16
Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 85 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กทม. 10700 ประเสริฐ สวัสดิ์วิภาชัย พ.บ., อรวรรณ พงศ์รวีวรรณ พ.บ., สุรีย์พร อยู่ศรี, จารุวรรณ พรหมอินทร์, พงศกร นุชศิริ การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ i-gel ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ Abstract: The Management of LMA and i-gel in a Large Medical Center Prasert Sawasdiwipachai, M.D., Orawan Pongraweewan, M.D., Sureyporn Yoosri, Jaruwan Promintr, Pongsagorn Nuchsiri Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University Bangkok Thailand 10700 Background: The reusable supraglottic airway devices, LMAs, in particular, are gaining popularity over decades. Managing these devices to achieve standards defined by manufacturer and preserving the device intregrity has been challenging, especially, in a large hospital. The common problems encountered are i.e. device losses, damages and paucity. Objective: To survey and report the current usage, the availabilty, rate of loss and damages. Identify the problem areas and find solutions to cope with current situation. Method: Survey the existing quantity and conditions of each devices, implement workflow to keep track of the devices. Analyze data and report the related information. Encourage staff members to help take care of devices. Result: Prior to 2011, the exact quantity of supraglottic devices at Siriraj was not known. The acquisition of devices was on demand basis and there was no record regarding device checking in and out. The projected rate of loss before 2011 was 40 devices per year. After implementing the new workflow, the rate of loss has reduced to 16 devices per year. There has been improvements in many areas but there are also some problems that are yet to be resolved which will be planned within the next phase. Conclusion: Taking

การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 85

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กทม. 10700

ประเสริฐ สวัสดิ์วิภาชัย พ.บ., อรวรรณ พงศ์รวีวรรณ พ.บ.,

สุรีย์พร อยู่ศรี, จารุวรรณ พรหมอินทร์, พงศกร นุชศิริ

การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง

ชนิด LMA และ i-gel ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

Abstract: The Management of LMA and i-gel in a Large Medical Center

Prasert Sawasdiwipachai, M.D., Orawan Pongraweewan, M.D.,

Sureyporn Yoosri, Jaruwan Promintr, Pongsagorn Nuchsiri

Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital

Mahidol University Bangkok Thailand 10700

Background: The reusable supraglottic

airway devices, LMAs, in particular, are

gaining popularity over decades. Managing

these devices to achieve standards defined by

manufacturer and preserving the device

intregrity has been challenging, especially, in

a large hospital. The common problems

encountered are i.e. device losses, damages

and paucity. Objective: To survey and report

the current usage, the availabilty, rate of loss

and damages. Identify the problem areas and

find solutions to cope with current situation.

Method: Survey the existing quantity and

conditions of each devices, implement

workflow to keep track of the devices.

Analyze data and report the related

information. Encourage staff members to

help take care of devices. Result: Prior to

2011, the exact quantity of supraglottic

devices at Siriraj was not known. The

acquisition of devices was on demand basis

and there was no record regarding device

checking in and out. The projected rate of

loss before 2011 was 40 devices per year.

After implementing the new workflow, the

rate of loss has reduced to 16 devices per

year. There has been improvements in many

areas but there are also some problems that

are yet to be resolved which will be planned

within the next phase. Conclusion: Taking

Page 2: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

86 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

good care and managing reusable supraglottic

airway devices in a large hospital is possible.

However, this consumes time and money,

requires good team effort, workflow and

collaboration. Further study is mandatory to

compare between disposable or reusable

overall cost-utility.

Keywords: LMA, i-gel, management

Thai J Anesthesiology 2013; 39(2): 85-100.

บทนำ ความสามารถในการช่วยหายใจแบบ

ชั่วคราวโดยไม่ต้องใส่ท่อหายใจ (tracheal tube)

ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดมีความ

สะดวกขึ้น อุปกรณ์สำหรับช่วยหายใจเหนือ

กล่องเสียงมีหลายชนิด แต่อุปกรณ์ที่ได้รับการ

ยอมรับว่าใช้ง่ายและได้รับความนิยมมาก ได้แก่

laryngeal mask airway (LMA)

ตั้งแต่มีการประดิษฐ์ LMA โดย นพ.

Archie Brain ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 19801

เป็นต้นมา อุปกรณ์ได้รับการพัฒนาตามลำดับ

หลังจากได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่

หลายที่ประเทศอังกฤษ ความนิยมได้แพร่กระจาย

ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

ที่โรงพยาบาลศิริราช การเริ่มต้นใช้ LMA เป็น

ครั้งแรก ไม่มีการบันทึกไว้ชัดเจน แต่อุปกรณ์ที่ใช้

ในครั้งแรก ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาเป็นการ

ส่วนตัวจากต่างประเทศโดยอาจารย์แพทย์ที่ไป

ศึกษาอบรมหรือดูงานเพิ่มเติม

การใช้ LMA ที่โรงพยาบาลศิริราชในอดีต

เริ่มจากการใช้ LMA-ClassicTM ซึ่งมีปริมาณการ

ใช้น้อย เนื่องจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ความไม่คุ้น

เคยของวิสัญญีแพทย์ จำนวนของอุปกรณ์ที่มีไม่

เพียงพอ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการควบคุม

ทางเดนิหายใจและความไมแ่นใ่จในการใชอ้ปุกรณ ์

ร่วมกับการช่วยหายใจด้วยการบีบ bag หรือ

เครื่องช่วยหายใจ (positive pressure ventilation)

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 มีการพัฒนาอุปกรณ์

LMA - ProSealTM2 ซึ่งเป็น LMA แบบใช้ซ้ำได้

และมีช่องทางสำหรับใส่ท่อระบายลมหรือ

ของเหลวจากกระเพาะอาหาร LMA-ProSealTM

มีศักยภาพที่ดีกว่าในการปิดผนึกกับช่องทาง

เดินหายใจส่วนบน3-5 และประกอบกับความ

สะดวกในการร้อยท่อระบายลมและสารคัดหลั่ง

จากกระเพาะอาหาร ทำให้วิสัญญีแพทย์หลาย

ท่านเริ่มหันมาใช้ LMA-ProSealTM เพื่อช่วย

หายใจแบบ positive pressure ventilation เพิ่ม

มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการใช้ LMA ในผู้ป่วย

ที่มารับบริการทางวิสัญญีเพิ่มสูงมากขึ้น

การควบคุมดูแลอุปกรณ์ LMA ที่ โรงพยาบาล

ศิริราชในอดีต

ก่อนปี พ.ศ. 2554 ทางภาควิชาวิสัญญีวิทยา

มีการจัดซื้ออุปกรณ์ LMA-ClassicTM, LMA-

ProSealTM, LMA-FlexibleTM และ intubating

LMA ชนิด LMA-FastrachTM ไว้จำนวนหนึ่ง

มีการแจกจ่ายอุปกรณ์ไปยังตำแหน่งจุดบริการ

ต่าง ๆ ซึ่งที่โรงพยาบาลศิริราชมีจุดบริการทาง

วิสัญญีและศูนย์ย่อยในการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์

และยาทางวิสัญญีจำนวนทั้งสิ้น 6 จุด

Page 3: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 87

ในอดีต การใช้อุปกรณ์แต่ละครั้งไม่เคยมี

การบันทึกการใช้งานเฉพาะอุปกรณ์นั้น ๆ การ

บันทึกการยืมและคืนเป็นไปอย่างหละหลวม ส่ง

ผลให้อุปกรณ์เสื่อมโทรม ไม่ทราบจำนวนการใช้

ที่ชัดเจนและมีการสูญหายอย่างต่อเนื่อง เมื่อ

ปริมาณอุปกรณ์ลดลงและขาดแคลน ก็จะมี

การจัดซื้อเพิ่มเติมและกระจายอุปกรณ์ไปยัง

ตำแหน่ง ๆ ต่าง ๆ ซึ่งช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

เพียงชั่วคราว

การบริหารจัดการในลักษณะดังกล่าว

ส่งผลให้หน่วยงานเกิดความสูญเสียงบประมาณ

จำนวนมาก เนื่องจากอุปกรณ์สูญหาย ขาด

การดูแลรักษาที่ดีและชำรุดเร็ว และผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนใหญ่เห็นว่า LMA-ProSealTM นั้น มีความ

คงทนต่ำกว่า ชำรุดง่ายกว่าและการดูแลรักษา

ทำได้ยากกว่า LMA-ClassicTM6 เมื่ออุปกรณ์

เกิดการขาดแคลนย่อมส่งผลลบต่อการดูแลผู้ป่วย

ที่ดีและผลลบต่อความพึงพอใจของบุคลากรทาง

วิสัญญีด้วย

การเปลี่ยนแปลงในการควบคุมดูแลอุปกรณ์

LMA

ในปีงบประมาณ 2554 ภาควิชาได้รับ

จัดสรรเงินงบประมาณอุดหนุนตามโครงการ

พัฒนาคุณภาพงานบริการด้านวิสัญญีสำหรับ

ระบบทางเดินหายใจ โดยโครงการได้รับอนุมัติ

สืบเนื่องจากการที่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตถึงความ

ขาดแคลนของอุปกรณ์สำหรับระบบทางเดิน

หายใจภายในภาควิชาฯ (ในขณะนั้น เน้นถึง

อุปกรณ์สำหรับใช้ช่วยใส่ท่อ tracheal tube)

ผลพลอยได้ของการได้รับจัดสรรงบประมาณ

ทำให้อุปกรณ์ LMA ซึ่งจัดเป็นวัสดุสิ้นเปลืองได้

รับการพัฒนาตามไปด้วยจากการสังเกตการณ์

ปัญหาหลักของการดูแลอุปกรณ์ LMA ในระบบ

เดิม (ก่อนปี พ.ศ. 2554) ได้แก่

1. ความสับสนของบุคลากรฝ่ายสนับสนุน

ในการเรียกชื่อของ LMA

2. ขาดความรัดกุมในการจดบันทึกผู้เบิก

ใช้อุปกรณ์ (ไม่จดเลย หรือ จดแบบไม่

ระบุชนิด และ serial number)

3. การไม่บันทึกจำนวนการใช้งานที่ชัดเจน

ของอุปกรณ์แต่ละชิ้น

4. การยืมอุปกรณ์ข้ามจุดบริการแต่ละจุด

และส่งคืนที่จุดอื่นหรือไม่ส่งคืนเลย

ผู้เขียนได้ทำการสำรวจ LMA ที่มีอยู่เดิมซึ่ง

ไม่เคยมีการนับจำนวนครั้งการใช้งานโดยสำรวจ

Figure 1 LMA-ClassicTM, LMA-ProSealTM and LMA-FlexibleTM

Page 4: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

88 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

เฉพาะ LMA-ProSealTM, LMA-FlexibleTM และ

intubating LMA เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2553 ซึ่งการ

สำรวจนี้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและชนิดของ

LMA ที่มีอยู่ตามจุดบริการต่าง ๆ ทั้ง 6 จุด รวมถึง

ประเมินสภาพอุปกรณ์ (เนื่องจากไม่เคยมีการ

บันทึกการใช้งานมาก่อน) โดยอาศัยการประเมิน

จากสภาพภายนอก ความเหลืองของอุปกรณ์,

รอยกัด, รอยขาด, ความนิ่ม/แข็งของวัสดุส่วน

cuff, การหมุนได้ของ 15 mm connector (ดูตาราง

ที ่ 1) การประเมนิจดัทำขึน้รว่มกบัวสิญัญพียาบาล

ประจำจุดต่าง ๆ และให้คะแนนตามสภาพเป็น

ร้อยละ โดยอุปกรณ์ที่ดูมีสภาพดีใกล้เคียงอุปกรณ์

ใหม่จะได้คะแนนประเมินถึงร้อยละ 90 - 100

ส่วนอุปกรณ์ที่ดูเสื่อมสภาพมาก เหลืองมาก รอย

กัดรุนแรงหรือ cuff compliance ต่ำจะได้คะแนน

ประเมินร้อยละ 10 - 30 รายละเอียดจำนวน

อุปกรณ์จำแนกตามจุดบริการแสดงไว้ดังตาราง

ที่ 2

Table 1 The evaluation criteria for used LMA with no usage record.

Score discoloration of airway and drain tube

Cuff rigidity, compliance

Bite Score*

Slip joint rotation#

Estimated uses

90 - 100% 80 - 90% 70 - 80% 50 - 70% 30 - 50% 10 - 30%

Clear Clear Clear

Slight yellowish Visibly yellowish Marked yellowish

Soft, compliant Soft, compliant Relatively soft Relatively hard

Hardened Hardened, rigid

0 0 - 1 1 - 2 1 - 2 2 - 3 2 - 3

Secure Secure Loose Loose Loose Loose

0 - 5 6 - 12

13 - 25 26 - 40 41 - 60

> 60 * The bite marks may not always correlate with number of uses at other hospitals. Bite score: 0 = no bite mark, 1 = minimal bite mark, 2 = moderate bite mark and 3 = severe and multiple bite marks # The adhesiveness between 15 mm connector and airway tubes was broken after approximately 12 autoclave cycles10

Table 2 Quantity of LMA-ProSealTM, LMA-FlexibleTM, i-gel at Siriraj Hospital

Supraglottic airway Stock Additional (2011) Damaged Loss Remaining

ProSeal 1 ProSeal 1.5 ProSeal 2 ProSeal 2.5 ProSeal 3 ProSeal 4 ProSeal 5 Flexible 2 Flexible 2.5

0 2 8 4

27 22 8

11 3

5 10 10 14 17 27 13 0 0

0 2 0 1 2 7 0 0 0

0 0 2 2 3 5 2 2 0

5 10 16 15 39 37 19 9 3

Page 5: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 89

Supraglottic airway Stock Additional (2011) Damaged Loss Remaining

Flexible 3 Flexible 4 Flexible 5 i-gel 3 i-gel 4

0 0 0 0 0

2 5 2

10 10

0 0 0 0 1

0 0 0 0 0

2 5 2

10 9

Total 85 125 13 16 181

เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วจึงมีการวางแผน

โดยจัดตั้งทีมสำหรับการควบคุมดูแล LMA ซึ่ง

ประกอบไปด้วย วิสัญญีแพทย์ พยาบาลวิสัญญี

ผู้ช่วยเภสัชกร (ทำหน้าที่จ่ายอุปกรณ์) เจ้าหน้าที่

เทคนิคทางวิสัญญี และคนงาน มีการประชุม

วางแผนโดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และมี

กำหนดการเปลี่ยนแปลงวิธีการควบคุม LMA

โดยการวางแผนเริ่มระบบใหม่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1

ก.พ. 2554 โดยผู้เขียนทำการสำรวจจำนวนและ

ชนิด LMA อีกครั้งเมื่อ 31 ม.ค. 2554 พบว่ามี

LMA สูญหายไปอีก 9 ชิ้น (ระยะเวลา 82 วัน) ซึ่ง

หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง LMA ที่มีอยู่เดิม (85

ชิ้น) ก็คงจะสูญหายหมดในระยะเวลา 2.1 ปี

โดยประมาณ

ตามจุดบริการทางวิสัญญีต่าง ๆ ทั้ง 6 จุด

ยังมี LMA-Classic™ ทั้งแบบ reusable และ

single use (LMA-Unique™) รวมถึงอุปกรณ์ใน

ลักษณะที่เหมือน LMA ที่ผลิตโดยบริษัทอื่น ๆ

หลงเหลืออีกจำนวนหนึ่งซึ่งผู้เขียนและทีมงานไม่

นับจำนวนคงคลัง การควบคุมดูแลระบบใหม่

รวมถึงการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ให้ความสำคัญและ

เน้นเฉพาะที่ LMA-ProSeal™ ซึ่งได้รับความนิยม

และเป็นที่ต้องการมากกว่าเมื่อเทียบกับ LMA-

Classic™ ดังนั้น LMA-Classic™ และอุปกรณ์

พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจึงยังมีให้เบิกจ่ายที่

หน้างานตามจุดต่าง ๆ โดยไม่มีการควบคุม

Table 3 Satellite locations for allocation and distribution of anesthesia related medications and

equipments

Location Type of operations or procedures

Number of OR/ suites

Number of LMAs* in 2010

LMAs/i-gels* obtained in 2011

OR 3rd FL (SYM 3) OR 4th FL (SYM 4) OR 5th FL (SYM 5) OBG Trauma Endoscopy

Ophthalmology, Orthopedics Neuro, CVT, ENT, Plastic, Emergency cases General, Vascular, Head-neck-breast, Urology OB/GYN Trauma, X-ray, MRI, Nuclear GI Endoscopy

15 19

16

8 7 6

26 25

14

9 9 2

41 25

41

5

11 0

*Only for LMA - ProSealTM, LMA - FlexibleTM, #include LMA-ProSealTM, LMA - FlexibleTM and i-gel that were newly purchased or transferred from other locations

Page 6: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

90 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

ระบบควบคุม LMA ใหม่ในปี 2554

การระบุตัว LMA - ProSeal™ แต่ละชิ้นทำ

โดยการสังเกตรหัสของ LMA ที่พิมพ์ไว้ที่ส่วน

ใกล้กับ 15 mm connector โดยรหัสของ LMA -

ProSeal™ (ที่ผลิตในช่วงปีนั้น ๆ) จะเป็นตัว

หนังสือประกอบกับตัวเลข เช่น ASPD09240437

เป็นต้น เพื่อให้การเรียกขาน LMA โดยระบุชิ้น

อุปกรณ์ง่ายขึ้น จึงใช้เฉพาะรหัส 3 ตัวหลัง เช่น

437 เป็นการเรียก LMA ที่มีรหัสเต็มดังกล่าว ซึ่ง

จะมีการเขียนเลขรหัส 3 ตัว ไว้บนซอง LMA ทุก

ครั้งรวมถึงในใบบันทึกและต้องลงรหัสทุกครั้งที่

มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ของ LMA

การเรียกรหัส 3 ตัวดังกล่าว ทำให้การระบุ

ตัว LMA ง่ายขึ้น การเขียนตัวเลขไว้บนซอง

LMA ทำให้มองเห็นชัดเจนโดยเฉพาะสำหรับ

เจ้าหน้าที่ผู้สูงวัย อย่างไรก็ตามในจำนวนคงคลัง

LMA-ProSeal™ ของภาควิชาทั้งหมด มีปัญหา

เรื่องรหัสซ้ำกัน 2 คู่ ซึ่งสำหรับคู่พิเศษ 2 คู่นี้ จะ

ระบุตัวเลขเพิ่มขึ้นมาข้างหน้าอีก 2 หลัก เช่น

20450 และ 60450 เป็นต้น

ระบบควบคุมใหม่นี้ยังมีการจำแนก LMA

ตามจุดบริการได้ทั้งหมด 5 จุด (เดิม 6 จุด โดย

จุดที่ 6 คือศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

ซึ่งอัตราการใช้ LMA ต่ำมาก จึงงดวาง LMA -

ProSeal™ แต่คงเหลืออุปกรณ์พลาสติกไว้) ได้แก่

1. หอ้งผา่ตดัทีต่กึสยามนิทร ์ชัน้ 3 (สยม.3)

2. หอ้งผา่ตดัทีต่กึสยามนิทร ์ชัน้ 4 (สยม.4)

3. หอ้งผา่ตดัทีต่กึสยามนิทร ์ชัน้ 5 (สยม.5)

4. ห้องผ่าตัดสูติ - นรีเวชที่ตึกพระศรีฯ

(OBG)

5. ห้องผ่าตัดที่ตึกอุบัติเหตุ (Trauma)

LMA - ProSeal™ แต่ละชิ้นมีการระบุ

ตำแหน่งจุดบริการลงไปบน 15 mm connector

และบนซองบรรจุ แต่ละจุดบริการ มีใบเบิกจ่าย

ซึ่งระบุรหัส LMA แต่ละชิ้น (รูปที่ 5) การเบิก

จ่าย และบันทึกการยืมกระทำโดยผู้ช่วยเภสัชกร

โดยมีวิสัญญีพยาบาลเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่งการ

บริหารงานดังกล่าวเป็นไปในลักษณะตามพื้นที่

(territorial management)

Figure 2 The serial number at 15 mm connector

Page 7: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 91

ในระหว่างปี พ.ศ. 2554 มีการประชุม

เดือนละครั้งในระยะ 3 เดือนแรก และต่อมา

ประชุมห่างขึ้นเมื่อระบบเริ่มคงที่มากขึ้น มี

การรวบรวมใบบันทึกจากจุดบริการต่าง ๆ ทุก ๆ

เดือนและนับจำนวนการขอยืมและจำนวนการใช้

จริง LMA ที่มีความเสียหายหรือสูญหายจะถูก

บันทึกไว้ มีการจัดซื้อ ProSeal, Flexible และ

i-gel เพิ่มเติม โดยอุปกรณ์ทั้งสิ้นที่ได้มาในปี 2554

จำนวนทั้งสิ้น 125 รายการมีการเปลี่ยนแปลงใบ

บันทึกรายการยืม/ใช้จากบันทึกรายวันเป็นบันทึก

รายสัปดาห์ ณ จุดบริการ 2 จุด (OR พระศรีฯ

และ OR อุบัติเหตุ) ซึ่งมียอดการใช้ต่ำกว่าที่ห้อง

ผ่าตัดตึกสยามินทร์

ผลดำเนินการเมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ. 2554

(31 ธ.ค.2554)

-หลังการเปลี่ยนแปลงการควบคุม ผู้ใช้มี

ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากการมีอุปกรณ์พร้อมให้

เมื่อร้องขอ แต่ ในบางวันก็ยังเกิดเหตุการณ์

อุปกรณ์ไม่ เพียงพอจ่ายซึ่ งสาเหตุส่วนใหญ่

เนื่องจากผู้ขออุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ประจำ

บ้านหรือนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล ซึ่งมักจะขอยืม

อุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้นและนำไปเก็บไว้ในห้อง

ผ่าตัดที่ตนเองประจำอยู่ทั้งวัน และในบางครั้ง

ลืมคืนหลังเลิกงานด้วย ทั้งนี้ส่งผลให้อัตราการยืม

ต่อการใช้จริงสูงถึง 3-4:1

-สรุปยอดจำนวนอุปกรณ์สูญหาย ก่อนเริ่ม

ระบบใหม่พบว่า LMA หายไป 9 ชิ้น หลังเริ่ม

ระบบใหม่ มีอุปกรณ์สูญหายทั้งสิ้น 7 ชิ้น (เป็น

อุปกรณ์เก่า 5 ชิ้น อุปกรณ์ใหม่ได้มาในปี 54

จำนวน 2 ชิ้น) นับเป็นการสูญหายร้อยละ 3.48

(ระบบเก่าสูญหายร้อยละ 10.58)

-สรุปรายการอุปกรณ์ชำรุดทั้งสิ้นจำนวน

13 ชิ้น โดยเป็นอุปกรณ์เก่า 10 ชิ้น อุปกรณ์ใหม่

3 ชิ้น อุปกรณ์เก่าที่ชำรุดส่วนใหญ่อยู่ในสภาพ

ทรุดโทรม (เหลืองมาก แข็ง เปราะ) ซึ่งประเมิน

จำนวนการใช้งานไม่ได้ เนื่องจากไม่เคยมีการจด

บันทึกไว้ ส่วนอุปกรณ์ใหม่ที่ชำรุดเกิดขึ้นหลัง

จากใช้งานเฉลี่ยเพียง 7.6 ครั้ง (3 ชิ้น) ซึ่งต่ำกว่า

จำนวนที่บริษัทแนะนำมาก (แนะนำ 40 ครั้ง)

Figure 3 LAM logistic diagram used in 2011

Page 8: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

92 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

Table 4 Details of damaged equipments

LMAs Old/new Usage* Note

Proseal 1.5 Proseal 1.5 Proseal 2.5 Proseal 3 Proseal 3 Proseal 4 Proseal 4 Proseal 4 Proseal 4 Proseal 4 Proseal 4 Proseal 4 i-gel 4

Old Old New Old Old Old Old New Old Old Old Old New

45% + 18 60% + 10

6 90% + 7 40% + 9 70% + 0 40% + 0

11 40% + 23

? + 18 20% + 15

? + 20 6

Tear laryngeal cuff at balloon attachment, very yellowish Tear laryngeal cuff at balloon attachment, very yellowish Perforated gastric drain tube (from cleaning person?) Tear laryngeal cuff (side) Tear laryngeal cuff, very yellowish, multiple bite marks Initial check was 70%, no damaged item returned Initial check was 40%, no damaged item returned Lacerated laryngeal cuff, possible from autoclave with red cap on Tear laryngeal cuff, detached balloon tube, very yellowish No initial check, no damaged item returned initial check was 20%, no damaged item returned No initial check, very yellowish, tear of cuff at 12 o clock Return from CSSD, melted – was sent for autoclave by mistake

* There was no usage record of equipments before 2011, most of them were evaluated for status and indicated in percent. For example, 20% + 15 means status at initial check was 20% and there were 15 more uses in 2011

ปรมิาณการใชง้านจรงิพบวา่ LMA-ProSeal™

เบอร์ 4 ถูกใช้งานสูงสุด รองลงมาเป็น LMA -

ProSeal™ เบอร์ 3, เบอร์ 2, เบอร์ 2.5 และเบอร์ 5

ตามลำดับ อัตราการใช้ LMA-Flexible™ และ

i-gel น้อยกว่า LMA -ProSeal™ หลายเท่า

Figure 4 The uses of different types and sizes of supraglottic airway at Siriraj Hospital in 2011.

Please note that there was a hospital close down during October and November for

national flooding disaster.

Page 9: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 93

การทำความสะอาดอุปกรณ์ LMA, i-gel และ

การทำปลอดเชื้อ

การล้างอุปกรณ์ LMA และ i-gel เป็น

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่คนงาน ซึ่งจะมีการรวบรวม

อุปกรณ์ LMA และ i-gel ที่ใช้แล้วทุกชนิด จาก

จุดบริการต่าง ๆ ส่งไปทำความสะอาดที่งานเวช

ภัณฑ์ปลอดเชื้อ (CSSD) โดยขั้นตอนการล้าง

แบบเดิมประกอบด้วยการแช่น้ำยา Virkon (เพื่อ

ทำลายเชื้อโรค), การล้างด้วยน้ำสะอาด, ล้างด้วย

น้ำสบู่, ชะล้างน้ำสบู่ด้วยน้ำสะอาด, เช็ดและ

อบแห้ง, บรรจุซอง และ เข้าอบ autoclave

โปรแกรมยาง

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำอุปกรณ์ส่งคืน

ตามจุดบริการต่าง ๆ ตามที่เขียนระบุไว้บนตัว

อุปกรณ์และบนซอง โดยมีการเขียนตัวเลขรหัส 3

ตัวท้ายไว้บนซองเพื่อความสะดวกในการระบุตัว

อุปกรณ์

บทวิจารณ์ ข้อคิดเห็นผู้เขียน

อุบัติการณ์การใช้อุปกรณ์เหนือกล่องเสียง

เพื่อช่วยหายใจที่ โรงพยาบาลศิริราชเพิ่มขึ้น โดย

อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ LMA-

ProSeal™ โดยขนาดที่ใช้บ่อยที่สุดได้แก่ เบอร์ 4

และ 3 ตามลำดับ อุปกรณ์เหนือกล่องเสียงอื่น ๆ

เช่น laryngeal tube, SLIPA, COPA, etc ยังไม่มี

การนำมาใช้อย่างจริงจัง (ไม่มีผู้แสดงความสนใจ

ประกอบกับไม่มีตัวแทนขายเป็นที่รู้จักแพร่

หลาย) อุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียงที่ได้

รับความนิยมรองลงมาได้แก่ i-gel

การบริหารจัดการเพื่อการดูแลอุปกรณ์

LMA แบบใช้ซ้ำ มีความยุ่งยากและใช้ทรัพยากร

มากทั้งในด้านบุคคลากร เวลา สถานที่ รวมถึง

ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำความสะอาด

และการทำปลอดเชื้อ ในต่างประเทศทางทวีป

อเมริกาเหนือและโรงพยาบาลเอกชนหลาย ๆ

แห่งได้ตัดปัญหาดังกล่าวโดยการใช้อุปกรณ์

single use เช่น LMA-Supreme™ (ราคาสูงกว่า

ท่อช่วยหายใจปกติถึง 20 เท่า) หรือบรรดา

อุปกรณ์ เลียนแบบทั้งหลายซึ่งผลิตจากวัสดุ

polyvinyl chloride (PVC) อย่างไรก็ตามอุปกรณ์

เหล่านี้ก็ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับท่อ

tracheal tube

การติดตาม LMA และนับจำนวนการใช้

ทำได้ง่ายกว่าหากเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก หรือ

มีจุดบริการเพียงจุดเดียว โดยอาศัยความร่วมมือ

จากบุคลากรทุกฝ่ายช่วยกันบันทึกและดูแลรักษา

โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้ใบบันทึกซึ่งทางบริษัท

ให้มาเมื่อซื้ออุปกรณ์ใหม่ อย่างไรก็ตามในโรง

พยาบาลขนาดใหญ่โดยเฉพาะสถาบันฝึกอบรม

วิธีดังกล่าวอาจจะไม่ได้ผลเนื่องจากผู้ใช้ส่วนหนึ่ง

เป็นระดับฝึกหัดซึ่งไม่เข้าใจระบบงาน ต้องอาศัย

การควบคุมดูแลโดยบุคลากรประจำ (อาจารย์

แพทย์และวิสัญญีพยาบาล) ที่แข็งแกร่งและ

จริงจัง วิธีการจดใส่ใบบันทึกรวมโดยระบุรหัส

ตามชิ้นอุปกรณ์ อย่างที่โรงพยาบาลศิริราชทำในปี

พ.ศ. 2554 ถือเป็นวิธีหนึ่งสำหรับบริหารจัดการ

ในรูปแบบของ หน่วยงานใหญ่

Page 10: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

94 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

อุปกรณ์ LMA แบบใช้ซ้ำได้ ทั้ง LMA-

Classic™, LMA-ProSeal™ และ LMA-Flexible™

ทำจากวัสดุซิลิโคนทางการแพทย์ (ซึ่งมักเข้าใจผิด

ว่าเป็นยาง) ซึ่งทนต่อความร้อนได้ดี มีความยืด

หยุ่นสูง ปราศจากกลิ่น และสามารถคงสภาพอยู่

ได้นานมาก (indefinite shelf life) หากยังไม่เปิด

ใช้ การเลือกใช้ซิลิโคนทางการแพทย์เป็นปัจจัย

สำคัญที่ทำให้อุปกรณ์มีราคาสูง การเชื่อมต่อ

ระหว่างชิ้นย่อยอุปกรณ์มีความซับซ้อน (ทำให้

ซ่อมแซมยาก) ซึ่งบริษัทผู้ผลิตแนะนำให้ใช้วิธี

การนึ่งอบไอน้ำ (autoclave) เท่านั้น จากการ

สอบถามทั่วไปผู้เขียนพบว่ามีหลายโรงพยาบาลที่

Figure 5 Sample record of LMA usage at Siriraj hospital in 2011

ส่ง LMA ดังกล่าวอบก๊าซ (ethylene oxide- ETO)

ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์เหลือง ย้วย เสียรูปและ

เสื่อมศักยภาพในการปิดผนึกกับทางเดินหายใจ

ส่วนบนของผู้ป่วย7

น้ำยา Virkon ประกอบด้วย potassium

peroxymonosulfate, sodium dodecylbenznesulfonate

และ sulphamic acid ที่ทางหน่วยงานเคยใช้

สำหรับแช่ tracheal tube ที่นำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อฆ่า

เชื้อโรค ซึ่งเจ้าหน้านำมาแช่อุปกรณ์ LMA ด้วย

ผู้เขียนมาทราบรายละเอียดในภายหลังซึ่งทาง

บริษัทผู้ผลิตไม่แนะนำให้แช่อุปกรณ์ LMA ชนิด

ใช้ซ้ำได้ในน้ำยาหลาย ๆ ชนิดที่จัด เป็น level A

Page 11: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 95

disinfectant ถึงแม้น้ำยา Virkon จะไม่ถูกระบุว่า

ห้ามใช้โดยตรงแต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าน้ำยา Virkon

มีส่วนทำให้เกิดการแข็งตัวของอุปกรณ์หรือไม่

เนื่องจากน้ำยามีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด

การแช่น้ำยา Virkon ได้ถูกยกเลิกไปภายในเดือน

ตุลาคม 2554 ข้อวิตกกังวลในแง่ของการปกป้อง

บุคลากรทำความสะอาดต่อการสูดสัมผัสหรือปน

เปื้อนกับเชื้อก่อโรค บริษัทผู้ผลิตแนะนำให้ใช้

เครื่องล้างฉีดน้ำและอบความร้อนเบื้องต้นแบบ

อัตโนมัติ ซึ่งหากมีการใช้เครื่องดังกล่าวก็จะเพิ่ม

ค่าใช้จ่ายและต้นทุนของการใช้ LMA ชนิดใช้ซ้ำ

ได้8,9

อุปกรณ์ LMA ที่ผ่านการอบ autoclave ที่

โรงพยาบาลศิริราชแสดงความเสื่อมสภาพให้

สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คือ ในส่วนท่อนำ

อากาศหายใจและท่อใส่หลอดอาหาร จะเปลี่ยน

เป็นสีเหลือง มีความแข็งขึ้น ส่วนที่เป็น cuff ก็จะ

แข็งและเปราะขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิผลการ

ปิดผนึกกับทางเดินหายใจให้สนิทลดลง เป็นที่น่า

สังเกตว่าภายหลังที่เริ่มมีการนับครั้งการใช้งาน

LMA ที่ผ่านการอบ autoclave จำนวนครั้งเท่ากัน

กลับปรากฏสภาพความเสื่อมไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะ

เปน็ผลจากการควบคมุคณุภาพโปรแกรม autoclave

ที่ยังด้อยมาตรฐาน ข้อดีของการอบ autoclave คือ

ค่าใช้จ่ายต่ำ (เมื่อเทียบกับ low temp sterilization

techniques อื่น ๆ) อัตราการหมุนเวียนเร็ว

เนื่องจากการนึ่งใช้เวลาสั้น ๆ ส่วนข้อเสียที่สำคัญ

คืออุปกรณ์เสื่อมสภาพ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่

ทำให้อุปกรณ์เกิดขาด เปราะ แตกหัก การอบ

autoclave เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการแตกของ

cuff 8,9หากเจ้าหน้าที่ลืมเปิดจุกหรือไม่ได้ดูด

อากาศออกให้หมด การอบ autoclave ทำให้การ

ซ่อมแซมอุปกรณ์ชำรุดแทบจะทำไม่ได้เนื่องจาก

วัสดุที่มาปะรอยรั่วซึม หรือเชื่อมต่อสายที่ขาด จะ

ต้องทนต่ออุณหภูมิสูง (135 ํC) ได้

Figure 6 Comparing LMA Proseal following multiple different sterilizing techniques

Page 12: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

96 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

สถาบันฝึกอบรมที่มีแพทย์ประจำบ้านและ

นักศึกษาวิสัญญีพยาบาลมีการควบคุมดูแลที่ยาก

ขึ้น ส่วนหนึ่งคือผู้ฝึกหัดติดนิสัยในการเบิกเตรียม

ของเกินความจำเป็น ทำให้เกิดการยืมอุปกรณ์ไป

ครอบครองโดยไม่ได้ใช้งานสูง มีรายงานผู้ฝึกหัด

วางอุปกรณ์ทิ้งไว้ในห้องผ่าตัดบ่อยครั้ง หรือเผลอ

เหน็บไว้ ใต้ เบาะเปลผู้ป่วยไปห้องพักฟื้นซึ่ ง

ถูกรวบไปกับผ้าปูเตียงส่งแผนกซักฟอก ทำให้

อุปกรณ์สูญหายทางภาควิชาฯจึงมีนโยบายการตัก

เตือนรายบุคคลและพบว่าไม่มีการลืมคืนอุปกรณ์

อีก

นอกจากนี้การมีแพทย์หรือพยาบาลฝึกหัด

ในสถาบันยังส่งผลให้สภาพอุปกรณ์มีความเสี่ยง

ต่อการชำรุดสูง จะสังเกตได้ว่าอุปกรณ์ LMA ที่

โรงพยาบาลศิริราชจะเต็มไปด้วยรอยกัด ซึ่งส่วน

ใหญ่เกิดขณะถอดอุปกรณ์ออกจากปากผู้ป่วยโดย

ปราศจากความรู้ความชำนาญ ซึ่งการปรับปรุง

ด้านนี้หรือการให้ความรู้เรื่องการถอด LMA ที่ถูก

ต้อง รวมถึงมาตรการเฝ้าระวังการกัดอุปกรณ์จะ

ได้รับการวางแผนแก้ไขในปีถัดไป

การนับจำนวนครั้งใช้งานที่โรงพยาบาล

ศิริราชเป็นการนับที่จำนวนการล้างและอบ

autoclave ซึ่งยังไม่มีการแจ้งต่อผู้ใช้ เนื่องจาก

สภาพเศรษฐกิจ และการตระหนักถึงทรัพยากร

สิ่งแวดล้อมอันมีค่า ที่โรงพยาบาลศิริราชยังไม่มี

นโยบายการเลิกใช้อุปกรณ์เมื่อการใช้งานครบ

40 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่านเชื่อว่าจำนวน 40

ครั้ งที่อ้ าง เป็นเหตุผลทางด้านกฎหมายเป็น

สำคัญ10 เพราะบริษัทไม่ต้องการรับผิดชอบหาก

เกิดความภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์

จำนวนการใช้งานที่ใช้ได้จริงมีผู้รายงานถึง 300

ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำให้ใช้อุปกรณ์

ต่อไปได้ตราบเท่าที่อุปกรณ์ผ่านการทดสอบก่อน

ใช้ (pre-use test) 10 - 13

Figure 7 The test result data of LMA following 40 uses which reveal decreased elasticity, tensile

strength and increased cuff rigidity.

Page 13: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 97

ปัญหาและอุปสรรคจากการควบคุม LMA

ระบบใหม่ (ปีพ.ศ. 2554)

แม้จะมีการควบคุมดูแลที่รัดกุมขึ้น แต่

ระบบใหม่นี้ก็ยังมีจุดบกพร่องซึ่งยกมาเป็นหัวข้อ

ได้ดังนี้

1. การกำหนดอุปกรณ์ให้ประจำพื้นที่จุด

บริการ (fixed stock) ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง

ในการบรหิารจดัการและไมช่ว่ยแกป้ญัหาอปุกรณ ์

ขาดแคลน เนื่องจากไม่มีการหมุนเวียน ไม่มีการ

ถ่ายโอนหรือยืมของ ความชุกของอัตราใช้ใน

แต่ละวันแต่ละพื้นที่อาจจะแตกต่างกันไป

2. ระบบยังขาดความรัดกุมในการส่งมอบ

อุปกรณ์ระหว่างจุดบริการแต่ละจุดกับ CSSD

โดยเจา้หนา้ทีบ่างจดุบรกิารไมไ่ด ้ตรวจนบัจำนวน

ที่แน่นอน มีรายการของปนกันจากจุดหนึ่งส่งต่อ

ไปยังจุดหนึ่ง ซึ่งทำให้ทั้งระบบขาดประสิทธิภาพ

การควบคุมเป็นไปด้วยความยากลำบาก

3. แม้จะเป็นการทำความสะอาดและอบ

ฆ่าเชื้อด้วย autoclave ซึ่งใช้เวลาแต่ละรอบไม่เกิน

1 ชั่วโมง ก็ยังปรากฏว่าเวลาหมุนเวียนของ LMA

ใชแ้ลว้จนกระทัง่ขึน้มาใหมใ่ชเ้วลาตัง้แต ่2 - 5 วนั

ซึ่งทำให้อุปกรณ์ในแต่ละจุดขาดแคลน เช่น ที่จุด

บริการหนึ่งมียอด LMA รวมมากถึง 58 ชิ้นเพราะ

มีอัตราการใช้สูง ส่งผลให้มี LMA อย่างน้อยครึ่ง

หนึ่งตกค้างอยู่ที่ CSSD ตลอดเวลา ทำให้จำนวน

คงคลังใช้งานได้จริง โดยเฉพาะช่วงท้ายสัปดาห์

เหลือเพียงประมาณ 20 - 30 ชิ้น

4. ยังไม่มีผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์

ก่อนใช้งาน (pre - use test)

5. ไม่มีการปิดฉลากแจ้งจำนวนการอบ

autoclave ต่อผู้ใช้

เป้าหมายและแผนงานดำเนินการในระยะ

ถัดไป (เริ่มต้นปี 2555)

1. เปลี่ ยนแปลงระบบจำนวนคงคลัง

ประจำจุดบริการ (fixed stock) ให้เป็นจำนวน

คงคลังหมุนเวียน (dynamic stock) โดยไม่มีการ

ระบุ LMA ชิ้นใดชิ้นหนึ่งไว้ประจำสถานที่ ให้

LMA แต่ละอันสามารถหมุนเวียนได้ทุกตำแหน่ง

จุดบริการ แต่จำนวนยอด LMA ทั้งหมดในแต่ละ

จุดบริการจะต้องกำหนดไว้ เพื่อให้ เจ้าหน้าที่

ประจำจุดบริการนับจำนวน LMA ได้ครบยอด

2. จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก ล า ง ก า ร ป ร ะ ส า น ง า น

รวบรวม LMA ใช้แล้ว ส่ง CSSD จากจุดเดียว

และรับคืนขึ้นจาก CSSD ที่จุดเดียวเพื่อติดตาม

จำนวนและเวลาส่งมอบได้รัดกุม (ภายในวัน

เดียว)

3. จัดให้มีการแลกเปลี่ยน LMA ได้ตลอด

ทั้งวัน โดย LMA ที่ใช้แล้วจะถูกล้างทำความ

สะอาดทีจ่ดุบรกิารแตล่ะจดุ แลว้นำ มาแลก LMA

ใหม่ (LMA ที่บรรจุซอง อบฆ่าเชื้อ พร้อมใช้งาน)

ได้ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ระบบทางเดินหายใจ

4. LMA ใช้แล้วที่ผ่านการล้างสะอาดและ

เป่าแห้ง ณ ตำแหน่งจุดบริการต่าง ๆ จะได้รับการ

ตรวจเช็ค หาร่องรอยความเสียหาย และทดสอบ

ก่อนใช้ (pre-use test) ให้เรียบร้อย ก่อนส่งไปยัง

CSSD เพื่อทำการอบฆ่าเชื้อ

5. LMA ที่อบฆ่าเชื้อขึ้นจาก CSSD จะได้

รับการบันทึกสถิติ ปิดป้ายฉลากแสดงจำนวน

การอบ autoclave เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบถึง

จำนวนการใช้

Page 14: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

98 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

บทสรุป การควบคุม LMA ในโรงพยาบาลใหญ่

จำเป็นต้องใช้บุคลากร สถานที่ และงบประมาณ

หากสามารถรักษาอุปกรณ์ไม่ให้สูญหาย ให้

คงทนใช้งานได้ตามจำนวนที่บริษัทแนะนำหรือ

มากกว่าได้ก็จะช่วยลดการสูญเสียงบประมาณได้

ในระยะยาวควรมีการศึกษาเรื่องความคุ้มค่า เม็ด

เงินที่ลงทุน ร่วมกับค่าแรงจากการจ้างบุคลากร

ค่าอุปกรณ์เสริม สาธารณูปโภค รวมทั้งวัสดุสิ้น

เปลืองทั้งหลายในการนำกลับมาใช้ใหม่ ในขณะที่

ผู้เขียนเอง ณ เวลาปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการใช้ซ้ำจะทำให้คุ้มค่าจริง

แต่ผู้เขียนเชื่อว่าการควบคุม LMA ให้ดีสามารถ

ทำได้ในโรงพยาบาลทุกระดับหากมีความตั้งใจ

จริง ไม่ว่าการนำของกลับมาใช้ซ้ำจะคุ้มทุนหรือ

ไม่ สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้อย่างแน่นอนคือเรื่องของการ

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรให้ใช้ได้อย่าง

คุ้มค่าและช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติให้ถูกทำลาย

น้อยที่สุด

เอกสารอ้างอิง 1. Brimacombe J. History. In: Brimacombe

J, editor. Laryngeal Mask Anesthesia

Principles and Practice. 2nd ed. China:

Saunders; 2005. p. 1-40.

2. LMA-ProSeal™ Instructions For Use

English Version [pamphlet]. The Laryngeal

Mask Company Limited; 2008.

3. Weiler N, Latorre F, Eberle B, Goedecke

R, Heinrichs W. Respiratory mechanics,

gastric insufflation pressure, and air

leakage of the laryngeal mask airway.

Anesth Analg. 1997; 84(5): 1025-8.

4. Brimacombe J, Keller C, Boehler M,

Puehringer F. Positive pressure ventilation

with the ProSeal versus Classic laryngeal

mask airway: A randomized, crossover

study of healthy female patients. Anesth

Analg. 2001; 93(5): 1351-3.

Figure 8 LMA logistic diagram to facilitate dynamic stock which will be implemented in 2012

Page 15: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

Volume 39 Number 2 April – June 2013 Thai Journal of Anesthesiology 99

5. Lu PP, Brimacombe J, Yang C, Shyr M.

The ProSeal versus the Classic laryngeal

mask airway for positive pressure

ventilation during laparoscopic cholecy-

stectomy. Br J Anaesth. 2002; 88(6): 824-7.

6. Doneley S, Brimacombe J, Keller C, von

Goedecke A. The ProSeal™ has a shorter

life-span than the Classic™ laryngeal

mask airway. Anesth Analg. 2005;

100(2): 590-3.

7. Brimacombe J. Problems. In: Brimacombe

J, editor. Laryngeal Mask Anesthesia

Principles and Practice. 2nd ed. China:

Saunders; 2005. p. 551-575.

8. LMA. Instructions For Use - LMA

Classic™, LMA Flexible™, LMA

Flexible™ Single Use & LMA Unique™.

The Laryneal Mask Company Limited;

2011.

9. LMA 40 Use Program. LMA NORTH

AMERICA, INC; January 2004.

10. Brimacombe J. Equipment. In: Brimacombe

J, editor. Laryngeal Mask Anesthesia

Principles and Practice. 2nd ed. China:

Saunders; 2005. p. 41-71.

11. Alexander CA, Leach AB. The laryngeal

mask – experience of its use in a Distrct

General Hospital. Today’s Anaesthetist.

1989; 4: 200-5.

12. Alexander CA, Leach AB. The laryngeal

mask – an overview. Eur J Anaesthesiol.

1991; 4: 19-31.

13. Preis C, Hartmann T, Preic I, Wilding E,

Gilly H. Autoclaving impairs the

connector-tube bond of the laryngeal

mask airway but not its airtightness. Br J

Anaesth. 1998; 81(5): 795-6.

14. Williams S, Henderson K. A survey into

the number of times laryngeal masks are

used. Anaesthesia. 2000; 55(7): 700-1.

Page 16: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียง ชนิด LMA และ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/... ·

100 วิสัญญีสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556

การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียงชนิด LMA และ i-gel ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจเหนือกล่องเสียงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่

ผ่านมา การบริหารจัดการควบคุมสต็อกในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก ปัญหาที่พบบ่อย

ได้แก่ การหาย การชำรุด และความขนาดแคลนของอุปกรณ์ วัตถุประสงค์: เพื่อทำการสำรวจอุปกรณ์ที่มีอยู่

และประเมินจำนวนความต้องการของอุปกรณ์ในแต่ละวัน ตรวจสอบอัตราการสูญหายและเสียหาย ศึกษา

ปัญหาและประชุมหารือแนวทางเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา วิธีการศึกษา: ตรวจนับ

จำนวนชิ้นอุปกรณ์ที่มีอยู่ปัจจุบันและสำรวจสภาพ ปรับเปลี่ยนวิธีการเบิกจ่ายอุปกรณ์ การควบคุมสต๊อก จน

บันทึกอัตราการยืม การจ่ายอุปกรณ์ อัตราการสูญหายและเสียหาย วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอแนวทางการดูแล

เพื่อแก้ไขปัญหา ให้สมาชิกในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์ ผลการศึกษา: ก่อนปี

2554 จำนวนอุปกรณ์ LMA ในโรงพยาบาลศิริราชไม่ปรากฎแน่ชัด จากการสำรวจช่วง 2 เดือนพบว่าอัตราการ

หายเทียบเท่ากับ 40 ชิ้นต่อปีสำหรับวิธีการควบคุมแบบเดิม อุปกรณ์ค่อนข้างขาดแคลน เมื่อปรับเปลี่ยนการ

ควบคุมดูแลโดยติดตาม LMA อย่างใกล้ชิดโดยบันทึกรหัสประจำชิ้น พบว่าอัตราการสูญหายลดลงเหลือ

16 ชิ้นต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น อัตราการชำรุดและการเสื่อมของอุปกรณ์ ขาด

ความรัดกุมในการควบคุม และความเสียหายของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ฝึกหัด

สรุป: การควบคุมดูแลอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดใช้ซ้ำทั้ง 2 ประเภท (LMA, i-gel) สามารถทำได้แม้จะเป็น

โรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องใช้บุคลากรและงบประมาณส่วนหนึ่ง รวมถึง ระบบการควบคุมที่ดี และ

ความร่วมมือจากคนในหน่วยงาน การเปรียบเทียบถึงความคุ้มค่าระหว่างการใช้อุปกรณ์ใช้ซ้ำได้หรืออุปกรณ์

ใช้ครั้งเดียวทิ้งยังต้องการข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม