55
รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรร (รรรรรรรรรรรรรรรร ร.ร. 2556) รรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรร/รรร/รรรรรรร รรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรร รรร รรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรร 1.รรรรรรรรรรรร รรรรรรร :รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรร รรรรรรรรรร รรรรรรรรรร :Bachelor of Arts Pgram in Linguistics 2.รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรร รรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรร (รรรรรรรรรร) รรรรรรร รร.ร. (รรรรรรรรรร) รรรรรรรรรร รรรรรรรร Bachelor of Arts (Linguistics) รรรรรรร B.A. (Linguistics) 3. รรรรรรร (รรรรร) - 4. รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 135 รรรรรรรร 5.รรรรรรรรรรรรรรรรร 5.1 รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 4 รร 5.2 รรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 5.3 รรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรร 5.4 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 5.5 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 6. รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร/รรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร ร.ร. 2556 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรร ร.ร. 2552 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 1 รรรรรรรรรร 2556

web.reg.tu.ac.thweb.reg.tu.ac.th/registrar/_link/_8_knowledge/curric_cd/... · Web viewรายละเอียดของหลักสูตร. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

รายละเอียดของหลักสูตร

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาศาสตร์

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา ศูนย์รังสิต คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาศาสตร์

ข้อมูลทั่วไป

1.ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย:หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ภาษาอังกฤษ:Bachelor of Arts Pgram in Linguistics

2.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็มศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาศาสตร์)

ชื่อย่อศศ.บ. (ภาษาศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็มBachelor of Arts (Linguistics)

ชื่อย่อB.A. (Linguistics)

3. วิชาเอก (ถ้ามี)

-

4.จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต

5.รูปแบบของหลักสูตร

5.1รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

5.2ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย

5.3การรับเข้าศึกษา

รับเฉพาะนักศึกษาไทย

5.4ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

5.5การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6.สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ พ.ศ. 2552

กำหนดเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556

ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ …19/2555…

เมื่อวันที่ …17.. เดือน ....ธันวาคม... พ.ศ. …2555…

ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะอนุกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา

ในการประชุมครั้งที่ …1/2556… เมื่อวันที่ …25.... เดือน .....มกราคม.... พ.ศ. 2556

ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ……2/2556….

เมื่อวันที่ …18.. เดือน ...กุมภาพันธ์... พ.ศ. …2556…

7.ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดม ศึกษาแห่งชาติในปีการศึกษา 2558

8.อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้ สามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

8.1 งานวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ เป็นต้น

8.2งานท่องเที่ยวและบริการ เช่น เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวและงานบริการ

8.3งานธุรกิจการพิมพ์และงานเขียน เช่น บรรณาธิการ นักเขียน เป็นต้น

8.4งานการแปล

8.5งานที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา เช่น เจ้าหน้าที่ทำงานเกี่ยวกับภาษาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

8.6 งานสายการบิน เช่น พนักงานต้อนรับของสายการบิน

9.สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

10.สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

10.1สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศข้อหนึ่งคือ มุ่งพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งความสุขอย่างมีภูมิคุ้มกัน รวมทั้งกรอบการพัฒนาประเทศเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ 2558 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบัณฑิตให้มีความเข้มแข็งและอยู่อย่างเข้าใจถึงสภาวะที่หลากหลายและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานของภูมิปัญญาไทยและความพอเพียง

10.2สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ในกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2565 มีเป้าหมายสำคัญที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพในการปรับตัวให้เข้ากับงานที่เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต รวมทั้งการสร้างเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลาย และความมีเอกภาพอย่างมีระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตในการแข่งขันในโลกโลกาภิวัตน์ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 และฉบับที่ 11 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ชีวิต มีความรอบรู้และความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขัน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ดังนั้น การพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ความรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ และการคิดเชิงวิพากษ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมไทย ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่บัณฑิตที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต การผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านภาษากับสังคม และการผลิตนักวิชาการด้านภาษาศาสตร์เชิงบูรณาการ จึงนับว่าเป็นภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งของหลักสูตรภาษาศาสตร์ ดังนั้นหลักสูตรภาษาศาสตร์จึงได้ปรับเนื้อหาวิชาที่สร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคมและวัฒนธรรม ขึ้น

11.ผลกระทบจาก ข้อ 10.1 และ 10.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

11.1การพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตรภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงสถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมดังกล่าว จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความเข้มแข็งในการใช้ภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพทางวิชาการและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน และสามารถนำวิชาความรู้นำไปใช้ในการประกอบอาชีพและการแสวงหาความรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้ มีรายวิชาที่เน้นความเข้มแข็งทางภาษาศาสตร์ เช่น ด้านสัทศาสตร์ สัทวิทยา ด้านระบบคำและวากยสัมพันธ์ ด้านระบบข้อความ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและสอนภาษาได้ นอกจากนี้ หลักสูตรภาษาศาสตร์ที่ปรับปรุงใหม่ยังมีรายวิชาที่เน้นทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ เช่น วิชาภาษากับการสื่อสาร การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์ รวมไปถึงเทคนิคการสื่อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น มีรายวิชาที่เน้นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น วิชาภาษาอังกฤษในโลกปัจจุบัน ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1 และ ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 นอกจากนี้ยังเน้นกระบวนวิชาในเชิงประยุกต์และบูรณาการ เช่น ภาษาศาสตร์ประยุกต์ เน้นรายวิชาด้านสัมมนาและการวิจัยด้วยการเพิ่มรายวิชาสัมมนาหัวข้อปัจจุบันทางภาษาศาสตร์ และภาษาศาสตร์ภาคสนาม เพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เรียบเรียงเป็นงานเขียนและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการได้ ขณะเดียวกันหลักสูตรภาษาศาสตร์ยังมีรายวิชาเลือกที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์กับอาชีพ เช่น รายวิชาด้านการสอนภาษาต่างประเทศ การสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติ การทดสอบภาษา เป็นต้น มีรายวิชาเชิงเนื้อหาและทฤษฎีที่มีความทันสมัยให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ เช่น รายวิชาภาษาศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมแห่งเทคโนโลยีได้ รายวิชาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้และทักษะทางการสื่อสารและการใช้ชีวิตในสังคมเพื่อการประกอบอาชีพได้แล้ว ยังสามารถต่อยอดไปสู่การศึกษาขั้นสูงต่อไปได้

11.2ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ มีพันธกิจที่จะพัฒนาและถ่ายทอดความรู้เสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ในวิชาชีพชั้นสูง มีสติปัญญา ความคิด และความรับผิดชอบต่อสังคม มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันชั้นนำแห่งการเรียนรู้ในอาเซียน พันธกิจหลักที่สำคัญก็คือ ร่วมนำสังคม สืบสาน ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ส่วนคณะศิลปศาสตร์ มีพันธกิจในการสร้างความเป็นเลิศทางภาษาและวัฒนธรรม และการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ทางภาษา มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีวิจารณญาณในการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อนุรักษ์ ส่งเสริม ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาสังคมและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ดังนั้นหลักสูตรภาษาศาสตร์ จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้มีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยและคณะศิลปศาสตร์ดังกล่าว รวมทั้งเพิ่มเติมรายวิชาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ บัณฑิตของหลักสูตรภาษาศาสตร์จะสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ภาคสนามที่ได้รับจากหลักสูตรฯ นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพตามที่ระบุไว้ในข้อ 8 และยังจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในชาติและนานาชาติ

12.ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในวิทยาลัย/คณะ/ภาควิชาอื่น

12.1รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยวิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น

วิชาศึกษาทั่วไป

มธ.100พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

3(3-0-6)

TU100Civic Education

มธ.110สหวิทยาการมนุษยศาสตร์

2(2-0-4)

TU110Intergrated Humanities

มธ. 120 สหวิทยาการสังคมศาสตร์

2 (2-0-4)

TU 120 Integrated Social Sciences

มธ. 130 สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 (2-0-4)

TU 130 Integrated Sciences and Technology

มธ.151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย

3 (3-0-6)

TU 151 General College Mathematics

มธ. 152 หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU 152 Fundamental Mathematics

มธ. 153 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3 (3-0-6)

TU 153 General Concepts of Computer

มธ. 154 รากฐานคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU 154 Foundation of Mathematics

มธ. 155 สถิติพื้นฐาน

3 (3-0-6)

TU 155 Fundamental Statistics

มธ. 156 คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

3 (3-0-6)

TU 156Introduction to Computers and Programming

ท. 161 การใช้ภาษาไทย

3 (3-0-6)

TH 161 Thai Usage

ท. 162 การเขียนรายงานทางวิชาการ

3 (3-0-6)

TH 162 Report Writing

สษ. 070 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1

0 (3-0-6)

EL 070 English Course 1

สษ.171 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

3 (3-0-6)

EL 171 English Course 2

สษ. 172 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3

3 (3-0-6)

EL 172 English Course 3

วิชานอกสาขา

อ.231 การเขียนระดับย่อหน้า

3(3-0-6)

EG231 Paragraph Writing

อ.241 การฟัง-การพูด1

3(3-0-6)

EG241 Listening-Speaking1

12.2รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้วิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

ไม่มี

12.3การบริหารจัดการ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจะมีการปรับเนื้อหาและวิธีการสอน ตลอดจนการประเมินผลตามความเหมาะสมกับระดับความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาวิชาเอกเมื่อต้องเรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรอื่น

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1.ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1ปรัชญา

ภาษาศาสตร์สรรค์สร้างสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม สร้างความรอบรู้ ทักษะภาษา ความเข้าใจในการเรียนรู้ภาษาควบคู่กับบริบทสังคมวัฒนธรรม สร้างเจตคติที่ดีต่อภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ภาษาอังกฤษ ร่วมกับสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของมนุษย์ พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ

1.2ความสำคัญ

เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างผู้มีความรู้ความเข้าใจภาษา มุ่งพัฒนาและสร้างสรรค์ทักษะในการใช้ภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ พัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม เพื่อให้บัณฑิตสามารถพัฒนาตนเองและเป็นกำลังสำคัญของสังคมในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลในชาติ และสามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี

1.3วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้

1) มีความรู้และความเข้าใจลักษณะและกระบวนการการใช้ภาษาของ มนุษย์

2) มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ระบบของภาษา

3) มีความรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

4) มีความสามารถในการประยุกต์แนวคิดทางภาษาและภาษาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและงานอาชีพ

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1.ระบบการจัดการศึกษา

1.1ระบบ

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ

1.2การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหาร

หลักสูตรภาษาศาสตร์

1.3การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

2.การดำเนินการหลักสูตร

2.1วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

วัน – เวลาราชการปกติ

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ภาคฤดูร้อนเดือนมีนาคม – พฤษภาคม

2.2คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555) ข้อ 7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือการคัดเลือกตามวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย

2.3ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

ปัญหาของนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คือ

1) นักศึกษาบางส่วนไม่ได้มีความสนใจจะศึกษาวิชาภาษาศาสตร์เป็นวิชาเอกอย่างจริงจัง แต่จำเป็นต้องเรียน เพราะไม่สามารถเข้าศึกษาวิชาเอกด้านภาษาอื่นๆได้        2) ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษายังไม่ดีนัก ส่งผลให้นักศึกษามีข้อจำกัดในการค้นคว้าหาข้อมูลจากตำราที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ

2.4กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3

หลักสูตรภาษาศาสตร์กำหนดให้มีการแก้ไข ดังนี้

1) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ภาควิชาภาษาศาสตร์เพื่อให้นักศึกษาทราบว่าวิชาภาษาศาสตร์คืออะไร เหตุใดจึงมีความสำคัญไม่แพ้กับการเรียนวิชาทักษะภาษาอื่น ๆ เพื่อที่ภาควิชาฯ จะได้มีนักศึกษาที่มีความสนใจด้านภาษาศาสตร์อย่างแท้จริง และ พิจารณารับนักศึกษาที่ได้ผลการศึกษาสูงจากวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเป็นลำดับแรก

2) ในกระบวนการการเรียนได้พยายามส่งเสริมให้นักศึกษาอ่านตำราบทความ งานวิจัยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ

3) มีรายวิชา Reading in Linguistics เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะด้านการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ

2.5ระบบการศึกษา

(แบบชั้นเรียน

(แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก

(แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก

(แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning)

(แบบทางไกลทางอินเตอร์เน็ต

(อื่นๆ (ระบุ)

2.6การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา และการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย

1) การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา และการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555) ข้อ 10.10 และ ข้อ 15

2) หลักเกณฑ์การลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจดทะเบียนศึกษารายวิชาข้ามโครงการและการจดทะเบียนศึกษารายวิชาข้ามสถาบันอุดมศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552

3.หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

3.1หลักสูตร

3.1.1จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาศึกษา

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต

ระยะเวลาศึกษา เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 14 ภาคการศึกษาปกติ

3.1.2โครงสร้างหลักสูตร

นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชา รวมไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบ และข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้

1) วิชาศึกษาทั่วไป

30หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ

99หน่วยกิต

2.1) วิชาเอก

75

หน่วยกิต

2.1.1) วิชาในสาขา

51

หน่วยกิต

2.1.1.1) วิชาบังคับ

24

หน่วยกิต

2.1.1.2) วิชาบังคับเลือก

12

หน่วยกิต

2.1.1.3) วิชาเลือก

15

หน่วยกิต

2.1.2) วิชานอกสาขา

24

หน่วยกิต

2.1.2.1) วิชาบังคับ

6

หน่วยกิต

2.1.2.2) วิชาบังคับเลือก

18

หน่วยกิต

2.2) วิชาโทหรือวิชาเลือก

24

หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี

6หน่วยกิต

3.1.3รายวิชาในหลักสูตร

3.1.3.1 รหัสวิชา

รายวิชาในหลักสูตรประกอบด้วย อักษรย่อ 2 ตัว และเลขรหัส 3 ตัว โดยมีความหมายดังนี้

อักษรย่อ ภ./ LG

หมายถึง อักษรย่อของสาขาวิชาภาษาศาสตร์

ตัวเลข

มีความหมาย ดังนี้

เลขหลักหน่วย

เลข 0-5

หมายถึง วิชาบังคับ

เลข 6-9

หมายถึง วิชาเลือก

เลขหลักสิบ

เลข 1-2

หมายถึง วิชาในหมวดวิชาหมวดทฤษฎีว่าด้วยองค์ประกอบ

ของภาษาและสาขาต่างๆของภาษาศาสตร์

เลข 3

หมายถึง หมวดภาษาศาสตร์ภาษาไทย

เลข 4หมายถึง หมวดภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ

เลข 5-6หมายถึง หมวดภาษาศาสตร์ประยุกต์

เลข 7-8หมายถึง หมวดภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

เลข 9หมายถึง หมวดการศึกษาภาคสนาม การวิจัย และการสัมมนา

เลขหลักร้อย

เลข 1

หมายถึง รายวิชาที่จัดสอนสำหรับชาวต่างชาติ

เลข 2

หมายถึง รายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตรชั้นปีที่ 2

เลข 3หมายถึง รายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตรชั้นปีที่ 3

เลข 4หมายถึง รายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตรชั้นปีที่ 4

3.1.3.2 รายวิชาและข้อกำหนดของหลักสูตร

ก. วิชาศึกษาทั่วไป

30หน่วยกิต

นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป รวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ตามโครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 : เป็นหลักสูตรกลางของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนจำนวน 21 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

รหัสวิชาชื่อวิชา

หน่วยกิต

(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดมนุษยศาสตร์

บังคับ 1 วิชา 2 หน่วยกิต

มธ. 110สหวิทยาการมนุษยศาสตร์

2 (2-0-4)

TU 110 Integrated Humanities

หมวดสังคมศาสตร์

บังคับ 2 วิชา 5 หน่วยกิต

มธ. 100พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

3 (3-0-6)

TU 100Civic Education

มธ. 120 สหวิทยาการสังคมศาสตร์

2 (2-0-4)

TU 120 Integrated Social Sciences

หมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

: วิทยาศาสตร์

บังคับ 1 วิชา 2 หน่วยกิต

มธ. 130 สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 (2-0-4)

TU 130 Integrated Sciences and Technology

: คณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์ บังคับเลือก 1 วิชา 3 หน่วยกิต จากวิชาต่อไปนี้

มธ.151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย

3 (3-0-6)

TU 151 General College Mathematics

มธ. 152 หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU 152 Fundamental Mathematics

มธ. 153 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3 (3-0-6)

TU 153 General Concepts of Computer

มธ. 154 รากฐานคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU 154 Foundation of Mathematics

มธ. 155 สถิติพื้นฐาน

3 (3-0-6)

TU 155 Fundamental Statistics

มธ. 156 คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

3 (3-0-6)

TU 156Introduction to Computers and Programming

หมวดภาษา

ท. 161 การใช้ภาษาไทย

3 (3-0-6)

TH 161 Thai Usage

สษ. 070 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1

0 (3-0-6)

EL 070 English Course 1

สษ.171 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

3 (3-0-6)

EL 171 English Course 2

สษ. 172 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3

3 (3-0-6)

EL 172 English Course 3

ส่วนที่ 2 : นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามเงื่อนไขรายวิชาที่คณะฯ กำหนดไว้ดังนี้ คือ

1) วิชาบังคับ 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

ท. 162การเขียนรายงานวิชาการ

3 (3-0-6)

TH 162 Report Writing

2) เลือกศึกษารายวิชาอื่น ๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 2จำนวน 6 หน่วยกิต ซึ่งหมายรวมถึงวิชา จ.211 จิตวิทยาทั่วไป

หมายเหตุ นักศึกษาต้องเลือกศึกษาวิชาที่ต่างจากรายวิชาที่เลือกศึกษาไปแล้วในวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 1

ข. วิชาเฉพาะ

99หน่วยกิต

1) วิชาเอก

75 หน่วยกิต

1.1) วิชาในสาขา

51หน่วยกิต

1.1.1) วิชาบังคับ

24 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องศึกษาวิชาบังคับในสาขาจำนวน 8 วิชา รวม 24 หน่วยกิต ในรายวิชาต่อไปนี้ โดยนักศึกษาต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกรายวิชา

ภ. 211ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

LG 211Introduction to Linguistics

ภ. 212 สัทศาสตร์และสัทวิทยา

3(3-0-6)

LG 212Phonetics and Phonology

ภ. 213การวิเคราะห์คำและประโยค

3(3-0-6)

LG 213Analysis of Words and Sentences

ภ. 214 ภาษากับความหมาย

3(3-0-6)

LG 214Language and Meaning

ภ. 221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์

3(3-0-6)

LG 221Analytical Reading in Linguistics

ภ. 222 การเขียนงานวิชาการด้านภาษาศาสตร์

3(3-0-6)

LG 222Academic Writing in Linguistics

ภ. 311 การวิเคราะห์ข้อความ

3(3-0-6)

LG 311Discourse Analysis

ภ. 451 ภาษาศาสตร์ประยุกต์

3(3-0-6)

LG 451Applied Linguistics

1.1.2) วิชาบังคับเลือก

12 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องเลือกศึกษาและสอบไล่ได้ในรายวิชาบังคับเลือกดังต่อไปนี้ ไม่น้อยกว่า 4 วิชา รวม 12 หน่วยกิต

ภ. 316 วัจนปฏิบัติศาสตร์

3(3-0-6)

LG 316Pragmatics

ภ. 317 ภาษากับการเปลี่ยนแปลง

3(3-0-6)

LG 317Language Change

ภ. 318 ภาษากับสังคม

3(3-0-6)

LG 318Language and Society

ภ. 319 ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

3(3-0-6)

LG 319Psycholinguistics

ภ. 326 ภาษากับการสื่อสาร

3(3-0-6)

LG 326Language and Communication

ภ. 356 แนวการสอนภาษาต่างประเทศ

3(3-0-6)

LG 356 Approaches to Foreign Language Teaching

ภ. 466 การประยุกต์ภาษาศาสตร์เพื่อการแปล

3(3-0-6)

LG 466 Applying Linguistics to Translation

1.1.3) วิชาเลือก

15 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องเลือกศึกษาและสอบไล่ได้ในรายวิชาเลือกที่กำหนดให้ดังต่อไปนี้ หรือรายวิชาที่ไม่ได้เลือกศึกษาเป็นวิชาบังคับเลือก จำนวน 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต

ภ. 236ระบบเสียงภาษาไทย

3(3-0-6)

LG 236Thai Phonetics and Phonology

ภ. 246ระบบเสียงภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

LG 246English Phonetics and Phonology

ภ. 276ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1

3(3-0-6)

LG 276 Selected Language in Southeast Asia 1

ภ. 336การวิเคราะห์คำและประโยคภาษาไทย

3(3-0-6)

LG 336Analysis of Thai Words and Sentences

ภ. 346การวิเคราะห์คำและประโยคภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

LG 346Analysis of English Words and Sentences

ภ. 357 การสื่อสารแบบไม่ใช้ถ้อยคำ

3(3-0-6)

LG 357 Non-verbal communication

ภ. 358ภาษากับเพศ

3(3-0-6)

LG 358Language and Gender

ภ. 359การสื่อสารระหว่างชนต่างวัฒนธรรม

3(3-0-6)

LG 359Cross-Cultural Communication

ภ. 376ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2

3(3-0-6)

LG 376Selected Language in Southeast Asia 2

ภ. 436ภาษาย่อยในภาษาไทย

3(3-0-6)

LG 436Varieties of Thai

ภ. 437เทคนิคการสื่อความภาษาไทย

3(3-0-6)

LG 437Communication Techniques in Thai

ภ. 446ภาษาอังกฤษในโลกปัจจุบัน

3(3-0-6)

LG 446World Englishes

ภ. 447เทคนิคการสื่อความภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

LG 447Communication Techniques in English

ภ. 448ภาษาย่อยในภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

LG 448Varieties of English

ภ. 456การทดสอบภาษา

3(3-0-6)

LG 456Language Testing

ภ. 457การสอนภาษาอังกฤษแก่คนไทย

3(3-0-6)

LG 457Teaching English to Thai Speakers

ภ. 458การสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างชาติ

3(3-0-6)

LG 458Teaching Thai to Non-Native Speakers

ภ. 467ภาษาศาสตร์กับคอมพิวเตอร์

3(3-0-6)

LG 467Linguistics and Computers

ภ. 496ภาษาศาสตร์ภาคสนาม

3(3-0-6)

LG 496Linguistic Field Methods

ภ. 497สัมมนาหัวข้อทางภาษาศาสตร์ปัจจุบัน

3(3-0-6)

LG 497Seminar in Current Issues in Linguistics

ภ. 498การศึกษาหัวข้อทางภาษาศาสตร์เฉพาะบุคคล

3(3-0-6)

LG 498Directed Studies in Linguistics Topics

1.2) วิชานอกสาขา

24หน่วยกิต

1.2.1) วิชาบังคับ

6หน่วยกิต

นักศึกษาต้องศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชาบังคับ จำนวน 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต ในรายวิชาต่อไปนี้

อ. 231การเขียนระดับย่อหน้า

3(3-0-6)

EG 231Paragraph Writing

อ. 241การฟัง-การพูด 1

3(3-0-6)

EG 241Listening-Speaking 1

1.2.2) วิชาบังคับเลือก

18หน่วยกิต

นักศึกษาต้องศึกษาภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่งไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

สำหรับนักศึกษาที่เลือกวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องศึกษา วิชา อ.221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล (3 หน่วยกิต) และเลือกศึกษาวิชาอื่นๆ ในหลักสูตรของภาควิชาภาษาอังกฤษ และ/หรือ สถาบันภาษาอีก 15 หน่วยกิต โดยนักศึกษาไม่สามารถนำวิชาบังคับของวิชานอกสาขา (อ.231 และ อ.241) มานับรวมกับวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ให้ครบจำนวนวิชาในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศได้

2) วิชาโทหรือวิชาเลือก

24 หน่วยกิต

นักศึกษาอาจเลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้

2.1) วิชาโท

นักศึกษาอาจเลือกศึกษาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาโท โดยศึกษาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาโทในสาขาวิชานั้นๆ

ในกรณีที่นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาโท นักศึกษาสามารถนำวิชา อ.231 และ อ. 241 (วิชาบังคับของวิชานอกสาขา) รวมทั้งวิชา อ.221 (ในกรณีที่นักศึกษาเลือกวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ) มานับรวมกับวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ให้ครบจำนวนวิชาตามข้อกำหนดของหลักสูตรวิชาโทภาษาอังกฤษได้ แต่จะไม่นับหน่วยกิตให้ ดังนั้นนักศึกษาต้องศึกษาวิชาอื่น ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาในสาขาวิชาเอกหรือวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มอีก 3 วิชา 9 หน่วยกิต เพื่อให้ครบหน่วยกิตที่กำหนดไว้ หรือ

2.2) วิชาเลือก

นักศึกษาอาจเลือกศึกษาจากวิชาของสาขาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมไม่เกิน 4 สาขาวิชา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

ค. วิชาเลือกเสรี

6หน่วยกิต

นักศึกษาอาจเลือกศึกษารายวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง วิชาศึกษาทั่วไป หมวดภาษาต่างประเทศด้วย

นักศึกษาจะนำวิชาเหล่านี้มานับเป็นวิชาเลือกเสรีไม่ได้

1. วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทุกวิชา(รวมทั้งวิชาที่ไม่ได้กำหนดไว้ในวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 2)

2. วิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ที่ใช้รหัสย่อ “มธ.” ทุกวิชา

3. วิชา ท.162 การเขียนรายงานทางวิชาการและท.163 การเขียนเพื่อการสื่อสารในองค์กร

การศึกษาวิชาภาษาศาสตร์เป็นวิชาโท

นักศึกษาที่ประสงค์จะศึกษาวิชาภาษาศาสตร์เป็นวิชาโท ต้องศึกษารายวิชาในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาบังคับในสาขาภาษาศาสตร์รวม 24 หน่วยกิต ได้แก่ รายวิชา ภ. 211ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ภ. 212 สัทศาสตร์และสัทวิทยา ภ. 213 การวิเคราะห์คำและประโยค ภ. 214 ภาษากับความหมาย ภ. 221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์ ภ. 222 การเขียนงานวิชาการด้านภาษาศาสตร์ ภ. 311 การวิเคราะห์ข้อความ และ ภ. 451 ภาษาศาสตร์ประยุกต์

การศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในสาขาวิชาภาษาศาสตร์

นักศึกษาผู้ใดได้ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ได้หน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับอนุปริญญา

1) ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

2) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแล้วไม่น้อยกว่าห้าภาคการศึกษาปกติ

3) ได้ศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย 30 หน่วยกิต

4) ได้ศึกษารายวิชาเฉพาะของสาขาวิชาภาษาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิตตามเงื่อนไขต่อไปนี้

4.1) วิชาบังคับในสาขา

วิชาบังคับในสาขาวิชาภาษาศาสตร์รวม 24 หน่วยกิต ได้แก่ รายวิชา ภ. 211ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ภ. 212 สัทศาสตร์และสัทวิทยา ภ. 213 การวิเคราะห์คำและประโยค ภ. 214 ภาษากับความหมาย ภ. 221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์

ภ.222การเขียนงานวิชาการด้านภาษาศาสตร์ ภ. 311 การวิเคราะห์ข้อความ ภ. 451 ภาษาศาสตร์ประยุกต์ และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกรายวิชา

4.2) วิชาบังคับนอกสาขา

4.2.1) วิชาบังคับนอกสาขารวม 6 หน่วยกิต คือ อ. 231 การเขียนระดับย่อหน้า และ อ. 241 การฟัง-

การพูด 1

4.2.2) วิชาบังคับต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาที่เลือกศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องศึกษารายวิชา อ. 221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล (3 หน่วยกิต) และเลือกศึกษาวิชาอื่นๆในภาควิชาภาษาอังกฤษและ/หรือสถาบันภาษาอีก 15 หน่วยกิต

4.3) วิชาบังคับเลือกในสาขาหรือวิชาเลือกในสาขาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

5) ได้ศึกษาวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

วิชาที่เปิดสอนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

9 หน่วยกิต

ภ. 136ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 1

3(3–0–6)

LG 136Thai for Non-Native Speakers 1

ภ. 137ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 2

3(3–0–6)

LG 137Thai for Non-Native Speakers 2

ภ. 138ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 3

3(3–0–6)

LG 138Thai for Non-Native Speakers 3

3.1.4 แสดงแผนการศึกษา

ปีการศึกษาที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

12

สษ. 171 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

3

รวม

15

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

12

สษ. 172 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3

3

รวม

15

ปีการศึกษาที่ 2

ภาคเรียนที่ 1

หน่วยกิต

ภ. 211 ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

3

ภ. 212 สัทศาสตร์และสัทวิทยา

3

ภ. 221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์

3

อ. 231 การเขียนระดับย่อหน้า

3

วิชาบังคับเลือก (วิชานอกสาขา)

3

วิชาโทหรือวิชาเลือก

3

รวม

18

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยกิต

ภ. 213 การวิเคราะห์คำและประโยค

3

ภ. 214 ภาษากับความหมาย

3

ภ. 222 การเขียนงานวิชาการด้านภาษาศาสตร์

3

อ. 241 การฟัง-การพูด 1

3

วิชาบังคับเลือก (วิชานอกสาขา)

3

วิชาโทหรือวิชาเลือก

3

รวม

18

ปีการศึกษาที่ 3

ภาคเรียนที่ 1

หน่วยกิต

ภ. 311 การวิเคราะห์ข้อความ

3

วิชาบังคับเลือก (วิชาในสาขา)

6

วิชาเลือก (วิชาในสาขา)

3

วิชาบังคับเลือก (วิชานอกสาขา)

6

รวม

18

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยกิต

วิชาบังคับเลือก (วิชาในสาขา)

6

วิชาเลือก (วิชาในสาขา)

6

วิชาบังคับเลือก (วิชานอกสาขา)

3

วิชาโทหรือวิชาเลือก

3

รวม

18

ปีการศึกษาที่ 4

ภาคเรียนที่ 1

หน่วยกิต

ภ. 451 ภาษาศาสตร์ประยุกต์

3

วิชาเลือก (วิชาในสาขา)

3

วิชาบังคับเลือก (วิชานอกสาขา)

3

วิชาโทหรือวิชาเลือก

6

วิชาเลือกเสรี

3

รวม

18

ภาคเรียนที่ 2

หน่วยกิต

วิชาเลือก (วิชาในสาขา)

3

วิชาโทหรือวิชาเลือก

9

วิชาเลือกเสรี

3

รวม

15

3.1.5 คำอธิบายรายวิชา

3.1.5.1 คำอธิบายรายวิชาภาษาไทย

วิชาศึกษาทั่วไป

หมวดมนุษยศาสตร์

มธ.110

สหวิทยาการมนุษยศาสตร์

2 (2-0-4)

TU110

Integrated Humanities

ความเป็นมาของมนุษย์ในยุคต่างๆ ที่ได้สะท้อนความเชื่อ ความคิด การพัฒนาทางสติปัญญาสร้างสรรค์ของมนุษย์ ตลอดจนให้รู้จักมีวิธีการคิด วิเคราะห์และมองปัญหาต่าง ๆ ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ อาทิ ผลกระทบของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ปัญหาความรุนแรง สงครามและวิกฤตต่าง ๆ ของโลกเพื่อที่เราจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้

หมวดสังคมศาสตร์

มธ.100

พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

3 (3-0-6)

TU100

Civic Education

การเรียนรู้หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) เข้าใจความหมายของ “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย ฝึกฝนให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองให้เป็น “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยและให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Learning by doing)

มธ.120

สหวิทยาการสังคมศาสตร์

2 (2-0-4)

TU120

Integrated Social Sciences

วิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ มุ่งแสดงให้เห็นว่าวิชาสังคมศาสตร์มีความหมายต่อมนุษย์ โดยศึกษากำเนิดของสังคมศาสตร์กับโลกยุคสมัยใหม่ การแยกตัวของสังคมศาสตร์ออกจากวิทยาศาสตร์ การรับเอากระบวนทัศน์ (Paradigm) ของวิทยาศาสตร์มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ ศึกษาถึงศาสตร์ (Discipline) มโนทัศน์ (Concept) และทฤษฎีต่าง ๆ สำคัญ ๆ ทางสังคมศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของสังคมศาสตร์ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาสังคมร่วมสมัยแบบต่าง ๆ โดยใช้ความรู้และมุมมองทางสังคมศาสตร์เป็นหลักเพื่อให้เข้าใจและมองเป็นปัญหานั้น ๆ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลระดับกลุ่ม ระดับมหภาคทางสังคม ระดับสังคม ที่เป็นรัฐชาติและระดับสังคมที่รวมเป็นระบบโลก

หมวดวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์

มธ.130

สหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 (2-0-4)

TU130

Integrated Sciences and Technology

แนวคิด ทฤษฎีปรัชญาพื้นฐาน และกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ วิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และศึกษาประเด็นการถกเถียงที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงจริยธรรม คุณธรรมของความเป็นมนุษย์

คณิตศาสตร์

มธ.151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย 3 (3-0-6)

TU151

General College Mathematics

(ไม่นับหน่วยกิตให้กับนักศึกษาที่มีรหัสคณะ 02, 04 และตั้งแต่ 09 ถึง 14,16,17)

เซต ระบบจำนวนจริง ความสัมพันธ์ ฟังก์ชันและการประยุกต์ ความรู้เบื้องต้นของกำหนดการเชิงเส้น ตรรกวิทยา การคำนวณดอกเบี้ย เงินผ่อนรายงวดและภาษีเงินได้ สถิติเชิงพรรณนา เลขดัชนี ความน่าจะเป็นเบื้องต้น แนวคิดสถิติเชิงอนุมานเบื้องต้น โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

มธ.152

หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU152

Fundamental Mathematics

(วิชานี้สำหรับนักศึกษาที่เคยเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 16 หน่วยกิตหรือเป็นวิชาที่คณะ/สาขาวิชาบังคับให้เรียน)

หลักเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์ที่ใช้ในการพิสูจน์ วิธีการพิสูจน์แบบต่าง ๆ การอ้างเหตุผล การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ การพิสูจน์ในทฤษฎีเกี่ยวกับอสมการและค่าสัมบูรณ์ การแก้อสมการ ฟังก์ชัน ฟังก์ชันชนิดต่างๆ โจทย์ประยุกต์ของฟังก์ชัน การเขียนกราฟของฟังก์ชัน การแยกเศษส่วนออกเป็นเศษส่วนย่อย การแก้ระบบสมการเชิงเส้นอย่างง่าย

มธ.153

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3 (3-0-6)

TU153

General Concepts of Computer

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและการประมวลผลพื้นฐานการสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ความปลอดภัย จรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

มธ.154

รากฐานคณิตศาสตร์

3 (3-0-6)

TU154

Foundation of Mathematics

หลักเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์ที่ใช้ในการพิสูจน์ วิธีการพิสูจน์แบบต่างๆ ตัวบ่งปริมาณ การอ้างเหตุผลและอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ โครงสร้างของระบบจำนวนจริง ทฤษฎีบททวินามและทฤษฎีบทอเนกนาม การเลื่อนแกน การหมุนแกน และการร่างกราฟของภาคตัดกรวย การเขียนกราฟ ฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด การแยกเศษส่วนออกเป็นเศษส่วนย่อย ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น

มธ.155 สถิติพื้นฐาน 3 (3-0-6)

TU155 Elementary Statistics

ลักษณะปัญหาทางสถิติ ทบทวนสถิติเชิงพรรณนา ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงของตัวแปรสุ่มทวินาม ปัวซง และปกติ เทคนิคการชักตัวอย่างและการแจกแจงของตัวสถิติ การประมาณค่า และการทดสอบสมมุติฐาน เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยประชากรกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงเส้นเชิงเดียว การทดสอบไคกำลังสอง

มธ.156

คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

3 (3-0-6)

TU156

Introduction to Computers and Programming

หลักการพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ หลักการการประมวลผลข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ขั้นตอนวิธี ผังงาน การแทนข้อมูล วิธีการการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การแก้ปัญหาด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง

หมวดภาษา

ภาษาไทย

ท.161

การใช้ภาษาไทย

3 (3-0-6)

TH161

Thai Usage

หลักและฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย ด้านการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด โดยเน้นการจับใจความสำคัญ การถ่ายทอดความรู้ ความคิดและการเขียน เรียบเรียงได้อย่างเหมาะสม

ท.162

การเขียนรายงานวิชาการ

3 (3-0-6)

TH162

Report Writing

หลักการเขียนรายงานวิชาการ สามารถค้นคว้าข้อมูลและอ้างอิงได้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนฝึกทักษะการเขียนรายงานวิชาการ

ภาษาอังกฤษ

สษ.070

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1

0 (3-0-6)

EL070

English Course 1

วิชาบังคับก่อน : กำหนดจากการจัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของสถาบันภาษา

เป็นวิชาเสริมที่มิได้คิดหน่วยกิต (Non-Credit เพื่อช่วยนักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษยังไม่สูงพอที่จะเข้าศึกษาในระดับพื้นฐานได้ (รายงานผลการศึกษาระบุเพียงใช้ได้ (S) หรือใช้ไม่ได้ (U) และจะไม่นำไปคิดรวมกับจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด หรือคำนวณค่าระดับเฉลี่ย)

หลักสูตรเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา ฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตจริงทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน

สษ.171

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2

3 (3-0-6)

EL171

English Course 2

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ EL 070 หรือ กำหนดจากการจัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของสถาบันภาษา

หลักสูตรระดับกลางเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน แบบบูรณาการ รวมทั้งเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น

สษ.172

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3

3 (3-0-6)

EL172

English Course 3

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ EL 171 หรือ กำหนดจากการจัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของสถาบันภาษา

หลักสูตรระดับกลางสูง เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ทักษะภาษาอังกฤษอย่างบูรณาการในระดับที่ซับซ้อนกว่าในวิชาภาษาอังกฤษระดับกลาง โดยเน้นทักษะการพูดและการเขียน

วิชาที่เปิดสอนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

ภ. 136

ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 1

3(3-0-6)

LG136

Thai for Non-Native Speakers 1

ภาษาไทยในระดับต้น โดยเน้นการพัฒนาทักษะการฟังและการสนทนาในชีวิตประจำวัน ตลอดจนระบบภาษาเขียนและการอ่านเบื้องต้น

ภ. 137

ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 2

3(3-0-6)

LG137

Thai for Non-Native Speakers 2

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ภ. 136 หรือได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย

ภาษาไทยต่อเนื่องจาก ภ. 136 เน้นการฝึกทักษะทั้งสี่ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อการสื่อสารขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

ภ. 138

ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 3

3(3-0-6)

LG138

Thai for Non-Native Speakers 3

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ภ. 137 หรือได้รับอนุมัติจากผู้บรรยาย

ภาษาไทยในระดับที่สูงกว่า ภ.137 เน้นการฝึกทักษะทั้งสี่ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาบังคับ

ภ. 211

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

LG211

Introduction to Linguistics

ธรรมชาติ องค์ประกอบและหน้าที่ของภาษา ความเป็นสากลของภาษา วิธีการวิเคราะห์ภาษา ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ

ภ. 212

สัทศาสตร์และสัทวิทยา

3(3-0-6)

LG212

Phonetics and Phonology

กระบวนการออกเสียง ลักษณะทางกายภาพของเสียงและการรับฟัง ฝึกฟังและออกเสียง เรียนรู้สัญลักษณ์แทนเสียงต่างๆ ศึกษาหลักการและวิธีการวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษาตามทฤษฎีต่างๆ

ภ. 213

การวิเคราะห์คำและประโยค

3(3-0-6)

LG213

Analysis of Words and Sentences

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ภ. 211

หลักการวิเคราะห์คำและประโยคตามทฤษฎีต่างๆ รวมทั้งกระบวนการสร้างคำและประโยคในภาษาด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์

ภ. 214

ภาษากับความหมาย

3(3-0-6)

LG214

Language and Meaning

วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ภ. 211

ความหมายด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์ องค์ประกอบของความหมายในระดับคำประโยค และข้อความ ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายกับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับโลกรอบตัว

ภ. 221

การอ่านเชิงวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์

3(3-0-6)

LG221

Analytical Reading in Linguistics

วิเคราะห์เนื้อหาทางภาษาศาสตร์โดยเน้นการอ่านสาระข้อความภาษาอังกฤษ พิจารณาหลักการและแนวกา