิลปะไทย

เข้าไปเจือปนจึงดูแปลกตา บุษบกอันนี้นับเป็น

โบราณวัตถุที่มีความงดงาม และควรค่า

แก่การรักษายิ่ง พระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ

จ ะ ร วบ ร วมพร ะ ไต รปิ ฎกอั กษ ร ร ามัญ

ให้สมบูรณ์จะได้เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์

สามเณรฝ่ายรามัญที่จะศึกษาเล่าเรียน

จึงทูลให้พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จ

พระสุดารัตนราชประยูร สละพระราชทรัพย์

เพื่อสร้างพระไตรปิฎกอักษรรามัญ พระไตรปิฎก

วัดปรมัยฯ นับเป็นพระไตรปิฎกอักษรรามัญ

ฉบับหลวง ฉบับเดียวในประเทศไทย และ

ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดไม่มีที่ใดเสมอเหมือนพระเจดีย์ด้านหลังพระอุโบสถเป็นลานกว้าง

จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์ทรงรามัญพระราชทานนามว่าพระมหารามัญเจดีย์

พระราชทานนามวัด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวจนหมู่กุฎีเรียบร้อย

สมบูรณ์แล้ว จึงมีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อประกอบพระราชกุศล

แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระอารามนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ

พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรว่า วัดปรมัยยิกาวาศ

(บรม+อัยยิกา+อาวาศ)แปลว่าวัดของยายภายหลังเขียนเป็นวัดปรมัยยิกาวาส

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จวัดปรมัยยิกาวาสเกาะเกร็ดเมื่อวันที่๒๗ตุลาคมพ.ศ.๒๕๔๔

Page 27: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดใหญ่โพหัก จังหวัดราชบุรี

วัดใหญ่โพหัก ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๔๖ บ้านโพหัก หมู่ที่ ๖ ตำบลโพหัก

อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๗ ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ ประกอบด้วยอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ

เป็นอาคารไม้ทรงไทย หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้

ศาลาอเนกประสงค์และปูชนียวัตถุเป็นต้น

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากลัยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จที่วัดโพหักโดยตามเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์

พ.ศ.๒๕๒๐

Page 28: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัด

ราชบุรี สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ต่อมาในราว

พุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัฒนธรรมเขมรได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี จึงได้มีการก่อสร้าง

และดัดแปลงศาสนสถานแห่งนี้เป็นพระปรางค์ และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ

เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมรต่อมาในสมัย

กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์

แบบอยุธยาขึ้นซับซ้อนและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก ๓ องค์บนฐานเดียวกัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมือง

ราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์

จำพรรษาต่อมาในสมัยรัชกาลที่๓พระภิกษุบุญมาได้ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะซ่อมแซม

เสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธจนถึง

ปัจจุบัน สิ่งสำคัญในวัด ได้แก่ พระปรางค์ วิหารหลวง กำแพงแก้ว พระอุโบสถ

พระมณฑป

วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี

Page 29: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๖มกราคมพ.ศ.๒๕๔๒

Page 30: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งอยู่กลางเมืองโบราณคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี

จังหวัดราชบุรี ภายในบริเวณวัดพบอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตามแนวเหนือถึงใต้

กว้างประมาณ๒๒ เมตร ยาวประมาณ๔๔ เมตร สูงประมาณ๖ เมตรที่มีบันไดขึ้น

ทางด้านหน้า ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและสันนิษฐานว่ามีเครื่องบนประกอบ

อาคารด้วย แต่ชำรุดหักพังสูญหายไปหมดแล้ว โดยเปรียบเทียบกับสถูปหมายเลข ๕

ที่เมืองนาลันทาในอินเดียซึ่งมีเครื่องบนประกอบอาคารเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่

อยู่กึ่งกลางและมีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นบริวารอยู่ที่มุมทั้งสี่ ลักษณะทาง

สถาปัตยกรรมแบบนี้ เป็นศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ นอกจากนี้

ยังพบโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนานิกายเถรวาทด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน

วัดนี้เป็นวัดโบราณสถานของชาติเมื่อพุทธศักราช๒๕๐๕

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จไปทอดพระเนตรวัดโขลงสุวรรณคีรี เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม

พุทธศักราช๒๕๔๒

วัดโขลงสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี

Page 31: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นวัดโบราณไม่ทราบนามผู้สร้าง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๕

ตำบลแควน้อย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม สันนิษฐานว่า สร้างในสมัย

กรุงศรีอยุธยาตอนปลายและได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนมีสภาพปัจจุบัน

วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จังหวัดสมุทรสงคราม

Page 32: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

อยู่ห่างจากตัวเมืองสมุทรสงครามประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีการส่งเสริม

การปฏิบัติธรรมแก่ประชาชนทุกวันธรรมสวนะตลอดทั้งปี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จวัดบางเกาะเทพศักดิ์ ทรงลงพระนามในสมุดเยี่ยม และเสด็จไป

ทอดพระเนตรต้นลิ้นจี่ สายพันธุ์ค่อม ณ บริเวณหมู่บ้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลแควน้อย

อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียงกับวัด เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม

พ.ศ.๒๕๓๐

Page 33: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๕๓ หมู่ที่ ๔ ถนนสายเอเชีย ตำบลพรหมบุรีอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๕สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังจากได้สร้างวัดมั่นคงแล้วก็ได้เริ่มก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นเรียบร้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าความว่า คนจีนสร้างอุโบสถเมื่อครั้งนำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา สร้างอุโบสถเสร็จแล้วฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทานพระนาคปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้คนจีนนำไปไว้ในอุโบสถ และพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนี้ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังปัจจุบัน ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ถูกข้าศึกรุกราน วัดนี้ก็ได้ทรุดโทรมลงตามลำดับหลังจากนั้นก็ได้มีการบูรณะพัฒนาขึ้นใหม่เริ่มเจริญรุ่งเรืองมากนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา จนได้รับการยกย่องจากรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปีพ.ศ.๒๕๑๓ เสด็จไปทรงสนทนาธรรมกับพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)ถึงหลักการปฏิบัติกรรมฐานและแนวทางการเผยแผ่หลักธรรม ณ วัดอัมพวันอำเภอพรหมบุรีจังหวัดสิงห์บุรีวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

Page 34: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดโพธิ์ เก้าต้น ตั้งอยู่ เลขที่ ๓๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลบางระจัน อำเภอ

ค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีนามอีก

นามหนึ่งว่าวัดไม้แดง เพราะภายในบริเวณมีต้นไม้แดงซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น

และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย เป็นวัดที่เก่าแก่อีก

วัดหนึ่งที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ปรากฏเป็นที่ประจักษ์

ตราบเท่าทุกวันนี้ กล่าวคือ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ราว พ.ศ. ๒๓๐๘

บ้านเมืองถูกข้าศึกรุกรานพวกชาวบ้านแถบนี้ได้รวบรวมกันได้ประมาณ ๔๐๐ คน

ตั้งกองสร้างค่ายล้อมรอบบ้านบางระจัน ได้มีพระอาจารย์ธรรมโชติจำพรรษาอยู่ที่

วัดโพธิ์เก้าต้น เดิมอยู่วัดเขานางบวช เมืองสุพรรณบุรี ได้ช่วยปลุกเสกเครื่องรางของขลัง

ให้มาคุ้มครอง ทำให้ชาวบ้านต่อสู้กับข้าศึกได้อย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดเมื่อถูกข้าศึก

ซึ่งมีกำลังมากกว่าหลายเท่านักก็ต้องแตกพ่ายถอยอพยพหนีกันไป วัดวาอารามก็ต้อง

ปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นวัดร้าง ถูกทำลายไปก็มาก จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณ

พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ประชาชนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นก็ได้เริ่มทำการ

บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง และได้รับการประกาศยกสภาพวัดให้เป็นวัด

มีพระสงฆ์นับตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

เมื่อวันที่๒๒ตุลาคมพ.ศ.๒๕๑๓

วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี

��

Page 35: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จไปเยี่ยมชม สนทนาธรรม และถวายปัจจัยบำรุงพุทธศาสนา

แด่พระครูวิชิตวุฒิคุณเจ้าอาวาสเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 36: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่เลขที่๒

ตำบลจักรสีห์อำเภอเมืองสิงห์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี เป็นวัดโบราณไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า

ใครเป็นผู้สร้างและสร้างมาแต่สมัยใดสันนิษฐานว่ามีมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเพราะชื่อวัด

ตั้งตามชื่อที่มีพระนอนอยู่ในวัดและตามชื่อตำบลที่ตั้งอยู่ พระยาโบราณราชธานินทร์

(พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา กล่าวถึงนามวัดพระนอนจักรสีห์

โดยสันนิษฐานถึงเหตุที่เรียกวัดพระนอนจักรสีห์ไว้ในหนังสือระยะทางเสด็จประพาส

ลำน้ำแม่น้ ำน้อยและลำน้ำแม่น้ ำใหญ่มณฑลกรุงเก่าและมณฑลนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๔๕๘ ว่า “ใต้วัดพระนอนลงไปราว ๓๐ เส้น มีวัดอีกวัดหนึ่งชื่อว่าวัดจักรสีห์ ข้อนี้เอง

จึงเป็นเหตุให้นำชื่อของวัดทั้งสองไปควบแล้วเรียกวัดพระนอนว่าวัดพระนอนจักรสีห์

วัดพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี

Page 37: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยาทรงปฏิสังขรณ์

และสมโภชวัดพระนอนจักรสีห์เป็นการใหญ่ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ วัดพระนอนจักรสีห์

เป็นสำนักศาสนศึกษาและสำนักปฏิบัติธรรม ได้รับเกียรติเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของ

กรมการศาสนาพ.ศ.๒๕๔๓

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จไปเยี่ยมชม สนทนาธรรม และถวายปัจจัยแด่พระราชกิตติเมธี

เจ้าอาวาสเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 38: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตหมู่บ้านพลับ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี

จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ทางทิศตะวันตกของพระนอนจักรสีห์ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า

วัดหัวเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหน้าพระธาตุสิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่พระปรางค์

ที่สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น มีความสูงประมาณ ๘ วา ฐานก่อด้วย

ศิลาแลงนอกจากนี้ยังมีพระวิหารหลวงและพระอุโบสถ

วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดสิงห์บุรี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 39: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดม่วง ตั้งอยู่ เลขที่ ๔๘ หมู่ที่ ๘ ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี วัดม่วงสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๕ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ วิหารเก่าแก่สมัยอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติฝีมือช่างแบบพื้นบ้าน อยู่ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นถึงรัชกาลที่ ๔ สะท้อนให้เห็นสภาพบ้านเรือนและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น เดิมมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่ ๆอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกตามสภาพท้องที่ตั้งวัด ชาวบ้านแถวนี้ส่วนมากมีถิ่นฐานอยู่ที่เวียงจันทน์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๖ได้เคยเสด็จมาและได้ประทับเสวยพระกระยาหารที่บนศาลา การเสด็จครั้งนั้นได้เสด็จโดยทางน้ำในการสร้างอุโบสถเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ สมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามได้เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์เพื่อเป็นมิ่งมงคลแก่วัด ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ เมษายนพ.ศ.๒๕๒๖สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทรงเปิดพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก.” ที่ ได้ โปรดพระราชทานแก่วัดนำไปประดิษฐานไว้ที่หน้าบันอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จไปเยี่ยมชม สนทนาธรรม และถวายปัจจัยแด่พระครูโสภิตบุญญาคม เจ้าอาวาสเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดม่วง จังหวัดสิงห์บุรี

Page 40: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดโบสถ์ เป็นพระอารามหลวง

ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบล

อินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

อินทร์บุรี ซึ่ งได้รวบรวมเก็บรักษา

และจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญทาง

ประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย

สม เด็ จพ ร ะ เ จ้ า พี่ น า ง เ ธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้ เสด็จไปเยี่ยมชม

สนทนาธรรม และถวายปัจจัยบำรุงพุทธศาสนา

แด่พระราชวินัยเวที เจ้าอาวาส เมื่อวันที่

๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี

Page 41: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระอารามหลวง

ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ เลขที่ ๒๔๙

บ้านรั้วใหญ่ ถนนมาลัยแมน หมู่ที่ ๒ ตำบล

รั้วใหญ่อำเภอเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรี

ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๓๖๙ เดิมชื่อวัดลานมะขวิด

โดยนำชื่อหมู่บ้านลานมะขวิดมาตั้งเป็นชื่อวัด

เป็ น วั ด เก่ า แก่ ส ร้ า งมาแต่ สมั ย โบ ร าณ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง

ราชานุภาพ ทรงพระวินิจฉัยว่าคงจะสร้างขึ้น

ในสมัยอู่ทอง โดยสันนิษฐานจากลักษณะ

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน

พระวิหารประจำวัด ที่ เรียกนามกันว่า

พระป่าเลไลยก์ แต่เดิมคงเป็นพระพุทธรูป

ปางปฐมเทศนา ต่อมาองค์พระชำรุดหักพังลง

ชั้นหลังที่มาปฏิสังขรณ์องค์พระขึ้นใหม่ เปลี่ยน

เป็นพระปางป่าเลไลยก์ แต่จะเปลี่ยนแปลงครั้งไหนไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ครั้นสมัย

กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้ขุนหลวงพงั่ว (สมเด็จพระบรมราชาธิราช

ที่๑) ไปรักษาเมืองสุพรรณบุรีพ.ศ.๑๘๙๓และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์

เป็นการใหญ่ ครั้นถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ วัดนี้รกร้างไม่มีพระสงฆ์

ปกครองดูแล

วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

Page 42: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบดินทร์ไปสร้างวัดป่าเลไลยก์ร่วมกับหลวงพ่อกล่ำ

เจ้าอาวาสวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นใหม่

เกือบหมดทั้งวัด ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดป่าเลไลยก์

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๔๖๑

Page 43: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐ บ้านค่ายเก่า ถนนสมภารคง

หมู่ที่ ๑ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๖

ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง เชื่อกันว่าเดิมเป็นพระอารามหลวง เป็นที่ประทับของสมเด็จ

พระสังฆราชศรีไตรโลก ต่อมาพระมหาเถระปิยทัสสีสารีบุตร และฤาษีพิลาสัย สร้าง

พระผงสุพรรณบรรจุในพระเจดีย์ ใน พ.ศ. ๑๙๗๙ เจ้าสามพระยาได้บูรณปฏิสังขรณ์

และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จฯ มาที่วัดนี้

ในคราวเสด็จประพาสต้นได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๕๑๙

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเยี่ยมชมวัดนี้โดยมีคณะสงฆ์ให้การต้อนรับ

Page 44: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดหน่อพุทธางกูร ตั้งอยู่ที่บ้านพลูหลวง หมู่ที่ ๑ ตำบลพิหารแดง

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๕๐๓

วัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเยี่ยมชมสนทนาธรรมและได้ถวายปัจจัยบำรุงวัดแก่เจ้าอาวาส

Page 45: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพลัด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็น

วัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย

มีความยาวถึง ๕๐ เมตร หรือ ๒๕ วา มีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม

แสดงออกถึงความมีเมตตา ด้วยลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์

จังหวัดสิงห์บุรี จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน ปัจจุบันองค์พระอยู่กลางแจ้ง

เดิมมีวิหารปกคลุมแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑

ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยของเสาพระวิหารอยู่รอบองค์พระตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

จึงไม่มีการสร้างใหม่อีก คงเหลือแต่ร่องรอยเดิม เสาวิหารบางส่วนยังปรากฏอยู่

องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อย ๆ ปี พระมหากษัตริย์ไทย

หลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมา

เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จในปี

วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง

Page 46: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

พ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จมา

ถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๘

พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิตย์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จมาเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่๒๐มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

Page 47: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก อำเภอเมืองอ่างทอง

จังหวัดอ่างทอง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่

พระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาววัดจากปลาย

พระเมาลีถึงปลายพระบาทประมาณ๒๒.๕๘ เมตร ก่ออิฐถือปูน ปิดทอง ในพระราช

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำ

กัดเซาะในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ พระยาโบราณราชธานินทร์

(พร เดชะคุปต์) ได้พบสมุดข่อยโคลงพระราชนิพนธ์ เรื่อง การชะลอพระพุทธไสยาสน์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงให้ช่างสลักคำโคลง

พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ลงบนแผ่นศิลาขาวที่ชาวอิตาเลียนนำมาถวาย แล้วให้ติดไว้ที่

พุทธปฤษฎางค์ขององค์พระนอกจากนี้ยังมีวิหารมณฑปพระพุทธบาท๔รอย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๒๐มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง

Page 48: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดใหญ่สุวรรณาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบอำเภอเมืองเพชรบุรีจังหวัด

เพชรบุรี จากหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดสันนิษฐานว่าวัดนี้มีมาตั้งแต่

ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ

(พุทธศักราช ๒๒๔๖-๒๒๕๑) โดยพระสุวรรณมุนี (สังฆราชแตงโม) ชาวเพชรบุรี

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดใหญ่สุวรรณาราม

ขึ้นเป็นพระอารามหลวง และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรหลายครั้ง พร้อมทั้ง

พระราชทานเงินให้ปฏิสังขรณ์วัดด้วย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดซึ่งล้วนมีรูปแบบศิลปกรรม

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีคุณค่า ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคาร

ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสำเภา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น

ภาพพุทธประวัติและเทพชุมนุม เสาและ

เพดานมี ก า รตกแต่ ง ด้ ว ยล ายทอง

บนพื้นแดงอย่างวิจิตร ตัวพระอุโบสถ

มีวิหารคดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕

ล้อมรอบ ศาลาการเปรียญเป็นเรือนไทย

ขนาดใหญ่ ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรม

สีฝุ่นผสมกาวเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม

ทวารบาล และภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ

สภาพลบเลือนมาก เสาศาลาการเปรียญ

เขียนเป็นลายรดน้ำแตกต่างกันในแต่ละคู่

นอกจากนี้ยังมีหอไตร หมู่กุฏิสงฆ์ ศาลา

โถง หอระฆัง หอไตรหลังใหม่

พระปรางค์ เจดีย์ กรมศิลปากรได้ขึ้น

ทะเบียนวัดใหญ่สุวรรณารามเป็นโบราณสถาน

ของชาติเมื่อพุทธศักราช๒๕๔๔

วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี

Page 49: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๕มกราคมพ.ศ.๒๕๔๒

Page 50: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดกำแพงแลง ตั้งอยู่ ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรี มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ ปราสาท ๕ หลัง ประกอบด้วย ปราสาท

ประธาน ๑ หลัง และปราสาททิศ ๔ หลัง ทุกหลังก่อด้วยศิลาแลงมีการฉาบปูน

และตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นจากลักษณะการก่อสร้างและศิลปกรรมที่พบซึ่งตรงกับ

ศิลปะเขมรแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว

พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เพื่อเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน กรมศิลปากรได้

ประกาศขึ้นทะเบียนวัดกำแพงแลงเป็นโบราณสถานของชาติตั้งแต่พุทธศักราช๒๔๗๘

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๕มกราคมพ.ศ.๒๕๔๒

วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี

Page 51: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดไลย์ ตั้งอยู่ริมน้ำบางขามตำบลเขาสมอคอนอำเภอท่าวุ้งจังหวัดลพบุรี

สันนิษฐานว่า เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่

พระวิหาร รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีการเจาะช่องผนังแทน

หน้าต่าง ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้ว

แบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีลายปูนปั้น

เรื่องทศชาติและเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่

ที่สำคัญชิ้นหนึ่งของชาติ นอกจากนี้ยังมีรูปพระศรีอาริย์ ที่ชาวบ้านนับถือมาแต่โบราณ

พระอุโบสถวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์และพิพิธภัณฑ์ประจำวัด

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕

วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี

Page 52: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

วัดศรีโสดา ตั้งอยู่บ้านห้วยแก้วหมู่ที่๒ตำบลสุเทพอำเภอเมืองเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อวัดโสดาบัน เป็นวัดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทย

สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ในขณะที่ก่อสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ พุทธศักราช

๒๕๔๔ โครงการพระธรรมจาริกได้ขอใช้สถานที่เป็นที่ตั้งของศูนย์อบรมพระพุทธศาสนา

แก่พระภิกษุสามเณรชาวเขา วัดศรีโสดาจึงเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนและอบรมจิตใจของ

เยาวชนชาวเขาผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ต่อมาทางวัดได้ปรับปรุงสถานที่ก่อสร้าง

เสนาสนะถาวรวัตถุ ส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนชาวเขามาบวชเรียน ผลิตพระธรรม

จาริกไปปฏิบัติศาสนกิจในพื้นที่ทั่วภาคเหนือตอนบนทำให้วัดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จถวายผ้าพระกฐินเมื่อวันที่๒๐พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๑๕

วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่

Page 53: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดพระสิงห์วรมหาวิหารเป็นพระอารามที่พญาผายูกษัตริย์องค์ที่๕แห่งราชวงศ์มังราย

(พ.ศ. ๑๘๗๙-๑๘๙๘) ทรงสถาปนาขึ้นประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๘ เดิมชื่อว่า

วัดลีเชียงโดยที่หน้าวัดเป็นท้องสนามประชาราษฎร์ซื้อขายสินค้ากันจนกลายเป็นตลาด

ลีเชียงพระ(ลี-ตลาด)และจึงเรียกชื่อวัดตามไปด้วยว่าวัดลีเชียงพระ

ประมาณ พ.ศ. ๑๙๔๓ เจ้ามหาพรหม ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจาก

กำแพงเพชรและนำไปถวายพระเจ้าแสนเมืองมา(กษัตริย์องค์ที่๗)พระองค์ได้อัญเชิญ

ไปประดิษฐานที่วัดลีเชียงพระ ประชาชนจึงเรียกวัดลีเชียงพระว่า วัดพระสิงห์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่๘แห่งราชวงศ์จักรีทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อวันอาทิตย์

ที่๓๐พฤศจิกายนพ.ศ.๒๔๘๓จึงได้นามว่าวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

Page 54: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

มีโบราณวัตถุและโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้วคือ พระเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองฐานช้างล้อม พระอุโบสถ พระวิหารลายคำพระวิหารหลวงหอไตรและพระพุทธไสยาสน์ในวิหารพระนอน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เมื่อพ.ศ.๒๕๔๕

��

Page 55: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดป่าแดด ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม

จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อวัดใหม่ เริ่มก่อตั้งครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยมี

ครูบากุณา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางชุมชน เป็นที่สืบสานและ

ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ควบคู่กันไปกับ

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาแบบใหม่ ตามแนววิถีแห่งพุทธธรรม วัดป่าแดด มีโบราณสถาน

ที่สำคัญได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากรแล้วคือภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหาร

พระธาตุหลวง (พระมหาเจดีย์) พระวิหารลายคำ

วัดป่าแดด จังหวัดเชียงใหม่

Page 56: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๗ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๖

Page 57: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดกองแขก ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘ บ้านกองแขกเหนือ หมู่ที่ ๗ ตำบลกองแขก

อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดมหานิกาย มีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๖๐ ตารางวา

มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านมีประตูเข้าออกสามทางวัดกองแขกมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภายในวิหารอาจถือได้ว่าเป็นงานศิลปะที่โดดเด่นที่สุด

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๗ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๖

วัดกองแขก จังหวัดเชียงใหม่

Page 58: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดจันเสนตั้งอยู่ที่ตำบลจันเสนอำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์สถานที่ตั้ง

ของวัดจันเสน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ซึ่งมีอายุ

อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ จากการสำรวจของนักโบราณคดีสามารถพบหลักฐาน

ทางประวัติศาสตร์มากมายเช่นลูกปัดเครื่องปั้นดินเผาอาวุธโบราณและโครงกระดูก

มนุษย์ในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานระบุแน่ชัดว่าตัวเมืองจันเสนตั้งอยู่

ด้านหลังของวัดจันเสนซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่าบ้านโคกจันเสนบริเวณที่ตั้งของวัดจันเสน

ยังมีบ่อน้ำโบราณอยู่ ๒ แห่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าบึงจันเสน (บึงใหญ่) และบึงน้อย

ที่ตั้งอยู่ใจกลางวัด ท่านพระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) และคณะกรรมการวัด

จึงได้ถมบึงน้อยนั้นเสียเพื่อจะได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่อไป ในขณะที่ทำการถมบึงนั้นได้มี

เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในนิมิตของหลวงพ่อโอดจึงทำให้ไม่สามารถที่จะถมได้ ต้องเหลือ

ไว้ให้เห็นว่ามีสภาพเป็นบึงอยู่เพียงเล็กน้อย ปัจจุบันอยู่หลังพระอุโบสถหรือด้านหน้าของวัด

ส่วนบึงใหญ่นั้นมีเนื้อที่ประมาณ ๓๕ ไร่ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่ชาวจันเสนทุกคนใช้

ดื่มกินและใช้ในการดำรงชีวิตมาช้านาน

วัดจันเสน จังหวัดนครสวรรค์

Page 59: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

นอกจากนี้วัดจันเสนยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของสาธุชน

ทั่วไป ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อนาค ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกที่แกะสลักจาก

หินทรายศิลปะแบบลพบุรี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๕เป็นการส่วนพระองค์

Page 60: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่บนถนนสุริยพงษ์

ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

เดิมชื่อวัดหลวงกลางเวียง หลักฐานตามศิลาจารึก

หลักที่ ๗๔ ที่ค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พระยา

พลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์

บูรณวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ วัดนี้มีเจดีย์

ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย อายุประมาณ

พุทธศตวรรษที่ ๒๐ รอบพระเจดีย์มีรูปช้างโผล่

ออกมาครึ่งตัว นอกจากนั้นวัดช้างค้ำยังมีพระพุทธรูป

ทองคำปางลีลาชื่อพระนันทบุรีศรีศากยมุนี

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน

Page 61: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จเปิดป้ายมูลนิธิโรงเรียนนันทบุรี (วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร)

ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๘

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ได้เสด็จถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ และได้เสด็จทรงงานและทอดพระเนตร

พระวิหารหลวง พระอารามหลวง ซึ่งได้เกิดการแตกร้าวและพื้นทรุดตัวลงณ วัดพระธาตุช้างค้ำ

วรวิหารเมื่อวันที่๒๕มิถุนายนพ.ศ.๒๕๔๕

Page 62: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0

วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน

ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ลักษณะองค์พระธาตุเดิม เป็นเจดีย์ทรงระฆัง

สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญชัย ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุ

มีพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่ง

ถือเป็นเอกลักษณ์ศิลปะเมืองน่าน

พระธาตุแช่แห้ง สร้างในสมัยพระยาการเมือง ในราว ๖๐๐ ปีก่อนหรือ

พุทธศักราช ๑๘๖๙-๑๙๐๒ มีการบูรณะองค์พระธาตุหลายครั้ง จนปัจจุบันเป็นเจดีย์

สูงใหญ่ทรงระฆัง บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ คือทองเหลืองผสมทองแดง)

ปิดทองคำเปลวอีกชั้นหนึ่งสีเหลืองอร่ามตลอดทั้งองค์มีความสูง๕๕.๕เมตร

วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน

�0

Page 63: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

พระธาตุแช่แห้งนี้ถือว่าเป็นพระธาตุคู่ราศี

ของคนที่เกิดปีเถาะ ทุก ๆ ปีในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ

(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) จะมีประเพณีนมัสการ

องค์พระธาตุแช่แห้ง และภายในวัดยังมีวิหารหลวง

วิหารพระนอน และบันไดนาคที่มีคุณค่าเป็น

แบบอย่างทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมแบบหนึ่ง

ที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพระพุทธปรัชญา

อย่างกลมกลืน ปัจจุบันได้รับพระราชทานเป็น

วัดหลวงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในวโรกาส

ที่ทรงมีพระชนมายุ๘๐พรรษา

Page 64: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ มีลักษณะเด่น คือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกพระอุโบสถ

เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่านฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบันและภายในบริเวณวัด

ยังเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ ในศาลาจัตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ

เสาหลักเมืองสูงประมาณ ๓ เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลาย ลงรักปิดทอง

ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา

วัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน

Page 65: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จมาสักการะเสาหลักเมืองน่านที่อยู่ภายในวัดมิ่งเมือง เมื่อปี

พุทธศักราช ๒๕๔๑ และเสด็จมาเป็นประธานยกยอดเสาหลักเมือง เมื่อปี

พุทธศักราช๒๕๔๒

Page 66: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดสวนตาล ตั้งอยู่ที่ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านสร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี ชายาของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพ.ศ. ๑๙๕๕ บริเวณวัดเดิม เป็นวัดสวนตาลหลวงซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดในปัจจุบันนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นวัดที่เก่าแก่มากเป็นอันดับที่ ๔ของจังหวัดน่าน พระเจดีย์หลังวิหารนั้นเดิมพระปรางค์เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ ผลิตเดช เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้แก้ไขรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ จนถึงปัจจุบัน พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดสวนตาล เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศิลปะล้านนา สวยงามมาก เป็นที่เคารพสักการบูชาและเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของจังหวัดน่าน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ราวจุลศักราช ๘๑๒ หรือ พ.ศ. ๑๙๙๓ ทุกปีในเทศกาลสงกรานต์ ชาวจังหวัดน่านจะจัดงานนมัสการสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์เพื่อเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่เมือง๑๓เมษายนของทุกปี

วัดสวนตาล จังหวัดน่าน

Page 67: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเยี่ยมวัดสวนตาล ทรงนมัสการพระพุทธรูปทองทิพย์ เมื่อวันที่๒๗เมษายนพุทธศักราช๒๕๓๘

Page 68: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดหัวข่วง ตั้งอยู่ที่ถนนผากองตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

สร้างด้วยศิลปะล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ และมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม

ภายในพระวิหาร

วัดหัวข่วง จังหวัดน่าน

Page 69: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��

วัดหัวข่วงมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับ

พระเจ้าทองทิพย์เฉพาะพระพักตร์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลผสมระหว่างศิลปะพระพุทธรูป

ปางมารวิชัยและพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ส่วนชายจีวรที่ยาวมาจรดบั้นพระองค์แลดู

สั้นกว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะการยึดส่วนบั้นพระองค์ให้สูงขึ้นรับกับพระวรกาย

ที่เพรียวบาง พระพุทธรูปองค์นี้คงมีอายุระหว่างครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑

นอกจากนี้แล้วยังมีพระเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ ศิลปะล้านนา และหอไตร

ที่มีการสลักลวดลายที่ฝาด้านนอกซึ่งแลดูสวยงามมาก

สม เด็ จพ ร ะ เ จ้ าพี่ น า ง เ ธอ

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จมาเยี่ยมวัดหัวข่วงและ

หอไตรวัดหัวข่วง และถวายพระราชทรัพย์

ส่วนพระองค์เพื่อบูรณะหอไตรไว้จำนวนหนึ่ง

เมื่อวันที่๒๖ธันวาคมพุทธศักราช๒๕๔๐

Page 70: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

����

วัดบุญยืน เป็นพระอารามหลวง ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๑ หมู่ที่ ๔

ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมาครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๔๗ วัดนี้เป็นวัดที่สร้างคู่กับการสร้างเมือง “เวียงป้อ”

สร้างขึ้นโดยพระยาป้อ เรียกชื่อเมืองตามนามผู้สร้างเมือง แต่มีชื่อนิยมเรียกกันว่า

เวียงสา หรือเมืองสา เดิมพระยาป้อได้สร้างวัดเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีชื่อว่า

วัดบุญนะตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดบุญยืนปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตลาดสดของวัด

และอาคารพาณิชย์) ต่อมาเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงเห็นว่า

วัดบุญนะคับแคบ ไม่อาจขยายให้กว้างขวางได้จึงให้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ห่างจากวัดเดิม

ประมาณ ๓ เส้น ทางด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของลำน้ำน่าน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์

พ.ศ. ๒๓๒๙ ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดป่าสักงาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๓ ได้สร้าง

วัดบุญยืน จังหวัดน่าน

Page 71: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

����

พระประธานในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทับยืนสูง๘ศอกจึงได้เปลี่ยนชื่อ

วัดป่าสักงามเป็นวัดบุญยืน ตามลักษณะพระพุทธรูป ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชวงศ์

เชียงของเป็นผู้แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหาร พระพุทธรูปไม้สัก พระพุทธรูปจำลอง

และศาสนวัตถุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก พ.ศ. ๒๓๔๕ ได้ก่อสร้างพระเจดีย์แบบลังกา

ติดกับพระวิหารทางด้านทิศใต้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จเยี่ยมชมพระอุโบสถวัดบุญยืน เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม

พุทธศักราช๒๕๔๖

Page 72: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�00

วัดขึ่งเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ภายใน

พระอุโบสถมีพระพุทธรูปทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยทองสำริดอย่างดี เดิมชื่อ

พระพุทธรูปเพชร เพราะมีปลายยอดพระเกศาฝังเพชร ข้อพระกรสามารถถอดเข้าออกได้

ประดิษฐานอยู่ที่ภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญเก่าแก่โบราณคู่บ้าน

ขึ่งเจริญ จากประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด

อาศัยการสืบทอดกันมาเป็นทอด ๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านว่า พระพุทธรูป

ทองทิพย์ น่าจะเป็นพระพุทธรูปรุ่นราวคราวเดียวกับพระพุทธรูปทองทิพย์ที่ประดิษฐาน

อยู่ที่วัดสวนตาล พระพุทธรูปทองทิพย์นี้ได้มีดวงวิญญาณของพุทธรักษ์ที่สิงสถิต

อยู่ที่ต้นโพธิ์ใหญ่ข้างวัดเป็นผู้รักษา และได้ถูกโจรขโมยไปสองครั้ง แต่ไม่สำเร็จ

เนื่องจากโจรอุ้มไปไม่ไหว เพราะปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบันดาลให้โจรยกไม่ขึ้น

ต้องทิ้งไว้กลางทาง ครั้งแรกพวกโจรวางแผนเอาไฟไปเผาที่โรงเรือแข่ง แล้วพวกโจร

ก็เข้าไปขโมยพระพุทธรูปหนีไปทางทิศตะวันตกของวัด โจรพาไปได้แค่บริเวณกลางสนาม

ของโรงเรียนก็ไม่สามารถพาต่อไปได้ จึงทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ (บริเวณกลางสนามโรงเรียน)

ชาวบ้านไปพบเข้าจึงได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดขึ่งตามเดิม การถูกขโมยไปครั้งนี้ทำให้เพชร

ที่ฝังไว้ยอดสุดของพระเกศาหายไป ครั้งที่สองก็เช่นกัน โจรพาไปทิ้งที่ท้ายหมู่บ้าน

ใต้ต้นผึ้ง ชาวบ้านออกตามไปพบเข้าจึงอัญเชิญมาที่วัดดังเดิม และช่วยกันตั้งเวรยาม

ในการดูแลพระพุทธรูป ทุกปีชาวบ้านจะจัดงานบุญสรงน้ำพระพุทธรูปทองทิพย์ โดย

จัดขึ้นในวันสงกรานต์วันที่ ๑๗ เมษายนของทุกปี และภายในพระอุโบสถยังมีปล่องน้ำ

ใต้ดินขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๑๐ เมตร ปากปล่องอยู่หน้าพระประธาน ท้ายปล่องจะอยู่

ที่ริมแม่น้ำน่านซึ่งมีประวัติเล่าว่า ในอดีตเป็นปล่องหลบภัย และใช้ขนเสบียงอาหาร

ในยามที่มีข้าศึกศัตรูปัจจุบันปล่องน้ำดังกล่าวจะใช้สำหรับเทน้ำที่ใช้ในการอุทิศส่วนกุศล

ในพิธีต่างๆ

วัดขึ่งเจริญ จังหวัดน่าน

Page 73: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖ แล้วทรงตรัสว่าอยาก

ให้ปล่องน้ำในพระอุโบสถวัดขึ่งเจริญมีลักษณะเหมือนดังเดิม

Page 74: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดพระธาตุดอยกองมู ตั้งอยู่บนดอยกองมู ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง

แม่ฮ่องสอน เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดปลายดอยบ้าง เรียกว่า วัดดอยกองมูบ้าง

ต่อมาเรียกใหม่ว่าวัดพระธาตุดอยกองมูจนปัจจุบัน

สถานที่แห่งนี้ เดิมเป็นที่ซ่องสุมโจรลงมาปล้น

ชาวบ้านแล้วขึ้นไปหลบอยู่บนดอยต่อมามีการปราบปรามโจร

ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาแทนและมีศรัทธาชื่อ

จองต่องสู่ สร้างเจดีย์องค์ใหญ่และศาลาการเปรียญถวาย

โดยมีเจ้าอาวาสชื่ออูปันเต็กต๊ะ พระสงฆ์ชาวพม่าเป็น

เจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ พญาสิงหนาทราชา

ขึ้นครองเมืองแม่ฮ่องสอน ได้สร้างเจดีย์ถวายเป็น

ที่ระลึกอีกองค์หนึ่งคือเจดีย์องค์เล็ก ต่อมาวัดไม่ได้บำรุง

วัดพระธาตุดอยกองมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 75: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

และร้างไป ท่านพระครูอนุสารศาสนกรจึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่ สร้างศาลาการเปรียญ

ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม

พ.ศ.๒๕๑๙

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่๑๖ธันวาคม๒๕๔๗

Page 76: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดก้ำก่อ ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงม่วยต่อ ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัดก้ำก่อ เป็นภาษาไต แปลว่า ดอกบุนนาค ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ

วัดพระนอน เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓

มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่แพ้วัดอื่น ๆ โดยเฉพาะลักษณะพิเศษที่มีหลังคา

คลุมทางเดินตั้งแต่ซุ้มทางเข้าสู่ศาลา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่๑๗ธันวาคม๒๕๔๗

วัดก้ำก่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 77: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดพระนอนตั้งอยู่ที่ถนนผดุงม่วยต่อตำบลจองคำอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมเรียกกันว่าวัดพระนอน เพราะวัดนี้มีพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดของ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาการเปรียญ วัดพระนอนตั้งอยู่ทางทิศ

ตะวันตกของเมือง ติดทางขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู วัดพระนอนเป็นวัดที่สำคัญเนื่องจาก

เป็นวัดที่เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นผู้สร้างและใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าเมืองทุกองค์

วัดพระนอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 78: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ โดยศรัทธาพญาสิงหนาทราชาเจ้าเมือง

องค์แรก สร้างเป็นที่ระลึกในการขึ้นครองเมืองแม่ฮ่องสอน ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๔๖๙ และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็น

ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกหน่วยงานในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จะต้องมาทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่วัดพระนอนแห่งนี้เป็นประจำ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่๑๗ธันวาคม๒๕๔๗

Page 79: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดหัวเวียง ตั้งอยู่ที่ถนนจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เป็นวัดอันดับที่ ๒ ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เรียกว่า วัดหัวเวียง เนื่องจากตั้งอยู่

หัวเมืองแม่ฮ่องสอนเดิม สร้างเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๖ โดยคณะศรัทธาเมืองแม่ฮ่องสอน

นำไม้รอบๆวัดมาช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญมีการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา

มีประวัติพระพุทธรูปที่น่าสนใจ คือ พระพลาละแข่ง หรือพระมหามุนีเป็น

พระพุทธรูปที่มีความสำคัญและล้ำค่ายิ่งเสมือนเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองแม่ฮ่องสอน

ก็ว่าได้ เนื่องจากชาวแม่ฮ่องสอนเชื่อว่าถ้าได้ต่าง “ซ่อมต่อ” หรือถวายกระทงข้าว

ในวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะเป็นสิริมงคล ได้บุญกุศลยิ่งและทุกปี

ในเดือน๔ราวเดือนมีนาคมจะมีประเพณีบูชาพระพลาละแข่งเพื่อให้ทุกคนในทุกพื้นที่

ได้มากราบไหว้บูชาตลอด ๓ วัน มีการต่างซอม “ต่อโหลง” หรือทำบุญถวาย

ข้าวมธุปายาสด้วย พระพลาละแข่งเป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองยะแข่ง

ประเทศพม่า โดยศรัทธาลุงจองโหย่าและลุงจองวุ่นนะ เดินทางไปอัญเชิญมาโดยทางเรือ

วัดหัวเวียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 80: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

ตามลำน้ำสาละวินเข้าสู่ลำน้ำปายขึ้นที่ท่าเรือบนท่าโป่งแดง บรรทุกเกวียนมาไว้ที่วัด

พระนอนก่อนสร้างวิหารเสร็จแล้วจึงอัญเชิญมาไว้ที่วัดหัวเวียงถึงทุกวันนี้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมเมื่อวันที่๑๗ธันวาคม๒๕๔๗

Page 81: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

�0�

วัดจองคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีประวัติความเป็นมาว่า

เมื่อคราวสร้างศาลาการเปรียญวัดขึ้นใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื่องจากถูกไฟไหม้

เมื่อพ.ศ.๒๕๑๓ขุดเสาพบแผ่นเงินจารึกมีความว่าวัดจองคำสร้างเมื่อพ.ศ.๒๓๗๐

โดยศรัทธาชาวบ้าน ต่อมาศาลาการเปรียญทรุดโทรมลง พ.ศ. ๒๔๙๖ ลุงจองคำ

ส่วยคหบดีชาวแม่ฮ่องสอนเป็นศรัทธาสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ และวัดได้รับ

พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘ และได้รับพระราชทาน

ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเมื่อวันที่๒๗กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๒๗

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมชมเมื่อวันที่๑๖ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๗

วัดจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Page 82: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��0

วัดจองกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัดจองกลาง เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดจองคำและวัดจองใหม่

เดิมวัดนี้ เป็นศาลาที่พักของคนจำศีลมาจำศีลในวันพระ ต่อมามีบุตรหลานของ

พญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน ไปทำธุรกิจค้าขายที่เมืองมะละแหม่ง

ประเทศพม่าเกิดป่วยหนักจึงนำตัวกลับทางเรือตามลำน้ำปาย มาถึงบ้านท่าโป่งแดง

เสียชีวิตญาติๆนำศพมาไว้ที่ศาลาจำศีลและได้บูรณะซ่อมแซมให้สวยงามมีการนิมนต์

พระสงฆ์จากประเทศพม่ามาร่วมงานและนิมนต์อยู่ต่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาใหม่

แทนหลังเก่าสร้างในปีพ.ศ.๒๔๑๐โดยขุนเพียรจนแล้วเสร็จ

Page 83: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมชมเมื่อวันที่๑๖ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๗

Page 84: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบล

ทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในพระวิหารวัดแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐาน

พระแท่นศิลาอาสน์ ตัวพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง

๘ ฟุต ยาว ๑๐ ฟุต สูง ๓ ฟุต ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ

ถือเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามความเชื่อแต่โบราณว่า สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ในกัลป์นี้ ได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นศิลาอาสน์

เพื่อเจริญภาวนาและโปรดเวไนยสัตว์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ยังมีปูชนียสถานที่สำคัญ

ได้แก่ พระพุทธบาทสี่รอย หลวงพ่อธรรมจักรซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านซ้าย

และขวาของพระวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ นอกจากนี้ยังมีต้นพุทราแขวนบาตรที่อยู่

ข้างพระวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ มีประวัติเล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงแขวนบาตรหลังจาก

ทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อวันที่๒๕ธันวาคมพ.ศ.๒๕๔๗

Page 85: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่๑๗ในรัชสมัย

ของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้เคยเป็นพระราชฐาน

ของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจาก

ที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผง

จากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระรอด

ลำพูน” ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม

พุทธศักราช๒๕๓๙พร้อมทั้งได้มีพระอนุญาตให้จังหวัดลำพูนอัญเชิญพระนามย่อ ก.ว.

สลักไว้ด้านหลังขององค์พระรอดลำพูน

Page 86: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดอรัญญเขต จังหวัดตาก

วัดอรัญญเขต ตั้งอยู่เลขที่ ๗๐๐ ถนนอินทรคีรี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด

จังหวัดตาก ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๘๐.๑๐ ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ

อยู่ริมถนนอินทรคีรี อาคารเสนาสนะ มีอุโบสถสร้าง พ.ศ. ๒๔๙๖ ศาลาการเปรียญ

สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๙ อาคารเรียนพระปริยัติธรรม สร้าง พ.ศ. ๒๔๙๓ และกุฏิสงฆ์

วัดอรัญญเขตสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยนายอุ่นใจ นางสา ใจพรมเมือง

เป็นหัวหน้านำชาวบ้านจัดสร้างวัดนี้ ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ

พ.ศ.๒๕๐๓และในปีพ.ศ.๒๕๐๑เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินเมื่อวันที่๗พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๔๒

Page 87: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดเขาจันทน์งาม จังหวัดนครราชสีมา

วัดเขาจันทน์งาม ตั้งอยู่บ้านเลิศสวัสดิ์ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว

จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดสาขาที่ ๓๔ ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เสด็จ ณ วัดเขาจันทน์งาม (ธุดงคสถานเขาจันทน์งาม) ในการเสด็จครั้งนี้ พระองค์

ได้ทรงสนทนาธรรมกับพระครูบวรสีลวัตร เจ้าอาวาสวัดเขาจันทน์งาม เป็นเวลา

พอสมควร จากนั้นได้ถวายปัจจัยแก่เจ้าอาวาสเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท เสร็จแล้ว

เสด็จทอดพระเนตรแหล่งภาพเขียนสีในถ้ำเขาจันทน์งาม ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ประจำวัด

และเสด็จเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จเมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๖

Page 88: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดเขาจันทน์งามเหมาะแก่การเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมยิ่งนัก ด้วยบรรยากาศ

ที่สงบท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์และสัตว์ป่าที่น่ารัก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งศิลปะ

ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังวัด ภาพเขียนสีเป็นรูปคนและสัตว์

ที่แสดงถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ หรือกิจกรรมบางอย่างของกลุ่มคน เช่น ลักษณะ

การแต่งกาย การดำรงชีวิต การล่าสัตว์ สันนิษฐานว่า เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยชุมชน

เกษตรกรรมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้อายุระหว่าง๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ปี

Page 89: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย

วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่เลขที่๑๗๒บ้านพระธาตุบังพวนหมู่ที่๓ตำบล

พระธาตุบังพวนอำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคายตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ

สองพันปีเศษ พระอรหันต์เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้นำ

พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วย พระยาจันทบุรีประสิทธิ์ สักกเทวะ

เมืองเวียงจันทน์ทราบเรื่องจึงมาสักการะและสร้างเจดีย์ขึ้นบรรจุพระธาตุ เรียกว่า

พระธาตุบังพวน

สมัยต่อมาพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งล้านช้างได้มาบูรณะเจดีย์และสร้าง

วัดขึ้นหลังจากนั้นมีการก่อสร้างเพิ่มเติมและพัฒนาวัดเรื่อยมา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เสด็จไปนมัสการพระธาตุบังพวนซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคาย

Page 90: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดบ้านก้อม จังหวัดกาฬสินธุ์

วัดบ้านก้อม (บ้านเสมา) หรือวัดโพธิ์ชัยเสมาราม ตั้งอยู่บ้านเสมาตรงข้าม

กับทางเข้าเมืองฟ้าแดดสูงยาง เป็นวัดเก่าที่ชาวบ้านได้นำใบเสมาหินที่ขุดพบมารวบรวม

ไว้จำนวนมาก มีใบเสมาหินขนาดใหญ่ที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์ของอีสานเนื่องจาก

แทบจะไม่พบในภาคอื่นเลย ใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสูงยางมีความโดดเด่นคือ

นิยมแกะสลักภาพ เล่าเรื่องราวพุทธประวัติและชาดก มีใบเสมาจำลองหลักที่งดงาม

และสมบูรณ์ที่สุด สลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์

พร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ พระราหุล และนางยโสธราพิมพา เข้าเฝ้าแสดงสักการะ

อย่างสูงสุดด้วยการสยายพระเกศาเช็ดพระบาทองค์พระพุทธเจ้า เรียกเสมาหินภาพ

“พิมพาพิลาป”ซึ่งใบเสมาหลักนี้ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์เสด็จเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ที่วัดบ้านก้อมเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๗

Page 91: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดสระบัวแก้ว จังหวัดขอนแก่น

วัดสระบัวแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง

จังหวัดขอนแก่น สิ่งสำคัญภายในวัดนี้ ได้แก่ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือฮูปแต้ม

บนผนังโบสถ์ภายในและภายนอกทั้งสี่ด้าน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คน

ชาดกสวรรค์ นรกและนิทานพื้นบ้านมีการแบ่งองค์ประกอบของภาพออกเป็นตอน ๆ

โดยใช้เส้นแถบหรือสินเทาเป็นตัวแบ่ง มีรูปร่างเหมือนสายฟ้าแลบ สามารถเห็นได้ใน

งานจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๒มกราคมพ.ศ.๒๕๔๔

Page 92: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��0

วัดสนวนวารีพัฒนาราม จังหวัดขอนแก่น

วัดสนวนวารีพัฒนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านหัวหนองตำบลหัวหนองอำเภอบ้านไผ่

จังหวัดขอนแก่น สิ่งสำคัญภายในวัดนี้ ได้แก่ สิม หรือโบสถ์ ที่สร้างขึ้น

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖ ตามแบบสถาปัตยกรรมอิสานและภาพจิตรกรรมฝาผนัง

หรือ ฮูปแต้ม บนผนังโบสถ์ภายในและภายนอกบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

ชาดกและนิทานพื้นบ้านที่มีคติสอนใจ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๒มกราคมพ.ศ.๒๕๔๔

Page 93: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดในวัง จังหวัดสงขลา

วัดในวัง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๕ บ้านนาทวี ถนนต่างตานุสรณ์ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยการริเริ่มดำเนินการของขุนสิทธิอาญา (แปลง) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอนาทวีชั้นแรกได้นิมนต์พระช่วย วัดนาทวีมาเป็นกำลังสำคัญในการชักชวนประชาชนร่วมกันสร้างสะพานข้ามคลองนาทวี และได้สร้างที่พักสงฆ์ขึ้นในที่ดินซึ่งเป็นวังของขุนศรีสรรพกรรม ผู้ครองเมืองจะนะด้วย ต่อมาประชาชนเห็นเหมาะสมสะดวกดีจึงได้จัดตั้งเป็นวัดขึ้นมาเรียกกันว่าวัดในวังแปลงประดิษฐ์ต่อมาคำว่าแปลงประดิษฐ์หายไปคงมีแต่คำว่าวัดในวังเท่านั้นวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่๓๐สิงหาคมพ.ศ.๒๕๒๐ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๖มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 94: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส

วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) หมู่ที่ ๓ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ

จังหวัดนราธิวาสเริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่๔

ในสมัยก่อนมลายูตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ และอังกฤษ

จะพยายามให้นราธิวาสของไทยไปอยู่ในเขตของมลายู ไทยจึงสร้างวัดชลธาราสิงเหขึ้น

และอังกฤษจึงได้ยอมรับให้เป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยไป วัดชลธาราสิงเห

มีวิหารพระนอน ซึ่งตามผนังประดับด้วยเครื่องถ้วยสังคโลกที่เก่าแก่ และมีโบสถ์ที่สร้าง

ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของพระภิกษุชาวสงขลา เป็นภาพที่

ให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้น

วัดชลธาราสิงเหเป็นวัดขนาดใหญ่ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เชื่อกันว่า

วั ดแห่ งนี้ ส ร้ า งขึ้ นคู่ กั บชุ มชนชาวพุทธ

ในตากใบ เดิมชื่อว่า “วัดท่าพรุ” บางคน

เรียกว่า“วัดเจ๊ะเห”ในพ.ศ.๒๔๐๓พระครู

โอภาสพุทธคุณ (พุด) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด

ครั้งใหญ่ ต่อมาในสมัยที่มหาอำนาจจาก

ดินแดนยุโรปตะวันตกเข้ามาครอบครอง

ดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Page 95: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดชลธาราสิงเหได้มีบทบาทเป็นหลักแสดงอาณาเขตของแผ่นดินสยามในปี ๒๔๕๒

จนได้ชื่อว่า“วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”

อุโบสถของวัดชลธาราสิงเหสร้างใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ภาพเขียนฝาผนังภายใน

โบสถ์เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ จุดเด่นของอุโบสถแห่งนี้คือภาพวาดบริเวณเชิงชาย

หลังคาโดยรอบ ซึ่งทำเป็นช่องขนาดเล็ก มีภาพวาดภายในช่องและกรุกระจกใส

ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นภาพบรรยายถึงเรื่องอะไร ท่านเจ้าอาวาสสันนิษฐานว่าอาจเป็น

เรื่องพระเวสสันดรชาดกบางคนสันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพวิถีชีวิตชาวพื้นเมือง

เมื่อครั้งอังกฤษได้มลายูเป็นเมืองขึ้นนั้น อังกฤษพยายามจะรวมเมือง

นราธิวาสไว้ในเขตมลายูด้วย แต่ทว่าทางไทยเราได้อ้างว่าหัวเมืองนี้เป็นของไทยมานาน

โดยยกเอาวัดชลธาราสิงเห ที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็นวัดไทยมาเป็นข้ออ้าง อังกฤษ

จึงยอมให้นราธิวาสรวมอยู่ในเขตของไทย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๖มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 96: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดเขากง จังหวัดนราธิวาส

วัดเขากง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๔๒ ไร่ พื้นที่ตั้ งวัดเป็นที่ เนินสูงและเป็นภูเขา ๓ ลูก

สำหรับปูชนียวัตถุมีพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ อีก ๕ องค์

พระพุทธไกรลาสเป็นพระประธานในพระอุโบสถพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล มีความหมายว่า

เป็นพระพุทธรูปประจำภาคทักษิณหรือภาคใต้ การออกแบบพระพุทธรูปลักษณะ

ให้มีพุทธลักษณะของศิลปะอินเดียใต้ พระพุทธรูปลักษณะนี้เรียกกันว่า พระพุทธรูป

แบบเมืองนครศรีธรรมราช พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙

แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สิ้นค่าก่อสร้างไปกว่า ๕ ล้านบาทเศษ องค์พระเป็นพระพุทธรูป

ปางปฐมเทศนาหน้าตักกว้าง๑๗ เมตรสูงจากบัวใต้พระเพลาถึงพระเกตุบัวตูม๒๓ เมตร

และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมด้วยดินจากสังเวชนียสถานมาประดิษฐาน

ที่พระอุระเบื้องซ้าย การก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยกระเบื้อง

โมเสคสีทอง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๖มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 97: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด

นครศรีธรรมราช มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ ตามตำนานกล่าวว่า

พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณ

พุทธศักราช ๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์เป็นศิลปะแบบศรีวิชัย ต่อมา

พระภิกษุลังกาได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้าง

พระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวง วิหารเขียน

วิหารคดวิหารโพธิ์ลังกา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 98: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สวนโมกขพลาราม หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า สวนโมกข์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่

๑๒พฤษภาคมพ.ศ.๒๔๗๕ที่ตำบลพุมเรียงอำเภอไชยาท่านพุทธทาสเป็นผู้ดำริให้

จัดทำบริเวณป่าอันสงบวิเวกแห่งนี้เพื่อให้เป็นที่ศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่หลักธรรมทาง

พระพุทธศาสนา ปัจจุบันตั้งอยู่ที่วัดธารน้ำไหล ตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัด

สุราษฎร์ธานี สวนโมกขพลาราม หมายถึง สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น

จากทุกข์ มาจากคำว่า “โมกขะ” แปลว่า รอดพ้นหรือหลุดพ้น “พละ” แปลว่า

กำลังและ“อาราม”แปลว่าสวนป่า

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เสด็จเยี่ยมชมภายในศาลาธรรมโฆษณ์และสนทนาธรรมกับพระธรรมโกศาจารย์

(ท่านพุทธทาสภิกขุ)

Page 99: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดถ้ำคูหา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดถ้ำคูหา ตั้งอยู่หมู่ที่๑ตำบลช้างขวาอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชาวท้องถิ่นเรียกว่า วัดเขาคูหา ตัวถ้ำและวัดอยู่ทางทิศเหนือของภูเขา ขนาดถ้ำยาว

๑๖.๗๗ เมตร กว้าง ๘ เมตร พระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิประดิษฐาน

เรียงรายเป็นแถวชิดผนังถ้ำด้านทิศเหนือและทิศใต้รวม๕๑องค์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๘มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 100: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดโบราณของจังหวัด

มีโบราณสถานสำคัญได้แก่พระบรมธาตุไชยาสันนิษฐานว่าสร้างสมัยอาณาจักรศรีวิชัย

รุ่งเรืองตามลัทธิมหายาน เพื่อเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 101: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

���

วัดรัตนาราม (วัดแก้ว) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดรัตนาราม ตั้งอยู่ที่เมืองโบราณไชยาในเขตตำบลตลาดไชยาอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดโบราณคู่กับวัดหลง สิ่งสำคัญที่พบในวัด ได้แก่ เจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเหลืออยู่เพียงครึ่งองค์ ฐานเจดีย์มีแผนผังเป็นรูปกากบาทสันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไชยาและได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมจากอินเดียและเพื่อนบ้าน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕และพระพุทธเจ้าอักโษภยะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยศิลาทราย สีแดงศิลปะจามพระเศียรชำรุดหักหายไปมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่๑๕เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐

Page 102: พระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5820090520103239.pdf · แก่นายสดแดงเอียด

��0

วัดหลง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดหลง ตั้งอยู่ที่เมืองโบราณไชยา ในเขตตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดร้าง อยู่ระหว่างวัดเวียงกับวัดแก้ว สิ่งสำคัญที่พบในวัด

ได้แก่ ซากอาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน มีแผนผังเป็นรูปกากบาท

คล้ายคลึงกับโบราณสถานที่วัดแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕

และถูกสร้างทับอีกครั้งราวพุทธศตวรรษที่๑๘-๒๒

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส

ราชนครินทร์ได้เสด็จเมื่อวันที่๑๙มกราคมพ.ศ.๒๕๔๐