9
การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที2 วันศุกร์ที17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี [360] ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทย Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia of Thai Investors ภูมิใจ พึ่งร่มโพธิสมภาร * Poomjai Phungromphothisomphan บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการลงทุน และศึกษาระดับ ความสาคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จานวน 20 ราย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ข้อมูลทุติยภูมิจากบทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทางสถิติจากแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมทั่วไป ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้นเหมาะแก่การลงทุนในระดับมาก เนื่องจากมีทาเลที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการเชื่อมโยง เศรษฐกิจ มีอานาจการซื้อสูง อีกทั้งยังมีระบบเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ ได้ แม้ว่ากรุง พนมเปญจะไม่มีเขตพื้นที่ติดชายแดนก็ตาม และนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่น่าสนใจ เช่น ให้สิทธิแก่นัก ลงทุนต่างประเทศสามารถเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็นเวลา 9 ปี ยกเว้นภาษีนาเข้าสินค้า วัตถุดิบและเครื่องจักร และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสาหรับสินค้าส่งออก สาหรับการศึกษาระดับความสาคัญของปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พบว่านักลงทุนไทยให้ความสาคัญกับปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการเมืองใน ระดับมากและเป็นลาดับแรกโดยเฉพาะความมั่นคงของรัฐบาลและข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ เนื่องจากผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นนั้นส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้าน สังคม ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น คาสาคัญ: ลงทุน, กัมพูชา, นักลงทุนไทย Abstract This research is a qualitative study. The objective is to study the investment environment and study level of the important factors affecting the decision to invest of Thai investors in Phnom Penh Cambodia, data were collected by in-depth interviews to invest of Thai investors in Phnom Penh Cambodia 20 persons, observation in participation and not participation, secondary data from the article, related research and statistical data from the questionnaire. The results showed that the environment in Phnom Penh, Cambodia is highly suitable for investment. Due to its location on the linking of the * นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโลกาภิวัตน์ศึกษา (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; Email: [email protected]

Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia of Thai Investors

Embed Size (px)

DESCRIPTION

pp. 360-368

Citation preview

Page 1: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[360]

ปัจจยัทีม่ผีลตอ่การตดัสนิใจลงทุนในกรงุพนมเปญ ประเทศกมัพชูาของนกัลงทนุไทย Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia

of Thai Investors

ภูมิใจ พึ่งร่มโพธิสมภาร* Poomjai Phungromphothisomphan

บทคดัยอ่

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการลงทุน และศึกษาระดับความส าคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จ านวน 20 ราย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ข้อมูลทุติยภูมิจากบทความ งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง และข้อมูลทางสถิติจากแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมทั่วไปของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้นเหมาะแก่การลงทุนในระดับมาก เนื่องจากมีท าเลที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการเช่ือมโยงเศรษฐกิจ มีอ านาจการซื้อสูง อีกทั้งยังมีระบบเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสามารถเช่ือมโยงไปยังประเทศต่างๆ ได้ แม้ว่ากรุงพนมเปญจะไม่มีเขตพื้นท่ีติดชายแดนก็ตาม และนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่น่าสนใจ เช่น ให้สิทธิแก่นักลงทุนต่างประเทศสามารถเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็นเวลา 9 ปี ยกเว้นภาษีน าเข้าสินค้าวัตถุดิบและเครื่องจักร และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มส าหรับสินค้าส่งออก ส าหรับการศึกษาระดับความส าคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พบว่านักลงทุนไทยให้ความส าคัญกับปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการเมืองในระดับมากและเป็นล าดับแรกโดยเฉพาะความมั่นคงของรัฐบาลและข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ เนื่องจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านสังคม ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น ค าส าคญั: ลงทุน, กัมพูชา, นักลงทุนไทย

Abstract

This research is a qualitative study. The objective is to study the investment environment and study level of the important factors affecting the decision to invest of Thai investors in Phnom Penh Cambodia, data were collected by in-depth interviews to invest of Thai investors in Phnom Penh Cambodia 20 persons, observation in participation and not participation, secondary data from the article, related research and statistical data from the questionnaire. The results showed that the environment in Phnom Penh, Cambodia is highly suitable for investment. Due to its location on the linking of the

* นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโลกาภิวัตน์ศึกษา (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; Email: [email protected]

Page 2: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[361]

economy with high purchasing power. It also has a convenient transportation system which can be linked to various countries although Phnom Penh area does not have border and the foreign investment policy such as the right to the foreign investors for 99 years land leasing, exemption of corporate income tax for 9-years, tax of import raw materials and machinery and tax export. For the study of level of important factors that affect the decision to invest in Phnom Penh, Cambodia. Thailand found that investors pay more attention to environmental factors in the political as the first, especially the stability of the government and laws and regulations. Due to the potential effects that directly affect the business, followed by the factors of information technology environment, social environment, economy environment and other factors such as public holidays, etc. Key Word: Investment, Cambodia, Thai Investors

บทน า

ในปีพ.ศ. 2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบจะมีการพัฒนาบูรณาการทางเศรษฐกิจไปสู่การก่อตัว “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ASEAN Economic Community (AEC) ซึ่งท าการตกลงร่วมกันในการขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและด้านท่ีไม่ใช่ภาษี นอกจากนี้ตลาดร่วมยังสนับสนุนให้สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าบริการ การลงทุน ทุนและแรงงานฝีมือ “ประเทศกัมพูชา” เป็น 1 ในสมาชิกของอาเซียน มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับต่างประเทศได้สะดวก มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาถูก และได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากนานาประเทศ เช่น ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา ส าหรับเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา คือ กรุงพนมเปญ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ าโขงซึ่งเป็นแม่น้ าสายหลักในทวีปเอเชีย เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความงดงามและเป็นระบบนิเวศวิทยาทางน้ าขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ อีกทั้งมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายโครงการทั้งที่เป็นโรงแรม และคาสิโน นอกจากนี้กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวและมีอ านาจซื้อสูง มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการ ซึ่งรวมถึงการค้าปลีก - ค้าส่ง โรงแรมและร้านอาหาร ส าหรับด้านระบบการคมนาคมขนส่งในกรุงพนมเปญนั้นสะดวก สบาย สามารถเดินทางหรือขนส่งสินค้าได้ทุกรูปแบบทั้งทางบก ทางรถไฟทางน้ า และทางอากาศ ทั้งนี้ข้อมูลจากส านักงาน ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2554 พบว่ามีนักลงทุนไทยไปลงทุนที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มธุรกิจการคมนาคมขนส่ง กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มท่องเที่ยวและการโรงแรม กลุ่มอาหาร กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น สถาบันการเงิน เสริมความงาม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้นแม้ว่าทัศนะส่วนใหญ่ที่มีต่อประเทศกัมพูชาจะเป็นไปในทิศทางทางลบ (ใกล้รุ่ง อามระดิษ, 2554: 35-36) ซึ่งหากพิจารณาลงทุนอาจต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งจากสภาพทางการเมืองที่ไม่แน่นอนหรือกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบต่างๆ ท่ีไม่ชัดเจน อนึ่งหากมองให้เป็นโอกาสจะพบว่าหากลงทุนจะได้เปรียบในการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากมี ผู้แข่งขันน้อยรายและสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดได้ก่อนนักลงทุนรายอื่น อีกทั้งยังได้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย จากทัศนะของนักลงทุนดังกล่าวเป็นประเด็นให้ผู้วิจัยสนใจ

Page 3: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[362]

ศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทย” ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพึงพอใจของนักลงทุนท่ีลงทุนแล้วเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน

วตัถปุระสงค์ของการวจิยั

1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 2. เพื่อศึกษาระดับความส าคญัของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทนุในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของ นักลงทุนไทย

ประโยชนท์ี่ไดร้ับ

1. เพื่อน าผลการศึกษาไปใช้พิจารณาประกอบการตดัสินใจส าหรับนกัลงทุนไทยที่จะลงทุนในกรุงพนมเปญ 2. เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยก าหนดมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมนักลงทุนไทยไปลงทุนในประเทศกัมพูชา

ขอบเขตการวจิยั

การศึกษาปจัจัยที่นักลงทุนไปลงทุนท่ีกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้ก าหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังน้ี 1. ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมตั้งแต่ปีพ.ศ.2550-2555 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เช่น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง เป็นต้น 2. ข้อมูลเชิงส ารวจในปี พ.ศ. 2555 - 2556 เป็นข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเจาะจงเฉพาะกรุงพนมเปญ เนื่องจากเป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชาและเป็นเมืองที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากท่ีสุด

วธิดี าเนินการวจิยั

ประชากรและกลุม่ตวัอยา่ง ท าการเก็บรวบรวมข้อมลูปฐมภมูซิึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระดับความส าคัญของปัจจัยที่มผีลต่อการตดัสนิใจลงทุน ซึ่งจะท าการเก็บข้อมลูปฐมภูมิจากการออกแบบสอบถามโดยการสุม่ตวัอย่างจากนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาโดยใช้สูตรของ Yamane (ไม่ทราบขนาดกลุ่มตัวอย่าง) ได้จ านวนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 34.56 ตัวอย่าง เนื่องจากเวลามีจ ากดัและเงินทุนส าหรับการวิจัยไม่เพียงพอจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัตินักวิจัยไดเ้กบ็รวบรวมข้อมลูจากแบบสอบถามแล้วเสร็จแต่ข้อมลูบางส่วนไมส่มบรูณ์จึงรวบรวมเฉพาะข้อมูลที่สมบูรณ์มาใช้ในการวิจัยได้ข้อมูลทั้งสิ้น 20 ชุด เครือ่งมอืที่ใช้ในการวจิยั ส าหรับเครื่องมือท่ีใช้ในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) จากนักลงทุนไทยในกรุงพนมเปญ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

Page 4: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[363]

ส่วนท่ี 1 ข้อมูลพื้นฐานของนักลงทุนไทย เช่น ช่ือบริษัท ต าแหน่งท่ีตั้ง เป็นต้น ส่วนท่ี 2 ข้อมูลทั่วไปของลักษณะการลงทุน เช่น ประเภทของของธุรกิจ (ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจอุตสาหกรรม ฯลฯ) ขนาดธรุกิจ แนวโน้มการลงทุน เป็นต้น ส่วนท่ี 3 ระดับความส าคญัของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทย การเกบ็รวบรวมขอ้มลู ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ซึ่งข้อมูลปฐมภูมินั้นจะได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและข้อมูลเชิงสถิติจากแบบสอบถาม ของนักลงทุนไทยที่ลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาเพื่อทราบถึงปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนและความพึงพอใจเมื่อได้ลงทุนแล้ว ส่วนข้อมูลทุติยภูมิจะใช้ข้อมูลซึ่งได้รวบ รวมมาจากเอกสาร ข้อมูลสถิติ บทวิจารณ์ บทความ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งได้จัดท าและรวบรวมไว้โดยหน่วยงานราชการต่างๆ และเอกชนท่ีเกี่ยวข้องดังนี ้ 1. ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เง่ือนไขหรือกฎเกณฑ์ในการลงทุน นโยบายการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวบรวมจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการลงทุน และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ 2. ข้อมูลตัวช้ีวัดทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติ รวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การวเิคราะหข์อ้มลู ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อครอบคลุมขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการศึกษาท่ีก าหนดไว้ แบ่งวิธีวิเคราะห์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยอ้างอิงจากข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมจากเอกสาร ข้อมูลสถิติ บทวิจารณ์ บทความ และงานวิจัยต่างๆ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อศึกษาระดับความส าคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทย ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงสถิติ โดยอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิประกอบกับข้อมู ลปฐมภูมิที่ได้จากแบบสอบถาม

กรอบแนวคิดในการวจิยั

จากการตรวจเอกสาร ในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทยท าให้เกิดกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยท าการก าหนดตัวแปรต้นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ส่วนตัวแปรตามเป็นการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

ปจัจยัทีม่ผีลตอ่การตดัสนิใจลงทนุ 1.สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ - GDP ต่อหัว - ค่าแรงงาน - อัตราเงินเฟ้อ - อัตราการแลกเปลีย่น - มาตรการทางการค้า 2. สภาพแวดล้อมด้านการเมือง - ความมั่นคงของรัฐบาล - นโยบายและกฎระเบียบ

การตัดสินใจ ในการลงทุน

Page 5: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[364]

สรปุผลการวจิยั ผลการวิจัยสรุปตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จากการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้นเหมาะสมแก่การลงทุนในระดับมาก เนื่องจากกรุงพนมเปญตั้งอยู่ใจกลางของประเทศกัมพูชาบริเวณปากแม่น้ าโขง และเป็นเมืองหลวงของประเทศ เป็นเขตปกครองพิเศษ และยังเป็นที่ตั้งของ สถานที่ส าคัญของทางราชการ เช่น พระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยว สถานทูต สนามบินแห่ง ชาติ ท่าเรือ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น มีระบบการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบายสามารถเดินทางหรือขนส่งสินค้าได้ทุกรูปแบบทั้งทางบก ทางรถไฟ ทางน้ า และทางอากาศ อีกท้ังยังตั้งอยู่บนเส้นทางการเช่ือมโยงเศรษฐกิจระหว่าง 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ไทย เวียดนาม และพม่า ซึ่งมีความส าคัญต่อการค้าขาย การน าเข้า และการส่งออก ส าหรับทิศทางทางธุรกิจที่น่าสนใจได้แก่ ธุรกิจด้านสุขภาพ และโรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น นอกจากน้ีกรุงพนมเปญยังเป็นเขตที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูง มีอ านาจซื้อสูง สังเกตได้จากการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นโดยประชากรส่วนใหญ่มีรถขับและการซื้อรถในกัมพูชานั้นจะซื้อด้วยเงินสด แต่ในทางกลับกันกรุงพนมเปญไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อการค้าและการบริโภคเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงจ าเป็นต้องพึ่งพาการน าเข้าจากประเทศ เพื่อนบ้าน (ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2555: 1-54) วตัถปุระสงคข์อ้ที่ 2 เพื่อศึกษาระดับความส าคัญของปัจจัยทีม่ีผลตอ่การตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทย จากการศึกษาพบว่าระดับความส าคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนไทยใน กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในระดับมากเป็นล าดับแรก คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการเมือง รองลงมา คือ ปัจจัยสภาพ แวดล้อมด้านเทคโนโลยี ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านสังคม ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ ตามล าดับดังนี้ 1. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการเมือง กัมพูชามีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีประมุขฝ่ายบริหารหรือนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ปัจจุบัน คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen) มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Law on the Investment of the Kingdom of Cambodia) ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนถือหุ้นได้ 100%

ศกัยภาพของกรงุพนมเปญ 1. จุดแข็ง 2. จุดอ่อน 3. โอกาส 4. อุปสรรค

Page 6: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[365]

ในการประกอบธุรกิจแทบทุกสาขา (ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,2555: 19) และให้สิทธิประโยชน์โครงการที่ได้รับอนุมัติจากสภาการพัฒนาแห่งกัมพูชา (Council for the Development of Cambodia) เช่น ได้รับการยกเว้นภาษีน าเข้าเครื่องมือการผลิต อุปกรณ์การก่อสร้าง วัตถุที่ใช้ในการประกอบสินค้าเพื่อส่งออก สิทธิในการจ้างพนักงานต่างชาติ เป็นต้น (ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,2555: 31-33) 2. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบการคมนาคมที่สะดวกสามารถเดินทางหรือขนส่งสินค้าได้ทั้งทางบก (มีเส้นทางหลักที่เช่ือมต่อกับจังหวัดต่างๆ 7 เส้นทาง) ทางรถไฟ (มี 2 สายหลักที่ส าคัญ คือ กรุงพนมเปญ-โพธิสัต- พระตะบอง-ศรีโสภณ-ปอยเปต และกรุงพนมเปญ-ตาแก้ว-กัมปอต- สีหนุวิลล์) ทางน้ า (ท่าเรือพนมเปญซึ่งประกอบไปด้วย ท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือในประเทศ ท่าเรือโดยสาร และสถานีตู้สินค้านอกท่า) และทางอากาศ (สนามบินนานาชาติพนมเปญซึ่งมีสายการบินที่บินไปกลับกรุงเทพฯ - พนมเปญ ได้แก่ Thai AirAsia, Bangkok Airways, Thai Airways International) ระบบการสื่อสารรวมถึงอุปกรณ์ในการสื่อสารที่ทันสมัยและสามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยการสื่อสารภายในเมืองจะใช้เคเบิลใยแก้ว และระบบสัญญาณไมโครเวฟ 3. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านสังคม ประชากรส่วนใหญ่คิดเป็น 64.1% ของประชากรทั้งหมดอยู่ในวัยท างาน ระบบการศึกษาคล้ายของประเทศไทยซึ่งมีตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นสูง อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรกรุงพนมเปญประกอบด้วย 4 กลุ่มอาชีพหลัก ได้แก่ รับจ้างท่ัวไป การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการค้า ในส่วนของระบบสาธารณูปโภคนั้นกรุงพนมเปญมีโรงพยาบาลศูนย์ของจังหวัดจ านวน 20 แห่ง ศูนย์อนามัย 1 แห่งซึ่งกระจายตัวตามเขตพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด นอกจากน้ีค่านิยมส่วนใหญ่ของชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ได้รับจากประเทศไทยสังเกตได้จากความช่ืนชอบดารา นักร้องของไทย และร้านเสริมสวยส่วนใหญ่จะติดรูปดาราไทยไว้ที่หน้าร้าน 4. ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ กัมพูชามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยให้สิทธินักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในกิจการได้ 100% ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา และส าหรับโครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก CDC จะได้นับสิทธิประโยชน์ เช่น ได้รับการยกเว้นภาษีน าเข้าเครื่องมือการผลิต อุปกรณ์การก่อสร้าง วัตถุที่ใช้ในการประกอบสินค้าเพื่อส่งออก การมีสิทธิจ้างพนักงานต่างชาติ สามารถเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็นเวลา 9 ปี เป็นต้น ส าหรับสกุลเงินที่ใช้ในกัมพูชานั้นคือ สกุล “เรียล” มีอัตราการแลกเปลี่ยน 1 เรียล = 0.0076 บาทหรือ 10,000 เรียล = 76 บาท (ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2555: 10-11) ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาได้อย่างชัดเจน สามารถเข้าใจและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ จึงวิเคราะห์ในภาพรวมโดยใช้การวิเคราะห์ SWOT ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ดังนี้ จุดแข็ง คือ ประชากรในกรุงพนมเปญมีอ านาจในการซื้อสูง จับจา่ยซื้อขายง่ายหากพึงพอใจ เป็นศนูย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังพ้ืนท่ีติดต่อ และมีความภักดีต่อสินคา้และบริการ จุดอ่อน คือ ปัญหาเบี้ยใบ้รายทาง, ราคาที่ดินสูง และการปลอมแปลงสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง โอกาส คือ การเปิดเสรีการค้า, นโยบายและแผนพัฒนาเมืองในบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ “Phnom Penh Special Economic Zone (PPSEZ)” หรือ “เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ” และการส่งเสริมการลงทุน อุปสรรค คือ การแข่งขันจากจีนและเวียดนาม, ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และระบบการช าระเงินซึ่งใช้เฉพาะเงินสดเท่าน้ัน จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่ากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชามีสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น สภาพทางภูมิศา สตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ที่น่าสนใจแก่การลงทุน แต่อย่างไรก็ตามยังคงปัจจัยที่ต้องค านึง ได้แก่ ความไม่แน่

Page 7: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[366]

นอนทางการเมือง ความไม่ชัดเจนของกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายภาษี กฎหมายการจ้างแรงงาน เป็นต้น การติดต่อสื่อสาร และการคอรัปชั่นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้นประเทศกัมพูชาจ าเป็นต้องสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนจากต่างประเทศถึงความมั่นคง ความชัดเจน ศักยภาพในการลงทุน และผลตอบแทนท่ีจะได้รับ

การอภปิรายผล ประเทศกัมพูชาเป็น 1 ในสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเช่ือมโยงการขนส่งกับต่างประเทศได้สะดวก มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ แรงงานราคาถูก และได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากนานาประเทศ เช่น สถานการณ์ปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) และได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา ส าหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา เมื่อพิจารณาจากตัวช้ีวัดทางเศรษฐกิจ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) นั้นพบว่าในปีพ.ศ. 2553 มีมูลค่า 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.8 (ปี 2552 ร้อยละ -2.5) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวท าให้การส่งออกเสื้อผ้าส าเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้าเริ่มเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก และการที่สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรการ Safeguard ต่อสินค้าเสื้อผ้า ส าเร็จรูปจากจีน ประกอบกับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง เพราะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกที่กระทบผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศกัมพูชา คือ เกาหลีใต้และจีน ท าให้หลายโครงการชะลอตัวและบางโครงการถอนการลงทุน ในขณะที่รายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2552 ที่มีมูลค่า 775 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 805 เหรียญสหรัฐฯ ในปีพ.ศ.2553 (กรมส่งเสริมการส่งออก, 2554: 18-20) กรุงพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา มีจ านวนประชากร 1.3 ล้านคน (ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, 2554: 3) มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายโครงการ ทั้งที่เป็นโรงแรม และคาสิโน มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการซึ่งรวมถึงการค้าปลีก -ค้าส่ง โรงแรมและร้านอาหารมีสัดส่วนถึง 38% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปีพ.ศ.2554 และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน แม้ว่าจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและมีความเสี่ยงในการด าเนินธุรกิจค่อนข้างสูงก็ตาม จากการส ารวจตลาดในกรุงพนมเปญ พบว่าสินค้าทั้งอาหารส าเร็จรูปและสินค้าในชีวิตประจ าวัน (Fast Moving Consumer Goods) ส่วนใหญ่ยังคงน าเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศไทยเห็นได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าต่างๆ จ าหน่ายสินค้าจากประเทศไทย ในด้านระบบการคมนาคมขนส่งในกรุงพนมเปญนั้นสะดวกสบายสามารถเดินทางหรือขนส่งสินค้าได้ทุกรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ า และทางอากาศ ในปีพ.ศ. 2554 ข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา พบว่าบริษัทไทยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 82 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์พบว่ามีบริษัทไทยจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจจ านวน 125 บริษัทโดยเป็นการท าธุรกิจหลากหลายประเภท เช่น บริษัทตัวแทนการน าเข้าสินค้าจากไทย (Trading) ธุรกิจบริการ โรงแรม ร้านอาหาร ออกแบบและก่อสร้าง สถานีโทรทัศน์ สายการบิน โรงพยาบาล และการโฆษณา โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง เกษตรแปรรูป และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น โดยธุรกิจที่ได้รับการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจการผลิตเสื้อผ้าส าเร็จรูป โครงการธุรกิจการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะและชายหาด การก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ท ที่พักอาศัย ร้านอาหาร และสนามกอลฟ์ บริษัทส าคัญๆ ของไทยที่ลงทุนในประเทศกัมพูชาแล้ว ได้แก่ บริษัท C.P. เจริญโภคภัณฑ์

Page 8: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[367]

อาหารสัตว์ มหาชน จ ากัด กลุ่มสยามซีเมนต์ กลุ่มไทยนครพัฒนา โรงแรม โซฟิเทล TCC GROUP (TCC Land, TCC Capital, ThaiBev, BJC) บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จ ากัด (มหาชนโรงพยาบาลกรุง เทพ) บริษัทการบินกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ปตท. บริษัท น ้าตาลมิตรผล จ ากัด เป็นต้น (ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, 2552: 40-42)

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชามีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การลงทุน มีระบบเส้นทางคมนาคมที่สะดวก เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยท างาน อีกทั้งยังมีอ านาจซื้อสูง แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบ จึงส่งผลต่อความมั่นใจและตัดสินใจลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ อีกท้ังยังพบปัญหาการเก็บเบี้ยใบ้รายทางและการคอรัปชั่นที่ไม่มีบทลงโทษท่ีชัดเจน ปัญหาแรงงานไม่มีทักษะและฝีมือ ส่งผลให้นักลงทุนต้องวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงท่ีอาจเกิดขึ้นแม้ว่าจะมีสิทธิประโยชน์ท่ีดึงดูดความสนใจก็ตาม ดังนั้นรัฐบาลควรหาทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนตลอดจนพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพมากข้ึน เป็นต้น ข้อเสนอแนะเชิงปฎิบัติการ 1. ข้อเสนอแนะเพื่อน าไปปฎิบัติของนักลงทุน ส าหรับนักลงทุนไทย ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่มีนโยบายเสรีทางการค้าซึ่งนักลงทุนไทยมีความได้เปรียบกว่านักลงทุนชาติอื่นๆ ทั้งด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม แต่ยังคงมีทัศนะที่ไม่ดีต่อประวัติศาสตร์ หากนักลงทุนไทยมีความตั้งใจและเข้าใจในประเทศกัมพูชา สินค้าหรือบริการของไทยจะเติบโตอย่างแน่นอน ก่อนการลงทุน นักลงทุนควรศึกษาถึงกฎระเบียบของประเทศให้รอบคอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศท่ีเปิดเสรีทางการค้าแต่ยังคงมีจุดบกพร่อง เช่น การคอรัปชั่น เป็นต้น 2. ข้อเสนอแนะเพื่อน าไปปฎิบัติของหน่วยงานภาครัฐ ส าหรับประเทศกัมพูชา หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศกัมพูชาควรเร่งปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และบทลงโทษต่างๆ ให้มีความชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน และควรลดปัญหาการคอรัปชั่นซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ นอกจากน้ีควรสนับสนุนการลงทุนด้านการเกษตรจากต่าง ประเทศ เนื่องจากพ้ืนท่ีส่วนใหญ่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นระบบนิเวศวิทยาทางน้ าขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของชาวพนมเปญ อีกทั้งยังช่วยให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภคได้เอง ช่วยให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการผลิต ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชากรที่ดีขึ้น ส าหรับประเทศไทย รัฐบาลควรส่งเสริมนักลงทุนไทยไปลงทุนในกรุงพนมเปญเพิ่มมากขึ้นทั้งในรูปของการร่วมทุนกับต่างประเทศหรือการลงทุนโดยตรง เพ่ือขยายการลงทุนและยังเป็นการลดต้นทุน กล่าวคือ ค่าแรงงานของประเทศกัมพูชา ถูกกว่าระเทศไทยส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิต แต่ทั้งนี้ฝีมือแรงงานย่อมมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ควรเลือกให้เหมาะกับคุณลักษณะของงาน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต 1. การวิจัยในครั้งน้ีมีข้อจ ากัดของเวลาและงบประมาณในการวิจัย ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบทุกกลุ่มธุรกิจจึงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่าง และข้อมูลที่รวบรวมในบางส่วนไม่สมบูรณ์จึงต้องรวบรวมเฉพาะข้อมูลที่

Page 9: Factors Affecting Investment Decision in Phnom Penh, Cambodia   of Thai Investors

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

[368]

สมบูรณ์มาใช้ในการวิจัยซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก ดังนั้นหากมีระยะเวลาและงบประมาณในการวิจัยมากขึ้นจะท าให้การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาของนักลงทุนไทยจะได้ผลการวิจัยที่สมบูรณ์ยิ่งข้ึน 2. ข้อมูลที่ใช้ประกอบการวิจัยควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพิ่มเติม ซึ่งเกี่ยวกับความพึงพอใจจากการลงทุนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อน ามาวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขัน โอกาสและความเป็นไปได้ในการลงทุน ผลตอบแทนท่ีได้รับ และเป็นแนวทางการแก้ไขปรับปรุงของประเทศ

เอกสารอา้งองิ กรมส่งเสริมการส่งออก. 2554. คู่มือการค้าและการลงทุนราชอาณาจักรกัมพูชา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์. ใกล้รุ่ง อามระดิษ. 2554. ทัศนคติ การรับรู้ ความรู้สึก: ประเทศเพื่อนบ้านแถบลุ่มน้ าโขงต่อไทย . สืบค้นวันที่ 29 มีนาคม 2555 จาก www.siamintelligence.com/view-of-greater-mekong-subregion-countries-on-thai. ส านักงานส่งเสริมวสิาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2555. กรงุพนมเปญ ประเทศกมัพชูา: กระทรวงพาณิชย์. ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. 2554. ดัชนีและคู่มือการลงทุนราชอาณาจักรกัมพูชา . กรุงเทพมหานคร: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. 2552. Country Profile ประเทศกัมพูชา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.