8
ชั้นประถมศึกษาปีท่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พลับพลึง คงชนะ ผู้เรียบเรียง ผู้ตรวจ บรรณาธิการ ดร.กร่าง ไพรวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พละสูรย์ อาจารย์สายัณห์ พละสูรย์ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

  • Upload
    others

  • View
    13

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พลับพลึง คงชนะผู้เรียบเรียง

ผู้ตรวจ

บรรณาธิการ

ดร.กร่าง ไพรวรรณ

อาจารย์สมพงษ์ พละสูรย์

อาจารย์สายัณห์ พละสูรย์

ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ประวัติศาสตร์

Page 2: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

สงวนลิขสิทธิ์

สำานักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำากัด

พ.ศ. ๒๕๕๘

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

๗๐๑ ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทร. ๐-๒๒๔๓-๘๐๐๐ (อัตโนมัติ ๑๕ สาย), ๐-๒๒๔๓-๑๘๐๕

แฟกซ์ : ทุกหมายเลข, แฟกซ์อัตโนมัติ : ๐-๒๒๔๑-๔๑๓๑, ๐-๒๒๔๓-๗๖๖๖

website : www.iadth.com

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่๔กลุ่มสาระ

การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้จัดทำาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียน

การสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่๔ซึ่งมีเนื้อหาครบถ้วนตามมาตรฐานการเรียนรู้

และตัวชี้วัดที่กำาหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑

โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยมีการนำาเสนอเนื้อหา

ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน ข้อมูลที่ทันสมัยและใช้ภาพประกอบที่สวยงาม

เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด และเกิดความสนใจ

ศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีจิตสำานึกและภาคภูมิใจ

ในความเป็นไทย

ในหนังสือเรียนมีองค์ประกอบดังนี้ ผังสาระการเรียนรู้ สาระสำาคัญ

จุดประกายความคิด เนื้อหาและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เว็บไซต์แนะนำา ความรู้เพิ่มเติม

ปลอดภัยไว้ก่อน ผังสรุปสาระสำาคัญ กิจกรรมการเรียนรู้ คำาถามพัฒนากระบวน-

การคิดและจุดประกายโครงงาน

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน

การสอนและบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช๒๕๕๑

คณะผู้จัดทำ�

สถ�บันพัฒน�คุณภ�พวิช�ก�ร(พว.)

คำ�นำ�

Page 3: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

หน้�

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑

การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษศตวรรษและสหัสวรรษ ๖

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ๑๖

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓

พัฒนาการของมนุษย์ในดินแดนไทย ๒๘

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

อาณาจักรสุโขทัย ๕๗

ผังสาระการเรียนรู้ ๕

จุดประกายโครงงาน ๗๙

บรรณานุกรม ๘๐

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์

ส ๔.๑

ส ๔.๒

ส ๔.๓

ตัวชี้วัดข้อ ๑ นับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ

ผังสาระการเรียนรู้

ตัวชี้วัดข้อ ๓ แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ตัวชี้วัดข้อ ๒ อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติโดยสังเขป

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

อธิบายการตั้งหลักแหล่งและพัฒนาการของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์โดยสังเขป

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓พัฒนาการของมนุษย์ในดินแดนไทย

ตัวชี้วัดข้อ ๒

ตัวชี้วัดข้อ ๑

ยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในท้องถิ่นที่แสดงพัฒนาการของมนุษยชาติในดินแดนไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓พัฒนาการของมนุษย์ในดินแดนไทย

อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔อาณาจักรสุโขทัย

บอกประวัติและผลงานของบุคคลสำาคัญสมัยสุโขทัย

อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำาคัญสมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

ตัวชี้วัดข้อ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔อาณาจักรสุโขทัย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔อาณาจักรสุโขทัย

ตัวชี้วัดข้อ ๒

ตัวชี้วัดข้อ ๑

Page 4: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

จากปฏิทิน ค.ศ. ๒๐๑๕ ตรงกับทศวรรษที่ ๒๐๑๐

ตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ตรงกับคริสต์สหัสวรรษที่ ๓

อีก ๑๐ ปีข้างหน้าจะตรงกับช่วงเวลาใด

จดุประกายความคดิ

ความหมายและช่วงเวลาของทศวรรษ ศตวรรษ

และสหัสวรรษ

การใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ เพื่อทำาความเข้าใจ

ช่วงเวลาในเอกสาร

การนับช่วงเวลา

เป็นทศวรรษ ศตวรรษ

และสหัสวรรษ

7การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ

ศตวรรษ และสหัสวรรษ

ตัวชี้วัด

ผังสาระการเรียนรู้

สาระสำาคัญ

นับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ (ส ๔.๑ ป.๔/๑)

การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ เป็นการนับช่วงเวลาโดยแบ่งเป็น ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี

๑,๐๐๐ ปี เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนับช่วงเวลา

หน่วยการเรียนรู้ที่

ทศวรรษ

ศตวรรษ

ช่วงเวลา ๑๐ ปี

ช่วงเวลา ๑๐๐ ปี

ช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี

สหัสวรรษ

Page 5: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

ตัวอย่างเช่น ทศวรรษ ๒๐๑๐ นับตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ ไปจนถึง ค.ศ. ๒๐๑๙

ดังนั้น ทศวรรษ ๒๐๑๐ จึงเป็นช่วงเวลา ตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐

ไปจนถึง ค.ศ. ๒๐๑๙

๑.๑ ทศวรรษ ทศวรรษ อ่านว่า ทด-สะ-วัด หมายถึง ช่วงเวลา ๑๐ ปี การ

นับทศวรรษมักใช้กับปีคริสต์ศักราชเป็นหลัก โดยนับปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๐

เป็นปีแรกของทศวรรษ แล้วนับต่อไปจนสิ้นสุดที่เลข ๙

๒๐๑๐ค.ศ.

ทศวรรษ

๒๐๑๐

ช่วงเวลา๒๐๑๑ ๒๐๑๒ ๒๐๑๓ ๒๐๑๔ ๒๐๑๕ ๒๐๑๖ ๒๐๑๗ ๒๐๑๘ ๒๐๑๙

ทศวรรษ ๒๐๒๐ นบัตัง้แต ่ค.ศ. ๒๐๒๐ ไปจนถงึ ค.ศ. ๒๐๒๙

๒๐๒๐ค.ศ.

ทศวรรษ

๒๐๒๐

ช่วงเวลา๒๐๒๑ ๒๐๒๒ ๒๐๒๓ ๒๐๒๔ ๒๐๒๕ ๒๐๒๖ ๒๐๒๗ ๒๐๒๘ ๒๐๒๙

๑. ความหมายและช่วงเวลาของทศวรรษ ศตวรรษ

และสหัสวรรษ

วัน เวลา มีความสำาคัญต่อการดำาเนินชีวิต ของคนเรา คือ ทำาให้เรารู้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อใด ดังนั้น การบอกเล่าเหตุการณ์ใน ช่วงเวลาต่าง ๆ จึงจำาเป็นต้องใช้คำาที่ เกี่ยวกับ ช่วงเวลา เช่น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี

ปฏิทิน

นักเรียนรู้หรือไม่ว่า เมื่อนับเวลาที่แบ่งออกเป็น

ช่วงต่าง ๆ ได้แก่ ช่วงเวลาเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์

เดือน และปี ไปจนถึงช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเรา

ต้องการนับช่วงเวลาต่อจากนั้นจะนับเวลากัน

อย่างไร

วิธีการนับช่วงเวลาต่อจากปี ยังนับเวลาเป็น ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี ต่อไป

เรื่อย ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น การนับเวลาเช่นนี้จึงมีความยุ่งยาก

เกิดขึ้น เพราะมีจำานวนเลขที่บอกช่วงเวลาเป็นปีเพิ่มขึ้นเป็นจำานวนมาก

จึงได้มีการกำาหนดช่วงเวลาออกเป็น ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ๑,๐๐๐ ปี แล้วกำาหนด

เรียกว่า ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ

นาฬิกา

8 ประวัติศาสตร์ ป.๔ 9การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

Page 6: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

สหสัวรรษของครสิตศ์กัราช หรอืครสิตส์หสัวรรษ นบัจากปทีีพ่ระเยซู

ประสูติเป็นปีที่ ๑ ไปจนถึงปีที่ ๑,๐๐๐ เป็นสหัสวรรษที่ ๑ ของคริสต์ศักราช

ตัวอย่างเช่น คริสต์สหัสวรรษที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ. ๑

ไปจนถึง ค.ศ. ๑๐๐๐

ดังนั้น คริสต์สหัสวรรษที่ ๒ ของคริสต์ศักราช หมายถึง ช่วงเวลา

ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๐๐๑ ถึง ค.ศ. ๒๐๐๐

๑.๓ สหัสวรรษ สหัสวรรษ อ่านว่า สะ-หัด-สะ-วัด หมายถึง ช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี

การนับสหัสวรรษเริ่มนับปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๑ เป็นปีแรกของสหัสวรรษ

แล้วนับต่อไปจนสิ้นสุดที่เลข ๑,๐๐๐ เช่น

สหัสวรรษของพุทธศักราช หรือพุทธสหัสวรรษ นับจากปีที่

พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี เป็นปีที่ ๑ ไปจนถึงปีที่ ๑,๐๐๐ เป็น

สหัสวรรษที่ ๑ ของพุทธศักราช

ตัวอย่างเช่น พุทธสหัสวรรษที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ไปจนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐

ดังนั้น พุทธสหัสวรรษที่ ๒ ของพุทธศักราช หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่

พ.ศ. ๑๐๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐

นับจากปีที่พระเยซูประสูติเป็นปีที่ ๑ ไปจนถึง ปีที่ ๑๐๐

เป็นคริสต์ศตวรรษที่ ๑

ตัวอย่างเช่น คริสต์ศตวรรษที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ ค.ศ. ๑ ถึง ค.ศ. ๑๐๐

ดังนั้น คริสต์ศตวรรษที่ ๑ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. ๑ ถึง ค.ศ. ๑๐๐

คริสต์ศตวรรษที่ ๒ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๐๑ ถึง ค.ศ. ๒๐๐

คริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๐๑ ถึง ค.ศ. ๒๑๐๐

คริสต์ศตวรรษ

๑.๒ ศตวรรษ ศตวรรษ อ่านว่า สะ-ตะ-วัด หมายถึง ช่วงเวลา ๑๐๐ ปี

การนับศตวรรษ เริ่มนับปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๑ เป็นปีแรกของศตวรรษ

แล้วนับต่อไปจนสิ้นสุดที่เลข ๑๐๐ เช่น

นับจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี เป็นปีที่ ๑

ไปจนถึง ปีที่ ๑๐๐ เป็นพุทธศตวรรษที่ ๑

ตัวอย่างเช่น พุทธศตวรรษที่ ๑ เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๑๐๐

ดังนั้น พุทธศตวรรษที่ ๑ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๑๐๐

พุทธศตวรรษที่ ๒๕ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๐

พุทธศตวรรษที่ ๒๖ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๖๐๐

พุทธศตวรรษ

10 ประวัติศาสตร์ ป.๔ 11การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

Page 7: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

ตัวอย่างจากบทความ

ตัวอย่างจากประกาศ

ตัวอย่างจากข่าว

(๑๐ ทศวรรษ หมายถึง ๑๐๐ ปี)

(สหัสวรรษที่ ๓ หมายถึง ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. ๒๐๐๑ ถึง ค.ศ. ๓๐๐๐)

ร่วมเปิดชีวิต ปู่เย็น...เฒ่าใจทรนงวัยกว่า ๑๐ ทศวรรษ

คุณเคยตั้งคำาถามให้กับตัวเองหรือไม่ ถ้าวันหนึ่งคุณมีอายุ ๑๐๐ ปี วันนั้น

คุณจะเป็นอย่างไร อยู่กับใคร อยู่ในสภาพไหน และที่สำาคัญการมีชีวิตในวัยชรา

ของคุณในวันนั้นจะเป็นอย่างไร คนค้นฅนจะพาคุณผู้ชมไปพบกับ ๑ คำาตอบ

ของคำาถามนี้ จากชีวิตของชายชราคนหนึ่งที่มีอายุข้ามศตวรรษมาถึง ๑๐๖ ปี

เย็น แก้วมณี หรือปู่เย็น ชายชราหลงยุคผู้มีร่างกายแข็งแรง

องค์การสหประชาชาติประกาศให้ทศวรรษ ๒๐๑๐ เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน

องค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกให้ ความสำาคัญและผลักดันเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยกำาหนด เป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ ๕๐

(ทศวรรษ ๒๐๑๐ หมายถึง ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๑๙)

ใครจะเป็นทารกคนแรก แห่งสหัสวรรษที่ ๓ ก่อนที่จะขึ้น ค.ศ. ใหม่ เป็น ค.ศ. ๒๐๐๑ มีความตื่นเต้นที่จะได้ลุ้นกันว่าใครจะเป็นทารกคนแรก แห่งสหัสวรรษใหม่ ความน่าจะเป็นก็คือ ชนชาติแรกที่จะได้มีโอกาสสมัผสัวนัแรกแหง่สหสัวรรษใหม ่หรอื ค.ศ. ๒๐๐๑ กอ่นใคร กค็อื นวิซแีลนด ์และฟิจิ เพราะ ๒ ประเทศนี้อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของโลก

หนังสือนครหลวงของไทย ของสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ระบุว่า “ราวคริสต์-

ศตวรรษที่ ๒ ลงมา มีชุมชนที่มีการติดต่อกับอินเดียเกิดขึ้นแล้วในบริเวณ

เขตชายทะเลของอ่าวไทย โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำ�ท่าจีนและบริเวณลุ่มน้ำ�บางปะกง”

(คริสต์ศตวรรษที่ ๒ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๐๑-๒๐๐)

หนังสือการขุดค้นทางโบราณคดีในอุทยาน

ประวัติศาสตร์สุโขทัยของกรมศิลปากร ระบุว่า

วัดศรีสวาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘

เช่นเดียวกับศาลตาผาแดง และโบราณ-

สถานที่วัดพระพายหลวง

(พทุธศตวรรษที ่๑๘

หมายถึง

ช่วงเวลาตั้งแต่

พ.ศ. ๑๗๐๑- ๑๘๐๐)

ตัวอย่างจากหนังสือ

ในเอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร สารคดี เอกสาร-

ประวัติศาสตร์ จะมีการบอกช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

ปรากฏอยู่ การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ ทำาให้

ทราบว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ดังตัวอย่าง

วัดศรีสวาย

จังหวัดสุโขทัย

๒. การใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ เพื่อทำา ความเข้าใจช่วงเวลาในเอกสาร

12 ประวัติศาสตร์ ป.๔ 13การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

Page 8: ประวัติศาสตร์ - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003884_example.pdf · ประวัติศาสตร์. สงวนลิขสิทธิ์

เมื่อเข้าใจความหมายของการนับทศวรรษ ศตวรรษ และ

สหัสวรรษแล้ว ทำาให้สามารถอ่านและเขียนเกี่ยวกับเวลาได้ชัดเจน เข้าใจ

เนื้อหาประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้น และสามารถนำาไปใช้ในชีวิตประจำาวันได้

ความหมายและชว่งเวลาของทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

ทศวรรษ คือ ช่วงเวลา ๑๐ ปีศตวรรษ คือ ช่วงเวลา ๑๐๐ ปีสหัสวรรษ คือ ช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี

การระบุช่วงเวลาในเอกสารทางประวัติศาสตร์นิยมระบุทั้งช่วงเวลาที่ชัดเจน และระบุช่วงเวลา กว้าง ๆ ทั้งทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ เพื่อให้สามารถเรียงลำาดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

การใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ เพื่อทำา ความเข้าใจช่วงเวลาในเอกสาร

ผังสรุปสาระสำาคัญ

14 ประวัติศาสตร์ ป.๔ 15การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

กิจกรรมการเรียนรู้

๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมาย และ

วิธีการนับทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ พร้อมทั้งบันทึกสรุป

เก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน

๒. ให้นักเรียนเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ทศวรรษและศตวรรษ ทั้งแบบ

พุทธศักราช และแบบคริสต์ศักราชที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เช่น

หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น

เรื่องของเวลา ช่วงเวลา และเหตุการณ์ที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ

๓. ให้นักเรียนลำาดับเหตุการณ์สำาคัญที่ เกิดขึ้นในจังหวัดของตนเอง

ตามลำาดับเวลาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเป็นเส้นเวลา

๑. การนับพุทธศตวรรษมีวิธีการนับอย่างไร

๒. การนับพุทธศตวรรษต่างจากการนับคริสต์ศตวรรษอย่างไร

๓. ถ้าปีนี้เป็น พ.ศ. ๒๕๕๕ อีก ๓ ทศวรรษ จะตรงกับปีใด

๔. การนับเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ มีความแตกต่างกัน

อย่างไร

๕. ถ้าไม่มีการคิดเรื่องการนับเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

จะส่งผลอย่างไร

คำาถามพัฒนากระบวนการคิด

การนับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ ศตวรรษ

และสหัสวรรษ