4.2 การจําแนกว ัตถุดิบอาหารส ัตว...

Preview:

Citation preview

4.2 การจําแนกวัตถุดิบอาหารสัตว วัตถุดิบอาหารสัตว (feedstuffs) หมายถึง สารใด ๆ ก็ตามท่ีใหโภชนะที่เกิด

ประโยชนแกสัตวท่ีกินเขาไป โดยวัตถุดบิอาหารสัตวอาจไดมาจากแหลงธรรมชาติ เชน พืช สัตว ฯลฯ หรืออาจไดจากการสังเคราะหทางเคมี เชน กรดอะมิโน วิตามินตาง ๆ หรือทางชีววิทยา เชน โปรตีน จากพืชหรือสัตวเซลลเดียวกไ็ด ซ่ึง จรัส (2539) ไดจําแนกวัตถุดิบอาหารสัตวออกเปน 3 กลุมใหญ ดังนี ้

4.2.1 อาหารหยาบ (roughages) อาหารหยาบ หมายถึง วัตถุดิบท่ีมีโภชนะตอหนวยน้ําหนักตํ่า มีเยื่อใยสูง

กวา 18 เปอรเซ็นต แบงออกเปน 3 พวก คือ ก. อาหารหยาบสด (green roughages หรือ green forages)

อาหารหยาบท่ีอยูในสภาพสด มีความช้ืนสูง 70 – 85 เปอรเซ็นต ไดแก พืชท่ีตัดสดมาใหสัตวกนิ (soilage) และพืชอาหารสัตวในทุงท่ีสัตวเขาไปแทะเล็ม (pasture) อาหารหยาบสดประกอบดวย

1) พืชตระกูลหญา (Gramineae) ไดแก หญาขน (Para grass หรือ Mauritius grass) (ภาพท่ี 5.9) หญากินนี (Guinea grass) (ภาพท่ี 5.10) หญาเนเบียร (Napier grass) (ภาพท่ี 5.11) หญารูซ่ี (Ruzi grass) (ภาพท่ี 5.12) ฯลฯ พืชตระกูลหญาเปนพชืท่ีใหคารโบไฮเดรตเปนหลัก (แปงหรือเยื่อใย) บางทีจึงเรียกวา carbonaceous plants

ภาพท่ี 5.9 แสดงภาพหญาขน ท่ีมา: ตองอูฟารม (2555)

ภาพท่ี 5.10 แสดงภาพหญากินนีสีมวง ท่ีมา: สํานักพฒันาอาหารสัตว กรมปศุสัตว (2555)

ภาพท่ี 5.11 แสดงภาพหญาเนเปยรแคระ ท่ีมา: สํานักพฒันาอาหารสัตว กรมปศุสัตว (2555)

ภาพท่ี 5.12 แสดงภาพหญารูซ่ี ท่ีมา: สํานักพฒันาอาหารสัตว กรมปศุสัตว (2555)

2) พืชตระกูลถ่ัว (Ieguminosae) ไดแก ถ่ัวลายหรือถ่ัวเซนโตรซีมา (Centrosema) (ภาพท่ี 5.13) ถ่ัวฮามาตา (Hamata) (ภาพท่ี 5.14) กระถินยกัษ (Horse tamarind, Leucaena) (ภาพท่ี 5.15) ฯลฯ พืชตระกูลถ่ัวจะใหคุณคาทางโภชนะ เชน โปรตีน สูงกวาพืชอ่ืน มักนิยมปลูกผสมกับหญาทําเปนทุงหญาผสมเพ่ือเพิ่มคุณคาทางอาหารใหแกสัตว บางทีจึงเรียกวา proteineceous plants

3) พืชอาหารอ่ืน ๆ (others) ไดแก ผักตบชวา (water hyacinth) (ภาพท่ี 5.16) ตนขาวโพด (corn stem) (ภาพท่ี 5.17-5.18) ใบปาลมน้ํามัน (Oil palm leaf) (ภาพท่ี 5.19-5.20) ฯลฯ

ภาพท่ี 5.13 แสดงภาพถ่ัวลาย ท่ีมา: ไบโอแกงดอทเน็ท (ม.ป.ป.)

ภาพท่ี 5.14 แสดงภาพถ่ัวฮามาตา ท่ีมา: สํานักพฒันาอาหารสัตว กรมปศุสัตว (2555)

ภาพท่ี 5.15 แสดงภาพกระถินยักษ ท่ีมา: โครงการประเทศสีเขียว (ม.ป.ป.)

ภาพท่ี 5.16 แสดงภาพผักตบชวา ท่ีมา: กลุมงานวัชพืช กรมชลประทาน (2553)

ภาพท่ี 5.17 แสดงภาพการแยกฝกออกจากฝกขาวโพดไดเปลือกขาวโพดฝกออนท่ีใชเล้ียงสัตวได ท่ีมา: กรมสงเสริมการเกษตร (2541)

ภาพท่ี 5.18 แสดงภาพตนขาวโพดฝกออน ท่ีมา: กรมสงเสริมการเกษตร (2541)

ภาพท่ี 5.19 แสดงการสับใบปาลมกอนใหแพะกิน ท่ีมา: บล็อกแกงดอทคอม. 2555.

ภาพท่ี 5.20 แสดงการใหแพะกินใบปาลมท้ังใบในคอก ท่ีมา: ศูนยวิจยัการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎรธานี (2554)

ข. อาหารหยาบแหง (dry roughages หรือ dry forages) อยูในรูปท่ีมีความช้ืนไมเกนิ 15 เปอรเซ็นต เพือ่จุดประสงคในการเก็บรักษาไวใชในยามขาดแคลนอาหาร โดยนําเอาอาหารหยาบสดมาระเหยความช้ืนออกดวยการตากแดด 2 – 3 แดด หรือการอบดวยความรอนใหเหลือความชื้นไมเกนิ 15 เปอรเซ็นต ซ่ึงอยูในสภาพท่ีเช้ือราและราเมือกเจริญไดยาก จึงสามารถเก็บไดนานข้ึน ตัวอยางของอาหารหยาบแหง ไดแก พชืโอชาหรือ พืชแหง (hay) (ภาพท่ี 5.21) เปนพชืท่ีเก็บเกี่ยวในระยะท่ีมีคุณคาทางอาหารสูงแลวนํามาระเหยความช้ืนออกไป นอกจากนี้อาหารหยาบแหงยังรวมถึงฟางขาว (rice straws) (ภาพท่ี 5.22) อีกดวย

ภาพท่ี 5.21 แสดงกอนหญาแหงซ่ึงควรเตรียมไวใชในหนาแลง ท่ีมา: ปราโมทย (2555)

ภาพท่ี 5.22 แสดงกอนฟางขาวซ่ึงควรเตรียมไวใชในหนาแลง ท่ีมา: บล็อกสปอตดอทคอม (2553)

ค. อาหารหยาบหมัก (ensile roughages หรือ ensile forages)

อยูในรูปท่ีมีความชื้น 70–75 เปอรเซ็นต ระดับ pH ประมาณ 4.2 ในหลุมหมักท่ีมีสภาพไรออกซิเจนเพื่อจุดประสงคในการเก็บรักษาไวใชในยามขาดแคลนอาหาร และสามารถเก็บรักษาไวไดนานนับสิบปถาไมเปดหลุมหมักโดยการนําอาหารหยาบสดท่ีเก็บเกีย่วในระยะคุณคาทางอาหารสูง และมีปริมาณของ คารโบไฮเดรตมากพอ มีความช้ืน 70 – 75 เปอรเซ็นต นํามาสับเปนทอนเล็ก ๆ บรรจุอัดแนนลงหลุมหมักหรือบอหมัก (silo) ปดปากหลุมหมักใหสนิทแนนปองกันไมใหอากาศเล็ดลอดเขาไป ประมาณ 21 วัน ขบวนการหมักก็จะเสร็จสมบูรณ (ภาพท่ี 5.23-5.25) ตัวอยางอาหารหยาบหมัก ไดแก พืชหมัก (silage) แตถาใชอาหารหยาบสดท่ีมีความช้ืน 55–60 เปอรเซ็นตมาทําการหมัก เรียกวา พืชหมักแหง (haylages) ในประเทศไทยหลุมหมักท่ีนิยมใชกนัมาก คือ หลุมหมักแบบวางนอนใตดิน (trench silo) (ภาพท่ี 5.26)

ภาพท่ี 5.23 แสดงการทําอาหารหยาบหมักในถุง ท่ีมา: ส่ือออนไลนลีเจ็นดนิวสดอทเน็ท (ม.ป.ป.)

ภาพท่ี 5.24 แสดงการทําอาหารหยาบหมักในถุง ท่ีมา: ส่ือออนไลนลีเจ็นดนิวสดอทเน็ท (ม.ป.ป.)

ภาพท่ี 5.25 แสดงการทําอาหารหยาบหมักในถุง ท่ีมา: ส่ือออนไลนลีเจ็นดนิวสดอทเน็ท (ม.ป.ป.)

ภาพท่ี 5.26 แสดงหลุมหมักแบบ trench silo ท่ีมา: เดลินวิสดอทซีโอดอททีเฮ็ช (2556)

Recommended