8
การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที2 วันศุกร์ที17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี [134] การบริหารจัดการความปลอดภัยในงานรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok ปราโมทย์ คงเจริญเขตต์ Pramote Kongcharaernkate บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐาน พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางาน ความคิดเห็น เกี่ยวกับความปลอดภัย และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร 2) เปรียบเทียบพฤติกรรม ความปลอดภัย ในการทางาน จาแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ทางานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยจาแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ทางานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร และเปรียบเทียบการบริหารจัดการความปลอดภัย ในการรื้อถอนอาคารจาแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ทางานเกี่ยวกับการรื้อถอน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม ความปลอดภัยในการทางานกับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความปลอดภัยในการทางาน กับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร และความสัมพันธ์ของความคิดเห็นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร มีกลุ่มตัวอย่าง จานวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ค่า แอลเอสดี และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณของเพียร์สัน โดยกาหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ทางานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-30 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ประสบการณ์ในการทางาน 4 ปี ขึ้นไป ทางานวันละ 8 ชั่วโมง ไม่เคย เกิดอุบัติเหตุจากการทางาน และเคยอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทางาน ในภาพรวมอยู่ใน ระดับดีมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทางาน และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้ทางานที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการทางาน ระยะเวลาในการทางาน ในแต่ละวัน ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการทางาน และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทางาน ต่างกัน มี พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางานโดยรวมแตกต่างกัน ผู้ทางานที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการทางาน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการทางาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทางานโดยรวม แตกต่างกัน และผู้ทางาน ที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการทางาน ตาแหน่งงาน ระยะเวลาในการทางานในแต่ละวัน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการทางาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ บริหารจัดการความปลอดภัยใน การรื้อถอนอาคารแตกต่างกัน 3) พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางาน มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทางานในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง พฤติกรรมความปลอดภัยในการทางาน มี ความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการทางาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ; Email: pramoterecycle@gmail. com

Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

Embed Size (px)

DESCRIPTION

pp. 134-141

Citation preview

Page 1: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[134]

การบรหิารจดัการความปลอดภยัในงานรือ้ถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

ปราโมทย์ คงเจริญเขตต์ Pramote Kongcharaernkate

บทคดัยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐาน พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ความคิดเห็น

เกี่ยวกับความปลอดภัย และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร 2) เปรียบเทียบพฤติกรรม ความปลอดภัยในการท างาน จ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยจ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร และเปรียบเทียบการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารจ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานกับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานกับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร และความสัมพันธ์ของความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร มีกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ค่าแอลเอสดี และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณของเพียร์สัน โดยก าหนดระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-30 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ประสบการณ์ในการท างาน 4 ปี ขึ้นไป ท างานวันละ 8 ช่ัวโมง ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน และเคยอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้ท างานท่ีมีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างาน ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานโดยรวมแตกต่างกัน ผู้ท างานที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างาน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานโดยรวม แตกต่างกัน และผู้ท างาน ที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างาน ต าแหน่งงาน ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยใน การรื้อถอนอาคารแตกต่างกัน 3) พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; Email: pramoterecycle@gmail. com

Page 2: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[135]

ค าส าคัญ: การบริหารจัดการความปลอดภัย, งานรื้อถอนอาคาร, กรุงเทพมหานคร

Abstract

This research aimed to 1) study basic factors, safety behavior in the workplace, opinions towards the security and demolition of building safety management 2) Compare Safety behavior in the workplace divided by their basic factors, compare opinions towards the security divided by their basic factors and compare demolition of building safety management divided by their basic factors and 3) Study the relationship between the safety behavior in the workplace and opinions towards the security, the relationship between the safety behavior in the workplace and demolition of building safety management and the relationship between opinions towards the security and demolition of building safety management. The population was 384 workers in the demolition of buildings in Bangkok. The tool was a questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, LSD, and Pearson’s Coefficient Correlation.by setting the significant level of 0.05. The findings revealed that: 1) Most worker were male, 25-30 years old, Married, their monthly incomes were 10,001-15,000 baht, over 4 years of work experience, work 8 hours per day, never an accident at work and ever trained on safety, workers’ safety behavior in the workplace at a very good level, opinion levels of workers towards the security and demolition of building safety management at a most; 2) The workers with differences gender, monthly incomes, work experience, the duration of the work in day, an accident experience and trained on safety had different safety behavior in the workplace, The workers with differences gender, education backgrounds, monthly incomes, work experience and an accident experience had different opinions towards the security, and The workers with differences gender, monthly incomes, work experience, position, the duration of the work in day, and an accident experience had different opinions towards demolition of building safety management; 3) Workers’ safety behavior in the workplace related to opinions towards the security at moderate to almost high levels, workers’ safety behavior in the workplace related to opinions towards demolition of building safety management at moderate levels and opinions of workers towards the security related to demolition of building safety management at almost high to high levels.

Key Word: Safety Management, Demolition of Building, Bangkok

บทน า

การบริหารจัดการความปลอดภัย เป็นการควบคุมสภาพแวดล้อมในการท างาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุบัติเหตุ และความสูญเสียในการปฏิบัติงานของพนักงาน องค์ประกอบของการบริหารจัดการความปลอดภัย โดยทั่วไปจะยึดหลักการ หรือกระบวนการบริหารงานท่ัวไป ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนงาน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การจัดหาและ

Page 3: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[136]

พัฒนาบุคลากร (Staffing) การอ านวยการ (Leading) และการควบคุมประเมินผล (Controlling) (Koontz and Weihrich. 1988) งานรื้อถอนอาคารเป็นส่วนหนึ่งของงานก่อสร้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และมีสถิติการเจ็บป่ วยและเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉลี่ย 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.40 ต่อปี ของจ านวนการประสบอันตรายทั้งหมด (ส านักงานกองทุนเงินทดแทน ส านักงานประกันสังคม. 2555 : 12) และในการเกิดอุบัติเหตุจากการท างานแต่ครั้งต้องสูญเสียจ านวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินทดแทน ค่าท าขวัญ และค่าประกันชีวิต ส าหรับคนงานหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเป็นการสูญเสียโดยตรง นอกจากนี้ยังต้องสูญเสียทางอ้อมเป็นค่าใช้สอย นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายโดยตรง ได้แก่ การสูญเสียเวลาท างานของคนงานหรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งหยุดงานช่ัวคราว สูญเสียโอกาสในการท าก าไร เป็นต้น (ดวงเนตร พบพาน. 2549 : 1) เพราะฉะนั้นการจัดหน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในบริษัทจึงนับว่าเป็นเรื่องที่มีความส าคัญมากเพราะนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานแล้วยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตในทางอ้อมด้วย ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานรื้อถอนอาคารล้วนมีความส าคัญในการบริหารจัดการความปลอดภัย เพราะพฤติกรรมและความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงานเป็นสิ่งส าคัญที่ควรให้ความส าคัญ ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้รับเหมารื้อถอนอาคาร และมีประสบการณ์การรื้อถอนอาคารมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน จึงมีความสนใจที่จะศึกษาความปลอดภัยในงานรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อน าผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในก าหนดวิธีการ ข้อปฏิบัติในด้านความปลอดภัยของผู้รื้อถอนอาคารทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ของไทยในการการลดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนปัญหาอุบัติเหตุและอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานของพนักงานและใช้เป็นแนวทางก าหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารต่อไป

วตัถปุระสงค์การวจิยั

1. เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ความ

คิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานจ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอน

อาคาร เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยจ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร และเปรียบเทียบการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารจ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอน

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานกับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานกับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร และความสัมพันธ์ของความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร

ขอบเขตของการวจิยั

1. ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 384 คน ซึ่งก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการค านวณด้วยสูตร คอชแรน (Cochran. 1953) (อภินันท์ จันตะนี. 2550: 89) 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างานด้านงานรื้อถอนอาคาร ต าแหน่งงาน ระยะเวลาในการ

Page 4: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[137]

ท างานในแต่ละวัน ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน และ พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ และด้านความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ท างาน 2.2 ตัวแปรตาม คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการความปลอดภัยในบริษัท ด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร ด้านการอ านวยการ และด้านการควบคุม 3. ขอบเขตด้านเวลา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมเป็นระยะเวลา 3 เดือน 4. ขอบเขตด้านพ้ืนท่ี ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

วธิดี าเนินการวจิยั

ประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ที่ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 384 คน ซึ่งก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการค านวณด้วยสูตร คอชแรน (Cochran. 1953) (อภินันท์ จันตะนี. 2550 : 89) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบบเจาะจง (Purposive sampling) กับ วิศวกร โฟร์แมน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) กับคนงาน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม จากผู้ที่ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร จ านวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติ t-test F-test LSD และ ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวจิยั

1. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 80.7 อายุ 25 - 30 ปี การศึกษาระดับ ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 65.6 สถานภาพสมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 70.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.1 ประสบการณ์ในการท างานด้านงานรื้อถอนอาคาร 4 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 62.0 ต าแหน่งงาน เป็นคนงาน จ านวน 290 คน ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน 8 ช่ัวโมง คิดเป็นร้อยละ 73.7 ไม่เคยมีประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน คิดเป็นร้อยละ 72.1 และเคยอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 95.3 2. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ และด้านความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ท างาน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ และด้านความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ท างาน อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน 3. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย ในภาพรวมอยู่ใน

Page 5: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[138]

ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 4. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ด้านการวางแผน ด้านการจัดการความปลอดภัยในบริษัท ด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร ด้านการอ านวยการ และด้านการควบคุม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ด้านการวางแผน ด้านการจัดการความปลอดภัยในบริษัท ด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร ด้านการอ านวยการ และด้านการควบคุม อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 5. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย ด้านการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ และด้านความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ท างาน จ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร สรุปว่า โดยรวม 1) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และต าแหน่งงาน ต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานไม่แตกต่างกัน 2) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ท่ีมีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างานด้านงานรื้อถอนอาคาร ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานแตกต่างกัน 6. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย จ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร สรุปว่า โดยรวม 1) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ที่มีอายุ สถานภาพสมรส ต าแหน่งงาน ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานไม่แตกต่างกัน และ 2) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างานด้านงานรื้อถอนอาคาร และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน แตกต่างกัน 7. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ด้านการวางแผน ด้านการจัดการความปลอดภัยในบริษัท ด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร ด้านการอ านวยการ และด้านการควบคุม จ าแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร สรุปว่า โดยรวม 1) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารไม่แตกต่างกัน 2) ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์ในการท างานด้านงานรื้อถอนอาคาร ต าแหน่งงาน ระยะเวลาในการท างานในแต่ละวัน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารแตกต่างกัน 8. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน กับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานในระดับปานกลาง 9. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร พบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร อยู่ในระดับปานกลาง

Page 6: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[139]

10. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ถึงระดับสูง

อภปิรายผล

การบริหารจัดการความปลอดภัยในงานรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีการบริหารจัดการความปลอดภัยที่ดีมาก เนื่องจาก ผลการวิจัยพบว่า ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน และการบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากท่ีสุด ซึ่งมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้ 1. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านการวางแผน อยู่ ในระดับมากที่สุด เนื่องจาก บริษัทที่ท างานอยู่มีการก าหนดนโยบายที่ครอบคลุมถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัย ซึ่งมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอตามสภาพการท างาน จากนโยบายดังกล่าวจึงเขียนเป็นคู่มือการท างาน เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนได้รับรู้ และมีการประเมินผลการวางแผนด้านความปลอดภัยให้ปฏิบัติตามนโยบายเป็นประจ าทุกปี ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยอยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ แก้วฤทัย แก้วชัยเทียม (2548 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การรับรู้การจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานอยู่ในระดับดีมาก 2. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านการจัดการความปลอดภัยในบริษัท อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจาก บริษัทที่ท างานอยู่มีการจัดองค์กรด้านความปลอดภัยโดยมีผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย ร่วมระหว่างนายจ้างกับหัวหน้างานและพนักงานในระดับต่าง ๆ นอกจากนี้บริษัทยังจัดให้มีหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพอนามัยของผู้ท างานเกี่ยวกับงานรื้อถอน โดยรับผิดชอบการรักษาพยาบาล และให้ค าแนะน าการท างานท่ีต้องเสี่ยงต่ออันตรายและสุขภาพ และมีการตรวจร่างกายก่อนเข้ารับการท างานโดยเน้นการป้องกันโรคจากการท างานอีกด้วย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานของวิศวกรรมแห่งประเทศไทย เรื่องความปลอดภัยในการท างาน (มหาดไทย ชัยเกษม. 2549 : 9) ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ด้านสภาพแวดล้อมในพ้ืนท่ีท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารส่วนใหญ่ไม่เคยประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน 3. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจาก บริษัทมีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้กับผู้ท างานเกี่ยวกับงานรื้อถอนอาคาร ตรวจความพร้อมของร่างกายให้กับผู้ท างานรื้อถอนอย่างสม่ าเสมอ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและไม่เกิดอุบัติเหตุขณะท างาน มีการฝึกทักษะในการท างานก่อนการท างานจริง และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และดูแลให้ผู้ท างานใช้อุปกรณ์ตลอดเวลา ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับงานรื้อถอนอาคารมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารส่วนใหญ่เคยอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิทิต กมลรัตน์ (2552 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา เบอร์

Page 7: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[140]

ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จ ากัด (ฟอสเฟต ดีวิช่ัน) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความปลอดภัยด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับสูงมาก 4. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านการอ านวยการ อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจาก ผู้บริหารระดับสูงสนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยจัดให้มีผู้ประสานงานด้านความปลอดภัยทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุจะรายงานผู้บริหารเสมอ มีการจัดงบประมาณเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือป่วยเนื่องจากการปฏิบัติงาน และผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานเอาใจใส่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ซึ่งภาวะผู้น า (Leadership) มนุษยสัมพันธ์ (Human relationship) การจูงใจ (Motivation) และการติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นต้น อย่างไรก็ดีการอ านวยการยังรวมถึงการวินิจฉัยสั่งการที่เป็นหลักส าคัญอย่างหนึ่งของการบริหารงานและขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บังคับบัญชาเป็นอย่างมาก (พรรวิภา สุขวดี. 2551 : 46) ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างาน ด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ท างาน ด้านการป้องกันอุบัติเหตุในการท างาน และด้านสิ่งอ านวยความสะดวกและความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 5. ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีความเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านการควบคุม อยู่ในระดับมากท่ีสุด เนื่องจาก ฝ่ายบริหารจะก าหนดกฎระเบียบ ด้านความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษรและสื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบ มีมาตรการควบคุมกิจกรรม ด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ เช่น แผนฉุกเฉินเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น แผนฉุกเฉินกรณีอาคารถล่ม แผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ เป็นต้น ซึ่งการควบคุม เป็นการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่ก าหนดไว้ ผู้บริหารหรือผู้จัดการจะต้องคอยสอดส่อง ดูแลอยู่เสมอว่าผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายที่ก าหนดไว้มากน้อยเพียงไร และจะต้องทราบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เพื่อที่จะสามารถแก้ไขสถานการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะเป็นผลท าให้การปฏิบัติงานต้องเบนไปจากแนวเดิมที่ก าหนดไว้ (พรรวิภา สุขวดี. 2551 : 46) ท าให้ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยอยู่ในระดับดีมาก

ข้อเสนอแนะ

1. พฤติกรรมความปลอดภัยในการท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคาร ควรให้ความส าคัญกับการวางสิ่งกรีดขว้างบริเวณที่ท างาน เมื่อมีสิ่งของวางกรีดขว้างบริเวณที่ท างานหรือมีน้ ามัน/สารเคมี หกควรเก็บและท าความทันที เพราะสามารถท าให้เกิดอุบัติเหตุได้ การส่งเครื่องมือ/อุปกรณ์ ให้กับเพื่อนร่วมงานโดยการส่งแบบมือต่อมือ ไม่โยนให้เพื่อนเพราะมีโอกาสพลาดจนท าให้เกิดอุบัติเหตุได้ และการพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อท่ีจะได้ไม่รู้สึกง่วงในเวลาปฏิบัติงาน และเมื่อเกิดความเมื่อยล้าเนื่องมาจากการท างานจะหยุดพักสักช่ัวครู่แล้วค่อยท างานต่อ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานของผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอนควรให้ความส าคัญกับ สถานท่ีรื้อถอนโดยควรจัดให้มีความเป็นระเบียบไม่มีสิ่งของ หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อผู้ท างานต้องท างานในที่สูง ผู้ประกอบการ ควรให้ความส าคัญกับการมีการเตรียมตาข่ายป้องกันการตก เพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และผู้ประกอบการควรให้ความส าคัญกับการจัดห้องน้ าห้องสุขาให้อย่างเพียงพอส าหรับคนท างาน เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ 3. การบริหารจัดการความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร

Page 8: Demolition of Buildings Safety Management in Bangkok

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[141]

บริษัท หรือผู้ประกอบการด้านการรื้อถอน ควรก าหนดนโยบายครอบคลุมถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยให้ครอบคลุมทุกด้าน และควรประเมินผลการวางแผนด้านความปลอดภัยให้ปฏิบัติตามนโยบายเป็นประจ าทุกปี ควรจัดให้มีหน่วยงานดูแลด้านสุขภาพอนามัยของผู้ท างานเกี่ยวกับงานรื้อถอน โดยรับผิดชอบการรักษาพยาบาลและให้ค าแนะน าการท างานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายและสุขภาพ กับผู้ท างานเกี่ยวกับการรื้อถอน ควรมีการฝึกทักษะในการท างานก่อนการท างานจริงเสมอ ผู้บริหารระดับสูงควรสนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างจริงจัง ควรจัดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นระยะอย่างเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดอุบัติเหตุจริง ๆ ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษา การบริหารจัดการความปลอดภัยในงานรื้อถอนอาคาร ในประเด็นอื่นๆ เช่น ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ หรือปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย เป็นต้น 2. ควรมีการศึกษา การบริหารจัดการความปลอดภัยในงานรื้อถอนอาคาร ในพ้ืนท่ีอื่น นอกจากกรุงเทพฯ

เอกสารอา้งองิ

แก้วฤทัย แก้วชัยเทียน. 2548. การรับรู้การจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการท างาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ดวงเนตร พบพาน. 2549. การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของบริษัท เม็กเท็ค แมนูแฟ็คเจอริ่ง คอร์ปอเรชั่น(ประเทศไทย) จ ากัด ที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน. พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พรรวิภา สุขวดี. 2551. การบริหารจัดการความปลอดภัยตามความคิดเห็นของพนักงานโรงงานในเขตนิคม อุตสาหกรรมสหรัตนนคร. พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. มหาดไทย ชัยเกษม. 2549. การรื้อถอนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้แรงงานคนเป็นหลักในประเทศไทย : ปัญหาและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทิต กมลรัตน.์ 2552. การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จ ากัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ส านักงานกองทุนเงินทดแทน ส านักงานประกันสังคม. 2555. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทางาน ปี 2550 - 2554. กรุงเทพมหานคร : ส านักงาน. อภินันท์ จันตะน.ี 2550. การเขียนวิทยานิพนธ์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. Koontz , H. and Weihrich . H. 1988. Management. New York : McGraw –Hill.