438

wiki.kpi.ac.thwiki.kpi.ac.th/images/f/f1/Kpi_122.pdfจ กรนาท นาคทอง และ ส ว ดา ธรรมมณ วงศ เคร อข าย: นว ตกรรมการจ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 ประจำปี 2553 เล่ม 2 “คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทย” (Social Quality and Quality of Thai Democracy)

    สถาบันพระปกเกล้า

    ISBN:978-974-449-554-9

    พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม2553

    จำนวนพิมพ์

    1100เล่ม

    ลิขสิทธิ์

    สถาบันพระปกเกล้า

    จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า

    ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ80พรรษาฯอาคารบีชั้น5(โซนทิศใต้)

    เลขที่120หมู่3ถนนแจ้งวัฒนะแขวงทุ่งสองห้องเขตหลักสี่กรุงเทพฯ10210

    โทรศัพท์02-141-9600

    โทรสาร02-143-8174

    เว็บไซต์www.kpi.ac.th

    พิมพ์ที่ สเจริญการพิมพ์

    1510/10ถนนประชาราษฎร์1แขวงบางซื่อ

    เขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร10800

    โทรศัพท์02-913-2080,โทรสาร02-913-2081

    นางจรินพร

    เสนีวงศ์ณอยุธยาผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

  • �คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    สารบัญ

    เรื่อง หน้า

    คุณภาพประชาธิปไตยและคุณภาพทางสังคม:ความเชื่อมโยงที่จำเป็น 7

    ไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์

    การประชุมกลุ่มย่อยที่1 37

    การปฏิรูประบบโครงสร้างสถาบันการเมืองกับการเสริมสร้างพลังทางสังคม

    การเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงกับการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สังคม 39

    ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

    การสร้างพรรคการเมืองของประชาชน 61

    สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

    การตรวจสอบกลไกการทำงานของระบบราชการด้วยแนวทางเสริมพลัง 73

    นิภาพรรณ เจนสันติกุล

    การประชุมกลุ่มย่อยที่2 87

    ประชาธิปไตยเชิงกระบวนการกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม

    ประชาธิปไตยแห่งการสานเสวนาหาทางออก:ทางออกของประเทศไทย 89

    ศ. นพ.วันชัย วัฒนศัพท์

    ความสมานฉันท์ทางสังคมสถาบันการเมืองและการพัฒนาประเทศ 95

    สุรสิทธิ์ วชิรขจร

    สภาองค์กรชุมชนขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองเพื่อชุมชนสมานฉันท์ 103

    เฉลิมศักดิ์ บุญนำ

    การประชุมกลุ่มย่อยที่3 129

    การสร้างค่านิยมประชาธิปไตยกับสังคมที่มีคุณภาพ

    ประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน 131

    กฤษฎา แก้วเกลี้ยง

    การสร้างค่านิยมประชาธิปไตยในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคมคุณภาพ 159

    ดร.วรวรรณ ศรีตะลานุกค์ และ ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ

    สิทธิชุมชน:คุณค่าของท้องถิ่นสู่การสร้างคุณภาพสังคม 177

    วิศรุตา ทองแกมแก้ว

    การประชุมกลุ่มย่อยที่4 195

    ประสิทธิผลของประชาธิปไตย:ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม

    และการเสริมพลังทางกฎหมายของคนจน

    ประชาธิปไตย:เท่ดีแต่กินได้หรือ? 197

    ศ.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี

    เอกสารภูมิหลังการเสริมพลังทางกฎหมายของคนจนสำหรับชนส่วนน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 207

    ในประเทศไทย

    ชูพินิจ เกษมณี

  • � การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    สารบัญ

    เรื่อง หน้า

    การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล: 233

    ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมาย?

    ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ

    รัฐสวัสดิการกับความเป็นไปได้ในสังคมไทย: 235

    ศึกษาเปรียบเทียบสวัสดิการไทยภายใต้ประชาธิปไตยแบบสฤษดิ์–ทักษิณ

    วีระ หวังสัจจะโชค

    การประชุมกลุ่มย่อยที่5 275

    นวัตกรรมประชาธิปไตยเพื่อคุณภาพสังคมไทย

    นวัตกรรมสร้างประชาธิปไตยฐานรากจากชุมชนเข้มแข็ง: 277

    โครงการบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดกาฬสินธุ์

    ดร.สม นาสอ้าน และคณะ

    ประชาธิปไตยชุมชนประชาธิปไตยเพื่อคุณภาพสังคมไทย 291

    ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ

    ชุมชนสมานฉันท์ประชาธิปไตยระดับรากหญ้าที่ตำบลน้ำเกี๋ยนอำเภอภูเพียงจังหวัดน่าน 299

    ชูศิลป์ สารรัตนะ

    บล็อก(Blog)เฟซบุ๊ค(Facebook)และทวิตเตอร์(Twitter): 309

    สื่อทางเลือกเพื่อสังคมประชาธิปไตย

    จักรนาท นาคทอง และ สุวิดา ธรรมมณีวงศ์

    เครือข่าย:นวัตกรรมการจัดการเพื่อประชาธิปไตยและประโยชน์สาธารณะ 329

    จามรี จำปา

    บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการเสริมสร้างพลังทางสังคมประชาธิปไตย 349

    ทศพนธ์ นรทัศน์

    ประวัติวิทยากรการประชุมกลุ่มย่อยที่1 379

    ประวัติวิทยากรการประชุมกลุ่มย่อยที่2 387

    ประวัติวิทยากรการประชุมกลุ่มย่อยที่3 393

    ประวัติวิทยากรการประชุมกลุ่มย่อยที่4 401

    ประวัติวิทยากรการประชุมกลุ่มย่อยที่5 409

    ประวัติผู้ดำเนินรายการกลุ่มย่อย 417

    ประวัติผู้สรุปและนำเสนอผลการประชุม 429

  • คุณภาพประชาธิปไตย และคุณภาพทางสังคม Quality of Democracy and Social Quality

  • �คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    คุณภาพประชาธิปไตย และคุณภาพทางสังคม: ความเชื่อมโยงที่จำเป็น (Quality of Democracy and Social Quality: Essential Linkage)

    ไชยวัฒน์ ค้ำชู นิธิ เนื่องจำนงค์

    I. ความนำ

    ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาแวดวงวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ ในฝั่ งตะวันตกได้พบกับ

    ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในสองสาขาด้วยกันกล่าวคือในสาขาสังคมวิทยาและนโยบายสาธารณะในด้าน

    สังคมของยุโรปได้เกิดแนวคิดเรื่องคุณภาพทางสังคม(social

    quality)และในสาขารัฐศาสตร์และการเมืองเปรียบเทียบ

    โดยเฉพาะในฝั่ งอ เมริกาได้ เกิดแนวคิด เรื่ องคุณภาพ

    ประชาธิปไตย(qualityofdemocracy)การเกิดขึ้นมาของ

    แนวคิดทั้งสองในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนี้หากพิจารณาอย่าง

    ผิวเผินจะพบว่าแนวคิดทั้งสองแทบไม่มีความเกี่ยวพันกัน

    แต่อย่างใดไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่มาจากคนละฝั่ง

    มหาสมุทรหรือบริบทในการก่อกำเนิดที่แนวคิดคุณภาพทาง

    สังคมเกิดขึ้นมาเพื่อรับมือกับกระแสแรงกดดันที่มีต่อรัฐ

    สวัสดิการของยุโรปทั้งจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์การขยาย

    การรวมกลุ่มระดับภูมิภาคความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ

  • 10 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    ประชากรของยุโรป1แต่แนวคิดคุณภาพประชาธิปไตยเกิดขึ้นจากความท้าทายของ“วิกฤตประชาธิปไตย”

    ในลักษณะต่างๆอาทิความเชื่อมั่นที่ลดลงของประชาชนต่อสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

    ทัศนคติของประชาชนที่มองว่ารัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยประสบปัญหาคอร์รัปชั่นและไม่ตอบสนองต่อ

    ความต้องการของประชาชนซึ่งปัญหาเหล่านี้พบได้ทั่วไปทั้งประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่และประเทศที่

    เป็นประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน2

    เนื่องจากความแตกต่างในลักษณะข้างต้นของแนวคิดทั้งสองทำให้ที่ผ่านมายังไม่มีงานที่ศึกษาความ

    เชื่อมโยงหรือความเกี่ยวพันของแนวคิดทั้งสองอย่างจริงจังมีเพียงการตั้งคำถามเชิงวิพากษ์จากมาร์ค

    แพลตต์เนอร์(MarcPlattner)ที่ถามว่า“เราจะสามารถประเมินคุณภาพประชาธิปไตยอย่างเต็มที่โดยปราศ

    จากการพิจารณาคุณภาพชีวิต(qualityoflife)ได้หรือไม่?”3ทั้งนี้แนวคิดเรื่องคุณภาพของชีวิตนับเป็น

    แนวคิดที่มีมาก่อนหน้าแนวคิดคุณภาพทางสังคมโดยแนวคิดคุณภาพทางสังคมเกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนา

    คำอธิบายของแนวคิดคุณภาพชีวิตที่มองมนุษย์ในระดับปัจเจกชนมากเกินไปและต้องการเพิ่มมิติในทาง

    สังคมให้กับแนวคิด4ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งประเด็นคำถามดังกล่าวเป็นความพยายามแรกๆ

    ที่เสนอให้พิจารณาแสวงหาความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดคุณภาพประชาธิปไตยและแนวคิดคุณภาพทาง

    สังคมบทความชิ้นนี้ต้องการที่จะตอบคำถามที่แพลตต์เนอร์ตั้งไว้ข้างต้นโดยเปลี่ยนจากแนวคิดเรื่อง

    คุณภาพชีวิตเป็นแนวคิดเรื่องคุณภาพทางสังคมด้วยเหตุนี้คำถามหลักของบทความชิ้นนี้คือ“เราจะ

    สามารถประเมินคุณภาพประชาธิปไตยอย่างเต็มที่โดยปราศจากการพิจารณาคุณภาพทางสังคมได้หรือไม่?”

    และ“อะไรคือความเชื่อมโยงที่จำเป็นระหว่างแนวคิดคุณภาพทางสังคมและคุณภาพประชาธิปไตย?”

    สมมติฐานเบื้องต้นของบทความนี้คือแนวคิดเรื่องคุณภาพประชาธิปไตยสามารถเสริมหรือเติมเต็ม

    ให้กับมิติทางการเมืองที่ขาดหายไปในการศึกษาคุณภาพทางสังคมในทำนองเดียวกันแนวคิดเรื่องคุณภาพ

    ทางสังคมสามารถอุดช่องว่างของการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นแต่มิติเชิงสถาบันของระบอบ

    ประชาธิปไตยมากเกินไปจนอาจขาดน้ำหนักที่ให้ต่อมิติทางสังคมที่แวดล้อมการทำงานของประชาธิปไตย

    กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแนวคิดทั้งสองนั้นต่างเสริมซึ่งกันและกันนอกจากแนวคิดทั้งสองจะอุดช่องว่าง

    คำอธิบายที่แต่ละแนวคิดอาจมองแบบแยกส่วนแล้วบทความชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นว่าแนวคิดทั้งสองส่งผลกระทบ

    ในทางบวกต่อกันอีกด้วยกล่าวคือคุณภาพทางสังคมเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพ

    ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนในขณะเดียวกันประชาธิปไตยที่มีคุณภาพเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการพัฒนา

    คุณภาพทางสังคม

    ในการพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นผู้เขียนจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงเชิงเหตุ-ผล(causal

    mechanism)ระหว่างแนวคิดทั้งสองและองค์ประกอบสำคัญที่แนวคิดทั้งสองคาบเกี่ยวหรือทับซ้อนกัน

    1 ดูนิธิเนื่องจำนงค์.“ตรรกะของแนวคิดคุณภาพทางสังคม(ของยุโรป):สู่สังคมยุคหลังรัฐสวัสดิการ”.บทความนำ

    เสนอในงานสัมมนา“คุณภาพสังคม…สังคมคุณภาพ”.สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายการ

    ศึกษาคุณภาพสังคมแห่งประเทศไทย.กันยายน2553.

    2 LarryDiamondandLeonardoMorlino.“TheQualityofDemocracy”.InLarryDiamondandLeonardo

    Morlino.eds.AssessingtheQualityofDemocracy.(Baltimore:TheJohnsHopkinsUniversityPress,2005).p.ix.

    3 MarcPlattner.“ASkepticalPerspective”,inLarryDiamondandLeonardoMorlino.eds.Assessingthe

    QualityofDemocracy.(Baltimore:TheJohnsHopkinsUniversityPress,2005).p.81.

    4 ดูนธิิเนือ่งจำนงค.์“ตรรกะของแนวคดิคณุภาพทางสงัคม”.และClaireWallaceandPamelaAbbott,“Fromquality

    oflifetosocialquality:RelevanceforworkandcareinEurope”,CalitateaVietii18:1/2(2007):pp.109-110.

  • 11คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    (overlap)โดยนอกจากจะพิจารณาในมิติทางทฤษฎีแล้วยังจะพยายามหยิบยกกรณีตัวอย่างเชิงประจักษ์มา

    ประกอบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย

    ในการนี้ผู้เขียนจะจัดลำดับการนำเสนอออกเป็นสี่ส่วนโดย

    ส่วนถัดมาจะกล่าวถึงแนวคิดทั้งสองอย่างสังเขปทั้งในแง่ขององค์ประกอบและบริบทที่แวดล้อมการเกิดขึ้น

    มาของแนวคิดทั้งสองจากนั้นผู้เขียนจะกล่าวถึงความเชื่อมโยงของแนวคิดทั้งสองและองค์ประกอบของ

    แนวคิดทั้งสองว่ามีความคาบเกี่ยวทับซ้อนกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่างในเชิงประจักษ์ก่อนที่จะสรุป

    ภาพรวมทั้งหมดในส่วนสุดท้าย

    II. คุณภาพประชาธิปไตย

    แนวคิดเรื่องคุณภาพประชาธิปไตยอาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย

    ระลอกล่าสุดหลังจากที่ความสนใจในการศึกษาประชาธิปไตยได้เพิ่มสูงขึ้นในยุคหลังสงครามเย็นซึ่งเป็น

    ช่วงเวลาเดียวกับที่กระแสประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สาม(thethirdwaveofdemocratization)กำลังพัดผ่าน

    เนื่องจากประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สามเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบอบจากระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย

    ไปสู่ประชาธิปไตย(democratization)ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสี่ขั้นได้แก่ขั้นแรกการล่มสลายของการ

    ปกครองภายใต้ระบอบอำนาจนิยมขั้นที่สองช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยขั้นที่สามช่วงการสร้าง

    ความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยและขั้นที่สี่ช่วงที่ประชาธิปไตยมั่นคง5สิ่งที่นักวิชาการที่ศึกษา

    ประชาธิปไตยในช่วงนี้เป็นกังวลมากที่สุดคือช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน(democratictransition)ที่อาจมี

    ความอ่อนไหวหรือความสุ่มเสี่ยงที่ประเทศที่ทำการเปลี่ยนผ่านจะหันกลับไปเป็นเผด็จการหรืออาจเรียกได้

    ว่าปรากฎการณ์ประชาธิปไตยย้อนกลับ(reversewaveofdemocratizationหรือdemocraticrollback)6

    โดยซามูเอลฮันทิงตัน(SamuelHuntington)ผู้ตั้งข้อสังเกตถึงการก่อตัวของคลื่นประชาธิปไตยลูกที่สาม

    ได้ชี้ว่าคลื่นประชาธิปไตยสองลูกแรกล้วนแล้วแต่ตามมาด้วยคลื่นประชาธิปไตยย้อนกลับ7

    จากความกังวลดังกล่าวทำให้ประเด็นสำคัญที่อาจกล่าวได้ว่าได้รับความสนใจมากที่สุดในช่วง

    ทศวรรษที่1990คือประเด็นการสร้างความแข็งแกร่งหรือความมั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตย

    (democraticconsolidationหรือconsolidationofdemocracy)ความสนใจดังกล่าวนี้แตกต่างจากในช่วง

    ทศวรรษที่1960ถึง70ซึ่งในช่วงเวลานั้นประเด็นที่ดูจะได้รับความสนใจมากที่สุดในการศึกษา

    ประชาธิปไตยคือการแสวงหาพื้นฐานหรือเงื่อนไขที่จำเป็นต่อประชาธิปไตย8โดยงานที่เป็นภาพสะท้อนของ

    5

    ดูDohChullShin.“OntheThirdWaveofDemocratization:ASynthesisandEvaluationofRecentTheory

    andResearch”.WorldPolitics.47(October1994).p.143.ทั้งนี้การจำแนกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงระบอบ

    ไปสู่ประชาธิปไตยของนักวิชาการแต่ละคนอาจแตกต่างกันอาทิการแบ่งของอันเดรสเชดเลอร์ที่จำแนกเป็นขั้นแรก

    เผด็จการอำนาจนิยมที่เข้มแข็งขั้นที่สองเผด็จการอำนาจนิยมที่อ่อนแอขั้นที่สามประชาธิปไตยอ่อนแอและขั้นที่สี่

    ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งดูAndreasSchedler.“TakingUncertaintySeriously:TheBlurredboundariesof

    DemocraticTransitionandConsolidation”,Democratization.8:4(Winter2001).p.6.

    6

    LarryDiamond.“TheDemocraticRollback:TheResurgenceofthePredatoryState”.ForeignAffairs.87:2

    (Mar/Apr2008):36-48.

    7

    SamuelHuntington.TheThirdWave:DemocratizationintheLateTwentiethCentury.(Oklahoma:University

    ofOklahomaPress,1991).pp.290-295.

    8

    Shin.“OntheThirdWaveofDemocratization”.pp.138-139.

  • 12 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    การศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าวได้เป็นอย่างดีคืองานของเซย์มูร์มาร์ตินลิปเซต(SeymourMartinLipset)

    ที่ชี้ให้เห็นถึงรากฐานทางสังคมที่จำเป็นสำหรับประชาธิปไตยโดยชี้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจมีสหสัมพันธ์กับ

    ประชาธิปไตยเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้รายได้ประชากรสูงขึ้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น

    และการศึกษาสูงขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนโครงสร้างชนชั้นสังคมในทิศทางที่ชนชั้นกลางจะขยายฐานมาก

    ขึ้นและจากชนชั้นกลางที่มีมากขึ้นนี้เองที่จะมีบทบาทเป็นตัวกลางในการลดระดับความขัดแย้งภายในสังคม

    ไม่ให้สุดโต่ง9

    ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือในช่วงก่อนหน้านี้(ทศวรรษที่1960-70s)การศึกษา

    ประชาธิปไตยมักได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีการทำให้ทันสมัย(modernizationtheory)ซึ่งมองพัฒนาการของ

    ประชาธิปไตยเป็นเส้นตรงที่พัฒนาจากขั้นแรกจนถึงขั้นที่สี่ตามลำดับอย่างไรก็ตามการศึกษาในช่วง

    ทศวรรษที่1990ภายใต้จุดมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยนั้นอยู่ภายใต้การ

    ตระหนักว่าการพัฒนาประชาธิปไตยไม่ได้ดำเนินไปอย่างเป็นเส้นตรงดังที่ฮันทิงตันชี้ให้เห็นถึงการย้อนกลับ

    ของประชาธิปไตยหรือดังที่อันเดรียสเชดเลอร์(AndreasSchedler)ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการ

    ล่มสลายของประชาธิปไตย(democraticbreakdown)ซึ่งอาจเกิดในกรณีที่ระบอบประชาธิปไตยแบบ

    เลือกตั้ง(electoraldemocracy)หรือระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม(liberaldemocracy)ล่มสลาย

    กลับกลายเป็นระบอบการปกครองแบบเผด็จการอีกครั้งหนึ่งและการผุกร่อนของประชาธิปไตย

    (democraticerosion)ซึ่งเกิดเมื่อระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมผุกร่อนกลายเป็นเพียงระบอบ

    ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง10

    แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย

    เผด็จการอำนาจนิยม

    ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง

    ประชาธิปไตยเสรีนิยม

    ประชาธิปไตยก้าวหน้า

    ที่มา:ปรับปรุงจากAndreasSchedler.“WhatisDemocraticConsolidation?”.JournalofDemocracy.9:2(1998).

    การศึกษาการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยนอกจากจะมุ่งเน้นมิติความเปลี่ยนแปลงด้าน

    ลบไม่ว่าจะเป็นการล่มสลายของประชาธิปไตยหรือการผุกร่อนของประชาธิปไตยแล้วยังให้ความสำคัญกับ

    มิติความเปลี่ยนแปลงในด้านบวกไม่ว่าจะเป็นการทำประชาธิปไตยให้สมบูรณ์(completingdemocracy)

    หรือการยกระดับประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งให้กลายเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมการหยั่งราก

    ประชาธิปไตย(deepeningdemocracy)ที่ต้องการยกระดับประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นแบบเลือกตั้งหรือ

    เสรีนิยมให้กลายเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า(advanceddemocracy)และการวางโครงสร้างให้กับ

    ประชาธิปไตย(organizingdemocracy)ที่มุ่งเน้นการวางโครงสร้างเชิงสถาบันและกฎเกณฑ์ให้กับ

    9

    SeymourMartinLipset.“SomeSocialRequisitesofDemocracy:EconomicDevelopmentandPolitical

    Legitimacy”.TheAmericanPoliticalScienceReview.53:1(March1959).pp.83-85.

    10

    AndreasSchedler.“WhatisDemocraticConsolidation?”.JournalofDemocracy.9:2(1998).pp.94-97.

  • 13คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมให้เข้มแข็ง11อย่างไรก็ตามเชดเลอร์ชี้ว่าการรวมสองมิติเข้าด้วยกันสร้างความ

    สับสนให้กับการศึกษาความแข็งแกร่งของประชาธิปไตยเป็นอย่างมากและเสนอว่าควรจำกัดขอบเขตของ

    การศึกษาเพียงแค่มิติในด้านลบ12

    สำหรับการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตยนั้นหากพิจารณาจากเกณฑ์ที่เชดเลอร์จำแนกจะพบว่า

    เกี่ยวข้องกับมิติในด้านบวกของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยหรือหากพิจารณาตามขั้นตอน

    สี่ขั้นที่ชินโดชูล(ShinDohChull)เสนอไว้จะพบว่าคุณภาพประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับการยกระดับจากขั้น

    ที่สาม(การสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตย)ไปสู่ขั้นที่สี่(ประชาธิปไตยที่มั่นคง)ดังนั้นคงจะไม่

    ผิดนักหากจะกล่าวว่าการที่จะมีคุณภาพประชาธิปไตยได้จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งเป็นพื้นฐาน

    ก่อนจอร์จโซเรนเซน(GeorgSorensen)ชี้ว่ากระบวนการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยนั้น

    เกี่ยวข้องกับหลายด้านทั้งการวางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองความสามารถในการถ่ายโอนอำนาจ

    ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในทิศทางที่จะสร้างความยั่งยืน

    และความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตยและการที่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกลายเป็นที่

    ยอมรับทั้งในหมู่ชนชั้นนำและมวลชน13ในภาพรวมตัวชี้วัดที่สำคัญของความมั่นคงและยั่งยืนของ

    ประชาธิปไตยสามารถสรุปได้ดังตารางที่1

    ตารางที่ 1 ตัวชี้วัดความมั่นคงและยั่งยืนของประชาธิปไตย

    ระดับ ปทัสถานและความเชื่อ พฤติกรรม

    ชนชั้นนำ ชนชั้นนำในทุกภาคส่วนเชื่อในความชอบธรรมของ

    การปกครองแบบประชาธิปไตยและเห็นว่ า

    ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด...

    -ชนชัน้นำเคารพในสทิธิในการแขง่ขนัทางการเมอืง

    ของฝ่ายต่างและหลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้ผู้ติดตาม

    ของตนใช้ความรุนแรงหรือวิธีการที่ผิดกฎหมาย

    -ผู้นำทางการเมืองไม่พยายามที่จะใช้ทหารเพื่อ

    ความได้เปรียบทางการเมืองของตน

    องค์กร องค์กรที่ มี ความสำคัญทางการ เมื อง(อาทิ

    พรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ขบวนการ

    เคลื่อนไหวทางสังคม)ยอมรับในความชอบธรรม

    ของประชาธิปไตย...

    ไม่มีกลุ่มองค์กรใดที่พยายามล้มล้างประชาธิปไตย

    หรือใช้วิถีทางความรุนแรงหรือแนวทางที่ผิด

    กฎหมายในการแสวงหาอำนาจหรอืบรรลเุปา้ประสงค์

    ทางการเมือง...

    มวลชน -มากกว่าร้อยละ70ของมวลชนมีความเชื่ออย่าง

    สม่ ำ เสมอว่ าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่พึ ง

    ปรารถนากว่าระบอบอื่น

    -มวลชนน้อยกว่าร้อยละ15ต้องการการปกครอง

    ในแบบเผด็จการอำนาจนิยม

    ไม่ มี ค วาม เคลื่ อน ไหว ในลั กษณะที่ ต่ อต้ าน

    ประชาธิปไตยและพลเมืองไม่ใช้ความรุนแรงหรือ

    วิธีการที่ผิดกฎหมายในการเรียกร้องทางการเมือง

    ที่มา:

    ปรับปรุงจากLarryDiamond.Developing Democracy: Toward Consolidation.(Baltimore:JohnsHopkins

    UniversityPress,1999).p.69.และGeorgSorensen.DemocracyandDemocratization.3rdedition.

    (Boulder:WestviewPress,2008).p.52.

    11

    Ibid.pp.97-100.

    12

    Ibid.p.102.

    13

    GeorgSorensen.DemocracyandDemocratization.3rded.(Boulder:WestviewPress,2008).pp.51-53.

  • 14 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    ทั้งนี้ตัวชี้วัดที่สำคัญของการพิจารณาความมั่นคงและยั่งยืนของประชาธิปไตยดังที่ฮวนลินซ์และ

    อัลเฟรดสเตฟาน(JuanLinzandAlfredStepan)ชี้ไว้คือหากตัวแสดงหรือกลุ่มทางการเมืองต่างๆ

    ตระหนักร่วมกันว่าประชาธิปไตยเป็น“เกมเดียวเท่านั้นในเมือง”(theonlygameintown)หรือกล่าวอีกนัย

    หนึ่งคือทุกฝ่ายยอมรับในความชอบธรรมของการปกครองแบบประชาธิปไตยทั้งกลุ่มการเมืองหรือชนชั้น

    นำที่จะไม่พยายามโค่นล้มประชาธิปไตยเพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ทางการเมืองและมวลชนที่เชื่อมั่นใน

    กระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยแม้ว่าจะประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองหรือทาง

    เศรษฐกิจ14ลาร์รีไดมอนด์และมาร์คแพลตต์เนอร์(LarryDiamondandMarcPlattner)กล่าวเสริมว่า

    ในระบอบประชาธิปไตยที่มีความมั่นคงและยั่งยืนแล้วแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกันอย่างตึงเครียดและรุนแรง

    แต่ไม่มีตัวแสดงใดในประเทศที่จะใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยผิดกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญเพื่อ

    บรรลุเป้าประสงค์ทางการเมืองของตนและแม้ว่าจะมีปัญหาการจัดการปกครอง(governance)และปัญหา

    ที่พลเมืองอาจไม่ยอมรับหรือไม่นิยมในรัฐบาลแต่ทั้งชนชั้นนำและมวลชนยังคงเชื่อมั่นว่ากระบวนการแบบ

    ประชาธิปไตยเป็นวิถีทางที่เหมาะสมที่สุดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในสังคม15

    ความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาธิปไตยและแนวคิดคุณภาพประชาธิปไตย

    สะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีจากเป้าประสงค์การศึกษาคุณภาพประชาธิปไตยสามประการที่ชี้ไว้โดยลาร์รี

    ไดมอนด์และลีโอนาร์โดมอร์ลิโน(LarryDiamondandLeonardoMorlino)ได้แก่ประการแรกการมอง

    ว่าการหยั่งรากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีในเชิงคุณค่าประการที่สองการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยเป็นสิ่ง

    ที่จำเป็นสำหรับเสริมสร้างความชอบธรรมให้คงทนและยืนนานและประการที่สามแม้กระทั่งประชาธิปไตย

    ที่มีรากฐานมาอย่างยาวนานยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปเพื่อรับมือกับปัญหาความไม่พึงพอใจของ

    สาธารณชน16ทั้งนี้การประเมินคุณภาพประชาธิปไตยไม่ได้มีเป้าหมายที่จะชี้วัดว่าประเทศใดมีความเป็น

    ประชาธิปไตยมากกว่ากันหากแต่ต้องการประเมินว่าระบอบประชาธิปไตยในประเทศใดที่มีการทำงานที่ดี

    กว่าด้วยเหตุนี้จึงมีความแตกต่างกันโดยแก่นสารระหว่างการประเมินคุณภาพประชาธิปไตยและการวัด

    ระดับของความเป็นประชาธิปไตย(levelofdemocratization)17

    ในปัจจุบันมีกลุ่มนักวิชาการสถาบันองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งที่พยายามคิดค้นแนวคิดและ

    ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย18ที่สำคัญอาทิการสำรวจของFreedomHouseในการวัดระดับสิทธิ

    14

    JuanLinzandAlfredStepan.“TowardConsolidatedDemocracies”.JournalofDemocracy.7:2(1996).pp.

    14-15.

    15

    LarryDiamondandMarcPlattner.“Introduction”,inLarryDiamondandMarcPlattner.eds.TheGlobal

    DivergenceofDemocracies.(Baltimore:TheJohnsHopkinsUniversityPress,2001).p.xiii.

    16

    DiamondandMorlino.“TheQualityofDemocracy”.p.ix.;LarryDiamondandLeonardoMorlino.“The

    QualityofDemocracy:AnOverview”.JournalofDemocracy.15:4(October2004).p.20.

    17

    DavidAltmanandAnibalPerez-Linan.“AssessingtheQualityofDemocracy:Freedom,Competitiveness

    andParticipationinEighteenthLatinAmericanCountries”.Democratization.9:2(Summer2002).p.87.

    18

    ทั้งนี้งานชิ้นแรกๆที่มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับการ“ตรวจสอบ”หรือ“ประเมิน”ระดับประชาธิปไตยคืองานของเดวิดบีแธม

    ดูDavidBeetham.ed.DefiningandMeasuringDemocracy.(London:Sage,1994).

    ซึ่งในงานชิ้นดังกล่าวมัก

    ใช้คำว่า“การตรวจสอบประชาธิปไตย”(democraticaudit)ซึ่งแนวคิดเรื่องการตรวจสอบประชาธิปไตยนั้นต่อมา

    หน่วยงานของประเทศที่พัฒนาแล้วมักนำไปประยุกต์ใช้เช่นแคนาดา

    สวีเดนสหราชอาณาจักรออสเตรเลีย

    เดนมาร์กเนเธอร์แลนด์รวมทั้งสหภาพยุโรปสำหรับงานของเดวิดบีแธมต่อมาได้ถูกนำไปพัฒนาโดยสถาบัน

    InternationalIDEAดังปรากฎในแนวทางการประเมินคุณภาพประชาธิปไตยแนวทางที่สอง

  • 15คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    เสรีภาพในด้านต่างๆการสำรวจของHumanRightsWatchในด้านสิทธิมนุษยชนการวัดความเป็น

    ประชาธิปไตยโดยนิตยสารEconomistการประเมินการจัดการปกครอง(governance)ขององค์การ

    ระหว่างประเทศด้านการพัฒนาต่างๆเป็นต้นอย่างไรก็ตามหากจะพิจารณาเฉพาะในมิติเรื่องคุณภาพ

    ประชาธิปไตยจะพบว่ามีสามกลุ่มหรือสถาบันที่มีบทบาทสำคัญกลุ่มแรกที่อาจกล่าวได้ว่ามีบทบาทมาก

    ที่สุดในแวดวงวิชาการนำโดยลาร์รีไดมอนด์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและหนึ่งในบรรณาธิการ

    วารสารJournalofDemocracyและนักวิชาการจากอีกหลากหลายสถาบันโดยเฉพาะในอเมริกากลุ่มที่

    สองสถาบันนานาชาติเพื่อการสนับสนุนการเลือกตั้งและประชาธิปไตย(InternationalInstitutefor

    DemocracyandElectoralAssistance:InternationalIDEA)19(โดยมักใช้วารสารDemocratizationเป็น

    สื่อหลักในการนำเสนอความคิด)และกลุ่มที่สามเป็นกลุ่มนักวิชาการในยุโรป(โดยเฉพาะออสเตรีย)ที่ตั้ง

    กลุ่มชื่อว่า“การจัดลำดับประชาธิปไตยบนหลักคุณภาพประชาธิปไตย”(TheDemocracyRankingofthe

    QualityofDemocracy)20(กลุ่มนี้ยังไม่มีวารสารหลักแต่กำลังตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับคุณภาพ

    ประชาธิปไตยลงในวารสารInternationalJournalofSocialEcologyandSustainableDevelopment)

    ความแตกต่างสำคัญของทั้งสามกลุ่มจะสะท้อนให้เห็นได้จากการให้นิยามของประชาธิปไตยโดย

    นักวิชาการในกลุ่มแรกมักจะเริ่มต้นการศึกษาจากนิยามประชาธิปไตยตัวแบบพหุนิยม(Polyarchy)ที่เสนอ

    โดยโรเบิร์ตดาห์ล(RobertDahl)ที่จำแนกองค์ประกอบไว้แปดประการได้แก่1)เสรีภาพที่จะจัดตั้งและ

    ร่วมองค์กร2)เสรีภาพในการแสดงออก3)สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง4)การมีฝ่ายบริหารที่มา

    จากการเลือกตั้ง5)สิทธิของผู้แข่งขันทางการเมืองที่จะหาเสียงเลือกตั้ง6)การมีแหล่งข้อมูลข่าวสารที่

    หลากหลาย7)การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมและ8)สถาบันขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลขึ้นอยู่กับ

    ผลการเลือกตั้งและช่องทางการแสดงความต้องการ(preference)อื่นๆของประชาชน21

    ในขณะที่นักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มInternationalIDEAได้กำหนดนิยามที่มีขอบเขตค่อน

    ข้างกว้างบนหลักการสองประการที่เชื่อกันว่าเป็นหลักการสากลของประชาธิปไตยในทุกกาละและเทศะนั่น

    คือหลักการควบคุมการตัดสินใจสาธารณะโดยประชาชน(popularcontrol)และหลักความเสมอภาค

    ทางการเมืองบนฐานของสิทธิความเป็นพลเมือง(politicalequality)22ส่วนนักวิชาการในกลุ่มที่สามได้

    กำหนดขอบเขตนิยามประชาธิปไตยบนฐานของแนวคิดเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาคนอกจากนี้

    สำหรับเป้าประสงค์ในการประเมินคุณภาพประชาธิปไตยนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้เสริมมิติที่สามสำหรับการ

    ประเมินนั่นคือผลการดำเนินงานของระบอบ(performance)เนื่องจากมองว่าหลักการเรื่องความเสมอภาค

    เป็นแนวคิดของฝ่ายซ้ายในขณะที่หลักการเรื่องเสรีภาพเป็นแนวคิดของฝ่ายขวาจึงเสนอแนวคิดที่เป็น

    กลางดังเช่นผลการดำเนินงานของระบอบเพื่อให้ได้สมดุลระหว่างสองฝ่าย23

    19

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสถาบันดังกล่าวได้ในhttp://www.idea.int/

    20

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของกลุ่มดังกล่าวได้ในhttp://www.democracyranking.org/en/index.htm

    21

    RobertDahl.Polyarchy:ParticipationandOpposition.(NewHavenandLondon:YaleUniversityPress,

    1971).p.3.

    22

    DavidBeetham,EdziaCavalho,ToddLandman,andStuartWeir.AssessingtheQualityofDemocracy:

    APracticalGuide.(Stockholm:InternationalInstituteforDemocracyandElectoralAssistance,2008).

    pp.20-21.

    23

    ดูDavidCampbell.TheBasicConceptfortheDemocracyRankingoftheQualityofDemocracy.(Vienna:

    DemocracyRanking,2008).pp.30-32.

  • 16 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    จากฐานนิยามที่แตกต่างกันดังกล่าวได้ส่งผลทำให้เกณฑ์การประเมินคุณภาพประชาธิปไตยของแต่ละ

    กลุ่ม/สถาบันมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้นักวิชาการที่ศึกษาคุณภาพประชาธิปไตยบนฐานประชาธิปไตย

    แบบพหุนิยมได้จำแนกตัวชี้วัดออกเป็นสามกลุ่มบนเกณฑ์แนวคิดเรื่องคุณภาพในสามด้าน24ได้แก่

    1)คุณภาพของกระบวนการ(proceduralquality)ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักนิติธรรมการมีส่วนร่วมการแข่งขัน

    ความสามารถในการตรวจสอบได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง252)คุณภาพของเนื้อหา(qualityofcontent)

    ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางการเมือง(ซึ่งจำแนกย่อยได้เป็นสิทธิทางการเมืองสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง

    เศรษฐกิจสังคม)และความเสมอภาคและ3)คุณภาพของผลลัพธ์(qualityofresult)ซึ่งหมายถึงการตอบ

    สนองของระบบการเมืองต่อความต้องการของประชาชน(responsiveness)อย่างไรก็ตามนักวิชาการ

    บางคนที่ใช้ตัวแบบประชาธิปไตยพหุนิยมในการประเมินคุณภาพประชาธิปไตยอาจให้ความมุ่งเน้นที่ตัวแปร

    ที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นในงานของเดวิดอัลต์แมนและอนิบัลเปเรซ-ลินัน(DavidAltmanand

    AnibalPerez-Linan)ที่วิเคราะห์คุณภาพประชาธิปไตยในละตินอเมริกาได้มุ่งเน้นที่จะประเมินคุณภาพ

    ประชาธิปไตยในสามมิติได้แก่สิทธิพลเมืองการมีส่วนร่วมและการแข่งขันทางการเมือง26

    ตารางที่ 2 เปรียบเทียบแนวการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตย

    นิยามประชาธิปไตย กรอบการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตย

    LarryDiamond

    และนักวิชาการใน

    อเมริกา(1)

    ประชาธิปไตยแบบพหุนิยม(Polyarchy) -คุณภาพของผลลัพธ์(การตอบสนองความ

    ต้องการของประชาชน)

    -คณุภาพของเนือ้หา(เสรภีาพและความเสมอภาค)

    -คุณภาพของกระบวนการ(หลักนิติธรรมการมี

    ส่ วนร่วมการแข่งขันความสามารถในการ

    ตรวจสอบได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง)

    24

    ดูDiamondandMorlino.“TheQualityofDemocracy”.pp.x-xii.

    25

    ความสามารถในการตรวจสอบได้ในแนวราบ(horizontalaccountability)หมายถึงการที่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทาง

    การเมอืงตอ้งอธบิายและชีแ้จงการกระทำตอ่ตวัแสดงเชงิสถาบนัอืน่ๆเชน่หนว่ยงานราชการอืน่ๆรฐัสถาศาลหนว่ยงาน

    ด้านการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นเป็นต้นสำหรับความสามารถในการตรวจสอบได้ในแนวดิ่ง(vertical

    accountability)หมายถึงพันธกรณีที่ผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งจะต้องชี้แจงการตัดสินใจทางการเมืองต่อพลเมืองผู้มีสิทธิ

    ออกเสียงเลือกตั้งหรือหน่วยงานอื่นๆเช่นองค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs)สื่อมวลชนกลุ่มผลประโยชน์และองค์กร

    ในภาคประชาสังคมอื่นๆดูDiamondandMorlino.“TheQualityofDemocracy”.และดูรายละเอียดในPhilippe

    Schmitter.“TheAmbiguousVirtuesofAccountability”inLarryDiamondandLeonardoMorlino.eds.

    AssessingtheQualityofDemocracy.(Baltimore:TheJohnsHopkinsUniversityPress,2005).

    26

    AltmanandPerez-Linan.“AssessingtheQualityofDemocracy”.pp.88-89.

  • 17คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    นิยามประชาธิปไตย กรอบการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตย

    I n t e r n a t i o n a l

    IDEA(2)

    -การควบคุมการตัดสินใจสาธารณะโดยประชาชน

    -ความเสมอภาคทางการเมือง

    -หลักประชาธิปไตย7ด้าน(การมีส่วนร่วมการ

    ใช้อำนาจอย่างเป็นทางการการเป็นตัวแทนความ

    สามารถในการตรวจสอบได้ความโปร่งใสการ

    ตอบสนองและความสมานฉันท์)

    -กรอบการประเมิน4ด้าน1)ความเป็นพลเมือง

    กฎหมายและสิทธิ2)รัฐบาลที่มีความเป็นตัวแทน

    และสามารถตรวจสอบได้3)ประชาสังคมและการ

    มีส่วนร่วมของประชาชน4)ประชาธิปไตยในระดับ

    ที่มากกว่ารัฐ

    D e m o c r a c y

    Ranking(3)

    -เสรีภาพ

    -ความเสมอภาค

    -ผลการทำงานของระบอบ(performance)

    -Qualityofdemocracy=QualityofPolitics+

    QualityofSociety

    -ประเมินการเมือง50%มิติ เรื่องเพศ10%

    เศรษฐกิจ10%องค์ความรู้10%สาธารณสุข

    10%สิ่งแวดล้อม10%

    ที่มา:

    (1)LarryDiamondandLeonardoMorlino.“TheQualityofDemocracy”.InLarryDiamondandLeonardo

    Morlino.eds.AssessingtheQualityofDemocracy.(Baltimore:TheJohnsHopkinsUniversityPress,2005).

    (2)DavidBeetham,EdziaCavalho,ToddLandman,andStuartWeir.AssessingtheQualityofDemocracy:

    APracticalGuide.(Stockholm:InternationalInstituteforDemocracyandElectoralAssistance,2008).

    (3)DavidCampbell.TheBasicConceptfortheDemocracyRankingoftheQualityofDemocracy.(Vienna:

    DemocracyRanking,2008).

    สำหรับเกณฑ์การประเมินของสถาบันInternationalIDEAนั้นมีลักษณะสำคัญคือจำแนกหลักในเชิง

    คุณค่าของประชาธิปไตยไว้เจ็ดด้านได้แก่การมีส่วนร่วม(participation)การใช้อำนาจอย่างเป็นทางการ

    (authorization)การเป็นตัวแทน(representation)ความสามารถในการตรวจสอบได้(accountability)

    ความโปร่งใส(transparency)การตอบสนอง(responsiveness)และความสมานฉันท์(solidarity)และ

    จำแนกกรอบการประเมินไว้สี่ด้านได้แก่ความเป็นพลเมืองกฎหมายและสิทธิ(citizenship,lawand

    rights)รัฐบาลที่มีความเป็นตัวแทนและสามารถตรวจสอบได้(representativeandaccountable

    government)ประชาสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน(civilsocietyandpopularparticipation)

    และประชาธิปไตยในระดับที่มากกว่ารัฐ(democracybeyondstate)เช่นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อ

    ประชาธิปไตยในประเทศทั้งนี้สถาบันดังกล่าวชี้ว่าผู้ประเมินควรเป็นคนในประเทศนั้นๆและผู้ประเมินควร

    จะเป็นผู้ที่จัดลำดับความสำคัญของหัวข้อหรือเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับบริบท27

    ในส่วนของเกณฑ์การประเมินของกลุ่มDemocracyRankingเป็นที่น่าสนใจว่าแทนที่จะใช้เกณฑ์เชิง

    หลักการหรือคุณค่าของประชาธิปไตยเป็นหลักในการประเมินนักวิชาการในกลุ่มนี้เสนอให้มองแนวคิด

    27

    Beetham.etal.“AssessingtheQualityofDemocracy”.Part1.;DavidBeetham.“TowardsaUniversal

    FrameworkforDemocracyAssessment”.Democratization.11:2(April2004):1-17.

  • 18 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    คุณภาพประชาธิปไตยว่าหมายถึงคุณภาพการเมืองบวกกับคุณภาพของสังคม(Qualityofdemocracy=

    QualityofPolitics+QualityofSociety)เนื่องจากมองว่าการทำงานของระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ขึ้นอยู่

    กับเพียงแค่ระบบการเมืองเท่านั้นหากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบอื่นๆในสังคมด้วยเช่นกัน

    ด้วยเหตุนี้จึงเสนอที่จะให้น้ำหนักกับการประเมินในแต่ละด้านแตกต่างกันกล่าวคือให้น้ำหนักกับการประเมิน

    การเมืองร้อยละ50และการประเมินมิติเรื่องเพศเศรษฐกิจองค์ความรู้สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมใน

    แต่ละด้านในสัดส่วนร้อยละ1028

    ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าจากนิยามประชาธิปไตยที่แตกต่างกันส่งผลทำให้จุดมุ่งเน้นของการศึกษา

    หรือการประเมินแตกต่างกันไปด้วยความแตกต่างของนิยามประชาธิปไตยนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากมุมมองที่

    แตกต่างกันที่มีต่อคำถามที่ว่า“ประชาธิปไตยที่ดีคืออะไร?”จากคำถามดังกล่าวจะเห็นได้ว่านักวิชาการที่

    ตั้งต้นด้วยประชาธิปไตยตัวแบบพหุนิยมมีแนวโน้มที่จะให้จุดมุ่งเน้นกับสถาบันและกลไกของการ

    เป็นตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย29มากกว่ากลุ่มอี่นๆซึ่งนี่อาจทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าไม่เป็นกลาง

    มีเป้าหมายในตัวเอง(teleologicalconcepts)และอยู่บนฐานของชาติพันธุ์(ethnocentric)30ในขณะที่แนว

    การประเมินของInternationalIDEAพยายามกำหนดนิยามประชาธิปไตยแบบกว้างๆซึ่งนี่สะท้อนให้เห็น

    ถึงเป้าประสงค์ในแง่ของการประยุกต์ใช้ที่ต้องการสร้างความยอมรับให้กับผู้ประเมินที่เป็นคนในท้องถิ่นของ

    ประเทศต่างๆอย่างไรก็ตามแนวการประเมินดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดมิติในแง่ของตัวแสดงการ

    ทำงานของกลไกและกระบวนการนอกจากนี้การประเมินยังมักขึ้นกับ“ผู้ให้ทุน”อีกทั้งข้อมูลในบางด้าน

    อาจมีไม่ครบถ้วนในบางประเทศดังเช่นอินโดนีเซียและมักเป็นข้อมูลจากมุมมองของชนชั้นนำ31ในขณะที่

    นักวิชาการในกลุ่มจัดลำดับประชาธิปไตยนอกจากให้ความสำคัญกับสถาบันการเมืองแล้วยังให้น้ำหนักกับ

    สถาบันทางสังคมอื่นๆอีกด้วยแต่เนื่องจากขาดการอธิบายเกณฑ์การประเมินในแต่ละด้านและการอธิบาย

    ถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยและสถาบันทางสังคมอื่นๆรวมทั้ง

    ขาดงานที่เข้ามาศึกษาต่อยอดจึงทำให้เป็นช่องโหว่สำคัญที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้

    ทั้งนี้นอกเหนือจากแนวการศึกษาทั้งสามแล้วยังมีแง่มุมการศึกษาคุณภาพประชาธิปไตยในอีกด้าน

    หนึ่งที่นำโดยกิลเยโมโอดอนเนลล์(GuillermoO’Donnell)โดยใช้กรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศละตินอเมริกา

    เป็นหลักความน่าสนใจของแนวการศึกษานี้คือการเสนอให้มองประชาธิปไตยในระดับตัวแสดง(agent)

    นั่นคือมนุษย์หรือพลเมืองของประเทศในการนี้แทนที่จะพิจารณาประชาธิปไตยเพียงด้านเดียวโอดอนเนลล์

    พิจารณาประชาธิปไตยควบคู่กับแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน(humanrights)และแนวคิดเรื่องการพัฒนา

    มนุษย์(humandevelopment)เนื่องจากแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นแนวคิดที่ครอบคลุมประเด็น

    เรื่องสิทธิทางการเมืองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางสังคมซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย

    ในขณะที่แนวคิดเรื่องการพัฒนามนุษย์ให้ความสำคัญกับเงื่อนไขพื้นฐานหรือความสามารถ(capacities)

    ที่เอื้ออำนวยให้ปัจเจกชนแสดงบทบาทในฐานะตัวแสดงในแง่นี้แนวคิดทั้งสามจึงมีความเชี่อมโยงหรือ

    28

    Campbell,“TheBasicConceptfortheDemocracyRanking”.pp.33-37.

    29

    LeonardoMorlino.“HowtoconductresearchintotheQualityofDemocracy”.InDerekHutchesonandElena

    Korosteleva.eds.TheQualityofDemocracyinPost-CommunistEurope.(London:Routledge,2006).p.8.

    30

    ดูตัวอย่างการวิพากษ์ได้ในGuillermoO’Donnell.“IllusionsaboutConsolidation”.JournalofDemocracy.

    7:2(1996):34-51.

    31

    OlleTornquist.“AssessingDemocracyfromBelow:AFrameworkandIndonesianPilotStudy”.

    Democratization.13:2(April2006).p.234.

  • 19คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทยเล่ม 2

    จุดร่วมกันที่ตัวแสดงหรือหากกล่าวเป็นการเฉพาะคือ“สิทธิ”และ“ความสามารถในการใช้ศักยภาพ”

    ของตัวแสดง32คุณูปการสำคัญในงานของโอดอนเนลล์คือการทำความเข้าใจแนวคิดประชาธิปไตยในมิติของ

    ตัวแสดงและความพยายามเชื่อมโยงแนวคิดประชาธิปไตยเข้ากับแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    III. คุณภาพทางสังคม33

    แนวคิดคุณภาพทางสังคมนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องนโยบาย

    การพัฒนาสังคมหรือสวัสดิการสังคมระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินยุโรปโดยการเกิดขึ้นของแนวคิด

    คุณภาพทางสังคมนั้นถูกแวดล้อมด้วยบริบทที่สำคัญสองประการได้แก่ประการแรกบริบททางแนวคิด

    เดนิสบูเกต์(DenisBouget)ตั้งข้อสังเกตว่าการเกิดขึ้นมาของแนวคิดคุณภาพทางสังคมนั้นเนื่องมาจาก

    “ความไม่เพียงพอ”ของแนวคิดที่มีมาก่อนหน้าในการให้คำตอบกับปัญหาสังคมที่โลกกำลังเผชิญอยู่34

    ตัวอย่างของแนวคิดที่มีมาก่อนหน้าอาทิแนวคิดคุณภาพชีวิต(qualityoflife)35และแนวคิดการกีดกันทาง

    สังคม(socialexclusion)โดยแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิตถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามุ่งเน้นการวิเคราะห์ในระดับ

    “ปัจเจกชน”มากเกินไปและละเลยมิติในระดับ“สังคม”นอกจากนี้แนวคิดดังกล่าวมักจะมองปัจเจกชนว่า

    เป็นเสมือน“เครื่องบันทึก”เหตุการณ์ชีวิตในแต่ละช่วงเวลาไม่ได้มองมิติที่ว่าปัจเจกชนนั้นเป็นตัวแสดงที่

    มีความสามารถสร้าง“วิถีชีวิต”ของตนได้

    ดังนั้นแนวคิดนี้จึงมักจะมองว่าหากเราปรับปรุงเงื่อนไขการใช้

    ชีวิตของปัจเจกชนจะทำให้ปัจเจกชนมีความพึงพอใจมากขึ้นนอกจากนี้แนวคิดดังกล่าวยังถูกวิจารณ์ว่า

    ไม่มีความเป็นทฤษฏี(a-theoretical)เป็นแค่เพียงมาตรวัด“ความพึงพอใจ”ทั้งในเชิงอัตวิสัยและ

    วัตถุวิสัย36

    จากข้อวิจารณ์ดังกล่าวดูเหมือนว่าแนวคิดคุณภาพทางสังคมจะถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุง

    ข้อบกพร่องดังกล่าวของแนวคิดคุณภาพชีวิตในขณะที่แนวคิดคุณภาพชีวิตมุ่งเน้นการ“ประเมิน”ในระดับ

    ปัจเจกชนแนวคิดคุณภาพทางสังคมพยายามแสวงหาจุดสมดุลระหว่างการมองในระดับปัจเจก(faits

    32

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในGuillermoO’Donnell.“HumanDevelopment,HumanRightsandDemocracy”,in

    GuillermoO’Donnell,JorgeVargasCullellandOsvaldoIazzetta.eds.TheQualityofDemocracy:Theory

    andApplications.(NotreDame,Indiana:UniversityofNotreDamePress,2004).pp.9-11.

    33

    เนื้อหาส่วนนี้ส่วนหนึ่งปรับปรุงจากนิธิเนื่องจำนงค์.“ตรรกะของแนวคิดคุณภาพทางสังคม(ของยุโรป):สู่สังคมยุค

    หลังรัฐสวัสดิการ”.บทความนำเสนอในงานสัมมนา“คุณภาพสังคม…สังคมคุณภาพ”.สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์

    มหาวิทยาลัยและเครือข่ายการศึกษาคุณภาพสังคมแห่งประเทศไทย.กันยายน2553.

    34

    DenisBouget,“Identificationofthe‘Problematique’”,inWolfgangBeck,LaurentJ.G.VanDerMaesen,

    Fleur

    ThomeseandAlanWalker.eds.Socialquality:AvisionforEurope.(TheHague:KluwerLaw

    International,2001),p.49.

    35 แนวคิดคุณภาพชีวิตถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อที่จะเพิ่มเติมมุมมองในการวิเคราะห์“ความเป็นอยู่”ของพลเมืองจากเดิมที่

    มองแต่ในเชิงเศรษฐกิจ(เช่นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ)ให้ขยายขอบเขตครอบคลุมประเด็นทางสังคม

    มากขึ้นนักคิดในกลุ่มคุณภาพชีวิตจึงพยายามพัฒนา“ตัวชี้วัด”ที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพลเมืองทั้งในเชิง

    “วัตถุวิสัย”(objective)เช่นตัวชี้วัดรายได้การจ้างงานและตัวชี้วัดเชิง“อัตวิสัย”(subjective)ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ

    ประเมิน“ความพึงพอใจ”ของปัจเจกชนในมิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตดูรายละเอียดเพิ่มเติมในWallaceand

    Abbott,“FromQualityofLifetoSocialQuality”.pp.109-110.

    36

    ดูข้อวิจารณ์แนวคิดดังกล่าวได้ในWallaceandAbbott,“FromQualityofLifetoSocialQuality”,pp.110-111.

  • 20 การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 12 เล่ม 2

    individuals)ตามแนวการศึกษาแบบอัรรถประโยชน์นิยม(utilitarianapproach)และแนวการวิเคราะห์ที่

    มองจากระดับสังคม(faitssociaux)ตามแนวทางสังคมวิทยาแบบเดอร์คไคเมียน(Durkheimian

    approach)ด้วยเหตุนี้แนวคิดคุณภาพทางสังคมจึงนำเสนอมุมมองในเชิง“สัมพันธ์”(relationalview)ที่ชี้

    ว่าทั้งปัจเจกชนในฐานะตัวแสดงและสังคมในฐานะของบริบทนั้นส่งผลซึ่งกันและกันในสองทิศทางใน

    ลักษณะที่เรียกว่า“การพึ่งพาระหว่างกันที่ส่งผลซึ่งกันและกัน”(constitutiveinterdependency)37ในแง่นี้

    แนวคิดคุณภาพทางสังคมจึงสามารถอุดช่องว่างของแนวคิดคุณภาพชีวิตทั้งในส่วนของการเสริมมุมมองที่

    สมดุลในทวิลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนและสังคมและในส่วนของการเสริมรากฐานทางทฤษฏี

    บริบทที่สำคัญประการที่สองที่แวดล้อมการเกิดขึ้นของแนวคิดคุณภาพทางสังคมคือแรงกดดันที่มีต่อ

    โครงสร้างรัฐสวัสดิการของยุโรปแรงกดดันดังกล่าวมีคุณลักษณะสำคัญตามที่พีเตอร์เทย์เลอร์-กูบี้(Peter

    Taylor-Gooby)เรียกว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างกระแสการลดบทบาทรัฐและกระแสเรียกร้องให้รัฐเข้ามา

    แทรกแซงใหม่(hollowingoutversusthenewinterventionism)38กล่าวคือในด้านหนึ่งรัฐถูกบีบคั้นจาก

    กระแสการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยการดำเนินนโยบาย

    เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เช่นการปรับเปลี่ยนระบบแรงงานให้ยืดหยุ่นและลดสวัสดิการที่ให้กับแรงงาน

    และลดสวัสดิการทางสังคมซึ่งมักมองว่าเป็น“ภาระทางเศรษฐกิจ”39สภาวะดังกล่าวบ๊อบเจสสอบ(Bob

    Jessop)เรียกว่าการที่นโยบายสวัสดิการสังคมต้องอยู่ภายใต้ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ40แต่ในอีกด้านหนึ่ง

    ปัญหาสังคมที�