8
102 JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 7 No. 2 May - April 2019 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์ The comparison of achievement and retention in learning vocabulary words by game and flashcard techniques of the sixth graders นิติกานต์ ศรีโมรา Nitikan Srimora ครูคศ. 2 โรงเรียนวัดดาปานนิมิต อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (สพป. 2 กาญจนบุรี) Teacher Professional (level 2), Wat Dapannimit School, Tha Maka District, Kanchanaburi Province (Service area 2, Kanchanaburi) e-mail: [email protected] Received: April 2, 2019 Revised: April 15, 2019 Accepted: April 18, 2019 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดาปานนิมิต มิตรภาพที่ 142 อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น จํานวน 2 ห้อง คือห้อง 6/1 จํานวน 36 คน และห้อง 6 /2 จํานวน 37 คน รวมทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์ก่อนและหลังการ ทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่สอนด้วยเกมและบัตรคําศัพท์มีความคงทน ในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ABSTRACT The major purposes of this research study were 1) to compare English learning achievement in studying English vocabulary words by game and Flashcard techniques of the fifth graders. The sample used in this study consisted of 36 pupils in Class 1 who study English vocabulary words by games, and another 37 pupils in Class 2 who study English vocabulary words by Flashcards. Both of the sample groups studied in the fifth grade during Semester 1 of Academic Year 2012 at Dapannimith School, located in

The comparison of achievement and retention in learning

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

102

JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 7 No. 2 May - April 2019

การเปรยีบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์

The comparison of achievement and retention in learning vocabulary words by game and flashcard techniques of the sixth graders

นิติกานต์ ศรโีมรา Nitikan Srimora

ครูคศ. 2 โรงเรียนวัดดาปานนิมิต อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (สพป.2 กาญจนบุรี) Teacher Professional (level 2), Wat Dapannimit School, Tha Maka District, Kanchanaburi Province (Service area 2, Kanchanaburi)

e-mail: [email protected] Received: April 2, 2019 Revised: April 15, 2019

Accepted: April 18, 2019

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์

ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดาปานนิมิต มิตรภาพที่ 142 อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น จํานวน 2 ห้อง คือห้อง 6/1 จํานวน 36 คน และห้อง 6 /2 จํานวน 37 คน รวมทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์ก่อนและหลังการทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่สอนด้วยเกมและบัตรคําศัพท์มีความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

ABSTRACT The major purposes of this research study were 1) to compare English learning

achievement in studying English vocabulary words by game and Flashcard techniques of the fifth graders. The sample used in this study consisted of 36 pupils in Class 1 who study English vocabulary words by games, and another 37 pupils in Class 2 who study English vocabulary words by Flashcards. Both of the sample groups studied in the fifth grade during Semester 1 of Academic Year 2012 at Dapannimith School, located in

103

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยักรุงเทพธนบุรี ปีที่ 7 ฉบับท่ี 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562

Tamaka District in Kanjanaburi. They were selected by purposive sampling. The research instruments were 1) the 8 lesson plans which were divided into 4 lesson plans for teaching by games and another 4 lesson plans for teaching by flashcards. 2) the 40-item pretest and posttest used to examine both groups of students and 3) the 40-item retention test. The statistics employed for research analysis were mean, standard deviation, and t-test.

The results were revealed as follows: before both groups of students participated in learning English vocabulary words by game and flashcard techniques, there was no significant difference in their learning achievement. Both groups of students showed the same scores in the pretest and posttest. Besides, the retention of learning English vocabulary words by game and flashcard techniques did not have significantly difference.

Keywords: Achievement, Vocabulary Words

บทนำ

การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน เป็นแนวการสอนเพื่อการสื่อสารซึ่งมุ่งเน้นการสร้างและการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพ่ือประโยชน์ในการสื่อสาร ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นความรู้เรื่องคําศัพท์มีความสัมพันธ์กับทักษะทั้ง 4 ด้าน และการที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้น ผูเรียนที่รู้ศัพท์มาก จําได้แม่น สามารถนํามาใช้ได้อย่างถูกต้องย่อมเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ (Stewick. 1972: 2) กล่าวว่า ในการเรียนภาษานั้นการเรียนรู้คําศัพท์ของภาษาใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่สําคัญมาก ความสำเร็จในการเรียนภาษาต่ างประเทศส่วนหนึ่ งขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้องค์ประกอบของภาษา ซึ่งประกอบด้วยเสียงโครงสร้างไวยากรณ์และคําศัพท์ซึ่งองค์ประกอบทั้งสามประการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่ผู้อ่ืนพูด และสามารถพูดให้ผู้อ่ืนเข้าใจได้ คําศัพทจึงนับเป็นหั วใจสํ าคัญอย่ างหนึ่ งในการเรียนภาษา ทั้ งนี้ การพัฒนาทั กษะการอ่านภาษาอังกฤษซึ่ งเป็ นภาษาต่างประเทศ สิ่งสําคัญ คือการพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคําศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (เสาวลักษณ รัตนวิชช์. 2531: 84) อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีความรู้ด้านไวยากรณ์ก็จะสื่อสารได้ไม่มากนักแต่ถ้าไม่รู้ศัพท์ก็ไม่สามารถที่จะสื่อความหมายได้เลยแสดงให้เห็นว่าคําศัพท์นั้นมีความสําคัญมากเจ้าของภาษาคุ้นเคยกับคําศัพท์โดยไดย้ินไดฟั้งและพบเห็นบ่อย ๆ ทั้งท่ีเป็นรูปประโยคและจากสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะสามารถใช้ภาษาได้ (Wilkins. 1972: 56-57) ซึ่งคําศัพท์เหล่านั้นจะติดอยู่ในสมองและพร้อมที่จะนํามาพูดได้ทันทีนอกจากนั้นการพัฒนาความรู้เรื่องคําศัพท์ยังเป็นสิ่งที่ผู้เรียนภาษาเองต้องการเพราะผู้เรียนมีความเชื่อว่าการรูค้ําศัพทจ์ํานวนมากนั้นเป็นสิ่งที่แสดงถึงการพัฒนาทางด้านภาษาของตนเอง (Jordan, 1997: 149) ในการสื่อสารนั้น คําศัพท์นับว่าเป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งและเป็นปัจจัยพ้ืนฐานที่ทําให้มนุษยสื่อสารกันได้อย่างเขาใจกล่าวกันว่าคําศัพท์ที่ใชในภาษาอังกฤษ มีจํานวนอย่างน้อยที่สุด 500,000 คํา

104

JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 7 No. 2 May - April 2019

และท่ีเจ้าของภาษาใช้พูดในชีวิตประจําวันมีประมาณ 5,000 คํา (McCarthy and O’ Dell. 2002 : 2) การเรียนรู้คําศัพทในภาษาต่างประเทศเป็นเรื่องที่ยาก ความรู้เรื่องคําศัพท์ของผ้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศกับผู้เรียนที่เปนเจ้าของภาษามีความแตกต่างกันมาก นอกจากนี้การศึกษาของ มีรา (Meara. 1984: 146; อ้างถึงใน อรชุมา หลิมศิริวงษ. 2544: 6) พบว่าผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ มีข้อผิดพลาดด้านคํามากกว่าความผิดเรื่องไวยากรณ์ด้วยอัตราส่วน 3:1 หรือ 4:1 เช่นเดียวกับผลการสํารวจของคารสัน (Carson. 1994: 128 ; อ้างถึงใน อรชุมา หลิมศิริวงษ. 2544: 6) พบว่า ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ที่เรียนกระบวนวิชาในมหาวิทยาลัยมีปัญหาในการใช้คําศัพท์ในงานเขียนนอกจากนี้นักเรียนไทยระดับต่าง ๆ ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศก็มีข้อบกพร่องในการเขียนหลาย ๆ ด้าน และหนึ่งในปัญหานั้น คือ ปัญหาด้านคําศัพท์นักเรียนไทยมีความรู้เกี่ยวกับศัพท์ในวงแคบ ปัญหาที่ตามมา คือ ข้อจํากัดในการเลือกใช้คําที่เหมาะสมในการสื่อความหมายใน ข้อความที่เขียน (วิไลพร ธนสุวรรณ. 2549: 5) ผู้วิจัยจึงได้ค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว พบว่า แนวทางในการสอนคําศัพทให้มีประสิทธิภาพ ที่ทําให้นักเรียนจดจําได้โดยไม่ต้องท่องจํา แต่เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยหลักจิตวิทยา

ทั้งนี้ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนก็ต่อเมื่อมีความสนใจในวิชานั้น ๆ ถ้าต้องการให้ผู้เรียนสนใจและตั้งใจเรียนตลอดช่วงเวลาเรียน ผู้สอนต้องพยายามสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานเพลิดเพลิน เกมก็เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างบรรยากาศในขณะเรียนให้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้เด็กจดจําเรื่องที่เรียนได้แม่นยําและมีไหวพริบดีขึ้น (วิชัย สายคําอิน. 2541: 17) และสนม ครุฑเมือง (2539: 5) ได้เสนอแนะว่ า กิจกรรมการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่จะทําให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาทั้งผู้สอนและผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย ก็คือการใช้เกมประกอบการสอน ซึ่งสอดคล้องกับสุมิตร คุณานุกร (2543: 17) ที่กล่ าวว่า การเล่นเกมทําให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้นเกิดความสนุกสนานและช่วยเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของคําศัพทไ์ดเ้ป็นอยา่งดีทําให้นักเรียนได้ฝึกตนเองอยูเสมอ ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ

กุศยา แสงเดช (2548: 181) ได้กล่าวว่า พัฒนาการของนักเรียนและธรรมชาติของการเรียนรู้คือการใช้เกม และบัตรคําศัพท์ฝึกภาษาเพราะเกมและบัตรคําศัพท์มีประโยชนในการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจภาษามากขึ้น ครูสามารถเลือกสรรดัดแปลงให้เหมาะกับวัยและระดับชั้นของผู้ เรียนการใช้เกมและบัตรคําศัพท์นับเป็นสื่อการสอนที่ครูสามารถนํามาช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้คําศัพทภาษาอังกฤษของนักเรียนเพ่ิมขึ้น เนื่องจากผู้เรียนสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ที่ได้เรียนรู้ไว้นับว่าเป็นสิ่งจําเป็นที่จะสามารถระลึกขึ้นมาได้เมื่อถึงคราวที่ต้องนําไปใชในเหตุการณ์หรือการเรียนอีกทั้งเกมและบัตรคําศัพทเป็นกิจกรรมที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษและเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของสันติ แสงสุก (2542: 124) พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เกมมีผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติและดอลช (Dolch. Online. 2001) กลาวว่าบัตรภาพและบัตรคํา (Flashcards) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้

105

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยักรุงเทพธนบุรี ปีที่ 7 ฉบับท่ี 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562

คําศัพท์ได้มากขึ้น บัตรภาพและบัตรคําสามารถใช้สอนคําศัพท์ที่ครูต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ซึ่งคําศัพท์นั้นอาจจะเป็นคําศัพท์ที่เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สัตว์ คําคุณศัพท์สถานที่ ฯลฯ โดยบัตรภาพและบัตรคําจะแสดงให้เห็นความหมายที่เฉพาะเจาะจงของศัพท์นั้น ๆ ครูสามารถใช้บัตรภาพและบัตรคําในการสอนได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้บัตรภาพและบัตรคําในการสอนคําศัพท์การใช้บัตรภาพและบัตรคําในการฝึกฝนคําศัพท์การใช้บัตรภาพและบัตรคําอ่านและฝึกเขียน สอดคลองกับคํากล่าวของ ทอร์นบอรี่ (2546: 189-192) ว่าการใช้บัตรภาพและบัตรคํานั้นมีประสิทธิภาพมากกว่ากลวิธี การใช้คําสําคัญ เพราะมีผู้ เรียนบางคนที่พบว่าการสร้างจินตภาพ (Image) นั้นยากแต่ผู้เรียนทุกคนสามารถถูกฝึกให้เตรียม และใช้ชุดบัตรภาพและบัตรคาํได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมกับบัตรคําศัพท ์

2. เพ่ือเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้คําศัพทภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใชเกมกับบัตรคําศัพท ์ ขอบเขตของการวิจัย

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง โดยขอบเขตการวิจัยประกอบด้วย ขอบเขตด้านประชากร

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2562 โรงเรียนในเขตอําเภอ ท่ามะกาจังหวัดกาญจนบุรี

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดาปานนิมิต อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบ่งเป็นจํานวน 2 ห้องคือ ห้อง 6/1 จํานวน 36 คน และห้อง 6/2 จํานวน 37 คนรวมทั้งสิ้น 73 คน ทั้งนี้กําหนดกลุ่มทดลองโดยการจับฉลาก ซึ่งกลุ่มทดลองที่ 1 จะใช้การสอนแบบเกม และกลุ่มทดลองที่ 2 จะใช้การสอนแบบบัตรคําศัพท์ ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรอิสระ คือ การสอนแบบใช้เกมและการสอนแบบใช้บัตรคําศัพท์

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คําศัพทภาษาอังกฤษ และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพทภ์าษาอังกฤษ

106

JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 7 No. 2 May - April 2019

กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่เรียนด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์แตกต่างกัน

2. ความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5ที่เรียนด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคําศัพท์แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการสอน ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้จัดทําแผนการสอน จํานวน 8 แผน 2. เครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษในครั้งนี้คือ

แบบทดสอบความรู้เรื่อง คําศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์ของเรื่องคําศัพท์ภาษาอังกฤษ แล้วสร้างเป็นแบบทดสอบเพ่ือให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์แบบปรนัย 4 ตัวเลือกจํานวน 1 ชุด มี 40 ข้อ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติขั้นพ้ืนฐาน 1. ค่าเฉลี่ย (Mean) 2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

1. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2. ความคงทนในการเรียนรู้ คําศัพท์ภาษาอังกฤษ

วิธีการสอน 1. แบบใช้เกม 2. แบบใช้บัตรคําศัพท์

107

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยักรุงเทพธนบุรี ปีที่ 7 ฉบับท่ี 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562

สถิติทีใ่ช้ในการทดสอบสมมุติฐาน - ใช้ t-test (Independent Sample)

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบใช้เกม และบัตรคําศัพท์ก่อนและหลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2. นักเรียนที่สอนด้วยเกมและบัตรคําศัพท์มีความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษไม่

แตกต่างกัน

อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยผู้วิจัยได้แยกอภิปรายผลเป็นประเด็นต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 1. จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6

ด้วยการสอนแบบใช้เกมกับบัตรคําศัพท์ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการสอนด้วยแบบเกมและบัตรคําศัพท์เป็นการทํากิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เป็นประเภทของเกมเคลื่อนไหวเหมือนกัน จึงทําให้นักเรียนมีการเรียนรู้และจดจําได้เท่ากัน ๆ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน ดังเช่นงานวิจัยของวัลภาภรณ์ คงถาวร (2539: 83) พบว่า นักเรียนในวัยประถมศึกษาเป็นวัยที่ชอบความสนุกสนาน ไม่ชอบอยู่นิ่ง และเป็นช่วงวัยที่มีการพัฒนาทางภาษาดีมาก วิธีการสอนคําศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมและบัตรคําศัพท์ทางภาษาจะช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานและจดจําบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และจะเห็นได้ว่าเกมและบัตรคําศัพท์ฝึกภาษามีประโยชนในการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจภาษาอังกฤษมากขึ้น นอกจากนี้คลอเลียร์ (Collier, 2001: 253) ได้จัดทํารายงานการบรรยายเกมสร้างสรรค์สําหรับผู้ใช้ภาษากิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจในการใช้ภาษา พบว่า บัตรคําเป็นสื่อเสริมให้นักเรียนแต่ละคนใช้ภาษาได้สอดคล้องยิ่งขึ้น และภาวินี ทองสูงเนิน (2543: บทคัดย่อ) ได้วิจัยพบว่าการสอนคําศัพท์โดยใช้เกมแบบฝึกหัดเสริมทักษะบัตรภาพและบัตรคํา สามารถพัฒนาการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษได้ทําให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการปฏิบัติกิจกรรมและการจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ส่วนปราโมทย์ บุญมุสิก (2543: 79) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์วิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีเกมและบัตรคําศัพท์พบวามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2. ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนด้วยการสอนแบบใช้เกมกับบัตรคําศัพท์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปราโมทย์ บุญมุสิก (2543: 79) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีเกมและบัตรคําศัพท์พบว่า มีความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์วิชาภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้

108

JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY Vol. 7 No. 2 May - April 2019

พินเตอร์ (Pinter, 1997: 710-711-A) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลการสะกดคําซึ่งสอนโดยใช้เกมคําศัพท์และสอนตามตํารากับนักเรียนระดับ 3 พบว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้เกมคําศัพท์มีความคงทนในการจําสูงกว่ากลุ่มที่เรียนจากการสอนตามตํารา

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะท่ัวไป 1. ครูควรจัดให้มีการวัดแบบทดสอบเสริม สําหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่

กําหนดไว้ 2. ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษควรดําเนินการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเองเพ่ือเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นได้ 3. ผู้วิจัยควรเข้าไปศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างและสร้างความคุ้นเคยด้วยการเป็นผู้ช่วยสอนในชั้นเรียน หรือเข้าไปช่วยสอนกลุ่มตัวอย่าง

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. การวิจัยครั้งนี้มีข้อจํากัดด้านเวลาในการสอน ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรเพ่ิมระยะเวลาใน

การทดลองให้มากขึ้น 2. ควรเพ่ิมแผนการสอน สื่อ หรือนวัตกรรมในการเรียนรู้เพ่ือใช้ในการพัฒนานักเรียน ให้มี

ประสิทธิภาพการเรียนรู้มากขึ้น บรรณานุกรม กุศยา แสงเดช. (2548). หนังสือส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: แม็ค. วิชัย สายคําอิน. (2541). การใช้เกมที่มีผลต่อการเรียนรู้และความคงทนในการจําความหมายคําศัพท์

ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิไลพร ธนสุวรรณ. (2549). การพัฒนาความรู้ด้านวัฒนธรรมภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอก ภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน คอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สันติ แสงสุก. (2542). ผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนรู้คําศัพทวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 ระหว่างการสอนโดยใช้เกมและการสอนตามปกติ. ปริญญาพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การประถมศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สนม ครุฑเมือง. (2539). การเขียนเชิงวิชาการ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

109

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยักรุงเทพธนบุรี ปีที่ 7 ฉบับท่ี 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2531). เอกสารคําสอนหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร ์มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุมิตร คุณานุกร. (2543). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์. อรชุมา หลิมศิริวงษ์. (2544). การส่งเสริมความรู้คําศัพท์ความคงทนในการจําคําศัพท์ และความสามารถ

ทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีท่ี 5 โดยใชส้มุดจดคําศัพท์. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Collier, P. (2001). Market Gender Discrimination. New York and Oxford: Oxford University. Dolch. (2001). Dolch Word. (Online). Available: http://www.dolchword.net. 27 October

2007. Jordan, R.R. (1997). Vocabulary Development English for Academic Purpose: A guide

and resource book for teachers. Cambridge: Cambridge University. Stewick, Earl W. (1972). Language Learning Teaching and Learning English. London:

Longman. Wilkins, D.A. (1972). Linguistics in Language Teaching. London: Edward Arnold.