2
2011 : Volume 3 สรวิศ ลิมปรังษี Dispute as to the meaning or scope of the 1962 Judgment and jurisdiction of the Court 19. Whereas, when it receives a request for the indication of provisional measures in the context of proceedings for interpretation of a judgment under Article 60 of the Statute, the Court has to consider whether the conditions laid down by that Article for the Court to entertain a request for interpretation appear to be satisfied; 20. Whereas Article 60 provides that: “The judgment is final and without appeal. In the event of dispute as to the meaning or scope of the judgment, the Court 3 ปีท่ 5 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม * ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา คดีเขาพระวิหารถือได้ว่าเป็นคดีหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยของเราและเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยแทบทุกคน แม้ศาลโลกจะได้ตัดสินคดีนี้ไปเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ปรากฏว่าปัญหาเรื่องนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ จนเป็นเหตุให้ประเทศกัมพูชาได้นำปัญหาเรื่องนีกลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาที่ตัดสินไปเมื่อ ค.ศ. 1962 ประเทศกัมพูชาได้ร้องขอต่อศาลให้กำหนดวิธีการชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร ออกไปจากพื้นที่พิพาทในระหว่างที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ศาลจึงได้วินิจฉัยและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวให้ทั้งประเทศไทย และประเทศกัมพูชาถอนกองกำลังทหารออกไปจากพื้นที่พิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบของการที่ศาลโลกจะรับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบประการหนึ่งคือต้องมี “ข้อพิพาท” (Dispute) เกิดขึ้นระหว่างประเทศคู่กรณีเสียก่อน อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ตลอดระยะเวลาก่อนที่จะมีการนำเรื่อง เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอยู่เสมอ ๆ มูลเหตุจูงใจประการหนึ่งอาจจะเพื่อทำให้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครบตาม องค์ประกอบที่จะทำให้ศาลโลกมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น ในตอนนี้จึงขอนำคำวินิจฉัยของศาลโลกในส่วนที่กล่าวถึงขอบอำนาจของตนในการรับตีความคำพิพากษาที่เคยตัดสินไปและ ความหมายของ “ข้อพิพาท” ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่เกิดขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ทั้งเพื่อเรียนรู้ศัพท์และ ถ้อยคำในภาษาอังกฤษ ตลอดจนสาระของคำวินิจฉัย ข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของ คำพิพากษาปี ค.ศ. 1962 และขอบอำนาจของศาล 19. โดยที่เมื่อศาลได้รับคำร้องให้กำหนดวิธีการชั่วคราวในบริบท ของกระบวนพิจารณาเพื่อตีความคำพิพากษาตามมาตรา 60 ของกฎหมาย ศาลจะต้องพิจารณาว่าปรากฏเงื่อนไขที่มาตรา ดังกล่าวกำหนดไว้ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคำร้องให้ ตีความหรือไม่ 20. โดยที่มาตรา 60 บัญญัติว่า “คำพิพากษาเป็นที่สุดและไม่อาจ อุทธรณ์ได้ ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือ ขอบเขตของคำพิพากษา ศาลจะต้องตีความตามที่คู่พิพาทฝ่าย ยก 1 ของคดีเขาพระวิหาร (ภาค 2) ตอนขอบอำนาจของศาลโลกต่อ “ข้อพิพาท” ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (www.library.coj.go.th)

V2011 3

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: V2011 3

2011 : Volume 3 สรวิศ ลิมปรังษี

Dispute as to the meaning or scope of the

1962 Judgment and jurisdiction of the Court

19. Whereas, when it receives a request for the

indication of provisional measures in the context of

proceedings for interpretation of a judgment under

Article 60 of the Statute, the Court has to consider

whether the conditions laid down by that Article for

the Court to entertain a request for interpretation

appear to be satisfied;

20. Whereas Article 60 provides that: “The judgment is

final and without appeal. In the event of dispute as

to the meaning or scope of the judgment, the Court

3ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2554 ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

* ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา

คดีเขาพระวิหารถือได้ว่าเป็นคดีหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยของเราและเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยแทบทุกคน

แม้ศาลโลกจะได้ตัดสินคดีนี้ไปเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ปรากฏว่าปัญหาเรื่องนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ จนเป็นเหตุให้ประเทศกัมพูชาได้นำปัญหาเรื่องนี้

กลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาที่ตัดสินไปเมื่อ ค.ศ. 1962

ประเทศกัมพูชาได้ร้องขอต่อศาลให้กำหนดวิธีการชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร

ออกไปจากพื้นที่พิพาทในระหว่างที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ศาลจึงได้วินิจฉัยและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวให้ทั้งประเทศไทย

และประเทศกัมพูชาถอนกองกำลังทหารออกไปจากพื้นที่พิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล

เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบของการที่ศาลโลกจะรับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบประการหนึ่งคือต้องมี

“ข้อพิพาท” (Dispute) เกิดขึ้นระหว่างประเทศคู่กรณีเสียก่อน อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ตลอดระยะเวลาก่อนที่จะมีการนำเรื่อง

เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอยู่เสมอ ๆ มูลเหตุจูงใจประการหนึ่งอาจจะเพื่อทำให้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครบตาม

องค์ประกอบที่จะทำให้ศาลโลกมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น

ในตอนนี้จึงขอนำคำวินิจฉัยของศาลโลกในส่วนที่กล่าวถึงขอบอำนาจของตนในการรับตีความคำพิพากษาที่เคยตัดสินไปและ

ความหมายของ “ข้อพิพาท” ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่เกิดขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ทั้งเพื่อเรียนรู้ศัพท์และ

ถ้อยคำในภาษาอังกฤษ ตลอดจนสาระของคำวินิจฉัย

ข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของ

คำพิพากษาปีค.ศ.1962และขอบอำนาจของศาล

19. โดยที่เมื่อศาลได้รับคำร้องให้กำหนดวิธีการชั่วคราวในบริบท

ของกระบวนพิจารณาเพื่อตีความคำพิพากษาตามมาตรา 60

ของกฎหมาย ศาลจะต้องพิจารณาว่าปรากฏเงื่อนไขที่มาตรา

ดังกล่าวกำหนดไว้ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคำร้องให้

ตีความหรือไม่

20. โดยที่มาตรา 60 บัญญัติว่า “คำพิพากษาเป็นที่สุดและไม่อาจ

อุทธรณ์ได้ ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือ

ขอบเขตของคำพิพากษา ศาลจะต้องตีความตามที่คู่พิพาทฝ่าย

ยก 1 ของคดีเขาพระวิหาร (ภาค 2)

ตอนขอบอำนาจของศาลโลกต่อ “ข้อพิพาท”

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(www

.library.co

j.go.t

h)

Page 2: V2011 3

4 จดหมายข่าว วิทยบรรณสาร

shall construe it upon the request of any party”;

and whereas this provision is supplemented by

Article 98 of the Rules of Court, paragraph 1 of

which reads: “In the event of dispute as to the

meaning or scope of a judgment any party may

make a request for its interpretation . . .”;

21. Whereas the Court’s jurisdiction on the basis of

Article 60 of the Statute is not preconditioned by

the existence of any other basis of jurisdiction as

between the parties to the original case; whereas it

follows that, even if the basis of jurisdiction in the

original case lapses, the Court, nevertheless, by

virtue of Article 60 of the Statute, may entertain a

request for interpretation provided that there is a

“dispute as to the meaning or scope” of any

judgment rendered by it; whereas the Court may

indicate provisional measures in the context of

proceedings for interpretation of a judgment only if

it is satisfied that there appears prima facie to exist a

“dispute” within the meaning of Article 60 of the

Statute; and whereas, at this stage, it need not

satisfy itself in a definitive manner that such a

dispute exists;

22. Whereas a dispute within the meaning of Article 60

of the Statute must be understood as a difference

of opinion or views between the parties as to the

meaning or scope of a judgment rendered by the

Court; and whereas the existence of such a dispute

does not require the same criteria to be fulfilled as

those determining the existence of a dispute under

Article 36, paragraph 2, of the Statute

23. Whereas, moreover, it is established that a dispute

within the meaning of Article 60 of the Statute must

relate to the operative clause of the judgment in

question and cannot concern the reasons for the

judgment except in so far as these are inseparable

from the operative clause…

หนึ่งฝ่ายใดร้องขอ” และโดยที่บทบัญญัตินี้มีการกำหนด

เพิ่มเติมไว้ในข้อ 98 ย่อหน้าที่ 1 ของข้อกำหนดศาลว่า “ใน

กรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำ

พิพากษา คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจร้องขอให้ศาลตีความ

ได้...”

21. โดยที่ขอบอำนาจของศาลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรา 60

ของกฎหมายไม่ได้ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปรากฏว่ามี

พื้นฐานประการอื่นที่เป็นเหตุให้ศาลมีขอบอำนาจต่อคู่พิพาท

ในคดีเดิม โดยผลที่ตามมาคือ แม้พื้นฐานที่เป็นเหตุให้ศาลมี

ขอบอำนาจในคดีเดิมจะผ่านพ้นไปแล้ว โดยอาศัยอำนาจตาม

มาตรา 60 ศาลอาจรับพิจารณาคำร้องให้ตีความได้ ภายใต้

เงื่อนไขที่ว่าปรากฏว่ามี “ข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือ

ขอบเขต” ของคำพพิากษาของศาล โดยทีศ่าลอาจกำหนดวธิกีาร

ชัว่คราวในบรบิทของกระบวนพจิารณา เพือ่ตคีวามคำพพิากษา

ได้แต่เฉพาะเมื่อศาลเห็นว่ามีมูลเหตุเบื้องต้นให้เชื่อได้ว่ามี

“ข้อพิพาท” ในความหมายของมาตรา 60 ของกฎหมาย และ

โดยที่ในขณะนี้ศาลยังไม่จำต้องวินิจฉัยให้เป็นที่สุดว่ามีข้อ

พิพาทอยู่จริง

22. โดยที่ข้อพิพาทในความหมายของมาตรา 60 ของกฎหมาย

ต้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความแตกต่างของความเห็นหรือ

ทัศนะในระหว่างคู่พิพาทเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของ

คำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไป และโดยที่การวินิจฉัยว่ามีข้อ

พิพาทอยู่หรือไม่ ไม่จำต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับหลักเกณฑ์

สำหรับการวินิจฉัยว่ามีข้อพิพาทอยู่หรือไม่ตามมาตรา 36

ย่อหน้าที่ 2 ของกฎหมาย

23. ยิง่ไปกวา่นัน้ โดยทีเ่ปน็ทีย่อมรบักนัแลว้วา่ขอ้พพิาทในความหมาย

ของมาตรา 60 ของกฎหมายต้องมีความสัมพันธ์กับข้อที่มี

ผลบังคับในคำพิพากษาที่เป็นปัญหาและต้องไม่เกี่ยวข้องกับ

เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เว้นแต่ว่าเหตุผลนั้นไม่อาจแยกออกจาก

กันได้กับข้อที่มีผลบังคับ

ส่วนรายละเอียดและคำที่น่าสนใจในคำวินิจฉัยที่ยกมาข้างต้นนี้จะมีอะไรบ้างนั้นคงต้องยกยอดไปพูดกัน

ต่อในฉบับต่อไป

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม

(www

.library.co

j.go.t

h)