32
ตักบาตรริมหาด สืบสานประเพณีวันไหล ปีท่ 3 ฉบับที่ 25 พฤษภาคม 2555

DASTA News No. 25

Embed Size (px)

DESCRIPTION

DASTA News No. 25

Citation preview

Page 1: DASTA News No. 25

ตักบาตรริมหาด สืบสานประเพณีวันไหล

ปีที่ 3 ฉบับที่ 25 พฤษภาคม 2555

Page 2: DASTA News No. 25

2

• องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)เลขที่118/1อาคารทิปโก้ชั้น31ถนนพระราม6แขวงสามเสนในเขตพญาไทกรุงเทพฯ10400โทรศพัท์:023573580โทรสาร:023573599เวบ็ไซต์:www.dasta.or.th• ส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง(สพพ.1)-ศูนย์ท่าโสมเลขที่222หมู่3ต�าบลท่าโสมอ�าเภอเขาสมิงจังหวัดตราด23150โทรศัพท์:039516041-4โทรสาร:039516045-ศูนย์ธารมะยมเลขที่14/1หมู่1ต�าบลเกาะช้างอ�าเภอเกาะช้างจังหวัดตราด23170โทรศัพท์:039552222โทรสาร:039552200

ที่ปรึกษานายวัลลภ พลอยทับทิม ประธานกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�านวยการองค์การ

บรหิารการพฒันาพืน้ทีพ่เิศษเพือ่การท่องเทีย่วอย่างยัง่ยนื, นายด�ารงค์ แสงกวเีลศิ รองผูอ้�านวยการองค์การบรหิารการพฒันาพืน้ทีพ่เิศษเพือ่การท่องเทีย่วอย่างยัง่ยนื,

นางศิริกุลกสิวิวัฒน์รองผู้อ�านวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน,พลตรีหญิงจรัสพิมพ์ธีรลักษณ์ผู้จัดการพื้นที่พิเศษ

หมูเ่กาะช้างและพืน้ทีเ่ชือ่มโยง(สพพ.1),ดร.ศราวฒุิศรศีกนุผูจ้ดัการพืน้ทีพ่เิศษเชยีงใหม่ไนท์ซาฟารี(สพพ.2),นายทวพีงษ์วชิยัดษิฐรกัษาการผูจ้ดัการพืน้ทีพ่เิศษ

เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง(สพพ.3),นายสิทธิศักดิ์ปฐมวารีรองผู้จัดการพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย–ศรีสัชนาลัย–ก�าแพงเพชร(สพพ.4),

นายประเสริฐกมลวันทนิศารองผู้จัดการพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย(สพพ.5),นายธันวาธีระวิทยเลิศผู้อ�านวยการส�านักตรวจสอบภายในอพท.,นายทวีพงษ์วิชัยดิษฐ

ผู้อ�านวยการส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน,นายสุธีร์สธนสถาพรรักษาการผู้อ�านวยการส�านักบริหารกลาง,นายนิรันดร์ทองปาน

คณะผู้จัดท�านางสาวประจิตราประชุมแพทย์บรรณาธิการ,นางสาวแพรวไพลินชะอ้อนกราฟฟิกดีไซน์,นายณัฐพงษ์โปธา,นายธัชชัยวัชรารักษ์,นายสุธารักษ์สุนทรวิภาต,

นายพงศธรสลักเพชร,นายนิเวศน์วัฒนชัย,นายกิตติศักดิ์ เขียวด�า,นายชาญชัยบุญส่งสมค�า,นางจินตนาสิงหเทพ,นางชนนีโกคูณอนันต์,

นางสาวกันยกรจันทร์แย้ม,นางสาวเสาวรสชัชวิล,นางสาวนริศราโภคสวัสดิ์,นางสาวมัทนาเครือจันทร์,นางสาวเกศกมลกรัญญิรัตน์,นางสาวเมทินีไทยล�าภู

เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2555ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให ้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิ เศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จ�านวน 2 พื้นที่ ได้แก่ เมืองเก่าน่าน มีวิสัยทัศน์คือ “น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต” และเมืองโบราณอู่ทองมีวิสัยทัศน์คือ“อู่ทองเมืองโบราณต้นก�าเนิดประวัติศาสตร์อารยธรรมสุวรรณภูมิ”และขั้นต่อไปอพท.จะเร่งด�าเนินการจัดท�าแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้ง 2 แห่งนี้ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อฟื ้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวและจ�านวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติในพื้นที่พิเศษอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อพท.นิวส์ฉบับนี้ ได้น�าผลการประมูลทุเรียนว่ามีใครบ้างที่ได้ครอบครองทุเรียนชะนีเกาะช้างที่คัดสรรมาอย่างดีทั้ง 43 ลูก ซึ่งทุเรียนชะนีเกาะช้างที่ได้ราคาสูงที่สุด มีมูลค่าถึงลูกละ 15,500 บาท และมูลค่ารวมของการประมูลสูงถึง70,900บาทโดยรายได้ในครั้งนี้จะน�าเข้ากองทุนชาวสวนผู้ปลูกทุเรียนเกาะช้างเพื่อส่งเสริมให้ทุเรียนพันธุ ์ชะนีนั้นอยู่คู ่กับเกาะช้าง ส�าหรับอีกงานที่ อพท. ร ่วมสืบสานประเพณีที่ดีงามด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ คืองาน เทศกาลวันสงกรานต์วันไหลของ อ�าเภอเกาะช้าง ที่มีไฮไลท์อยู ่ที่พิธีตักบาตรริมทะเลแด่พระสงฆ์และสามเณรภาคฤดูร้อนกว่า 100 รูปจากทุกวัดบนเกาะช้าง ซึ่งมีผู ้เข้าร่วมตักบาตรมากกว่า 1 พันคน ในเดือนที่ผ่านมาอพท.และส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ. 1)ยังสนับสนุนงบประมาณที่ได้รับจากส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้กับองค์การบริหารส่วนต�าบลแหลมกลัดจัดงานประเพณีงมหอยขาวต�าบลแหลมกลัด ประจ�าปี 2555 ที่จัดขึ้นทุกปีบริเวณหาดลานทราย ต�าบลแหลมกลัด อ�าเภอเมือง จังหวัดตราดพร้อมร่วมจัดนิทรรศการการท่องเที่ยวลดโลกร้อนด้วย นอกจากนี้ในฉบับยังมีเรื่อง พิธีมอบรางวัลแก่ผู ้ชนะการประกวดถ่ายภาพเที่ยวธรรมชาติและชีวิตสัตว์ป่าหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด ในหัวข้อ “เดินชมป่าพาดูนกชมน�้าตกงามกลางเกาะทะเลตราด” ของส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) และยังมีผลการคัดสรรแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเข้าสู ่กระบวนการพัฒนาตามเกณฑ์รับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากส�านักงานพื้นที่พิเศษ1–6 ซึ่งมีชุมชนผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 13 ชุมชน อีกด้วย

Page 3: DASTA News No. 25

อบต. แหลมกลดั จดังานประเพณงีมหอยขาว ประจ�าปี 2555

ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถชีมุชน พร้อมปลูกจิตส�านกึนรุกัษ์หอยขาว

เอกลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานได้สัมผัสอย่างที่ต�าบลแหลมกลัดซึ่งมี

หอยขาวเป็นสัตว์น�้าพื้นถิ่นได้จัดงานเพื่ออนุรักษ์หอยขาวขึ้นโดยนายประดิษฐ์คุ ้มชนม์นายกองค์การบริหาร

ส่วนต�าบลแหลมกลัดกล่าวว่า งานประเพณีงมหอยขาวต�าบลแหลมกลัดประจ�าปี 2555ที่จัดขึ้นบริเวณ

หาดลานทรายหมู่ที่2บ้านแหลมกลัดต�าบลแหลมกลัดอ�าเภอเมืองตราดจังหวัดตราดเมื่อวันที่1พฤษภาคม

ที่ผ่านมา

การจัดงานในครั้งนี้เป็นการร่วมมือจากหลายองค์กรที่มีแนวคิดด้านอนุรักษ์เหมือนกัน โดยเฉพาะ

อพท.ที่สนับสนุนงบประมาณจากส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน30,000บาทและส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง

และพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ. 1) ได้ร่วมจัดนิทรรศการการท่องเที่ยวลดโลกร้อนในงาน เพื่อเพิ่มสีสันให้กับงาน

ประเพณีในครั้งนี้ โดยมีนายนพดลศรีสุขรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราดเป็นประธานเปิดงานประเพณีงมหอยขาว

"วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เนื่องจากในพื้นที่ต�าบลแหลมกลัด โดยเฉพาะบริเวณหาดลานทราย

มีหอยขาวหรือหอยกระปุกอยู่จ�านวนมากองค์การบริหารส่วนต�าบลแหลมกลัดจึงจัดงานในครั้งนี้ขึ้นเพื่อเป็น

การส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ควบคู ่ไปกับการปลูกจิตส�านึกในการอนุรักษ์พันธุ ์หอยขาวที่มีมากในพื้นที่

ต�าบลแหลมกลัด" นายก อบต. แหลมกลัด กล่าว

กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย การจัดนิทรรศการแหล่งท่องเที่ยวหอยขาว ร่วมสนุกกับการหา

หอยขาวพร้อมมทั้งชิมผลไม้จากต�าบลแหลมกลัดการท�าอาหารจากหอยขาวกิจกรรมปลูกป่าชายเลนการแข่งขัน

ฟุตบอลทะเลการแสดงบนเวทีและอื่นๆอีกมากมายสร้างความสนุกสนานและความสุขให้กับผู้เข้าร่วมงาน

ได้เป็นอย่างดี

3

Page 4: DASTA News No. 25

ครม. มีมติประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยนืตามแนวคดิ Creative Economy

วนัที่1พฤษภาคม2555ทีป่ระชุมคณะรัฐมนตรี

มีมติให้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการ

ท่องเทีย่วอย่างยัง่ยนืจ�านวน2พืน้ที่ได้แก่เมอืงเก่าน่าน

และเมืองโบราณอู่ทอง

ในการประชมุคณะรฐัมนตรีนายชมุพลศลิปอาชา

รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอความเห็นชอบต่อที่ประชุม

ครม. ตามที่ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่

พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ขอให้หน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและสนับสนุน องค์การ

บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง

ยั่งยืน(อพท.)ในการจัดท�าแผนแม่บทและแผนปฏิบัติ

การการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว

อย่างยั่งยืนทั้ง2แห่งนี้ โดยอพท.ต้องการแปลงทุน

ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อสร้างรายได้ให้เกิด

ขึ้นจากแนวคิด Creative Economy และเป็นการ

เชิญชวนให้เกิดกระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์แพร่ขยาย

ในวงกว้าง

พันเอกดร.นาฬิกอติภัคแสงสนิทผู้อ�านวยการ

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว

อย่างยัง่ยนื(อพท.)กล่าวถงึพืน้ทีพ่เิศษเพือ่การท่องเทีย่ว

อย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน ว่าจะเป็นส�านักงานพื้นที่

พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนล�าดับที่ 6 (สพพ.6)

มีวิสัยทัศน์คือ “น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต” ครอบคลุม

พื้นที่5ต�าบลประกอบด้วยต�าบลในเวียงต�าบลดู่ใต้

ต�าบลนาซาวต�าบลบ่อสวกอ�าเภอเมืองน่านและต�าบล

ม่วงตึด๊อ�าเภอภูเพียงจังหวัดน่านเนื้อที่139.37ตาราง

กิโลเมตร จากหลักฐานตามต�านานและพงศาวดาร

สันนิษฐานว ่า เป ็นที่ตั้ งชุมชนสมัยประวัติศาสตร ์

หลายยุคหลายสมัยมีแหล่งโบราณสถานที่ทรงคุณค่า

อยูเ่ป็นจ�านวนมากอาทิเมอืงเก่าน่านเวยีงพระธาตแุช่แห้ง

ก�าแพงเมืองและคูเมืองโบราณแหล่งโบราณคดีชุมชน

ดอยภูซาง และเตาเผาโบราณบ่อสวก มีการรวบรวม

หลักฐานและข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมประเพณี วิถี

ชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ด้านการ

ศึกษาค้นคว้าอนุรักษ์และมีการถ่ายทอดไปยังรุ ่นลูก

รุ ่นหลานอย ่างเป ็นสุข ผูกพันอย ่างต ่อเนื่องและ

ภาคภูมิใจรวมทั้งสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาการ

ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับแนวทางที่จังหวัด

น่านและองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ก�าหนดนโยบาย

และวิสัยทัศน์ที่จะอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

อพท. ต้องการแปลงทุนทางวัฒนธรรมและภูมิป ัญญา เพื่อสร้างรายได ้ ให ้ เกิดขึ้นและเป ็นการเชิญชวนให้ เกิดกระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์แพร่ขยายในวงกว้าง

4

Page 5: DASTA News No. 25

เมืองน่านให้เป็นเมืองแห่งการศึกษาเรียนรู้เชิงอนุรักษ์

ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เป็นดินแดนมรดก

น่าน มรดกไทย และมรดกโลก

ส�าหรับพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เมืองโบราณอู่ทองล�าดับที่7 (สพพ.7)มีวิสัยทัศน์คือ

“อู่ทองเมืองโบราณต้นก�าเนิดประวัติศาสตร์อารยธรรม

สุวรรณภูมิ”ครอบคลุมพื้นที่ทั้งต�าบลอู่ทองอ�าเภออู่ทอง

จงัหวดัสพุรรณบรุีเนือ้ที่38.16ตารางกโิลเมตรมหีลกัฐาน

ทางโบราณคดีที่สันนิษฐานได้ว่าเคยเป็นเมืองหลวง

ของอาณาจักรทวาราวดีและเป็นศูนย์กลางของดินแดน

สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ ศิลป

วัฒนธรรมและประเพณีของชนชาติพันธุ์ต่างๆก่อนจะ

หลอมรวมเป็นชาติไทยในปัจจุบันซึ่งอพท.จะพัฒนา

เมืองโบราณอู่ทองเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สามารถ

สืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อก�าเนิดชนชาติไทยและ

ศิลปวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ของชนชาติพันธุ์ต่างๆ

ในพื้นที่ดินแดนสุวรรณภูมิให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหาร

การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 มาตรา 20 (8) และ

มาตรา35ก�าหนดให้คณะกรรรมการบริหารการพัฒนา

พืน้ทีพ่เิศษเพือ่การท่องเทีย่วอย่างยัง่ยนืมอี�านาจประกาศ

ให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว

อย่างยั่งยืนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีซึ่งที่

ผ่านมาอพท.ได้ด�าเนนิการประกาศพืน้ทีพ่เิศษเรยีบร้อย

แล้วจ�านวน 5 พื้นที่

อย ่างไรก็ตาม ก ่อนที่ จะประกาศพื้นที่ ใด

เป็นพื้นที่พิเศษนั้นอพท.ได้ด�าเนินการตามขั้นตอนการ

ประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนดังนี้

1) การประเมินศักยภาพของพื้นที่ ตามคู ่มือ

การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการพิจารณาการประกาศพื้นที่

พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (คะแนนต้องไม่

ต�่ากว่าร้อยละ75)ซึ่งผลการประเมินปรากฏว่าพื้นที่

เมืองเก่าน่านอยู ่ที่ระดับร้อยละ 76.5 และพื้นที่เมือง

โบราณอู่ทอง อยู่ที่ระดับร้อยละ 85

2)อพท.ร่วมกับพื้นที่เมืองเก่าน่านและพื้นที่

เมืองโบราณอู ่ทอง ศึกษาความเป ็นไปได ้ในการ

ประกาศพื้นที่พิ เศษเพื่อการท ่องเที่ยวอย ่างยั่ งยืน

ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ

ภาคเอกชนประชาชนชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

ในพื้นที่ โดยก�าหนดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การพัฒนา

และแนวทางด�าเนินงาน ระยะที่ 1 ภายใน 3 ป ี

(พ.ศ. 2555-2557)

3)การจัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็น

ของภาคประชาชนในการประกาศพื้นที่พิเศษทั้ง2แห่ง

ซึ่ งผลการจัดเวทีประชาคมประชาชนทั้ ง 2 พื้นที่

เหน็ด้วยเกอืบร้อยเปอร์เซน็ต์กล่าวคอืพืน้ทีเ่มอืงเก่าน่าน

เห็นด้วย ร ้อยละ 98.32 (มีประชาชนเข ้าร ่วมเวที

ประชาคมจ�านวน2,500คน)และพื้นที่เมืองโบราณ

อู่ทอง เห็นด้วย ร้อยละ 98.14 (มีประชาชนเข้าร่วม

เวทีประชาคมจ�านวน 326 คน)

ต่อจากนี้ อพท. จะเร่งด�าเนินการจัดท�าแผน

แม่บทและแผนปฏิบัติการการบริหารการพัฒนาพื้นที่

พิ เศษเพื่อการท ่องเที่ยวอย ่างยั่งยืน ทั้ง 2 แห ่งนี้

ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อฟื ้นฟู อนุรักษ์ และ

พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งเพิ่มรายได้การท่องเที่ยว

และจ�านวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติในพื้นที่

พิเศษอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย Co-Creation

หรือ“ร่วมคิดร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติร่วมรับผิดชอบ

ร่วมรับผลประโยชน์” ของผู้อ�านวยการ อพท.

5

Page 6: DASTA News No. 25

ตกับาตรริมหาด วนัไหลเกาะช้าง สบืสานประเพณทีี่ดงีาม เพื่ออนรุกัษ์ความเป็นไทย

ปีนี้ประเพณีตักบาตรวันไหลของเกาะช้างที่จัดขึ้นริมหาดทรายขาว

อ�าเภอเกาะช้างคึกคักเช่นทุกปีขบวนผู้ร่วมพิธีตักบาตรยาวกว่า1กิโลเมตร

ท�าให้เกิดภาพที่งดงาม นับเป็นการสืบสานประเพณีและอนุรักษ์ความ

เป็นไทย สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวต่างถิ่นเป็นอย่างมาก

เมื่อวันที่27 เมษายน2555ที่ผ่านมาบริเวณริมหาดทรายขาว

ต�าบลเกาะช้างอ�าเภอเกาะช้างจังหวัดตราดพลตรีหญิงจรัสพิมพ์ธีรลักษณ์

ผูจ้ดัการพืน้ทีพ่เิศษหมูเ่กาะช้างและพืน้ทีเ่ชือ่มโยง(สพพ.1),นายศรนัจริงัศรี

นายกเทศมนตรีต�าบลเกาะช้าง,นายวรนิติ์ กายราศผู ้อ�านวยการททท.

ส�านักงานตราด,นายศักดิ์ประเสริฐเจริญประสิทธิ์อดีตนายอ�าเภอเกาะช้าง,

นาวาโทสมบัติบุญเกิดพานิชนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด

พร้อมด้วยผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทนักท่องเที่ยวและประชาชน

ชาวเกาะช้างได้ร่วมกันท�าบุญตักบาตรอาหารแห้งแด่พระสงฆ์และสามเณร

ภาคฤดูร้อนกว่า100รูปในเทศกาลวันสงกรานต์วันไหลของอ�าเภอเกาะช้าง

ที่จัดขึ้นบริ เวณริมหาดทรายขาวแหล่งท ่องเที่ยวที่นักท ่องเที่ยวนิยม

มาพักผ่อนกันมากนับเป็นพิธีตักบาตรริมทะเลที่มีความสวยงามดังเช่นทุกปี

ในปีนี้สพพ1.ใช้ถุงผ้าในการตักบาตรแทนถุงพลาสติกเพื่อเป็นการลดโลก

ร้อนด้วย

การจัดงานวันไหลของเกาะช้างครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในปีนี้มี

จ�านวนผู้เข้าร่วมตักบาตรมากกว่า 1,000คน เป็นแถวยาวเหยียดตั้งแต่

หน้าหาดโรงแรมเกาะช้าง คชา รีสอร์ท ไปจนถึงหน้าหาดโรงแรม คุ ้กกี้

ระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตรโดยได้รับทราบการประชาสัมพันธ์จาก

สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดตราด

6

Page 7: DASTA News No. 25

พิธีตักบาตรและรับฟังพระสวดให้พร เนื่องในโอกาสเทศกาล

วันสงกรานต์ถือเป็นการอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรม สร้างความรัก

ความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัวชุมชนสังคมและศาสนาให้คงอยู่

คู่กับสังคมไทยและที่ส�าคัญในแต่ละปีจะถือเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ประชาชน

ทกุหมูเ่หล่าจะได้ร่วมกนัท�าบญุสร้างกศุลเพือ่เป็นสริมิงคลแก่ตนเองครอบครวั

และถือเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

ให้ได้รับส่วนบุญกุศล

งานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมา

ร่วมงานท�าบุญตักบาตรจ�านวนไม่น้อย คุณเฮตาร์ เคราท์ ชาวเยอรมัน

บอกเล่าให้ อพท.นิวส์ฟัง ถึงความรู ้สึกที่ได้ร ่วมงานครั้งนี้ว ่า รู ้สึกดีที่มี

โอกาสได้ร ่วมงานบุญครั้งยิ่งใหญ่นี้ ยิ่งพอได้ทราบถึงความส�าคัญของ

ประเพณีวันไหลเกาะช้าง ที่เป็นงานวันไหลที่สุดท้ายของภาคตะวันออก

เพราะเป็นเกาะที่อยู ่ในจังหวัดตะวันออกที่สุด ยิ่งรู ้สึกเป็นเกียรติและมี

ความสุขที่ได้ร่วมงาน มีภาพประทับใจเกิดขึ้นมากมาย และคิดว่าจะน�า

ไปบอกต่อให้เพื่อนๆ เข้ามาสัมผัสงานประเพณีแบบนี้ดูสักครั้ง

ด ้านนักท ่องเที่ยวชาวไทยที่ เดินทางมาจากประเทศเยอรมนี

นายจรินทร์และนางรัชนี เย็นเชย บอกว่า ประเพณีตักบาตรริมชายหาด

น่าประทับใจมากเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา

อย่างยาวนานอยากให้รักษาไว้ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เห็นสิ่งดีงาม

ของชาวไทยรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้อยากให้เกาะช้าง

จัดประเพณีดีๆอย่างนี้ทุกปีและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทาง

มาร่วมงานมากๆ เพื่อให้ทุกคนรู ้ว่าเกาะช้างยังมีอะไรดีๆ อีกมาก

7

Page 8: DASTA News No. 25

หลายป ีที่ผ ่ านมาจังหวัดตราดมีการ

พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ

สงัคมและท่องเทีย่วส่งผลกระทบให้ทรพัยากรธรรมชาติ

และความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมถูกท�าลาย

ลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มี

ผู้คนมากมายเดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดตราด

ถึงจะเป็นแหล่งรายได้ที่ส�าคัญของจังหวัดแต่ถ้า

นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ยังขาดจิตส�านึก

ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ก่อให้เกิดผลเสียขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะผลกระทบ

ที่เกิดต่อแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

เพื่อเป็นการปลูกจิตส�านึกให้ประชาชน

ในพื้นที่และนักท่องเที่ยวรักและเห็นคุณค่าของ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่นับเป็น

แนวทางส�าคญัในรกัษาความสมบรูณ์ของทรพัยากร

และคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงเกิดแนวคิดโครงการ

สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็น

ช ่องทางในการเชื่อมโยงกันระหว ่างเครือข ่าย

ถื อ เป ็ นแนวทางส� าคัญที่ จ ะสามา รถ รั กษา

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

โครงการสร้างเครือข ่ายเฝ้าระวังและ

รายงานสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ส�าคัญคือ เพื่อสร้าง

จิตส�านึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ

ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งกลุ ่มเครือข่าย

เฝ ้าระวังและรายงานสถานการณ์ทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้กลุ่มเครือข่ายฯ

มคีวามรูค้วามเข้าใจและสามารถตรวจสอบคณุภาพ

สิ่งแวดล้อมได้

โดยการการด�าเนินงานจัดประชุมเพื่อ

จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้วจ�านวน

6ครั้งคือครั้งที่1ที่ศาลาการเปรียญวัดไทรทอง

ต�าบลหนองโสนอ�าเภอเมือง เมื่อวันที่5 เมษายน,

ครั้งที่ 2ณ ศาลาการเปรียญวัดคลองสน ต�าบล

เกาะช้างอ�าเภอเกาะช้าง เมื่อวันที่10 เมษายน,

ครั้งที่ 3 ศาลาประชาคม บ้านสลักคอก ต�าบล

เกาะช้างใต้อ�าเภอเกาะช้างเมื่อวันที่11เมษายน,

ครั้ งที่ 4 ณ ศูนย ์ท ่องเที่ยว ต�าบลแหลมกลัด

อ�าเภอเมือง เมื่อวันที่ 26 เมษายน, ครั้งที่ 5

ที่องค์การบริหารส่วนต�าบลนนทรีย์ อ�าเภอบ่อไร่

เมื่อวันที่27เมษายนและครั้งที่6ที่สวนย่ารีสอร์ท

อ�าเภอเกาะกูด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม โดยมี

ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งละ50คนรวมเป็น300คน

จากนั้นมีการจัดอบรมเครือข่าย เฝ้าระวังฯและ

เจ ้าหน้าที่องค ์กรปกครองส ่วนท้องถิ่นรวมถึง

เจ ้าหน้าที่รัฐ 4 ครั้ง มีผู ้ เข ้าร ่วมประชุมครั้งละ

100 คน รวมเป็น 400 คน หลักสูตรที่ใช้ในการ

เครอืข่ายเฝ้าระวงัฯ โครงการปลกูจิตส�านกึด้านการอนรุกัษ์ให้ชมุชน

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 1

2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 2

3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 3

4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 4

5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 5

6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 6

8

Page 9: DASTA News No. 25

อบรมว่าด้วยเรื่องสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

ความรู ้เกี่ยวกับกฎหมายด้านทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระบวนการมีส่วนร่วม

ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมเบื้อต้นและการใช้เครื่องมือตรวจวัด

มลพิษสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ความรู ้เกี่ยวกับการ

ตรวจประเมินดัชนีคุณภาพส่งแวดล้อมชายหาด

ท่องเที่ยวและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ

หน้าที่ภาคสนาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้คือ

มีเครือข่ายฯ ท�าหน้าที่เป็นกลไกในการเฝ้าระวัง

และรายงานสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดตราดได้รับการบริหาร

จัดการให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และบุคลากรของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเข้าหน้าที่ของรัฐ

ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้น

เพื่อเป ็นก�าลังส�าคัญในการปฏิบัติงานใน

อนาคต

การจัดตั้งโครงการสร้างเครือข่าย

เฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์ทรัพยากร

ธรรมชาตแิละสิง่แวดล้อมในครัง้นี้นบัเป็นก้าว

ส�าคัญด้านการปลูกจิตส�านึกในการอนุรักษ์

ธรรมชาติและเสริมอาวุธให้กับบุคลากรที่มี

จิตอนุรักษ์ให้เป็นก�าลังส�าคัญในการพัฒนา

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

9

Page 10: DASTA News No. 25

10

บางครั้งความประทับใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมักมาพร้อม

แรงบันดาลใจในการอยากให้สิ่งที่ตัวเองรักเป็นที่รู ้จักมากขึ้น

สุคนธ์ทิพย์โชติถนอมชาวตราดที่เกิดและเติบโตที่อ�าเภอบ่อไร่

จังหวัดตราดมีความประทับใจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด

เป็นอย่างมากจากทรปิท่องเทีย่ว6เกาะท�าให้เกดิแรงขบัเคลือ่น

ในการช่วยประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของบ้านเกิดให้เป็น

ที่รู ้จักในวงกว้าง

สุคนธ์ทิพย์ เล่าให้ฟังถึงความประทับใจต่อแหล่ง

ท่องเที่ยวของจังหวัดตราดว่าชื่นชอบเกาะช้างเป็นอย่างมาก

ตั้งแต่จากทริปท่องเที่ยว6 เกาะที่สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว

จัดร่วมกับททท.ส�านักงานตราดหลังจากนั้นก็เดินทางไปเที่ยว

เกาะช้างบ่อยครั้ง เพราะเดินทางสะดวก คิดว่าการได้นั่งเรือ

เฟอร์รี่ข้ามไปเกาะช้างก็เป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจแล้ว

เพราะสถานทีท่่องเทีย่วอืน่ในประเทศไทยยงัไม่มเีลยเป็นสิง่แปลก

นับเป็นจุดขายของเกาะช้างได้เลย

“การจัดท�าเพจWeLoveIslandsบนเฟสบุ๊คขึ้นมา

ก็เพื่อน�าภาพความสวยงามและภาพประทับใจทั้งของตนเอง

และให้คนอืน่ๆโดยเฉพาะนกัท่องเทีย่วทีเ่ดนิทางมาเทีย่วหมูเ่กาะ

ทะเลตราดมาแบ่งปันกันเพื่อประชาสัมพันธ์และแสดงให้คน

ที่ยังไม่เคยมารู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างและสามารถตอบค�าถาม

นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาเที่ยวหมู่เกาะทะเลตราดได้

อย่างรวดเร็วมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เพจนี้เป็นสื่อกลาง

ในการพดูคยุกนัระหว่างนกัท่องเทีย่วต่างถิน่กบัคนในจงัหวดัตราด”

ถามถึ ง เสน ่ห ์ที่ ท� าให ้หลงรัก เกาะช ้าง ผู ้ ก ่อตั้ ง

เพจWeLove Islandsบอกว่า เกาะช้างเป็นเกาะเดียวที่

พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5ทรงเสด็จถึง12ครั้งข้อนี้น่าจะ

เป็นสิ่งที่คนเกาะช้างควรจะภูมิใจและพร้อมถ่ายทอดเรื่องราว

เหล่านี้ต่อไปยังนักท่องเที่ยวรวมถึงผลไม้อย่างทุเรียนพันธุ์ชะนี

ที่มีไอโอดีนและวิตามินอีก็เป็นจุดเด่นของเกาะช้างทุกอย่าง

มีคุณค่าในตัวอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบยกให้เด่นขึ้นมาได้

อย่างไรคนในท้องถิน่ต้องรูค้ณุค่าก่อนอยากให้เกาะช้างเป็นเหมอืน

อย่างที่เป็นอยู ่แต่อยากให้รูปแบบการท�างานการน�าเสนอ

เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น แล้วเกาะช้างจะก้าวไปข้างหน้า

อย่างมีประสิทธิภาพ

เสียงจากชุมชน

“ส่วนตัวคิดว่าการเดินทางท่องเที่ยวท�าให้เกิดความสุข

อย่างมากได้รู ้จักคนมากขึ้นและที่ส�าคัญเปิดโลกทัศน์ เวลา

ไปเที่ยวที่อื่นก็อยากให้จังหวัดตราดมีแบบนั้นบ้างอยากขอให้

คนบนเกาะช้างรักกันสามัคคีกันเพราะความสามัคคีท�าให้เกิด

ความส�าเร็จในทุกๆเรื่องบางครั้งความเห็นต่างก็ต้องมาคุยกัน

ปรึกษากันน�าข้อดีของแต่ละคนมาใช้ท�าให้บรรลุเป้าหมายได้”

สคุนธ์ทพิย์โชตถินอมไม่ใช่แค่ต้องการให้การท่องเทีย่ว

ของจังหวัดตราดเป็นอย่างนู ้น อย่างนี้ แล้วนั่งรออยู ่ เฉยๆ

แต่เธอลงมือท�าแล้ว แล้วคุณล่ะลงมือท�าอะไรแล้วหรือยัง

หากคุณอยากเห็นจังหวัดตราดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในฝันของ

นักท่องเที่ยวทุกคน

“สคุนธ์ทิพย์ โชติถนอม”เริ่มต้นจากความประทบัใจ สู่การประชาสมัพนัธ์เมืองตราดที่รกั ให้เป็นที่รู้จกัมากยิ่งขึ้น

อยากขอให้คนบนเกาะช้าง

รักกัน สามัคคีกัน

เพราะความสามัคคีท�าให้เกิด

ความส�าเร็จในทุกๆ เรื่อง

Page 11: DASTA News No. 25

วิธีท�าให้กระเทียมเจียวกรอบนาน

ถ้าต้องการให้กระเทียมเจียวกรอบนานขณะเจียว

ให้ใช้ไฟปานกลางและใส่เกลือป่นลงไปเล็กน้อย

จะท�าให้กรอบนานขึ้น

เก็บกล้วยน�้าว้าให้อยู ่นาน

ให้น�ากล้วยน�้าว้าไปจุ ่มในน�้าเดือด 3 นาที แล้ว

น�ามาแขวนไว้ในที่ที่มีลมโกรกหรือลมพัดผ่านจะ

เก็บได้นาน10-30วันโดยเนื้อกล้วยจะเหมือนเดิม

เชื่อมขนมให้น่ารับประทาน

ให้ใส่กลูโคสผสมกับน�้าตาลที่ใช้ในการเชื่อมขนม

จะเป็นเงาใสกว่าเชื่อมด้วยน�้าตาลอย่างเดียว

วิธีแก้กะปิมีสีด�าคล�้า

เมื่อซื้อกะปิมาเก็บไว้นานจะเกิดสีคล�้าสามารถ

แก้ได้โดยใช้นมสด2-3ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในครก

ที่ก�าลังต�า จะช่วยให้กะปิมีสีนวลขึ้น

โป่ะคุ่ย หมายถึง เป็นภาระ หรือยุ่งยาก เช่น “สมัยนี้ไม่มีใครเค้ามานั่งโป่ะคุ่ยกันหรอก” หมายความว่า สมัยนี้ไม่มีใครยอมรับเป็นภาระกันหรอก

น�้าปี๊บ หมายถึง น�้าตาลปี๊บ เช่น “ไปเอาน�้าปี๊บมาใส่ให้ออกหวานนิดนึง”หมายความว่า ไปเอาน�้าตาลปี๊ปมาใส่ให้ออกรสหวานหน่อย

พิ่ก หมายถงึ พรกิ เช่น “ส่งพิก่มาให้ป้าทสี”ิ หมายความว่า ส่งพรกิมาให้ป้าที

ทุ่ด

หมายถึง ถู เช่น “อย่าเอาก้นไปทุ่ดกับพื้นกระดาน เดี๋ยวกางเกงขาด” หมายความว่า อย่าเอาก้นไปถูกับพื้นกระดาน เดี๋ยวกางเกงขาด

ขี้กระบวน หรือ ขี้บวน หมายถึง งอแง เช่น “ลูกแกนี่ขี้บวนเนอะ” หมายความว่า ลูกแกนี่ งอแงเก่งจัง

11

Page 12: DASTA News No. 25

ทกุวนันีเ้ริม่มคีวามสนใจ

จากหลายช่องทางพุง่ตรงไปที่

AECหรอืAseanEconomics

Community (ประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน) คือการ

รวมตัวของชาติในอาเซียน

เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์

ทางเศรษฐกิจร่วมกันซึ่งจะ

ท�าให้ชาติอาเซียนมีผลประโยชน์อ�านาจต่อรองต่างๆกับคู่ค้า

ได้มากขึ้นและการน�าเข้าส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี

ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษี

น�าเข้าซึง่จะมจีรงิวนัที่1มกราคม2558ถอืเป็นการเปลีย่นแปลง

ครั้งใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทยที่หลายคนอาจ

คาดไม่ถึง

ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียนขึ้นมีอยู ่มากมายด้วยกันซึ่งหลายอย่าง

ส่งผลกระทบต่อแรงงานรวมถึงผู้ประกอบการชาวไทยอย่าง

ชัดเจนหากไม่มีการเตรียมตัวตั้งรับให้ดี เช่นการลงทุนจะมี

ความเสรีมากคือชาติใดในอาเซียนจะลงทุนที่ประเทศสมาชิก

ชาติไหนก็ได้ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆก็จะมาเปิดโรงเรียน

ในบ้านเราอาจท�าให้โรงเรียนที่ค ่าเทอมสูงๆแต่คุณภาพ

ไม่ดีอยู่ได้ยากขึ้นเพราะคนแห่ไปหาโรงเรียนที่มีคุณภาพดีกว่า

จากต่างชาติฯลฯ

ส�าหรับกรณีแรงงานฝีมืออาเซียนย้ายถิ่นมาท�างาน

ในประเทศไทยเนื่องมาจากการเปิดเสรีอาจไม่ส่งผลกระทบ

ต่อแรงงานไทยมากเท่าไหร่แต่ที่จะได้รับผลกระทบน่าจะเป็น

เจ้าของกจิการหรอืผูป้ระกอบการคนไทยเพราะจะถกูผูป้ระกอบการ

ต่างชาติดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถไปร่วมงานด้วย

ค่าแรงที่จูงใจมากกว่าดังนั้นเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา

ดังกล่าวแรงงานฝีมือไทยควรพัฒนาความรู้และทักษะด้าน

ภาษาเพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู ้จากแรงงานฝีมือต่างชาติ

ที่เข้ามาในไทยให้ได้มากที่สุดในขณะที่ผู้ประกอบการไทยอาจ

จ�าเป็นต้องปรับตัวหาผู้ร่วมทุนต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

ส่วนกรณีที่แรงงานไทยออกไปท�างานในประเทศ

อาเซียนอื่นๆนั้นเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่แรงงานไทยจะต้องเผชิญ

เพราะการไม่พัฒนาฝีมือแรงงานให้อยู่ในระดับสากลจะท�าให้

แรงงานไทยไม่เป็นที่น่าสนใจในตลาดต่างประเทศรวมถึงการที่

หลักสูตรการศึกษาหรือใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพของไทย

ไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอาจท�าให้แรงงานฝีมือหรือ

ผู้ประกอบวิชาชีพของไทยเสียโอกาสที่จะได้งานในต่างประเทศ

ในข้อนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียน

การสอนและการอบรม ให้สามารถเทียบเคียงได้กับหลักสูตร

ของต่างประเทศ

สิ่งส�าคัญที่แรงงานไทยควรพัฒนาคือความอ่อนด้อย

ทางด้านภาษาต่างประเทศ จะท�าให้แรงงานไทยไม่สามารถ

แข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ซึ่งจะส่งผลท�าให้ได้ต�าแหน่งหรือ

ค่าจ้างที่ต�่ากว่าแรงงานฝีมือในระดับเดียวกันส่วนการคุ้มครอง

แรงงานไทยที่ไปท�างานต่างประเทศจะต้องมีมาตรการร่วมกับ

สมาชิกอาเซียนอาจท�าให้แรงงานไทยเสียเปรียบนายจ้างเช่น

การท�าสัญญาจ้างค่าจ้างสวัสดิการและกรณีเกิดข้อพิพาทด้าน

แรงงานฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงผลกระทบส่วนหนึ่งจากการเกิด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่แรงงานรวม

ถึงผู้ประกอบการชาวไทยจะต้องเผชิญอพท.นิวส์จะน�าเสนอ

ความส�าคัญและผลกระทบด้านต่างๆที่คนไทยควรเริ่มหันมา

สนใจส�าหรับการรวมตัวกันเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของอาเซียน

ครั้งนี้ในเล่มต่อไปอีกครั้ง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยีน เรื่องใกล้ตวัที่ควรเริ่มสนใจ

12

Page 13: DASTA News No. 25

เทคนคิกระตุ้นน�้านม ส�าหรบัคณุแม่มือใหม่

ปีนีเ้ป็นปีมงักรทองดงันัน้จงึมคีณุแม่หลายคน

ที่ก�าลังตั้งครรภ์ในปีนี้และคงมีหลายเรื่องที่คุณแม่

มือใหม่มักไม ่รู ้ ในการเลี้ยงดูลูกน ้อยที่ เพิ่งลืมตา

ดูโลก โดยเฉพาะเรื่องการให้เด็กทานนมแม่ซึ่งถือ

เป ็น เรื่ องส� าคัญก็มี เทคนิคหลายอย ่างที่ ควรรู ้

การแพทย์น่ารู้ขอแนะน�าเทคนิคการกระตุ้นน�้านมแม่

ส�าหรับคุณแม่มือใหม่ที่ก�าลังประหม่าเรื่องปริมาณของน�้านมจากเต้าที่จะให้ลูกน้อยทาน

แพทย์ผู ้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดกล่าวถึงการผลิตน�้านมของแม่มีกระบวนการ

เป็นรูปแบบอุปสงค์–อุปทานนั่นก็คือถ้าลูกดูดเยอะบ่อยน�้านมก็จะผลิตเยอะหากดูดน้อยน�้านมก็ผลิตน้อย

ส�าหรับวิธีกระตุ ้นน�้านมที่ดีที่สุด ควรฝึกให้ลูก ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดนาน จะท�าให้ปริมาณน�้านมของคุณแม่มี

เพียงพอให้ลูกดูดได้ตลอด

หลักของการดูดเร็วหมายถึง เมื่อลูกคลอดออกมาภายใน15-30นาที ควรให้ลูกดูดนมได้ทันที

เพื่อกระตุ ้นน�้านมครั้งแรกซึ่งถือเป็นสิ่งส�าคัญ ส่วนหลักการดูดบ่อย คือ ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ วันละ 8-12 ครั้ง

หรือตามที่ลูกต้องการ เพื่อเป็นการกระตุ ้นอีกหนึ่งทาง หลักการง่ายคือถ้าลูกร้องงอแงหรือหิวควรให้ดูดทันที

ไม่ควรทิ้งช่วงหรือปล่อยเวลาไว้นานเกินไปหลักสุดท้ายการดูดนานคือในแต่ละครั้งที่ลูกดูดนมให้ดูดนานๆ

ประมาณข้างละ15นาทีหรือปล่อยให้ลูกดูดจนกว่าจะเลิกไปเองที่ส�าคัญไม่ควรฝืนลูกน้อยและปล่อยไปตาม

ความต้องการของเขา ทั้งสามวิธีข้างต้นจะช่วยให้น�้านมผลิตออกมาได้สม�่าเสมอ มีน�้านมออกมาเต็มที่

ส�าหรับหลักการสังเกตว่าน�้านมเพียงพอกับความต้องการของลูกหรือไม่แพทย์ผู ้เชี่ยวชาญแนะน�าว่า

ให้ดูจากลูกจะนอนหลับง่ายหลับสบายไม่ร้องงอแงปัสสาวะและอุจจาระบ่อยน�้าหนักขึ้นตามเกณฑ์ที่ส�าคัญ

สังเกตตั้งแต่ก่อนให้ลูกดูดนมจะมีอาการคัดเต้านมแต่พอลูกดูดเสร็จเต้านมจะนิ่มขณะที่ลูกดูดนม เต้านม

อีกข้างหนึ่งจะมีน�้านมไหลซึมออกมาถือเป็นสัญญาณบ่งบอกตามธรรมชาติว่าคุณแม่มีปริมาณน�้านมเพียงพอ

ให้ลูกน้อยดูดจากเต้า

น�้านมแม่ถือเป็นสิ่งส�าคัญส�าหรับลูกน้อยแรกเกิด เพราะเป็นน�้านมที่มีสารอาหารครบถ้วนช่วยให้

ลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการมอบไออุ ่นจากแม่สู ่ลูก ซึ่งเป็นปัจจัยส�าคัญด้านความผูกพันที่จะ

ติดตัวลูกไปในอนาคต คุณแม่ควรพยายามให้ลูกน้อยดูดนมแม่ให้ได้อย่างน้อย 6 เดือน

13

Page 14: DASTA News No. 25

14

มหศัจรรย์ใบไม้เรอืงแสง

เรื่อง/ภาพ สุธนัย ครุพานิช

ปลายเดือนกันยายน ณ อุทยานแห่งชาติ

หมูเ่กาะช้างบนสนัเขาจอมทีร่ะดบัความสงู500เมตร

เหนือระดับน�้าทะเลผมกับนนท์เพื่อนรุ่นน้องชาวมอญ

กุลีกุจอช่วยกันผูกเปลกางเต็นท์ส�าหรับการหลับนอน

ในป่าลึกครั้งแรกของผม “ลุงขอตัวลงไปข้างล ่าง

ก่อนนะ เหล้าหมดพอดี” เสียงลุงพรานผู้น�าทางเอ่ย

“กว่าจะปีนกลับขึ้นมาได้ก็มืดกันพอดีแล้วถ้าลุงไม่มา

พวกผมจะกลับกันยังไง”ผมบอกกับแกเพราะเส้นทาง

ขึ้นเขาจอมปราสาทเป็นทางเดินป่าที่มีความลาดชันมากถ้าไม่ช�านาญ เส้นทาง

อาจลื่นตกเขาหรือหลงทางเอาง่ายๆ

“เอาน่า....ลุงมาแน่นอน ไม่มีเหล้าลุงอยู่ไม่ได้หรอก” แกพูดไปด้วยเก็บของ

ใส่กระเป๋าไปด้วยในที่สุดผมก็ต้องยอมแพ้หลังจากที่พยายามยื้อแกอยู่พักใหญ่

หนึ่งชั่วโมงผ่านไปกับอาหารมื้อเย็นสุดแสนอร่อยบนพื้นดินใจกลางป่า เป็นจริง

อย่างที่เขาว่ากันอาหารง่ายๆอย่างไข่เจียวไหม้ๆกับย�าปลากระป๋องก็ท�าให้เรา

อร่อยได้หากอยู่ในป่าดงพงไพร หลังจากกินเสร็จนนท์ใช้กระดาษช�าระล้างจาน

ด้วยน�้าที่มีอย่างจ�ากัดส่วนผมเดินออกไปหาฟืนมาส�ารองไว้ส�าหรับค�่าคืนที่ยาวนาน

บรรยากาศในตอนนั้นเริ่มมืดลงและวังเวงขึ้นทุกขณะ เสียงนกกลางคืนเริ่มร้อง

ขับขาน แน่นอนเรายังคงรอการกลับมาของลุงพรานน�าทางอย่างใจจดใจจ่อ

ระหว่างนั้นเรานั่งล้อมกองไฟและพูดคุยถึงเรื่องประสบการณ์ในอดีตกัน

อย่างออกรสชาติอานนท์พอมีประสบการณ์เที่ยวป่าอยู่บ้างซึ่งก็พอๆกับผมที่เข้าป่า

บ้างแต่ไม่เคยมานอนในป่าแบบนี้ ไม่นานนักฝนก็เริ่มโปรยเม็ดลงมา เปลที่ผูกไว ้

ไม่มีความหมายแล้วในตอนนั้น ผมกับนนท์เข้าไปหลบฝนในเต็นท์เล็กๆ ที่กางไว้

หูก็พยายามฟังเสียงย�่าเท้าของลุงพรานว่ามาเดินมาถึงเมื่อไหร่การรอใครสักคน

กลางป่าลึกนั้นมีแต่ความหวาดกลัวและความวิตกกังวลจริงๆเรื่องเล่าสยองขวัญ

ผุดขึ้นมาจากหนังสือท่องไพรที่ผมชอบอ่าน ฝนเริ่มตกหนักขึ้นเรื่อยๆ นนท์ก็ใช้

มือวักน�้าฝนที่เริ่มซึมเข้ามาในเต็นท์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

หลายชั่วโมงผ่านไปฝนจึงหยุดตก เราก็ออกไปสุมไฟกันต่อ นนท์ถอดเสื้อ

และถุงเท้าที่ชื้นเพราะน�้าฝนมาสุมไฟ “ดูตรงพื้นสิพี่” นนท์ชี้ให้ผมดูบางสิ่งบาง

อย่างบนพื้นดิน แม้จะพยายามมองเท่าไหร่ก็มองไม่เห็น เขาบอกให้ผมหลับตาสักครู ่แล้วค่อยลืมตาขึ้น

มาดูใหม่อีกครั้ง หลังจากนั้นผมก็เห็นคือ “ใบไม้เรืองแสง” ใบไม้แห้งสีบนพื้นดินที่ผมเห็นเมื่อตอนกลาง

วันตอนนี้มันกลับเปล่งแสงสีเขียวอ่อนๆออกมาขณะนั้นบนพื้นดินในป่าเต็มไปด้วยแสงสีเขียวทุกตาราง

นิ้ว มันเป็นภาพที่ผมไม่เคยเห็นจากหนังสารคดีหรือหนังสือใดๆ และไม่คิดว่าจะมีในโลกด้วยซ�้า ผมเดา

เอาว่าใบไม้พวกนี้ไม่ได้เรืองแสงด้วยตัวมันเองแต่ที่มันเปล่งแสงได้เป็นเพราะราที่เกาะกินใบไม้ต่างหาก

ท่ามกลางความมืดมิดก็ยังพอมีสิ่งสวยงามให้เราได้คลายความกลัวความกังวลไปได้บ้างผมเผลอหลับ

ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู ้ มารู ้ตัวอีกทีเมื่ออานนท์ปลุกผมให้มากินกาแฟในตอนเช้าที่ต้มด้วยน�้าที่ขังในหลังคา

ผ้าใบของเต็นท์ซึ่งรสชาติดีกว่ากาแฟที่บ้านซะอีก ซวบ ซวบซวบ ร่างของชายที่ผมรอคอยทั้งคืนปรากฏตัวขึ้น

พร้อมกลิ่นเหล้าขาวโชยเตะจมูก ค�าแก้ตัวต่างๆ พรั่งพรูออกมาจนเราฟังกันไม่ทัน...

1.ที่ตั้งแค้มป์บริเวณ

เขาจอมปราสาท

2.ทัศนียภาพจากหน้าผา

บริเวณเขาจอมปราสาท

3.เศษใบไม้ที่เปล่งแสง

สีเขียวยามค�่าคืน

Page 15: DASTA News No. 25

15

เมื่อวันที่ 26 เมษายน2555นายประทีปจงสืบธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ให้เกียรติ

เป็นผู้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดถ่ายภาพเที่ยวธรรมชาติและชีวิตสัตว์ป่าหมู่เกาะช้างจังหวัดตราด

ในหัวข้อ"เดินชมป่าพาดูนกชมน�้าตกงามกลางเกาะทะเลตราด"ของส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง

และพื้นที่เชื่อมโยงณ ห้องประชุมตราดสีทอง

หลังจากที่มีการตัดสินการประกวดการถ่ายภาพเที่ยวธรรมชาติและชีวิตสัตว์ป่าหมู่เกาะช้าง

จังหวัดตราดในหัวข้อ "เดินชมป่าพาดูนกชมน�้าตกงามกลางเกาะทะเลตราด"โดยคณะกรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการถ่ายภาพไปแล้วเมื่อวันที่ 30มีนาคม2555ตามที่ได้น�าเสนอในอพท.นิวส์

ฉบับที่ 24 ประจ�าเดือนเมษายน 2555 แล้วนั้น

ส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงได้เชิญนาย

ประทีป จงสืบธรรม รองผู ้ว ่าราชการจังหวัดตราด ให้เกียรติเป็นผู ้มอบ

รางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดอันได้แก่ประเภทที่1สารพันสกุณาถิ่นอาศัย

ไพรพนาหมู่เกาะช้างประเภทที่2ร้อยลีลาสายน�้าตกแสนงามยามเยี่ยมเยือน

หมู ่เกาะช้าง และประเภทที่ 3 สารพัดสรรพสัตว์พืชพรรณไม้งามละไม

ดุจอาภรณ์ประดับหมู ่เกาะช้างณห้องประชุมตราดสีทอง เมื่อวันที่ 26

เมษายน2555 เวลา 9.00 น.

นอกจากผู้ชนะการประกวดในแต่ละประเภทจะได้รับเงินรางวัล

แล้วยังได้รับเกียรติบัตรและถ้วยรางวัลที่ท�ามาจากกะลามะพร้าวผลงาน

โอท็อปของต�าบลเกาะช้างใต้ อ�าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดอีกด้วย

ซึ่งออกแบบให้เข้ากับประเภทของการประกวดคือประเภทที่ 1 เป็นรูป

นกเงือกประเภทที่2เป็นรูปน�้าตกและประเภทที่3เป็นรูปต้นไม้นอกจาก

จะสวยงามแล้วยังเป็นถ้วยรางวัลลดโลกร้อนอีกด้วย

หากหน่วยงานใดที่ต้องการถ้วยรางวัลที่สวยงามแปลกและช่วย

ลดโลกร้อนจะลองน�าความคิดไปใช้บ้างก็จะดีมากทีเดียว

พิธมีอบรางวลัการประกวดภาพถ่าย"เดินชมป่า พาดนูก ชมน�้าตกงาม

กลางเกาะทะเลตราด"

Page 16: DASTA News No. 25

16

อพท. จดัประมลูทเุรยีนพนัธุ์ชะน ีของดีเกาะช้าง ราคาสงูสดุลกูละหมื่นห้า

นายนพดล ศรีสุข รองผู ้ว่าราชการ จ. ตราด เป็นประธานในการประมูล

ทุเรียนพันธุ์ชะนี ของดีเกาะช้างใน งานวันผลไม้และของดีเกาะช้าง ประจ�าปี

2555 ที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

(อพท.)ร่วมกับหลายหน่วยงานจัดขึ้นโดยน�าทุเรียนพันธุ์ชะนีคุณภาพเยี่ยม

จากสวนบนเกาะช้างมาประมูลจ�านวน43ลูกบรรยากาศสุดคึกคักได้ราคา

สูงสุดลูกละ 15,500 บาท มูลค่ารวมของการประมูลสูงถึง 70,900 บาท

โดยรายได ้ทั้ งหมดน�าไปสมทบเข ้ากองทุนส ่งเสริมผู ้ปลูกทุ เรียนเกาะช ้าง

เมื่อวันที่1พฤษภาคม2555นายนพดลศรีสุขรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราดได้เป็นประธาน

ในการประมูลทุเรียนพันธุ ์ชะนี ของดีเกาะช้าง ในงานผลไม้และของดีเกาะช้าง ครั้งที่ 3

ประจ�าปี2555ที่ส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงองค์การบริหารการพัฒนา

พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

(ธ.ก.ส.) เทศบาลต�าบลเกาะช้างและสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราดจัดขึ้นเพื่อการ

อนุรักษ์ทุเรียนพันธุ ์ชะนีบนเกาะช้าง ก่อนที่เกษตรกรจะเลิกปลูกทุเรียนและหันไปขายที่ดิน

เพราะที่ดินบนเกาะช้างราคาสูงขึ้นทุกวัน

บรรยากาศของการประมูลทุเรียนพันธุ์ชะนีของดีเกาะช้างก็เป็นไปอย่างคึกคักมีผู้สนใจ

จากหลายสาขาอาชีพมาร่วมท�าการประมูลกว่า20ราย โดยทาง เจ้าหน้าที่ของอพท.และ

เทศบาลต�าบลเกาะช้างได้คัดเอาทุเรียนที่มีคุณภาพสุดยอดของแต่ละสวนบนเกาะช้างทุกลูก

โดยชาวสวนที่เข้าร่วมน�าทุเรียนมาขายเข้าโครงการรับซื้อทุเรียนเพื่อน�ามาประมูลในราคาลูกละ

200 บาท ได้แก่ นายประกฤต ครุพานิช, นางจินตนา ภรินทนันท์, นายสมหวัง ภรินทนันท์,

นางมณีแซ่พู่,นายประสงค์และนายเนรมิตนพวรรณที่น�าทุเรียนมาสมทบเข้ากองทุนส่งเสริม

ผู ้ปลูกทุเรียนเกาะช้างโดยไม่คิดมูลค่า

Page 17: DASTA News No. 25

17

ทุเรียนพันธ์ุชะนีบนเกาะช้าง เป็นทุเรียนปลอดสารพิษปลูกในดินภูเขาไฟที่มีแร่ธาตุและได้รับอิทธิพลจาก

น�้าทะเลท�าให้ทุเรียนเกาะช้างมีคุณภาพต่างจากทุเรียนในพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศพร้อมจัดตกแต่งบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและเป็น

เอกลักษณ์ของชาวตราดคือน�างอบหมวกสานจากใบจากของดี ต�าบลน�้าเชี่ยว อ�าเภอแหลมงอบจังหวัดตราดมาดัดแปลง

ทุเรียนที่คัดสรรมีจ�านวน43ลูกด้วยกันกติกาการประมูลคือราคาเริ่มต้นที่500บาทโดยใช้วิธียกป้ายประมูล

ครั้งละ 200 บาท มีผู ้ประมูลจากทุกคนในทุกภาคส่วน สมาคมเกษตรของจังหวัดตราดมาร่วมด้วย โดยแต่ละคนมีร่วม

ประมูลทั้งหมด 22 ราย ได้แก่ ณ ธารา เกาะช้าง รีสอร์ท, ก�านันวันรุ ่ง ขนรกุล ผู ้บริหารโคล่อน รีสอร์ท, น.ท. สมบัติ

บุญเกิดพานิชนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด,นายกิติพัฒน์ไฉไลสุขสมบัติธ.ก.ส.สาขาเกาะช้าง,นายกิตติ

โกสินสกุลสมาคมการประมงจังหวัดตราด,นายนุกูลริ้วเหลืองผู้บริหารเกาะช้างเรสซิเด้นท์,ผู้แทนผู้บริหารใบหยกทาวเวอร์,

รายการภัตตาคารบ้านทุ่งช่องTPBS,โรงแรมเกาะช้างแกรนด์ออร์คิด,นายด�ารงชัยชีวะสุขะผู้บริหารบ้านไทรีสอร์ท,

นายสว่างชื่นอารมย์ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราด,บ้านลูกช้างวิพากษ์เกาะช้าง,นางวาธินีนับกระโทกผู้บริหาร

ZapBar,นายชุมพลทรัพย์ประสพนายอ�าเภอเกาะช้าง,นายนพดลศรีสุขรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด,คลองพร้าว

รีสอร์ท, นายไมตรี ตระกูลชินรัตน์ เกษตรอ�าเภอเกาะช้าง, นายภิญโญฐิติพิทยาบริษัทสุวรรณภูมิบูรพา, นายนพรัตน์

ชมเชยผู ้บริหารเกาะช้างคชารีสอร์ท,นายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐก�านันต�าบลไม้รูดและนายTommiHamalainen

นักท่องเที่ยวฟินแลนด์ที่สนใจเข้าร่วมประมูลทุเรียนเพื่อสมทบกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและน�าไปรับประทานอีกด้วย

ส�าหรับผลการประมูลทุเรียนลูกแรกก็ได้ราคาประมูลสูงถึง6,000บาทโดยผู้ประมูลเป็นผู้บริหารของเกาะช้าง

เรสซิเดนส์ ไฮไลท์การประมูลทุเรียนครั้งนี้อยู ่ที่ทุเรียน3ลูกสุดท้ายที่มีการให้ราคาสูงมากโดยลูกที่1คือก�านันต�าบล

เกาะช้างก�านันวันรุ่งขนรกุลให้ราคาอยู่ที่5,500บาทลูกที่2ผู้แทนผู้บริหารโรงแรมใบหยกทาวเวอร์กรุงเทพมหานคร

ให้ราคาอยู่ที่ 7,500 บาท และที่ฮือฮาที่สุดอยู ่ที่ลูกสุดท้ายคือทุเรียนพันธุ ์ชะนี น�้าหนัก 4.5 กิโลกรัม ผู ้ประมูลให้ราคา

สูงถึง 15,500 บาท ได้แก่ผู ้บริหารของโรงแรมคลองพร้าวรีสอร์ท เกาะช้าง ซึ่งยอดรายได้จากการประมูลทั้งหมดของ

ทุเรียน43ลูกคือ70,900บาทซึ่งรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายอพท.ผู ้จัดงานประมูลมอบให้กองทุนส่งเสริมผู ้ปลูก

ทุเรียนเกาะช้าง

บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความคึกคักสนุกสนาน ผู ้เข้าร่วมประมูลต่างแข่งขันกันประมูล และได้ทุเรียนไป

คนละหลายลูก ส ่วนใหญ่ประมูลไปเป็นของขวัญของฝากให้ผู ้หลักผู ้ใหญ่ญาติสนิท เพื่อให ้ได ้ลิ้มรสทุเรียนชะนี

เกาะช้างโดยผู้ประมูลพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าชื่นชอบในรสชาติทุเรียนเกาะช้างเพราะมีรสชาติอร่อยเนื้อเหนียวเนื้อแห้ง

ไม่เละ เม็ดเล็ก เปลือกบาง

ส�าหรบัประธานการจดังาน

ป ร ะมู ล ใ น ค รั้ ง นี้ พ ล ต รี หญิ ง

จรัสพิมพ์ธีรลักษณ์ผู้จัดการพื้นที่

พเิศษหมูเ่กาะช้างและพืน้ทีเ่ชือ่มโยง

องค์การบรหิารการพฒันาพืน้ทีพ่เิศษ

เพื่ อการท ่อง เที่ ยวอย ่ างยั่ งยืน

(อพท.) กล ่าวถึ งวัตถุประสงค ์

การจัดการประมูลในครั้ งนี้ ว ่ า

ป ัจจุบันราคาที่ดินบนเกาะช ้าง

มี ราคาสู งมากท� าให ้ เกษตรกร

ชาวสวน เลิกประกอบอาชีพการ

ท�าสวนทุเรียนหลายรายได้เปลี่ยน

เป็นอาชีพอื่นเนื่องจากราคาผลผลิต

ที่ขายไม่คุ ้มค่ากับต้นทุนที่ลงไป

นอกจากนี้ทุเรียนชะนีเกาะช้างยัง

ปลอดสารเคมี มีคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีสารไอโอดีนและวิตามินอีสูงอีกด้วย

การประมูลทุเรียนชะนีของดีเกาะช้างในครั้งนี้ นับว่าประสบผลส�าเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยรายได้จากการประมูลทั้งหมด

70,900บาทอพท.ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายจะน�าไปเข้ากองทุนชาวสวนผู้ปลูกทุเรียนเกาะช้างเพื่อส่งเสริมให้ทุเรียนพันธุ์ชะนี

นั้นอยู่คู ่กับเกาะช้างสืบไป

Page 18: DASTA News No. 25

คณะท�างานการรบัรองแหล่งท่องเที่ยวชมุชน มมีติเลอืก 13 ชมุชน

ผ่านเกณฑ์การรบัรองแหล่งท่องเที่ยวชมุชน ประจ�าปี 2555

18

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง

ยั่งยืน (อพท.) โดยส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน(สทช.)ได้จัดประชุม

คณะท�างานการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชนครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10

พฤษภาคม2555ณห้องประชุม อพท.1ชั้น31ถนนพระรามหก

กรุงเทพฯซึ่งในการประชุมได้มีการคัดสรรแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อ

เข้าสู ่กระบวนการพัฒนาตามเกณฑ์รับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชนใน

พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากส�านักงานพื้นที่พิเศษ

1–6 จนได้ข้อสรุปว่า มีชุมชนในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง

ยั่งยืน ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 13 ชุมชน

ที่ผ่านมา ส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน และส�านักงานพื้นที่

พิ เศษ 1–6 ได ้ลงพื้นที่อย ่างต ่อเนื่อง ระหว ่างเดือนเมษายน –

เดือนพฤษภาคม2555โดยได้จัดเวทีการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ในพื้นที่พิเศษและส�ารวจเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

เข้าสู ่กระบวนการการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นชุมชน

น�าร่องการพัฒนาและท้ายที่สุดอพท.จะมอบรางวัลแก่ชุมชนที่มี

การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในปี2556ผ่านเวทีสัมมนาใหญ่

ประจ�าปีของอพท.โดยชุมชนที่ได้รับรางวัลจะต้องรักษามาตรฐาน

ท่องเที่ยวโดยชุมชนสม�่าเสมอทุกปีหลังจากที่ได้รับรางวัลไปแล้ว

การประชุมคณะท�างานรับรองแหล ่งท ่องเที่ยวชุมชน

ครั้งที่3นี้ต้องการน�าข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ทั้งหมดมาพิจารณา

ตัดสินคัดเลือกชุมชนที่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามเกณฑ์การรับรอง

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ส�าหรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย

ผู้แทนจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

อาทิการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่ง

ประเทศไทย,สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน,สมาคมไทยท่องเที่ยว

เชิงอนุรักษ์และผจญภัย, สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่ง

ประเทศไทย, สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย, ชุมชน

น�าเที่ยวบ้านปราสาท, ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านแม่ก�าปอง,

สมาคมองค์การบริหารส่วนต�าบลแห่งประเทศไทย,มหาวิทยาลัย

อัสสัมชัญ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร ์ , มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม และส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท.

ส�าหรับพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง(สพพ.1)

มีชุมชนที่ผ่านการคัดเลือก 2 ชุมชนคือ ต�าบลน�้าเชี่ยว และต�าบล

แหลมกลัด โดย ต�าบลน�้าเชี่ยว มีจุดเด่นด้านการจัดการรวมกลุ ่ม

ของคนในชุมชนทั้งชาวพุทธมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

และมีภูมิป ัญญาท้องถิ่น มีกลุ ่มยุวชนต้นน�้า มีการร่วมกิจกรรม

ก�าจัดขยะที่ไม่ใช่แค่กลุ ่มใดกลุ ่มหนึ่งด�าเนินการซึ่งคณะท�างาน

รับรองแหล่งท่องเที่ยวฯวาดฝันว่าอยากให้บ้านน�้าเชี่ยวเป็นต้นแบบ

การสร้างตลาดเฉพาะNicheMarketส่วนต�าบลแหลมกลัดถือเป็น

ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ของตนมีชายหาดที่สวยงามมีหอยตลับขาวและ

ปลาโลมาหัวบาตร น�้าตก และอ่างเก็บน�้า นักท่องเที่ยวเพลิดเพลิน

ชมหิ่งห้อยยามค�่าคืน ป่าธรรมชาติติดชายแดนประเทศกัมพูชาตรง

ช่วงเทือกเขาบรรทัด และมีสินค้าที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกมากแต่

ยังขาดการจัดการด้านการตลาดให้เกิดการลงตัว

พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (สพพ.2)มี2ชุมชนที่ผ่าน

การคัดเลือกคือบ้านสันลมจอยและบ้านไร่กองขิงซึ่งทั้ง2ชุมชน

นี้ ยึดถือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

บ้านสันลมจอย มีความโดดเด่นเรื่องวิถีของชนเผ่าลาหู ่

(มูเซอ)ชนเผ่าลีซู (ลีซอ)และคนเมืองอาศัยอยู่ร่วมกันซึ่งอยู่ไม่ไกล

จากเขตเมืองเชียงใหม่ภูมิประเทศอยู่ติดกับเชิงดอยสุเทพและอุทยาน

แห่งชาติสุเทพ-ปุย วิถีการสร้างที่พักอาศัยยังคงยึดถือต้นแบบการ

สร้างบ้านบนภูเขา และสวมใส่ชุดชาวเขาเพื่อคงอัตลักษณ์ในวิถี

ชนเผ่าอย่างชัดเจนคนในชุมชนมีรายได้จากการสานกระเป๋าย่านลิเภา

ซึ่งรับวัตถุดิบมาจากภาคใต้แถวจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วน�ามาขึ้น

กระเป๋าท�าหูหิ้วและลงลายที่บ้านไร่กองขิง หลังจากนั้นจึงส่งไปขาย

ที่กรุงเทพฯโดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ส่วนบ้านไร่

กองขิง มีจุดเด่นเรื่องการท�าปุ ๋ยอินทรีย์ และการจัดการขยะ รวมทั้ง

การด�าเนินการกิจกรรมออมทรัพย์ในชุมชน มีประเพณีบูชาธารน�้า

ไหว้พระแม่คงคา

พืน้ทีพ่เิศษเมอืงพทัยาและพืน้ทีเ่ชือ่มโยง(สพพ.3)มี2ชมุชน

คือ ต�าบลห้วยใหญ่ และต�าบลตะเคียนเตี้ย

ต�าบลห้วยใหญ่ เด่นในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนแม้ว่าชุมชนนี้จะยังไม่ได้พัฒนาการท่องเที่ยวแต่ก็มีการวาดฝัน

ถึงแผนการในอนาคตว ่าต ้องการจะพัฒนาอะไรให ้ เกิดขึ้นบ ้าง

Page 19: DASTA News No. 25

19

ซึ่งอยู ่ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนา ขณะที่ ต�าบลตะเคียนเตี้ย มีจุดเด่น

ในการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบด้านวัฒนธรรมได้ เพราะมีเสน่ห์ใน

ภูมิปัญญาของชาวบ้าน แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู ้จักของนักท่องเที่ยว

พื้นที่พิ เศษอุทยานประวัติศาสตร ์สุ โขทัย-ศรีสัชนาลัย-

ก�าแพงเพชร (สพพ. 4) มี 3 ชุมชน คือ ต�าบลเมืองเก่า และบ้าน

คุกพัฒนาซึ่งทั้งสองชุมชนนี้อยู ่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยนอกจากนี้

ยังมีต�าบลนครชุม ในพื้นที่จังหวัดก�าแพงเพชร

ส�าหรับต�าบลเมืองเก ่า จังหวัดสุโขทัยมีวัฒนธรรมการ

แกะสลักไม้ การท�ากรอบรูปและการท�าบ้านทรงไทยจากเศษไม้

มีภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่หลากหลายมีกลไกการจัดการชุมชน

ที่เข้มแข็ง เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมกับ 12 ชุมชน มีการให้

ความร่วมมือกับกรมศิลปากรในการช่วยอนุรักษ์ซึ่งจะสนับสนุนเรื่อง

องค์ความรู้และการสื่อความหมายของชุมชนรวมทั้งจะพัฒนาเส้นทาง

ท่องเที่ยวและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยว

ต�าบลนครชุมจังหวัดก�าแพงเพชรมีความโดดเด่นในเรื่อง

การท�าพระเครือ่งมตีลาดย้อนยคุโบราณและงานศลิปะชัน้สงูนอกจากนี้

นายกเทศมนตรีก�านันก็มีส่วนผลักดันในการพัฒนาชุมชนและการ

ท่องเที่ยวซึ่งจะสนับสนุนการต่อยอดผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด

และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

บ้านคุกพัฒนาในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยชุมชนนี้เป็นชุมชน

ที่มีศูนย์การเรียนรู ้ เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง

มีการใช้พลังงานทดแทน มีการวางแผนการท่องเที่ยวแต่ยังไม่ได้

ถูกน�ามาปฏิบัติ

พื้นที่พิเศษเลย(สพพ.5)จากการพิจารณา4พื้นที่ ได้ข้อ

สรุป 2 ชุมชนที่ผ่านการคัดเลือก คือ ต�าบลกกสะทอน และต�าบล

บ้านปลาบ่า

ต�าบลกกสะทอนอ�าเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยเป็นชุมชนที่มี

ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวจ�านวนมากมีภูลมโล ซึ่งมีต้นนางพญา

เสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) ออกดอกบานสะพรั่ง 3 เดือนต่อปี อยู่ที่

หมู่ที่7มีชาวม้งอาศัยอยู่มีน�้าตกและรอยเท้าไดโนเสาร์ประกอบด้วย

12หมู่บ้านมีการปลูกข้าวไร่และงานสู่ขวัญข้าวงานบุญประเพณี

แต่ยังเกิดปัญหาการเข้าถึงเพราะระยะทางไกลมากต้องขึ้นเขายังไม่มี

มาตรฐานความปลอดภัย แต่ชุมชนนี้มีความสามัคคี ถ้าน�าจุดเด่น

เรื่องการปลูกข้าวไร่มาชูเป็นจุดขายเพิ่มเติมจากการชมทุ่งดอกนางพญา

เสือโคร่งที่ภูลมโลนอกจากนี้อพท.จะต้องท�ากลไกการบริหารจัดการ

ความปลอดภัยในพื้นที่สร้างกิจกรรมดึงดูดนอกฤดูกาลดอกซากุระบาน

จุดเด่นของชุมชนนี้คือแทบจะไม่ต ้องพึ่งพาแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ

โดยเฉพาะชุมชนในหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 2

ต�าบลบ้านปลาบ่าเป็นชมุชนหนึง่ทีอ่ยูต่ดิกบัสวนรกุชาตภิแูปก

เป็นชุมชนที่มีการพัฒนาพืชเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดสารพิษ

มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพื้นที่สูงภูเรือ จังหวัดเลย สามารถ

เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวครอบครัวและกลุ่มศึกษาดูงานเช่นการศึกษา

ดูงานการปลูกกะหล�่าปลีรูปหัวใจและมีจุดเด่นคือมีอากาศหนาวเย็น

ที่สุดในประเทศไทยท�าให้มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเดินทางมาเที่ยวชม

แม่คะนิ้ง ซึ่งอพท.จะต้องเข้าไปจัดการเรื่องการส่งเสริมการตลาด

การจัดการเส้นทางท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงพื้นที่

รวมทั้งจัดท�าคู ่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว

Page 20: DASTA News No. 25

20

ผลการคัดเลือกชมุชนที่เข ้าเกณฑ์การรับรองแหล่งท่องเที่ยวชมุชนพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชื่อชมุชนสพพ. 1 ต�าบลน�้าเชี่ยว, ต�าบลแหลมกลัดสพพ. 2 บ้านสันลมจอย, บ้านไร่กองขิงสพพ. 3 ต�าบลห้วยใหญ่, ต�าบลตะเคียนเตี้ยสพพ. 4 ต�าบลเมืองเก่า, บ้านคุกพัฒนา, ต�าบลนครชมุสพพ. 5 ต�าบลกกสะทอน, ต�าบลบ้านปลาบ่าสพพ. 6 เขตเมือง (ชมุชนมหาโพธิ์ ชมุชนพระเกิด ชมุชนเขตกลาง ชมุชนหัวแหวนเมืองน่าน และบ้านหนองเต่า) เขตนอกเมือง ต�าบลบ่อสวก

พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (สพพ. 6) มีการเสนอชุมชนเข้า

คัดสรร 9 ชุมชน แต ่คณะท�างานจ�าเป ็นต ้องคัดสรรเลือกเพียง

2พื้นที่คือ เขตเมือง (ชุมชนมหาโพธิ์ชุมชนพระเกิดชุมชนเขตกลาง

ชุมชนหัวแหวนเมืองน่านและบ้านหนองเต่า)พื้นที่ดังกล่าวมีพระธาตุ

แช่แห้ง ซึ่งเป ็นโบราณสถานคู ่บ ้านคู ่ เมืองน่านที่แสดง ความรัก

และความสัมพันธ ์อันดีระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

และเขตนอกเมืองต�าบลบ่อสวกมีบ่อเกลือโบราณเป็นแหล่งเตาเผา

โบราณ การท�าน�้าตาลอ้อย และงานทอผ้าลายพื้นเมืองน่าน และมี

โฮมสเตย์ที่สามารถส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อนและ

เดินทางเข้าสู่เขตเมืองได้ง่ายไม่ไกลนักก็สามารถสัมผัสวิถีชนบทได้

อยู ่ห ่างจากเมืองน่าน 15 กิโลเมตรและห่างจากพระธาตุแช่แห้ง

14 กิโลเมตร ซึ่ง อพท. ต้องการพัฒนาบ่อสวกเป็นแหล่งเรียนรู ้

เครื่องปั ้นดินเผา

ส�าหรับกระบวนการด�าเนินการแก่ชุมชนน�าร ่องทั้ง 13

ชุมชนนี้ คณะท�างานการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สทช. และ

ส�านักงานพื้นที่พิเศษ1–6จะร่วมกันด�าเนินงานดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ

ภายในปีงบประมาณพ.ศ. 2555

1. ประเมินผลตามเกณฑ์การรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นฐานในการท�างาน และวางแผนน�ามาพัฒนา

2.จัดท�าแผนพัฒนารายชุมชนเพื่อต่อยอดการพัฒนาแหล่ง

ท่องเที่ยวและเติมเต็มส่วนที่ขาดไปตามแผนพัฒนารายชุมชน

3.จัดกิจกรรมพัฒนาอย่างน้อย2กิจกรรมตามแผนพัฒนา

รายชุมชน เพื่อช่วยให้การด�าเนินตามแผนรายชุมชนบรรลุผล

4. สนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดกิจกรรมตาม

แผนพัฒนารายชุมชน เพื่อช่วยให้การด�าเนินการตามแผนพัฒนา

รายชุมชนบรรลุผล

ส�าหรับชุมชนที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือชุมชนอื่นๆในพื้นที่

สพพ. 1–สพพ. 6 อพท. ก็ยังให้การสนับสนุนงบประมาณในการ

พัฒนาการท่องเที่ยวตามโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่

พิเศษปี2554แต่ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง

ให้ได้ตามเกณฑ์การรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้ได้ 100 เกณฑ์

Page 21: DASTA News No. 25

กลอนจังหวดัสโุขทัย

สโุขทัย เมอืงเก่า เล่าประวตัิ ภมูิทัศน์ งามตา น่าหลงใหล

อทุยาน ศรสีชันาลยั ดินแดนใหญ่ ประวตัิศาสตร์ ชาติค�านงึ

ราชธาน ี ของไทย ที่ใหญ่ยิ่ง คงอ้างอิง เมืองเก่า ยงัเล่าถึง

ก�าแพงเมอืง คูเมอืง ยงัตราตรึง ค�านงึถึง ย้อนไป ไม่ลืมเลอืน

พ่อขนุราม ค�าแหง มหาราช มหาธาต ุ วดัใหญ่ ก็ไถ่ถาม

มรดกโลก ยิ่งใหญ่ อลงัการ ผู้คนขาน เลื่องลอื ยึดถอืมา

ลอยกระทง เผาเทยีน เล่นไฟใหญ่ คนหลงใหล ชวนมา พาสุขสนัต์

รุ่งอรณุ แห่งความสขุ ทุกคนืวนั อย่างมิตรฉนัท์ เพื่อนพ้อง ต้องใจเอย

ประพันธ์โดย นายอดิศร จันทะวัน เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว

21

Page 22: DASTA News No. 25

22

หลังจากหายข้อสงสัยแล้วพวกเราก็ไปเดินออกมาจากวัด

และแวะชมของฝาก เช่น พวงกุญแจ โมบายปลาตะเพียน ก�าไล

ข้อมือ ภาพวาดพระพุทธรูป และอื่นๆ มากมาย และขึ้นรถเพื่อไป

ชมวัดช้างล้อมกันต่อระหว่างการเดินทางพวกเราได้ผ่านวัดตระพังทอง

(ค�าว่า“ตระพัง”หมายถึงสระน�้าหรือหนองน�้า) เป็นโบราณสถาน

ที่อยู่ติดชุมชนมีพระสงฆ์จ�าพรรษาอยู่ เจดีย์ตั้งอยู่กลางตระพังทอง

มีกว้างยาวด้านละประมาณ200 เมตรภายในวัดมีพระอุโบสถเก่า

อยู ่ทางทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถใหม่นั้นราษฎรเรี่ยไรเงินกัน

สร้างขึ้นอยู ่ทางทิศตะวันตก ที่วัดตระพังทองนี้ได้ถูกใช้เป็นสถานที่

จัดงานแสดงแสงสีเสียงแบบย่อทุกวันเสาร์ต้นเดือนพวกเราเสียดาย

มาที่ไม่ได้มาตรงกับช่วงนั้น ไม่งั้นเราคงได้มีโอกาสชมบรรยากาศ

การแสดงที่สวยงามของศิลปวัฒนธรรมไทยที่หาดูได้ที่สุโขทัยที่เดียว

หลังจากผ ่านวัดตระพังทองมาแล ้วพวกเราก็ได ้นึกถึง

ค�าแนะน�าของพี่แอนว่าช้างสุโขทัยจะต่างกับช้างที่ก�าแพงเพชรอย่างไร

จนกระทั่งพวกเราได้เดินทางมาถึงวัดช้างล้อม ระหว่างเส้นทางที่

พวกเราเดินทางมาดูเหมือนว่าไม่ได้มีการรับการดูแลเท่าไหร่นัก

เพราะเส ้นทางที่ เข ้าวัดช ้างล ้อมเป ็นทางแคบๆ มีสะพานเล็กๆ

ข้ามคลองและไม่มีป้ายบอกทางใดๆเลยเมื่อมาถึงหน้าวัดช้างล้อม

พวกเราไม่อยากลงจากรถเลยเพราะอากาศร้อนมากแต่ด้วยความ

อยากรู้ว่าช้างสุโขทัยจะต่างกับช้างที่ก�าแพงเพชรอย่างไรท�าให้พวกเรา

ต้องลงไปอ่านป้ายความรู ้และเดินชมวัดช้างล้อมเพื่อดูช้างสุโขทัย

ของจริง ในวัดช้างล้อมมีเจดีย์ทรงกลมและมีก�าแพงแก้วล้อมรอบ

รอบเจดีย์มีช้างล้อมรอบโผล่ออกมาครึ่งตัวแต่ภาพของความเป็นจริง

ช้างที่พวกเราเห็นกลับเหมือนหมูมากเพราะงวงช้างและงาช้างได้หักไป

แล้วตามกาลเวลาจากการลงมาชมของจริงท�าให้เราได้รู ้ว่าช้างของ

สุโขทัยกับช้างของก�าแพงเพชรต่างกันตรงที่ช้างของสุโขทัยโผล่มา

ครึ่งตัวหัวและขาหน้าไม่มีเครื่องทรงหรือลวดลายปูนปั้นและขนาด

ความสูงของช้างสุโขทัยก็ไม่สูงเท่าช้างก�าแพงเพชรท�าให้รู้สึกว่าช้าง

สุโขทัยท�างานเบากว่าเพราะแบกเจดีย์แค่หลังเท่านั้นส่วนช้างก�าแพง

เพชรที่โผล่มาเพียงหัวและขาหน้าท�าให้ดูเหมือนต้องแบกเจดีย์ทั้งตัว

อีกทั้งยังมีเครื่องทรงประดับเต็มไปหมดท�าให้ดูน่าอึดอัดและเหนื่อย

น่าดู หลังจากที่ได้รู ้ถึงความแตกต่างกันเรียบร้อยแล้วพวกเราก็นั่ง

รถกลับที่พักเพื่อท�าภารกิจส่วนตัวและเก็บสัมภาระ

หลังจากออกจากที่พักพวกเราก็นั่งรถไปทานข้าวที่ร ้าน

อาหารชื่อ“บ้านไม้กลางกรุง”มองจากด้านนอกมีแต่ต้นไม่ดูรกครึ้ม

ไปหมด แต่เมื่อเดินผ่านเข้ามาด้านในร้านพวกเรารู ้สึกเหมือนย้อน

กลับไปในสมัยอดีตเลยเพราะพ่อครัวแม่ครัวคนเสิร์ฟอาหารแต่งชุด

พื้นเมืองสมัยอดีตทั้งหมดรวมไปถึงอาหารที่มีการจัดแต่งจานอาหาร

ด้วยใบตองท�าให้ภาชนะมีความสวยสดงดงามเหมือนเราได้ทาน

อาหารในพระราชวังมีการตกแต่งร้านด้วยของเก่ารสชาติอาหารก็

อร่อยเป็นเอกลักษณ์ของร้านขณะทานข้าวก็มีเสียงดนตรีไทยให้ฟัง

ท�าให้บรรยากาศในร้านนั้นเหมือนกับนั่งทานอาหารอยู่ในสมัยอดีตเลย

หลังอาหารเที่ยงพวกเราก็นั่งรถมุ่งไปยังอ�าเภอศรีสัชนาลัย

ขณะนั่งรถพวกเราไม่ได้รับรู ้กับสิ่งต่างๆ ข้างทางเลยเนื่องจากหลับ

กันมาตลอดทางพอรู ้ตัวอีกทีก็มาอยู ่ที่หมู ่บ ้านโฮมสเตย์บ้านนา

ต้นจั่นซึ่งเป็นที่พักและที่เรียนรู ้อีกแห่งหนึ่ง เมื่อมาถึงบ้านนาต้น

จั่น “แม่เสงี่ยม” ประธานโฮมสเตย์ได้ออกมาต้อนรับพวกเราอย่าง

อบอุ ่นและพาได้แนะน�าแม่ที่พวกเราจะพักด้วยและน�าพวกเราไป

ที่บ ้านเพื่อเก็บสัมภาระ หลังจากนั้นพวกเราได้มารวมตัวกันเพื่อ

รับประทานอาหารเย็นที่บ ้านแม่เสงี่ยม แม่เสงี่ยมได้เล่าให้ฟังว่า

ที่หมู ่บ้านได้ชื่อว่า “นาต้นจั่น” เพราะว่ามีต้นจั่นขึ้นอยู ่มากมายจึง

เป็นที่มาของชื่อของหมู่บ้าน อาหารพื้นเมืองที่นี่บางอย่างก็เหมือน

กับอาหารบ้านเรา อาหารบางอย่างดูแปลกตาแต่ว ่ารสชาตินั้น

อร่อยมากแม่เสงี่ยมได้ท�าอาหารให้เราเลือกถึง7อย่างซึ่งมีจ�านวน

อาหารมากกว่าที่บ ้านโฮมสเตย์อื่นๆ ที่ เราเคยได้ไปมาปกติจะมี

อาหารให้เรา3 -4อย่างเท่านั้นและเพิ่มกับข้าวที่หมดให้กับพวก

เราตลอดเวลาจนพวกเราทานกันจนอิ่มหน�าส�าราญอาหารพื้นเมือง

ที่น�ามาเลี้ยงพวกเรา ได ้แก ่ ย�าผักกูด ผัดเห็ด ลาบหมู หมูทอด

ต ้มหมู ไข ่ เจียว เป ็นต ้น หลังรับประทานอาหารมีพิธีผูกข ้อมือ

รับขวัญโดยมีผู ้ เฒ่าผู ้แก่ภายในชุมชนมาผูกข้อมือและอวยพรให้

พวกเรามีความสุขความเจริญ แม่เสงี่ยมบอกว่าพิธีผูกข้อมือรับ

ขวัญนี้เป็นพิธีโบราณซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา ท�าให้พวกเราสัมผัสถึง

บนัทึกเดินทางยวุชน อพท.ตอนที่4

Page 23: DASTA News No. 25

23

ความอบอุ่นที่ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่นมีให้เราเมื่อเสร็จพิธีแม่แต่ละบ้าน

ก็มารับพวกเรากลับไปบ้านท�าภารกิจส่วนตัวและเข้านอนอย่างมี

ความสุขภายใต้อากาศที่เย็นสบาย

วันที่สามของการเดินทางวันนี้เป็นวันออกพรรษาตรงกับ

วันที่ 12 ตุลาคม อากาศตอนเช้าเย็นสบาย ท้องฟ้าแจ่มใส ท�าให้

พวกเราอดตักบาตรหน้าบ้านเพราะต้องไปท�าบุญที่วัดนาต้นจั่นซึ่ง

เป็นวัดประจ�าหมู่บ้าน แม่เสงี่ยมได้น�าผ้าถุงที่ท�าจากผ้าหมักโคลน

ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบ้านนาต้นจั่น ที่น�าผ้าไปหมักโคลนนั่นก็เพื่อ

ท�าให้ผ้ามีความนุ่มไม่แข็งกระด้าง

พวกเรารู ้สึกตื่นเต้นมากเพราะเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสใส่

ผ้าถุงไปท�าบุญและยังเป็นผ้าถุงที่พิเศษไม่เหมือนที่อื่นเพราะเป็น

สินค้าขึ้นชื่อของหมู ่บ้านนาต้นจั่น ครั้งแรกคิดว่ามีเพียงเราเท่านั้น

ที่ใส ่ผ ้าถุงไปท�าบุญแต่เมื่อพวกเราเดินออกมานอกบ้านต่างคน

ต่างยิ้มแย้มทักทายกัน

มีวัยรุ ่น วัยกลางคน และวัยชรา ใส่ผ้าถุงไปท�าบุญที่วัด

เช่นเดียวกับเราซึ่งภาพที่เราเห็นนั้นท�าให้เกิดความประทับใจที่เห็น

วยัรุน่ใส่ผ้าถงุไปท�าบญุซึง่ในปัจจบุนัหาดไูด้ยากเพราะปัจจบุนัส่วนใหญ่

จะใส่กางเกงหรือกระโปรงสั้นๆใส่เสื้อรัดรูปร่างสีสันฉูดฉาดดูแล้ว

ไม่สุภาพและขัดต่อวัฒนธรรม ไม่เหมาะสมกับการใส่ไปประกอบ

พิธีกรรมทางศาสนา แต ่วันนี้ภาพเบื้องหน ้าที่ เราเห็นคือภาพที่

หญิงไทยสวมใส่ผ้าถุงไปบุญ ยังบ่งบอกถึงการสืบสานวัฒนธรรม

พื้นบ้านที่ยังคงสืบสานต่อมาจนถึงรุ ่นลูกรุ ่นหลานและคาดว่าภาพ

เช ่นนี้ยังคงอยู ่ ไม ่ เลือนหายไปจากวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะที่

บ้านนาต้นจั่น

เมื่อพวกเราไปถึงวัดนาต้นจั่นได้เห็นว่าเป็นวัดขนาดเล็กๆ

ประจ�าหมู ่บ ้าน ภายในวัดเต็มไปด้วยชาวบ้านท�าให้บรรยากาศ

ครึกครื้นมากขึ้นแต่ละบ้านจะเตรียมอาหารของคาวของหวานใส่ปินโต

มาจากบ้านของตนเอง ในเรื่องของการท�าบุญก็ไม่ต่างจากที่ต ่าง

มากนักแต่สิ่งที่พวกเราประหลาดใจคือในวัดมีพระสงฆ์เพียงรูปเดียว

แต่มีปิ นโตและส�าหรับอาหารจ�านวนมากมายที่วางไว ้เผื่อเตรียม

ถวายท่านพวกเราเกิดความสงสัยจึงได้สอบถามกับชาวบ้านท�าให้รู้ว่า

วัดนี้เป็นวัดเล็กๆที่อยู่ในหมู่บ้านห่างไกลจากตัวเมืองไม่มีสิ่งอ�านวย

ความสะดวกที่ครบครันเหมือนที่อื่น รวมถึงที่อยู ่อาศัยท�าให้ไม่มี

พระสงฆ์อยากมาจ�าพรรษาที่วัดแห่งนี้

ที่วัดเคยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นมาจ�าพรรษาแต่เนื่องจาก

ที่วัดไม่มีสิ่งอ�านวยความสะดวกจะท�าให้ท่านย้ายกลับไปจ�าที่วัดเดิม

ของท่านทุกวันนี้จึงเหลือแต่ท่านเจ้าอาวาสเพียงรูปเดียวเท่านั้น

หากเวลาที่วัดมีกิจของสงฆ์ทางวัดก็ต้องไปนิมนต์พระจากที่วัดอื่น

มาร่วมพิธี

ในวันนี้พวกเรายุวชนอพท.และชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงิน

ตามก�าลงัของตนเองเงนิก้อนนีจ้ะน�าไปเป็นค่าใช้จ่ายค่าสาธารณปูโภค

และซ่อมแซมวดัเพือ่เตรยีมรบัขบวนผ้าป่าจากกรงุเทพทีจ่ะมาทอดผ้าป่า

ในเร็วๆนี้และส่วนที่เหลือจะถวายแก่พระสงฆ์เพื่อใช้เป็นปัจจัยใน

การใช้จ่ายเรื่องต่างๆที่จ�าเป็นบรรยากาศของการท�าบุญในเช้าวันนี้

อบอวลไปด้วยกลิน่ธปูและดอกไม้ทีช่าวบ้านน�ามาท�าบญุการตกับาตร

จะเป็นการตักบาตรด้วยข้าวเหนียวซึ่งต่างจากที่อื่นๆที่ใช้ข้าวสวย

ในการตักบาตร

พวกเราและชาวบ้านต่างตั้งใจรับศีลและกรวดน�้าอุทิศ

ส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายซึ่งการ

ท�าบุญนั้นท�าให้จิตใจมีความสุขเมื่อท�าบุญเสร็จชาวบ้านต่างรวมตัว

กันอยู่ที่วัดไม่ได้พากันกลับบ้านเหมือนที่อื่นๆและมีการเชิญตัวแทน

ของกลุ่มยุวชนอพท.ไปพูดทักทายชาวบ้านเมื่อท�าบุญเสร็จด้วยความ

ที่เรายังมีข้อสงสัยที่อยู่ในใจที่ว่าวันนี้เป็นวันออกพรรษาควรจะมีการ

ตักบาตรเทโวซึ่งเป็นการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งจึงได้มีการ

ไปถามแม่เสงี่ยม ค�าตอบที่ได้คือวัดที่อยู่ในต�าบลนั้นมีพระจ�าพรรษา

อยู ่น ้อยมาก ประชากรในต�าบลมีไม่มากนักจึงมีการผลัดเปลี่ยน

หมุนเวียนวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดตักบาตรเทโวส่วนวัดที่ไม่ได้จัด

ก็จะมีการท�าบุญออกพรรษาเท่านั้นแต่ถึงอย่างไรการท�าบุญครั้งนี้

ก็เป ็นสิ่งที่สร ้างความสุขใจให้กับเราได้เป็นอย่างดีหลังจากการ

ท�าบุญตักบาตรเสร็จพวกเรากลับมาที่บ้านที่พัก

ภาพที่ได้เห็นคืออาหารที่ได้เตรียมไว้มีทั้งน�้าพริกหนุ่มโอโล

และข้าวแคบซึ่งเป็นแผ่นแป้งมองครั้งแรกเหมือนพลาสติกเลยเมื่อได้

ลองชิมก็ได้รูถึงรสชาติที่แปลกใหม่บนเนื้อแป้งมีความเค็มเล็กน้อย

จากเกลือรสเปรี้ยวเผ็ดจากพริกเมื่อน�าข้าวแคบมาห่อกับข้าวต่างๆ

ข้าวแคบแผ่นแป้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโอโลอาหารที่แสนอร่อย

นั่นเอง เมื่อทานอาหารเสร็จเราก็เก็บสัมภาระกลับมาที่รถ จากนั้น

ไปเรียนรู้ที่ศูนย์การทอผ้าหมักโคลนของชาวบ้านนาต้นจั่นการท�าผ้า

หมักโคลนของหมู่บ้าน

อ่านต่อฉบบัหน้า

Page 24: DASTA News No. 25

24

การประชาสัมพันธ ์ให ้ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป ็นที่รู ้จ

ักของ

ต่างประเทศทั่วโลกเป็นสิ่งที่ดร .ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้จัด

การพื้นที่พิเศษ

เชยีงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ความส�าคญัอยูเ่สมอล่าสดุผจก.ส

พพ.2ได้เดนิทาง

พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ไปยังประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเร

ตส์ เข้าร่วมงาน

ArabianTravelMarketทีเ่มอืงดไูบเพือ่ส่งเสรมิการตลาดแ

ละประชาสมัพนัธ์

พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (สพพ. 2) ให้เป็นที่รู ้จักไ

ปทั่วโลก

โดยวันแรกของการงานได้มีบริษัทท่องเที่ยวจากนานาชาต

ิรวมทั้ง

บริษัทน�าเที่ยวจากประเทศดูไบ สนใจเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรร ่วมกัน

ถึง 13 บริษัท และวันที่สอง มีบริษัททัวร ์ต ่างชาติเ

ซ็นสัญญาเพิ่มอีก

18บริษัท จนถึงขณะนี้มีบริษัทท่องเที่ยวนานาชาติเซ็นสัญญารวมทั้งหมด47สัญญาแสดงให้เห็นว ่า สพพ.2

เป็นที่รู ้จักในระดับโลกแล้ว

ดร.ศราวุฒิ ศรีศกุน ผจก.สพพ. 2 กล่าวว่า จากการ

หารือกับผู ้แทนบริษัททัวร์นานาชาติที่สนใจร่วมเป็น

พันธมิตรทางธุรกิจในครั้งนี้พบว่านักท่องเที่ยวต่างช

าติที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซ

าฟารี

มีการพูดกันปากต่อปากถึงความประทับใจและอยากจะ

กลับมาเที่ยวซ�้าอีกจนท�าให้เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีชื่อเสีย

งโด่งดัง

ไปทั่วโลก อีกทั้งขณะนี้ สพพ. 2 มีการปรับปรุงการบริ

การและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและการแสดงโชว์ให้สนุก

สนาน

เพิ่มขึ้น และสร้างสีสันด้วยการแจกรางวัลแก่ผู ้โชคดีที่เ

ดินทางมาท่องเที่ยวตลอดทุกสัปดาห์

ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส�านักงานดูไบจะร่วม

มือกับสพพ.2ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์

ตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศแถบตะวันออกกลางให้สน

ใจเดินทางมาเที่ยวพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มข

ึ้นและ

มีแผนที่จะน�าบริษัทน�าเที่ยวจากประเทศอิหร่านจ�านวน

20บริษัทพร้อมด้วยสื่อมวลชนต่างชาติ6คนจาก4ป

ระเทศ

เดินทางมาเที่ยวพื้นที่พิ เศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แ

ละจะเดินสายประชาสัมพันธ ์ตลาดต่างประเทศให้ม

ากขึ้น

อย่างต่อเนื่อง

“เชยีงใหม่ไนท์ซาฟาร”ี ก้าวสู่ระดบัโลกในงาน

Arabian Travel Market

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ดร.ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู ้จัดการ

พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (สพพ.2)แถลงข่าวเปิดตัวสมาชิกใหม่

ลกูเสอืโคร่งขาวเพศเมีย2ตัวที่เกิดใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ท่ามกลาง

บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุขซึ่งขณะนี้สุขภาพของสัตว์แข็งแรงเต็มที่

พร้อมน�าเข้าสู ่ส่วนแสดงโดยจะจัดให้อยู ่ในส่วนแสดงนอร์ทโซน เอาไว้

เป็นขวัญใจตัวใหม่ของเด็กๆ ที่เดินทางมาเที่ยว

นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมเชิญชวนให้ประชาชนร่วมประกวดชื่อ

เสือโคร่งขาวทั้ง2ในชื่อสากลเพื่อชิงรางวัลบัตรเข้าชมฟรีพร้อมผู้ติดตาม

2 ท่าน ในระยะเวลา 1 ปี และบัตรก�านัลมูลค่า 5,000 บาท สามารถ

ส่งรายชื่อมาได ้ที่งานประชาสัมพันธ ์ส�านักงานพื้นที่พิ เศษเชียงใหม่

ไนท์ซาฟารีวงเล็บมุมซอง“ตั้งชื่อลูกเสือขาว” เลขที่33หมู่ที่12ต�าบล

หนองควาย อ�าเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 ตั้งแต ่บัดนี้ถึง

10 มิถุนายน 2555

สพพ. 2 ต้อนรบัลกูเสอืขาว พร้อมชวนร่วมตั้งชื่อชิงรางวลั

Page 25: DASTA News No. 25

25

เมื่อวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา คณะท�างานส�านักงานพื้นที่พิเศษ

เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.3) ภายใต้การด�าเนินงานของส�านักงานบริหาร

การพัฒนาพื้นที่พิเศษอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)หรืออพท.ได้สนับสนุนอาหารและ

เครื่องดื่มส�าหรับการจัดกิจกรรมแข่งจักรยานณบริเวณสวนสาธารณะเขาทัพพระยาใน

ชื่องานPattayaM.T.B.Challenge2012ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในมหกรรมกีฬาAIR

SEALANDGAMESTHAILANDOPEN2012ที่ทางเมืองพัทยาร่วมกับสมาคมกีฬาจักรยาน

เมืองพัทยา สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้น

โดยมี นาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยะศริน อุปนายกและเลขาธิการสมาคมกีฬาทางอากาศฯ

นายมาโนชหนองใหญ่นายกสมาคมกีฬาจักรยานเมืองพัทยาเป็นประธานกล่าวเปิดงานพร้อมด้วย

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รักษาการนายกเมืองพัทยา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และ

มอบเงินส่วนหนึ่งให้กับสมาคมจักรยานเสือภูเขา

การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชส่งเสริมการ

ขี่จักรยานเสือภูเขาส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกก�าลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสร้างความแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย

จิตใจของนักกีฬาพร้อมทั้งเป็นเกราะป้องกันในเรื่องปัญหายาเสพติดอีกด้วยส�าหรับการแข่งขันจักรยานเสือภูเขารายการPattayaM.T.B.

Challenge2012ในครั้งนี้มีด้วยกันทั้งหมด18ทีมซึ่งมีระยะทางในการแข่งขันแต่ละรอบประมาณ6.5กิโลเมตรอีกทั้งยังมีการเปิดบูท

ขายอุปกรณ์ จักรยานเสือภูเขาไว้ให้ คนรักในการขี่จักรยานเสือภูเขาได้เลือกซื้อกันซื้ออุปกรณ์ต่างๆ มากมายหลายชนิด

เมื่อวันที่ 17-19 เมษายน 2555 คณะท�างาน สพพ.3

เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีวันไหลในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและ

พื้นที่เชื่อมโยง งานประเพณีวันไหลนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรม

ทางศาสนาและความเชื่อของท้องถิ่น เช่นการท�าบุญตักบาตร

สรงน�้าพระรดน�้าด�าหัวผู ้ใหญ่ ก่อพระเจดีย์ทราย และประเพณี

กองข้าว เป็นต้น สาระส�าคัญของการจัดกิจกรรมทางศาสนาและ

ความเชื่อในช่วงเทศกาลวันไหลเป็นการท�าบนความเชื่อว่าเมื่อได้

ท�าแล้วจะก่อให้เกิดความสุขความเจริญของตนเองและชุมชน

โดยประเพณีที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของท้องถิ่นซึ่งหาดูไม่

ได้ในพื้นที่อื่นก็คือประเพณีกองข้าวซึ่งนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มี

ความเป ็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป ็นประเพณีประจ�าถิ่นของ

จังหวัดชลบุรีและมีก�าหนดวันจัดที่ชัดเจนโดยนิยมจัดขึ้นในช่วง

สพพ. 3 สนบัสนนุกจิกรรมป่ันจกัรยานเพือ่สขุภาพ ในพื้นที่พิเศษเมอืงพทัยาและพื้นที่เชื่อมโยง

สพพ. 3 ร่วมสบืสานความเป็นไทย งานวนัไหลในพื้นที่พิเศษเมอืงพทัยาและพื้นที่เชื่อมโยง

รอง ผอ.อพท. มอบกระเช้า นายกบางแสน เนือ่งในเทศกาลปีใหม่ไทย

เมื่อวันที่17เมษายน2555นายด�ารงแสงกวีเลิศ

รองผู ้อ�านวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิ เศษ

เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน น�าคณะท�างานส�านักงาน

พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง(สพพ.3) เข้าพบ

นายกเทศบาลต�าบลแสนสุขนายณรงค์ชัยคุณปลื้มและ

ที่ปรึกษานายสนธยาคุณปลื้ม เพื่อมอบกระเช้าของขวัญ

แสดงไมตรีจิต เนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทยพร้อมกันนี้ก็ได้

หารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่

เชื่อมโยงโดยเฉพาะปัญหาการจัดพื้นที่และชายหาดให้เกิด

ความเป็นระเบียบ

หลังวันสงกรานต์ประเพณีดังกล่าวตั้งอยู ่บนพื้นฐานความเชื่อ

เกี่ยวกับวิญญาณของชาวบ้านก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อการบวงสรวง

ในขณะเดียวกันก็นับได้ว ่าเป ็นกุศโลบายอันดีของคนในอดีต

ที่ก�าหนดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการชุมนุม และ

สร้างความสามัคคีของชาวชุมชน

Page 26: DASTA News No. 25

26

“ศิลปะการครองจวีร การสร้างพระพิมพ์” สะท้อนประติมากรรมเมอืงโบราณอู่ทอง

ฐานเจดยี์สมยัทวารวดทีี่พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวเมอืงโบราณอู่ทอง

ฐานอาคารโบราณสถานคอกช้างดิน

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศ เมืองโบราณอู ่ทอง

จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น“พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เมืองโบราณอู่ทอง”เมื่อวันที่1พฤษภาคม2555ที่ผ่านมาโดย

จะเป็นส�านักงานพื้นที่พิเศษล�าดับที่ 7 (สพพ.7) ขององค์การ

บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.)

มีพื้นที่ 38.16 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ต�าบลอู ่ทอง

อ�าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ความจริงแล้วพื้นที่แห่งนี้ถูกทิ้งร้างมายาวนานมาก

กว่า1,000ปีเพิ่งจะมีการส�ารวจครั้งแรกในปีพ.ศ.2446เมื่อครั้ง

สมเดจ็พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ารงราชานภุาพเสดจ็ตรวจ

ราชการเมืองสุพรรณบุรี และเสด็จส�ารวจเมืองโบราณอู ่ทอง

ทรงนิพนธ์เล่าเรื่องเมืองอู่ทองไว้ในรายงานเสด็จตรวจราชการ

เมืองสุพรรณบุรี หลังจากนั้นราชบัณฑิตยสภาจึงได้เริ่มส�ารวจ

ท�าแผนผังเมืองโบราณอู ่ทอง และพบว่าเป็นเมืองโบราณที่มี

คุณค่าทางประวัติศาสตร์ต่อมากรมศิลปากรได้ขุดค้นพบโบราณ

สถานและโบราณวัตถุและได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

อู ่ทองเพื่อน�าโบราณวัตถุที่ขุดได้มาเก็บรักษาไว้

จากข้อมลูทีพ่พิธิภณัฑสถานแห่งชาตอิูท่อง ได้รวบรวมไว้

พบว่า ที่ตั้งของเมืองโบราณอู ่ทองเอื้อต่อการรับอิทธิพลทาง

วัฒนธรรมซึ่งเป็นผลจากการเดินเรือทางทะเลการวางผังเมืองรูป

วงรแีละการสร้างคนู�า้คนัดนิล้อมรอบมคีวามสมัพนัธ์กบัคตคิวามเชือ่

ของอินเดียและยังไม่มีแบบแผนชัดเจนเท่าเมืองในยุคหลังๆ

ตลอดจนโบราณวัตถุต่างๆที่พบในอ�าเภออู่ทองสันนิษฐานได้ว่า

เป็นอิทธิพลอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทยนอกเหนือ

ไปจากศาสนาพุทธแล้ว เมืองโบราณอู ่ทองยังพบร่อยรอยของ

การนับถือศาสนาพราหมณ์ไปพร้อมๆ กับศาสนาพุทธ โดยมี

การแบ่งแยกพื้นที่ในการก่อสร้างศาสนสถานของแต่ละศาสนา

อย่างเป็นสัดส่วน

พืน้ทีใ่นเมอืงและบรเิวณรอบๆเมอืงอูท่องเป็นพืน้ทีส่�าหรบั

ศาสนาพุทธขณะที่พื้นที่นอกเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็น

ที่ตั้งของศาสนาพราหมณ์ดังเห็นได้จากศาสนสถานที่เรียกว่า

“คอกช้างดนิ”ใช้ในการประกอบพธิกีรรมต่างๆของศาสนาพราหมณ์

ปรากฏร่องรอยการอยู ่อาศัยและใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่าง

ต่อเนื่องในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือกว่า 1,400 ปีมาแล้ว

เรื่อง-ภาพ โดยนางสาวชมพูนุท ธาราสิทธิโชค เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร อพท.

Page 27: DASTA News No. 25

27

ฐานอาคารโบราณสถานคอกช้างดิน มขุลึงค์พร้อมฐานโยนีพบที่บริเวณโบราณสถานคอกช้างดิน

บรเิวณดงักล่าวพบหลกัฐานทีเ่กีย่วข้องกบัศาสนาพราหมณ์

มากมายเช่นคอกดินที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเขื่อนเก็บน�้าหรือสระน�้า

ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถานกว่า 20แห่งที่สร ้างด ้วยดินและอิฐ

ซึ่งอาจเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์มุขลึงค์พร้อมฐานโยนี

เหรียญเงินบรรจุในคนโทดินเผาที่ใช้ประกอบพิธีกรรม

การสร ้างพระพิมพ ์ที่ เก ่าแก ่ที่สุดของไทยท�าด ้วย

ดินเผาในสมัยทวารวดีในยุคเมืองโบราณอู่ทองนี้เองคติการสร้าง

พระพิมพ์มีที่มาคือพระพิมพ์เป็นรูปเคารพขนาดเล็กแทนองค์

พระพุทธเจ้าสร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนาแต่เดิม

คงมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อใช ้เป ็นที่ระลึกในการเดินทางไป

นมัสการสังเวชนียสถาน หรือสถานที่ส�าคัญทางพุทธศาสนา

ทั้ง4ในประเทศอินเดียได้แก่สถานที่ประสูติ (ลุมพินี)ตรัสรู ้

(พุทธคยา)ปฐมเทศนา(สารนาถ)และปรินิพพาน(กุสินารา)

หรือไม่ก็เป็นที่เคารพบูชาแทนพระพุทธเจ้าภายหลังพระองค์

เสด็จดับขันธปรินิพพานต่อมาจึงได้รับความนิยมในการท�าขึ้น

เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาตามคติที่ได้รับผ่านจากประเทศ

ลังกา ที่ เชื่อว ่าพุทธศาสนาจะด�ารงอยู ่ได้ในระยะเวลาเพียง

5,000 ปี จากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมลง จึงเป็นเหตุให้มีการสร้าง

พระพิมพ์พร้อมกับจารึกพระคาถา เย ธมฺมา ด้วยหวังว่ารูป

พระพุทธเจ้าและคาถาย่ออันเป็นค�าสั่งสอนที่ เป ็นสาระของ

พระองค์จะเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู ้พบเห็นเกิดความเลื่อมใส

และเชื่อถือในพระพุทธศาสนาและสืบสานพระพุทธศาสนาให้

คงอยู่สืบไป

พระพทุธรปูปางปฐมเทศนา

Page 28: DASTA News No. 25

28

งานสืบสานประเพณีท้องถิ่นบวงสรวงดอยภูซาง ประจ�าปี

2555 ถือเป็นอีกงานหนึ่ง ที่ชุมชนสามารถน�าเสนอเอกลักษณ์แห่ง

ท้องถิ่นตนให้อย่างน่าประทับใจ ผสมผสานกับทัศนียภาพของดอย

ภูซางยามที่ป่าไม้ผลิใบจากสายฝนแรกแห่งฤดูกาล และมิตรไมตรีที่

ชุมชนนาซาวมอบให้ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 แน่นอนว่าภาย

ในงานวันนั้น จะติดตราตรึงใจและเฝ้ารอวันที่จะได้กลับมาสัมผัสอีก

ครั้งของผู้มาเยือนทุกคน

ส ่วนประกอบของงานบวงสรวงที่ถูกสร ้างสรรค์ขึ้นจาก

ภูมิปัญญามีให้เห็นได้ตั้งแต่เชิงดอย “ฮ้านน�้า” หม้อดินเผาบรรจุน�้าใส

สะอาดตั้งรอรับผู ้กระหายน�้าเข้าไปดื่มกิน ถูกจัดวางบนแท่นไม้ไผ่

หลังคาใบตองตึงเห็นแค่นี้ก็รู ้ได้ว่างานนี้ไม่ธรรมดาตามติดด้วยการ

นั่งรถอีแต๋นบังแดดด้วยทางมะพร้าวและผ้าขาวม้าขาวสลับแดงที่

เจ้าภาพจัดมารอรับนักท่องเที่ยวขึ้นดอยประสบการณ์เดินทางแบบนี้

แสนวิเศษจริงๆงานบวงสรวงเริ่มต้นด้วยการท�าบุญตักบาตรซึ่งผู้เฒ่า

ผู้แก่ต่างสวมชุดพื้นเมืองสีขาวน�าข้าวตอกดอกไม้พร้อมอาหารคาว

หวานมารวมพิธีอย่างพร้อมเพรียงแน่นอนมีสิ่งที่ท�าให้นักท่องเที่ยว

ได้ประทับใจอีกเช่นเคยห่อข้าวใบตองตึงการน�าธรรมชาติมาใช้ใน

วิถีชีวิตอินเทรนโลว์คาร์บอนช่วยลดโลกร้อนลานพิธีบวงสรวงไม่มี

เตน็ท์ผ้าใบให้ดขูดัตาเหมอืนปีทีแ่ล้วแต่ถกูทดแทนด้วยซุม้ไม้ไผ่มงุด้วย

ใบตองตึง แม้แต่ห้องน�้าและถึงขยะก็ถูกพรางสายใต้ด้วยวัสดุจาก

ธรรมชาติด้วยเช่นกันพิธีบวงสรวงจัดขึ้นตามความเชื่อโบราณเครื่อง

บวงสรวงเป็นสิ่งที่หาได้ในหมู่บ้านหมอบวงสรวงหรือข้าวจ�้าเดินทาง

มาถึงงานแต่เช้ามืดอัญเชิญเจ้าป่าเจ้าเขามารับเครื่องบวงสรวงแล้ว

ขอให้ช่วยปกปักรักษาชาวนาซาวให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขความโชคดี

ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บไม่ประสบภัยอันตรายแผ่นดินมีความอุดมสมบูรณ์

โดยจะเสีย่งทายความยาวของไม้จากการวดัด้วยปลายแขนข้างหนึง่ไปยงั

อีกข้างหนึ่งหากไม้ยาวกว่าแสดงว่าพรที่ขอจะได้รับสมประสงค์ซึ่งผล

การเสียงทายท�าให้ทุกคนมีความสุขโดยถ้วนหน้าเสร็จสิ้นพิธีบวงสรวง

ขบวนแห่ควัตานของชมุชนต่างๆกข็ึน้สูล่านพธิีแม้จะไม่ยิง่ใหญ่อลงัการ

แต่กแ็ฝงด้วยความศรทัธาในพทุธศาสนาเครือ่งสกัการะท�าขึน้ด้วยความ

ตั้งใจผู้ร่วมขบวนอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ธงชาติธงสัญลักษณ์

เฉลิมพระเกียรติ

ตุงและเล่นเครื่อง

ด น ต รี พื้ น เ มื อ ง

ต่างแต่งกายด้วย

ชุดพื้นเมืองอย่าง

สวยงาม เมื่อทุก

ชุมชนมาพร้อมกันแล้วก็เป็นช่วงพิธีเปิดงานโดยมีปลัดอาวุโสอ�าเภอ

เมืองน่านเป็นประธานในพิธีจากนั้นคณะสงฆ์9รูปสวดไชยมงคล

คาถา เจริญพุทธมนต์ ให้ศีล ให้พร ผู ้เข้าร่วมพิธี เสร็จสิ้นพิธีสงฆ์

เป็นการแสดงทางวัฒนธรรมของเยาวชนผู้สูงอายุที่เรียกรอยยิ้มและ

เสียงปรบมือได้จากทุกคนที่เฝ้าชมการสาธิตและจ�าหน่ายผลิตภัณฑ์

จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างรายได้แก่ชุมชนต่างๆได้ไม่น้อยสินค้า

บางรายงการไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะเครื่องจักสาน

ลิ้นจี่ และผักปลอดสารพิษ ปิดท้ายด้วยการรับประทานอาหารพื้น

บ้านร่วมกัน และอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในการจัดงานครั้งนี้และไม่อาจ

ไม่น�ามากล่าวได้คือเงินบริจาคกว่า5,000บาทที่ชาวชุมชนร่วมกัน

ถวายในองค์คัวตานคณะสงฆ์ได้มอบให้ผู ้น�าชุมชนน�าไปจัดตั้งเป็น

กองทุนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดอยภูซางต่อไป

จากผลงานที่ชุมชนนาซาวร่วมคิด ร่วมท�า ร่วมรับผิดชอบ

ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

แม้ว่าจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่จัดงาน

การน�าต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้าง

สรรค์ให้เกิดความโดดเด่นความน่าสนใจและเสริมสร้างเอกลักษณ์

ด้านการท่องเที่ยวของชุมชนมากยิ่งขึ้นแต่อพท.เชื่อมั่นว่าด้วยความ

ร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนภูซาง และการสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง

จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้งานสืบสานประเพณีท้องถิ่นดอย

ภูซางในปีต่อไปจะเป็นงานที่นักท่องเที่ยวใฝ่ฝัน เฝ้ารอวันที่จะได้มา

เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นสัมผัสประสบการณ์อันล�้าค่าและมีความสุข

ไปกับชาวชุมชนนาซาวอย่างแน่นอน

สบืสานงานท้องถิ่นประเพณบีวงสรวงดอยภซูาง

เรื่อง-ภาพ โดยนางสาวสไบทิพย์ อุดแดง เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษประจ�าพื้นที่เมืองน่าน

Page 29: DASTA News No. 25

อพท. จบัมอื สทอ.

วางแผนระยะยาว

พฒันาเส้นทางท่องเที่ยว

พื้นที่พิเศษเลย

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และสมาคมไทยท่องเที่ยว

เชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

ภายใต้กรอบเวลาการด�าเนินการ 4 ปี (พ.ศ.2555-2558) เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(DASTA LowCarbon Route) และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (DASTACreative Route) โดยตั้งเป้าหมาย

ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอย่างน้อย 4 เส้นทางในพื้นที่พิเศษเลยให้ส�าเร็จ พร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN EconomicCommunity: AEC) ในวันที่ 1 มกราคม 2558

พันเอกดร.นาฬิกอติภัคแสงสนิทผู ้อ�านวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว

อย่างยั่งยืน กล่าวว่า ที่ผ่านมา อพท. และ สทอ. ได้มีการหารือร่วมกันและรู้สึกถึงความเป็นเนื้อคู่กัน อพท. มีพื้นที่

พิเศษเลยส่วนสทอ.มีองค์ความรู้และมีความช�านาญด้านการตลาดการประชาสัมพันธ์การพัฒนาสินค้าและบริการ

ทางการท่องเที่ยวจึงอยากร่วมกันพัฒนาพื้นที่พิเศษเลยท�าอย่างไรจะมีเส้นทางการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

“ผลผลิตที่ อพท. และสทอ. จะร่วมกันด�าเนินการคือRoute เส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว

ทั้งหลายอย่างเหมาะสมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากโรงแรมที่พักร้านอาหารผู้ประกอบการกิจการทัวร์มัคคุเทศก์

ซึ่งจ�าเป็นจะต้องสร้างคุณสมบัติที่เหมาะสมและพัฒนาร่วมกับชุมชนเพื่อให้ผู้ที่เจ้าของท้องถิ่นนั้นๆ ทุกฝ่ายได้ร่วมรับ

ผลประโยชน์กรอบความร่วมมือระยะ4ปีจะเริ่มเห็นผลในช่วง2ปีแรกว่าจะเกิดเส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อมและเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อย่างน้อย 4 เส้นทาง

จากนั้นจะน�าเสนอขายในงานไทยเที่ยวไทยและเมื่อสิ้นสุดโครงการในระยะ4ปีก็จะน�าผลผลิตเส้นทางการ

ท่องเที่ยวนี้ไปน�าเสนอในEcotourismForumที่ประเทศออสเตรเลียและWorldTravelMartที่กรุงลอนดอนและ

ITB ที่กรุงเบอร์ลิน ตรงนั้นจะไปทดสอบตลาดใหญ่ ซึ่งการพัฒนาจะต้องแล้วเสร็จเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558” ผอ.อพท. กล่าว

ด้านวิธีการท�าเส้นทางท่องเที่ยว นางสาวสุมิตรา มัทธุรนนท์ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และ

ผจญภัย (สทอ.) กล่าวว่า จะต้องดูว่าแหล่งท่องเที่ยวสามารถท�าการตลาดได้หรือไม่ บางทีสถานที่สวยงามมากและ

ท�าการตลาดได้ แต่ความพร้อมในพื้นที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็จะต้องสร้างความพร้อมในพื้นที่ก่อน ซึ่ง สทอ. ได้เคยด�าเนิน

โครงการCSRมาแล้วจนเกิดองค์ความรู้ถึงวิธีการในการท�าเส้นทางท่องเที่ยวสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งจะต้อง

สร้างกระบวนการความร่วมมือกับทุกซัพพลายเออร์ให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อที่จะให้ทุกแหล่งท่องเที่ยวเป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวสีเขียว เช่นมัคคุเทศก์ต้องมีความช�านาญในเส้นทางพานักท่องเที่ยวไปพักในโรงแรมสีเขียวรับประทาน

อาหารก็ต้องเป็นร้านอาหารที่จ�าหน่ายอาหารสีเขียว ไปเที่ยวชุมชนสีเขียว

“ในช่วงปีแรก สทอ. จะเริ่มลงส�ารวจพื้นที่พิเศษเลยโดยจะส�ารวจแหล่งท่องเที่ยวทุกจุด เพื่อรวบรวมผล

การศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นปีที่สองจะน�าแหล่งท่องเที่ยวมาผูกเข้าเป็นเส้นทาง

ปีที่สามจะพัฒนาพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนและปีสุดท้ายจะทดสอบตลาดและทดสอบเส้นทาง

ซึ่งขณะนี้สทอ.ได้แบ่งทีมงานออกเป็น3ทีม เพื่อส�ารวจเส้นทางแต่ละเส้นทางแล้วและจะประสานความร่วมมือ

กับ สพพ.5 ในการลงพื้นที่ร่วมกัน” นายก สทอ. กล่าว

29

Page 30: DASTA News No. 25

30

กระซิบข่าว

สพพ. 1 ออกพื้นที่เพื่อส่งเสริมเตาน�้าส้มควันไม้

ส�านักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง

(สพพ.1)จดัวทิยากรประจ�าศนูย์ออกพืน้ทีเ่พือ่ด�าเนนิการส่งเสรมิการ

ท�าเตาเผาถ่าน(น�า้ส้มควนัไม้)ในพืน้ทีต่�าบลท่าโสมอ�าเภอเขาสมงิ

จงัหวดัตราดโดยปัจจบุนัด�าเนนิการไปแล้วกว่า7ชดุโดยมวีทิยากร

คอืนายถวลิราษฏร์สปัีดเป็นผูถ่้ายทอดองค์ความรูใ้ห้กบัชมุชน

ซึง่สพพ.1ได้ด�าเนนิการมาตัง้แต่เดอืนกมุภาพนัธ์2555

เตาเผาถ่านบ้านนายแป้นสขุกลบี

เตาเผาถ่านบ้านนางสนุนัท์มนสัสนทิ

เตาเผาถ่านบ้านนางอ�านวยเวชานนท์

เตาเผาถ่านโรงเรียนคลองศอก

เตาเผาถ่านบ้านนางอจัฉราปัญญาศรี

Page 31: DASTA News No. 25

31

John: There’s something wrong with my watch.

It has stopped. Are you able to repair it?

จอห์น: แดส ซมัธงิ รอง วธิ มาย วอช/ อทิ แฮส สตอ็ป/

อาร์ ยู เอเบิ้ล ทู รีแพร์ อิท

จอห์น: นาฬิกาของฉันผิดปกติ หยุดเดินไปแล้ว

คุณซ่อมมันได้ไหมครับ

Diew: Can I have a look at it?

เดียว: แคน ไอ แฮฟว อะ ลุก แอท อิท

เดียว: ขอผมดูมันหน่อยได้ไหม

Diew: I think it needs a new battery.

เดียว: ไอ ธิ้ง อิท นี้ดส อะ นิว แบ้ตเตอรี่

เดียว: ฉันคิดว่ามันต้องการแบตเตอรี่อันใหม่

John: How much will it cost and when will it be

ready?

จอห์น: ฮาว มัช วิล อิท คอสท แอนด์ เว็น อิท บี เรดดี้

จอห์น: ราคาเท่าไหร่แล้วจะเสร็จเมื่อไหร่ครับ

Repairing Thingsรแีพร์ริง่ ธงิส

การซ่อมแซมสิง่ของ

นักท่องเที่ยวพายเรือคายัคในอ่าวสลักคอก

Diew: One hundred Baht. I can do it straight away.

เดียว: วัน ฮั้นเดร็ด บาท/ ไอ แคน ดู อิท สเตร็ท อะเวย์

เดียว: หนึ่งร้อยบาทครับ ผมจะลงมือท�าตอนนี้เลยครับ

John: How long will it take?

จอห์น: ฮาว ลอง วิล อิท เทค

จอห์น: จะใช้เวลานานเท่าไรครับ

Diew: It’ll be ready in an hour.

เดียว: อิท บี เรดดี้ อิน แอ่น เอาเออร์

เดียว: อีกประมาณหนึ่งชั่วโมงครับ

John: I’ve come back to collect it by then.

จอห์น: ไอฟว คัม แบ็ค ทู คอเล็ค อิท บาย เด็น

จอห์น: ผมจะกลับมารับมันตามเวลานั้นนะครับ

Page 32: DASTA News No. 25

การปลูกต้นไม้รอบบริเวณบ้านถือเป็นวิธีที่ดีในการช่วยลดโลกร้อนและยัง

ท�าให้บ้านน่าอยู ่และมีความสดชื่นตลอดเวลา แต่ส�าหรับบ้านที่มีพื้นที่น้อย หรือ

โรงแรมและรีสอร์ทที่มีพื้นที่โล่งว่างไม่มาก การประยุกต์ปลูกต้นไม้ในพื้นที่จ�ากัด

จึงเป็นทางเลือกที่ควรศึกษา

เราสามารถสอดแทรกต้นไม้ลงไปในเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างเช่นเฟอร์นิเจอร์

ปลูกต้นไม้ของยี่ห้อGreenaroundเพราะถ้ารู้จักเลือกสรรอย่างถูกวิธี เพื่อเพิ่มพื้นที่

สีเขียวแม้เพียงเล็กน้อยให้ที่อยู่อาศัยดูสดชื่นได้

ขั้นตอนแรก เลือกสายพันธุ์ต้นไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ก่อน แนะน�าให้เลือกไม้ใบ

หรือไม้เลื้อย

ขั้นตอนที่สอง ต้นไม้ต้องอยู่ได้ในสภาพการเลี้ยงดูด้วยน�้าน้อยหรือไม่ต้องรดน�้า

เพื่อไม่ให้เลอะเทอะ

ขั้นตอนที่สาม เลือกพื้นที่ปลูกที่มีแสงแดดส่องถึงหรือเลือกต้นไม้สายพันธุ์ที่เจริญ

เติบโตในที่ร่มได้ดี

ข้อส�าคัญควรเลือกใช้เจลปลูกต้นไม้แทนการปลูกในดิน เพราะจะท�าให้ต้นไม้

อยู่ได้นาน

สอดแทรกพื้นที่สเีขยีว ให้บ้านหลงัน้อย

“เพยีงเท่านี้บ้านหลงัน้อยๆ ก็จะมพีื้นที่สเีขยีวไว้ส�าหรบัฟอกอากาศเสยี เป็นอากาศบริสทุธิไ์ด้ไม่ยาก”