68
สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕) งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เพื อเสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็นหน่วยงานดีเด่นของชาติ ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ของสำานักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ http://stang.sc.mahidol.ac.th

Stang Library Report

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Stang Library Report สรุปผลงานในรอบ 5 ปี (พ.ศ. 2551-2555)

Citation preview

Page 1: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขเพื่อเสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็นหน่วยงานดีเด่นของชาติ ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๕๖ของสำานักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ

http://stang.sc.mahidol.ac.th

Page 2: Stang Library Report

สารบัญ

แบบเสนอผลงานประเภทหน่วยงานที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็น

หน่วยงานดีเด่นของชาติ ประจำาพุทธศักราช ๒๕๕๖ ...................... ๑

ประวัติหน่วยงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ................................................... ๘

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ..................................... ๑๐

ผลงานเพื่อพัฒนาสังคม

การบริการวิชาการ สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย ....... ๑๘

ทรัพยากรห้องสมุด ............................................................................... ๑๘

บุคลากรที่มีคุณภาพ ............................................................................. ๒๑

การบริการสังคมและอุทิศตนเพื่อสาธารณประโยชน์ ......................... ๒๗

ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารฯ .............................................. ๒๗

มหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ .................................... ๓๒

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ................................... ๓๔

พัฒนาองค์กรเพื่อพัฒนาสังคม ................................................................... ๔๒

แผนงานในอนาคต

โครงการเสวนาวิชาการ 21st Century Skills ........................................ ๔๖

โครงการเสวนาวิชาการเพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศ .......................................................................................................... ๔๘

โครงการเผยแพร่ความรู้สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ....................... ๔๙

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

รายการผลการดำาเนินงานของศูนย์รับบริจาคหนังสือฯ ................... ๕๒

ภาคผนวก ข

รายงานการดำาเนินงานมหกรรมหนังสือ

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ................................................................................. ๖๑

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล๒๗๒ ถนนพระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพ ๑๐๔๐๐โทร ๐ ๒๒๐๑ ๕๗๑๐-๒๖ e-mail: [email protected]: http://stang.sc.mahidol.ac.th www.facebook.com/StangMongkolsukLibrary

Page 3: Stang Library Report

แบบเสนอผลงานประเภทหน่วยงานที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็น

หน่วยงานดีเด่นของชาติ ประจำาพุทธศักราช ๒๕๕๖

ข้อ ๑. ชื่อหน่วยงาน

๑.๑ (ภาษาไทย) งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๑.๒ (ภาษาอังกฤษ) Stang Mongkolsuk Library and Information Division

ข้อ ๒. เสนอผลงานดีเด่นสาขา สาขาพัฒนาสังคม

ข้อ ๓. สถานที่ตั้ง

เลขที่ ๒๗๒ ถนน พระรามที่ ๖ แขวง/ตำาบล ทุ่งพญาไท

เขต/อำาเภอ ราชเทวี จังหวัด กรุงเทพ รหัสไปรษณีย ์ ๑๐๔๐๐

โทรศัพท ์ ๐๒-๒๐๑-๕๗๒๕ โทรสาร ๐๒-๓๕๔-๗๑๔๔

เว็บไซต์(Website) http://stang.sc.mahidol.ac.th

ข้อ ๔. ประวัติของหน่วยงาน (ต้องไม่น้อยกว่า ๕ ปี)

๔.๑ ปีที่เริ่มดำาเนินการ พ.ศ. ๒๕๐๑

๔.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหน่วยงาน

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับ โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทั้งนี้จุดมุ่ง

หมายเบื้องต้นของโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือจัดการศึกษาวิชาเตรียมแพทย์และเตรียมประเภทวิชาอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย

แพทยศาสตร์ แต่พร้อมกันนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้จัดตั้งเป็นคณะ โดยมีความคิดที่จะดำาเนินการสอน

ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ในบางสาขา เพื่อให้ผู้ที่สำาเร็จการศึกษาได้กลับมาเป็นอาจารย์หรือทำางานด้านวิทยาศาสตร์

การแพทย์ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่อไป จนที่สุดเมื่อได้มีการเปลี่ยนสถานะเป็น คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้ดำาเนินการเรียนการสอนและวิจัย ผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ที่มี

คุณภาพ อีกทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นสถาบันที่เป็นผู้นำาทางวิชาการและการวิจัย เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของ

ประเทศ

เพื่อให้การดำาเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์เป็นไปดั่งปณิธานที่ตั้งไว้ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงถือเป็น

ภาระสำาคัญในการทำาหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน การเรียนการสอนและการวิจัย ผลักดันให้เกิดกระบวนการพัฒนาทางวิชาการและการวิจัย

แก่คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์พื้นฐานเหล่านี้แล้ว งานสารสนเทศฯ ยังมีภาระกิจสำาคัญในการ

จัดเก็บ รวบรวมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการนำามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำาหรับพัฒนาความรู้

ทางวิชาการและการวิจัยในอนาคต

๔.๓ บทบาทหน้าที่ที่สำาคัญ

๑) ทำาหน้าที่ในการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศภายในคณะวิทยาศาสตร์ โดยคำานึงถึงคุณภาพ

ความทันสมัย และสอดคล้องกับสาขาวิชาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนและการวิจัยเป็นสำาคัญ

๒) พัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดมีชีวิต (Living Library) เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study Learning)

ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่ให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Users Center)

๓) พัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดดิจิตอลทางวิทยาศาสตร์ (Science Digital Library) เพื่อตอบสนองการใช้บริการของผู้ใช้ที่ไม่จำากัด

สถานที่และเวลา เป็นแหล่งสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าวิจัยที่ทันสมัย มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์

Page 4: Stang Library Report

๔) ประสานความร่วมมือกับภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เพื่อเป็น

ฐานข้อมูลสำาหรับการศึกษาและวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ทั่วประเทศ

๕) เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยจัดตั้ง “ศูนย์รับบริจาคหนังสือและ

วารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข” ขึ้นเพื่อจัดหาและบริจาคสื่อความรู้ทุกรูปแบบ ให้กับเยาวชนในโรงเรียนหรือสถาบัน

การศึกษาที่ขาดแคลน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๖) เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการค้นคว้าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานรวมถึงสาขาวิชาอื่นๆ แก่คณาจารย์ นักศึกษาจากต่าง

สถาบัน นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และบุคคลผู้สนใจ โดยมุ่งหวังที่จะเป็นหนึ่งในกลไกสำาคัญของสังคมที่ช่วยส่งเสริมและ

พัฒนาความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชน

ข้อ ๕. ทุนดำาเนินการที่ใช้ในหน่วยงาน กิจกรรมหรือบริการที่ได้จัดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ

๕.๑ แหล่งที่มาของเงินทุนดำาเนินการ (ตอบได้มากกว่า ๑ คำาตอบ)

โปรดขีดเครื่องหมาย / ลงในช่อง ( )

( ) งบประมาณของรัฐบาลอย่างเดียว

( √ ) งบประมาณของรัฐบาลบางส่วน

( ) เงินบริจาค

( ) เก็บค่าบำารุงจากสมาชิก

(√ ) หารายได้เอง

( ) องค์กรระหว่างประเทศ

( ) มีผู้อุปถัมภ์

( ) อื่นๆ (โปรดระบุ) .........................................................................

๕.๒ ขนาดของทุนดำาเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา โดยประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาท)

ข้อ ๖. อัตรากำาลังเจ้าหน้าที่ที่ใช้ในหน่วยงาน จำานวน ๒๔ คน

ข้อ ๗. สรุปผลงานที่ดีเด่นของหน่วยงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและ

ต่อไปในอนาคต

๑) บุคลากรของหน่วยงานได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายเพื่อให้ความรู้และฝึกสอนทักษะด้านต่างๆ ที่จำาเป็นต่อการศึกษา

ค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์การทำางานในสาขาวิชาทางสารสนเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ เทคโนโลยี

ทางการศึกษา คอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับเชิญทั้งจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และ

หน่วยงานภายนอก ตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา มีจำานวนรวมทั้งสิ้น ๑๖๑ ครั้ง

๒) งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ทำาหน้าที่รับผิดชอบและจัดทำาเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของคณะฯ สู่สาธารณชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้

อันเป็นประโยชน์แก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงประชาชนผู้มีความสนใจทางด้าน

วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นคือ

- ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทเว็บไซต์ยอดนิยม จากผลการประกวดเว็บไซต์ระดับคณะ/สถาบัน

ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๑

- ได้รับรางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับดีเยี่ยม และรางวัลชนะเลิศด้านปริมาณของเว็บไซต์ จากการประกวด

เว็บไซต์ระดับคณะ/สถาบัน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๒

๓๒

Page 5: Stang Library Report

๓) ผลงานการจัดทำาสารสนเทศผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นผลงาน

สำาคัญของหน่วยสารสนเทศงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้รับเลือกเป็นต้นแบบสำาหรับคณะ/สถาบันอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย

มหิดล และได้รับเกียรติเข้าชมและศึกษาดูงานจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล

๔) เป็นห้องสมุดที่ให้บริการข้อมูล เอกสาร บทความทางวิชาการ แก่คณาจารย์ นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย รวมถึง

ประชาชนทั่วไปผู้มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ โดยประสานความร่วมมือกับเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากทั่ว

ประเทศ ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นได้แก่

- เป็นห้องสมุดที่ให้บริการสำาเนาบทความวารสารระหว่างห้องสมุด จำานวนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และมี

ข้อมูลวารสารในฐานข้อมูล JournalLink จำานวนสูงสุดเป็นอันดับที่สอง ของประเทศ ในปี ๒๕๕๐

- เป็นห้องสมุดที่ให้บริการสำาเนาบทความวารสารระหว่างห้องสมุด จำานวนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

ในปี ๒๕๕๑

๕) บุคลากรของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุน

การเรียนการสอนและการวิจัย เผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่เพียงแต่เฉพาะคณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่บุคลากรจากคณะ สถาบัน หน่วยงาน

อื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์จนได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลเกียรติยศดังนี้

- นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุน

ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านบริการดีเด่น จากที่ประชุมประธานสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

(ปขมท.) ประจำาปี ๒๕๕๐

- นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๑

- นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล และนางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา ได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่น ประจำาปี ๒๕๕๓

จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

- นายพิชิต ลีรุ่งนาวารัตน์ ได้รับรางวัลพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ตำาแหน่งลักษณะงานด้านวิชาชีพหรือบริหารงาน

ทั่วไป ประจำาปี ๒๕๕๕

๖) ได้รับเกียรติจากคณะ สถาบัน หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานกิจการ

ด้านต่างๆ ของหน่วยงาน อาทิ งานด้านการบริหารจัดการทั่วไป งานบริหารจัดการห้องสมุด งานบริการห้องสมุด งาน

ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ งานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) งานด้านจดหมายเหตุ

และพิพิธภัณฑ์ และงานปลีกย่อยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่ขอเข้าศึกษาดูงานนั้นมาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เช่น ห้องสมุดกลุ่มแพทยศาสตร์ สำานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำานักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์ สำานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร สำานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำานักหอสมุด

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย อาจารย์

และนักศึกษาจาก School of Science and Technology Students Association, Universiti Malaysia Sabah ประเทศมาเลเซีย

นักศึกษาจาก Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย คณะผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

โอซาก้า เป็นต้น

๗) จัดตั้ง ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เพื่อทำาหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับบริจาคและส่งมอบ

สื่อความรู้ทุกรูปแบบ ให้แก่นักเรียน/เยาวชน ในโรงเรียนหรือหน่วยงานที่ขาดแคลนทั่วประเทศ และยังประสานความร่วมมือ

กับทั้งมูลนิธิ องค์กรอิสระ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้ดำาเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ได้ส่งมอบสื่อความรู้ให้แก่

โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไปแล้ว ๙๖ แห่ง และยังส่งมอบไปยังโรงเรียนที่ขาดแคลนในสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว ๑ แห่ง ซึ่งโครงการนี้มีความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน ให้เป็นผู้ที่ใฝ่ศึกษา

เปิดโอกาสในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาสติปัญญาให้เป็นบุคคลที่มีความรู้และทักษะอันเป็น

ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคมต่อไปในอนาคต

Page 6: Stang Library Report

๘) นำาเสนอข้อมูลความรู้ในรูปแบบของบทความ เป็นสื่อกลางในการนำาเสนอความรู้จากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่าง

ประเทศ โดยอาศัยสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ดังกล่าวครอบคลุมสาขาวิชาทาง

สารสนเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนิน

งานของงานสารสนเทศและห้องสมุดฯ รวมถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง เหตุการณ์สำาคัญและ

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจ สื่อออนไลน์ที่ใช้สำาหรับเผยแพร่ความรู้อย่างสม่ำาเสมอได้แก่ Weblog ซึ่ง blog ของห้อง

สมุดสตางค์ มงคลสุข ในปัจจุบันมีผู้เข้ามาติดตามอ่านสาระความรู้มากกว่า ๒ แสนคน

๙) ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการเยี่ยมสำารวจหน่วยงานตามระบบคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) ระยะที่ ๓

ประจำาปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒ ให้เป็นหน่วยงานที่มีความสำาคัญและมีผลงานในระดับที่ดี ในมาตรฐานด้านคุณภาพ (ระบบ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบและกลไกพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งด้านโครงสร้าง

Hardware Software และ Peopleware) ด้านการศึกษา (เป็นหน่วยงานที่มีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการ

สอน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการค้นคว้าด้วยตนเองอย่างเพียงพอ) และด้านการวิจัย (ด้านการจัดการผลงาน

วิจัย)

ข้อ ๘. รางวัลที่เคยได้รับ (ระบุปีที่ได้รับ)

๘.๑ ชื่อรางวัล รางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่น ด้านบริการดีเด่น ประจำาปี ๒๕๕๐

(ผู้ได้รับรางวัล: นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

ที่ประชุมประธานสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.)

๘.๒ ชื่อรางวัล รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำาปี ๒๕๕๑

(ผู้ได้รับรางวัล: นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๓ ชื่อรางวัล รางวัลข้าราชการดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๓

(ผู้ได้รับรางวัล: นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล และ นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๔ ชื่อรางวัล รางวัลพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ตำาแหน่งลักษณะงานด้านวิชาชีพหรือบริหารงานทั่วไป ประจำาปี ๒๕๕๕

(ผู้ได้รับรางวัล: นายพิชิต ลีรุ่งนาวารัตน์)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๕ ชื่อรางวัล รางวัลชนะเลิศประเภทเว็บไซต์ยอดนิยม จากผลการประกวดเว็บไซต์ระดับคณะ/สถาบัน

ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๑

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๖ ชื่อรางวัล รางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับดีเยี่ยม

จากการประกวดเว็บไซต์ระดับคณะ/สถาบัน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๒

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 7: Stang Library Report

๘.๗ ชื่อรางวัล รางวัลชนะเลิศด้านปริมาณของเว็บไซต์

จากการประกวดเว็บไซต์ระดับคณะ/สถาบัน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำาปี ๒๕๕๒

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๘ ชื่อรางวัล รางวัลการพัฒนาเว็บไซต์ระดับดีเด่น

จากการประกวด Mahidol University Web Contest 2010 (๒๕๕๓)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๙ ชื่อรางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภท Visibility

จากการประกวด Mahidol University Web Contest 2010 (๒๕๕๓)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

๘.๑๐ ชื่อรางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภท Size (Web Pages)

จากการประกวด Mahidol University Web Contest 2010 (๒๕๕๓)

ชื่อหน่วยงาน องค์กรหรือสถาบันที่มอบให้

มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเหตุ ๑. เนื้อที่ไม่พอโปรดใช้กระดาษเพิ่มเติม

๒. ขอให้ส่งผลงานและประวัติเป็นรูปเล่ม (ฉบับสำาเนา) CD/VCD และรูปภาพ

๓. ขอรับผลงานคืนตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๕๖ หากไม่มารับภายในกำาหนดถือว่ามอบให้

สำานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ดำาเนินการตามแต่ที่จะเห็นสมควร

๕๔

Page 8: Stang Library Report

ประวัติหน่วยงานงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 9: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้ถือกำาเนิดขึ้นพร้อมกับ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๑จนพัฒนามาเป็นคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบันทำาหน้าที่สนับสนุน

ส่งเสริมการดำาเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในสาขาวิทยาศาสตร์ ให้นำาความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคมและประเทศชาติ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุขได้ทำาหน้าที่อยู่เบื้องหลังความสำาเร็จของคณะวิทยาศาสตร์และจะยังคงทำาหน้าที่อันสำาคัญนี้ต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดยั้งด้วยจุดหมายให้คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้นำาทางวิชาการและวิจัยเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเศรษฐกิจสังคมของประเทศสืบไป

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นับแต่ปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่ อำาเภอหว้ากอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ประเทศสยามได้เริ่มตื่นตัวและยอมรับวิชาการด้าน

วิทยาศาสตร์มากขึ้น พระอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นแบบอย่างที่สำาคัญในการศึกษา

ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ นอกจากจะทำาให้ชาวสยามในสายตาของชาวต่างเปลี่ยนไปจากเดิม ยังทำาให้ชาวสยามหันมาใส่ใจเรื่องการศึกษา

มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูประบบการศึกษาเสีย

ใหม่ มีการจัดตั้งระบบการศึกษาที่เป็นสากล สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นแห่งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหลานราษฎรได้เล่าเรียน นับเป็นการขยาย

ฐานการศึกษาให้แก่ราษฎรเพื่อให้รู้จักวิทยาการสมัยใหม่มากขึ้น ด้วยเหตุที่แผ่นดินในยุคนั้นกำาลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ล่าอาณานิคมของ

ชาวตะวันตก หากยังปล่อยให้ชาวสยามมีการศึกษาที่ล้าหลัง ก็อาจส่งผลร้ายต่อประเทศได้

ในช่วงปลายรัชกาล สมัยที่ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ว่าราชการตำาแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีการจัดตั้งระบบการ

ศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้น ยกระดับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น ๔ คณะ ได้แก่ แพทยศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำาเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารทดลองวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๐๘

Page 10: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ในยุคเริ่มต้น คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนแพทย์และวิศวะ อีกทั้งยังผลิต

ครูสำาหรับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น ๔ แผนก คือ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ เคมี และฟิสิกส์ ต่อมาจึงได้

แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็น คณะวิทยาศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงกลายเป็นแหล่งศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษาเพียงแห่งเดียวของ

ประเทศไทย แต่ในยุคสมัยที่โลกกำาลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศเริ่มมีมากขึ้น

ขณะที่สถาบันการศึกษาที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์กลับมีไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงเริ่มมีความคิดที่จะสร้าง

สถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข (ขวา) และ Dr. James S. Dinning ผู้แทนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (ซ้าย)

สองผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ศาสตราจารย์ นพ. เฉลิม พรมมาส อธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ติดต่อกับองค์การบริหารวิเทศกิจ

ของสหรัฐอเมริกา (USAID : United State Agency for International Development) ในการขอความช่วยเหลือการศึกษาด้านแพทยศาสตร์

ของไทย โดยทางสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็คือ โรงเรียน

เตรียมแพทย์เชียงใหม่ ขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงได้จัดตั้ง โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขึ้น โดยมีแนวคิดเพื่อจัดการเรียนการสอนด้าน

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิชาประกอบอื่นๆ เป็นเวลา ๒ ปี ให้แก่นักศึกษาทางการ

แพทย์ ก่อนที่จะแยกไปศึกษาในสาขาต่างๆ ต่อไป ซึ่งเมื่อเริ่มก่อตั้งนั้นได้ใช้บางส่วนของตึกเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สำาหรับการเรียนการสอน

แต่โดยจุดมุ่งหมายนั้น คือการสร้าง คณะวิทยาศาสตร์ สำาหรับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ศาสตราจารย์ นพ. เฉลิม พรมมาส จึง

มอบหมายให้ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ทำาหน้าที่ดำาเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติยกฐานะของโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขึ้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์

การแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เป็นคณบดีท่านแรก

ภาระหน้าที่สำาคัญของ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกเหนือจากการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนเตรียมแพทย์และ

เตรียมสาขาอื่นๆ แล้ว คือการดำาเนินการสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ในบางสาขา เพื่อให้ผู้ที่สำาเร็จการศึกษาได้กลับ

มาเป็นอาจารย์หรือทำางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่อไป

๙๘

Page 11: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระนาม “มหิดล” เป็นนามของมหาวิทยาลัย

จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยยังดำาเนินการเรียนการสอนและวิจัย ผลิตบัณฑิตในสาขา

วิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ และตั้งปณิธานสู่การเป็นสถาบันที่เป็นผู้นำาทางวิชาการและการวิจัย เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ

และสังคมของประเทศ

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นห้องสมุดของโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อมาเมื่อมีการเลื่อน

ฐานะขึ้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ห้องสมุดจึงเปลี่ยนฐานะตามเป็น ห้องสมุดคณะ

วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อคณะและชื่อมหาวิทยาลัยจาก คณะวิทยาศาสตร์การ

แพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง

จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ห้องสมุดได้เสนอต่อที่ประชุมคณบดี เพื่อขอนำาชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่าน

แรก มาเป็นชื่อของห้องสมุดเพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์สืบไป ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตตร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ ห้องสมุด

สตางค์ มงคลสุข นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เมื่อครั้งเริ่มต้น

เมื่อเริ่มดำาเนินการนั้นห้องสมุดมีเพียงตำาราวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑-๒ เท่านั้น จนเมื่อคณะเริ่ม

เปิดการสอนถึงระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเคมี จึงเริ่มมีวารสารและตำาราวิชาเคมีชั้นสูงสำาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๓-๔ เพิ่มขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีโครงการที่จะย้ายสถานที่ตั้งจากเดิมคือบริเวณถนนศรีอยุธยามายังสถานที่ใหม่

คือบริเวณถนนพระรามที่ ๖ ในการนี้คณะได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในโครงการการศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์และ

วิทยาศาสตร์ชีวภาพจนถึงระดับปริญญาเอก ให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือและบุคลากร และช่วยเหลือทุนในการสร้างอาคารเรียนและทดลอง

วิทยาศาสตร์ ให้กับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมกับการอนุมัติสร้างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีด้วย

ในการดำาเนินงานของคณะทางด้านการศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอนสำาหรับนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับ

ปริญญาตรีและปรีคลินิกแก่นักศึกษาแพทย์รามาธิบดี รวมถึงระดับปริญญาโท-เอก เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลเช่นในต่างประเทศ จำาเป็น

อย่างยิ่งที่จะต้องมีห้องสมุดที่ได้มาตรฐานในการให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาที่เปิดสอน มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร ์(The

Rockefeller Foundation) ซึ่งได้ให้การสนับสนุนการสร้างคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ให้ความช่วยเหลือสำาหรับการก่อตั้งและดำาเนินงานของ

ห้องสมุดมาตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านนโยบายและวิธีดำาเนินงาน ด้านทรัพยากรห้องสมุด และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

๑๐

Page 12: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

เมื่อคณะได้ทำาการย้ายสถานที่ตั้งใหม่มายังบริเวณถนนพระรามที่ ๖ พร้อมที่ห้องสมุดได้เปิดทำาการเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.

๒๕๑๑ ขณะนั้นห้องสมุดได้ดำาเนินการบริหารงานโดย Visiting Librarian จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ คือ Dr. Carroll F. Reynolds ซึ่งเปิด

ดำาเนินการก่อนห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ได้ก่อสร้างขึ้นพร้อมๆ กัน ดังนั้น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

(ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (ศาสตราจารย์ นพ.อารี วัลยะเสวี) ผู้แทนมูลนิธิ

ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Dr. James S. Dinning) และ Dr. Carroll F. Reynolds จึงได้ร่วมกันพิจารณาระบบบริหารงานของห้องสมุดทั้งสองแห่งจนเกิด

เป็นนโยบาย Joint Library ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นนโยบายที่ทันสมัยมากและเป็นแห่งเดียวในประเทศที่ดำาเนินการในลักษณะนี้

การบริหารงานแบบ Joint Library สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ทั้งสองห้องสมุดยังคงร่วมมือประสานงานกัน

อย่างใกล้ชิด ในด้านงานเทคนิคและบริการ เพื่อลดขั้นตอนการทำางานและความซ้ำาซ้อนในการจัดซื้อทรัพยากรห้องสมุด แต่ในระหว่างนั้น

สิ่งพิมพ์บางส่วนยังคงถูกเก็บไว้ที่ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงได้มีการขนย้ายไปยังห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ โรง

พยาบาลรามาธิบดีจนครบถ้วน และแบ่งแยกการทำางานด้านเทคนิคออกจากกัน แต่ยังคงการให้บริการร่วมกันอยู่เหมือนเช่นเดิม

ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลได้ยกฐานะ กองห้องสมุด สังกัดสำานักงานอธิการบดี ขึ้นเป็นสำานักหอสมุด และมีคำา

สั่งให้โอนย้ายห้องสมุดคณะ/สถาบันต่างๆ มาอยู่ภายใต้สังกัดสำานักหอสมุดด้วย ดังนั้น สำานักหอสมุดจึงได้ทำาการโอนย้ายข้าราชการ

ทั้งหมดของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ไปขึ้นกับสำานักหอสมุด รวมทั้งย้ายบุคลากรจำานวนหนึ่งไปปฏิบัติงาน ณ สำานักหอสมุด ศาลายา

ตั้งแต่นั้นมา ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงมีฐานะเป็นห้องสมุดสาขาของสำานักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ยังคงได้รับการสนับสนุน

และช่วยเหลือด้านงบประมาณจากคณะวิทยาศาสตร์ ในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งวัสดุสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ สวัสดิการและเงินช่วยเหลือบุคลากร มาอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายของสำานักหอสมุด ได้มีมติให้คณะสามารถดำาเนินการบริหารงานห้อง

สมุดได้เอง ด้วยมติดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความพร้อม จึงขออนุมัติเข้าบริหารงานห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข และขอรับบุคลากร

ห้องสมุดบางส่วน ที่มีความประสงค์จะปฏิบัติงานต่อ ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โอนย้ายมาสังกัดสำานักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ ได้รับอนุมัติให้เริ่มดำาเนินการได้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา

ซ้าย : อาจารย์วิภาวรรณ มนุญปิจุ หัวหน้าห้องสมุดท่านแรก

กับ ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์

บน : บรรยากาศภายในห้องสมุด (ราว พ.ศ. ๒๕๓๐)

๑๑๑๐

Page 13: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

สารสนเทศวิจัยทางวิทยาศาสตร์

การดำาเนินงานของห้องสมุดมุ่งเน้นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย ให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

และคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา การปฏิบัติงานของห้องสมุดได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นตามลำาดับ

โดยมีความตั้งใจที่จะนำาเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด เริ่มจากการนำาคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานห้องสมุด เปิด

โอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยการฝึกอบรม ร่วมประชุม สัมมนา และเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับห้องสมุดชั้นนำาอื่นๆ

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นห้องสมุดในกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการกับ AIT (Asian Institute of Technology) ในการสร้างบัญชี

วารสารด้วยคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงนับว่าในยุคนั้น ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดเป็นห้องสมุดที่มีการให้บริการและทรัพยากรที่

ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และหลังจากนั้นมา ห้องสมุดจึงริ่มพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการให้บริการเรื่อย

มาตามลำาดับ

ระบบสารสนเทศ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ก่อตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการนำาเทคโนโลยีเครือ

ข่ายคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการข้อมูลข่าวสารทางวิชาการของห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สนับสนุนนโยบายพัฒนาระบบการเรียน การสอน การวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ และนโยบายการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระหว่างภาควิชาต่างๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการอย่างสูงสุด

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมข่าวสารและการก้าวกระโดดของพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จนกลายเป็นสังคมไอที

โดยสมบูรณ์ ห้องสมุดจึงจำาเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ดังกล่าว การดำาเนินงานทั้งในเรื่องของงานเทคนิค งานบริการ และตัว

ทรัพยากรห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด ห้องสมุดเริ่มบอกรับวารสารวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มาก

ขึ้น จากเดิมที่บอกรับในรูปแบบของ CD-ROM ก็เปลี่ยนเป็นวารสารออนไลน์ หรือหนังสือตำาราต่างๆ ก็หันมาใช้ในรูปแบบ e-Books มากขึ้น

จากนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการวิจัย จึงได้จัดตั้ง Center of Excellence ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔

เพื่อให้การสนับสนุนด้านบุคลากร สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ งบประมาณ ในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ โดยเน้นงานวิจัยใน

ลักษณะสหวิทยาการ ใช้ระบบบริหารจัดการแนวใหม่ ผลักดันให้เกิดผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ได้อย่าง

เป็นรูปธรรม และเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจเอกชนให้มากยิ่งขึ้น ทำาให้คณะวิทยาศาสตร์มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มี

การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากมาย

ในปีเดียวกันนี้เองคณะวิทยาศาสตร์จึงได้อนุมัติจัดตั้ง หน่วยสารสนเทศวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Center of Scientific Information

Resources : CSIR) ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น หน่วยสารสนเทศงานวิจัย (Research Information

Resources Unit) ทำาหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนระบบจัดการสารสนเทศงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ดำาเนินงานให้เป็นไปตามแนว

๑๒

Page 14: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

นโยบายด้านการบริหารงานวิจัยของคณะฯ ทำาหน้าที่พัฒนาสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยให้แก่กลุ่มผู้ทำาวิจัย

วิเคราะห์สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจให้แก่คณะผู้บริหาร รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่สารสนเทศผลงานวิจัยของคณะฯ ออกสู่สาธารณะ

เทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ

นอกจากหนังสือ ตำารา วารสารวิชาการ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ แล้ว ห้องสมุดยังมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งรวมสื่อโสตทัศนศึกษา

ประเภทต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

โดยเป็นการดำาเนินงานร่วมกัน ระหว่างสำานักหอสมุด และคณะวิทยาศาสตร์ ในการจัดทำา “โครงการพัฒนาห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ทั้งนี้ สำานักงบประมาณได้อนุมัติเงินเพื่อการปรับปรุง จำานวน ๕ ล้านบาท

และใช้พื้นที่ใต้ตึกฟิสิกส์เป็นสถานที่ดำาเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งหน่วย Multimedia Center ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำาหรับให้บริการผลิตสื่อ

แบบดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ระยะที่ ๑ (มีนาคม ๒๕๔๖-

สิงหาคม ๒๕๔๗) ได้ดำาเนินการจัดสร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Stang Mongkolsuk Learning Center) และห้องอเนกประสงค์

สำาหรับจัดกิจกรรมของชมรมผู้ใช้ไอทีมหิดล-พญาไทขึ้น เพื่อเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของหน่วย Multimedia Center

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีการปรับเปลี่ยนภาระกิจของหน่วยงานใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการและความนิยมของผู้ใช้บริการ

ซึ่งเปลี่ยนจากงานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษามาเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปลี่ยนภาระกิจของหน่วยงานให้มีหน้าที่รับผิดชอบ

และปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ จัดทำาระบบ และเผยแพร่สารสนเทศทางวิชาการ จึงได้

เปลี่ยนชื่อหน่วยงานใหม่เป็น หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ (Academic Information Technology Unit)

ห้องสมุดกับงานจดหมายเหตุ

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้ย้ายสถานที่ทำาการมาที่คณะวิทยาศาสตร์ บริเวณถนนพระรามที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ และเปิด

ดำาเนินการเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นับเป็นเวลาถึง ๓๕ ปี ผู้บริหารห้องสมุดจึงได้มีโครงการปรับปรุง ซ่อมแซม และฟื้นฟูด้านกายภาพ

ของห้องสมุดให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการให้บริการ โดยเริ่มดำาเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในการนี้ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์

สตางค์ มงคลสุข ขึ้นภายในบริเวณชั้นสามของห้องสมุด เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่าน

แรก

๑๓๑๒

Page 15: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ภาระกิจสำาคัญของ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คือการค้นคว้า รวบรวม จัดเก็บ เอกสารจดหมายเหตุ วัตถุพิพิธภัณฑ์ที่มีความ

เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข รวมทั้งเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล เพื่อจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวร แสดงเกียรติภูมิและผลงานอันน่าภาคภูมิใจ เป็นแบบอย่างให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะ

วิทยาศาสตร์ได้ชื่นชมและประพฤติปฏิบัติตาม

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีการจัดสร้าง หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ขึ้นบริเวณชั้นสองของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เพื่อจัด

แสดงเกียรติประวัติของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในปัจจุบันมีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลเกียรติยศนี้แล้วจำานวน ๑๒ ท่าน และใช้พื้นที่ในบริเวณ

เดียวกันในการเก็บรวบรวมและจัดแสดงรางวัลเกียรติยศของคณาจารย์และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้สร้างชื่อเสียงมาสู่คณะ

นอกจากนี้ภายในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ยังจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และ

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ได้ทรงสำาเร็จการศึกษาระดับปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และยังได้พระราชทานวิทยานิพนธ์ไว้เป็นที่ระลึกให้กับห้องสมุดสตางค์

มงคลสุข อีกด้วย

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนางานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยและส่วน

งานต่างๆ ให้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นมรดกความทรงจำาและความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ และ

พัฒนาการของมหาวิทยาลัยและส่วนงาน โดยมีนโยบายมายังส่วนงานต่างๆ เพื่อให้ความสำาคัญและร่วมส่งเสริมการพัฒนางาน

จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ในระดับส่วนงาน ให้มีการพัฒนาดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยประสานงานกับงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์

ของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ซึ่งได้ดำาเนินงานด้าน

จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงได้เสนอขอจัดตั้ง หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์

ขึ้น และได้รับการอนุมัติจัดตั้งและดำาเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข กับงานจิตอาสา

นอกจากการให้บริการทางวิชาการแล้ว ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ยังจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะโดยจัดสรรหนังสือและวารสาร

ที่เป็นของห้องสมุด ของบุคลากร หรือที่ได้รับบริจาคจากบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์หรือประชาชนทั่วไป นำาไปบริจาคให้กับโรงเรียนหรือ

ชุมชนที่ขาดแคลน ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้จัดตั้ง ศูนย์รับบริจาคและแลกเปลี่ยนหนังสือ และศูนย์รับบริจาคและแลกเปลี่ยนวารสาร

ขึ้น จนในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงได้รวมเข้าด้วยกันเป็น ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๑๔

Page 16: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

จุดประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคฯ คือเพื่อให้ความช่วยเหลือโรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่ขาดแคลนและ

ต้องการหนังสือ สื่อความรู้ อุปกรณ์การเรียน ด้วยตระหนักดีว่ายังมีเยาวชนอีกเป็นจำานวนมากที่ยังขาดโอกาสในการเรียนรู้ เนื่องด้วยข้อ

จำากัดทางเศรษฐกิจ โรงเรียนหรือชุมชนบางแห่งก็ยังไม่สามารถจัดหาสื่อความรู้ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมสำาหรับเยาวชน ห้องสมุด

สตางค์ มงคลสุข จึงอาสาเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงกับประชาชนหรือหน่วยงานมีจิตศรัทธาต้องการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผลงานดำาเนินงานนับ

ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๗ มาจนถึงปัจจุบัน นับว่าประสบผลสำาเร็จอย่างดีเยี่ยมเป็นที่น่าพอใจ

กว่า ๘ ปีที่ได้ดำาเนินการมานั้น ศูนย์รับบริจาคฯ ได้ส่งมอบหนังสือ วารสาร สื่อความรู้ และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่หน่วย

งานและชุมชนที่ขาดแคลนไปแล้วกว่า ๑๐๐ แห่ง และยังประสานความร่วมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระต่างๆ อาทิ

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ สมาคมไทสร้างสรรค์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สำานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช สำานักพิมพ์ดีเอ็ม

จี สำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บริษัทเผ่าทอง ทองเจือ บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจการค้าปลีก จำากัด เป็นต้น นอกจาก

นี้ยังมีโครงการขยายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศที่ดำาเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) และ

ขยายกิจกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีกด้วย

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีภาระกิจหลักด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำานุบำารุง

ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยมีปรัชญามุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดี เพื่อนำาพาชาติสู่ความเจริญพัฒนาที่ยั่งยืน คณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันมีคณาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติรวมมากกว่า ๒๗๐ ท่าน มีนักศึกษาทุกระดับชั้นรวม

มากกว่า ๒,๕๐๐ คนในแต่ละปี เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี-โท-เอก รวมแล้วกว่า ๕๓ หลักสูตร มุ่งเน้นการวิจัยซึ่งเป็น

พื้นฐานที่สำาคัญที่จะนำามาซึ่งองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต ซึ่งคณะฯ ได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร อุปกรณ์

เครื่องมือที่จำาเป็น อาคารสถานที่ งบประมาณ ตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำานวยต่อการดำาเนินงาน โดยตระหนักถึงความสำาคัญ

ในอันที่จะพัฒนาการวิจัยของคณะฯ อย่างยั่งยืน

ด้วยความทุ่มเทและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของคณะวิทยาศาสตร์ จึงทำาให้คณาจารย์และนักวิจัยของคณะฯ ได้ผลิตผลงานวิจัย

ที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับ มีการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติเป็นจำานวนมากในแต่ละปี มีคณาจารย์ นักวิจัย และ

นักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงได้รับรางวัลดีเด่น และได้รับการสดุดีเกียรติคุณจากสถาบันสำาคัญในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและ

ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง คณะฯ จึงจัดเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นการศึกษา และเกิดผลงานวิจัยในระดับสากล จัดให้มีศูนย์

๑๕๑๔

Page 17: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ข้อมูลและสื่อการสอนทุกรูปแบบ (Resource Center) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการปฏิรูประบบการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้

ด้วยตนเองและผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อให้ข้อมูลและคำาแนะนำาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง จัด

ระบบบริหารและการเงินของทุกหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

ด้วยเหตุนี้ คณะฯ จึงมีแผนงานที่จะรวมหน่วยงานที่มีภาระงานด้านสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ หน่วยสารสนเทศงาน

วิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายในเมื่อต้นปีงบประมาณ ๒๕๔๕ และ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ที่มี

ภาระงานด้านการพัฒนาและบริการสารสนเทศ เพื่อยกระดับให้มีฐานะเป็นงานหนึ่ง ภายใต้สังกัดสำานักงานคณบดี จัดให้มีโครงสร้าง

และรูปแบบที่เหมาะสม พัฒนาเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมและให้บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

การวิจัย ของคณะฯ โดยเน้นความต้องการสารสนเทศของบุคลากรและนักศึกษาของคณะฯ และมหาวิทยาลัยเป็นหลัก โดยใช้ชื่อ

ว่า “งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข” ให้การดำาเนินงานด้านสารสนเทศเป็นไปตามนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์ และ

สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดี และเป็นผู้นำาทางวิชาการและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

ของประเทศ

๑๖

Page 18: Stang Library Report

ผลงานเพื่อพัฒนาสังคมไทย๑๖

Page 19: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

การบริการวิชาการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย

นับตั้งแต่ก่อตั้งห้องสมุดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๑ห้องสมุดได้ตั้งปณิธานในการเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่สำาคัญและนำาความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศชาติห้องสมุดจึงพยายามพัฒนาปรับปรุง

ทรัพยากรทั้งหมดให้มีความทันสมัยมีความเป็นสากลเชื่อถือได้รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถจนเป็นที่พึ่งให้กับผู้ใช้บริการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล เนื่องด้วยนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลห้องสมุดจึงกลายเป็นแหล่งจัดเก็บรวบรวมและศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตผลงานวิจัยดังนั้นห้องสมุดสตางค์มงคลสุขจึงมีภาระหน้าที่สำาคัญในการจัดเตรียมทรัพยากรเหล่านี้เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ทุกระดับชั้น

๑. ทรัพยากรห้องสมุด

ทรัพยากรของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้สองประเภท คือ ทรัพยากรประเภทสิ่งตีพิมพ์

ได้แก่ หนังสือ ตำารา วารสารวิชาการ ที่อยู่ในรูปแบบตัวเล่มทั้งหมด และ ทรัพยากรประเภทอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-

Journals) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books) ฐานข้อมูลออนไลน์ ซีดี ดีวีดี เป็นต้น และในแต่ละประเภทยังแบ่งย่อยตามสาขาวิชาได้อีกหลาก

หลาย

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ให้ความสำาคัญกับทรัพยากรที่มีให้บริการอย่างมาก โดยทรัพยากรที่ให้บริการต้องตอบโจทย์และ

สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ มีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพความรู้และทักษะของนักศึกษา เป็นเครื่อง

มือที่ช่วยในการศึกษาค้นคว้าและการสอนของคณาจารย์ โดยมิได้มุ่งเน้นเฉพาะตำาราวิชาการที่ใช้ในห้องเรียน แต่ยังครอบคลุมถึงความรู้ที่

นักศึกษาสามารถค้นคว้าศึกษาได้ด้วยตนเอง ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือความรู้ทั่วไปที่จำาเป็น

ต่อการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑

๑.๑ ทรัพยากรประเภทสิ่งตีพิมพ์

แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

๑) หนังสือหรือตำาราวิชาการ ความรู้ทั่วไป

ทรัพยากรประเภทนี้ยังสามารถแยกย่อยตามระเบียบกฏเกณฑ์ทั่วไปของงานห้องสมุดได้ อาทิ หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง

หนังสือสำารอง หนังสือต่อเนื่องรายปี รายงาน วิทยานิพนธ์ โดยรวมแล้วห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีทรัพยากรประเภทนี้ให้บริการมากกว่า

๕๐,๐๐๐ เล่ม โดยแบ่งสาขาวิชาตามหมวดหมู่

๑๘

Page 20: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๒) วารสารวิชาการและนิตยสาร

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีวารสารและนิตยสาร ให้บริการราว ๗๕,๐๐๐ เล่ม (หมายรวมทั้งฉบับเล่มเย็บและฉบับปลีก)

ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ห้องสมุดมีนโยบายลดการบอกรับในรูป

แบบตัวเล่ม จนถึงปัจจุบันมีการบอกรับวารสารวิชาการในรูปแบบตัวเล่มเหลืออยู่เพียง ๓๐ ชื่อ

๑.๒ ทรัพยากรประเภทอิเล็กทรอนิกส์

แบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ

๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books)

บอกรับโดย หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนใน

มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันสามารถเข้าใช้งานได้มากกว่า ๒๐,๐๐๐ รายชื่อ

๒) วารสารอิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูลออนไลน์ (E-Journals & Databases)

แบ่งการบอกรับออกเป็นสามส่วน คือ บอกรับโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัย

มหิดล และสำานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนใน

มหาวิทยาลัยมหิดล และยังเชื่อมโยงไปยังวารสารเสรี (Open Access Journals) สามารถเข้าใช้งานได้ทุกวิทยาเขตภายใต้ระบบเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานข้อมูลให้บริการมากกว่า ๑๔๐ ฐานข้อมูล มีวารสารอิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้งานมากกว่า ๓๐,๐๐๐

รายชื่อ

๒) สื่อโสตทัศนวัสดุ

ประกอบด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท ซีดี และ ดีวีดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนตามหลักสูตรของคณะ

วิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้ประกอบกับหนังสือตำาราวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์บางส่วนยังได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันนวัตกรรมการเรียน

รู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และจากความอนุเคราะห์จากหน่วยงานอื่นๆ โดยเน้นเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

และที่เป็นสาระความรู้ทั่วไป

การมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาสังคม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้าที่สำาคัญ แม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่ก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม จนมีคำากล่าว

ที่ว่า “เดี๋ยวนี้ไม่จำาเป็นต้องมาห้องสมุดอีกแล้ว” แน่นอนว่าห้องสมุดมีข้อมูลความรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้ แต่กระนั้น

หนังสือ ตำารา หรือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบเอกสารฉบับพิมพ์ก็ยังมีความจำาเป็นและความต้องการใช้งานอยู่ ห้องสมุดจึงให้ความสำาคัญกับทรัพยากรทั้ง

สองประเภท เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้ โดยกำาหนดมาตรฐานไว้ว่า “นำาเสนอข้อมูลที่ไว้วางใจได้เสมอ” (Information You Can Trust)

๑๙๑๘

Page 21: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ในด้านเนื้อหานั้น ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้ดำาเนินการสั่งซื้อหรือบอกรับโดยอิงจากเนื้อหาวิชาที่มีการเรียนการสอนใน

หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์เป็นสำาคัญ รวมถึงเนื้อหาวิชาที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับการศึกษาค้นคว้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำาคัญ

สำาหรับการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นห้องสมุดที่มีนโยบายเปิดกว้างในการให้บริการทางวิชาการแก่ผู้ใช้ทุกท่าน ไม่จำากัดเฉพาะผู้ใช้ที่

เป็นบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ หรือของมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ทั้งนักเรียน นักศึกษา จากทุก

สถาบัน ประชาชนผู้สนใจศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สามารถเข้ามาใช้บริการทรัพยากรของห้องสมุดได้ โดยไม่เสียค่าบริการ

เข้าใช้ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่นิยมของนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และนักวิจัยจากทั่ว

ประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน

การที่จะคนในสังคมจะพัฒนาตนเพื่อนำาไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไปนั้น จำาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความรู้ ความ

เข้าใจในศาสตร์ด้านต่างๆ อย่างถูกต้อง มีคุณภาพ และทันต่อยุคสมัย ซึ่งเป็นปรัชญาการทำางานของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มาตั้งแต่

แรกเริ่ม โดยจะมุ่งเน้นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำาคัญ ดังนั้น นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย จำานวนมากจากหลาย

สถาบันทั่วประเทศ ต่างเคยใช้ทรัพยากรของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ในการศึกษาค้นคว้าและผลิตผลงานวิจัยในทุกระดับชั้น

ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดถึงคุณภาพของทรัพยากรที่มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คือสถิติการใช้บทความจากวารสาร

วิชาการ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูล Journal Link ซึ่งห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีสถิติการ

ให้บริการสำาเนาบทความวิชาการในจำานวนที่สูงมากในแต่ละปี และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีสถิติการให้

บริการสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีการยกเลิกการให้บริการสำาเนาบทความผ่านฐานข้อมูล Journal Link แต่ถึงกระนั้นการให้

บริการของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ก็มิได้สะดุด เพราะห้องสมุดได้เปิดให้ผู้ใช้สามารถแจ้งความต้องการขอใช้บริการสำาเนาบทความ

วิชาการตรงมาถึงห้องสมุด ควบคู่กับการให้บริการผ่านระบบ Journal Link มาโดยตลอด ดังนั้น บริการดังกล่าวจึงยังมีสถิติการขอใช้ใน

ปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยมีสถิติการขอใช้บริการในช่วง ๕ ปีหลัง (ปีงบประมาณ ๒๕๕๐-๒๕๕๕) จำานวน ๓,๗๔๙ บทความ

แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของทรัพยากรที่ห้องสมุดจัดเตรียมไว้สำาหรับให้บริการว่ามีคุณภาพและความสำาคัญต่อการศึกษาวิจัยมากเพียงใด

หากจะนับเพียงเฉพาะผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้วนั้น ในระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา มีการผลิตผล

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติเฉลี่ย ๓๘๐ ชิ้นต่อปี ซึ่งผลงานทุกชิ้นล้วนแต่มีผลต่อเนื่องถึงการค้นคว้าวิจัย

การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยในอนาคตทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

๒๐

Page 22: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

จากตัวอย่างผลงานข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของทรัพยากรที่ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้คัดสรรและ

รวบรวมไว้สำาหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยมิได้คำานึงถึงเฉพาะผู้ใช้ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น แต่ยังคำานึงถึงผู้ใช้ที่มา

จากสถาบันอื่นและประชาชนทั่วไป เพราะได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญของการศึกษาค้นคว้าและวิจัย อันมีผลต่อเนื่องถึงกระบวนการ

พัฒนาการศึกษา การวิจัย เพื่อนำามาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ

๒. บุคลากรที่มีคุณภาพ

องค์กรที่ดีย่อมเกิดจากบุคลากรที่ดี งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงให้ความสำาคัญในการพัฒนาศักยภาพของ

บุคลากร เพราะเข้าใจดีว่าเมื่อบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ ย่อมนำาพาองค์กรก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งนั่นคือการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่

ช่วยในการผลักดันให้สังคมและประเทศชาติมีพัฒนาการที่ยั่งยืน

งานสารสนเทศฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น ๒๗ คน แบ่งเป็น นักเอกสารสนเทศ (๓ คน) บรรณารักษ์ (๖ คน) นักวิทยาศาสตร์ (๒ คน)

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (๓ คน) ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (๔ คน) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (๒ คน) พนักงานพิมพ์ (๒ คน) เจ้าหน้าที่

เก็บหนังสือและวารสาร (๒ คน) ทำาหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย อันเป็นภาระกิจหลักของคณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความโดดเด่นของบุคลากรของงานสารสนเทศฯ นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระกิจหลักที่ได้กำาหนดไว้แล้วนั้น คือการที่

บุคลากรมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาหรือความรู้ที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งความเชี่ยวชาญเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อ

ตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะการมีส่วนช่วยสนับสนุนการทำางานของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์

๒.๑ ด้านเทคโนโลยีทางสารสนเทศ (Information Technology)

งานสารสนเทศฯ ได้มีการจัดตั้ง หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ (Academic Information Technology Unit) ขึ้นเมื่อ

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแต่เดิมคือ หน่วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (Multimedia Center) ทำาหน้าที่ผลิตและให้บริการสื่อโสต

ทัศนศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อมัลติมีเดีย แต่เนื่องจากรูปแบบความต้องการของนักศึกษาและพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่แปรเปลี่ยนไป

ตามยุคสมัย จึงได้มีการปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่จากงานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา มาเป็นงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒๑๒๐

Page 23: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้าน

ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ จัดทำาระบบ และ

เผยแพร่สารสนเทศทางวิชาการ ตามภาระกิจหลักของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ยังทำาหน้าที่เผยแพร่ความรู้และทักษะ

ทางเทคโนโลยีให้กับคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะฯ เพื่อนำาความรู้และทักษะที่ได้ไปต่อยอดและพัฒนาการเรียนการสอนและ

การวิจัยต่อไป

บุคลากรผู้ทำาหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ มี ๓ คน

รวมกับบุคลากรจากหน่วยอื่นๆ ภายใต้งานสารสนเทศฯ อีก ๒ คน ทำาหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ตามความถนัดของแต่ละคน โดยมีกำาหนดการ

ที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “ชมรมผู้ใช้ไอที มหิดล-พญาไท” เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิทยาเขตพื้นที่พญาไท ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วม

กิจกรรมแล้วมากกว่า ๑,๗๐๐ คน ทักษะความรู้ที่นำามาถ่ายทอดนั้นได้แก่

• การใช้งานโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม EndNote Zotero และ Mendeley

• การใช้งานโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ Turnitin

• การติดตั้ง Windows และโปรแกรมสามัญประจำาเครื่อง

• การสร้าง Poster ผลงานวิจัย ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop

• เทคนิคการบำารุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

• การสร้าง Presentation แบบมืออาชีพ ด้วยโปรแกรม PowerPoint

• การสร้างภาพกราฟิกประกอบรายงาน โปสเตอร์ผลงานวิชาการ ด้วย Adobe Illustrator

• การใช้งาน Facebook และ Twitter เบื้องต้น

• การใช้งาน Blog by Wordpress

• การสร้างแบบประเมินออนไลน์ด้วย Google Docs

• การสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Adobe Live Cycle Designer

• การ Backup Computer ด้วย Norton Ghost

• การตัดต่อไฟล์ VDO ด้วย Windows Movie Maker

• การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และ e-book ด้วย Adobe Acrobat 7.0 Professional

• การจัดรูปแบบเอกสารด้วย MS Word 2007 แบบมืออาชีพ

• การสร้างสิ่งพิมพ์ระดับมืออาชีพด้วย MS Publisher 2010

• เทคนิคการวาดแผนผัง ด้วยโปรแกรม Visio

• ฯลฯ

๒๒

Page 24: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ความรู้และทักษะเหล่านี้ไม่เพียงถ่ายทอดให้แก่บุคลากรของคณะ

วิทยาศาสตร์หรือสมาชิกชมรมฯ เท่านั้น แต่บุคลากรของห้องสมุดยังได้รับ

เชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล และ

หน่วยงานภายนอก อาทิ

• วิทยากรโครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์สำาหรับบุคลากร

สำานักงานอธิการบดี หลักสูตร “Digital document creation techniques”

ณ สำานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

• อาจารย์พิเศษวิชา PTPT672 : วิธีการสอนในภายภาพบำาบัด

หัวข้อ “การผลิตสื่อมัลติมีเดียและการประยุกต์ใช้ในการสอน”

ณ คณะกายภาพบำาบัดและการเคลื่อนไหวประยุกต์

• เป็นวิทยากรฝึกอบรมการสร้างโปสเตอร์ผลงานวิจัยด้วย

โปรแกรม Photoshop สำาหรับอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ชั้นยศ

จ่าเอก ถึง นาวาเอกพิเศษ ณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ (๘ กรกฎาคม

๒๕๕๑)

• เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ประสบการณ์ในการจัดทำาเว็บ

ให้น่าสนใจ” ณ อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำานักหอสมุด มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ (๒๖ กันยายน ๒๕๕๑)

• เป็นวิทยากรอบรมการใช้โปรแกรม Endnote ในหัวข้อ “Creating

bibliography with Endnote” เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำา

รายการเอกสารอ้างอิงประกอบการทำาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา

ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (๓ เมษายน ๒๕๕๒)

• เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการ เรื่อง “ภัยจากการใช้คอมพิวเตอร์

ในชีวิตประจำาวัน (Computer threat in everyday used)” ณ คณะแพทยศาสตร์

ศิริราชพยาบาล (๙ เมษายน ๒๕๕๒)

• เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การผลิตสื่อมัลติมีเดียและการ

ประยุกต์ใช้ในการสอน” ประกอบรายวิชา PTPT 672 Teaching Methods

Applied to Physical Therapy 2 (1-2) สำาหรับนักศึกษาปริญญาโท สาขา

วิชากายภาพบำาบัด คณะกายภาพบำาบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (๑๔ มกราคม

๒๕๕๓)

• เป็นวิทยากรอบรมเรื่อง “การใช้โปรแกรม Endnote” ให้แก่

นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และนักวิจัยของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ณ อาคารเอนกประสงค์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

(๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓)

๒๓๒๒

Page 25: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• เป็นวิทยากรบรรยาย “การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel”

ณ อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและ

วัฒนธรรมเอเชีย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓)

• เป็นวิทยากรอบรม เรื่อง “How Endnote can help you with your

Research?” ให้แก่อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (๙ มีนาคม ๒๕๕๔)

• เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกอบรม การแก้ไขข้อมูลเว็บไซต์ด้วย

โปรแกรม Dreamweaver ให้กับบุคลากรและนักศึกษาผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ของ

ภาควิชากายวิภาค คณะวิทยาศาสตร์ (๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔)

• เป็นอาจารย์พิเศษบรรยายหัวข้อ การใช้โปรแกรม UNIX/LINUX

เพื่อประมวลผลการทดลอง สำาหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเคมี ชั้นปีที่ ๔

ในรายวิชา SCCH 439 : Computational Chemistry (๗ มิถุนายน ๒๕๕๔)

• เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติการวิชา SCPL291 : Scientific

Illustration สำาหรับนักศึกษา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา เคมี เทคโนโลยี

ชีวภาพ (๘ มีนาคม ๒๕๕๕)

• ฯลฯ

๒.๒ ด้านวิชาการ

ด้วยภาระงานที่ต้องคลุกคลีกับข้อมูลทางวิชาการ การให้บริการทางวิชาการ อีกทั้งห้องสมุดยังเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าที่

สำาคัญ จึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้บุคลากรต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ และยังมีความชำานาญเฉพาะ

ทางในแขนงวิชาอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้อง อีกทั้งบุคลากรของห้องสมุดนอกเหนือจากบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศแล้ว ยังมีนัก

วิทยาศาสตร์และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับข้อได้เปรียบที่ทำาให้สามารถเข้าใจและใช้งานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็น

อย่างดี

จากความสามารถทางวิชาการที่หลากหลาย ทำาให้บุคลากรของห้องสมุดสตางค์ ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรบรรยาย ฝึกอบรม

ให้ความรู้แก่บุคลากรหรือประชาชนทั่วไป เป็นที่ปรึกษา ให้คำาแนะนำาในฐานะผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ แก่หน่วยงานทั้งจากภายใน

และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล โดยหัวข้อในการเผยแพร่ความรู้นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ

ความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และเทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ สื่อสารมวลชน การตลาด

เป็นต้น ซึ่งผลงานที่สำาคัญมีดังนี้

ถ่ายทอดความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์

• เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “แหล่งสารสนเทศวารสารแบบเสรี (Open Access)” ในงานสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือ Journal

Link จัดโดย ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC) สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ สำานักหอสมุด

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

• เป็นวิทยากรบรรยายและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ เพื่อการผลิตผลงานวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพระดับสากล” ให้แก่อาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒๔

Page 26: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “มาตรฐานวารสารการพยาบาลระดับ

ชาติและนานาชาติ : ผลกระทบต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ

พยาบาลศาสตร์” ให้แก่คณาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล

• เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสืบค้นข้อมูลผล

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล” สำาหรับบุคลากรที่ทำาหน้าที่รวบรวมข้อมูล/

สืบค้นข้อมูลผลงานวิจัย ของทุกคณะ/สถาบัน/วิทยาลัย/สำานัก/ศูนย์ ภายใน

มหาวิทยาลัยมหิดล

• เป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง “ความร่วมมือออนไลน์ระบบเปิดเพื่อ

ชุมชนห้องสมุดและวิจัยไทย” ในการประชุมวิชาการประจำาปี ๒๕๕๒ จัด

โดย ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำานักงานพัฒนา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่ง

ประเทศไทยฯ (๑๙ ธัวาคม ๒๕๕๑)

• เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค

web 2.0” ในการสัมมนาเรื่อง “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้อง

สมุดดิจิตอล” จัดโดย สำานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

(๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒)

• เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ : กรณี

ศึกษาการนำาการจัดการความรู้มาใช้ในบริการสารสนเทศ” ณ อาคารบรรณ

ราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราภัฏนครราชสีมา (๒๐ เมษายน ๒๕๕๒)

• เป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Web 2.0 กับ

งานห้องสมุด” เรื่อง ประสบการณ์การนำา Web 2.0 มาใช้กับงานห้องสมุด

สตางค์ มงคลสุข ให้กับ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และนักวิชาการของ

สำานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒)

• เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การตลาดห้องสมุดยุคใหม่

ด้วย Web 2.0 และ Social Networking” ให้แก่นิสิตปริญญาตรี ภาควิชา

บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

(๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

• เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้-การ

วิจัยในห้องสมุด” และ “KM ในงานส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด” ในการ

สัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๘ เรื่อง

“แนวคิดใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด” (New Ideas on Learn-

ing Promotion in Libraries) ณ สำานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา (๒๓ กันยายน

๒๕๕๓)

๒๕๒๔

Page 27: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• เป็นวิทยากรร่วมเสวนา “เปิดโลกการอ่านบนทางสายเน็ต” ใน

งาน “ห้องสมุดมีชีวิต We Love Library” ของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำานักงาน

ป.ป.ส. (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)

• เป็นวิทยากรบรรยายประกอบการเรียนการสอนรายวิชา

๒๒๐๖๒๔๑ ทรัพยากรสารนิเทศและบริการอ้างอิง ในหัวข้อ “การให้บริการ

อ้างอิงเชิงรุก” แก่นิสิตระดับปริญญาตรี โท ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะ

อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔)

• เป็นวิทยากรบรรยายร่วมอภิปรายในหัวข้อ “การพัฒนาคุณวุฒิ

ด้านสารสนเทศศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ

ความจำาเป็นที่ต้องเรียน การบริหารเวลาและการนำาไปพัฒนาตนเอง / คุณวุฒิ”

จัดโดย สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

• ฯลฯ

ถ่ายทอดความรู้ทางคอมพิวเตอร์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

• เป็นวิทยากรร่วมเสวนา “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Open Source Soft-

ware” ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ห้องสมุดและเทคโนโลยีเพื่อบริการความ

รู้ สำาหรับสังคมไทยในอนาคต” จัดโดย ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี

(TIAC) สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

• เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “ประสบการณ์ในการจัดทำาเว็บให้น่า

สนใจ” ณ ห้องประชุม อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำานักหอสมุด มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ (๒๖ กันยายน ๒๕๕๑)

• เป็นวิทยากรร่วมเสวนาเรื่อง “โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ใช้ได้ดี

ใช้ได้จริงกับองค์กร” ในการประชุมวิชาการ ประจำาปี ๒๕๕๒ จัดโดย ศูนย์

บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.) สำานักงานพัฒนา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (๑๗ กันยายน ๒๕๕๒)

ถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่นๆ

• เป็นอาจารย์พิเศษบรรยาย เรื่อง “ปฎิบัติการเนื้อเยื่อของสัตว์

และระบบต่างๆ ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง” สำาหรับนักเรียนที่เข้าค่ายอบรม

วิชาชีววิทยา ของ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐาน

วิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)

• เป็นอาจารย์พิเศษบรรยาย เรื่อง “สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

ปฏิบัติการสารเคมีในเซลล์” สำาหรับนักเรียนที่เข้าค่ายอบรม ของ มูลนิธิส่งเสริม

โอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จ

พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

(สอวน.) ครั้งที่ ๑ ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒๖

Page 28: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

การมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาสังคม

บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถย่อมจะนำาพาให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับประเทศที่หาก

มุ่งหวังจะพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ประชาชนย่อมต้องมีความรู้และทักษะที่จำาเป็นเช่นกัน ซึ่งงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคล

สุข พยายามเน้นย้ำาให้บุคลากรเข้าใจและยึดมั่นในการแสวงหาหนทางพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

แม้งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จะมิใช่หน่วยงานหลักในการดำาเนินการเรียนการสอนและการวิจัย อันเป็นพันธ

กิจหลักของคณะวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยภาระหน้าที่ของงานสารสนเทศฯ ที่ให้การสนับสนุนพันธกิจดังกล่าว บุคลากรของงานสารสนเทศฯ

จึงทำาหน้าที่ให้ความรู้ ให้คำาปรึกษา ถ่ายทอดทักษะอันเป็นประโยชน์ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของคณะวิทยาสาสตร์ รวม

ถึงบุคคลทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้เพราะเข้าใจดีว่า ความรู้ที่ถ่ายทอดให้ไปนั้นจะได้นำาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อ

การเรียนการสอนและการวิจัย ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ซึ่งใช้ประกอบการทำา

วิจัยและการประเมินผลการวิจัย การถ่ายทอดทักษะในการค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการค้นคว้าวิจัย หรือการ

เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ในการทำางานด้านบรรณารักษศาสตตร์และสารสนเทศศาสตร์ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่บุคลากรจากหน่วย

งานและสถาบันต่างๆ เป็นต้น

จากผลงานข้างต้นเห็นได้ชัดว่าบุคลากรของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีความรู้และทักษะที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้าน

ต่างๆ เป็นที่ยอมรับจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก โดยได้รับเชิญเป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษอย่างต่อเนื่อง เป็นการแสดง

ศักยภาพที่นอกเหนือจากภาระงานประจำา ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้สนใจให้นำาไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำางานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

อันจะส่งผลสำาคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมไทยให้ยั่งยืนต่อไป

บริการสังคมและอุทิศตนเพื่อสาธารณประโยชน์

นอกเหนือจากการให้บริการทางวิชาการแก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และคณะ/หน่วยงานอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยมหิดลแล้วงานสารสเทศและห้องสมุดสตางค์มงคลสุขยังเปิดให้บริการแก่บุคลากรจากสถาบัน

อื่นๆและประชาชนผู้สนใจทั่วไปโดยมิได้เก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าใช้แต่อย่างใดทั้งนี้เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำาคัญในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองว่ามีความสำาคัญและมีผลสืบเนื่องโดยตรงต่อพัฒนาการทางวิชาการของประชาชนไทยโดยทั่วไป ไม่เพียงแต่การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการงานสารสนเทศฯยังเห็นความสำาคัญของการส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีลักษณะนิสัยที่รักการศึกษาค้นคว้าในความรู้และทักษะอื่นๆที่จำาเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคข้อมูลข่าวสารซึ่งสอดคล้องกับภาระกิจหลักและศักยภาพของหน่วยงานจึงได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อสังคมหรือCSR(CorporationSocialResponsibility)โดยสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมหรือUSR(UniversitySocialResponsibility)

๑. ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

เป็นกิจกรรมสำาคัญของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ในการมีส่วนให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมเยาวชนไทยให้

มีนิสัยรักการอ่าน และเห็นคุณค่าความสำาคัญของการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

ศูนย์รับบริจาคฯ เริ่มดำาเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ในระยะเริ่มแรกนั้นยังมิได้จัดตั้งเป็นหน่วยงาน เพียงแต่ดำาเนินกิจกรรมให้

ความช่วยเหลือสังคมด้วยการบริจาคหนังสือและสื่อความรู้ให้กับโรงเรียนและหน่วยงานที่ขาดแคลน จากการที่ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๒๗๒๖

Page 29: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ได้รับบริจาคหนังสือจากผู้ใช้อยู่เป็นระยะ โดยส่วนหนึ่งได้คัดเลือกเพื่อออกให้บริการภายในห้องสมุด แต่ก็ยังเหลือหนังสือค้างอยู่จำานวนมาก

จึงได้ดำาเนินการส่งมอบต่อให้โรงเรียนที่มีความต้องการ ต่อมาจึงได้มีความคิดที่จะจัดตั้งเป็นหน่วยงานเพื่อทำาหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หลังจากที่

มีผู้ให้ความสนใจร่วมบริจาคมากขึ้นตามลำาดับ

ในระยะเริ่มแรกนั้นได้แบ่งการดำาเนินงานออกเป็นสองส่วนคือ ศูนย์รับบริจาคและแลกเปลี่ยนหนังสือ และ ศูนย์รับบริจาคและแลก

เปลี่ยนวารสาร ซึ่งนอกจากจะทำาหน้าที่เป็นสื่อกลางรับมอบหนังสือ วารสาร และสื่อความรู้อื่นๆ เพื่อส่งต่อให้โรงเรียนที่ขาดแคลนแล้ว ยัง

เปิดโอกาสให้ห้องสมุดอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนทรัพยากร เป็นการกระจายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้เกิดผลคุ้มค่าที่สุด

ในปี ๒๕๕๔ ได้มีการรวมสองหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การบริหารจัดการของ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคล

สุข โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข” โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ

๑) เพื่อให้ความช่วยเหลือโรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานในชุมชนที่ขาดแคลนหนังสือและสื่อการเรียน

๒) เพื่อเป็นศูนย์กลางหรือเข้าร่วมกับโครงการของหน่วยงานอื่นๆ ในการรับบริจาคหนังสือ วารสาร

รวมถึงอุปกรณ์การเรียนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนในชุมชนต่างๆ

๓) เพื่อสร้างจิตสำานึกและความตระหนักรู้ถึงความต้องการหรือความขาดแคลนหนังสือในชุมชนต่างๆ

ให้แก่สังคมได้รับทราบ และพร้อมที่จะช่วยเหลือชุมชนนั้นๆ ต่อไป

๔) เพื่อปลูกฝัง สร้างเสริมนิสัย และยกระดับวัฒนธรรม “รักการอ่าน” ให้แก่ชุมชนและสังคมไทย

๕) เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับหน่วยงานเพื่อสังคม

ภายในชุมชนใกล้เคียงและชุมชนอื่น ๆ

หนังสือ วารสาร สื่อความรู้ และอุปกรณ์การเรียนที่นำาไปส่งมอบให้โรงเรียนหรือหน่วยงานที่ขาดแคลนนั้น ได้รับบริจาคมาจากผู้

ใช้ห้องสมุดซึ่งเป็นนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และยังได้รับความสนใจ

ร่วมบริจาคจากประชาชนทั่วไป หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเปิดรับบริจาคตลอดทั้งปีอย่างไม่มีกำาหนด นอกจากนี้ ศูนย์

รับบริจาคฯ ยังร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการทำากิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) มุ่งเน้นที่กิจกรรมสำาหรับส่งเสริมการอ่านให้แก่เยาวชนผู้ด้อย

โอกาสทั่วประเทศ

จากผลการดำาเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำาให้ศูนย์รับบริจาคฯ ได้รับความสนใจจากประชาชนและหน่วยงานจากทั่วประเทศ

ที่มาขอเข้าร่วมโครงการด้วยการบริจาคหนังสือ สื่อความรู้ สิ่งของอื่นที่จำาเป็น หรือเงินเพื่อร่วมสมทบทุน และยังได้รับเชิญจากหน่วยงาน

๒๘

Page 30: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

หลายแห่งให้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง ๗ บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำากัด สำานักงานพัฒนา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำานักพิมพ์เคล็ดไทย สำานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น

และในโอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” ในปี ๒๕๕๘ เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้นการมี

ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกับเยาวชนไทยที่ส่วนหนึ่งยังห่างไกลกับความเข้าใจของความสำาคัญในการเป็นประชาคมอาเซียน ศูนย์

รับบริจาคฯ จึงได้มีโครงการ “ส่งมอบความรู้ เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” ด้วยการรับบริจาคหนังสือและสื่อต่างๆ ที่ให้ความรู้ที่เกี่ยว

กับประเทศมาชิก เพื่อส่งมอบให้โรงเรียนต่างๆ ใช้เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเยาวชนไทย

นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ศูนย์รับบริจาคฯ ได้ดำาเนินงานด้วยการเป็นสื่อกลางรับบริจาคและร่วมบริจาค

ให้กับโรงเรียนและหน่วยงานที่ขาดแคลนไปแล้วจำานวนกว่า ๑๐๐ ครั้ง รวมหนังสือ วารสาร สื่อความรู้ และสิ่งของอื่นๆ ที่จำาเป็น มากกว่า

๒ หมื่นรายการ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งของที่ผ่านการใช้งานแล้วที่ยังคงสภาพดี ซึ่งอาจมีมูลค่าทางทรัพย์สินไม่มากมายนัก แต่ผลประโยชน์

ที่เยาวชนไทยที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษา การมีหนังสือดีๆ ให้อ่านเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ มีอุปกรณ์การเรียนที่เพียงพอ และได้รับ

โอกาสในการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นคนดีที่มีคุณภาพของสังคมไทยนั้น เป็นมูลค่าที่มิอาจคำานวณได้เป็นตัวเงิน เหล่านี้คือความตั้งใจจริง

ของงานสารสนเทศฯ ที่จะมีส่วนช่วยผลักดันให้สังคมไทยพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ศูนย์รับบริจาคฯ ได้วางแผนในการขยายขอบเขตการดำาเนินงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ โดยแสวงหาแนวร่วม

เพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังมีโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือไปยังโรงเรียนหรือหน่วยงานในประเทศเพื่อนบ้านใกล้

เคียง โดยเริ่มต้นที่ มหาวิทยาลัยศุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแห่งแรก

ตัวอย่างของกิจกรรม ที่ ศูนย์รับริจาคหนังสืและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้ดำาเนินการมาในรอบ ๕ ปี (รายละเอียด

ดูที่ภาคผนวก ก.)

• มอบหนังสือแก่ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมอบให้แก่ โรงเรียนซับวารินทร์ อ.หนองไผ่

จ.เพชรบูรณ์ ตามโครงการ “เด็กวิทย์ จิตอาสา ครั้งที่ ๑” ในวันที่ ๘-๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

• มอบหนังสือแก่ รศ.นิตา วิวัฒนทีปะ อาจารย์ประจำาภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เพื่อสนับสนุนโครงการ การศึกษาให้แก่โรงเรียนบ้านกูวิง อ.มายอ จ.ปัตตานี ในเขต ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

• มอบหนังสือแก่ชมรมโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนับสนุนโครงการ “โรม่วนซื่นโฮแซวสู่อิสาน บัลดาลสนามกีฬาให้

น้อง ศึกษาวิถีชีวิตท้องถิ่น ณ ดินแดนดอกบัวงาม บ้านคำาไหล”

๒๙๒๘

Page 31: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• มอบหนังสือและวารสารให้แก่ หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศ

เพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอรับบริจาคหนังสือให้แก่โรงเรียน ๓ แห่ง

คือ โรงเรียนบ้านอ่างหิน ตำาบลสามพระยา โรงเรียนพุหวาย และโรงเรียนบ้าน

บ่อหลวง ตำาบลห้วยทรายเหนือ อำาเภอชะอำา จังหวัดเพชรบุรี เพื่อสนับสนุน

โครงการ “หนังสือมือสอง ปันความรู้สู่ชุมชน”

• บริษัท Asia Books มอบหนังสือและนิตยสารจำานวน ๓๐๒ ชื่อ

เรื่อง จำานวน ๕๔๗ เล่ม เป็นมูลค่า ๑๐๖,๖๓๖.๐๕ บาท ให้แก่ศูนย์รับ

บริจาคหนังสือและวารสารห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

• มอบหนังสือและวารสารให้กับบริษัท เดอะ สยาม เซรามิค กรุ๊ป

อินดัสทรี่ส์ จำากัด เพื่อให้แก่ โรงเรียนวัดหนองอ่างทอง ต.หนองแขม อำาเภอ

หนองแค จังหวัดสระบุรี ตามโครงการ “ปันหนังสือเพื่อน้อง” เพื่อส่งเสริมและ

พัฒนาความรู้ของนักเรียน

• มอบหนังสือและวารสารให้กับอาสาสมัครกลุ่มน้ำาใจ เพื่อให้กับ

โรงเรียนวัดลำาบัวลอย ตำาบลท่าเรือ อำาเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดย

สนับสนุนโครงการ “น้ำาใจสู่โรงเรียนวัดลำาบัวลอย”

• ร่วมกิจกรรมตักบาตรหนังสือดี ครั้งที่ ๑๑ เนื่องในวันมาฆบูชา

ประจำาปี ๒๕๕๕ เฉลิมฉลองพุทธชยันตีในวาระครบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดโดยสำานักพิมพ์ดีเอ็มจี

• รับบริจาคมอบหนังสือและวารสารจากบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น

จำากัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุด

สตางค์ มงคลสุข

• บริจาคหนังสือและวารสารให้แก่ ฝ่ายบริการความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง

ชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนใน

โครงการตามพระราชดำาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่ประสบภัยน้ำาท่วม (ตาม “โครงการแบ่งปันเอื้อเฟื้อช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียน

ประสบภัยน้ำาท่วม” ของศูนย์รับบริจาคห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข) จำานวน ๔

โรงเรียน คือ โรงเรียนพีระยานาวิน จังหวัดปัตตานี โรงเรียนส่งเสริมศาสนา

อิสลาม จังหวัดสงขลา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี

และโรงเรียนวัดสมบูรณ์สามัคคี จังหวัดนครนายก

• มอบหนังสือและวารสาร ๒๗๒ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๑,๒๔๔ เล่ม

ให้กับห้องสมุดประชาชนอำาเภอดำาเนินสะดวก ศูนย์การศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย อำาเภอดำาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

• บริจาคหนังสือวารสาร จำานวน ๑,๐๐๐ เล่ม ให้แก่ห้องสมุด

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

๓๐

Page 32: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• นาฬิกา GUESS ร่วมมือกับ สำานักพิมพ์ MAC ในโครงการ Love

to Give มอบหนังสือและวารสารให้กับศูนย์รับบริจาคหนังสือ ห้องสมุดสตางค์

มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อบริจาคให้กับน้องๆ ที่

ขาดแคลนปัจจัยทางการศึกษา

• บริจาคหนังสือร่วมกับ ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง คณะ

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในโครงการบริการวิชาการ “ส่งเสริม

ศักยภาพการดำาเนินงานห้องสมุด โรงเรียนเครือข่ายพันธมิตร มหาวิทยาลัย

อุบลราชธานี”

• ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในโครงการ “เพื่อนสี

เขียวช่วยน้อง” เพื่อมอบหนังสือให้กับ โรงเรียนบ้างวังหมี ตำาบลวังหมี อำาเภอวัง

น้ำาเขียว จังหวัดนครราชสีมา

• ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ (คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน)

เพื่อจัดทำาโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายกระป๋อง หมายเลข ๒๒) มอบ

หนังสือให้กับโรงเรียนบ้านดงยาง ตำาบลธาตุ อำาเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

• ห้องสมุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มอบหนังสือและ

วารสาร National Geographic, สารคดี และเที่ยวรอบโลก ให้แก่ศูนย์รับบริจาค

หนังสือ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย มอบหนังสือ วารสาร จำานวน ๖๗๑ เล่ม และเสื้อผ้าสำาหรับเด็ก

และอุปกรณ์การเรียน จำานวน ๓๓๘ รายการ เพื่อมอบให้กับโรงเรียนหลุงกัง

อำาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการค่ายสัตวแพทย์อาสาสัญจร

• ร่วมจัดนิทรรศการ และรับบริจาคหนังสือในกิจกรรม PTTRM

Knowledge Fair 2010 ของสำานักงานบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำากัด

• ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครปฐม มอบหนังสือและวารสาร เพื่อจัดทำาโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดให้

กับผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา จังหวัดนครปฐม

• ร่วมกับศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต บริจาคหนังสือเพื่อช่วย

เหลือโรงเรียนบ้านโคกกระเบื้องสามัคคี จังหวัดนครราชสีมา

• ออกซุ้มรับบริจาคหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ในรายการ “เด็ก

ดี ๗ สี หรรษา” กิจกรรมของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ณ ไอส์แลนด์

ฮอลล์ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา

• ฯลฯ

๓๑๓๐

Page 33: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๒. งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์

เป็นงานใหญ่ที่สุดงานหนึ่งที่จัดโดย งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โดยจัดขึ้นเป็นประจำาทุกปี ภายในคณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยหวังจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักศึกษา บุคลากรของคณะฯ และหน่วยงาน

ใกล้เคียง รวมทั้งประชาชนทั่วไป

เป็นที่ทราบกันดีถึงความสำาคัญของการอ่าน ด้วยเป็นรากฐานสำาคัญในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ การอ่านยังสร้างแรงบันดาลใจ

เปิดโลกทัศน์ และช่วยต่อยอดองค์ความรู้ให้พัฒนายิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงเฉพาะการแสวงหาความรู้จากตำาราเท่านั้น การอ่านที่หลาก

หลายจะยิ่งช่วยเพิ่มพูนทักษะและจินตนาการให้กว้างไกลมากขึ้น

แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพพื้นที่ในบริเวณทุ่งพญาไท พบว่ายังมีร้านจำาหน่ายหนังสือที่ไม่เพียงพอและยังมีข้อจำากัดในเรื่องของ

ปริมาณและความหลากหลาย ทำาให้ประชาชนมีทางเลือกที่ค่อนข้างจำากัด งานสารสนเทศฯ จึงได้มีความคิดที่จะหาหนทางในการเพิ่ม

โอกาสการเข้าถึงหนังสือรวมถึงสื่อความรู้ทุกประเภทแก่ประชาชนบริเวณท้องที่ทุ่งพญาไท

ในปี ๒๕๔๘ จึงได้มีการจัดงาน “มหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์” ขึ้นเป็นครั้งแรก จากความร่วมมือของคณะและหน่วย

งานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลในพื้นที่ทุ่งพญาไท อันประกอบไปด้วย คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยมีงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นผู้ประสานงาน

หลัก ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนักศึกษา บุคลากร ทั้งจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานใกล้เคียง อาทิ องค์การเภสัชกรรม

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม สำานักงานเขตราชเทวี สถาบันมะเร็ง โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ฯลฯ และประชาชนทั่วไป

วัตถุประสงค์สำาคัญในการจัดงาน มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ นอกจากการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ร่วมเลือกซื้อหนังสือหลากหลาย

ประเภทที่ล้วนแต่มีคุณภาพจากร้านค้าที่มีชื่อเสียงในราคาลดพิเศษ ยังเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดความ

ใฝ่รู้และสนใจในการพัฒนาตนเองด้วยการอ่าน ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและทักษะการใช้ชีวิต ทำาให้ทุกคนมีความคิดที่ดี ทำา

ดี และใฝ่ดี

ไม่เพียงแต่การออกร้านจำาหน่ายหนังสือเท่านั้น ภายในงานยังเปิดเวทีเสวนา โดยการเชิญนักคิด นักเขียน ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงในสาขา

ต่างๆ มาเป็นวิทยากรบรรยายและร่วมสนทนาและเปลี่ยนทัศนกับผู้เข้าชมงาน เป็นการเปิดโลกทัศน์และเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์จริง

๓๒

Page 34: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

และรู้จริงในศาสตร์ต่างๆ และยังเป็นการจุดประกายความคิดที่จะทำาให้ผู้

เข้าร่วมงานเกิดแรงบันดาลใจเพื่อพัฒนาตนเองต่อไป

วิทยากรรับเชิญที่ให้เกียรติมาร่วมงาน มหิดล-พญาไท บุ๊ค

แฟร์ มีความหลากหลายในศาสตร์และศิลป์ ซึ่งล้วนแต่ได้รับความสนใจ

จากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างดี อาทิ

• ดร. ธรณ์ ธำารงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องทะเลไทย

• คุณฐาวรา สิริพิพัฒน์ (ดร.ป๊อป) เยาวชนนักเขียนที่โด่งดัง

จากนิยายแฟนตาซี ไวท์ โร้ด

• รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร สัตวแพทย์ผู้มากประสบการณ์

• คุณชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ นักแสดงและพิธีกรชื่อดัง

• รศ.ดร. สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญด้าน

อักษรศาสตร์

• ศ.ดร. สุทัศน์ ยกส้าน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

• คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรท์

• คุณสรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์) คอมลัมนิสต์ชื่อดัง

จากเครือมติชน

• คุณสุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) ศิลปินแห่งชาติ

สาขาวรรณศิลป์

• คุณกรรณิกา ธรรมเกษร นักพูดและพิธีกรมากประสบการณ์

• ดร. นำาชัย ชีววิวรรธน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน DNA

• คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการบริหาร สำานักพิมพ์

ดีเอ็มจี

• คุณชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่ง

ประเทศไทย

• คุณจรงศักดิ์ รองเดช พิธีกรรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง

• คุณโสภณ ฉิมจินดา พิธีกรรายการ ล้อ เล่น โลก

• อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและผ้า

ไทย

• พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์ผู้มีชื่อเสียง

• คุณดวงพร ทรงวิศวะ เชฟดาวรุ่งแห่งเอเชีย

• คุณสุผจญ กลิ่นสุวรรณ ผู้ประกาศข่าวจาก ไทยพีบีเอส

• ฯลฯ

(รายละเอียด ดูในภาคผนวก ข.)

๓๓๓๒

Page 35: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำาเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยประสาน

ความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานทั้งจากภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายนอก ทุกกิจกรรมล้วนแต่มุ่งเน้นการเผยแพร่

ความรู้ ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งอยู่ในวิสัยที่งานสารสนเทศฯ สามารถจะร่วมด้วยได้

๓.๑ ร่วมจัดกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติ

จากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรม “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ขึ้นเป็นประจำาทุกปี โดยประสานความ

ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในปี ๒๕๕๕ ได้จัดงานถนนสายวิทยาศาสตร์ขึ้นพร้อมกับงาน “วันเด็กแห่งชาติ” มีจุด

ประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เยาวชนไทยสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นภายในกระทรวง

วิทยาศาสตร์ฯ และคณะวิทยาศาสตร์ฯ ให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมสนุก พร้อมทั้งได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ติดตัวกลับไป

ในการนี้ งานสารสนเทศฯ ได้ร่วมจัดกิจกรรมโดยใช้ชื่อว่า “Science Kids … นักวิทย์ตัวน้อย” ด้วยการเปิดบูธจัดกิจกรรมเล่นเกมส์

ชิงรางวัล โดยให้เยาวชนได้ใช้ทักษะเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ ไขปัญหาต่างๆ เป็นการฝึกสมองและไหวพริบและยังได้รับความสนุกสนาน

ซึ่งมีเยาวชนจำานวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมตลอดงาน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทำาให้งานสารสนเทศฯ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้และจุดประกายความ

สนใจด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนไทย และได้เตรียมแผนงานสำาหรับร่วมกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี

๓.๒ ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรหนังสือดี”

จากพุทธวัจนะที่ว่า “แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี” เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำาคัญของการเป็นผู้มีปัญญา และการจะ

เป็นผู้มีปัญญานั้นย่อมต้องเกิดจากการฝึกฝนและศึกษาเรียนรู้ให้แตกฉาน ซึ่งมีการอ่านเป็นพื้นฐานที่สำาคัญยิ่ง

สำานักพิมพ์ดีเอ็มจี ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดให้มี “พิธีตักบาตรหนังสือดี” โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้

เพิ่มพูนความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ให้เป็นที่พึ่งและให้ความรู้แก่ฆารวาส สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน รณรงค์และส่งเสริม

วัฒนธรรมการอ่านหนังสือให้เป็นที่แพร่หลายทั้งในกลุ่มฆราวาสและบรรพชิต นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยตระหนักถึง

๓๔

Page 36: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ความสำาคัญของการทำาบุญตักบาตร ถวายธรรมทานแด่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยมาแต่อดีตกาล และยัง

เป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตีในวาระครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในการนี้ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการตักบาตรหนังสืออันประกอบไปด้วย หนังสือ

ธรรมะ และหนังสือสาระความรู้ทั่วไป รวมจำานวนกว่า ๓๐๐ เล่ม

๓.๓ ร่วมกิจกรรมงาน เปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์ MUSC Open House

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม “เปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์ : MUSC Open House” เป็นประจำาทุกปี เพื่อ

เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้าร่วมชมกิจกรรมการเรียนการสอน ชมห้องทดลอง ร่วมกิจกรรมต่างๆ พบปะพูด

คุยกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับชุมชน

ในแต่ละปีจะได้รับการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมจากโรงเรียนและสถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ สัมผัสชีวิตการทำางาน ได้เห็นและรับ

รู้ประสบการณ์จริงจากนักศึกษารุ่นพี่ นักวิจัย และคณาจารย์ เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลก่อนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งยังได้รับความรู้เบื้องต้นและประสบการณ์ เป็นการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์แก่ชุมชน

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นประจำาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เข้าร่วม

งานได้สัมผัสและทดลองใช้งานฐานข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งตามปกติแล้วนักเรียนแทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นหรือใช้งาน เนื่องจากมีโรงเรียน

ระดับมัธยมศึกษาเพียงไม่กี่แห่งที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะบอกรับฐานข้อมูลเหล่านี้ จึงนับเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนซึ่งล้วนแต่มี

ความสนใจที่จะศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้วทั้งสิ้น

นอกจากนี้ งานสารสนเทศฯ ยังจัดกิจกรรม “หนังสือเพื่อน้อง” โดยนำาหนังสือหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือวิชาการ หนังสือ

สาระความรู้ทั่วไป นวนิยาย วารสารวิชาการ นิตยสารสารคดีและบันเทิงคดี มาแจกให้กับผู้เข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการกระจายความรู้สู่

เยาวชน ส่งเสริมให้เยาวชนรักและเห็นคุณค่าของการอ่าน โดยได้แจกจ่ายหนังสือและวารสารจำานวนกว่า ๑,๐๐๐ ฉบับ เป็นประจำาทุกปี

๓.๔ เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะผ่านสื่อต่างๆ

ภาระหน้าที่อันเป็นพันธกิจสำาคัญประการหนึ่งของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คือการเผยแพร่ความรู้สู่

ประชาชนทั่วไป โดยไม่ได้ตีกรอบเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ แต่รวมถึงศาสตร์ในสาขาอื่นๆ ที่งานสารสนเทศฯ มีความเชี่ยวชาญและมีองค์

ความรู้ที่สามารถจะถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจได้ โดยใช้สื่อต่างๆ เป็นเครื่องมือในการนำาเสนอ

๑) งานวิจัย (Research & R2R)

• Svasti MRJ, Asavisanu R. Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005). ScienceAsia 2006; 32(2):

101-106. (Editorial)

• Svasti MRJ, Asavisanu R. Don’t Forget the Name of Your University/Institution and Remember How It Is Spelled: Another

Look at ISI Databases. ScienceAsia 2006; 32(3): 207-213. (Editorial)

๓๕๓๔

Page 37: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

• Svasti MRJ, Asavisanu R. Four Decades of Excellence in Research - Revealed by

International Database Searches. ใน “๔๘ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(๒๕๐๑-๒๕๔๙)” หนังสือที่ระลึก ๔ รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙. หน้า ๖๗-๗๐.

• Svasti MRJ, Asavisanu R. Aspects of Quality in Journals: A Consideration of the Journals

Published in Thailand. ScienceAsia 2007; 33(2): 137-143. (Editorial)

• Chatsurachai S, Wittayawuttikul R, and Suriyaphol P. Comparison of Using Scopus and

PubMed for Compiling Publications with Siriraj Affiliation. Siriraj Medical Journal 2009

March-April; 61(2): 71-74.

• โครงการ R2R (ทุนวิจัยและพัฒนาองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ ประจำาปี ๒๕๕๒) เรื่อง “โครงการ

พัฒนาความรู้ด้านโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”

โดย วรัษยา สุนทรศารทูล และคณะ

๒) บทความวิชาการ บทความปกิณกะ บทสัมภาษณ์

• บทสัมภาษณ์ “ร้านจำาหน่ายหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข” ใน นิตยสารบรรณารักษ์ (Librarian Magazine) ปีที่ ๑

ฉบับที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑.

• บทสัมภาษณ์ “Magazine Delivery นิตยสารจานด่วน” ใน นิตยสารบรรณารักษ์ (Librarian Magazine) ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕

กรกฎาคม ๒๕๕๒.

• รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. การจัดการความรู้: ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. โดมทัศน์ ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๒

(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๒) หน้า ๓-๙.

• รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. Social Networking กับการประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย. รังสิตสารสนเทศ ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑

(มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๑) หน้า ๑๘-๒๑.

• อภิชัย อารยะเจริญชัย. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาห้องสมุดสู่การเป็น Library 2.0 กรณีศึกษา ห้องสมุดสตางค์

มงคลสุข. วารสารห้องสมุด ปีที่ ๕๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๓) หน้า ๒๖-๓๘.

• อภิชัย อารยะเจริญชัย. แนะนำาห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. ศปว. สาร ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ (ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑) หน้า ๑๓-๑๗.

• อภิชัย อารยะเจริญชัย. แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง (All Quiet on the Western Front). วารสาร

มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ ๓๒ ประจำาภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓. หน้า ๑๐๓-๑๑๖.

• อภิชัย อารยะเจริญชัย. พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๓) หน้า ๑๑-๑๒.

• อภิชัย อารยะเจริญชัย. Board & Blog กระแส 2.0 ยังไม่จางที่ห้องสมุดสตางค์. ศปว. สาร ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-

ธันวาคม ๒๕๕๒) หน้า ๑๓-๑๕.

๓๗๓๖

Page 38: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๓) แผ่นพับ ใบปลิวประชาสัมพันธ์

เผยแพร่ความรู้ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของคณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงประชาชนทั่วไป ในประเด็นความรู้

เกี่ยวกับกฏหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.

๒๕๓๗ และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ศ. ๒๕๕๐

๔) เผยแพร่ข้อมูลความรู้บนสื่อออนไลน์

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Age) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยีทางสารสนเทศ จน

กลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดน ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกล้วนเชื่อมโยงถึงกันด้วยเทคโนโลยี องค์ความรู้สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี การศึกษา

ค้นคว้าจึงไม่จำาเป็นต้องกระจุกตัวอยู่เพียงแค่ในห้องสมุด ห้องสมุดเสียอีกที่ต้องปรับตัวให้ทันต่อวิวัฒนาการของโลกเพื่อให้ยังคงความ

จำาเป็นต่อการมีอยู่ในสังคมปัจจุบัน

งานสารสนเทศฯ จึงได้มีการปรับกลยุทธ์สู่การให้บริการเชิงรุกด้วยการอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การนำาสื่อใหม่

(New Media) มาใช้ร่วมกับการให้บริการเป็นสิ่งจำาเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น งานสารสนเทศฯ จึงเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ด้วย

การเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ (Social Network) เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

เว็บบล็อก / weblog

เนื้อหาความรู้ที่นำาเสนอผ่าน blog มีทั้งส่วนที่เป็นความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ตรงจากผู้ปฏิบัติงาน ความรู้ทั่วไปที่เป็น

ประโยชน์ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุด โดยปัจจุบันงานสารสนเทศฯ มี blog ที่ใช้งานอยู่ ได้แก่ บล็อกแนะนำาหนังสือ

มาใหม่, บล็อกแนะนำานิตยสารมาใหม่, บล็อกแนะนำาหนังสืออ่านนอกเวลา ซึ่งทั้งสามบล็อกจัดเป็นบล็อกที่มีจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์

ทรัพยากรของห้องสมุดเป็นสำาคัญ และบล็อกที่เป็นตัวหลักของงารสารสนเทศฯ คือ Stang Mongkolsuk Library blog

๓๗

Page 39: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

Stang Mongkolsuk Library blog หรือ บล็อกห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข นอกเหนือจากการเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมของห้อง

สมุดแล้ว ยังเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เพื่อการนำาไปประยุกต์ใช้ในการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือต่อยอดเพิ่มพูนความรู้สำาหรับ

พัฒนาตนเอง ประกอบไปด้วยสาระประโยชน์ด้านต่างๆ อาทิ บรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย ศิลปะ ส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ บทความที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง อาทิ วารสารไทยในฐาน

ข้อมูล ISI Web of Science และ Scopus, ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล, รวมแผนที่รับสถานการณ์น้ำาท่วม, พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้, Plagiarism คืออะไร, Turnitin โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, เราจะเรียนและรู้กันอย่างไรใน

ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทความในบล็อกมีความหลากหลายทางเนื้อหา แต่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทุกกลุ่ม

บล็อกห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เริ่มดำาเนินการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ ปัจจุบันมีผู้เข้าชมแล้วมากกว่า ๒ แสน

๓ หมื่นครั้ง (ข้อมูลถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕) หรือเฉลี่ยเดือนละ ๔,๔๐๐ ครั้ง

เฟซบุ๊ค (Facebook)

จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีใช้งานมากที่สุดในโลก โดย

ปัจจุบันมีสมาชิกมากถึง ๑ พันล้านคนแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์อย่าง

ชัดเจนว่าเฟซบุ๊คได้รับความนิยมและเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของ

คนในยุคนี้มากมายเพียงใด การที่งานสารสนเทศฯ เข้ามาร่วมอยู่

ในสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊คจึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการเผย

แพร่ความรู้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น

หลายองค์กรนำาเฟซบุ๊คมาใช้ในการทำาการตลาด งาน

สารสนเทศฯ ก็เช่นเดียวกัน แต่นอกเหนือจากนั้นยังได้ทำาการ

เผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร และเทคนิคการค้นคว้าข้อมูลที่มีความ

จำาเป็นต่อการศึกษา รวมถึงข้อมูลที่สำาคัญต่อการดำารงอยู่ใน

ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งสามารถเผยแพร่ด้วยการใส่ข้อมูลโดยตรง

ลงไปในเฟซบุ๊ค หรือทำาการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ห้องสมุด หรือ

บล็อกของห้องสมุด

งานสารสนเทศฯ เริ่มใช้งานเฟซบุ๊ค ทั้งในรูปแบบ Fan

Page และ Personal Page มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ มีจำานวนการเข้า

ชมเฉลี่ยเดือนละกว่า ๗,๐๐๐ ครั้ง จำานวนผู้ติดตาม (Friend)

สำาหรับ Fan Page มีจำานวน ๑,๕๑๑ คน และ Personal Page มี

จำานวน ๔,๓๓๖ คน (ข้อมูลถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕)

เว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำาคัญของงานสารสนเทศฯ ไม่เพียงแต่ข้อมูลภายในองค์กร แต่ยังเชื่อมโยงยังสารสนเทศที่สำาคัญจาก

แหล่งต่างๆ ทั่วโลก เป็นแหล่งจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของบุคลากร เผยแพร่สู่สาธารณะโดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำาไป

พัฒนาตนเองหรือหน้าที่การงาน

๓๘

Page 40: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

สารสนเทศที่มีภายในเว็บไซต์จะประกอบด้วยสารสนเทศที่เกิดจากบุคลากรของงานสารสนเทศฯ และจากคณาจารย์ นักวิจัยของ

คณะวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังทำาหน้าที่เป็นเว็บท่า (Portal Web) เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นคว้าข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ โดยเว็บไซต์ของงานสารสน

เทศฯ มีจำานวนผู้เข้าใช้งานโดยเฉลี่ยปีละประมาณ ๕ แสน ครั้ง

นอกจากนี้ งานสารสนเทศฯ ยังทำาหน้าที่เป็นผู้ดูแล (Web Master) เว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีส่วน

ในการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับผู้สนใจทั่วไป นอกเหนือจากข้อมูลขององค์กร โดยในแต่ละปีมีจำานวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคณะ

วิทยาศาสตร์ มากถึงกว่า ๒.๒ ล้านคน

สื่ออื่นๆ

นอกเหนือจากสื่อสำาคัญข้างต้น งานสารสนเทศฯ ยังได้เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์หรือถูกอ้างอิง ในสื่อต่างๆ ทั้งสื่อ

ออนไลน์และสื่อหลัก อาทิ

• เผยแพร่ความรู้บน Slideshare และ Scribd

• บทสัมภาษณ์ “ร้านจำาหน่ายหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข” ใน นิตยสารบรรณารักษ์ (Librarian Magazine) ปีที่ ๑

ฉบับที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑.

• บทสัมภาษณ์ “Magazine Delivery นิตยสารจานด่วน” ใน นิตยสารบรรณารักษ์ (Librarian Magazine) ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕

กรกฎาคม ๒๕๕๒.

• ได้รับเลือกเป็นกรณีศึกษาประกอบในบทความเรื่อง การประชาสัมพันธ์ห้องสมุดโดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0 (blog)

วารสารบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๒ (มกราคม ๒๕๕๑) หน้า ๔๙-๖๓.

• บทความความรู้สู่ประชาชน เรื่อง “การจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วย Webometrics : ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ” ในเว็บไซต์ของ

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้ถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ในข่าวของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยระบบ Webometrics Ranking

• ศูนย์รับบริจาคหนังสือ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ปรากฏในลิสต์รายชื่อสถานที่รับบริจาคเพื่อการกุศลของ “จิตอาสา”

(ฉบับ Supplement ของนิตยสาร “สารคดี” เดือนตุลาคม ๒๕๕๒)

๓๙๓๘

Page 41: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๓.๕ จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการเรียนรู้

นอกเหนือจากการถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการที่มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว งานสารสนเทศฯ ยังตระหนัก

ดีถึงความจำาเป็นในการฝึกฝนทักษะและพัฒนาความรู้เพื่อนำามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน ให้นักศึกษา บุคลากร รวมถึงประชาชน

ทั่วไป สามารถนำาไปพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความรู้ที่เป็นประโยชน์นอกเหนือจากวิชาการตามตำารา ตามทฤษฎี ทักษะแห่งศตวรรษที่

๒๑ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มิได้มุ่งเน้นเพียงการศึกษาในระบบเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำาคัญกับการใช้ชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีการ

เปลี่ยนแปลงในทุกด้านของสังคม ความรู้เพียงอย่างเดียวในห้องเรียนจึงไม่เพียงพออีกต่อไป

ตัวอย่างของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้

๑) การจัดงานเสวนา “21st Century Skills: MUSC Are You Ready?”

เป็นการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่แนวคิด สร้างความเข้าใจ และแสดงให้เห็นถึงความ

สำาคัญในการเร่งปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมีรูปแบบที่แปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากศตวรรษที่

๒๐ อาทิ การปรับทัศนคติว่า “ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน” ด้วยเหตุ

ที่ปัจจุบันความรู้มีมากมายมหาศาลเกินกว่าจะครูจะสอนให้นักเรียนได้หมด การขวนขวายศึกษาด้วยตนเองจึงมีความสำาคัญ ครูจึงจำาเป็น

ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะแนวทางหรือจัดกระบวนการเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แทนการถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างให้

เด็กดังเช่นแต่ก่อน นั่นจึงสอดคล้องกับแนวคิดของทฤษฎีนี้ที่ว่า กระบวนการเรียนรู้สำาคัญกว่าความรู้

ในการนี้ งานสารสนเทศฯ ซึ่งมีภาระกิจหลักในการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของนักศึกษา บุคลากร รวม

ถึงสมาชิกในสังคม จึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นโดยมีแผนงานที่จะดำาเนินการเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยในแต่ละครั้งจะมีการกำาหนดหัวข้อ

ไว้เพื่อเป็นการตีกรอบประเด็นที่จะนำาเสนอ เนื่องจากแนวคิดของ 21st Century Skills ค่อนข้างกว้าง จึงจำาเป็นต้องมีการกำาหนดขอบเขตใน

การนำาเสนอ ในงานเสวนาครั้งที่ ๑ นี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นการอธิบายทำาความเข้าใจถึงภาพรวมและความสำาคัญ

ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

ผลของการจัดงานในครั้งนี้นับว่าประสบความสำาเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดทันสมัย มีเทคนิคและกลวิธีในการสอนที่สอดคล้องและตอบรับกับทฤษฎีใหม่นี้ และผู้เรียนเองก็

ให้การยอมรับเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจเข้าร่วมเสวนาจากคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรทั้งจากมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบัน

การศึกษาอื่น รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจและตระหนักรู้ถึงความสำาคัญในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้ทัน

กับยุคสมัย

๒) สัมมนาทางวิชาการ การบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุกวันนี้เรากำาลังอยู่ท่ามกลางวงจรการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่ง

ล้วนแต่เข้ามามีบทบาทและกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำาคัญต่อการดำารงชีวิต แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เรากลับละเลยที่จะ

พัฒนากระบวนการกลั่นกรองและคิดวิเคราะห์ ข้อมูลที่ถูกกระจายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศกลับกลายเป็นผลร้ายที่กลับมาทิ่มแทงเราหาก

เราไม่รู้อย่างเท่าทัน

๔๐

Page 42: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

หนึ่งในปัญหาของภัยร้ายที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีคือการขาดความรู้อย่างถ่องแท้ถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และ

ปลอดภัย ซึ่งแท้จริงแล้วมักเกิดจากการใช้งานโดยไม่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ งานสารสนเทศฯ จึงได้จัดโครงการสัมมนาวิชาการเพื่อ

บริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น โดยเชิญวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์จาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทอรนิกส์และ

คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NETEC) มาให้ความรู้แก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับการถ่ายทอด

ความรู้ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเนื้อหาของการบรรยายครั้งนี้ มุ่งให้ความรู้ถึงภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการโจรกรรม

ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ

ผลของการบรรยายในครั้งนี้ทำาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบถึงรูปแบบการโจรกรรมข้อมูลโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทต่างๆ เพิ่มความระมัดระวังและความรอบคอบในการใช้งานสมาร์ทโฟนหรือสื่อออนไลน์อื่นๆ รอบตัว ความรู้ในข้อกฎหมายต่างๆ

ที่ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์และการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการให้ความรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการดำาเนินชีวิตของคนในยุค

ดิจิตอลอย่างแท้จริง

การมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาสังคม

กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มุ่งเน้นที่การรณรงค์และส่งเสริมวัฒนธรรม

การอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย ด้วยงานสารสนเทศฯ เล็งเห็นถึงความสำาคัญของการอ่าน ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนา

ตนเองก่อนที่จะนำาความรู้นั้นไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป

นอกจากนี้ งานสารสนเทศฯ ยังพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ

ในขอบเขตการทำาหน้าที่ของงานสารสนเทศฯ ให้กับเยาวชนในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยหวังว่าความรู้ที่เผยแพร่ไปจะมีส่วนช่วย

ผลักดันให้เกิดการพัฒนาบุคคล และต่อยอดไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป

สิ่งที่งานสารสนเทศฯ ตั้งใจและพยายามทำาให้สำาเร็จ คือการสร้างองค์ความรู้ขึ้นเอง หมายความว่างานสารสนเทศฯ ต้องการ

พัฒนาจากการเป็น “สื่อกลาง” ในการเชื่อมโยงความรู้สู่ผู้ใช้ มาเป็น “ผู้สร้าง” หรือเป็นต้นกำาเนิดความรู้ โดยอาศัยพื้นฐานจากความรู้เดิม

จากประสบการณ์ หรือจากทักษะของบุคลากร นำามาประยุกต์และสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา

กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นการทุ่มเทกำาลังกายและสติปัญญา เท่าที่งานสารสนเทศฯ จะมีศักยภาพดำาเนินการได้ คงเป็นไปไม่

ได้ที่งานสารสนเทศฯ จะสร้างนวัตกรรมหรือกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่โตจนมีผลกระทบหรือสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม

ไทยอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว แต่การที่จะไปสู่จุดหมายนั้น การเริ่มต้นนับเป็นก้าวแรกที่สำาคัญ งานสารสนเทศฯ จึงมิได้มีจุดหมายในการ

เป็นฟันเฟืองชิ้นใหญ่ในสังคม หากแต่ยินดีที่จะเป็นฟันเฟืองชิ้นเล็กที่ช่วยส่งแรงให้สังคมไทยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

๔๑๔๐

Page 43: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

พัฒนาองค์กรเพื่อพัฒนาสังคม

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์มงคลสุขอาจเป็นเพียงองค์กรเล็กๆเมื่อเทียบกับอีกหลายองค์กรในประเทศที่มีส่วนสนับสนุนพัฒนาการของประชาชนซึ่งประชาชนที่มีคุณภาพย่อมหมายถึงประเทศที่มีคุณภาพและหากมองย้อนกลับมา

ที่ตัวองค์กรเองก็คงไม่แตกต่างกันนั่นคือบุคลากรที่มีคุณภาพย่อมหมายถึงองค์กรที่มีคุณภาพ งานสารสนเทศฯจึงไม่อาจละเลยการพัฒนาบุคลากรซึ่งก็หมายถึงการพัฒนาองค์กรการพัฒนาหรือปรับปรุงทางกายภาพขององค์กรนั้นค่อนข้างมีข้อจำากัดแต่สำาหรับบุคลากรแล้วนั้นสามารถเพิ่มขีดความสามารถได้อย่างไม่จำากัดและยังมีความจำาเป็นยิ่งกว่าบุคลากรของงานสารสนเทศฯจึงได้รับการส่งเสริมให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะทั้งทางวิชาการและความรู้อื่นๆที่จำาเป็นอยู่เสมอ

กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรเริ่มต้นจากภายในองค์กร โดยในปี ๒๕๔๘ ได้เริ่มต้นโครงการ “แบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน”

เป็นการถ่ายทอด ความรู้ ทักษะส่วนบุคคลที่จำาเป็นต่อการปฏิบัติงานหรือเพื่อพัฒนาตนเองในกลุ่มบุคลากรของงานสารสนเทศฯ นอกเหนือ

จากบุคลากรจะได้รับความรู้ใหม่แล้วยังเป็นการฝึกฝนการนำาเสนอและการพูดในที่สาธารณะอีกด้วย โครงการนี้ได้ดำาเนินการมาอย่างต่อ

เนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะบุคลากรของงานสารสนเทศฯ แต่ยังได้รับความสนใจจากบุคลากรของหน่วยงานอื่นเข้าร่วมรับการ

ถ่ายทอดความรู้ และยังเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล

นอกเหนือจากกิจกรรมภายในองค์กรแล้ว บุคลากรของงานสารสนเทศฯ ยังได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาศักยภาพด้วยการเข้าร่วม

ประชุม อบรม สัมมนา หรือร่วมกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะในศาสตร์ด้านต่างๆ ที่จำาเป็นต่อการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ประจำา และพัฒนา

ความรู้ในศาสตร์ที่สนใจ ทั้งนี้เพื่อนำาความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำาหน้าที่ตามพันธกิจที่งารสารสนเทศฯ ได้ตั้งไว้ โดยพิจารณาตาม

ความเหมาะสมจากภาระหน้าที่และความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล อาทิ

พัฒนาความรู้และทักษะด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

• เข้าร่วมสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เรื่อง “มาตรฐานเพื่อการจัดการและบริการสารสนเทศ”

• ร่วมประชุมวิชาการ “การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (Development of Library Potential in the New Age)

• เยี่ยมชมร้านหนังสือคิโนะคูนิยะสาขา Singapore Main Store และศึกษาดูงานระบบหอสมุดแห่งชาติสาขา Nex Shopping Mall

at Serangoon, หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ (Main Office) และ Nanyang Technological University

• ร่วมงานเสวนาวิชาการ “การบริหารงานเชิงประจักษ์เพื่อความอยู่รอดของห้องสมุดในอนาคต”

• ร่วมงานประชุมวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำาปี ๒๕๕๕ เรี่อง “Branding การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการ

บริการสารสนเทศ”

• ร่วมโครงการอบรมเรื่อง “การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) กับงานบริการห้องสมุด”

• ฯลฯ

๔๒

Page 44: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

พัฒนาความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

• อบรม การบริหารงานเว็บไซต์ด้วย Content Management System (CMS)

• อบรมโครงการ IBM Cloud Computing

• อบรมโครงการเผยแพร่ความรู้ “การตระหนักถึงภัยอันตรายและภัยคุกคามจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต”

• ร่วมงานสัมมนา Secured Educational Organizations with Next-Gen Security

• ร่วมอบรม หัวข้อ “การดักจับและวิเคราะห์ข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Wireshark”

• ร่วมโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(Asean Economics Community-AEC) อย่างมีคุณภาพ”

• ฝึกอบรม เรื่อง การสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS ยอดนิยม : Joomla Training for Beginner

• ฯลฯ

พัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านอื่นๆ

• อบรมโครงการ การสร้างและพัฒนางานวิชาการจากงานประจำา (Routine to Research)

• ร่วมโครงการเสวนาทางวิชาการ “หลักสูตรซ่อม (หนังสือ) อย่างมืออาชีพ...คุณก็ซ่อมได้”

• ร่วมงานเสวนาวิชาการพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การเจาะลึกการทำางานในพิพิธภัณฑ์”

• ร่วมงานเสวนาวิชาการพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “บทบาทพิพิธภัณฑ์กับการพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืน”

• ร่วมงานเสวนาวิชาการพิพิธภัณฑ์เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์สากล เรื่อง “พิพิธภัณฑ์สถานเพื่อการผสมผสานอย่างกลมกลืน

ในสังคม” (Museums for Social Harmony)

• ฯลฯ

การมีส่วนร่วมส่งเสริมและพัฒนาสังคม

ปัจจุบันสังคมไทยกำาลังให้ความสำาคัญกับการทำา CSR : Corporate Social Responsibility ซึ่งหมายถึงการแสดงความรับผิดชอบ

ต่อสังคม ทำาคุณประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ภายใต้กรอบความคิดที่ว่า ทุกองค์กรควรมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ

และพัฒนาสังคม ดังนั้นเราจึงเห็นองค์กรมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนต่างตื่นตัวในการดำาเนินกิจกรรม CSR ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้ก็ตกอยู่

กับสังคมไทย

มหาวิทยาลัยก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำาคัญกับกิจกรรม CSR เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทำาหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชน

เพราะการศึกษาคือการพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากนั้นมหาวิทยาลัยยังทำาหน้าที่ในการให้ผลิตความรู้ ถ่ายทอดความรู้ บริการวิชาการ

แก่สังคม สนับสนุนการศึกษาในทุกระดับ ทำานุบำารุงวัฒนธรรมและธรรมชาติ กรณีนี้อาจมองได้เช่นกันว่าด้วยพันธกิจของมหาวิทยาลัยก็

คือ CSR ประเภทหนึ่งอยู่แล้ว มหาวิทยาลัยจึงเป็นเสมือนต้นทางนั่นคือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการสร้างความรับ

ผิดชอบต่อสังคมภายในมหาวิทยาลัย หรือ University Social Responsibility (USR) ซึ่งทั้งสองแนวคิดต่างมีจุดหมายหรือผลลัพธ์เดียวกันคือ

การพัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน

งานสารสนเทศฯ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำาคัญนี้ จึงพยายามทำาหน้าที่ตาม

พันธกิจที่มิได้มุ่งเน้นแค่เพียงการให้บริการทางวิชาการเฉพาะผู้ใช้ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังให้การ

ต้อนรับและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ออกสู่สาธารณะ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องที่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่สอดคล้อง

กับการเรียนการสอนและสามารถนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน เพราะความรู้ไม่ควรจำากัดอยู่ที่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรเปิดโอ

กาสให้ทุกคนในสังคมได้มีส่วนร่วมรับรู้ เพื่อนำาไปพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต

๔๓๔๒

Page 45: Stang Library Report

แผนงานในอนาคต

Page 46: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

แผนงานในอนาคต

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์มงคลสุขได้วางแผนงานในอนาคตสำาหรับการเผยแพร่ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์รวมถึงประชาชนทั่วไปโดยมีแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้แห่ง

ศตวรรษที่๒๑ที่แสดงให้เห็นว่าทุกคนในสังคมจำาเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้และต้องสร้างพัฒนาการให้เกิดขึ้นกับตนเองท่ามกลางยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงซึ่งงานสารสนเทศฯในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยถือว่าเป็นพันธกิจที่สำาคัญและจำาเป็นอย่างยิ่ง

๑. โครงการเสวนาวิชาการ “21st Century Skills: ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑”

โลกในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วงจรของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ หมุนไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลความรู้มีมากมายมหาศาลจนเกินกว่าครูผู้สอนจะถ่ายทอดให้ได้หมด หรือแม้กระทั่งผู้สอนเองก็ยังไม่สามารถเป็นผู้ที่รู้ได้ทุกเรื่อง การ

เรียนการสอนในยุคนี้จึงจำาเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบจากในศตวรรษที่ ๒๐ ที่ครูคือศูนย์กลางของการเรียน มาเป็นผู้เรียนหรือนักเรียน

ต้องเป็นศูนย์กลาง ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้วางระบบกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้แนะแนวทาง มิใช่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เพียงฝ่ายเดียว

อีกต่อไป ทฤษฎีการศึกษาแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผลกับยุคนี้ ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาอยู่ที่ไหน หากมองกันที่การประสบความสำาเร็จของ

บุคคล มิใช่แค่เพียงผลการสอบ รูปแบบการเรียนรู้จึงจำาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อยุคสมัย

ศ.ดร. เมอร์เรย์ เกลล์-แมนน์ (Prof. Dr. Murray Gell-Mann) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ที่ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “ใน

ศตวรรษที่ ๒๑ จิตที่มีคุณค่ามากที่สุดคือ “จิตสังเคราะห์” หมายถึงจิตที่รู้จักสำารวจข้อมูลอันหลากหลาย รู้ว่าสิ่งใดสำาคัญ ควรค่าแก่การ

สนใจ และนำาข้อมูลดังกล่าวมาประสานกันได้อย่างมีเหตุมีผลสำาหรับตนเองและผู้อื่น”

หมายความว่าทักษะทางวิชาการที่เคยให้ความสำาคัญในศตวรรษที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอเสียแล้ว แต่มิได้หมายความว่ามันไม่

สำาคัญอีกต่อไป กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ จึงถูกขยายขอบเขตออกไป วิชาแกน ยังคงมีความสำาคัญต่อการเรียนรู้

(Core Subjects) ซึ่งได้แก่วิชาการสามัญที่มีความสำาคัญเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ การอ่านและการใช้ภาษา ศิลปะ คณิตศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง และสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิชาแกนคือ แนวคิดสำาคัญใน

๔๖

Page 47: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Themes) ได้แก่ จิตสำานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การเงิน ด้านพลเมือง สุขภาพ สิ่งแวดล้อม

รวมถึงทักษะที่จำาเป็นอื่นๆ ได้แก่ ทักษะด้านสารสนเทศ (Information, Media and Technology Skills) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม

(Learning and Innovation Skills) และทักษะชีวิตและการทำางาน (Life and Career Skills)

ทั้งหมดนี้คือแนวคิดโดยสังเขปของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมีความจำาเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ ซึ่ง

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เห็นถึงความสำาคัญ ไม่เพียงเพราะเป็นหน้าที่หลักของหน่วยงานเท่านั้น แต่เพราะในฐานที่

เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องการเห็นพัฒนาการที่ดีของคนในสังคมและประเทศชาติ ดังนั้น จึงได้เกิดแนวคิดในการส่งเสริมและสร้างความ

เข้าใจให้เห็นถึงความสำาคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง โดยจัดเวทีเสวนาเพื่อถ่ายทอดความเข้าใจและแลกเปลี่ยน

ทัศนะระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

การดำาเนินโครงการเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ด้วยการจัดเวทีเสวนา “21st Century Skills: MUSC Are You

Ready?” เพื่อเป็นการตั้งคำาถามถึงประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าเราพร้อมกันหรือยังสำาหรับการเปลี่ยนแปลงที่

กำาลังจะเกิดขึ้น หรือกระทั่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว จากสมมติฐานที่ว่าทฤษฎีการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ นี้เป็นเรื่องใหม่ที่แม้จะมีการกล่าว

ถึงอยู่บ้าง แต่หลายคนยังไม่เข้าใจหรือสับสน งานสารสนเทศฯ จึงจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้และชี้ให้เห็นถึงความจำาเป็นในการ

เปลี่ยนแปลง โดยเชิญวิทยากรซึ่งเป็นคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้นำาแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการสอนจนเกิดผล มาเป็นผู้ให้

ความรู้ดังกล่าว

ผลของการเสวนาในครั้งนี้ พบว่าประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ และพบว่าในบาง

เรื่องนั้นคือการดำาเนินการตามแนวคิดนี้อย่างไม่รู้ตัว หมายความว่าในสังคมของคณะวิทยาศาสตร์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้วในบาง

ส่วน นอกเหนือจากชาวคณะวิทยาศาสตร์ ยังมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มาจากคณะ/สถาบันอื่นในมหาวิทยาลัยมหิดล และจากภายนอกที่เข้ามา

ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ซึ่งนับว่าประสบความสำาเร็จตามวัตถุประสงค์

สำาหรับในปี ๒๕๕๖ งานสารสนเทศฯ ได้มีแผนงานที่จะดำาเนินโครงการต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าที่จะเสริมสร้างแนวคิดในการเรียนรู้

และพัฒนาตนเองในทักษะด้านอื่นๆ ซึ่งได้ทำาการหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจและมีความสำาคัญ ได้แก่ ทักษะในการคิดวิเคราะห ์ซึ่งมีความ

สำาคัญอย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้ท่ามกลางศาสตร์และข้อมูลต่างๆ ที่มีมากมายมหาศาล ทักษะการใช้ชีวิตและการทำางาน ซึ่งมี

ความสำาคัญต่อคนรุ่นใหม่ที่อาจจะยังขาดประสบการณ์ในการใช้ชีวิตนอกห้องเรียน โดยเฉพาะว่าที่บัณฑิตใหม่ที่จะต้องออกไปเผชิญกับชีวิต

การทำางาน เป็นต้น ซึ่งแผนงานนี้อยู่ในระหว่างการอนุมัติดำาเนินการ โดยงานสารสนเทศฯ ตั้งเป้าในการดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง ปีละ ๒-๓

ครั้ง ตามความเหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมได้

๔๗๔๖

Page 48: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๒. โครงการเสวนาวิชาการเพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทักษะด้านสารสนเทศ นับเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำาคัญในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของ

เทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็วแบบก้าวกระโดด จนในบางครั้งคนในสังคมไม่สามารถก้าวตามได้ทัน หรืออาจวิ่งตามเทคโนโลยีแค่เพียง

ฉาบฉวยโดยละเลยเนื้อหา (Contents) หรือกระทั่งการใช้เทคโนโลยีอย่างขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

จากการวิเคราะห์จากหลายสถาบันพบว่าคนไทยมีความสนใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการใช้งานสื่อออนไลน์ เช่น

จากการสำารวจพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้งานสื่อออนไลน์สูงติดอันดับต้นของโลก มีการใช้งานแอพลิเคชั่นบางชนิดที่สูง

ติดอันดับโลกเช่นกัน แม้ว่าอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรจะไม่มากนัก แต่ด้วยจำานวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอยู่กลับมีการใช้

งานอย่างมากมายในแต่ละวัน

จากจำานวนการใช้งานที่มีสูงมากในแต่ละวัน ทำาให้อัตราการเสี่ยงในการใช้งานสารสนเทศในทางที่ผิดมีสูงตามไปด้วย ทั้งที่เกิด

จากความไม่รู้หรือความจงใจก็ตามแต่ ดังนั้นคนไทยจึงจำาเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงการใช้งานเทคโนโลยีสารนเทศอย่างถูกต้อง เพื่อให้

เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเองและสังคม จึงเป็นเหตุผลที่ทำาให้งานสารสนเทศฯ หันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้

เหล่านี้แก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และประชาชนทั่วไป

ปัญหาใหญ่ที่พบบ่อยแม้กระทั่งในหมู่ประชาชนผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เป็นประจำา คือการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งส่วน

หนึ่งเกิดจากความประมาทและรู้ไม่เท่าทันของผู้ใช้ งานสารสนเทศฯ จึงได้จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง ระวังภัย : การโจรกรรมข้อมูล ทาง

โทรศัพท์มือถือ บัตรเครดิต และคอมพิวเตอร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

(NETEC) มาเป็นผู้ให้ความรู้ ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และจากประชาชนทั่วไป

จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำาให้พบว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนมากยังขาดความรู้และความระมัดระวังในการใช้งานสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะความเข้าใจในประเด็นปัญหาหลักๆ ได้แก่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ พ.ร.บ. การกระทำาความผิด

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และความปลอดภัยในการใช้สื่อ ซึ่งล้วนแต่มีความสำาคัญกับผู้ใช้งานทุกคน งานสารสนเทศฯ จึงตั้งเป้า

ในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อลดอัตราความเสี่ยงในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย โดยได้เตรียมการจัด

ประเด็นที่น่าสนใจและเป็นกรณีศึกษาในสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป อาทิ การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างถูกต้อง

และปลอดภัย การระมัดระวังในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการวางแผนงาน

เพื่อขออนุมัติดำาเนินการ

๔๘

Page 49: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๓. โครงการเผยแพร่ความรู้สู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ประเทศไทยกำาลังจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในอีกสองปีข้างหน้า ด้วยแนวคิด หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่ง

ประชาคม แม้คนไทยทั่วไปจะทราบดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กับการเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN

Community) ยังมีผู้คนอีกจำานวนมากยังคงสับสนว่าคืออะไรและจะส่งผลอย่างไรต่อวิถีชีวิตในอนาคต

คนไทยส่วนใหญ่มักรับรู้ข้อมูลจากสื่อหลักที่มักจะพูดถึง AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

ทำาให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งที่ AEC เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิดประชาคมอาเซียน ที่ยังประกอบไปด้วยอีกสองส่วนคือ ประชาคมความ

มั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) นี่คือ

หนึ่งในตัวอย่างของความเข้าใจผิดและการขาดความรับรู้ถึงสิ่งสำาคัญที่กำาลังจะมีผลกระทบต่อชีวิตในอนาคตของคนไทย

วัตถุประสงค์เริ่มแรกในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนคือเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำามาซึ่ง

เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้ม

กีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำาให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์

หลักที่กำาหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี ๗ ประการ ดังนี้

๑. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม

๒. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค

๓. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร

๔. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย

๕. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร

และปรับปรุงมาตรฐานการดำารงชีวิต

๖. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๗. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

คำาถามที่เกิดขึ้นคือคนไทยตระหนักรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้หรือไม่ คนไทยเข้าใจถึงบทบาทของตนเองกับการเป็นส่วนหนึ่งของ

ประชาคมหรือไม่ คนไทยพร้อมหรือยังกับการก้าวไปสู่จุดหมายนั้น งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงมีแนวคิดที่จะรณรงค์

ส่งเสริมให้คนไทยเกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อตอบโจทย์ในปัญหาดังกล่าว ก่อนที่จะถึงเวลาในการเป็นประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ โดย

๔๙๔๘

Page 50: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

เริ่มจากจุดเล็กๆ ในสังคมของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และต่อยอดไปถึงสังคมโดยรอบคณะวิทยาศาสตร์ และสังคมอื่นๆ

ภายใต้ขอบเขตและศักยภาพที่พึงมีของหน่วยงาน

งานสารสนเทศฯ ได้เริ่มรวบรวมและจัดหาทรัพยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งในด้านกายภาพ สังคม

วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยประสาน

ความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ หน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงหน่วยงานภายนอก ในการเผยแพร่ข้อมูลที่สำาคัญให้กับ

ประชาชนทั่วไปให้รับทราบ โดยโครงการอยู่ในระยะการวางแผนงานเพื่อขออนุมัติดำาเนินการ

ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำาเนินการไปแล้วคือโรงการ ส่งมอบความรู้ เตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งดำาเนินการโดย

ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มุ่งเน้นที่จะเผยแพร่และสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลแก่เยาวชนไทยใน

พื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนสื่อความรู้ โดยเปิดรับบริจาคหนังสือ วารสาร สื่อความรู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเทศในกลุ่มอาเซียน

ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นโครงการระยะยาวที่จะดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง

๕๐

Page 51: Stang Library Report

๕๑๕๐

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

รายการผลการดำาเนินงานให้การบริจาค การให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน/สถานบันต่างๆ

ของศูนย์รับบริจาคหนังสือละวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ภาคผนวก ข

รายงานการดำาเนินงานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๑-๗ (๒๕๔๘-๒๕๕๕)

Page 52: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ปี ๒๕๕๕ :

ครั้งที่ ๙๗/๒๕๕๕ อาสาสมัครกลุ่ม (สระบุรี) (ร้านบี.ดี.แซท สุขอนันต์) ขอรับหนังสือบริจาคและสื่อประกอบการศึกษา

เพื่อนำาไปช่วยเหลือโรงเรียนบ้านห้วยเฮือ หมู่ที่ ๑๑ ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน

(เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๗๘ ชื่อเรื่อง ๖๘๑ เล่ม พร้อมสื่อประกอบการศึกษา

ครั้งที่ ๙๖/๒๕๕๕ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอรับหนังสือและสื่อประกอบเพื่อการศึกษา

เพื่อมอบให้แก่ โรงเรียนซับวารินทร์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ตามโครงการ “เด็กวิทย์ จิตอาสา ครั้งที่ ๑”

ในวันที่ ๘-๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

(รับมอบวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๖๘ ชื่อเรื่อง ๓๘๘ เล่ม พร้อมสื่อประกอบการศึกษา

ครั้งที่ ๙๕/๒๕๕๕ โรงเรียนมารดาดรุณีรักษ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

(รับมอบวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) หนังสือ ๑๕๘ ชื่อเรื่อง ๕๙๕ เล่ม วารสาร ๒๗ ชื่อเรื่อง ๑๔๘ เล่ม

พร้อมอุปกรณ์และสื่อเพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๙๔/๒๕๕๕ รศ.นิตา วิวัฒนทีปะ อาจารย์ประจำาภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นำาทีมจากอาสาสู้พิบัติภัย เพื่อชุมชนไทยเข้มแข็ง ขอรับบริจาคหนังสือและวารสาร พร้อมอุปกรณ์และสื่อ

เพื่อการศึกษาให้แก่โรงเรียนบ้านกูวิง อ.มายอ จ.ปัตตานี ในเขต ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

(ขอรับวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๑๓๕ ชื่อเรื่อง ๓๘๖ เล่ม วารสาร ๒๖ ชื่อเรื่อง ๑๗๒ เล่ม

พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๙๓/๒๕๕๕ โรงเรียนประชาบำารุง ๑ ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา

(ขอรับวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๓๔๗ ชื่อเรื่อง ๘๕๖ เล่ม วารสาร ๓๑ ชื่อเรื่อง ๓๖๕ เล่ม

พร้อมอุปกรณ์และสื่อเพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๙๒/๒๕๕๕ ชมรมโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยมหิดลขอรับบริจาคหนังสือและวารสารเพื่อสนับสนุนโครงการ

“โรฯม่วนซื่นโฮแซวสู่อิสาน บัลดาลสนามกีฬาให้น้อง ศึกษาวิถีชีวิตท้องถิ่น ณ ดินแดนดอกบัวงาม

บ้านคำาไหล” วันที่ ๑๕-๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๘๗ ชื่อเรื่อง ๓๗๙ เล่ม, วารสาร ๑๖ ชื่อเรื่อง ๑๘๙ เล่ม

พร้อมสื่อประกอบการศึกษา

ครั้งที่ ๙๑/๒๕๕๕ โรงเรียนบ้านท่าด่าน ต.ตะโลกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

(ส่งให้ทางรถไฟวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕) หนังสือ ๒๔๓ ชื่อเรื่อง ๗๔๑ เล่ม วารสาร ๒๕ ชื่อเรื่อง ๓๑๒ เล่ม

พร้อมสื่อเพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๙๐/๒๕๕๕ โรงเรียนการกุศลวัดสระทอง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

(มอบให้วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๑๔๐ ชื่อเรื่อง ๓๘๘ เล่ม วารสาร ๑๗ ชื่อเรื่อง ๑๕๒ เล่ม

พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษา

ภาคผนวก ก

รายการผลการดำาเนินงานให้การบริจาค การให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน/สถานบันต่างๆ

ของศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

๕๒

Page 53: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๘๙/๒๕๕๕ ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกับ สำานักพิมพ์เคล็ดไทย จำากัด

ร่วมกันบริจาคหนังสือแก่โรงเรียนวิทยานนท์ศึกษา ต.พุขาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ตามโครงการของ

ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารฯ

(บริจาควันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๑๗๙ ชื่อเรื่อง ๕๘๔ เล่ม พร้อมหนังสือจากสำานักพิมพ์อีก

๑๐ รายการ ๕๒ เล่ม วารสาร ๑๒ ชื่อเรื่อง ๑๕๐ เล่ม พร้อมสื่อประกอบเพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๘๘/๒๕๕๕ หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอรับบริจาคหนังสือให้แก่โรงเรียน 3 โรงเรียน

คือ ๑. โรงเรียนบ้านอ่างหิน ต.สามพระยา ๒. โรงเรียนพุหวาย และ ๓. โรงเรียนบ้านบ่อหลวง ต.ห้วยทรายเหนือ

อ.ชะอำา จ.เพชรบุรี เพื่อสนับสนุนโครงการ “หนังสือมือสอง ปันความรู้สู่ชุมชน”

(ขอรับวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๑๔๗ ชื่อเรื่อง ๔๑๖ เล่ม พร้อมสื่อประกอบการศึกษา

ครั้งที่ ๘๗/๒๕๕๕ วัดดอนยูง (ป่าก้าวสิริคุณ) ต.จิกเทิง อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี

(จัดส่งให้ทางบขส. วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๒๐๗ ชื่อเรื่อง ๔๑๖ เล่ม วารสาร ๑๙ ชื่อเรื่อง

๑๖๙ เล่ม พร้อมสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษา

ครั้งที่ ๘๖/ ๒๕๕๕ บริษัท เดอะ สยาม เซรามิค กรุ๊ป อินดัสทรี่ส์ จำากัด ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารให้แก่

โรงเรียนวัดหนองอ่างทอง ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี ตามโครงการ “ปันหนังสือเพื่อน้อง”

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ของนักเรียน ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕) หนังสือ ๕๐๐ เล่ม วารสาร ๑๙๔ เล่ม พร้อมสื่ออุปกรณ์ทางการศึกษา

ครั้งที่ ๘๕/ ๒๕๕๕ กลุ่มพลังงานสร้างฝัน ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารให้กับโรงเรียนคีรีวงศ์วิทยาและโรงเรียนบาลี

เตรียมอุดมศึกษาวัดโพธาราม อำาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

(ขอรับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๒๐๕ ชื่อเรื่อง ๕๐๙ เล่ม วารสาร ๓๕ ชื่อเรื่อง ๓๒๘ เล่ม

ครั้งที่ ๘๔/ ๒๕๕๕ อาสาสมัครกลุ่มน้ำาใจ ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารให้กับโรงเรียนวัดลำาบัวลอย ตำาบลท่าเรือ

อำาเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เพื่อสนับสนุนโครงการ “น้ำาใจสู่โรงเรียนวัดลำาบัวลอย”

ตามกำาหนดวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๙๒ ชื่อเรื่อง ๔๐๙ เล่ม วารสาร ๒๑ ชื่อเรื่อง ๑๙๖ เล่ม

ครั้งที่ ๘๓/๒๕๕๕ อาจารย์และนักศึกษาจาก วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารเพื่อช่วยเหลือปรับปรุงห้องสมุด

โรงเรียนบ้านบุ่ง ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ตามโครงการค่ายอาสาพัฒนาพลังงานทดแทนในโรงเรียน

ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น ในระหว่างวันที่ ๑-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๕) หนังสือ ๕๓๘ เล่ม วารสาร ๘๐ เล่ม

ครั้งที่ ๘๒/ ๒๕๕๕ สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ขอรับบริจาค

หนังสือและวารสารเพื่อช่วยเหลือ โรงเรียนชุมชนปลาป้อมวิทยศึกษา ต.วังปลาป้อม อ.นาวัง จ.หนองบัวลำาภู

ตามโครงการ “พัฒนาบุคลากรสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ “พัฒนาใจคน เพื่อพัฒนาผลงาน”

ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕) หนังสือ ๑๕๒ ชื่อเรื่อง ๓๙๙ เล่ม วารสาร ๑๑ ชื่อเรื่อง ๑๔๘ เล่ม

ครั้งที่ ๘๑/ ๒๕๕๕ โรงเรียนเอกอโยธยา อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

(ขอรับวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕) หนังสือ ๒๕๖ ชื่อเรื่อง ๔๗๙ เล่ม วารสาร ๑๖ ชื่อเรื่อง ๓๔๔ เล่ม

ครั้งที่ ๘๐/๒๕๕๕ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี อ. เมือง จ.อุบลราชธานี ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารเพื่อมอบ

ให้กับ โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

(จัดส่งให้เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕) หนังสือ จำานวน ๑๙๙ ชื่อเรื่อง ๓๔๕ เล่ม วารสาร จำานวน ๗ ชื่อเรื่อง

๖๑ เล่ม

๕๓๕๒

Page 54: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๗๙/๒๕๕๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

(ขอรับวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕) หนังสือ จำานวน ๗๑๑ เล่ม วารสาร จำานวน ๕๓๙ เล่ม

ครั้งที่ ๗๘/๒๕๕๕ สโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนบ้านแม่ลานคำา

สาขาบ้านป่าคานอก อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ตามโครงการ “โรจวนน้องม่วนใจ๋ ขึ้นดอยไปทำาความดี

เรียนรู้วิถีปกากะญอ ม่วนแต้น่อแอ่วปี๋ใหม่เมือง” ในวันที่ ๕-๒๑ เมษายน ๒๕๕๕

(ขอรับวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕) หนังสือ จำานวน ๒๒๖ เล่ม

ครั้งที่ ๗๗/๒๕๕๕ ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข พร้อมเครือข่ายห้องสมุดพญาไท คือ

ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ และห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี มอบ ปฏิทิน สมุดบันทึก ของปี ๒๕๕๕

ให้บริษัทเผ่าทอง ทองเจือ และเพื่อนจำากัด เพื่อนำาไปบริจาคให้ ครู-นักเรียน ที่ขาดแคลนในต่างจังหวัด

(มอบให้วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕) จำานวน ๒,๓๐๙ รายการ

ครั้งที่ ๗๖/๒๕๕๕ ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกิจกรรมตักบาตรหนังสือดี ครั้งที่ ๑๑

เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำาปี ๒๕๕๕ เฉลิมฉลองพุทธชยันตีในวาระครบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีพระสงฆ์จำานวน ๑๙๙ รูป จัดโดยสำานักพิมพ์ดีเอ็มจี ณ บริเวณด้าน

หน้าศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า สี่แยกราชประสงค์

(เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๕๙๗ เล่ม

ครั้งที่ ๗๕/๒๕๕๕ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลขอรับบริจาคหนังสือในโครงการ “มหิดลร่วมใจ ฟื้นฟูห้องสมุด

โรงเรียน” มอบให้จำานวน ๖ โรงเรียน ได้แก่ ๑) โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ ๒) โรงเรียนบ้านคลอง

นกกระทุง ๓)โรงเรียนวัดสุวรรณ ๔) โรงเรียนวัดงิ้วราย ๕) โรงเรียนนวมินทราชูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

และ ๖) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม (ตาม “โครงการแบ่งปันเอื้อเฟื้อช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำาท่วม”

ของศูนย์รับบริจาคห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข)

(ขอรับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๓๓ ชื่อเรื่อง ๓๖๐ เล่ม

ครั้งที่ ๗๔/๒๕๕๕ มูลนิธิบลูพลาเน็ตเพื่อการศึกษาเด็กด้อยโอกาส (Blueplanet Foundation for Children) ขอรับบริจาคหนังสือ

และวารสารให้กับโรงเรียนบ้านนาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่

(ขอรับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) หนังสือจำานวน ๘๑ ชื่อเรื่อง ๔๕๑ เล่ม วารสารจำานวน ๒๐ ชื่อเรื่อง

๑๔๒ เล่ม พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษา

ครั้งที่ ๗๓/๒๕๕๕ โรงเรียนเทศบาล ๖ (ครูบาอินโต รัฐประชาอุทิศ) ต.เวียง อ.เวียง จ.พะเยา

(จัดส่งให้ทางบขส. วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๕) จำานวน ๑๗๒ ชื่อ ๔๐๒ เล่ม

ครั้งที่ ๗๒/๒๕๕๕ สำานักบรรณสาร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อสนับสนุนโครงการ “ส่งเสริมรักการ

อ่าน” ณ ชุมชนหมู่บ้านบัวขาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

(ขอรับวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕) จำานวน ๗๑๐ เล่ม

ครั้งที่ ๗๑/๒๕๕๕ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนในโครงการตาม

พระราชดำาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่ประสบภัยน้ำาท่วม (ตาม “โครงการแบ่งปัน

เอื้อเฟื้อช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำาท่วม” ของศูนย์รับบริจาคห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข) จำานวน

๔ โรงเรียนดังนี้ ๑) โรงเรียนพีระยานาวิน จังหวัดปัตตานี ๒) โรงเรียนส่งเสริมศาสนาอิสลาม จังหวัดสงขลา

๓) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี และ ๔) โรงเรียนวัดสมบูรณ์สามัคคี จังหวัด

นครนายก

(ขอรับวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๕) จำานวน ๑,๓๗๙ เล่ม

๕๔

Page 55: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๗๐/๒๕๕๕ โรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ตาม”โครงการแบ่งปัน

เอื้อเฟื้อช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำาท่วม “ของศูนย์รับบริจาคห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

(ขอรับวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕) จำานวน ๓๐๐ ชื่อเรื่อง ๕๔๔ เล่ม

ปี ๒๕๕๔ :

ครั้งที่ ๖๙/๒๕๕๔ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือ โรงเรียนในโครงการ

ตามพระราชดำาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จังหวัดชัยนาท ที่ประสบภัยน้ำาท่วม

(ตาม “โครงการแบ่งปันเอื้อเฟื้อช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำาท่วม” ของศูนย์รับบริจาคห้องสมุดสตางค์

มงคลสุข) โดยมีจำานวน ๓ โรงเรียนดังนี้ ๑) โรงเรียนวัดสิงห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ ๖ ๒) โรงเรียนเทศบาลวัดสิงห์สถิตย์ ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ๓) โรงเรียนอนุบาล

วัดสิงห์ ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

(ขอรับวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๘๗๔ เล่ม พร้อมสื่อเสริมการเรียนการสอน ๓ รายการ

ครั้งที่ ๖๘/๒๕๕๔ บริษัท พี เค.ซิลเวอร์ กรุ๊ป จำากัด ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือ โรงเรียนบ้านท่าลาดเหล่าอาภรณ์

สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๒ จ.ยโสธร

(ขอรับวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๕๗๙ เล่ม

ครั้งที่ ๖๗/๒๕๕๔ สโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือโรงเรียน บ้านคลองบอนและ

โรงเรียนบ้านหีนลอยเมย ต.บอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

(ขอรับวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๔๔๙ เล่ม

ครั้งที่ ๖๖/๒๕๕๔ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ถ.พหลโยธิน จ.ลพบุรี

(ขอรับวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๑๙๑ เล่ม

ครั้งที่ ๖๕/๒๕๕๔ คุณสำาเรียง บุญเที่ยง ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านนาจาน ขอรับบริจาคหนังสือและวารสารเพื่อช่วยเหลือห้องสมุด

โรงเรียนบ้านนาจาน ต. เมืองไผ่ อ. หนองดี่ จ.บุรีรัมย์

(ขอรับวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔) จำานวน ๒๒๒ เล่ม

ครั้งที่ ๖๔/๒๕๕๔ นางสาวนันทิยา เป้าทอง นักศึกษาปริญญาโท สาขาเคมีวิเคราะห์และเคมีอนินทรีย์ประยุกต์ ภาควิชาเคมี

ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือห้องสมุดสำานักสงฆ์ วัดเขาพระครูศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

(ขอรับวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔) จำานวน ๗๐๔ เล่ม

ครั้งที่ ๖๓/๒๕๕๔ สำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ขอรับมอบบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือ

โรงเรียนในพื้นที่ชนบท ๔ โรงเรียน ได้แก่ ๑) โรงเรียนวัดบางทึง ต.บางเหรียง อ. ควนเมือง จ.สงขลา

๒) โรงเรียนวัดบางหยี ต.บางกล่ำา อ.บางกล่ำา จ.สงขลา ๓) โรงเรียนบ้านเกาะนก ต.คู่เต่า อ.หาดใหญ่

จ.สงขลา และ ๔) โรงเรียนควนดินแดง ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

(ขอรับบริจาควันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔) จำานวน ๔๙๐เล่ม

ครั้งที่ ๖๒/๒๕๕๔ มอบหนังสือและรายงานวิจัยให้ห้องสมุดโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย พิษณุโลก ตำาบลมะขามสูง อ.เมือง

จ.พิษณุโลก

(ขอรับวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๔๕๐ เล่ม

๕๕๕๔

Page 56: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๖๑/๒๕๕๔ ห้องสมุดโรงเรียนบ้านน้ำาค้อ ต.ทรายขาว อ.สะพุง จ.เลย

(มอบให้วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๑๕๐ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๖๓๗ เล่ม พร้อมอุปกรณ์กีฬา

ครั้งที่ ๖๐/๒๕๕๔ คุณบุสบา ขุนศรี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการศึกษา สำานักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอรับบริจาคหนังสือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนแก่ชุมชนวัดมะกอก

(ขอรับเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔) เป็นจำานวน ๙๔๐ เล่ม

ครั้งที่ ๕๙/๒๕๕๔ ห้องสมุดประชาชนอำาเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

(จัดส่งทาง บขส. วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๑๒๔ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๖๒๘ เล่ม

ครั้งที่ ๕๘/๒๕๕๔ โรงเรียนกุตาไก้วิทยาคม ตำาบลกุตาไก้ อำาเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

(จัดส่งทาง บขส. วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๒๕๒ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๕๘๑ เล่ม

ครั้งที่ ๕๗/๒๕๕๔ โรงเรียนหนองห้างพิทยา ตำาบลหนองห้าง อำาเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

(จัดส่งทาง บขส. วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๑๘๘ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๔๙๙ เล่ม

ครั้งที่ ๕๖/๒๕๕๔ ห้องสมุดประชาชนอำาเภอดำาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

มอบให้วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๒๗๒ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๑,๒๔๔ เล่ม

ครั้งที่ ๕๕/๒๕๕๔ ห้องสมุดศูนย์มะเร็ง อ.เมือง จังหวัดลพบุรี

(มอบให้วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จำานวน ๒๓๐ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๗๑๐ เล่ม

ครั้งที่ ๕๔/๒๕๕๔ ห้องสมุดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

(มอบให้วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔) จำานวน ๑๐๒ ชื่อเรื่อง เป็นจำานวน ๑๐๓ เล่ม

ครั้งที่ ๕๓/๒๕๕๔ ศูนย์บริจาคหนังสือฯ มอบ ปฏิทิน สมุดบันทึก ของปี ๒๕๕๔ ให้บริษัทเผ่าทอง ทองเจือ และเพื่อนจำากัด

เพื่อนำาไปบริจาคให้ ครู-นักเรียน ที่ขาดแคลนในต่างจังหวัด

(มอบให้วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔)

ครั้งที่ ๕๒/๒๕๕๔ ศูนย์แลกเปลี่ยนและรับบริจาคหนังสือ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มอบหนังสือและวารสาร

ให้แก่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

(มอบให้วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔)

ปี ๒๕๕๓ :

ครั้งที่ ๕๑/๒๕๕๓ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมบริจาคเสื้อกันหนาว ผ้าห่ม

ตามโครงการอุ่นกาย อุ่นใจ น้ำาใจไทยต้านภัยหนาว ที่มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย สุขุมวิท ๖๓

(มอบให้วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓)

ครั้งที่ ๕๐/๒๕๕๓ ศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน) เพื่อจัดทำา

โครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายกระป๋อง หมายเลข ๒๒) มอบหนังสือให้กับโรงเรียนบ้านดงยาง

ต.ธาตุ อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ

(มอบให้วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๙๒ ชื่อเรื่อง ๒๐๓ เล่ม

ครั้งที่ ๔๙/๒๕๕๓ โรงเรียนวิจิตรธรรมวิทยา ต.บางขนาก อ.บางน้ำาเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ี่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑๙๓ ชื่อเรื่อง ๓๖๑ เล่ม

๕๖

Page 57: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๔๘/๒๕๕๓ โรงเรียนบ้านงิ้วแบ้ ต.ตาขีด อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๔๒๑ ชื่อเรื่อง ๑,๖๖๓ เล่ม

ครั้งที่ ๔๗/๒๕๕๓ สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดลำาปาง ต.นิคมพัฒนา อ.เมือง จ.ลำาปาง

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑๖๙ ชื่อเรื่อง ๓๓๕ เล่ม

ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๓ โรงเรียนบ้านหนองพรานพุก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๒๙ ชื่อเรื่อง ๕๔๕ เล่ม

ครั้งที่ ๔๕/๒๕๕๓ โรงเรียนบ้านนาน้อย ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย

(มอบให้วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓) จำานวน ๑๓๔ ชื่อเรื่อง ๔๒๕ เล่ม พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและกีฬา

ครั้งที่ ๔๔/๒๕๕๓ โรงเรียนสงป่าเปลือย ต. ภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย

(มอบให้วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓) จำานวน ๑๒๓ ชื่อเรื่อง ๔๒๙ เล่ม พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและกีฬา

ครั้งที่ ๔๓/๒๕๕๓ ศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำาโครงการค่ายสัตวแพทย์อาสาสัญจร มอบหนังสือแก่โรงเรียนหลุงกุ้ง

อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

(มอบให้วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑๕๖ ชื่อเรื่อง ๔๔๓ เล่ม พร้อมอุปกรณ์เพื่อการศึกษา

และกีฬา จำานวน ๑๗ รายการ ๓๓๘ ชิ้น

ครั้งที่ ๔๒/๒๕๕๓ ศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมจัดนิทรรศการ และรับบริจาคหนังสือ

ในกิจกรรม PTTRM Knowledge Fair 2010 ของสำานักงานบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำากัด

วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ อาคารสามัคคีประกันภัย นอร์ทพาร์ค กรุงเทพฯ

ครั้งที่ ๔๑/๒๕๕๓ ศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อจัดทำาโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดให้กับผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์

คนชรา จ.นครปฐม

(มอบให้วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๓) จำานวน ๓๘๙ ชื่อเรื่อง ๗๓๒ เล่ม

ครั้งที่ ๔๐/๒๕๕๓ วิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

(มอบให้วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓) จำานวน ๒๓๐ ชื่อเรื่อง ๔๓๑ เล่ม

ครั้งที่ ๓๙/๒๕๕๓ โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓) จำานวน ๒๔๖ ชื่อเรื่อง ๖๘๓ เล่ม

ครั้งที่ ๓๘/๒๕๕๓ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

(มอบให้วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑,๐๐๐ เล่ม

ครั้งที่ ๓๗/๒๕๕๓ ศูนย์รับบริจาคหนังสือห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ดำาเนินการร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในโครงการ “เพื่อนสีเขียวช่วยน้อง” มอบหนังสือให้กับ โรงเรียนบ้างวังหมี ตำาบลวังหมี อำาเภอวังน้ำาเขียว

จังหวัดนครราชสีมา

(รับมอบวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓) จำานวน ๕๐๐ เล่ม

ครั้งที่ ๓๖/๒๕๕๓ โรงเรียนบ้านท่าระพา อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑๔๑ ชื่อเรื่อง ๕๓๘ เล่ม

ครั้งที่ ๓๕/๒๕๕๓ โรงเรียนบ้านเสี้ยว ตำาบลไชยวัฒนา อ.ปัว จ.น่าน

(จัดส่งทางรถไฟให้วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓) จำานวน ๑๐๙ ชื่อเรื่อง ๔๘๗ เล่ม

๕๗๕๖

Page 58: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ปี ๒๕๕๒ :

ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๒ มูลนิธิความหวังของชาวไทย และ โรงเรียนบ้านนายาง ต.ภูกระดึง จ.เลย

(จัดส่งให้วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๒๔ ชื่อเรื่อง ๑๕๘ เล่ม

ครั้งที่ ๓๓/๒๕๕๒ บริษัท สำานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำากัด

(จัดส่งให้วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) จำานวน ๒๑๒ ชื่อเรื่อง ๕๔๘ เล่ม

ครั้งที่ ๓๒/๒๕๕๒ ศูนย์การเรียนรู้สำานักงานเทศบาลตำาบลหนองล่อง สำานักงานเทศบาลตำาบลหนองล่อง

อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำาพูน

(จัดส่งให้วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) จำานวน ๓๖๕ ชื่อเรื่อง ๕๔๓ เล่ม

ครั้งที่ ๓๑/๒๕๕๒ ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในโครงการบริการวิชาการ

“ส่งเสริมศักยภาพการดำาเนินงานห้องสมุด โรงเรียนเครือข่ายพันธมิตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี”

(จัดส่งให้วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒) จำานวน ๓๖๕ ชื่อเรื่อง ๗๒๖ เล่ม

ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๒ โรงเรียนบ้านหนองแวง สพฐ.ต.หนองหว้า อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

(จัดส่งให้วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒) จำานวน ๓๕๔ ชื่อเรื่อง ๖๒๒ เล่ม

ครั้งที่ ๒๙/๒๕๕๒ หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ๓๑ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง

จ.นราธิวาส

(จัดส่งให้วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๓๘๕ ชื่อเรื่อง ๔๙๗ เล่ม

ครั้งที่ ๒๘/๒๕๕๒ โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

(จัดส่งให้วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๔๒๒ ชื่อเรื่อง ๕๓๑ เล่ม

ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๒ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

(รับมอบวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๔๘๙ ชื่อเรื่อง ๖๐๘ เล่ม

ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๒ ร่วมมือกับบริษัท โพสซิทีฟ ครีเอชั่น จำากัด เพื่อส่งต่อให้กับ โรงเรียนบ้านหนองแม่นา ต.หนองแม่นา อ.เขาค้อ

จ.เพชรบูรณ์

(รับมอบวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒) จำานวน ๔๙๘ ชื่อเรื่อง ๖๑๔ เล่ม

ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๒ โรงเรียนวัดหนองปลิงวิทยา ตำาบลหนองปลิง อำาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

(รับมอบวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๖๑๖ ชื่อเรื่อง ๖๖๕ เล่ม

ครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๒ โรงเรียนเทคโนโลยีธุรกิจพรรณนา ตำาบลพรรณนา อำาเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

(รับมอบวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒) จำานวน ๔๑๙ ชื่อเรื่อง ๔๔๘ เล่ม

ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๒ ห้องสมุดประชาชนนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

(รับมอบวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒) จำานวน ๓๑๓ ชื่อเรื่อง ๖๗๔ เล่ม

ปี ๒๕๕๑ :

ครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๑ ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(รับมอบวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑) จำานวน ๒๕๐ ชื่อเรื่อง ๔๖๙ เล่ม

๕๘

Page 59: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๑ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ดำาเนินการร่วมกับสำานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อส่งต่อให้กับ

มหาวิทยาลัยศุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(รับมอบวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑) จำานวน ๑๕๘ ชื่อเรื่อง ๒๘๗ เล่ม

ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๑ วัดย่านยาว หมู่ ๔ ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

(จัดส่งให้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑) จำานวน ๑๘๒ ชื่อเรื่อง ๒๒๗ เล่ม

ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๑ ศูนย์อนามัยที่ ๓ อ.เมือง จ.ชลบุรี

(จัดส่งให้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑) จำานวน ๓๑๙ ชื่อเรื่อง ๔๓๐ เล่ม

ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๑ ห้องสมุดสตางค์ มงคลุสข ดำาเนินการร่วมกับศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ในโครงการ

“Future Park Junior Talent Award 2008” เพื่อส่งต่อไป โรงเรียนบ้านโคกกระเบื้องสามัคคี อ.บ้านเหลื่อม

จ.นครราชสีมา

(รับมอบวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑) จำานวน ๑๖๗ ชื่อเรื่อง ๒๗๔ เล่ม

ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สำานักงานเทศบาลตำาบลตะกุด จ.สระบุรี

(จัดส่งให้วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๑) จำานวน ๔๖ ชื่อเรื่อง ๑๖๓ เล่ม

ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๑ มูลนิธิสร้างสรรค์ชีวิตเด็กและเยาวชน

(รับมอบวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑) จำานวน ๔๑๗ ชื่อเรื่อง ๕๒๐ เล่ม

ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๑ โรงเรียนบ้านพาดหมอน (ศิริวรรณจินดา)

(รับมอบวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑) จำานวน ๓๐๑ ชื่อเรื่อง ๖๐๒ เล่ม

ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ โรงเรียนวัดคงคาสวัสดิ์ อ.เทพา จ.สงขลา

(รับมอบวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑) จำานวน ๓๙๘ ชื่อเรื่อง ๕๕๔ เล่ม

ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ โรงเรียนบ้านหนองหงษ์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

(รับมอบวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๑) จำานวน ๑๔๔ รายการ ๕๐๔ เล่ม

ปี ๒๕๕๐ :

ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านกุดเสถียร อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

(รับมอบวันที่ ๑๗ ตุลาคม๒๕๕๐) จำานวน ๒๖๘ รายการ ๕๓๐ เล่ม

ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๐ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำาบลบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

(รับมอบวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ ) จำานวน ๙ รายการ ๑,๑๖๘ เล่ม

ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ โรงเรียนวัดเขื่อนเพชรฯ ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

(รับมอบวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๐ ) จำานวน ๘ ชื่อเรื่อง ๔๖๒ เล่ม

ครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ โครงการทุนการศึกษาเพื่อเด็กกำาพร้าสึนามิ

(รับมอบวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐) จำานวน ๑๒ รายการ ๔๒๐ เล่ม

ครั้งที่ ๘/๒๕๕๐ ห้องสมุดสตางค์ มงคลุสข ดำาเนินการร่วมกับศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

ในโครงการ”สานฝันให้น้อง” เพื่อส่งต่อไปโรงเรียนบ้านหนองกันเกรา ต.ศรีสะอาง อ.บ้านนา จ.นครนายก

(รับมอบวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐) จำานวน ๑๙๓ ชื่อเรื่อง ๘๔๗ เล่ม

ครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ ห้องสมุดสตางค์เข้าร่วมโครงการกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(รับมอบวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐) จำานวน ๕๓๐ รายการ ๘๘๑ เล่ม

๕๙๕๘

Page 60: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

ครั้งที่ ๖/๒๕๕๐ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำาปาง

(รับมอบหนังสือวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐) จำานวน ๔๔๐ ชื่อเรื่อง ๕๙๗ เล่ม

ปี ๒๕๔๙ :

ครั้งที่ ๕/๒๕๔๙ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เข้าร่วมในโครงการ “สรรสร้างความรู้สู่ชุมชน” ของบัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหิดล

(รับมอบหนังสือวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙) จำานวน ๔๖๗ ชื่อเรื่อง ๖๘๔ เล่ม

ครั้งที่ ๔/๒๕๔๙ ห้องสมุดสตางค์ มงคลุสข ดำาเนินการร่วมกับศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

เพื่อส่งต่อไปโรงเรียนเขื่อนเพชร ต.ท่ายาง อ.เมือง จ. เพชรบุรี

(รับมอบหนังสือวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๙) จำานวน ๑๑๕ ชื่อเรื่อง ๔๔๕ เล่ม

ครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ ห้องสมุดสตางค์ มงคลุสข เข้าร่วมกับ นิตยสาร Mother & Care มอบหนังสือให้กับ “สมาคมไทสร้างสรรค์”

ในโครงการทอดผ้าป่าหนังสือ ครั้งที่ ๒ ระหว่าง วันที่ ๒๐- ๒๑ พ.ค. ๒๕๔๙

(รับมอบหนังสือวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙) จำานวน ๓๒๖ ชื่อเรื่อง ๔๕๙ เล่ม

ปี ๒๕๔๘ :

ครั้งที่ ๒/๒๕๔๘ โรงเรียนบ้านคลองสง จ.ชุมพร

จัดส่งให้ทางไปรษณีย์เมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ จำานวน ๖๑ ชื่อเรื่อง ๖๑ เล่ม

ปี ๒๕๔๗ :

ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

(รับมอบหนังสือเมื่อ ๖ กันยายน ๒๕๔๗) จำานวน ๕๓ ชื่อเรื่อง ๙๓ เล่ม

๖๐

Page 61: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ (Mahidol-Phayathai BookFair)

ด้วยภาระหน้าที่สำาคัญประการหนึ่งของ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คือการสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศ เพื่อ

สนับสนุนการเรียนรู้และการวิจัย ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จึงมีดำาริจัดทำาโครงการ “มหกรรมหนังสือมหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์” ขึ้น ทั้งนี้

เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กล่าวมาข้างต้น อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษา บุคลากรของคณะฯ ให้มีนิสัยรักการอ่าน และ

เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ด้วยตนเองภายในคณะอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้การจัดงานมหกรรมหนังสือมหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ยังนับเป็นการเปิดโอกาสให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานใกล้เคียง

รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาเลือกชมและเลือกซื้อหนังสือจากร้านค้าชั้นนำามากมาย อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน

ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมบริการแก่ชุมชนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ภายในบริเวณคณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มีการออกร้านจำาหน่ายหนังสือ สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์การศึกษา ภายในงานยังมีการจัด

เวทีเสวนานักเขียน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ทางความคิดให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกับ

นักเขียนที่มีชื่อเสียง และยังเป็นการแรงบันดาลใจในการก้าวไปสู่ถนนสายนักเขียนที่ประสบความสำาเร็จในอนาคต

นอกจากนี้แล้วในการจัดงานครั้งที่หนึ่ง ยังมีจุดประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้าง พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข เพื่อเป็น

อนุสรณ์รำาลึกถึง “ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข” คณบดีท่านแรกและผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งการจัดงาน

ในครั้งต่อๆ มา ก็ได้นำารายได้ร่วมสมทบทุนในกิจกรรมดังกล่าวนี้ต่อเนื่องมาตลอด

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ได้ดำาเนินการมาแล้ว ๗ ครั้ง นับว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากกลุ่มเป้า

หมายคือคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และจากหน่วยงานใกล้เคียง รวมถึงประชาชนทั่วไป โดยมียอดผู้เข้าร่วมงาน

ในแต่ละวันไม่ต่ำากว่า ๓,๐๐๐ คน จากการประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน เกินกว่าร้อยละ ๘๐ มีความพอใจและสนับสนุนให้มี

การจัดกิจกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง

ภาคผนวก ข

รายงานการดำาเนินงานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๑-๗

(๒๕๔๘-๒๕๕๕)

๖๑๖๐

Page 62: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งแรก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และส่งเสริม

การอ่านให้แก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการเลือกซื้อหนังสือ สื่อ

การศึกษา ในราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษเพื่อหารายได้เพื่อสมทบทุนสร้าง พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘

กิจกรรมภายในงาน

มีการจำาหน่ายหนังสือ สื่อการเรียนการสอน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากบริษัท ร้านค้า หน่วยงานต่างๆ ในราคาที่ลดเป็นพิเศษ มี

ผู้นำาหนังสือและสินค้าเข้ามาจำาหน่ายจำานวน ๕๖ ราย จำานวน ๗๕ บูธ มีการจัดเวทีเสวนานักเขียน โดยในครั้งนี้มีนักเขียนและวิทยากร

ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความรู้ทั้งสิ้น ๔ ท่าน ได้แก่

๑. ดร. ธรณ์ ธำารงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ

เรื่องปะการัง และทะเลไทย เจ้าของเว็บไซต์รางวัลสื่ออินเตอร์เน็ตยอดเยี่ยม (รางวัลกินรีทอง โดยการท่องเที่ยวแห่ง

ประเทศไทย) ปี พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๔ (TalayThai.com) ร่วมเสวนาในหัวข้อ “ผลกระทบของคลื่นยักษ์ Tsunami กับปะการังใน

ท้องทะเลไทย”

๒. ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สาขาชีวเคมี เจ้าของรางวัล

“มหิดลทยากร” ของสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นนักวิจัยอาวุโส ของ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ร่วมเสวนาในหัวข้อ “นักวิทยาศาสตร ์เป็นนักประพันธ์ได้หรือ ?”

๓. คุณฐาวรา สิริพิพัฒน์ (ดร. ป๊อป) นักเขียนอัจฉริยะ วัย ๑๙ ปี เจ้าของนวนิยายแนวแฟนตาซีชื่อดัง “เดอะไวท์โร้ด”

ร่วมเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางชีวิตการเป็นนักเขียน”

๔. คุณคำาพูน คุณานุกร จากบริษัทวิทยพัฒน์ จำากัด (เจ้าของเว็บไซต์ ห้องสมุดวิทยพัฒน์) ร่วมเสวนาในหัวข้อ “เขียนหนังสือ

วิชาการอย่างไรให้ได้รับความนิยม”

๖๒

Page 63: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่สอง จัดขึ้นต่อเนื่องจากครั้งที่หนึ่งหลังจากที่ได้รับการตอบรับเป็นที่น่าพอใจ

จากคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ วัตถุประสงค์ในการจัดงานยังคงต่อเนื่องจากครั้ง

แรก และยังคงมอบรายได้ในการจัดงานเพื่อสมทบทุนโครงการพิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข อีกทั้งในครั้งนี้ทางคณะกรรมการจัดงานได้

ขยายเวลาในการจัดงานออกเป็น ๕ วัน

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๗-๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙

กิจกรรมภายในงาน

มีการออกร้านจำาหน่ายหนังสือ สื่อการศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน และสินค้าอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าครั้งแรก คือมีบริษัท

ร้านค้าร่วมงานทั้งสิ้น ๙๖ ร้าน จำานวน ๑๒๔ บูธ มีกิจกรรมเสริมพิเศษเพิ่มเติม อาทิ การออกร้านจำาหน่ายของที่ระลึก ร้านฝากจำาหน่าย

แลกเปลี่ยน และรับบริจาคหนังสือของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีบริการนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น สำาหรับการเสวนานักเขียนนั้น มี

นักเขียนและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงให้เกียรติร่วมงานทั้งสิ้น ๖ ท่าน โดยแบ่งเป็นการเสวนาบนเวที ๕ ท่าน และการบรรยายพิเศษ ๑ ท่าน

ประกอบด้วย

๑. รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนาในหัวข้อ

“เฮฮาตามประสาคนรักหมา-แมว”

๒. คุณชญาดา มัสยวาณิช พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง ร่วมพูดคุยถึงงานเขียน “ลบลายคาสโนวา” ในเรื่อง

“ลบลายคาสโนวา…หนังสือชื่อร้าย สไตล์คนรักครอบครัว”

๓. พญ. ลลิตา ธีระสิร ิ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ศูนย์ธรรมชาติบำาบัดบัลวี ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ

บำาบัด”

๔. อาจารย์สุทธิวัสส์ คำาภา นักธรรมชาติบำาบัด ร่วมเสวนาในหัวข้อ “สุขภาพดีวิถีไทยกับสมุนไพรปัญจะศรี”

๕. ดร. นำาชัย ชีววิวรรธน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน DNA จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สำานักงาน

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเสวนาในหัวข้อ “จับผิด ข่าววิทย์ลวงโลก”

๖. รศ.ดร. สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง “Scientists Must Write”

๖๓๖๒

Page 64: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ในครั้งที่สาม เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านและเสริมสร้างบรรยากาศ

การเรียนรู้ ซึ่งรายได้จากการจัดงานนอกจากจะสมทบทุนในการพัฒนา พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข แล้ว ยังร่วมสมทบทุนในการพัฒนา

หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น อีกด้วย โดยในครั้งนี้ได้กำาหนดการจัดงาน ๓ วัน

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๗-๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐

กิจกรรมภายในงาน

มีบริษัทร้านค้าร่วมภายในงาน ๖๙ ร้าน จำานวน ๑๐๕ บูธ มีกิจกรรมพิเศษอื่นๆ เช่น บริการสเก็ตต์ภาพเหมือน/ภาพล้อ จาก

นักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงดนตรีของนักศึกษา และกิจกรรมเล่นเกมชิงของรางวัล

สำาหรับกิจกรรมเสวนานักเขียนประกอบด้วย

๑. ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน และทีมงานผู้จัดทำาเว็บไซต์ “วิชาการ.คอม” ได้แก่ ดร.พิเชษฐ กิจธารา

ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ และ ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ

๒. คุณชญาดา มัสยวาณิช พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง ร่วมพูดคุยกับงานเขียนชิ้นใหม่ “My Boy Friend เพื่อนชายของโบ”

๓. คุณพล โกมลบุตร นักเขียนจากสำานักพิมพ์ A Book และ รศ.ดร.ชัยณรงค์ วงศ์ธีรทรัพย์ นักเขียนจากอมรินทร์พริ้นติ้ง

๔. สัมภาษณ์กลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จัดทำาหนังสือทำามือ “ตึกกลม”

๖๔

Page 65: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๒)

การจัดงานครั้งที่ ๔ จัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยเว้นระยะการจัดงานไป ๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๑) เป็นการงดกิจกรรมต่างๆ อันเนื่อง

มาจากการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การจัดงานในครั้งที่ ๔ มีการ

จัดทั้งสิ้น ๕ วัน

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๒-๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

กิจกรรมภายในงาน

มีบริษัท/ร้านค้า ร่วมงานทิ้งสิ้น ๘๑ ร้าน จำานวน ๑๒๘ บูธ ในครั้งนี้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมบริจาคเงิน หนังสือ อุปกรณ์

การเรียน ให้กับ บ้านโฮมฮัก มูลนิธิสุธาสินี น้อยอินทร์ เพื่อเด็กและเยาวชน ส่วนกิจกรรมเสวนานักเขียน มีนักเขียนร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ๔

ท่าน ได้แก่

๑. คุณกรรณิกา ธรรมเกษร พิธีกรชื่อดัง และ คุณเพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ บรรณาธิการบริหาร ณ เพชร สำานักพิมพ์

ร่วมพูดคุยถึงงานเขียน “จะมืดกี่ด้านก็ผ่านได้”

๒. คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมพูดคุยถึงงานเขียน “ความสุขของกะทิ”

๓. คุณสรกล อดุลยานนท์ “หนุ่มเมืองจันท์” นักเขียนจาก มติชน สุดสัปดาห์ ร่วมเสวนาถึงงานเขียน ฟาสฟู้ดธุรกิจ

๔. คุณชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง ร่วมพูดคุยถึงงานเขียน “Bo Appetite”

กิจกรรมเสวนานักเขียนในครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดทั่วมหาวิทยาลัยมหิดลผ่านทาง IP-TV ด้วย

๖๕๖๔

Page 66: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ในครั้งที่ ๕ ยังคงมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการอ่านและเสริมสร้างบรรยากาศการ

เรียนรู้ ให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไป รายได้จากกิจกรรมครั้งนี้ร่วมสมทบทุนในโครงการพัฒนา

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข และพิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข มีกำาหนดการจัดงาน ๕ วัน

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๑-๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

กิจกรรมภายในงาน

มีบริษัท/ร้านค้า ร่วมงานทิ้งสิ้น ๕๒ ร้าน จำานวน ๙๐ บูธ

กิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนักเขียนเจ้าของรางวัลระดับประเทศ รวมทั้งผู้บริหารจากองค์กรที่ประสบความสำาเร็จ

อย่างสูงในระดับประเทศ มาร่วมเสวนาให้ความรู้แก่ผู้ชม ได้แก่

๑. ดร. นำาชัย ชีววิวรรธน ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน DNA จากศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กับ

การเสวนาในหัวข้อ “๒๐๑๒ โลกจะสิ้นจริงหรือ?”

๒. รศ.ดร.นภดล ไชยคำา รักษาการ รองผู้อำานวยการศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา กับกิจกรรม “Book Talk”

ในหัวข้อ เปิดใจนักอ่านนิยายกำาลังภายในขั้นเทพ “นภดล ไชยคำา”

๓. คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการบริหาร สำานักพิมพ์ดีเอ็มจี กับการเสวนาในหัวข้อ “Spark up your life

: จุดประกายชีวิตด้วยหลักธรรม”

๔. คุณสุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๓๑

และคุณเพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ บรรณาธิการบริหาร ณ เพชร สำานักพิมพ์ กับการเสวนาในหัวข้อ “วรรคเพชร” ในนวนิยาย

ของ กฤษณา อโศกสิน

๕. คุณชมัยภร แสงกระจ่าง (ไพลิน รุ้งรัตน์) นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กับกิจกรรม “Book Talk” สนทนาประสาคน

รักหนังสือ

๖๖

Page 67: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๕๔)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ในครั้งที่ ๖ นอกจากจะมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการอ่านและเสริมสร้าง

บรรยากาศการเรียนรู้แล้ว ยังเป็นความพยายามในการสร้างจิตสำานึกสาธารณะให้กับผู้เข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจากนักคิดนักเขียน

หลายท่านที่ทำางานเพื่อสังคมมาเป็นวิทยากรรับเชิญบนเวทีเสวนา เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้

พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังเปิดตัวกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน “หนังสือเล่มโปรด: My Favorite Books” โดยทำาการสัมภาษณ์ผู้บริหาร

คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ถึงหนังสือเล่มโปรด เพื่อเป็นการเผยแพร่และกระตุ้นให้เห็นถึงความสำาคัญและ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ ซึ่งไม่เพียงแค่ความบันเทิงหรือสาระความรู้เท่านั้น แต่หนังสือยังได้จุดประกายความคิดหรือเปิดโลก

ทัศน์ใหม่ให้แก่ผู้อ่านได้อีกด้วย ในการนี้ได้รับเกีรยติจากผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของคณะวิทยาศาสตร์

อันจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนหันมาสนใจการอ่านหนังสือมากขึ้น

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๑-๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

กิจกรรมภายในงาน

มีบริษัท/ร้านค้า ร่วมงานทิ้งสิ้น ๔๗ ร้าน จำานวน ๑๐๐ บูธ

กิจกรรมการเสวนานักคิดนักเขียนในครั้งนี้ประกอบไปด้วย

๑. อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ นักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าเอเชียและเครื่องแต่งกายไทย อดีตคณบดี

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันถวายงานรับใช้ใต้เบื้องยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ในการบรรยายพิเศษวิชาไทยคดีศึกษา (ทัศนศึกษา ณ พระบรมมหาราชวัง ) ให้แก่นักเรียน โรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า นอกจากนี้ท่านยังอุทิศตนทำางานเพื่อสาธารณกุศลอีกมากมาย มาร่วมเสวนาในหัวข้อ “หลากหลาย

สไตล์ชีวิต .. ของอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ”

๒. คุณโสภน ฉิมจินดา พิธีกรรายการ “ล้อ เล่น โลก” สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย / เจ้าของรางวัลชนะเลิศในการประกวด Disability

Film Awards 2008 ร่วมพูดคุยถึงประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของ ความสิ้นหวังกับความพยายามในการ

ยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิต

๓. คุณจรงค์ศักดิ์ รองเดช พิธีกรรายการ “ภัตตาคารบ้านทุ่ง” ทางสถานีโทรทัศน์ช่องทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ร่วมเสวนาสะท้อน

มุมมองที่หลากหลายของวิถีชีวิตในสังคมเมืองและสังคมชนบท โดยถ่ายทอดผ่านรายการ โทรทัศน์ ภัตตาคารบ้านทุ่ง

๖๗๖๖

Page 68: Stang Library Report

สรุปผลงานในรอบ ๕ ปี (๒๕๕๑-๒๕๕๕)งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๕๕)

งานมหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ในครั้งที่ ๗ ยังคงมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการอ่านและเสริมสร้างบรรยากาศการ

เรียนรู้ ให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไป รายได้จากกิจกรรมครั้งนี้ร่วมสมทบทุนในโครงการพัฒนา

ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข และพิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข มีกำาหนดการจัดงาน ๕ วัน

ระยะเวลาในการจัดงาน วันที่ ๗-๑๐กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕

กิจกรรมภายในงาน

มีบริษัท/ร้านค้า ร่วมงานทิ้งสิ้น ๔๗ ร้าน จำานวน ๙๖ บูธ

กิจกรรมการเสวนานักคิดนักเขียนในครั้งนี้ประกอบไปด้วย

๑. พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต จากวัดสร้อยทอง พระอารามหลวง รับนิมนต์บรรยายธรรมในหัวข้อ “ธรรมะเดลิเวอรี่...

ที่ มหิดล-พญาไท”

๒. คุณสรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์) คอมลัมนิสต์จากมติชน ร่วมสนทนาพร้อมเปิดตัวหนังสือ

“ความหวัง ไม่เห็น ไม่ใช่ ไม่มี”

๓. คุณอาจวรงค์ จันทมาศ (Mr.Tompkin) ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล นักเขียนจาก a day ร่วมสนทนากับผลงานรวมเล่ม

“จริงตนาการ”

๔. คุณดวงพร ทรงวิศวะ เชฟดาวรุ่งแห่งเอเชีย พิธีกรรายการ กินอยู่..คือ ร่วมสนทนา “กินอยู่อย่างไทย ใส่ใจสุขภาพ”

๕. คุณสุผจญ กลิ่นสุวรรณ ผู้ประกาศข่าวภาคภาษาอังกฤษทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ร่วมสนทนาใน

“คุยสบายๆ กับผู้ชายชื่อเต้”

๖๘