6
๑๐ สารบัญ ๔๖๓ ปีท่ ๓๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ www.thaihealthbook.com สำ�นักพิมพ์หมอช�วบ้�น บจก. ๓๖/๖ ซอยประดิพัทธ์ ๑๐ ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร. ๐ ๒๒๗๘ ๕๕๓๓, ๐ ๒๒๗๘ ๑๖๑๖ โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๑๘๐๖, ๐ ๒๒๗๑ ๐๑๗๐ บรรณ�ธิก�รนิตยส�รหมอช�วบ้�น โทร. ๐ ๒๒๗๘ ๕๕๓๓, ๐ ๒๒๗๘ ๑๖๑๖ โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๑๘๐๖, ๐ ๒๒๗๑ ๐๑๗๐ E-mail : [email protected] www.thaihealthbook.com เจ้�ของ : สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก. บรรณ�ธิก�ร ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณ� : ศ.นพ.ประเวศ วะสี บรรณ�ธิก�รอำ�นวยก�ร : ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ บรรณ�ธิก�รบริห�ร : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ คณะบรรณ�ธิก�รบริห�ร ศ.นพ.เกษียร ภังคานนท์ แก้ว วิฑูรย์เธียร รศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร ผศ.เนตรนภา ขุมทอง วีรพงษ์ เกรียงสินยศ นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ ศิริพร โกสุม ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพนพ.อำานาจ บาลี ประส�นง�น คมฆ์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล นิฤมล ลิมปิโชติพงษ์ ศิลปกรรม/จัดหน้� สงวน ศรีบุรินทร์ สุธาทิพย์ รักพืช อดิศร จินดาอนันต์ยศ โฆษณ� เอกชัย ศิลาอาสน์ บัญชี/ก�รเงิน นงนุช จินดาอนันต์ยศ อภิสราภรณ์ มูลทองชุน จัดจำ�หน่�ย บริษัท เพ็ญบุญจัดจำาหน่าย จำากัด โทร. ๐ ๒๖๑๕ ๘๖๒๖ ๐ ๒๒๗๘ ๐๗๐๙-๑๒ พิมพ์ทีพิมพ์ดี บจก. คุยกับผู้อ่าน นพ.ประเวศ วะสี ภูมิพละ = พลังแผ่นดิน บรรณาธิการแถลง บอกเล่าเก้าสิบ นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ความสำาเร็จ เริ่มที่มีเป้าหมายชีวิต พิเศษในฉบับ ๑๐ เรื่องเด่นจากปก ดร.ภกญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ฟักทอง ทองคำ�แห่งสุขภ�พ โรคภัยใกล้ตัว ๑๖ ถนนสุขภาพ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ น้ำาหนักเพิ่ม... เพิ่มโรค ๑๘ ชี้โรค-แจงยา นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ กินยาเบาหวานแล้ว ทำ�ไมน้ำ�ต�ลไม่ยอมลด ๒๖ คุยกับหมอ ๓ บาท นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์ ผู้ป่วยและยา ๒๘ โรคน่ารูศ.นพ.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ดูแลเท้าให้เหมือนดูแลหน้า ๓๐ คนไข้หัวเราะ คุณหมอที่รัก นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศการดูแลด้วยหัวใจ ของความเป็นมนุษย์ (๒) การแพทย์ตะวันออก ๓๒ แพทย์แผนจีน ศ.คลินิก แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล การดูแลสุขภาพในฤดูหนาว ๓๖ นวดไทย ยงศักดิ์ ตันติปิฎก นวดตัวเอง (ตอนที่ ๒) การฝึกกำาลังนิ้วมือ และการวางมือในการนวด ๓๘ โยคะศาสตร์ กวี คงภักดีพงษ์ โยคะ-อาสนะ พ่อ แม่ ลูก ๔๐ เด็กกับครอบครัว พญ.ตวงพร สุรพงษ์พิพัฒนะ หน้าจอ... คือ น้ำาผึ้งเคลือบยาพิษ ๔๒ โรคน่ารูศ.คลินิก พญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล ประจำาเดือนมาครั้งแรก ๔๖ เข้าใจ ไกลโรค รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช, พญ.ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย ผู้หญิงกับเบาหวาน

สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

2 http://publishing.doctor.or.th

๑๐

สารบัญ ๔๖๓ปีที่ ๓๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐www.thaihealthbook.com

สำ�นักพิมพ์หมอช�วบ้�น บจก.

๓๖/๖ ซอยประดิพัทธ์ ๑๐ ถนนประดิพัทธ์

แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

โทร. ๐ ๒๒๗๘ ๕๕๓๓, ๐ ๒๒๗๘ ๑๖๑๖

โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๑๘๐๖, ๐ ๒๒๗๑ ๐๑๗๐

บรรณ�ธิก�รนิตยส�รหมอช�วบ้�น

โทร. ๐ ๒๒๗๘ ๕๕๓๓, ๐ ๒๒๗๘ ๑๖๑๖

โทรสาร ๐ ๒๒๗๑ ๑๘๐๖, ๐ ๒๒๗๑ ๐๑๗๐

E-mail : [email protected]

www.thaihealthbook.com

เจ้�ของ : สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก.

บรรณ�ธิก�ร ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณ� : ศ.นพ.ประเวศ วะสี

บรรณ�ธิก�รอำ�นวยก�ร : ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์

บรรณ�ธิก�รบริห�ร : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

คณะบรรณ�ธิก�รบริห�ร

ศ.นพ.เกษียร ภังคานนท์

แก้ว วิฑูรย์เธียร

รศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร

ผศ.เนตรนภา ขุมทอง

วีรพงษ์ เกรียงสินยศ

นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์

ศิริพร โกสุม

ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์

ครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์

นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

นพ.อำานาจ บาลี

ประส�นง�น

คมฆ์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

นิฤมล ลิมปิโชติพงษ์

ศิลปกรรม/จัดหน้�

สงวน ศรีบุรินทร์

สุธาทิพย์ รักพืช

อดิศร จินดาอนันต์ยศ

โฆษณ�

เอกชัย ศิลาอาสน์

บัญชี/ก�รเงิน

นงนุช จินดาอนันต์ยศ

อภิสราภรณ์ มูลทองชุน

จัดจำ�หน่�ย บริษัท เพ็ญบุญจัดจำาหน่าย จำากัด

โทร. ๐ ๒๖๑๕ ๘๖๒๖

๐ ๒๒๗๘ ๐๗๐๙-๑๒

พิมพ์ที่ พิมพ์ดี บจก.

๑ คุยกับผู้อ่าน นพ.ประเวศวะสี ภูมิพละ=พลังแผ่นดิน๓ บรรณาธิการแถลง๔ บอกเล่าเก้าสิบ นพ.สรุเกยีรติอาชานานภุาพ ความสำาเร็จ เริ่มที่มีเป้าหมายชีวิต

พิเศษในฉบับ

๑๐ เรื่องเด่นจากปก ดร.ภกญ.สุภาภรณ์ปิติพร ฟักทองทองคำ�แห่งสุขภ�พ

โรคภัยใกล้ตัว

๑๖ ถนนสุขภาพ นพ.สันต์หัตถีรัตน์ น้ำาหนักเพิ่ม...เพิ่มโรค๑๘ ชี้โรค-แจงยา นพ.สรุเกยีรติอาชานานภุาพ กินยาเบาหวานแล้ว ทำ�ไมน้ำ�ต�ลไม่ยอมลด๒๖ คุยกับหมอ๓บาท นพ.พินิจลิ้มสุคนธ์ ผู้ป่วยและยา๒๘โรคน่ารู้ ศ.นพ.ฉัตรเลิศพงษ์ไชยกุล ดแูลเทา้ใหเ้หมอืนดแูลหนา้

๓๐ คนไข้หัวเราะคุณหมอที่รัก นพ.สุรชัยปัญญาพฤทธิ์พงศ์ การดูแลด้วยหัวใจ ของความเป็นมนุษย์(๒)

การแพทย์ตะวันออก

๓๒ แพทย์แผนจีน ศ.คลินิกแพทย์จีน นพ.ภาสกิจวัณนาวิบูล การดูแลสุขภาพในฤดูหนาว๓๖ นวดไทย ยงศักดิ์ตันติปิฎก นวดตัวเอง(ตอนที่ ๒) การฝึกกำาลังนิ้วมือ และการวางมือในการนวด๓๘โยคะศาสตร์ กวีคงภักดีพงษ์ โยคะ-อาสนะ

พ่อแม่ลูก

๔๐ เด็กกับครอบครัว พญ.ตวงพรสุรพงษ์พิพัฒนะ หน้าจอ...คือ น้ำาผึ้งเคลือบยาพิษ๔๒ โรคน่ารู้ ศ.คลินิกพญ.มุกดาหวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง นพ.สมชัยโกวิทเจริญกุล ประจำาเดือนมาครั้งแรก๔๖ เข้าใจไกลโรค รศ.พญ.ทิพาพรธาระวานิช, พญ.ฐิตินันท์อนุสรณ์วงศ์ชัย ผู้หญิงกับเบาหวาน

Page 2: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๔๐๕ มกราคม ๒๕๕๖ 3

บรรณาธิการแถลง

ขอบคุณ ผู้เขียนทุกท่านที่ช่วยเขียนเป็นวิทยาทานl บทคว�มที่ตีพิมพ์ในนิตยสารหมอชาวบ้าน ยินดีที่จะให้นำ�ไปเผยแพร่เป็นวิทย�ท�นสู่

ประช�ชน แต่ต้องได้รับอนุญ�ตเป็นล�ยลักษณ์อักษร และอ้�งอิงแหล่งที่ม� ชื่อผู้เขียน

(ซึ่งเป็นเจ้�ของลิขสิทธิ์) ไม่อนุญ�ตให้นำ�ไปเผยแพร่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ท�งก�รค้�l ขอ้คว�มโฆษณ�ใดๆ ทีต่พีมิพใ์นนติยส�รหมอช�วบ�้นเปน็ไปต�มเงือ่นไขท�งธรุกจิก�รค�้

คณะบรรณ�ธิก�รไม่จำ�เป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

๖๒ต้นไม้-ใบหญ้า ดร.ปิยรัษฎ์ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ต้นวาสนา

สร้างสรรค์-ชีวิต

๕๔ บทความพิเศษ ชยันต์เพชรศรีจันทร์ บ้านเล็ก...ในป่าใหญ่๕๖ พอเพียงสู่เพียงพอ สุขสันต์ ประโยชน์ฟาร์ม“กินข้�ว เป็นย� ดีกว่�กินย�แทนข้�ว”๕๘เดินไปปั่นไป กวินชุติมา การเดินเป็นการขนส่ง๖๔ บนเส้นทางชีวิต นพ.ประเวศวะสี ถกัทอสร�้งประเทศไทยในฝนั (๑๖) พลังภายในเราทำาได้ร่วมกัน

น่ารู้

๗๒แวดวงชีวิตสุขภาพ สิ่งแวดล้อม กองบรรณาธิการ๗๔ เรื่องเก่าไม่เล่าก็ลืม กองบรรณาธิการ๗๕มีของดีมาฝาก กองบรรณาธิการ

นวัตกรรมแอปพลิเคชันออนไลน์

๔๘ชัวร์แน่แชร์ได้ กองบรรณาธิการ “ฟักทอง” กับประโยชน์๑๐ข้อ...?๕๐ นวัตกรรม…สุขภาพดี คมส์ธนนท์ศุข รอกมหัศจรรย์ นวัตกรรมเพื่อคนติดบ้�น ติดเตียง๕๒ สุขภาพกับไอที กองบรรณาธิการ แอปพลิเคชัน Thai-NMSQ กับผู้ป่วย “พาร์กินสัน”

ปกิณกะ

๖๐ อาหารกับสมุนไพร กองบรรณาธิการ ข้าวเหนียวเปียกลำาไย

๖๐

๖๒ ช่วงที่ผ่านมามีการพูดถึง “คุณภาพ

ชีวิตและสุขภาพ”หลายกรณีเช่น

องค์การอนามัยโลก :สุขภาพดีถ้วน

หน้า ๒๕๔๓

ประธานาธบิดีสีจิน้ผงิ:การสรา้งสงัคม

กินดีอยู่ดี๒๕๖๔

ประเทศไทย:อยู่ดี กินดี มีสุข มิติทาง

สังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพ รวมถึง

“สร้าง นำา ซ่อม”

“การดูแลสุขภาพ” ไม่ใช่ “เรื่องส่วน

บุคคล” แต่จุดเริ่มต้นอยู่ที่วิถีชีวิตของแต่

ละคน

หมอชาวบ้าน เดือนพฤศจิกายนพ.ศ.

๒๕๖๐คือฉบับที่๔๖๓ยังคงมุ่งมั่นนำาเสนอ

แนวทางการดูแลสุขภาพที่แต่ละคนทำาได้ด้วย

ตนเองหลายเรื่องเช่น

l เรื่อง “เบาหวาน” ไม่ใช่ดูที่น้ำาตาล

อย่างเดียว

l การดูแลสุขภาพหน้าหนาว ตาม

ศาสตร์แพทย์จีนทำาอย่างไร

l การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยติด

บ้านติดเตียง

l “หน้าจอ”เครื่องมือ“เลี้ยงลูก”หรือ

“ประหารลูก”

l น้ำาหนักตัวเพิ่ม ๒.๕ กิโลกรัม คือ

การนำาโรคเรื้อรังใส่ตัว

l อย่ามองข้าม “ฟักทอง” เป็นทั้ง

อาหารและสมุนไพร

ถึงแม้ว่ า โลกแห่งการสื่อสารจะ

เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่ควรละทิ้งคือ การอ่าน

ดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว

อย่างต่อเนื่อง

กองบรรณาธิการ

Page 3: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

คุยกับผู้อ่าน นพ.ประเวศ วะสี

ภูมิพละ = พลังแผ่นดินคุยกับผู้อ่านฉบับนี้เขียนเมื่อ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ อันเป็นวันครบรอบ ๑ ปีของการเสด็จสวรรคต

ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล และกว่าหมอชาวบ้านฉบับนี้จะออกก็ผ่านพ้นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพในวันที่

๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ไปแล้ว

แม้พระสรีรางคารของพระองค์จะล่วงลับดับสูญไปแล้ว แต่จิตวิญญาณแห่งคุณงามความดีท่วมปฐพียัง

สถิตอยู่ในทุกอณูของประเทศไทย

คนไทยสามารถใช้จิตวิญญาณภูมิพลมาสร้างพลังแผ่นดิน อันจักนำาไปสู่อนาคตประเทศไทยที่ดีงาม

ได้โดยไม่ยาก นั่นคือ

คนไทยถักทอกันทั้งแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศไทย

โดยสูตร รู้ รัก สามัคคี ตามคำาสอนของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

รู้ คือใช้ความรู้ การเรียนรู้ ปัญญา ความมีเหตุผล ความจริง

รัก คือการมีไมตรีจิตต่อกัน การเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคน ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

สามัคคี มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำาในเรื่องดีๆ อย่างหลากหลาย ตามที่กลุ่มถนัดหรือเห็นชอบร่วมกัน

การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำา หรือการถักทอกันทำาเรื่องดีๆ จะทำาให้ทุกคนในกลุ่มมีความสุขประดุจบรรลุ

นิพพาน จะมีความรักและเชื่อถือไว้วางใจกันมาก เกิดปัญญาร่วม และอัจฉริยภาพกลุ่ม (group genius)

ฝ่าความยากไปสู่ความสำาเร็จ

ถ้ามกีลุ่มความสุขและสร้างสรรคอ์ย่างนี้ทำาเรื่องดีๆ อย่างหลากหลายเต็มประเทศ จะเกิดพลังแผ่นดิน

หรือภูมิพละ ทำาให้คนไทยพ้นทุกข์ร่วมกัน

เมื่อคนไทยถักทอกันทั้งแผ่นดิน สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็เป็นไปได้

นั่นคือคนไทยพ้นทุกข์ร่วมกัน

นิตยสารหมอชาวบ้าน ด�ำเนินงำนโดยมิได้มุ ่งหวังก�ำไรทำงกำรค้ำ คณะบรรณำธิกำรและผู้เขียนทุกท่ำน ช่วยกันท�ำเป็นวิทยำทำน โดยมิได้รับ ค่ำตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เพรำะมีจุดมุ่งหมำยร่วมกันที่จะถ่ำยทอดวิทยำกำรไปสู่ประชำชนให้มำกที่สุด รำยได้หลังจำกหักค่ำใช้จ่ำยและเสียภำษี น�ำไปใช้ ในกิจกรรมสำธำรณประโยชน์ต่ำงๆ

Page 4: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

4 www.thaihealthbook.com

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพบอกเล่าเก้าสิบ

ความสำาเร็จเริม่ทีม่เีปา้หมายชวีติ

นี้คือบทกวีที่ผมตกผลึกมาจากบรรยากาศในการเรียนรู้ที่กำาแพงเพชรเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคมที่ผ่านมา

ในวันนั้น ผมได้มีโอกาสไปร่วมดูงานและแลกเปลี่ยนกับกลุ่ม

บุคลากรสาธารณสุขและแกนนำาภาคประชาชนกลุ่มหนึ่งจาก ๕ อำาเภอ

ของจังหวัดรอบข้างที่เข้าร่วมอบรมในโครงการการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

สุขภาพชุมชน

ชว่งเชา้ไดไ้ปดงูานทีโ่รงพยาบาลสง่เสรมิสขุภาพตำาบล หรอื รพ.สต.

(ซึง่เดมิเรยีกวา่ “สถานอีนามยั”) ทีบ่า้นหนองน้ำาขุน่ ตำาบลสกังาม อำาเภอ

คลองลาน ซึง่อยูห่า่งจากตวัเมอืงกำาแพงเพชร ประมาณ ๒๐ กโิลเมตรเศษ

คุณชูเกียรติ ฟักนาค

ผู้อำ�นวยก�ร รพ.สต.หนองน้ำ�ขุ่น

ตำ�บลสักง�ม อำ�เภอคลองล�น

สงบเย็นเป็นคุณล้น สมบูรณ์สุขทุกเพลา

มีเป้าหมายชีวิต รู้จักคิดออกนอกกรอบ

ทำาในสิ่งที่ชอบ ด้วยมุ่งมั่นขยันอดทน

ทำาไปเรียนรู้ไป เรียนรู้ได้ในทุกหน

อ่อนน้อมถ่อมใจตน เป็นนายตัวด้วยมั่นใจ

มีสติและปัญญา กล้าสรรค์สร้างสิ่งแปลกใหม่

ทำางานด้วยหัวใจ อันเอื้อเฟื้อเพื่อผองชน

รู้จักความเพียงพอ ก่อประโยชน์ท่านและตน

สงบเย็นเป็นคุณล้น สมบูรณ์สุขทุกเพลา

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

๑๓ ต.ค. ๖๐

Page 5: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๖๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ 5

ไดเ้ลา่ถงึชวีติและการทำางาน

อันน่าทึ่ง ที่ประสบความสำาเร็จ ได้

รับรางวัลรวมทั้งสิ้นนับร้อยรางวัล

ในจำานวนนี้มีรางวัลดีเด่นระดับ

ประเทศ ๑๒ รางวัล อาทิ หมู่บ้าน

ควบคุมโรคไม่ติดต่อโดยยึดชุมชน

เป็นฐาน, หมู่บ้านปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมดีเด่น, รพ.สต.ดีเด่น ๓

ดี, สถานบริการสาธารณสุขพื้นที่

ต้นแบบลดโลกร้อน, ศูนย์พัฒนา

เด็กเล็กอ่อนหวานดีเด่น, รางวัล

สดุยอดสว้มดเีดน่, รางวลัผลงานดี

เด่นด้านสิ่งแวดล้อม, ตำาบลนมแม่

ผ่านเกณฑ์คุณภาพ, รางวัลตำาบล

ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว,

รางวั ลต้นแบบดี เด่นหมู่ บ้ าน

ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพด้วย

สมุน ไพรและภู มิ ปัญญาไทย

เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณชูเกียรติก็ยัง

ได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่น รวม

ทั้งส่งเสริมการทำางานของอาสา

สมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้าน

(อสม.) จนได้รับรางวัล อสม.ดีเด่น

ถึง ๑๕ ท่านด้วยกัน

เมื่อแรกเข้าประตูรั้ว รพ.สต.

แห่งนี้ ทุกคนรู้สึกประทับใจที่เห็น

อาคาร สถานที่และภูมิทัศน์โดย

รอบมีการตกแต่งอย่างสวยงาม มี

ผู้นำาท้องถิ่น ผู้นำาท้องที่ แกนนำา

ชุมชน และกลุ่มผู้สูงอายุมาร่วม

ให้การต้อนรับ แสดงกิจกรรมและ

ผลงานอย่างคึกคัก

คุณชูเกียรติ เล่าว่า พื้นเพ

ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงคิดว่าโตขึ้นจะต้องเป็นข้าราชการให้ได้

หลงัจบชัน้ ม.ปลาย จงึสอบเขา้เรยีนเปน็หมออนามยั ซึง่มทีนุใหเ้รยีนฟร ี

และใช้เวลาเรียนเพียง ๒ ปี จบแล้วก็ได้เป็นข้าราชการมาทำางานด้าน

สาธารณสุขที่ตำาบลนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ และแต่งงานมีครอบครัวอยู่ใน

ชมุชนแหง่นี ้และไดก้ลายเปน็สมาชกิสว่นหนึง่ของชมุชน มคีวามสมัพนัธ์

ใกล้ชิดกับประชาชน นอกจากทุ่มเททำางานบริการดูแลสุขภาพในหน้าที่

แล้ว ยังได้ช่วยเหลืองานสังคมทุกอย่าง รวมทั้งเป็นพิธีกรในงานต่างๆ

จึงได้รับความศรัทธาและความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้นำาชุมชนเป็น

อย่างดี

ดว้ยเปน็คนชา่งเรยีนรูจ้ากประสบการณแ์ละสิง่รอบตวั และเปน็คน

ชา่งคดิ จงึไดส้รา้งสรรคง์านและนวตักรรมอยูต่ลอดมา ขา้งบนมนีโยบาย

อะไรลงมา ก็ปรับให้เหมาะกับบริบทของชุมชน และคิดทำาให้ได้มากกว่า

และดีกว่ากรอบและเกณฑ์ของนโยบาย รวมทั้งบางอย่างก็ริเริ่มทำาก่อน

ที่จะมีนโยบายลงมา

พวกเราต่างก็รู้สึกชื่นชมในแนวคิดและแนวทางการทำางานของ

หมออนามัยอาวุโสท่านนี้ที่ได้สร้างสรรค์งานใหม่และเด่นดีอย่างไม่รู้จัก

เหน็ดเหนื่อย เคล็ดลับข้อหนึ่งที่คุณชูเกียรติบอกกับเรา ก็คือ การตั้ง

ปณิธานที่จะ “เดินต�มรอยพ่อของแผ่นดิน”

ช่วงบ่าย พวกเราเดินทางกลับมารวมตัวกันที่ห้องประชุมอบรมใน

โรงแรมชากังราวริเวอร์วิวในเมืองกำาแพงเพชร ต่างก็รู้สึกประหลาดใจที่

ได้พบกับบรรยากาศอันชื่นมื่นและผ่อนคลาย ที่มีวงดนตรีบรรเลงให้ฟัง

สด และมี “ร้านกาแฟสดชันเข่า” ให้จิบน้ำาชากาแฟตามใจชอบ

สักครู่ใหญ่ๆ เราก็ได้ฟังเรื่องราวของคุณครูชิต เอมศิริ หัวหน้าวง

ดนตรี และคุณเจริญ เจริญไทย เจ้าของร้านกาแฟสดชันเข่า ซึ่งผู้จัดการ

อบรมได้ชวนมาให้พวกเราได้เรียนรู้

ข้างบนมีนโยบายอะไรลงมา ก็ปรับให้ เหมาะกับบริบทของชุมชน และคิดทำาให้ได้มากกว่าและดีกว่ากรอบและเกณฑ์ของนโยบาย รวมทั้งบางอย่างก็ริเริ่มทำาก่อนที่จะมีนโยบายลงมา

Page 6: สารบัญ · ศ.คลินิกพญ.มุกดา หวังวีรวงศ์ เด็กกับโรคแพ้อากาศ๔๔ คำาถามสุขภาพผู้หญิง

6 www.thaihealthbook.com

ครพูชิติ เอมศริ ิซึง่เปน็ครสูอนวชิาดนตรี

ที่โรงเรียนบ้านดงซ่อม อำาเภอโกสัมพีนคร

กำาแพงเพชร เป็นผู้รักดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ ได้มี

ปณธิานและยนืหยดัทุม่เทแรงกายและเงนิสว่นตวั

ในการสรา้ง “วงออเคสตรา้” ใหเ้กดิขึน้ทีโ่รงเรยีน

บา้นดงซอ่ม อนัเปน็โรงเรยีนขยายโอกาสในชนบท

โดยฉีกจากแนวการสร้างวงดนตรีแบบเดิมๆ ที่ทำากัน คุณครูได้ตั้งวง

ออเคสตร้ามาได้ ๔ ปี มีนักเรียนหลายวัยหลายชั้นปีที่อาสาสมัครร่วมวง

ราว ๔๐ คน ซึ่งต้องขยันฝึกซ้อมนอกเวลาเรียน ในปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จัก

ในวงสังคม และได้รับเชิญออกงานต่างๆ บ่อยขึ้น

ลูกศิษย์ ๔ คนที่มาร่วมเล่นและร้องเพลงกับคุณครูพิชิตในวันนี้

(มีอายุ ๘ ถึง ๑๗ ปี) ก็ได้เล่าให้ฟังว่า มีใจชอบเล่นดนตรี และร้องเพลง

มาตั้งแต่เล็ก มีความตั้งใจจะเอาดีทางด้านนี้ เมื่อได้มาเรียนและขยันฝึก

ซ้อม ทำาให้ตัวเองเกิดวินัยรู้จักรับผิดชอบ มีสมาธิ มีความมั่นใจในตัวเอง

ส่งผลให้การเรียนดีขึ้น มีทักษะชีวิต และกล้าแสดงออก ซึ่งบ่ายวันนี้ทุก

คนก็ได้พูดจาและตอบคำาถามของพวกเราได้อย่างฉะฉานเฉกเช่นผู้ใหญ่

ที่มีประสบการณ์

คุณเจริญ เจริญไทย เดิมมีฐานะไม่สู้ดี

นัก เคยรับจ้างทำางานที่กรุงเทพฯ อยู่หลายปี ต่อ

มาได้เดินทางไปทำางานเป็นพ่อครัวที่เกาหลีใต้

อยู่ ๖ ปี เพิ่งกลับมาอยู่บ้านที่กำาแพงเพชรได้ปี

กวา่ๆ กลบัมาไดไ้มน่านกม็าทำารา้นกาแฟใชช้ือ่วา่

“ก�แฟสดชันเข่�” เนื่องจากเจ้าของร้านกับลูกค้า

ต้องนั่งชันเข่าบนเก้าอี้เตี้ยๆ ที่ริมถนน

คุณเจริญเล่าว่า กลับมาเห็นขายกาแฟสดในราคา ๔๐-๖๐ บาท

กันเกร่อ จึงมีความตั้งใจที่จะลองทำากาแฟราคาถูก ให้ชาวบ้านได้ลิ้มรส

น้ำาชากาแฟคุณภาพกันดู พอดีได้นำาเครื่องชงกาแฟที่ใช้ชงดื่มเองที่

เกาหลตีดิกลบัมาดว้ย กไ็ดท้ดลองชงใหค้นในบ้านชมิจนไดส้ตูรทีต่ดิใจ ก็

เลยนำาอุปกรณ์และโต๊เก้าอี้เตี้ยที่มีอยู่ในบ้านมาตั้งร้านกาแฟที่ริมถนน

โดยชงสดทีละถ้วยด้วยการใส่ใจ ทำาให้ประณีต รสอร่อยและสะอาด

ปลอดภัย ขายถ้วยละ ๒๐ บาท ขายช่วงเช้าเพียง ๔-๕ ชั่วโมง ได้สัก

๒๐-๓๐ ถ้วย พอได้ค่ากับข้าวกับปลา ก็ปิดร้าน กลับไปนั่งเล่น พักผ่อน

ที่บ้าน

คุณเจริญเล่ าว่ าแต่ก่อน

แต่งตัวใส่สูทผูกเนกไทอยู่นานนับ

๑๐ ปี ตอนนี้แต่งตัวสบายๆ ใช้

ชีวิตแบบพอเพียง ทำางานไม่ได้มุ่ง

หาเงินให้วุ่นวาย ใจจริงคิดใช้ร้าน

กาแฟนี้เป็นแหล่งพบเพื่อนใหม่

และเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กันกับผู้คนต่างๆ เขากล่าวทิ้งท้าย

ว่า “จะเรียกว่�ทำ�ด้วยคว�มบ้�ก็

ได้นะ”

พวกเราได้เรียนรู้เรื่องราว

ชีวิตและการบุกเบิกงานของ

บุคคลทั้งสาม ซึ่งมีใจรักในสิ่งที่

ทำา ทำางานดว้ยใจและทำางานเปน็

ยาใจ ดว้ยการคดินอกกรอบและ

“ความบา้” และดว้ยความมุง่มัน่

ขยัน อดทน ต่อสู้ฟันฝ่าไปสู่

เปา้หมายชวีติแหง่ความพอเพยีง

มีคุณค่าและความสุข

นับว่าช่างเป็นช่วงเวลา

แห่งการเรียนรู้ที่สร้างความสุข

และแรงบันดาลใจแก่พวกเรา

ทุกคน